วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

สิ่งที่ครอบงำทุกชีวิตภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญนรชน นั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ดังนี้แล.

สิ่งที่ครอบงำทุกชีวิตปัพพะโตปะมะคาถา ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา ตัสสะมา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติฯ อะริยะธะนะคาถา ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา สีลัญจะ ยัสสะ กัลละยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง ตัสสะมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนันติฯ บทขัดธรรมนิยามะสูตร ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญาณัง ปุพเพ ปะวัตตะเต ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา อะนิจจะตา ทุกขะตา จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตัง ยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง โยนิโส ปะฏิปัตตะยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เสฯ ธัมมะนิยามะสุตตัง เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตตะระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฎฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขาราทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ ติลักขะณาทิคาถา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา อัปปะภา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง ตัตตะราภิระติมิจเฉยยะ หิตตะวา กาเม อะกิญจะโน ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง จิตตักกะเลเสหิ ปัณฑิโต เยสัง สัมโพธิยังเคสุ สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง อาทานะปะฏินิสสัคเค อะนุปาทายะ เย ระตา ขีณาสะวา ชุติมันโต เต โลเก ปะรินิพพุตาติฯ พุทธะอุทานะคาถา ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ปะชานาติ สะเหตุธัมมังฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ขะยัง ปัจจะยานัง อะเวทิฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ วิธูปะยัง ติฏฐะติ มาระเสนัง สูโรวะ โอภาสะยะมันตะลิกขันติฯ ภัทเทกะรัตตะคาถาฯ อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ์รูหะเย อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา เอวัง วิหาริมาตาปัง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนีติฯ ----------------------------------- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

สิ่งที่ไม่มีใครชนะได้ปัพพะโตปะมะคาถา ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา ตัสสะมา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติฯ อะริยะธะนะคาถา ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา สีลัญจะ ยัสสะ กัลละยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง ตัสสะมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนันติฯ บทขัดธรรมนิยามะสูตร ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญาณัง ปุพเพ ปะวัตตะเต ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา อะนิจจะตา ทุกขะตา จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตัง ยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง โยนิโส ปะฏิปัตตะยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เสฯ ธัมมะนิยามะสุตตัง เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตตะระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฎฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขาราทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ ติลักขะณาทิคาถา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา อัปปะภา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง ตัตตะราภิระติมิจเฉยยะ หิตตะวา กาเม อะกิญจะโน ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง จิตตักกะเลเสหิ ปัณฑิโต เยสัง สัมโพธิยังเคสุ สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง อาทานะปะฏินิสสัคเค อะนุปาทายะ เย ระตา ขีณาสะวา ชุติมันโต เต โลเก ปะรินิพพุตาติฯ พุทธะอุทานะคาถา ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ปะชานาติ สะเหตุธัมมังฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ขะยัง ปัจจะยานัง อะเวทิฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ วิธูปะยัง ติฏฐะติ มาระเสนัง สูโรวะ โอภาสะยะมันตะลิกขันติฯ ภัทเทกะรัตตะคาถาฯ อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ์รูหะเย อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา เอวัง วิหาริมาตาปัง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนีติฯ ----------------------------------- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

มีทางนี้ทางเดียวเท่านั้นไม่มีทางอื่นเลยธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

อะไรจะสำคัญเท่าหลงไปคิดแล้วรู้ทันหลงไปเพ่งแล้วรู้ทันธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

คิดถึงพระพุทธเจ้าดีกว่าครับปลอดภัยไว้ก่อนท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ท่านเกิดในตระกูลที่นับถือศาสนาพราหมณ์ พราหมณ์นั้นแบ่งเป็น ๒ พวกคือ พวกที่นับถือศาสนาพราหมณ์โดยตรง ไม่ยอมเคารพนับถือพระพุทธศาสนา กับพราหมณ์ที่มีเหตุมีผลยอมรับนับถือเห็นว่าองค์สมเด็จพระทศพลทรงสอนตรงตามความเป็นจริง แต่ตระกูลพราหมณ์ของท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเป็นตระกูลที่ไม่ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า บิดาของท่านอยู่ในฐานะคหบดี เป็นคนรวยมากและเป็นคณาจารย์ใหญ่ของพราหมณ์ ท่านมีลูกชายคนเดียว คือ ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร สมัยเป็นมนุษย์ท่านชื่ออะไรก็ไม่ทราบแต่สมัยที่เป็นเทวดาท่านมีต่างหูเกลี้ยง จึงได้นามว่า "มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร" ต่อมาท่านป่วย ท่านพ่อแสนจะขี้เหนียว จะซื้อยาหรือจะหาหมอมารักษาให้ลูกชายก็สามารถทำได้เพราะเป็นคหบดีมีทรัพย์นับเป็นสิบโกฏิ แต่ท่านไม่ทำเนื่องจากเสียดายสตางค์ที่มีอยู่ กลับไปถามหมอว่า "ลูกชายฉันเป็นโรคผิวเหลือง จะรักษาด้วยยาอะไรดี" หมอก็บอกยากลางบ้านแบบธรรมดาๆ เมื่อได้ตำรายากลางบ้านมาแล้วก็นำมาให้ลูกชายกิน ก็ไม่หายไข้ ทรุดลงตามลำดับ เมื่อลูกชายไข้ทรุดมาก ท่านก็มีความรู้สึกว่า เวลานี้ลูกชายนอนอยู่ในห้องสวยๆ ข้างในมีทรัพย์สินมาก มีเครื่องประดับประดามาก ถ้าบังเอิญญาติของเรารู้ข่าวว่าลูกชายของเราป่วย ก็จะพากันมาเยี่ยม และคนที่มาเยี่ยมนั้นถ้ามาเห็นของที่ชอบใจแล้วเกิดขอ ถ้าไม่ให้ก็จะเป็นการขัดใจกัน ทางที่ดีเพื่อเป็นการหลบเรื่องนี้ จึงเอาลูกชายมานอนที่ระเบียงบ้าน ซึ่งไม่มีทรัพย์สินอะไรเป็นเครื่องประดับ ต่อมาอาการป่วยทรุดหนักขึ้นทุกวัน แม้แต่แขนขาก็ยกไม่ขึ้น ท่านพ่อก็ไม่ยอมทำยาอย่างดีมารักษาโรคให้ เมื่อความตายปรากฏชัด แต่ทว่าท่านมัฏฐกุณฑลีก็ยังไม่อยากจะตาย จึงไม่มีความรู้สึกว่าเวลานี้จะต้องตาย คิดในใจแต่เพียงว่าเราต้องหายจากโรคนี้ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ปมาโท มัจจุโน ปทัง" แปลว่า "ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย" ความจริงอาการตายปรากฏชัดแต่ท่านยังไม่คิดว่าจะตาย จะหันไปหาพ่อแม่ก็หมดทางที่ท่านทั้งสองจะช่วยเหลือ เพราะท่านไม่สนใจท่านสนใจแต่ทรัพย์สินที่มีอยู่ ในที่สุดทุกขเวทนาเครียดมาก จึงมีความรู้สึกว่าชาวบ้านเขาลือกันว่า "สมเด็จพระสมณโคดมท่านเป็นพระใจดีมาก มีเมตตาสูง พระองค์สงเคราะห์ไม่ว่าใคร เวลานี้เราป่วยหนักอยากจะให้พระองค์มารักษา เราจะได้หายจากโรค" ให้พิจารณาความรู้สึกของท่านมัฏฐกุณฑลีว่า ไม่ได้มีความรู้สึกยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าในด้านของความดีอย่างอื่น แต่ท่านมีความรู้สึกแต่เพียงว่าพระพุทธเจ้ามีความเมตตาไม่เลือกบุคคล และใจของท่านเวลานั้นก็นึกอยากจะให้พระองค์มาช่วยรักษาโรคเท่านั้น อาศัยที่เจตนาตั้งใจยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเพื่อให้เป็นหมอรักษาโรค ความจริงถ้าดูกันจริงๆ แล้วมันไม่ตรงกับบุญนัก ถ้าตรงกับบุญก็ต้องยอมรับนับถือในความดีและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านแต่นี่ท่านไม่ได้คิดอย่างนั้น ท่านต้องการเพียงให้มาช่วยรักษาโรคให้หายเท่านั้น นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนตาย แต่พระพุทธเจ้าก็มีพระมหากรุณาธิคุณ ในตอนเช้าทรงเสด็จมาบิณฑบาตกับพระอานนท์ ผ่านบ้านพราหมณ์ บ้านนั้นเขาไม่ยอมใส่บาตร และไม่ยอมยกมือไหว้เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไป เวลานั้นท่านมัฏฐกุณฑลีนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาฝา เห็นแสงสว่างประกายพุ่งมาเข้าตาของท่าน ก็สะดุดใจกลับตัวเหลียวไปเห็นองค์สมเด็จพระบรมศาสดากับพระอานนท์กำลังเดินบิณฑบาต ท่านจับภาพพระพุทธเจ้าขณะเดินบิณฑบาตกับภาพพระอานนท์ กับแสงที่ปรากฏกับตาของท่าน นึกถึงพระพุทธเจ้า ขอพระองค์จงสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าหายจากโรคเดี๋ยวนี้เถิด ขณะที่ท่านนึกอยู่อย่างนั้น แทนที่จะหายจากโรคกลับหายจากความเป็นคน นั่นก็คือ ตายจากความเป็นคนเวลานั้น ก็ไม่ผ่านสำนักของท่านพระยายมราช เพราะนึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ จึงตรงไปสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ได้วิมานทองคำสูงใหญ่มาก แล้วท่านก็เป็นเทวดาอยู่ในวิมานนั้น มีต่างหูเกลี้ยงจึงมีนามว่า "มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร" มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร หลังจากลูกชายตาย ปรากฏว่าตอนเช้าๆ ท่านพ่อไปที่หลุมฝังศพของลูก ไปยืนพรรณนาขอให้ลูกชายกลับมาเกิดใหม่ เพราะเป็นลูกคนเดียว ต่อไปจะไม่มีใครรับมรดกเป็นผู้ปกครองทรัพย์สมบัติ ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเห็นท่านพ่อไปยืนพรรณนาให้กลับมาเกิดเป็นลูกใหม่ ก็มีความรู้สึกในใจว่า "ท่านพ่อของเราเป็นคนพาล" คำว่า "พาล" แปลว่า "โง่" เป็นคนพาลคือเป็นคนโง่ เวลาเรามีชีวิตอยู่ก็แสนจะขี้เหนียว มีเท่าไรเก็บหมด ไม่ค่อยจะกินจะใช้ เวลาเราป่วยไข้ไม่สบาย ค่ายาค่าหมอเป็นของไม่มากนัก ก็ไม่ยอมเสียสละเงินเพื่อรักษาเรา ปล่อยให้เราต้องนอนทนทุกขเวทนา ให้กินยากลางบ้านซึ่งไม่ถูกกับโรค ในที่สุดเราก็ต้องตาย แต่ด้วยอาศัยสมเด็จพระสมณโคดมทรงสงเคราะห์เราขณะที่เสด็จไปทรงบิณฑบาตแผ่แสงให้ปลากดชัด จึงได้มีความยอมรับนับถือขอให้พระองค์ทรงช่วยให้หายจากโรค แต่อาการของร่างกายมันเกินวิสัยที่จะทรงอยู่ ด้วยบุญเพียงเล็กน้อยเท่านี้ก็สามารถทำให้เราเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีเครื่องประดับเป็นทิพย์มีร่างกายเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่อย่างเป็นทิพย์ มีความสุขมาก มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร แต่ท่านพ่อของเราจมปรักอยู่กับความโง่ เราต้องไปทำให้ท่านพ่อเป็นสัมมาทิฐิ คือมีความเห็นถูกคลายจากความโง่ ให้มีความรู้สึกเคารพยอมรับนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้ว จึงแปลงลงมาเป็นคนเหมือนรูปร่างเดิม เห็นท่านพ่อยืนร้องไห้อยู่ปากหลุมศพ ท่านจึงมายืนร้องไห้บ้างใกล้ๆ ท่านพ่อ พอท่านพ่อเห็นก็คิดว่าชายผู้นี้เหมือนลูกชายเราถ้าได้ไว้เป็นลูกจะดีมาก จึงเข้าไปใกล้ถามว่า "เธอร้องไห้ทำไม" ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็ถามว่า "คุณลุงร้องไห้ทำไม" ท่านพ่อก็ตอบว่า "ฉันร้องไห้คิดถึงลูกชายของฉัน ลูกชายของฉันกำลังเป็นหนุ่มแน่น เป็นคนน่ารัก เป็นคนดีมาก แต่ทว่าเธอต้องมาตาย ซึ่งอายุยังน้อย ฉันมีลูกคนเดียวไม่มีใครปกครองทรัพย์สิน ถ้าลูกของฉันอยู่ก็จะมีโอกาสได้ปกครองทรัพย์สิน แต่ถ้าลูกของฉันกลับมาได้ ฉันก็จะให้ปกครองทรัพย์สินใหม่ ถ้าเธอไม่รังเกียจเป็นลูกบุญธรรมของฉัน ฉันก็จะให้ปกครองทรัพย์สินแทนลูกชายของฉัน "ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ได้ฟังดังนั้นก็นึกในใจว่า "พ่อของเราเมื่อเรามีชีวิตอยู่ ไม่ยอมซื้อยาแพง ไม่ยอมหาหมอมารักษา ขี้เหนียวที่สุด แต่เวลานี้กลับเห็นเราซึ่งเป็นคนอื่น จะมอบทรัพย์สมบัติให้บุคคลนั้น" ท่านพ่อได้ถามท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรว่า "เธอร้องไห้ทำไม" ท่านจึงตอบว่า "ฉันร้องไห้เพราะว่าฉันมีรถทองคำอยู่คันหนึ่งสวยมาก แต่ยังหาล้อที่เหมาะสมไม่ได้" ท่านพ่อก็ถามว่า "เธอต้องการล้อเงินหรือล้อทอง ฉันจะจัดให้ตามความประสงค์" ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็คิดว่า "นี่เราเป็นคนอื่น ท่านพ่อจะให้ล้อเงินกับล้อทอง แต่เวลาที่เรามีชีวิตอยู่ไม่ยอมรักษาโรคให้ทรัพย์สมบัติก็ไม่ให้" จึงแกล้งบอกว่า "ฉันต้องการดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มาเป็นล้อทั้งสองข้าง" ท่านพ่อก็คิดว่า "ไอ้เจ้าเด็กนี่บ้า" ก็เลยบอกว่า "เธอบ้า เพราะว่าดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ใครจะนำมาได้" ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรจึงบอกว่า "ในเมื่อฉันต้องการดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ฉันเห็นได้ แต่ท่านต้องการลูกชายที่ท่านเห็นไม่ได้ ใครจะบ้ามากกว่ากัน" เป็นอันว่าท่านพ่อก็ยอมรับว่าบ้ามากกว่า ในที่สุดท่านมัฏฐกุณฑลีก็แสดงตนเป็นเทวดาประกาศให้ทราบว่าท่านคือลูกชาย เวลานี้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ท่านพ่อก็ถามว่า "ไปได้เพราะเหตุใด" ท่านก็ตอบว่า "ก่อนจะตายเห็นสมเด็จพระสมณโคดมกับพระอานนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนึกถึงสมเด็จพระสมณโคดมขอให้พระองค์มาช่วยรักษาโรคให้หาย แต่บังเอิญตายเสียก่อน เมื่อตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร ท่านจึงแนะนำท่านพ่อว่า "ต่อนี้ไปขอพ่อโปรดเคารพองค์สมเด็จพระบรมครู จงถวายทานในสำนักของท่าน จงรักษาศีล จงฟังเทศน์ ตายแล้วจะไปสวรรค์" แล้วท่านก็ลากลับไป เมื่อท่านพ่อกลับไปบ้านด้วยความดีใจบอกภรรยาว่า "วันนี้ฉันจะไปนิมนต์สมเด็จพระสมณโคดมกับพระสาวกมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทำกับข้าวให้มาก" ครั้นเมื่อไปพบองค์สมเด็จพระจอมไตร เวลานั้นมีชาวบ้าน ๒ พวก เป็นพวกของพราหมณ์กับพวกที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างคนต่างตามไป พวกของพราหมณ์ก็คิดว่า "วันนี้เราจะดูอทินกบุพกพราหมณ์ คือท่านพ่อของท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ย่ำยีสมเด็จพระสมณโคดม" สำหรับบรรดาพุทธบริษัทก็คิดว่า "วันนี้จะดูลีลาพระพุทธเจ้าทรงสอนพราหมณ์ที่เป็นมิจฉาทิฐิให้เป็นสัมมาทิฐิทั้งสองฝ่ายต่างก็ไปยืนรวมกันที่นั่น เมื่อไปถึงแล้วท่าน อทินกบุพกพราหมณ์ก็ยกมือไหว้องค์สมเด็จพระบรมครูแล้วกล่าวว่า "ผมอยากจะทราบว่า คนที่ไม่เคยใส่บาตรกับพระองค์ ไม่เคยฟังเทศน์ ไม่เคยรักษาศีล ไม่เคยยกมือไหว้นึกถึงชื่อพระองค์อย่างเดียว ตายแล้วไปสวรรค์มีไหม" องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า "คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ ไม่เคยยกมือไหว้ นึกถึงชื่อตถาคตอย่างเดียว ตายแล้วไปสวรรค์ไม่ใช่นับร้อย นับพัน นับเป็นโกฏิ" หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเรียกท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรให้มาพร้อมวิมาน ท่านก็ลงจากวิมานมากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเทศน์โปรด เมื่อเทศน์จบ ท่านมัฏฐกุณฑลีก็เป็นพระโสดาบัน คนที่ยืนฟังอยู่ที่นั่นต่างก็บรรลุมรรคผลไปตามๆ กัน การที่นำเรื่องท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มาเล่าให้ฟังก็เพื่อต้องการให้ท่านทั้งหลายทราบว่า คนที่ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น พุทธานุสติกรรมฐาน ถึงแม้ว่าในกาลก่อนจะไม่เคยยอมรับนับถือ แต่เวลาก่อนจะตายถ้านึกถึงชื่อขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา อย่างท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรอย่างนี้ตายแล้วไปสวรรค์แน่นอนโดยไม่ต้องผ่านสำนักพระยายมราช แต่ว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้เปรียบกว่าท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรมาก เพราะว่าทุกคนยอมรับนับถือพระพุทธเจ้ามาในกาลก่อนและปัจจุบันก็ยังยอมรับนับถือ มีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมครู ถ้าหากว่าทุกท่านจะซ้อมความรู้สึกนึกถึงพระพุทธเจ้า คือตื่นขึ้นจากที่นอนสัก ๒-๓ นาที ว่ายอมรับนับถือในความดีของพระพุทธเจ้าด้วย ความจริงใจ และก็ตั้งใจรักษาความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นตั้งใจจะให้ทานก็คิดในใจว่าเราต้องการให้ทานถ้าโอกาสจะพึงมีเพียงเท่านี้จิตใจของท่านจะตั้งอยู่ในพุทธานุสติกรรมฐานกับจาคานุสติกรรมฐาน เวลาตายบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย อย่างเลวที่สุดก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ถ้าอย่างสูงที่สุดเห็นจะต้องไปพระนิพพาน เพราะว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รจนาวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวว่า บุคคลใดเจริญพุทธานุสติกรรมฐานเป็นประจำ บุคคลนั้นไปพระนิพพานง่ายที่สุด

ธรรมที่ควรตั้งไว้ในตนเธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ https://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHXLmbVU รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA

วสท.เตือนรับมือภัยพิบัติปี 2559

เจดีย์พุทธสถานอินเดียพม่าไทยลาวกัมพูชาเวียดนามจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง, สัทธา ..... วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ,.

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ที่ภูเขา หิมพานต์ อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินซึ่งมีโอสถทุกชนิด ดาดาษไปด้วยดอกไม้และของหอมมากมาย หลายพันธุ์ เป็นที่สัญจรไปมาแห่งช้าง โค กระบือ กวางทอง จามรี เนื้อฟาน แรด ระมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาค ชะมด เสือปลา กระต่าย และ วัวกระทิง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่ช้างใหญ่ ช้างตระกูลอันประเสริฐ เกลื่อนกล่นอยู่ทั่วปริมณฑล อันราบเรียบ มีค่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อสมัน เนื้อฟาน ม้า และลา กินนร ยักษ์ และรากษส อยู่อาศัย ดาดาษไปด้วยหมู่ไม้นับไม่ถ้วน ทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้าน มีดอกบานตลอดปลาย มี นกเขา นกโพระโดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขก เต้า และนกการะเวก ส่งเสียงร้องกึกก้องไพเราะ เป็นประเทศที่ประดับไปด้วยแร่ธาตุหลายร้อย ชนิดเป็นต้นว่า อัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงินและทองคำ เป็นไพรสัณฑ์อัน น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าชื่อกุณาละ มีตัว ปีกและขนงดงามยิ่งนัก อาศัยอยู่ และนก ดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นนางบำเรอประมาณ ๓๕๐๐ ตัว นางนกดุเหว่าสองตัวเอา ปากคาบท่อนไม้ให้นกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น จับตรงกลางแล้วพากันบินไป ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่ากุณาละนั้น อย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัว บิน ไปเบื้องต่ำด้วยความประสงค์ว่า ถ้านกกุณาละนี้จะตกจากคอน พวกเราจะเอาปีกรับไว้ นางนก ดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แดดอย่าได้ส่งถูกนกกุณาละเลย นาง นกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลม หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกนกกุณาละนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไป ข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำ การงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกกุณาละนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน กระบอง ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย นกกุณาละนี้อย่าได้กระทบด้วยกอไม้ เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือพวกนกที่มีกำลังกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัวบินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำอัน เกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้เงียบเหงาอยู่ บนคอนนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพานกกุณาละนั้นจากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จากสวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จาก สวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จาก สวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ยินดี นกกุณาละอัน นางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกๆ วันอย่างนี้ ยังรุกรานอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อย ละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม. [๒๙๗] ดูกรท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ด้านทิศบูรพาแห่งขุนเขาหิมพานต์มีแม่น้ำอันไหล มาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุม มีสีเขียว ณ ภูเขาหิมพานต์อันเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจ ด้วยกลิ่นหอม อันเกิดเดี๋ยวนั้น จากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกบัวขม ดอกบัวผัน ดอกจงกลณี และดอกบัวเผื่อน เป็นป่าทึบมากไปด้วยไม้ต่างๆ ชนิด คือ ไม้โกฏดำ ไม้จิก ไม้เกต ไม้ยางทราย ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นหมากหอม ต้นประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นสาละ ต้นสน ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นกากะทิง ต้นหงอนไก่ ต้นราชดัด ต้นโลทนง และต้นจันทน์ เป็นราวป่าที่สล้างไปด้วยต้นกฤษณาดำ ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโร และต้นกล้วย ทรงไว้ ซึ่งต้นรกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นปรู ต้นทราก ต้นกัณณิการ์ ต้นชะบา ต้นว่านหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกและต้นขานางอันงามยิ่งนัก และมีไม้ดอก สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยดาดาษไปด้วยดอกมะลิ ว่านเปราะหอม ต้นคนธา ต้นกำยาน ต้นแฝก หอม ต้นกระเบา และไม้กอ เป็นประเทศอันประดับไปด้วยลดาวัลย์ดาดาษยิ่งนัก มีหมู่หงส์ นก นางนวล นกกาน้ำ และนกเป็ดน้ำ ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่สถิตอยู่แห่งหมู่ฤาษีสิทธิ์วิทยาธร สมณะ และดาบส เป็นประเทศที่ท่องเที่ยวไปแห่งหมู่มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนร และพญานาค เป็นไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ มีถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก มีนัยน์ตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมา อาศัยอยู่ ได้ยินว่า พระยา นกปุณณมุขะนี้ มีนางนกดุเหว่าบำเรอ ๓๕๐ ตัว เล่ากันมาว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัว เอาปากคาบ ท่อนไม้ให้พระยานกปุณณมุขะนั้นจับตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์ว่า พระยานกปุณณ มุขะนั้นอย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐ ตัว บินไปเบื้องต่ำด้วย ความประสงค์ว่า ถ้าพระยานกปุณณมุขะนี้จักพลาดจากคอน พวกเราจักเอาปีกทั้งสองรับไว้ นาง นกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แสงแดดอย่าได้แผดเผานกดุเหว่าขาว ชื่อปุณณมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ธุลี หรือน้ำค้าง อย่าได้ตกต้องนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้นด้วย ท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน ไม้ฆ้อน ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย และนกดุเหว่า ขาวชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้กระทบกับกอไม้ เถาวัลย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือกับนก ที่มีกำลังมากกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยวาจาอันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนี้อย่าเงียบเหงา บนคอนเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำเอาผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้น พานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้น จากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จาก สวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวน มะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้อง การให้ร่าเริง ได้ยินว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ อันนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกวัน ๆ ย่อมสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีละๆ น้องหญิงทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายบำรุงบำเรอสามีอย่างนี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลธิดา. [๒๙๘] ได้ยินว่า ในกาลต่อมา นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะได้เข้าไปหาพระยานกกุณาละ ถึงที่อยู่ พวกนางนกดุเหว่าบริจาริกาของพระยานกกุณาละ ได้เห็นพระยานกปุณณมุขะนั้นกำลัง บินมาแต่ไกล จึงพากันเข้าไปหา แล้วพูดกะพระยานกปุณณมุขะนั้นว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ พระ ยานกกุณาละนี้ เป็นนกหยาบช้า มีวาจาหยาบคายเหลือเกิน แม้ไฉน พวกเราจะพึงได้วาจาอันน่ารัก เพราะอาศัยท่านบ้าง พระยานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้กระมังน้องหญิงทั้งหลาย แล้ว เข้าไปหาพระยานกกุมาละกล่าวสัมโมทนียกถากับพระยานกกุณาละแล้ว สถิตอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระยานกปุณณมุขะได้กล่าวกะพระยานกกุณาละว่า ดูกรสหายกุณาละ เพราะ เหตุไร ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อนางนกทั้งหลายผู้มีชาติเสมอกัน เป็นลูกของผู้มีสกุล ซึ่งปฏิบัติดีต่อท่าน เล่า ดูกรสหายกุณาละ นางนกทั้งหลายถึงเขาจะไม่พูดไม่ถูกใจ เราก็ควรจะพูดให้ถูกใจ จะป่วย กล่าวไปไยถึงนางนกที่พูดถูกใจเล่า เมื่อพระยานกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระยานกกุณาละ ได้รุกรานพระยานกปุณณมุขะอย่างนี้ว่า แนะสหายลามกชั่วถ่อย เจ้าฉิบหาย เจ้าละลาย ใครจะเป็นผู้ฉลาดด้วยการชนะเมียยิ่งไปกว่าเจ้า ก็แหละพระยานกปุณณมุขะถูกรุกรานอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปเสียจากที่นั้น. [๒๙๙] ได้ยินว่า สมัยต่อมา โดยกาลล่วงไปไม่นานนัก อาพาธอันแรงกล้าเกิดขึ้นแก่ พระยานกปุณณมุขะ คือ ลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็ง จวนจะตาย ครั้งนั้น พวกนางนก ดุเหว่า ผู้เป็นบริจาริกาของพระยานกปุณณมุขะ เกิดความปริวิตกว่า พระยานกปุณณมุขะนี้ อาพาธ หนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธนี้หนอ นางนกดุเหว่าเหล่านั้น ละทิ้งพระยานกปุณณ- *มุขะไว้แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง พากันเข้าไปหาพระยานกกุณาละ พระยานกกุณาละได้เห็นนาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพากันมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางนกดุเหว่าเหล่านั้นว่า พวกอีถ่อย ผัวของ เจ้าไปไหนเสียเล่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นจึงตอบว่า ท่านสหายกุณาละ พระยานกปุณณมุขะ อาพาธหนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธหนักนั้น เมื่อนางนกดุเหว่าเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ แล้ว พระยานกกุณาละได้รุกรานนางนกดุเหว่าเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเลอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม ครั้น กล่าวรุกรานแล้ว ได้เข้าไปหาพระยานกปุณณมุขะ แล้วร้องเรียกว่า เฮ้ยสหายปุณณมุขะ พระยานกปุณณมุขะขานรับว่า หาสหายกุณาละ ได้ยินว่า พระยานกกุณาละเข้าไปประคบ ประหงมพระยานกปุณณมุขะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้วให้ดื่มยาต่างๆ อาพาธ ของพระยานกปุณณมุขะก็สงบระงับ. [๓๐๐] ได้ยินว่า พระยานกกุณาละได้กล่าวกะพระยานกปุณณมุขะผู้หายจากไข้ยังไม่ นานนักว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางกัณหาสองพ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิต ปฏิพัทธ์ในบุรุษคนที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ย เหมือนตัวกระพันธ์. และในเรื่องนี้มีคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า ครั้งนั้น นางคนหนึ่งล่วงละเมิดสามี ๕ คน คือ พระเจ้าอัชชุนะ พระเจ้า นกุละ พระเจ้าภีมเสน พระเจ้ายุธิษฐิล และพระเจ้าสหเทพ แล้วได้ กระทำลามกกับบุรุษเปลี้ยแคระ. ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางสมณีชื่อปัญจตปาวี อยู่ในท่ามกลางป่าช้า อดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอันลามกกับนักเลงสุรา ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางเทวีนามว่า กากวดี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็นภรรยาของพระยาครุฑชื่อว่า ท้าวเวนไตรย ได้กระทำกรรมอันลามกกับกุเวรผู้เจนจบในการฟ้อน ดูกรสหายปุณณมุขะ เรา เห็นมาแล้ว นางขนงามนามว่า กุรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียกับเอฬกกุมาร ได้กระทำกรรมอัน ลามกกับฉฬังคกุมารเสนาบดี และธนันเตวาสีผู้เป็นคนใช้ของฉฬังคกุมาร เป็นความจริง เราได้ รู้มาอย่างนี้แล พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัตต์ ทรงทอดทิ้งพระเจ้าโกศลราช ได้ทรงกระทำ กรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อปัญจาลจัณฑะ หญิง ๕ คนนี้ก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้วซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย มหาปฐพี อันทรงไว้ซึ่งสรรพสัตว์ ย้อมแล้วเสมอกัน เป็นที่รับรองสิ่งดีและสิ่งชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านี้ ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย กิน เนื้อและเลือดเป็นอาหารมีอาวุธ ๕ อย่าง เป็นสัตว์หยาบช้า ยินดีในการ เบียดเบียนสัตว์อื่น ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกิน ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านั้น. ดูกรปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด ชื่อโดยกำเนิดว่าแพศยา ว่านางงาม ว่าหญิงสัญจร ก็คือเป็น ผู้ฆ่าหญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวกโจร ประทุษร้ายเป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวด เหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือน หลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปโดย ส่วนเดียวเหมือนพระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตาม ปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนโจร ประทุษร้ายเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือนหลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยาก เหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปส่วนเดียวเหมือน พระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็นผู้กำสัตว์ไว้ในมือ จนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติในเรือนให้พินาศ. [๓๐๑] ดูกรปุณณมุขะ ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน ภรรยา ไม่ควร ให้อยู่ในสกุลอื่น บัณฑิตไม่พึงรักษาทรัพย์ ๔ อย่างนี้ให้อยู่พลาดจากเรือน. คนฉลาดย่อมไม่ฝากทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยาน พาหนะ ๑ ภรรยา ๑ ไว้ในตระกูลญาติ เพราะว่า คนที่ไม่มียานพาหนะ ย่อมใช้รถที่ฝากไว้ ย่อมฆ่าโคผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็นเกินกำลัง ย่อม ฆ่าลูกโคเพราะรีดนม ภรรยาย่อมประทุษร้ายในตระกูลญาติ. [๓๐๒] ดูกรสหายปุณณมุขะ สิ่งของ ๖ อย่างนี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์อะไร ไม่ได้ คือ ธนูไม่มีสาย ๑ ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรือที่ฝั่งโน้น ๑ ยาน พาหนะที่เพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายลามก ๑ สิ่งของทั้ง ๖ นี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์ไม่ได้. [๓๐๓] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุการ ๘ ประการ คือ เพราะสามีเป็นคนจน ๑ เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะสามีเป็นคนแก่ ๑ เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะสามีเป็นคนโง่ ๑ เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ๑ เพราะคล้อย ตามในกิจทุกอย่าง ๑ เพราะไม่ก่อให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บ กระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑ คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ๑. [๓๐๔] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการ คือ หญิงเป็นคนมักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหา ตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมอง หน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมา ให้สามีเพราะเหตุ ๙ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการนี้ คือ มัก ไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ [๓๐๕] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการคือ ดัดกายหนึ่ง ก้มตัว กรีดกราย ทำอาย แกะเล็บ เอาเท้าเหยียบกัน เอาไม้ขีดแผ่นดิน ทำกระโดดเอง ให้เด็กกระโดด เล่นเอง ให้เด็กเล่น จุมพิตเด็ก ให้เด็กจุมพิต กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ขอของจากเด็ก ทำตามที่เด็กกระทำ พูดเสียงสูง พูดเสียงต่ำ พูดเปิดเผย พูดกระซิบ ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม ร้องไห้ กรีดกราย ด้วยการแต่งกาย ทำปึ่ง ยักเอว ส่ายผ้าที่ปิดของลับ เลิกขา ปิดขา ให้เห็นนม ให้เห็นรักแร้ ให้เห็น ท้องน้อย หลิ่วตา เลิกคิ้ว เม้มปาก แลบลิ้น ขยายผ้า กลับนุ่งผ้า สยายผม มุ่นผม ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการนี้แล. [๓๐๖] ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการ คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี ย่อมไม่ระลึกถึงสามีที่ไปแรมคืน ย่อมไม่ ยินดีกะสามีที่มาแล้ว ย่อมกล่าวโทษสามี ไม่กล่าวคุณแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่สามี ย่อมไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น ย่อมนอนพลิก กลับไปมา ย่อมทำวุ่นวายนอนถอนหายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระ ปัสสาวะบ่อยๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ได้ยินเสียงชายอื่นย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ย่อมทอด สนิทชิดชอบกับชายผู้คุ้นเคย ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤติ นอกใจไม่เคารพในสามี มีใจประทุษร้าย ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเนืองๆ ย่อมทำให้เห็นรักแร้ นม ย่อม ไปเพ่งดูทิศต่างๆ ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี ย่อมไม่เศร้าโศกถึงการไป ของสามี ครั้นเห็นสามีกลับมาก็ไม่แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวคุณ แห่งสามีในกาลไหนๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำ ประโยชน์ของสามีให้เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมคลุม หัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิง ผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมนอนพลิกกลับไปมา ย่อมทำวุ่นวาย นอนถอน หายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อยๆ อาการ เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อชายอื่นพูด ล้างผลาญ โภคสมบัติ กระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายอื่น อาการเหล่านี้ เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมทำทรัพย์สมบัติที่สามีได้มา โดยความลำบาก หามาได้โดยฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วยความยาก แค้นให้พินาศ อนึ่ง ย่อมกระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายที่คุ้นเคย กัน อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงออกนอกบ้าน เสมอ ประพฤติผิดจากความดี มีใจคิดประทุษร้ายในสามีอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจ ปราศจากความเคารพ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมยืนอยู่ที่ใกล้ประตูเนืองๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้างให้เห็น มีจิตวอกแวกเพ่งดูทิศต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย แม่น้ำทั้งปวงมีทางคดเคี้ยว และป่าทั้งปวงรกเรี้ยว ด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวงเมื่อได้ช่อง (ที่ลับ) พึงกระทำกรรมอัน ลามกฉันนั้น ถ้าว่าพึงได้โอกาส ที่ลับ หรือพึงได้ช่องเช่นนั้น หญิง ทั้งปวงพึงกระทำกรรมอันลามกเป็นแน่ ไม่ได้ชายที่สมบูรณ์อื่น ก็ย่อม ทำกับคนเปลี้ย ในพวกนารีที่หลายใจ เป็นผู้กระทำความยั่วยวนแก่ชาย ทั้งหลาย ไม่มีใครข่มขี่ได้ ถ้านารีเหล่าใดแม้จะทำให้พอใจโดยประการ ทั้งปวง ก็ไม่ควรวางใจในนารีเหล่านั้น เพราะว่า นารีเหล่านั้นเสมอด้วย ท่าน้ำ. [๓๐๗] บัณฑิตได้เห็นเรื่องอย่างไร ของพระเจ้ากินนรและพระนางกินนรีเทวี แล้วพึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนของตน พระนาง กินนรีเทวีทรงเห็นบุรุษอื่น แม้จะเป็นคนง่อยเปลี้ย ยังละทิ้งพระราช- สวามีเช่นพระเจ้ากินนร ไปทำกรรมอันลามกกับบุรุษเปลี้ยนั้นได้. [๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรงหมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระ มเหสียังประพฤติอนาจารกับคนรับใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมีหรือที่ หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น. [๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระนางมเหสีที่รักของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลก ทั้งปวง ได้ประพฤติอนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิดและเป็นไปในอำนาจ พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่ทั้งสองราย. [๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีละอาย ล่วงเสียซึ่งธรรม ย่อมเป็น ไปตามอำนาจจิตของตนเมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้ง สามีแม้จะอยู่ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์ แม้เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย จริง อยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไปไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิง ทั้งหลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้ วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือ เอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้ว ละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่าง เหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง เหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบ บุรุษได้ ทั้งที่น่ารัก ทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้ฝั่งโน้น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่ว ไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่าของเรา ก็ เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มี หญิงทั้ง หลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่ มีทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกิน เปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิง ทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะ สิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิง ที่คนหมู่มากไม่รักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยาคน อื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวกนี้ ไม่ ควรคบ. [๓๑๑] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ของพญานกกุณาละแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจ ของพวกหญิงเผลอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิงย่อม ละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่เหลาะแหละ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ร้องไห้ กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้ง บุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะ กะใบไม้ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควรวิสาสะกะ พระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควรวิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คน แล้ว ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่ สำรวม ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิงทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัด เองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึง กระทำความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำรวม ผู้ เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิง เหมือนคำเท็จ หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือก กินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วย การเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุดๆ ลุ่ยๆ และพูดเพราะ หญิง ทั้งหลายเป็นโจร หัวใจแข็ง ดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไรๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ธรรมดาหญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขต แดน กำหนัดนักทุกเมื่อ และคะนอง กินไม่ควร เหมือนเปลวไฟ ไหม้เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี เพราะหญิงทั้งหลาย ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอด ได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รัก ก็ไม่มี หญิง ย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลาย ย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อ ก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูล แต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชายเช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์. [๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะ รู้ชัดซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ดูกรพญานก ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ สี่อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็มแม่น้ำสายใด สายหนึ่งอาศัย แผ่นดิน ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้นมหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียน เวทอันมีการบอกเป็นที่ห้าได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง พระราชาทรง ชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วยรัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้ง มหาสมุทรและภูเขา ครอบครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงคนหนึ่งๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้วกล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่ง กามรสทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือน เปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละ ชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชาย นั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความ จริงได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ ให้เต็มได้ยาก เสมอแม่น้ำ ทำ ให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตน ฉะนั้น. [๓๑๓] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญานกกุณาละรู้แจ้งแล้ว ซึ่งเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุดแห่งคาถา ของนารทพราหมณ์ผู้ประเสริฐ จึงได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะ ว่าหญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ ขับร้องและการ เจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียด เบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและ เนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเล ฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อัน น่ายินดี เป็นทำเลหากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อม เข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะ และโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อม เผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูก ราคะย้อม เหมือนเถาย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น หญิงประดับ ร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่างๆ ทำ ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทรราหู หญิงประดับประดาด้วยทอง แก้วมณีและมุกดา ถึงจะมีคนสักการะและ รักษาไว้ในตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่ใน ทรวงอก ประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเครื่อง พิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของ หญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ ถูกราหูจับฉะนั้น โจรผู้มี จิตโกรธ คิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่นซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญ หน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความ พินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผมและหยิกข่วน ด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือและท่อนไม้ ก็กลับวิ่งเข้าหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพ ฉะนั้น บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. [๓๑๔] พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิ­งเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร อันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั­้งปวง เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว .เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง­ท­ี่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีท­ี่­ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถ­ูกป­รุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพร­าะตั­้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตน­เองก็­ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้­­สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็สอนพระอานนท์ทำน้ำมนต์.. ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์): น้ำพระพุทธมนต์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในความเป็นมงคล และเป็นสิ่งที่ผู้หวังความสุข ความสบายใจ เพียงเพื่อได้รับน้ำพระพุทธมนต์ที่พระท่านเสกแล้ว เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาโดยละเอียดของการทำน้ำพรพุทธมนต์ ซึ่งเริ่มที่เมืองเวสาลีนี้ จึงขอนำรัตนสูตรมากล่าวไว้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายาก ในชั้นแรกคนยากจนคนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนที่มีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานตัว เห็นไปว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งอยู่ที่นั้น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลตามถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นดินปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหารก็พากันเข้ามาในพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้นยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยลามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิง สูบโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประการหนึ่ง ชาวเมืองเวสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง ๑ อหิวาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย ครั้งนั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชาที่ประตูพระราชวังว่า “พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้พระมหากษัตริย์จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุดก็พากันบนเจ้าบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็น ใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้ ครั้นอำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยพระมหาสมุทร ทรงตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงส่งยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าแต่พระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์โดยแท้ ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีจึงโปรดให้เจ้าชายมหาลิ พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครเวสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้นก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี พระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า... “ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพระกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปกราบทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลิก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบาก หรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จ แล้วจะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้นแล้วโปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครเวสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า... “มหาลิ ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป” เจ้าชายมหาลิกราบทูล... “ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดารับสั่ง “แม้เช่นนั้น มหาลิก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” เมื่อพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลิว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต ครั้นได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครเวสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ เสด็จประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวายงดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยเกียรติอันสูงเช่นนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืนทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี่อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จทางชลมารค สิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครเวสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถาร ซึ่งเจ้าชายมหาลิหัวหน้าคณะราชฑูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วันก็ถึงชายพระนครเวสาลี ขณะที่เหยียบภาคพื้นพระนครเวสาลี ก้าวแรกก็ประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญแล้วเคลื่อนลมมาปกคลุมพระนครเวสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำรามกระหึ่มครึ้มครวญเปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจักๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา ความจริงก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมามากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นธรณีก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดารับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “อานนท์เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองเวสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่แก่ประชาชนเถิด” ในราตรีนั้น พระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตรจากพระบรมศาสดา แล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลป์ยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตรธรรม ๙ ประการเป็นที่สุด เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อม เดินพลางพรมน้ำมนต์ที่พระเถระเจ้าปะพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถระเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้งตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ ตามแง้มฝาเรือนและประตู เมื่อถูกหยดน้ำมนต์ของพระเถระเจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเผ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง ครั้งพระเถระเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ปะพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้หาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์ เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัยทั้ง ๓ ประการสงบแล้ว และประชาชนมีความผาสุกดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดถวายบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดี พากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ให้เสด็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล้ว

แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็สอนพระอานนท์ทำน้ำมนต์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์): น้ำพระพุทธมนต์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในความเป็นมงคล และเป็นสิ่งที่ผู้หวังความสุข ความสบายใจ เพียงเพื่อได้รับน้ำพระพุทธมนต์ที่พระท่านเสกแล้ว เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาโดยละเอียดของการทำน้ำพรพุทธมนต์ ซึ่งเริ่มที่เมืองเวสาลีนี้ จึงขอนำรัตนสูตรมากล่าวไว้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายาก ในชั้นแรกคนยากจนคนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนที่มีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานตัว เห็นไปว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งอยู่ที่นั้น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลตามถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นดินปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหารก็พากันเข้ามาในพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้นยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยลามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิง สูบโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประการหนึ่ง ชาวเมืองเวสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง ๑ อหิวาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย ครั้งนั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชาที่ประตูพระราชวังว่า “พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้พระมหากษัตริย์จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุดก็พากันบนเจ้าบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็น ใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้ ครั้นอำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยพระมหาสมุทร ทรงตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงส่งยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าแต่พระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์โดยแท้ ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีจึงโปรดให้เจ้าชายมหาลิ พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครเวสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้นก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี พระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า... “ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพระกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปกราบทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลิก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบาก หรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จ แล้วจะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้นแล้วโปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครเวสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า... “มหาลิ ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป” เจ้าชายมหาลิกราบทูล... “ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดารับสั่ง “แม้เช่นนั้น มหาลิก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” เมื่อพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลิว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต ครั้นได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครเวสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ เสด็จประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวายงดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยเกียรติอันสูงเช่นนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืนทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี่อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จทางชลมารค สิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครเวสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถาร ซึ่งเจ้าชายมหาลิหัวหน้าคณะราชฑูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วันก็ถึงชายพระนครเวสาลี ขณะที่เหยียบภาคพื้นพระนครเวสาลี ก้าวแรกก็ประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญแล้วเคลื่อนลมมาปกคลุมพระนครเวสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำรามกระหึ่มครึ้มครวญเปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจักๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา ความจริงก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมามากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นธรณีก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดารับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “อานนท์เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองเวสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่แก่ประชาชนเถิด” ในราตรีนั้น พระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตรจากพระบรมศาสดา แล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลป์ยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตรธรรม ๙ ประการเป็นที่สุด เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อม เดินพลางพรมน้ำมนต์ที่พระเถระเจ้าปะพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถระเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้งตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ ตามแง้มฝาเรือนและประตู เมื่อถูกหยดน้ำมนต์ของพระเถระเจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเผ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง ครั้งพระเถระเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ปะพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้หาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์ เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัยทั้ง ๓ ประการสงบแล้ว และประชาชนมีความผาสุกดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดถวายบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดี พากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ให้เสด็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล้ว

แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็สอนพระอานนท์ทำน้ำมนต์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์): น้ำพระพุทธมนต์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในความเป็นมงคล และเป็นสิ่งที่ผู้หวังความสุข ความสบายใจ เพียงเพื่อได้รับน้ำพระพุทธมนต์ที่พระท่านเสกแล้ว เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาโดยละเอียดของการทำน้ำพรพุทธมนต์ ซึ่งเริ่มที่เมืองเวสาลีนี้ จึงขอนำรัตนสูตรมากล่าวไว้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายาก ในชั้นแรกคนยากจนคนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนที่มีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานตัว เห็นไปว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งอยู่ที่นั้น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลตามถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นดินปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหารก็พากันเข้ามาในพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้นยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยลามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิง สูบโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประการหนึ่ง ชาวเมืองเวสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง ๑ อหิวาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย ครั้งนั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชาที่ประตูพระราชวังว่า “พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้พระมหากษัตริย์จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุดก็พากันบนเจ้าบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็น ใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้ ครั้นอำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยพระมหาสมุทร ทรงตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงส่งยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าแต่พระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์โดยแท้ ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีจึงโปรดให้เจ้าชายมหาลิ พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครเวสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้นก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี พระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า... “ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพระกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปกราบทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลิก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบาก หรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จ แล้วจะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้นแล้วโปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครเวสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า... “มหาลิ ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป” เจ้าชายมหาลิกราบทูล... “ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดารับสั่ง “แม้เช่นนั้น มหาลิก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” เมื่อพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลิว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต ครั้นได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครเวสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ เสด็จประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวายงดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยเกียรติอันสูงเช่นนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืนทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี่อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จทางชลมารค สิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครเวสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถาร ซึ่งเจ้าชายมหาลิหัวหน้าคณะราชฑูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วันก็ถึงชายพระนครเวสาลี ขณะที่เหยียบภาคพื้นพระนครเวสาลี ก้าวแรกก็ประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญแล้วเคลื่อนลมมาปกคลุมพระนครเวสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำรามกระหึ่มครึ้มครวญเปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจักๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา ความจริงก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมามากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นธรณีก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดารับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “อานนท์เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองเวสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่แก่ประชาชนเถิด” ในราตรีนั้น พระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตรจากพระบรมศาสดา แล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลป์ยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตรธรรม ๙ ประการเป็นที่สุด เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อม เดินพลางพรมน้ำมนต์ที่พระเถระเจ้าปะพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถระเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้งตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ ตามแง้มฝาเรือนและประตู เมื่อถูกหยดน้ำมนต์ของพระเถระเจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเผ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง ครั้งพระเถระเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ปะพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้หาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์ เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัยทั้ง ๓ ประการสงบแล้ว และประชาชนมีความผาสุกดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดถวายบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดี พากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ให้เสด็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล้ว

Buddham, Saranam, GacchamiBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

Buddham, Saranam, GacchamiBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

Buddham, Saranam, GacchamiBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนวิเวก 3 (ความสงัด, ความปลีกออก — seclusion) 1. กายวิเวก (ความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี - bodily seclusion; i.e.solitude) 2. จิตตวิเวก (ความสงัดใจ ได้แก่ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และอริยมรรค อริยผล - mental seclusion, i.e. the state of Jhana and the Noble Paths and Fruitions) 3. อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่าอุปธิ หมายเอาพระนิพพาน - seclusion from the essentials of existence, i.e. Nibbana)

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธคิดถึงพระพุทธเจ้าดีกว่าครับ "โรครักความเป็นพระพุทธเจ้า" แต่ก็ดี..โรครักความเป็นพระพุทธเจ้านี้ ก็ เป็นปัจจัยให้พวกเราไม่ต้องลงอบายภูมิกันมากว่า พันชาติเศษแล้ว นี้เราก็ขี้เกียจตกนรกกันมานาน แล้วนะ ใครจะขยันชาตินี้ก็ตาม ใครไปบ้างล่ะ เดี๋ยวต้องถามท่านเจ้าเมืองปาตลีบุตร ท่านจะพา ใครไปมั่ง.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า บุคคลผู้มีปัญญาสามารถจะหาความสุขได้ แม้ในสถานที่ที่น่าจะทุกข์ ตรงกันข้ามกับบุคคลเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุข ก็มีแต่ความทุกข์ร้อนอยู่ร่ำไป เศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝืนใจให้อดได้ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไหน ฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายๆ ทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้าย ให้กลายเป็นเรื่องดีได้เป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้าย ให้กลายเป็นเรื่องดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดู ศึกษาสถานการณ์ และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆเข้าเรื่องที่เข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้น อาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

Andrea Bocelli, Celine Dion - The Prayerอันเดรอา โบเชลลี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี รอการตรวจสอบ อันเดรอา โบเชลลี Andreabocelli.jpg ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อจริง อันเดรอา โบเชลลี Andrea Bocelli เกิด 22 กันยายน ค.ศ. 1958 แหล่งกำเนิด Lajatico, อิตาลี แนวเพลง ป็อป, คลาสสิก, โอเปร่า อาชีพ นักร้อง ช่วงปี ค.ศ. 1996-ปัจจุบัน ค่ายเพลง Sugar, MT Opera&Blue's เว็บไซต์ http://www.andreabocelli.com/ อันเดรอา โบเชลลี (อิตาลี: Andrea Bocelli) เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 1958 เป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องอิตาลี เขาเป็นทั้งนักร้องเสียงสูงโอเปร่า และแนวเพลงคลาสสิก เขามีผลงานเพลง 6 เพลงโอเปร่า ได้แก่ La Bohème, Il Trovatore, Werther, Pagliacci, Cavalleria Rusticana และ Tosca นอกจากนี้ยังมีผลงานอัลบั้มเพลงคลาสสิกและป๊อปอีกด้วย มียอดขายกว่า 55 ล้านอัลบั้มทั่วโลก อันเดรอามีปัญหาทางสายตาตั้งแต่อายุ 12 เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะเล่นฟุตบอล เนื้อหา [ซ่อน] 1 ประวัติ 1.1 ก้าวสู่วงการดนตรี(1992-1995) 1.2 นักร้องระดับโลก (1995-2007) 2 ผลงาน ประวัติ[แก้] ก้าวสู่วงการดนตรี(1992-1995)[แก้] ในปี 1992 ซุกเกโร (Zucchero) นักร้องร็อกยอดนิยมในอิตาลี ทดสอบอันเดรอา ขณะที่แข่งขันเป็นนักร้องเสียงสูง (เทเนอร์) เพื่อร้องคู่กับเขาในเพลง "Miserere" หลังจากเขาได้ยินเพลงนี้ นักร้องโอเปร่าระดับโลกอย่างลูชาโน ปาวารอตตี (Luciano Pavarotti) แนะนำให้ซุกเกโรเลือกอันเดรอา แทนเขาและกล่าวว่า "Let Andrea sing Miserere with you, for there is no one finer." เพลงนี้บันทึกเสียงภายหลังโดยปาวารอตตี แต่อันเดรอาก็ติดตามร้องเพลงนี้ไปกับซุกเกโรในทัวร์คอนเสิร์ตที่ยุโรป ในปี 1994 อันเดรอาแสดงเพลง "Il mare calmo della sera" ที่เทศกาลซานเรโม ซึ่งเป็นเพลงของเขาเพลงแรกที่เป็นผลงานทอง ในปีนั้นเอง เขาก็ปรากฏขึ้นในบทของ Macduff ใน Giuseppe Verdi's Macbeth ร้องเพลงที่ Pavarotti's benefit concert ใน Modena และแสดงหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ในเทศกาลคริสต์มาส นักร้องระดับโลก (1995-2007)[แก้] อันเดรอา โบเชลลี ในปี 1997 อันเดรอาแสดงในบทเพลง "Night of the Proms" คอนเสิร์ตยอดนิยมประจำปี ประกอบด้วยเพลงป๊อปและคลาสสิกยอดนิยม (ส่วนมากเป็นการผสมผสาน) โดยนักร้องหลายคนทั้งมีชื่อเสียงและไม่มีชื่อเสียงในอันต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม และผลของการแสดงนี้ "Con te partirò" กลายเป็นเพลงนิยมในเบลเยี่ยมและขึ้นสู่อันดับ 1 หลายสัปดาห์ในชาร์ทเบลเยี่ยม ในเดือนพฤศจิกายน 1996 อันเดรอาร้องเพลงคู่กับซาราห์ ไบรต์แมน (Sarah Brightman) นักร้องโซปราโนชาวอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อบทเพลงจาก "Con Te Partirò" (I’ll go with you) เป็น "Time to Say Goodbye" พวกเขาร้องในเพลงสุดท้ายในงาน German World Light-Heavyweight boxing champion ในเยอรมนี ซาราห์ ไบรต์แมน นักร้องหญิงสากลในฐานะเพลงโซปราโน และ Henry Maske เพื่อนของเขา ได้ยินเพลง Con Te Partirò ในร้านอาหารแห่งหนึ่งขณะทานมื้อเย็นกับเพื่อน ๆ ซาร่าห์ติดต่ออันเดรอาและบันทึกเสียงเพลง Con te partirò อีกครั้งในแบบของการร้องคู่ในเพลงชื่อว่า Time to Say Goodbye กับสมาชิกที่ลอนดอน ซิมโฟนี ออร์เคสตรา ในวัน Thanksgiving Eve ปี 1998 อันเดรอาเป็นแขกรับเชิญพิเศษของเซลีน ดิออน ในรายการ Celine Dion's TV Special "These Are Special Times" เขาร่วมร้องเพลง "The Prayer" (จากอัลบั้ม These Are Special Times ของเซลีน ดิออน) และร้องเพลง "Ave Maria" อัลบั้มนี้ของเซลีน วางจำหน่ายเมื่อปี 1998 และวางจำหน่ายในรูปแบบพิเศษเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 ในปี 2002 อันเดรอากลับสู่ทัวร์ที่สหรัฐอเมริกาอีกครั้ง ได้รับรางวัล World Music Awards 2 รางวัล หลังจากนั้น เขาเดินทางสู่อาชีพเขาในแบบคอนเสิร์ตเดินทางทั่วโลก รวมไปถึงการร้องเพลงที่ NBA's 2006 All-Star Weekend ใน Houston เขาร้อง "Because We Believe" จากอัลบั้มของเขาเมื่อปี 2006 Amore ในงานพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2006 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2007 เขาร้อง "Con Te Partirò" กับ Katherine Jenkins ในรายการยอดนิยมในสหราชอาณาจักร 'Strictly Come Dancing' และวันที่ 30 ตุลาคม 2007 เขาร้องเพลง "The Prayer" กับเซลีน ดิออน ในรายการที่พร้อมจะออกอากาศ ITV special "An Audience with Céline Dion" ผลงาน[แก้] อันเดรอา โบเชลลี มีผลงานเพลงสังกัดค่าย Universal Music มากมาย ดังนี้ II mare calmo della sera (1994) Bocelli (1995) Viaggio Italiano (1996) II mare calmo della sera (1996) Romanza (1996) Aria - The Opera Album (1997) Hymn for the World (1997) Viaggio italiano (1998) Hymn for the World 2 (1998) Sogno (1999) Sacred Arias (1999) Verdi (2000) La bohème (2000) Cieli di Toscana (2001) Sentimento (2002) Tosca (2003) Viaggio italiano (2003) Il trovatore (2004) Andrea (2004) US Werther (2005) Amore (2006) US Leoncavallo: Pagliacci (with Ana María Martínez et al) (2006) The Best of Andrea Bocelli: Vivere (2007) Incanto (2008) My Christmas (2009) Biofilm.png บทความเกี่ยวกับดารา นักแสดง นักร้องนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล หมวดหมู่: บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์นักร้องอิตาลีนักร้องเสียงเทเนอร์ [ปิด] รายการเลือกการนำทาง ไม่ได้ล็อกอินพูดคุยเรื่องที่เขียนสร้างบัญชีล็อกอินบทความอภิปรายเนื้อหาแก้ไขประวัติ ค้นหา ไป หน้าหลัก ถามคำถาม บทความคัดสรร บทความคุณภาพ เหตุการณ์ปัจจุบัน สุ่มบทความ มีส่วนร่วม เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ศาลาประชาคม ปรับปรุงล่าสุด ติดต่อวิกิพีเดีย บริจาคให้วิกิพีเดีย วิธีใช้ เครื่องมือ หน้าที่ลิงก์มา การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง อัปโหลดไฟล์ หน้าพิเศษ ลิงก์ถาวร สารสนเทศหน้า Wikidata item อ้างอิงบทความนี้ พิมพ์/ส่งออก สร้างหนังสือ ดาวน์โหลดเป็น PDF รุ่นพร้อมพิมพ์ ภาษาอื่น Afrikaans Aragonés العربية مصرى Asturianu Azərbaycanca Беларуская Беларуская (тарашкевіца)‎ Български Brezhoneg Bosanski Català Čeština Cymraeg Dansk Deutsch Ελληνικά Emiliàn e rumagnòl English Esperanto Español Eesti Euskara فارسی Suomi Français Gaeilge Galego עברית Hrvatski Magyar Հայերեն Bahasa Indonesia Ido Íslenska Italiano 日本語 ქართული Қазақша 한국어 Kurdî Latina Lëtzebuergesch Lietuvių Latviešu Malagasy Македонски Монгол Bahasa Melayu Nederlands Norsk nynorsk Norsk bokmål Occitan Polski Português Română Русский Sicilianu Srpskohrvatski / српскохрватски Simple English Slovenčina Slovenščina Shqip Српски / srpski Svenska Tagalog Türkçe Українська Tiếng Việt Winaray მარგალური 中文 Bân-lâm-gú 粵語 แก้ไขลิงก์ หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557 เวลา 21:22 น. อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดูรายละเอียดที่ ข้อกำหนดการใช้งาน Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร ติดต่อเรา

ใจเราสิ้นตัณหาอย่างแท้จริง เพราะมีปัญญารู้ทุกข์อย่างแท้จริง.ถ้าเราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะ­เลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้­เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่­รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื­่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้­อยเหลือเกิน..ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา.

เบื้องต้นมีความสุขเยอะเลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย.ถ้าเราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะ­เลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้­เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่­รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื­่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้­อยเหลือเกิน..ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา.

ลืมตายังฝัน.ถ้าเราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะ­เลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้­เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่­รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื­่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้­อยเหลือเกิน..ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา.

