วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน 

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิตจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิตจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

วิถีแห่งความรู้แจ้ง โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช งานธรรมไร้พรมแดนครั้งที... วิถีแห่งความรู้แจ้ง ความในใจ เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากให้ความรักความเมตตาแวะเวียนไปสนทนาธรรมกับผู้เขียนเสมอ ส่วนมากมักถามถึงแนวทางปฏิบัติที่ผู้เขียนดำเนินมา เป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องพูดคุยในเรื่องเดิมๆ อยู่แทบทุกวัน ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อทุ่นแรงตนเอง หากเพื่อนนักปฏิบัติท่านใดต้องการทราบแนวทางปฏิบัติของผู้เขียน อ่านแล้วคงพอทราบได้ จะช่วยให้การสนทนาสั้นลง เป็นการประหยัดเวลาได้ทั้งสองฝ่าย พระปราโมทย์ ปาโมชโช วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ใจความ 1. สิ่งใดคือจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา - ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง 2. ความทุกข์คืออะไร - ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ หรือทุกข์ที่เนื่องด้วยกาย และทุกข์ที่เกิดจากจิต เช่นความแก่ เจ็บ ตาย การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์(ภพ)คือทุกข์ 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร - ตัณหา ซึ่งมีที่มาจากความไม่เข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ (อวิชชา) 4. ทางแห่งความดับทุกข์ - มรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงเป็นการเจริญสติ ซึ่งเป็นเครื่องมือเฝ้าสังเกตการณ์จนเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดแล้วหลุดพ้น และย่อมรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์แล้ว 5. การเจริญสติคืออะไร - คือการระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร - แทบทุกคนระลึกรู้ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ แค่รู้ไปตามธรรมชาติโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงไปในการรู้นั้น ก็จะรู้สภาวธรรมได้ / สภาวธรรมรู้ง่ายกว่าที่คิดไว้มากนัก 7. สภาวธรรมคืออะไร - คือรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นปรมัตถธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายจิตใจอันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์นี้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความคิดฝันหรือจินตนาการเอาเอง 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร - หมายถึงสภาวธรรมที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะจิตต่อหน้านี้ ผู้ปฏิบัติต้องไม่หน่วงอาลัยถึงสภาวธรรมในอดีต และไม่กังวลถึงสภาวธรรมในอนาคต

ผู้ตั้งอยู่ในอริยะธรรมภุตตา โภคา ภะฎา ภัจจา วิติณณา อาปะทาสุ เม โภคะทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว บุคคลทั้งหลายที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นไปแล้ว อุคธัคคา ทักขิณา ทินนา อะโถ ปัญจะ พะลี กะตา ทักษิณาที่เจริญผล เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลีห้า เราได้ทำแล้ว อุปัฏฐิตา วีละวันโต สัญญะตา พรัหมะจาริโน ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว ยะทัตถัง โภคะมิจเฉยยะ ปัณฑิโต ฆะระมาวะสัง บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน ปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์อันใด โส เม อัตโถ อะนุปปัตโต กะตัง อะนะ นุตาปิยัง ประโยชน์นั้น เราได้บรรลุแล้ว กรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว เอตัง อะนุสสะรัง มัจโจ อะริยะธัมเม ฐิโต นะโร นรชนผู้จะต้องตายเมื่อตามระลึกถึงคุณข้อนี้อยู่ พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยะธรรม อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะตีติ. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล.

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภัทเทกรัตตคาถา ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง, ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้ เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"

กิจที่ควรทำเราได้ทำสำเร็จแล้วภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญนรชน นั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ดังนี้แล.

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ที่พึ่งใจhttp://www.youtube.com/watch?v=Z-jpFpL_BGg

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบ มีสติตั้งมั่นที่ลมหายใจของเราเองแล้วให้สังเกตุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในใจเป็นสิ่งแปลกปลอมทั้งสิ้น.ช้า..ช้า..ไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

พุทโธจิตหนีไปคิดรู้ทันจิตรู้ทันกิเลสรู้ให้เร็วทีละขณะทุกวินาที..

รู้กายรู้ใจของตัวเราตามความเป็นจริงแล้วจะถึงความสิ้นทุกข์หายใจเข้าเพื่อแก้ทุกข์ หายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ ข้างต้นก็ล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ขั้นปลายก็ล้างความหลงผิดว่าขันธ์ ๕ กายใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ที่แท้ไม่ใช่ของดีของวิเศษแต่เป็นตัวทุกข์

ลพ.ปราโมทย์ ปาโมชฺโช31JULY54รู้ทันกันหลง

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คาถาธรรมบทว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า กิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า

วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรม เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌาน เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

