วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
พระธรรมเทศนาโดยพระราชพรหมยานเถระเรื่องพระพุทธเจ้า (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์ ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ ข้าพระองค์. ว่าด้วยคำถามของพระพุทธนิมิต [๓๗๕] คำว่า มีความเห็นอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่าง ไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า บุคคลประกอบด้วยความเห็นเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร. คำว่า มีศีลอย่างไร ความว่า บุคคลประกอบด้วยศีลเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? คำว่า อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า อันบัณฑิตกล่าว เรียก บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับ ระงับแล้ว. พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญาว่า มีความเห็นอย่างไร ตรัสถามถึงอธิศีลว่า มี ศีลอย่างไร ตรัสถามถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลมีความ เห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร? อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. [๓๗๖] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอจงตรัสบอกบุคคล นั้น ... แก่ข้าพระองค์ ความว่า บุคคลที่ถาม ที่ขอให้บอก ขอให้ตรัสบอก ขอให้ประกาศ. พระพุทธนิมิตนั้น ย่อมตรัสเรียกพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยพระโคตรว่า ข้าแต่พระโคดม. คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ตรัสเล่า บอก แสดง แถลง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ... แก่ ข้าพระองค์. [๓๗๗] คำว่า ถูกถามแล้ว ในคำว่า ถูกถามแล้ว ... ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม ความว่า ถูกถาม ถูกสอบถาม ขอให้บอก ขอเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ. คำว่า ซึ่งเป็น นรชนผู้อุดม ความว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร? มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้า ไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอก บุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์. [๓๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ ปราศจากตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วน ท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อธิบายคำว่า ภควา [๓๗๙] คำว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ตัณหา ความว่า ก่อนแต่กายแตก คือ ก่อนแต่อัตภาพแตก ก่อนแต่ทอดทิ้งซากศพ ก่อน แต่ขาดชีวิตินทรีย์ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ เป็นผู้มีตัณหาหายไป สละไป สำรอก ออก ปล่อย ละ สละคืน เป็นผู้ปราศจากราคะ คือ เป็นผู้มีราคะหายไป สละไป สำรอก ออก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีตนดังพรหม อยู่. บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวเรียกด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถ ว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนกแจกแจงซึ่งธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่ สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอัน อบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า ละเมาะ ป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็น ที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภควา อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วน แห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภฌาน- *สมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิ สัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหันตผลในลำดับ แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลและธรรม ทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาค ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา. [๓๘๐] อดีตกาล ท่านเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น ในคำว่า ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละตัณหา สละคืนทิฏฐิ เสียแล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูป อย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอดีตกาล เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญา อย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า ในอดีต กาล เราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลินจักษุ และรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในหูและเสียงว่า ในอดีตกาล เราได้มีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ใน อดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยใจและธรรมารมณ์นั้น จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อ ไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจ ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน และไม่ถึงความปลื้มใจด้วยความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามที่มีในคราวก่อนนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วน เบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. [๓๘๑] ปัจจุบันกาล ท่านเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง ในคำว่า ผู้อันใครๆ ไม่นับได้ ในส่วนท่ามกลาง ความว่า พระอรหันต์ปรารภถึงปัจจุบันกาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว เพราะ ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว อันใครๆ ไม่นับได้ว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ยึดถือ ถึงความกวัดแกว่ง ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง. พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้น ได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว อันใครๆ ไม่นับได้โดยคติว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิด ในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. พระอรหันต์ นั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องถึงการนับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อัน ใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง. ว่าด้วยความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง [๓๘๒] คำว่า นั้น ในคำว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น คือ พระ อรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำ ไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. พระอรหันต์นั้น ละ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความ ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ จึงไม่กระทำตัณหาหรือ ทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิแวดล้อม เที่ยวไป แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูป อย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญา อย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ใน เบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิน จักษุและรูปนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. ไม่ตั้ง จิตเพื่อได้หูและเสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะ เหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น ความทำ ไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือ เป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุไม่ ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลินภพนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์ นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น. [๓๘๓] บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี. ว่าด้วยเหตุเกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง [๓๘๔] ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ความว่า ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน. ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่ เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขากำลัง ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งเป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ ๑. ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษ ร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็น ผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ. อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุส- *วาจาก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศต่างๆ ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่างๆ แต่ยังไม่ให้จับท่อนไม้และศาตราก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาตราก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็ก แผลใหญ่ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหัก ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหัก แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับก็มี. บางครั้ง ความโกรธ เป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่า บุคคลอื่นแล้ว จึงให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของมาก อย่างยิ่ง. ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ. บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละ ความโกรธได้แล้ว เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ. ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง [๓๘๕] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง. ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง กลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง. ภิกษุนั้น ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ ผู้ไม่สะดุ้ง. ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด [๓๘๖] คำว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด โอ้อวด. ภิกษุนั้น ย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วย วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วย ความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการปกครองบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งแห่ง ศิลปศาสตร์ ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง ปรากฏมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่า เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ ไม่ฉันภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่นอนเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขา จัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ บ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง บุคคล ไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ บุคคลงด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด. ว่าด้วยผู้ไม่มีความรำคาญ [๓๘๗] ชื่อว่า ความรำคาญ ในคำว่า ผู้ไม่มีความรำคาญ ได้แก่ ความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญทั้งมือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญ ในสิ่งควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ. ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่ กระทำอย่างไร? ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำแต่กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำแต่วจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโน- *สุจริต เราทำแต่ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำแต่อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนา เครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำแต่มุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำแต่ปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำแต่ผรุสวาจา เราไม่ได้ ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำแต่สัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก สัมผัปปลาปะ เราทำแต่อภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำแต่พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ ไม่กระทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้ เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งนิโรธ ความรำคาญนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร- *เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ไม่มีความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ. ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา [๓๘๘] คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า ปัญญาเรียกว่า มันตา ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. บุคคลกำหนดกล่าววาจา ด้วยปัญญา แม้กล่าวมาก พูดมาก แสดงมาก แถลงมาก ก็ไม่กล่าววาจาที่กล่าวชั่ว พูดชั่ว เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว บอกเล่าชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา. ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน? ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบจิต ความที่จิตกวัดแกว่ง ความที่จิตหมุนไป นี้เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน. ความฟุ้งซ่านนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน. ว่าด้วยการสำรวมวาจา [๓๘๙] คำว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้ เคลื่อนคลาดแก่โลก. ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากปิสุณาวาจา ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความเพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้ เขาพร้อมเพรียงกัน ด้วยประการดังนี้. ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย เป็นคำของชาวเมือง ที่ชนหมู่มากพอใจ ชอบใจ. ละสัมผัปปลาปะ เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีส่วนสุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔. งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่ ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคค- *กถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา สติปัฏฐาน- *กถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา. คำว่า ผู้สำรวมวาจา คือ ผู้สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง รักษา ระวัง สงบแล้ว. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และ ตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วย ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี. [๓๙๐] บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไป แล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิ ทั้งหลาย. ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา [๓๙๑] คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ความว่า ตัณหา เรียกว่า ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องใน อนาคต. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่าง นี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยว ข้องในอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมี จักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและ รูปนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. ไม่ตั้งจิตเพื่อได้หูและ เสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินใจและธรรมารมณ์นั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยว ข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพหรือเทวดาตนใด ตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่ เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลินภพนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้. ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก [๓๙๒] คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่รำพันถึง ไม่ ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ของเราแปรปรวนไป แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเราแปรปรวนไปแล้ว สกุล หมู่ คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ของเราแปรปรวนไปแล้ว จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย- *เภสัชบริขาร ของเราแปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร บิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว. ว่าด้วยผัสสะ [๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ได้แก่ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุข- *เวทนา ผัสสะอันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากฤต ผัสสะอันเป็นกามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็นสุญญาตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็นโลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็น แห่งความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความ เที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง. เห็น โสตสัมผัส เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็นอธิวจน- *สัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกข- *เวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็น อกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยากฤต เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ เห็นผัสสะ อันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกุตตระว่า เป็นของว่างจาก ความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความ เป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น อนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นอนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น อดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีต และผัสสะอันเป็นอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ อันปฏิสังยุตด้วย สุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความ โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิ สังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย. [๓๙๔] คำว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคล นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลอัน ทิฏฐิย่อมไม่นำไป ไม่นำออกไป ไม่ลอยไป ไม่เลื่อนไป และบุคคลนั้นไม่กลับถึง ไม่กลับมา สู่ทิฏฐินั้นโดยความเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วง ไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปเพราะทิฏฐิ ทั้งหลาย. [๓๙๕] บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่ คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจและไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด. ว่าด้วยผู้หลีกเร้น [๓๙๖] คำว่า เป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ความว่า เพราะละเสียแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้น. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ หลีกเร้นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความถือตัวว่า เป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิด ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้หลีกเร้น. ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง [๓๙๗] เรื่องความหลอกลวง ในคำว่า ไม่หลอกลวง มี ๓ อย่าง คือ เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง ๑. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน? พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้น มีความ ปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้น เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความ เป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยมูตรเน่าหรือชิ้นลูกเสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความเป็นผู้อยาก ได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง. พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความ เพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร. เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบ บุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วย ไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตร ผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมา จะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับ เสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก. ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความ หลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความ ปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชน จักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุ มีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ อาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) การตั้งใจ ตั้งการดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้ เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ. เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุม ชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงภาชนะ- *โลหะ ทรงธรรมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคตเอว ใช้ สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดมีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบ กันมาอย่างนี้ มีสหายอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียว อย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้น อย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้ อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ ในเรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าย่นยู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะเลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตตรธรรม และนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบังความทำหน้ายู่ยี่. ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วย การพูดเลียบเคียง. เรื่องความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ผู้หลีกเร้นไม่หลอกลวง. [๓๙๘] ตัณหาเรียกว่า ความทะเยอทะยาน ในคำว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความทะเยอทะยานนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน. ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง คำว่า ผู้ไม่ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ความตระหนี่ ธรรม ๑ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความ เหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่า ความตระหนี่. ความ ตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย ไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ ตระหนี่. ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง [๓๙๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ ได้แก่ ความ คะนอง ๓ อย่าง คือ ความคะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑. ความคะนองทางกายเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะ ก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนองทางกาย. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ไม่ ก้ม) พูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน อยู่บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน คณะแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวกภิกษุบางรูปที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะ พวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบน อาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในโรงฉัน แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระ บ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่ บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบ ข้างหน้าบ้าง อาบเหนือน้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดิน ข้างหน้าบ้าง เดินขึ้นหน้าพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความ คะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่า เข้าไปเถิดพระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขา ไม่บอกว่า ยืนเถิดพระคุณเจ้า ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิดพระคุณเจ้า ก็นั่ง เข้าไปสู่ที เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ผลุนผลัน เข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่งหญิงของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง จับศีรษะเด็กบ้าง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนอง ทางกายอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความคะนองทางกาย. ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะ ก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ย่อมแสดงความคะนองทางวาจา. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อ เชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกแก่พวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อ เชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูด บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูด บ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกะสตรีบ้าง กุมารีบ้าง พูดฟุ้งไปว่า ดูกรหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สิ่งอะไรมีอยู่ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวกเราจะดื่มอะไร จะฉันอะไร จะเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือท่านทั้งหลายจะให้อะไรแก่เรา ภิกษุเข้าไปสู่ ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความคะนองทางวาจา. ความคะนองทางจิตเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลสูง ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลสูง. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลใหญ่. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติ มาก ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก. มิใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุผู้ทรงจำพระสูตร มิใช่เป็นผู้ทรงพระวินัย ... มิใช่เป็นพระธรรมกถึก ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ ถือไม่นอนเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ ได้ปฐมฌาน ฯลฯ มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. นี้ชื่อว่า ความคะนองทางจิต. ความคะนอง ๓ ประการนี้ บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคล นั้นเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง. ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ [๔๐๐] คำว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ ความว่า บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจก็มี ผู้ไม่เป็นที่ รังเกียจก็มี. ก็บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติอันไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง มีการงานอันปกปิด ไม่ใช่สมณะ ก็ ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีความเน่าอยู่ ณ ภายใน มีจิตชุ่มอยู่ด้วยราคะ เป็นดังว่าหยากเยื่อ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น ที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่าเข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียก ว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้กระด้าง ถือตัวจัด มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด มีความถือทิฏฐิของตน มีความถือรั้น มีความสละคืนยาก บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ. ก็บุคคลผู้ไม่เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มีความแค้นเคืองมาก แม้อันใครๆ ว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่มุ่งร้าย ไม่ปองร้าย ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดี ให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความ เห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่ รังเกียจ. อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ. ว่าด้วยผู้ส่อเสียด [๔๐๑] ชื่อว่าความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ฟังจากข้างนี้ แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคน หมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็น ก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีคำส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑. บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียด เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้. บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? บุคคลมีความ ประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย อย่างไรคนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก บุคคล- *มีความประสงค์ให้เขาแตกกันนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้. คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด. [๔๐๒] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด. ว่าด้วยกามคุณ ๕ [๔๐๓] กามคุณ ๕ เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุ เป็นที่ยินดี. เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ ๕ โดยส่วนมาก เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ความยินดี คือ ความ- *ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ก็มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหา หลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ. ความยินดี คือ ความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้น ก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มี สัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทาง จมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี. ว่าด้วยความดูหมิ่น [๔๐๔] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่นเป็นไฉน? บุคคล- *บางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่น. ความดูหมิ่นนั้น อันบุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น ไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น. [๔๐๕] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด เพราะประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด. ผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก [๔๐๖] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ บุคคลมีปฏิภาณ เพราะปริยัติ ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม ๑. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เล่าเรียน พระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. ญาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะ ปริยัติ. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถาม ในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ. ญาณของ บุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยการไต่ถามนั้น. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา. บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ได้บรรลุ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ. เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้นิรุติ นิรุติก็แจ่มแจ้ง. ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุติทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. บุคคลผู้ใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้มีปฏิภาณ. บุคคลใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้ง แก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ. ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก [๔๐๗] คำว่า ไม่เชื่อใครๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองต่อใครๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม คือ ไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใครๆ อันซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเอง คือ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งผัสสายตนะ ๖ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูต รูป ๔ ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่ รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี ความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอย่อมเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สันธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้อง หน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ... ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ถูกละๆ ดูกรสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อต่อใครๆ รู้ว่า นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำ ไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวังเสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่า เป็นอุดมบุรุษ ดังนี้. ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด. พระ อรหันต์นั้น ชื่อว่า เป็นผู้เว้น เพราะสิ้นราคะ ปราศจากราคะ สิ้นโทสะ ปราศจากโทสะ สิ้นโมหะ ปราศจากโมหะ. พระอรหันต์นั้น อยู่จบพรหมจรรย์ มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีภพ ใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด. [๔๐๘] บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่ พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะตัณหา. ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ [๔๐๙] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริ อย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- *เภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้ทรงจำพระสูตร ด้วย เหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภก็เล่า เรียนพระสูตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความ เกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ฯลฯ ท่านผู้นี้ เป็นผู้ทรงจำพระอภิธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอหวังได้ลาภก็เล่าเรียนพระอภิธรรม เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่ง ลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยาก ได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ? ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือ การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอหวังได้ลาภก็เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการ อยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ และเพราะ ความเกิดขึ้นแห่งลาภ. ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร? ภิกษุย่อมไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อ ประโยชน์ฝึกตน เพื่อสงบตน เพื่อให้ตนปรินิพพาน อย่างเดียวเท่านั้น. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะ อยากได้ลาภ แม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเป็นผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวร เป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ถือการนั่ง เป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น. ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ. ว่าด้วยโกรธเพราะไม่ได้ลาภ [๔๑๐] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อม โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ ขัดเคือง แค้นใจ ทำความ โกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปฐาก เราเป็นผู้มีชื่อเสียงไม่ปรากฏ. บุคคล ย่อมโกรธ เพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้. บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่โกรธ ไม่ ขัดเคือง ไม่แค้นใจ ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อม ไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปฐาก เราเป็น ผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ. บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ. ว่าด้วยความพิโรธ [๔๑๑] คำว่า ความพิโรธ ในคำว่า เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา ดังนี้ ได้แก่ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคือง เสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ประทุษร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพิโรธ. ความพิโรธนั้น อันบุคคล ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้ไม่พิโรธ. ชื่อว่าตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. ชื่อว่ารส ได้แก่ รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน. มีสมณพราหมณ์บางพวกติดใจในรส สมณพราหมณ์ พวกนั้น เที่ยวแสวงหารสอันเลิศ ด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยว ก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รส ไม่เปรี้ยวก็แสวงหารสเปรี้ยว. ได้รสหวานก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รสไม่หวานก็แสวงหารส หวาน. ได้รสขมก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมก็แสวงหารสขม. ได้รสเผ็ดร้อนก็แสวงหารส ไม่เผ็ดร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อนก็แสวงหารสเผ็ดร้อน. ได้รสเค็มก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่ เค็มก็แสวงหารสเค็ม. ได้รสปร่าก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าก็แสวงหารสปร่า ได้รสเฝื่อน ก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดก็แสวงหารสเฝื่อน. ได้รสอร่อยก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อย ก็แสวงหารสอร่อย. ได้รสเย็นก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนก็แสวงหารสเย็น. สมณพราหมณ์ พวกนั้นได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ย่อมแสวงหารสอื่นๆ อีก เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ตัณหาในรส อันบุคคล ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงร่างกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่อ อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบาย ดังนี้. คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว คนหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตรเป็น อาหารเพื่อจะออกจากทางกันดาร อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว พึงฉัน อาหาร ก็ฉันนั้น ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อ ความดำรงกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นซึ่งรสตัณหา ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยรสตัณหา เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่ พิโรธ และไม่ติดใจในรสเพราะตัณหา. [๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่า ดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ [๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ชอบ ใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรสที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่ เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท. กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรง ดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่ ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ หลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. บุคคลนั้น เป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดใน เสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่. ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส อยู่. พระอรหันต์มีจักษุปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรส ด้วยลิ้น แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. มีใจปรากฏ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มี ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว. จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระ- *อรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวมจักษุนั้น. หูเป็น ธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลิ่น ลิ้นเป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติ ชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็นธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความสำรวมใจนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาทรงขึ้น พาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคลผู้ฝึกฝนแล้ว อดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์. ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น. ใครๆ ไม่พึงไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศ ที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อมไปถึงได้. พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย เป็นผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึกแล้ว ๑- พระ อรหันต์เหล่านั้น เป็นผู้ชนะแล้วในโลก. ผู้ใดอบรมอินทรีย์ทั้งหลาย ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายในทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลก นี้และปรโลกแล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา. คำว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดนิตยกาล ตลอดกาลยั่งยืน ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา ทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญธัมมานุ- *ปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ. ว่าด้วยมานะ [๔๑๔] คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก ความว่า ไม่ยังมานะให้เกิดโดยชาติบ้าง @๑. อรหัตผล โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราเสมอเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก. [๔๑๕] คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ความว่า ไม่ยังความดู หมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา. ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ ประการ [๔๑๖] คำว่า นั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่ากิเลสอันหนาทั้งหลาย คือ กิเลสอันหนา ๗ ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือ ย่อม ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสอันหนา ทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ย่อมไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญ ว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลาย ย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น. [๔๑๗] ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพ และ ในความปราศจากภพ. ว่าด้วยความอาศัย [๔๑๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้นั้นละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัยสละคืน ทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย. [๔๑๙] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. ผู้ใดละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตอันทำให้ ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย. ว่าด้วยตัณหา [๔๒๐] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ใด คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ในภพ คือ ในภวทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ใน วิภวทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในสัสสตทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ในอุจเฉท- *ทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในอุปบัติบ่อยๆ ใน ปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันให้อัตภาพเกิดบ่อยๆ. ตัณหาย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ ตัณหานั้นอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพ และในความ ปราศจากภพ. [๔๒๑] เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ กิเลส เป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้าม ตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. [๔๒๒] คำว่า เรากล่าวบุคคลนั้น ... ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ ความว่า เรากล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งบุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวบุคคลนั้น ... ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ. ว่าด้วยกาม ๒ [๔๒๓] โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม. บุคคลนั้นกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลังแล้ว ซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้- *หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เพ่งในกาม ทั้งหลาย. ผู้ว่าเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง [๔๒๔] ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพัน ในคำว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น คือ กิเลสเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง ได้แก่ กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ อภิชฌา พยาบาท สีลัพพตปรามาส อิทังสัจจาภินิเวส (ความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง). ความกำหนัดในทิฏฐิ ของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ อภิชฌา. ความอาฆาต ความไม่ยินดี ในวาทะของชน เหล่าอื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ พยาบาท. ความยึดถือศีล หรือพรต หรือศีลและพรต ของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ สีลัพพตปรามาส. ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลส เครื่องผูกพันทางกาย คือ อิทังสัจจาภินิเวส. คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า กิเลส เครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี คือ มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นกิเลสอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ [๔๒๕] คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว ความว่า ตัณหาเรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. เพราะอรรถว่าซ่านไป เพราะอรรถว่าแผ่ไป เพราะ อรรถว่าไม่สม่ำเสมอ เพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะอรรถว่าสะท้อนไป เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ให้พูดผิด เพราะอรรถว่ามีมูลรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่ามีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่ามีเครื่อง บริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว ความว่า บุคคลนั้น ได้ข้าม ข้ามพ้น ล่วงเลย เป็นไปล่วงตัณหาอัน ชื่อว่าวิสัตติกานี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ กิเลสเป็น เครื่องผูกพันทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว. [๔๒๖] บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น. ว่าด้วยบุตรเป็นต้น [๔๒๗] ศัพท์ว่า น ในคำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล นั้น เป็นปฏิเสธ. คำว่า นั้น คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าบุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรเกิดแต่ตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่เกิดในสำนัก ๑. คำว่า ปศุสัตว์ คือ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา. คำว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวจ้าว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉางที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือ ความยึดถือบุตร ความยึดถือปศุสัตว์ ความยึดถือไร่นา ความยึดถือที่ดินย่อมไม่มี มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น. ว่าด้วยทิฏฐิ [๔๒๘] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ ในบุคคลนั้น ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อม ไม่มี สิ่งที่พึงปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึง ปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มี แก่บุคคลนั้น. บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วงความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลย ความเจริญและความเสื่อมแล้ว. บุคคลนั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน บุคคลนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น. [๔๒๙] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด โทษนั้น ไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย. [๔๓๐] คำว่า ปุถุชน ในคำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว โดยโทษใด ความว่า เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าปุถุชน. เพราะอรรถว่าให้กิเลสหนาเกิด เพราะอรรถว่าเป็นผู้มีสักกายทิฏฐิอันยังไม่กำจัดมาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เลือกหน้าศาสดามาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันคติทั้งปวงร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่าย่อมปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าย่อมลอยไปเพราะห้วงกิเลสต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าย่อมเดือดร้อนเพราะ กิเลสเป็นเหตุให้เร่าร้อนต่างๆ มาก เพราะอรรถว่าเป็นผู้กำหนัด ยินดี ชอบใจ หลงใหล ติดใจ เกาะเกี่ยว พัวพันมากในกามคุณ ๕ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อไว้มาก จึงชื่อว่า ปุถุชน. คนพวกใดพวกหนึ่งผู้เข้าถึง ถึงพร้อมด้วยการบวชภาย นอกศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้อ้างตนว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า พราหมณ์. คำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด ความว่า พวกปุถุชนพึง กล่าวโดยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาใด และพึงกล่าวโดยอนุสัย ใดว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่แน่นอน หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลส เครื่องปรุงแต่งได้แล้ว พึงกล่าวถึงคติโดยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ เป็นเนวสัญญีนาสัญญีสัตว์. บุคคลนั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ ที่เป็นเครื่องกล่าว คือ บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก สมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด. ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม [๔๓๑] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ ความห้อมล้อม ๒ อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา ๑ ความ ห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อม แห่งทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหา และทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิห้อมล้อม เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น. [๔๓๒] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ นิทานนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะวาทะทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด โทษนั้น ไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะวาทะทั้งหลาย. [๔๓๓] บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวใน ความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนัด. [๔๓๔] ตัณหาเรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า ปราศจากความกำหนัด. ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความกำหนัดนั้น. อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ ปราศจากความกำหนัด. บุคคลนั้นไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่ติดใจ เป็นผู้ที่มีความกำหนัด ปราศไป กำจัด คลายออก ปล่อย สละคืนแล้ว ในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้มี ตนเป็นดังพรหมเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด. ชื่อว่า ความตระหนี่ ในคำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ ตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่. [๔๓๕] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. บุคคลผู้ เป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อม ไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำ กว่าเขา. ว่าด้วยความกำหนด ๒ อย่าง [๔๓๖] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนดด้วย ตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ มั่น ซึ่งความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึง ความกำหนด. ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ กำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึง ความกำหนด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวใน ความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด. [๔๓๗] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่ เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ. ว่าด้วยผู้ไม่มีความยึดถือ [๔๓๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ ว่า นี้ ของเรา หรือว่า นี้ของ คนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก. ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก [๔๓๙] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก ความว่า ไม่เศร้าโศกถึง วัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือ ไม่เศร้าโศกถึง ไม่ ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช- *บริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้องครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความ หลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค มองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคน้ำดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกิน กำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึง ความหลงใหล แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวัตถุไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า โอ สิ่งนั้นของเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา หนอ สิ่งนั้นควรมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อสิ่ง ที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศกถึง. ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง [๔๔๐] คำว่า และย่อมไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยไม่ดำเนินออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลาย อันทำให้ เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย. ว่าด้วยผู้สงบ [๔๔๑] ก. คำว่า บุคคลนั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ ความว่า ผู้นั้นเราเรียก คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า ผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบพิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตน ในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มีอยู่ ย่อม ไม่เศร้าโศกถึง และไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ. จบ ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ -----------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น