สิ่งที่ปกปิดเราจากธรรมะโดยหลวงพ่อปราโมทย์

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของส­ังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุ­ทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่­างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ใ­นชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็­นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ

ลืมตายังฝันคำว่าจิตตื่นของหลวงพ่อหมายถึง จิตซึ่งรู้สึกตัวขึ้นมา รู้สึกกาย รู้สึกใจ) ไม่ไปหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกของความคิด ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอ(จิต-ผู้ถอด)จำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขา สิ่งที่ผ่านหน้าบ้านเรา บางทีก็เป็นของสวยของงาม บางทีก็เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว เช่นหมาขี้เรื้อนวิ่งมา อะไรอย่างนี้ หมาบ้าวิ่งมาเนี่ย ผ่านหน้าบ้านไป อารมณ์ก็เหมือนกันนะ อารมณ์บางทีก็อารมณ์ที่ดี บางทีก็อารมณ์ที่เลว ผ่านมา แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เลว นักปฏิบัติที่แท้จริงจะเหมือนคนที่นอนเล่นในบ้าน ไม่วิ่งตามไป ไม่ใช่เห็นสาวสวยเดินผ่านหน้าบ้าน ก็วิ่งตามเขาไปนะ เห็นหมาบ้าวิ่งมาก็วิ่งออกไปไล่ตีมัน จิตใจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตใจจะแค่เป็นคนรู้คนดู แล้วก็สิ่งเหล่านั้นจะไม่แอบเข้าไปในบ้านเรา เหมือนผู้ร้ายไม่กล้าเข้าบ้าน เจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ใจเราตื่นขึ้นมานะ ผู้ร้ายคือกิเลสมันเข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าใจเราหลับเมือไหร่นะ มันย่องเข้ามา ย่องเบา เบาจริงๆนะ ย่องเข้ามา ไม่ทันรู้สึกหรอก กว่าจะรู้สึกตัวก็คือ มันขึ้นมาขี่คอเรียบร้อยแล้วนะ ให้คอยรู้สึกนะ รู้สึก…

ลืมตายังฝันคำว่าจิตตื่นของหลวงพ่อหมายถึง จิตซึ่งรู้สึกตัวขึ้นมา รู้สึกกาย รู้สึกใจ) ไม่ไปหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกของความคิด ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอ(จิต-ผู้ถอด)จำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขา สิ่งที่ผ่านหน้าบ้านเรา บางทีก็เป็นของสวยของงาม บางทีก็เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว เช่นหมาขี้เรื้อนวิ่งมา อะไรอย่างนี้ หมาบ้าวิ่งมาเนี่ย ผ่านหน้าบ้านไป อารมณ์ก็เหมือนกันนะ อารมณ์บางทีก็อารมณ์ที่ดี บางทีก็อารมณ์ที่เลว ผ่านมา แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เลว นักปฏิบัติที่แท้จริงจะเหมือนคนที่นอนเล่นในบ้าน ไม่วิ่งตามไป ไม่ใช่เห็นสาวสวยเดินผ่านหน้าบ้าน ก็วิ่งตามเขาไปนะ เห็นหมาบ้าวิ่งมาก็วิ่งออกไปไล่ตีมัน จิตใจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตใจจะแค่เป็นคนรู้คนดู แล้วก็สิ่งเหล่านั้นจะไม่แอบเข้าไปในบ้านเรา เหมือนผู้ร้ายไม่กล้าเข้าบ้าน เจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ใจเราตื่นขึ้นมานะ ผู้ร้ายคือกิเลสมันเข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าใจเราหลับเมือไหร่นะ มันย่องเข้ามา ย่องเบา เบาจริงๆนะ ย่องเข้ามา ไม่ทันรู้สึกหรอก กว่าจะรู้สึกตัวก็คือ มันขึ้นมาขี่คอเรียบร้อยแล้วนะ ให้คอยรู้สึกนะ รู้สึก…

วิธีซ่อมเตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 INDUCTION COOKER REPAIR1ร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356

การซ่อมตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ตอนภาคจ่ายไฟร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356

วิธีซ่อมเครื่องเชื่อมตู้เชื่อม INVERTER ตอนที่1ร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356

การซ่อมแอร์อินเวอร์เตอร์ร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com ,mrsompongt@hotmail.comhttps://www.youtube.com/watch?v=OY1u0LSMZ9Eมอเตอร์ไฟฟ้ายุคพัฒนาแล้วเครื่องจักรกลไฟฟ้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/khay-kaen-fexr-rit-chnid-toriod-chi-srang-converter-inverter-power-supply-emergency-power-supply-induction-heating-welding-machine-mi-hlak-hlay-chnid-hlay-baeb-hlay-khnad-hlay-khwamthi-hlay-rakha-khrab-sompong-industrial-electronics-02-951-1356-081-803-6553-bxk-kalang-watt-thi-txngkar-laea-ngb-praman-ma-k-phx-khrab-xyang-xun-chen-wngcr-xupkrn-thi-phm-mi-xyu-phx-smkhwr-khrab-email-ca-sadwk-ni-kar-thangan-khxng-phm-khrab-thorsaphth-sadwk-chwng-klang-khun-mi-kein-si-thum-khrab-tidtx-sxbtham-di-thuk-wan-khrab-khxbkhun-mak-khrab https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-sxm-srang-kaekhi-tu-cheuxm-inverter-sompong-industrial-electronics-029511356 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/3-phase-induction-motor-control-device https://sites.google.com/site/sompongindustrial/xupkrn-xilekthrxniks-kalang-sung-hrux-power-electronics https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/rab-phlit-khay-cahnay-xupkrn-khwbkhum-khwamrew-mxtexr https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-kaekhi-sxm-srang-phaeng-wngcr-xaer-tu-yen-kheruxng-sak-pha-run-xin-wexr-texr-khux-thi-69-6-sxy-pinpraphakhm-3-tiwannth-18-xaphex-meuxngnnthburi-canghwad-nnthburi-ra-has-pirsniy-11000-thorsaphth-029511356

ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไปเสรีเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว คาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้ง นั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ ฯ [๒๘๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๔] ส. น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่า สัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน หม่อมฉันได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดิน ทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย ครั้นต่อมา พวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาหม่อม ฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทาน กระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าว ชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกหม่อมฉันจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบ ประตูด้านแรกให้แก่พวกฝ่ายในไป เขาพากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา พวกกษัตริย์พระราชวงศ์พากันเข้าไปหา หม่อมฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน พวกฝ่ายในก็บำเพ็ญทาน แต่ พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ ฝ่าละอองธุลีพระบาทกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันก็คิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็น ทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทานเราจะ ว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สองให้แก่พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ไป พวกกษัตริย์ พระราชวงศ์ต่างก็พากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ครั้นต่อมา พวกพลกาย (ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภ ขึ้นว่า พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทานกระทำ บุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายกเป็นทานบดี เป็นผู้ กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สามให้พวกพลกายไป เขาก็พากันให้ทานใน ที่นั้น ทาน ของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา มีพวกพราหมณ์ คฤหบดี (ข้าราชการฝ่ายพลเรือน) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราช- *วงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าราชการฝ่ายทหารก็ให้ทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็น ผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่า อะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สี่ให้พวกพราหมณ์คฤหบดีไป เขาต่างก็พากัน ให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเจ้าหน้าที่ ทั้งหลายต่างพากันเข้าไปหาหม่อมฉัน ได้ทูลสนองขึ้นว่า บัดนี้พระองค์จะไม่ทรง บำเพ็ญทานในที่ไหนๆ อีกหรือ เมื่อเขาทูลอย่างนี้ หม่อมฉันจึงกล่าวตอบไปว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในท้องถิ่นชนบทนอกๆ ออกไป มีรายได้ใดๆ เกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในเมือง (เข้าท้องพระคลัง) เสียกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งพวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด (เป็นเช่นดังกราบบังคมทูลถวายนี้แหละ พระเจ้าข้า) หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้ ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม (คือพร้อม เพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ [๒๘๖] น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจเสรีเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว คาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้ง นั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ ฯ [๒๘๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๔] ส. น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่า สัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน หม่อมฉันได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดิน ทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย ครั้นต่อมา พวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาหม่อม ฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทาน กระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าว ชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกหม่อมฉันจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบ ประตูด้านแรกให้แก่พวกฝ่ายในไป เขาพากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา พวกกษัตริย์พระราชวงศ์พากันเข้าไปหา หม่อมฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน พวกฝ่ายในก็บำเพ็ญทาน แต่ พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ ฝ่าละอองธุลีพระบาทกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันก็คิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็น ทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทานเราจะ ว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สองให้แก่พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ไป พวกกษัตริย์ พระราชวงศ์ต่างก็พากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ครั้นต่อมา พวกพลกาย (ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภ ขึ้นว่า พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทานกระทำ บุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายกเป็นทานบดี เป็นผู้ กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สามให้พวกพลกายไป เขาก็พากันให้ทานใน ที่นั้น ทาน ของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา มีพวกพราหมณ์ คฤหบดี (ข้าราชการฝ่ายพลเรือน) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราช- *วงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าราชการฝ่ายทหารก็ให้ทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็น ผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่า อะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สี่ให้พวกพราหมณ์คฤหบดีไป เขาต่างก็พากัน ให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเจ้าหน้าที่ ทั้งหลายต่างพากันเข้าไปหาหม่อมฉัน ได้ทูลสนองขึ้นว่า บัดนี้พระองค์จะไม่ทรง บำเพ็ญทานในที่ไหนๆ อีกหรือ เมื่อเขาทูลอย่างนี้ หม่อมฉันจึงกล่าวตอบไปว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในท้องถิ่นชนบทนอกๆ ออกไป มีรายได้ใดๆ เกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในเมือง (เข้าท้องพระคลัง) เสียกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งพวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด (เป็นเช่นดังกราบบังคมทูลถวายนี้แหละ พระเจ้าข้า) หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้ ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม (คือพร้อม เพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ [๒๘๖] น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ

พรจากหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุงให้ทำบุญดีกว่านะเสรีเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว คาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้ง นั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ ฯ [๒๘๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๔] ส. น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่า สัตว์ในโลกหน้า ฯ [๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน หม่อมฉันได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดิน ทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย ครั้นต่อมา พวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาหม่อม ฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทาน กระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าว ชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกหม่อมฉันจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบ ประตูด้านแรกให้แก่พวกฝ่ายในไป เขาพากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา พวกกษัตริย์พระราชวงศ์พากันเข้าไปหา หม่อมฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน พวกฝ่ายในก็บำเพ็ญทาน แต่ พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ ฝ่าละอองธุลีพระบาทกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันก็คิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็น ทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทานเราจะ ว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สองให้แก่พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ไป พวกกษัตริย์ พระราชวงศ์ต่างก็พากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ครั้นต่อมา พวกพลกาย (ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภ ขึ้นว่า พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทานกระทำ บุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายกเป็นทานบดี เป็นผู้ กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สามให้พวกพลกายไป เขาก็พากันให้ทานใน ที่นั้น ทาน ของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา มีพวกพราหมณ์ คฤหบดี (ข้าราชการฝ่ายพลเรือน) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราช- *วงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าราชการฝ่ายทหารก็ให้ทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็น ผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่า อะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สี่ให้พวกพราหมณ์คฤหบดีไป เขาต่างก็พากัน ให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเจ้าหน้าที่ ทั้งหลายต่างพากันเข้าไปหาหม่อมฉัน ได้ทูลสนองขึ้นว่า บัดนี้พระองค์จะไม่ทรง บำเพ็ญทานในที่ไหนๆ อีกหรือ เมื่อเขาทูลอย่างนี้ หม่อมฉันจึงกล่าวตอบไปว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในท้องถิ่นชนบทนอกๆ ออกไป มีรายได้ใดๆ เกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในเมือง (เข้าท้องพระคลัง) เสียกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งพวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด (เป็นเช่นดังกราบบังคมทูลถวายนี้แหละ พระเจ้าข้า) หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้ ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม (คือพร้อม เพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ [๒๘๖] น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแจ่มแจ้งแล้ว ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและ น้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ เหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำ มลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของ เหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ

ทศชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดา บางพวกและวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาผู้อยู่ใน ชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๒ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้น อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๓ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดา ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔ ฯ สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็นอสัญญี สัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๕ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาสชั้นที่ ๗ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาสชั้นที่ ๘ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๔

จิตสว่าง ทางนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดา บางพวกและวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาผู้อยู่ใน ชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๒ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้น อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๓ ฯ สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดา ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔ ฯ สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็นอสัญญี สัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๕ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาสชั้นที่ ๗ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาสชั้นที่ ๘ ฯ สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๔

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันการที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกัน ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อั­นนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสม­าธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน บทเรียนที่หนึ่งชื่อว่า ศีลสิกขา บทเรียนที่สอง จิตสิกขา อาภัพไม่มีคนเรียน ถ้าเรียนจิตสิกขา สำเร็จหลักสูตรจิตสิกขา เราจะได้จิต ซึ่งเหมาะกับการทำวิปัสนา แต่ถ้าไม่เรียนนะ เราจะมีจิตที่เหมาะกับการทำสมถะ เช่นเราไปคิดเรื่องกายไปเพ่งกาย ไปคิดเรื่องเวทนา ไปเพ่งเวทนา ไปคิด เรื่องจิตไปเพ่งจิต เพ่งจิตก็ไม่ใช่วิปัสนา เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ เรียนนะ ค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราเริ่มตื่นขึ้นมาอย่างแท้จริง แล้วเราจะทำวิปัสนาอย่างจริงๆ ได้ เอาเท่านี้ก่อนนะ สรุป ถ้า มีสติก็มีศีล มีสติก็มีสมาธิ มีสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นสติรับรู้อะไรปั๊ป จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจมากเข้าๆ จะเกิดปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ เกิดมรรคผล นิพพานขึ้นนะ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อั­นนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสม­าธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน บทเรียนที่หนึ่งชื่อว่า ศีลสิกขา บทเรียนที่สอง จิตสิกขา อาภัพไม่มีคนเรียน ถ้าเรียนจิตสิกขา สำเร็จหลักสูตรจิตสิกขา เราจะได้จิต ซึ่งเหมาะกับการทำวิปัสนา แต่ถ้าไม่เรียนนะ เราจะมีจิตที่เหมาะกับการทำสมถะ เช่นเราไปคิดเรื่องกายไปเพ่งกาย ไปคิดเรื่องเวทนา ไปเพ่งเวทนา ไปคิด เรื่องจิตไปเพ่งจิต เพ่งจิตก็ไม่ใช่วิปัสนา เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ เรียนนะ ค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราเริ่มตื่นขึ้นมาอย่างแท้จริง แล้วเราจะทำวิปัสนาอย่างจริงๆ ได้ เอาเท่านี้ก่อนนะ สรุป ถ้า มีสติก็มีศีล มีสติก็มีสมาธิ มีสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นสติรับรู้อะไรปั๊ป จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจมากเข้าๆ จะเกิดปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ เกิดมรรคผล นิพพานขึ้นนะ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์..ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนคร กบิลพัสดุ์ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร- *จีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับ จากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาล- *เขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้นแล ในวิหารของเจ้า กาลเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอด พระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหาร ของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มาก มายหรือหนอ ฯ [๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่ ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก ที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้ มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ [๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลี กัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง ร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ คลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุข เกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไป สงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็น ฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วม หมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่ กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโต- *วิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิด โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็น อย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ [๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ ทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ ฯ (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ฯ (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิต ยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อม ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง ภายในนั้นได้ ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อม แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อม เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ [๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อม ใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของ ชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่อง ชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสี ในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของ ของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่อง สมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็น อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อม ใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการ นี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ [๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้ ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ [๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็น ผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ รู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจาก ข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตาม ศาสดา ฯ ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มี- *พระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่ การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อ ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณ- *ทัสสนะ ฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์ อุปัททวะของศิษย์ อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ [๓๕๒] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกร อานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อศาสดานั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะด้วย อุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ [๓๕๓] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่า ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์ ย่อมมีได้ ฯ [๓๕๔] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ อย่างไร ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พา กันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะ ด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ฯ ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์ ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้อง เราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ฯ [๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็น ข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง ศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ [๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่า สาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง ศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ สุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ มหาสุญญตสูตร ที่ ๒

ธรรมที่ไม่เนิ่นช้าจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

รถด่วนขบวนสุดท้ายสายอนุปาทาปรินิพพานจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

พุทธเบิกบานหน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจ­ริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนน­ะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่งแต่รวมความก็คืออริยมรรคไม­่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเราอริ­ยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมิ­นะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกา­ยใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต­็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้น­มาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรจะเห็น­แต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับ­ไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสา­ระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว

ลืมตาไว้ อย่าให้จิตไปติด ซึมเฉยทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจ­ริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนน­ะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่งแต่รวมความก็คืออริยมรรคไม­่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเราอริ­ยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมิ­นะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกา­ยใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต­็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้น­มาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรจะเห็น­แต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับ­ไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสา­ระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

Buddhan Saranam Gachchami- (Ishak Beg)สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

ลูกพระพุทธเจ้า.สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงการถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย ( พักสายตา ) เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป

ผู้รู้แจ้งแผ่นดินนี้มนุษย์โลกพร้อมเทวโลกการถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย ( พักสายตา ) เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไร­เลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวขอ­งเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­บเดียวในขณะนั้น

กายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนล้วน...จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami song.ฟังเพลง บรรลุธรรม แนวทางของการบรรลุธรรมไว้ ๓ แนวทางตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์ คือ ๑.บรรลุธรรมเพราะได้ฟัง ๒.บรรลุธรรมเพราะได้คิด ๓.บรรลุธรรมเพราะได้ปฏิบัติ ตัดข้อ ๒ และข้อ ๓ ออกก่อน คงกล่าวเฉพาะประเด็นแรกก่อน เพื่อไม่ให้เนื้อความยาวเกินไป คราวก่อนได้ยกตัวอย่างพระอัครสาวกทั้ง ๒ ว่า ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเพราะการฟัง เป็นที่น่าสังเกตว่า เฉพาะการฟังอย่างเดียวสามารถส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมถึงขั้นอรหัตผลนั้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เอาที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก็เห็นจะเป็นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้บรรลุอรหัตต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่ออนัตตลักขณสูตรจากพระพุทธเจ้า การบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นจากการฟังนี้ หากจะพิจารณากรณีตัวอย่างโดยละเอียดจะเห็นว่า จะบรรลุธรรมขั้นใดขึ้นอยู่กับพื้นเพอุปนิสัยเดิมของผู้นั้นเป็นสำคัญ บางท่านฟังแล้วบรรลุขั้นโสดาบัน บางท่านได้สกทาคามี อนาคามี หรือบางท่านก็ก้าวกระโดดบรรลุขั้นพระอรหันต์เลยก็มี การได้ฟังธรรม แล้วได้บรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ในอรรถกถามังคลัตถทีปนีจึงกล่าวไว้ว่า “การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์” ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้ “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุล แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล” เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้ “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล” บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น” บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้” สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้” ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้ “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร” “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร” จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami songbuddan saranam gachchami

วิธีที่จะทำให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธ ห...พุทโธๆจิตหนึไปคิด รู้ทัน พุทโธจิตไปเพ่งนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน หายใจอยู่จิตหนีไปคิด ... งั้นก็ให้เราคอยทำกรรมฐานอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตที่หนีไปคิดแค่นี้ก็พอนะ

พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้พุทโธๆจิตหนึไปคิด รู้ทัน พุทโธจิตไปเพ่งนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน หายใจอยู่จิตหนีไปคิด ... งั้นก็ให้เราคอยทำกรรมฐานอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตที่หนีไปคิดแค่นี้ก็พอนะ

สมาธิคือความตั้งมั่นของจิตสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์ อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้ง­ซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์­ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป­็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหล­ไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไ­รขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนาอยู่ดีแหละ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

พระธรรมเทศนาโดยพระราชพรหมยานเถระเรื่องพระพุทธเจ้า (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์ ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ ข้าพระองค์. ว่าด้วยคำถามของพระพุทธนิมิต [๓๗๕] คำว่า มีความเห็นอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่าง ไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า บุคคลประกอบด้วยความเห็นเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร. คำว่า มีศีลอย่างไร ความว่า บุคคลประกอบด้วยศีลเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? คำว่า อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า อันบัณฑิตกล่าว เรียก บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับ ระงับแล้ว. พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญาว่า มีความเห็นอย่างไร ตรัสถามถึงอธิศีลว่า มี ศีลอย่างไร ตรัสถามถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลมีความ เห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. [๓๗๖] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอจงตรัสบอกบุคคล นั้น ... แก่ข้าพระองค์ ความว่า บุคคลที่ถาม ที่ขอให้บอก ขอให้ตรัสบอก ขอให้ประกาศ. พระพุทธนิมิตนั้น ย่อมตรัสเรียกพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยพระโคตรว่า ข้าแต่พระโคดม. คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ตรัสเล่า บอก แสดง แถลง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ... แก่ ข้าพระองค์. [๓๗๗] คำว่า ถูกถามแล้ว ในคำว่า ถูกถามแล้ว ... ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม ความว่า ถูกถาม ถูกสอบถาม ขอให้บอก ขอเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ. คำว่า ซึ่งเป็น นรชนผู้อุดม ความว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร? มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้า ไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอก บุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์. [๓๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ ปราศจากตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วน ท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อธิบายคำว่า ภควา [๓๗๙] คำว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ตัณหา ความว่า ก่อนแต่กายแตก คือ ก่อนแต่อัตภาพแตก ก่อนแต่ทอดทิ้งซากศพ ก่อน แต่ขาดชีวิตินทรีย์ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ เป็นผู้มีตัณหาหายไป สละไป สำรอก ออก ปล่อย ละ สละคืน เป็นผู้ปราศจากราคะ คือ เป็นผู้มีราคะหายไป สละไป สำรอก ออก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีตนดังพรหม อยู่. บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวเรียกด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถ ว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนกแจกแจงซึ่งธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่ สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอัน อบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า ละเมาะ ป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็น ที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภควา อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วน แห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภฌาน- *สมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิ สัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหันตผลในลำดับ แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลและธรรม ทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาค ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา. [๓๘๐] อดีตกาล ท่านเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น ในคำว่า ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละตัณหา สละคืนทิฏฐิ เสียแล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูป อย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอดีตกาล เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญา อย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า ในอดีต กาล เราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลินจักษุ และรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในหูและเสียงว่า ในอดีตกาล เราได้มีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ใน อดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยใจและธรรมารมณ์นั้น จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อ ไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจ ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน และไม่ถึงความปลื้มใจด้วยความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามที่มีในคราวก่อนนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วน เบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. [๓๘๑] ปัจจุบันกาล ท่านเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง ในคำว่า ผู้อันใครๆ ไม่นับได้ ในส่วนท่ามกลาง ความว่า พระอรหันต์ปรารภถึงปัจจุบันกาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว เพราะ ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว อันใครๆ ไม่นับได้ว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ยึดถือ ถึงความกวัดแกว่ง ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง. พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้น ได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว อันใครๆ ไม่นับได้โดยคติว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิด ในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. พระอรหันต์ นั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องถึงการนับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อัน ใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง. ว่าด้วยความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง [๓๘๒] คำว่า นั้น ในคำว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น คือ พระ อรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำ ไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. พระอรหันต์นั้น ละ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความ ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ จึงไม่กระทำตัณหาหรือ ทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิแวดล้อม เที่ยวไป แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูป อย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญา อย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ใน เบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิน จักษุและรูปนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. ไม่ตั้ง จิตเพื่อได้หูและเสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะ เหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น ความทำ ไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือ เป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุไม่ ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลินภพนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์ นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. [๓๘๓] บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี. ว่าด้วยเหตุเกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง [๓๘๔] ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ความว่า ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน. ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่ เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขากำลัง ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งเป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ ๑. ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษ ร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็น ผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ. อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุส- *วาจาก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศต่างๆ ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่างๆ แต่ยังไม่ให้จับท่อนไม้และศาตราก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาตราก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็ก แผลใหญ่ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหัก ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหัก แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับก็มี. บางครั้ง ความโกรธ เป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่า บุคคลอื่นแล้ว จึงให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของมาก อย่างยิ่ง. ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ. บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละ ความโกรธได้แล้ว เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ. ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง [๓๘๕] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง. ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง กลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง. ภิกษุนั้น ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ ผู้ไม่สะดุ้ง. ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด [๓๘๖] คำว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด โอ้อวด. ภิกษุนั้น ย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วย วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วย ความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการปกครองบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งแห่ง ศิลปศาสตร์ ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง ปรากฏมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่า เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ ไม่ฉันภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่นอนเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขา จัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ บ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง บุคคล ไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ บุคคลงด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด. ว่าด้วยผู้ไม่มีความรำคาญ [๓๘๗] ชื่อว่า ความรำคาญ ในคำว่า ผู้ไม่มีความรำคาญ ได้แก่ ความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญทั้งมือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญ ในสิ่งควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ. ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่ กระทำอย่างไร? ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำแต่กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำแต่วจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโน- *สุจริต เราทำแต่ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำแต่อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนา เครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำแต่มุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำแต่ปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำแต่ผรุสวาจา เราไม่ได้ ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำแต่สัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก สัมผัปปลาปะ เราทำแต่อภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำแต่พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ ไม่กระทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้ เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งนิโรธ ความรำคาญนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร- *เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ไม่มีความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ. ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา [๓๘๘] คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า ปัญญาเรียกว่า มันตา ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. บุคคลกำหนดกล่าววาจา ด้วยปัญญา แม้กล่าวมาก พูดมาก แสดงมาก แถลงมาก ก็ไม่กล่าววาจาที่กล่าวชั่ว พูดชั่ว เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว บอกเล่าชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา. ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน? ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบจิต ความที่จิตกวัดแกว่ง ความที่จิตหมุนไป นี้เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน. ความฟุ้งซ่านนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน. ว่าด้วยการสำรวมวาจา [๓๘๙] คำว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้ เคลื่อนคลาดแก่โลก. ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากปิสุณาวาจา ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความเพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้ เขาพร้อมเพรียงกัน ด้วยประการดังนี้. ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย เป็นคำของชาวเมือง ที่ชนหมู่มากพอใจ ชอบใจ. ละสัมผัปปลาปะ เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีส่วนสุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔. งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่ ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคค- *กถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา สติปัฏฐาน- *กถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา. คำว่า ผู้สำรวมวาจา คือ ผู้สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง รักษา ระวัง สงบแล้ว. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และ ตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วย ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี. [๓๙๐] บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไป แล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิ ทั้งหลาย. ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา [๓๙๑] คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ความว่า ตัณหา เรียกว่า ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องใน อนาคต. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่าง นี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยว ข้องในอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมี จักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและ รูปนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. ไม่ตั้งจิตเพื่อได้หูและ เสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยว ข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพหรือเทวดาตนใด ตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่ เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลินภพนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้. ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก [๓๙๒] คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่รำพันถึง ไม่ ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ของเราแปรปรวนไป แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเราแปรปรวนไปแล้ว สกุล หมู่ คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ของเราแปรปรวนไปแล้ว จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย- *เภสัชบริขาร ของเราแปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร บิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว. ว่าด้วยผัสสะ [๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ได้แก่ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุข- *เวทนา ผัสสะอันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากฤต ผัสสะอันเป็นกามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็นสุญญาตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็นโลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็น แห่งความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความ เที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง. เห็น โสตสัมผัส เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็นอธิวจน- *สัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกข- *เวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็น อกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยากฤต เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ เห็นผัสสะ อันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกุตตระว่า เป็นของว่างจาก ความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความ เป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น อนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นอนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น อดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีต และผัสสะอันเป็นอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ อันปฏิสังยุตด้วย สุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความ โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิ สังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย. [๓๙๔] คำว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคล นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลอัน ทิฏฐิย่อมไม่นำไป ไม่นำออกไป ไม่ลอยไป ไม่เลื่อนไป และบุคคลนั้นไม่กลับถึง ไม่กลับมา สู่ทิฏฐินั้นโดยความเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วง ไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปเพราะทิฏฐิ ทั้งหลาย. [๓๙๕] บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่ คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจและไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด. ว่าด้วยผู้หลีกเร้น [๓๙๖] คำว่า เป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ความว่า เพราะละเสียแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้น. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ หลีกเร้นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความถือตัวว่า เป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิด ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้หลีกเร้น. ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง [๓๙๗] เรื่องความหลอกลวง ในคำว่า ไม่หลอกลวง มี ๓ อย่าง คือ เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง ๑. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน? พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้น มีความ ปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้น เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความ เป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยมูตรเน่าหรือชิ้นลูกเสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความเป็นผู้อยาก ได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง. พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความ เพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร. เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบ บุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วย ไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตร ผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมา จะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับ เสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก. ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความ หลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความ ปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชน จักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุ มีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ อาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) การตั้งใจ ตั้งการดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้ เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุม ชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงภาชนะ- *โลหะ ทรงธรรมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคตเอว ใช้ สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดมีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบ กันมาอย่างนี้ มีสหายอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียว อย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้น อย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้ อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ ในเรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าย่นยู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะเลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตตรธรรม และนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบังความทำหน้ายู่ยี่. ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วย การพูดเลียบเคียง. เรื่องความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ผู้หลีกเร้นไม่หลอกลวง. [๓๙๘] ตัณหาเรียกว่า ความทะเยอทะยาน ในคำว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความทะเยอทะยานนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน. ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง คำว่า ผู้ไม่ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ความตระหนี่ ธรรม ๑ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความ เหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่า ความตระหนี่. ความ ตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย ไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ ตระหนี่. ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง [๓๙๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ ได้แก่ ความ คะนอง ๓ อย่าง คือ ความคะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑. ความคะนองทางกายเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะ ก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนองทางกาย. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ไม่ ก้ม) พูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน อยู่บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน คณะแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวกภิกษุบางรูปที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะ พวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบน อาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในโรงฉัน แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระ บ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่ บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบ ข้างหน้าบ้าง อาบเหนือน้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดิน ข้างหน้าบ้าง เดินขึ้นหน้าพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความ คะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่า เข้าไปเถิดพระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขา ไม่บอกว่า ยืนเถิดพระคุณเจ้า ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิดพระคุณเจ้า ก็นั่ง เข้าไปสู่ที เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ผลุนผลัน เข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่งหญิงของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง จับศีรษะเด็กบ้าง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนอง ทางกายอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความคะนองทางกาย. ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะ ก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ย่อมแสดงความคะนองทางวาจา. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อ เชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกแก่พวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อ เชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูด บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูด บ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกะสตรีบ้าง กุมารีบ้าง พูดฟุ้งไปว่า ดูกรหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สิ่งอะไรมีอยู่ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวกเราจะดื่มอะไร จะฉันอะไร จะเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือท่านทั้งหลายจะให้อะไรแก่เรา ภิกษุเข้าไปสู่ ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความคะนองทางวาจา. ความคะนองทางจิตเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลสูง ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลสูง. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลใหญ่. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติ มาก ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุผู้ทรงจำพระสูตร มิใช่เป็นผู้ทรงพระวินัย ... มิใช่เป็นพระธรรมกถึก ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ ถือไม่นอนเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ ได้ปฐมฌาน ฯลฯ มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. นี้ชื่อว่า ความคะนองทางจิต. ความคะนอง ๓ ประการนี้ บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคล นั้นเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง. ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ [๔๐๐] คำว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ ความว่า บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจก็มี ผู้ไม่เป็นที่ รังเกียจก็มี. ก็บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติอันไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง มีการงานอันปกปิด ไม่ใช่สมณะ ก็ ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีความเน่าอยู่ ณ ภายใน มีจิตชุ่มอยู่ด้วยราคะ เป็นดังว่าหยากเยื่อ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น ที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่าเข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียก ว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้กระด้าง ถือตัวจัด มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด มีความถือทิฏฐิของตน มีความถือรั้น มีความสละคืนยาก บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ. ก็บุคคลผู้ไม่เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มีความแค้นเคืองมาก แม้อันใครๆ ว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่มุ่งร้าย ไม่ปองร้าย ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดี ให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความ เห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่ รังเกียจ. อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ. ว่าด้วยผู้ส่อเสียด [๔๐๑] ชื่อว่าความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ฟังจากข้างนี้ แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคน หมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็น ก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีคำส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑. บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียด เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้. บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? บุคคลมีความ ประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย อย่างไรคนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก บุคคล- *มีความประสงค์ให้เขาแตกกันนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้. คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด. [๔๐๒] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด. ว่าด้วยกามคุณ ๕ [๔๐๓] กามคุณ ๕ เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุ เป็นที่ยินดี. เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ ๕ โดยส่วนมาก เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ความยินดี คือ ความ- *ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ก็มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหา หลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ. ความยินดี คือ ความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้น ก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มี สัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทาง จมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี. ว่าด้วยความดูหมิ่น [๔๐๔] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่นเป็นไฉน? บุคคล- *บางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่น. ความดูหมิ่นนั้น อันบุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น ไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น. [๔๐๕] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด เพราะประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด. ผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก [๔๐๖] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ บุคคลมีปฏิภาณ เพราะปริยัติ ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม ๑. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เล่าเรียน พระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. ญาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะ ปริยัติ. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถาม ในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ. ญาณของ บุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยการไต่ถามนั้น. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา. บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ได้บรรลุ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ. เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้นิรุติ นิรุติก็แจ่มแจ้ง. ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุติทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. บุคคลผู้ใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้มีปฏิภาณ. บุคคลใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้ง แก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ. ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก [๔๐๗] คำว่า ไม่เชื่อใครๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองต่อใครๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม คือ ไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใครๆ อันซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเอง คือ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งผัสสายตนะ ๖ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูต รูป ๔ ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่ รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี ความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอย่อมเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สันธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้อง หน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ... ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ถูกละๆ ดูกรสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อต่อใครๆ รู้ว่า นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำ ไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวังเสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่า เป็นอุดมบุรุษ ดังนี้. ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด. พระ อรหันต์นั้น ชื่อว่า เป็นผู้เว้น เพราะสิ้นราคะ ปราศจากราคะ สิ้นโทสะ ปราศจากโทสะ สิ้นโมหะ ปราศจากโมหะ. พระอรหันต์นั้น อยู่จบพรหมจรรย์ มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีภพ ใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด. [๔๐๘] บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่ พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะตัณหา. ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ [๔๐๙] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริ อย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- *เภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้ทรงจำพระสูตร ด้วย เหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภก็เล่า เรียนพระสูตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความ เกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ฯลฯ ท่านผู้นี้ เป็นผู้ทรงจำพระอภิธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอหวังได้ลาภก็เล่าเรียนพระอภิธรรม เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่ง ลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยาก ได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือ การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอหวังได้ลาภก็เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการ อยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ และเพราะ ความเกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร? ภิกษุย่อมไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อ ประโยชน์ฝึกตน เพื่อสงบตน เพื่อให้ตนปรินิพพาน อย่างเดียวเท่านั้น. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะ อยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเป็นผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวร เป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ถือการนั่ง เป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ. ว่าด้วยโกรธเพราะไม่ได้ลาภ [๔๑๐] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อม โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ ขัดเคือง แค้นใจ ทำความ โกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปฐาก เราเป็นผู้มีชื่อเสียงไม่ปรากฏ. บุคคล ย่อมโกรธ เพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้. บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่โกรธ ไม่ ขัดเคือง ไม่แค้นใจ ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อม ไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปฐาก เราเป็น ผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ. บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ. ว่าด้วยความพิโรธ [๔๑๑] คำว่า ความพิโรธ ในคำว่า เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา ดังนี้ ได้แก่ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคือง เสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ประทุษร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพิโรธ. ความพิโรธนั้น อันบุคคล ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้ไม่พิโรธ. ชื่อว่าตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. ชื่อว่ารส ได้แก่ รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน. มีสมณพราหมณ์บางพวกติดใจในรส สมณพราหมณ์ พวกนั้น เที่ยวแสวงหารสอันเลิศ ด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยว ก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รส ไม่เปรี้ยวก็แสวงหารสเปรี้ยว. ได้รสหวานก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รสไม่หวานก็แสวงหารส หวาน. ได้รสขมก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมก็แสวงหารสขม. ได้รสเผ็ดร้อนก็แสวงหารส ไม่เผ็ดร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อนก็แสวงหารสเผ็ดร้อน. ได้รสเค็มก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่ เค็มก็แสวงหารสเค็ม. ได้รสปร่าก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าก็แสวงหารสปร่า ได้รสเฝื่อน ก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดก็แสวงหารสเฝื่อน. ได้รสอร่อยก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อย ก็แสวงหารสอร่อย. ได้รสเย็นก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนก็แสวงหารสเย็น. สมณพราหมณ์ พวกนั้นได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ย่อมแสวงหารสอื่นๆ อีก เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ตัณหาในรส อันบุคคล ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงร่างกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่อ อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบาย ดังนี้. คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว คนหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตรเป็น อาหารเพื่อจะออกจากทางกันดาร อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว พึงฉัน อาหาร ก็ฉันนั้น ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อ ความดำรงกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นซึ่งรสตัณหา ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยรสตัณหา เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่ พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา. [๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่า ดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ [๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ชอบ ใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรสที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่ เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรง ดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่ ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ หลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. บุคคลนั้น เป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดใน เสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส อยู่. พระอรหันต์มีจักษุปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรส ด้วยลิ้น แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีใจปรากฏ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มี ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระ- *อรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวมจักษุนั้น. หูเป็น ธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลิ่น ลิ้นเป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติ ชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็นธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความสำรวมใจนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาทรงขึ้น พาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคลผู้ฝึกฝนแล้ว อดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์. ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น. ใครๆ ไม่พึงไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศ ที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อมไปถึงได้. พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย เป็นผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึกแล้ว ๑- พระ อรหันต์เหล่านั้น เป็นผู้ชนะแล้วในโลก. ผู้ใดอบรมอินทรีย์ทั้งหลาย ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายในทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลก นี้และปรโลกแล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา. คำว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดนิตยกาล ตลอดกาลยั่งยืน ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา ทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญธัมมานุ- *ปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ. ว่าด้วยมานะ [๔๑๔] คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก ความว่า ไม่ยังมานะให้เกิดโดยชาติบ้าง @๑. อรหัตผล โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราเสมอเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก. [๔๑๕] คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ความว่า ไม่ยังความดู หมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา. ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ ประการ [๔๑๖] คำว่า นั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่ากิเลสอันหนาทั้งหลาย คือ กิเลสอันหนา ๗ ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือ ย่อม ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสอันหนา ทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ย่อมไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญ ว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลาย ย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น. [๔๑๗] ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพ และ ในความปราศจากภพ. ว่าด้วยความอาศัย [๔๑๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้นั้นละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัยสละคืน ทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย. [๔๑๙] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. ผู้ใดละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตอันทำให้ ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย. ว่าด้วยตัณหา [๔๒๐] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ใด คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ในภพ คือ ในภวทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ใน วิภวทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในสัสสตทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ในอุจเฉท- *ทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในอุปบัติบ่อยๆ ใน ปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันให้อัตภาพเกิดบ่อยๆ. ตัณหาย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ ตัณหานั้นอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพ และในความ ปราศจากภพ. [๔๒๑] เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ กิเลส เป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้าม ตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. [๔๒๒] คำว่า เรากล่าวบุคคลนั้น ... ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ ความว่า เรากล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งบุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวบุคคลนั้น ... ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ. ว่าด้วยกาม ๒ [๔๒๓] โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม. บุคคลนั้นกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลังแล้ว ซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้- *หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เพ่งในกาม ทั้งหลาย. ผู้ว่าเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง [๔๒๔] ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพัน ในคำว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น คือ กิเลสเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง ได้แก่ กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ อภิชฌา พยาบาท สีลัพพตปรามาส อิทังสัจจาภินิเวส (ความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง). ความกำหนัดในทิฏฐิ ของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ อภิชฌา. ความอาฆาต ความไม่ยินดี ในวาทะของชน เหล่าอื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ พยาบาท. ความยึดถือศีล หรือพรต หรือศีลและพรต ของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ สีลัพพตปรามาส. ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลส เครื่องผูกพันทางกาย คือ อิทังสัจจาภินิเวส. คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า กิเลส เครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี คือ มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นกิเลสอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ [๔๒๕] คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว ความว่า ตัณหาเรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. เพราะอรรถว่าซ่านไป เพราะอรรถว่าแผ่ไป เพราะ อรรถว่าไม่สม่ำเสมอ เพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะอรรถว่าสะท้อนไป เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ให้พูดผิด เพราะอรรถว่ามีมูลรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่ามีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่ามีเครื่อง บริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว ความว่า บุคคลนั้น ได้ข้าม ข้ามพ้น ล่วงเลย เป็นไปล่วงตัณหาอัน ชื่อว่าวิสัตติกานี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ กิเลสเป็น เครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. [๔๒๖] บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น. ว่าด้วยบุตรเป็นต้น [๔๒๗] ศัพท์ว่า น ในคำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล นั้น เป็นปฏิเสธ. คำว่า นั้น คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าบุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรเกิดแต่ตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่เกิดในสำนัก ๑. คำว่า ปศุสัตว์ คือ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา. คำว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวจ้าว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉางที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือ ความยึดถือบุตร ความยึดถือปศุสัตว์ ความยึดถือไร่นา ความยึดถือที่ดินย่อมไม่มี มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยทิฏฐิ [๔๒๘] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ ในบุคคลนั้น ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อม ไม่มี สิ่งที่พึงปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึง ปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มี แก่บุคคลนั้น. บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วงความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลย ความเจริญและความเสื่อมแล้ว. บุคคลนั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน บุคคลนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น. [๔๒๙] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด โทษนั้น ไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย. [๔๓๐] คำว่า ปุถุชน ในคำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว โดยโทษใด ความว่า เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าปุถุชน. เพราะอรรถว่าให้กิเลสหนาเกิด เพราะอรรถว่าเป็นผู้มีสักกายทิฏฐิอันยังไม่กำจัดมาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เลือกหน้าศาสดามาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันคติทั้งปวงร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่าย่อมปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าย่อมลอยไปเพราะห้วงกิเลสต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าย่อมเดือดร้อนเพราะ กิเลสเป็นเหตุให้เร่าร้อนต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้กำหนัด ยินดี ชอบใจ หลงใหล ติดใจ เกาะเกี่ยว พัวพันมากในกามคุณ ๕ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อไว้มาก จึงชื่อว่า ปุถุชน. คนพวกใดพวกหนึ่งผู้เข้าถึง ถึงพร้อมด้วยการบวชภาย นอกศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้อ้างตนว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า พราหมณ์. คำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด ความว่า พวกปุถุชนพึง กล่าวโดยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาใด และพึงกล่าวโดยอนุสัย ใดว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่แน่นอน หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลส เครื่องปรุงแต่งได้แล้ว พึงกล่าวถึงคติโดยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ เป็นเนวสัญญีนาสัญญีสัตว์. บุคคลนั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ ที่เป็นเครื่องกล่าว คือ บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก สมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด. ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม [๔๓๑] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ ความห้อมล้อม ๒ อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา ๑ ความ ห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อม แห่งทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหา และทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิห้อมล้อม เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น. [๔๓๒] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ นิทานนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะวาทะทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด โทษนั้น ไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะวาทะทั้งหลาย. [๔๓๓] บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวใน ความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนัด. [๔๓๔] ตัณหาเรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า ปราศจากความกำหนัด. ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความกำหนัดนั้น. อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ ปราศจากความกำหนัด. บุคคลนั้นไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่ติดใจ เป็นผู้ที่มีความกำหนัด ปราศไป กำจัด คลายออก ปล่อย สละคืนแล้ว ในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้มี ตนเป็นดังพรหมเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด. ชื่อว่า ความตระหนี่ ในคำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ ตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่. [๔๓๕] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. บุคคลผู้ เป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อม ไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำ กว่าเขา. ว่าด้วยความกำหนด ๒ อย่าง [๔๓๖] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนดด้วย ตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ มั่น ซึ่งความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึง ความกำหนด. ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ กำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึง ความกำหนด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวใน ความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด. [๔๓๗] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่ เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ. ว่าด้วยผู้ไม่มีความยึดถือ [๔๓๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ ว่า นี้ ของเรา หรือว่า นี้ของ คนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก. ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก [๔๓๙] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก ความว่า ไม่เศร้าโศกถึง วัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือ ไม่เศร้าโศกถึง ไม่ ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช- *บริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้องครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความ หลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค มองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคน้ำดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกิน กำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึง ความหลงใหล แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวัตถุไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า โอ สิ่งนั้นของเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา หนอ สิ่งนั้นควรมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อสิ่ง ที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศกถึง. ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง [๔๔๐] คำว่า และย่อมไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยไม่ดำเนินออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลาย อันทำให้ เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย. ว่าด้วยผู้สงบ [๔๔๑] ก. คำว่า บุคคลนั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ ความว่า ผู้นั้นเราเรียก คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า ผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบพิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มีอยู่ ย่อม ไม่เศร้าโศกถึง และไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ. จบ ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ -----------------------------------------------

เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเราอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ตรงนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา

ถึงนาทีสุดท้ายอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ตรงนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา

ไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยไม่มีที่มาไม่มีที่ไปอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง

จิตรวมเข้าถึงจิต...จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

สัมมาสมาธิสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาเริ่มปฏิบัติเนื่องในโสดาปัตติผล หรือว่า ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค การเจริญพระกรรมฐานนี่ พระพุทธเจ้ามีความต้องการให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้าถึงพระอริยมรรค พระอริยผล ถ้าเราจะปฏิบัติกันอย่างเลื่อนลอยก็มีความสุขเหมือนกัน แต่มีความสุขไม่จริง ที่จะปฏิบัติให้มีความสุขจริงๆ ก็จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเครื่องเข้าถึงจึงจะใช้ได้ ในอันดับแรกนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการผลอันดับต้น คือได้พระโสดาปัตติมรรคหรือพระโสดาปัตติผล หรือการที่เราเรียกกันว่า พระโสดาบัน ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษาอย่างอื่น ก็โปรดทราบว่า สำหรับพระโสดาบันนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ:- ๑. สักกายทิฏฐิ ตัวนี้มีปัญญาเพียงเล็กน้อย เพียงแค่มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเท่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดอยู่เสมอว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายให้พ้นได้ และความตายนี้ จะปรากฏกับเราเมื่อไรก็ไม่แน่นอนนัก และเชื่อว่า ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายกลางวัน อย่างนี้ไม่มีความแน่นอน เพราะว่าความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไปได้ นี่สำหรับข้อแรกสักกายทิฏฐิ ที่เห็นว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ร่างกาย พระโสดาบันมีความรู้สึกว่ามีปัญญาเพียงเล็กน้อย รู้แค่ตายเท่านั้น ยังไม่สามารถจะจำแนกร่างกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ ความรู้สึกของพระโสดาบัน ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหลายยังเป็นเรา เป็นของเรา

นิพพานัง ปรมัง สุขังประวัติความเป็นมาของบ้านร่องกาศ บ้านร่องกาศ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่หมู่บ้านหนึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปทางทิศใต้ ระยะห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร ชาวบ้านร่องกาศ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ๓ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๒, หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ โดยหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของถนนยันตรกิจโกศล ส่วนหมู่ที่ ๔ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของถนน จากที่ตั้งดังกล่าวบ้านร่องกาศจึงเป็นหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของตำบลร่องกาศ ปัจจุบันจึงได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ จากการศึกษาประวัติหมู่บ้านร่องกาศ ไม่พบหลักฐานเก่าแก่ที่บันทึกเรื่องราว การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านร่องกาศ แต่จากคำบอกเล่าของคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้านและเอกสารพงศาวดารปราบเงี้ยวของกรมศิลปากร ทำให้เชื่อได้ว่าหมู่บ้านนี้ตั้งมานานมากกว่าร้อยปีมาแล้วและบ้านร่องกาศ เป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองแพร่ คือ เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ชื่อบ้านร่องกาศ เป็นชื่อที่เขียนและเรียกตามสำเนียงภาษาไทยกลาง แต่ในภาษาคำเมืองซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “ บ้านฮ่องกาด” ชื่อนี้ได้มาจากการรวมคำ ๒ คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า “ ฮ่อง ” และคำว่า “ กาด ” คำว่า “ฮ่อง” ในที่นี้มีความหมายถึง ร่องน้ำที่ไหลเซาะไปตามพื้นดิน คือ ร่องน้ำ ที่แยกลำน้ำสาขาเล็กๆ จากลำห้วยแม่สายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จุดแยกของร่องน้ำที่ภายหลังเรียกว่า “ น้ำฮ่องกาด ” อยู่ในเขตบ้านกาศ ตำบลบ้านกาศ แล้วไหลไปบรรจบกับลำน้ำยมที่หมู่บ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ ส่วนคำว่า “ กาด ” เป็นคำเรียกสั้นๆ ที่มาจากคำว่า กาดมั้ว หมายถึง ตลาดซึ่งเป็นที่ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและผลิตผลในท้องถิ่น ชื่อบ้านร่องกาศ จึงอาจเป็นชื่อที่ได้มาจากการที่เป็นหมู่บ้านที่มีกาดมั้วหรือตลาด ตั้งอยู่ริมร่องน้ำที่ไหลมาจากลำห้วยแม่สายบริเวณบ้านกาศ ชาวบ้านจึงเรียกร่องน้ำนี้ว่า ร่องกาด และชื่อหมู่บ้านของตนตามชื่อร่องน้ำนี้เป็นบ้านร่องกาด ส่วนชื่อ บ้านร่องกาศ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากการที่มีการพัฒนาสร้างถนนให้ทันสมัยและตั้งป้ายชื่อหมู่บ้านที่ถนนผ่านชื่อหมู่บ้านจึงถูกเรียกเป็นภาษาไทยกลางทำให้ความหมายต่างไปจากชื่อเดิมและไม่สามารถให้ความหมายได้ถ้าไม่ทราบประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของท้องถิ่น เมื่อมีการตั้งตำบลซึ่งต้องรวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตอนิมิตร บ้านร่องกาศใต้ บ้านปงพร้าว บ้านดอนทัน และบ้านร่องกาศ เข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากบ้านร่องกาศเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งอยู่ศูนย์กลางจึงถูกเลือกให้เป็นชื่อตำบลว่า “ ตำบลร่องกาศ ” จนถึงปัจจุบัน (สัมภาษณ์ นายทองดำ มหามิตร อายุ ๘๒ ปี บ้านเลขที่ ๑๓๑ หมู่ที่ ๒ และนายทองดี จิตผ่อง อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตอนิมิตร บ้านตอนิมิตร ตั้งอยู่ในตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ในอดีตมี หมู่บ้านเดียวคือหมู่ที่ ๑ ปัจจุบันมี ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๘ และหมู่ที่ ๙ วัดพุทธมงคล ( วัดร้าง ) เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดตอหมากหลวงเนรมิตบ้าง วัดถ้ำแสนตองบ้าง ที่เรียกว่าวัดตอหมากหลวงเนรมิต นั้นเพราะมีตำนานกล่าวไว้ว่า มีต้นหมากหลวงต้นหนึ่งอยู่ใกล้ปากถ้ำหน้าวัดพระพุทธมงคลทางทิศเหนือ ปัจจุบันได้ยุบหายไปแล้วอาจเป็นต้นหมากหลวงพันธุ์เดียวกับต้นหมากหลวงที่กล่าวไว้ในตำนานวัดพระธาตุช่อแฮก็ได้ ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในอดีตกาลครั้งหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับบนอาสนะใต้ต้นจ้องแค่ ( ต้นสะแก ) มีพระโสณเถระและพระอุตตระเถระนั่งเฝ้าอยู่ใกล้ๆ ส่วนเบื้องพระพักตร์ (หน้า) ของพระองค์ มีเจ้าเมืองผู้ครองนครแพล (จ.แพร่ในปัจจุบัน) และขุนนางผู้ใหญ่นั่งเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้า จึงตรัสถามเจ้าผู้ครองเมืองแพลว่า นั่นต้นอะไรใหญ่โตนัก มีผลเป็นพวงใหญ่ เจ้าผู้ครองนครเมืองแพล กราบทูลว่า “ ต้นหมากหลวง” พระเจ้าข้า แต่ผลมันรับประทานไม่ได้ถ้ารับประทานแล้วจะทำให้เบื่อและมึนเมาถึงกับตาย ไม่มีใครกล้ารับประทาน พระองค์จึงตรัส ให้เจ้าผู้ครองนครเมืองแพล นำมาถวายเจ้าผู้ครองเมืองแพล จึงสั่งให้อำมาตย์ไปนำมาถวาย พระองค์ฉันกับพระศรี (หมากพลู) จนหมดผล ไม่มีอาการเบื่อและมึนเมาแต่ประการใด พระองค์จึงส่งหมากที่เหลือให้เจ้าผู้ครองเมืองแพลแจกจ่ายแก่ขุนนางผู้ใหญ่และประชาชนรับประทาน ทุกคนรับประทานแล้วรู้สึกว่ามีรสหวาน มีกลิ่นหอมเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อเวลาล่วงผ่านมาต้นหมากต้นนั้นก็ตายลงเหลือแต่ตอแห้งแข็ง ไม่ผุกร่อนเหมือนต้นหมากทั่วไป ในเวลาค่ำคืนมีแสงพวยพุ่งออกมาจากต้นหมากนั้นอย่างสวยงาม ชาวบ้านจึงโจษขานเล่าลือกันทั่วไปว่า เป็นตอเนรมิต จึงพากันเรียกหมู่บ้านของตนเองว่าบ้านตอนิมิตร อีกนัยหนึ่งที่เรียกว่าวัดถ้ำแสนตองนั้น ตามที่เล่าสืบกันมาว่ามีชาวบ้านพากันไปก่อสร้างวิหารครอบพระพุทธรูป พอถึงเวลารับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วช่วยกันทำความสะอาดเก็บเศษอาหารใบตองห่อข้าวไปทิ้งลงในสระน้ำหน้าวัดริมถนนทางทิศเหนือทุกวัน ผลปรากฏว่าเศษอาหารใบตองห่อข้าวที่นำไปทิ้งนั้นจมหายไปหมด ไปโผล่ที่แม่น้ำยมตรงบ้านวังวนตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงพากันเรียกว่าวัดถ้ำแสนต๋อง กาลเวลาล่วงมาวัดนี้ก็กลายเป็นวัดร้าง ประชาชนมีจำนวนมากขึ้นก็ไม่มีวัดที่จะไปทำบุญ ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นใหม่กลางหมู่บ้าน ทางทิศตะวันตกของวัดพระพุทธมงคล ห่างออกไปประมาณ ๒๐๐ กว่าเมตร ในปี พ.ศ. ๑๔๔๘ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงตั้งชื่อวัด ที่สร้างใหม่ว่า วัดตอนิมิตร เพื่อให้สอดคล้องกับตอหมากหลวงเนรมิตร ที่กล่าวกันข้างต้น และตอขนุน ที่มีอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งเป็นตอขนุนที่เก่าแก่มาแต่โบราณ ตามคำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อนสืบๆ กันมาว่า ตอขนุน ในสมัยนั้นไม่มีกิ่งไม่มียอดมีลักษณะเป็นตอเวลาออกดอกและผลจะออกตามโคนต้นและรากที่อยู่บนพื้นดินอย่างมากมาย ชาวบ้าน จึงพากันเรียกหมู่บ้านของตนว่า “ บ้านตอนิมิตร” (สัมภาษณ์ นายมิ่ง กาวีวน อายุ ๘๐ ปี บ้านเลขที่ ๒๖๖ หมู่ที่ ๑ และนายประสงค์ จิตผ่อง อายุ ๗๖ ปี บ้านเลขที่ ๖๓/๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่) ประวัติความเป็นมาของบ้านร่องกาศใต้ บ้านร่องกาศใต้ เดิมแยกมาจากบ้านเวียงลอ(บ้านเวียงทองน้ำบ่อ - ตำบลเวียงทอง ) มาตั้งบ้านบริเวณป่าละเมาะ เป็นเนินสูง เพื่อเป็นที่พักของฝูงวัว ควาย ในยามฤดูน้ำหลาก ต่อมาก็ได้ตั้งรกรากเป็นหมู่บ้าน มีบ้านเรือนประมาณ ๕๐ หลังคาเรือน ได้ตั้งชื่อว่า “บ้านร่องกาศขี้เหล็ก” ใช้ชื่อนี้เพราะหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างร่องน้ำ “ ร่องกาศ ” กับ ร่องน้ำ “ ขี้เหล็ก ” ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารแผ่นดินใหม่โดยแบ่งเป็นภาค เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ ๕ ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยและยุบเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางและเมืองแพร่แบ่งเขตปกครองเป็นอำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหมู่บ้านแห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อของหมู่บ้านจาก “ บ้านร่องกาศขี้เหล็ก ” เป็น“ บ้านร่องกาศใต้ ” มาจนถึงปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของบ้านปงพร้าว บ้านปงพร้าว คำว่า ปงพร้าวนี้มาจากคำว่า “ ปง” ซึ่งหมายความว่าพื้นที่ที่มีดินทราย ร่องน้ำที่เรียกว่า ร่องพร้าว มีตำนานเล่าว่ามีพ่อค้าร่องแพต้นมะพร้าว มาตามลำน้ำยม ถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวมากของน้ำร่องสายหนึ่งที่ไหลลงสู่แย่น้ำยมพัดจนทำให้แพแตก จึงตั้งชื่อร่องน้ำนี้ว่า “ น้ำร่องพร้าว ” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านปงพร้าว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ เริ่มแรกมีชาวบ้านตอนิมิตรนำ วัว ควาย มาพักแรมตามริมฝั่งแม่น้ำยม และน้ำร่องพร้าว ในเวลาต่อมามีการสร้างบ้านเรือน เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กมานานกว่า ๓๐ ปี จนมีบ้านเรือนประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน จึงมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ ผู้ใหญ่กัณฑ์ เสนากูล ท่านเป็นคนอพยพมาจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (สัมภาษณ์ นายวิจิตร เสนากูล อายุ ๗๖ ปี หมู่ที่ ๖ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่) ประวัติความเป็นมาของบ้านแม่สาย บ้านแม่สาย เดิมชื่อว่า “บ้านฮิมสาย” ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำแม่สายที่ไหล ผ่านหมู่บ้าน ต่อมามีการสร้างถนนยันตรกิจโกศลมาถึงลำน้ำแม่สาย จึงสร้างสะพานข้ามลำน้ำแม่สายเรียกว่า สะพานแม่สาย หมู่บ้านฮิมสายจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ บ้านแม่สาย ” ตามชื่อของสะพาน ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้นทางการปกครองจึงแยกบ้านแม่สาย ออกจากบ้านดอนทันหมู่ที่ ๗ เป็นบ้านแม่สายหมู่ที่ ๑๐ (สัมภาษณ์ นายจำรัส ไกรลาศ บ้านเลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่) ประวัติความเป็นมาของบ้านดอนทัน บ้านดอนทัน เดิมชื่อว่า “ บ้านดอนฮิมสาย ” ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแม่สาย ที่ไหลผ่านตลอดหมู่บ้าน บ้านดอนทัน เดิมชื่อว่า “ บ้านดอนฮิมสาย ” ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแม่สายที่ไหลผ่านตลอดหมู่บ้าน บ้านดอนทัน (อ่านว่า “ดอนทัน”) เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ดังปรากฏในเอกสารใบลาน ตำนานธรรม ครูบามหาเถรเจ้า ซึ่งเจ้าหลวงอินทวิชัยได้ให้หนานจันทร์ทิพย์ (อ่านว่า “จั๋นติ๊บ” ) จารไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ ความตอนหนึ่งว่า “ ออกจากเวียงโกศัย ต๋ามมัคคาไป เถิงฮ่องกาด หน้าดอนตัน” (อ่านว่า“ ออกจากเวียงโกศัย ตามมัคคาไป ถึงร่องกาศ หน้าดอนทัน”) ซึ่งปัจจุบันเอกสารใบลานผูกนี้เก็บไว้ที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ( คำว่า ดอนตัน น่าจะหมายถึง ดอนที่มีต้นพุทรา คำว่า “ตัน”ในภาษาล้านนา หมายถึง พุทรา) ต่อมาทางราชการจึงเปลี่ยนชื่อจากบ้านดอนตันซึ่งเป็นภาษาถิ่นเหนือเป็นบ้านดอนทัน อีกหลักฐานหนึ่งจากคำเล่าขานของผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เล่าสืบต่อๆ กันมาถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ความว่าในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พวกเงี้ยว เข้าปล้นและทำลายเอกสารการสื่อสารของหน่วยราชการจังหวัดแพร่ ทางกรุงเทพได้นำกองทัพมาปราบพวกเงี้ยว ได้ตั้งทัพบริเวณลำเหมืองตันจึงเกิดการต่อสู้กันพวกเงี้ยวพ่ายแพ้ไป บ้านดอนฮิมสายจึงเปลี่ยนชื่อเป็น (“ บ้านดอนตัน ” ตัน หมายถึง กองทัพมาทันพวกเงี้ยว ) บทที่ ๑ การปกครอง อาณาเขต สภาพทั่วไป ตำบลร่องกาศ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสูงเม่น ห่างจากอำเภอเมืองแพร่ ๖ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอสูงเม่น ๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๗.๔๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๐,๘๘๘ ไร่ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ลำดับที่ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน หมายเหตุ ๑.ตอนิมิตร ๒.ร่องกาศ ๓. ร่องกาศ ๔. ร่องกาศ ๕. ร่องกาศใต้ ๖. ปงพร้าว ๗. ดอนทัน ๘. ตอนิมิตร ๙. ตอนิมิตร ๑๐. แม่สาย ๑๑. ร่องกาศใต้ การปกครองในท้องที่ เจ้าอาวาสคนแรกของวัดในตำบลร่องกาศ ดตอนิมิตร คือพระอธิการอินทร์ เรือนคำ วัดนิวิฐศรัทธาราม คือ พระครูนิวิฐศรัทธาคุณ วัดดอนทัน คือ หลวงปู่อภิจัย วัดร่องกาศใต้ คือ พระคำ ภีระ วัดพงพร้าว คือ พระอธิการวงค์ กำนันคนแรก กำนันด้วง คำแวง ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ หมู่ที่ ๑ คือ นายเขียว เรือนคำ หมู่ที่ ๒ คือ นายก๋วน ดวงตาดำ หมู่ที่ ๓ คือ นายศิริ วงค์พุฒิ หมู่ที่ ๔ คือ นายแสน เรืองอุไร หมู่ที่ ๕ คือ นายผัด เกี๋ยงคำ หมู่ที่ ๖ คือ นายกัณฑ์ เสนากูล หมู่ที่ ๗ คือ นายจันทร์ บุญราศี หมู่ที่ ๘ คือ นายประยูร ศรีใจวงศ์ หมู่ที่ ๙ คือ นายกิตติชัย จำรัส หมู่ที่ ๑๐ คือ นายสมคิด ยอดสาร หมู่ที่ ๑๑ คือ นายปรีชา สมจิตต์ ครูใหญ่คนแรกในโรงเรียน โรงเรียนวัดตอนิมิตร ชื่อ นายเชาว์ สง่าศรี โรงเรียนบ้านร่องกาศ (ศรีวิทยาคาร) ชื่อ พระครูพรหมา สง่าศรี โรงเรียนบ้านแม่สายดอนทัน ชื่อ นายยรรยง พันธุรัตน์ โรงเรียนบ้านร่องกาศใต้ ชื่อ นายบุญกิม วังซ้าย โรงเรียนบ้านปงพร้าว ชื่อ นายเชาว์ สง่าศรี บทที่ ๒ เหตุการณ์ที่ ทรงจำ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ในตำบลร่องกาศ เหตุการณ์กบฎเงี้ยวเมืองแพร่ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ๒๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เงี้ยวได้รวมกำลังเข้าปล้นเมืองแพร่ บ้านร่องกาศเป็นหมู่บ้านที่พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงกำกับราชการในเมืองแพร่ ได้หนีพวกเงี้ยวเข้ามาหลบซ่อนตัวที่บ้านร่องกาศบ้านเลขที่ ๑๓๔ ของพ่อใหญ่เมืองและแม่ใหญ่ฝุนและขอข้าวกิ๋นเมื่อเห็นว่าไม่ปลอดภัยจึงหนีไปตามกองน้อย(ซอย)บ้านพ่อสร่างคำ มหามิตรบ้านเลขที่ ๑๓๑ และถูกพบเห็นโดยหนานวงศ์ ชาวบ้านร่องกาศได้ไปแจ้งข่าวแก่พวกเงี้ยว ในที่สุดพระยาไชยบูรณ์ถูกเงี้ยวจับตัวได้ที่ดงในหมู่บ้านใต้ต้นศรีหมู่ที่ ๓ (ต้นโพธิ์) และถูกพวกเงี้ยวฆ่าตัดคอ ที่ฮ่องคาว บริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์พระยา ไชยบูรณ์ในปัจจุบัน (สัมภาษณ์ นายทองดำ มหามิตร อายุ ๘๒ ปี บ้านเลขที่ ๑๓๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่) บทที่ ๓ อัตลักษณ์ ประเพณี เป็นการสืบสานวัฒนธรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นยังสร้างความสมานสามัคคีในชุมชน คือ นมัสการพระธาตุ ความเชื่อ ความเชื่อของชาวบ้านตำบลร่องกาศที่ต้องการให้เกิดความเป็น สิริมงคลกับตนเองหรือครอบครัวและหมู่บ้าน จึงได้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ขึ้น ได้แก่ (๑.) การปูจาเทียน เป็นการนำเทียนที่ผ่านการทำพิธีแล้วมาจุดบูชา เชื่อว่าจะทำให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ประสบโชคดี ไม่เจ็บป่วยและมีอายุยืนยาว (๒.) เอาขวัญ (๓.) พิธีเข้าเบิก การเข้าเบิกเป็นพิธีเก่าแก่ที่ทำกันน้อยมากในปัจจุบันและไม่ได้ทำทุกปี เมื่อจัดทำพิธีแล้วเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ การเข้าเบิกจะทำกันที่บริเวณทางแยกเข้าหมู่บ้านโดยจะเริ่มพิธีในตอนหัวค่ำ เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์มายังบริเวณพิธี โดยไม่จำกัดว่ากี่รูป แล้วสวดเบิกวรจนจบ ชาวบ้านนำทรายและน้ำขมิ้นส้มป่อยที่นำมาร่วมพิธีซัดสาดทั่วบริเวณบ้านของตนเพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายและให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านตน พิธีการเข้าเบิกเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน และสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านในอันที่จะร่วมกันป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน (๔.) การตานขันข้าว เป็นการทำบุญให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วและการทำบุญ เพื่อสะสมผลบุญให้กับตนเองในชาติหน้า (๕.) ตานเฮียน การสร้างบ้านอุทิศให้เป็นที่อยู่อาศัยของดวงวิญญาณของผู้ตาย เป็นเรือนหลังเล็ก ซึ่งผู้ชาย ๔ – ๕ คน สามารถยกไปถวายวัดได้ (๖.) การเทศน์ธรรมมหาวิบาก เป็นการเทศน์ให้แก่คนที่เจ็บหนักทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน ฟังเพื่อจะได้สิ้นลมอย่างสงบ เชื่อว่าเป็นเพราะผู้ป่วนได้สร้างวิบากกรรมไว้มากในวาระสุดท้ายญาติสนิทหรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือจะนิมนต์พระมาแสดงธรรมาหวิบากเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากวิบากกรรม (๗.) ฮ่วงข้าว เป็นการเสี่ยงทายว่าเด็กที่เกิดใหม่มีญาติผู้ใหญ่มาเกิดเพื่อรับขวัญ การส่งพ่อเกิดแม่เกิด การขอให้พ่อเกิดแม่เกิดนำวิญญาณของเด็กกลับคืนไป พ่อเกิดแม่เกิดหรือปู่แถนย่าแถนเป็นผู้ส่งหรืออนุญาตให้วิญญาณแต่ละดวงมาเกิดในโลกมนุษย์ อาหาร (๑.) ลาบ ถือเป็นอาหารมงคลด้วยชื่อ เป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ปรุงด้วยเครื่องเทศ เช่นกระเทียม ข่า ตะไคร้ พริกแห้ง มะแขว่น โขลกรวมกัน ลาบที่นิยมรับประทานกันคือ ลาบวัว ลาบความ ลาบหมู ลาบไก่ ในการรับประทานลาบจะมีผักหลายชนิดเป็นเครื่องเคียง เช่น ใบมะยม ผักไผ่ ผักคาวตอง ผักแว่น สะระแหน่ แตงกวา เป็นต้น (๒.) น้ำพริก มีหลายอย่าง บางอย่างนิยมรับประทานกับผักนึ่ง ผักต้ม เช่นน้ำพริกแมงดา น้ำพริกมะเขือส้ม น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกปลา เป็นต้น บางอย่างรับประทานกับหน่อไม้ เช่น น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกเป้อเล้อ น้ำพริกอี่เก๋ บทที่ ๔ โบราณสถาน ตำบลร่องกาศ มีวัดอยู่ ๕ วัด คือ วัดตอนิมิตร , วัดนิวิฐศรัทธาราม ( วัดร่องกาศ ) ,วัดร่องกาศใต้ , วัดพงพร้าว และวัดดอนทัน วัดนิวิฐศรัทธาราม (วัดร่องกาศ) วัดตอนิมิตร วัดพงพร้าว วัดร่องกาศใต้ วัดดอนทัน โบราณวัตถุ (๑.)หลวงพ่อพุทธมงคล ( พระเจ้าตนหลวง ) ประดิษฐานอยู่ในหมู่ที่ ๘ บ้านตอนิมิตร สร้างขึ้น(ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอน) ภายหลังวัดนี้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๗ ชาวบ้านตอนิมิตร ได้ไปนิมนต์พระครูบาอินถา สุขวัฒโก เจ้าอาวาสวัดหลวงเจริญ ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์ พระประธาน เป็นเวลา ๑ ปี ได้ทำพิธีบรรจุหัวใจพระประธานองค์นี้มี หน้าตักกว้าง ๙ ศอก สูง ๙ ศอก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบสุโขทัย พระครูบาอินถา ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “ หลวงพ่อพุทธมงคล ” (๒.) พระธาตุไข่หอยวัดร่องกาศใต้ (๓.) พระธาตุจุฬามณีศรีอภิชัย (๔.) พระธาตุพระครูพรหมมา สง่าศรี (วัดนิวิฐศรัทธาราม) (๕.) พระธาตุพุทธนิมิตร (วัดพุทธมงคล) บทที่ ๕ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น (๑.) นายมิ่ง กาวีวน อายุ ๘๐ ปี บ้านเลขที่ ๒๒๖/๑ หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านตอนิมิตร ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน ตั๋วเมือง ศาสนาวัฒนธรรม (๒.) นายสิงห์ทอง จำรัส อายุ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๒๗๕/๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน ยาสมุนไพร (ยาต้ม) (๓.) นายจำรัส กาวีพันธ์ อายุ ๖๔ ปี บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน จักสาน อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (๔.) นายประเสริฐ มหามิตร อายุ ๖๗ ปีบ้านเลขที่ ๑๔๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน ศิลปวัฒนธรรม (๕.) นายวาสน์ ยิ่งยวด บ้านเลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน สมุนไพร (๖.) นายทองดำ เกียรติภัทราภรณ์ อายุ ๗๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๐๖ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน การเกษตร (๗.) นายสนิท ฉลอม อายุ ๖๓ ปี บ้านเลขที่ ๙๓/๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน ศาสนา (๘.) นายปลั่ง เรือนคำ อายุ ๕๖ ปี บ้านเลขที่ ๑๗๔ หมู่ที่ ๘ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน พิธีกรรมทางศาสนา (๙.) นายเม็ด ศรีใจวงศ์ อายุ ๘๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๒๖ หมู่ที่ ๘ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน วัฒนธรรมประเพณี (๑๐.) นายประสงค์ จิตผ่อง อายุ ๗๖ ปี บ้านเลขที่ ๖๓/๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้านตั๋วเมือง ศาสนาวัฒนธรรม (๑๑.) นายสมคิด ม่วงมูล บ้านเลขที่ ๕๐/๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพร (๑๒.) นายจำรัส ไกรลาศ บ้านเลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน การเป่าคาถารักษาโรค (๑๓.) นางเม็ด สุภาพ อายุ ๘๒ ปี บ้านเลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน ยาสมุนไพรรักษาโรค (๑๔.) นายจันทร์ ผลแก้ว อายุ ๘๔ ปี หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เชี่ยวชาญด้าน การจักสาน ( ข้อสังเกต : น่าจะมีรูปตัวบุคคลและผลงานประกอบด้วย)