วิธีละความยินดีในโลกียสุขของพระอนาคามีบุคคลธรรมวิโมกข์ อย่าทะนงตน อย่าทะนงตน คิดว่าเราเป็นคนดี ถ้าคิดว่าดีเป็นผู้วิเศษเมื่อไร เมื่อนั้นแหละกรรมใหญ่ อันตรายใหญ่จะมาถึงท่าน ที่เราเรียกกันว่าความประมาท ขอจงพยายามคุมตนไว้ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ นั่นก็คือทรงอิทธิบาท ๔ ให้ครบถ้วน มีจรณะ ๑๕ ครบถ้วน ผมว่าเท่านี้ก็เหลือกินเหลือใช้ มีบารมี ๑๐ ครบถ้วนเท่านี้ก็เหลือแล้ว ถ้าครบเท่านี้อาการของความโลภไม่มี อาการของความทะเยอทะยานในเรื่องเพศในลักษณะของกามคุณไม่มี อารมณ์ที่จะผังไว้กับความโกรธไม่มี การที่จะยึดถืออะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มี ที่ยังมีอยู่ก็เพราะว่าเพียงแต่รับฟังไว้เฉยๆ ดีไม่ดีก็จำไว้ เอาไว้เป็นเครื่องข่มขู่คนอื่น ทะนงตนอวดว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมด้านปริยัติ ถ้าอารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่าปฏิบัติเหลว ไม่มีอะไร แดนที่จะไปก็คือ อเวจีมหานรก หรือว่า โลกันตนรก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒-๓) อย่าสนใจร่างกาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจร่างกายของตนเอง จงอย่าสนใจในร่างกายของคนอื่น จงอย่าสนใจในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เพราะว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายถ้าเป็นเราจริงมันก็ทรงสภาพอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย แต่ทว่าร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ทรงสภาพ ในที่สุดมันก็เข้าขั้นสลายตัว เมื่อเราจะต้องตาย ทรัพย์สมบัติของเราทั้งหลายในโลกมันก็ไม่ตามเราไป แม้แต่ร่างกายที่เรารักที่สุดมันก็ไม่ตามเราไป มันคงจมอยู่ในพื้นปฐพีเป็นปรกติ” อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้คิดไว้อยู่เสมอ อย่าเผลอไปในด้านความโลภ อย่าเผลอไปในด้านความทะเยอทะยาน อย่าเผลอให้จิตใจมีความโกรธ ความพยาบาท อย่าเผลอให้ความนึกคิดว่านั่นเป็นเราเป็นของเรา อารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการ ฉะนั้น ขอทุกท่านจงรักษากำลังใจอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถ้าหากว่าใจของท่านกระสับกระส่าย จงรักษาอานาปานสติกรรมฐาน มีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว ยังไม่ต้องคิดอะไรทั้งหมด กำหนดจิตรู้เฉพาะลม หายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นรู้อยู่ถ้าทำอย่างนี้อารมณ์จิตของท่านจะไม่ฟุ้งซ่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘) พิจารณาร่างกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรได้ทรงแนะนำบรรดาพระภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกขเวดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านปฏิบัติร่างกายของท่าน พิจารณาร่างกายของท่าน ใคร่ครวญขยายออกกระจายออกคือ พิจารณาอันดับแรกเป็นธาตุสี่ ว่าร่างกายของเรานี้เป็นธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ มันประกอบเข้ามาเป็นร่างกาย เรามีความเข้าใจว่า ร่างกายเป็นแท่งทึบ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ร่างกายของเราแบ่งออกเป็นอาการสามสิบสอง มีผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเข้าแล้วเป็นร่างกาย แต่ทว่าร่างกายเหล่านี้มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มันเต็มไปด้วยความ อนิจจัง คือหาความเที่ยงไม่ได้ มันเต็มไปด้วยทุกขัง คือเต็มไปด้วยความทุกข์ไม่มีความสุข มันเต็มไปด้วยอนัตตา คือมันสลายตัวไปทีละน้อยๆ ทุกเวลาที่เคลื่อนที่ไป เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจในร่างกายของเธอ จงอย่าสนใจในร่างกายของคนอื่น จงอย่าสนใจในทรัพย์สินทั้งหลาย จงทำลายความรักในเพศด้วยอำนาจอสุภสัญญา จงทำลายความโลภด้วยการตัดความอยากได้ด้วยการให้ทาน อย่าทะเยอทะยานในทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของดี เป็นปัจจัยในเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร อย่าสนใจในความโกรธ ความพยาบาท ในบุคคลทั้งหลาย ใครเขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เขาจะนินทาว่าร้ายว่าเรา ถ้าบังเอิญเราเป็นคนดีก็ไม่เลวไปตามคำพูด ถ้าเขาสรรเสริญว่าเราดี ถ้าเราเลวเราก็ไม่ดีไปตามคำพูด ความดีและความชั่วอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ใครจะว่าดีว่าเลวก็ช่าง อย่าสนใจทั้งสองประการ เราปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารเท่านั้นเป็นพอ” เป็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘) สังขารุเปกขาญาณ กำลังใจของเราจะทรงได้ดีจริงๆ ต้องน้อมใจของเรานี้ฝึกไปด้วยปัญญาพิจารณาหาความจริง จิตใจตั้งอยู่ในสังขารุเปกขาญาณ นั่นก็คือมีอาการวางเฉยตามสภาวะของสังขาร คือร่างกายและทุกสิ่งทุกอย่างในโบก มีความรู้ตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นอนิจจัง คนเป็นอนิจจัง วัตถุในโลกก็เป็นอนิจจัง คำว่า “อนิจจัง” แปลว่า มันไม่เที่ยง เรารู้ตามความเป็นจริงของมันว่ามันไม่เที่ยง ในเมื่อมันไม่เที่ยง เรายอมรับนับถือความไม่เที่ยงของมัน มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกหาอะไรเที่ยงไม่ได้ แต่ว่าเมื่อมันไม่เที่ยง เราก็ทำใจของเราให้เที่ยง มันเที่ยงตรงไหน เที่ยงตรงที่มันมีความรู้สึกตามกฎของธรรมดาอยู่เสมอว่า ร่างกายก็ วัตถุธาตุก็ดี ที่เกิดมาในโลกนี้มันไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และมีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีความแตกสลายตัวไปในที่สุด (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙) ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง จงจำไว้ให้ถึงที่สุด เมื่อจำไว้ทุกวัน ลืมตาขึ้นมาเช้ามีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะไม่ได้กินข้าวเข้า อาจจะตายก่อนก็ได้ ความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย ถ้าเราตายเลว ก็ดูตัวอย่างสัตว์ในอบายภูมิ มีนรกและเปรตเป็นต้น ก่อนจะตายถ้าเราทำความดี นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะฟังต่อไปข้างหน้าในเรื่องวิมานวัตถุ จะเห็นผลมีความสุข ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยทรัพย์มีความสุข ถ้าเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่มีความสุขสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นเปรตไปก่อนแล้วจึงเป็นเทวดา (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒๘) เห็นกระดูกลอยมา ท่านกล่าวว่า สมัยที่ท่านได้อสุภสัญญา เห็นกระดูกลอยมาและก็พิจารณาเห็นคนทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดเป็นกระดูก ก็จับกระดูกเป็นภาพนิมิต จนกระทั่งจิตทรงด้วยฌาน ๔ เป็นอันว่าอสุภกรรมฐานที่เขาบอกว่าเป็นกรรมฐานพิจารณา ทรงจิตไว้อย่างสูงแค่ปฐมฌานเขาว่ากันอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติจริง ถ้าเราฉลาดเราก็เอาปฐมฌานมาเป็นฌานเสียอย่างสบายๆถึง ฌาน ๔ อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง ท่านผู้เฒ่าท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านจบเอาอสุภทั้งหมด เมื่อได้ “อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง” แล้ว ท่านก็ไล่เบี้ยไปเลยตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ จับภาพไปเลยให้จิตทรง มันเน่าแบบไหน มันเหม็นแบบไหน มันเละแบบไหน มันขึ้นแบบไหน มันพองแบบไหน ท่านทำเป็นฌาน๔ ได้หมดทุกอสุภ ๑๐ อย่าง จิตใจทรงตัว เห็นคนเมื่อไหร่ เห็นสัตว์เมื่อไหร่ เน่าหมด เห็นวัตถุธาตุต่างๆ เห็นโครงกระดูกไม่มีความติดในความสวยสดงดงาม แต่ว่าเวลานั้นเป็นเรื่องของสมถภาวนา เวลานั้นความรู้สึกในระหว่างเพศไม่มี เห็นคนเน่าๆ เห็นสัตว์เน่าๆ เห็นคนเป็นกระดูก มีสภาพน่าเกลียด แต่จิตยังไม่น้อม ไปในด้านวิปัสสนาอย่างสูง มัวเล่นแต่สมถภาวนาธรรมดา เห็นว่าเน่า เห็นว่าเหม็น เห็นว่าน่าเกลียด เห็นว่าโสโครก นี่เป็น สมถภาวนา ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องพิจารณาเห็นความเสื่อมความโทรมของร่างกาย มีสภาพไม่เที่ยง เสื่อมไปทีละเล็กทีละน้อย แล้วในที่สุดมันก็สลายตัว จิตไม่เข้าไปยึดไปถือ ท่านบอกว่าเวลานั้นอารมณ์วิปัสสนาญาณท่านมีนิดหน่อย เล่นเฉพาะสมถภาวนาให้มันช่ำใจเพราะความเข้าใจผิด ตามบันทึกท่านบอกว่า ถ้าเราคิดควบกับวิปัสสนาเสียเวลานั้น ความจริงท่านบอกว่าหลวงพ่อปานก็สอนวิปัสสนา แต่ว่าท่านเป็นคนใจเดียว ถ้าจะเอาอะไรเอาให้มันฟังไปเป็นด้านๆ ถ้าไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า ขึ้นชื่อว่าไม่สามารถในชีวิตนี้จะไม่มีเป็นอันขาดสำหรับท่าน ท่านรู้สึกว่ามีกำลังใจเด็ดเดี่ยวมาก ในสมัยกำลังเล่นอนุภกรรมฐาน แล้วก็มีวิปัสสนาญาณเจือปนนิดหน่อยกันฌานเสื่อม สิ่งที่เป็นศัตรูกับอารมณ์อย่างนี้มันก็เกิด นั่นก็คือ อิสตรีที่เป็นเพศตรงกันข้าม สตรีก็ระวังบุรุษ ถ้าบุรุษก็ระวังสตรีจะเข้ามาเล้าโลมด้วยเหตุต่างๆ มาติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในฐานะที่อยากจะเป็นคนรักด้วย ดีไม่ดี แก่ก็พูดเปิดเผยชวนรักชวนแต่งงาน แต่ต้องระวัง และจงอย่าไปโทษใครเขา เราไปหลงละเมอในคำป้อยอทั้งหลายเหล่านั้น คำชักชวน ความดีของเรามันจะด้วน ฌานจะสลายตัว (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒๙) การเป็นพระโสดาบัน การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคา อนาคา อรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์ แต่ทว่าตอนที่จะตัดสักกายทิฏฐิเธอจงปฏิบัติตามนี้นะ ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรก เข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้ เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไปให้มันมีความทรงตัว แล้วทำจิตใจให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัวมีความสุขที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮะทั้งหมดได้สมาบัติแปดมาแล้ว แล้วก็ศึกษาด้านอภิญญามาแล้วอย่างนี้เป็นของไม่ยาก ในด้านวิปัสสนาญาณ ใช้กำลังสมาบัติแปดเป็นกำลังใหญ่ ทรงใจห้ทรงตัวแล้วถอยหลังไปถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ ๕ มันเป็นภัยสำหรับเรา เป็นวัตถุธราตุที่สร้างด้วยทุกข์สร้างด้วยโทษไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ ๕ คือร่างกาย เราต้องเลี้ยงมันเท่าไร มันชอบอะไรเราให้มันกินทั้งหมด แต่เราไม่ต้องการจะป่วยมันก็ยังขืนป่วย เราไม่ต้องการจะเพลียมันก็เพลีย เราไม่ต้องการจะแก่อย่างฉันนี่ ฉันไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ คนที่เขาตายไปก่อนเรา เขาไม่ต้องการตายมันก็ตาย ในเมื่อขันธ์ ๕ มันเลวทรามอย่างนี้จะคนค้าสมาคมกับมันเพื่อประโยชน์อะไร อันดับแรก จับจุดความเป็นพระโสดาบัน ระงับความพอใจในขันธ์ ๕ เสีย คิดว่ามันจะตายเสมอ แล้วทรงศีลให้บริสุทธิ์ ศีลควรทำเป็นศีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีบให้เป็นกำลังฌาน คำว่า เป็นกำลังฌาน ก็คือทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องจากใจ ไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งหลับตาปี๋ เดินไปเดินมาเลี้ยงหมูเลี้ยงหมา คุยกับหมาคุยกับแมว ศีลทรงตัวใช้ได้ เจอหน้าคนเขา ด่าคนเขา ว่าเขา นินทาศีลไม่ด่างใช้ได้ น้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัย ๓ ประการ คือทรงพระกรรมฐาน ๓ อย่าง ให้ฌานคือ พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ให้ทรงตัว ความจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เธอทรงได้หมดแล้วนี่ จะต้องมานั่งสอนอะไรกัน เว้นไว้แต่จิตอย่างเดียว คือ อารมณ์พระนิพพาน เธอยังไม่มั่นใจเท่านั้นเพราะฉะนั้นจงตัดสินใจทรงอุปสมานุสสติให้ทรงตัว (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๕๓) อย่าลืมคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิ สำหรับการแนะนำในการเจริญพระกรรมฐานในวันนี้ จะขอนำปฏิปทาท่านผู้เฒ่ามาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือการทรงกำลังใจ แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายหรือว่าพระโยคาวจรทุกท่าน อย่าลืมคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิ เรื่องการรักษาอารมณ์ให้เป็นสมาธินี่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอานาปานสติกรรมฐานนี่ให้ทรงตัว แล้วก็จริต ๖ ประการ ใคร่ครวญอยู่เสมอ จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้นิวรณ์ นี่อันดับต้น ถ้าอันดับต้นเรายอมแพ้นิวรณ์ เราก็ไม่อาจจะทรงฌานได้ แล้วก็จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้กิเลส ถ้าเรายอมแพ้กิเลสแล้ว เราก็ไม่สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ คุณธรรมที่เป็นเครื่องบำรุงใจ ดูตัวอย่างท่านมหาบาลที่ผ่านมาแล้ว ใช้กำลังใจส่งนนี้ให้เหมือนท่าน จงคิดว่าท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นกฎุดพี หรือว่าเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก ท่านยังสามารถตัดสินใจอย่างนั้นได้ แล้วก็เรา ถ้าจะกล่าวกัน ท่านมีกี่นิ้ว เรามีกี่นิ้ว หรือว่าท่านมีรูปร่างลักษณะอย่างไร มีอาการสามสิบสามหรือสามสิบห้า ความจริงท่านก็มีอาการสามสิบสองเป็นร่างกายเท่ากับเราเราก็มีกาอากรสามสิบสอง ท่านกินข้าว เราก็กินข้าว ท่านเป็นคนเราก็คน ถ้าหากว่าท่านเป็นคนดีได้ เราเป็นคนดีไม่ได้ เรามันก็เลวเกินไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๕๖) ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า ในเมื่อท่านปฏิบัติความดีมีความตายเป็นเดิมพัน ทั้งนี้ก็หมายความว่า ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์บอกไว้ด้วยถึงแม้ว่าเวลานั้นจะไม่ได้อรหันต์ แต่ต้องได้อรหันต์แน่ถ้าท่านคิดอย่างนั้น อะไรบ้างที่ท่านยอมให้บกพร่อง ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดที่เป็นคันถธุระทุกอย่างทั้งทางด้านวิชาการและการงานไม่ยอมให้บกพร่อง เพราะถือว่าจะต้องมีอารมณ์จิตเข้มข้น ไม่ใช่จะมานั่งภาวนาอย่างเดียวให้เป็นอรหันตผล อันนี้มันไม่ได้เพราะอารมณ์ใจไม่มีการสัมผัสกับฝ่ายที่เป็นตรงกันข้าม ไม่มีการต่อสู้ ทั้งนี้เพราะว่า รู้ตัวอยู่ว่าคนที่หลีกเลี่ยงจากคันถธุระ หลีกเลี่ยงจากโลกธรรม เวลาอยู่คนเดียวสงบสงัด แต่เวลามาสัมผัสกับโลกธรรมเข้า จิตปลิวหวอย ตั้งสติไม่อยู่ ถ้าเราจะทำบ้างทำอย่างไร เริ่มจับจุดเช้ามืด ทรงอารมณ์สมาธิให้สูงสุดที่มันจะสูงได้ ทรงให้นานเท่าไรได้ก็ยิ่งดี อย่ารีบถอน เวลาคลายมาแล้วจิตตั้งอยู่ในอุปจารหรือปฐมฌานอยู่ตลอดทั้งวัน ถ้าอารมณ์จะซ่านหลบเข้าสู่ที่สงัดนิดหนึ่งทำจิตให้ทรงอารมณ์จุดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ จะทำงานทำการอะไรอยู่ก็ตาม ไอ้สมาธิอย่าไปนั่งขัดสมาธินั่งพับเพียบอยู่เสมอ มันไม่มีผล มันต้องการได้ทุกขณะ แม้แต่กิจการงานที่เราทำอยู่ให้จิตมันทรงอยู่ในอารมณ์ของความดีอยู่ในขั้นอุปจารหรือปฐมฌาน วันทั้งวันอย่างนี้ความเป็นพระอรหันต์มันไม่ใช่จะเป็นของยาก ถ้าภายหลังจะบอกว่าง่ายเหลือเกิน เวลาจิตจะคลายจากสมาธิก็จับวิปัสสนาญาณตามที่ศึกษามาแล้ว เราศึกษามาจนท่วมหัวแล้ว ไม่ใช่แค่พอดี ถ้าจิตมันฟุ้งซ่านอีกที ทิ้งวิปัสสนามาจับอารมณ์สมาธิสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความดีมันก็จะปรากฏ คำว่า “ทุกข์” ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนท่านผู้เฒ่า มันเป็นของไม่ยากสำหรับเราจะเอาดี แต่ว่าน่าสลดใจอยู่นิดนะ บางทีเดินไปเดินมา เห็นพระบางทานเก็บตัวมากเกินไปก็น่าสงสาร คำพยากรณ์ใดๆ จงอย่าคิดว่ามันจะได้ตามคำพยากรณ์นะ ถ้าไม่ปฏิบัติตนอย่างดีมันจะไม่ได้อะไรเลยเพราะเราหมกมุ่นเกินไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๖) คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าวันนี้ขอย้อนต้นนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าในสมัยหนึ่ง มีคนเขามาหาท่านแล้วเขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าค่ำๆอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออก จะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญายกจิตโดยใช้ มโนมยิทธิ ไม่ใช่ใช้อภิญญาใหญ่ ขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงก็กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่า “ตามธรรมดาพระนี่ ถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก” ตามบันทึกของท่านก็ถามว่า “ทำอย่างไรจึงจะอ่านออกพระพุทธเจ้าข้า” ท่านบอกว่า “ทิพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธภูมิมาเดิม ทิพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยเจ้า ฉะนั้น เพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัด ควรปฏิบัติแบบนี้ ควรใช้คาถานี้ไปภาวนาจนเป็นฌานสมาบัติ” เรื่องฌานนี่มันเรื่องเล็ก ท่านบอกว่า จะคว้าอะไรขึ้นมา มันก็เป็นฌานทันทีเพราะมีการคล่องอยู่แล้ว คาถาก็เห็นจะเป็น มงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่างนี้ “อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ” ท่านกล่าวว่า “คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน นิมิตต่างๆจะมีอาการแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ หรือว่าเวลามืดๆ ก็สามารถจะมองเห็นหนังสือได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าบงได้ตามความประสงค์ ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาน” ท่านว่าอย่างนั้น เป็นอันว่าท่านย้ำมาว่าไอ้มืดๆ มันก็อ่านหนังสือออก และท่านบอกว่าท่านก็มาทำ มาทำมันก็ไม่นานใช้เวลาเพียงครู่เดียว จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ สยายๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาน ๘ ถึงฌาน ๘ ก็หลบลงมาฌาน ๔ ในรูปฌาน ทำไปทำมาก็เลยลองหลับตาอ่านหนังสือ ก็เห็นอ่านออก แต่ว่าวิธีนี้ท่านบอกว่าจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น ถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็มีความเข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร วงเล็บของท่านมีไว้บอกว่า ใครอ่านแล้วถ้าทำได้ จงอย่าทำตนเป็นผู้วิเศษ เมื่อเวลาอ่านหนังสือต่อหน้าคน ถ้ามันอ่านไม่ออกจริงๆ ก็ใช้ไฟใช้แว่นส่อง ถ้ามันจำเป็นจริงๆก็เอาจิตจับจากภาพหนังสือนั้นเสีย ใช้ใจอย่างเดียวก็อ่านหนังสือออก นี่เป้นวิธีปฏิบัติของท่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) คาถา อิติปิ โสฯ ต่อมาท่านกล่าวว่าท่านได้ “เจริญพระพุทธอารมณ์” ต่อมาท่านเจริญพระพุทธคุณทั้งบท พระพุทธคุณทั้งบทก็คือ “อิติปิ โส ภควา” หมดเลย ความจริงท่านว่าทั้งบท ท่านบอกว่าพุทธคุณทั้งบทนี่ก็ไม่ถูกผมค้านะ ท่านบันทึกไว้อย่างนี้ท่านบอกว่า ท่านเล่น “อิติปิ โสฯ” ทั้งบท ท่านว่ามันสบายใจดีจนกระทั่ง จิตเป็นฌาน ๔ รู้สึกว่าเป็นสุข จนกระทั่งถือรูปพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “อิติปิ โสฯ” ไปด้วย เอาจิตจับรูปพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ไปด้วย แต่ตอนนี้ผมไม่เห็นท่านอธิบายไว้ท่านว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น ท่านว่าทำไปคาถาสั้นก็ทำเป็นฌานได้ คาถายาวก็ทำเป็นฌานได้ “อิติปิ โสฯ” ทั้งบทก็ทำเป็นฌานได้ไม่เห็นจะมีอะไรเป็นสำคัญ ถ้าใจมันเป็นฌานเสียแล้ว ฟังของท่านไว้นะ ความรู้ต่างๆ ของท่านเรียนกันมาแล้วนี่ ผมก็ว่าตามแบบแล้วจะเล่าให้ฟัง ตอนไหนที่มันสมควรสำหรับท่าน ท่านก็เอาไปใช้ ตอนไหนที่ไม่สมควรก็ไม่ต้องนำไปใช้ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) คาถา อภิญญารวม ท่านกล่าวว่าท่านได้พบองค์สมเด็จพระจอมไตรที่พระจุฬามณีเจดียสถาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงตรัสว่า สัมภเกสี สำหรับอภิญญาที่เธอได้ เวลาที่เธอจะใช้ก็ต้องจับกสิณนั้น กสิณนี้ ใช้จิตอย่างนี้ช้าไปหน่อย แต่ความจริงเขาใช้อภิญญากันจริงๆ เขาใช้อารมณ์เรียกว่า เขาจับอภิญญารวม คำว่า อภิญญารวมนี่นึกถึงอภิญญาสมาบัติ คือนึกถึงอารมณ์กสิณทั้งหมดว่าเราต้องการอะไร แล้วก็ให้ภาวนา ภาวนาย่อๆว่า โสตัตตะภิญญา ใช้คำเพียงเท่านี้ เวลาภาวนาให้กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วก็ทิ้งนิมิตเสีย ไม่ต้องไปใช้นิมิตในกสิณใช้โสตัตตะภิญญา อย่างเดียว คือจับกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ถึงที่สุดเป็นฌาน ๔ เท่านั้น อภิญญาทุกอย่างก็จะรวมตัวเราจะใช้ได้ทันทีทันใดโดยไม่ต้องเลือกกสิณอะไรทั้งหมด ตามบันทึกของท่านๆก็มาทำๆ แล้วสบายใจอภิญญาทุกอย่างมันก็รวมตัว เวลาจะใช้อภิญญาก็ใช้ โสตัตตะภิญญา เห็นคำภาวนาเท่านี้ ตามบันทึกของท่านนี้ผมไม่เห็นท่านบอกว่าสงวนสิทธิ์ ในเมื่อท่านไม่สงวนสิทธิ์ ท่านก็สามารถจะทำได้ทุกคน แต่ว่าอย่าลืมว่า ท่านเจ้าของท่านทรงสมาบัติ ๘ ในเมื่อจิตทรงฌาน ๘ จะคว้าอะไรมันก็ได้ทันที ไม่เสียเวลาแม้แต่หนึ่งนาที ถ้าเรามีฌานไม่ถึงสมาบัติ ๘ เราก็ทำตามกำลังของเรา จะทำได้ไม่เท่าท่าน แต่ทำได้ใกล้ท่าน ค่อยๆทำไปก็ใกล้เข้าไปทุกที มันก็ใช้ได้เหมือนกัน ของสิ่งนี้รู้สึกว่าใครคนใดคนหนึ่งนำไปใช้แกบอกว่ามีผลดีมาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) นิมิตจิตติ นิมิตจิตตา นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา ท่านเขียนว่า พระนิพพานนิมิต ตอนที่ท่านกล่าวว่าเมื่อท่านเข้าไปในพระจุฬามณีเจดียสถาน พบองค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า เธอนี่ควรจะเอาจิตจับพระนิพพานได้แล้ว และควรจะถือ “นิพพานนิมิต” เป็นสำคัญ นี่ความจริงควรย้อนต้นมานิดหนึ่ง ตอนก่อนผมพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นอริยสัจเห็นว่ามีความสำคัญก็เลยเล่าสู่กันฟัง ท่านบอกว่าใช้นิพพานนิมิตท่านให้ภาวนาอย่างนี้ “นิมิตจิตติ นิมิตจิตตา นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา” ให้ภาวนาถือนิพพานเป็นอารมณ์อย่างนี้ จิตจะมีการผูกพันพระนิพพานเป็นอารมณ์มากขึ้น แล้วก็กำลังใจของเธอไม่คลาดจากนิพพาน เมื่อกำลังใจของเธอไม่คลาดจากนิพพาน เมื่อเธอตัดพุทธภูมิมาแล้วต้องการเป็นพระสาวก ความสำเร็จของเธอจะไม่ก้าวล่วงปีนี้ไป จงกลับไปจับเอาอารมณ์นี้ให้เป็นฌานสมาบัติ ความจริงท่านวงเล็บไว้บอกว่าไม่เห็นจะยากเมื่อจำคาถามาแล้ว ในขณะนั้นก็ตั้งจิตภาวนาคือทำอารมณ์ไว้ตั้งแต่ยังไม่เอาจิตเข้าร่าง เมื่ออทิสมานกายมันยังลอยไปสู่ภพต่างๆก็ใช้อารมณ์เรื่อยไป จิตใจก็จับพระนิพพานเห็นภาพพระนิพพานใสแจ๋ว มีความมั่นใจว่านั่นแล้วคือพระนิพพาน อย่างไรๆเราตายชาตินี้เราต้องไปให้ได้ เรื่องร่างกายเรื่องทรัพย์สินไม่มีความหมายกับเรา นี่เป็นอารมณ์ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๙) คาถาปราโมทย์ ต่อมา ตามบันทึกของท่านก็ว่ามาอีกว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ให้คาถา “ปราโมทย์” โดยทรงปรารภว่า “ต่อไปเมื่อเธอภาวนาคาถา “ปราโมทย์” นี่แล้ว อะไรทุกอย่างจะเห็นชัดเจนแจ่มใส ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเธอในเวลานี้ดูนิมิตอะไรก็ตาม เห็นอะไรก็ตามมันคลุมเครือไปหมด ถ้าใช้คาถาบทนี้แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะสว่างแจ่มใสเหมือนกับพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง” แต่ความจริงอารมณ์แจ่มใสประเภทนี้ตามแบบจะต้องมีสำหรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ทว่าในตอนนี้พระพุทธเจ้าท่านสอนท่านมาอย่างนั้น ท่านไปเฝ้ามานี่ เราก็ว่ากันตามบันทึกของท่านนะ จะมาโมเมโปเปตานาอะไรกับผมไม่ได้ทั้งนั้น ถ้าใครทำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป ใครได้มโนมยิทธิก็ลองสอบกันเอา เพราะมโนมยิทธิเป็นเครื่องสอบความรู้ทางพระพุทธศาสนา แล้วก็การปฏิบัตินี่ความจริงมันก็เรื่องของใครของมันเหมือนกัน จะทำเหมือนกันทุกอย่างนั้นมันไม่ได้ ก็ว่ากันต่อไปดีกว่า ว่าคาถา ปราโมทย์ ที่ทำให้สมาธิจิตมีทิพจักขุญาณแจ่มใส จะจำภาพเห็นภาพนิมิตทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยแจ่มใสเหมือนกลางวัน คือพระอาทิตย์เที่ยงวัน ท่านว่าโดยนิมิตเปรียบเทียบปรากฏผลว่า ภาพนิมิตและการตรวจสอบใดๆจะชัดเจนขึ้น จะมีภาพแจ่มใส ท่านว่าอย่างนั้น สำหรับคาถาภานานี่ให้คำภาวนาว่า “ปราโมทย์” เฉยๆ จับลมหายใจเข้าออกเหมือนกัน แล้วก็ภาวนาว่า “ปราโมทย์ ปราโมทย์” (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) เจริญอริยสัจ ๔ และหลังจากนั้นมา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสอนให้เจริญใน อริยสัจ ตามที่อธิบายมาแล้ว ผมจะเล่าตะลุย ดีไม่ดีขืนอธิบายไป ชาวบ้านชาวเมืองเสียสตางค์กันมาก อยากจะเรื่องราวของพระองค์นี้ก็ฟังคำอธิบายเสียจนเบื่อ เสียสตางค์หลายคาสเซ็ทนี่ผมไม่ชอบเหมือนกัน ไม่อยากให้ชาวบ้านเสียสตางค์มาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) เจริญพรหมวิหาร ๔ ทีนี้ก็มาว่ากันต่อ หลังจากอริยสัจ ท่านก็บอกในกาลต่อมาอีก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญ “พรหมวิหาร ๔” เอาละซิ โดยแจ้งว่าจะทำให้การรู้การเห็นต่างๆชัดเจนดีขึ้น นี่จำได้ดีนะ ว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วก็ดี ท่านที่ได้มโนมยิทธิแล้วก็ดี ที่มีอารมณ์ไม่แจ่มใสเห็นอะไรไม่ชัดเจน ว่ากันตามลำดับมา ท่านก็บอกว่าถ้าใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็นิมิตต่างๆ ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร ๔ นี่เป็นอารมณ์เยือกเย็นทำอารมณ์ให้ผ่องใสได้ง่ายจริงๆเป็นของไม่ยาก การเจริญเมตตา แล้วก็ท่านบอกว่าเวลานั้นท่านตั้งกระทู้ถาม คือพระพุทธเจ้าเองท่านตั้งกระทู้ถามคือสอนแบบถามว่า “การเจริญเมตตานั้น เขาทำกันอย่างไร” แล้วท่านก็แก้ของท่านเองว่า “การเจริญเมตตาต้อง ๑. ไม่โกรธ และ ๒. ไม่ผูกโกรธ” ภายหลังต่อมาอีก ท่านสอนให้เจริญอสุภกรรมฐาน และมรณานุสสติกรรมฐาน ว่าเมื่อจิตทรงพรหมวิหาร ๔ แล้วก็ต้องเจริญอสุภกรรมฐาน เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรสวย แล้วก็เจริญมรณานุสสติกรรม,น หมายความว่ารู้สึกนำถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาทในความตาย (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) กรรมฐานนิมิตอันแรกให้ผล ตอนนี้ท่านหมายเหตุไว้นิดหนึ่ง ท่านหมายเหตุไว้บอกว่า กรรมฐานนิมิตองค์แรกให้ผลได้ดี องค์แรกที่ท่านวงเล็บไว้บอกว่า “อิติปิ โส วิเสเสอิ ฯ” นี่แหละกรรมฐานนิมิตอันแรกให้ผลได้ดี เป็นเหตุให้ได้ ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๒. จุตูปปาตญาณ ๓. อตีตังสญาณ ๔. อนาคตังสญาณ ๕. ปัจจุปปันนังสญาณ และ ๖. ยถากัมมุตาญาณ คือว่า ทิพจักขุญาณ ท่านมีแล้วอีตอนนี้ท่านไม่คล่องท่านว่าอย่างนั้น ท่านมีแล้วไม่คล่อง พอเกิดคล่องขึ้นมา คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ได้แก่การระลึกชาติถอยหลังไปได้ไม่จำกัดระดับ เมื่อสมัยก่อนเวลาที่ระลึกชาตินี่ รู้สึกว่าทำได้ยากจริงๆมีนเหนื่อยมันหนัก แต่ว่าพอว่า “อิติปิ โส วิเสเสอิฯ” จนคล่องตัวแล้ว การระลึกชาติปั๊บเมื่อไรก็ได้ เอาชาติไหนก็ได้ จุตูปปาตญาณ รู้จักคนตายแล้วเกิดคนตายแล้วไปไหน นึกปั๊บรู้ได้ทันที เห็นคนและสัตว์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าคิดว่า เดิมทีเขามาจากไหนมันรู้ได้ทันที ภาพปรากฏ อตีตังสญาณ รู้เรื่องราวในอดีตของคนและสัตว์ อนาคตังสญาณ รู้เรื่องราวในอนาคตต่อไปของคนและสัตว์ ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เรื่องราวในปัจจุบันของคนและสัตว์และพื้นที่เหมือนกัน ยถากัมมุตาญาณ รู้กฎของกรรมของคนและสัตว์ที่ได้รับความสุขความทุกข์ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นปัจจัย ท่านบอกว่ามันแจ่มใสแล้วก็คล่องแคล่วว่องไวดีมาก แต่ไอ้กำลังใจของท่านบอกว่ามันแจ่มไม่พอ นี่เล่นกับคนไม่พอนี่ก็ยากเหมือนกัน ไม่ยอมเชื่อตัวเองอยู่เสมอ สร้างความสงสัยคือสอบสวนตัวเองอยู่ตลอดเวลา คือว่าตลอดชาติในชีวิตของท่านนี่ ท่านไม่ยอมจะมีความรู้สึกว่าตัวของท่านเป็นคนดี แล้วสิ่งใดที่ได้มาแล้วนี้ท่านต้องพิจารณาเสมอว่ามันเป็นอุปาทานหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าอยู่ๆก็จะไปคุยว่าฉันได้ทิพจักขุญาณจ๊ะ ฉันได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณจ๊ะ แล้วก็มามัวเมากับโลภโมโทสัน มีความรัก ความโกรธ อิจฉาริษยา ไม่ใช่อย่างนั้น องค์นี้มีหน้าที่อย่างเดียวตั้งหน้าตั้งตาสงสัยตัวเองไว้เสมอ เกรงว่าจะคบกับความชั่วเข้ามาไว้ ฉะนั้นเวลาได้อะไร ท่านไม่ยอมเชื่อตัวของท่าน ท่านต้องสอบสวนตลอดเวลา ต่อมาท่านบันทึกไว้ว่า ในกาลต่อมากรรมฐานนิมิตที่ได้ไว้ ที่ได้ต่อมาก็ทำให้จ่มใสชัดเจนมากขึ้น นี่ต้องพิสูจน์กัน ท่านบอกว่าอยู่ๆเราจะมานั่งเชื่อตัวเองอย่างนี้น่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องตรวจสอบกันอยู่เสมอเอากันทุกวัน ทุกวันเวลา เวลาใดที่มีเวลาว่างต้องตรวจสอบ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐-๘๑) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังนี่เป็นของ ไม่เที่ยง จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดในโลกนี้ ถ้าไม่เที่ยงเราไปยึดมันเข้าแล้วมันเป็นทุกข์ต้องปล่อยตามมันๆจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน แล้วในที่สุดมันก็เป็นอนัตตา พังสลายตัวหมดอย่าไปยึดไปถือมัน อย่าไปยึดว่าจะมีอะไรเป็นเราเป็นของเราอยู่ต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง ในเมื่อร่างกายเรายังฟังแล้วจะมีอะไรทรงอยู่อะไรมันทรงอยู่แล้วก็ตาม ถ้าหากร่างกายเราพังแล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์จะมายึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ท่านบอกว่าต้องทำอย่างนี้จริงๆจังๆปล่อยไม่ได้ แล้วก็ต่อมา จงปล่อยความยึดมั่นจากรูปที่เห็นทางตา จงอย่ายึดว่ารูปนั้นเป็นเราเป็นของเรา ปล่อยเสียงที่ได้ยินทางหู ปล่อยกลิ่นที่ได้รับทราบทางจมูก ปล่อยรสที่รับทราบทางลิ้น ปล่อยสัมผัสที่รับทราบทางกาย ปล่อยอารมณ์ใจที่เป็นกุศล อย่าเอาเข้ามายุ่ง ฟังแล้วก็จำนะ นี่เราเรียนกันมาแล้ว นี่ท่านย่อมา ผมเห็นว่าไม่ยาก ผมก็ย่อไป ท่านก็บอกว่าปล่อยใจว่าเป็นเชื้อของเดิมมาเพราะอารมณ์ทั้งหมดเนื่องจากรูป ท่านบอกว่า ที่ต้องมาเกิดอย่างนี้ ต้องมาเป็นทุกข์อย่างนี้ เชื้อเดิมมา เพราะอาศัยรูปเป็นสำคัญ คือ อาศัยรูปทางตา อาศัยเสียงทางหู อาศัยกลิ่นทางจมูก อาศัยรสทางลิ้น อาศัยสัมผัสทางกาย อาศัยอารมณ์ใจที่เกลือกกลั้วในกามารมณ์ นี่ที่ต้องมาเกิดมาเป็นอย่างนี้ อาศัยตัณหาเป็นเจ้าเรือน ตัณหาก็คือความอยาก อยากได้รูปสวยๆ อยากได้เสียงหวานๆ อยากได้กลิ่นหอมๆ อยากได้รสอร่อยๆ อยากได้รับการสัมผัสที่พอใจ อยากได้อารมณ์ที่พึงปรารถนา ท่านบอกว่า นี่พวกนี้เป็นเจ้าเรือน ต้องทำลายไปเสียให้หมด ต้องทำให้ได้ แล้วจะรู้ผลภายในสิบวัน จำไว้นะ ใครอยากจะได้บรรลุมรรคผลเร็วๆ ละก็ปล่อยตามที่ท่านบอก จะรู้ผลภายในสิบวัน ดูซิท่านผู้เฒ่าจะทำได้ไหม ท่านบอกว่า ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมได้ผลแก่ผู้ขยัน แล้วก็ไม่มีใครอาจจะกำหนดพยากรณ์เวลาที่จะสำเร็จมรรคผลได้ ท่านมั่นใจขนาดนี้ ขยันนี่ต้องขยันถูกด้วยไม่ใช่ขยันผิด ขยันตามท่านว่านี้ ถ้าขยันจริงๆ เวลาจะทำ ทรงสมาธิให้เต็มที่ ให้จิตมันทรงตัว แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา เห็นรูปทางตาไม่เป็นเรื่อง เสียงทางหูไม่ได้ความ กลิ่นทางจมูกไม่เป็นรส ว่ากันจิปาถะไปก็แล้วกัน ว่าให้เห็นว่ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ยึดถือปล่อยมันเสียให้หมด เสียงดีหรือเสียงเลวก็ช่าง รูปดีรูปเลวก็ช่าง กลิ่นดีกลิ่นเลวก็ช่าง รสดีรสเลวก็ช่าง สัมผัสดีสัมผัสเลวก็ช่าง อารมณ์ใจทรงไว้เฉพาะในด้านอารมณ์ที่เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว คือตั้งไว้ในด้านสักกายทิฏฐิทำลายอสมิมานะที่ถือตัวตนว่าเป็นเราเป็นของเรา อย่างนี้สิบวันได้แน่ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑) อภิญญาผลสมาบัติ ท่านบอกว่าวันนี้วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๖ ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เข้าเจริญสมณะธรรมตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. ตรง วันนี้มีอารมณ์ดีเป็นพิเศษตั้งแต่เริ่มจับอารมณ์ปั๊บ อารมณ์ก็ใสสว่าง ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน แล้วท่านพยายามทำไปตามลำดับ ผมจะพูดให้ฟังว่าการเจริญพระกรรมฐานนี่ โดยมากก่อนที่จะทำจุดปลายเขามักจะทำจุดต้น จับจุดต้นดูซิว่าจิตอารมณ์ของเราไปพร่องอยู่ตรงไหน คือ อันดับแรกท่านก็จับอานาปานสติควยกับพุทธานุสสติกรรมฐาน จิตเป็นสุขถึงที่สุดถึงฌาน ๔ ทิ้งฌาน ๔ วิ่งเข้าไปฌาน ๘ ถอยหลังลงมาจับอริยสัจ ๔ จิตสะอาดผ่องใสถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ จับเมตตาพรหมวิหาร ๔ จิตเข้าถึงที่สุดทันที ถอยลงมาอุปจารสมาธิ จิตจับอสุภกรรมฐาน จนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นสุข ไม่มีความติดพันในภาพพจน์ใดๆ ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิเข้ามรณังสติกรรมฐาน เมื่ออารมณ์ถึงที่สุด ถอยลงมาอุปจารสมาธิจับบารมี ๑๐ ประการ แล้วถอยลงมาตัดอสมิมานะ ความถือตัวถือตน แล้วถอยลงมาจับสักกายทิฏฐิ จนกระทั่งเข้าจุดถึงขีณาสวานิยตา นี่วิธีทำเขาทำกันแบบนี้ คือไล่ตั้งแต่ต้นลงมา ว่าต้นที่ละได้แล้วมันยังเกาะจิต ถ้ายังต้องใช้เวลามากถึงข้อละสองนาทีใช้ไม่ได้ จับอารมณ์ของจุดไหนอารมณ์จิตมันโปร่งไปหมด ไม่มีอารมณ์เกาะอันนั้นใช้ได้ หรือว่าเป็นฌานทันทีใช้ได้ แล้วจึงจะจับตัวปลาย ถ้าตัวต้นยังไม่คล่องไม่ผ่องใส ยังไม่จับตัวปลาย ต้องไล่เรียงลำดับอย่างนั้นลงมา จับตามลำดับอย่างนั้นลงมาจะถึง ขีณาสวานิยตา อารมณ์ปักแน่น แล้วก็เลยแสวงหานิพพานสุขังต่อไป อารมณ์ปักแน่นก็เป็นฌานสูงสุด อารมณ์เป็นสุขจับหานิพพาน ภาวนานิพพานสุขังต่อไป ท่านบอกว่าแล้วตรวจดุอารมณ์ คราวนี้จิตท่านเป็นทิพย์นี่ ท่านก็ดูใจของท่านเองได้ ท่านก็ตรวจดูอารมณ์เห็นจิตผ่องใสเหมือนกับแก้วสะอาด แต่ว่ายังมีคลื่นนิดๆ หน่อยๆ คือยังมีไหวตัวกระเพื่อมๆ จึงรู้สึกว่าจิตนี่ยังดีไม่พอ จึงได้ถอนจิตจากนิพพานสุขขัง เอาอารมณ์เข้ามาจับจิตขีณาสวานิยตาใหม่ คราวนี้อารมณ์แจ่มใสมากแล้วกันหันเข้ามาจับนิพพานสุขัง จิตทรงตัว ตอนนี้ท่านบอกว่า มีความรู้สึกว่าเวลานี้จิตเป็นอภิญญาผลสมาบัติ อภิญญาหมายความว่า รู้ยิ่ง จิตมีอารมณ์ประเสริฐเพราะท่านเป็นผู้ได้อภิญญา ผล คือ ผลที่ตนได้มา สมาบัติ คือ เข้าถึงๆผลที่ตนฝึกอภิญญามาแล้วควบกับวิปัสสนาญาณทรงตัว เล่นแบบนี้สนุกจะตาย เพลินดีนะ ถอยหน้า ถอยหลังๆ ถอยหน้าอยู่คนเดียว อารมณ์เป็นสุข ตามบันทึกของท่าน เราตั้งใจไว้ว่าจะถอนเวลา ๑๑ น. เริ่มตั้งแต่ ๙ น. ตรง จะถอนเวลา ๑๑ น. ตรงเพื่อกินข้าวละซิ ท่านว่าตอนนี้ชักจะถอนเกือบไม่ออก ดึงเท่าไรก็ไม่ออกจิตมันปักแน่น มันก็ไม่ยอมคลายสมาธิ จิตอารมณ์เป็นทิพย์ ก็รู้สึกว่าดีใจมาก ว่ากำลังใจของเรานี่ดีพอแล้ว มีกำลังใจใหญ่พอจะสู้กับกิเลสได้ สามารถจะห้ำหั่นให้กิเลสทั้งหลายมันสลายตัวไปได้ ว่าอย่างนั้นตามที่ตนปรารถนาไว้แห่งการไม่เกิดอีก ท่านพิจารณาว่าการที่เราจะไม่ต้องเกิดอีกมันใกล้เข้ามา จำให้ดีนะ ขณะนี้ท่านมีความรู้สึกตัว ท่านว่าการที่จะไม่ต้องเกิดอีกใกล้เข้ามาแล้ว มันยังไม่ถึงจุดนั้น มันใกล้ๆ ขณะนั้นเอง ท่านบอกว่าจิตท่านเป็นทิพย์ พบหน้ากิเลสตัณหา กิเลสตัณหามันยื่นหน้าเข้ามาตั้งแต่วันวานนี้วันที่ ๑๙ วันนี้ก็พบมันอีก แต่วันนี้พบชัดมากเพราะจิตมันใสมาก เจ้ากิเลสและตัณหามันสงบนิ่งนอนเฉย นี่แสดงว่ากิเลสมันหลบไปนอนเสีย มันไม่ฟูขึ้นมาด้วยอำนาจกำลังของฌาน แต่ความจริงกิเลสนอนนี่กิเลสยังไม่หมด ถ้าเผลอเมื่อไรมันเข้ามาเมื่อนั้น เป็นอันว่าท่านมีความมั่นคงในกำลังฌานมากกว่าในวิปัสสนาญาณ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงรับรองว่าเป็นพระโสดาบัน นี้ต้องระวังให้ดีนะ จิตสงบสบายแล้วก็อย่าพึ่งไปนึกว่าเราเป็นพระอริยเจ้า ให้มันถึงจริงๆเสียก่อน ใช้วิธีตรวจอารมณ์อยู่เสมอ จับหาความผิด จับหาความชั่วในอารมณ์ของจิตของตัวแล้วท่านบอกว่าให้กิเลสมันเลี่ยงไป บอกเอ็งถอยไป ไม่ใช่เรื่องของเอ็งจะมายุ่งกับฉัน ฉันไม่ต้องการ ท่านว่ามึงจงหลีกไป ท่านว่าอย่างนั้น มึงจงอย่ามายุ่งกับกู กูไม่พึงต้องการมึงอีก มึงเป็นเจ้านายบังคับกูทรมานกูมากหลายแสนหลายกัปแล้ว หลายแสนอสงขัยกัปแล้ว ต่อแต่นี้มึงกับกูไม่มีทางแล้วที่จะมาบังคับกูได้ เป็นอันว่ากูจะต้องหลีกไปหรือทำลายมึงให้พินาศไปเพื่อการเข้าพระนิพพานของกู นี่เขาใช้กันอย่างนี้ใช้กับแบบพูดกับศัตรูที่เป็นตัวสำคัญ ท่านบันทึกต่อไปว่า เราจะเข้าอภิญญาผลสมาบัติอย่างนี้ทุกวันและทุกคืน จะไม่ยอมให้จิตดวงนี้คลาดจากอภิญญาผลสมาบัติ เพื่อประโยชน์ของมหาชนทั่วไป ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่ง จำให้ดีนา นี่เรื่องเล่าให้ฟัง ถ้าชอบใจก็เอาไปปฏิบัติได้ ไม่ชอบใจก็แล้วไป ไม่ได้ว่าอะไร ทำไปตามอัธยาศัยของตนนั่นแหละดี ชอบใจตอนไหนทำตอนนั้น นี่มันเรื่องเล่าให้ฟังแต่ละบุคคล (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๔-๙๖) นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว แล้วก็สมาทานศีลแล้ว ก่อนจะฟังปฏิปทาของท่านผู้เฒ่า ก็อย่าลืมรวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิพยายามคิดอยู่ว่าอะไรมันเป็นนิวรณ์ นิวรณ์ ๕ ประการ รูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไร ขจัดมันเสียให้หมด ทรงจิตคิดไว้เสมอว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอทำผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สำหรับอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็ตั้งใจว่า เราปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน พยายามทรงอิทธิบา ๔ ให้ครบถ้วน และทรงจรณะ ๑๕ ให้ครบถ้วน อย่างนี้ไม่มีใครเขาจะใช้คำว่า ไม่สำเร็จ ถ้าอามรณ์ของท่านทรงอย่างนี้แล้ว อะไรก็ได้ เป็นของไม่หนัก แล้วก็กรรมฐานส่วนใดที่ท่านคล่องอยู่ทำอยู่ก็ทำไปตามนั้น สำหรับปฏิปทาของท่านผู้เฒ่านี้ก็เล่าสู่กันฟังถึงว่าท่านผู้หนึ่งปฏิบัติมาแล้วเท่านั้น ท่านชอบใจตรงไหนเอาตรงนั้นไปใช้ หรือไม่ขอบใจเลย ชอบตำรับตำราที่สอนมาแล้วตรงไหนก็ใช้ตรงนั้นให้เป็นไปตามอัธยาศัยของท่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๐๔) อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง วันนี้ท่านพาดหัวจ้อว่า คาถาเรียกจิต คำว่า คาถาเรียกจิต ไม่ใช่คาถาหนุ่มเรียกสาว สาวเรียกหนุ่ม ไม่ใช่อย่างนั้น เรียกจิตของตนเอง ตามบันทึกของท่านๆบันทึกย่อ ผมจะอ่านไปว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง”ท่านกล่าวว่า พระคุณท่านได้โปรดเมื่อเวลา ๒๐.๓๐น. คำว่า พระคุณท่าน ก็หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราก็รู้แล้วท่านบอกไว้แล้ว่า เวลาทุกขณะจิตท่านทรงอยู่อภิญญาผลสมาบัติอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น การเอาจิตเข้าไปเห็นใครพบกับใครมันเป็นของไม่ยาก เหมือนกับที่เรามีอาหารอยู่ในปากจะกลืนกันเมื่อไรก็ได้ อภิญญาผลสมาบัตินั้น ไม่ใช่สตางค์อยู่ในกระเป๋า ถ้าเรามีสตางค์อยู่ในกระเป๋าเราจะใช้เมื่อไรก็ได้ บางทีสตางค์ในกระเป๋าเราไม่มีที่จะซื้อกันมันก็กินไม่ได้ สำหรับท่านที่ทรงอยู่ในอภิญญาผลสมาบัติเหมือนกับอาหารที่อยู่ในปาก เคี้ยวไว้เรียบร้อยแล้ว จะกลืนเมื่อไหร่ก็ได้มันง่ายกว่ากันเยอะอย่างนี้ แล้วเวลาที่เจริญพระกรรมฐานในคืนวันที่ ๒๔ ท่านจึงได้มาโปรดเมตตาบอก ท่านบอกว่า ให้ทำให้แจ้ง ทำทุกขณะจิตที่จิตพล่าน หมายความว่าคาถาบทเมื่อกี้นี้ คาถาที่บอกว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง” ถ้าเวลาใดที่จิตเกิดอาการฟุ้งซ่านขึ้นมา ให้ทิ้งคำภาวนาอย่างอื่นเสียให้หมด กำหนดลมหายใจเข้าออก คาถานี้ตามสบายๆ กำลังของสมาธิจะรวมตัวได้รวดเร็ว จำเข้าไว้ให้ดีก็แล้วกันนะ ผมขอว่าซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง” แล้วอย่าย่องเอาคาถานี้ไปเรียกผู้หญิงผู้ชายเข้านะ เขาไม่มาหรอก เรียกจิตของเรา ท่านบอกว่าที่จิตมันพล่านนี่ไม่ใช่เพราะผู้หญิงเข้ามายั่ว มันพล่านเพราะโรคทางกระเพาะมันกำเริบ ร่างกายถ้าหากว่า มีโรคเบียดเบียน ประสาทมันก็ไม่ทรงตัว จิตมันพล่านได้ จงอย่าสงสัยในตัวเอง คิดว่าไปหลงใหลใฝ่ฝันในบรรดาสตรีทั้งหลายเหล่านั้น เธอมายั่วมาเย้าเป็นจริยาของมาร แต่คำว่ามารในที่นี้จงอย่าคิดว่าพวกนั้นเป็นพวกมาร ความจริงพวกนั้นเขามาตามหน้าที่ แต่ถ้าอารมณ์ของเราไม่ทรงตัวก็จงคิดว่าจิตของเรานี่แหละเป็นมาร มันมีสันดานหยาบ รู้อะไรไม่ดีทำไมจึงไปหลงใหลใฝ่ฝัน นี่ท่านว่าอย่างนั้น ท่านว่าอย่างนี้ก็ฟังของท่านไว้นะว่าผลจะเป็นอย่างไร จำไว้ให้ดี ตอนนี้ท่านบันทึกว่า “พระ” หมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ก็ทรงสั่งว่า “คืนนี้ใจมันแย่งกันนะ” คำว่า “ใจมันแย่งกัน” ก็หมายความว่าการเจริญกรรมฐาน เดี๋ยวจะภาวนาบทนั้นเดี๋ยวจะภาวนาบทนี้ เดี๋ยวจะพิจาณาอย่างนี้ ถ้าอารมณ์มันแย่งกันอย่างนี้แล้ว การบรรลุมรรคผลมันจะช้า ทำให้มันทรงตัวเรียงลำดับ การเรียงลำดับก็นับกันมาตั้งแต่ ๑. จับอานาปานสติกรรมฐานควบกับพุทธานุสสติกรรมฐาน ๒. หลังจากนั้นก็เอาจิตทรงพรหมวิหาร ๔ ๓. จับกายคตาสติ ๔. จับมรณัสสติ ๕. จับอุปสมานุสติ ๖. จับอริยสัจ ว่ากันมาตามลำดับให้จิตมันทรงตัว ท่านเรียกไว้ว่า ท่านสั่งว่าให้ทำไปตามลำดับเพราะจิตเรามันยุ่งองค์ภาวนาผ่านลำดับไม่เป็นเรื่อง แล้วก็เพ่งสังโยชน์เช้า เมื่อองค์ภาวนาผ่านลำดับมาแล้วจิตหยุด ให้เพ่งสังโยชน์ ๑๐ คือจับ สังโยชน์ ๑๐ วัดดูว่าเวลานี้สังโยชน์ ๑๐ ประการเราตัดตัวไหนไปได้แล้วบ้าง ที่ตัดได้แล้วมันทรงตัวได้ไหม ถ้ามันไม่ทรงตัวแสดงว่า เราตัดไม่ได้จริง ถ้าส่วนใดที่ทรงตัวอยู่แสดงว่าอันนั้นได้จริง นี่ท่านว่าอย่างนี้นะ จำไว้ให้ดีนะ ว่าสังโยชน์ ๑๐ นี่ต้องกำหนดไว้เสมอๆพิจารณาไว้เสมอว่า จิตของเราสามารถเอาชนะจุดไหนได้แล้ว ท่านเขียนไว้ว่าเวลาเช้ามืดนี่เป็นอันว่า ๒๔ น. ผ่านไป นี่ท่านไปเลิกเวลาไหนก็ไม่ทราบ เช้ามืดเวลา ๓ น. ก็โงเงๆ ขึ้นมาอีก เลยเป็นอันว่าคงจะนอนสัก ๑ ชั่วโมง แต่การนอนด้วยอภิญญาผลสมาบัติหรือการนอนด้วยการทรงสมาธิใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียว ก็ดีกว่านอนธรรมดาแปดชั่วโมง ตื่นมาก็มีความอิ่ม ขึ้นมาก็ไม่รอแล้ว เรื่องล้างหน้าไม่มี มันเสียเวลา นอกจากจะปวดอุจจาระปัสสาวะนั่นถึงจะไป ตื่นขึ้นมาปั๊บใจมันจับคำภาวนาพิจารณาอารมณ์ตัดสังโยชน์ เมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกว่าใจยังพิจารณาสังโยชน์อยู่นี่การนอนหลับไปด้วยกำลังของสมาธิเป็นอย่างนี้เวลาหลับมันทำของมันเองด้วยแต่เราไม่รู้สึก พอตื่นมาครึ่งหลับครึ่งตื่น รู้สึกตื่นไม่เต็มตัว จิตมันพิจารณาสังโยชน์ก็ทำต่อไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑) จงกำหนดในความไม่มีของขันธ์ห้า จงกำหนดในความไม่มีของขันธ์ห้า ให้ถือว่าขันธ์ห้ามันไม่มี มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีแล้วก็เหมือนกับว่าไม่มี คือไม่สนใจในมันเสียเลย แล้วก็ทุกสิ่งทั้งหมดให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” หมายความว่า ขันธ์ห้าก็ดี ธาตุทั้งหลายอย่างอื่นก็ดี มีความรู้สึกว่ามันไม่มีสำหรับเรา คำว่าให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” คือ ให้ทรงอารมณ์นี้เป็นหนึ่ง ไม่มีอารมณ์ที่สอง มีอารมณ์ที่เข้าใจว่ามีนะไม่มีอีกแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีสำหรับเรา คือขันธ์ห้า ได้แก่ ร่างกายของเราก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกก็ดี ไม่มีสำหรับเรา อารมณ์ทรงอยู่อย่างนี้ ให้เป็นปรกติ เรียกว่าเป็น “เอกัคคตารมณ์” ถ้าจะหันไปดูจริงในมหาสติปัฏฐานที่เราฟังกันมาแล้วก็เหมือนกัน คือท่านไม่ได้สอนเกินอะไรกันไปเลย เว้นไว้แต่ว่าเราจะใช้อารมณ์ถูกหรือไม่ถูกเท่านั้น เป็นอันว่าวิชาความรู้ของพวกเรานี่เลยเถิด เรียกว่าท่วมเลยศีรษะไปแล้วไหนๆ แต่ว่าจะรู้จักใช้เท่านั้น บางทีก็ยังเมาอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ เมาในลาภ เมาในรูปเสียงกลิ่นรส เมาในความโกรธ เมาในขันธ์ห้า นี่เป็นอันว่าถ้ายังเมาอยู่อย่างนี้ แสดงว่าพวกเรายังเลวอยู่ขนาดหนัก ไม่ใช่ขนาดเบา แล้วก็ท่านบอกว่าให้เพ่งอารมณ์อันจะพึงเกิดจากรูป จากกลิ่น จากเสียง จากรส จากสัมผัส จากอะไรทุกอย่างทั้งหมด ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สัมผัสกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสอารมณ์ใจ ท่านบอกว่าทั้งหมดว่าเป็นรูป ท่านย่อไว้แบบนี้ ผมอ่านไม่เข้าใจเหมือนกัน ท่านว่าทั้งหมดเป็นรูป แล้วก็ละ ว่าเป็นรูปเป็นเสียงของสภาพที่ไม่มี ท่านบอกว่าสิ่งที่เป็นรูปที่ท่านละไว้ ผมขอขยายหน่อย เป็นรูปที่มันไม่มี เสียงก็เป็นเสียงที่มันไม่มี กลิ่นก็เป็นกลิ่นที่ไม่มี รสก็เป็นรสที่ไม่มี สัมผัสก็เป็นสัมผัสที่ไม่มี มันไม่มีตรงไหน ไม่มีตรงที่มันสลายไป รูปเห็นแล้วก็ผ่านไป เสียงได้ยินแล้วก็ผ่านไปทั้งหมด อย่าเอามันเข้ามาขังไว้ในใจ มันสัมผัสประสาทแล้วก็ผ่านไป มันมีสภาพไม่มี อย่าเอาใจไปนึกว่ามันมี นี่ผมขยายความนะ ท่านบอกต่อไป นี่พระมหาโมคคัลลาน์มาสอนแทนนะ ว่า “จงไม่ยึดถือ” คือปล่อยไปเสีย ไม่ให้เกาะมันอยู่ ไม่ยินดีกับมันด้วย แล้วก็ไม่ยินร้ายกับมันด้วย ยินดีคือชอบใจ ยินร้ายคือไม่ชอบใจ มันจะไปมาอย่างไรก็ช่าง นี่อารมณ์พระอรหันต์นะ ฟังกันไว้ให้ดี ฟังแล้วก็จำ ท่านที่บันทึกไว้ฟังให้มากจุดนี้ ฟังให้มาก ฟังให้มากแล้วก็ทำให้ได้ เป็นสิ่งที่เราต้องการกัน ทำให้เป็น เอกัคคตารมณ์ คือทำให้อารมณ์ทรงอยู่อย่างนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันจะมีอารมณ์ชิน แล้วก็ตั้ง “อุเปกขาญาณ” ไว้ว่า คำว่า “อุเปกขาญาณ” แปลว่า วางเฉย มีความรู้สึกไว้ว่าเราจะวางอารมณ์ความเฉยไว้อยู่เสมอว่า เราจะไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เราจะเฉยโดยไม่ยึดถืออารมณ์อย่างนี้ไว้ แล้วทรงใจให้ผ่องใสในพรหมวิหาร ๔ โดยถือว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดควรได้รับความเมตตา ควรได้รับการสงสาร ให้ต้องใจให้ดีโดยไม่เกียจคร้าน หากไม่มีความประมาท จิตจะพ้นอาสาวะ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๑๓-๑๑๔) กำหนดใจลงในความไม่มีของปัญจขันธ์ พระมหาโมคคัลลาน์สั่งว่าให้กำหนดใจลงในความไม่มีของ “ปัญจขันธ์” “ปัญจขันธ์” ก็ได้แก่ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่มี มันมีก็เหมือนว่ามันไม่มี คือมันไม่มีการทรงตัว หาอะไรทรงตัวไม่ได้ มีแล้วเดี๋ยวก็พัง มีความเกิดในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วมีความสลายตัวไปในที่สุด รูปมันก็ปรากฏขึ้นเดี๋ยวเดียว ท่านบอกว่า ชีวิตเหมือนความฝัน รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ชีวิตของเราที่ทรงอยู่นี้มันก็เหมือนความฝัน มันมีอยู่แล้วไม่ช้ามันก็สลายตัวไป รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ดอกไม้เมื่อแรกยังตูม ต่อมามันก็แย้มที่ละน้อยๆ ในที่สุดก็พังไป สภาวะของรูปมันก็เป็นเช่นเดียวกัน เสียง กลิ่น รส และสัมผัสมันก็เหมือนกัน ท่านบอกว่าทุกสิ่งทั้งหมดนี้จงรักษาอารมณ์ให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” ว่ามันไม่มี คำว่า “ไม่มี” ความจริงมันมีแล้ว มันก็ไม่มี เพราะต่อไปมันจะพัง รูปมันทรงอยู่ได้ไม่นาน มันก็พัง เสียงที่เรามีความพอใจฟังแล้วก็หายไป กลิ่นที่สัมผัสจมูกมันกระทบแล้วก็หายไป การสัมผัสที่พึงพอใจ สัมผัสแล้วเลิกสัมผัสก็หายไป รสที่สร้างความซาบซ่านจากปลายลิ้น กลางลิ้น โคนลิ้นแล้วรสก็หายไป อย่าไปสนใจมันผ่านไปแล้วก็หมดไป ไม่ช้าร่างกายมันก็สบายตัว ท่านบอกว่าจงรักษาอารมณ์ให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มี อันนี้ก็เห็นจะได้แก่ “อากาสานัญจายตนะ” ก็เห็นจะได้ถ้าเทียบกัน อารมณ์พระนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ตัดกิเลส “อากาสานัญจายตนะ” ที่ท่านเจริญกัน ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องสลายหายไปเหมือนกับอากาศ หรือว่า “อากิญจัญญายตนะ” ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี่ มันไม่มีอะไรเหลือหมด มันไม่มี ไปลงกันตรงนั้น มันเข้าไป “เนวสัญญายตนะ” อารมณ์นี้มาใช้มันมีก็ทำความรู้สึกว่าเหมือนว่าไม่มี ตอนนี้ถ้าหากว่าท่านสนใจอรูปฌาน จะรู้สึกว่าง่าย เห็นทรงตัวได้ชัด (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๑๓-๑๑๔) โคตรภูของอรหัตมรรค คำว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” ก็หมายความว่าท่านผู้ใดที่ได้อนาคามีแล้ว กำลังปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอรหัตมรรค ในช่วงนี้เขาเรียกว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” เพราะช่วงนั้นเป็นการไปสู่โคตรภูของอรหัตมรรค ที่นี้คำว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” จริง ๆ นั้น จะต้องเหลือตัวอวิชชาตัวเดียว อวิชชาตัวนี้ก็แนบนิ่งสนิทเกือบจะไม่มีแรง กำลังจะก้าวเข้าไปสู่ทางของอรหัตมรรคเหมือนกับคนหนึ่งยืนอยู่คร่อมลำรางเล็กๆ ขานี้ยังอยู่ฝั่งนี้ ขาโน้นเหยียบฝั่งโน้น ยังไม่ทันยกขา เป็นอันว่าเป็นโคตรภูของอรหัตมรรคยกเมื่อไรเป็นอรหัตมรรคเมื่อนั้น ท่านบอกว่าให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งไม่มีอะไรเป็นของจริง เป็นของสมมุติทั้งหมด นี่ความจริงแล้วก็ควรจะประมวลความจำไว้ให้ดีนะ ว่าแต่ละชั้นท่านสอนอะไรแบบไหน ท่านบอกว่าให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งเป็นของไม่มีอะไรจริง เป็นของสมมุติทั้งหมด ไม่มีอะไรแน่นอน ย่อมสบายตัวไปหมด ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ต้องพลัดพรากจากกันหมด ฟังแล้วก็คิดดูว่าร่างกายของเราเป็นนาย ก. นาย ข. ชื่อของเราเป็นนาย ก. นาย ข. มันก็สมมุติ ร่างกายของเราเป็นชายเป็นหญิง เราก็สมมุติมันมา ร่างกายมนทรงขึ้นมาแล้วมันก็ฟัง ไม่มีอะไรจะเหลือ สลายตัวหมดแล้วทุกสิ่ง ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ทรัพย์สินทั้งหลายในโลกก็ดี มันไม่ใช่ที่พึ่งของเรา ในที่สุดเราคือจิต ก็ต้องพลัดพรากจากมันไป ...มาฟังท่านต่อไป แล้วท่านโมคคัลลาน์ก็อธิบายว่า ให้วิจัยถึงเหตุ นี่ฟังของท่านให้ดีนะ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวอย่างนั้น ท่านสอนเพิ่มเติม ให้วิจัยถึงเหตุ เมื่อเห็นของที่เป็นรูป ให้วิจัยว่า รูปนั้นมาจากอะไร รูปตัวนี้มันมาจากอะไร รูปที่มีชีวิตมันมาจากธาตุ ๔ ธาตุ ๔ มันทำอย่างไรมันถึงจะเกิด เรามานั่งนึกว่าธาตุ ๔ นี่มันทรงตัวไหม มันทรงตัวมันเป็น นิจจังหรืออนิจจัง เป็นทุกขังหรือเปล่า ถ้าเราไปยุ่งกับมัน ร่างกายเป็นธาตุ ๔ สำหรับเรา แล้วมันก็เป็นอนัตตา ธาตุ ๔ มันสะอาดหรือสกปรก นี่ผมขยายนะ ท่านบอกว่า “คน” คนมาจากอะไร แล้วมันเป็นคนอยู่ตลอดไปไหม ธาตุ ๔ มันทรงตัวตลอดไหม คนมาจากอะไร คนมาจากคน แล้วคนที่จะเกิดเป็นคนได้ก็มาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม มันมาจากความชั่ว การที่จะเกิดเป็นคนได้เพราะอาศัยเราคบความชั่ว กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม จึงมาเกิดเป็นคน แล้วก็อย่าไปสนใจกับความเป็นคนต่อไปเพื่อประโยชน์อะไร ทำลายความชั่วมันเสียซิ ท่านว่าบ้านเรือนโรงมาจากอะไร ท่านบอกว่าบ้านเรือนโรงมาจากวัตถุธาตุ เป็นชิ้นเป็นอันประกอบกันเข้าเป็นบ้านเรือนโรง คนก็เหมือนกัน มาจากอาการ ๓๒ ธาตุ ๔ นี่ ก็เหมือนกัน ก็มาจากส่วนที่สิ่งที่ผสมกัน แล้วก็พิจารณาหาสภาพความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันไม่มีอะไรทรงตัว มันแตกสลายหมด ฟังแล้วก็คิด คิดแล้วก็ทำ ฟังให้มากคิดให้มาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๓๒-๑๓๓)

วิธีละความยินดีในโลกียสุขของพระอนาคามีบุคคลธรรมวิโมกข์ อย่าทะนงตน อย่าทะนงตน คิดว่าเราเป็นคนดี ถ้าคิดว่าดีเป็นผู้วิเศษเมื่อไร เมื่อนั้นแหละกรรมใหญ่ อันตรายใหญ่จะมาถึงท่าน ที่เราเรียกกันว่าความประมาท ขอจงพยายามคุมตนไว้ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ นั่นก็คือทรงอิทธิบาท ๔ ให้ครบถ้วน มีจรณะ ๑๕ ครบถ้วน ผมว่าเท่านี้ก็เหลือกินเหลือใช้ มีบารมี ๑๐ ครบถ้วนเท่านี้ก็เหลือแล้ว ถ้าครบเท่านี้อาการของความโลภไม่มี อาการของความทะเยอทะยานในเรื่องเพศในลักษณะของกามคุณไม่มี อารมณ์ที่จะผังไว้กับความโกรธไม่มี การที่จะยึดถืออะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มี ที่ยังมีอยู่ก็เพราะว่าเพียงแต่รับฟังไว้เฉยๆ ดีไม่ดีก็จำไว้ เอาไว้เป็นเครื่องข่มขู่คนอื่น ทะนงตนอวดว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมด้านปริยัติ ถ้าอารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่าปฏิบัติเหลว ไม่มีอะไร แดนที่จะไปก็คือ อเวจีมหานรก หรือว่า โลกันตนรก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒-๓) อย่าสนใจร่างกาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจร่างกายของตนเอง จงอย่าสนใจในร่างกายของคนอื่น จงอย่าสนใจในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เพราะว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายถ้าเป็นเราจริงมันก็ทรงสภาพอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย แต่ทว่าร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ทรงสภาพ ในที่สุดมันก็เข้าขั้นสลายตัว เมื่อเราจะต้องตาย ทรัพย์สมบัติของเราทั้งหลายในโลกมันก็ไม่ตามเราไป แม้แต่ร่างกายที่เรารักที่สุดมันก็ไม่ตามเราไป มันคงจมอยู่ในพื้นปฐพีเป็นปรกติ” อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้คิดไว้อยู่เสมอ อย่าเผลอไปในด้านความโลภ อย่าเผลอไปในด้านความทะเยอทะยาน อย่าเผลอให้จิตใจมีความโกรธ ความพยาบาท อย่าเผลอให้ความนึกคิดว่านั่นเป็นเราเป็นของเรา อารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการ ฉะนั้น ขอทุกท่านจงรักษากำลังใจอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถ้าหากว่าใจของท่านกระสับกระส่าย จงรักษาอานาปานสติกรรมฐาน มีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว ยังไม่ต้องคิดอะไรทั้งหมด กำหนดจิตรู้เฉพาะลม หายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นรู้อยู่ถ้าทำอย่างนี้อารมณ์จิตของท่านจะไม่ฟุ้งซ่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘) พิจารณาร่างกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรได้ทรงแนะนำบรรดาพระภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกขเวดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านปฏิบัติร่างกายของท่าน พิจารณาร่างกายของท่าน ใคร่ครวญขยายออกกระจายออกคือ พิจารณาอันดับแรกเป็นธาตุสี่ ว่าร่างกายของเรานี้เป็นธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ มันประกอบเข้ามาเป็นร่างกาย เรามีความเข้าใจว่า ร่างกายเป็นแท่งทึบ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ร่างกายของเราแบ่งออกเป็นอาการสามสิบสอง มีผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเข้าแล้วเป็นร่างกาย แต่ทว่าร่างกายเหล่านี้มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มันเต็มไปด้วยความ อนิจจัง คือหาความเที่ยงไม่ได้ มันเต็มไปด้วยทุกขัง คือเต็มไปด้วยความทุกข์ไม่มีความสุข มันเต็มไปด้วยอนัตตา คือมันสลายตัวไปทีละน้อยๆ ทุกเวลาที่เคลื่อนที่ไป เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจในร่างกายของเธอ จงอย่าสนใจในร่างกายของคนอื่น จงอย่าสนใจในทรัพย์สินทั้งหลาย จงทำลายความรักในเพศด้วยอำนาจอสุภสัญญา จงทำลายความโลภด้วยการตัดความอยากได้ด้วยการให้ทาน อย่าทะเยอทะยานในทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของดี เป็นปัจจัยในเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร อย่าสนใจในความโกรธ ความพยาบาท ในบุคคลทั้งหลาย ใครเขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เขาจะนินทาว่าร้ายว่าเรา ถ้าบังเอิญเราเป็นคนดีก็ไม่เลวไปตามคำพูด ถ้าเขาสรรเสริญว่าเราดี ถ้าเราเลวเราก็ไม่ดีไปตามคำพูด ความดีและความชั่วอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ใครจะว่าดีว่าเลวก็ช่าง อย่าสนใจทั้งสองประการ เราปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารเท่านั้นเป็นพอ” เป็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘) สังขารุเปกขาญาณ กำลังใจของเราจะทรงได้ดีจริงๆ ต้องน้อมใจของเรานี้ฝึกไปด้วยปัญญาพิจารณาหาความจริง จิตใจตั้งอยู่ในสังขารุเปกขาญาณ นั่นก็คือมีอาการวางเฉยตามสภาวะของสังขาร คือร่างกายและทุกสิ่งทุกอย่างในโบก มีความรู้ตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นอนิจจัง คนเป็นอนิจจัง วัตถุในโลกก็เป็นอนิจจัง คำว่า “อนิจจัง” แปลว่า มันไม่เที่ยง เรารู้ตามความเป็นจริงของมันว่ามันไม่เที่ยง ในเมื่อมันไม่เที่ยง เรายอมรับนับถือความไม่เที่ยงของมัน มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกหาอะไรเที่ยงไม่ได้ แต่ว่าเมื่อมันไม่เที่ยง เราก็ทำใจของเราให้เที่ยง มันเที่ยงตรงไหน เที่ยงตรงที่มันมีความรู้สึกตามกฎของธรรมดาอยู่เสมอว่า ร่างกายก็ วัตถุธาตุก็ดี ที่เกิดมาในโลกนี้มันไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และมีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีความแตกสลายตัวไปในที่สุด (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙) ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง จงจำไว้ให้ถึงที่สุด เมื่อจำไว้ทุกวัน ลืมตาขึ้นมาเช้ามีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะไม่ได้กินข้าวเข้า อาจจะตายก่อนก็ได้ ความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย ถ้าเราตายเลว ก็ดูตัวอย่างสัตว์ในอบายภูมิ มีนรกและเปรตเป็นต้น ก่อนจะตายถ้าเราทำความดี นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะฟังต่อไปข้างหน้าในเรื่องวิมานวัตถุ จะเห็นผลมีความสุข ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยทรัพย์มีความสุข ถ้าเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่มีความสุขสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นเปรตไปก่อนแล้วจึงเป็นเทวดา (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒๘) เห็นกระดูกลอยมา ท่านกล่าวว่า สมัยที่ท่านได้อสุภสัญญา เห็นกระดูกลอยมาและก็พิจารณาเห็นคนทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดเป็นกระดูก ก็จับกระดูกเป็นภาพนิมิต จนกระทั่งจิตทรงด้วยฌาน ๔ เป็นอันว่าอสุภกรรมฐานที่เขาบอกว่าเป็นกรรมฐานพิจารณา ทรงจิตไว้อย่างสูงแค่ปฐมฌานเขาว่ากันอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติจริง ถ้าเราฉลาดเราก็เอาปฐมฌานมาเป็นฌานเสียอย่างสบายๆถึง ฌาน ๔ อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง ท่านผู้เฒ่าท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านจบเอาอสุภทั้งหมด เมื่อได้ “อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง” แล้ว ท่านก็ไล่เบี้ยไปเลยตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ จับภาพไปเลยให้จิตทรง มันเน่าแบบไหน มันเหม็นแบบไหน มันเละแบบไหน มันขึ้นแบบไหน มันพองแบบไหน ท่านทำเป็นฌาน๔ ได้หมดทุกอสุภ ๑๐ อย่าง จิตใจทรงตัว เห็นคนเมื่อไหร่ เห็นสัตว์เมื่อไหร่ เน่าหมด เห็นวัตถุธาตุต่างๆ เห็นโครงกระดูกไม่มีความติดในความสวยสดงดงาม แต่ว่าเวลานั้นเป็นเรื่องของสมถภาวนา เวลานั้นความรู้สึกในระหว่างเพศไม่มี เห็นคนเน่าๆ เห็นสัตว์เน่าๆ เห็นคนเป็นกระดูก มีสภาพน่าเกลียด แต่จิตยังไม่น้อม ไปในด้านวิปัสสนาอย่างสูง มัวเล่นแต่สมถภาวนาธรรมดา เห็นว่าเน่า เห็นว่าเหม็น เห็นว่าน่าเกลียด เห็นว่าโสโครก นี่เป็น สมถภาวนา ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องพิจารณาเห็นความเสื่อมความโทรมของร่างกาย มีสภาพไม่เที่ยง เสื่อมไปทีละเล็กทีละน้อย แล้วในที่สุดมันก็สลายตัว จิตไม่เข้าไปยึดไปถือ ท่านบอกว่าเวลานั้นอารมณ์วิปัสสนาญาณท่านมีนิดหน่อย เล่นเฉพาะสมถภาวนาให้มันช่ำใจเพราะความเข้าใจผิด ตามบันทึกท่านบอกว่า ถ้าเราคิดควบกับวิปัสสนาเสียเวลานั้น ความจริงท่านบอกว่าหลวงพ่อปานก็สอนวิปัสสนา แต่ว่าท่านเป็นคนใจเดียว ถ้าจะเอาอะไรเอาให้มันฟังไปเป็นด้านๆ ถ้าไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า ขึ้นชื่อว่าไม่สามารถในชีวิตนี้จะไม่มีเป็นอันขาดสำหรับท่าน ท่านรู้สึกว่ามีกำลังใจเด็ดเดี่ยวมาก ในสมัยกำลังเล่นอนุภกรรมฐาน แล้วก็มีวิปัสสนาญาณเจือปนนิดหน่อยกันฌานเสื่อม สิ่งที่เป็นศัตรูกับอารมณ์อย่างนี้มันก็เกิด นั่นก็คือ อิสตรีที่เป็นเพศตรงกันข้าม สตรีก็ระวังบุรุษ ถ้าบุรุษก็ระวังสตรีจะเข้ามาเล้าโลมด้วยเหตุต่างๆ มาติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในฐานะที่อยากจะเป็นคนรักด้วย ดีไม่ดี แก่ก็พูดเปิดเผยชวนรักชวนแต่งงาน แต่ต้องระวัง และจงอย่าไปโทษใครเขา เราไปหลงละเมอในคำป้อยอทั้งหลายเหล่านั้น คำชักชวน ความดีของเรามันจะด้วน ฌานจะสลายตัว (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๒๙) การเป็นพระโสดาบัน การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคา อนาคา อรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์ แต่ทว่าตอนที่จะตัดสักกายทิฏฐิเธอจงปฏิบัติตามนี้นะ ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรก เข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้ เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไปให้มันมีความทรงตัว แล้วทำจิตใจให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัวมีความสุขที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮะทั้งหมดได้สมาบัติแปดมาแล้ว แล้วก็ศึกษาด้านอภิญญามาแล้วอย่างนี้เป็นของไม่ยาก ในด้านวิปัสสนาญาณ ใช้กำลังสมาบัติแปดเป็นกำลังใหญ่ ทรงใจห้ทรงตัวแล้วถอยหลังไปถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ ๕ มันเป็นภัยสำหรับเรา เป็นวัตถุธราตุที่สร้างด้วยทุกข์สร้างด้วยโทษไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ ๕ คือร่างกาย เราต้องเลี้ยงมันเท่าไร มันชอบอะไรเราให้มันกินทั้งหมด แต่เราไม่ต้องการจะป่วยมันก็ยังขืนป่วย เราไม่ต้องการจะเพลียมันก็เพลีย เราไม่ต้องการจะแก่อย่างฉันนี่ ฉันไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ คนที่เขาตายไปก่อนเรา เขาไม่ต้องการตายมันก็ตาย ในเมื่อขันธ์ ๕ มันเลวทรามอย่างนี้จะคนค้าสมาคมกับมันเพื่อประโยชน์อะไร อันดับแรก จับจุดความเป็นพระโสดาบัน ระงับความพอใจในขันธ์ ๕ เสีย คิดว่ามันจะตายเสมอ แล้วทรงศีลให้บริสุทธิ์ ศีลควรทำเป็นศีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีบให้เป็นกำลังฌาน คำว่า เป็นกำลังฌาน ก็คือทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องจากใจ ไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งหลับตาปี๋ เดินไปเดินมาเลี้ยงหมูเลี้ยงหมา คุยกับหมาคุยกับแมว ศีลทรงตัวใช้ได้ เจอหน้าคนเขา ด่าคนเขา ว่าเขา นินทาศีลไม่ด่างใช้ได้ น้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัย ๓ ประการ คือทรงพระกรรมฐาน ๓ อย่าง ให้ฌานคือ พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ให้ทรงตัว ความจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เธอทรงได้หมดแล้วนี่ จะต้องมานั่งสอนอะไรกัน เว้นไว้แต่จิตอย่างเดียว คือ อารมณ์พระนิพพาน เธอยังไม่มั่นใจเท่านั้นเพราะฉะนั้นจงตัดสินใจทรงอุปสมานุสสติให้ทรงตัว (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๕๓) อย่าลืมคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิ สำหรับการแนะนำในการเจริญพระกรรมฐานในวันนี้ จะขอนำปฏิปทาท่านผู้เฒ่ามาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือการทรงกำลังใจ แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายหรือว่าพระโยคาวจรทุกท่าน อย่าลืมคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิ เรื่องการรักษาอารมณ์ให้เป็นสมาธินี่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอานาปานสติกรรมฐานนี่ให้ทรงตัว แล้วก็จริต ๖ ประการ ใคร่ครวญอยู่เสมอ จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้นิวรณ์ นี่อันดับต้น ถ้าอันดับต้นเรายอมแพ้นิวรณ์ เราก็ไม่อาจจะทรงฌานได้ แล้วก็จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้กิเลส ถ้าเรายอมแพ้กิเลสแล้ว เราก็ไม่สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ คุณธรรมที่เป็นเครื่องบำรุงใจ ดูตัวอย่างท่านมหาบาลที่ผ่านมาแล้ว ใช้กำลังใจส่งนนี้ให้เหมือนท่าน จงคิดว่าท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นกฎุดพี หรือว่าเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก ท่านยังสามารถตัดสินใจอย่างนั้นได้ แล้วก็เรา ถ้าจะกล่าวกัน ท่านมีกี่นิ้ว เรามีกี่นิ้ว หรือว่าท่านมีรูปร่างลักษณะอย่างไร มีอาการสามสิบสามหรือสามสิบห้า ความจริงท่านก็มีอาการสามสิบสองเป็นร่างกายเท่ากับเราเราก็มีกาอากรสามสิบสอง ท่านกินข้าว เราก็กินข้าว ท่านเป็นคนเราก็คน ถ้าหากว่าท่านเป็นคนดีได้ เราเป็นคนดีไม่ได้ เรามันก็เลวเกินไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๕๖) ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า ในเมื่อท่านปฏิบัติความดีมีความตายเป็นเดิมพัน ทั้งนี้ก็หมายความว่า ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์บอกไว้ด้วยถึงแม้ว่าเวลานั้นจะไม่ได้อรหันต์ แต่ต้องได้อรหันต์แน่ถ้าท่านคิดอย่างนั้น อะไรบ้างที่ท่านยอมให้บกพร่อง ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดที่เป็นคันถธุระทุกอย่างทั้งทางด้านวิชาการและการงานไม่ยอมให้บกพร่อง เพราะถือว่าจะต้องมีอารมณ์จิตเข้มข้น ไม่ใช่จะมานั่งภาวนาอย่างเดียวให้เป็นอรหันตผล อันนี้มันไม่ได้เพราะอารมณ์ใจไม่มีการสัมผัสกับฝ่ายที่เป็นตรงกันข้าม ไม่มีการต่อสู้ ทั้งนี้เพราะว่า รู้ตัวอยู่ว่าคนที่หลีกเลี่ยงจากคันถธุระ หลีกเลี่ยงจากโลกธรรม เวลาอยู่คนเดียวสงบสงัด แต่เวลามาสัมผัสกับโลกธรรมเข้า จิตปลิวหวอย ตั้งสติไม่อยู่ ถ้าเราจะทำบ้างทำอย่างไร เริ่มจับจุดเช้ามืด ทรงอารมณ์สมาธิให้สูงสุดที่มันจะสูงได้ ทรงให้นานเท่าไรได้ก็ยิ่งดี อย่ารีบถอน เวลาคลายมาแล้วจิตตั้งอยู่ในอุปจารหรือปฐมฌานอยู่ตลอดทั้งวัน ถ้าอารมณ์จะซ่านหลบเข้าสู่ที่สงัดนิดหนึ่งทำจิตให้ทรงอารมณ์จุดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ จะทำงานทำการอะไรอยู่ก็ตาม ไอ้สมาธิอย่าไปนั่งขัดสมาธินั่งพับเพียบอยู่เสมอ มันไม่มีผล มันต้องการได้ทุกขณะ แม้แต่กิจการงานที่เราทำอยู่ให้จิตมันทรงอยู่ในอารมณ์ของความดีอยู่ในขั้นอุปจารหรือปฐมฌาน วันทั้งวันอย่างนี้ความเป็นพระอรหันต์มันไม่ใช่จะเป็นของยาก ถ้าภายหลังจะบอกว่าง่ายเหลือเกิน เวลาจิตจะคลายจากสมาธิก็จับวิปัสสนาญาณตามที่ศึกษามาแล้ว เราศึกษามาจนท่วมหัวแล้ว ไม่ใช่แค่พอดี ถ้าจิตมันฟุ้งซ่านอีกที ทิ้งวิปัสสนามาจับอารมณ์สมาธิสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความดีมันก็จะปรากฏ คำว่า “ทุกข์” ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนท่านผู้เฒ่า มันเป็นของไม่ยากสำหรับเราจะเอาดี แต่ว่าน่าสลดใจอยู่นิดนะ บางทีเดินไปเดินมา เห็นพระบางทานเก็บตัวมากเกินไปก็น่าสงสาร คำพยากรณ์ใดๆ จงอย่าคิดว่ามันจะได้ตามคำพยากรณ์นะ ถ้าไม่ปฏิบัติตนอย่างดีมันจะไม่ได้อะไรเลยเพราะเราหมกมุ่นเกินไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๖) คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าวันนี้ขอย้อนต้นนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าในสมัยหนึ่ง มีคนเขามาหาท่านแล้วเขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าค่ำๆอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออก จะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญายกจิตโดยใช้ มโนมยิทธิ ไม่ใช่ใช้อภิญญาใหญ่ ขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงก็กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่า “ตามธรรมดาพระนี่ ถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก” ตามบันทึกของท่านก็ถามว่า “ทำอย่างไรจึงจะอ่านออกพระพุทธเจ้าข้า” ท่านบอกว่า “ทิพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธภูมิมาเดิม ทิพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยเจ้า ฉะนั้น เพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัด ควรปฏิบัติแบบนี้ ควรใช้คาถานี้ไปภาวนาจนเป็นฌานสมาบัติ” เรื่องฌานนี่มันเรื่องเล็ก ท่านบอกว่า จะคว้าอะไรขึ้นมา มันก็เป็นฌานทันทีเพราะมีการคล่องอยู่แล้ว คาถาก็เห็นจะเป็น มงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่างนี้ “อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ” ท่านกล่าวว่า “คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน นิมิตต่างๆจะมีอาการแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ หรือว่าเวลามืดๆ ก็สามารถจะมองเห็นหนังสือได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าบงได้ตามความประสงค์ ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาน” ท่านว่าอย่างนั้น เป็นอันว่าท่านย้ำมาว่าไอ้มืดๆ มันก็อ่านหนังสือออก และท่านบอกว่าท่านก็มาทำ มาทำมันก็ไม่นานใช้เวลาเพียงครู่เดียว จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ สยายๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาน ๘ ถึงฌาน ๘ ก็หลบลงมาฌาน ๔ ในรูปฌาน ทำไปทำมาก็เลยลองหลับตาอ่านหนังสือ ก็เห็นอ่านออก แต่ว่าวิธีนี้ท่านบอกว่าจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น ถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็มีความเข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร วงเล็บของท่านมีไว้บอกว่า ใครอ่านแล้วถ้าทำได้ จงอย่าทำตนเป็นผู้วิเศษ เมื่อเวลาอ่านหนังสือต่อหน้าคน ถ้ามันอ่านไม่ออกจริงๆ ก็ใช้ไฟใช้แว่นส่อง ถ้ามันจำเป็นจริงๆก็เอาจิตจับจากภาพหนังสือนั้นเสีย ใช้ใจอย่างเดียวก็อ่านหนังสือออก นี่เป้นวิธีปฏิบัติของท่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) คาถา อิติปิ โสฯ ต่อมาท่านกล่าวว่าท่านได้ “เจริญพระพุทธอารมณ์” ต่อมาท่านเจริญพระพุทธคุณทั้งบท พระพุทธคุณทั้งบทก็คือ “อิติปิ โส ภควา” หมดเลย ความจริงท่านว่าทั้งบท ท่านบอกว่าพุทธคุณทั้งบทนี่ก็ไม่ถูกผมค้านะ ท่านบันทึกไว้อย่างนี้ท่านบอกว่า ท่านเล่น “อิติปิ โสฯ” ทั้งบท ท่านว่ามันสบายใจดีจนกระทั่ง จิตเป็นฌาน ๔ รู้สึกว่าเป็นสุข จนกระทั่งถือรูปพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “อิติปิ โสฯ” ไปด้วย เอาจิตจับรูปพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ไปด้วย แต่ตอนนี้ผมไม่เห็นท่านอธิบายไว้ท่านว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น ท่านว่าทำไปคาถาสั้นก็ทำเป็นฌานได้ คาถายาวก็ทำเป็นฌานได้ “อิติปิ โสฯ” ทั้งบทก็ทำเป็นฌานได้ไม่เห็นจะมีอะไรเป็นสำคัญ ถ้าใจมันเป็นฌานเสียแล้ว ฟังของท่านไว้นะ ความรู้ต่างๆ ของท่านเรียนกันมาแล้วนี่ ผมก็ว่าตามแบบแล้วจะเล่าให้ฟัง ตอนไหนที่มันสมควรสำหรับท่าน ท่านก็เอาไปใช้ ตอนไหนที่ไม่สมควรก็ไม่ต้องนำไปใช้ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) คาถา อภิญญารวม ท่านกล่าวว่าท่านได้พบองค์สมเด็จพระจอมไตรที่พระจุฬามณีเจดียสถาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงตรัสว่า สัมภเกสี สำหรับอภิญญาที่เธอได้ เวลาที่เธอจะใช้ก็ต้องจับกสิณนั้น กสิณนี้ ใช้จิตอย่างนี้ช้าไปหน่อย แต่ความจริงเขาใช้อภิญญากันจริงๆ เขาใช้อารมณ์เรียกว่า เขาจับอภิญญารวม คำว่า อภิญญารวมนี่นึกถึงอภิญญาสมาบัติ คือนึกถึงอารมณ์กสิณทั้งหมดว่าเราต้องการอะไร แล้วก็ให้ภาวนา ภาวนาย่อๆว่า โสตัตตะภิญญา ใช้คำเพียงเท่านี้ เวลาภาวนาให้กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วก็ทิ้งนิมิตเสีย ไม่ต้องไปใช้นิมิตในกสิณใช้โสตัตตะภิญญา อย่างเดียว คือจับกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ถึงที่สุดเป็นฌาน ๔ เท่านั้น อภิญญาทุกอย่างก็จะรวมตัวเราจะใช้ได้ทันทีทันใดโดยไม่ต้องเลือกกสิณอะไรทั้งหมด ตามบันทึกของท่านๆก็มาทำๆ แล้วสบายใจอภิญญาทุกอย่างมันก็รวมตัว เวลาจะใช้อภิญญาก็ใช้ โสตัตตะภิญญา เห็นคำภาวนาเท่านี้ ตามบันทึกของท่านนี้ผมไม่เห็นท่านบอกว่าสงวนสิทธิ์ ในเมื่อท่านไม่สงวนสิทธิ์ ท่านก็สามารถจะทำได้ทุกคน แต่ว่าอย่าลืมว่า ท่านเจ้าของท่านทรงสมาบัติ ๘ ในเมื่อจิตทรงฌาน ๘ จะคว้าอะไรมันก็ได้ทันที ไม่เสียเวลาแม้แต่หนึ่งนาที ถ้าเรามีฌานไม่ถึงสมาบัติ ๘ เราก็ทำตามกำลังของเรา จะทำได้ไม่เท่าท่าน แต่ทำได้ใกล้ท่าน ค่อยๆทำไปก็ใกล้เข้าไปทุกที มันก็ใช้ได้เหมือนกัน ของสิ่งนี้รู้สึกว่าใครคนใดคนหนึ่งนำไปใช้แกบอกว่ามีผลดีมาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘) นิมิตจิตติ นิมิตจิตตา นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา ท่านเขียนว่า พระนิพพานนิมิต ตอนที่ท่านกล่าวว่าเมื่อท่านเข้าไปในพระจุฬามณีเจดียสถาน พบองค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า เธอนี่ควรจะเอาจิตจับพระนิพพานได้แล้ว และควรจะถือ “นิพพานนิมิต” เป็นสำคัญ นี่ความจริงควรย้อนต้นมานิดหนึ่ง ตอนก่อนผมพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นอริยสัจเห็นว่ามีความสำคัญก็เลยเล่าสู่กันฟัง ท่านบอกว่าใช้นิพพานนิมิตท่านให้ภาวนาอย่างนี้ “นิมิตจิตติ นิมิตจิตตา นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา” ให้ภาวนาถือนิพพานเป็นอารมณ์อย่างนี้ จิตจะมีการผูกพันพระนิพพานเป็นอารมณ์มากขึ้น แล้วก็กำลังใจของเธอไม่คลาดจากนิพพาน เมื่อกำลังใจของเธอไม่คลาดจากนิพพาน เมื่อเธอตัดพุทธภูมิมาแล้วต้องการเป็นพระสาวก ความสำเร็จของเธอจะไม่ก้าวล่วงปีนี้ไป จงกลับไปจับเอาอารมณ์นี้ให้เป็นฌานสมาบัติ ความจริงท่านวงเล็บไว้บอกว่าไม่เห็นจะยากเมื่อจำคาถามาแล้ว ในขณะนั้นก็ตั้งจิตภาวนาคือทำอารมณ์ไว้ตั้งแต่ยังไม่เอาจิตเข้าร่าง เมื่ออทิสมานกายมันยังลอยไปสู่ภพต่างๆก็ใช้อารมณ์เรื่อยไป จิตใจก็จับพระนิพพานเห็นภาพพระนิพพานใสแจ๋ว มีความมั่นใจว่านั่นแล้วคือพระนิพพาน อย่างไรๆเราตายชาตินี้เราต้องไปให้ได้ เรื่องร่างกายเรื่องทรัพย์สินไม่มีความหมายกับเรา นี่เป็นอารมณ์ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๙) คาถาปราโมทย์ ต่อมา ตามบันทึกของท่านก็ว่ามาอีกว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ให้คาถา “ปราโมทย์” โดยทรงปรารภว่า “ต่อไปเมื่อเธอภาวนาคาถา “ปราโมทย์” นี่แล้ว อะไรทุกอย่างจะเห็นชัดเจนแจ่มใส ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเธอในเวลานี้ดูนิมิตอะไรก็ตาม เห็นอะไรก็ตามมันคลุมเครือไปหมด ถ้าใช้คาถาบทนี้แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะสว่างแจ่มใสเหมือนกับพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง” แต่ความจริงอารมณ์แจ่มใสประเภทนี้ตามแบบจะต้องมีสำหรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ทว่าในตอนนี้พระพุทธเจ้าท่านสอนท่านมาอย่างนั้น ท่านไปเฝ้ามานี่ เราก็ว่ากันตามบันทึกของท่านนะ จะมาโมเมโปเปตานาอะไรกับผมไม่ได้ทั้งนั้น ถ้าใครทำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป ใครได้มโนมยิทธิก็ลองสอบกันเอา เพราะมโนมยิทธิเป็นเครื่องสอบความรู้ทางพระพุทธศาสนา แล้วก็การปฏิบัตินี่ความจริงมันก็เรื่องของใครของมันเหมือนกัน จะทำเหมือนกันทุกอย่างนั้นมันไม่ได้ ก็ว่ากันต่อไปดีกว่า ว่าคาถา ปราโมทย์ ที่ทำให้สมาธิจิตมีทิพจักขุญาณแจ่มใส จะจำภาพเห็นภาพนิมิตทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยแจ่มใสเหมือนกลางวัน คือพระอาทิตย์เที่ยงวัน ท่านว่าโดยนิมิตเปรียบเทียบปรากฏผลว่า ภาพนิมิตและการตรวจสอบใดๆจะชัดเจนขึ้น จะมีภาพแจ่มใส ท่านว่าอย่างนั้น สำหรับคาถาภานานี่ให้คำภาวนาว่า “ปราโมทย์” เฉยๆ จับลมหายใจเข้าออกเหมือนกัน แล้วก็ภาวนาว่า “ปราโมทย์ ปราโมทย์” (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) เจริญอริยสัจ ๔ และหลังจากนั้นมา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสอนให้เจริญใน อริยสัจ ตามที่อธิบายมาแล้ว ผมจะเล่าตะลุย ดีไม่ดีขืนอธิบายไป ชาวบ้านชาวเมืองเสียสตางค์กันมาก อยากจะเรื่องราวของพระองค์นี้ก็ฟังคำอธิบายเสียจนเบื่อ เสียสตางค์หลายคาสเซ็ทนี่ผมไม่ชอบเหมือนกัน ไม่อยากให้ชาวบ้านเสียสตางค์มาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) เจริญพรหมวิหาร ๔ ทีนี้ก็มาว่ากันต่อ หลังจากอริยสัจ ท่านก็บอกในกาลต่อมาอีก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญ “พรหมวิหาร ๔” เอาละซิ โดยแจ้งว่าจะทำให้การรู้การเห็นต่างๆชัดเจนดีขึ้น นี่จำได้ดีนะ ว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วก็ดี ท่านที่ได้มโนมยิทธิแล้วก็ดี ที่มีอารมณ์ไม่แจ่มใสเห็นอะไรไม่ชัดเจน ว่ากันตามลำดับมา ท่านก็บอกว่าถ้าใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็นิมิตต่างๆ ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร ๔ นี่เป็นอารมณ์เยือกเย็นทำอารมณ์ให้ผ่องใสได้ง่ายจริงๆเป็นของไม่ยาก การเจริญเมตตา แล้วก็ท่านบอกว่าเวลานั้นท่านตั้งกระทู้ถาม คือพระพุทธเจ้าเองท่านตั้งกระทู้ถามคือสอนแบบถามว่า “การเจริญเมตตานั้น เขาทำกันอย่างไร” แล้วท่านก็แก้ของท่านเองว่า “การเจริญเมตตาต้อง ๑. ไม่โกรธ และ ๒. ไม่ผูกโกรธ” ภายหลังต่อมาอีก ท่านสอนให้เจริญอสุภกรรมฐาน และมรณานุสสติกรรมฐาน ว่าเมื่อจิตทรงพรหมวิหาร ๔ แล้วก็ต้องเจริญอสุภกรรมฐาน เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรสวย แล้วก็เจริญมรณานุสสติกรรม,น หมายความว่ารู้สึกนำถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาทในความตาย (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐) กรรมฐานนิมิตอันแรกให้ผล ตอนนี้ท่านหมายเหตุไว้นิดหนึ่ง ท่านหมายเหตุไว้บอกว่า กรรมฐานนิมิตองค์แรกให้ผลได้ดี องค์แรกที่ท่านวงเล็บไว้บอกว่า “อิติปิ โส วิเสเสอิ ฯ” นี่แหละกรรมฐานนิมิตอันแรกให้ผลได้ดี เป็นเหตุให้ได้ ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๒. จุตูปปาตญาณ ๓. อตีตังสญาณ ๔. อนาคตังสญาณ ๕. ปัจจุปปันนังสญาณ และ ๖. ยถากัมมุตาญาณ คือว่า ทิพจักขุญาณ ท่านมีแล้วอีตอนนี้ท่านไม่คล่องท่านว่าอย่างนั้น ท่านมีแล้วไม่คล่อง พอเกิดคล่องขึ้นมา คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ได้แก่การระลึกชาติถอยหลังไปได้ไม่จำกัดระดับ เมื่อสมัยก่อนเวลาที่ระลึกชาตินี่ รู้สึกว่าทำได้ยากจริงๆมีนเหนื่อยมันหนัก แต่ว่าพอว่า “อิติปิ โส วิเสเสอิฯ” จนคล่องตัวแล้ว การระลึกชาติปั๊บเมื่อไรก็ได้ เอาชาติไหนก็ได้ จุตูปปาตญาณ รู้จักคนตายแล้วเกิดคนตายแล้วไปไหน นึกปั๊บรู้ได้ทันที เห็นคนและสัตว์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าคิดว่า เดิมทีเขามาจากไหนมันรู้ได้ทันที ภาพปรากฏ อตีตังสญาณ รู้เรื่องราวในอดีตของคนและสัตว์ อนาคตังสญาณ รู้เรื่องราวในอนาคตต่อไปของคนและสัตว์ ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เรื่องราวในปัจจุบันของคนและสัตว์และพื้นที่เหมือนกัน ยถากัมมุตาญาณ รู้กฎของกรรมของคนและสัตว์ที่ได้รับความสุขความทุกข์ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นปัจจัย ท่านบอกว่ามันแจ่มใสแล้วก็คล่องแคล่วว่องไวดีมาก แต่ไอ้กำลังใจของท่านบอกว่ามันแจ่มไม่พอ นี่เล่นกับคนไม่พอนี่ก็ยากเหมือนกัน ไม่ยอมเชื่อตัวเองอยู่เสมอ สร้างความสงสัยคือสอบสวนตัวเองอยู่ตลอดเวลา คือว่าตลอดชาติในชีวิตของท่านนี่ ท่านไม่ยอมจะมีความรู้สึกว่าตัวของท่านเป็นคนดี แล้วสิ่งใดที่ได้มาแล้วนี้ท่านต้องพิจารณาเสมอว่ามันเป็นอุปาทานหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าอยู่ๆก็จะไปคุยว่าฉันได้ทิพจักขุญาณจ๊ะ ฉันได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณจ๊ะ แล้วก็มามัวเมากับโลภโมโทสัน มีความรัก ความโกรธ อิจฉาริษยา ไม่ใช่อย่างนั้น องค์นี้มีหน้าที่อย่างเดียวตั้งหน้าตั้งตาสงสัยตัวเองไว้เสมอ เกรงว่าจะคบกับความชั่วเข้ามาไว้ ฉะนั้นเวลาได้อะไร ท่านไม่ยอมเชื่อตัวของท่าน ท่านต้องสอบสวนตลอดเวลา ต่อมาท่านบันทึกไว้ว่า ในกาลต่อมากรรมฐานนิมิตที่ได้ไว้ ที่ได้ต่อมาก็ทำให้จ่มใสชัดเจนมากขึ้น นี่ต้องพิสูจน์กัน ท่านบอกว่าอยู่ๆเราจะมานั่งเชื่อตัวเองอย่างนี้น่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องตรวจสอบกันอยู่เสมอเอากันทุกวัน ทุกวันเวลา เวลาใดที่มีเวลาว่างต้องตรวจสอบ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘๐-๘๑) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังนี่เป็นของ ไม่เที่ยง จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดในโลกนี้ ถ้าไม่เที่ยงเราไปยึดมันเข้าแล้วมันเป็นทุกข์ต้องปล่อยตามมันๆจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน แล้วในที่สุดมันก็เป็นอนัตตา พังสลายตัวหมดอย่าไปยึดไปถือมัน อย่าไปยึดว่าจะมีอะไรเป็นเราเป็นของเราอยู่ต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง ในเมื่อร่างกายเรายังฟังแล้วจะมีอะไรทรงอยู่อะไรมันทรงอยู่แล้วก็ตาม ถ้าหากร่างกายเราพังแล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์จะมายึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ท่านบอกว่าต้องทำอย่างนี้จริงๆจังๆปล่อยไม่ได้ แล้วก็ต่อมา จงปล่อยความยึดมั่นจากรูปที่เห็นทางตา จงอย่ายึดว่ารูปนั้นเป็นเราเป็นของเรา ปล่อยเสียงที่ได้ยินทางหู ปล่อยกลิ่นที่ได้รับทราบทางจมูก ปล่อยรสที่รับทราบทางลิ้น ปล่อยสัมผัสที่รับทราบทางกาย ปล่อยอารมณ์ใจที่เป็นกุศล อย่าเอาเข้ามายุ่ง ฟังแล้วก็จำนะ นี่เราเรียนกันมาแล้ว นี่ท่านย่อมา ผมเห็นว่าไม่ยาก ผมก็ย่อไป ท่านก็บอกว่าปล่อยใจว่าเป็นเชื้อของเดิมมาเพราะอารมณ์ทั้งหมดเนื่องจากรูป ท่านบอกว่า ที่ต้องมาเกิดอย่างนี้ ต้องมาเป็นทุกข์อย่างนี้ เชื้อเดิมมา เพราะอาศัยรูปเป็นสำคัญ คือ อาศัยรูปทางตา อาศัยเสียงทางหู อาศัยกลิ่นทางจมูก อาศัยรสทางลิ้น อาศัยสัมผัสทางกาย อาศัยอารมณ์ใจที่เกลือกกลั้วในกามารมณ์ นี่ที่ต้องมาเกิดมาเป็นอย่างนี้ อาศัยตัณหาเป็นเจ้าเรือน ตัณหาก็คือความอยาก อยากได้รูปสวยๆ อยากได้เสียงหวานๆ อยากได้กลิ่นหอมๆ อยากได้รสอร่อยๆ อยากได้รับการสัมผัสที่พอใจ อยากได้อารมณ์ที่พึงปรารถนา ท่านบอกว่า นี่พวกนี้เป็นเจ้าเรือน ต้องทำลายไปเสียให้หมด ต้องทำให้ได้ แล้วจะรู้ผลภายในสิบวัน จำไว้นะ ใครอยากจะได้บรรลุมรรคผลเร็วๆ ละก็ปล่อยตามที่ท่านบอก จะรู้ผลภายในสิบวัน ดูซิท่านผู้เฒ่าจะทำได้ไหม ท่านบอกว่า ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมได้ผลแก่ผู้ขยัน แล้วก็ไม่มีใครอาจจะกำหนดพยากรณ์เวลาที่จะสำเร็จมรรคผลได้ ท่านมั่นใจขนาดนี้ ขยันนี่ต้องขยันถูกด้วยไม่ใช่ขยันผิด ขยันตามท่านว่านี้ ถ้าขยันจริงๆ เวลาจะทำ ทรงสมาธิให้เต็มที่ ให้จิตมันทรงตัว แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา เห็นรูปทางตาไม่เป็นเรื่อง เสียงทางหูไม่ได้ความ กลิ่นทางจมูกไม่เป็นรส ว่ากันจิปาถะไปก็แล้วกัน ว่าให้เห็นว่ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ยึดถือปล่อยมันเสียให้หมด เสียงดีหรือเสียงเลวก็ช่าง รูปดีรูปเลวก็ช่าง กลิ่นดีกลิ่นเลวก็ช่าง รสดีรสเลวก็ช่าง สัมผัสดีสัมผัสเลวก็ช่าง อารมณ์ใจทรงไว้เฉพาะในด้านอารมณ์ที่เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว คือตั้งไว้ในด้านสักกายทิฏฐิทำลายอสมิมานะที่ถือตัวตนว่าเป็นเราเป็นของเรา อย่างนี้สิบวันได้แน่ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑) อภิญญาผลสมาบัติ ท่านบอกว่าวันนี้วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๖ ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เข้าเจริญสมณะธรรมตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. ตรง วันนี้มีอารมณ์ดีเป็นพิเศษตั้งแต่เริ่มจับอารมณ์ปั๊บ อารมณ์ก็ใสสว่าง ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน แล้วท่านพยายามทำไปตามลำดับ ผมจะพูดให้ฟังว่าการเจริญพระกรรมฐานนี่ โดยมากก่อนที่จะทำจุดปลายเขามักจะทำจุดต้น จับจุดต้นดูซิว่าจิตอารมณ์ของเราไปพร่องอยู่ตรงไหน คือ อันดับแรกท่านก็จับอานาปานสติควยกับพุทธานุสสติกรรมฐาน จิตเป็นสุขถึงที่สุดถึงฌาน ๔ ทิ้งฌาน ๔ วิ่งเข้าไปฌาน ๘ ถอยหลังลงมาจับอริยสัจ ๔ จิตสะอาดผ่องใสถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ จับเมตตาพรหมวิหาร ๔ จิตเข้าถึงที่สุดทันที ถอยลงมาอุปจารสมาธิ จิตจับอสุภกรรมฐาน จนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นสุข ไม่มีความติดพันในภาพพจน์ใดๆ ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิเข้ามรณังสติกรรมฐาน เมื่ออารมณ์ถึงที่สุด ถอยลงมาอุปจารสมาธิจับบารมี ๑๐ ประการ แล้วถอยลงมาตัดอสมิมานะ ความถือตัวถือตน แล้วถอยลงมาจับสักกายทิฏฐิ จนกระทั่งเข้าจุดถึงขีณาสวานิยตา นี่วิธีทำเขาทำกันแบบนี้ คือไล่ตั้งแต่ต้นลงมา ว่าต้นที่ละได้แล้วมันยังเกาะจิต ถ้ายังต้องใช้เวลามากถึงข้อละสองนาทีใช้ไม่ได้ จับอารมณ์ของจุดไหนอารมณ์จิตมันโปร่งไปหมด ไม่มีอารมณ์เกาะอันนั้นใช้ได้ หรือว่าเป็นฌานทันทีใช้ได้ แล้วจึงจะจับตัวปลาย ถ้าตัวต้นยังไม่คล่องไม่ผ่องใส ยังไม่จับตัวปลาย ต้องไล่เรียงลำดับอย่างนั้นลงมา จับตามลำดับอย่างนั้นลงมาจะถึง ขีณาสวานิยตา อารมณ์ปักแน่น แล้วก็เลยแสวงหานิพพานสุขังต่อไป อารมณ์ปักแน่นก็เป็นฌานสูงสุด อารมณ์เป็นสุขจับหานิพพาน ภาวนานิพพานสุขังต่อไป ท่านบอกว่าแล้วตรวจดุอารมณ์ คราวนี้จิตท่านเป็นทิพย์นี่ ท่านก็ดูใจของท่านเองได้ ท่านก็ตรวจดูอารมณ์เห็นจิตผ่องใสเหมือนกับแก้วสะอาด แต่ว่ายังมีคลื่นนิดๆ หน่อยๆ คือยังมีไหวตัวกระเพื่อมๆ จึงรู้สึกว่าจิตนี่ยังดีไม่พอ จึงได้ถอนจิตจากนิพพานสุขขัง เอาอารมณ์เข้ามาจับจิตขีณาสวานิยตาใหม่ คราวนี้อารมณ์แจ่มใสมากแล้วกันหันเข้ามาจับนิพพานสุขัง จิตทรงตัว ตอนนี้ท่านบอกว่า มีความรู้สึกว่าเวลานี้จิตเป็นอภิญญาผลสมาบัติ อภิญญาหมายความว่า รู้ยิ่ง จิตมีอารมณ์ประเสริฐเพราะท่านเป็นผู้ได้อภิญญา ผล คือ ผลที่ตนได้มา สมาบัติ คือ เข้าถึงๆผลที่ตนฝึกอภิญญามาแล้วควบกับวิปัสสนาญาณทรงตัว เล่นแบบนี้สนุกจะตาย เพลินดีนะ ถอยหน้า ถอยหลังๆ ถอยหน้าอยู่คนเดียว อารมณ์เป็นสุข ตามบันทึกของท่าน เราตั้งใจไว้ว่าจะถอนเวลา ๑๑ น. เริ่มตั้งแต่ ๙ น. ตรง จะถอนเวลา ๑๑ น. ตรงเพื่อกินข้าวละซิ ท่านว่าตอนนี้ชักจะถอนเกือบไม่ออก ดึงเท่าไรก็ไม่ออกจิตมันปักแน่น มันก็ไม่ยอมคลายสมาธิ จิตอารมณ์เป็นทิพย์ ก็รู้สึกว่าดีใจมาก ว่ากำลังใจของเรานี่ดีพอแล้ว มีกำลังใจใหญ่พอจะสู้กับกิเลสได้ สามารถจะห้ำหั่นให้กิเลสทั้งหลายมันสลายตัวไปได้ ว่าอย่างนั้นตามที่ตนปรารถนาไว้แห่งการไม่เกิดอีก ท่านพิจารณาว่าการที่เราจะไม่ต้องเกิดอีกมันใกล้เข้ามา จำให้ดีนะ ขณะนี้ท่านมีความรู้สึกตัว ท่านว่าการที่จะไม่ต้องเกิดอีกใกล้เข้ามาแล้ว มันยังไม่ถึงจุดนั้น มันใกล้ๆ ขณะนั้นเอง ท่านบอกว่าจิตท่านเป็นทิพย์ พบหน้ากิเลสตัณหา กิเลสตัณหามันยื่นหน้าเข้ามาตั้งแต่วันวานนี้วันที่ ๑๙ วันนี้ก็พบมันอีก แต่วันนี้พบชัดมากเพราะจิตมันใสมาก เจ้ากิเลสและตัณหามันสงบนิ่งนอนเฉย นี่แสดงว่ากิเลสมันหลบไปนอนเสีย มันไม่ฟูขึ้นมาด้วยอำนาจกำลังของฌาน แต่ความจริงกิเลสนอนนี่กิเลสยังไม่หมด ถ้าเผลอเมื่อไรมันเข้ามาเมื่อนั้น เป็นอันว่าท่านมีความมั่นคงในกำลังฌานมากกว่าในวิปัสสนาญาณ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงรับรองว่าเป็นพระโสดาบัน นี้ต้องระวังให้ดีนะ จิตสงบสบายแล้วก็อย่าพึ่งไปนึกว่าเราเป็นพระอริยเจ้า ให้มันถึงจริงๆเสียก่อน ใช้วิธีตรวจอารมณ์อยู่เสมอ จับหาความผิด จับหาความชั่วในอารมณ์ของจิตของตัวแล้วท่านบอกว่าให้กิเลสมันเลี่ยงไป บอกเอ็งถอยไป ไม่ใช่เรื่องของเอ็งจะมายุ่งกับฉัน ฉันไม่ต้องการ ท่านว่ามึงจงหลีกไป ท่านว่าอย่างนั้น มึงจงอย่ามายุ่งกับกู กูไม่พึงต้องการมึงอีก มึงเป็นเจ้านายบังคับกูทรมานกูมากหลายแสนหลายกัปแล้ว หลายแสนอสงขัยกัปแล้ว ต่อแต่นี้มึงกับกูไม่มีทางแล้วที่จะมาบังคับกูได้ เป็นอันว่ากูจะต้องหลีกไปหรือทำลายมึงให้พินาศไปเพื่อการเข้าพระนิพพานของกู นี่เขาใช้กันอย่างนี้ใช้กับแบบพูดกับศัตรูที่เป็นตัวสำคัญ ท่านบันทึกต่อไปว่า เราจะเข้าอภิญญาผลสมาบัติอย่างนี้ทุกวันและทุกคืน จะไม่ยอมให้จิตดวงนี้คลาดจากอภิญญาผลสมาบัติ เพื่อประโยชน์ของมหาชนทั่วไป ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่ง จำให้ดีนา นี่เรื่องเล่าให้ฟัง ถ้าชอบใจก็เอาไปปฏิบัติได้ ไม่ชอบใจก็แล้วไป ไม่ได้ว่าอะไร ทำไปตามอัธยาศัยของตนนั่นแหละดี ชอบใจตอนไหนทำตอนนั้น นี่มันเรื่องเล่าให้ฟังแต่ละบุคคล (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๔-๙๖) นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว แล้วก็สมาทานศีลแล้ว ก่อนจะฟังปฏิปทาของท่านผู้เฒ่า ก็อย่าลืมรวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิพยายามคิดอยู่ว่าอะไรมันเป็นนิวรณ์ นิวรณ์ ๕ ประการ รูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไร ขจัดมันเสียให้หมด ทรงจิตคิดไว้เสมอว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอทำผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สำหรับอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็ตั้งใจว่า เราปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน พยายามทรงอิทธิบา ๔ ให้ครบถ้วน และทรงจรณะ ๑๕ ให้ครบถ้วน อย่างนี้ไม่มีใครเขาจะใช้คำว่า ไม่สำเร็จ ถ้าอามรณ์ของท่านทรงอย่างนี้แล้ว อะไรก็ได้ เป็นของไม่หนัก แล้วก็กรรมฐานส่วนใดที่ท่านคล่องอยู่ทำอยู่ก็ทำไปตามนั้น สำหรับปฏิปทาของท่านผู้เฒ่านี้ก็เล่าสู่กันฟังถึงว่าท่านผู้หนึ่งปฏิบัติมาแล้วเท่านั้น ท่านชอบใจตรงไหนเอาตรงนั้นไปใช้ หรือไม่ขอบใจเลย ชอบตำรับตำราที่สอนมาแล้วตรงไหนก็ใช้ตรงนั้นให้เป็นไปตามอัธยาศัยของท่าน (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๐๔) อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง วันนี้ท่านพาดหัวจ้อว่า คาถาเรียกจิต คำว่า คาถาเรียกจิต ไม่ใช่คาถาหนุ่มเรียกสาว สาวเรียกหนุ่ม ไม่ใช่อย่างนั้น เรียกจิตของตนเอง ตามบันทึกของท่านๆบันทึกย่อ ผมจะอ่านไปว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง”ท่านกล่าวว่า พระคุณท่านได้โปรดเมื่อเวลา ๒๐.๓๐น. คำว่า พระคุณท่าน ก็หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราก็รู้แล้วท่านบอกไว้แล้ว่า เวลาทุกขณะจิตท่านทรงอยู่อภิญญาผลสมาบัติอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น การเอาจิตเข้าไปเห็นใครพบกับใครมันเป็นของไม่ยาก เหมือนกับที่เรามีอาหารอยู่ในปากจะกลืนกันเมื่อไรก็ได้ อภิญญาผลสมาบัตินั้น ไม่ใช่สตางค์อยู่ในกระเป๋า ถ้าเรามีสตางค์อยู่ในกระเป๋าเราจะใช้เมื่อไรก็ได้ บางทีสตางค์ในกระเป๋าเราไม่มีที่จะซื้อกันมันก็กินไม่ได้ สำหรับท่านที่ทรงอยู่ในอภิญญาผลสมาบัติเหมือนกับอาหารที่อยู่ในปาก เคี้ยวไว้เรียบร้อยแล้ว จะกลืนเมื่อไหร่ก็ได้มันง่ายกว่ากันเยอะอย่างนี้ แล้วเวลาที่เจริญพระกรรมฐานในคืนวันที่ ๒๔ ท่านจึงได้มาโปรดเมตตาบอก ท่านบอกว่า ให้ทำให้แจ้ง ทำทุกขณะจิตที่จิตพล่าน หมายความว่าคาถาบทเมื่อกี้นี้ คาถาที่บอกว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง” ถ้าเวลาใดที่จิตเกิดอาการฟุ้งซ่านขึ้นมา ให้ทิ้งคำภาวนาอย่างอื่นเสียให้หมด กำหนดลมหายใจเข้าออก คาถานี้ตามสบายๆ กำลังของสมาธิจะรวมตัวได้รวดเร็ว จำเข้าไว้ให้ดีก็แล้วกันนะ ผมขอว่าซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า “อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะจิตตัง” แล้วอย่าย่องเอาคาถานี้ไปเรียกผู้หญิงผู้ชายเข้านะ เขาไม่มาหรอก เรียกจิตของเรา ท่านบอกว่าที่จิตมันพล่านนี่ไม่ใช่เพราะผู้หญิงเข้ามายั่ว มันพล่านเพราะโรคทางกระเพาะมันกำเริบ ร่างกายถ้าหากว่า มีโรคเบียดเบียน ประสาทมันก็ไม่ทรงตัว จิตมันพล่านได้ จงอย่าสงสัยในตัวเอง คิดว่าไปหลงใหลใฝ่ฝันในบรรดาสตรีทั้งหลายเหล่านั้น เธอมายั่วมาเย้าเป็นจริยาของมาร แต่คำว่ามารในที่นี้จงอย่าคิดว่าพวกนั้นเป็นพวกมาร ความจริงพวกนั้นเขามาตามหน้าที่ แต่ถ้าอารมณ์ของเราไม่ทรงตัวก็จงคิดว่าจิตของเรานี่แหละเป็นมาร มันมีสันดานหยาบ รู้อะไรไม่ดีทำไมจึงไปหลงใหลใฝ่ฝัน นี่ท่านว่าอย่างนั้น ท่านว่าอย่างนี้ก็ฟังของท่านไว้นะว่าผลจะเป็นอย่างไร จำไว้ให้ดี ตอนนี้ท่านบันทึกว่า “พระ” หมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ก็ทรงสั่งว่า “คืนนี้ใจมันแย่งกันนะ” คำว่า “ใจมันแย่งกัน” ก็หมายความว่าการเจริญกรรมฐาน เดี๋ยวจะภาวนาบทนั้นเดี๋ยวจะภาวนาบทนี้ เดี๋ยวจะพิจาณาอย่างนี้ ถ้าอารมณ์มันแย่งกันอย่างนี้แล้ว การบรรลุมรรคผลมันจะช้า ทำให้มันทรงตัวเรียงลำดับ การเรียงลำดับก็นับกันมาตั้งแต่ ๑. จับอานาปานสติกรรมฐานควบกับพุทธานุสสติกรรมฐาน ๒. หลังจากนั้นก็เอาจิตทรงพรหมวิหาร ๔ ๓. จับกายคตาสติ ๔. จับมรณัสสติ ๕. จับอุปสมานุสติ ๖. จับอริยสัจ ว่ากันมาตามลำดับให้จิตมันทรงตัว ท่านเรียกไว้ว่า ท่านสั่งว่าให้ทำไปตามลำดับเพราะจิตเรามันยุ่งองค์ภาวนาผ่านลำดับไม่เป็นเรื่อง แล้วก็เพ่งสังโยชน์เช้า เมื่อองค์ภาวนาผ่านลำดับมาแล้วจิตหยุด ให้เพ่งสังโยชน์ ๑๐ คือจับ สังโยชน์ ๑๐ วัดดูว่าเวลานี้สังโยชน์ ๑๐ ประการเราตัดตัวไหนไปได้แล้วบ้าง ที่ตัดได้แล้วมันทรงตัวได้ไหม ถ้ามันไม่ทรงตัวแสดงว่า เราตัดไม่ได้จริง ถ้าส่วนใดที่ทรงตัวอยู่แสดงว่าอันนั้นได้จริง นี่ท่านว่าอย่างนี้นะ จำไว้ให้ดีนะ ว่าสังโยชน์ ๑๐ นี่ต้องกำหนดไว้เสมอๆพิจารณาไว้เสมอว่า จิตของเราสามารถเอาชนะจุดไหนได้แล้ว ท่านเขียนไว้ว่าเวลาเช้ามืดนี่เป็นอันว่า ๒๔ น. ผ่านไป นี่ท่านไปเลิกเวลาไหนก็ไม่ทราบ เช้ามืดเวลา ๓ น. ก็โงเงๆ ขึ้นมาอีก เลยเป็นอันว่าคงจะนอนสัก ๑ ชั่วโมง แต่การนอนด้วยอภิญญาผลสมาบัติหรือการนอนด้วยการทรงสมาธิใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียว ก็ดีกว่านอนธรรมดาแปดชั่วโมง ตื่นมาก็มีความอิ่ม ขึ้นมาก็ไม่รอแล้ว เรื่องล้างหน้าไม่มี มันเสียเวลา นอกจากจะปวดอุจจาระปัสสาวะนั่นถึงจะไป ตื่นขึ้นมาปั๊บใจมันจับคำภาวนาพิจารณาอารมณ์ตัดสังโยชน์ เมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกว่าใจยังพิจารณาสังโยชน์อยู่นี่การนอนหลับไปด้วยกำลังของสมาธิเป็นอย่างนี้เวลาหลับมันทำของมันเองด้วยแต่เราไม่รู้สึก พอตื่นมาครึ่งหลับครึ่งตื่น รู้สึกตื่นไม่เต็มตัว จิตมันพิจารณาสังโยชน์ก็ทำต่อไป (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑) จงกำหนดในความไม่มีของขันธ์ห้า จงกำหนดในความไม่มีของขันธ์ห้า ให้ถือว่าขันธ์ห้ามันไม่มี มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีแล้วก็เหมือนกับว่าไม่มี คือไม่สนใจในมันเสียเลย แล้วก็ทุกสิ่งทั้งหมดให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” หมายความว่า ขันธ์ห้าก็ดี ธาตุทั้งหลายอย่างอื่นก็ดี มีความรู้สึกว่ามันไม่มีสำหรับเรา คำว่าให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” คือ ให้ทรงอารมณ์นี้เป็นหนึ่ง ไม่มีอารมณ์ที่สอง มีอารมณ์ที่เข้าใจว่ามีนะไม่มีอีกแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีสำหรับเรา คือขันธ์ห้า ได้แก่ ร่างกายของเราก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกก็ดี ไม่มีสำหรับเรา อารมณ์ทรงอยู่อย่างนี้ ให้เป็นปรกติ เรียกว่าเป็น “เอกัคคตารมณ์” ถ้าจะหันไปดูจริงในมหาสติปัฏฐานที่เราฟังกันมาแล้วก็เหมือนกัน คือท่านไม่ได้สอนเกินอะไรกันไปเลย เว้นไว้แต่ว่าเราจะใช้อารมณ์ถูกหรือไม่ถูกเท่านั้น เป็นอันว่าวิชาความรู้ของพวกเรานี่เลยเถิด เรียกว่าท่วมเลยศีรษะไปแล้วไหนๆ แต่ว่าจะรู้จักใช้เท่านั้น บางทีก็ยังเมาอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ เมาในลาภ เมาในรูปเสียงกลิ่นรส เมาในความโกรธ เมาในขันธ์ห้า นี่เป็นอันว่าถ้ายังเมาอยู่อย่างนี้ แสดงว่าพวกเรายังเลวอยู่ขนาดหนัก ไม่ใช่ขนาดเบา แล้วก็ท่านบอกว่าให้เพ่งอารมณ์อันจะพึงเกิดจากรูป จากกลิ่น จากเสียง จากรส จากสัมผัส จากอะไรทุกอย่างทั้งหมด ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สัมผัสกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสอารมณ์ใจ ท่านบอกว่าทั้งหมดว่าเป็นรูป ท่านย่อไว้แบบนี้ ผมอ่านไม่เข้าใจเหมือนกัน ท่านว่าทั้งหมดเป็นรูป แล้วก็ละ ว่าเป็นรูปเป็นเสียงของสภาพที่ไม่มี ท่านบอกว่าสิ่งที่เป็นรูปที่ท่านละไว้ ผมขอขยายหน่อย เป็นรูปที่มันไม่มี เสียงก็เป็นเสียงที่มันไม่มี กลิ่นก็เป็นกลิ่นที่ไม่มี รสก็เป็นรสที่ไม่มี สัมผัสก็เป็นสัมผัสที่ไม่มี มันไม่มีตรงไหน ไม่มีตรงที่มันสลายไป รูปเห็นแล้วก็ผ่านไป เสียงได้ยินแล้วก็ผ่านไปทั้งหมด อย่าเอามันเข้ามาขังไว้ในใจ มันสัมผัสประสาทแล้วก็ผ่านไป มันมีสภาพไม่มี อย่าเอาใจไปนึกว่ามันมี นี่ผมขยายความนะ ท่านบอกต่อไป นี่พระมหาโมคคัลลาน์มาสอนแทนนะ ว่า “จงไม่ยึดถือ” คือปล่อยไปเสีย ไม่ให้เกาะมันอยู่ ไม่ยินดีกับมันด้วย แล้วก็ไม่ยินร้ายกับมันด้วย ยินดีคือชอบใจ ยินร้ายคือไม่ชอบใจ มันจะไปมาอย่างไรก็ช่าง นี่อารมณ์พระอรหันต์นะ ฟังกันไว้ให้ดี ฟังแล้วก็จำ ท่านที่บันทึกไว้ฟังให้มากจุดนี้ ฟังให้มาก ฟังให้มากแล้วก็ทำให้ได้ เป็นสิ่งที่เราต้องการกัน ทำให้เป็น เอกัคคตารมณ์ คือทำให้อารมณ์ทรงอยู่อย่างนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันจะมีอารมณ์ชิน แล้วก็ตั้ง “อุเปกขาญาณ” ไว้ว่า คำว่า “อุเปกขาญาณ” แปลว่า วางเฉย มีความรู้สึกไว้ว่าเราจะวางอารมณ์ความเฉยไว้อยู่เสมอว่า เราจะไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เราจะเฉยโดยไม่ยึดถืออารมณ์อย่างนี้ไว้ แล้วทรงใจให้ผ่องใสในพรหมวิหาร ๔ โดยถือว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดควรได้รับความเมตตา ควรได้รับการสงสาร ให้ต้องใจให้ดีโดยไม่เกียจคร้าน หากไม่มีความประมาท จิตจะพ้นอาสาวะ (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๑๓-๑๑๔) กำหนดใจลงในความไม่มีของปัญจขันธ์ พระมหาโมคคัลลาน์สั่งว่าให้กำหนดใจลงในความไม่มีของ “ปัญจขันธ์” “ปัญจขันธ์” ก็ได้แก่ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่มี มันมีก็เหมือนว่ามันไม่มี คือมันไม่มีการทรงตัว หาอะไรทรงตัวไม่ได้ มีแล้วเดี๋ยวก็พัง มีความเกิดในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วมีความสลายตัวไปในที่สุด รูปมันก็ปรากฏขึ้นเดี๋ยวเดียว ท่านบอกว่า ชีวิตเหมือนความฝัน รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ชีวิตของเราที่ทรงอยู่นี้มันก็เหมือนความฝัน มันมีอยู่แล้วไม่ช้ามันก็สลายตัวไป รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ดอกไม้เมื่อแรกยังตูม ต่อมามันก็แย้มที่ละน้อยๆ ในที่สุดก็พังไป สภาวะของรูปมันก็เป็นเช่นเดียวกัน เสียง กลิ่น รส และสัมผัสมันก็เหมือนกัน ท่านบอกว่าทุกสิ่งทั้งหมดนี้จงรักษาอารมณ์ให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” ว่ามันไม่มี คำว่า “ไม่มี” ความจริงมันมีแล้ว มันก็ไม่มี เพราะต่อไปมันจะพัง รูปมันทรงอยู่ได้ไม่นาน มันก็พัง เสียงที่เรามีความพอใจฟังแล้วก็หายไป กลิ่นที่สัมผัสจมูกมันกระทบแล้วก็หายไป การสัมผัสที่พึงพอใจ สัมผัสแล้วเลิกสัมผัสก็หายไป รสที่สร้างความซาบซ่านจากปลายลิ้น กลางลิ้น โคนลิ้นแล้วรสก็หายไป อย่าไปสนใจมันผ่านไปแล้วก็หมดไป ไม่ช้าร่างกายมันก็สบายตัว ท่านบอกว่าจงรักษาอารมณ์ให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มี อันนี้ก็เห็นจะได้แก่ “อากาสานัญจายตนะ” ก็เห็นจะได้ถ้าเทียบกัน อารมณ์พระนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ตัดกิเลส “อากาสานัญจายตนะ” ที่ท่านเจริญกัน ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องสลายหายไปเหมือนกับอากาศ หรือว่า “อากิญจัญญายตนะ” ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี่ มันไม่มีอะไรเหลือหมด มันไม่มี ไปลงกันตรงนั้น มันเข้าไป “เนวสัญญายตนะ” อารมณ์นี้มาใช้มันมีก็ทำความรู้สึกว่าเหมือนว่าไม่มี ตอนนี้ถ้าหากว่าท่านสนใจอรูปฌาน จะรู้สึกว่าง่าย เห็นทรงตัวได้ชัด (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๑๓-๑๑๔) โคตรภูของอรหัตมรรค คำว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” ก็หมายความว่าท่านผู้ใดที่ได้อนาคามีแล้ว กำลังปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอรหัตมรรค ในช่วงนี้เขาเรียกว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” เพราะช่วงนั้นเป็นการไปสู่โคตรภูของอรหัตมรรค ที่นี้คำว่า “โคตรภูของอรหัตมรรค” จริง ๆ นั้น จะต้องเหลือตัวอวิชชาตัวเดียว อวิชชาตัวนี้ก็แนบนิ่งสนิทเกือบจะไม่มีแรง กำลังจะก้าวเข้าไปสู่ทางของอรหัตมรรคเหมือนกับคนหนึ่งยืนอยู่คร่อมลำรางเล็กๆ ขานี้ยังอยู่ฝั่งนี้ ขาโน้นเหยียบฝั่งโน้น ยังไม่ทันยกขา เป็นอันว่าเป็นโคตรภูของอรหัตมรรคยกเมื่อไรเป็นอรหัตมรรคเมื่อนั้น ท่านบอกว่าให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งไม่มีอะไรเป็นของจริง เป็นของสมมุติทั้งหมด นี่ความจริงแล้วก็ควรจะประมวลความจำไว้ให้ดีนะ ว่าแต่ละชั้นท่านสอนอะไรแบบไหน ท่านบอกว่าให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งเป็นของไม่มีอะไรจริง เป็นของสมมุติทั้งหมด ไม่มีอะไรแน่นอน ย่อมสบายตัวไปหมด ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ต้องพลัดพรากจากกันหมด ฟังแล้วก็คิดดูว่าร่างกายของเราเป็นนาย ก. นาย ข. ชื่อของเราเป็นนาย ก. นาย ข. มันก็สมมุติ ร่างกายของเราเป็นชายเป็นหญิง เราก็สมมุติมันมา ร่างกายมนทรงขึ้นมาแล้วมันก็ฟัง ไม่มีอะไรจะเหลือ สลายตัวหมดแล้วทุกสิ่ง ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ทรัพย์สินทั้งหลายในโลกก็ดี มันไม่ใช่ที่พึ่งของเรา ในที่สุดเราคือจิต ก็ต้องพลัดพรากจากมันไป ...มาฟังท่านต่อไป แล้วท่านโมคคัลลาน์ก็อธิบายว่า ให้วิจัยถึงเหตุ นี่ฟังของท่านให้ดีนะ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวอย่างนั้น ท่านสอนเพิ่มเติม ให้วิจัยถึงเหตุ เมื่อเห็นของที่เป็นรูป ให้วิจัยว่า รูปนั้นมาจากอะไร รูปตัวนี้มันมาจากอะไร รูปที่มีชีวิตมันมาจากธาตุ ๔ ธาตุ ๔ มันทำอย่างไรมันถึงจะเกิด เรามานั่งนึกว่าธาตุ ๔ นี่มันทรงตัวไหม มันทรงตัวมันเป็น นิจจังหรืออนิจจัง เป็นทุกขังหรือเปล่า ถ้าเราไปยุ่งกับมัน ร่างกายเป็นธาตุ ๔ สำหรับเรา แล้วมันก็เป็นอนัตตา ธาตุ ๔ มันสะอาดหรือสกปรก นี่ผมขยายนะ ท่านบอกว่า “คน” คนมาจากอะไร แล้วมันเป็นคนอยู่ตลอดไปไหม ธาตุ ๔ มันทรงตัวตลอดไหม คนมาจากอะไร คนมาจากคน แล้วคนที่จะเกิดเป็นคนได้ก็มาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม มันมาจากความชั่ว การที่จะเกิดเป็นคนได้เพราะอาศัยเราคบความชั่ว กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม จึงมาเกิดเป็นคน แล้วก็อย่าไปสนใจกับความเป็นคนต่อไปเพื่อประโยชน์อะไร ทำลายความชั่วมันเสียซิ ท่านว่าบ้านเรือนโรงมาจากอะไร ท่านบอกว่าบ้านเรือนโรงมาจากวัตถุธาตุ เป็นชิ้นเป็นอันประกอบกันเข้าเป็นบ้านเรือนโรง คนก็เหมือนกัน มาจากอาการ ๓๒ ธาตุ ๔ นี่ ก็เหมือนกัน ก็มาจากส่วนที่สิ่งที่ผสมกัน แล้วก็พิจารณาหาสภาพความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันไม่มีอะไรทรงตัว มันแตกสลายหมด ฟังแล้วก็คิด คิดแล้วก็ทำ ฟังให้มากคิดให้มาก (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๓๒-๑๓๓)