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

นิพพานไม่ได้หายไปไหนไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกา­ยใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต­็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้น­มาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรไม่รู้­ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะ­ไรจะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่­งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสา­ระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้วถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไ­หลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจ­ริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็นถึงนาที­สุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นต­อนตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่­ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเองยกเว้นคนซึ่งเดินปั­ญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนน­ะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย?

เครื่องหาเบอร์ ไอซีและโปรแกรมไอซีเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ.­.https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW...

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

POWER MOSFETจำหน่าย อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ กำลัง เพาเวอร์ ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไอจีบีที จำหน่าย อุปกรณ์ สำหรับ ซ่อม สร้าง แผงวงจรอินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม 02-951-1356 081-803-6553 Line: pornpimon 1411 Email sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com

ความรู้เบื้องต้นเรื่องเครื่องจักรกลไฟฟ้าจำหน่าย อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ กำลัง เพาเวอร์ ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไอจีบีที จำหน่าย อุปกรณ์ สำหรับ ซ่อม สร้าง แผงวงจรอินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม 02-951-1356 081-803-6553 Line: pornpimon 1411 Email sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com

เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงกำลังจะหมดโลกจำหน่าย อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ กำลัง เพาเวอร์ ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไอจีบีที จำหน่าย อุปกรณ์ สำหรับ ซ่อม สร้าง แผงวงจรอินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อินเวอร์เตอร์ เตาแม่เหล็ก ตู้เชื่อม และ รับซ่อม แก้ไข แผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม 02-951-1356 081-803-6553 Line: pornpimon 1411 Email sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com

เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดประมาณ90%จะใช้กับเครื่องนี้ได้ครับ..สังเกตุจากที่พิมพ์ว่า 100-240 Vac...เช่นเครื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่น mp3 mp4...แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงหรืออะเเดปเตอร์ ที่ใช้แกนเหล็กธรรมดา จะใช้กับเครื่องนี้ไม่ได้ครับ...ต้องเป็นรู่นใหม่ที่ใช้ switching power supply เท่านั้นครับ...

เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดประมาณ90%จะใช้กับเครื่องนี้ได้ครับ..สังเกตุจากที่พิมพ์ว่า 100-240 Vac...เช่นเครื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่น mp3 mp4...แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงหรืออะเเดปเตอร์ ที่ใช้แกนเหล็กธรรมดา จะใช้กับเครื่องนี้ไม่ได้ครับ...ต้องเป็นรู่นใหม่ที่ใช้ switching power supply เท่านั้นครับ...

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

เลือกชมคลิป ดี ดี"ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ" เป็นอันว่า คนเราจะดีหรือจะชั่ว ก็อยู่ที่ใจตัวเดียว ถ้าใจดีเสียอย่างเดียว อารมณ์ใจ ดี กายและวาจา..ก็ดี..ตามไปด้วย..https://www.youtube.com/watch?v=neWsr... หมวดหมู่ บุคคลและบล็อก

จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้ มากมาย พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ เมฆิยสูตร๑-ทั้งหมด บัณฑิตพึง (แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง. ____________________________ ๑- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๕-๘๙ ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่านถูกวิตก ๓ อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า “เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอนอยู่ว่า ‘เมฆิยะ เราเป็นผู้ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูปแม้อื่นจะปรากฏ’ ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า) ทำกรรมอันหนักยิ่ง, ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป) เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร” ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถาเหล่านี้ว่า ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุ ํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่าง ศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยก ขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนา กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอัน พรานเบ็ด ยกขึ้นจาก(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบน บก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น. แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทนํ คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือนทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะนั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์ และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น. บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์ อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอยเคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น. บทว่า ทุนฺนิวารยํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภาคารมณ์. สองบทว่า อุสุกาโรว เตชนํ ความว่า นายช่างศรนำเอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความนับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิชชา ๓#๑- อภิญญา ๖#๒- โลกุตรธรรม ๙#๓- ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ. บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา. สองบทว่า ถเล ขิตฺโต ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดักมีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. ____________________________ #๑- วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป ๑ #๒- อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ ๑ ทิพโสต หูทิพย์ ๑ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด ใจผู้อื่นได้ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ๑ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ ๑ อาสวักขยญาณ รู้จัก ทำอาสวะให้สิ้นไป ๑. #๓- โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑. พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อไปนี้) :- น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “ภิกษุชาวเมืองปาฐา มีจีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.”๑- อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่อยู่.”๒- แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า “จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าวคือน้ำ”, ____________________________ ๑- วิ. มหาวรรค. ภาค ๒. เล่ม ๕/ข้อ ๙๕ ๒- สัง. ขันธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๑. บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว. บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดีแล้วในอาลัยคือกามคุณ ๕ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือกามคุณ ๕ นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อมดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่างปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารคือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย คือควรละบ่วงมาร กล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล. ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้นดังนี้แล. เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ.

จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้ มากมาย พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ เมฆิยสูตร๑-ทั้งหมด บัณฑิตพึง (แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง. ____________________________ ๑- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๕-๘๙ ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่านถูกวิตก ๓ อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า “เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอนอยู่ว่า ‘เมฆิยะ เราเป็นผู้ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูปแม้อื่นจะปรากฏ’ ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า) ทำกรรมอันหนักยิ่ง, ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป) เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร” ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถาเหล่านี้ว่า ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุ ํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่าง ศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยก ขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนา กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอัน พรานเบ็ด ยกขึ้นจาก(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบน บก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น. แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทนํ คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือนทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะนั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์ และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น. บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์ อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอยเคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น. บทว่า ทุนฺนิวารยํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภาคารมณ์. สองบทว่า อุสุกาโรว เตชนํ ความว่า นายช่างศรนำเอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความนับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิชชา ๓#๑- อภิญญา ๖#๒- โลกุตรธรรม ๙#๓- ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ. บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา. สองบทว่า ถเล ขิตฺโต ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดักมีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. ____________________________ #๑- วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป ๑ #๒- อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ ๑ ทิพโสต หูทิพย์ ๑ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด ใจผู้อื่นได้ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ๑ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ ๑ อาสวักขยญาณ รู้จัก ทำอาสวะให้สิ้นไป ๑. #๓- โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑. พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อไปนี้) :- น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “ภิกษุชาวเมืองปาฐา มีจีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.”๑- อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่อยู่.”๒- แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า “จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าวคือน้ำ”, ____________________________ ๑- วิ. มหาวรรค. ภาค ๒. เล่ม ๕/ข้อ ๙๕ ๒- สัง. ขันธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๑. บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว. บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดีแล้วในอาลัยคือกามคุณ ๕ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือกามคุณ ๕ นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อมดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่างปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารคือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย คือควรละบ่วงมาร กล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล. ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้นดังนี้แล. เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ.

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ โคมไฟ led charger มือถือเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ.­.https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หมวดหมู่ การศึกษา

เตาแม่เหล็ก โซล่าเซลล์เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ.­.https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หมวดหมู่ การศึกษา

มีโอกาสเป็นไปได้ครับ.การสลับขั้วแม่เหล็กโลก กับการเกิดภัยพิบัติ ครั้งใหญ่ 2016มีโอกาสเป็นไปได้ครับ.

มีโอกาสเป็นไปได้ครับ. ต่างชาติเตือนภัย!! พิบัติโลกโพลชิ้ป 2559 Pole Shift 2016

ต่างชาติเตือนภัย!! พิบัติโลกโพลชิ้ป 2559 Pole Shift 2016มีโอกาสเป็นไปได้ครับ.

จริยาของพระสกิทาคามีมรรคสำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์ในการให้ ไม่มีอารมณ์ในการขอ หรือพระโสดาบันก็เหมือนกัน มีอารมณ์ในการให้ ไม่ใช่มีอารมณ์ในการขอ นี่วัดกำลังใจของเราไว้ การปฏิบัติของเราเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคหรือสกิทาคามีมรรคแล้วหรือยัง เป็นอันว่ามีอารมณ์ที่จะให้อยู่เป็นปกติ อาการความโลภมันก็บรรเทาลง การที่จะคิดโกงเขาก็ไม่คิดอยู่แล้ว การตะเกียกตะกายแสวงหาทรัพย์เกินพอดีย่อมไม่มีกับพระสกิทาคามี เพราะจิตเริ่มเป็นสุข มีเท่าไหร่ก็เป็นสุข แต่การหากินต้องหา แต่หาแบบสบาย ๆ อย่างอารมณ์ที่มีความสุข ไม่เบียดเบียนตนจนเกินไป นี่เป็นอันว่าพระสกิทาคามีมรรคเพิ่มจาคานุสติกรรมฐานเข้ามาอีกบทหนึ่ง ทำเป็นฌานสมาบัติให้อารมณ์ทรงตัว คิดไว้เสมอ การคิดไว้เสมอ มีความรู้สึกไว้เสมอ นี่ชื่อว่าเป็นอาการทรงฌาน ถ้าท่านนั่งภาวนาตามปกติ โดยเวลาเลิกแล้วจิตไม่ได้คิด จิตมีความเลว อันนี้ไม่ใช่พระสกิทาคามี หรืออนาคามี มันเป็นของสัตว์ในอบายภูมิ จงใคร่ครวญคิดไว้ อย่าไปนั่งภาวนาเฉย ๆ นั่งภาวนาเฉย ๆ นี่อารมณ์ใจมันไม่ดี มันก็ดีอยู่แค่ภาวนา บางทีก็ภาวนากันไปเป็นปกติ แต่เวลาภาวนาจิตก็ซ่านไปโน่นไปนี่ มันใช้ไม่ได้ มันต้องมีปัญญาใคร่ครวญ มีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา ถ้าอาการอย่างนี้มีอยู่ละก็ แดนไหนก็แดนนั้นมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเร่าร้อน อันดับที่สอง พระสกิทาคามีระงับความโกรธลงไปได้มากตัวนี้ก็ไม่จำเป็นแล้ว เพราะมีพรหมวิหาร 4 เป็นประจำ แต่ทว่าพระสกิทาคามีก็เพิ่มอารมณ์ที่กล่าวมาแล้ว คือ ให้อภัยทาน นอกจากจะระงับความโกรธ ยับยั้งความโกรธ แต่ความโกรธมันยังมีอยู่ อย่างพระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ทว่าไม่ทำร้ายเขา คือ โกรธแล้วยังจะพยาบาท คือ อาจจะคิดว่า แหม ไอ้เจ้านี่มันเลวจริง ๆ ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดจะทำร้าย แต่คิดว่ามันเลว ยังเจ็บใจแต่ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดจะทำร้าย แต่ว่าไม่อยากสังคมสมาคมด้วย ยังมีอาการใบหน้าเครียด แต่มาถึงพระสกิทาคามี อาการเครียดของใบหน้าไม่มี โกรธยังมีความโกรธ ไม่ชอบใจ คิดไว้ว่าไม่ชอบใจยังมีอยู่ แต่อารมณ์จิตอีกส่วนหนึ่งก็พยายามหักห้ามความโกรธ หักห้ามความพยาบาท คิดให้อภัยกับบุคคลผู้กระทำความผิด โดยมีความรู้สึกว่าจิตของบุคคลผู้นี้เป็นจิตของสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเป็นทาสของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เราไม่ควรจะตอบแทนอาการลักษณะเช่นเดียวกัน เมื่อเขาจะเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเรื่องของเขา เราไม่สนใจให้อภัยกับความผิดของเขา นี่เป็นอารมณ์ของพระสกิทาคามีมรรค ทีนี้ มาด้านความหลง ตัวนี้ก็มาจับสักกายทิฏฐิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นที่ว่ามาพิจารณาถึงร่างกายของเรา นอกจากจะตายแล้วก็มามองร่างกายว่ามันเป็นของไม่เที่ยง เป็นอันว่าเพิ่มกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐานหนักขึ้น โดยมาพิจารณาว่า ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันตาย ตายแน่ มาเป็นพระโสดาบันติดอยู่แค่ตาย แต่ยังมีความพอใจในลักษณะของร่างกายและผิวพรรณของร่างกาย ความสวยสดงดงาม การตบแต่งของร่างกาย แต่มาในด้านของพระสกิทาคามีนี่ เพิ่มอารมณ์ที่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันเป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน แล้วก็มีความสกปรกทุกด้าน เสลดน้ำลายสกปรก เหงื่อไคลสกปรกเลือดและเนื้อสกปรก น้ำเหลืองน้ำหนองสกปรก อุจจาระปัสสาวะสกปรก รวมความว่าทุกส่วนของร่างกายนี่มันสกปรกจริง ๆ เมื่อสกปรก ก็รู้สึกว่าเป็นของน่าเบื่อ ไม่น่ารัก แต่ก็ยัง ยังไม่หมด แต่อารมณ์ในการพิจารณาเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์และของตัวเองมันก็เกิดอาการสลด ว่าร่างกายนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับส้วมเคลื่อนที่ เพราะจะมองไปดูทุกจุดทุกประการ มันก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ผิวนิดเดียวที่เรามองเห็นกันว่าสวย แต่ทั้ง ๆ ผิวเห็นว่าสวยนั่นแหละ ต้องชำระล้างกันทุกวัน ถ้าปล่อยเกรอะกรัง ไม่อาบน้ำไม่อาบท่า ไม่ชำระล้างกันทุกวัน ถ้าปล่อยเกรอะกรัง ไม่อาบน้ำไม่อาบท่า ไม่ชำระล้างสัก 7 วัน มันก็ทนไม่ไหว ก็แสดงว่าแม้แต่ผิวกายที่เราเห็นว่าสวยมันก็สกปรก ส่วนที่อยู่ในผิวกายลงไปข้างใน ถ้าลอกหนังออกไปนิดเดียวเลือดไหลซึมออกมา เห็นเลือด มีกลิ่นเลือดเหม็นคาว เราก็พากันสะอิดสะเอียนว่าเลือดสกปรก ทีนี้ลอกเนื้อเข้าไปภายใน เห็น ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เต็มไปหมด ตอนนี้ดูไม่ได้ มันสกปรกจริง ๆ อารมณ์เบื่อจากร่างกายที่เห็นว่าสวยสดงดงามเป็นของน่ารัก มันก็เริ่มคลายตัวลงไป ยังไม่หมด กำหนดจิตเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นฌาน ไม่มีความรู้สึกเมามันในร่างกายแต่บางขณะย่อมปรากฎ ทีนี้อาการของสักกายทิฏฐิตัวนี้ มันก็เข้าไปพิจารณาด้วย กายคตานุสสติกับ อสุภกรรมฐาน เพื่อตัดความหลงในร่างกาย เห็นว่าร่างกายสกปรกแล้ว ยังเห็นว่าร่างกายมีสภาพจะต้องสลายตัว ยึดถือดึงมันไว้ไม่อยู่ นี่เป็นอารมณ์จิตตรงนี้ ถ้าเราจะเข้าไปพิจารณาว่า จุดไหนหนอเราจะเป็นพระอนาคามี แต่ว่าเป็นพระสกิทาคามีผล มันมีอารมณ์พอที่จะยังพิจารณาไว้ นั่นก็คืออามรณ์ความรู้สึกกับเพศตรงข้าม คือ เรื่องของเพศมันเริ่มสลายตัวไป ความรู้สึกในใจเรื่องของระหว่างเพศมันมีเหมือนกัน แต่ทว่าน้อยเต็มที ยามปกติมันจะไม่มีความรู้สึกกระสันในเรื่องระหว่างเพศ แต่บางครั้งเห็นคนเดินผ่านไปผ่านมาก็มีความรู้สึกขึ้นมาบ้าง แต่ทว่าด้วยฉับพลันนั้นเอง ในขณะเดียวจิตก็จะสลายซึ่งความพอใจ เพราะอะไร เพราะอารมณ์เห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก เห็นผ้าตาทะลุไปถึงหนัง ทะลุหนังเข้าไปถึงเนื้อ ทะลุจากเนื้อถึง ตับ ไต ไส้ ปอด มองเห็นทะลุปรุโปร่งว่าทุกส่วนของร่างกายทั้งคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก และมีความเสื่อมโทรมเป็นปกติ อาการของคนเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะการต้องบริหารร่างกาย ไม่ให้ร่างกายทรุดโทรมด้วยกฎของธรรมดา และในที่สุดมันก็สลายไป ตัวนี้จะทำให้คลายความพอใจในร่างกายของบุคคลอื่นเสีย แม้แต่ร่างกายของตัวเองก็มีความเบื่อหน่าย ไม่พึงปรารภนา แต่ทว่าอารมณ์ความพอใจในร่างกายยังไม่หมด ยังเหลือบ้าง ทีนี้มาด้านความโกรธ ก็ยังมีอยู่ แต่มีเบา ๆ กระทบปัง โกรธปัง เมื่อโกรธแล้วระงับความโกรธด้วยการให้อภัย ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที อารมณ์ก็คลายไป และก็ไม่ติดใจในความผิดของบุคคลอื่น มาด้านของความโลภ มีอารมณ์จิตสบาย พอใจตามฐานะที่ทรงอยู่ ยังไง ๆ ก็คิดว่าถ้าเลี้ยงตัวเองรอดเป็นพอ นี่ถ้าอารมณ์จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีอารมณ์เบาในด้านโลภ มีความพอปรากฏขึ้นในจิต คิดว่ามีมากมันก็พอ มีน้อยก็พอ ปีหน้าได้น้อยพอ คือ จิตไม่ดิ้นรนโดยการยอมรับนับถือว่าเหตุที่ได้มามันก็ปรากฏ ตามความสามารถตามกาลสมัย ความโกรธระงับเสียได้โดยฉับไว ไม่มีการผูกพันในการพยาบาท อาการของทางกายที่มีความพอใจในระหว่างเพศหรือวัตถุต่าง ๆ ความสวยสดงดงามของวัตถุก็ดี ความสวยสดงดงามของร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มันไหลไปจากใจเกือบหมดสิ้น ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสว่าท่านผู้นั้นเป็น พระสกิทาคามี เอาละ สำหรับวันนี้การที่จะแนะนำก็หมดเวลาลงแล้ว ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

จริยาของพระสกิทาคามีมรรค ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) พ่อสอนลูก ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อยจนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ท่านกับเราก็เสมอกันเสมอกันโดยไตรลักษณ์ คืออนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพ สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป จงจำไว้ว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป จงจำไว้ว่าเราจะต้องตายถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์ เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์ เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม แต่สุดท้ายไม่นานผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์ สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม พิจารณาตน ๑. ถ้าบุคคลใดไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยากตนข่มท่าน ไม่มีความประมาท มีจริยาดี มีความสงบใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่ตถาคตสอน แล้วบุคคลใดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่น ทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่พระองค์ทรงสอน ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด อย่างนี้เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน ถ้าบุคคลใดทำจุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้นเห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่าคนและสัตว์นี้ก่อนเกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีที่พระองค์สอน แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์ ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือนถ้าบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี ๒. ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประมาณว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลาถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญ ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญ นั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว ศีล ๑. ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิ เพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ ๒. ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ตามถ้าเราละเมิดนั่นก็หมายความว่าเราเปิดช่องของอบายภูมิหรือเปิดทางเดินไปสู่อบายภูมิ มีเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน การเจริญกรรมฐานของบรรดาพุทธบริษัทก็ไม่มีผล เพราะฉะนั้นญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่คิดว่าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลวันนี้และตลอดไปในชีวิต จงตั้งจิตคิดว่านับแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต บางวันข้างหน้าอาจจะเผลอไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไปเราก็ยับยั้งมันเสีย และตั้งใจต่อไปเราจะไม่ทำผิดอีกและจงเข้าใจว่า ศีล ๕ ประการนี้ ถ้าจะขาดได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจทำ อย่างปาณาติบาตสัตว์เล็ก ๆ เราเดิน ๆไปเราไม่เห็นบังเอิญเหยียบตาย อันนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มียุงเป็นต้นมาเกาะกินเลือดเรา ถ้าไม่คิดจะฆ่ามันแต่มันเกาะนานเกินไป เราจะเอามือลูบให้มันหนีไป บังเอิญมันหนีไม่ทัน ถูกมันตาย อันนี้เราไม่บาป ศีลไม่ขาดเพราะเราไม่มีเจตนาจะฆ่า พรหมวิหาร ๔ ๑. ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คิดว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ดี ก็จัดว่าเป็นศูนย์รวมกำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี ๒. ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ แล้ว มีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผลมีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไรเพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็นมีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุขบุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันย่อมปรากฎ สมาธิ ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้ มหาสติปัฏฐาน ๑. มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิดปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้ บารมี ๑๐ บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ” ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา ๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป ทรงความดี ๑. การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์ เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์นั่นหมายถึงว่าตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์ ๒. เวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้า คือคำสอน องค์สมเด็จพระชินวรก็ไปนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายไปนิพานนับไม่ถ้วนก็เคยปฏิบัติอย่างนี้ ฉะนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่มีความอาลัยในชีวิตและร่างกายของเรา เราจะไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่น เราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุใด ๆ เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าบังเอิญมันจะตายในขณะที่เรานั่งนี่ก็เชิญ ร่างกายตายแต่ใจเราไปพระนิพพานตัดสินใจอย่างนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ภาวนา มโนมยิทธิ ๑. มโนมยิทธิ แปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ คำว่าฤทธิ์ทางใจหมายความว่าใช้ใจ โดยเฉพาะอันดับต้นต้องฝึกให้ได้ทิพจักขุญาณก่อน คำว่าทิพจักขุญาณก็หมายความว่าใช้ความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์ ถ้าฝึก “ ทิพย์จักขุญาณ ” ได้แล้ว ต่อไปจิตจะเคลื่อนไปสู่สวรรค์ก็ได้พรหมโลกก็ได้ไปแดนนิพพาน แดนเปรตแดนอะไรก็ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นมุมหนึ่งหรือจุดใดในโลกมนุษย์นี่ง่ายกว่า หรือว่าใครอยากจะไปเที่ยวดาวดาวต่าง ๆ ก็ไปได้ ไปดวงอาทิตย์เราก็ไปได้ไม่ตายเพราะใจเราไม่ตาย แต่ว่าวิธีปฏิบัติแบบนี้เวลาจะเคลื่อนใช้อารมณ์แนบแน่นสนิทไม่ได้ต้องมีอารมณ์เบา ๆ พอสมควร คือแค่อุปจารสมาธิให้เริ่มสัมผัสภาพได้ก่อน ไม่ได้เห็นด้วยลูกตา พอรับสัมผัสภาพได้ตอนนี้จิตเริ่มเป็นฌาน ตอนนี้ก็ยังเบาอยู่ แต่เคลื่อนจิตไปพระจุฬามณีได้ เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้น มันจะมีทั้งฌานและญาณบอก ฌานอย่างเดียวมันก็ไปไม่ได้ถ้าไปแล้วมันไม่เห็น ต้องมีตัวญาณเป็นตัวรู้ ฉะนั้น การขั้นตอนแรก ขึ้นด้วยญาณก่อนเมื่อไปถึงที่นั่นชำระจิตดี จิตสะอาดมากขึ้นความสว่างไสวจะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ลูกตาเห็น เป็นการเห็นจากจิต เป็นความรู้สึกจากจิต แต่เมื่อจิตสะอาดมากก็เห็นเหมือนตาเห็น ๒. ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว จงอย่ายับยั้งความดีไว้แค่มโนมยิทธิ เพราะถ้าหากท่านทำความดีได้แค่นี้มันยังไม่พ้นการลงนรก การให้ฝึกมโนมยิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายมีจริง การระลึกชาติมีจริง ตายแล้วไม่สูญจริงสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง นรก เปรต อสุรกายมีจริงเมื่อทำได้แล้วจงรวบรวมกำลังใจของท่าน ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระโสดาบัน จะได้ป้องกันอบายภูมิ ไม่ต้องตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉานต่อไป เป็นการก้าวไปหาพระนิพพานเร็วขึ้น วิปัสสนาญาณ ๑. ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน เมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้หากว่าชาตินี้ ถ้าไม่สามารถไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้วดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหมอยู่ไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัสรู้ เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานหรือ ปฏิกูลพรรพ ฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินศรีรู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว เลวที่สุดได้พระโสดาบันนี่เรียกว่าเลวที่สุดนะ ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผลตัวอย่างก็เยอะที่ปรากฏมาในพุทธประวัติ ๒. ถ้าหากว่าเรารู้จริงเห็นจริง ด้วยอำนาจของปัญญาว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกแบบนี้ เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร แม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควรและก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรกมันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั้นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรกเมื่อจิตของเราเห็นว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรัก ความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก พิจารณาความตาย ๑. เรื่องของความตายนี้ ทางพระท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าใครทั้งสิ้นที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายเหมือนกันหมด จะตายด้วยโรคอะไรหรืออาการอย่างไรในที่สุดก็ตายเหมือนกัน พระท่านสอนไม่ให้เสียใจเพราะเหตุแห่งความตายมาถึง คนรับฟังมีเยอะ แต่รับปฏิบัติ คือตัดใจไม่ให้เศร้าโศกถึงคนตายนี่หายาก เรื่องของการระงับความเศร้าโศกอาลัย ในเมื่อมีคนที่เรารักตายนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง คนที่จะทำได้แน่นอนไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในเรื่องของความตายนั้น ท่านว่ามีพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเห็นเรื่องของความตายเป็นของปกติธรรมดา เหมือนเห็นใบไม้ที่แก่งอมร่วงลงมาจากต้นไม่มีความรู้สึกเสียดายห่วงใยใด ๆ ถ้าว่ากันตามภาษาชาวบ้าน ถ้ามีคนตายเกิดขึ้นที่บ้านใคร ถ้าคนที่เกี่ยวข้อง เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ตาย ไม่ร้องไห้แสดงความเสียใจเขาก็หาว่าเป็นคนใจจืดใจดำ กลายเป็นคนไม่ดีไปเสียอีก ต้องแสดงออกถึงความโศกเศร้ารำพันนั่นแหละ เขาถึงจะนิยมว่าเป็นคนดีรักกันจริง เรื่องความเห็นของพระกับชาวบ้านไม่ใคร่จะลงกันก็อีตอนนี้แหละ ๒. คนเราเมื่อตายจากอัตภาพนี้แล้ว มันไม่ตายจริง คือไม่หมดความรู้สึกสุขทุกข์ยังมีสุขมีทุกข์มีความรู้สึกเหมือนเมื่อยังไม่ตาย แต่สิทธิต่าง ๆ ในเมื่อวิญญาณออกจากร่างนี้แล้วก็มีบางอย่างที่วิญญาณไม่มีสิทธิจะครองนั่นก็คือ ทรัพย์สินที่พยายามสะสมไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อยังทรงอัตภาพนี้ ส่วนอื่นนอกจากนี้ คือความสุขและความทุกข์ยังมีตามเดิม บางท่านเมื่อก่อนตาย ทำความดีไว้มาก เมื่อตายแล้วก็มีความสุข บางรายก่อนตายสร้างความเลวร้ายไว้มาก เมื่อตายแล้วก็ได้รับความทุกข์อันนี้เป็นกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ อริยสัจ ๑. เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มีถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมแปดประการ คือมีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่ ๒. สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่าเราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไปจงพิจารณาหาทุกข์ให้พอในอริยสัจจ์ พิจารณาขันธ์ ๕ ๑. ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์ก็เกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ๒. จิตต้องยึดเป็นอารมณ์ว่า ถ้าตายคราวนี้เรามุ่งนิพพาน ต้องคอยชำระจิต ก็หมายความว่าอย่าให้ความโลภคลุมใจ อย่าให้กามฉันทะมันคลุมใจ ความโกรธและโมหะอย่าให้คลุมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหันเข้ามาตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ ๕ ของเรา ตัดให้ขาด ทุกอย่างมันจะเกาะไม่ได้ สังโยชน์ ๑๐ ๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่นก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้อันนี้เป็นกำไรมาก ๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง พระโสดาบัน ๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน ๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้ ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป พระอนาคามี ๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ • สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ • จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก • ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่ ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล

จริยาของพระสกิทาคามีมรรค ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) พ่อสอนลูก ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อยจนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ท่านกับเราก็เสมอกันเสมอกันโดยไตรลักษณ์ คืออนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพ สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป จงจำไว้ว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป จงจำไว้ว่าเราจะต้องตายถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์ เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์ เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม แต่สุดท้ายไม่นานผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์ สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม พิจารณาตน ๑. ถ้าบุคคลใดไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยากตนข่มท่าน ไม่มีความประมาท มีจริยาดี มีความสงบใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่ตถาคตสอน แล้วบุคคลใดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่น ทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่พระองค์ทรงสอน ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด อย่างนี้เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน ถ้าบุคคลใดทำจุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้นเห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่าคนและสัตว์นี้ก่อนเกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีที่พระองค์สอน แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์ ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือนถ้าบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี ๒. ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประมาณว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลาถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญ ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญ นั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว ศีล ๑. ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิ เพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ ๒. ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ตามถ้าเราละเมิดนั่นก็หมายความว่าเราเปิดช่องของอบายภูมิหรือเปิดทางเดินไปสู่อบายภูมิ มีเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน การเจริญกรรมฐานของบรรดาพุทธบริษัทก็ไม่มีผล เพราะฉะนั้นญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่คิดว่าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลวันนี้และตลอดไปในชีวิต จงตั้งจิตคิดว่านับแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต บางวันข้างหน้าอาจจะเผลอไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไปเราก็ยับยั้งมันเสีย และตั้งใจต่อไปเราจะไม่ทำผิดอีกและจงเข้าใจว่า ศีล ๕ ประการนี้ ถ้าจะขาดได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจทำ อย่างปาณาติบาตสัตว์เล็ก ๆ เราเดิน ๆไปเราไม่เห็นบังเอิญเหยียบตาย อันนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มียุงเป็นต้นมาเกาะกินเลือดเรา ถ้าไม่คิดจะฆ่ามันแต่มันเกาะนานเกินไป เราจะเอามือลูบให้มันหนีไป บังเอิญมันหนีไม่ทัน ถูกมันตาย อันนี้เราไม่บาป ศีลไม่ขาดเพราะเราไม่มีเจตนาจะฆ่า พรหมวิหาร ๔ ๑. ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คิดว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ดี ก็จัดว่าเป็นศูนย์รวมกำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี ๒. ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ แล้ว มีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผลมีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไรเพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็นมีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุขบุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันย่อมปรากฎ สมาธิ ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้ มหาสติปัฏฐาน ๑. มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิดปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้ บารมี ๑๐ บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ” ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา ๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป ทรงความดี ๑. การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์ เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์นั่นหมายถึงว่าตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์ ๒. เวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้า คือคำสอน องค์สมเด็จพระชินวรก็ไปนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายไปนิพานนับไม่ถ้วนก็เคยปฏิบัติอย่างนี้ ฉะนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่มีความอาลัยในชีวิตและร่างกายของเรา เราจะไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่น เราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุใด ๆ เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าบังเอิญมันจะตายในขณะที่เรานั่งนี่ก็เชิญ ร่างกายตายแต่ใจเราไปพระนิพพานตัดสินใจอย่างนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ภาวนา มโนมยิทธิ ๑. มโนมยิทธิ แปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ คำว่าฤทธิ์ทางใจหมายความว่าใช้ใจ โดยเฉพาะอันดับต้นต้องฝึกให้ได้ทิพจักขุญาณก่อน คำว่าทิพจักขุญาณก็หมายความว่าใช้ความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์ ถ้าฝึก “ ทิพย์จักขุญาณ ” ได้แล้ว ต่อไปจิตจะเคลื่อนไปสู่สวรรค์ก็ได้พรหมโลกก็ได้ไปแดนนิพพาน แดนเปรตแดนอะไรก็ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นมุมหนึ่งหรือจุดใดในโลกมนุษย์นี่ง่ายกว่า หรือว่าใครอยากจะไปเที่ยวดาวดาวต่าง ๆ ก็ไปได้ ไปดวงอาทิตย์เราก็ไปได้ไม่ตายเพราะใจเราไม่ตาย แต่ว่าวิธีปฏิบัติแบบนี้เวลาจะเคลื่อนใช้อารมณ์แนบแน่นสนิทไม่ได้ต้องมีอารมณ์เบา ๆ พอสมควร คือแค่อุปจารสมาธิให้เริ่มสัมผัสภาพได้ก่อน ไม่ได้เห็นด้วยลูกตา พอรับสัมผัสภาพได้ตอนนี้จิตเริ่มเป็นฌาน ตอนนี้ก็ยังเบาอยู่ แต่เคลื่อนจิตไปพระจุฬามณีได้ เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้น มันจะมีทั้งฌานและญาณบอก ฌานอย่างเดียวมันก็ไปไม่ได้ถ้าไปแล้วมันไม่เห็น ต้องมีตัวญาณเป็นตัวรู้ ฉะนั้น การขั้นตอนแรก ขึ้นด้วยญาณก่อนเมื่อไปถึงที่นั่นชำระจิตดี จิตสะอาดมากขึ้นความสว่างไสวจะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ลูกตาเห็น เป็นการเห็นจากจิต เป็นความรู้สึกจากจิต แต่เมื่อจิตสะอาดมากก็เห็นเหมือนตาเห็น ๒. ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว จงอย่ายับยั้งความดีไว้แค่มโนมยิทธิ เพราะถ้าหากท่านทำความดีได้แค่นี้มันยังไม่พ้นการลงนรก การให้ฝึกมโนมยิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายมีจริง การระลึกชาติมีจริง ตายแล้วไม่สูญจริงสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง นรก เปรต อสุรกายมีจริงเมื่อทำได้แล้วจงรวบรวมกำลังใจของท่าน ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระโสดาบัน จะได้ป้องกันอบายภูมิ ไม่ต้องตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉานต่อไป เป็นการก้าวไปหาพระนิพพานเร็วขึ้น วิปัสสนาญาณ ๑. ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน เมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้หากว่าชาตินี้ ถ้าไม่สามารถไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้วดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหมอยู่ไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัสรู้ เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานหรือ ปฏิกูลพรรพ ฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินศรีรู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว เลวที่สุดได้พระโสดาบันนี่เรียกว่าเลวที่สุดนะ ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผลตัวอย่างก็เยอะที่ปรากฏมาในพุทธประวัติ ๒. ถ้าหากว่าเรารู้จริงเห็นจริง ด้วยอำนาจของปัญญาว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกแบบนี้ เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร แม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควรและก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรกมันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั้นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรกเมื่อจิตของเราเห็นว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรัก ความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก พิจารณาความตาย ๑. เรื่องของความตายนี้ ทางพระท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าใครทั้งสิ้นที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายเหมือนกันหมด จะตายด้วยโรคอะไรหรืออาการอย่างไรในที่สุดก็ตายเหมือนกัน พระท่านสอนไม่ให้เสียใจเพราะเหตุแห่งความตายมาถึง คนรับฟังมีเยอะ แต่รับปฏิบัติ คือตัดใจไม่ให้เศร้าโศกถึงคนตายนี่หายาก เรื่องของการระงับความเศร้าโศกอาลัย ในเมื่อมีคนที่เรารักตายนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง คนที่จะทำได้แน่นอนไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในเรื่องของความตายนั้น ท่านว่ามีพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเห็นเรื่องของความตายเป็นของปกติธรรมดา เหมือนเห็นใบไม้ที่แก่งอมร่วงลงมาจากต้นไม่มีความรู้สึกเสียดายห่วงใยใด ๆ ถ้าว่ากันตามภาษาชาวบ้าน ถ้ามีคนตายเกิดขึ้นที่บ้านใคร ถ้าคนที่เกี่ยวข้อง เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ตาย ไม่ร้องไห้แสดงความเสียใจเขาก็หาว่าเป็นคนใจจืดใจดำ กลายเป็นคนไม่ดีไปเสียอีก ต้องแสดงออกถึงความโศกเศร้ารำพันนั่นแหละ เขาถึงจะนิยมว่าเป็นคนดีรักกันจริง เรื่องความเห็นของพระกับชาวบ้านไม่ใคร่จะลงกันก็อีตอนนี้แหละ ๒. คนเราเมื่อตายจากอัตภาพนี้แล้ว มันไม่ตายจริง คือไม่หมดความรู้สึกสุขทุกข์ยังมีสุขมีทุกข์มีความรู้สึกเหมือนเมื่อยังไม่ตาย แต่สิทธิต่าง ๆ ในเมื่อวิญญาณออกจากร่างนี้แล้วก็มีบางอย่างที่วิญญาณไม่มีสิทธิจะครองนั่นก็คือ ทรัพย์สินที่พยายามสะสมไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อยังทรงอัตภาพนี้ ส่วนอื่นนอกจากนี้ คือความสุขและความทุกข์ยังมีตามเดิม บางท่านเมื่อก่อนตาย ทำความดีไว้มาก เมื่อตายแล้วก็มีความสุข บางรายก่อนตายสร้างความเลวร้ายไว้มาก เมื่อตายแล้วก็ได้รับความทุกข์อันนี้เป็นกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ อริยสัจ ๑. เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มีถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมแปดประการ คือมีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่ ๒. สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่าเราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไปจงพิจารณาหาทุกข์ให้พอในอริยสัจจ์ พิจารณาขันธ์ ๕ ๑. ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์ก็เกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ๒. จิตต้องยึดเป็นอารมณ์ว่า ถ้าตายคราวนี้เรามุ่งนิพพาน ต้องคอยชำระจิต ก็หมายความว่าอย่าให้ความโลภคลุมใจ อย่าให้กามฉันทะมันคลุมใจ ความโกรธและโมหะอย่าให้คลุมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหันเข้ามาตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ ๕ ของเรา ตัดให้ขาด ทุกอย่างมันจะเกาะไม่ได้ สังโยชน์ ๑๐ ๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่นก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้อันนี้เป็นกำไรมาก ๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง พระโสดาบัน ๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน ๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้ ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป พระอนาคามี ๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ • สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ • จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก • ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่ ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล

ทำเหมือนไม่ทำอะไรรู้เหมือนไม่รู้อะไร๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะ ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา- *นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งใน ปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศ กว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ กำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความ กำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม ทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนด รู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ จบสูตรที่ ๙

การหาจุดเสียในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบ­คุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอน­ิกส์ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com ,mrsompongt@hotmail.comhttps://www.youtube.com/watch?v=OY1u0...มอเตอร์ไฟฟ้ายุคพัฒนาแล้วเครื่องจักรกลไฟฟ­้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong...

การหาจุดเสียในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบ­คุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอน­ิกส์ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com ,mrsompongt@hotmail.comhttps://www.youtube.com/watch?v=OY1u0...มอเตอร์ไฟฟ้ายุคพัฒนาแล้วเครื่องจักรกลไฟฟ­้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong...

เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ ฉบับธรรมยุต คำแปล นิททานุทเทส ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (ว่า๓ จบ) ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าอุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถพึง แสดงซึ่งปาฏิโมกข์ บุรพกิจอะไรๆของสงฆ์ก็ทำสำเร็จแล้ว ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งปาฏิโมกข์พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด จงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาฏิโมกข์นั้น ให้สำเร็จประโยชน์.ผู้ใดหากมีอาบัติ ผู้นั้นก็พึง เปิดเผยเสียเมื่ออาบัติไม่มี ก็พึงนิ่งอยู่ ก็เพราะความเป็นผู้นิ่งแล ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่า เป็นผู้บริสุทธ์ ก็การสวดประกาศให้ได้ยินมี กำหนด ๓ ในบริษัทเห็นปานนี้อย่างนี้ เป็นเหมือนถูกถามตอบเฉพาะองค์ ก็ภิกษุใดเมื่อสวดประกาศจบครั้งที่ ๓ ระลึก(อาบัติ) ได้อยู่ ไม่ เปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่ สัมปชานมุสาวาททุกกฎ ย่อมมีแก่เธอนั้น ท่าน ทั้งหลาย ก็สัมปชานมุสาวาทแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความสบายย่อมมีแก่เธอ ข้อความเบื้องต้น จบ. ปาราชิกุทเทส (ปาราชิก ๔) อาบัติทั้งหลายชื่อว่าปาราชิก ๔ เหล่านี้ ย่อมมาสู่อุทเทสในปาฏิโมกข์นั้น. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาธรรมเนียมเลี้ยงชีพร่วมกัน ของภิกษุทั้งหลายยังไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ถอย กำลัง (คือความท้อแท้ ) พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็นปาราชิก ไม่มีสังวาส (คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น) ๒. อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนโจรกรรม จากบ้านก็ดีจากป่าก็ดีพระราชาจับโจรได้แล้ว ฆ่าเสียบ้าง จำขังไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยปรับโทษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นคนขโมย ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. ๓. อนึ่ง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตหรือแสวงหาศัสตราอันจะนำ (ชีวิต) เสียให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตายหรือชักชวนเพื่อความตายด้วยคำว่า "แน่ะ นายผู้เป็นชาย มีประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันชั่วนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่" ดังนี้เธอมีจิตใจ มีจิตดำริอย่างนี้ พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี ชักชวนเพื่อความตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. ๔. อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ (คือไม่รู้จริง) กล่าวอวดอุตตริ มนุสสธัมม์ อันเป็น ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใด ผู้หนึ่ง เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ก็เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด (คือพ้นโทษ) จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้กล่าวว่า รู้ ไม่เห็นได้กล่าวว่าเห็นได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ" เว้นไว้แต่ว่าสำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. ท่านทั้งหลาย อาบัติปาราชิก ๔ อันข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล. ภิกษุต้องอาบัติเหล่าไรเล่า อันใดอันหนึ่งแล้วย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างแต่ก่อน เป็นปาราชิก ไม่มีสังวาสข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย ในข้อเหล่านั้นท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านี้แล้วเหตุนั้น จึงนิ่ง. ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ปาราชิกุทเทส จบ. สังฆาทิเสสุทเทส (สังฆาทิเสส ๑๓) ท่านทั้งหลาย อาบัติชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส. ๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคามจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส. ๓. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเกี้ยวมาตุ คามด้วยวาจาชั่วหยาบเหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส. ๔. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า "น้องหญิงหญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ(บอก) ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี(บอก) ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดีในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตามโดยที่สุด(บอก) แม้แก่หญิงแพศยา อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส. ๖. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเองพึงทำให้ได้ประมาณ; นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้นโดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้าง ๗ คืบด้วยคืบสุคต ( วัด ) ในร่วมใน. พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ. หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส. ๗. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบหากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่ มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่เป็นสังฆาทิเสส. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ตามกำจัด( คือโจท ) ภิกษุด้วยอาบัติมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายใจว่า"แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ " ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อไม่เชื่อก็ตาม ) แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่องหามูลมิได้และภิกษุย่อมยันอิงโทสะเป็นสังฆาทิเสส. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลิศ ตามกำจัดภิกษุด้วย ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายใจว่า "แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ "ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้อื่นถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม) แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นเอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศและภิกษุย่อมยืนยันอิงโทสะ ๓ เป็นสังฆาทิเสส. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์(คือเรื่อง) อันเป็นเหตุแตกกันยืนกรานอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ ว่า "ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยืนกรานอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กัน ปรองดองกันไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน (คือฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกัน) ย่อมอยู่ผาสุก" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส (คือประกาศห้าม) กว่าจะครบ ๓ จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี เป็นสังฆาทิเสส. ๑๑. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๓ เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า "ขอท่าน ทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั้นภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วยภิกษุนั้นถือเอาความพอใจ และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอรู้ (ใจ) ของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนี้ ย่อมควร (คือถูกใจ) แม้แก่พวกข้าพเจ้า". ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า "ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้นภิกษุนั้น หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั่น หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่านขอ (ใจ) ของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก"และภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ ทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากอันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมในสิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส (คือพระปาฏิโมกข์) ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า "พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ ต่อเราเป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จะไม่กล่าวอะไรๆ ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็น คำชั่วก็ตามขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย" ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่าไม่ได้ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรมแม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรมเพราะว่า บริษัทของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ๓จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดีนิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า"ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูปเพราะอาบัติเช่นเดียวกัน "ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า" ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านเองแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เป็นปฐมาปัตติกะ (ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ) เป็นยาวตติยกะ (ให้ต้องอาบัติต่อ เมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครง ๓ ครั้ง) ภิกษุต้องธรรมเหล่าไรเล่า อันใดอันหนึ่งแล้วรู้อยู่ ปกปิดไว้สิ้นวันเพียงเท่าใด ภิกษุนั้น ถึงจะไม่ปรารถนา ก็พึง ต้องอยู่ ปริวาส สิ้นวันเท่าที่ปกปิดนั้นภิกษุอยู่ปริวาสครบตามวันที่ปิดแล้ว พึงปฏิบัติ เพื่อภิกษุมานัตต์เกินขึ้นไป ๖ ราตรีหมู่ภิกษุได้ประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรีแล้วหมู่ภิกษูคณะ ๒๐ จะพึงมี ณ สีมาใด ภิกษุนั้น สงฆ์พึงอัพภานเธอ ณ สีมานั้นถ้าภิกษุสงฆ์คณะ ๒๐ หย่อนด้วยภิกษุแม้ แต่องค์หนึ่งไม่ครบ๒๐ หากอัพภานภิกษุนั้นไซร้ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุทั้งหลายที่เป็นการกสงฆ์ ก็เป็นอัน พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียนนี้ เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้ว ในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. สังฆาทิเสสุทเทส จบ. อนิยตุทเทส (อนิยต ๒) ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ อนิยต๒เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว.อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นเทียว พูดขึ้นด้วยธรรม๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม๓ ประการ คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น นี้ธรรมชื่อ อนิยต ๒. อนึ่ง สถานที่ไม่เป็นที่กำบังอะไรเลย ไม่พอที่จะทำกรรม (คือ การเสพเมถุน) ได้ แต่พอเป็นที่จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ และภิกษุใดผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้นอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่ออนิยต ๒ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนี้เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ อนิยตุทเทส จบ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบท เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑. ๑. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรก จีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๓. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะ เสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอเมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้นแม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ก็เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๕. อนึ่ง ภืกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.สมัยในคำนั้นดังนี้, คือ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดีนี้สมัยในคำนั้น. ๗. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์ กับอันตรวาสก เป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น.ถ้ายินดียิ่งกว่านั้นเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า "เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า "ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรแล้วยังรูปให้ครองเถิด" ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช่ญาติ ๒ คน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆไว้เฉพาะภิกษุว่า "เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ นี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า" ดีละ ขอท่านทั้งหลายจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ แล้วทั้ง ๒ คนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด". ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับ จับจ่ายจีวรไปด้วยทูต เฉพาะภิกษุว่า "เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า "ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่านขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น" ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า "พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล" ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า "ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?" ภิกษุต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า "คนนั้นแล เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย" ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหาเขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล" ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง พึงเตือน ๒ - ๓ ครั้งว่า "รูปต้องการจีวร" ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้.การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้นั่นเป็นดี ถ้าสำเร็จไม่ได้, พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็นอย่างมากเธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็น อย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้ สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า" ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้น หาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย, นี้เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น. จีวรวรรคที่ ๑ (จบ). ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิย - ปาจิตตีย์. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็น นิสสัค คิยปาจิตตีย์. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วนขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓,ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ให้ทำสันถัตใหม่,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ปี ถ้าหย่อนกว่า ๖ ปี เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง สันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง ภิกษุต้องการ พึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๗. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ไม่ดี ทองเงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๑๙. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒๐. อนึ่ง ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ (จบ) ๒๑. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า ๕ นิ้ว ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น ในภิกษุบริษัท,บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น พึงมอบให้แกภิกษุนั้น สั่งว่า "นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ (คือใช้) กว่าจะแตก." นี้เป็นสามีจิกรรม (คือการชอบ) ในเรื่องนั้น. ๒๓. อนึ่ง มีเภสัช อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย,ภิกษุรับ (ประเคน) ของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒๔. ภิกษุ (รู้) ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนได้ (รู้) ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอ (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑ เดือนแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒๗. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร เฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้เป็นของขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของ ที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉน รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒๘.วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา (คือเดือน๑๑) ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่า เป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๒๙. อนึ่ง (ถึง) วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆเพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึงมีแก่ภิกษุภิกษุนั้น พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ๓๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ปัตตวรรคที่ ๓ ( จบ) ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ( สิกขาบท) ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้นท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ. ปาจิตติยะ (ปาจิตตีย์ ๙๒) ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อว่า ปาจิตตีย์ ๙๒ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท (กล่าวเท็จทั้งรู้ตัว) ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ( ด่า ) ๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ ๔. อนึ่ง ภิกษุใด ยังอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท๑ เป็นปาจิตตีย์. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืนเป็นปาจิตตีย์ ๖. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด แสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่บุรุษผู้รู้เดียงสา ( มีอยู่ ) เป็นปาจิตตีย์. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอุตตริมนุสสธรรม (ของตน) แก่ อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง ๙. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ แก่อนุปสัมบัน เว้น ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใดขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดินเป็นปาจิตตีย์. มุสาวาทวรรคที่ ๑ (จบ) ๑๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่งภูตคาม ๑๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก. ๑๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า ๑๔. อนึ่ง ภิกษุใด วางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้แล้วก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดีเก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง.เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น หรือไม่บอกสั่ง ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์. ๑๕. อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่งที่นอน ในวิหาร เป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกสั่ง ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์. ๑๖. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ สำเร็จการนอน เบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน ในวิหารของสงฆ์ ด้วยหมายว่า ความคับแคบจักมีแก่ผู้ใดผู้นั้นจะหลีก ไปเอง ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่เป็นปาจิตตีย์. ๑๗. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธขัดใจฉุดคร่าเองก็ดี ให้ผู้อื่นฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ จากวิหารของสงฆ์าเป็นปาจิตตีย์. ๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ ( ในตัวเตียง) บนร้าน ในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์. ๑๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ดหน้าเพียงไร แต่กรอบแห่งประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว อำนวย (ให้พอก) ได้ ๒ - ๓ ชั้นถ้าเธออำนวย (ให้พอก) ยิ่งกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของสดเขียวก็เป็ปาจิตตีย์ ๒๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์รดก็ดี ให้รดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี เป็นปาจิตตีย์. ภูตคามวรรคที่ ๒ (จบ). ๒๑. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์. ๒๒. ถ้าภิกษุได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์ ๒๓. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว สั่งสอน พวกภิกษุณีเว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์สมัยในเรื่องนั้นดังนี้คือ ภิกษุณีอาพาธ สมัยในเรื่องนั้น ดังนี้: ๒๔. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะเหตุ อามิส" เป็นปาจิตตีย์. ๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์. ๒๖. อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดีซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์. ๒๗. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วยกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งเว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้น ดังนี้: คือทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน รู้กันว่าเป็นที่น่ารังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า นี้สมัยในเรื่องนั้น ๒๘. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้ว ขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณีขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็นปาจิตตีย์. ๒๙. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์. ๓๐. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่ง ในที่ลับตากับภิกษุณีผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์. โอวาทวรรคที่ ๓ (จบ). ๓๑. ภิกษุผู้มิใช่อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์. ๓๒. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่. นี้สมัยในเรื่องนั้น คือคราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่ขึ้นเรือไป คราวประชุมใหญ่ คราวภัตต์ ของสมณะ นี้สมัยในเรื่องนั้น ๓๓. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราโภชนะทีหลัง.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือคราวเป็นไข้ คราวถวายจีวร คราวทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น. ๓๔. อนึ่ง เขาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล ด้วยขนมก็ดี ด้วยสัตตุผงก็ดี เพื่อนำไปได้ตามปรารถนาภิกษุผู้ต้องการ พึงรับได้เต็ม ๒ - ๓ บาตรถ้ารับยิ่งกว่านี้น เป็นปาจิตตีย์.ครั้นรับเต็ม ๒ - ๓ บาตรแล้ว นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น. ๓๕. อนึ่ง ภิกษุใด ฉันเสร็จห้ามเสียแล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์. ๓๖. อนึ่ง ภิกษุใด นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามเสียแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดีด้วยของฉันก็ดี อันมิใช่เดนบอกว่า "เอาเถิด ภิกษุ ขอจงเคี้ยวหรือฉัน" รู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้พอเธอฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์. ๓๗. อนึ่ง ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์. ๓๘. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสมไว้ เป็นปาจิตตีย์. ๓๙. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ เช่น เนยใน เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมข้น เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วฉัน เป็น ปาจิตตีย์. ๔๐. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ให้ ล่วงช่องปากเว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน เป็นปาจิตตีย์. โภชนวรรคที่ ๔ (จบ). ๔๑. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี แก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน เป็นปาจิตติย์. ๔๒. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่าท่านจงมา เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคม เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน" เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอแล้วส่งไป (ด้วยคำ) ว่าท่านจงไปเสีย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุกเลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียวย่อมเป็นผาสุก" ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์. ๔๓. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงในสโภชนสกุล เป็นปาจิตตีย์. ๔๔. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์. ๔๕. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับตากับมาตุคามผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์. ๔๖. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตต์อยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่ง มีอยู่ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดีเว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือคราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร, นี้สมัยในเรื่องนั้น. ๔๗. ภิกษุใด ไม่ใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย เพียง ๔ เดือนเว้นไว้แต่ปวารณาอีกเว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์ ๔๘. ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูกองทัพอันยกออกแล้วเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนี้เป็นรูป เป็นปาจิตตีย์. ๔๙. ก็ถ้าปัจจัยบางอย่าง เพื่อจะไปสู่กองทัพมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในกองทัพเพียง ๒ - ๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์. ๕๐. ถ้าภิกษุอยู่ในกองทัพ ๒ - ๓ คืนไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูหมู่อนึก๒ คือ ช้าง ม้า รถ พลเดิน อันจัดเป็นกองๆ แล้วก็ดีเป็นปาจิตตีย์ อะเจละกะวรรคที่ ๕ (จบ). ๕๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย. ๕๒. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ. ๕๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ (หมายเอาเล่นน้ำ) ๕๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ. ๕๕. อนึ่ง ภิกษุใดหลอนภิกษุให้กลัว เป็นปาจิตตีย์. ๕๖. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์. ๕๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำเว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือ "เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อนเดือนต้นแห่งฤดูฝน" ๒ เดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงานคราวไปทางไกล คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น. ๕๘. อนึ่ง ภิกษุ ได้จีวรมาใหม่พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งคือของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่ เป็นปาจิตตีย์. ๕๙. อนึ่ง ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี แก่ภิกษุณีก็ดี แก่นางสิกขมานาก็ดีแก่สามเณรก็ดี แก่นางสามเณรีก็ดีแล้วใช้สอย (จีวรนั้น) ไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์. ๖๐. อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดีซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี แห่งภิกษุ โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์. สุราปานะวรรคที่ ๖ (จบ). ๖๑. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็นปาจิตตีย์. ๖๒. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็นปาจิตตีย์. ๖๓. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม เพื่อทำอีก เป็นปาจิตตีย์. ๖๔. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ เป็นปาจิตตีย์. ๖๕. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ยังบุคคลมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบทบุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วย นี้เป็นปาจิตตีย์ ในเรื่องนั้น. ๖๖. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่าง ผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์. ๖๗. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามโดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์. ๖๘. อนึ่ง ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการว่า เป็นธรรมทำอันตรายได้ อย่างไร ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง)ไม่" ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้นท่าน อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระเจ้าไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลยแน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมนั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง) แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออย่างนั้นแล ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่ ๓ เพื่อสละการนั้นเสีย ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่ ๓ สละการนั้นเสีย การสละได้ดังนี้ เป็นการดี ถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์ ๖๙. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี กับภิกษุ ผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น เป็นปาจิตตีย์. ๗๐. ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้ารู้ธรรมที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง) ไม่ "สมณุทเทส นั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้ว่า" สมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอกพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลยแน่ะสมณุทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมากก็แลธรรม เหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง) แลสมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่อย่างนั้นขืนถืออย่างนั้นแล สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "แน่ะสมณุทเทส เธออย่าอ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป แลพวก สมณุทเทส อื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง ๒ - ๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไปเสีย เจ้าจงฉิบหายเสีย" แลภิกษุใดรู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้วก็ดี ให้อุปฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดีเป็น ปาจิตีย์. สัปปาณะวรรคที่ ๗ (จบ) ๗๑. ภิกษุใด อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม กล่าว อย่างนี้ว่า" แน่ะเธอ ฉันจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาดผู้ทรงวินัย" เป็นปาจิตตีย์. (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) อันภิกษุศึกษาอยู่ควรรู้ถึง ควรสอบถาม ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น. ๗๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาฏิโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยิ่งนี่กระไร? เป็นปาจิตตีย์ เพราะตำหนิสิกขาบท. ๗๓. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อปฏิโมกข์สวดอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า "ฉันพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้นี้ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตร มาสู่อุเทส ( คือการสวด ) ทุกกึ่งเดือน" ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า "ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่ ๒ - ๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรอีก" ความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้ หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่องนั้น และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า" แน่ะเธอไม่ใช่ลาภของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่า เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่" นี้เป็นปาจิตตีย์ ในความผู้เป็นแสร้งทำหลงนั้น ๗๔. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจทำร้าย เป็นปาจิตตีย์ ๗๕. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ ๗๖. อนึ่ง ภิกษุใด กำจัด (คือโจท) ภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์ ๗๗. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุด้วยหมายว่า "ด้วยเช่นนี้ ความไม่ผาสุกจักมี แก่เธอ แม้ครู่หนึ่ง" ทำความหมาย อย่างนี้เท่านั้นแล ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์ ๗๘. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลาย เกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟัง ด้วยหมายว่า "จักได้ฟังคำที่เธอพูดกัน" ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์. ๗๙. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว ถึงธรรมคือการบ่นว่าในภายหลัง เป็นปาจิตตีย์ ๘๐. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัย ยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะ หลีกไปเสีย เป็นปาจิตตีย์. ๘๑. อนึ่ง ภิกษุใด (พร้อมใจ) ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร(แก่ภิกษุ) แล้วภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ว่า"ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ" เป็นปาจิตตีย์. ๘๒. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล เป็นปาจิตตีย์. สหธรรมมิกวรรคที่ ๘ (จบ) ๘๓. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไป (ในห้อง) ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมฤธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่เสด็จออก ที่รตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์ . ๘๔. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่าเป็นรตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์. แลภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วพึงเก็บไว้ ด้วยหมายว่า "ของผู้ใด ผู้นั้นจักได้เอาไป" นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น. ๘๕. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุผู้มีอยู่แล้ว เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล เว้นไว้แต่กิจรีบ (คือธุระร้อน) มีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์. ๘๖. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็มแล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ทุบทิ้งเสีย. ๘๗. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง๘นิ้ว ด้วยนิ้วสุคตเว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย. ๘๘. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดีเป็นของหุ้มนุ่น (คือยัดนุ่น) เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย. ๘๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่งให้ทำให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคำนั้นโดยยาว ๒ คืบโดยกว้างคืบหนึ่ง ชายคืบครึ่ง ด้วยคืบสุคตเธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย. ๙๐. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงให้ทำให้ได้ประมาณนี้ ประมาณในคำนั้นโดยยาว ๔ คืบโดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย. ๙๑. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนพึงทำให้ได้ประมาณนี้ ประมาณในคำนั้นโดยยาว ๖ คืบโดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอ ทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย. ๙๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวร มีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต ในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ประมาณ แห่งสุคตจีวรของพระสุคต ระตะนะวรรคที่ ๙ (จบ) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่อปาจิตตีย์ ๙๒ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความไว้ด้วยอย่างนี้. ปาจิตตีย์ จบ. ปาฏิเสทนียะ (ปาฏิเสทนียะ ๔) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้ว สู่ละแวกบ้านแล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้น พึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น". ๒. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ถ้าภิกษุณีมา ยืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า "จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้" ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่" ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่" อันภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า "แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืนพวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น". ๓. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อนมิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดีในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า "แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืนฉันแสดงคืนธรรมนั้น." ๔. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า "แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น." ท่านทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในข้อเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้. ปาฏิเทสะนียะ จบ. เสขิยะ (เสขิยะ ๗๕) ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อเสขิยะเหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล." ๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักห่มเป็นปริมณฑล". ๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน". ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน". ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน." ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน." ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน." ๙. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า." ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า." ปะริมัณฑะละวรรค ที่หนึ่งจบ ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ หัวเราะลั่น." ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น." ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน." ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน." ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน." ๑๖.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวก บ้าน." ๑๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน." ๑๘.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน" ๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน." ๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน." นะ อุชชัคคิกะวรรค ที่สองจบ ๒๑. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน." ๒๒. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน." ๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) ไปในละแวกบ้าน." ๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) นั่งในละแวกบ้าน." ๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระโหย่ง ." ๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัดเข่า ." ๒๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ" ๒๘. พึงทำศึกษา"เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับิณฑบาต" ๒๙. พึงทำศึกษาว่า"เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน ๓๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ" นะ ขัมภะกะตะวรรค ที่สามจบ ๓๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ." ๓๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต." ๓๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง." ๓๔.พึงทำศึกษาว่า"เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน" ๓๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต." ๓๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก." ๓๗. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน." ๓๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น." ๓๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก." ๔๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม." สักกัจจะวรรค ที่สี่จบ ๔๑. พึงทำศึกษาว่า "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก." ๔๒. พึงทำศึกษาว่า "เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก ๔๓. พึงทำศึกษาว่า "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด." ๔๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว ๔๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว." ๔๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย ๔๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันสลัดมือ." ๔๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก." ๔๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น ๕๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ นะ อะนาหะฏะวรรค ที่ห้าจบ ๕๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ ๕๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียมือ." ๕๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันขอดบาตร." ๕๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก." ๕๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส." ๕๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน." ๕๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ." ๕๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ." ๕๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ." ๖๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ." นะ สุรุสุรุการะกะวรรค ที่หกจบ ๖๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า." ๖๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า." ๖๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน." ๖๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน." ๖๕ . พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า." ๖๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ." ๖๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ." ๖๘. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ." ๖๙. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง." ๗๐. พึงทำศึกษาว่า "เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่." นะ ปาทุกะวรรค ที่เจ็ดจบ ๗๑. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า." ๗๒. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง." ๗๓. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ." ๗๔. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะบนของสดเขียว." ๗๕. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะในน้ำ นะ ปัจฉะโตวรรค ที่แปดจบ ท่านทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว. ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น จึงนิ่ง. ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. เสขิยะ จบ. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส. เพื่อความสงบ เพื่อความระงับ ซึ่งอธิกรณ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงให้ระเบียบอันจะพึงทำให้ถึงพร้อมหน้า พึงให้ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ( พึงให้ ) ทำตามรับ ( พึงให้ ) ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ ( พึงให้ ) กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ( พึงให้ ) ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ ๗ อันข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น จึงนิ่ง.ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. อธิกรณสมถะ ๗ จบ. ท่านทั้งหลาย คำนิทาน ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ธรรมทั้งหลายชื่อปาราชิก ๔ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อ สังฆาทิเสส ๑๓ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายชื่ออนิยต ๒ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลาย ชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อปาจิตตีย์ ๙๒ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยะ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว ธรรม ทั้งหลายชื่ออธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว คำเท่านี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นับเนื่องในสูตรแล้ว มาในสูตรแล้ว ย่อมมาสู่อุทเทสทุกๆ กึ่งเดือน. อันภิกษุทั้งหลายทั้งปวง นั่นแล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ชื่นชมด้วยดีอยู่ เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้นดังนี้. ภิกขุปาฏิโมกข์ จบ จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธาน ให้โอวาท และนำเจริญพระพุทธมนต์ตามแต่ทางวัดจะกำหนด แต่โดยมาก วัดใหญ่ๆ ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นแบบแผน นิยมสวดบทสวดมนต์หลังปาฏิโมกข์ ดังต่อไปนี้ ๑. กรณียเมตตสูตร ๒. ขันธปริตร ๓. พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ๔. วันทา (วันทาบทใหญ่) ๕. กรวดน้ำ (อิมินา) สวดจบแล้ว พระเถระผู้เป็นประธานนำคุกเข่ากราบ ๓ หน เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้น พระเถระผู้เป็นประธานต่อศีลให้สามเณร เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์โดยทั่วไป โดยถือว่าการต่อศีลให้สามเณรเป็นการอนุเคราะห์สามเณร ผู้เป็นสามณเชื่อสายศากยบุตร ที่จะทำหน้าที่สืบพระศาสนาต่อไป เพื่อทำศีลให้บริสุทธิ์และเป็นการทบทวนศีล ๑๐ ข้อ เหมือนภิกษุสวดปาฏิโมกข์ เพื่อการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ พระเถระผู้เป็นประธานให้โอวาทสามเณร เป็นอันเสร็จพิธี ที่มา จากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ

เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ ฉบับธรรมยุต

เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ ฉบับธรรมยุตสวดพระปาฏิโมกข์

ภาวะแห่งความตื่นเราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ยพลาดแวบเด­ียวเนี่ยไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลั­กทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้ต้องมีสติปัญญา­เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญาไม่ใช่ไต่โง­่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหินพ­ักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่­วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจ­ริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอย­ไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ไ­ด้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส….หนทางย­ังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เ­ส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะพวกเราจะระหก­ระเหินอีกนานเลยนะเวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนานทำกันแรมเดือนแรมปี….วาบเดียวขาดส­ะบั้นเลย….เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นห­นึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะนาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลยล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียวงั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิ­ตนี่เรื่องสำคัญมากนะปัจจุบันก็คือขณะจิตต­่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่­อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้นะ สู้ด้วยสติปัญา เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ยพลาดแวบเด­ียวเนี่ยไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลั­กทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้ต้องมีสติปัญญา­เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญาไม่ใช่ไต่โง­่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหินพ­ักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่­วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจ­ริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอย­ไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ไ­ด้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส….หนทางย­ังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เ­ส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะพวกเราจะระหก­ระเหินอีกนานเลยนะเวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนานทำกันแรมเดือนแรมปี….วาบเดียวขาดส­ะบั้นเลย….เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นห­นึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะนาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลยล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียวงั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิ­ตนี่เรื่องสำคัญมากนะปัจจุบันก็คือขณะจิตต­่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่­อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้นะ สู้ด้วยสติปัญา เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ยพลาดแวบเด­ียวเนี่ยไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลั­กทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้ต้องมีสติปัญญา­เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญาไม่ใช่ไต่โง­่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหินพ­ักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่­วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจ­ริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอย­ไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ไ­ด้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส….หนทางย­ังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เ­ส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะพวกเราจะระหก­ระเหินอีกนานเลยนะเวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนานทำกันแรมเดือนแรมปี….วาบเดียวขาดส­ะบั้นเลย….เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นห­นึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะนาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลยล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียวงั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิ­ตนี่เรื่องสำคัญมากนะปัจจุบันก็คือขณะจิตต­่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่­อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์เราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุ­สสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเ­ป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดคว­ามทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้า­งขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไ­ปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธ­รรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษาม­ันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความ­พอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึก­ว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ใ­นใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว

จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้มากมาย1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

จิตหมดการดิ้นรน1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง (อ่านต่อสัปดาห์หน้า/หลักการรู้ทุกข์หรือการเจริญวิปัสสนา) ************************** ล ำดับเรื่อง/สารบัญที่จะนำเสนอในคอลัมน์ทางเอก ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

Emotiv's New Neuro-HeadsetEmotiv is on the cutting edge of that technology with headgear that allows you to do things, such as make a toy car whiz by or help a quadriplegic mix music like a DJ using just their brain power. It works by scanning your brain for signals using the Emotiv EEG device on your head. That device then relays your signals through a brain-computer interface to detect emotions, interest and a slew of other things. Sarah Buhr demos the most recent prototype of Emotive's new wireless neuro-headset.

Emotiv's New Neuro-Headset

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเณ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุฯ ช่างดอกไม้ ย่อมร้อยพวงดอกไม้ จากกองดอกไม้ให้มากได้ฉันใด บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้น

สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์ เราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุ­สสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเ­ป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดคว­ามทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้า­งขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไ­ปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธ­รรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษาม­ันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความ­พอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึก­ว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ใ­นใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

สันติ แท้ที่จริงตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่ม­­ีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกัน ไม่ใช่ ศาสนา ไม่ใช่ลัทธิ เพียง แต่ให้มีสติ รู้การทำงานของกายของใจ ของเราเองไปตามความเป็นจริง ตนนั่นเหละเป็นที่พึงของตน ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เรื่องของมันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันที แท้ที่จริงตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่ม­­ีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกัน

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกโลกสามารถถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ และลม ทั้งนี้ขึ้นกับกิเลสภายในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มากด้วยโทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มากด้วยราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้ามนุษย์มากด้วยโมหะ โลกจะถูกทำลายด้วยลม วิธีการเอาตัวรอดจากการถูกทำลายทั้งจากไฟ น้ำ และลมนั้น สามารถทำได้โดยเจริญสมาธิภาวนาให้เกิดฌาณ เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่อยู่นอกขอบเขต­­การทำลาย และถ้าจะให้ปลอยภัยถาวรก็ทำตนให้หมดกิเลส เพื่อจะได้ไม่ต้องลงมาเกิดในภพต่างๆ อีก กายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วนพอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี­­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโ­น­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายน­อกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ทุกข์จริงๆ มาจากกิเลสทั้งหลายกายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วนพอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง โลกสามารถถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ และลม ทั้งนี้ขึ้นกับกิเลสภายในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มากด้วยโทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มากด้วยราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้ามนุษย์มากด้วยโมหะ โลกจะถูกทำลายด้วยลม วิธีการเอาตัวรอดจากการถูกทำลายทั้งจากไฟ น้ำ และลมนั้น สามารถทำได้โดยเจริญสมาธิภาวนาให้เกิดฌาณ เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่อยู่นอกขอบเขต­­การทำลาย และถ้าจะให้ปลอยภัยถาวรก็ทำตนให้หมดกิเลส เพื่อจะได้ไม่ต้องลงมาเกิดในภพต่างๆ อีก

ตอนสุดท้ายกายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วนพอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง

ผู้บรรลุอรหัตผลด้วยกายคตาสติพระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์ พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า “กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว สารแก่กปิลพราหมณ์ ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า “ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้ สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้ คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น สภาพชีวิตการครองคู่ ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็ ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้ เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็น หมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง ก็มีความคิดตรงกันว่า “ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ และบริวาร ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง กันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้ บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ ๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่ ๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น ๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์ โดยสม่ำเสมอ ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:- ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์ นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:- ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:- “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า” “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า” ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:- ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง หลายควรถือเป็นแบบอย่าง ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็ มีใจเป็นฉันนั้น” ๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง พระเถระขับล่านางเทพธิดา ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะและ บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?” “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน” พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้ สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด” นางเทพธิด้านอ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่ ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้ พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว” พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป สาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ ชีวิตในบั้นปลาย ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำ ปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด ขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ผู้เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมันมีจิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะหมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

เบื่อด้วยปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งที่ปรุงแต่งน่าเบื่อหมดเลย หาอะไรที่น่ารั... ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

สมถะกรรมฐานวิปัสนากรรมฐาน ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

ผู้ไม่มีร่องรอย ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

ตามรอยพระพุทธเจ้า ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

ตามรอยพระพุทธเจ้า ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

ทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

อำลาพุทธภูมิ ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

อำลาพุทธภูมิ ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

อำลาพุทธภูมิ ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้นะ สู้ด้วยสติปัญาเราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ยพลาดแวบเดียวเนี่ยไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้ต้องมีสติปัญญาเหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญาไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะพวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะเวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนานทำกันแรมเดือนแรมปี….วาบเดียวขาดสะบั้นเลย….เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะนาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลยล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียวงั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้มากมาย1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

จิตหมดความดิ้นรน1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้ มากมาย1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

ห่มผ้าพระพุทธเมตตา พุทธคยา อินเดียอุกาสะ วันทามิ ภันเต, เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง, สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา, กายะสา วะจะสา มะนะสา, เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต, สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน, จาปิ สัพพะทา, อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

ห่มผ้าพระพุทธเมตตา พุทธคยา อินเดีย

ความน่ากลัวของสังสารวัฏบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ.

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

จิตหมดแรงดิ้นจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

ควรเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

โอกาสทองของชีวิตจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

โอกาสทองของชีวิตจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึ...จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

เราเห็นแสงไฟแล้วจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

แค่นี้ก็ปางตายแล้วเราจิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

ใต้ร่มโพธิญาณต้นพระศรีมหาโพธิ์มหาเจดีย์พุทธคยา..เทวดาผู้มีหน้าที่ป่าวประกาศเหล่านี้ มีกำหนดเวลาร้อยปี ลงมาบอกยังโลกมนุษย์หนึ่งครั้ง เมื่อเหล่ามนุษย์และเทพยดาได้ยินข้าวก็บังเกิดความสังเวชสลดใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รีบบำเพ็ญบุญกุศลประการต่าง ๆ โดยเฉพาะบำเพ็ญภาวนาเจริญพรหมวิหาร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ได้ฌานสมาบัติ แล้วพากันไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่สูงกว่าที่จะถูกทำลาย แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวง เมื่อมีอกุศลเบาบางลง ก็ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ทราบข่าวเรื่องโลกพินาศ ก็รีบบำเพ็ญบุญกุศลดังกล่าวแล้ว พากันไปเกิดในพรหมโลกทำนองเดียวกัน ( ยกเว้นพวกที่มีความเห็นผิดแน่นแฟ้นแก้ไขตนเองไม่ได้ จะต้องอยู่ในอบายภูมิ พวกนี้จะตายแล้วไปเกิดในอบายภูมิของจักรวาลอื่นที่ยังไม่พินาศ) แต่ตามความเป็นจริงแล้ว คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิด มักจะเป็นเฉพาะเวลามีชีวิตเป็นมนุษย์อยู่ เมื่อตายไปอยู่ในนรก ถูกลงโทษทุกข์ทรมาน ย่อมทราบแจ่มแจ้งถึงความเห็นผิดของตน รู้สำนึก ละทิฏฐิเลวทรามเหล่านั้นได้ เมื่อพ้นโทษได้เกิดเป็นมนุษย์ ทราบข่าวเรื่องโลกพินาศ ก็รีบเร่งบำเพ็ญฌาน เพื่อไปเกิดในพรหมโลก เมื่อโลกเริ่มพินาศ จะไม่มีฝนตกเลยเป็นเวลาช้านาน ต้นไม้น้อยใหญ่พากันเหี่ยวแห้งล้มตาย ล่วงเวลาต่อมา เมื่อดวงอาทิตย์โคจรลับฟ้าไปแล้ว ควรจะเป็นเวลากลางคืน แต่กลับไม่มี เพราะจะบังเกิดดวงอาทิตย์ใหม่ขึ้นมาอีกดวงหนึ่ง ในจักรวาลเวลานั้นจึงไม่มีกลางคืนอีกต่อไป และดวงอาทิตย์ดวงใหม่นี้ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำเหมือนดวงอาทิตย์ดวงเดิม จึงมีความร้อนรุนแรงกว่า ( ในหลักวิทยาศาสตร์ ดวงอาทิตย์ดวงใหม่อาจเป็นดาวดวงอื่นที่ยังมีความร้อนลุกเป็นไฟอยู่ โคจรเข้ามาในจักรวาลที่กำลังเริ่มพินาศ) ส่วนเหล่าสุริยเทพบุตรในดวงอาทิตย์ดวงเดิม ก็เร่งรีบทำความเพียร เจริญภาวนาให้ได้ฌาน หนีไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงกันทั้งหมด เมื่อมีดวงอาทิตย์เป็นสองดวงดังนี้แล้ว ความร้อนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ท้องฟ้าจึงไม่มีเมฆหมอกใด ๆ เหลืออยู่เลย ในชมพูทวีปยังเหลือแม่น้ำใหญ่ที่พอมีน้ำอยู่ ๕ สาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ และสรภู นอกนั้นเหือดแห้งหมด คนทั้งหลายไม่มีชีวิตเหลืออยู่อีก ต่างไปบังเกิดในพรหมโลกกันหมด ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น แม่น้ำทั้ง ๕ แห้งหมด เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่บริเวณป่าหิมพานต์ ( แถบภูเขาหิมาลัยซึ่งมีน้ำละลายจากหิมะขังอยู่แห้งทั้งหมด น้ำในมหาสมุทรของจักรวาลเริ่มแห้งงวดลงเป็นลำดับ พอดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ บังเกิด น้ำในมหาสมุทรแห้งหมด ไม่เหลือแม้องคุลี พอดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ บังเกิด แผ่นดินภูเขาทั้งหลายก็สิ้นธาตุน้ำ อันเป็นยางเหนียวเกาะกุมก็หลุดกระจาย กลายเป็นฝุ่นเป็นควันคลุ้งตลบ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบไว้ว่า เหมือนช่างปั้นหม้อเรียงภาชนะดินดิบใส่เข้าเตาเผา พอจุดไฟเผาก็เกิดควันฟุ้งตลบไปทั่วเตา ถ้าจักรวาลจะพินาศพร้อมกันทั้งแสนโกฏิจักรวาล ฝุ่นควันก็จะฟุ้งไปทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล เป็นอยู่ดังนี้ยาวนานนับเวลาไม่ได้ ครั้นแล้วเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ บังเกิด โลกธาตุทั้งแสนโกฏิจักรวาลก็รุ่งโจรน์โชตินาการลุกเป็นไฟขึ้นพร้อมกัน มีเสียงดังสนั่นด้วยการระเบิดกึกก้องกัมปนาทน่าสะพรึงกลัว ยอดเขาพระสุเมรุก็ถอดถอนหลุดลุ่ยกระจักกระจายสูญหายไปในอากาศ เปลวไฟประลัยกัลป์เกิดที่มนุษยโลกก่อน แล้วลุกลามไปยังเทวโลกชั้น จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี หมดทั้ง ๖ ชั้น แล้วต่อขึ้นไปยังพรหมโลกชั้นต้น ปฐมฌานภูมิ ๓ คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา แล้วหยุดอยู่เพียงนั้น ถ้าครั้งใดจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศไปถึงพรหมโลกทุติยฌานภูมิ ถ้าถูกทำลายด้วยลม ก็พินาศเพิ่มไปจนถึงพรหมโลกตติยฌานภูมิ พรหมภูมิที่เหนือจากตติยฌานภูมิ ไม่มีสิ่งใดทำลายได้ ไม่ว่าอยู่ในจักรวาลใด เว้นแต่ต้องจุติตามอายุขัย คือ ๕๐๐, ๑, ๐๐๐, ๒, ๐๐๐ ไปจนถึง ๘๔, ๐๐๐ มหากัป ( เป็นอายุของพรหมตั้งแต่ชั้นเวหัปผลา จนถึงอรูปพรหมชั้นสุดท้าย คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ) ไฟประลัยกัลป์ที่กล่าวถึงนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาช้านาน ไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เลยแม้เพียงอณูเดียว เมื่อหมดสิ้นเชื้อเพลิงแล้ว ไฟก็ดับเอง เหลือแต่อากาศว่างเปล่าโล่งตลอดถึงกันหมด มีสภาพดังนี้ไปนานแสนนาน ถ้าจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงอื่น ๆ เกิดขึ้น แต่มีฝนตกแทนฝนมาจากเมฆน้ำกรด ( เมฆคงรวมสารเคมีอันตรายไว้) ตกทีละน้อยแล้วมากขึ้น ๆ จนเต็มไปทั้งจักรวาล และแสนโกฏิจักรวาล น้ำกรดจะละลายทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหลือ โดยมีลมพัดห่อหุ้มไม่ให้ไหลไปทางอื่น ให้ไหลสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนท่วมถึงพรหมโลกทุติยฌานภูมิขึ้นไปจรดชั้นสุภกิณหาจึงหยุด เมื่อทำลายทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหลือแม้แต่อณูเดียวแล้ว น้ำกรดนั้นจึงยุบแห้งอันตรธานไป อากาศเบื้องบนกับเบื้องล่างก็ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันโล่งตลอด.

การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุงอนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

วิธีการเข้าถึงพระนิพพาน อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

ผู้ไม่มีร่องรอยกิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู­้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

ยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเหลือเวลาอีก 15 นาที ถ้าทำให้มันถึงแล้วมันหมดสงสัยเอง เพราะมันถึงจริงๆ มาว่าถึงอำนาจของความโกรธและความพยาบาท พระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังมี แต่กำลังมันน้อยมันทรุดตัวแล้ว พอถึงพระอนาคามี ใช้พรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ เป็นตัวยืนโรง คราวนี้ไม่ต้องเกะกะมาก เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที วิ่งชนอรหันต์เลยวันนี้ เพราะบารมีของท่านเต็มแล้วมันเป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันในที่นั่งอันใด จงทำใจของท่านเองให้เข้าถึงความเป็นอรหันตผลในที่นั่งอันเดียวนั้น เพราะตอนหลังนี้มันง่าย พอถึงอนาคามีแล้วเหลืออะไรอีกที่เป็นกิเลส มันเป็นอุปกิเลสหรืออนุสัยตัวเล็กๆ เป็นของเด็กเหมือนกับลูกน้ำ เราฆ่าตะเข้ตะโขงตายหมด เสือสางช้างม้าฆ่าตายหมด เหลือแต่มดกับลูกน้ำ แต่ก็ต้องระวังให้ดีเพราะลูกน้ำหรือมดมันจับยากเหมือนกัน เพราะตัวมันเล็ก แต่ถ้าอารมณ์จิตของเราเข้าถึงอนาคามีเสียแล้ว รู้สึกว่าจะเล็กขนาดไหนเราก็จับไหว อารมณ์ที่มันยังขังใจอยู่มีตรงไหนล่ะ เหลืออีก ๕ ข้อเท่านั้น คือ รูปราคะ เห็นว่ารูปฌานเป็นของดี อรูปราคะ เห็นว่าอรูปฌานเป็นของดี แต่ความจริงมันก็ดี แต่ว่าดีกว่านี้มันยังมีอยู่อีก เราไม่หยุดดีกันแค่การทรงรูปฌานและอรูปฌาน ก้าวดีต่อไป มานะ คือถือตัวถือตน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คนจนคนรวย คนสกปรกคนสะอาด เข้ากันไม่ได้ คนกับสัตว์เดรัจฉานถือตัวว่าเหนือกว่ากัน อย่างนี้มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวถ่วง อารมณ์อย่างนี้ยังพอเหลืออยู่ ทำลายมันให้พินาศไป อุทธัจจะ อารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ตอนนี้พระมหานามเคยถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์บอกว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอนาคามี แต่ว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านทำไมยังมีอยู่ แต่ว่าฟุ้งซ่านในด้านกุศล องค์สมเด็จพระทศพลก็ตอบว่า มันยังมี ไปตัดได้ตอนเป็นพระอรหันต์ อารมณ์ที่ไม่ฟุ้งซ่านน่ะเป็นอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นยังมีอยู่ ยังปักหลักไม่หยุด คือหลักมันยังมีความหวั่นไหวอยู่บ้าง ไม่ไหวมากมันก็ไหวน้อย ถ้าพระอรหันต์มันก็เหมือนเสาเขื่อน ไม่หวั่นไม่ไหว

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

รถด่วนขบวนสุดท้ายดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทา ปรินิพพาน ฯ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

จงพากันทำตัวให้เหมือนกับนักรบเมืองโบราณสมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน..จงพากันทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึกเห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำลายได้ พร้อมกันนั้นก็สะสมรี้พลอาวุธและอาหารให้พร้อมเพรียง(คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง) สมาธิเป็นกำลังสำคัญมาก ถ้าไม่มีสมาธิแล้ววิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน ปัญญาวิปัสสนามิใช่เป็นของจะพึงแต่งเอาได้เมื่อไร แต่เกิดจากสมาธิ ที่หัดได้ชำนิชำนาญมั่นคงดีแล้วต่างหาก ถึงผู้ได้สุกขวิปัสสกก็เถิด ถ้าไม่มีสมถะแล้วจะเอาวิปัสสนามาจากไหน เป็นแต่สมถะของท่านไม่คล่องเท่านั้น อย่างนี้พอฟังได้ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อได้ทำสมาธิให้มั่นคงแน่นหนาดีแล้ว จนกระทั่งจะเข้าจะออกก็ได้ จะอยู่ให้นานๆ และพิจารณากายอันนี้ให้เป็นอสุภะ หรือเป็นธาตุก็ได้ พิจารณาคนในโลกนี้ทั้งหมดให้เป็นโครงกระดูกทั้งหมดก็ได้ หรือพิจารณาให้เห็นในโลกนี้ทั้งหมดว่างเป็นอัชฌัตตากาศ ว่างเปล่าไปหมดก็ได้ ฯลฯ จิตผู้มีสมาธิเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ย่อมเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา แล้วก็มองเห็นกิเลสของตน ซึ่งเกิดจากจิตของตนได้ชัดเจนว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความมัน เกิดจากสิ่งนี้ๆ และมัน ตั้งอยู่ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ แล้วก็หาอุบาย ละ ด้วยอย่างนี้ ๆ เหมือนกับน้ำในสระที่ขุ่นมาเป็นร้อยๆ ปี เพิ่งมาใสสะอาดมองเห็นสิ่งสารพัดที่มีอยู่ก้นสระว่า แต่ก่อนแต่ไรเราไม่นึกไม่คิดเลยว่า ในก้นสระนี้มันจะมีของเหล่านี้ นั้น เรียกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ความเห็นตามสภาพจริง มันเป็นจริง อย่างไรก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่วิปริตผิดแปลกจากความเป็นจริงของมัน สมถะ ก็ละกิเลสได้เหมือนกัน แต่ละได้เหมือนคนถางหญ้า ตัดแต่ต้นให้ขาด ไม่ขุดเอารากออกให้หมด รากมันย่อมมีเวลางอกขึ้นมาอีกในเมื่อฝนตกลงมา คือ เห็นโทษในอารมณ์ที่มันเกิดจากอายตนะนะหกเหมือนกัน แต่เมื่อเห็นโทษก็รีบเข้าหาความสงบ โดยไม่พิจารณาอารมณ์นั้นๆให้ถี่ถ้วนอย่างสมาธิ สรุปความแล้วเรียกว่า ชอบเอาแต่ความสงบอย่างเดียว ไม่อยากพิจารณาให้เนิ่นช้า เหมือนกับตัวแย้อาศัยรูเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย เมื่อเห็นศัตรูมาก็วิ่งเข้ารูเสีย พ้นภัยอันตรายไประยะหนึ่งๆ ก็เท่านั้น ผู้ต้องการขุดรากเหง้าของกิเลสในตัว เมื่อกิเลสมันเกิดจากอายตนะทั้งหกในตัวของตน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียงเป็นต้น เกิดผู้ผัสสะขึ้นให้ยินดีหรือยินร้าย ดีใจและเสียใจ เป็นต้น แล้วเข้าไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ของตน ขุ่นมัวอยู่ในใจ จนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนดิ้นรน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนกระทั่งทำอัตตนิบาต ฆ่าคนตายก็มี เมื่อเห็นชัดอย่างนี้แล้ว พึงทำสมาธิ ให้มั่นคงเป็นหลักเสียก่อน แล้วจึงตั้งจิตพิจารณาเฉพาะในอารมณ์นั้น ๆ แต่สิ่งเดียว เช่น ตาเห็นรูปที่เป็น อิฏฐารมณ์ แล้วเกิดความยินดีพอใจขึ้น ก็ให้พิจารณาเฉพาะแต่ความยินดีพอใจนั้นว่า มันเกิดจากตาหรือเกิดจากรูปกันแน่ เมื่อพิจารณาถึงรูปก็เห็นว่า รูปมันเป็นแต่รูปธรรมต่างหาก มันจะดีหรือเลว มันไม่ได้มาชักชวนให้เราไปยินดี หรือยินร้าย หรือให้เราไปหลงรักหรือชัง มันเป็นแต่รูปเฉยๆ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันดับไปตามสภาพของมันต่างหาก เมื่อพิจารณาตามตาผู้ไปเห็นรูปเล่า ตาผู้ส่งส่ายไปเห็นรูป พอกระทบเท่านั้นแสงสะท้อนกลับเข้ามาหาจักษุประสาทเข้า ก็เป็นรูปต่าง ๆนานาเกิดขึ้น ตาก็ไม่ได้ชักชวนไปให้ยินดียินร้าย หรือให้รักให้ชังอะไร ตามีหน้าที่ให้เห็น เห็นรูปแล้วก็ดับไป สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ หรืออายตนะอื่นๆ ก็ให้พิจารณาอย่างเดียวกันนี้ เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้แล้วก็จะเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ มันจะเกิดกิเลสขึ้นก็เพราะอายตนะทั้งหกนี้เป็นต้นเหตุทั้งนั้น ถ้าเราพิจารณาและไม่หลงตามอายตนะทั้งหกนี้ กิเลสก็จะไม่เกิดขึ้นในตัวของเรา ตรงกันข้าม มันจะเกิดปัญญาก็เพราะมีอายตนะทั้งหกนี้ อายตนะทั้งหกนี้เป็นสื่อกลางของความดีและความชั่ว จะไปสุคติและทุคติก็เพราะอายตนะทั้งหกเป็นต้นเหตุ โลกนี้จะกว้างก็เพราะจิตไม่มีสมาธิ ปล่อยตามอารมณ์ของอายตนะทั้งนั้น โลกนี้จะแคบก็เพราะจิตนี้ได้ฝึกหัดสมาธิ ให้อยู่ในบังคับของตน พิจารณาอารมณ์ของอายตนะทั้งหกแต่ภายใน คือ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว อายตนะ เป็นต้นว่า ตาเห็นรูป หูฟังเสียง ฯลฯ เหล่านี้จะไม่ปรากฏเลย จะปรากฏแต่รูปที่เป็นนามธรรม เสียงที่เป็นนามธรรมปรากฏเกิดขึ้นในสมาธินั้น โดยเฉพาะอายตนะภายนอกจะไม่รู้เลย เมื่อทำสมาธิให้แน่วแน่นเต็มที่แล้ว พิจารณาเห็น โลกจิต นี้มันเป็นเหตุทำให้เกิดอายตนผัสสะ สัญญา และอารมณ์ และตลอดสรรพกิเลสทั้งปวงแล้ว จิตก็จะถอนจากสิ่งทั้งหมด จะยังเหลือแต่ใจคือ ผู้รู้ อย่างเดียว จิต กับ ใจ ย่อมมีลักษณะอาการต่างกัน จิต ได้แก่ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญา อารมณ์ต่างๆ ตลอดถึงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาไว้ที่จิต จิตเมื่อเห็นโทษทุกข์ทั้งหลาย ที่ยึดเอากิเลสทั้งปวงมาไว้ที่จิตของตน แล้ว ยอมสละถอนจากอารมณ์และกิเลสทั้งปวงจากจิต จิต นั้นก็เป็น ใจ จิต กับ ใจ มีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้ ใจ คือ ผู้เป็นกลาง วางเฉย ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่รู้ตัวอยู่ว่าวางเฉย ใจเป็นธรรมชาติเป็นกลางแท้ กลางไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดีและไม่ชั่วนั้นเรียกว่า ใจ สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจของคนซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องชี้เข้าไปที่ท่ามกลางอก แต่ใจแท้ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เราเอาความรู้สึกไปไว้ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ลองดูซิ จะรู้สึกขึ้นในที่นั้น หรือเอาความรู้สึกนั้นไปไว้ภายนอกกาย เป็นต้น ว่า เอาไปไว้ที่เสาหรือที่ฝาผนังบ้าน ก็จะมีความรู้สึกอยู่ ณ ที่นั้น เป็นอันสรุปได้ว่า ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆ อยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น ที่ชาวบ้านเขาพูดกันว่า หัวใจๆ นั้น มิใช่ใจแท้ เป็นแต่หทัยวัตถุ เครื่องสูบฉีดเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงสรีระร่างกาย เพื่อให้อยู่ได้ ถ้าไม่มีเครื่องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายแล้วกายอันนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ต้องตาย สมองก็เหมือนกัน จะคิดดีหรือไม่ดีก็เพราะสมองเป็นเครื่องใช้ของจิตใจ ระบบประสาทของสมองเป็นรูปธรรม เมื่อปัจจัยต่างๆ ของรูปธรรมขาดไป รูปธรรมย่อมอยู่ไม่ได้ต้องดับไป แต่จิตซึ่งเป็นนามธรรมนั้นในพุทธศาสนาท่านว่า ยังเหลืออยู่ เกิดได้อีก นาม ธรรมจะดับก็ต่อเมื่อปัญญาไปรู้เหตุ รู้ผลของนามธรรมนั้น ๆ แล้วถอนมูลเหตุของมันเสีย ศาสตร์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมดสอนกันไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเรียนยิ่งสอนก็ยิ่งกว้างขวางออกไปทุกที มีพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้ถึงที่สุดได้ พุทธศาสนาสอนเบื้องต้นให้รู้จักกาย อันนี้ว่า มีสิ่งต่างๆประกอบกันเข้า จึงเรียกว่าสรีระร่างกาย ( คือ อาการสามสิบสอง) และมีหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมกันนั้น ก็สอนให้เห็นเป็นของ อสุภะ เป็นของจริงไปในตัว สอนให้รู้จักโลกอันนี้ (คือ มนุษย์ )ที่ประกอบไปด้วย ทุกข์ ทั้งนั้น ผลที่สุดก็ต้องแตกดับไปตามธรรมดาของมัน ฉะนั้น เมื่อเราเกิดขึ้นมาได้ก้อนนี้แล้ว ถึงจะเป็นของไม่งามเต็มไปด้วย อสุภะ และประกอบไปด้วย ทุกข์ นานัปการก็ตาม แต่เราก็ได้มาพึ่งอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง พึงทำคุณงามความดีใช้หนี้โลกเสียก่อนจะตายไปจากโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา ) อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้ เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันออกจากหนึ่ง สิ่งอันหนึ่งทั้งนั้น เช่น การนับก็ตั้งต้นจากหนึ่งก่อน หนึ่งสองหนก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เป็นสาม ดังนี้เป็นต้น หรือต้นหมากรากไม้ทั้งปวงก็ออกมาจากหนึ่งทั้งนั้น (คือ รากของมัน ) คนเราก็เหมือนกันเมื่อเกิดมาทีแรก ก็เกิดจากปฏิสนธิจิตดวงเดียวแท้ๆ เมื่อคลอดออกมาแล้วมีอายตนะ ขันธ์ห้า เครื่องใช้หลายอย่าง จิตก็ปรุงแต่งไปหลายอย่างหลายอัน จนนับจิตไม่ถ้วน ไม่ทราบว่าจิตมีกี่ดวง ยุ่งกันไปหมด จิตเดิมแท้เลยไม่เห็น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ค้นหา จิต คือ ภาวนา พุทโธ เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียว จึงจะเห็นจิต การค้นหาจิตเราจะต้องทำภาวนาพุทโธ ทำให้จิตรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงจะเห็นจิตของตน เมื่อเราค้นหาจิตเห็นจิตแล้ว และเห็นว่านี่คือต้นตอของจิต ของสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จิตที่มากหลายอย่างนั้น มันออกไปจากจิตอันเดียวนี้ เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป.

จงพากันทำตัวให้เหมือนกับนักรบเมืองโบราณสมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน..จงทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึกเห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้­ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาท­ำลายได้ พร้อมกันนั้นก็สะสมรี้พลอาวุธและอาหารให้พ­ร้อมเพรียง(คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง).

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบล.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย­แสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้­พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระอง­ค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข­้าพระองค์แล้ว..

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบล..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย­แสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้­พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระอง­ค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข­้าพระองค์แล้ว.

พระโพธิสัตว์ ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิ กรุณาธารณีสูตรข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย­แสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้­พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระอง­ค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข­้าพระองค์แล้ว

พระโพธิสัตว์ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย­แสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้­พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระอง­ค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข­้าพระองค์แล้ว

อำลาพุทธภูมิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย­แสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้­พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระอง­ค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข­้าพระองค์แล้ว

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแ­ล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิตจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไปถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆสุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้นฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

สมาธิเต็มรูปแบบจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไปถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆสุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้นฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปทุกอย่างชั่วคราวจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไปถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆสุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้นฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

คนเล่นฌานจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

โลกธรรมจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

ตอนสุดท้ายเราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ท­ันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลง­ที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป

ทางของพระพระพุทธเจ้าไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

ต้นทางถึงปลายทางไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

รู้ว่าฝันให้ตื่นทันทีบุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ... ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง.

เบื่อด้วยปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งที่ปรุงแต่งน่าเบื่อหมดเลย หาอะไรที่น่ารั...เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ท­­ันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลง­­ที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารม­­ณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่­­ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็­­นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

จิตรวมเข้าอัปนาสมาธิหมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

จิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้นใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

จิตหมดความดิ้นรนใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

จิตหมดความดิ้นรนใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

จิตหมดความดิ้นรนใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง จิดหมดแรงดิ้นรนคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะภาวนาไปสู่ความพ้นทุกข์ถ้าต้องการธรรมะที่จะพ้นไปจากโลก พระองค์ถึงจะสอนธรรมะที่ประณีตสูงขึ้นไป เป็นธรรมะที่ไม่มีตัวตน สำหรับคนที่อยากพ้นทุกข์จริงๆถ้าเรามีปัญญา เราจะเห็นว่าความสุขในโลกเป็นของชั่วคราว กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกก็เป็นของชั่วคราวเพราะสังขาร(สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ทุกอย่างไม่เที่ยงเลย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร เป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้จริง จึงหาทางออกจากโลก โลกก็คือรูปนาม(กายใจ) นั่นแหละให้เรามาเรียนรู้รูปนามให้แจ่มแจ้งด้วยการเจริญวิปัสสนา โดยมีสติรู้รูปรู้นามที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ดูห่างๆเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจจะค่อยเป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ รู้ว่ารูปนานไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไปแล้ว รูปนามนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้แล้วจบที่รู้ รู้แล้วเป็นกลางจริงๆ เพราะใจมันเห็นความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่งคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วตราว แล้วเราจะไม่ไปหลงเอาของชั่วคราวมาเป็นที่พึ่งอาศัย พอเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันหมด มีแต่เกิดแล้วดับเท่าเทียมกันหมด ความสุขเกิดขึ้นอีกก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้มันอยู่นานๆ ความสุขที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนไปแสวงหามัน ความทุกข์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนต่อต้านไม่ให้เกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วก็ไม่ดิ้นรนหาทางทำลายมัน จิตหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง เพราะเห็นความจริงของตัวขันธ์(กายใจ) ว่าเป็นตัวทุกข์ เมื่อเรียนรู้รูปนามจนแจ่มแจ้ง จิตก็เป็นกลางกับรูปนาม สามารถถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก(รูปนาม)เสียได้ จิตก็หมดตัณหา หมดความอยาก หมดดิ้นรน พ้นการปรุงแต่ง เรียกว่า วิสังขาร หรือวิราคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระนิพพาน จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

จิตหมดความดิ้นรนเปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโล­­กนี้แล จักเป็นของสงบ.สุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สั­กว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมะของคนส่วนใหญ่หรอก แต่สิ่งที่พระองค์สอนนั้นเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ เพราะธรรมะมีหลายระดับ ธรรมะสำหรับคนที่รักในตัวในตน พระองค์ก็สอนกว้างขวางมาก เช่น ธรรมะของพ่อแม่กับลูก ของลูกกับพ่อแม่ ของสามีภรรยา ธรรมะระหว่างเพื่อนฝูง ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา จนกระทั่งธรรมะที่จะทำให้รวย มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะภาวนาไปสู่ความพ้นทุกข์ ถ้าต้องการธรรมะที่จะพ้นไปจากโลก พระองค์ถึงจะสอนธรรมะที่ประณีตสูงขึ้นไป เป็นธรรมะที่ไม่มีตัวตน สำหรับคนที่อยากพ้นทุกข์จริงๆ ถ้าเรามีปัญญา เราจะเห็นว่าความสุขในโลกเป็นของชั่วคราว กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกก็เป็นของชั่วคราวเพราะสังขาร(สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ทุกอย่างไม่เที่ยงเลย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร เป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้จริง จึงหาทางออกจากโลก โลกก็คือรูปนาม(กายใจ) นั่นแหละ ให้เรามาเรียนรู้รูปนามให้แจ่มแจ้งด้วยการเจริญวิปัสสนา โดยมีสติรู้รูปรู้นามที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ดูห่างๆเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจจะค่อยเป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ รู้ว่ารูปนานไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไปแล้ว รูปนามนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้แล้วจบที่รู้ รู้แล้วเป็นกลางจริงๆ เพราะใจมันเห็นความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่งคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วตราว แล้วเราจะไม่ไปหลงเอาของชั่วคราวมาเป็นที่พึ่งอาศัย พอเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันหมด มีแต่เกิดแล้วดับเท่าเทียมกันหมด ความสุขเกิดขึ้นอีกก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้มันอยู่นานๆ ความสุขที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนไปแสวงหามัน ความทุกข์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนต่อต้านไม่ให้เกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วก็ไม่ดิ้นรนหาทางทำลายมัน จิตหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง เพราะเห็นความจริงของตัวขันธ์(กายใจ) ว่าเป็นตัวทุกข์ เมื่อเรียนรู้รูปนามจนแจ่มแจ้ง จิตก็เป็นกลางกับรูปนาม สามารถถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก(รูปนาม)เสียได้ จิตก็หมดตัณหา หมดความอยาก หมดดิ้นรน พ้นการปรุงแต่ง เรียกว่า วิสังขาร หรือวิราคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระนิพพาน จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

รถด่วนขบวนสุดท้ายสายอนุปาทาปรินิพพาน ต้องภาวนานะ ภาวนาแล้วจะเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อพูดเป็นลำดับ ๆ ไป ต้องดูกายต้องดูใจตัวเองเรื่อย ๆ แล้วถึงจะเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกได้ ถ้าวันใดเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกจนถึงจุดที่เห็นว่ากายนี้ใจนี้นี่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ จะเข้าใจธรรมะจริงๆ เลย จะพ้นทุกข์ได้จริงๆก็ตรงนี้แหละ ถ้ายังเห็นกายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์บ้างสุขบ้าง ยังพ้นไม่ได้หรอก เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนนะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์นะ ท่านไม่ได้สอนว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์บ้างสุขบ้าง เราเห็นยังไม่ถึงที่ท่านบอก ต้องอดทน ฟังแล้วฟังอีก ฟังแล้วก็ดูไปเรื่อย ฟังแล้วก็มาสังเกตกาย สังเกตใจไปเรื่อย ทุกวันๆ เราก็จะเขยิบใกล้ความจริงเข้าไปเรื่อยๆ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงความจริงแท้ เข้าถึงอริยสัจจ์นั่นเอง รู้ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ พอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง นิพพานไม่ได้อยู่ไกลๆนะ นิพพานไม่ใช่อยู่ไกลๆ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง วันใดที่ใจเราสิ้นตัณหาอย่างแท้จริง เพราะมีปัญญารู้ทุกข์อย่างแท้จริง วางกายวางใจได้ รู้ทุกข์แล้ววางกายวางใจได้ ตัณหาจะสิ้นไป นิพพานจะปรากฏต่อหน้า ใจที่มันไม่ดิ้นมันจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้น ใจที่มันไม่อยากมันก็เห็นธรรมะที่ไม่อยาก เห็นนิพพานนั่นเอง มันจะมีแต่ความสุขล้วนๆ เลยถึงตรงจุดนี้ เพราะอะไรถึงมีความสุขล้วนๆ เพราะมันพ้นจากขันธ์แล้ว จิตมันพรากออกจากขันธ์นะ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์ จิตอยู่ส่วนจิต ไม่กระทบกันเลย โดยที่ไม่ต้องระวังรักษาอีกต่อไปแล้ว งั้นเมื่อมันพ้นขันธ์ได้ก็คือมันพ้นทุกข์นั่นเอง พระพุทธเจ้าสอนว่าขันธ์ห้าคือทุกข์ เมื่อไรมันพ้นขันธ์ก็คือพ้นทุกข์ ตัณหาก็ไม่มีนะ จิตใจมีแต่สันติสุข คำว่า “สันติ” ก็เป็นชื่อของนิพพาน จิตใจที่เข้าถึงนิพพาน มีความสุขจนไม่รู้จะเทียบกับอะไร ความสุขอย่างโลก ๆ ความสุขเหมือนกับเด็กเล่นฝุ่นเล่นทรายเท่านั้นเอง ค่อยเรียนนะ ค่อยเรียน อดทนในการเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลก ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้

เบื่อด้วยปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งที่ปรุงแต่งน่าเบื่อหมดเลย หาอะไรที่น่ารั...สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราวจิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะจะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มีมีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้นจิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

เบื่อด้วยปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งที่ปรุงแต่งน่าเบื่อหมดเลย หาอะไรที่น่ารั...สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราวจิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะจะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มีมีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้นจิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง..1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ประเภทของพระโพธิสัตว์[แก้] พระธัมมปาละ ระบุไว้ในอรรถกถาว่าพระโพธิสัตว์มี 3 ประเภท คือ[2] 1. ปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 2. สัทธาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 3. วิริยาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพบว่า ยิ่งใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีนานเท่าใด พระโพธิสัตว์จะมีพระชนมายุยืนขึ้นในสมัยที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า รวมทั้งสัตว์ที่เกิดในยุคนั้นจะมีอายุยืน และบรรลุธรรมได้ง่ายและมีจำนวนมาก แต่ไม่ประกันว่าศาสนาของพระองค์จะยืนยาวหลายชั่วอายุขัย เช่น พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาธิกโพธิสัตว์ มีพระชนมายุเพียง 80 พรรษา พระวรกายสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร บำเพ็ญทุกรกิริยา 6 ปี พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 100 ปี ขณะที่ทรงพยากรณ์ถึงภิกษุอชิตเถระว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามพระศรีอริยเมตไตรย[3] ทรงสร้างบารมีมาทาง"วิริยาธิกะพุทธเจ้า" ไม่ได้ทรงพยากรณ์พระชนมายุแต่เทียบกับอายุมนุษย์ในยุคแล้วน่าจะมีพระชมมายุหลักหมื่นปีเป็นอย่างน้อย มีพระวรกายสูงได้ 88 ศอก หรือ 44 เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 80,000 ปี ส่วนเหตุที่ทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่ได้นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความท้อพระทัยของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ และพระวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ [4] ส่วนพระพุทธโฆสะแบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภทคือ[2] 1. อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้ 2. นิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ อสงไขย และ กัป จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้ กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อจักรวาลปรากฏขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ เช่น เดียวกับ คำว่า สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน (แต่บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่า มากจนนับไม่ถ้วน) 1 อสงไขย (ในแง่ของตัวบ่งปริมาณ)มีค่า เท่ากับ โกฏิยกกำลังยี่สิบ หรือ เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 (เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว) (บางคนสับสน เข้าใจว่า 1 อสงไขย คือ จำนวนกัปที่มี เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ อสงไขยไม่ใช่กัป แต่อสงไขยเป็นตัวบ่งปริมาณ สามารถใช้กับอะไรก็ได้ เช่น อสงไขยปี หรือ อสงไขยชาติ หรือ อสงไขยกัป เป็นต้น) สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น บารมี 30 ทัศ[แก้] บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ[1] 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล 8 ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้ 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิยตโพธิสัตว์ พระนิยตโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด ไม่เป็นคนบ้า ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจัณฑาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจัณฑาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี) นางทาสีคือ ทาสที่เป็นผู้หญิง ที่เกิดมาก็ตกเป็นทาสทันที (ทาสในเรือนเบี้ย) ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ไม่เป็นสตรีเพศ (ยกเว้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในร่างเจ้าแม่กวนอิม พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ และพระนางตารา) ไม่ทำอนันตริยกรรม ไม่เป็นโรคเรื้อน เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก เมื่อเกิดเป็นเทวดาในกามาพจรสวรรค์ ก็ไม่เกิดเป็นเทวดาผู้นับเข้าในเทวดาจำพวกเป็นมาร เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว) ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์[แก้] ธรรมสโมธาน 8 ประการ[แก้] สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่เป็น อนิยตโพธิสัตว์ แต่สร้างบารมี 30 ทัศ และมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกเฉพาะพระพักตร์พุทธเจ้า โดยจะได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น และก็จะกลายเป็น นิยตโพธิสัตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกะเทย มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน (ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที) ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อหน้าพระพักตร์ ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤๅษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ อโลภ พอใจในการบริจาคทาน อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง จริยธรรม 10 ประการ[แก้] จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย[1] พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์[แก้] คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ [1] มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น มหาปณิธาน 4[แก้] มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย [1] เราจะละกิเลสให้หมด เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ความคิดใหม่ ทำให้ เศรษฐกิจดีถ้าเราไม่อยากจะเนิ่นช้านะ อันแรกคือ ก็มาปรับพฤติกรรมของตัวเอง ปรับจิตใจของเราเองนะ ให้มันเหมาะกับการปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักคำว่ามักน้อย ต้องรู้จักคำว่าสันโดษ ต้องรู้จักคำว่าวิเวก ไม่คลุกคลี ต้องรู้จักการปรารภความเพียร ต้องรู้จักการเจริญสติ การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา ถ้าเรารู้จักในสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะไม่ช้าหรอกนะมักน้อยเป็นอย่างไร มักน้อยหมายถึง มีความต้องการน้อย ยกตัวอย่างพระ พระต้องมักน้อย พระมีอาหารมากเฉพาะวัดนี้นะ บางวัดอาหารไม่ถูกปาก คือไม่มีอะไรเข้าปากเลย อดๆอยากๆ มักน้อยหมายถึงว่า ฉันเท่าที่ร่างกายจะอยู่ได้ อย่างนี้เรียกว่ามักน้อย มักมากหมายถึงว่า เท่าไหร่ก็ไม่พอใจ อยากได้เยอะไม่มีที่สิ้นสุดเลยสันโดษหมายถึงอะไร สันโดษหมายถึงว่า ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ได้มา ฆราวาสเนี่ย สันโดษ แต่อาจจะไม่ต้องมักน้อยแต่ต้องสันโดษ ตัวพระนี่ต้องมักน้อย ต้องสันโดษมักน้อย มีความปราถนาน้อย คือ ต้องการอะไร ต้องการแค่ Basic Minimum Need เท่านั้นเอง ที่คนเราต้องการ พวกเราอาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย ที่ในหลวงพูดคำว่า “พอๆ” นะ ก็คือคำว่ามักน้อยทีนี้ฆราวาสอยากรวยได้มั้ย อยากรวยได้ ไม่ต้องมักน้อยแบบพระ อยากรวยก็ได้ แต่อยากมีเมียหลายคนไม่ได้ ผิดศีล อยากรวยได้ เช่นตั้งเป้าหมายว่าปีนี้เราจะทำกำไรสัก ๕ ล้านบาท ตั้งใจไว้อย่างนี้ แล้วลงมือทำเต็มที่เลย ได้ ๑๐ ล้านบาท เราก็พอใจแล้ว เราได้ทำเต็มที่แล้ว ได้มา ๑๐ ล้านบาท หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ทำเต็มที่สุดฝีมือแล้ว ได้มา ๕ ล้านบาท พอใจแล้ว ยินดีพอใจมีความสุขแล้ว ที่ได้ทำงานนะ ก็พอใจ หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ได้ ๑ ล้านบาท หรือขาดทุน พอใจแล้ว มีความพอใจแล้ว คือ ได้ทำเต็มทีทำสุดฝีมือแล้ว มีความสุขที่ได้ทำงานแล้ว นี่เรียกว่าสันโดษนะ มีความสุขพอใจแล้ว ที่ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่เต็มฝีมือแล้ว ไม่ได้ละเลย แต่มันได้แค่นี้แหละ บางคนทำบริษัทฯ กำลังดีๆ ค้าขายกำลังดีๆ เขาเผาบ้านเผาเมือง เผาบริษัทฯเราไปด้วยอะไรอย่างนี้ ทำอย่างไรล่ะ ทำอะไรไม่ได้ ถูกเผาไปแล้วนะ ก็ยังพอใจ ยังเหลือชีวิตรอดอยู่กับประสบการณ์ หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็ยังเหลือชีวิตอยู่กับประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ชีวิตแพงนะ เป็นทรัพยากรที่แพงมากเลย พวกเราบางคน ลำบากยากจนลงอะไรเนี่ย อย่าไปนึกว่าเรากลับไปที่ศูนย์ เราไม่ได้กลับไปที่จุดตั้งต้นที่ศูนย์หรอก ตราบใดเรายังมีชีวิตอยู่ ทุกคราวที่เกิดปัญหาชีวิตนะ ก็คือการได้ประสบการณ์มาแล้วนะ มีความมักน้อยนะ คือปราถนาน้อย มีความสันโดษ ยินดีพอใจตามมีตามได้ ไม่คลุกคลี กายวาจาใจของเรานะอย่าไปคลุกคลีกับคนอื่นมาก วุ่นวายอยู่กับคนอื่นมากเนี่ย เสียเวลา เนิ่นช้าแน่นอน บางคนภาวนานะ ห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ อย่างนิสัยพระโพธิสัตว์ถึงได้เนิ่นช้า อย่างนั้นต้องเป็นอสงไขยแสนมหากัปป์อะไรอย่างนี้นะ หลายๆอสงไขย มันห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ มันก็คลุกคลไปเรื่อย มันอยากไปช่วยเขานะ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น ไปกินเลี้ยง เลี้ยงลูกค้า เป็นการคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่นะ เป็นการทำหน้าที่ พาลูกน้องไปเลี้ยง ไม่ได้เรียกว่าคลุกคลีนะ เป็นการทำหน้าที่ คลุกคลีหมายถึง ไม่จำเป็นอะไรเลยก็ไปยุ่งกับคนอื่นตลอดเวลา ว่างๆไม่มีอะไรนะก็ขับรถไปคุยกับเขา รถติดมากก็โทรฯไปคุยกับเขา อะไรอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้ ไม่มีใครคุยด้วยก็เข้าห้องแชต คุยกับหมากับแมวที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน วุ่นวายอยู่กับคนอื่น วุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่นตลอดเวลา ใจออกนอกตลอดนะ อย่างนี้ภาวนาอย่างไรก็เนิ่นช้า นี่พวกเรามาสำรวจตัวเองนะ เรามักน้อยมั้ย เราสันโดษมั้ย เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเราแล้วนะ ไม่มีธุระต้องไปเลี้ยงต้องไปอะไรอย่างนี้นะ ไม่มีธุระแล้วเนี่ย กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น เพราะฉะนั้นมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ต่อมาต้องปรารภความเพียร ต้องคิดนะว่าชีวิตเราเกิดมาเพื่ออะไร ชีวิตเราเกิดมาเนี่ย ไม่ยาวนานเท่าไหร่หรอก ไม่นานเราก็ต้องจากโลกนี้ไป จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารักนะ ลูกเมีย ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ ต้องสูญเสียไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว เราจะเที่ยวแสวงหาแต่สิ่งชั่วคราวรึ สิ่งชั่วคราวก็เช่น หาครอบครัว หาเงินทอง หาชื่อเสียงเกียรติยศตำแหน่งหน้าที่ นี่คือของชั่วคราว อาศัยอยู่กับโลกก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้นะ แต่ก็มีพอประมาณก็พอแล้ว งานหลักของเราจริงๆคืองานยกระดับจิตใจขึ้นไป ชีวิตของเราเนี่ยสั้นนิดเดียว มีเวลาไม่มาก โดยเฉลี่ยของคนยุคนี้ก็อายุประมาณสามหมื่นวัน สามหมื่นวันเนี่ยฟังแล้วเยอะนะ จริงๆไม่เยอะเท่าไหร่ สามหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปนอนเสียหมื่นวันแล้วๆ เหลือสองหมื่นวัน สองหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปทำมาหากินเสียเกินครึ่ง เหลือนิดเดียวแล้วนะ แล้วยังจะเอาเวลาที่เหลืออีกนิดเดียวเนี่ยเอาไปเที่ยวไปเล่นเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่เหลือเวลาที่จะเอาไปพัฒนาตัวเองแล้วนะ เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งเป้าเอาไว้ให้ดีเลย ชาตินี้ต้องได้พระโสดาบัน ตั้งเอาไว้อย่างนี้ ใครว่าโลภก็โลภล่ะวะ เอาไว้ก่อนแหละ ตั้งเป้าไว้ก่อน ชาตินี้ขอเป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ชาวพุทธต้องเอาอย่างนั้นเลยนะ ไม่ใช่ขอทำบุญทำทาน นั่งภาวนาทำสมาธิ อีกแสนๆชาติข้างหน้าค่อยให้ได้ธรรมะ โง่น่ะสิ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เนิ่นช้าปานนั้นนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ผลรวดเร็วมากเลย ถ้ารู้จักปฏิบัติที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้สมควรแก่ธรรม ทำให้ถูกต้องก่อน แล้วก็ทำให้พอ แค่นี้เอง ไม่เนิ่นช้าเท่าไหร่หรอก มันจะยากอะไรในการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง การปฏิบัติธรรมจริงๆก็คือการเรียนรู้กายรู้ใจของตัวเองเท่านั้นเองถ้ารู้เห็นความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี แค่นี้ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าเห็นความจริงนะว่า กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ หมดความยึดถือในกาย ก็ได้พระอนาคาฯ หมดความยึดถือในจิต เขาก็สมมุติเรียกว่า “พระอรหันต์” มันมีแต่เรื่องเรียนรู้กายเรียนรู้ใจตั้งแต่ต้นจนจบเลยของการปฏิบัติ มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร กายของเราก็มีอยู่แล้ว จิตใจของเราก็มีอยู่แล้ว เราก็แค่คอยรู้คอยดูบ่อยๆ ว่าจริงๆกายนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น จิตนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น คอยรู้คอยดูอยู่บ่อยๆ ความจริงมันจะแสดงตัวให้ดูอยู่แล้ว ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก ฆราวาสก็ทำได้นะ ไม่ใช่ฆราวาสทำไม่ได้ สมัยพุทธกาลฆราวาสได้ธรรมะเยอะแยะเลยนะ ถมเถไป เพราะฉะนั้นพวกเรานะ ตอนนี้ปรารภความเพียร ต้องรู้ว่าเราจะต้องปฏิบัตินะ ถ้าชีวิตของเราไม่ปฏิบัติ ชีวิตของเราไร้คุณค่า เราไม่ได้ต่างกับหมากับแมวอะไรนะ มีชีวิตอยู่ กินแล้วก็สืบพันธุ์ แล้วก็นอน แล้วก็เที่ยวเล่นเห่าหอนสนุกสนานอะไรอย่างนั้น จะได้อะไรขึ้นมา ชีวิตมันควรจะมีคุณค่ากว่านั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้นะ บอกว่า อดีตก็ล่วงไปแล้วนะ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ให้มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนอยู่กับปัจจุบัน ท่านบอกว่าอย่าตามอาลัยอาวรณ์ไปถึงอดีตนะ อย่ากังวลไปถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าอดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันน่ะมันมีจริง ให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มีสติอยู่กับปัจจุบันไม่หลงเพลินไป ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกนะ เรียกว่าเราไม่ประมาท เรามีสติอยู่ มีสติเป็นไปในกาย มีสติเป็นไปในจิตใจ ตามรู้อยู่ในกาย ตามรู้อยู่ในใจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คนที่ทำได้อย่างนี้นะ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวหรือคืนเดียวเนี่ย ก็ควรชมแล้ว มีชีวิตร้อยปี แต่หลงร้อยปี ไม่ควรชมเลยนะ คนส่วนใหญ่มีชีวิตเท่าไหร่ กี่ปี มันก็หลงอยู่เท่านั้นปีแหละนะ เพราะฉะนั้นพวกเรามาหัดให้มามีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจนะ ถ้ามีชีวิตอยู่ได้วันเดียว พระพุทธเจ้าก็ชมแล้ว ให้พระพุทธเจ้าชมดีกว่าให้คนอื่นชมนะ คนอื่นชมบางทีมันแกล้งชม พระพุทธเจ้าชมเนี่ย ของดีของวิเศษแน่นอนเลย พวกเราก็มีโอกาสได้รับคำชมของพระพุทธเจ้าทุกๆคนนะ เพราะเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเรื่อยไป แค่วันเดียวท่านก็ชมแล้ว เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสนะที่จะได้รับคำชมของพระพุทธเจ้า มีโอกาสที่จะได้ชื่อว่าเป็นลูกแท้ๆของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกแบบหลอกๆมาเกาะกินพระพุทธเจ้าอยู่นะ ลูกเกาะกินพระพุทธเจ้าเยอะนะ หาผลประโยชน์จากพระศาสนาอะไรพวกนี้ มีเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปรารภความเพียรนะ

ความคิดใหม่ ทำให้ เศรษฐกิจดีเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตการปฏิบัติธรรมมี ๒ ขั้นตอนคือขั้นการทำลายความเห็นผิดว่ากายและจิตนี้เป็นตัวเรา กับขั้นการทำลายความยึดถือกายและจิต เมื่อไม่เห็นผิดว่ากายและจิตเป็นตัวเรา ก็ได้ต้นทางที่จะปล่อยวางความยึดถือกายและจิตในอนาคต เมื่อปล่อยวางความยึดถือกายและจิตได้แล้ว ก็ไม่มีตัวตนที่จะรองรับความทุกข์อีกต่อไป แม้การปฏิบัติจะมี ๒ ขั้นตอน แต่วิธีปฏิบัติมีเพียงอย่างเดียว คือการมีความรู้สึกตัวแล้วรู้กายและจิตตามความเป็นจริง เมื่อเห็นความจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัดยินดีในกายและจิต เมื่อหมดความกำหนัดยินดีย่อมหลุดพ้นจากความยึดถือกายและจิต เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความพ้นทุกข์อย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ หลวงพ่อ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างได้ฉันใด ธรรมทั้งปวงย่อมรวมลงได้ในอริยสัจจ์ฉันนั้น อริยสัจจ์จึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ลึกซึ้งอย่างถึงที่สุด มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ได้ เพราะความรู้แจ้งอริยสัจจ์คือวิชชา ส่วนความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์คืออวิชชา อริยสัจจ์ข้อแรกคือทุกข์ ทุกข์คืออะไร - ทุกข์คือรูปนามขันธ์ ๕ หรือกายใจนี้เอง กิจต่อทุกข์มีอย่างไร - กิจต่อทุกข์คือให้รู้ทุกข์ การรู้ทุกข์นั้นทำอย่างไร - เมื่อเราตื่นออกจากโลกของความคิดและเกิดความรู้สึกตัว เราจะรู้กายตามความเป็นจริง และรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เมื่อรู้มากเข้าเราจะเข้าใจความเป็นจริงของกายและใจ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงคือมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตาคือเป็นของโลกไม่ใช่ของเรา การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงอย่างนี้แหละคือวิธีรู้ทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือสมุทัย สมุทัยคืออะไร – สมุทัยคือตัณหาหรือความทะยานอยากดิ้นรนของจิต ที่จะแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆ นานา ได้แก่ (๑) ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว ด้วยการเที่ยวแสวงหาอารมณ์มาตอบสนองกิเลส (๒) ความปรุงแต่งฝ่ายดี ด้วยการควบคุมกายควบคุมใจให้ดี และ (๓) ความปรุงแต่งสภาพธรรมที่พ้นจากการกระทบอารมณ์ชั่วคราว กิจต่อสมุทัยมีอย่างไร – กิจต่อสมุทัยคือให้ละสมุทัย การละสมุทัยนั้นทำอย่างไร – เมื่อเรารู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนละความเห็นผิดและความยึดถือว่ารูปนามกายใจเป็นตัวเราแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขมาให้ตัวเรา หรือดิ้นรนพาตัวเราให้พ้นจากความทุกข์อีกต่อไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนั่นแหละเป็นทางละสมุทัยโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือนิโรธ นิโรธคืออะไร – นิโรธคือนิพพานได้แก่ความสงบสันติอันเนื่องมาจากความสิ้นตัณหาหรือความดิ้นรนของจิต กิจต่อนิโรธมีอย่างไร – กิจต่อนิโรธคือการทำให้แจ้ง ทำให้เข้าไปสัมผัสถึง การทำนิโรธให้แจ้งนั้นทำอย่างไร – เมื่อรู้ทุกข์จนสิ้นสมุทัยแล้ว นิโรธก็เป็นอันถูกทำให้แจ้งโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือมรรค มรรคคืออะไร – มรรคคือวิธีการรู้ทุกข์จนละสมุทัยและทำนิโรธให้แจ้งได้ กิจต่อมรรคคืออะไร – กิจต่อมรรคคือการทำให้เจริญ ทำให้มาก การเจริญมรรคนั้นทำอย่างไร – ทำ(สัมมา)สติให้เกิดเนืองๆ แล้วองค์มรรคที่เหลือจะเกิดตามมาเอง สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ แต่ถ้ามีเหตุ ถึงไม่สั่ง สติก็เกิดขึ้นได้เอง เหตุของสติคือการที่จิตจดจำสภาวธรรมคือรูปนามได้แม่นยำ จิตจะจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ ถ้าจิตเคยเห็นสภาวธรรมบ่อยๆ ดังนั้นพึงหัดทำความรู้จักสภาวธรรมให้มากเข้าไว้ เบื้องต้นทำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งที่ถนัด เช่นบริกรรมพุทโธ หรือระลึกรู้ลมหายใจ หรือระลึกรู้ท้องพองยุบ หรือระลึกรู้เท้า หรือระลึกรู้มือ หรือระลึกรู้กายทั้งกาย แล้วตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเลย เช่นเผลอไปจากอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เพ่งอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เป็นสุขก็รู้ เป็นทุกข์ก็รู้ เกิดกุศลก็รู้ เกิดอกุศลก็รู้ ไม่นานสติจะเกิดถี่ยิบขึ้นได้เพราะจิตรู้จักและจดจำสภาวธรรมได้อย่างแม่นยำ นี้เป็นทางดำเนินของพระอริยเจ้า เรียกว่าอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ คือสัจจญาณได้แก่ความรู้จักตัวอริยสัจจ์ กิจญาณคือความรู้หน้าที่หรือกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อ และกตญาณคือการได้ทำกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อนั้นเรียบร้อยแล้ว รวมมีปริวัติ ๑๒ เพราะมีอริยสัจจ์ ๔ ข้อ แต่ละข้อมีญาณ ๓ อย่าง พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ตราบใดที่พระองค์ท่านยังทรงไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้ พระองค์จะไม่ปฏิญาณพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเลย ต่อเมื่อทรงรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้แล้ว จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจจ์ ๔ สำคัญถึงขนาดนี้ แม้พระอรหันตสาวกก็ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ตราบนั้นยังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงขอให้ลูกทั้งสองสนใจศึกษาธรรมนี้ให้ดีเถิด หลวงพ่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี ขอให้ลูกทั้งสองจงรู้ทั่วถึงธรรมที่พ่อรู้แล้วในปัจจุบันชาติเถิด หลวงพ่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ สำนักใหม่ที่พวกเราช่วยกันสร้างขึ้นมีชื่อว่า “สวนสันติธรรม” คำว่า “สันติธรรม” หมายถึง “นิพพาน” นั่นเองเพราะนิพพานเป็นยอดแห่งสันติสุข เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายเมื่อรูปขันธ์และนามขันธ์แตกทำลายลงแล้ว ไม่ได้คงอยู่และไม่ได้ดับสูญไปไหน หากจิตของผู้ใดเข้าถึงสันติธรรมบริบูรณ์แล้ว เพียงกราบลงตรงหน้าก็คือได้กราบพระบาททั้งคู่ของพระพุทธเจ้าแล้ว วันนี้เป็นวันครบรอบปีที่พ่อมีความสุขมากที่สุด ขอให้ลูกทั้งหลายจงมีความสุขเหมือนพ่อโดยพลันเถิด หลวงพ่อ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตการปฏิบัติธรรมมี ๒ ขั้นตอนคือขั้นการทำลายความเห็นผิดว่ากายและจิตนี้เป็นตัวเรา กับขั้นการทำลายความยึดถือกายและจิต เมื่อไม่เห็นผิดว่ากายและจิตเป็นตัวเรา ก็ได้ต้นทางที่จะปล่อยวางความยึดถือกายและจิตในอนาคต เมื่อปล่อยวางความยึดถือกายและจิตได้แล้ว ก็ไม่มีตัวตนที่จะรองรับความทุกข์อีกต่อไป แม้การปฏิบัติจะมี ๒ ขั้นตอน แต่วิธีปฏิบัติมีเพียงอย่างเดียว คือการมีความรู้สึกตัวแล้วรู้กายและจิตตามความเป็นจริง เมื่อเห็นความจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัดยินดีในกายและจิต เมื่อหมดความกำหนัดยินดีย่อมหลุดพ้นจากความยึดถือกายและจิต เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความพ้นทุกข์อย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ หลวงพ่อ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างได้ฉันใด ธรรมทั้งปวงย่อมรวมลงได้ในอริยสัจจ์ฉันนั้น อริยสัจจ์จึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ลึกซึ้งอย่างถึงที่สุด มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ได้ เพราะความรู้แจ้งอริยสัจจ์คือวิชชา ส่วนความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์คืออวิชชา อริยสัจจ์ข้อแรกคือทุกข์ ทุกข์คืออะไร - ทุกข์คือรูปนามขันธ์ ๕ หรือกายใจนี้เอง กิจต่อทุกข์มีอย่างไร - กิจต่อทุกข์คือให้รู้ทุกข์ การรู้ทุกข์นั้นทำอย่างไร - เมื่อเราตื่นออกจากโลกของความคิดและเกิดความรู้สึกตัว เราจะรู้กายตามความเป็นจริง และรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เมื่อรู้มากเข้าเราจะเข้าใจความเป็นจริงของกายและใจ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงคือมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตาคือเป็นของโลกไม่ใช่ของเรา การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงอย่างนี้แหละคือวิธีรู้ทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือสมุทัย สมุทัยคืออะไร – สมุทัยคือตัณหาหรือความทะยานอยากดิ้นรนของจิต ที่จะแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆ นานา ได้แก่ (๑) ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว ด้วยการเที่ยวแสวงหาอารมณ์มาตอบสนองกิเลส (๒) ความปรุงแต่งฝ่ายดี ด้วยการควบคุมกายควบคุมใจให้ดี และ (๓) ความปรุงแต่งสภาพธรรมที่พ้นจากการกระทบอารมณ์ชั่วคราว กิจต่อสมุทัยมีอย่างไร – กิจต่อสมุทัยคือให้ละสมุทัย การละสมุทัยนั้นทำอย่างไร – เมื่อเรารู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนละความเห็นผิดและความยึดถือว่ารูปนามกายใจเป็นตัวเราแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขมาให้ตัวเรา หรือดิ้นรนพาตัวเราให้พ้นจากความทุกข์อีกต่อไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนั่นแหละเป็นทางละสมุทัยโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือนิโรธ นิโรธคืออะไร – นิโรธคือนิพพานได้แก่ความสงบสันติอันเนื่องมาจากความสิ้นตัณหาหรือความดิ้นรนของจิต กิจต่อนิโรธมีอย่างไร – กิจต่อนิโรธคือการทำให้แจ้ง ทำให้เข้าไปสัมผัสถึง การทำนิโรธให้แจ้งนั้นทำอย่างไร – เมื่อรู้ทุกข์จนสิ้นสมุทัยแล้ว นิโรธก็เป็นอันถูกทำให้แจ้งโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือมรรค มรรคคืออะไร – มรรคคือวิธีการรู้ทุกข์จนละสมุทัยและทำนิโรธให้แจ้งได้ กิจต่อมรรคคืออะไร – กิจต่อมรรคคือการทำให้เจริญ ทำให้มาก การเจริญมรรคนั้นทำอย่างไร – ทำ(สัมมา)สติให้เกิดเนืองๆ แล้วองค์มรรคที่เหลือจะเกิดตามมาเอง สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ แต่ถ้ามีเหตุ ถึงไม่สั่ง สติก็เกิดขึ้นได้เอง เหตุของสติคือการที่จิตจดจำสภาวธรรมคือรูปนามได้แม่นยำ จิตจะจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ ถ้าจิตเคยเห็นสภาวธรรมบ่อยๆ ดังนั้นพึงหัดทำความรู้จักสภาวธรรมให้มากเข้าไว้ เบื้องต้นทำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งที่ถนัด เช่นบริกรรมพุทโธ หรือระลึกรู้ลมหายใจ หรือระลึกรู้ท้องพองยุบ หรือระลึกรู้เท้า หรือระลึกรู้มือ หรือระลึกรู้กายทั้งกาย แล้วตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเลย เช่นเผลอไปจากอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เพ่งอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เป็นสุขก็รู้ เป็นทุกข์ก็รู้ เกิดกุศลก็รู้ เกิดอกุศลก็รู้ ไม่นานสติจะเกิดถี่ยิบขึ้นได้เพราะจิตรู้จักและจดจำสภาวธรรมได้อย่างแม่นยำ นี้เป็นทางดำเนินของพระอริยเจ้า เรียกว่าอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ คือสัจจญาณได้แก่ความรู้จักตัวอริยสัจจ์ กิจญาณคือความรู้หน้าที่หรือกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อ และกตญาณคือการได้ทำกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อนั้นเรียบร้อยแล้ว รวมมีปริวัติ ๑๒ เพราะมีอริยสัจจ์ ๔ ข้อ แต่ละข้อมีญาณ ๓ อย่าง พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ตราบใดที่พระองค์ท่านยังทรงไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้ พระองค์จะไม่ปฏิญาณพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเลย ต่อเมื่อทรงรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้แล้ว จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจจ์ ๔ สำคัญถึงขนาดนี้ แม้พระอรหันตสาวกก็ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ตราบนั้นยังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงขอให้ลูกทั้งสองสนใจศึกษาธรรมนี้ให้ดีเถิด หลวงพ่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี ขอให้ลูกทั้งสองจงรู้ทั่วถึงธรรมที่พ่อรู้แล้วในปัจจุบันชาติเถิด หลวงพ่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ สำนักใหม่ที่พวกเราช่วยกันสร้างขึ้นมีชื่อว่า “สวนสันติธรรม” คำว่า “สันติธรรม” หมายถึง “นิพพาน” นั่นเองเพราะนิพพานเป็นยอดแห่งสันติสุข เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายเมื่อรูปขันธ์และนามขันธ์แตกทำลายลงแล้ว ไม่ได้คงอยู่และไม่ได้ดับสูญไปไหน หากจิตของผู้ใดเข้าถึงสันติธรรมบริบูรณ์แล้ว เพียงกราบลงตรงหน้าก็คือได้กราบพระบาททั้งคู่ของพระพุทธเจ้าแล้ว วันนี้เป็นวันครบรอบปีที่พ่อมีความสุขมากที่สุด ขอให้ลูกทั้งหลายจงมีความสุขเหมือนพ่อโดยพลันเถิด หลวงพ่อ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตการปฏิบัติธรรมมี ๒ ขั้นตอนคือขั้นการทำลายความเห็นผิดว่ากายและจิตนี้เป็นตัวเรา กับขั้นการทำลายความยึดถือกายและจิต เมื่อไม่เห็นผิดว่ากายและจิตเป็นตัวเรา ก็ได้ต้นทางที่จะปล่อยวางความยึดถือกายและจิตในอนาคต เมื่อปล่อยวางความยึดถือกายและจิตได้แล้ว ก็ไม่มีตัวตนที่จะรองรับความทุกข์อีกต่อไป แม้การปฏิบัติจะมี ๒ ขั้นตอน แต่วิธีปฏิบัติมีเพียงอย่างเดียว คือการมีความรู้สึกตัวแล้วรู้กายและจิตตามความเป็นจริง เมื่อเห็นความจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัดยินดีในกายและจิต เมื่อหมดความกำหนัดยินดีย่อมหลุดพ้นจากความยึดถือกายและจิต เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความพ้นทุกข์อย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ หลวงพ่อ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างได้ฉันใด ธรรมทั้งปวงย่อมรวมลงได้ในอริยสัจจ์ฉันนั้น อริยสัจจ์จึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ลึกซึ้งอย่างถึงที่สุด มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ได้ เพราะความรู้แจ้งอริยสัจจ์คือวิชชา ส่วนความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์คืออวิชชา อริยสัจจ์ข้อแรกคือทุกข์ ทุกข์คืออะไร - ทุกข์คือรูปนามขันธ์ ๕ หรือกายใจนี้เอง กิจต่อทุกข์มีอย่างไร - กิจต่อทุกข์คือให้รู้ทุกข์ การรู้ทุกข์นั้นทำอย่างไร - เมื่อเราตื่นออกจากโลกของความคิดและเกิดความรู้สึกตัว เราจะรู้กายตามความเป็นจริง และรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เมื่อรู้มากเข้าเราจะเข้าใจความเป็นจริงของกายและใจ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงคือมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตาคือเป็นของโลกไม่ใช่ของเรา การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงอย่างนี้แหละคือวิธีรู้ทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือสมุทัย สมุทัยคืออะไร – สมุทัยคือตัณหาหรือความทะยานอยากดิ้นรนของจิต ที่จะแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆ นานา ได้แก่ (๑) ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว ด้วยการเที่ยวแสวงหาอารมณ์มาตอบสนองกิเลส (๒) ความปรุงแต่งฝ่ายดี ด้วยการควบคุมกายควบคุมใจให้ดี และ (๓) ความปรุงแต่งสภาพธรรมที่พ้นจากการกระทบอารมณ์ชั่วคราว กิจต่อสมุทัยมีอย่างไร – กิจต่อสมุทัยคือให้ละสมุทัย การละสมุทัยนั้นทำอย่างไร – เมื่อเรารู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนละความเห็นผิดและความยึดถือว่ารูปนามกายใจเป็นตัวเราแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขมาให้ตัวเรา หรือดิ้นรนพาตัวเราให้พ้นจากความทุกข์อีกต่อไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนั่นแหละเป็นทางละสมุทัยโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือนิโรธ นิโรธคืออะไร – นิโรธคือนิพพานได้แก่ความสงบสันติอันเนื่องมาจากความสิ้นตัณหาหรือความดิ้นรนของจิต กิจต่อนิโรธมีอย่างไร – กิจต่อนิโรธคือการทำให้แจ้ง ทำให้เข้าไปสัมผัสถึง การทำนิโรธให้แจ้งนั้นทำอย่างไร – เมื่อรู้ทุกข์จนสิ้นสมุทัยแล้ว นิโรธก็เป็นอันถูกทำให้แจ้งโดยอัตโนมัติ อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือมรรค มรรคคืออะไร – มรรคคือวิธีการรู้ทุกข์จนละสมุทัยและทำนิโรธให้แจ้งได้ กิจต่อมรรคคืออะไร – กิจต่อมรรคคือการทำให้เจริญ ทำให้มาก การเจริญมรรคนั้นทำอย่างไร – ทำ(สัมมา)สติให้เกิดเนืองๆ แล้วองค์มรรคที่เหลือจะเกิดตามมาเอง สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ แต่ถ้ามีเหตุ ถึงไม่สั่ง สติก็เกิดขึ้นได้เอง เหตุของสติคือการที่จิตจดจำสภาวธรรมคือรูปนามได้แม่นยำ จิตจะจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ ถ้าจิตเคยเห็นสภาวธรรมบ่อยๆ ดังนั้นพึงหัดทำความรู้จักสภาวธรรมให้มากเข้าไว้ เบื้องต้นทำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งที่ถนัด เช่นบริกรรมพุทโธ หรือระลึกรู้ลมหายใจ หรือระลึกรู้ท้องพองยุบ หรือระลึกรู้เท้า หรือระลึกรู้มือ หรือระลึกรู้กายทั้งกาย แล้วตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเลย เช่นเผลอไปจากอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เพ่งอารมณ์กรรมฐานนั้นก็รู้ เป็นสุขก็รู้ เป็นทุกข์ก็รู้ เกิดกุศลก็รู้ เกิดอกุศลก็รู้ ไม่นานสติจะเกิดถี่ยิบขึ้นได้เพราะจิตรู้จักและจดจำสภาวธรรมได้อย่างแม่นยำ นี้เป็นทางดำเนินของพระอริยเจ้า เรียกว่าอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ คือสัจจญาณได้แก่ความรู้จักตัวอริยสัจจ์ กิจญาณคือความรู้หน้าที่หรือกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อ และกตญาณคือการได้ทำกิจต่ออริยสัจจ์แต่ละข้อนั้นเรียบร้อยแล้ว รวมมีปริวัติ ๑๒ เพราะมีอริยสัจจ์ ๔ ข้อ แต่ละข้อมีญาณ ๓ อย่าง พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ตราบใดที่พระองค์ท่านยังทรงไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้ พระองค์จะไม่ปฏิญาณพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเลย ต่อเมื่อทรงรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจจ์ ๔ อันมีวนรอบ ๓ และมีปริวัติ ๑๒ นี้แล้ว จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจจ์ ๔ สำคัญถึงขนาดนี้ แม้พระอรหันตสาวกก็ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ตราบนั้นยังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงขอให้ลูกทั้งสองสนใจศึกษาธรรมนี้ให้ดีเถิด หลวงพ่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี ขอให้ลูกทั้งสองจงรู้ทั่วถึงธรรมที่พ่อรู้แล้วในปัจจุบันชาติเถิด หลวงพ่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ สำนักใหม่ที่พวกเราช่วยกันสร้างขึ้นมีชื่อว่า “สวนสันติธรรม” คำว่า “สันติธรรม” หมายถึง “นิพพาน” นั่นเองเพราะนิพพานเป็นยอดแห่งสันติสุข เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายเมื่อรูปขันธ์และนามขันธ์แตกทำลายลงแล้ว ไม่ได้คงอยู่และไม่ได้ดับสูญไปไหน หากจิตของผู้ใดเข้าถึงสันติธรรมบริบูรณ์แล้ว เพียงกราบลงตรงหน้าก็คือได้กราบพระบาททั้งคู่ของพระพุทธเจ้าแล้ว วันนี้เป็นวันครบรอบปีที่พ่อมีความสุขมากที่สุด ขอให้ลูกทั้งหลายจงมีความสุขเหมือนพ่อโดยพลันเถิด หลวงพ่อ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามนวสีวถิกาบรรพ (นำ) หันทะ มะยัง นะวะสีวะถิกาปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ (รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า เอกาหะมะตัง วา ทะวีหะมะตัง วา ตีหะมะตัง วา - ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง อุทธุมาตะกัง วินีละกัง วิปุพพะกะชาตัง - ที่ขึ้นพองมีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า กาเกหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง คิชเฌหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง กุละเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง สุวาเณหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง สิงคาเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง วิวิเธหิ วา ปาณะกะชาเตหิ ขัชชะมานัง - อันหมู่สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกัดกินอยู่บ้าง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก สะมังสะโลหิตัง - ยังมีเนื้อและเลือด นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก นิมมังสะโลหิตะมักขิตัง - ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือดอยู่ นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก อะปะคะตะมังสะโลหิตัง - ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ - เป็นกระดูก อะปะคะตะนะหารุสัมพันธานิ - ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว ทิสาวิทิสา วิกขิตตานิ - เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่คือ อัญเญนะ หัตถัฏฐิกัง อัญเญนะ ปาทัฏฐิกัง - กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง อัญเญนะ ชังฆัฏฐิกัง อัญเญนะ อูรัฏฐิกัง - กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง อัญเญนะ กะกิฏฐิกัง อัญเญนะ ปิฏฐิกัณฏะกัฏฐิกัง - กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง อัญเญนะ ผาสุกัฏฐิกัง อัญเญนะ อุรัฏฐิกัง - กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง อัญเญนะ พาหุฏฐิกัง อัญเญนะ อังสัฏฐิกัง - กระดูกแขนไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง อัญเญนะ คีวัฏฐิกัง อัญเญนะ หะนุฏฐิกัง - กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง อัญเญนะ ทันตัฏฐิกัง อัญเญนะ สีสะกะฏาหัง - กระดูกฟันไปทาง กะโหลกศรีษะไปทาง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ เสตานิ สังขะวัณณุปะนิกานิ - เป็นกระดูกมีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปุญชะกิตานิ เตโรวัสสิกานิ - เป็นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่ นานเกินปีหนึ่งขึ้นไป โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปูตีนิ จุณณะกะชาตานิ - เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ [ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย... อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖ ]

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจนวสีวถิกาบรรพ (นำ) หันทะ มะยัง นะวะสีวะถิกาปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ (รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า เอกาหะมะตัง วา ทะวีหะมะตัง วา ตีหะมะตัง วา - ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง อุทธุมาตะกัง วินีละกัง วิปุพพะกะชาตัง - ที่ขึ้นพองมีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า กาเกหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง คิชเฌหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง กุละเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง สุวาเณหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง สิงคาเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง วิวิเธหิ วา ปาณะกะชาเตหิ ขัชชะมานัง - อันหมู่สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกัดกินอยู่บ้าง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก สะมังสะโลหิตัง - ยังมีเนื้อและเลือด นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก นิมมังสะโลหิตะมักขิตัง - ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือดอยู่ นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก อะปะคะตะมังสะโลหิตัง - ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ - เป็นกระดูก อะปะคะตะนะหารุสัมพันธานิ - ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว ทิสาวิทิสา วิกขิตตานิ - เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่คือ อัญเญนะ หัตถัฏฐิกัง อัญเญนะ ปาทัฏฐิกัง - กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง อัญเญนะ ชังฆัฏฐิกัง อัญเญนะ อูรัฏฐิกัง - กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง อัญเญนะ กะกิฏฐิกัง อัญเญนะ ปิฏฐิกัณฏะกัฏฐิกัง - กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง อัญเญนะ ผาสุกัฏฐิกัง อัญเญนะ อุรัฏฐิกัง - กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง อัญเญนะ พาหุฏฐิกัง อัญเญนะ อังสัฏฐิกัง - กระดูกแขนไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง อัญเญนะ คีวัฏฐิกัง อัญเญนะ หะนุฏฐิกัง - กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง อัญเญนะ ทันตัฏฐิกัง อัญเญนะ สีสะกะฏาหัง - กระดูกฟันไปทาง กะโหลกศรีษะไปทาง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ เสตานิ สังขะวัณณุปะนิกานิ - เป็นกระดูกมีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปุญชะกิตานิ เตโรวัสสิกานิ - เป็นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่ นานเกินปีหนึ่งขึ้นไป โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปูตีนิ จุณณะกะชาตานิ - เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ [ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย... อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖ ]

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง นวสีวถิกาบรรพ (นำ) หันทะ มะยัง นะวะสีวะถิกาปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ (รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า เอกาหะมะตัง วา ทะวีหะมะตัง วา ตีหะมะตัง วา - ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง อุทธุมาตะกัง วินีละกัง วิปุพพะกะชาตัง - ที่ขึ้นพองมีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า กาเกหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง คิชเฌหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง กุละเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง สุวาเณหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง สิงคาเลหิ วา ขัชชะมานัง - อันหมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง วิวิเธหิ วา ปาณะกะชาเตหิ ขัชชะมานัง - อันหมู่สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกัดกินอยู่บ้าง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก สะมังสะโลหิตัง - ยังมีเนื้อและเลือด นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก นิมมังสะโลหิตะมักขิตัง - ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือดอยู่ นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิสังขะลิกัง - เป็นร่างกระดูก อะปะคะตะมังสะโลหิตัง - ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว นะหารุสัมพันธัง - ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ - เป็นกระดูก อะปะคะตะนะหารุสัมพันธานิ - ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว ทิสาวิทิสา วิกขิตตานิ - เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่คือ อัญเญนะ หัตถัฏฐิกัง อัญเญนะ ปาทัฏฐิกัง - กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง อัญเญนะ ชังฆัฏฐิกัง อัญเญนะ อูรัฏฐิกัง - กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง อัญเญนะ กะกิฏฐิกัง อัญเญนะ ปิฏฐิกัณฏะกัฏฐิกัง - กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง อัญเญนะ ผาสุกัฏฐิกัง อัญเญนะ อุรัฏฐิกัง - กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง อัญเญนะ พาหุฏฐิกัง อัญเญนะ อังสัฏฐิกัง - กระดูกแขนไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง อัญเญนะ คีวัฏฐิกัง อัญเญนะ หะนุฏฐิกัง - กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง อัญเญนะ ทันตัฏฐิกัง อัญเญนะ สีสะกะฏาหัง - กระดูกฟันไปทาง กะโหลกศรีษะไปทาง โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ เสตานิ สังขะวัณณุปะนิกานิ - เป็นกระดูกมีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปุญชะกิตานิ เตโรวัสสิกานิ - เป็นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่ นานเกินปีหนึ่งขึ้นไป โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง - ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระ สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง - ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้า อัฏฐิกานิ ปูตีนิ จุณณะกะชาตานิ - เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ - เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า อะยัมปิ โข กาโย - ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ - ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ - พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ - อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ - เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น อะนิสสิโต จะ วิหะระติ - เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ - ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ - ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ [ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย... อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖ ]

ทำของแท้ได้ของแท้ ทำของจริงได้ของจริง

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

สันติธรรมภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้. อุปมานิวรณ์ [๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

สันติธรรมถ้าจิตเป็นกลางจริง จะสังเกตเห็นจิตผู้รู้แทรกอยู่ตรงนั้นเอง. เมื่อเห็นบ่อยๆ แล้ว ต่อไปก็ชำนาญ สามารถเห็นจิตผู้รู้ได้เสมอๆ. ตัวอย่างเช่น ขณะนี้กำลังเกิดความสงสัยในหลักการปฏิบัติ. เพราะไม่ทราบว่า ควรจะทำอย่างไรดี. วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การรู้เข้าไปที่อารมณ์สงสัยที่กำลังปรากฏ. ก็จะเห็นว่า ความสงสัยกำลังถูกรู้ แล้วก็จะรู้จักจิตผู้รู้ได้. หรือถ้าดูอารมณ์ภายในจิตไม่ออก ก็ลองมาดูอารมณ์ทางกาย. เช่นระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกด้วยจิตใจที่สบายๆ. แล้วเห็นว่า ลมหายใจกำลังถูกรู้ ถูกดูอยู่. ก็จะรู้จักจิตผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมาได้โดยง่าย. ธรรมชาติของกิเลสนั้น มันมักจะมาล่อหลอกให้เราทิ้งจิตผู้รู้. อันเป็นแก่นสารสาระของการปฏิบัติเสีย. แล้วหลงคิดไปตามความปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลส. ถ้าเรารู้ทันลูกเล่นของกิเลสอย่างนี้แล้ว. เราก็อย่าหลงเชื่อกิเลส ทิ้งจิตผู้รู้ออกไปคิดค้นคว้าสิ่งต่างๆ ตามใจกิเลส. ตัวอย่างเช่นเมื่อมีความสงสัยในวิธีการปฏิบัติเกิดขึ้นมา. แทนที่เราจะรู้ว่าความสงสัยเกิดขึ้น แล้วดูมันจนมันดับไปเอง. เรากลับพยายามคิดค้นคว้าหาคำตอบ เพื่อจะแก้ความสงสัยนั้น. การหลงคิดค้นไปนั้นเอง คือการหลงกลกิเลส. เพราะเราลืม “รู้” ไปเสียแล้ว มีแต่ คิด คิด คิด เรื่อยไป. การคิดเรื่อยไปนั้น ให้เราได้แค่ความรู้ความเข้าใจในระดับ “สัญญา”. แต่การรู้ความเกิดดับของอารมณ์ต่างๆ แม้กระทั่งตัวความสงสัยเอง. กลับเป็นหนทางให้ได้มาซึ่ง “ปัญญาในทางพระพุทธศาสนา”. เพราะปัญญาทางพระพุทธศาสนาไม่มีอะไรมาก. เพียงรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา ล้วนแต่ต้องดับไปทั้งสิ้น. ปัญญาแค่นี้ก็พอจะพาให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์แล้ว. เนื่องจากพอเห็นว่าอารมณ์นั้นเป็นไตรลักษณ์. จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ที่กำลังปรากฏ. เมื่อจิตปล่อยวาง ไม่ดีดดิ้นวิ่งโลดไปตามอารมณ์ ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย. ผู้ปฏิบัติบางคนคิดว่า ให้รู้เฉยๆ นั้น มันน้อยไป กลัวจะโง่หรือไม่พ้นทุกข์. จึงพยายามคิดเพื่อสนองความอยากรู้. โดยไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว “รู้” กับ “คิด” เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน. หลวงปู่ดูลย์ ท่านจึงสอนว่า “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้”. การเพ่งจ้องใส่อารมณ์ หรือจิตผู้รู้นั้น ผิดตรงที่ผู้ปฏิบัติหลง “เพ่ง” อยู่. ส่วนการคิดไปตามแรงขับของกิเลส ก็ผิดตรงที่ “เผลอ” ไปตามแรงชักจูงของกิเลส. ผู้ดูจิต มักผิดพลาดตรงนี้แหละ. คือถ้าไม่เพ่ง ก็เผลอ. ไม่ใช่การรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตามความเป็นจริง. ด้วยจิตที่เป็นกลางที่แท้จริง. แต่ยังบังคับจิตบ้าง ปล่อยจิตให้เลื่อนไหลตามกิเลสไปบ้าง. พระพุทธเจ้าท่านสอนทางสายกลาง คือไม่หย่อนด้วยกาม และไม่ทรมานตนเอง. การเผลอไปตามอารมณ์ก็เสมือนหลงในกาม. การเพ่งบังคับจิตก็เหมือนการทรมานตนเอง. หากดำเนินจิตด้วยทางสายกลาง และเป็นกลางจริงๆ. จึงต้องทั้งไม่เผลอ และไม่เพ่ง.

ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ... จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจ­ริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนน­ะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่งแต่รวมความก็คืออริยมรรคไม­่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเราอริ­ยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมิ­นะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกา­ยใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต­็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้น­มาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรจะเห็น­แต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับ­ไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสา­ระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้วความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ

ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ... จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

สิ่งนี้เกิดจากจิตที่นอบน้อมพระพุทธเจ้า ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

แค่นี้ก็ปางตายแล้วเรา ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

อินเวอร์เตอร์ แผงวงจรแอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ออกแบบ สร้างจำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

การควบคุมมอเตอร์การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าจำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

อินเวอร์เตอร์ แผงวงจรแอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ออกแบบ สร้าง จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

ระบบอินเวอร์เตอร์ประหยัดได้ครับจำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

วิธีสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ ตอนที่ 11จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

วิธีสร้างอินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ ตอนที่ 4จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

วิธีซ่อมสร้างตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ภาค Power Out Put จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

วิธีซ่อมสร้างตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ภาค Power Out Putจำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

MC3PHAC 3 PHASE INDUCTION MOTOR CONTROLLERจำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-951-1356 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

กายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วน.จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนา

ไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยไม่มีที่มาไม่มีที่ไป.พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะไ­ด้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้­มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนา­จะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ

ไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยไม่มีที่มาไม่มีที่ไปหมดความปรุงแต่ง จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

ภาวะแห่งความตื่นสติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะจิตหยุดความปรุงแ­­ต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิรวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเ­­วียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­­­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­­­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูด­จ­ิตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ.

จิตสัมผัสพระนิพพานสติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะจิตหยุดความปรุงแ­­ต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิรวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเ­­วียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­­­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­­­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูด­จ­ิตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ.

ดูอาการของจิตจิตหมดงานทำแล้วจิตของเราไม่มีงานจะทำแล้ว­ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตาม­ธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิ­งเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร อันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั­้งปวง เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว .เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง­ท­ี่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีท­ี่­ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถ­ูกป­รุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพร­าะตั­้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตน­เองก็­ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้­­สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ตอบกลับ · หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย 5 เดือนที่ผ่านมา กุณาลชาดก เล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ที่ภูเขา หิมพานต์ อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินซึ่งมีโอสถทุกชนิด ดาดาษไปด้วยดอกไม้และของหอมมากมาย หลายพันธุ์ เป็นที่สัญจรไปมาแห่งช้าง โค กระบือ กวางทอง จามรี เนื้อฟาน แรด ระมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาค ชะมด เสือปลา กระต่าย และ วัวกระทิง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่ช้างใหญ่ ช้างตระกูลอันประเสริฐ เกลื่อนกล่นอยู่ทั่วปริมณฑล อันราบเรียบ มีค่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อสมัน เนื้อฟาน ม้า และลา กินนร ยักษ์ และรากษส อยู่อาศัย ดาดาษไปด้วยหมู่ไม้นับไม่ถ้วน ทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้าน มีดอกบานตลอดปลาย มี นกเขา นกโพระโดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขก เต้า และนกการะเวก ส่งเสียงร้องกึกก้องไพเราะ เป็นประเทศที่ประดับไปด้วยแร่ธาตุหลายร้อย ชนิดเป็นต้นว่า อัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงินและทองคำ เป็นไพรสัณฑ์อัน น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าชื่อกุณาละ มีตัว ปีกและขนงดงามยิ่งนัก อาศัยอยู่ และนก ดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นนางบำเรอประมาณ ๓๕๐๐ ตัว นางนกดุเหว่าสองตัวเอา ปากคาบท่อนไม้ให้นกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น จับตรงกลางแล้วพากันบินไป ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่ากุณาละนั้น อย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัว บิน ไปเบื้องต่ำด้วยความประสงค์ว่า ถ้านกกุณาละนี้จะตกจากคอน พวกเราจะเอาปีกรับไว้ นางนก ดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แดดอย่าได้ส่งถูกนกกุณาละเลย นาง นกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลม หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกนกกุณาละนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไป ข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำ การงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกกุณาละนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน กระบอง ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย นกกุณาละนี้อย่าได้กระทบด้วยกอไม้ เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือพวกนกที่มีกำลังกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัวบินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำอัน เกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้เงียบเหงาอยู่ บนคอนนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพานกกุณาละนั้นจากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จากสวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จาก สวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จาก สวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ยินดี นกกุณาละอัน นางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกๆ วันอย่างนี้ ยังรุกรานอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อย ละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม. ดูกรท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ด้านทิศบูรพาแห่งขุนเขาหิมพานต์มีแม่น้ำอันไหล มาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุม มีสีเขียว ณ ภูเขาหิมพานต์อันเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจ ด้วยกลิ่นหอม อันเกิดเดี๋ยวนั้น จากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกบัวขม ดอกบัวผัน ดอกจงกลณี และดอกบัวเผื่อน เป็นป่าทึบมากไปด้วยไม้ต่างๆ ชนิด คือ ไม้โกฏดำ ไม้จิก ไม้เกต ไม้ยางทราย ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นหมากหอม ต้นประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นสาละ ต้นสน ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นกากะทิง ต้นหงอนไก่ ต้นราชดัด ต้นโลทนง และต้นจันทน์ เป็นราวป่าที่สล้างไปด้วยต้นกฤษณาดำ ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโร และต้นกล้วย ทรงไว้ ซึ่งต้นรกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นปรู ต้นทราก ต้นกัณณิการ์ ต้นชะบา ต้นว่านหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกและต้นขานางอันงามยิ่งนัก และมีไม้ดอก สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยดาดาษไปด้วยดอกมะลิ ว่านเปราะหอม ต้นคนธา ต้นกำยาน ต้นแฝก หอม ต้นกระเบา และไม้กอ เป็นประเทศอันประดับไปด้วยลดาวัลย์ดาดาษยิ่งนัก มีหมู่หงส์ นก นางนวล นกกาน้ำ และนกเป็ดน้ำ ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่สถิตอยู่แห่งหมู่ฤาษีสิทธิ์วิทยาธร สมณะ และดาบส เป็นประเทศที่ท่องเที่ยวไปแห่งหมู่มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนร และพญานาค เป็นไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ มีถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก มีนัยน์ตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมา อาศัยอยู่ ได้ยินว่า พระยา นกปุณณมุขะนี้ มีนางนกดุเหว่าบำเรอ ๓๕๐ ตัว เล่ากันมาว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัว เอาปากคาบ ท่อนไม้ให้พระยานกปุณณมุขะนั้นจับตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์ว่า พระยานกปุณณ มุขะนั้นอย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐ ตัว บินไปเบื้องต่ำด้วย ความประสงค์ว่า ถ้าพระยานกปุณณมุขะนี้จักพลาดจากคอน พวกเราจักเอาปีกทั้งสองรับไว้ นาง นกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แสงแดดอย่าได้แผดเผานกดุเหว่าขาว ชื่อปุณณมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ธุลี หรือน้ำค้าง อย่าได้ตกต้องนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้นด้วย ท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน ไม้ฆ้อน ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย และนกดุเหว่า ขาวชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้กระทบกับกอไม้ เถาวัลย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือกับนก ที่มีกำลังมากกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยวาจาอันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนี้อย่าเงียบเหงา บนคอนเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำเอาผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้น พานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้น จากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จาก สวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวน มะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้อง การให้ร่าเริง ได้ยินว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ อันนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกวัน ๆ ย่อมสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีละๆ น้องหญิงทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายบำรุงบำเรอสามีอย่างนี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลธิดา. ได้ยินว่า ในกาลต่อมา นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะได้เข้าไปหาพระยานกกุณาละ ถึงที่อยู่ พวกนางนกดุเหว่าบริจาริกาของพระยานกกุณาละ ได้เห็นพระยานกปุณณมุขะนั้นกำลัง บินมาแต่ไกล จึงพากันเข้าไปหา แล้วพูดกะพระยานกปุณณมุขะนั้นว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ พระ ยานกกุณาละนี้ เป็นนกหยาบช้า มีวาจาหยาบคายเหลือเกิน แม้ไฉน พวกเราจะพึงได้วาจาอันน่ารัก เพราะอาศัยท่านบ้าง พระยานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้กระมังน้องหญิงทั้งหลาย แล้ว เข้าไปหาพระยานกกุมาละกล่าวสัมโมทนียกถากับพระยานกกุณาละแล้ว สถิตอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระยานกปุณณมุขะได้กล่าวกะพระยานกกุณาละว่า ดูกรสหายกุณาละ เพราะ เหตุไร ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อนางนกทั้งหลายผู้มีชาติเสมอกัน เป็นลูกของผู้มีสกุล ซึ่งปฏิบัติดีต่อท่าน เล่า ดูกรสหายกุณาละ นางนกทั้งหลายถึงเขาจะไม่พูดไม่ถูกใจ เราก็ควรจะพูดให้ถูกใจ จะป่วย กล่าวไปไยถึงนางนกที่พูดถูกใจเล่า เมื่อพระยานกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระยานกกุณาละ ได้รุกรานพระยานกปุณณมุขะอย่างนี้ว่า แนะสหายลามกชั่วถ่อย เจ้าฉิบหาย เจ้าละลาย ใครจะเป็นผู้ฉลาดด้วยการชนะเมียยิ่งไปกว่าเจ้า ก็แหละพระยานกปุณณมุขะถูกรุกรานอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปเสียจากที่นั้น. ได้ยินว่า สมัยต่อมา โดยกาลล่วงไปไม่นานนัก อาพาธอันแรงกล้าเกิดขึ้นแก่ พระยานกปุณณมุขะ คือ ลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็ง จวนจะตาย ครั้งนั้น พวกนางนก ดุเหว่า ผู้เป็นบริจาริกาของพระยานกปุณณมุขะ เกิดความปริวิตกว่า พระยานกปุณณมุขะนี้ อาพาธ หนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธนี้หนอ นางนกดุเหว่าเหล่านั้น ละทิ้งพระยานกปุณณ- *มุขะไว้แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง พากันเข้าไปหาพระยานกกุณาละ พระยานกกุณาละได้เห็นนาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพากันมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางนกดุเหว่าเหล่านั้นว่า พวกอีถ่อย ผัวของ เจ้าไปไหนเสียเล่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นจึงตอบว่า ท่านสหายกุณาละ พระยานกปุณณมุขะ อาพาธหนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธหนักนั้น เมื่อนางนกดุเหว่าเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ แล้ว พระยานกกุณาละได้รุกรานนางนกดุเหว่าเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเลอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม ครั้น กล่าวรุกรานแล้ว ได้เข้าไปหาพระยานกปุณณมุขะ แล้วร้องเรียกว่า เฮ้ยสหายปุณณมุขะ พระยานกปุณณมุขะขานรับว่า หาสหายกุณาละ ได้ยินว่า พระยานกกุณาละเข้าไปประคบ ประหงมพระยานกปุณณมุขะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้วให้ดื่มยาต่างๆ อาพาธ ของพระยานกปุณณมุขะก็สงบระงับ. ได้ยินว่า พระยานกกุณาละได้กล่าวกะพระยานกปุณณมุขะผู้หายจากไข้ยังไม่ นานนักว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางกัณหาสองพ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิต ปฏิพัทธ์ในบุรุษคนที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ย เหมือนตัวกระพันธ์. และในเรื่องนี้มีคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า ครั้งนั้น นางคนหนึ่งล่วงละเมิดสามี ๕ คน คือ พระเจ้าอัชชุนะ พระเจ้า นกุละ พระเจ้าภีมเสน พระเจ้ายุธิษฐิล และพระเจ้าสหเทพ แล้วได้ กระทำลามกกับบุรุษเปลี้ยแคระ. ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางสมณีชื่อปัญจตปาวี อยู่ในท่ามกลางป่าช้า อดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอันลามกกับนักเลงสุรา ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางเทวีนามว่า กากวดี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็นภรรยาของพระยาครุฑชื่อว่า ท้าวเวนไตรย ได้กระทำกรรมอันลามกกับกุเวรผู้เจนจบในการฟ้อน ดูกรสหายปุณณมุขะ เรา เห็นมาแล้ว นางขนงามนามว่า กุรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียกับเอฬกกุมาร ได้กระทำกรรมอัน ลามกกับฉฬังคกุมารเสนาบดี และธนันเตวาสีผู้เป็นคนใช้ของฉฬังคกุมาร เป็นความจริง เราได้ รู้มาอย่างนี้แล พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัตต์ ทรงทอดทิ้งพระเจ้าโกศลราช ได้ทรงกระทำ กรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อปัญจาลจัณฑะ หญิง ๕ คนนี้ก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้วซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย มหาปฐพี อันทรงไว้ซึ่งสรรพสัตว์ ย้อมแล้วเสมอกัน เป็นที่รับรองสิ่งดีและสิ่งชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านี้ ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย กิน เนื้อและเลือดเป็นอาหารมีอาวุธ ๕ อย่าง เป็นสัตว์หยาบช้า ยินดีในการ เบียดเบียนสัตว์อื่น ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกิน ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านั้น. ดูกรปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด ชื่อโดยกำเนิดว่าแพศยา ว่านางงาม ว่าหญิงสัญจร ก็คือเป็น ผู้ฆ่าหญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวกโจร ประทุษร้ายเป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวด เหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือน หลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปโดย ส่วนเดียวเหมือนพระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตาม ปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนโจร ประทุษร้ายเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือนหลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยาก เหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปส่วนเดียวเหมือน พระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็นผู้กำสัตว์ไว้ในมือ จนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติในเรือนให้พินาศ. ดูกรปุณณมุขะ ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน ภรรยา ไม่ควร ให้อยู่ในสกุลอื่น บัณฑิตไม่พึงรักษาทรัพย์ ๔ อย่างนี้ให้อยู่พลาดจากเรือน. คนฉลาดย่อมไม่ฝากทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยาน พาหนะ ๑ ภรรยา ๑ ไว้ในตระกูลญาติ เพราะว่า คนที่ไม่มียานพาหนะ ย่อมใช้รถที่ฝากไว้ ย่อมฆ่าโคผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็นเกินกำลัง ย่อม ฆ่าลูกโคเพราะรีดนม ภรรยาย่อมประทุษร้ายในตระกูลญาติ. ดูกรสหายปุณณมุขะ สิ่งของ ๖ อย่างนี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์อะไร ไม่ได้ คือ ธนูไม่มีสาย ๑ ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรือที่ฝั่งโน้น ๑ ยาน พาหนะที่เพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายลามก ๑ สิ่งของทั้ง ๖ นี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์ไม่ได้. ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุการ ๘ ประการ คือ เพราะสามีเป็นคนจน ๑ เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะสามีเป็นคนแก่ ๑ เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะสามีเป็นคนโง่ ๑ เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ๑ เพราะคล้อย ตามในกิจทุกอย่าง ๑ เพราะไม่ก่อให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บ กระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑ คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ๑. ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการ คือ หญิงเป็นคนมักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหา ตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมอง หน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมา ให้สามีเพราะเหตุ ๙ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการนี้ คือ มัก ไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการคือ ดัดกายหนึ่ง ก้มตัว กรีดกราย ทำอาย แกะเล็บ เอาเท้าเหยียบกัน เอาไม้ขีดแผ่นดิน ทำกระโดดเอง ให้เด็กกระโดด เล่นเอง ให้เด็กเล่น จุมพิตเด็ก ให้เด็กจุมพิต กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ขอของจากเด็ก ทำตามที่เด็กกระทำ พูดเสียงสูง พูดเสียงต่ำ พูดเปิดเผย พูดกระซิบ ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม ร้องไห้ กรีดกราย ด้วยการแต่งกาย ทำปึ่ง ยักเอว ส่ายผ้าที่ปิดของลับ เลิกขา ปิดขา ให้เห็นนม ให้เห็นรักแร้ ให้เห็น ท้องน้อย หลิ่วตา เลิกคิ้ว เม้มปาก แลบลิ้น ขยายผ้า กลับนุ่งผ้า สยายผม มุ่นผม ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการนี้แล. ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการ คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี ย่อมไม่ระลึกถึงสามีที่ไปแรมคืน ย่อมไม่ ยินดีกะสามีที่มาแล้ว ย่อมกล่าวโทษสามี ไม่กล่าวคุณแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่สามี ย่อมไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น ย่อมนอนพลิก กลับไปมา ย่อมทำวุ่นวายนอนถอนหายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระ ปัสสาวะบ่อยๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ได้ยินเสียงชายอื่นย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ย่อมทอด สนิทชิดชอบกับชายผู้คุ้นเคย ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤติ นอกใจไม่เคารพในสามี มีใจประทุษร้าย ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเนืองๆ ย่อมทำให้เห็นรักแร้ นม ย่อม ไปเพ่งดูทิศต่างๆ ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี ย่อมไม่เศร้าโศกถึงการไป ของสามี ครั้นเห็นสามีกลับมาก็ไม่แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวคุณ แห่งสามีในกาลไหนๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำ ประโยชน์ของสามีให้เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมคลุม หัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิง ผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมนอนพลิกกลับไปมา ย่อมทำวุ่นวาย นอนถอน หายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อยๆ อาการ เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อชายอื่นพูด ล้างผลาญ โภคสมบัติ กระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายอื่น อาการเหล่านี้ เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมทำทรัพย์สมบัติที่สามีได้มา โดยความลำบาก หามาได้โดยฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วยความยาก แค้นให้พินาศ อนึ่ง ย่อมกระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายที่คุ้นเคย กัน อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงออกนอกบ้าน เสมอ ประพฤติผิดจากความดี มีใจคิดประทุษร้ายในสามีอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจ ปราศจากความเคารพ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมยืนอยู่ที่ใกล้ประตูเนืองๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้างให้เห็น มีจิตวอกแวกเพ่งดูทิศต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย แม่น้ำทั้งปวงมีทางคดเคี้ยว และป่าทั้งปวงรกเรี้ยว ด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวงเมื่อได้ช่อง (ที่ลับ) พึงกระทำกรรมอัน ลามกฉันนั้น ถ้าว่าพึงได้โอกาส ที่ลับ หรือพึงได้ช่องเช่นนั้น หญิง ทั้งปวงพึงกระทำกรรมอันลามกเป็นแน่ ไม่ได้ชายที่สมบูรณ์อื่น ก็ย่อม ทำกับคนเปลี้ย ในพวกนารีที่หลายใจ เป็นผู้กระทำความยั่วยวนแก่ชาย ทั้งหลาย ไม่มีใครข่มขี่ได้ ถ้านารีเหล่าใดแม้จะทำให้พอใจโดยประการ ทั้งปวง ก็ไม่ควรวางใจในนารีเหล่านั้น เพราะว่า นารีเหล่านั้นเสมอด้วย ท่าน้ำ. บัณฑิตได้เห็นเรื่องอย่างไร ของพระเจ้ากินนรและพระนางกินนรีเทวี แล้วพึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนของตน พระนาง กินนรีเทวีทรงเห็นบุรุษอื่น แม้จะเป็นคนง่อยเปลี้ย ยังละทิ้งพระราช- สวามีเช่นพระเจ้ากินนร ไปทำกรรมอันลามกกับบุรุษเปลี้ยนั้นได้. พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรงหมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระ มเหสียังประพฤติอนาจารกับคนรับใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมีหรือที่ หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น. พระนางปิงคิยานีพระนางมเหสีที่รักของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลก ทั้งปวง ได้ประพฤติอนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิดและเป็นไปในอำนาจ พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่ทั้งสองราย. บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีละอาย ล่วงเสียซึ่งธรรม ย่อมเป็น ไปตามอำนาจจิตของตนเมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้ง สามีแม้จะอยู่ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์ แม้เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย จริง อยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไปไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิง ทั้งหลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้ วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือ เอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้ว ละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่าง เหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง เหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบ บุรุษได้ ทั้งที่น่ารัก ทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้ฝั่งโน้น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่ว ไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่าของเรา ก็ เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มี หญิงทั้ง หลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่ มีทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกิน เปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิง ทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะ สิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิง ที่คนหมู่มากไม่รักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยาคน อื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวกนี้ ไม่ ควรคบ. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ของพญานกกุณาละแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจ ของพวกหญิงเผลอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิงย่อม ละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่เหลาะแหละ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ร้องไห้ กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้ง บุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะ กะใบไม้ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควรวิสาสะกะ พระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควรวิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คน แล้ว ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่ สำรวม ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิงทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัด เองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึง กระทำความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำรวม ผู้ เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิง เหมือนคำเท็จ หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือก กินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วย การเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุดๆ ลุ่ยๆ และพูดเพราะ หญิง ทั้งหลายเป็นโจร หัวใจแข็ง ดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไรๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ธรรมดาหญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขต แดน กำหนัดนักทุกเมื่อ และคะนอง กินไม่ควร เหมือนเปลวไฟ ไหม้เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี เพราะหญิงทั้งหลาย ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอด ได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รัก ก็ไม่มี หญิง ย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลาย ย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อ ก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูล แต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชายเช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะ รู้ชัดซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ดูกรพญานก ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ สี่อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็มแม่น้ำสายใด สายหนึ่งอาศัย แผ่นดิน ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้นมหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียน เวทอันมีการบอกเป็นที่ห้าได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง พระราชาทรง ชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วยรัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้ง มหาสมุทรและภูเขา ครอบครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงคนหนึ่งๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้วกล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่ง กามรสทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือน เปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละ ชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชาย นั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความ จริงได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ ให้เต็มได้ยาก เสมอแม่น้ำ ทำ ให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตน ฉะนั้น. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญานกกุณาละรู้แจ้งแล้ว ซึ่งเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุดแห่งคาถา ของนารทพราหมณ์ผู้ประเสริฐ จึงได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะ ว่าหญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ ขับร้องและการ เจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียด เบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและ เนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเล ฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อัน น่ายินดี เป็นทำเลหากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อม เข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะ และโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อม เผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูก ราคะย้อม เหมือนเถาย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น หญิงประดับ ร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่างๆ ทำ ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทรราหู หญิงประดับประดาด้วยทอง แก้วมณีและมุกดา ถึงจะมีคนสักการะและ รักษาไว้ในตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่ใน ทรวงอก ประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเครื่อง พิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของ หญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ ถูกราหูจับฉะนั้น โจรผู้มี จิตโกรธ คิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่นซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญ หน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความ พินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผมและหยิกข่วน ด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือและท่อนไม้ ก็กลับวิ่งเข้าหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพ ฉะนั้น บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ไฟเสมอด้ว­ยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ... จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพ­ระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ

1 แรงม้าเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ.­.https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW...

เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอวันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความ...สมาบัติ กระดานธรรม ๒ คลิกขวาเมนู สมาบัติ ๘ กล่าวคือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ นั้นก็มีในศาสนาอื่นๆด้วยเช่นกัน และมีมาแต่โบราณกาล ที่แม้แต่เหล่าพระคณาจารย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนตรัสรู้ ก็ล้วนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง และเป็นผู้สั่งสอนพระองค์ท่านในสมาบัติเหล่านั้น พระองค์ท่านก็ทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการนำมาเป็นกำลังเครื่องสนันสนุนปัญญาหรือวิปัสสนา เพื่อให้เห็นความจริงหรือธรรมอย่างปรมัตถ์เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณเพื่อการปล่อยวางในกิเลสตัณหาอุปาทาน ดังนั้นการเจริญสมาบัติ ๘ แต่ฝ่ายเดียว โดยขาดการเจริญวิปัสสนา จึงไม่ใช่หนทางหรือการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาให้ถึงพุทธธรรม และด้วยอวิชชามักไปเข้าใจผิดว่า เมื่ออยู่ในสมาบัติแต่ฝ่ายเดียวว่า ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาบริบูรณ์แล้ว จึงขาดการเจริญวิปัสสนาไปเสียโดยไม่รู้ตัว ด้วยความเข้าใจผิดหรืออวิชชานั่นเอง ส่วนนิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติในพระพุทธศาสนาโดยตรง บัญญัติขึ้นมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นสมาบัติที่มีความเนื่องสัมพันธ์กับขันธ์ ๕ ทางพระศาสนาโดยตรง ที่ทรงจำแนกชีวิตว่า ล้วนเกิดแต่ เหตุปัจจัย ของขันธ์ ๕ จึงต้องมีปัญญาจากการวิปัสสนาในธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์ ๕ อย่างปรมัตถ์ ต้องเข้าใจในเหตุปัจจัยจึงมีของขันธ์ ๕ คือ สัญญาและเวทนา กล่าวคือต้องมีปัญญา(วิปัสสนา)ที่มีสมถะเป็นกำลังเครื่องสนับสนุน เหตุเพราะ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึง การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ ที่เรียกเต็มว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ" เรียกสั้นๆกันว่า ว่า นิโรธสมาบัติ ซึ่งเมื่อนับร่วมกับฌานทั้ง ๘ ก็เรียกว่าเป็น อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีต ต่อกันไปโดยลำดับ อันมี ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นองค์ที่ ๙ ที่ประณีตสูงสุด ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความเข้าใจในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม จึงจักเข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นและดำเนินไปในนิโรธสมาบัติ ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจในธรรมได้ดียิ่งๆขึ้นเช่นกัน นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติที่ประณีตที่สุดในบรรดาสมาบัติทั้งปวง จัดเป็นอรูปฌานในสมถกรรมฐานอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นสมาบัติขั้นประณีตสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ใช่การวิปัสสนาโดยตรง เป็นเครื่องอยู่หรือวิหารธรรมของพระอริยเจ้าเป็นครั้งคราว เป็นสภาวะจิตที่ถึงภาวะของความสงบประณีตระดับสูงสุด จิตหยุดการทำงาน หรือการเกิดดับ..เกิดดับ..เกิดดับ..ทั้งหลายทั้งปวง ดุจดั่งผู้ถึงกาละ กล่าวคือ เนื่องจากการหยุดการทำงานหรือดับไปของสัญญา อันคือ ขันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับความคิด ความนึก อันเป็นความจำได้ ความหมายรู้ ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อดับสัญญา หรือดับความคิด ความนึก(และตลอดจนดับความจำ ความหมายรู้ ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง)ทั้งปวงลงไปจากการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงเป็นปัจจัยทำให้ธรรมารมณ์ต่างๆเช่นความคิดความนึกต่างๆ แม้แต่สังขารกิเลสต่างๆ ที่ต้องอาศัยสัญญาคืออาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้นในการเกิดขึ้นและเป็นไปของขันธ์ ๕ จึงดับไป เวทนาจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือต้องดับไปตามเหตุปัจจัยคือสัญญาที่ถูกกุมไว้ด้วยสติ จึงเป็นปัจจัยให้เวทนาดับลงไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่มาจากรากศัพท์ของคำว่า สัญญา-ความจำได้,ความหมายรู้๑ เวทนา-การเสวยอารมณ์๑ นิโรธ-การดับ๑ และสมาบัติ-ภาวะสงบประณีต๑ ทั้ง ๔ คำ สมาสรวมกันเป็น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่หมายถึง สภาวะสงบประณีตที่เกิดจากสัญญาและเวทนาดับไป เหตุที่สัญญาดับลงไป จึงทำให้เวทนาดับลงไปด้วย ตลอดจนสังขารขันธ์ เป็นไปเพราะจิตนั้น เมื่อจำแนกแตกธรรมแล้ว ล้วนดำเนินไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อดำเนินไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ก็หมายถึง จิตดำเนินไปสู่ทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนในขณะนั้น หรืออาจเป็นสุขในขณะนั้นแต่ส่งผลให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นในภายหลังเป็นที่สุด ส่วนเมื่อจิตดำเนินไปตามปกติไม่ก่อทุกข์อุปาทานก็เรียกว่าดำเนินไปตามแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นไปในลักษณาการดังนี้ เมื่อจิตดำเนินไปในกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท อาสวะกิเลสก็คือสัญญาเจือกิเลสอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาลำดับแสดงแบบขันธ์ ๕ เพื่อเทียบเคียง จึงเป็นไปดังนี้ อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องผุดขึ้น หรือเจตนาขึ้นเป็น จึงมี สังขาร(กิเลส) กระทบ ใจ จึงมี วิญญาณ จึงมี ผัสสะ จึงมี จึงเกิดเวทนา จึงมี สัญญาหมายรู้ จึงมี สังขารขันธ์ ส่วนเมื่อจิตดำเนินไปตามกระบวนธรรมขันธ์ ๕ ในการดำเนินชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ อันมิได้เกิดแต่อาสวะกิเลส เกิดแต่สัญญาก็เป็นไปดังนี้ สัญญาที่นอนเนื่อง ผุดขึ้น หรือเจตนาขึ้นเป็น จึงมี ธรรมารมณ์ กระทบ ใจ จึงมี วิญญาณ จึงมี ผัสสะ จึงมี จึงเกิด เวทนา จึงมี สัญญาหมายรู้ จึงมี สังขารขันธ์ ดังนั้นเมื่อ สติกุมจิต หรือตั้งจิตมั่นกุมไว้ได้ในเหล่าสัญญาหรืออาสวะกิเลสแล้ว กล่าวคือ แต่แรกปฏิบัติ ไม่ให้เหล่าความคิด เกิดผุดขึ้น หรือแม้แต่เจตนาขึ้น ด้วยสติที่กุมอยู่ เพราะเมื่อสัญญาเกิดผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นก็ตามที ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สังขาร หรือ ธรรมารมณ์ ดังแสดงในกระบวนธรรมข้างต้นทั้ง ๒ จึงย่อมต้องดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังที่แสดงต่อเนื่องเป็นเหตุปัจจัยไป ไม่สามารถไปหยุดได้ด้วยความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ จึงอุปมาได้ดุจดั่ง การปาก้อนหินลงไปในน้ำ ซึ่งถ้ามีสติกุมจิตอยู่ โดยหยุดการปาก้อนหินนั้นลงเสีย ก็ย่อมไม่มีการกระทบ(ผัสสะ)ให้เกิดระลอกคลื่นขึ้น แต่ถ้ามีการปาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องเกิดการกระทบกับน้ำ จึงย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดระลอกคลื่นขึ้นเป็นธรรมชาติ ดุจเดียวกับเวทนาเป็นธรรมดา และย่อมไม่สามารถไประงับผลคือระลอกคลื่น หรือดับเหล่าเวทนาเหล่านั้นที่เกิดจากการกระทบกันหรือผัสสะกันแล้วได้เป็นธรรมดา เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง, ดังนั้นเมื่อสติรักษาจิตดังข้างต้นได้เสถียรในระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ในแรกปฏิบัติ ที่ตั้งจิตอยู่แต่ใน สติ ที่มีเจตนาหรือเจตจำนงค์เพื่อหยุดการวิตก วิจารในความคิดที่ล้วนต้องอาศัยสัญญาใดๆทั้งปวงได้เป็นอย่างดีแล้ว จึงเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตาเมื่อเหตุถูกกำจัด ผลอันคือเวทนา วิญญาณทั้ง๖ สัญญาหมายรู้ ตลอดจนสังขารขันธ์ทั้งหลายทั้งปวงอันย่อมครอบคลุมถึงกายสังขาร อันล้วนย่อมเป็น ผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ ดังแสดงในกระบวนธรรมข้างต้น จึงย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ กล่าวคือ ดับไปเพราะขาดเหตุปัจจัยตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง ดังนั้นเมื่อสังขารขันธ์ฝ่ายวจีสังขารที่ต้องอาศัยการตรึก การตรอง(ตรึก=วิตก,การคิด ตรอง=วิจาร,การคิดพิจารณา)ดับจากการถูกสติกุมไว้ และกายสังขารดับสิ้นลงไปเนื่องจากขาดเหตุปัจจัย จึงเป็นปัจจัยให้จิตตสังขารที่อยู่ในรูปเจตสิกของสติในระยะแรกที่ใช้งานอยู่ เมื่อไม่มีหน้าที่การงานสืบต่อไป ก็ค่อยทะยอยลดระดับจนดับตามไปด้วย จึงเป็นวงจรที่เป็นเหตุปัจจัยเนื่องสัมพันธ์กันดุจเดียวดั่งวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารนั่นแล การปฏิบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีความแตกต่างจากรูปฌาณ ๔ และอรูปฌาน ๔ อย่างสิ้นเชิง ในฌานทั้ง ๘ นั้น แม้การปฏิบัติเป็นไปในลักษณะของการใช้ สติ อันคือจิตตสังขารหรือเจตสิกแม้เช่นเดียวกับนิโรธสมาบัติ แต่ในฌานทั้ง ๘ ใช้ไปในลักษณะของการวิตกวิจารในอารมณ์ต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในเรื่อง"ฌานสมาธิ" แม้แต่ใน อรูปฌาน เองก็เช่นกัน กล่าวคือ ยังต้องวิตก วิจารในสิ่งที่เป็น อรูป ที่นำมาเป็นอารมณ์นั้นๆอยู่ ดังเช่น อากาสานัญจายตนฌาน ที่ถึงอย่างไรเสียต้องวิตก วิจารในอรูป คือ วิตกโดยการตรึกคือคิดนึกในอากาศหรือช่องว่างหรือความเป็นที่ว่างเปล่าว่าหาที่สุดมิได้หรือไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ แล้ววิจารโดยการตรองคือคิดพิจารณาเคล้าหรือฟั้นคิดนั้นจนกลมกลืนลื่นไหลไปกับจิตหรือสติ จึงล้วนต้องใช้สัญญา กล่าวคือ วิตกหรือคิดกำหนดในอากาศ พร้อมกับการวิจารหรือเคล้าจิตหรือคิดพิจารณาเคล้าไปในอากาศที่กำหนดนั้นให้แนบแน่น ส่วนในนิโรธสมาบัติ ใช้สติกุมจิตหรือคิด(ที่ย่อมต้องใช้สัญญา)ไว้ จึงไม่มีการวิตก วิจารซึ่งก็คือวจีสังขารทางใจอย่างหนึ่ง กล่าวคือขาดเสียซึ่งสัญญาแต่ต้นกระบวนธรรมดังข้างต้น จิตย่อมขาดเหตุปัจจัยให้ดำเนินไปในกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดำเนินสืบต่อไป สังขารขันธ์ทั้งหลายอันเป็น ผล ของกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ จึงอยู่ในสภาวะสงบระงับหรือดับไปด้วย ตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมหรืออิทัปปัจจยตา ดังนั้นกายสังขารย่อมระงับเป็นลำดับต่อไปเนื่องจากเป็นสังขารขันธ์ที่ไม่ได้ใช้งานจึงดับไป ส่วนจิตตสังขารหรือมโนสังขารนั้นยังใช้งานอยู่ กล่าวคือ จิตตสังขารหรือสติยังคงใช้งานอยู่ด้วยสัญญานั่นเอง เมื่อวจีสังขารและกายสังขารสงบระงับหรือดับไปดีแล้ว จิตตสังขารหรือสติจึงระงับหรือดับตามไปเป็นลำดับสุดท้าย ฝ่ายสังขารกายหรือร่างกายนั้น เมื่อสังขารขันธ์ทั้งปวงสงบระงับแล้ว จึงไม่มีหน้าที่หรือ activitiesใดๆในการงานทางโลกอีก จึงเข้าสู่สภาวะของการสงบระงับตามฝ่ายจิตไปด้วย กล่าวคือ เหมือนจำศีล ปฏิกริยาหรือเหล่าactivities ทั้งหลายเมื่อไม่มีเครื่องกระตุ้นเร้าจึงทำงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดราวกับผู้ถึงกาละแล้ว แต่ยังมีไออุ่น และยังไม่ถึงกาละหรือตาย ส่วนอินทรีย์ร่างกายสดใสเพราะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดเพราะเป็นไปตามธรรมชาติเดิมแท้ จึงเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่เครื่องพักผ่อนอันประเสริฐเป็นครั้งคราวของเหล่าพระอริยเจ้า ดังนั้น สติ ที่กุมจิต ในการปฏิบัตินิโรธสมาบัติจึงเป็นไปในลักษณะกุมจิตหรือป้องกันเป็นสำคัญ ไม่วิตกวิจารคือไม่ไปคิด(ซึ่งย่อมใช้สัญญา)ไม่ไปกำหนดและไม่ไปวิจารเคล้าจิตในอารมณ์ใดทั้งสิ้น อยู่กับสติในเบื้องต้นเป็นสำคัญ นอกจากเมื่อผุดคิดผุดนึกขึ้นจึงปราบปรามเสียเป็นครั้งคราว กล่าวคือ จึงไม่ใช่ในลักษณะของการปราบปราม ที่หมายถึงเมื่อคิดขึ้นมาแล้วสติรู้เท่าทัน จึงหยุดคิด หยุดปรุงแต่งนั้นเสียดังการวิปัสสนา แต่สติเป็นไปในลักษณะนายทวารผู้เฝ้าระวังทำหน้าที่อย่างตั้งมั่นเพื่อป้องกันเป็นสำคัญ ดังกล่าวไว้ในเรื่องดับอวิชชา คือ กุมไว้ด้วยสติไม่ให้ผุดลอย หรือผุดคิดขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนในดับอวิชชานั้นป้องกันแต่สัญญาฝ่ายอาสวะกิเลสเท่านั้น และเมื่อผุดลอยขึ้นมาก็ไม่ปรุงแต่งและอุเบกขาเสีย ส่วนสัญญาคือความจำได้หมายรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงของขันธ์ ๕ เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผู้ที่ปฏิบัติได้ใน นิโรธสมาบัติ จึงเกิดแก่ผู้ที่มีความเข้าใจในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้ง พร้อมความเชื่อมั่นจากปัญญาที่ไปเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ พร้อมทั้งมีสติสมาธิ(สมถะ)ที่ฝึกหัดดีแล้วจากการปฏิบัติ พร้อมทั้งกิเลสที่เบาบางลงไปพอควร เพราะกิเลสที่หนาแน่นนั้น เมื่อปฏิบัติก็มักเกิดอาการผุดคิด ผุดลอยขึ้นมา อย่างควบคุมไม่ได้ หรือมัวแต่คิดหาทางหยุดคิด จึงวนเวียนอยู่ในคิดที่ย่อมต้องใช้สัญญาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว จึงย่อมไม่สามารถเข้า"สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ"ได้เลยเป็นธรรมดา ดังที่กล่าวข้างต้นที่เมื่อมีการคิดหรือนึกผุดเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเกิดการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดา จึงปฏิบัติได้ยากยิ่งและมีแต่ในทางพุทธศาสนา จึงเกิดขึ้นได้แก่อริยบุคคลที่เจริญทั้งในสมถกรรมฐานจนได้สมาบัติ และเจริญในวิปัสสนากรรมฐานด้วยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องชำนาญในสมาบัติ ๘ เป็นสำคัญอีกด้วย แต่ถึงแม้เป็นสมาบัติที่ประณีตลึกซึ้งที่สุดก็ตามที ก็ยังเป็นสมาบัติอยู่นั่นเอง นักปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายคือพุทธธรรม เพราะการมุ่งเน้นเพื่อสมาบัติหรือเจโตวิมุตตินั้นใช้เวลานาน และขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ ไม่ใช่เกิดเหมือนกันทุกคน และถ้าปฏิบัติสมาบัติที่อาจหรือมักเบี่ยงเบนไปเพื่อจุดประสงค์อื่นๆที่ไม่ใช่พุทธธรรม แล้ว เช่นโลกียอภิญญา ก็จะทำให้หลงทางกลับกลายเป็นโทษ และการหลุดพ้นทั้งปวงอันไม่กลับกลายนั้น เป็นการหลุดพ้นด้วยปัญญาวิมุตติเป็นองค์สำคัญเพียงองค์เดียว จึงมีการหลุดพ้นแบบไม่จำเป็นต้องผ่านสมาบัติ จึงมีพระอรหันตผล ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก เป็นผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน(เครื่องนำไป) หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติต่อ และยังแยกแยะโดยละเอียดเป็น ๕ ด้วยกัน แต่ล้วนต้องเกิดปัญญาวิมุตติเป็นองค์สำคัญเป็นที่สุดทั้งสิ้น จึงบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในพุทธธรรม กล่าวคือต่างล้วนดับทุกข์อุปาทานโดยสิ้นเชิงด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จึงเป็นบรมสุขอย่างยิ่งเหมือนกันทุกพระองค์ ๑. พระปัญญาวิมุต พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา ๒. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล กล่าวคือ หลุดพ้นทั้งสองส่วน กล่าวคือ เป็นสองวาระ คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ เป็นวิกขัมภนะหนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉท อีกหนหนึ่ง ๓. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓ มี ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น ๔. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖, อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒. ทิพพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ใน ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ส่วนข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ ต้องอ่าน สมาธิหรือสมาบัติขั้นใด จึงจำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประกอบการพิจารณา กันหลงทาง กามภูสูตรที่ ๒ พุทธพจน์ และ พระสูตร พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘ คลิกขวาเมนู [๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร(การกระทำทางกาย อย่างหนึ่ง) บุคคลย่อมตรึกตรอง(คิดพิจารณา)ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตก วิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่า จิตตสังขาร ฯ [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิดมีได้อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูก ก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิต(ก่อน)ที่จะน้อม(เข้า)ไป เพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร ดับก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย(อินทรีย์ทั้ง ๖ แตกกระจาย ไม่ทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกันอีกต่อไป) ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมี อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิต(ก่อน)ที่น้อมเข้าไป เพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา เวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ (หมายความเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง) กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ สมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า อาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ (แม้เป็นสมถะ แต่ต้องประกอบด้วยวิปัสสนามีความเข้าใจในธรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น)

ผู้สิ้้นความเพลิดเพลินในภพสมาบัติ กระดานธรรม ๒ คลิกขวาเมนู สมาบัติ ๘ กล่าวคือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ นั้นก็มีในศาสนาอื่นๆด้วยเช่นกัน และมีมาแต่โบราณกาล ที่แม้แต่เหล่าพระคณาจารย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนตรัสรู้ ก็ล้วนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง และเป็นผู้สั่งสอนพระองค์ท่านในสมาบัติเหล่านั้น พระองค์ท่านก็ทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการนำมาเป็นกำลังเครื่องสนันสนุนปัญญาหรือวิปัสสนา เพื่อให้เห็นความจริงหรือธรรมอย่างปรมัตถ์เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณเพื่อการปล่อยวางในกิเลสตัณหาอุปาทาน ดังนั้นการเจริญสมาบัติ ๘ แต่ฝ่ายเดียว โดยขาดการเจริญวิปัสสนา จึงไม่ใช่หนทางหรือการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาให้ถึงพุทธธรรม และด้วยอวิชชามักไปเข้าใจผิดว่า เมื่ออยู่ในสมาบัติแต่ฝ่ายเดียวว่า ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาบริบูรณ์แล้ว จึงขาดการเจริญวิปัสสนาไปเสียโดยไม่รู้ตัว ด้วยความเข้าใจผิดหรืออวิชชานั่นเอง ส่วนนิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติในพระพุทธศาสนาโดยตรง บัญญัติขึ้นมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นสมาบัติที่มีความเนื่องสัมพันธ์กับขันธ์ ๕ ทางพระศาสนาโดยตรง ที่ทรงจำแนกชีวิตว่า ล้วนเกิดแต่ เหตุปัจจัย ของขันธ์ ๕ จึงต้องมีปัญญาจากการวิปัสสนาในธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์ ๕ อย่างปรมัตถ์ ต้องเข้าใจในเหตุปัจจัยจึงมีของขันธ์ ๕ คือ สัญญาและเวทนา กล่าวคือต้องมีปัญญา(วิปัสสนา)ที่มีสมถะเป็นกำลังเครื่องสนับสนุน เหตุเพราะ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึง การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ ที่เรียกเต็มว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ" เรียกสั้นๆกันว่า ว่า นิโรธสมาบัติ ซึ่งเมื่อนับร่วมกับฌานทั้ง ๘ ก็เรียกว่าเป็น อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีต ต่อกันไปโดยลำดับ อันมี ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นองค์ที่ ๙ ที่ประณีตสูงสุด ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความเข้าใจในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม จึงจักเข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นและดำเนินไปในนิโรธสมาบัติ ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจในธรรมได้ดียิ่งๆขึ้นเช่นกัน นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติที่ประณีตที่สุดในบรรดาสมาบัติทั้งปวง จัดเป็นอรูปฌานในสมถกรรมฐานอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นสมาบัติขั้นประณีตสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ใช่การวิปัสสนาโดยตรง เป็นเครื่องอยู่หรือวิหารธรรมของพระอริยเจ้าเป็นครั้งคราว เป็นสภาวะจิตที่ถึงภาวะของความสงบประณีตระดับสูงสุด จิตหยุดการทำงาน หรือการเกิดดับ..เกิดดับ..เกิดดับ..ทั้งหลายทั้งปวง ดุจดั่งผู้ถึงกาละ กล่าวคือ เนื่องจากการหยุดการทำงานหรือดับไปของสัญญา อันคือ ขันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับความคิด ความนึก อันเป็นความจำได้ ความหมายรู้ ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อดับสัญญา หรือดับความคิด ความนึก(และตลอดจนดับความจำ ความหมายรู้ ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง)ทั้งปวงลงไปจากการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงเป็นปัจจัยทำให้ธรรมารมณ์ต่างๆเช่นความคิดความนึกต่างๆ แม้แต่สังขารกิเลสต่างๆ ที่ต้องอาศัยสัญญาคืออาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้นในการเกิดขึ้นและเป็นไปของขันธ์ ๕ จึงดับไป เวทนาจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือต้องดับไปตามเหตุปัจจัยคือสัญญาที่ถูกกุมไว้ด้วยสติ จึงเป็นปัจจัยให้เวทนาดับลงไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่มาจากรากศัพท์ของคำว่า สัญญา-ความจำได้,ความหมายรู้๑ เวทนา-การเสวยอารมณ์๑ นิโรธ-การดับ๑ และสมาบัติ-ภาวะสงบประณีต๑ ทั้ง ๔ คำ สมาสรวมกันเป็น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่หมายถึง สภาวะสงบประณีตที่เกิดจากสัญญาและเวทนาดับไป เหตุที่สัญญาดับลงไป จึงทำให้เวทนาดับลงไปด้วย ตลอดจนสังขารขันธ์ เป็นไปเพราะจิตนั้น เมื่อจำแนกแตกธรรมแล้ว ล้วนดำเนินไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อดำเนินไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ก็หมายถึง จิตดำเนินไปสู่ทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนในขณะนั้น หรืออาจเป็นสุขในขณะนั้นแต่ส่งผลให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นในภายหลังเป็นที่สุด ส่วนเมื่อจิตดำเนินไปตามปกติไม่ก่อทุกข์อุปาทานก็เรียกว่าดำเนินไปตามแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นไปในลักษณาการดังนี้ เมื่อจิตดำเนินไปในกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท อาสวะกิเลสก็คือสัญญาเจือกิเลสอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาลำดับแสดงแบบขันธ์ ๕ เพื่อเทียบเคียง จึงเป็นไปดังนี้ อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องผุดขึ้น หรือเจตนาขึ้นเป็น จึงมี สังขาร(กิเลส) กระทบ ใจ จึงมี วิญญาณ จึงมี ผัสสะ จึงมี จึงเกิดเวทนา จึงมี สัญญาหมายรู้ จึงมี สังขารขันธ์ ส่วนเมื่อจิตดำเนินไปตามกระบวนธรรมขันธ์ ๕ ในการดำเนินชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ อันมิได้เกิดแต่อาสวะกิเลส เกิดแต่สัญญาก็เป็นไปดังนี้ สัญญาที่นอนเนื่อง ผุดขึ้น หรือเจตนาขึ้นเป็น จึงมี ธรรมารมณ์ กระทบ ใจ จึงมี วิญญาณ จึงมี ผัสสะ จึงมี จึงเกิด เวทนา จึงมี สัญญาหมายรู้ จึงมี สังขารขันธ์ ดังนั้นเมื่อ สติกุมจิต หรือตั้งจิตมั่นกุมไว้ได้ในเหล่าสัญญาหรืออาสวะกิเลสแล้ว กล่าวคือ แต่แรกปฏิบัติ ไม่ให้เหล่าความคิด เกิดผุดขึ้น หรือแม้แต่เจตนาขึ้น ด้วยสติที่กุมอยู่ เพราะเมื่อสัญญาเกิดผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นก็ตามที ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สังขาร หรือ ธรรมารมณ์ ดังแสดงในกระบวนธรรมข้างต้นทั้ง ๒ จึงย่อมต้องดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังที่แสดงต่อเนื่องเป็นเหตุปัจจัยไป ไม่สามารถไปหยุดได้ด้วยความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ จึงอุปมาได้ดุจดั่ง การปาก้อนหินลงไปในน้ำ ซึ่งถ้ามีสติกุมจิตอยู่ โดยหยุดการปาก้อนหินนั้นลงเสีย ก็ย่อมไม่มีการกระทบ(ผัสสะ)ให้เกิดระลอกคลื่นขึ้น แต่ถ้ามีการปาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องเกิดการกระทบกับน้ำ จึงย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดระลอกคลื่นขึ้นเป็นธรรมชาติ ดุจเดียวกับเวทนาเป็นธรรมดา และย่อมไม่สามารถไประงับผลคือระลอกคลื่น หรือดับเหล่าเวทนาเหล่านั้นที่เกิดจากการกระทบกันหรือผัสสะกันแล้วได้เป็นธรรมดา เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง, ดังนั้นเมื่อสติรักษาจิตดังข้างต้นได้เสถียรในระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ในแรกปฏิบัติ ที่ตั้งจิตอยู่แต่ใน สติ ที่มีเจตนาหรือเจตจำนงค์เพื่อหยุดการวิตก วิจารในความคิดที่ล้วนต้องอาศัยสัญญาใดๆทั้งปวงได้เป็นอย่างดีแล้ว จึงเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตาเมื่อเหตุถูกกำจัด ผลอันคือเวทนา วิญญาณทั้ง๖ สัญญาหมายรู้ ตลอดจนสังขารขันธ์ทั้งหลายทั้งปวงอันย่อมครอบคลุมถึงกายสังขาร อันล้วนย่อมเป็น ผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ ดังแสดงในกระบวนธรรมข้างต้น จึงย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ กล่าวคือ ดับไปเพราะขาดเหตุปัจจัยตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง ดังนั้นเมื่อสังขารขันธ์ฝ่ายวจีสังขารที่ต้องอาศัยการตรึก การตรอง(ตรึก=วิตก,การคิด ตรอง=วิจาร,การคิดพิจารณา)ดับจากการถูกสติกุมไว้ และกายสังขารดับสิ้นลงไปเนื่องจากขาดเหตุปัจจัย จึงเป็นปัจจัยให้จิตตสังขารที่อยู่ในรูปเจตสิกของสติในระยะแรกที่ใช้งานอยู่ เมื่อไม่มีหน้าที่การงานสืบต่อไป ก็ค่อยทะยอยลดระดับจนดับตามไปด้วย จึงเป็นวงจรที่เป็นเหตุปัจจัยเนื่องสัมพันธ์กันดุจเดียวดั่งวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารนั่นแล การปฏิบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีความแตกต่างจากรูปฌาณ ๔ และอรูปฌาน ๔ อย่างสิ้นเชิง ในฌานทั้ง ๘ นั้น แม้การปฏิบัติเป็นไปในลักษณะของการใช้ สติ อันคือจิตตสังขารหรือเจตสิกแม้เช่นเดียวกับนิโรธสมาบัติ แต่ในฌานทั้ง ๘ ใช้ไปในลักษณะของการวิตกวิจารในอารมณ์ต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในเรื่อง"ฌานสมาธิ" แม้แต่ใน อรูปฌาน เองก็เช่นกัน กล่าวคือ ยังต้องวิตก วิจารในสิ่งที่เป็น อรูป ที่นำมาเป็นอารมณ์นั้นๆอยู่ ดังเช่น อากาสานัญจายตนฌาน ที่ถึงอย่างไรเสียต้องวิตก วิจารในอรูป คือ วิตกโดยการตรึกคือคิดนึกในอากาศหรือช่องว่างหรือความเป็นที่ว่างเปล่าว่าหาที่สุดมิได้หรือไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ แล้ววิจารโดยการตรองคือคิดพิจารณาเคล้าหรือฟั้นคิดนั้นจนกลมกลืนลื่นไหลไปกับจิตหรือสติ จึงล้วนต้องใช้สัญญา กล่าวคือ วิตกหรือคิดกำหนดในอากาศ พร้อมกับการวิจารหรือเคล้าจิตหรือคิดพิจารณาเคล้าไปในอากาศที่กำหนดนั้นให้แนบแน่น ส่วนในนิโรธสมาบัติ ใช้สติกุมจิตหรือคิด(ที่ย่อมต้องใช้สัญญา)ไว้ จึงไม่มีการวิตก วิจารซึ่งก็คือวจีสังขารทางใจอย่างหนึ่ง กล่าวคือขาดเสียซึ่งสัญญาแต่ต้นกระบวนธรรมดังข้างต้น จิตย่อมขาดเหตุปัจจัยให้ดำเนินไปในกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดำเนินสืบต่อไป สังขารขันธ์ทั้งหลายอันเป็น ผล ของกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ จึงอยู่ในสภาวะสงบระงับหรือดับไปด้วย ตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมหรืออิทัปปัจจยตา ดังนั้นกายสังขารย่อมระงับเป็นลำดับต่อไปเนื่องจากเป็นสังขารขันธ์ที่ไม่ได้ใช้งานจึงดับไป ส่วนจิตตสังขารหรือมโนสังขารนั้นยังใช้งานอยู่ กล่าวคือ จิตตสังขารหรือสติยังคงใช้งานอยู่ด้วยสัญญานั่นเอง เมื่อวจีสังขารและกายสังขารสงบระงับหรือดับไปดีแล้ว จิตตสังขารหรือสติจึงระงับหรือดับตามไปเป็นลำดับสุดท้าย ฝ่ายสังขารกายหรือร่างกายนั้น เมื่อสังขารขันธ์ทั้งปวงสงบระงับแล้ว จึงไม่มีหน้าที่หรือ activitiesใดๆในการงานทางโลกอีก จึงเข้าสู่สภาวะของการสงบระงับตามฝ่ายจิตไปด้วย กล่าวคือ เหมือนจำศีล ปฏิกริยาหรือเหล่าactivities ทั้งหลายเมื่อไม่มีเครื่องกระตุ้นเร้าจึงทำงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดราวกับผู้ถึงกาละแล้ว แต่ยังมีไออุ่น และยังไม่ถึงกาละหรือตาย ส่วนอินทรีย์ร่างกายสดใสเพราะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดเพราะเป็นไปตามธรรมชาติเดิมแท้ จึงเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่เครื่องพักผ่อนอันประเสริฐเป็นครั้งคราวของเหล่าพระอริยเจ้า ดังนั้น สติ ที่กุมจิต ในการปฏิบัตินิโรธสมาบัติจึงเป็นไปในลักษณะกุมจิตหรือป้องกันเป็นสำคัญ ไม่วิตกวิจารคือไม่ไปคิด(ซึ่งย่อมใช้สัญญา)ไม่ไปกำหนดและไม่ไปวิจารเคล้าจิตในอารมณ์ใดทั้งสิ้น อยู่กับสติในเบื้องต้นเป็นสำคัญ นอกจากเมื่อผุดคิดผุดนึกขึ้นจึงปราบปรามเสียเป็นครั้งคราว กล่าวคือ จึงไม่ใช่ในลักษณะของการปราบปราม ที่หมายถึงเมื่อคิดขึ้นมาแล้วสติรู้เท่าทัน จึงหยุดคิด หยุดปรุงแต่งนั้นเสียดังการวิปัสสนา แต่สติเป็นไปในลักษณะนายทวารผู้เฝ้าระวังทำหน้าที่อย่างตั้งมั่นเพื่อป้องกันเป็นสำคัญ ดังกล่าวไว้ในเรื่องดับอวิชชา คือ กุมไว้ด้วยสติไม่ให้ผุดลอย หรือผุดคิดขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนในดับอวิชชานั้นป้องกันแต่สัญญาฝ่ายอาสวะกิเลสเท่านั้น และเมื่อผุดลอยขึ้นมาก็ไม่ปรุงแต่งและอุเบกขาเสีย ส่วนสัญญาคือความจำได้หมายรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงของขันธ์ ๕ เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผู้ที่ปฏิบัติได้ใน นิโรธสมาบัติ จึงเกิดแก่ผู้ที่มีความเข้าใจในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้ง พร้อมความเชื่อมั่นจากปัญญาที่ไปเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ พร้อมทั้งมีสติสมาธิ(สมถะ)ที่ฝึกหัดดีแล้วจากการปฏิบัติ พร้อมทั้งกิเลสที่เบาบางลงไปพอควร เพราะกิเลสที่หนาแน่นนั้น เมื่อปฏิบัติก็มักเกิดอาการผุดคิด ผุดลอยขึ้นมา อย่างควบคุมไม่ได้ หรือมัวแต่คิดหาทางหยุดคิด จึงวนเวียนอยู่ในคิดที่ย่อมต้องใช้สัญญาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว จึงย่อมไม่สามารถเข้า"สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ"ได้เลยเป็นธรรมดา ดังที่กล่าวข้างต้นที่เมื่อมีการคิดหรือนึกผุดเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเกิดการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดา จึงปฏิบัติได้ยากยิ่งและมีแต่ในทางพุทธศาสนา จึงเกิดขึ้นได้แก่อริยบุคคลที่เจริญทั้งในสมถกรรมฐานจนได้สมาบัติ และเจริญในวิปัสสนากรรมฐานด้วยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องชำนาญในสมาบัติ ๘ เป็นสำคัญอีกด้วย แต่ถึงแม้เป็นสมาบัติที่ประณีตลึกซึ้งที่สุดก็ตามที ก็ยังเป็นสมาบัติอยู่นั่นเอง นักปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายคือพุทธธรรม เพราะการมุ่งเน้นเพื่อสมาบัติหรือเจโตวิมุตตินั้นใช้เวลานาน และขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ ไม่ใช่เกิดเหมือนกันทุกคน และถ้าปฏิบัติสมาบัติที่อาจหรือมักเบี่ยงเบนไปเพื่อจุดประสงค์อื่นๆที่ไม่ใช่พุทธธรรม แล้ว เช่นโลกียอภิญญา ก็จะทำให้หลงทางกลับกลายเป็นโทษ และการหลุดพ้นทั้งปวงอันไม่กลับกลายนั้น เป็นการหลุดพ้นด้วยปัญญาวิมุตติเป็นองค์สำคัญเพียงองค์เดียว จึงมีการหลุดพ้นแบบไม่จำเป็นต้องผ่านสมาบัติ จึงมีพระอรหันตผล ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก เป็นผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน(เครื่องนำไป) หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติต่อ และยังแยกแยะโดยละเอียดเป็น ๕ ด้วยกัน แต่ล้วนต้องเกิดปัญญาวิมุตติเป็นองค์สำคัญเป็นที่สุดทั้งสิ้น จึงบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในพุทธธรรม กล่าวคือต่างล้วนดับทุกข์อุปาทานโดยสิ้นเชิงด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จึงเป็นบรมสุขอย่างยิ่งเหมือนกันทุกพระองค์ ๑. พระปัญญาวิมุต พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา ๒. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล กล่าวคือ หลุดพ้นทั้งสองส่วน กล่าวคือ เป็นสองวาระ คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ เป็นวิกขัมภนะหนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉท อีกหนหนึ่ง ๓. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓ มี ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น ๔. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖, อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒. ทิพพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ใน ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ส่วนข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ ต้องอ่าน สมาธิหรือสมาบัติขั้นใด จึงจำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประกอบการพิจารณา กันหลงทาง กามภูสูตรที่ ๒ พุทธพจน์ และ พระสูตร พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘ คลิกขวาเมนู [๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร(การกระทำทางกาย อย่างหนึ่ง) บุคคลย่อมตรึกตรอง(คิดพิจารณา)ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตก วิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่า จิตตสังขาร ฯ [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิดมีได้อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูก ก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิต(ก่อน)ที่จะน้อม(เข้า)ไป เพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร ดับก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย(อินทรีย์ทั้ง ๖ แตกกระจาย ไม่ทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกันอีกต่อไป) ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมี อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิต(ก่อน)ที่น้อมเข้าไป เพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา เวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ (หมายความเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง) กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ สมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า อาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ (แม้เป็นสมถะ แต่ต้องประกอบด้วยวิปัสสนามีความเข้าใจในธรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น)

จิตสัมผัสพระนิพพานเมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้วจิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่งที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวงที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวงเมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้นจิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตกระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวันจิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้นและเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่งความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนาเพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตาครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมดแต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลยการจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้วก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้างจิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่นเพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขตมีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีกความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ

จิตใจมันก็ทำงานของมันไปในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลางไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไ...เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี

วิธีออกจากสังสารวัฎวิธีทำลายกิเลสอวิชชาทำลายตัณหาอุปาทานเมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงเมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์ แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์ ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์ ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้ แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์ เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์ ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้ ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่ ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่ แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้ ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี

หลุดพ้นด้วยอาการอย่างนี้เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

หลุดพ้นด้วยอาการอย่างนี้1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกัน คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

อินเวอร์เตอร์เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ...

แค่นี้ก็ปางตายแล้วเราเราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ท­ันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลง­ที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของ­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารม­ณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่­ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็­นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ

การหาจุดเสียในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบ­คุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอน­ิกส์ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com ,mrsompongt@hotmail.comhttps://www.youtube.com/watch?v=OY1u0...มอเตอร์ไฟฟ้ายุคพัฒนาแล้วเครื่องจักรกลไฟฟ­้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong...

รถด่วนขบวนสุดท้าย๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-*นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ จบสูตรที่ ๙

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

จจงทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึกเห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำลายได้ พร้อมกันนั้นก็สะสมรี้พลอาวุธและอาหารให้พร้อมเพรียง(คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง) งพากันทำตัวให้เหมือนกับนักรบเมืองโบราณสมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน...

กายนี้คือทุกข์จิตนี้คือทุกข์ถ้าเห็นอย่างมีวิชา ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง เห็นยากนะ ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่แก่กล้าพอ มันไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ โดยเฉพาะจิตเนี่ย จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สงบ สะอาด สว่าง แหมฟังแล้วดีทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ง่ายนะ ปฎิบัติกันปางตายเลยล่ะ เหมือนเอาชีวิตเข้าแลกเลยนะ ถึงจะเห็น เพราะฉะนั้นทะเลตัวนี้ ทะเลอวิชา เป็นทะเลที่เรียบๆนะ แต่ยากสุดๆเลย ยากมากเลย จับต้นจับปลายไม่ถูก นะ มีแต่เรียนรู้นะ มาตามลำดับๆ รู้กาย รู้ใจมาตามลำดับพอรู้กายถูกต้องแจ่มแจ้งได้พระอนาคาฯ จิตใจก็จะสบายขึ้นเยอะเลย จะไม่แส่ส่ายไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเหลือแต่ความสงบสุขอยู่ภายใน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบสุขภายในจิตในใจของเราเอง นี่เองต่อมาสติปัญญาแก่รอบลงมาอีก เห็นเลย ตัวจิตตัวใจที่ว่าสุขว่าสงบเนี่ย เอาเข้าจริงก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ตัวนี้ไม่รู้ว่าจะพูดภาษามนุษย์ยังไงนะ ฟังเอาไว้ก็แล้วกัน มันเห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ มันจะทิ้งแล้ว จะวาง แต่ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง มันไม่วางหรอก มันทุกข์ล้วนๆ โอ้ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ตัณหาจะดับทันทีเลย เมื่อมันเป็นทุกข์ล้วนๆแล้วจะอยากให้มันสุขได้อย่างไร นะ ของเรามีตัณหาขึ้นมาเพราะอยากให้ขันธ์ ๕ มีความสุข รู้สึกมั้ย อยากให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์แต่วันหนึ่งเรียนจนกระทั่งรู้ชัดเลย ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์ล้วนๆน่ะ ไม่มีทางอยากให้มันมีความสุข ไม่มีทางอยากให้มันพ้นทุกข์อีกต่อไปแล้ว มันไม่สมหวัง มันทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ใจเข้าถึงตรงนี้ ใจยอมรับตรงนี้จริงๆแล้วจะสลัดคืนเลย จะหมดตัณหาแล้วก็สลัดคืนความยึดถือกายความยึดถือใจให้โลก คืนเจ้าของเดิมนั้นเอง จิตใจก็จะเข้าถึงความสงบ สันติ ที่แท้จริง คือ นิโรธ หรือ นิพพาน บางทีก็มีหลายชื่อนะ อุปสมะ ก็ได้

ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทันอย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อ­จะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบา­น เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น

ทางพ้นทุกข์ ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

แล้วจะกลับมาเกิดอีกทำไมตามหลวงพ่อไปดีกว่าเรานาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ ให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

โทษของสุราของมึนเมาสิ่งเสพติดนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ ให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

โทษของสุราของมึนเมาสิ่งเสพติดนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ ให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

กาลเวลากลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวมันเองแนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ๑ . โอกาสทองของชีวิต พวกเรามีบุญวาสนา ได้เกิดในแผ่นดินซึ่งศาสนาพุทธยังดำรงอยู่ หลักธรรมแท้ๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนยังได้รับการถ่ายทอดอยู่ เราได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ได้พบสัตบุรุษ แล้วมีศรัทธาสนใจที่จะศึกษา ยากมากนะที่จะมีสภาวะอย่างนี้ ธรรมะของพระพุทธเจ้ากระจ่าง แจ่มแจ้ง พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และต้องเห็นผลเร็วด้วย ใครๆ ไปเรียนธรรมะจากพระพุทธเจ้าแล้วถึงอุทานบอก “ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย ” ง่าย คว่ำๆ อยู่ จับหงาย มันยากเหรอ ธรรมะของพระพุทธเจ้า งดงามในเบื้องต้น คือชี้ทางให้เราเดินไปได้ งดงามในท่ามกลาง คือมีเหตุผลสมบูรณ์ อย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา งดงามในที่สุด คือ เราละกิเลสได้จริงๆ ความทุกข์ตกหายไปได้จริงๆ เป็นลำดับๆไป ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด เราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้น สิ่งที่เรารักที่สุดคือตัวเอง คือกายกับใจ ทำไมรัก เพราะเรารู้สึกว่านำความสุขมาให้ อย่างเช่นเรารักตา เรากลัวตาบอด เพราะว่า ตาทำให้เราเห็นของสวยๆ ถ้าตาเห็นแต่ของน่าเกลียดน่ากลัว เราคงไม่อยากมีตา หูก็ทำให้ได้ยินเสียงดีๆ ถ้าได้ยินแต่เสียงไม่อยากฟัง เราก็คงไม่อยากมีหู อายตนะทั้งหลาย ตาหูจมูกลิ้นกายใจมันทำให้เราเชื่อมต่อเข้ากับโลกภายนอกได้ ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นของดี นำความสุขมาให้ แต่ตอนนำความทุกข์มาให้ เราก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ไป อย่างน้อยมันก็ยังมีความสุขกระเส็นกระสายให้หวังเล่นๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ หวังอะไร หวังจะสุขถาวร หวังจะดีถาวร หวังจะสงบถาวร แต่ความจริงคือ ทุกอย่างชั่วคราว นี่เราหวังลมๆ แล้งๆ หวังสิ่งซึ่งไม่มีจริง หวังอย่างนั้นก็นำความทุกข์มาให้ หวังแล้วก็ไม่มีทางสมหวัง แต่ถ้าเรารู้ลงในกายในใจ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ กายนี้ใจนี้เป็นแต่ตัวทุกข์ พอเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้งนะ มันจะวาง ไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจ เมื่อไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจ จะยึดอะไรอีก ไม่มีแล้ว เพราะสิ่งที่ยึดมากที่สุดคือกายกับใจ ระหว่างกายกับใจก็ยึดใจมากกว่ากาย วัตถุประสงค์ของเราชาวพุทธก็คือ ต้องพ้นทุกข์ พ้นทุกข์ก็คือนิพพานนั่นเอง คือพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจ เพราะกายกับใจคือตัวทุกข์ เรามีเป้าหมายอยู่ ๔ เป้าหมาย เป้าหมายที่ ๑ เป็นพระโสดาบัน คือผู้ที่ละความเห็นผิดว่ามีตัวเรา เห็นความจริงแล้วว่าตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิ และปัญญาเล็กน้อย เป้าหมายที่ ๒ เป็นพระสกิทาคามี มีสติที่รวดเร็วในการรู้สึกตัว จนกิเลสตัณหาอ่อนกำลังลงไป มีสมาธิปานกลาง มีปัญญาเล็กน้อย เป้าหมายที่ ๓ เป็นพระอนาคามี สามารถปล่อยวางความยึดถือกายได้ จึงพ้นจากกามและปฏิฆะ มีสมาธิสมบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง เป้าหมายที่ ๔ เป็นพระอรหันต์ มีศีล สมาธิ และปัญญาสมบูรณ์ สามารถปล่อยวางความยึดถือใจได้ ก็จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ศาสนาพุทธ คือตัวสัมมาทิฏฐิ คือความรู้ถูกความเข้าใจถูกในสภาวธรรม (รูปธรรมและนามธรรม) จนกระทั่งปล่อยวางความยึดถือสภาวธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งก็คือ ความรู้แจ้งอริยสัจ อริยสัจมีทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็เป็นอันละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้นมา เมื่อใจเข้าถึงความจริง ยอมรับความจริงแล้ว มันจะไม่ทุกข์ อริยสัจเป็นธรรมะที่สำคัญมากเลย ลึกซึ้งที่สุด ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด วนเวียนอยู่ในความทุกข์ไปเรื่อยๆ พ้นไม่ได้หรอก อริยสัจเป็นความจริงของบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเหล่านี้เห็นความจริงของโลก ของชีวิต ของจักรวาล หน้าที่ของชาวพุทธคือหน้าที่เรียน ฉะนั้นชาวพุทธเป็นนักเรียนนะ เราต้องเรียนธรรมะ เพื่อวันหนึ่งเราจะได้รู้แจ้งธรรมะของพระอริยเจ้า เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของพระอริยเจ้า อริยสัจตัวที่หนึ่งชื่อว่าทุกข์ ทุกข์ในอริยสัจแปลว่ากายกับใจ รูปกับนาม เรารู้สึกไหมว่ากายเป็นทุกข์ใจเป็นทุกข์ เราไม่รู้สึกหรอก เรารู้สึกว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ตราบใดที่ยังเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง มันจะไม่ยอมปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจหรอก เพราะมันยังมีทางเลือกที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข ยังรักอยู่ ยังหวงแหนอยู่ ยังหาทางดิ้นรนให้กายให้ใจมีความสุขอยู่ เมื่อไม่รู้แจ้งในธรรมะของพระอริยเจ้า ไม่แจ้งอริยสัจ ไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นตัวทุกข์ จะไม่สามารถปล่อยวางความยึดถือกายความยึดถือใจได้ ยังรักมัน ยังหวงแหนมัน เมื่อรักมันหวงแหนมันนะ สมุทัยก็จะเกิดขึ้น สมุทัยคือตัณหา หมายถึงความอยาก อยากอะไร อยากให้กายมีความสุข อยากให้กายพ้นทุกข์ อยากให้จิตใจมีความสุข อยากให้จิตใจพ้นทุกข์ นี่ความอยากนี้แหละคือตัวตัณหา ถ้าตัณหาเกิดขึ้นแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นอีก มันจะเกิดทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา เบื้องต้นนะ กายกับใจเป็นตัวทุกข์ อันนี้เราไม่เห็นหรอก แต่ว่าเบื้องปลายนี่ ทันทีที่เกิดความอยาก อยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา เมื่อเกิดความอยากขึ้นเมื่อไร จิตจะดิ้นรนเมื่อนั้น เมื่อจิตดิ้นรนเมื่อไร จิตจะมีความทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา กายกับใจเป็นตัวทุกข์อยู่แล้วนะ พอเกิดตัณหา เกิดอุปาทานคือความยึดถือ ก็เกิดภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต ความทุกข์ก็จะเกิดซ้ำซ้อนขึ้นที่จิตอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่รู้ทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัย จิตใจก็ดิ้นรนปรุงแต่ง นิโรธก็ไม่ปรากฏ นิโรธคือนิพพาน นิพพานคือสภาวะซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง สภาวะซึ่งพ้นจากตัณหา สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง มีชื่อเป็นภาษาแขกว่า วิสังขาร สภาวะที่พ้นจากตัณหามีชื่อว่าวิราคะ อันนี้เป็นชื่อของนิพพานทั้งสิ้นเลยนะ เมื่อจิตยังดิ้นรนค้นคว้า จิตยังมีความอยากมีความยึดถืออยู่ นิพพานไม่ปรากฏ ความพ้นทุกข์ไม่มี เพราะยังวนเวียนยึดถือขันธ์อยู่ ต่อเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยถูกละอัตโนมัติ นิโรธแจ้งอัตโนมัติ อริยมรรคก็เกิดอัตโนมัติเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงบอกว่าให้เรารู้แจ้งอริยสัจเท่านั้น แต่ท่านบอกวิธีที่จะทำให้เรารู้แจ้งอริยสัจด้วย คือให้รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ สมุทัยดับเอง นิโรธปรากฏเอง อริยมรรคเกิดขึ้นเอง หากรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ก็เป็นอันทำกิจของอริยสัจทั้ง ๔ เสร็จสิ้นในขณะเดียวกัน วิธีรู้ทุกข์ที่ท่านสอนก็คือ การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือการเห็นอย่างวิเศษ คือเห็นความจริงของกายของใจว่าเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ๒ . พระพุทธเจ้าสอนอะไร บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราศึกษานั้นมี ๓ บท คือ บทเรียนที่ ๑ ชื่อว่า สีลสิกขา คือเรียนเรื่องศีล หมายถึงว่าทำอย่างไรจิตของเราจะเป็นธรรมดาๆ จิตใจของเราจะไม่ถูกกิเลสชั่วหยาบครอบงำจนกระทั่งทำความผิด ล้นออกมาทางกายทางวาจา ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น ถ้าเรามีสติเรื่อยๆ นะ ตามองเห็นรูป จิตเรายินดียินร้ายขึ้นมา เรารู้ทัน ความยินดียินร้ายก็คืออภิชฌาโทมนัส หรือราคะนั่นเองก็ครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ทำผิดศีล อย่างเห็นสาวสวยนะ ชอบเขารักเขา มีสติรู้ทันจิตของตัวเอง ว่านี่มีราคะเกิดขึ้น ราคะจะดับไป ก็ไม่ไปหลอกไปลวงอะไรเขาแล้ว ไม่ทำผิดศีล โกรธเขาขึ้นมา อยากฆ่าเขา มีสติรู้ทันลงไปที่ใจของตัวเองที่กำลังโกรธอยู่ พอมีสติรู้ทันนะ ความโกรธก็ครอบงำจิตใจไม่ได้ มันก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใคร ถ้าเรามีสติอยู่ ศีลจะเกิดขึ้น จิตใจเราจะเป็นปกติธรรมดา แต่ถ้ายังไม่มีศีลที่เกิดจากการสำรวมอินทรีย์ ที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล อย่างนี้ก็มีศีลธรรมดาไปก่อน ให้ตั้งใจรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ตามโอกาสนะ ฉะนั้น ศีลถือเป็นปัจจัยของสมาธิ เป็นพื้นฐานทำให้ทำสมาธิได้ง่าย บทเรียนที่ ๒ ชื่อว่า จิตตสิกขา ชื่อมันก็บอกแล้วว่าเรียนเรื่องจิต เราจะเรียนให้รู้ความจริงว่าจิตชนิดไหนเป็นกุศล จิตชนิดไหนเป็นอกุศล จิตที่เป็นกุศลก็มีหลายแบบ เป็นกุศลทั่วๆ ไป ที่อยู่กับโลก หรือเป็นจิตที่เป็นกุศลที่ใช้ทำสมถะ หรือเป็นจิตที่เป็นกุศลที่จะใช้ทำวิปัสสนา เราต้องเรียนไปจนกระทั่งเรารู้ความจริง จิตที่เป็นมหากุศล จิตที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆ มันจะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต คือประกอบด้วยปัญญา อสังขาริกังคือเกิดขึ้นเอง ต้องเป็นจิตที่เกิดเองถึงจะมีกำลังกล้า ฉะนั้นเราต้องรู้ไปนะ ต้องเรียนว่าทำอย่างไรเราจะเกิดจิตซึ่งมีกำลังกุศลแก่กล้า ทำอย่างไรสติจะเกิดได้เอง เราต้องรู้ว่าสติเกิดจากอะไร สติเกิดจากถิรสัญญา แปลว่าการที่จิตจำสภาวธรรมได้แม่นยำ ในพระอภิธรรมจะบอกว่า การที่จิตจำสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) ได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ หลวงพ่อจะสอนให้หัดดูสภาวะ เช่น ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก คู้รู้สึก เหยียดรู้สึก พองรู้สึก ยุบรู้สึก เป็นสุขเป็นทุกข์ รู้สึก โลภโกรธหลงขึ้นมา ไม่โลภไม่โกรธไม่หลงขึ้นมา คอยรู้สึก รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ รู้สึกไปเรื่อยๆ ทีแรกยังไม่มีสติหรอก คอยตามรู้สึกไปเรื่อยๆ ตามรู้ไปเรื่อย ร่างกายเคลื่อนไหวนะ เผลอเคลื่อนไหวไปก่อนแล้วรู้สึกตัว อ้าวเมื่อกี้เผลอไปเคลื่อนไหว ; โลภไปก่อน แล้วรู้สึกตัว อ้าวเมื่อกี้เผลอไปโลภ ;ใจลอยไปคิดก่อน แล้วรู้สึกตัว รู้ว่าเอ้อเมื่อกี้หลงไปคิดแล้ว การที่จิตมันเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในที่สุดมันจะจำสภาวะได้ พอมันจำสภาวะได้นะ ต่อไปสติจะเกิดเองโดยไม่ต้องจูงใจให้เกิด สติ คือความระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ การที่จิตมันเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในที่สุดมันจะจำสภาวะได้ พอมันจำสภาวะได้นะ ต่อไปสติจะเกิดเองโดยไม่ต้องจูงใจให้เกิด สติ คือความระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ สติที่เกิดจากการจงใจทำให้เกิด สติอย่างนี้ใช้ไม่ได้จริงในการทำวิปัสสนา แต่ใช้ทำสมถะได้ เช่น เราจะรู้ลมหายใจ เราก็กำหนดจิตเอาไว้กับลมหายใจ ไม่ให้ลืมลมหายใจเลย เราจะดูท้องพองยุบ เรากำหนดจิตจ่อลงไปที่ท้อง ไม่ให้ลืมท้องเลย เราจะเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า เราเอาสติจ่อลงไปที่เท้า ไม่ขาดสติเลย เท้ากระดิกกิ๊กๆๆๆ รู้หมด จะหยิบขวดน้ำนี่ กิ๊กๆๆๆ เห็นเหมือนรูปการ์ตูนนะ เห็นรูปมันดับ วับๆๆๆ ไป ใจมันจ่ออยู่ที่รูปนี่ สติอย่างนี้ จะรู้สึกว่าเกิดได้ทั้งวัน พวกเราลืมไปอย่างหนึ่งว่า สติหรือกุศลที่เกิดซ้ำๆๆๆ ได้นานๆ จะเกิดในฌานจิต คือเกิดกับจิตที่เพ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่สติที่จะใช้ทำวิปัสสนาอะไรหรอก สติที่เกิดจากการกำหนดไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าเรากำหนดใส่ตัวอารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) เมื่อไหร่จะเป็นสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ถ้าเมื่อไรเรามีสติเพ่งใส่ตัวอารมณ์ เมื่อนั้นเป็นสมถกัมมัฏฐาน จำเอาไว้นะ กระทั่งการเพ่งรูปเพ่งนามก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามถึงจะเป็นวิปัสสนา การจะเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามได้ จิตจะต้องตั้งมั่น ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเท่านั้นเอง วิธีทำให้เกิดสัมมาสมาธิทำได้หลายอย่าง วิธีที่หนึ่ง ทำฌานจนถึงฌานที่สอง พอถึงฌานที่สอง จิตมันจะตั้งมั่นออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูในทางตำราจะเรียกว่ามีเอโกทิภาวะ คือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง คือภาวะของจิตผู้รู้นั่นเอง จิตจะตั้งตัวรู้ขึ้นมา พอเราออกจากฌานแล้วนะ ตัวรู้นี้ยังทรงอยู่ มันจะเห็นทันทีเลยว่า ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันที เห็นไหม เกิดปัญญาทันที เห็นไตรลักษณ์ทันทีเลย ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่มันไม่ใช่เราหรอก มันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู มีใครรู้สึกว่าพัดนี้เป็นตัวเราไหม (หลวงพ่อชูพัดให้ดู) ไม่มี เพราะอะไร เพราะมันเป็นของถูกรู้ถูกดู มันอยู่ห่างๆ นึกออกไหม ส่วนร่างกายเรานี่ ถ้าจิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะรู้สึกทันทีว่าร่างกายอยู่ห่างๆ จิตมันแยกออกมา เรียกว่าแยกรูปกับนามออกจากกัน การแยกรูปกับนามออกจากกันนี่มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ทันทีที่แยกออกไป ใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นอยู่ทันทีเลยว่า ร่างกายหายใจ จิตเป็นคนรู้ ร่างกายพองยุบ จิตเป็นคนรู้ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน จิตเป็นคนรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตเป็นคนรู้ มันแยกออกมาต่างหาก มันจะเกิดปัญญาทันทีเลย เห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายนี้เป็นแค่วัตถุ เป็นแค่ก้อนธาตุเท่านั้น นี่คือการเจริญปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา คือบทเรียนที่ ๓ ส่วนจิตก็สักว่ารู้ สักว่าเห็น จะเห็นเลยว่ากิเลสมันผ่านมาผ่านไป เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้านไปเท่านั้นเอง ไม่เกี่ยวกับเรา อย่างนี้มันผ่านมาแวบแล้วหายไปเลย ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา วิธีที่สอง สำหรับคนที่ทำฌานไม่ได้ ไม่เป็นไร หัดรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยววันหนึ่งมันจะเกิดสมาธิขึ้นมา สมาธิชนิดนี้ ชื่อขณิกสมาธิ ขณิกสมาธิคือสมาธิชั่วขณะ ฟังดูแล้วกิ๊กก๊อกนะ กระจอกงอกง่อย แหมใครๆ ก็อยากได้อัปปนาสมาธิ แต่ส่วนมากไม่ถึงอัปปนาสมาธิหรอก ฉะนั้นถ้าเราทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ให้เรามีสติดูจิตดูใจของเราไปเรื่อย จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา มันจะค่อยๆ แยกตัวออกมาจากอารมณ์ เช่น จิตมันใจลอย จิตมันไปคิด พอเรารู้ทันนะ จิตมันก็ตื่นขึ้นมาแวบหนึ่ง เราจะเห็นเลยว่าความคิดนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่จิต จิตมันโลภขึ้นมา พอเรามีสติรู้ว่าจิตโลภ เราจะเห็นเลยว่าความโลภเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่จิต แยกออกจากกันนะ เราโกรธขึ้นมา พอเรามีสติรู้ทันปั๊บ เราจะเห็นเลยว่าความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ใช่จิต นี่มันแยกออกมา จิตซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์มันจะตั้งขึ้นมา แต่มันอยู่ชั่วขณะนะ เดี๋ยวมันก็ไหลไปอีก ไม่เหมือนคนที่ทรงฌาน จะอยู่นาน นี่เรามีสมาธิชนิดนี้แหละพอแล้ว แต่ถ้าใครมีบุญวาสนา ทำอัปปนาสมาธิได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าฝืน มันจะกลายเป็นอัปลักษณ์สมาธิ พระพุทธเจ้าสอนว่า “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนที่ไม่ได้ สดับ (หมายถึงคนที่ไม่ได้ฟังธรรมของท่านหรือของพระอริยเจ้า) สามารถเห็นว่ากายไม่ใช่ตัวเรา แต่ไม่สามารถเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ” มีแต่คำสอนในอริยวินัย ในธรรมะของท่านนี้เท่านั้นที่ทำให้เห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเราได้ เพราะการที่จะเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานี่ยาก เนื่องจากเรายึดถือมานาน เราสำคัญมั่นหมายมานานว่าจิตเป็นตัวเรา พวกเราลองวัดใจตัวเองอย่างซื่อสัตย์นะ ลองวัดใจตัวเองดู เรารู้สึกไหมว่าร่างกายนี้มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ร่างกายของเราเดี๋ยวนี้กับร่างกายของเราตอนเด็กๆ นี่คนละคนกัน รู้สึกไหม มันไม่เหมือนเดิมนะ ร่างกายของเราเดี๋ยวนี้กับตอนวัยรุ่นก็ไม่เหมือนกันใช่ไหม ถ้าอายุขนาดหลวงพ่อ ร่างกายสมัยกลางๆ คนกับตอนนี้ไม่เหมือนกันแล้ว นี่เรารู้ได้ ร่างกายมันไม่เหมือนเดิม แต่เรารู้สึกไหมว่าในร่างกายที่แปรปรวนนี้ มีความรู้สึกว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้กับเราตอนเด็กๆ ยังเป็นเราคนเดิม นี่เราจะสำคัญมั่นหมายว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง นั่นคือเราสำคัญว่าจิตคือตัวเรา อันนี้แหละจิตเป็นเราอยู่ ยากมากที่จะเห็นว่าจิตนี้ไม่ใช่เรา ถ้าเมื่อใดเห็นและยอมรับด้วยปัญญาว่าจิตไม่ใช่เรา วันนั้นจะได้พระโสดาบัน จำเอาไว้นะ วิธีที่จะให้เห็นว่าจิตไม่ใช่เรานะ รู้สึกตัวเรื่อยๆ ก่อน เห็นกายไม่ใช่เรา เห็นเวทนา (ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ) ไม่ใช่เรา เห็นจิตตสังขารคือกุศลและอกุศลทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมดเลย ต่อมาสังเกตจิตใจ ไม่ต้องรีบสังเกตนะ ฟังหลวงพ่อพูด แล้ววันหนึ่งจิตมันจะไปสังเกตเอง อย่าไปจงใจสังเกต ถ้าจงใจดูจะไม่เจอ ค่อยๆ รู้สึกไป เดี๋ยวจิตก็เป็นผู้ถูกรู้ใช่ไหม เดี๋ยวจิตก็เป็นผู้คิดรู้สึกไหม ต้องหัดรู้ตัวจนชำนาญนะ จะรู้จักว่า อ้อ นี่จิตมันรู้ขึ้นมาแล้ว เดี๋ยวจิตมันก็หลงไปคิด เดี๋ยวจิตมันก็รู้ เดี๋ยวจิตมันก็หลงไปคิด นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปเราจะเห็นว่าจิตนี้มันไม่เที่ยง แรกๆ ก็แค่รู้สึกตัวเอาไว้ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก อันนี้จะทำให้เกิดสติอัตโนมัติ จิตมันจำสภาวะของร่างกายของจิตใจได้แล้วสติเกิดเอง เพราะฉะนั้นร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก พอสติจริงๆ เกิดขึ้นมาเองนี่ จิตมันจะตั้งมั่นอัตโนมัติ ตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะ พอจิตมันตั้งมั่นชั่วขณะจะมีความรู้สึกว่าร่างกายอยู่ห่างๆ จิตอยู่ห่างๆ จิตกับร่างกายห่างกัน จิตกับเวทนาอยู่ห่างๆ กัน จิตกับสังขาร เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ห่างๆ กัน เราอย่าไปคิดว่าจิตมีดวงเดียวเที่ยววิ่งไปวิ่งมา ที่จริงจิตเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาพลวงตาว่าจิตมีดวงเดียว เที่ยววิ่งไปวิ่งมาเหมือนภาพการ์ตูน ซึ่งแต่ละภาพไม่มีความเคลื่อนไหว แต่พอภาพเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จึงเกิดภาพลวงตาว่าตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ ความจริงจิตนั้นเกิดดับตลอดเวลา จิตไม่ได้เที่ยงนะในขณะที่พวกเราเห็นว่าจิตเที่ยง จิตของเราวันนี้กับจิตของเราตอนเด็กๆ ยังเป็นคนเดิมอยู่เลย จิตของเราวันนี้กับจิตปีหน้าก็คนเดิมอีก จิตของเราเดี๋ยวนี้กับชาติหน้าก็คนเดิมอีก ฉะนั้นบางคนเลยต้องเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เพราะว่ามันเป็นคนเดิม แต่ก็ต้องเลี้ยงนะ ไม่ใช่บอกว่าไม่ต้องทำความดี คอยฝึกไปนะ วันหนึ่งก็จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาคือความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา จิตตสังขารไม่ใช่เรา ตัวจิตแท้ๆ ที่เป็นผู้รู้นะ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เกิดดับเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงๆ หรอก ตัวเราที่เที่ยงๆ ไม่มี วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้น โสดาปัตติมรรคจะตัดความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป พอถอยออกมาจากโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แล้วกลับมาสู่โลกมนุษย์นี่ เวลาเราดูเข้ามาในจิตใจตัวเองจะไม่มีแม้แต่เงาของความรู้สึกว่ามีตัวเรา เงาก็ไม่มีนะ ถ้าขาดด้วยอริยมรรคแล้ว จะไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเราโผล่ขึ้นมาอีกเลย ผู้ใดเห็นว่ากายไม่ใช่เรา จิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ถัดจากนั้นก็มารู้กายรู้ใจต่อไปอีก พระโสดาบันกับปุถุชนก็ภาวนาอย่างเดียวกันนั่นแหละ คือรู้กายรู้ใจเรื่อยๆ ไป รู้ไปอีก รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนวันหนึ่งมันรู้แจ้งลึกซึ้งขึ้นมาอีก กิเลสตัณหาก็อ่อนกำลังลงไป เรียกว่า พระสกิทาคามี รู้ลงไปอีกภายในใจนะ สติปัญญามันจะขมวดเข้ามาเรียนรู้กายเป็นหลักเลย รู้ลงไป รู้ลงไป กายมันของหยาบ มันดูง่าย ดูไปๆ แล้วละง่าย จะเห็นเลยว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ วันใดที่เห็นว่ากายเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ก็หมดความยึดถือกาย ก็จะหมดความกลุ้มใจเพราะต้องกระทบอารมณ์ทางกาย กระทั่งกายเรายังไม่ยึดถือเลย เราจะไปยึดถืออารมณ์ที่กระทบทางกายทำไม ที่เรายึดถือร่างกายอยู่ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นช่องทางให้เรากระทบอารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน อย่างเรามีตาอยู่ใช่ไหม เราก็ได้ดูรูปสวยๆ อย่างมีหูก็ได้ฟังเสียงไพเราะๆ เสียงดีๆ อย่างมีจมูกได้กลิ่นหอมอยู่ นี่เรารักร่างกายเพราะมันเอาของดีมาให้เรา เรารู้สึกว่ามันดี แต่ถ้าวันหนึ่งเราเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลย เราก็จะไม่หลงไปในรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายนี่ จิตมันจะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มันพ้นจากความยินดียินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เรียกว่ามันพ้นจากกามและปฏิฆะ พระอนาคามีละกามและปฏิฆะได้เพราะไม่ยึดกาย หมดความยึดกายเพราะเห็นความจริงว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติที่ชำนาญในการดูจิต สามารถมีสติตามรู้จิตจนเห็นความจริงว่า เมื่อใดจิตมีความอยาก เมื่อใดจิตมีความยึดถืออารมณ์ต่างๆ เมื่อนั้นจิตจะทุกข์ เมื่อใดจิตพ้นจากความอยากและความยึดถืออารมณ์ จิตจะไม่ทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้ จิตก็ไม่ยึดถือในกายและกามคุณอารมณ์ จิตพ้นจากกามและปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีได้เช่นกัน ทีนี้พอฝึกจนถึงขั้นพระอนาคามี สมาธิจะบริบูรณ์ จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันเลย จะรู้สึกว่าตัวผู้รู้นี่แหละเป็นของดีของวิเศษเป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราอยู่กับตัวผู้รู้นี่เราไม่ทุกข์ ถ้าเราเป็นตัวผู้หลงเมื่อไรถึงจะทุกข์ ฉะนั้นจิตนี้ดีนะ จิตตัวผู้รู้นี่ดี ใจมันจะยึดตัวดีนี้ไว้ ไม่ปล่อยวางจิตต่อเมื่อวันใดมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าตัวจิตนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์ให้เราดู มันพลิกของมันเองนะ มันพลิกให้เราดูเอง อยู่ๆ จะไปนึกเอาว่าตัวจิตผู้รู้เป็นตัวทุกข์ มันนึกไม่ออกหรอก เพราะไม่เคยเห็น ต้องมีสติมีปัญญาแก่กล้าพอ มันจะพลิกตัวให้ดูว่ามันทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรทุกข์เท่านี้อีกแล้ว อย่างบางคนบอกว่าอกหักทุกข์มาก ตัวจิตผู้รู้นี่ถึงไม่อกหักมันก็ทุกข์ มันทุกข์ยิ่งกว่านั้นอีก มันทุกข์จนเรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารู้มันต่อไป เราจะตายแล้ว อกหักเฉยๆ เรารู้ว่าอกหักไม่ตายนะ อกหักแล้วกำลังกลุ้มใจอยู่ เสียอกเสียใจอยู่ ถ้าเรารู้ว่าเสียอกเสียใจอยู่หายเลย แต่ตัวผู้รู้เวลามันกลายเป็นตัวทุกข์ให้ดูนี่ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์เหมือนจะตายเลย ทุกข์เหมือนไม่ตายก็บ้า นี่ใจมันต้องเห็นทุกข์นะถึงจะยอมวาง ผู้ที่ปล่อยวางจิตได้เรียกว่าพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่านิพพานอยู่ฟากตาย ไม่ภาวนากันจนถึงขีดสุดจริงๆ ไม่ยอมปล่อยวางจิตหรอกเพราะเราหวง ๓ . วิธีเจริญวิปัสสนา ถ้าเราจะทำวิปัสสนาให้ถูกต้อง ขั้นแรก เราต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้ได้ก่อน เพราะ วิปัสสนาคือ “ การมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงลงเป็นปัจจุบัน ” ต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้เป็นขั้นที่สอง “ ต้องสามารถปล่อยให้กายให้ใจเขาทำงาน แสดงไตรลักษณ์ได้ ” การหัดให้มีสติ ก็คือหัดรู้สึกตัว ศัตรูของความรู้สึกตัว ก็คือความหลง ความเผลอนั่นแหละ เผลอไปรู้ เผลอไปฟัง เผลอไปคิด (คือขาดสติ) ศัตรูอีกอย่างหนึ่งก็คือการเพ่งร่างกาย เพ่งจิตใจ (คือบังคับกายบังคับใจ) ซึ่งทำให้กายใจถูกแทรกแซง และแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นได้ยาก ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันจิตใจของตัวเอง เราก็จะไม่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด เราจะตื่นขึ้นมา ซึ่งเป็นต้นทางที่จะทำให้เราเดินวิปัสสนาได้ พอตื่นขึ้นมาแล้วก็มีเงื่อนไขอีกอย่างเดียวเท่านั้นเอง คือมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา เราจะเห็นกายตามความเป็นจริง เห็นจิตใจตามความเป็นจริง คือเห็นไตรลักษณ์ ทำวิปัสสนาหรือเจริญปัญญาได้ ความตื่น ซึ่งทำให้เราหลุดออกจากโลกของความคิด เราหลุดออกจากโลกของความฝัน แล้วมาอยู่ในโลกของความเป็นจริงได้ นี่จึงเป็นต้นทางของการเจริญปัญญา สิ่งที่ผู้ปฏิบัติส่วนหนึ่งขาดอย่างแสนสาหัสเลยนะ คือสัมมาสมาธิ ส่วนใหญ่เราไม่มีสัมมาสมาธิ มีแต่มิจฉาสมาธิ แล้วแยกไม่ออกด้วยว่าอะไรคือสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิจะไม่มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ จำไว้นะ ในพระอภิธรรมสอนเอาไว้ว่า “ สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ” “ ปัญญา คือการเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ” สัมมาสมาธิไม่เหมือนมิจฉาสมาธิ จิตทุกๆ ดวงมีสมาธิ จำเอาไว้นะ กระทั่งจิตอกุศลก็มีสมาธินะ แต่สัมมาสมาธินี่เกิดยากที่สุด ทำอย่างไรจิตของเราจะตั้งมั่น จิตของคนส่วนใหญ่ที่ว่ามีสมาธิน่ะ เป็นจิตที่เข้าไปตั้งแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) ไม่ใช่ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ยกตัวอย่าง เอ้า พวกเราดูพระพุทธรูป ตั้งใจดูนะ ตั้งใจดู รู้สึกจดจ่ออยู่ที่พระ แล้วรู้สึกไหมว่าใจเราไหลไปอยู่ที่พระ เราดูพระรู้เรื่องใช่ไหม เรามีสติ สติเราจับอยู่ที่พระ ใจเรามีสมาธิ ใจเราไปแช่อยู่ที่พระ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสัมมาสมาธิ เวลาที่เรามีมิจฉาสมาธิ จิตมันจะเคลื่อนไป จิตมันจะไหลลงไปนิ่งๆ อยู่ที่อารมณ์อันใดอันหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลารู้ลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปรู้ท้องพองยุบ จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกรม ยกเท้าย่างเท้า จิตไหลไปอยู่ที่เท้า ขยับมือทำจังหวะเคลื่อนไหว จิตไหลไปอยู่ที่มือ นี่จิตหลงไป จิตไหลไป อย่างนี้เรียกว่ามิจฉาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา เกิดแต่สมถะนะ นิ่งๆ ไปได้อย่างนั้นแหละ หน้าที่ของเราก็คือพยายามรู้สึกตัวไป อาจจะมีเครื่องอยู่อะไรสักอันหนึ่ง ถ้าเราไม่ได้ติดเพ่งรุนแรงมาก่อนนะ รู้อะไรสักอย่างขึ้นมาเป็นตัวตั้ง (วิหารธรรม) เช่น พุทโธ หรืออานาปานสติ สมมุติว่าบางคนท่องพุทโธ เอาพุทโธเป็นตัวตั้ง พุทโธแล้วไม่ใช่บังคับจิตให้ไปอยู่ที่พุทโธ พุทโธแล้วจิตไปอยู่ที่พุทโธนี่ก็รู้ จิตหนีไปที่อื่นก็รู้ พุทโธแล้วก็รู้ทันจิต เห็นจิตหนีไปหนีมา เห็นจิตสุข จิตทุกข์ จิตดี จิตร้าย พุทโธเอาไว้เป็นตัวตั้งเพื่อจะดูจิต ทีนี้จะเกิดปัญญา จิตต้องตั้งมั่นขึ้นมา ต้องรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ เป็นคนดู ไม่เผลอไป ไม่ไหลไป ตั้งมั่นอยู่ แต่มีเงื่อนไข ต้องตั้งมั่นอย่างสบายด้วย ตั้งมั่นแบบเบาๆ แบบอ่อนโยน แบบคล่องแคล่วว่องไว แบบไม่ได้ถูกกิเลสครอบงำ ถ้าตั้งแบบแข็งๆ นี่ไม่ใช่ ตั้งแล้วหนักๆ นี่ไม่ใช่ ตั้งแล้วเครียดๆ นี่ไม่ใช่ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิมีความเบา มีความนุ่มนวลอ่อนโยน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีความซื่อตรงในการรู้อารมณ์ทั้งหลาย ความโลภเกิดขึ้นก็เห็นความโลภเกิดขึ้น เห็นเหมือนกับคนเดินผ่านหน้าบ้าน ความโกรธเกิดขึ้นนะ เห็นความโกรธผ่านมา เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน เห็นใจลอยไป ดูเหมือนเห็นคนอื่นใจลอย ใจมันแค่ตั้งมั่นเป็นคนตามรู้ตามดูเรื่อยๆ มันรู้อย่างสบายๆ รู้อย่างมีความสุข สัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ถ้าถามว่าจิตตั้งมั่น ตั้งอยู่ที่ไหน แล้วตอบว่าตั้งที่ลมหายใจ อันนั้นไม่ใช่ตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ต้องตั้งมั่นในการรู้ลมหายใจ จิตอยู่ต่างหาก ลมหายใจอยู่นี่ กายกับจิตมันแยกออกจากกัน จิตตั้งมั่น เวลาเห็นกิเลสจะเห็นกิเลสอยู่ห่างๆ จิตอยู่ต่างหาก แยกออกจากกัน เวลารู้กาย เห็นกายอยู่ห่างๆ จิตแยกออกมา กายกับจิตมีช่องว่างมาคั่น มีระยะห่างในความรู้สึก ไม่ใช่รวมเป็นเนื้อเดียวเดียวกัน อย่างคนที่ไปรู้ลมหายใจ แล้วจิตไหลไปอยู่ที่ลม นี่ไม่มีช่องว่าง จิตกับลมหายใจรวมเป็นเนื้อเดียวกัน อันนี้เป็นการเพ่งอารมณ์ เป็นสมถะ ถ้าจิตตั้งมั่น จิตมันจะแยกออกมาต่างหาก มันเห็นร่างกายหายใจ เหมือนดูคนอื่นหายใจเลย ถ้าพูดภาษาง่ายๆ ตามสภาวะที่เห็นจริงๆ ก็คือ มันเหมือนจิตอยู่ต่างหาก ร่างกายอยู่ต่างหาก กายกับจิตมันแยกกัน มีระยะห่าง มีช่องว่างมาคั่น แต่ไม่ใช่การถอดจิตออกจากร่างนะ มันเป็นการแยกออกโดยความรู้สึกเท่านั้น บางทีจิตก็ถลำวิ่งเข้าไปหากาย บางทีจิตถลำวิ่งไปที่อื่นก็ได้ จิตถลำไปแล้วก็ให้รู้ทัน แล้วจิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาใหม่ จิตที่ตั้งมั่นแล้วจะรู้สึกขึ้นมา พอรู้สึกขึ้นมา มันจะเห็นเลยว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี่ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที แล้วจะเห็นทันทีเลยว่าเวทนา (ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ) ที่ปรากฏอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาไม่ใช่เราเพราะอะไรเพราะเวทนามันแยกออกไปห่างๆ อย่างพวกเรารู้สึกไหม มีใครรู้สึกไหมว่า พัดอันนี้เป็นตัวเรา ไม่มีใช่ไหม เพราะมันอยู่ห่างๆ นึกออกไหม เมื่อจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเกิดสติปัญญา เราจะเห็นเลยว่ามือนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา มันอยู่ห่างๆ ร่างกายอยู่ตรงนี้เลยนี่ อยู่ห่างๆ หมดเลย จิตมันอยู่ต่างหาก จิตมันเป็นคนดู มันจะเห็นตลอดเวลาเลย เห็นได้ทันทีเลยว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา จิตของคนส่วนใหญ่ไม่ตั้งมั่นหรอก จิตส่วนใหญ่ไหลตามอารมณ์ไปเรื่อยๆ ถ้าไหลตามอารมณ์สะเปะสะปะไปเรื่อยๆ เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ถ้าไหลไปแล้ว ไปแช่นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เขาเรียกว่าการเพ่ง ฉะนั้น สิ่งที่ผิดที่ทำให้เราเจริญวิปัสสนาไม่ได้ก็เลยมีสองอันที่หลวงพ่อบอกว่าเผลอกับเพ่งนั่นเอง เผลอนี่คือจิตมันจับอารมณ์นี้ จับอารมณ์นั้น จับอารมณ์โน้น เปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆ สะเปะสะปะไปเรื่อยๆ ดูไม่ทันหรอก เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไป อะไรเกิดขึ้นไม่รู้เลย จับอันโน้นที จับอันนี้ที คล้ายๆ ลิงโหนต้นไม้ต้นนั้นต้นนี้นะ ถ้าไหลไปนี้ที ไหลไปโน้นที เรียกว่าฟุ้งซ่าน เรียกว่าหลงไป เรียกว่าเผลอไป อีกอันหนึ่ง จิตถลำไปไหลไป ไหลเหมือนกันนะ แต่ไหลไปอยู่กับสิ่งสิ่งเดียว เหมือนทาร์ซานไปเกาะนิ่งๆ หรือลิงไปเกาะต้นไม้นิ่งๆ ไม่กระโดดไปไหน อันนี้แหละสมถะ นี่แหละเพ่ง มันจะไม่มีปัญญาเกิดขึ้น ถ้าเมื่อไรจิตไม่หลงไป แล้วก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ นั่นแหละ ทางสายกลางอยู่ตรงนั้น ทำอย่างไรเราจะเดินเข้าสู่ทางสายกลางได้ โดยมีจิตซึ่งไม่ได้เผลอไป แล้วก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ วิธีง่ายๆ เลย ขั้นแรกนะ ถ้าเพ่งอยู่ เลิกไปก่อน คนไหนติดสมถะให้เลิกไปก่อน เลิกปฏิบัติไปชั่วครั้งชั่วคราวก่อน เสร็จแล้วก็คอยรู้ทันเวลาจิตเผลอไป จิตไหลไป เผลอไปทางตา เช่น ไหลไปดูพระพุทธรูป เผลอไปทางหู ได้ยินไหม ระฆังดัง รู้สึกไหม ไปตั้งใจฟังระฆังปุ๊บนี่ ได้ยินเสียงระฆัง ลืมกายลืมใจแล้ว เผลอไปทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ เผลอได้ทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าเมื่อไรเผลอไป ใจก็ไม่ตั้งมั่น แต่มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง ถ้ามันเผลอแล้วเรารู้ว่าเผลอนะ จิตจะตั้งมั่นพอดีเลย แต่ถ้าเพ่งแล้วรู้ว่าเพ่งนะ จิตไม่ตั้งมั่นหรอก จิตก็ยังเพ่งอยู่ เพราะอะไร เพราะจิตที่เผลอไปฟุ้งซ่านไปเป็นจิตอกุศล ทันทีที่เรารู้ทัน จิตอกุศลจะดับทันที จะเกิดจิตที่ตั้งมั่นในฉับพลันนั้น ส่วนจิตที่เพ่ง ไม่ใช่จิตอกุศลนะ จิตที่เพ่งเป็นจิตที่ทำสมถะ เป็นจิตที่เป็นกุศล เป็นความปรุงแต่งฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้นเราไปรู้อยู่ก็ไม่จำเป็นต้องดับหรอก เว้นแต่ว่าเราจะเลิกเพ่ง การทำจิตให้ตั้งมั่นมีหลายแบบ เพราะคนมีหลากหลาย เช่น บางคนทำฌานได้จนเกิดจิต “ ผู้รู้ ” ที่เรียกว่า “ เอโกทิภาวะ ” เช่น การทำอานาปานสติ หายใจไปแล้วมีสติระลึกรู้ลมหายใจ โดยเอาลมหายใจเป็นอารมณ์ ตัวลมหายใจเรียกว่าบริกรรมนิมิต ดูลมหายใจไปเล่นๆ ดูสบายๆ อย่าไปเป็น อย่าไปเค้นจิต อย่าไปบังคับจิตให้สงบ จิตไม่ชอบให้ใครบังคับนะ ถ้าเราบังคับมันจะเครียด มันจะไม่สงบหรอก ให้รู้เล่นๆ ไป ลมหายใจนี้เป็นบริกรรมนิมิต ลมจะสั้นขึ้นๆ ทีแรกหายใจลงไปถึงท้อง จากนั้นลมจะเบาๆ เหมือนหายใจสั้นๆ เหลือแค่ปลายจมูก ต่อจากนั้นลมจะเปลี่ยนเป็นแสงสว่าง แล้วรวมเป็นดวงสว่างขึ้นมา ถึงจุดนี้ให้เราเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน เราไม่ได้ใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์แล้ว เราใช้ดวงที่มีความสว่างนี้เป็นอารมณ์แทน ดวงนี้เรียกว่าอุคคหนิมิต ดูไปเรื่อยจะเป็นปฏิภาคนิมิต ย่อได้ ขยายได้ มีความสุข มีปีติแล้วมีสติรู้ทันอยู่ที่ใจของเราเอง จนกระทั่งใจมันวางนิมิต ไม่มีวิตกถึงนิมิต ไม่มีวิจารถึงนิมิต ไม่เคล้าไม่เคลีย ไม่นึกถึง ไม่ยกขึ้นมา จะมีภาวะแห่งความรู้ “ ตัวผู้รู้ ” จะเด่นขึ้นมาเรียกว่า “ เอโกทิภาวะ ” คือสมาธิที่มีใจตั้งมั่นขึ้นมาเป็นหนึ่ง ไม่ตรึกตรองในอารมณ์ เวลาเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวเอโกทิภาวะยังอยู่ จะประคองรักษาจิตเอาไว้เองโดยที่เราไม่ต้องรักษา จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วจะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู นี่คือวิธีทำเต็มรูปแบบ คนรุ่นนี้ทำยาก วันหนึ่งๆ มีแต่ความฟุ้งซ่าน ก็ต้องทำอีกแบบหนึ่ง บางคนทำฌานไม่ได้ แต่อยากให้มีจิตที่ตั้งมั่นเป็น “ ผู้รู้ ” ก็ให้นั่งหายใจไป หรือนั่งดูท้องพองยุบไป ขยับมือทำจังหวะก็ได้ แล้วค่อยๆ ดูไป ร่างกายมันเคลื่อนไหว มีใจเป็นคนดู หรือให้รู้อิริยาบถ ๔ ให้เห็นเลยว่าร่างกายมันมีใจเป็นคนรู้ ร่างกายมันเดินมีใจเป็นคนรู้ ร่างกายหายใจออก หายใจเข้า มีใจเป็นคนรู้ไปเรื่อย คอยรู้สึก รู้ไปรู้ไปมันจะแยกกายกับใจออกจากกัน มีตัว “ ผู้รู้ ” ขึ้นมา ถ้าหัดรู้ด้วยวิธีนี้จะแยกได้ไม่นาน อีกพวกหนึ่ง ถ้าฝึกให้มีจิต “ ผู้รู้ ” ไม่ได้ ก็ให้หัดเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้แหละ เวลาจิตไหลไปหลงไปแล้วรู้ ถึงรู้จุดหนึ่ง ก็เห็นเหมือนกันว่าร่างกายก็แยกจากจิตได้ ถ้าฝึกแบบไม่มีตัว “ ผู้รู้ ” ให้หัดรู้สึกๆ ไปเรื่อยๆ แล้วมันไประลึกได้เองเวลาใจมันตั้งมั่นขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาจะตั้งมั่น ทำไมใจถึงตั้งมั่น ก็เพราะสติไปรู้ทันนิวรณ์ขึ้นมา จิตจะตั้งมั่น แต่ตั้งแวบเดียว นี่เราฝึกอย่างนี้ก็ได้ การรู้ทันนิวรณ์ก็คือ เมื่อจิตมีกามฉันท์ (พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย อารมณ์ทางใจ) จิตพยายามก็รู้ จิตสงสัยก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตหดหู่ก็รู้ไปเรื่อย เมื่อไรนิวรณ์เกิดขึ้นแล้วสติไปรู้ นิวรณ์จะดับ เพราะนิวรณ์เป็นกิเลสเกิดร่วมกับสติไม่ได้ พอนิวรณ์ดับ จิตก็มีสมาธิขึ้นมาเอง เพราะศัตรูของสมาธิก็คือนิวรณ์นั่นแหละ เมื่อใจของเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาได้ เราจะถอดถอนตัวเองออกจากตัวเอง มันเหมือนมีอีกคนหนึ่งเป็นคนดูขึ้นมา ร่างกายนี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตใจเป็นของถูกรู้ถูกดู ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย เป็นของถูกรู้ถูกดู กระทั่งร่างกายก็เป็นของถูกรู้ถูกดู สิ่งใดที่เราเห็นได้ก็ไม่ใช่เราใช่ไหม มันเป็นของที่จิตไปรู้เข้า นี่เราจะค่อยๆ แยกขันธ์คือกายกับใจออกไปนะ การเจริญปัญญาเริ่มต้นด้วยการแยกขันธ์ออกไป พอเรารู้สึกตัวเป็นแล้ว เราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าตัวเรานี่กระจายออกเป็นกองๆ เรียกว่ากระจายออกไปเป็นขันธ์ๆ แต่ละส่วนๆ ที่กระจายออกไปนั้นไม่มีตัวเรา แต่ถ้าขันธ์ทั้งหลายมารวมตัวอยู่ด้วยกัน เราจะเกิดความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาว่านี่เป็นตัวเรา ถ้ามีตัวเราก็มีเราแก่ เราเจ็บ เราตาย มีเราสมหวัง มีเราผิดหวัง มีเราพลัดพรากจากสิ่งที่รัก มีเราไปเจอสิ่งที่ไม่รัก มันก็มีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี คราวนี้ไม่มีใครแก่ใครเจ็บใครตาย ร่างกายมันแก่ ร่างกายมันเจ็บ ร่างกายมันตาย ไม่ใช่เราแก่ ไม่ใช่เราเจ็บ ไม่ใช่เราตายอีกต่อไปแล้ว ส่วนจิตใจก็เกิดดับตลอดเวลา เดี๋ยวคิดดีเดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวโลภเดี๋ยวโกรธเดี๋ยวหลง เดี๋ยววิ่งไปที่ตา เดี๋ยววิ่งไปที่หู เดี๋ยววิ่งไปคิด ทำงานของเขาเอง เขาเกิดดับตลอดเวลา เขาไม่ใช่ตัวเรา นี่ดูอย่างนี้นะ ดูลงในกายเห็นกายไม่ใช่เรา ดูลงไปที่จิตใจเห็นจิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มีหรอก แต่ละอัน แต่ละขันธ์นี่ พอขันธ์กระจายตัวออกไปแล้ว จะเห็นว่าขันธ์แต่ละขันธ์ไม่ใช่เราแล้ว ขันธ์ก็เป็นแค่ขันธ์เท่านั้นเอง ถ้าเราเจริญสติมากเข้าๆ จนจิตตื่น จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู มันเป็นของที่จิตไปรู้เข้า มันแยกออกไปจากจิต กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง จะเห็นเลยว่าร่างกายที่เคลื่อนไหวยืนเดินนั่งนอนนี่ เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นว่าเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์รู้สึกเฉยๆ เป็นแค่สิ่งแปลกปลอมเข้ามา อยู่ห่างๆ มันไม่ใช่จิตด้วย แล้วมันก็ไม่ใช่กายด้วย ถ้ามีสติปัญญาแก่รอบกว่านี้จะเห็นเลยว่า จิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับไป จิตเกิดที่หูแล้วก็ดับไป จิตเกิดที่ใจไปคิดไปนึกแล้วก็ดับไป จิตที่เป็นกุศลเกิดแล้วก็ดับ จิตที่เป็นอกุศลเป็นจิตโลภเกิดแล้วก็ดับ จิตโกรธเกิดแล้วก็ดับ จิตหลงเกิดแล้วดับ จิตฟุ้งซ่านเกิดแล้วก็ดับ จิตหดหู่เกิดขึ้นแล้วก็ดับ นี่จะเห็นอย่างนี้ การที่เห็นมันเกิดแล้วมันดับ มันเกิดแล้วมันดับ ขาดออกไปเป็นท่อนๆ ไม่ใช่จิตดวงเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย แต่จะเห็นจิตขาดเป็นท่อนๆๆ นะ เป็นดวงๆ ไป เห็นอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อให้เห็นว่ามันไม่ใช่อันเดิม จิตที่รู้สึกตัวก็ดวงหนึ่ง จิตที่หลงไปคิดก็ดวงหนึ่ง จิตที่รู้สึกตัวก็ดวงหนึ่ง จิตที่เพ่งอยู่ก็ดวงหนึ่ง คนละดวงกัน ถ้าเราเห็นจิตขาดเป็นดวงๆ เรียกว่า สันตติขาด สันตติคือความสืบเนื่อง สันตตินี่แหละสร้างภาพลวงตาขึ้นมา ถ้าสันตติขาดเราก็จะเห็นของจริง ยกตัวอย่างเหมือนเราดูการ์ตูน เราเห็นว่าตัวการ์ตูนอย่างโดเรม่อน อิ๊คคิวซังมันเดินได้ใช่ไหม วิ่งได้กระโดดได้ ทำท่าโน้นทำท่านี้ได้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันคือรูปที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเลย แต่ละรูปแต่ละรูปมาต่อกัน รูปนี้เกิดแล้วก็ดับ จิตมันจำเอาไว้ อาศัยสัญญาใช่ไหม สัญญาที่หลวงพ่อว่ามันวิปลาสน่ะ อาศัยสัญญาจำรูป รูปแรกมันอยู่ตรงนี้ อีกรูปหนึ่งมันมาอยู่ตรงนี้ นี่อาศัยสัญญานะ มันจำได้ว่าแต่ก่อนอยู่ตรงนี้ แล้วเดี๋ยวนี้มาอยู่ตรงนี้ มันจะรู้สึกเหมือนมันเคลื่อนไหวได้ เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว ๔ . การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อเรียนหลักการภาวนาเข้าใจแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เราอย่าไปวาดภาพการปฏิบัติธรรม การทำวิปัสสนา หรือการภาวนาว่าต้องไปนั่งหลับหูหลับตา ตัวที่สำคัญที่สุดเลยคือมีสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ กิเลสเกิดขึ้นมาตอนไหนก็รู้มันไปตรงนั้น นั่นเรียกว่าภาวนาแล้ว ร่างกายเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกอยู่ก็เรียกว่าภาวนาแล้ว จิตใจทำงานไปแล้ว เรารู้เท่าทันอยู่ก็เรียกว่าภาวนาแล้ว เวลาเราทำงานก็ขยันทำงานไป ทำงานแล้วยังมีเวลาเหลือ เราก็คอยรู้กายรู้ใจของเราไป หรือเราทำงานแล้วเกิดเครียดขึ้นมา แวบขึ้นมา เรารู้ทันความเครียด นี่เราได้ปฏิบัติแล้ว เราทำงาน เราจะรีบให้เสร็จเร็วๆ คนโทรศัพท์มากวน เราโมโหก็รู้ว่าโมโห นี่เราได้ปฏิบัติแล้ว เห็นไหม ทำงานไป ถึงเวลาพักจะไปกินข้าว ดีใจ รู้ว่าดีใจ นี่ก็ปฏิบัติแล้ว เดินไปกินข้าว ลงมาจากตึก เดินไป เห็นร่างกายเดินอยู่ ใจเราเป็นแค่คนดู นี่ก็ปฏิบัติแล้ว ไปถึงร้านอาหาร ดูอาหารนั่นก็น่ากิน นี่ก็น่ากิน วันนี้หิวเป็นพิเศษ อะไรๆ น่ากินไปหมดเลย ตะกละ ลังเลๆ เห็นเลย ใจกำลังลังเลว่าจะกินอะไรดี บางวันดูจนหัวแถวท้ายแถวหมดทุกร้านแล้ว ไม่มีอะไรน่ากินเลย ชักหงุดหงิด เอ๊ แม่ค้าแถวนี้ทำไมไม่มีพัฒนาการ ขาด innovation (นวัตกรรม) ห่วยแตก โหลยโท่ย แล้วแต่จะด่านะ ถ้าหิวมากก็ด่ามากหน่อยเพราะขาดสติ เราก็รู้ทันใจของเราไปเรื่อย นี่แหละก็ปฏิบัติแล้วใช่ไหม เราจะไปห้องน้ำ เกิดฉุกเฉิน จะต้องรีบเข้าห้องน้ำด่วน พุ่งพรวดเข้าไปถึงห้องน้ำ ห้องน้ำเต็มทุกห้องเลย วิ่งไปอีกที่หนึ่ง อ้าวก็เต็มอีก ใจเราทุรนทุรายเต็มที่แล้ว เพราะว่าศัตรูมารอที่ประตูถ้ำแล้ว สู้มันไม่ไหวแล้ว นี่ทุรนทุรายขึ้นมา กลุ้มอกกลุ้มใจขึ้นมา รู้ทันมันเข้าไป ถึงจะปวดท้อง แต่ใจไม่ปวดไปด้วยหรอก นี่เขาเรียกว่าภาวนา นี่พอเราคอยรู้ทันใจของเราไปเรื่อย แต่ละขณะๆ นี่แหละคือการปฏิบัติ รู้ไปอย่างนี้นะ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริง จิตใจของเราไม่คงที่หรอก จิตใจของเราเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวเฉยๆ เดี๋ยวก็ดีขึ้นมา เดี๋ยวก็มีความร่าเริงเบิกบานในธรรมะขึ้นมา เดี๋ยวก็เป็นอธรรม เห็นไหม เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง เราไม่ได้ไปฝึกเป็นยอดมนุษย์ เราฝึกเป็นคนธรรมดานี่แหละ ฝึกอยู่ในชีวิตธรรมดาจนเห็นความจริงว่า ธรรมดาของกายนี้เป็นอย่างนี้ ธรรมดาของใจเป็นอย่างนี้ พอเห็นธรรมดาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับกายกับใจ ไม่เดือดร้อนแล้ว จะแก่ก็ธรรมดา จะเจ็บก็ธรรมดา จะตายก็ธรรมดา จะพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ธรรมดา เจอสิ่งที่ไม่รักก็ธรรมดา จะสมหวัง จะผิดหวัง มันเรื่องธรรมดาไปหมด เพราะกายนี้ใจนี้เราเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยอะไรไม่ได้จริงหรอก ต่อไปอะไรเกิดขึ้นในชีวิต มันจะรู้สึกเหมือนกับเป็นเรื่องที่เกิดกับคนอื่น แล้วถ้าไม่มีตัวเรา ใครเป็นผู้ทำกรรม ก็ขันธ์น่ะสิมันทำกรรม ขันธ์มันทำของมันเอง ใครเป็นคนรับผลกรรม ขันธ์น่ะสิมันรับผลกรรม ไม่ใช่เรารับผลกรรม มีการกระทำกรรม แต่ไม่มีเราผู้กระทำกรรม มีผู้รับผลกรรม แต่ไม่มีเราผู้รับผลกรรม ถ้าสติปัญญาแก่รอบนะ เห็นขันธ์มันทำ เราไม่ได้ทำ คราวนี้สิ่งที่ขันธ์ทำจะกลายเป็นกิริยาล้วนๆ เลย เราไม่ได้ทำเสียแล้ว นี่ค่อยเรียนนะ เรียนลงไปจนเห็นเลยว่าตัวเราไม่มี ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ ตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ก็เรื่องของมันสิ ถามว่าใครทุกข์ ก็ขันธ์มันทุกข์ กายมันทุกข์ใจมันทุกข์ ไม่ใช่เราทุกข์ เราพ้นทุกข์ได้เพราะการรู้ที่ถูกต้อง คือพ้นได้ด้วยปัญญา ส่วนคุณธรรมอื่นๆ เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ศีล เป็นเพียงตัวสนับสนุนเกื้อกูลเท่านั้น ในสังสารวัฏที่ยาวนานนี่ การที่จะได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบและได้ฟังธรรมเป็นสิ่งที่ยากที่สุดเลย วันเวลาที่มีพระพุทธเจ้า มีศาสนาพุทธนี้สั้นมาก โอกาสที่ได้เรียนธรรมะมีไม่มาก มีน้อย ค่อยรู้สึก รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจไป อย่าให้เสียโอกาสไปวันหนึ่งๆ โดยเปล่าประโยชน์

ดูกรท่านพระสารีบุตร เรามิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุ...ข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-*นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ จบสูตรที่ ๙

ของจริง ดีกว่าข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-*นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ จบสูตรที่ ๙

ติดสมถะกันงอมแงมธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

ติดสมถะกันงอมแงมธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

ติดสมถะกันงอมแงมธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระhttp://www.fungdham.com/book/wasin.html,หนังสือธรรมะ+เสียงอ่าน ฟังธรรม:ท่านอาจารย์วศิน อินทสระหญ้าสดในทะเลทราย ภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวาก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ”กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้วใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาดสมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ ท่าน...

ผู้สละโลก ผู้เลิศทางธุดงคคุณพรผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลข­องของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระhttp://www.fungdham.com/book/wasin.html,หนังสือธรรมะ+เสียงอ่าน ฟังธรรม:ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ มหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว” พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป สาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนถ้าเราไม่อยากจะเนิ่นช้านะ อันแรกคือ ก็มาปรับพฤติกรรมของตัวเอง ปรับจิตใจของเราเองนะ ให้มันเหมาะกับการปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักคำว่ามักน้อย ต้องรู้จักคำว่าสันโดษ ต้องรู้จักคำว่าวิเวก ไม่คลุกคลี ต้องรู้จักการปรารภความเพียร ต้องรู้จักการเจริญสติ การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา ถ้าเรารู้จักในสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะไม่ช้าหรอกนะมักน้อยเป็นอย่างไร มักน้อยหมายถึง มีความต้องการน้อย ยกตัวอย่างพระ พระต้องมักน้อย พระมีอาหารมากเฉพาะวัดนี้นะ บางวัดอาหารไม่ถูกปาก คือไม่มีอะไรเข้าปากเลย อดๆอยากๆ มักน้อยหมายถึงว่า ฉันเท่าที่ร่างกายจะอยู่ได้ อย่างนี้เรียกว่ามักน้อย มักมากหมายถึงว่า เท่าไหร่ก็ไม่พอใจ อยากได้เยอะไม่มีที่สิ้นสุดเลยสันโดษหมายถึงอะไร สันโดษหมายถึงว่า ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ได้มา ฆราวาสเนี่ย สันโดษ แต่อาจจะไม่ต้องมักน้อยแต่ต้องสันโดษ ตัวพระนี่ต้องมักน้อย ต้องสันโดษมักน้อย มีความปราถนาน้อย คือ ต้องการอะไร ต้องการแค่ Basic Minimum Need เท่านั้นเอง ที่คนเราต้องการ พวกเราอาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย ที่ในหลวงพูดคำว่า “พอๆ” นะ ก็คือคำว่ามักน้อยทีนี้ฆราวาสอยากรวยได้มั้ย อยากรวยได้ ไม่ต้องมักน้อยแบบพระ อยากรวยก็ได้ แต่อยากมีเมียหลายคนไม่ได้ ผิดศีล อยากรวยได้ เช่นตั้งเป้าหมายว่าปีนี้เราจะทำกำไรสัก ๕ ล้านบาท ตั้งใจไว้อย่างนี้ แล้วลงมือทำเต็มที่เลย ได้ ๑๐ ล้านบาท เราก็พอใจแล้ว เราได้ทำเต็มที่แล้ว ได้มา ๑๐ ล้านบาท หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ทำเต็มที่สุดฝีมือแล้ว ได้มา ๕ ล้านบาท พอใจแล้ว ยินดีพอใจมีความสุขแล้ว ที่ได้ทำงานนะ ก็พอใจ หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ได้ ๑ ล้านบาท หรือขาดทุน พอใจแล้ว มีความพอใจแล้ว คือ ได้ทำเต็มทีทำสุดฝีมือแล้ว มีความสุขที่ได้ทำงานแล้ว นี่เรียกว่าสันโดษนะ มีความสุขพอใจแล้ว ที่ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่เต็มฝีมือแล้ว ไม่ได้ละเลย แต่มันได้แค่นี้แหละ บางคนทำบริษัทฯ กำลังดีๆ ค้าขายกำลังดีๆ เขาเผาบ้านเผาเมือง เผาบริษัทฯเราไปด้วยอะไรอย่างนี้ ทำอย่างไรล่ะ ทำอะไรไม่ได้ ถูกเผาไปแล้วนะ ก็ยังพอใจ ยังเหลือชีวิตรอดอยู่กับประสบการณ์ หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็ยังเหลือชีวิตอยู่กับประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ชีวิตแพงนะ เป็นทรัพยากรที่แพงมากเลย พวกเราบางคน ลำบากยากจนลงอะไรเนี่ย อย่าไปนึกว่าเรากลับไปที่ศูนย์ เราไม่ได้กลับไปที่จุดตั้งต้นที่ศูนย์หรอก ตราบใดเรายังมีชีวิตอยู่ ทุกคราวที่เกิดปัญหาชีวิตนะ ก็คือการได้ประสบการณ์มาแล้วนะ มีความมักน้อยนะ คือปราถนาน้อย มีความสันโดษ ยินดีพอใจตามมีตามได้ ไม่คลุกคลี กายวาจาใจของเรานะอย่าไปคลุกคลีกับคนอื่นมาก วุ่นวายอยู่กับคนอื่นมากเนี่ย เสียเวลา เนิ่นช้าแน่นอน บางคนภาวนานะ ห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ อย่างนิสัยพระโพธิสัตว์ถึงได้เนิ่นช้า อย่างนั้นต้องเป็นอสงไขยแสนมหากัปป์อะไรอย่างนี้นะ หลายๆอสงไขย มันห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ มันก็คลุกคลไปเรื่อย มันอยากไปช่วยเขานะ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น ไปกินเลี้ยง เลี้ยงลูกค้า เป็นการคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่นะ เป็นการทำหน้าที่ พาลูกน้องไปเลี้ยง ไม่ได้เรียกว่าคลุกคลีนะ เป็นการทำหน้าที่ คลุกคลีหมายถึง ไม่จำเป็นอะไรเลยก็ไปยุ่งกับคนอื่นตลอดเวลา ว่างๆไม่มีอะไรนะก็ขับรถไปคุยกับเขา รถติดมากก็โทรฯไปคุยกับเขา อะไรอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้ ไม่มีใครคุยด้วยก็เข้าห้องแชต คุยกับหมากับแมวที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน วุ่นวายอยู่กับคนอื่น วุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่นตลอดเวลา ใจออกนอกตลอดนะ อย่างนี้ภาวนาอย่างไรก็เนิ่นช้า นี่พวกเรามาสำรวจตัวเองนะ เรามักน้อยมั้ย เราสันโดษมั้ย เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเราแล้วนะ ไม่มีธุระต้องไปเลี้ยงต้องไปอะไรอย่างนี้นะ ไม่มีธุระแล้วเนี่ย กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น เพราะฉะนั้นมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ต่อมาต้องปรารภความเพียร ต้องคิดนะว่าชีวิตเราเกิดมาเพื่ออะไร ชีวิตเราเกิดมาเนี่ย ไม่ยาวนานเท่าไหร่หรอก ไม่นานเราก็ต้องจากโลกนี้ไป จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารักนะ ลูกเมีย ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ ต้องสูญเสียไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว เราจะเที่ยวแสวงหาแต่สิ่งชั่วคราวรึ สิ่งชั่วคราวก็เช่น หาครอบครัว หาเงินทอง หาชื่อเสียงเกียรติยศตำแหน่งหน้าที่ นี่คือของชั่วคราว อาศัยอยู่กับโลกก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้นะ แต่ก็มีพอประมาณก็พอแล้ว งานหลักของเราจริงๆคืองานยกระดับจิตใจขึ้นไป ชีวิตของเราเนี่ยสั้นนิดเดียว มีเวลาไม่มาก โดยเฉลี่ยของคนยุคนี้ก็อายุประมาณสามหมื่นวัน สามหมื่นวันเนี่ยฟังแล้วเยอะนะ จริงๆไม่เยอะเท่าไหร่ สามหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปนอนเสียหมื่นวันแล้วๆ เหลือสองหมื่นวัน สองหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปทำมาหากินเสียเกินครึ่ง เหลือนิดเดียวแล้วนะ แล้วยังจะเอาเวลาที่เหลืออีกนิดเดียวเนี่ยเอาไปเที่ยวไปเล่นเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่เหลือเวลาที่จะเอาไปพัฒนาตัวเองแล้วนะ เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งเป้าเอาไว้ให้ดีเลย ชาตินี้ต้องได้พระโสดาบัน ตั้งเอาไว้อย่างนี้ ใครว่าโลภก็โลภล่ะวะ เอาไว้ก่อนแหละ ตั้งเป้าไว้ก่อน ชาตินี้ขอเป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ชาวพุทธต้องเอาอย่างนั้นเลยนะ ไม่ใช่ขอทำบุญทำทาน นั่งภาวนาทำสมาธิ อีกแสนๆชาติข้างหน้าค่อยให้ได้ธรรมะ โง่น่ะสิ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เนิ่นช้าปานนั้นนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ผลรวดเร็วมากเลย ถ้ารู้จักปฏิบัติที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้สมควรแก่ธรรม ทำให้ถูกต้องก่อน แล้วก็ทำให้พอ แค่นี้เอง ไม่เนิ่นช้าเท่าไหร่หรอก มันจะยากอะไรในการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง การปฏิบัติธรรมจริงๆก็คือการเรียนรู้กายรู้ใจของตัวเองเท่านั้นเองถ้ารู้เห็นความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี แค่นี้ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าเห็นความจริงนะว่า กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ หมดความยึดถือในกาย ก็ได้พระอนาคาฯ หมดความยึดถือในจิต เขาก็สมมุติเรียกว่า “พระอรหันต์” มันมีแต่เรื่องเรียนรู้กายเรียนรู้ใจตั้งแต่ต้นจนจบเลยของการปฏิบัติ มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร กายของเราก็มีอยู่แล้ว จิตใจของเราก็มีอยู่แล้ว เราก็แค่คอยรู้คอยดูบ่อยๆ ว่าจริงๆกายนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น จิตนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น คอยรู้คอยดูอยู่บ่อยๆ ความจริงมันจะแสดงตัวให้ดูอยู่แล้ว ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก ฆราวาสก็ทำได้นะ ไม่ใช่ฆราวาสทำไม่ได้ สมัยพุทธกาลฆราวาสได้ธรรมะเยอะแยะเลยนะ ถมเถไป เพราะฉะนั้นพวกเรานะ ตอนนี้ปรารภความเพียร ต้องรู้ว่าเราจะต้องปฏิบัตินะ ถ้าชีวิตของเราไม่ปฏิบัติ ชีวิตของเราไร้คุณค่า เราไม่ได้ต่างกับหมากับแมวอะไรนะ มีชีวิตอยู่ กินแล้วก็สืบพันธุ์ แล้วก็นอน แล้วก็เที่ยวเล่นเห่าหอนสนุกสนานอะไรอย่างนั้น จะได้อะไรขึ้นมา ชีวิตมันควรจะมีคุณค่ากว่านั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้นะ บอกว่า อดีตก็ล่วงไปแล้วนะ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ให้มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนอยู่กับปัจจุบัน ท่านบอกว่าอย่าตามอาลัยอาวรณ์ไปถึงอดีตนะ อย่ากังวลไปถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าอดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันน่ะมันมีจริง ให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มีสติอยู่กับปัจจุบันไม่หลงเพลินไป ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกนะ เรียกว่าเราไม่ประมาท เรามีสติอยู่ มีสติเป็นไปในกาย มีสติเป็นไปในจิตใจ ตามรู้อยู่ในกาย ตามรู้อยู่ในใจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คนที่ทำได้อย่างนี้นะ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวหรือคืนเดียวเนี่ย ก็ควรชมแล้ว มีชีวิตร้อยปี แต่หลงร้อยปี ไม่ควรชมเลยนะ คนส่วนใหญ่มีชีวิตเท่าไหร่ กี่ปี มันก็หลงอยู่เท่านั้นปีแหละนะ เพราะฉะนั้นพวกเรามาหัดให้มามีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจนะ ถ้ามีชีวิตอยู่ได้วันเดียว พระพุทธเจ้าก็ชมแล้ว ให้พระพุทธเจ้าชมดีกว่าให้คนอื่นชมนะ คนอื่นชมบางทีมันแกล้งชม พระพุทธเจ้าชมเนี่ย ของดีของวิเศษแน่นอนเลย พวกเราก็มีโอกาสได้รับคำชมของพระพุทธเจ้าทุกๆคนนะ เพราะเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเรื่อยไป แค่วันเดียวท่านก็ชมแล้ว เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสนะที่จะได้รับคำชมของพระพุทธเจ้า มีโอกาสที่จะได้ชื่อว่าเป็นลูกแท้ๆของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกแบบหลอกๆมาเกาะกินพระพุทธเจ้าอยู่นะ ลูกเกาะกินพระพุทธเจ้าเยอะนะ หาผลประโยชน์จากพระศาสนาอะไรพวกนี้ มีเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปรารภความเพียรนะ

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ.­.https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW...

MITSUBISHI INTELLIGENT POWER MODULEจำหน่ายอะไหล่IGBT IC MOSFET TRANSISTOR POWER MODULE Dual-In-Line Package Intelligent Power Module, Mitsubishi Electric Semiconductor การใช้ MC3PHAC และ MITSUBISHI POWER MODULE PS21963 ควบคุมมอเตอร์มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าใช้­ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์..หรือ..ไฟฟ้าจากไฟฟ้าเ­ฟสเดียวตามบ้านเรือน 100 VAVถึง 240 VAC..

HALF BRIDGE FULL BRIDGE INVERTER CONVERTERเผยแพร่เมื่อ 20 ก.พ. 2015 จำหน่าย Power Module Power Igbt Power Mosfet Power Transistor สำหรับ ผลิต ซ่อม สร้าง เครื่อง ควบคุมมอเตอร์ เครื่องอินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ และระบบควบคุม ที่ใช้ อุปกรณ์ Power Electronics เช่นเครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หม้อหุงข้าวคอมพิวเตอร์ หม้อหุงข้าวดิจิตอล เครื่องเชื่อม อินเวอร์เตอร์ แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ https://www.youtube.com/user/MrSompongt https://sites.google.com/site/sompong...

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

รถด่วนขบวนสุดท้าย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ จบสูตรที่ ๒

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย

การเกิดอริยมรรคตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว

พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นกระบวนการเกิดอริยมรรคจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวท­ุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าข­ึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน

อริยมรรคเกิดในรูปภูมิและอรูปภูมิ จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวท­ุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าข­ึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นเราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ... ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไร­เลยทั้งสิ้น ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอ­ก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

ทัสนานุตริยะ การเห็นอันประเสริฐ สวนานุตริยะ การฟังอันประเสริฐจิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน?

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้นะ บอกว่า อดีตก็ล่วงไปแล้วนะ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ให้มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนอยู่กับปัจจุบัน ท่านบอกว่าอย่าตามอาลัยอาวรณ์ไปถึงอดีตนะ อย่ากังวลไปถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าอดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันน่ะมันมีจริง ให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มีสติอยู่กับปัจจุบันไม่หลงเพลินไป ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกนะ เรียกว่าเราไม่ประมาท เรามีสติอยู่ มีสติเป็นไปในกาย มีสติเป็นไปในจิตใจ ตามรู้อยู่ในกาย ตามรู้อยู่ในใจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คนที่ทำได้อย่างนี้นะ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวหรือคืนเดียวเนี่ย ก็ควรชมแล้ว มีชีวิตร้อยปี แต่หลงร้อยปี ไม่ควรชมเลยนะ คนส่วนใหญ่มีชีวิตเท่าไหร่ กี่ปี มันก็หลงอยู่เท่านั้นปีแหละนะ เพราะฉะนั้นพวกเรามาหัดให้มามีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจนะ ถ้ามีชีวิตอยู่ได้วันเดียว พระพุทธเจ้าก็ชมแล้ว ให้พระพุทธเจ้าชมดีกว่าให้คนอื่นชมนะ คนอื่นชมบางทีมันแกล้งชม พระพุทธเจ้าชมเนี่ย ของดีของวิเศษแน่นอนเลย พวกเราก็มีโอกาสได้รับคำชมของพระพุทธเจ้าทุกๆคนนะ เพราะเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเรื่อยไป แค่วันเดียวท่านก็ชมแล้ว เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสนะที่จะได้รับคำชมของพระพุทธเจ้า มีโอกาสที่จะได้ชื่อว่าเป็นลูกแท้ๆของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกแบบหลอกๆมาเกาะกินพระพุทธเจ้าอยู่นะ ลูกเกาะกินพระพุทธเจ้าเยอะนะ หาผลประโยชน์จากพระศาสนาอะไรพวกนี้ มีเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปรารภความเพียรนะ

วิธีเดินปัญญาคือดูนี่แหละวิธีดับทุกข์จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน?