วิธีละความยินดีในโลกียสุขของพระอนาคามีบุคคล(นำ) หันทะ มะยัง ทะวัตติงสากา. ระปาฐัง ภะณามะเส ฯ อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา อะโธ เกฐะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อัตถิ อิมัสสะมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้ ๑.เกสา ผมทั้งหลาย ๒.โลมา ขนทั้งหลาย ๓.นะขา เล็บทั้งหลาย ๔.ทันตา ฟันทั้งหลาย ๕.ตะโจ หนัง ๖.มังสัง เนื้อ ๗.นะหารู เอ็นทั้งหลาย ๘.อัฏฐี กระดูกทั้งหลาย ๙.อัฏฐิมิญชังเยื่อในกระดูก ๑๐.วักกัง ม้าม ๑๑.หะทะยัง หัวใจ ๑๒. ยะกะนัง ตับ ๑๓.กิโลมะกัง พังผืด ๑๔.ปิหะกัง ไต ๑๕.ปัปผาสัง ปอด ๑๖.อันตัง ไส ้ใหญ่ ๑๗.อันตะคุณัง ไส้น้อย ๑๘.อุทะริยัง อาหารใหม่ ๑๙.กะรีสัง อาหารเก่า ๒๐. ปิตตัง น้ำดี ๒๑.เสมหัง น้ำเสลด ๒๒. ปุพโพ น้ำเหลือง ๒๓.โลหิตัง นำเลือด ๒๔.เสโท น้ำเหงื่อ ๒๕.เมโท น้ำมันข้น ๒๖.อัฐสุ น้ำตา ๒๗.วะสา น้ำมันเหลว ๒๘.เขโฬ น้ำลาย ๒๙.สิงฆาณิกา น้ำมูก ๓๐.ละสิกา น้ำไขข้อ ๓๑.มุตตัง น้ำมูตร ๓๒.มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมอง อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้อย่างนี้ อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ตะจะ ปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สัอาด มีประการต่างๆ อย่างนี้แลฯ