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกันคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกันคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกันคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกันเราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกัน http://320volt.com/multimetre-olcu-aleti-semalari/ http://shaddack.twibright.com/projects/reveng_multimeters/schema-7106/ http://www.opend.co.za/hardware/freqmeter1/ https://www.youtube.com/watch?v=qoczyBU_zRc

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกัน จิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,,หาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย..คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละคิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว แนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ๑ . โอกาสทองของชีวิต พวกเรามีบุญวาสนา ได้เกิดในแผ่นดินซึ่งศาสนาพุทธยังดำรงอยู่ หลักธรรมแท้ๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนยังได้รับการถ่ายทอดอยู่ เราได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ได้พบสัตบุรุษ แล้วมีศรัทธาสนใจที่จะศึกษา ยากมากนะที่จะมีสภาวะอย่างนี้ ธรรมะของพระพุทธเจ้ากระจ่าง แจ่มแจ้ง พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และต้องเห็นผลเร็วด้วย ใครๆ ไปเรียนธรรมะจากพระพุทธเจ้าแล้วถึงอุทานบอก “ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย ” ง่าย คว่ำๆ อยู่ จับหงาย มันยากเหรอ ธรรมะของพระพุทธเจ้า งดงามในเบื้องต้น คือชี้ทางให้เราเดินไปได้ งดงามในท่ามกลาง คือมีเหตุผลสมบูรณ์ อย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา งดงามในที่สุด คือ เราละกิเลสได้จริงๆ ความทุกข์ตกหายไปได้จริงๆ เป็นลำดับๆไป ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด เราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้น สิ่งที่เรารักที่สุดคือตัวเอง คือกายกับใจ ทำไมรัก เพราะเรารู้สึกว่านำความสุขมาให้ อย่างเช่นเรารักตา เรากลัวตาบอด เพราะว่า ตาทำให้เราเห็นของสวยๆ ถ้าตาเห็นแต่ของน่าเกลียดน่ากลัว เราคงไม่อยากมีตา หูก็ทำให้ได้ยินเสียงดีๆ ถ้าได้ยินแต่เสียงไม่อยากฟัง เราก็คงไม่อยากมีหู อายตนะทั้งหลาย ตาหูจมูกลิ้นกายใจมันทำให้เราเชื่อมต่อเข้ากับโลกภายนอกได้ ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นของดี นำความสุขมาให้ แต่ตอนนำความทุกข์มาให้ เราก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ไป อย่างน้อยมันก็ยังมีความสุขกระเส็นกระสายให้หวังเล่นๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ หวังอะไร หวังจะสุขถาวร หวังจะดีถาวร หวังจะสงบถาวร แต่ความจริงคือ ทุกอย่างชั่วคราว นี่เราหวังลมๆ แล้งๆ หวังสิ่งซึ่งไม่มีจริง หวังอย่างนั้นก็นำความทุกข์มาให้ หวังแล้วก็ไม่มีทางสมหวัง แต่ถ้าเรารู้ลงในกายในใจ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ กายนี้ใจนี้เป็นแต่ตัวทุกข์ พอเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้งนะ มันจะวาง ไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจ เมื่อไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจ จะยึดอะไรอีก ไม่มีแล้ว เพราะสิ่งที่ยึดมากที่สุดคือกายกับใจ ระหว่างกายกับใจก็ยึดใจมากกว่ากาย วัตถุประสงค์ของเราชาวพุทธก็คือ ต้องพ้นทุกข์ พ้นทุกข์ก็คือนิพพานนั่นเอง คือพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจ เพราะกายกับใจคือตัวทุกข์ เรามีเป้าหมายอยู่ ๔ เป้าหมาย เป้าหมายที่ ๑ เป็นพระโสดาบัน คือผู้ที่ละความเห็นผิดว่ามีตัวเรา เห็นความจริงแล้วว่าตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิ และปัญญาเล็กน้อย เป้าหมายที่ ๒ เป็นพระสกิทาคามี มีสติที่รวดเร็วในการรู้สึกตัว จนกิเลสตัณหาอ่อนกำลังลงไป มีสมาธิปานกลาง มีปัญญาเล็กน้อย เป้าหมายที่ ๓ เป็นพระอนาคามี สามารถปล่อยวางความยึดถือกายได้ จึงพ้นจากกามและปฏิฆะ มีสมาธิสมบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง เป้าหมายที่ ๔ เป็นพระอรหันต์ มีศีล สมาธิ และปัญญาสมบูรณ์ สามารถปล่อยวางความยึดถือใจได้ ก็จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ศาสนาพุทธ คือตัวสัมมาทิฏฐิ คือความรู้ถูกความเข้าใจถูกในสภาวธรรม (รูปธรรมและนามธรรม) จนกระทั่งปล่อยวางความยึดถือสภาวธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งก็คือ ความรู้แจ้งอริยสัจ อริยสัจมีทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็เป็นอันละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้นมา เมื่อใจเข้าถึงความจริง ยอมรับความจริงแล้ว มันจะไม่ทุกข์ อริยสัจเป็นธรรมะที่สำคัญมากเลย ลึกซึ้งที่สุด ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด วนเวียนอยู่ในความทุกข์ไปเรื่อยๆ พ้นไม่ได้หรอก อริยสัจเป็นความจริงของบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเหล่านี้เห็นความจริงของโลก ของชีวิต ของจักรวาล หน้าที่ของชาวพุทธคือหน้าที่เรียน ฉะนั้นชาวพุทธเป็นนักเรียนนะ เราต้องเรียนธรรมะ เพื่อวันหนึ่งเราจะได้รู้แจ้งธรรมะของพระอริยเจ้า เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของพระอริยเจ้า อริยสัจตัวที่หนึ่งชื่อว่าทุกข์ ทุกข์ในอริยสัจแปลว่ากายกับใจ รูปกับนาม เรารู้สึกไหมว่ากายเป็นทุกข์ใจเป็นทุกข์ เราไม่รู้สึกหรอก เรารู้สึกว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ตราบใดที่ยังเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง มันจะไม่ยอมปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจหรอก เพราะมันยังมีทางเลือกที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข ยังรักอยู่ ยังหวงแหนอยู่ ยังหาทางดิ้นรนให้กายให้ใจมีความสุขอยู่ เมื่อไม่รู้แจ้งในธรรมะของพระอริยเจ้า ไม่แจ้งอริยสัจ ไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นตัวทุกข์ จะไม่สามารถปล่อยวางความยึดถือกายความยึดถือใจได้ ยังรักมัน ยังหวงแหนมัน เมื่อรักมันหวงแหนมันนะ สมุทัยก็จะเกิดขึ้น สมุทัยคือตัณหา หมายถึงความอยาก อยากอะไร อยากให้กายมีความสุข อยากให้กายพ้นทุกข์ อยากให้จิตใจมีความสุข อยากให้จิตใจพ้นทุกข์ นี่ความอยากนี้แหละคือตัวตัณหา ถ้าตัณหาเกิดขึ้นแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นอีก มันจะเกิดทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา เบื้องต้นนะ กายกับใจเป็นตัวทุกข์ อันนี้เราไม่เห็นหรอก แต่ว่าเบื้องปลายนี่ ทันทีที่เกิดความอยาก อยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา เมื่อเกิดความอยากขึ้นเมื่อไร จิตจะดิ้นรนเมื่อนั้น เมื่อจิตดิ้นรนเมื่อไร จิตจะมีความทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา กายกับใจเป็นตัวทุกข์อยู่แล้วนะ พอเกิดตัณหา เกิดอุปาทานคือความยึดถือ ก็เกิดภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต ความทุกข์ก็จะเกิดซ้ำซ้อนขึ้นที่จิตอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่รู้ทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัย จิตใจก็ดิ้นรนปรุงแต่ง นิโรธก็ไม่ปรากฏ นิโรธคือนิพพาน นิพพานคือสภาวะซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง สภาวะซึ่งพ้นจากตัณหา สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง มีชื่อเป็นภาษาแขกว่า วิสังขาร สภาวะที่พ้นจากตัณหามีชื่อว่าวิราคะ อันนี้เป็นชื่อของนิพพานทั้งสิ้นเลยนะ เมื่อจิตยังดิ้นรนค้นคว้า จิตยังมีความอยากมีความยึดถืออยู่ นิพพานไม่ปรากฏ ความพ้นทุกข์ไม่มี เพราะยังวนเวียนยึดถือขันธ์อยู่ ต่อเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยถูกละอัตโนมัติ นิโรธแจ้งอัตโนมัติ อริยมรรคก็เกิดอัตโนมัติเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงบอกว่าให้เรารู้แจ้งอริยสัจเท่านั้น แต่ท่านบอกวิธีที่จะทำให้เรารู้แจ้งอริยสัจด้วย คือให้รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ สมุทัยดับเอง นิโรธปรากฏเอง อริยมรรคเกิดขึ้นเอง หากรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ก็เป็นอันทำกิจของอริยสัจทั้ง ๔ เสร็จสิ้นในขณะเดียวกัน วิธีรู้ทุกข์ที่ท่านสอนก็คือ การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือการเห็นอย่างวิเศษ คือเห็นความจริงของกายของใจว่าเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ๒ . พระพุทธเจ้าสอนอะไร บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราศึกษานั้นมี ๓ บท คือ บทเรียนที่ ๑ ชื่อว่า สีลสิกขา คือเรียนเรื่องศีล หมายถึงว่าทำอย่างไรจิตของเราจะเป็นธรรมดาๆ จิตใจของเราจะไม่ถูกกิเลสชั่วหยาบครอบงำจนกระทั่งทำความผิด ล้นออกมาทางกายทางวาจา ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น ถ้าเรามีสติเรื่อยๆ นะ ตามองเห็นรูป จิตเรายินดียินร้ายขึ้นมา เรารู้ทัน ความยินดียินร้ายก็คืออภิชฌาโทมนัส หรือราคะนั่นเองก็ครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ทำผิดศีล อย่างเห็นสาวสวยนะ ชอบเขารักเขา มีสติรู้ทันจิตของตัวเอง ว่านี่มีราคะเกิดขึ้น ราคะจะดับไป ก็ไม่ไปหลอกไปลวงอะไรเขาแล้ว ไม่ทำผิดศีล โกรธเขาขึ้นมา อยากฆ่าเขา มีสติรู้ทันลงไปที่ใจของตัวเองที่กำลังโกรธอยู่ พอมีสติรู้ทันนะ ความโกรธก็ครอบงำจิตใจไม่ได้ มันก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใคร ถ้าเรามีสติอยู่ ศีลจะเกิดขึ้น จิตใจเราจะเป็นปกติธรรมดา แต่ถ้ายังไม่มีศีลที่เกิดจากการสำรวมอินทรีย์ ที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล อย่างนี้ก็มีศีลธรรมดาไปก่อน ให้ตั้งใจรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ตามโอกาสนะ ฉะนั้น ศีลถือเป็นปัจจัยของสมาธิ เป็นพื้นฐานทำให้ทำสมาธิได้ง่าย บทเรียนที่ ๒ ชื่อว่า จิตตสิกขา ชื่อมันก็บอกแล้วว่าเรียนเรื่องจิต เราจะเรียนให้รู้ความจริงว่าจิตชนิดไหนเป็นกุศล จิตชนิดไหนเป็นอกุศล จิตที่เป็นกุศลก็มีหลายแบบ เป็นกุศลทั่วๆ ไป ที่อยู่กับโลก หรือเป็นจิตที่เป็นกุศลที่ใช้ทำสมถะ หรือเป็นจิตที่เป็นกุศลที่จะใช้ทำวิปัสสนา เราต้องเรียนไปจนกระทั่งเรารู้ความจริง จิตที่เป็นมหากุศล จิตที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆ มันจะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต คือประกอบด้วยปัญญา อสังขาริกังคือเกิดขึ้นเอง ต้องเป็นจิตที่เกิดเองถึงจะมีกำลังกล้า ฉะนั้นเราต้องรู้ไปนะ ต้องเรียนว่าทำอย่างไรเราจะเกิดจิตซึ่งมีกำลังกุศลแก่กล้า ทำอย่างไรสติจะเกิดได้เอง เราต้องรู้ว่าสติเกิดจากอะไร สติเกิดจากถิรสัญญา แปลว่าการที่จิตจำสภาวธรรมได้แม่นยำ ในพระอภิธรรมจะบอกว่า การที่จิตจำสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) ได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ หลวงพ่อจะสอนให้หัดดูสภาวะ เช่น ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก คู้รู้สึก เหยียดรู้สึก พองรู้สึก ยุบรู้สึก เป็นสุขเป็นทุกข์ รู้สึก โลภโกรธหลงขึ้นมา ไม่โลภไม่โกรธไม่หลงขึ้นมา คอยรู้สึก รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ รู้สึกไปเรื่อยๆ ทีแรกยังไม่มีสติหรอก คอยตามรู้สึกไปเรื่อยๆ ตามรู้ไปเรื่อย ร่างกายเคลื่อนไหวนะ เผลอเคลื่อนไหวไปก่อนแล้วรู้สึกตัว อ้าวเมื่อกี้เผลอไปเคลื่อนไหว ; โลภไปก่อน แล้วรู้สึกตัว อ้าวเมื่อกี้เผลอไปโลภ ;ใจลอยไปคิดก่อน แล้วรู้สึกตัว รู้ว่าเอ้อเมื่อกี้หลงไปคิดแล้ว การที่จิตมันเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในที่สุดมันจะจำสภาวะได้ พอมันจำสภาวะได้นะ ต่อไปสติจะเกิดเองโดยไม่ต้องจูงใจให้เกิด สติ คือความระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ การที่จิตมันเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในที่สุดมันจะจำสภาวะได้ พอมันจำสภาวะได้นะ ต่อไปสติจะเกิดเองโดยไม่ต้องจูงใจให้เกิด สติ คือความระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ สติที่เกิดจากการจงใจทำให้เกิด สติอย่างนี้ใช้ไม่ได้จริงในการทำวิปัสสนา แต่ใช้ทำสมถะได้ เช่น เราจะรู้ลมหายใจ เราก็กำหนดจิตเอาไว้กับลมหายใจ ไม่ให้ลืมลมหายใจเลย เราจะดูท้องพองยุบ เรากำหนดจิตจ่อลงไปที่ท้อง ไม่ให้ลืมท้องเลย เราจะเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า เราเอาสติจ่อลงไปที่เท้า ไม่ขาดสติเลย เท้ากระดิกกิ๊กๆๆๆ รู้หมด จะหยิบขวดน้ำนี่ กิ๊กๆๆๆ เห็นเหมือนรูปการ์ตูนนะ เห็นรูปมันดับ วับๆๆๆ ไป ใจมันจ่ออยู่ที่รูปนี่ สติอย่างนี้ จะรู้สึกว่าเกิดได้ทั้งวัน พวกเราลืมไปอย่างหนึ่งว่า สติหรือกุศลที่เกิดซ้ำๆๆๆ ได้นานๆ จะเกิดในฌานจิต คือเกิดกับจิตที่เพ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่สติที่จะใช้ทำวิปัสสนาอะไรหรอก สติที่เกิดจากการกำหนดไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าเรากำหนดใส่ตัวอารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) เมื่อไหร่จะเป็นสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ถ้าเมื่อไรเรามีสติเพ่งใส่ตัวอารมณ์ เมื่อนั้นเป็นสมถกัมมัฏฐาน จำเอาไว้นะ กระทั่งการเพ่งรูปเพ่งนามก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามถึงจะเป็นวิปัสสนา การจะเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามได้ จิตจะต้องตั้งมั่น ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเท่านั้นเอง วิธีทำให้เกิดสัมมาสมาธิทำได้หลายอย่าง วิธีที่หนึ่ง ทำฌานจนถึงฌานที่สอง พอถึงฌานที่สอง จิตมันจะตั้งมั่นออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูในทางตำราจะเรียกว่ามีเอโกทิภาวะ คือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง คือภาวะของจิตผู้รู้นั่นเอง จิตจะตั้งตัวรู้ขึ้นมา พอเราออกจากฌานแล้วนะ ตัวรู้นี้ยังทรงอยู่ มันจะเห็นทันทีเลยว่า ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันที เห็นไหม เกิดปัญญาทันที เห็นไตรลักษณ์ทันทีเลย ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่มันไม่ใช่เราหรอก มันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู มีใครรู้สึกว่าพัดนี้เป็นตัวเราไหม (หลวงพ่อชูพัดให้ดู) ไม่มี เพราะอะไร เพราะมันเป็นของถูกรู้ถูกดู มันอยู่ห่างๆ นึกออกไหม ส่วนร่างกายเรานี่ ถ้าจิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะรู้สึกทันทีว่าร่างกายอยู่ห่างๆ จิตมันแยกออกมา เรียกว่าแยกรูปกับนามออกจากกัน การแยกรูปกับนามออกจากกันนี่มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ทันทีที่แยกออกไป ใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นอยู่ทันทีเลยว่า ร่างกายหายใจ จิตเป็นคนรู้ ร่างกายพองยุบ จิตเป็นคนรู้ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน จิตเป็นคนรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตเป็นคนรู้ มันแยกออกมาต่างหาก มันจะเกิดปัญญาทันทีเลย เห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายนี้เป็นแค่วัตถุ เป็นแค่ก้อนธาตุเท่านั้น นี่คือการเจริญปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา คือบทเรียนที่ ๓ ส่วนจิตก็สักว่ารู้ สักว่าเห็น จะเห็นเลยว่ากิเลสมันผ่านมาผ่านไป เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้านไปเท่านั้นเอง ไม่เกี่ยวกับเรา อย่างนี้มันผ่านมาแวบแล้วหายไปเลย ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา วิธีที่สอง สำหรับคนที่ทำฌานไม่ได้ ไม่เป็นไร หัดรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยววันหนึ่งมันจะเกิดสมาธิขึ้นมา สมาธิชนิดนี้ ชื่อขณิกสมาธิ ขณิกสมาธิคือสมาธิชั่วขณะ ฟังดูแล้วกิ๊กก๊อกนะ กระจอกงอกง่อย แหมใครๆ ก็อยากได้อัปปนาสมาธิ แต่ส่วนมากไม่ถึงอัปปนาสมาธิหรอก ฉะนั้นถ้าเราทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ให้เรามีสติดูจิตดูใจของเราไปเรื่อย จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา มันจะค่อยๆ แยกตัวออกมาจากอารมณ์ เช่น จิตมันใจลอย จิตมันไปคิด พอเรารู้ทันนะ จิตมันก็ตื่นขึ้นมาแวบหนึ่ง เราจะเห็นเลยว่าความคิดนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่จิต จิตมันโลภขึ้นมา พอเรามีสติรู้ว่าจิตโลภ เราจะเห็นเลยว่าความโลภเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่จิต แยกออกจากกันนะ เราโกรธขึ้นมา พอเรามีสติรู้ทันปั๊บ เราจะเห็นเลยว่าความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ใช่จิต นี่มันแยกออกมา จิตซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์มันจะตั้งขึ้นมา แต่มันอยู่ชั่วขณะนะ เดี๋ยวมันก็ไหลไปอีก ไม่เหมือนคนที่ทรงฌาน จะอยู่นาน นี่เรามีสมาธิชนิดนี้แหละพอแล้ว แต่ถ้าใครมีบุญวาสนา ทำอัปปนาสมาธิได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าฝืน มันจะกลายเป็นอัปลักษณ์สมาธิ พระพุทธเจ้าสอนว่า “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนที่ไม่ได้ สดับ (หมายถึงคนที่ไม่ได้ฟังธรรมของท่านหรือของพระอริยเจ้า) สามารถเห็นว่ากายไม่ใช่ตัวเรา แต่ไม่สามารถเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ” มีแต่คำสอนในอริยวินัย ในธรรมะของท่านนี้เท่านั้นที่ทำให้เห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเราได้ เพราะการที่จะเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานี่ยาก เนื่องจากเรายึดถือมานาน เราสำคัญมั่นหมายมานานว่าจิตเป็นตัวเรา พวกเราลองวัดใจตัวเองอย่างซื่อสัตย์นะ ลองวัดใจตัวเองดู เรารู้สึกไหมว่าร่างกายนี้มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ร่างกายของเราเดี๋ยวนี้กับร่างกายของเราตอนเด็กๆ นี่คนละคนกัน รู้สึกไหม มันไม่เหมือนเดิมนะ ร่างกายของเราเดี๋ยวนี้กับตอนวัยรุ่นก็ไม่เหมือนกันใช่ไหม ถ้าอายุขนาดหลวงพ่อ ร่างกายสมัยกลางๆ คนกับตอนนี้ไม่เหมือนกันแล้ว นี่เรารู้ได้ ร่างกายมันไม่เหมือนเดิม แต่เรารู้สึกไหมว่าในร่างกายที่แปรปรวนนี้ มีความรู้สึกว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้กับเราตอนเด็กๆ ยังเป็นเราคนเดิม นี่เราจะสำคัญมั่นหมายว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง นั่นคือเราสำคัญว่าจิตคือตัวเรา อันนี้แหละจิตเป็นเราอยู่ ยากมากที่จะเห็นว่าจิตนี้ไม่ใช่เรา ถ้าเมื่อใดเห็นและยอมรับด้วยปัญญาว่าจิตไม่ใช่เรา วันนั้นจะได้พระโสดาบัน จำเอาไว้นะ วิธีที่จะให้เห็นว่าจิตไม่ใช่เรานะ รู้สึกตัวเรื่อยๆ ก่อน เห็นกายไม่ใช่เรา เห็นเวทนา (ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ) ไม่ใช่เรา เห็นจิตตสังขารคือกุศลและอกุศลทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมดเลย ต่อมาสังเกตจิตใจ ไม่ต้องรีบสังเกตนะ ฟังหลวงพ่อพูด แล้ววันหนึ่งจิตมันจะไปสังเกตเอง อย่าไปจงใจสังเกต ถ้าจงใจดูจะไม่เจอ ค่อยๆ รู้สึกไป เดี๋ยวจิตก็เป็นผู้ถูกรู้ใช่ไหม เดี๋ยวจิตก็เป็นผู้คิดรู้สึกไหม ต้องหัดรู้ตัวจนชำนาญนะ จะรู้จักว่า อ้อ นี่จิตมันรู้ขึ้นมาแล้ว เดี๋ยวจิตมันก็หลงไปคิด เดี๋ยวจิตมันก็รู้ เดี๋ยวจิตมันก็หลงไปคิด นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปเราจะเห็นว่าจิตนี้มันไม่เที่ยง แรกๆ ก็แค่รู้สึกตัวเอาไว้ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก อันนี้จะทำให้เกิดสติอัตโนมัติ จิตมันจำสภาวะของร่างกายของจิตใจได้แล้วสติเกิดเอง เพราะฉะนั้นร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก พอสติจริงๆ เกิดขึ้นมาเองนี่ จิตมันจะตั้งมั่นอัตโนมัติ ตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะ พอจิตมันตั้งมั่นชั่วขณะจะมีความรู้สึกว่าร่างกายอยู่ห่างๆ จิตอยู่ห่างๆ จิตกับร่างกายห่างกัน จิตกับเวทนาอยู่ห่างๆ กัน จิตกับสังขาร เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ห่างๆ กัน เราอย่าไปคิดว่าจิตมีดวงเดียวเที่ยววิ่งไปวิ่งมา ที่จริงจิตเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาพลวงตาว่าจิตมีดวงเดียว เที่ยววิ่งไปวิ่งมาเหมือนภาพการ์ตูน ซึ่งแต่ละภาพไม่มีความเคลื่อนไหว แต่พอภาพเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จึงเกิดภาพลวงตาว่าตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ ความจริงจิตนั้นเกิดดับตลอดเวลา จิตไม่ได้เที่ยงนะในขณะที่พวกเราเห็นว่าจิตเที่ยง จิตของเราวันนี้กับจิตของเราตอนเด็กๆ ยังเป็นคนเดิมอยู่เลย จิตของเราวันนี้กับจิตปีหน้าก็คนเดิมอีก จิตของเราเดี๋ยวนี้กับชาติหน้าก็คนเดิมอีก ฉะนั้นบางคนเลยต้องเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เพราะว่ามันเป็นคนเดิม แต่ก็ต้องเลี้ยงนะ ไม่ใช่บอกว่าไม่ต้องทำความดี คอยฝึกไปนะ วันหนึ่งก็จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาคือความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา จิตตสังขารไม่ใช่เรา ตัวจิตแท้ๆ ที่เป็นผู้รู้นะ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เกิดดับเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงๆ หรอก ตัวเราที่เที่ยงๆ ไม่มี วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้น โสดาปัตติมรรคจะตัดความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป พอถอยออกมาจากโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แล้วกลับมาสู่โลกมนุษย์นี่ เวลาเราดูเข้ามาในจิตใจตัวเองจะไม่มีแม้แต่เงาของความรู้สึกว่ามีตัวเรา เงาก็ไม่มีนะ ถ้าขาดด้วยอริยมรรคแล้ว จะไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเราโผล่ขึ้นมาอีกเลย ผู้ใดเห็นว่ากายไม่ใช่เรา จิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ถัดจากนั้นก็มารู้กายรู้ใจต่อไปอีก พระโสดาบันกับปุถุชนก็ภาวนาอย่างเดียวกันนั่นแหละ คือรู้กายรู้ใจเรื่อยๆ ไป รู้ไปอีก รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนวันหนึ่งมันรู้แจ้งลึกซึ้งขึ้นมาอีก กิเลสตัณหาก็อ่อนกำลังลงไป เรียกว่า พระสกิทาคามี รู้ลงไปอีกภายในใจนะ สติปัญญามันจะขมวดเข้ามาเรียนรู้กายเป็นหลักเลย รู้ลงไป รู้ลงไป กายมันของหยาบ มันดูง่าย ดูไปๆ แล้วละง่าย จะเห็นเลยว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ วันใดที่เห็นว่ากายเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ก็หมดความยึดถือกาย ก็จะหมดความกลุ้มใจเพราะต้องกระทบอารมณ์ทางกาย กระทั่งกายเรายังไม่ยึดถือเลย เราจะไปยึดถืออารมณ์ที่กระทบทางกายทำไม ที่เรายึดถือร่างกายอยู่ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นช่องทางให้เรากระทบอารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน อย่างเรามีตาอยู่ใช่ไหม เราก็ได้ดูรูปสวยๆ อย่างมีหูก็ได้ฟังเสียงไพเราะๆ เสียงดีๆ อย่างมีจมูกได้กลิ่นหอมอยู่ นี่เรารักร่างกายเพราะมันเอาของดีมาให้เรา เรารู้สึกว่ามันดี แต่ถ้าวันหนึ่งเราเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลย เราก็จะไม่หลงไปในรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายนี่ จิตมันจะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มันพ้นจากความยินดียินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เรียกว่ามันพ้นจากกามและปฏิฆะ พระอนาคามีละกามและปฏิฆะได้เพราะไม่ยึดกาย หมดความยึดกายเพราะเห็นความจริงว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติที่ชำนาญในการดูจิต สามารถมีสติตามรู้จิตจนเห็นความจริงว่า เมื่อใดจิตมีความอยาก เมื่อใดจิตมีความยึดถืออารมณ์ต่างๆ เมื่อนั้นจิตจะทุกข์ เมื่อใดจิตพ้นจากความอยากและความยึดถืออารมณ์ จิตจะไม่ทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้ จิตก็ไม่ยึดถือในกายและกามคุณอารมณ์ จิตพ้นจากกามและปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีได้เช่นกัน ทีนี้พอฝึกจนถึงขั้นพระอนาคามี สมาธิจะบริบูรณ์ จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันเลย จะรู้สึกว่าตัวผู้รู้นี่แหละเป็นของดีของวิเศษเป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราอยู่กับตัวผู้รู้นี่เราไม่ทุกข์ ถ้าเราเป็นตัวผู้หลงเมื่อไรถึงจะทุกข์ ฉะนั้นจิตนี้ดีนะ จิตตัวผู้รู้นี่ดี ใจมันจะยึดตัวดีนี้ไว้ ไม่ปล่อยวางจิตต่อเมื่อวันใดมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าตัวจิตนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์ให้เราดู มันพลิกของมันเองนะ มันพลิกให้เราดูเอง อยู่ๆ จะไปนึกเอาว่าตัวจิตผู้รู้เป็นตัวทุกข์ มันนึกไม่ออกหรอก เพราะไม่เคยเห็น ต้องมีสติมีปัญญาแก่กล้าพอ มันจะพลิกตัวให้ดูว่ามันทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรทุกข์เท่านี้อีกแล้ว อย่างบางคนบอกว่าอกหักทุกข์มาก ตัวจิตผู้รู้นี่ถึงไม่อกหักมันก็ทุกข์ มันทุกข์ยิ่งกว่านั้นอีก มันทุกข์จนเรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารู้มันต่อไป เราจะตายแล้ว อกหักเฉยๆ เรารู้ว่าอกหักไม่ตายนะ อกหักแล้วกำลังกลุ้มใจอยู่ เสียอกเสียใจอยู่ ถ้าเรารู้ว่าเสียอกเสียใจอยู่หายเลย แต่ตัวผู้รู้เวลามันกลายเป็นตัวทุกข์ให้ดูนี่ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์เหมือนจะตายเลย ทุกข์เหมือนไม่ตายก็บ้า นี่ใจมันต้องเห็นทุกข์นะถึงจะยอมวาง ผู้ที่ปล่อยวางจิตได้เรียกว่าพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่านิพพานอยู่ฟากตาย ไม่ภาวนากันจนถึงขีดสุดจริงๆ ไม่ยอมปล่อยวางจิตหรอกเพราะเราหวง ๓ . วิธีเจริญวิปัสสนา ถ้าเราจะทำวิปัสสนาให้ถูกต้อง ขั้นแรก เราต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้ได้ก่อน เพราะ วิปัสสนาคือ “ การมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงลงเป็นปัจจุบัน ” ต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้เป็นขั้นที่สอง “ ต้องสามารถปล่อยให้กายให้ใจเขาทำงาน แสดงไตรลักษณ์ได้ ” การหัดให้มีสติ ก็คือหัดรู้สึกตัว ศัตรูของความรู้สึกตัว ก็คือความหลง ความเผลอนั่นแหละ เผลอไปรู้ เผลอไปฟัง เผลอไปคิด (คือขาดสติ) ศัตรูอีกอย่างหนึ่งก็คือการเพ่งร่างกาย เพ่งจิตใจ (คือบังคับกายบังคับใจ) ซึ่งทำให้กายใจถูกแทรกแซง และแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นได้ยาก ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันจิตใจของตัวเอง เราก็จะไม่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด เราจะตื่นขึ้นมา ซึ่งเป็นต้นทางที่จะทำให้เราเดินวิปัสสนาได้ พอตื่นขึ้นมาแล้วก็มีเงื่อนไขอีกอย่างเดียวเท่านั้นเอง คือมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา เราจะเห็นกายตามความเป็นจริง เห็นจิตใจตามความเป็นจริง คือเห็นไตรลักษณ์ ทำวิปัสสนาหรือเจริญปัญญาได้ ความตื่น ซึ่งทำให้เราหลุดออกจากโลกของความคิด เราหลุดออกจากโลกของความฝัน แล้วมาอยู่ในโลกของความเป็นจริงได้ นี่จึงเป็นต้นทางของการเจริญปัญญา สิ่งที่ผู้ปฏิบัติส่วนหนึ่งขาดอย่างแสนสาหัสเลยนะ คือสัมมาสมาธิ ส่วนใหญ่เราไม่มีสัมมาสมาธิ มีแต่มิจฉาสมาธิ แล้วแยกไม่ออกด้วยว่าอะไรคือสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิจะไม่มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ จำไว้นะ ในพระอภิธรรมสอนเอาไว้ว่า “ สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ” “ ปัญญา คือการเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ” สัมมาสมาธิไม่เหมือนมิจฉาสมาธิ จิตทุกๆ ดวงมีสมาธิ จำเอาไว้นะ กระทั่งจิตอกุศลก็มีสมาธินะ แต่สัมมาสมาธินี่เกิดยากที่สุด ทำอย่างไรจิตของเราจะตั้งมั่น จิตของคนส่วนใหญ่ที่ว่ามีสมาธิน่ะ เป็นจิตที่เข้าไปตั้งแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) ไม่ใช่ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ยกตัวอย่าง เอ้า พวกเราดูพระพุทธรูป ตั้งใจดูนะ ตั้งใจดู รู้สึกจดจ่ออยู่ที่พระ แล้วรู้สึกไหมว่าใจเราไหลไปอยู่ที่พระ เราดูพระรู้เรื่องใช่ไหม เรามีสติ สติเราจับอยู่ที่พระ ใจเรามีสมาธิ ใจเราไปแช่อยู่ที่พระ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสัมมาสมาธิ เวลาที่เรามีมิจฉาสมาธิ จิตมันจะเคลื่อนไป จิตมันจะไหลลงไปนิ่งๆ อยู่ที่อารมณ์อันใดอันหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลารู้ลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปรู้ท้องพองยุบ จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกรม ยกเท้าย่างเท้า จิตไหลไปอยู่ที่เท้า ขยับมือทำจังหวะเคลื่อนไหว จิตไหลไปอยู่ที่มือ นี่จิตหลงไป จิตไหลไป อย่างนี้เรียกว่ามิจฉาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา เกิดแต่สมถะนะ นิ่งๆ ไปได้อย่างนั้นแหละ หน้าที่ของเราก็คือพยายามรู้สึกตัวไป อาจจะมีเครื่องอยู่อะไรสักอันหนึ่ง ถ้าเราไม่ได้ติดเพ่งรุนแรงมาก่อนนะ รู้อะไรสักอย่างขึ้นมาเป็นตัวตั้ง (วิหารธรรม) เช่น พุทโธ หรืออานาปานสติ สมมุติว่าบางคนท่องพุทโธ เอาพุทโธเป็นตัวตั้ง พุทโธแล้วไม่ใช่บังคับจิตให้ไปอยู่ที่พุทโธ พุทโธแล้วจิตไปอยู่ที่พุทโธนี่ก็รู้ จิตหนีไปที่อื่นก็รู้ พุทโธแล้วก็รู้ทันจิต เห็นจิตหนีไปหนีมา เห็นจิตสุข จิตทุกข์ จิตดี จิตร้าย พุทโธเอาไว้เป็นตัวตั้งเพื่อจะดูจิต ทีนี้จะเกิดปัญญา จิตต้องตั้งมั่นขึ้นมา ต้องรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ เป็นคนดู ไม่เผลอไป ไม่ไหลไป ตั้งมั่นอยู่ แต่มีเงื่อนไข ต้องตั้งมั่นอย่างสบายด้วย ตั้งมั่นแบบเบาๆ แบบอ่อนโยน แบบคล่องแคล่วว่องไว แบบไม่ได้ถูกกิเลสครอบงำ ถ้าตั้งแบบแข็งๆ นี่ไม่ใช่ ตั้งแล้วหนักๆ นี่ไม่ใช่ ตั้งแล้วเครียดๆ นี่ไม่ใช่ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิมีความเบา มีความนุ่มนวลอ่อนโยน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีความซื่อตรงในการรู้อารมณ์ทั้งหลาย ความโลภเกิดขึ้นก็เห็นความโลภเกิดขึ้น เห็นเหมือนกับคนเดินผ่านหน้าบ้าน ความโกรธเกิดขึ้นนะ เห็นความโกรธผ่านมา เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน เห็นใจลอยไป ดูเหมือนเห็นคนอื่นใจลอย ใจมันแค่ตั้งมั่นเป็นคนตามรู้ตามดูเรื่อยๆ มันรู้อย่างสบายๆ รู้อย่างมีความสุข สัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ถ้าถามว่าจิตตั้งมั่น ตั้งอยู่ที่ไหน แล้วตอบว่าตั้งที่ลมหายใจ อันนั้นไม่ใช่ตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ต้องตั้งมั่นในการรู้ลมหายใจ จิตอยู่ต่างหาก ลมหายใจอยู่นี่ กายกับจิตมันแยกออกจากกัน จิตตั้งมั่น เวลาเห็นกิเลสจะเห็นกิเลสอยู่ห่างๆ จิตอยู่ต่างหาก แยกออกจากกัน เวลารู้กาย เห็นกายอยู่ห่างๆ จิตแยกออกมา กายกับจิตมีช่องว่างมาคั่น มีระยะห่างในความรู้สึก ไม่ใช่รวมเป็นเนื้อเดียวเดียวกัน อย่างคนที่ไปรู้ลมหายใจ แล้วจิตไหลไปอยู่ที่ลม นี่ไม่มีช่องว่าง จิตกับลมหายใจรวมเป็นเนื้อเดียวกัน อันนี้เป็นการเพ่งอารมณ์ เป็นสมถะ ถ้าจิตตั้งมั่น จิตมันจะแยกออกมาต่างหาก มันเห็นร่างกายหายใจ เหมือนดูคนอื่นหายใจเลย ถ้าพูดภาษาง่ายๆ ตามสภาวะที่เห็นจริงๆ ก็คือ มันเหมือนจิตอยู่ต่างหาก ร่างกายอยู่ต่างหาก กายกับจิตมันแยกกัน มีระยะห่าง มีช่องว่างมาคั่น แต่ไม่ใช่การถอดจิตออกจากร่างนะ มันเป็นการแยกออกโดยความรู้สึกเท่านั้น บางทีจิตก็ถลำวิ่งเข้าไปหากาย บางทีจิตถลำวิ่งไปที่อื่นก็ได้ จิตถลำไปแล้วก็ให้รู้ทัน แล้วจิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาใหม่ จิตที่ตั้งมั่นแล้วจะรู้สึกขึ้นมา พอรู้สึกขึ้นมา มันจะเห็นเลยว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี่ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที แล้วจะเห็นทันทีเลยว่าเวทนา (ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ) ที่ปรากฏอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาไม่ใช่เราเพราะอะไรเพราะเวทนามันแยกออกไปห่างๆ อย่างพวกเรารู้สึกไหม มีใครรู้สึกไหมว่า พัดอันนี้เป็นตัวเรา ไม่มีใช่ไหม เพราะมันอยู่ห่างๆ นึกออกไหม เมื่อจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเกิดสติปัญญา เราจะเห็นเลยว่ามือนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา มันอยู่ห่างๆ ร่างกายอยู่ตรงนี้เลยนี่ อยู่ห่างๆ หมดเลย จิตมันอยู่ต่างหาก จิตมันเป็นคนดู มันจะเห็นตลอดเวลาเลย เห็นได้ทันทีเลยว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา จิตของคนส่วนใหญ่ไม่ตั้งมั่นหรอก จิตส่วนใหญ่ไหลตามอารมณ์ไปเรื่อยๆ ถ้าไหลตามอารมณ์สะเปะสะปะไปเรื่อยๆ เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ถ้าไหลไปแล้ว ไปแช่นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เขาเรียกว่าการเพ่ง ฉะนั้น สิ่งที่ผิดที่ทำให้เราเจริญวิปัสสนาไม่ได้ก็เลยมีสองอันที่หลวงพ่อบอกว่าเผลอกับเพ่งนั่นเอง เผลอนี่คือจิตมันจับอารมณ์นี้ จับอารมณ์นั้น จับอารมณ์โน้น เปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆ สะเปะสะปะไปเรื่อยๆ ดูไม่ทันหรอก เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไป อะไรเกิดขึ้นไม่รู้เลย จับอันโน้นที จับอันนี้ที คล้ายๆ ลิงโหนต้นไม้ต้นนั้นต้นนี้นะ ถ้าไหลไปนี้ที ไหลไปโน้นที เรียกว่าฟุ้งซ่าน เรียกว่าหลงไป เรียกว่าเผลอไป อีกอันหนึ่ง จิตถลำไปไหลไป ไหลเหมือนกันนะ แต่ไหลไปอยู่กับสิ่งสิ่งเดียว เหมือนทาร์ซานไปเกาะนิ่งๆ หรือลิงไปเกาะต้นไม้นิ่งๆ ไม่กระโดดไปไหน อันนี้แหละสมถะ นี่แหละเพ่ง มันจะไม่มีปัญญาเกิดขึ้น ถ้าเมื่อไรจิตไม่หลงไป แล้วก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ นั่นแหละ ทางสายกลางอยู่ตรงนั้น ทำอย่างไรเราจะเดินเข้าสู่ทางสายกลางได้ โดยมีจิตซึ่งไม่ได้เผลอไป แล้วก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ วิธีง่ายๆ เลย ขั้นแรกนะ ถ้าเพ่งอยู่ เลิกไปก่อน คนไหนติดสมถะให้เลิกไปก่อน เลิกปฏิบัติไปชั่วครั้งชั่วคราวก่อน เสร็จแล้วก็คอยรู้ทันเวลาจิตเผลอไป จิตไหลไป เผลอไปทางตา เช่น ไหลไปดูพระพุทธรูป เผลอไปทางหู ได้ยินไหม ระฆังดัง รู้สึกไหม ไปตั้งใจฟังระฆังปุ๊บนี่ ได้ยินเสียงระฆัง ลืมกายลืมใจแล้ว เผลอไปทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ เผลอได้ทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าเมื่อไรเผลอไป ใจก็ไม่ตั้งมั่น แต่มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง ถ้ามันเผลอแล้วเรารู้ว่าเผลอนะ จิตจะตั้งมั่นพอดีเลย แต่ถ้าเพ่งแล้วรู้ว่าเพ่งนะ จิตไม่ตั้งมั่นหรอก จิตก็ยังเพ่งอยู่ เพราะอะไร เพราะจิตที่เผลอไปฟุ้งซ่านไปเป็นจิตอกุศล ทันทีที่เรารู้ทัน จิตอกุศลจะดับทันที จะเกิดจิตที่ตั้งมั่นในฉับพลันนั้น ส่วนจิตที่เพ่ง ไม่ใช่จิตอกุศลนะ จิตที่เพ่งเป็นจิตที่ทำสมถะ เป็นจิตที่เป็นกุศล เป็นความปรุงแต่งฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้นเราไปรู้อยู่ก็ไม่จำเป็นต้องดับหรอก เว้นแต่ว่าเราจะเลิกเพ่ง การทำจิตให้ตั้งมั่นมีหลายแบบ เพราะคนมีหลากหลาย เช่น บางคนทำฌานได้จนเกิดจิต “ ผู้รู้ ” ที่เรียกว่า “ เอโกทิภาวะ ” เช่น การทำอานาปานสติ หายใจไปแล้วมีสติระลึกรู้ลมหายใจ โดยเอาลมหายใจเป็นอารมณ์ ตัวลมหายใจเรียกว่าบริกรรมนิมิต ดูลมหายใจไปเล่นๆ ดูสบายๆ อย่าไปเป็น อย่าไปเค้นจิต อย่าไปบังคับจิตให้สงบ จิตไม่ชอบให้ใครบังคับนะ ถ้าเราบังคับมันจะเครียด มันจะไม่สงบหรอก ให้รู้เล่นๆ ไป ลมหายใจนี้เป็นบริกรรมนิมิต ลมจะสั้นขึ้นๆ ทีแรกหายใจลงไปถึงท้อง จากนั้นลมจะเบาๆ เหมือนหายใจสั้นๆ เหลือแค่ปลายจมูก ต่อจากนั้นลมจะเปลี่ยนเป็นแสงสว่าง แล้วรวมเป็นดวงสว่างขึ้นมา ถึงจุดนี้ให้เราเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน เราไม่ได้ใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์แล้ว เราใช้ดวงที่มีความสว่างนี้เป็นอารมณ์แทน ดวงนี้เรียกว่าอุคคหนิมิต ดูไปเรื่อยจะเป็นปฏิภาคนิมิต ย่อได้ ขยายได้ มีความสุข มีปีติแล้วมีสติรู้ทันอยู่ที่ใจของเราเอง จนกระทั่งใจมันวางนิมิต ไม่มีวิตกถึงนิมิต ไม่มีวิจารถึงนิมิต ไม่เคล้าไม่เคลีย ไม่นึกถึง ไม่ยกขึ้นมา จะมีภาวะแห่งความรู้ “ ตัวผู้รู้ ” จะเด่นขึ้นมาเรียกว่า “ เอโกทิภาวะ ” คือสมาธิที่มีใจตั้งมั่นขึ้นมาเป็นหนึ่ง ไม่ตรึกตรองในอารมณ์ เวลาเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวเอโกทิภาวะยังอยู่ จะประคองรักษาจิตเอาไว้เองโดยที่เราไม่ต้องรักษา จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วจะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู นี่คือวิธีทำเต็มรูปแบบ คนรุ่นนี้ทำยาก วันหนึ่งๆ มีแต่ความฟุ้งซ่าน ก็ต้องทำอีกแบบหนึ่ง บางคนทำฌานไม่ได้ แต่อยากให้มีจิตที่ตั้งมั่นเป็น “ ผู้รู้ ” ก็ให้นั่งหายใจไป หรือนั่งดูท้องพองยุบไป ขยับมือทำจังหวะก็ได้ แล้วค่อยๆ ดูไป ร่างกายมันเคลื่อนไหว มีใจเป็นคนดู หรือให้รู้อิริยาบถ ๔ ให้เห็นเลยว่าร่างกายมันมีใจเป็นคนรู้ ร่างกายมันเดินมีใจเป็นคนรู้ ร่างกายหายใจออก หายใจเข้า มีใจเป็นคนรู้ไปเรื่อย คอยรู้สึก รู้ไปรู้ไปมันจะแยกกายกับใจออกจากกัน มีตัว “ ผู้รู้ ” ขึ้นมา ถ้าหัดรู้ด้วยวิธีนี้จะแยกได้ไม่นาน อีกพวกหนึ่ง ถ้าฝึกให้มีจิต “ ผู้รู้ ” ไม่ได้ ก็ให้หัดเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้แหละ เวลาจิตไหลไปหลงไปแล้วรู้ ถึงรู้จุดหนึ่ง ก็เห็นเหมือนกันว่าร่างกายก็แยกจากจิตได้ ถ้าฝึกแบบไม่มีตัว “ ผู้รู้ ” ให้หัดรู้สึกๆ ไปเรื่อยๆ แล้วมันไประลึกได้เองเวลาใจมันตั้งมั่นขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาจะตั้งมั่น ทำไมใจถึงตั้งมั่น ก็เพราะสติไปรู้ทันนิวรณ์ขึ้นมา จิตจะตั้งมั่น แต่ตั้งแวบเดียว นี่เราฝึกอย่างนี้ก็ได้ การรู้ทันนิวรณ์ก็คือ เมื่อจิตมีกามฉันท์ (พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย อารมณ์ทางใจ) จิตพยายามก็รู้ จิตสงสัยก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตหดหู่ก็รู้ไปเรื่อย เมื่อไรนิวรณ์เกิดขึ้นแล้วสติไปรู้ นิวรณ์จะดับ เพราะนิวรณ์เป็นกิเลสเกิดร่วมกับสติไม่ได้ พอนิวรณ์ดับ จิตก็มีสมาธิขึ้นมาเอง เพราะศัตรูของสมาธิก็คือนิวรณ์นั่นแหละ เมื่อใจของเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาได้ เราจะถอดถอนตัวเองออกจากตัวเอง มันเหมือนมีอีกคนหนึ่งเป็นคนดูขึ้นมา ร่างกายนี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตใจเป็นของถูกรู้ถูกดู ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย เป็นของถูกรู้ถูกดู กระทั่งร่างกายก็เป็นของถูกรู้ถูกดู สิ่งใดที่เราเห็นได้ก็ไม่ใช่เราใช่ไหม มันเป็นของที่จิตไปรู้เข้า นี่เราจะค่อยๆ แยกขันธ์คือกายกับใจออกไปนะ การเจริญปัญญาเริ่มต้นด้วยการแยกขันธ์ออกไป พอเรารู้สึกตัวเป็นแล้ว เราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าตัวเรานี่กระจายออกเป็นกองๆ เรียกว่ากระจายออกไปเป็นขันธ์ๆ แต่ละส่วนๆ ที่กระจายออกไปนั้นไม่มีตัวเรา แต่ถ้าขันธ์ทั้งหลายมารวมตัวอยู่ด้วยกัน เราจะเกิดความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาว่านี่เป็นตัวเรา ถ้ามีตัวเราก็มีเราแก่ เราเจ็บ เราตาย มีเราสมหวัง มีเราผิดหวัง มีเราพลัดพรากจากสิ่งที่รัก มีเราไปเจอสิ่งที่ไม่รัก มันก็มีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี คราวนี้ไม่มีใครแก่ใครเจ็บใครตาย ร่างกายมันแก่ ร่างกายมันเจ็บ ร่างกายมันตาย ไม่ใช่เราแก่ ไม่ใช่เราเจ็บ ไม่ใช่เราตายอีกต่อไปแล้ว ส่วนจิตใจก็เกิดดับตลอดเวลา เดี๋ยวคิดดีเดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวโลภเดี๋ยวโกรธเดี๋ยวหลง เดี๋ยววิ่งไปที่ตา เดี๋ยววิ่งไปที่หู เดี๋ยววิ่งไปคิด ทำงานของเขาเอง เขาเกิดดับตลอดเวลา เขาไม่ใช่ตัวเรา นี่ดูอย่างนี้นะ ดูลงในกายเห็นกายไม่ใช่เรา ดูลงไปที่จิตใจเห็นจิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มีหรอก แต่ละอัน แต่ละขันธ์นี่ พอขันธ์กระจายตัวออกไปแล้ว จะเห็นว่าขันธ์แต่ละขันธ์ไม่ใช่เราแล้ว ขันธ์ก็เป็นแค่ขันธ์เท่านั้นเอง ถ้าเราเจริญสติมากเข้าๆ จนจิตตื่น จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู มันเป็นของที่จิตไปรู้เข้า มันแยกออกไปจากจิต กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง จะเห็นเลยว่าร่างกายที่เคลื่อนไหวยืนเดินนั่งนอนนี่ เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นว่าเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์รู้สึกเฉยๆ เป็นแค่สิ่งแปลกปลอมเข้ามา อยู่ห่างๆ มันไม่ใช่จิตด้วย แล้วมันก็ไม่ใช่กายด้วย ถ้ามีสติปัญญาแก่รอบกว่านี้จะเห็นเลยว่า จิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับไป จิตเกิดที่หูแล้วก็ดับไป จิตเกิดที่ใจไปคิดไปนึกแล้วก็ดับไป จิตที่เป็นกุศลเกิดแล้วก็ดับ จิตที่เป็นอกุศลเป็นจิตโลภเกิดแล้วก็ดับ จิตโกรธเกิดแล้วก็ดับ จิตหลงเกิดแล้วดับ จิตฟุ้งซ่านเกิดแล้วก็ดับ จิตหดหู่เกิดขึ้นแล้วก็ดับ นี่จะเห็นอย่างนี้ การที่เห็นมันเกิดแล้วมันดับ มันเกิดแล้วมันดับ ขาดออกไปเป็นท่อนๆ ไม่ใช่จิตดวงเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย แต่จะเห็นจิตขาดเป็นท่อนๆๆ นะ เป็นดวงๆ ไป เห็นอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อให้เห็นว่ามันไม่ใช่อันเดิม จิตที่รู้สึกตัวก็ดวงหนึ่ง จิตที่หลงไปคิดก็ดวงหนึ่ง จิตที่รู้สึกตัวก็ดวงหนึ่ง จิตที่เพ่งอยู่ก็ดวงหนึ่ง คนละดวงกัน ถ้าเราเห็นจิตขาดเป็นดวงๆ เรียกว่า สันตติขาด สันตติคือความสืบเนื่อง สันตตินี่แหละสร้างภาพลวงตาขึ้นมา ถ้าสันตติขาดเราก็จะเห็นของจริง ยกตัวอย่างเหมือนเราดูการ์ตูน เราเห็นว่าตัวการ์ตูนอย่างโดเรม่อน อิ๊คคิวซังมันเดินได้ใช่ไหม วิ่งได้กระโดดได้ ทำท่าโน้นทำท่านี้ได้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันคือรูปที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเลย แต่ละรูปแต่ละรูปมาต่อกัน รูปนี้เกิดแล้วก็ดับ จิตมันจำเอาไว้ อาศัยสัญญาใช่ไหม สัญญาที่หลวงพ่อว่ามันวิปลาสน่ะ อาศัยสัญญาจำรูป รูปแรกมันอยู่ตรงนี้ อีกรูปหนึ่งมันมาอยู่ตรงนี้ นี่อาศัยสัญญานะ มันจำได้ว่าแต่ก่อนอยู่ตรงนี้ แล้วเดี๋ยวนี้มาอยู่ตรงนี้ มันจะรู้สึกเหมือนมันเคลื่อนไหวได้ เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว ๔ . การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อเรียนหลักการภาวนาเข้าใจแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เราอย่าไปวาดภาพการปฏิบัติธรรม การทำวิปัสสนา หรือการภาวนาว่าต้องไปนั่งหลับหูหลับตา ตัวที่สำคัญที่สุดเลยคือมีสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ กิเลสเกิดขึ้นมาตอนไหนก็รู้มันไปตรงนั้น นั่นเรียกว่าภาวนาแล้ว ร่างกายเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกอยู่ก็เรียกว่าภาวนาแล้ว จิตใจทำงานไปแล้ว เรารู้เท่าทันอยู่ก็เรียกว่าภาวนาแล้ว เวลาเราทำงานก็ขยันทำงานไป ทำงานแล้วยังมีเวลาเหลือ เราก็คอยรู้กายรู้ใจของเราไป หรือเราทำงานแล้วเกิดเครียดขึ้นมา แวบขึ้นมา เรารู้ทันความเครียด นี่เราได้ปฏิบัติแล้ว เราทำงาน เราจะรีบให้เสร็จเร็วๆ คนโทรศัพท์มากวน เราโมโหก็รู้ว่าโมโห นี่เราได้ปฏิบัติแล้ว เห็นไหม ทำงานไป ถึงเวลาพักจะไปกินข้าว ดีใจ รู้ว่าดีใจ นี่ก็ปฏิบัติแล้ว เดินไปกินข้าว ลงมาจากตึก เดินไป เห็นร่างกายเดินอยู่ ใจเราเป็นแค่คนดู นี่ก็ปฏิบัติแล้ว ไปถึงร้านอาหาร ดูอาหารนั่นก็น่ากิน นี่ก็น่ากิน วันนี้หิวเป็นพิเศษ อะไรๆ น่ากินไปหมดเลย ตะกละ ลังเลๆ เห็นเลย ใจกำลังลังเลว่าจะกินอะไรดี บางวันดูจนหัวแถวท้ายแถวหมดทุกร้านแล้ว ไม่มีอะไรน่ากินเลย ชักหงุดหงิด เอ๊ แม่ค้าแถวนี้ทำไมไม่มีพัฒนาการ ขาด innovation (นวัตกรรม) ห่วยแตก โหลยโท่ย แล้วแต่จะด่านะ ถ้าหิวมากก็ด่ามากหน่อยเพราะขาดสติ เราก็รู้ทันใจของเราไปเรื่อย นี่แหละก็ปฏิบัติแล้วใช่ไหม เราจะไปห้องน้ำ เกิดฉุกเฉิน จะต้องรีบเข้าห้องน้ำด่วน พุ่งพรวดเข้าไปถึงห้องน้ำ ห้องน้ำเต็มทุกห้องเลย วิ่งไปอีกที่หนึ่ง อ้าวก็เต็มอีก ใจเราทุรนทุรายเต็มที่แล้ว เพราะว่าศัตรูมารอที่ประตูถ้ำแล้ว สู้มันไม่ไหวแล้ว นี่ทุรนทุรายขึ้นมา กลุ้มอกกลุ้มใจขึ้นมา รู้ทันมันเข้าไป ถึงจะปวดท้อง แต่ใจไม่ปวดไปด้วยหรอก นี่เขาเรียกว่าภาวนา นี่พอเราคอยรู้ทันใจของเราไปเรื่อย แต่ละขณะๆ นี่แหละคือการปฏิบัติ รู้ไปอย่างนี้นะ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริง จิตใจของเราไม่คงที่หรอก จิตใจของเราเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวเฉยๆ เดี๋ยวก็ดีขึ้นมา เดี๋ยวก็มีความร่าเริงเบิกบานในธรรมะขึ้นมา เดี๋ยวก็เป็นอธรรม เห็นไหม เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง เราไม่ได้ไปฝึกเป็นยอดมนุษย์ เราฝึกเป็นคนธรรมดานี่แหละ ฝึกอยู่ในชีวิตธรรมดาจนเห็นความจริงว่า ธรรมดาของกายนี้เป็นอย่างนี้ ธรรมดาของใจเป็นอย่างนี้ พอเห็นธรรมดาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับกายกับใจ ไม่เดือดร้อนแล้ว จะแก่ก็ธรรมดา จะเจ็บก็ธรรมดา จะตายก็ธรรมดา จะพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ธรรมดา เจอสิ่งที่ไม่รักก็ธรรมดา จะสมหวัง จะผิดหวัง มันเรื่องธรรมดาไปหมด เพราะกายนี้ใจนี้เราเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยอะไรไม่ได้จริงหรอก ต่อไปอะไรเกิดขึ้นในชีวิต มันจะรู้สึกเหมือนกับเป็นเรื่องที่เกิดกับคนอื่น แล้วถ้าไม่มีตัวเรา ใครเป็นผู้ทำกรรม ก็ขันธ์น่ะสิมันทำกรรม ขันธ์มันทำของมันเอง ใครเป็นคนรับผลกรรม ขันธ์น่ะสิมันรับผลกรรม ไม่ใช่เรารับผลกรรม มีการกระทำกรรม แต่ไม่มีเราผู้กระทำกรรม มีผู้รับผลกรรม แต่ไม่มีเราผู้รับผลกรรม ถ้าสติปัญญาแก่รอบนะ เห็นขันธ์มันทำ เราไม่ได้ทำ คราวนี้สิ่งที่ขันธ์ทำจะกลายเป็นกิริยาล้วนๆ เลย เราไม่ได้ทำเสียแล้ว นี่ค่อยเรียนนะ เรียนลงไปจนเห็นเลยว่าตัวเราไม่มี ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ ตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ก็เรื่องของมันสิ ถามว่าใครทุกข์ ก็ขันธ์มันทุกข์ กายมันทุกข์ใจมันทุกข์ ไม่ใช่เราทุกข์ เราพ้นทุกข์ได้เพราะการรู้ที่ถูกต้อง คือพ้นได้ด้วยปัญญา ส่วนคุณธรรมอื่นๆ เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ศีล เป็นเพียงตัวสนับสนุนเกื้อกูลเท่านั้น ในสังสารวัฏที่ยาวนานนี่ การที่จะได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบและได้ฟังธรรมเป็นสิ่งที่ยากที่สุดเลย วันเวลาที่มีพระพุทธเจ้า มีศาสนาพุทธนี้สั้นมาก โอกาสที่ได้เรียนธรรมะมีไม่มาก มีน้อย ค่อยรู้สึก รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจไป อย่าให้เสียโอกาสไปวันหนึ่งๆ โดยเปล่าประโยชน์  แสดงน้อยลง

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

การเจริญเมตตาอัปปมัญญาเจโตสมาธิยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

การเจริญเมตตาอัปปมัญญาเจโตสมาธิยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกันคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

เพชรน้ำเอกในคำสอนของพระตถาคตเจ้าทางแห่งความหมดจด พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่ สบายของภิกษุเหล่านี้ ?" จึงทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่ง พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะสิ้น สองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอ ทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สังขาร แม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะ อรรถว่ามีแล้วไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา. "เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมจิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน?

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกันคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์เราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ"มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง 

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

ธรรมที่ควรตั้งไว้ในตนเธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ https://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHXLmbVU รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนเธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ https://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHXLmbVU รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐhttps://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHXLmbVU รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง“ธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิดการปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็คือการศึกษาธรรมะนั่นเอง ธรรมะก็คือกายกับใจ กายเรียกว่ารูปธรรม ใจเรียกว่านามธรรม ให้เราศึกษากาย ศึกษาใจ ศึกษาไปเรื่อย ตามดูว่าความเป็นจริงของกายเป็นยังไง ความเป็นจริงของใจเป็นยังไง ตัวความเป็นจริงนั่นแหละ ตัวธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ก็คือเข้าถึงธรรมะ … ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี

ผู้สละโลก ปลดแอกพอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อ...พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

อริยมรรคพอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

จิตหมดแรงดิ้นจิตหมดอำนาจพอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

จิตหมดแรงดิ้นจิตหมดอำนาจจิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,,หาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย..คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละคิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว แสดงน้อยลง

TOSHIBA IGBT POWER MODULEIGBT POWER MODULE IC HALF BRIDGE DRIVER TOSHIBA Insulated Gate Bipolar Transistor Silicon N Channel IGBT. GT15J331. High Power Switching Applications. Motor Control Applications. L6569 - High Voltage Half Bridge Driver with oscillator and Integrated Bootstrap Diode, STMicroelectronics,The MC3PHAC is a high-performance monolithic intelligent motor controller designed specifically to meet the requirements for low-cost, variable-speed, 3-phase induction motor speed control

การซ่อมตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ตอนภาคจ่ายไฟดู.วงจร..ก่อน...นะครับ...แต่ละรุ่น..แต่.­.ละยี่ห้อ...ใช้...วงจร คล้ายกัน..ครับ. https://www.youtube.com/user/MrSompon... เลือกชมคลิป..ดี ดี ได้เลยครับ.....จำหน่าย Mosfet 2SK2698 2SK2611 TOSHIBA JAPAN แท้ ราคา ตัวละ 35 บาท 3 ตัว 100 บาท สำหรับ ท่านที่ทำงาน ซ่อม ตู้เชื่อม อินเวอร์เตอร์ ครับ.. จำหน่าย TLP3506 TOSHIBA Photocoupler GaAs Ired & Photo-Triac TLP3506 Triac Driver Programmable Controllers. ทีีใช้ในเครื่องซักผ้า ราคาตัวละ 30 บาทครับ...ใช้แทน R23MF1 ไดัครับ. จำหน่าย Power Module PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 ราคาตัวละ 300 บาท ใช้สำหรับ สร้าง ซ่อม อินเวอร์เตอร์ สามเฟส. เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสแบบอิน­เวอร์เตอร์ (Inverter) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของม­อเตอร์ นิยมใช้กันมาก ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ ยุคปัจจุบัน เช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำ อินเวอร์เตอร์ เครื่อง สูบน้ำ อินเวอร์เตอร์ รถ จักรยาน ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ยานพาหนะ ในยุคปัจจุบันและอนาคต ล้วนต้องใช้ อินเวอร์เตอร์

ติดสมถะกันงอมแงมธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

จิตเบิกบานทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้ เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐ หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจ­ริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนน­ะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่งแต่รวมความก็คืออริยมรรคไม­่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเราอริ­ยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมิ­นะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกา­ยใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต­็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้น­มาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรจะเห็น­แต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับ­ไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสา­ระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

ปั๊มน้ำมอเตอร์สามเฟสใช้ไฟฟ้าเฟสเดียวมอเตอร์ สามเฟสใช้แบตเตอรี่เลือกรับชมคลิป..ตาม ลิ้งค์ นะhttps://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox...ครับ..ขอบคุณ..มากครับ.. การใช้มอเตอร์อินดัตชั่นสามเฟสกับแบตเตอรี­่ 24 VoltsTM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 24 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ TM 52 A ครับ TM 52 A (TM52A หมดแล้วครับให้ใช้ PS21244 แทนครับ PS21244 ราคา ตัวละ 300 บาท ใช้ได้กับมอเตอร์ สามเฟส หนึ่งแรงม้า ครับ ขนาน กันได้ หากต้องการ ขับมอเตอร์ที่มีขนาด เกิน กว่านี้ครับ เหลืออยู่ประมาณ 700 ตัวครับ ณ.วันที่ 17 สิงหาคม 2558 )จะทำหน้าที่ขับมอเตอร์ สามเฟส 220/380 Volts สูงสุดที่ประมาณ 3- 5 แรงม้าแนะนำให้ใช้ที่..3 แรงม้าครับ..บอร์ด MC3PHAC ทำหน้าที่ สร้างและกำหนดค่าของสัญญาณ สามเฟส SINE WAVE แบบ PWM ครับ..มีจำหน่ายหลายที่ครับ ติดต่อกันเองก็แล้วกัน ถ้าหาไม่ได้ ลองโทรไปที่ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE 6 DI 15 S -050 C 6 DI 15 S-050 D TM 51 TM 52 A สำหรับสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟส..

Energy savingsMC3PHAC PS21963 3 PHASE INDUCTION MOTOR SPEED CONTROL TM51 DC -DC CONVERTER power and control 3 phase ac induction motor with dc source https://www.youtube.com/watch?v=4oIt_10DYYg

กEnergy savings https://www.youtube.com/watch?v=81qnGF-vmhE Many fixed-speed motor load applications that are supplied direct from AC line power can save energy when they are operated at variable speed by means of VFD. Such energy cost savings are especially pronounced in variable-torque centrifugal fan and pump applications, where the load's torque and power vary with the square and cube, respectively, of the speed. This change gives a large power reduction compared to fixed-speed operation for a relatively small reduction in speed. For example, at 63% speed a motor load consumes only 25% of its full-speed power. This reduction is in accordance with affinity laws that define the relationship between various centrifugal load variables. In the United States, an estimated 60-65% of electrical energy is used to supply motors, 75% of which are variable-torque fan, pump, and compressor loads.[30] Eighteen percent of the energy used in the 40 million motors in the U.S. could be saved by efficient energy improvement technologies such as VFDs. Only about 3% of the total installed base of AC motors are provided with AC drives.[33] However, it is estimated that drive technology is adopted in as many as 30-40% of all newly installed motorsารควบคุมมอเตอร์รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา

schematics for a pwm to 3 phase sine wave converterEnergy savings https://www.youtube.com/watch?v=81qnGF-vmhE Many fixed-speed motor load applications that are supplied direct from AC line power can save energy when they are operated at variable speed by means of VFD. Such energy cost savings are especially pronounced in variable-torque centrifugal fan and pump applications, where the load's torque and power vary with the square and cube, respectively, of the speed. This change gives a large power reduction compared to fixed-speed operation for a relatively small reduction in speed. For example, at 63% speed a motor load consumes only 25% of its full-speed power. This reduction is in accordance with affinity laws that define the relationship between various centrifugal load variables. In the United States, an estimated 60-65% of electrical energy is used to supply motors, 75% of which are variable-torque fan, pump, and compressor loads.[30] Eighteen percent of the energy used in the 40 million motors in the U.S. could be saved by efficient energy improvement technologies such as VFDs. Only about 3% of the total installed base of AC motors are provided with AC drives.[33] However, it is estimated that drive technology is adopted in as many as 30-40% of all newly installed motors