หน้าที่เราหัดรู้สภาวะไปการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา

หน้าที่เราหัดรู้สภาวะไป

หน้าที่เราหัดรู้สภาวะไป

หน้าที่เราหัดรู้สภาวะไป

ยอมรับความจริงได้ก็ถูกเมื่อนั้นหลวงพ่อปราโมทย์ : จริงๆเราอย่ากังวลนะ การภาวนา อย่ากังวลว่าทำผิด ผิดแน่นอน เพียงแต่ผิดน้อยลงๆต่างหากล่ะ ไม่ใช่ทำถูกหรอก ทำถูกคือไม่ทำอะไร รู้แต่ไม่ได้จงใจจะรู้ รู้แต่ไม่ได้จงใจ นอกนั้นก็ยังทำอยู่แต่ว่าทำแบบน้อยลงๆ ปรุงน้อยลงๆนะ ก็เข้าใกล้ความไม่ปรุงมากขึ้นๆ งั้นเวลามาส่งการบ้านอย่ากลุ้มใจนะ ไม่มีถูกหรอก แต่ถ้าคนใหม่ๆมาถามหลวงพ่อทำถูกหรือยัง ก็ถูกนะ ตอบแบบสอนเด็กใหม่ก็ไปอีกอย่างนึง ถ้าสอนคนเก่าๆอย่าไปกังวลเลยยังไงก็ไม่ถูกหรอก ยอมรับความจริงได้ก็จะถูกเมื่อนั้น มีบางคนภาวนาบอกท้อแท้ใจ ท้อใจแล้ว ภาวนามันเจริญแล้วก็เสื่อมไป เจริญแล้วก็เสื่อมไป อันนั้นเพราะอะไร เพราะใจไม่ยอมรับความจริง ว่าจิตมีธรรมชาติเจริญแล้วเสื่อมใช่มั้ย โอ้ ท้อใจๆ ไปท้อมันทำไม จิตมันเจริญแล้วเสื่อมนั่นความจริงของมันต่างหาก ถ้าเรายอมรับความจริงตรงนี้ได้ ใครเจริญล่ะใครเสื่อมล่ะ จิตเจริญจิตเสื่อม เพราะนั้นจิตเค้าเจริญก็รู้ไปสิ เจริญก็ไม่เที่ยงนะ จิตเสื่อมก็ช่างมันสิ เรื่องมันเสื่อมน่ะ มันเจริญได้มันก็เสื่อมได้สิ ในที่สุดจิตก็เป็นกลาง พอจิตเป็นกลางนะ เจริญก็ไม่ยินดี เสื่อมก็ไม่ยินร้าย ไม่มีคำว่าเจริญและเสื่อมในสารบบของเราอีกต่อไปแล้ว งั้นภาวนานะจนกระทั่งมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง งั้นอย่าไปกังวล โอ๊ มาส่งการบ้านทีไรมีแต่ถูกว่าทุกทีเลย ผิดอีกแล้ว โน่นก็ผิด ไอ้นี่ก็ผิด มาส่งการบ้านมันก็ผิดแหงๆล่ะเพราะไปเล่าว่าไปทำอะไรมา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗ Track: ๑๔ File: 511120.mp3 ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๖

Sunspot Group AR 2192 Crackles

Sunspot Group AR 2192 Crackles

[สารคดี 78] ท่องจักรวาล ตอน ท่องกาลเวลา

I Will Follow Him 【天使にラブソングを】

John Denver - Take Me Home, Country Roads 【720P】  カントリー・ロード

Patti Page - Tennessee Waltz

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นวิถีแห่งความรู้แจ้ง ความในใจ เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากให้ความรักความเมตตาแวะเวียนไปสนทนาธรรมกับผู้เขียนเสมอ ส่วนมากมักถามถึงแนวทางปฏิบัติที่ผู้เขียนดำเนินมา เป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องพูดคุยในเรื่องเดิมๆ อยู่แทบทุกวัน ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อทุ่นแรงตนเอง หากเพื่อนนักปฏิบัติท่านใดต้องการทราบแนวทางปฏิบัติของผู้เขียน อ่านแล้วคงพอทราบได้ จะช่วยให้การสนทนาสั้นลง เป็นการประหยัดเวลาได้ทั้งสองฝ่าย พระปราโมทย์ ปาโมชโช วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ใจความ 1. สิ่งใดคือจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา - ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง 2. ความทุกข์คืออะไร - ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ หรือทุกข์ที่เนื่องด้วยกาย และทุกข์ที่เกิดจากจิต เช่นความแก่ เจ็บ ตาย การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์(ภพ)คือทุกข์ 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร - ตัณหา ซึ่งมีที่มาจากความไม่เข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ (อวิชชา) 4. ทางแห่งความดับทุกข์ - มรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงเป็นการเจริญสติ ซึ่งเป็นเครื่องมือเฝ้าสังเกตการณ์จนเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดแล้วหลุดพ้น และย่อมรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์แล้ว 5. การเจริญสติคืออะไร - คือการระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร - แทบทุกคนระลึกรู้ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ แค่รู้ไปตามธรรมชาติโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงไปในการรู้นั้น ก็จะรู้สภาวธรรมได้ / สภาวธรรมรู้ง่ายกว่าที่คิดไว้มากนัก 7. สภาวธรรมคืออะไร - คือรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นปรมัตถธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายจิตใจอันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์นี้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความคิดฝันหรือจินตนาการเอาเอง 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร - หมายถึงสภาวธรรมที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะจิตต่อหน้านี้ ผู้ปฏิบัติต้องไม่หน่วงอาลัยถึงสภาวธรรมในอดีต และไม่กังวลถึงสภาวธรรมในอนาคต 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร - หมายถึงรู้สภาวะตรงตามที่มันเป็น และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยความอยาก(ตัณหา) และความเห็นผิด(ทิฏฐิ) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร - 1. ได้ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน 2. ได้ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 3. ได้ความสมบูรณ์แห่งศีล 4. ได้ความตั้งมั่นของจิตหรือสัมมาสมาธิ 5. ได้สัมมาทิฏฐิ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจธรรมชาติ 6. ได้ความเบาบางจางคลายจากความยึดถือทั้งหลาย และ 7. ได้ความหลุดพ้นและความรู้เกี่ยวกับความหลุดพ้น ขยายความ 1. จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา 1.1 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มุ่งตอบปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรเราจะเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ 1.2 คนทั้งหลายมักมองข้ามเรื่องความพ้นทุกข์ เพราะไม่เห็นความจริงของชีวิตว่า ที่เราต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อหนีทุกข์กันทั้งนั้น แม้แต่การศึกษาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ด้วยความหวังว่า จะได้ใช้เป็นวิชาชีพ หรือสร้างความบันเทิงใจ หรือเป็นประโยชน์อย่างอื่น อันเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ของชีวิตนั่นเอง ซึ่งศาสตร์เหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นควรแก่การศึกษา แต่หากเข้าใจพุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งแก้ทุกข์โดยตรงด้วย ก็ย่อมช่วยให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1.3 บางคนอาจมองเลยไปอีกว่า พระพุทธศาสนามองโลกแง่ร้ายเกินไป คือมองว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์ ประเด็นนี้ต้องขอแขวนไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะถ้าอธิบายกันในขณะนี้ก็จะกลายเป็นข้อถกเถียงทางปรัชญาไป 2. ความทุกข์คืออะไร 2.1 พระพุทธศาสนามองความทุกข์ไว้อย่างลึกซึ้งและหลายแง่มุม มากกว่าความทุกข์ที่พวกเรารู้จักกันทั่วๆ ไป กล่าวคือ 2.1.1 ทุกขเวทนา คือความทุกข์ทั่วไปที่พวกเรารู้จักกันอยู่แล้ว ได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจนั่นเอง สำหรับผู้ที่ไม่เคยเจริญสติอาจรู้สึกว่า นานๆ ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ผู้ที่เจริญสติอยู่จะพบว่า ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ่อยมาก เช่นถ้าเรามีสติรู้กายอยู่ จะพบว่าความทุกข์เหมือนสัตว์ร้ายที่วิ่งตามทำร้ายเราอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องคอยเปลี่ยนอิริยาบถ ต้องกิน ต้องดื่ม ต้องขับถ่าย ต้องเช็ดล้าง ต้องเกา ฯลฯ แทบไม่ได้หยุดพักเลย บางคราวมีความป่วยไข้อันเป็นความบีบคั้นที่รุนแรง และท้ายที่สุดเมื่อหมดกำลังวิ่งหนีทุกข์ เราก็จะถูกความทุกข์ทำร้ายเอาจนตาย ยามใดที่ทุกขเวทนาบรรเทาลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข แต่ไม่นานเลย ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกคราวหนึ่ง หากมีสติรู้อยู่ที่จิตใจก็จะพบว่า จิตของเราเกิดความเครียดขึ้นแทบตลอดเวลา ยามใดมีความเครียดน้อยลงก็รู้สึกเป็นสุข ยามใดมีความเครียดมากขึ้นก็รู้สึกเป็นทุกข์ 2.1.2 ทุกขลักษณะ ทุกข์ชนิดนี้ไม่ใช่ความทุกข์ในความหมายทั่วไปที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่มันเป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร(คือร่างกายจิตใจและสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย) ที่ว่า สังขารทั้งหลายไม่อาจคงทนอยู่ได้ตลอดไป ดังนั้น ตามความหมายนี้ กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นความทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้ เรื่องทุกขลักษณะนี้จะเห็นชัดขึ้น เมื่อได้ลงมือเจริญสติแล้ว ในชั้นนี้จึงควรทราบไว้เพียงนี้ก่อน 2.1.3 ทุกขสัจจ์ ทุกข์ชนิดนี้เป็นทุกข์ที่ลึกซึ้งกว่าทุกข์อย่างอื่น เพราะเป็นการมองความทุกข์อย่างพระอริยบุคคล หากเราฟังธรรมอย่างผิวเผินอาจรู้สึกว่าทุกขสัจจ์ไม่ใช่เรื่องที่ลึกซึ้งอะไรนัก เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา เป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นความทุกข์เช่นกัน ความลึกซึ้งของทุกขสัจจ์อยู่ตรงที่ว่า 2.1.3.1 มีสภาวะที่เป็นทุกข์ แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ เพราะพระอริยบุคคลย่อมเห็นความจริงว่า ในโลกนี้ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่ธรรมชาติบางอย่างที่มารวมตัวกันเข้าชั่วคราว แล้วโลกสมมุติเรียกว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เท่านั้นเอง ซึ่งธรรมชาติที่ว่านั้นก็คือรูป(ธรรม)และนาม(ธรรม)ทั้งหลายนั่นเอง 2.1.3.2 ลำพังมีรูปและนามมาประกอบกันแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น ต่อเมื่อมีความอยากและความยึดมั่นเกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ทุกข์จึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเกิดความอยาก/ความยึดถือก็เกิดภพหรือความมี/ความเป็นขึ้นมา แล้วก็ต้องทุกข์เพราะความมี/ความเป็นนั้น เช่นเมื่อยึดรูปนามกลุ่มหนึ่งว่าเป็นตัวเรา และยึดรูปนามกลุ่มอื่นว่าเป็นสามี/ภรรยาของเรา ก็จะต้องทุกข์เพราะความเป็นภรรยา/สามี ถ้าเป็นนักศึกษาก็ทุกข์อย่างนักศึกษา เป็นอาจารย์ก็ทุกข์อย่างอาจารย์ เป็นพ่อแม่ก็ทุกข์อย่างพ่อแม่ เป็นนักปฏิบัติธรรมก็ทุกข์อย่างนักปฏิบัติธรรม เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนว่า ภพ(อุปาทานขันธ์)ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น การเจริญสติเป็นทางสายเดียวที่จะทำให้เรารู้แจ้งถึงสัจจธรรมเหล่านี้ได้ 2.2 ความทุกข์ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้พ้นไปในเบื้องต้นได้แก่ความทุกข์ทางใจที่เกิดจากความถือมั่นในรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวง หรือทุกขสัจจ์นี่เอง ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเกิดจากความไม่เข้าใจลักษณะที่แท้จริงของรูปและนามที่ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ลักษณะ) และเป็นอนัตตา ส่วนทุกขเวทนาทางกายในชาติปัจจุบันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องแก้ไขตามสถานการณ์เป็นคราวๆ ไป โดยอยู่ในสภาพที่ว่า แม้กายทุกข์ แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร 3.1 ทุกขสัจจ์เกิดจากสมุทัย ซึ่งได้แก่ตัณหาหรือความทะยานอยากของจิตที่รักสุขและเกลียดทุกข์ จึงเข้าไปยึดถือรูปและนามทั้งปวง เพราะอยากให้มี หรือเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อให้มีสุข หรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหนีทุกข์ 3.2 ความอยากเกิดขึ้นก็เพราะความไม่รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริงว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปและนามเท่านั้น กระทั่งตัวเราก็ไม่มีอยู่จริง (2) รูปและนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปและนามมีเหตุปัจจัยให้เกิด ต้องแปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ (4) ความยึดถือในรูปและนามจะนำทุกข์มาให้ (5) ความไม่ยึดถือรูปและนามว่าเป็นตัวตนของตนจะทำให้ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น เพราะปราศจากตัวตนที่จะเข้าไปรองรับความทุกข์ทั้งหลาย 3.3 สรุปแล้ว ความทุกข์เกิดจากจิตเข้าไปหลงอยากหลงยึดในรูปและนาม ที่จิตหลงอยากหลงยึด ก็เพราะจิตไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายนั่นเอง 4. ทางแห่งความดับทุกข์ 4.1 เมื่อทราบแล้วว่าความทุกข์เกิดจากอะไร ย่อมไม่เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจว่า ความดับทุกข์เกิดจากอะไร ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการดับความอยาก(ตัณหา) โดยแก้ที่ความหลงผิดหรือความไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง สมดังพระพุทธวัจนะที่ว่า เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด(โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฏิบัติธรรม)อยู่จบแล้ว 4.2 การจะให้จิตรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ การมีสติ (ในบทความนี้ สติหมายถึงสติและสัมปชัญญะ แต่ที่ไม่ได้แยกแยะรายละเอียดของสติกับสัมปชัญญะในชั้นนี้ ก็เพราะต้องการให้ผู้แรกสนใจพระพุทธศาสนา ศึกษาได้โดยไม่ซับซ้อนนัก)เฝ้าระลึกรู้ สภาวธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง นี่เป็นเหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว ทำนองเดียวกับเมื่อเราอยากเห็นรูปภาพตรงหน้า เราก็ลืมตาขึ้นดูตรงๆ เลยทีเดียว ทั้งนี้ พระศาสดาทรงยืนยันว่า การเจริญสตินี้แหละคือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ เพราะการถอดถอนตัณหาและทิฏฐิ(ความเห็นผิดจากความจริง)ในโลกคือรูปนามเสียได้ 4.3 พวกเราบางคนได้ยินคำสอนที่ว่า ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้แก่การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 รวบย่อลงมาก็คือการศึกษาปฏิบัติในเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา สิ่งที่ได้ยินมานี้ถูกต้องเช่นกัน แต่ควรทำความเข้าใจให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า การเจริญอริยมรรคหรือการรักษาศีล การทำสมาธิ และการเจริญปัญญา ชนิดไหนที่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง และชนิดไหนไม่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง 4.4 แท้จริงการบำเพ็ญคุณงามความดีทั้งหลาย เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระองค์เองก็ทรงบำเพ็ญบารมีมามากมายก่อนที่จะตรัสรู้(เข้าใจธรรมตามความเป็นจริงด้วยพระองค์เอง) เช่นทรงบำเพ็ญทานอย่างยิ่งยวดเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บางชาติทรงถือศีลแบบยอมสละชีวิต บางชาติทรงทำสมาธิจนได้อภิญญา 5 เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก บางชาติเช่นพระชาติที่เป็นมโหสถบัณฑิตก็ทรงสะสมปัญญาบารมีอย่างยิ่งยวด แต่เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในพระชาติเหล่านั้น กลับมาทรงตรัสรู้เอาในพระชาติสุดท้าย และทรงตรัสรู้ด้วยการเจริญอานาปานสติ จริงอยู่ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมีให้เต็มเปี่ยม พระองค์ย่อมไม่สามารถตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แต่ถ้าทรง บำเพ็ญพระบารมีโดยไม่ทรงเจริญสติ พระองค์ก็ทรงตรัสรู้ไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะการบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย เป็นการปรับพื้นฐานทางจิตใจของพระองค์ให้พร้อมสำหรับการแสวงหาหนทางเจริญสตินั่นเอง ตัวอย่างเช่น เพราะพระองค์เคยฝึกสละพระโอรสธิดาและพระชายาเพื่อพระโพธิญาณในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรมาแล้ว จึงทรงเข้มแข็งพอที่จะสละพระนางพิมพาและพระราหุลซึ่งเป็นที่รักยิ่ง เพื่อไปแสวงหาพระโพธิญาณ เป็นต้น 4.5 การทำความดีทั้งหลาย ทั้งทาน ศีล สมาธิ และการเจริญปัญญาบางระดับ ไม่ได้เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม เพียงแต่นำความสุขมาให้ด้วยกุศลวิบากหรือผลแห่งความดีเท่านั้น และบางกรณีเมื่อทำความดีอยู่ จิตกลับพลิกไปเป็นอกุศลก็ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น 4.51 การทำทาน หากทำโดยไม่ประกอบด้วยสติปัญญาก็อาจเป็นการพอกพูนกิเลสให้หนาหนักยิ่งขึ้น เช่นทำไปด้วยมิจฉาทิฏฐิว่า "เรา" ทำทานแล้ว เมื่อ "เรา" เกิดในชาติต่อไป "เรา" จะได้เสวยผลทานนี้ หรือเราจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะการทำทานนี้ หรือทำไปด้วยความโลภว่า เราทำทานนี้ ขอให้ได้รับดอกผลมากมายอย่างนี้ๆ เป็นต้น 4.5.2 การถือศีล หากไม่มีสติปัญญากำกับย่อมเป็นการง่ายที่ผู้ถือศีลจะกลายเป็นการถือศีลในลักษณะสีลัพพตปรามาส(ถือศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงาย) เช่นหลงผิดว่า การบำเพ็ญข้อวัตรที่กดข่มจิตใจมากๆ จะทำให้กิเลสเบาบางลง หรือยิ่งถือศีลก็ยิ่งพอกพูนกิเลส เช่นเกิดมานะมากขึ้น คือเกิดความสำคัญมั่นหมายว่า เราดีกว่าคนอื่นเพราะเราถือศีล ส่วนคนอื่นเลวกว่าเราเพราะไม่มีศีล เป็นต้น 4.5.3 การทำสมาธิ หากไม่ประกอบด้วยสติปัญญา ยิ่งทำสมาธิจิตยิ่งน้อมเข้าหาความสงบหรือความสุขสบาย หรือเกิดมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดมากขึ้นๆ ด้วยอำนาจของโมหะและราคะ เช่นทำสมาธิแล้วเกิดความเคลิบเคลิ้มขาดสติ หรือเกิดนิมิตต่างๆ มากมาย บางคนถึงขนาดเห็น"นิพพาน"เป็นบ้านเมืองหรือเป็นดวงแก้ว บางคนเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ แล้วหลงภูมิใจอยู่กับความรู้เหล่านั้น เป็นต้น 4.5.4 การเจริญปัญญา หากไม่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ จำแนกไม่ออกระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ก็เป็นการง่ายที่จะหลงทำสมาธิแล้วคิดว่ากำลังเจริญปัญญาอยู่ เช่นบางท่านมุ่งใช้ความคิดพิจารณาสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา วัตถุสิ่งของ ผู้คน ฯลฯ ให้เป็นไตรลักษณ์ การกระทำเหล่านั้นเป็นเพียงการทำสมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อความสงบของจิต บางครั้งแทนที่จะเกิดความสงบ อาจเกิดความฟุ้งซ่านแทนก็ได้ บางคนยิ่งคิดพิจารณาไตรลักษณ์ มานะอัตตากลับยิ่งพอกพูนขึ้นก็มี ทั้งนี้เพราะไตรลักษณ์นั้น คิดเอาไม่ได้ แต่ต้องประจักษ์ชัดถึงสภาวะที่แท้ของรูปธรรมและนามธรรม ด้วยความมีสติ และด้วยจิตที่มีความตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) จึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยปัญญาได้จริง 4.6 การทำความดีที่เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม ต้องเป็นการทำดีที่เกื้อกูลต่อการเจริญสติที่ถูกต้อง หรือเจืออยู่ด้วยสติปัญญาในขณะที่ทำความดีนั้น เช่น 4.61 การทำทาน ควรมีสติปัญญากำกับจิตใจของตนไว้ ทั้งก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ หากเป็นการกระทำด้วยศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ทำแล้วตนเองหรือผู้อื่นไม่เดือดร้อนก็ควรทำตามความเหมาะสม หรือทำแล้วจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ก็มีสติระลึกรู้ความสุขความเบิกบานนั้นไป การทำทานจึงเป็นเครื่องมือฝึกการเจริญสติได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำด้วยความเมาบุญด้วยอำนาจโลภะและโมหะ ทานนั้นก็ไม่เกื้อกูลใดๆ ต่อการเจริญสติ 4.6.2 การรักษาศีล ศีลบริสุทธิ์ได้ยาก หากไม่มีสติกำกับอยู่ที่จิต แต่หากมีสติกำกับรู้อยู่ที่จิตใจตนเอง ศีลชนิดที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ กล่าวคือเมื่อโทสะเกิดขึ้นก็มีสติรู้ว่าโทสะเกิดขึ้น โทสะย่อมครอบงำจิตไม่ได้ ศีลข้อ 1 ก็เกิดขึ้นเต็มบริบูรณ์เพราะจิตไม่คิดฆ่าหรือทำร้ายใคร ถ้าโลภะเกิดขึ้นแล้วมีสติรู้ทัน ย่อมไม่ทำผิดศีลข้อ 2 และข้อ 3 โดยอัตโนมัติ เป็นต้น 4.6.3 การทำสมาธิ สัมมาสมาธิหรือความตั้งมั่นของจิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ดังนั้นสมาธิในพระพุทธศาสนาจึงต้องประกอบด้วยองค์มรรคอื่นๆ ด้วย เช่นต้องมีสติและปัญญากำกับอยู่เสมอ สมาธิที่ขาดสติปัญญา เป็นสมาธิที่ให้ความสุขหรือของเล่นอื่นๆ ได้ก็จริง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการเจริญสติ เพราะจิตไม่ตั้งมั่นจริง และเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ศีลและปัญญาก็ไม่อาจเกิดให้บริบูรณ์ได้ 4.6.4 การเจริญปัญญา การเจริญปัญญาที่ถูกถ้วนสมบูรณ์ที่สุดจะกล่าวในหัวข้อเกี่ยวกับการเจริญสติต่อไป ส่วนในหัวข้อนี้จะกล่าวเฉพาะการเจริญปัญญาในขั้นต้น ได้แก่การศึกษาปริยัติสัทธรรม ซึ่งขาวพุทธแม้จะเป็นนักปฏิบัติก็ไม่ควรทอดทิ้ง อย่างน้อยควรเรียนให้รู้หลักการขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนาไว้บ้าง มิฉะนั้นอาจกลายเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ ทั้งที่คิดว่าตนเป็นชาวพุทธก็ได้ 4.7 การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งดูว่ามีหลายอย่างนั้น ถ้าเจริญสติได้ถูกต้อง ศีล สมาธิและปัญญาจะเกิดขึ้นเอง เช่นในหนังสืออรรถกถาธรรมบท กล่าวถึงภิกษุรูปหนึ่งไปทูลลาสิกขาจากพระพุทธเจ้าเพราะรักษาศีลจำนวนมากไม่ไหว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ท่านเจริญสติแทนการตามรักษาศีลจำนวนมาก ท่านทำแล้วสามารถทำศีลของท่านให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ทั้งยังบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วย หรือหากเรามีสติจนสามารถระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏได้จริงๆ ในขณะนั้นเราจะเกิดสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ คือจิตจะเกิดความตั้งมั่นแล้วมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏโดยไม่เข้าไปหลงแทรกแซง สิ่งที่ตามมาก็คือปัญญาที่รู้จักสภาวะของรูปและนาม รู้ถึงความเป็นไตรลักษณ์ของรูปและนาม และรู้ได้แม้กระทั่งอริยสัจจ์ 4 ปัญญาเหล่านี้เกิดจากการเจริญสติด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิทั้งสิ้น ดังนั้นจะกล่าวว่า การปฏิบัติตามทางแห่งความพ้นทุกข์ จะต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ได้ ย่อลงมาเป็นการเจริญไตรสิกขาคือศีล สมาธิและปัญญาก็ได้ หรือถ้าย่อลงให้ถึงที่สุด การเจริญสตินั้นแหละคือการเจริญไตรสิกขาและมรรคมีองค์ 8 5. การเจริญสติคืออะไร 5.1 ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธศาสนาอธิบายว่า ความทุกข์เกิดจากความอยากและความยึดถือในรูปและนาม ซึ่งมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้สภาวธรรม(รูปนาม)ทั้งหลายตามความเป็นจริง ดังนั้นการที่จะทำลายความอยากและความยึดถือในรูปนามทั้งหลาย จึงต้องขจัดความไม่รู้ ด้วยการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามนั้น 5.2 การทำปัญญาหรือความรู้ให้เกิดขึ้นนั้น พวกเราเคยชินที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการเก่าๆ ได้แก่ (1) การรับถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ของผู้อื่นด้วยการอ่านและการฟัง และ (2) การขบคิดใคร่ครวญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งวิธีการทั้ง 2 นี้ใช้ได้สำหรับการเรียนรู้วิชาการอื่นๆ แต่การทำความเข้าใจพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องอาศัยการหาความรู้โดยอีกวิธีการหนึ่ง เพิ่มเติมจาก 2 วิธีแรกคือ (3) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะการรับฟังความรู้ของท่านผู้อื่นให้เราได้เพียงความจำ ส่วนการคิดให้เราได้เพียงความคิด ทั้งความจำและความคิดอาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ในเบื้องต้น เราต้องศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการอ่านและการฟัง แล้วนำมาคิดใคร่ครวญเพื่อให้รู้ถึงแนวทางของการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามได้อย่างถูกต้องต่อไป 5.3 การแสวงหาความรู้ด้วยการอ่าน การฟัง และการคิด เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่พวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ในที่นี้จึงจะข้ามไปกล่าวถึงการแสวงหาความจริงด้วยการเจริญสติ อันได้แก่ การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนาม โดย การระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร 6.1 มนุษย์โดยทั่วไปสามารถระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่นในขณะนี้ยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอนก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความสุข หรือความทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความรัก โลภ โกรธ หลง สงสัย ฟุ้งซ่าน หดหู่ เกียจคร้าน ศรัทธา วิริยะ หรือมีความสงบ ฯลฯ ก็ทราบได้ แต่ มนุษย์ละเลยที่จะเฝ้ารู้อารมณ์เหล่านั้น รวมทั้งนึกไม่ถึงด้วยว่าการเจริญสติที่แท้จริง ก็คือการใช้จิตใจที่เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เองไปรู้อารมณ์ แต่มักเกิดความเข้าใจผิดว่า การเจริญสติหรือการระลึกรู้นั้น เป็นสภาพอะไรอย่างหนึ่งที่พิเศษเหนือธรรมดา ดังนั้นแทนที่จะใช้จิตใจธรรมดาไปรู้อารมณ์ พวกเรากลับพยายามสร้าง "รู้" แบบผิดธรรมดาขึ้นมาแทน 6.2 การบ่งชี้สภาวะว่า การมีสติ หรือการมี รู้ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากมาก เพราะเพียงแต่เราเติมความคิดเห็นของเราลงไปว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจผิดทันที แต่หากเรามาพูดกันถึงสภาวะของการรู้ที่ไม่ถูกต้องเสียก่อน (ซึ่งล้วนแต่เกิดจากตัณหาหรือความอยาก และทิฏฐิหรือความเห็นผิดทั้งหลาย) เราก็จะเข้าใจถึงสภาวะรู้ที่ถูกต้องได้ไม่ยากนัก สภาวะผิดพลาดที่สำคัญได้แก่ 6.2.1 รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ (เผลอ/ลืมตัว) 6.2.1.1 สภาวะรู้ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสภาวะไม่รู้ อันได้แก่ความเหม่อ ความเผลอความลืมตัว ความใจลอย หรือความฝันกลางวัน นั่นเอง เป็นสภาวะของการปล่อยจิตใจให้หลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แม้กระทั่งเพลินไปในโลกของความคิดฝันและจินตนาการของตนเอง ตัวอย่างเช่นเมื่อตามองเห็นรูปบางอย่างแล้วเกิดจำได้ว่านั่นเป็นรูปผู้หญิงสวย/ผู้ชายหล่อ ก็มัวหลงเพลินมองตามอย่างลืมเนื้อลืมตัว หรือเมื่อนั่งอยู่คนเดียว ก็ใจลอยคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ชัดว่าคิดอะไร เป็นต้น 6.2.1.2 สภาวะที่เรียกว่าเผลอหรือลืมตัวนี้ เป็นสภาวะที่เราลืมร่างกายของตนเองเหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก รวมทั้งลืมจิตใจของตนเอง คือในขณะนั้นจิตใจจะมีสุขหรือทุกข์ จะดีหรือชั่วอย่างไรก็ไม่สามารถจะรู้ได้ กล่าวได้ว่าในเวลาที่เราเผลอหรือขาดสตินั้น เราไม่สามารถรู้กาย เวทนา จิต และธรรมได้นั่นเอง 6.2.1.3 ขณะใดที่เราเผลอ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเผลออยู่ ขณะนั้นความเผลอจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเผลอ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.2 รู้ ไม่ใช่คิด 6.2.2.1 สภาวะรู้ ไม่เหมือนกับสภาวะคิด ในขณะที่คิดนั้น เรารู้เรื่องที่กำลังคิดเป็นอย่างดี แต่เราลืมตัวเองคล้ายกับเวลาที่เผลอนั่นเอง การรู้เป็นการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง ในขณะที่การคิด เป็นการคาดว่าความจริงมันน่าจะเป็นอย่างไร (แต่ทั้งนี้หากมีกิจจำเป็นต้องคิด เช่นต้องคิดเพื่อการเรียนหรือการทำงาน เราก็ต้องคิดไปตามหน้าที่ของตน) 6.2.2.2 นักปฏิบัติจำนวนมากไม่เข้าใจการเจริญสติ โดยมีความสำคัญผิดว่าการคิดหรือการตรึกตรองเรื่องกายและใจตนเอง ว่า "เป็นอสุภะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" เป็นการทำวิปัสสนา แท้จริงการเจริญสติหรือการเจริญวิปัสสนาจะต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่การคิดถึงสภาวธรรมนั้นๆ เพราะความคิดของปุถุชนย่อมปนเปื้อนด้วยอคติเสมอๆ หรือคิดอยู่ในจุดยืนของความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิชนิดต่างๆ เช่นคิดว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงแต่จิตนี้เที่ยง พอร่างกายนี้ตายลงจิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่ หรือคิดว่าตัวเรามีอยู่ แต่พอตายลงก็สูญไปเลย เป็นต้น การคิดพิจารณาไม่ใช่วิปัสสนา ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์องค์หนึ่งของผู้เขียน (ท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) สอนไว้ว่า "การคิดพิจารณากายว่าเป็นอสุภะก็เพื่อแก้นิวรณ์(เป็นสมถะ) การคิดพิจารณาความตาย(มรณสติ) และการคิดพิจารณากายว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์ ก็เพื่อแก้อาการของจิตบางอย่าง(เป็นสมถะ)เช่นกัน ต่อเมื่อใดปฏิบัติจนถึงจิตถึงใจตนเอง จึงได้แก่นสารของการปฏิบัติธรรม" 6.2.2.3 ขณะใดที่เราคิด แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งอกตั้งใจคิดอยู่ ขณะนั้นความคิดจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังคิด ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.3 รู้ ไม่ใช่การตั้งท่าปฏิบัติ 6.2.3.1 รู้ไม่มีการตั้งท่าก่อนจะรู้ แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย เมื่อคิดจะปฏิบัติธรรมก็ต้องรีบตั้งท่าปฏิบัติเพราะไปแปลความหมายของ "การปฏิบัติ" ว่าเป็น "การกระทำ" ทั้งที่การรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไรมากกว่าการรู้เข้าไปตรงๆ ตามธรรมชาติธรรมดา เช่นเดียวกับเมื่อเราต้องการดูภาพตรงหน้า เราก็ทำแค่ลืมตาขึ้นดูเท่านั้น หรือเมื่อถูกยุงกัด เราก็แค่รู้ว่าคันเท่านั้น สภาวะรู้ที่เป็นธรรมชาตินั้นเรามีอยู่แล้ว แต่เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญสติ เราจึงตั้งท่าปฏิบัติ เหมือนนักวิ่ง 100 เมตรที่กำลังเข้าเส้นสตาร์ท คือเกร็งทั้งกายและจิตใจ แทนที่จะรู้อารมณ์ไปอย่างสบายๆ ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.3.2 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติมักบังคับใจตนเอง และเริ่มสร้างพฤติกรรมของจิตบางอย่าง เช่นการใช้สติจ้องมองดูจอภาพในใจของตน แล้วเที่ยวควานหา (scan) อยู่ในจอภาพนั้น เพื่อหาอะไรสักอย่างเอามาดู หรือการส่งจิตออกไปนิ่งอยู่ข้างหน้า แล้วคอยดูสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปฏิบัติไปด้วยตัณหาคือความอยากจะปฏิบัติธรรม และทิฏฐิคือความเห็นผิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้"เรา"รู้ธรรม 6.2.3.3 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติบางท่านที่นิยมใช้รูปหรือกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน มักเริ่มด้วยการแทรกแซงพฤติกรรมตามธรรมชาติของกาย เช่นเมื่อคิดจะรู้ลมหายใจก็เข้าไปควบคุมจังหวะการหายใจ เมื่อคิดจะรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไปกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวของมือ เท้า และท้องบ้าง การกระทำเหล่านี้ไม่ผิด ถ้าเป็นการทำสมถะหรือต้องการใช้กายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติก่อนพัฒนาไปสู่การรู้ที่แท้จริง แต่ถ้าจงใจก่อพฤติกรรมทางกายโดยคิดว่านั่นคือการเจริญสติ และรู้ไม่ทันตัณหาและทิฏฐิที่กำลังครอบงำจิตจนก่อพฤติกรรมดังกล่าวขึ้นมา นั่นก็เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงมากอีกประการหนึ่ง 6.2.3.4 ความจริงแล้วถ้าเราจะเจริญสติหรือ รู้ อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เราไม่จำเป็นต้องตั้งท่าอะไรเลย ไม่ว่าทางจิตหรือทางกาย เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็รู้รูป(สี)นั้น หากจิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายต่อรูปก็รู้ทันอีก หรือขณะนี้อยู่ในอิริยาบถใดก็รู้ไปเลย เช่นเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ ยืนแล้วเมื่อยอยากเปลี่ยนอิริยาบถก็รู้ทันความอยากของตนเอง รู้ทันแล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถเพราะมันจำเป็นก็ได้ หรือจะไม่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อดูความจริงของทุกขเวทนาไปก่อนก็ได้ หรือนั่งอยู่เฉยๆ เกิดความคิดแล้วจิตเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างใดก็รู้ไปเลยก็ได้ เป็นต้น 6.2.3.5 อย่างไรก็ตาม หากนักปฏิบัติคนใดไม่สามารถรู้ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดาได้ก็ไม่ต้องตกใจ ในเบื้องต้นจะตั้งท่าปฏิบัติเสียก่อนก็ได้ เช่นถ้าจิตฟุ้งซ่านนักก็ทำความสงบเข้ามาก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เคลิ้มลืมตัว และอย่าให้เครียดขึ้นได้ ให้รู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งไปอย่างสบายๆ จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้ แม้กระทั่งการรู้คำบริกรรมก็ได้ เมื่อจิตใจสงบสบายแล้วจึงค่อยระลึกรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจไปตามธรรมชาติธรรมดาอีกชั้นหนึ่ง หรืออาจจะเริ่มจากการรู้ท้องพองยุบ รู้การเดินจงกรม รู้การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ ฯลฯ รวมความแล้วในเบื้องต้นจะทำกรรมฐานใดก็ได้ แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่การรู้แบบไม่ตั้งท่า หรือไม่จงใจต่อไป 6.2.3.6 ขณะใดที่เราตั้งท่าปฏิบัติ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งท่า ขณะนั้นการตั้งท่าจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังตั้งท่า ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.4 รู้ ไม่ใช่กำหนดรู้ 6.2.4.1 รู้ไม่ใช่การกำหนดรู้ หรือการตรึกพิจารณาถึงอารมณ์ว่าเป็นรูปนาม แต่เป็นการระลึกรู้(มนสิการ)ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดา นักปฏิบัติจำนวนมากคิดว่า รู้คือการกำหนดรู้ เพราะมักได้ยินคำพูดเกี่ยวกับการกำหนดรู้รูปนาม หรือการกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ จึงคิดว่า การรู้ต้องมีการกระทำ คือการกำหนด หรือการพิจารณาด้วย ดังนั้นพอรู้อารมณ์แล้วจึงรีบบริกรรมต่อท้ายการรู้ทันที เช่นยกหนอ ย่างหนอ โกรธหนอ เสียงหนอ ฯลฯ นี่คือการบริกรรมไม่ใช่การรู้ (เบื้องต้นอาจจำเป็นสำหรับบางท่านที่ต้องบริกรรมก่อน แต่พึงทราบว่าจะหยุดการปฏิบัติอยู่เพียงขั้นการตามบริกรรมไม่ได้ เพราะยังไม่ใช่วิปัสสนา) หรือบางท่านนิยมการพิจารณากำกับซ้ำลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่การรู้เช่นกัน เช่นเมื่อตาเห็นรูปตามธรรมชาติแล้ว ก็จงใจพิจารณารูปซ้ำลงไปอีก ว่า "รูปนี้เป็นเพียงสี ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ฯลฯ" หรือพิจารณาว่า "สีเป็นรูป รู้เป็นนาม" อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจกำหนด และเป็นการกระทำตามหลังการรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงยังไม่ใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.4.2 ขณะใดที่เรากำหนดรู้ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจกำหนดรู้ ขณะนั้นการกำหนดรู้จะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังกำหนดรู้ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.5 รู้ ไม่ใช่เพ่ง 6.2.5.1 รู้ไม่ใช่การเพ่ง แต่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบเพ่ง แม้แต่คนที่ไม่ชอบทำสมถะเพราะอยากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ก็มักเพ่งโดยไม่รู้ทันจิตใจของตนเอง แท้จริงการเพ่งเป็นสภาวะที่สืบเนื่องมาจากการจงใจและการตั้งท่าปฏิบัติ คือพอคิดถึงการปฏิบัติก็จงใจปฏิบัติ แล้วเกิดการตั้งท่าปฏิบัติ มีอาการสำรวมกายใจเข้ามาให้มั่นคง ถัดจากนั้นจึงเพ่งหรือจดจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่ออารมณ์ทั้งหลาย เป็นผลให้ลืมตัว และบางคนจิตใจด้านชา ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์ตามที่ควรจะเป็น หรือบางคนพอรู้กิเลสใดก็เพ่งใส่ พอกิเลสนั้นดับไป(เพราะเหตุของมันดับ) ก็เกิดความสำคัญผิดว่า เราสามารถดับกิเลสได้ทุกครั้ง หรือบางคนพอรู้อารมณ์แล้ว ก็หลงเพ่งจ้องเอาสติตามจี้อารมณ์ที่เคลื่อนหนีลึกเข้าไปภายใน นี่ก็เป็นการเพ่งเหมือนกัน แต่เป็นการตามเพ่งความปรุงแต่งที่เคลื่อนไหวได้ในจิตใจตนเอง อนึ่งการเพ่งนี้ถ้าไม่จงใจรุนแรงเกินไป ก็ทำให้จิตสงบเป็นการทำสมถะหรือสมาธิได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา 6.2.5.2 วิธีทำความรู้จักกับการเพ่งไม่ยากเลย ลองยกนิ้วหัวแม่มือของตนเองขึ้นมา แล้วเพ่งจ้องให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่นิ้วนั้นอย่างเดียว เพียงไม่นานจะรู้สึกว่า เราเห็นแต่นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น เพราะจิตจดจ่ออยู่ที่จุดเดียวนั้นด้วยความจงใจอันเกิดจากโลภะ ในขณะนั้นเห็นแต่นิ้ว กายจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เวทนาคือความรู้สึกจะสุขหรือทุกข์ก็ไม่ทราบ จิตจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่ทราบ จิตเคลื่อนไปอยู่ที่หัวแม่มือก็ไม่ทราบ รวมความแล้วจะทราบได้เฉพาะหัวแม่มือ แต่ไม่ทราบ กาย เวทนา จิต ธรรม ขอให้ผู้ปฏิบัติจำสภาวะของการเพ่งไว้ให้ดี เวลาที่เจริญสติรู้อารมณ์ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ให้สังเกตรู้ทันใจตนเอง อย่าให้หลงไปเพ่งจ้องรูปหรือนามนั้นเหมือนที่จ้องหัวแม่มือตนเอง มิฉะนั้นจะเป็นการหลงทำสมถะ ทั้งที่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนาคือรู้รูปนามอยู่ 6.2.5.3 ขณะใดที่เราเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเพ่งอยู่ ขณะนั้นการเพ่งจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเพ่ง ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.6 รู้ ไม่ใช่น้อม 6.2.6.1 รู้ไม่ใช่การน้อม เพราะอาการน้อมก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบทำกัน มันเป็นการเสแสร้งแกล้งทำขึ้นมาเมื่อคิดว่าจะปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับการเพ่ง เพียงแต่การเพ่งมุ่งจะรู้อารมณ์อันเดียวให้ชัดและพยายามตรึงอารมณ์นั้นไว้ ส่วนการน้อมเป็นการหลีกหนีอารมณ์เข้าหาความสงบสุขเคลิบเคลิ้มลืมเนื้อลืมตัว เพราะต้องการให้จิตสงบ กลายเป็นการปฏิบัติด้วยโลภะ จนจิตเกิดราคะเพลิดเพลินในความสงบสุข หรือเกิดความซึมเซาคือถีนมิทธะขึ้น วันใดซึมได้ที่หรือเคลิ้มได้ที่ก็สำคัญผิดว่าวันนั้นปฏิบัติดี วันใดปฏิบัติแล้วไม่ซึมหรือเคลิ้มก็เสียใจว่าวันนั้นปฏิบัติได้ไม่ดี การน้อมจิตนี้นักปฏิบัติบางท่านจะมีอุปกรณ์ช่วยคือการเปิดเทปธรรมะคลอไปด้วยระหว่างนั่งสมาธิ จะช่วยน้อมจิตให้ซึมได้ที่คือครึ่งหลับครึ่งตื่นได้โดยเร็ว 6.2.6.2 ขณะใดที่เราน้อมจิตเข้าหาความสงบ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังน้อมจิตอยู่ ขณะนั้นการน้อมจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังน้อม ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.7 รู้ ไม่ใช่จงใจรู้อะไร 6.2.7.1 รู้ไม่ใช่จงใจจะรู้อะไร ดังนั้นถ้านักปฏิบัติคนใดถามว่า ที่สอนให้รู้นั้น ควรจะรู้อะไร หรือควรจะรู้ตัวทั่วพร้อมคือรู้ทั้งตัวตั้งแต่ปลายผมถึงพื้นเท้า ผู้ที่ยังสงสัยเช่นนี้แสดงว่ายังไม่รู้จักการรู้ที่แท้จริง เพราะการรู้แท้จริงนั้น ไม่มีความจงใจว่าจะเลือกรู้สิ่งหนึ่งแล้วไม่รับรู้สิ่งอื่นๆ เนื่องจากความจงใจเหล่านั้นเป็นไปเพราะตัณหาและทิฏฐิล้วนๆ 6.2.7.2 การรู้คือสภาพที่จิตตื่นขึ้นจากโลกของความคิดความฝัน ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะตื่นเฉพาะร่างกายแต่ใจยังหลับฝันอย่างที่เรียกว่าฝันกลางวัน ภาวะรู้คือภาวะที่จิตตื่นจากความฝัน จิตมีความตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรู้อารมณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์นั้นตามธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้นก็คือ สามารถรู้เท่าทันปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีด้วย รู้ชนิดนี้ไม่มีความจงใจว่าจะต้องรู้อารมณ์ใด แต่อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใดก็รู้อารมณ์นั้นอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น นี่แหละคือความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่รู้ตัวทั้งตัวเพราะนั่นเป็นความจงใจเพ่งความรู้สึกไปจับที่กายทั้งกาย 6.2.7.3 ขณะใดที่เราจงใจ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจอยู่ ขณะนั้นความจงใจจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังจงใจ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.3 สรุปแล้ว ขณะใดพยายามจะรู้ หรือแสวงหาการรู้ที่ถูกต้อง (แม้กระทั่งการพยายามรักษารู้ให้ต่อเนื่อง ดูข้อ 6.6) ขณะนั้นเราจะพลาดไปสู่ความหลงผิดทันที เพราะการกระทำใดๆ ที่เกินจากการรู้ตามปกติ อันเป็นการกระทำด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐินั่นแหละ เป็นเครื่องปิดกั้นความสามารถในการระลึกรู้อารมณ์ซึ่งมีอยู่แล้วเอาไว้อย่างสนิทที่สุด ดังนั้นไม่ควรพยายามทำให้ถูก ขณะใดรู้ว่ารู้ผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่มีนักปฏิบัติจำนวนมากทีเดียวที่แม้จะได้ฟังคำสอนเกี่ยวกับการเจริญสติหรือการระลึกรู้ แต่ก็ยังปฏิเสธที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติ เพราะมีความคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อยขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ตัวนั้นตัวนี้ยังอ่อนเกินไป หรือยังไม่สมดุลกันจะต้องพัฒนาอินทรีย์ก่อน เช่นจะต้องเพิ่มปัญญาให้สมดุลกับศรัทธา เพิ่มสมาธิให้สมดุลกับวิริยะ ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่า หากเจริญสติหรือรู้ได้แล้ว นั่นแหละจะทำให้อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้ายิ่งขึ้นและสมดุลกันด้วย 6.4 สภาวะรู้ที่ถูกต้องจะเกิดได้ง่าย ด้วยการเกื้อกูลของสติและสัมมาสมาธิ กล่าวคือ 6.4.1 หากจิตสามารถจดจำสภาวธรรมต่างๆ ได้แม่นยำ เช่นจำสภาวะของความรัก โลภ โกรธ หลง ปีติ สุข ฯลฯ ได้แม่นยำ เมื่อสภาวะเหล่านั้นปรากฏขึ้นก็จะเกิดสติรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเพราะเคยรู้เคยประจักษ์ชัดอยู่ก่อนแล้ว ส่วนสภาวธรรมใดไม่รู้จักคุ้นเคย ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปช่วงหนึ่งก่อน จนจดจำสภาวะนั้นได้แม่นยำแล้ว จึงเกิดสติรู้ได้ง่าย 6.4.2 หากจิตมีสัมมาสมาธิ จะช่วยให้สภาวะรู้ถูกต้องง่ายขึ้น จิตที่มีสัมมาสมาธิคือจิตมีลักษณะตั้งมั่นทรงตัวไม่หวั่นไหวเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความสงบระงับคือไม่ฟูหรือแฟบไปตามอารมณ์ มีความเบาสบายแต่ไม่ใช่เบาหวิวเหมือนจะลอยไปในอากาศ มีความอ่อนโยนนุ่มนวลไม่แข็งกระด้างแกร่งเกร็ง มีความพร้อมและความว่องไวที่จะรับรู้อารมณ์ไม่ถูกกดข่มให้นิ่งเฉยซึมทื่อหรือเคลิบเคลิ้มติดสุขเหมือนคนติดยาเสพติด และมีความซื่อตรงต่อหน้าที่การรู้อารมณ์ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์เหมือนผู้พิพากษาที่ทำงานโดยไม่ลำเอียงเข้าข้างโจทก์หรือจำเลย จิตที่มีสัมมาสมาธิสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเข้าใจธรรมชาติที่ว่า จิตปกติธรรมดาที่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ หรือนัยหนึ่งจิตที่มีศีลนั่นแหละคือจิตที่มีสัมมาสมาธิอยู่ในตัวเอง อย่างไรก็ตามหากจิตของผู้ใดยังไม่มีสัมมาสมาธิจริงๆ ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ โดยในเบื้องต้นให้ตั้งใจรักษาศีลภายนอกเสียก่อน คือรักษาศีล 5 และศีล 8 เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกฝนจิตให้มีศีลภายในด้วยการฝึกสมาธิ อันได้แก่การมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อารมณ์นั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ยั่วกิเลส เช่นการกำหนดลมหายใจ การกำหนดจังหวะเดินจงกรม การกำหนดจังหวะเคลื่อนไหวมือ การกำหนดความเคลื่อนไหวของท้อง และการกำหนดคำบริกรรม เป็นต้น ให้จงใจกำหนดรู้อารมณ์นั้นอย่างสบายๆ อย่าเคร่งเครียดหรือตั้งใจมากนัก ถึงตรงนี้จิตมีทางแยกที่จะดำเนินไปได้ 2 ทางคือ 6.4.2.1 หากโมหะหรือโลภะเข้าแทรก จิตจะเกิดความอ่อนแอน้อมเข้าหาความสงบสบาย เกิดความเคลิบเคลิ้มบ้าง เกิดนิมิตต่างๆ บ้าง นี้เป็นทางของมิจฉาสมาธิ 6.4.2.2 หากในขณะที่กำหนดรู้อารมณ์อยู่นั้น ผู้ปฏิบัติมีสติตื่นตัวอยู่เสมอๆ ถ้าจิตขาดสติทิ้งอารมณ์กรรมฐานเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็รู้ทัน หากจิตเกิดการเพ่งอารมณ์ก็รู้ทัน หากจิตสักว่ารู้อารมณ์ก็รู้ทัน ทั้งนี้ ธรรมชาติจิตของบุคคลทั่วไปมักฟุ้งซ่านหลงไปตามอารมณ์นั้นบ้าง อารมณ์นี้บ้าง โดยไม่รู้เท่าทัน จึงต้องหัดรู้อารมณ์อันเดียวก่อน พอจิตเคลื่อนจากอารมณ์นั้นก็ให้คอยรู้ทัน ด้วยวิธีนี้เอง ในเวลาไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มรู้ทันจิตใจที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ พอรู้ทัน จิตก็หยุดการส่งส่ายแล้วตั้งมั่นอยู่โดยไม่ได้บังคับ ถัดจากนั้นเมื่อมีอารมณ์ใดปรากฏ จิตก็จะรู้ทันโดยสักว่ารู้ คือไม่เข้าไปแทรกแซงหรือหลงและไหลตามอารมณ์นั้นไป หากจะกล่าวว่าอาการกำหนดรู้(ด้วยตัณหาและทิฏฐิ)เป็นเครื่องมือของการทำสมถะ ส่วนอาการระลึกรู้หรือรู้ทัน(อย่างสักว่ารู้)เป็นเครื่องมือของการทำวิปัสสนา ก็กล่าวได้ 6.5 หากจะจำแนกสภาวะรู้ออกให้แจ่มชัดก็สามารถกล่าวได้ว่า รู้ คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง กล่าวคือ 6.5.1 จิตรู้เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ใดๆ ครอบงำ นั่นคือจิตที่มีสัมมาสมาธิ 6.5.2 จิตรู้เป็นจิตที่ว่องไวควรแก่การงาน คือเมื่ออารมณ์กระทบทางทวารใด สัมมาสติจะระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงทันที 6.5.3 จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิจะเป็นจิตที่รู้ตัว ซึ่งความรู้ตัวนั้นเป็นตัวสัมมาทิฏฐิหรือสัมปชัญญะ(ชนิดที่เรียกว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ) แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะเลื่อนไหลตามอารมณ์ ถูกอารมณ์ครอบงำและไม่รู้ตัว เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่สามารถรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงได้แจ่มชัด ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนาม และไม่เห็นอริยสัจจ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา 6.5.4 จิตที่มีสติ สมาธิ ปัญญาอบรมอยู่ ย่อมมีความคิดที่ถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะ และส่งผลให้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะบริบูรณ์ด้วย 6.5.5 การพากเพียรเจริญสติอยู่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มครองอินทรีย์อันเป็นการปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นการทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น นี้คือสัมมาวายามะ 6.6 ในเมื่อการรู้คือการเจริญอริยมรรค ดังนั้นเราควรทราบว่า กิจต่อการรู้หรือการเจริญอริยมรรคได้แก่การทำให้เจริญ หรือทำให้เกิดบ่อยๆ คือให้มีสติบ่อยที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้มีสติยาวนานที่สุดเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เพราะสติเองเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดดับไปทีละขณะพร้อมกับจิต ดังนั้นเราจะทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยงอยู่นานๆ ไม่ได้ แต่ทำให้เกิดบ่อยๆ ได้ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิดบ่อยก็คือการสามารถจดจำสภาวะของธรรมะต่างๆ ได้มากและแม่นยำ (ต้องจำตัวสภาวะได้ ไม่ใช่จำชื่อและลักษณะตามตำราได้เท่านั้น) เมื่อสภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น สติจึงสามารถระลึกรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว จนรู้ได้บ่อยแบบถี่ยิบ แล้วอกุศลก็จะมีโอกาสเกิดน้อยลงตามลำดับ จนหมดโอกาสเกิดในที่สุด 6.7 ในข้อ 6.2 ได้กล่าวถึงสภาวะที่ไม่ใช่รู้ไปแล้ว ในข้อนี้จะได้กล่าวถึง องค์ธรรมของจิตที่เป็นจิตรู้ อันเป็นเครื่องช่วยตรวจสอบได้อีกชั้นหนึ่งว่า การรู้ในขณะนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ องค์ธรรมดังกล่าว เช่น 6.7.1 จิตรู้ได้แก่จิตที่เป็น มหากุศลจิต ชนิดที่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุตต์) และเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนหรือหาทางทำให้เกิดขึ้น (อสังขาริก) ดังนั้น 6.7.1.1 ขณะใดจิตมีอกุศล ขณะนั้นยังไม่มีจิตรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ 6.7.1.2 ขณะใดจิตมุ่งใช้กำลังมากกว่าปัญญา เช่นออกแรงดิ้นรนหาทางละทุกข์หรืออกุศล หรืออยากรักษาสุขหรือกุศล ขณะนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.1.3 ขณะใดมีความพยายามอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะทำให้จิตรู้เกิดขึ้น ขณะนั้นพลาดจากรู้เสียแล้ว เพราะจิตรู้นั้น ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ ยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ 6.7.2 จิตรู้เป็นเพียงจิตที่มนสิการคือกระทำอารมณ์ไว้ในใจ หรือทำใจให้รู้อารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่เผลอ คิด ตั้งท่า กำหนด เพ่ง ฯลฯ (ดูข้อ 6.2) สภาวะของมนสิการนั้นเป็นการรู้ที่ ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ และเงียบกริบ ไม่มีความจงใจหรือเจตนาจะรู้ด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 6.7.3 จิตรู้ต้องประกอบด้วยโสภณสาธารณเจตสิก หรือสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม องค์ธรรมที่นำมาสังเกตจิตได้ง่ายได้แก่ 6.7.3.1 อโลภะ คือจิตในขณะนั้นไม่มีความอยาก ความโลภ หรือความกระหาย แม้แต่ในการแสวงหาธรรม ถ้าขณะใดจิตเกิดความอยากปฏิบัติ จงใจปฏิบัติ หรือพอใจในความสุขและกุศล ขณะนั้นมีโลภะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.2 อโทสะ คือจิตในขณะนั้นไม่ความขุ่นข้องขัดใจในอารมณ์ใดๆ ถ้าขณะใดจิตเกลียดทุกข์หรืออกุศล พยายามละทุกข์หรืออกุศล ขณะนั้นมีโทสะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.3 ความเป็นกลางในอารมณ์ (ตัตรมัชฌัตตตา) คือจิตปราศจากความยินดียินร้าย ไม่มีอคติต่ออารมณ์คือไม่พยายามรักษาอารมณ์บางอย่าง หรือพยายามละอารมณ์บางอย่าง ถ้าขณะใดจิตหลงยินดียินร้าย หรือกวัดแกว่งไปตามความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ ขณะนั้นจิตไม่เป็นกลาง จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความสงบระงับ (ปัสสัทธิ) คือเมื่อจิตรู้อารมณ์ใดก็รู้ด้วยความสงบระงับ ไม่แส่ส่ายดิ้นรนไปตามอารมณ์นั้นๆ แม้ตัวอารมณ์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เมื่อถูกรู้แล้วก็สงบระงับเพราะไม่ถูกเติมเชื้อให้ฟุ้งซ่านหรือดิ้นรนมากขึ้น หากจิตรู้อารมณ์แล้วเกิดความแส่ส่ายต่างๆ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความเบา (ลหุตา) คือจิตรู้จะเบาสบาย ไม่มีน้ำหนักใดๆ เกิดขึ้นเพราะการรู้อารมณ์แม้แต่น้อย ขณะใดปฏิบัติแล้วเกิดความหนักหรือมีน้ำหนักขึ้นในใจแม้แต่เพียงนิดเดียว (ทั้งนี้รวมถึงน้ำหนักที่ติดลบคือความรู้สึกเบาหวิวผิดธรรมชาติทั้งหลายด้วย) แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.5 ความอ่อนโยนนุ่มนวล (มุทุตา) คือจิตรู้จะเป็นจิตที่อ่อนโยนนุ่มนวล ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.6 ความควรแก่การงาน (กัมมัญญตา) คือจิตรู้เป็นจิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา ไม่ถูกเจือปนครอบงำด้วยนิวรณ์ใดๆ (แต่ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นก็สามารถรู้ชัดและเอานิวรณ์นั่นแหละมาเป็นทุกขสัจจ์ที่ถูกรู้ คือมีนิวรณ์ รู้นิวรณ์ แต่นิวรณ์ไม่ครอบงำจิต แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่หากจิตถูกครอบงำด้วยนิวรณ์ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.7 ความคล่องแคล่ว (ปาคุญญตา) คือจิตรู้จะมีสติปราดเปรียวคล่องแคล่ว ขณะใดรู้สึกเฉื่อยเนือย ซึมเซา เกียจคร้าน แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.8 ความซื่อตรง (อุชุกตา) คือจิตจะทำหน้าที่รู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่ทำหน้าที่เกินกว่าการรู้อารมณ์ หากจิตไม่ทำหน้าที่รู้ไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ แต่พยายามเสพย์หรือแทรกแซงอารมณ์ด้วยอำนาจของกิเลส จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.4 จิตรู้เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา / ปัญญินทรีย์ / สัมปชัญญะ / อโมหะ คือสามารถเจริญวิปัสสนาอยู่โดยรู้ชัดว่า จะทำอะไร(จะเจริญสติ) เพื่ออะไร(เพื่อความเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง) จะทำอย่างไร(จะเฝ้ารู้ปัจจุบันอารมณ์ตามความเป็นจริง) และจะเจริญสติอยู่ด้วยความรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอตามอารมณ์ใดๆ ไปด้วยอำนาจของโมหะ 7. สภาวธรรมคืออะไร 7.1 การเจริญสติที่ถูกต้องจะต้องระลึกรู้ถึงอารมณ์ปรมัตถ์ หรือเอาปรมัตถธรรมมาเป็นอารมณ์เครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติ ปรมัตถธรรมนี้บางท่านเรียกว่าสภาวธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ 4 ประการคือ รูป(ธรรมชาติที่แตกสลายได้เมื่อถูกกระทบด้วยความร้อนความเย็นเป็นต้น) จิต(ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิก(ธรรมชาติอันเป็นส่วนประกอบจิต) และนิพพาน(ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง พ้นทุกข์ พ้นกิเลสสิ้นเชิง) จะเจริญสติโดยไประลึกรู้สิ่งที่เป็นความคิดความฝัน(สมมุติบัญญัติ)ไม่ได้ เพราะความคิดความฝันทั้งหลายเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่ได้มีอยู่จริง 7.2 เราสามารถระลึกรู้ธรรมชาติทั้ง 4 ประการได้ด้วยทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือตัวรูปธรรมนั้นรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ส่วนนามธรรมรู้ได้ด้วยใจ 7.3 การรู้รูปทำได้ทุกๆ ทวารดังนี้คือ 7.3.1 รูปที่เรารู้ได้ด้วยตานั้นมีมากมายนับไม่ถ้วนว่ากี่แสนกี่ล้านรูป เช่นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก คนแก่ เสือ ลิง ปลา นก ทะเล แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ อัญมณี ฯลฯ แต่ในจำนวนรูปที่นับจำนวนไม่ถ้วนนั้น เอาเข้าจริงสิ่งที่ตามองเห็นก็คือสีเท่านั้นเอง แล้วอาศัยสัญญาคือความจำได้หมายรู้เข้ามาปรุงแต่งจิต จึงเกิดการจำแนกว่า กลุ่มสีอย่างนี้เรียกว่าผู้หญิง ผู้ชาย … อัญมณี สีจึงเป็นรูปตัวจริงที่เรารู้ได้ด้วยตา 7.3.2 รูปที่เรารู้ได้ด้วยหูก็คือเสียง รูปที่รู้ได้ด้วยจมูกคือกลิ่น รูปที่รู้ได้ด้วยลิ้นคือรส รูปที่รู้ได้ด้วยกายมี 3 ชนิดคือ ธาตุไฟหรือความเย็น-ร้อน ธาตุดินหรือความอ่อน-แข็ง และธาตุลมหรือความตึง-ไหว 7.3.3 รูปที่รู้ได้ด้วยใจมีจำนวนมากกว่ารูปที่รู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกาย ได้แก่ปสาทรูป 5 หรือประสาทสำหรับรับสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย กับรูปละเอียดหรือสุขุมรูป 16 เช่นรูปคือสารอาหาร รูปที่กำหนดเพศ รูปคือการเคลื่อนไหวกายและวาจาเพื่อสื่อความหมาย เป็นต้น 7.4 สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจนอกจาก รูปจำนวนมาก (21 รูป) ตามข้อ 7.3.3 แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างคือ (1) เจตสิก 52 ชนิด เช่น สุข ทุกข์ อุเบกขา ความจำได้หมายรู้ โลภะ โทสะ โมหะ ปีติ ศรัทธา วิริยะ ปัญญา ฯลฯ (2) จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ 89 หรือ 121 ดวง (3) นิพพาน และ (4) บัญญัติธรรม หรือสิ่งที่เป็นความคิดความฝันซึ่งไม่มีตัวจริง (อ้างอิงอภิธัมมัตถวิภาวินี) ใจจึงเป็นอายตนะที่รู้อารมณ์ได้กว้างขวางหลากหลายที่สุด 7.5 ถ้าจะกล่าวอย่างง่ายๆ การเจริญสติจะต้องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ซึ่งเป็นตัวแท้หรือตัวจริงของธรรมชาติ ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่คิดนึกเอาเอง(บัญญัติธรรม) เช่นเมื่อเราเข้าใกล้กองไฟ ความร้อนที่รู้ได้ทางกายนั่นแหละคืออารมณ์ปรมัตถ์ ส่วนคำพูดว่าร้อนๆ เป็นสมมุติบัญญัติ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้ถึงความร้อนที่มากระทบกาย ไม่ใช่ไปใช้ความคิดว่าไฟเป็นของร้อน เหมือนไฟกิเลสหรือไฟนรก เป็นต้น นอกจากนี้ จำเป็นต้องทราบด้วยว่าอารมณ์ชนิดใดรู้ได้ทางทวารใด เช่นถ้าจะกำหนดอิริยาบถคือรู้รูปยืน เดิน นั่ง นอน จะต้องรู้ด้วยใจ ไม่ใช่รู้ด้วยตาหรือด้วยกาย เป็นต้น 7.6 ในทางปฏิบัติจริงมีประเด็นเกี่ยวกับสภาวธรรมที่ควรทราบอีกบางอย่างคือ 7.6.1 จิตย่อมรู้อารมณ์ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และบัญญัติ จะเจาะจงเลือกรู้อย่างหนึ่งอย่างใดตามความอยากไม่ได้ ดังนั้นขณะใดจิตระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ก็รู้ทัน ขณะใดจิตรู้อารมณ์บัญญัติก็รู้ทัน เพราะแม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ย่อมรู้อารมณ์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ใช่รู้เฉพาะอารมณ์ปรมัตถ์อย่างเดียว 7.6.2 ในการเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มต้นด้วยการมีสติระลึกรู้รูปหรือนามอย่างใดก่อนก็ได้แล้วแต่ความถนัด คือจะเลือกเจริญสติปัฏฐานหมวดใดก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องรู้รูปนามหรือเจริญสติปัฏฐานให้ครบทุกชนิด แค่รู้เพียงรูปหรือนามอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นรู้ธาตุดิน (สิ่งที่แข็ง-อ่อน) จนเห็นธาตุดินทั้งในกายและนอกกายเป็นอนัตตา หรือรู้กุศลและอกุศลที่กำลังปรากฏ เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หากพยายามทำสติปัฏฐานทุกหมวด/ทุกบรรพ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังจะเกิดความฟุ้งซ่านเพราะความจับจดในการปฏิบัติได้ด้วย 7.6.3 แม้ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติอาจต้องจงใจระลึกรู้สภาวธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่ของจิต(วิหารธรรม)ไปก่อนก็จริง แต่ในขั้นที่สติพัฒนามากขึ้นจนเป็นมหาสติคือสติอัตโนมัติแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเลือกรู้อารมณ์ไม่ได้ หากมีอารมณ์ปรากฏทางทวารใดสติก็รู้ชัดทางทวารนั้น โดยจิตจะระลึกรู้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือธัมมารมณ์ หรือรู้ กาย เวทนา จิต หรือธรรม ไปตามธรรมชาติทีละขณะ มิหนำซ้ำผู้ปฏิบัติยังจะได้พบความจริงด้วยว่า จะบังคับให้จิตรู้เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไม่ได้ เพราะจิตเองก็เป็นอนัตตาคือเป็นของที่บังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร 8.1 การมีสติระลึกรู้สภาวธรรมทั้งหลายนั้น มีหลักสำคัญว่า ต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือคิดล้ำไปถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ทั้งนี้พระพุทธศาสนาเน้นการทำประโยชน์ในปัจจุบันเป็นสำคัญ ดังที่พระศาสดาทรงแสดงไว้ในภัทเทกรัตตสูตร (พระไตรปิฎก 14/527) ความว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ 8.2 ตัวอย่างเช่น ถ้าในขณะนี้มีความโกรธ ก็รู้ถึงสภาวะของความโกรธที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่โกรธเพื่อนเมื่อวานนี้แล้วมาวันนี้เพิ่งนึกได้ว่าโกรธ จากนั้นก็นั่งเสียใจว่าไม่น่าโกรธเพื่อนเลย อาการเช่นนี้ล้วนแต่ไม่เป็นปัจจุบัน คือขณะที่โกรธเมื่อวานนี้ก็ไม่รู้ ขณะนี้กำลังเสียใจที่โกรธเพื่อนก็ไม่รู้อีกเพราะมัวคิดถึงเรื่องเมื่อวาน หรือพอนึกได้ว่าโกรธเพื่อนไปเมื่อวาน ก็คิดว่าจะต้องไปง้อเพื่อนสักหน่อย จากนั้นก็กังวลว่าเราไปง้อแล้วเขาจะคืนดีไหมหนอ นี่ก็เป็นความกังวลในปัจจุบันที่เราไม่รู้ทัน เพราะมัวคิดถึงอนาคตเสีย 8.3 ธรรมชาติของจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น และหน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือการระลึกรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏในปัจจุบันจริงๆ อย่าพยายามหน่วงอารมณ์ที่เป็นอดีตไว้ดูนานๆ เพราะกลัวไม่เห็นไตรลักษณ์ ตัวอย่างเช่นเมื่อตาเห็นสีกลุ่มหนึ่งก็ให้รู้สีนั้นตามที่มันเป็นจริง เพราะสีนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ที่เรียกว่ารูปารมณ์ ต่อมาสัญญาเกิดจำรูปได้ว่านั่นเป็นรูปคนรักของเรา จิตเกิดความชอบใจอันเป็นราคะขึ้น ความชอบใจนั้นเป็นอารมณ์ใหม่ที่รู้ด้วยใจ(ธัมมารมณ์) หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือรู้เข้าไปที่สภาวะของความชอบใจที่กำลังปรากฏนั้น ไม่ใช่ย้อนกลับไปคิดพิจารณารูปคนรัก ว่าเป็นปฏิกูลอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อละราคะ เพราะรูปคนรักกลายเป็นอดีตไปแล้ว ส่วนราคะเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่กำลังแสดงความตั้งอยู่และดับไปให้เรารู้ได้ เป็นต้น 8.4 เมื่อกล่าวว่าให้เรารู้อารมณ์ปัจจุบัน บางคนอาจเกิดความสับสนว่า ถ้าเช่นนั้นชาวพุทธคงไม่สามารถวางแผนงานในอนาคตได้ การคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ในยามใดเรามีหน้าที่ต้องวางแผนงานก็ต้องวางแผนงาน แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงพิจารณาล่วงหน้าทุกเช้าว่า วันนี้ท่านควรแสดงธรรมโปรดใคร ด้วยเรื่องอะไร โปรดแล้วจะเกิดผลอย่างไร นับว่าท่านเป็นนักวางแผนชั้นเลิศ คือ (1) ทรงกำหนดบุคคลเป้าหมาย (2) กำหนดวิธีการ (3) กำหนดเนื้อหาธรรมที่จะสื่อสารกับผู้นั้น และ (4) พิจารณาถึงผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นจะได้รับด้วย ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักเลือกใช้ธรรมให้ถูกกาละเทศะ ยามใดมีหน้าที่วางแผนก็ต้องวางแผน มีหน้าที่เรียนก็ต้องเรียน มีหน้าที่ทำงานก็ต้องทำงาน จุดใดควรเจริญสติก็เจริญสติ จุดใดต้องใช้สมาธิในการทำงานก็ใช้สมาธิ จุดใดควรใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองก็ต้องใช้ความคิด ไม่ใช่เจริญสติรวดเดียวโดยไม่รู้จักทำความสงบใจหรือใช้ความคิดพิจารณาตามหน้าที่ของตน 8.5 มีข้อควรสังเกตประการหนึ่งก็คือ คำว่าปัจจุบันนั้นไม่ได้หมายถึงวันนี้ ชั่วโมงนี้ นาทีนี้ หรือแม้กระทั่งวินาทีนี้ แต่หมายถึง การระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาเราในขณะจิตนี้ ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นที่สุดจนทำอะไรมากเกินกว่ารู้ไม่ได้ 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร 9.1 เรื่องในข้อ 6 มุ่งทำความเข้าใจว่า จิตที่รู้ได้ถูกต้องนั้นมีสภาพอย่างไร ข้อ 7 เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ข้อ 8 เป็นการชี้ว่าการรู้ต้องรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน ส่วนหัวข้อนี้ เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันได้แล้ว ต้องระลึกรู้สภาวธรรมนั้น ตามความเป็นจริงเท่านั้น คือรู้สภาวะตรงตามที่มันกำลังเป็นอยู่ และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 9.2 นักปฏิบัติจำนวนมากพอพบเห็นสภาวธรรมใดๆ เข้า ก็มักไม่ระลึกรู้สภาวธรรมนั้นตามความเป็นจริง เนื่องจากถูกครอบงำด้วย ตัณหาและทิฏฐิ ทำให้การรับรู้ไม่บริสุทธิ์ ตัวอย่างเช่น 9.2.1 เมื่อรู้อกุศลธรรมก็พยายามละ เช่นเมื่อพบว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็พยายามบริกรรมพุทโธบ้าง บริกรรมฟุ้งซ่านหนอบ้าง เพื่อให้หายฟุ้งซ่าน เมื่อพบว่าจิตมีกามราคะก็พยายามพิจารณาอสุภะ เมื่อพบว่าจิตมีโทสะก็พยายามแผ่เมตตา หรือเมื่อพบว่าจิตเป็นทุกข์ก็พยายามละทุกข์นั้นด้วยวิธีการต่างๆ ฯลฯ การกระทำเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 9.2.1.1 เพราะเกิดความเห็นผิดเนื่องจากเคยได้ยินคำสอนว่า ให้ละความชั่วบาปทั้งปวง พอพบเห็นอกุศลธรรมจึงพยายามละ หารู้ไม่ว่าการเจริญสตินั้นเลยขั้นการละบาปและการเจริญกุศลให้ถึงพร้อมมาแล้ว แต่เป็นขั้นการทำจิตให้ผ่องแผ้วเหนือดีเหนือชั่ว หรือบางท่านตีความคำสอนของพระศาสดาคลาดเคลื่อน เช่นอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นีวรณบรรพ แล้วเข้าใจว่าพระศาสดาทรงสอนให้รู้และละนิวรณ์ด้วย จึงเข้าใจผิดว่าการเจริญสติที่แท้จริงมีทั้งการรู้และการละสภาวธรรม จะรู้อย่างเดียวไม่ได้ 9.2.1.2 เพราะไม่ทราบว่า กิจต่อทุกขสัจจ์ได้แก่การรู้ ไม่ใช่การละ เมื่อพบทุกข์จึงพยายามละทุกข์ อันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับจิตใจที่รักสุขเกลียดทุกข์ 9.2.1.3 เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญวิปัสสนาที่ให้รู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง จนรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และบังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงแล้วจิตจึงปล่อยวาง แล้วพ้นทุกข์ได้ด้วยการปล่อยวาง 9.2.1.4 เพราะคุ้นเคยกับการทำสมถะ หรือคิดว่าการปฏิบัติธรรมคือการทำความสงบเท่านั้น สมถะให้ความสุขได้ประณีตยิ่งกว่ากามสุข ผู้ทำสมถะมีความสงบในจิตใจบ้าง เกิดความรู้ความเห็นต่างๆ เป็นเรื่องสนุกและน่าภูมิใจบ้าง จึงเป็นที่นิยมยกย่องกันมากในหมู่นักปฏิบัติ ดังนั้นพอพบธรรมอันใดเป็นข้าศึกต่อความสงบ จึงพยายามละธรรมอันนั้น 9.2.2 เมื่อรู้กุศลธรรมก็พยายามรักษาหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยหวังว่าเมื่อพัฒนาให้ดีได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จิตจะหลุดพ้นในสักวันหนึ่งข้างหน้า เพราะพระอรหันต์คือ "คนที่จิตใจดีเลิศนิรันดร" ทัศนะเช่นนี้ผิดพลาดมาก เพราะจิตก็ดี กุศลเจตสิกก็ดี เป็นสังขารทั้งสิ้น ย่อมมีความแปรปรวนและบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้วต่างหาก จิตจึงปล่อยวางความยึดมั่นจิต แล้วหลุดพ้นเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ใช่หลุดพ้นเพราะทำจิต ซึ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยง ให้เที่ยงได้ 9.2.3 เกิดความไม่มั่นใจว่า การเฝ้ารู้เพียงเท่านี้จะได้ผลเพียงพอแก่การรู้ธรรม จึงต้องพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของการรับรู้นั้น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 9.2.3.1 การช่วยคิดพิจารณาสภาวธรรมที่กำลังถูกรู้นั้น เช่นเมื่อรู้โทสะก็พยายามคิดว่าโทสะไม่ดี นำความทุกข์มาให้ โทสะมีโทษมากอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น 9.2.3.2 การเพ่งจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่อสภาวธรรมนั้น เพื่อจะรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อเพ่งให้ดับ หรือบางทีถึงกับตามจ้องจนลืมตัวถลำเข้าไปในจิตส่วนลึกซึ่งในขณะนั้นยังรู้อารมณ์อันนั้นได้อยู่ แต่เป็นการรู้แบบคนที่ชะโงกดูสิ่งของในน้ำจนตนเองตกน้ำแล้วยังไม่รู้ตัวว่าตกน้ำ ก็มี 9.2.3.3 การลดปมด้อยซึ่งเกิดจากการคิดเอาเองว่า เรายังขาดคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นขาด ทาน สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เนกขัมมะ ศรัทธา วิริยะ สติ หิริ โอตตัปปะ ศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ จะต้องเพิ่มคุณธรรมเหล่านั้นให้เพียงพอและสมดุลกับคุณความดีอื่นๆ เสียก่อนจึงจะเจริญสติได้ แท้จริงถ้ามีความรู้ความเข้าใจ(มีสัมมาทิฏฐิ)จนรู้จักเจริญสติได้แล้ว คุณธรรมฝ่ายดีทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากมุ่งเพิ่มบารมีต่างๆ โดยละเลยการเจริญสติ ก็เหมือนคนที่เตรียมเสบียงเพื่อเดินทางไกล แต่ไม่ยอมก้าวเท้าออกจากบ้านสักที อีกกี่ปีก็ไปไม่ถึงจุดหมายที่หวังไว้ 9.3 เหตุผลที่ต้องรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็เพราะว่า เราจำเป็นต้องรู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ต้องการดัดแปลงหรือควบคุมสภาวธรรมเหล่านั้น ทั้งนี้ตามหัวข้อที่ 3 และ 4 ของบทความนี้ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า ความไม่รู้จักสภาวธรรมตามความเป็นจริงทำให้เกิดตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ หากทำลายความไม่รู้เสียได้ ตัณหาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก 9.4 การพยายามเข้าไปแทรกแซงการรู้สภาวธรรมจะก่อให้เกิดความหลงผิดหนักยิ่งขึ้น เช่นเมื่อกิเลสคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้น ด้วยการบริกรรมว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" ไม่นานความฟุ้งซ่านก็จะดับไปได้ (เพราะการบริกรรมไปยับยั้งความคิดอันเป็นต้นตอของความฟุ้งซ่าน) ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความสำคัญผิดว่า กิเลสเป็นสิ่งที่บังคับควบคุมได้(เป็นอัตตา) หรือจิตนี้เป็นตัวตนของเราที่สั่งได้ตามใจชอบ(เป็นอัตตา) ยิ่งปฏิบัติยิ่งชำนาญในการเพ่งจ้องหรือบริกรรมแก้กิเลส ความหลงผิดก็ยิ่งพอกพูนก่อให้เกิดมานะอัตตามากกว่าเก่าเสียอีก รวมทั้งไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงว่า ธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับธรรมนั้นก็ดับ กลายเป็นว่าเราดับธรรมนั้นได้ตามใจชอบเพราะเราฝึก"วิปัสสนา"จนเก่งแล้ว 9.5 โดยธรรมชาติของปุถุชนแล้ว อกุศลจิตเกิดอยู่แทบตลอดเวลา ส่วนกุศลจิตเกิดขึ้นน้อยมาก เช่นเรามักนั่งใจลอยทีละนานๆ อาจจะเป็นชั่วโมงๆ (ด้วยอำนาจของโมหะ) จึงเกิดระลึกรู้ทันว่ากำลังใจลอยอยู่ ขณะใจลอยนั้นจิตเป็นอกุศล แต่ขณะที่มีสติรู้ทันและความใจลอยดับไปโดยอัตโนมัตินั้น จิตเป็นกุศลเรียบร้อยแล้ว (ทันทีที่เกิดสติ/รู้ อกุศลจะดับไปเอง เมื่อมีสติ/รู้ จึงไม่มีอกุศลจะให้ละ แต่สิ่งที่ถูกละไปได้แก่อนุสัยหรือกิเลสที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตใจ ด้วยเหตุนี้แหละ หน้าที่ของเราจึงมีเพียงการรู้ ไม่ต้องละกิเลสเพราะในขณะที่มีสติบริบูรณ์นั้น ไม่มีกิเลสจะให้ละ แม้แต่ความทุกข์ก็ไม่ต้องไปคิดละมัน หากมันมีเหตุมันก็เกิด หากหมดเหตุมันก็ดับ หน้าที่ของเราคือรู้ทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว) จุดอ่อนของผู้เจริญสติก็คือจับหลักการเจริญสติได้ไม่แม่นยำ จิตจึงพลิกไปเป็นอกุศลอีกได้ในพริบตาเดียว คือพอเกิดความรู้ตัวเพียงวับเดียว แล้วก็อาจหลงคร่ำครวญถึงอดีตว่า "ตายละ เราหลงมาตั้งชั่วโมงหนึ่งแล้ว อย่างนี้จะเอาดีในทางธรรมได้อย่างไร" หรือเกิดห่วงกังวลถึงอนาคตว่า "ทำอย่างไรเราจะไม่หลงไปเหมือนที่เคยหลงมาแล้ว" การพยายามทำอะไรมากกว่ารู้ไปตามธรรมดาทีละขณะๆ นี้แหละ เป็นความผิดพลาดอย่างสำคัญทีเดียว 9.6 การรู้นั้น หากบริสุทธิ์บริบูรณ์ถึงขีดสุดจะมีสภาพที่เรียกว่า "สักว่ารู้" เป็นสภาวะรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง โดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงในการรับรู้นั้นแม้แต่น้อย เช่น (1) ไม่เติมความจงใจที่จะคิดคำนึงถึงสภาวธรรม(อารมณ์)นั้นๆ ว่า "นี้คือรูป นี้คือนาม ชื่อนี้ๆ ทำกิจอย่างนี้ มีผลอย่างนี้ มีเหตุใกล้อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่งาม และที่กำลังรู้อยู่นี้ก็เป็นสักว่ารู้" และ (2) ไม่เติมความจงใจที่จะหมายรู้จิตแม้แต่น้อย เจตน์จำนงหรือความจงใจที่จะหมายรู้(อารมณ์)ของใจ ซึ่งครอบคลุมทั้งการหมายรู้อารมณ์และการหมายรู้จิตนี้เอง เป็นอาหารหรือเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำกรรมหรือก่อพฤติกรรมทางใจ (และพฤติกรรมทางกายในขั้นต่อมา) ที่เรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" หรือ "การทำกรรมฐาน" ขึ้น สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดความจงใจก็คือความไม่รู้(อวิชชา)ว่าการกระทำเช่นนั้นจะก่อภพก่อชาติและก่อทุกข์ขึ้นมา และเพราะยางใยแห่งความยึดจิต จึงอยากให้จิตหลุดพ้น จึงต้องเที่ยวแสวงหาธรรม ความปรุงแต่งเหล่านี้ได้ปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ที่ปราศจากตัวตน(นิพพาน)ไว้ ทั้งที่นิพพานนั้นไม่เกิดไม่ตายมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ความปรุงแต่งได้ปิดกั้นญาณทัสสนะของเราไว้ไม่ให้ประจักษ์ถึงนิพพานอันเป็นอมตธาตุได้ อาการ สักว่ารู้ นั้นเกิดเพราะจิตมีปัญญารู้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความทะยานอยาก การแสวงหา การปรุงแต่งใดๆ แม้กระทั่งความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์เพื่อทำกรรมฐาน ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จิตจึงหยุดความคิดนึกปรุงแต่ง (แต่ความคิดอาจจะหยุดหรือไม่ก็ได้ จิตจะไม่สนใจบังคับให้หมดความคิด) หยุดการแสวงหา และหมดพฤติกรรมอาการของจิตอย่างสิ้นเชิง จิตเข้าถึงสภาพรู้ที่เป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายอย่างแท้จริง นี้คือจุดที่มหากุศลเต็มบริบูรณ์แล้ว 9.7 เมื่อปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์แต่รู้อารมณ์(ปรมัตถ์) และปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้จิตแต่รู้จิต การปรุงแต่งภพชาติหรือความเป็นตัวตนของจิตก็มีขึ้นไม่ได้ ผู้ปฏิบัติที่อินทรีย์แก่รอบแล้วก็จะพบเห็นว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งมีอยู่ เป็นความว่างจากตัวตนและความปรุงแต่งอย่างแท้จริง ที่สุดแห่งทุกข์คือนิโรธหรือนิพพานปรากฏเฉพาะหน้าอยู่ตรงนี้เอง อนึ่งจิตที่บริสุทธิ์กับนิพพานเป็นธรรมคนละอย่างกัน คือจิตที่บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติรู้ที่ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้ง แต่ก็ยังเป็นของที่ตกอยู่ในกลุ่มธรรมที่ต้องเกิดดับ ส่วนนิพพานซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้งเช่นกัน แต่นิพพานเป็นอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้าโดยไม่มีผู้ครอบครองเป็นเจ้าของนิพพาน และพ้นจากความเกิดดับ สภาวะ สักว่ารู้ ส่งผลให้ไม่มีตัวตนและถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง สมดังคำสอนของพระบรมศาสดาที่ประทานแก่ท่านพระพาหิยะว่า ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ (พาหิยสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 25/49) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร 10.1 ผู้ปฏิบัติจำนวนมากเมื่อได้ยินคำสอนว่า "ให้มีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง" แล้วอาจเกิดความสงสัยว่า การปฏิบัติเพียงเท่านี้จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อการปฏิบัติที่ยากลำบากกว่านี้ ยังไม่ช่วยให้รู้ธรรมได้ แท้จริงการเจริญสติเป็นสิ่งวิเศษอัศจรรย์ที่สุด วิเศษถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า นี้เป็นทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ได้ และได้ผลเร็วด้วย บางคนภายใน 7 วัน บางคนภายใน 7 เดือน และบางคนภายใน 7 ปี ก็มี 10.2 พวกเราไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่าการเจริญสติมีประโยชน์อย่างใดบ้าง เพราะพระศาสดาทรงประทานคำชี้แนะไว้แล้วดังต่อไปนี้คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ (1) สติสัมปชัญญะมีอยู่ (2) หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ (3) อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ (4) ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร เมื่อศีลมีอยู่ (5) สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ (6) ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะ มีอยู่ (7) นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ (8) วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ (สติสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23/187) 10.3 จากพระพุทธวัจนะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บรรดาคุณความดีชั้นเลิศทั้งหลายจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะความมีสติสัมปชัญญะเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ 10.3.1 หิริและโอตตัปปะ (ได้แก่ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป) เมื่อใดมีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้เท่าทันการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย และรู้ถึงพิษภัยของกิเลสได้ด้วยว่ากิเลสนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่จิตใจอย่างไร จิตใจย่อมละอายและเกรงกลัวต่อบาป โอกาสที่จะทำอกุศลกรรมหนักๆ จึงไม่มี อนึ่งหิริและโอตตัปปะนี้เป็นเทวธรรม คือเป็นธรรมที่ทำคนให้เป็นเทวดาได้ 10.3.2 อินทรียสังวร (ได้แก่ความสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่เมื่อกระทบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธัมมารมณ์แล้ว หากไม่สำรวมระวัง บาปอกุศลก็จะครอบงำจิตได้) ผู้ใดมีสติสัมปชัญญะ มีความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปแล้ว ย่อมเกิดความสำรวมระวังอินทรีย์โดยอัตโนมัติทีเดียว อนึ่งการมีสติระลึกรู้สภาวธรรมเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กายและใจกระทบอารมณ์นี้เอง ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว 10.3.3 ศีล (ได้แก่ความเป็นปกติของจิต) เมื่อมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันการกระทบอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 อยู่ จิตย่อมไม่ถูกอกุศลครอบงำ พ้นจากความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ จิตก็เข้าถึงความเป็นปกติธรรมดาหรือศีล ซึ่งจิตที่เป็นปกตินี้เองมีคุณสมบัติคือความผ่องใส(ประภัสสร) จิตจะมีลักษณะรู้ ตื่น และเบิกบานโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากเคยพบจิตอย่างนี้จะทราบดีว่า สามารถอยู่เป็นสุขในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อนึ่งศีลสามารถส่งผลให้มีความสุข มีโภคทรัพย์ และถึงนิพพานได้ เพราะจิตยิ่งเป็นปกติเท่าใด ความปรุงแต่งยิ่งน้อยลงเท่านั้น หากจิตพ้นความปรุงแต่ง จิตย่อมสามารถรู้อารมณ์นิพพานซึ่งอยู่เหนือความปรุงแต่งได้ 10.3.4 สัมมาสมาธิ (ได้แก่ความตั้งมั่นของจิต ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในข้อ 6.4 ของบทความนี้) โดยธรรมชาติแล้ว จิตที่มีศีลนั่นแหละเป็นจิตที่มีสัมมาสมาธิ และจิตที่มีสัมมาสมาธิก็คือจิตที่มีศีล เพราะศีลกับสัมมาสมาธิเป็นเครื่องขัดเกลาส่งเสริมซึ่งกันและกัน เหมือนเราล้างมือขวาด้วยมือซ้าย และล้างมือซ้ายด้วยมือขวา อนึ่งการเจริญสัมมาสมาธินี้ย่อมส่งผลให้ผู้ปฏิบัติบางท่านเข้าถึงความสงบในระดับฌานได้ ซึ่งให้ความสุขในปัจจุบัน และส่งผลให้ผู้นั้นเข้าถึงกำเนิดในพรหมโลกได้ด้วยหากยังไม่เข้าถึงนิพพานในชีวิตนี้ 10.3.5 ยถาภูตญาณทัสนะ (ได้แก่การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปนามถูกต้องตามความเป็นจริง ภูตในที่นี้หมายถึงรูปนาม/ขันธ์ 5 ไม่ใช่ผีตามความหมายในภาษาไทย) การรู้เห็นความจริงเป็นส่วนของปัญญา ซึ่งปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด คือเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกลางและมีสติระลึกรู้อารมณ์(รูปนาม) ก็จะเห็นรูปนามตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่อยากจะให้เป็น(ด้วยตัณหา) หรือตามที่คิดว่าน่าจะเป็น(ด้วยทิฏฐิ) 10.3.6 นิพพิทาวิราคะ (ได้แก่ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด) เมื่อรู้จักรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายเอือมระอา(นิพพิทา)ต่อรูปนามทั้งหลาย เพราะเห็นความไม่มีสาระแก่นสาร สภาวะของนิพพิทาไม่ใช่ความเบื่ออย่างโลกๆ ที่เป็นการเบื่อทุกข์แต่อยากได้สุข นิพพิทานั้นเห็นทั้งทุกข์และสุข ทั้งดีและชั่ว น่าเอือมระอาเสมอกัน เมื่อเกิดนิพพิทาแล้วจิตย่อมเกิดวิราคะอันเป็นสิ่งตรงข้ามกับตัณหา ได้แก่การหมดความดิ้นรนทะยานอยากที่จะปฏิเสธทุกข์หรือแสวงหาสุข จิตจะเข้าถึงความเป็นกลางต่อสังขารอย่างแท้จริง เพราะรู้ชัดแล้วว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปธรรมและนามธรรม (2) รูปธรรมและนามธรรมมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหรือไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปธรรมและนามธรรมมีเหตุปัจจัยให้เกิด แปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ และ (4) รู้ว่าความยึดถือในรูปธรรมและนามธรรมจะนำทุกข์มาให้ นี้คือการรู้อริยสัจจ์ในสายเกิด 10.3.7 วิมุตติญาณทัสนะ (ได้แก่ความรู้แจ้งเกี่ยวกับสภาวธรรมแห่งความหลุดพ้นจากเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลส) เมื่อจิตเป็นกลางต่อสังขาร จนรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตจะก้าวกระโดดอย่างฉับพลันไปสู่ความหลุดพ้น โดยผู้ปฏิบัติไม่ได้จงใจจะให้เป็นไปเช่นนั้น เป็นการประจักษ์ต่อนิโรธสัจจ์ หรือนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติที่ได้พบอารมณ์นิพพานด้วยการบรรลุมรรคผลถึง 4 ครั้งแล้ว ย่อมพ้นทุกข์พ้นกิเลสสิ้นเชิง ได้รับบรมสุขอันเนื่องจากจิตพ้นจากความเสียดแทงทั้งปวง อนึ่งผู้ที่เคยพบนิพพานแล้วในขณะที่เกิดมรรคผล อาจพบนิพพานได้อีกเพื่อเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย 2 วิธีการคือ (1) การไม่มนสิการ(ใส่ใจ)ถึงสังขารทั้งหลาย พอจิตวางอารมณ์ที่เป็นสังขารก็จะไปรู้อารมณ์นิพพาน หรือ (2) การมนสิการถึงอารมณ์นิพพานโดยตรง ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นประโยชน์สุขในปัจจุบันที่ได้มาด้วยการเจริญสติเท่านั้น 10.4 สรุปแล้ว สตินี้แหละยิ่งเกิดบ่อยยิ่งดี นอกจากการเจริญสติแล้วไม่ใช่ทางหรืออริยมรรคที่แท้จริง คำสอนใดที่มุ่งปรุงแต่ง(กุศล)เพื่อแก้ความปรุงแต่ง(อกุศล) คำสอนนั้นเป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า (แต่อาจจำเป็นในเบื้องต้นสำหรับบางคน) คำสอนใดให้เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล)จนพ้นจากความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล) คำสอนนั้นเป็นทาง(มรรค)ตัดตรงเข้าถึงความพ้นทุกข์สิ้นเชิง(นิโรธ/นิพพาน) ครูบาอาจารย์พระป่าทั้งหลายซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของผู้เขียน เช่นหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นต้น ท่านก็เน้นนักหนาให้ผู้เขียนเจริญสติคือรู้ไว้ บางท่านยกหัวใจคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ มาสอนผู้เขียนว่า หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า "ทำสมาธิ(ความสงบ)มากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน สิ่งสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ จะเดินจงกรมก็ต้องเดินด้วยความมีสติ นั่งสมาธิก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ ทำสิ่งใดก็ต้องทำด้วยความมีสติ เพราะเมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ผู้เขียนก็ได้อาศัยคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ดังกล่าวนี้เป็นแนวทางปฏิบัติตลอดมา…….. โดย พระปราโมทย์ ปาโมชโช

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นวิถีแห่งความรู้แจ้ง ความในใจ เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากให้ความรักความเมตตาแวะเวียนไปสนทนาธรรมกับผู้เขียนเสมอ ส่วนมากมักถามถึงแนวทางปฏิบัติที่ผู้เขียนดำเนินมา เป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องพูดคุยในเรื่องเดิมๆ อยู่แทบทุกวัน ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อทุ่นแรงตนเอง หากเพื่อนนักปฏิบัติท่านใดต้องการทราบแนวทางปฏิบัติของผู้เขียน อ่านแล้วคงพอทราบได้ จะช่วยให้การสนทนาสั้นลง เป็นการประหยัดเวลาได้ทั้งสองฝ่าย พระปราโมทย์ ปาโมชโช วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ใจความ 1. สิ่งใดคือจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา - ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง 2. ความทุกข์คืออะไร - ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ หรือทุกข์ที่เนื่องด้วยกาย และทุกข์ที่เกิดจากจิต เช่นความแก่ เจ็บ ตาย การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์(ภพ)คือทุกข์ 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร - ตัณหา ซึ่งมีที่มาจากความไม่เข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ (อวิชชา) 4. ทางแห่งความดับทุกข์ - มรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงเป็นการเจริญสติ ซึ่งเป็นเครื่องมือเฝ้าสังเกตการณ์จนเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดแล้วหลุดพ้น และย่อมรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์แล้ว 5. การเจริญสติคืออะไร - คือการระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร - แทบทุกคนระลึกรู้ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ แค่รู้ไปตามธรรมชาติโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงไปในการรู้นั้น ก็จะรู้สภาวธรรมได้ / สภาวธรรมรู้ง่ายกว่าที่คิดไว้มากนัก 7. สภาวธรรมคืออะไร - คือรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นปรมัตถธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายจิตใจอันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์นี้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความคิดฝันหรือจินตนาการเอาเอง 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร - หมายถึงสภาวธรรมที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะจิตต่อหน้านี้ ผู้ปฏิบัติต้องไม่หน่วงอาลัยถึงสภาวธรรมในอดีต และไม่กังวลถึงสภาวธรรมในอนาคต 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร - หมายถึงรู้สภาวะตรงตามที่มันเป็น และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยความอยาก(ตัณหา) และความเห็นผิด(ทิฏฐิ) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร - 1. ได้ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน 2. ได้ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 3. ได้ความสมบูรณ์แห่งศีล 4. ได้ความตั้งมั่นของจิตหรือสัมมาสมาธิ 5. ได้สัมมาทิฏฐิ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจธรรมชาติ 6. ได้ความเบาบางจางคลายจากความยึดถือทั้งหลาย และ 7. ได้ความหลุดพ้นและความรู้เกี่ยวกับความหลุดพ้น ขยายความ 1. จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา 1.1 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มุ่งตอบปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรเราจะเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ 1.2 คนทั้งหลายมักมองข้ามเรื่องความพ้นทุกข์ เพราะไม่เห็นความจริงของชีวิตว่า ที่เราต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อหนีทุกข์กันทั้งนั้น แม้แต่การศึกษาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ด้วยความหวังว่า จะได้ใช้เป็นวิชาชีพ หรือสร้างความบันเทิงใจ หรือเป็นประโยชน์อย่างอื่น อันเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ของชีวิตนั่นเอง ซึ่งศาสตร์เหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นควรแก่การศึกษา แต่หากเข้าใจพุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งแก้ทุกข์โดยตรงด้วย ก็ย่อมช่วยให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1.3 บางคนอาจมองเลยไปอีกว่า พระพุทธศาสนามองโลกแง่ร้ายเกินไป คือมองว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์ ประเด็นนี้ต้องขอแขวนไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะถ้าอธิบายกันในขณะนี้ก็จะกลายเป็นข้อถกเถียงทางปรัชญาไป 2. ความทุกข์คืออะไร 2.1 พระพุทธศาสนามองความทุกข์ไว้อย่างลึกซึ้งและหลายแง่มุม มากกว่าความทุกข์ที่พวกเรารู้จักกันทั่วๆ ไป กล่าวคือ 2.1.1 ทุกขเวทนา คือความทุกข์ทั่วไปที่พวกเรารู้จักกันอยู่แล้ว ได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจนั่นเอง สำหรับผู้ที่ไม่เคยเจริญสติอาจรู้สึกว่า นานๆ ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ผู้ที่เจริญสติอยู่จะพบว่า ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ่อยมาก เช่นถ้าเรามีสติรู้กายอยู่ จะพบว่าความทุกข์เหมือนสัตว์ร้ายที่วิ่งตามทำร้ายเราอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องคอยเปลี่ยนอิริยาบถ ต้องกิน ต้องดื่ม ต้องขับถ่าย ต้องเช็ดล้าง ต้องเกา ฯลฯ แทบไม่ได้หยุดพักเลย บางคราวมีความป่วยไข้อันเป็นความบีบคั้นที่รุนแรง และท้ายที่สุดเมื่อหมดกำลังวิ่งหนีทุกข์ เราก็จะถูกความทุกข์ทำร้ายเอาจนตาย ยามใดที่ทุกขเวทนาบรรเทาลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข แต่ไม่นานเลย ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกคราวหนึ่ง หากมีสติรู้อยู่ที่จิตใจก็จะพบว่า จิตของเราเกิดความเครียดขึ้นแทบตลอดเวลา ยามใดมีความเครียดน้อยลงก็รู้สึกเป็นสุข ยามใดมีความเครียดมากขึ้นก็รู้สึกเป็นทุกข์ 2.1.2 ทุกขลักษณะ ทุกข์ชนิดนี้ไม่ใช่ความทุกข์ในความหมายทั่วไปที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่มันเป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร(คือร่างกายจิตใจและสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย) ที่ว่า สังขารทั้งหลายไม่อาจคงทนอยู่ได้ตลอดไป ดังนั้น ตามความหมายนี้ กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นความทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้ เรื่องทุกขลักษณะนี้จะเห็นชัดขึ้น เมื่อได้ลงมือเจริญสติแล้ว ในชั้นนี้จึงควรทราบไว้เพียงนี้ก่อน 2.1.3 ทุกขสัจจ์ ทุกข์ชนิดนี้เป็นทุกข์ที่ลึกซึ้งกว่าทุกข์อย่างอื่น เพราะเป็นการมองความทุกข์อย่างพระอริยบุคคล หากเราฟังธรรมอย่างผิวเผินอาจรู้สึกว่าทุกขสัจจ์ไม่ใช่เรื่องที่ลึกซึ้งอะไรนัก เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา เป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นความทุกข์เช่นกัน ความลึกซึ้งของทุกขสัจจ์อยู่ตรงที่ว่า 2.1.3.1 มีสภาวะที่เป็นทุกข์ แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ เพราะพระอริยบุคคลย่อมเห็นความจริงว่า ในโลกนี้ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่ธรรมชาติบางอย่างที่มารวมตัวกันเข้าชั่วคราว แล้วโลกสมมุติเรียกว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เท่านั้นเอง ซึ่งธรรมชาติที่ว่านั้นก็คือรูป(ธรรม)และนาม(ธรรม)ทั้งหลายนั่นเอง 2.1.3.2 ลำพังมีรูปและนามมาประกอบกันแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น ต่อเมื่อมีความอยากและความยึดมั่นเกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ทุกข์จึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเกิดความอยาก/ความยึดถือก็เกิดภพหรือความมี/ความเป็นขึ้นมา แล้วก็ต้องทุกข์เพราะความมี/ความเป็นนั้น เช่นเมื่อยึดรูปนามกลุ่มหนึ่งว่าเป็นตัวเรา และยึดรูปนามกลุ่มอื่นว่าเป็นสามี/ภรรยาของเรา ก็จะต้องทุกข์เพราะความเป็นภรรยา/สามี ถ้าเป็นนักศึกษาก็ทุกข์อย่างนักศึกษา เป็นอาจารย์ก็ทุกข์อย่างอาจารย์ เป็นพ่อแม่ก็ทุกข์อย่างพ่อแม่ เป็นนักปฏิบัติธรรมก็ทุกข์อย่างนักปฏิบัติธรรม เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนว่า ภพ(อุปาทานขันธ์)ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น การเจริญสติเป็นทางสายเดียวที่จะทำให้เรารู้แจ้งถึงสัจจธรรมเหล่านี้ได้ 2.2 ความทุกข์ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้พ้นไปในเบื้องต้นได้แก่ความทุกข์ทางใจที่เกิดจากความถือมั่นในรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวง หรือทุกขสัจจ์นี่เอง ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเกิดจากความไม่เข้าใจลักษณะที่แท้จริงของรูปและนามที่ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ลักษณะ) และเป็นอนัตตา ส่วนทุกขเวทนาทางกายในชาติปัจจุบันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องแก้ไขตามสถานการณ์เป็นคราวๆ ไป โดยอยู่ในสภาพที่ว่า แม้กายทุกข์ แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร 3.1 ทุกขสัจจ์เกิดจากสมุทัย ซึ่งได้แก่ตัณหาหรือความทะยานอยากของจิตที่รักสุขและเกลียดทุกข์ จึงเข้าไปยึดถือรูปและนามทั้งปวง เพราะอยากให้มี หรือเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อให้มีสุข หรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหนีทุกข์ 3.2 ความอยากเกิดขึ้นก็เพราะความไม่รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริงว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปและนามเท่านั้น กระทั่งตัวเราก็ไม่มีอยู่จริง (2) รูปและนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปและนามมีเหตุปัจจัยให้เกิด ต้องแปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ (4) ความยึดถือในรูปและนามจะนำทุกข์มาให้ (5) ความไม่ยึดถือรูปและนามว่าเป็นตัวตนของตนจะทำให้ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น เพราะปราศจากตัวตนที่จะเข้าไปรองรับความทุกข์ทั้งหลาย 3.3 สรุปแล้ว ความทุกข์เกิดจากจิตเข้าไปหลงอยากหลงยึดในรูปและนาม ที่จิตหลงอยากหลงยึด ก็เพราะจิตไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายนั่นเอง 4. ทางแห่งความดับทุกข์ 4.1 เมื่อทราบแล้วว่าความทุกข์เกิดจากอะไร ย่อมไม่เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจว่า ความดับทุกข์เกิดจากอะไร ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการดับความอยาก(ตัณหา) โดยแก้ที่ความหลงผิดหรือความไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง สมดังพระพุทธวัจนะที่ว่า เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด(โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฏิบัติธรรม)อยู่จบแล้ว 4.2 การจะให้จิตรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ การมีสติ (ในบทความนี้ สติหมายถึงสติและสัมปชัญญะ แต่ที่ไม่ได้แยกแยะรายละเอียดของสติกับสัมปชัญญะในชั้นนี้ ก็เพราะต้องการให้ผู้แรกสนใจพระพุทธศาสนา ศึกษาได้โดยไม่ซับซ้อนนัก)เฝ้าระลึกรู้ สภาวธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง นี่เป็นเหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว ทำนองเดียวกับเมื่อเราอยากเห็นรูปภาพตรงหน้า เราก็ลืมตาขึ้นดูตรงๆ เลยทีเดียว ทั้งนี้ พระศาสดาทรงยืนยันว่า การเจริญสตินี้แหละคือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ เพราะการถอดถอนตัณหาและทิฏฐิ(ความเห็นผิดจากความจริง)ในโลกคือรูปนามเสียได้ 4.3 พวกเราบางคนได้ยินคำสอนที่ว่า ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้แก่การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 รวบย่อลงมาก็คือการศึกษาปฏิบัติในเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา สิ่งที่ได้ยินมานี้ถูกต้องเช่นกัน แต่ควรทำความเข้าใจให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า การเจริญอริยมรรคหรือการรักษาศีล การทำสมาธิ และการเจริญปัญญา ชนิดไหนที่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง และชนิดไหนไม่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง 4.4 แท้จริงการบำเพ็ญคุณงามความดีทั้งหลาย เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระองค์เองก็ทรงบำเพ็ญบารมีมามากมายก่อนที่จะตรัสรู้(เข้าใจธรรมตามความเป็นจริงด้วยพระองค์เอง) เช่นทรงบำเพ็ญทานอย่างยิ่งยวดเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บางชาติทรงถือศีลแบบยอมสละชีวิต บางชาติทรงทำสมาธิจนได้อภิญญา 5 เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก บางชาติเช่นพระชาติที่เป็นมโหสถบัณฑิตก็ทรงสะสมปัญญาบารมีอย่างยิ่งยวด แต่เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในพระชาติเหล่านั้น กลับมาทรงตรัสรู้เอาในพระชาติสุดท้าย และทรงตรัสรู้ด้วยการเจริญอานาปานสติ จริงอยู่ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมีให้เต็มเปี่ยม พระองค์ย่อมไม่สามารถตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แต่ถ้าทรง บำเพ็ญพระบารมีโดยไม่ทรงเจริญสติ พระองค์ก็ทรงตรัสรู้ไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะการบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย เป็นการปรับพื้นฐานทางจิตใจของพระองค์ให้พร้อมสำหรับการแสวงหาหนทางเจริญสตินั่นเอง ตัวอย่างเช่น เพราะพระองค์เคยฝึกสละพระโอรสธิดาและพระชายาเพื่อพระโพธิญาณในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรมาแล้ว จึงทรงเข้มแข็งพอที่จะสละพระนางพิมพาและพระราหุลซึ่งเป็นที่รักยิ่ง เพื่อไปแสวงหาพระโพธิญาณ เป็นต้น 4.5 การทำความดีทั้งหลาย ทั้งทาน ศีล สมาธิ และการเจริญปัญญาบางระดับ ไม่ได้เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม เพียงแต่นำความสุขมาให้ด้วยกุศลวิบากหรือผลแห่งความดีเท่านั้น และบางกรณีเมื่อทำความดีอยู่ จิตกลับพลิกไปเป็นอกุศลก็ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น 4.51 การทำทาน หากทำโดยไม่ประกอบด้วยสติปัญญาก็อาจเป็นการพอกพูนกิเลสให้หนาหนักยิ่งขึ้น เช่นทำไปด้วยมิจฉาทิฏฐิว่า "เรา" ทำทานแล้ว เมื่อ "เรา" เกิดในชาติต่อไป "เรา" จะได้เสวยผลทานนี้ หรือเราจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะการทำทานนี้ หรือทำไปด้วยความโลภว่า เราทำทานนี้ ขอให้ได้รับดอกผลมากมายอย่างนี้ๆ เป็นต้น 4.5.2 การถือศีล หากไม่มีสติปัญญากำกับย่อมเป็นการง่ายที่ผู้ถือศีลจะกลายเป็นการถือศีลในลักษณะสีลัพพตปรามาส(ถือศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงาย) เช่นหลงผิดว่า การบำเพ็ญข้อวัตรที่กดข่มจิตใจมากๆ จะทำให้กิเลสเบาบางลง หรือยิ่งถือศีลก็ยิ่งพอกพูนกิเลส เช่นเกิดมานะมากขึ้น คือเกิดความสำคัญมั่นหมายว่า เราดีกว่าคนอื่นเพราะเราถือศีล ส่วนคนอื่นเลวกว่าเราเพราะไม่มีศีล เป็นต้น 4.5.3 การทำสมาธิ หากไม่ประกอบด้วยสติปัญญา ยิ่งทำสมาธิจิตยิ่งน้อมเข้าหาความสงบหรือความสุขสบาย หรือเกิดมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดมากขึ้นๆ ด้วยอำนาจของโมหะและราคะ เช่นทำสมาธิแล้วเกิดความเคลิบเคลิ้มขาดสติ หรือเกิดนิมิตต่างๆ มากมาย บางคนถึงขนาดเห็น"นิพพาน"เป็นบ้านเมืองหรือเป็นดวงแก้ว บางคนเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ แล้วหลงภูมิใจอยู่กับความรู้เหล่านั้น เป็นต้น 4.5.4 การเจริญปัญญา หากไม่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ จำแนกไม่ออกระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ก็เป็นการง่ายที่จะหลงทำสมาธิแล้วคิดว่ากำลังเจริญปัญญาอยู่ เช่นบางท่านมุ่งใช้ความคิดพิจารณาสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา วัตถุสิ่งของ ผู้คน ฯลฯ ให้เป็นไตรลักษณ์ การกระทำเหล่านั้นเป็นเพียงการทำสมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อความสงบของจิต บางครั้งแทนที่จะเกิดความสงบ อาจเกิดความฟุ้งซ่านแทนก็ได้ บางคนยิ่งคิดพิจารณาไตรลักษณ์ มานะอัตตากลับยิ่งพอกพูนขึ้นก็มี ทั้งนี้เพราะไตรลักษณ์นั้น คิดเอาไม่ได้ แต่ต้องประจักษ์ชัดถึงสภาวะที่แท้ของรูปธรรมและนามธรรม ด้วยความมีสติ และด้วยจิตที่มีความตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) จึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยปัญญาได้จริง 4.6 การทำความดีที่เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม ต้องเป็นการทำดีที่เกื้อกูลต่อการเจริญสติที่ถูกต้อง หรือเจืออยู่ด้วยสติปัญญาในขณะที่ทำความดีนั้น เช่น 4.61 การทำทาน ควรมีสติปัญญากำกับจิตใจของตนไว้ ทั้งก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ หากเป็นการกระทำด้วยศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ทำแล้วตนเองหรือผู้อื่นไม่เดือดร้อนก็ควรทำตามความเหมาะสม หรือทำแล้วจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ก็มีสติระลึกรู้ความสุขความเบิกบานนั้นไป การทำทานจึงเป็นเครื่องมือฝึกการเจริญสติได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำด้วยความเมาบุญด้วยอำนาจโลภะและโมหะ ทานนั้นก็ไม่เกื้อกูลใดๆ ต่อการเจริญสติ 4.6.2 การรักษาศีล ศีลบริสุทธิ์ได้ยาก หากไม่มีสติกำกับอยู่ที่จิต แต่หากมีสติกำกับรู้อยู่ที่จิตใจตนเอง ศีลชนิดที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ กล่าวคือเมื่อโทสะเกิดขึ้นก็มีสติรู้ว่าโทสะเกิดขึ้น โทสะย่อมครอบงำจิตไม่ได้ ศีลข้อ 1 ก็เกิดขึ้นเต็มบริบูรณ์เพราะจิตไม่คิดฆ่าหรือทำร้ายใคร ถ้าโลภะเกิดขึ้นแล้วมีสติรู้ทัน ย่อมไม่ทำผิดศีลข้อ 2 และข้อ 3 โดยอัตโนมัติ เป็นต้น 4.6.3 การทำสมาธิ สัมมาสมาธิหรือความตั้งมั่นของจิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ดังนั้นสมาธิในพระพุทธศาสนาจึงต้องประกอบด้วยองค์มรรคอื่นๆ ด้วย เช่นต้องมีสติและปัญญากำกับอยู่เสมอ สมาธิที่ขาดสติปัญญา เป็นสมาธิที่ให้ความสุขหรือของเล่นอื่นๆ ได้ก็จริง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการเจริญสติ เพราะจิตไม่ตั้งมั่นจริง และเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ศีลและปัญญาก็ไม่อาจเกิดให้บริบูรณ์ได้ 4.6.4 การเจริญปัญญา การเจริญปัญญาที่ถูกถ้วนสมบูรณ์ที่สุดจะกล่าวในหัวข้อเกี่ยวกับการเจริญสติต่อไป ส่วนในหัวข้อนี้จะกล่าวเฉพาะการเจริญปัญญาในขั้นต้น ได้แก่การศึกษาปริยัติสัทธรรม ซึ่งขาวพุทธแม้จะเป็นนักปฏิบัติก็ไม่ควรทอดทิ้ง อย่างน้อยควรเรียนให้รู้หลักการขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนาไว้บ้าง มิฉะนั้นอาจกลายเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ ทั้งที่คิดว่าตนเป็นชาวพุทธก็ได้ 4.7 การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งดูว่ามีหลายอย่างนั้น ถ้าเจริญสติได้ถูกต้อง ศีล สมาธิและปัญญาจะเกิดขึ้นเอง เช่นในหนังสืออรรถกถาธรรมบท กล่าวถึงภิกษุรูปหนึ่งไปทูลลาสิกขาจากพระพุทธเจ้าเพราะรักษาศีลจำนวนมากไม่ไหว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ท่านเจริญสติแทนการตามรักษาศีลจำนวนมาก ท่านทำแล้วสามารถทำศีลของท่านให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ทั้งยังบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วย หรือหากเรามีสติจนสามารถระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏได้จริงๆ ในขณะนั้นเราจะเกิดสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ คือจิตจะเกิดความตั้งมั่นแล้วมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏโดยไม่เข้าไปหลงแทรกแซง สิ่งที่ตามมาก็คือปัญญาที่รู้จักสภาวะของรูปและนาม รู้ถึงความเป็นไตรลักษณ์ของรูปและนาม และรู้ได้แม้กระทั่งอริยสัจจ์ 4 ปัญญาเหล่านี้เกิดจากการเจริญสติด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิทั้งสิ้น ดังนั้นจะกล่าวว่า การปฏิบัติตามทางแห่งความพ้นทุกข์ จะต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ได้ ย่อลงมาเป็นการเจริญไตรสิกขาคือศีล สมาธิและปัญญาก็ได้ หรือถ้าย่อลงให้ถึงที่สุด การเจริญสตินั้นแหละคือการเจริญไตรสิกขาและมรรคมีองค์ 8 5. การเจริญสติคืออะไร 5.1 ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธศาสนาอธิบายว่า ความทุกข์เกิดจากความอยากและความยึดถือในรูปและนาม ซึ่งมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้สภาวธรรม(รูปนาม)ทั้งหลายตามความเป็นจริง ดังนั้นการที่จะทำลายความอยากและความยึดถือในรูปนามทั้งหลาย จึงต้องขจัดความไม่รู้ ด้วยการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามนั้น 5.2 การทำปัญญาหรือความรู้ให้เกิดขึ้นนั้น พวกเราเคยชินที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการเก่าๆ ได้แก่ (1) การรับถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ของผู้อื่นด้วยการอ่านและการฟัง และ (2) การขบคิดใคร่ครวญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งวิธีการทั้ง 2 นี้ใช้ได้สำหรับการเรียนรู้วิชาการอื่นๆ แต่การทำความเข้าใจพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องอาศัยการหาความรู้โดยอีกวิธีการหนึ่ง เพิ่มเติมจาก 2 วิธีแรกคือ (3) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะการรับฟังความรู้ของท่านผู้อื่นให้เราได้เพียงความจำ ส่วนการคิดให้เราได้เพียงความคิด ทั้งความจำและความคิดอาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ในเบื้องต้น เราต้องศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการอ่านและการฟัง แล้วนำมาคิดใคร่ครวญเพื่อให้รู้ถึงแนวทางของการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามได้อย่างถูกต้องต่อไป 5.3 การแสวงหาความรู้ด้วยการอ่าน การฟัง และการคิด เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่พวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ในที่นี้จึงจะข้ามไปกล่าวถึงการแสวงหาความจริงด้วยการเจริญสติ อันได้แก่ การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนาม โดย การระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร 6.1 มนุษย์โดยทั่วไปสามารถระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่นในขณะนี้ยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอนก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความสุข หรือความทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความรัก โลภ โกรธ หลง สงสัย ฟุ้งซ่าน หดหู่ เกียจคร้าน ศรัทธา วิริยะ หรือมีความสงบ ฯลฯ ก็ทราบได้ แต่ มนุษย์ละเลยที่จะเฝ้ารู้อารมณ์เหล่านั้น รวมทั้งนึกไม่ถึงด้วยว่าการเจริญสติที่แท้จริง ก็คือการใช้จิตใจที่เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เองไปรู้อารมณ์ แต่มักเกิดความเข้าใจผิดว่า การเจริญสติหรือการระลึกรู้นั้น เป็นสภาพอะไรอย่างหนึ่งที่พิเศษเหนือธรรมดา ดังนั้นแทนที่จะใช้จิตใจธรรมดาไปรู้อารมณ์ พวกเรากลับพยายามสร้าง "รู้" แบบผิดธรรมดาขึ้นมาแทน 6.2 การบ่งชี้สภาวะว่า การมีสติ หรือการมี รู้ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากมาก เพราะเพียงแต่เราเติมความคิดเห็นของเราลงไปว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจผิดทันที แต่หากเรามาพูดกันถึงสภาวะของการรู้ที่ไม่ถูกต้องเสียก่อน (ซึ่งล้วนแต่เกิดจากตัณหาหรือความอยาก และทิฏฐิหรือความเห็นผิดทั้งหลาย) เราก็จะเข้าใจถึงสภาวะรู้ที่ถูกต้องได้ไม่ยากนัก สภาวะผิดพลาดที่สำคัญได้แก่ 6.2.1 รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ (เผลอ/ลืมตัว) 6.2.1.1 สภาวะรู้ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสภาวะไม่รู้ อันได้แก่ความเหม่อ ความเผลอความลืมตัว ความใจลอย หรือความฝันกลางวัน นั่นเอง เป็นสภาวะของการปล่อยจิตใจให้หลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แม้กระทั่งเพลินไปในโลกของความคิดฝันและจินตนาการของตนเอง ตัวอย่างเช่นเมื่อตามองเห็นรูปบางอย่างแล้วเกิดจำได้ว่านั่นเป็นรูปผู้หญิงสวย/ผู้ชายหล่อ ก็มัวหลงเพลินมองตามอย่างลืมเนื้อลืมตัว หรือเมื่อนั่งอยู่คนเดียว ก็ใจลอยคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ชัดว่าคิดอะไร เป็นต้น 6.2.1.2 สภาวะที่เรียกว่าเผลอหรือลืมตัวนี้ เป็นสภาวะที่เราลืมร่างกายของตนเองเหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก รวมทั้งลืมจิตใจของตนเอง คือในขณะนั้นจิตใจจะมีสุขหรือทุกข์ จะดีหรือชั่วอย่างไรก็ไม่สามารถจะรู้ได้ กล่าวได้ว่าในเวลาที่เราเผลอหรือขาดสตินั้น เราไม่สามารถรู้กาย เวทนา จิต และธรรมได้นั่นเอง 6.2.1.3 ขณะใดที่เราเผลอ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเผลออยู่ ขณะนั้นความเผลอจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเผลอ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.2 รู้ ไม่ใช่คิด 6.2.2.1 สภาวะรู้ ไม่เหมือนกับสภาวะคิด ในขณะที่คิดนั้น เรารู้เรื่องที่กำลังคิดเป็นอย่างดี แต่เราลืมตัวเองคล้ายกับเวลาที่เผลอนั่นเอง การรู้เป็นการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง ในขณะที่การคิด เป็นการคาดว่าความจริงมันน่าจะเป็นอย่างไร (แต่ทั้งนี้หากมีกิจจำเป็นต้องคิด เช่นต้องคิดเพื่อการเรียนหรือการทำงาน เราก็ต้องคิดไปตามหน้าที่ของตน) 6.2.2.2 นักปฏิบัติจำนวนมากไม่เข้าใจการเจริญสติ โดยมีความสำคัญผิดว่าการคิดหรือการตรึกตรองเรื่องกายและใจตนเอง ว่า "เป็นอสุภะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" เป็นการทำวิปัสสนา แท้จริงการเจริญสติหรือการเจริญวิปัสสนาจะต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่การคิดถึงสภาวธรรมนั้นๆ เพราะความคิดของปุถุชนย่อมปนเปื้อนด้วยอคติเสมอๆ หรือคิดอยู่ในจุดยืนของความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิชนิดต่างๆ เช่นคิดว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงแต่จิตนี้เที่ยง พอร่างกายนี้ตายลงจิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่ หรือคิดว่าตัวเรามีอยู่ แต่พอตายลงก็สูญไปเลย เป็นต้น การคิดพิจารณาไม่ใช่วิปัสสนา ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์องค์หนึ่งของผู้เขียน (ท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) สอนไว้ว่า "การคิดพิจารณากายว่าเป็นอสุภะก็เพื่อแก้นิวรณ์(เป็นสมถะ) การคิดพิจารณาความตาย(มรณสติ) และการคิดพิจารณากายว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์ ก็เพื่อแก้อาการของจิตบางอย่าง(เป็นสมถะ)เช่นกัน ต่อเมื่อใดปฏิบัติจนถึงจิตถึงใจตนเอง จึงได้แก่นสารของการปฏิบัติธรรม" 6.2.2.3 ขณะใดที่เราคิด แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งอกตั้งใจคิดอยู่ ขณะนั้นความคิดจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังคิด ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.3 รู้ ไม่ใช่การตั้งท่าปฏิบัติ 6.2.3.1 รู้ไม่มีการตั้งท่าก่อนจะรู้ แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย เมื่อคิดจะปฏิบัติธรรมก็ต้องรีบตั้งท่าปฏิบัติเพราะไปแปลความหมายของ "การปฏิบัติ" ว่าเป็น "การกระทำ" ทั้งที่การรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไรมากกว่าการรู้เข้าไปตรงๆ ตามธรรมชาติธรรมดา เช่นเดียวกับเมื่อเราต้องการดูภาพตรงหน้า เราก็ทำแค่ลืมตาขึ้นดูเท่านั้น หรือเมื่อถูกยุงกัด เราก็แค่รู้ว่าคันเท่านั้น สภาวะรู้ที่เป็นธรรมชาตินั้นเรามีอยู่แล้ว แต่เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญสติ เราจึงตั้งท่าปฏิบัติ เหมือนนักวิ่ง 100 เมตรที่กำลังเข้าเส้นสตาร์ท คือเกร็งทั้งกายและจิตใจ แทนที่จะรู้อารมณ์ไปอย่างสบายๆ ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.3.2 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติมักบังคับใจตนเอง และเริ่มสร้างพฤติกรรมของจิตบางอย่าง เช่นการใช้สติจ้องมองดูจอภาพในใจของตน แล้วเที่ยวควานหา (scan) อยู่ในจอภาพนั้น เพื่อหาอะไรสักอย่างเอามาดู หรือการส่งจิตออกไปนิ่งอยู่ข้างหน้า แล้วคอยดูสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปฏิบัติไปด้วยตัณหาคือความอยากจะปฏิบัติธรรม และทิฏฐิคือความเห็นผิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้"เรา"รู้ธรรม 6.2.3.3 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติบางท่านที่นิยมใช้รูปหรือกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน มักเริ่มด้วยการแทรกแซงพฤติกรรมตามธรรมชาติของกาย เช่นเมื่อคิดจะรู้ลมหายใจก็เข้าไปควบคุมจังหวะการหายใจ เมื่อคิดจะรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไปกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวของมือ เท้า และท้องบ้าง การกระทำเหล่านี้ไม่ผิด ถ้าเป็นการทำสมถะหรือต้องการใช้กายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติก่อนพัฒนาไปสู่การรู้ที่แท้จริง แต่ถ้าจงใจก่อพฤติกรรมทางกายโดยคิดว่านั่นคือการเจริญสติ และรู้ไม่ทันตัณหาและทิฏฐิที่กำลังครอบงำจิตจนก่อพฤติกรรมดังกล่าวขึ้นมา นั่นก็เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงมากอีกประการหนึ่ง 6.2.3.4 ความจริงแล้วถ้าเราจะเจริญสติหรือ รู้ อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เราไม่จำเป็นต้องตั้งท่าอะไรเลย ไม่ว่าทางจิตหรือทางกาย เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็รู้รูป(สี)นั้น หากจิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายต่อรูปก็รู้ทันอีก หรือขณะนี้อยู่ในอิริยาบถใดก็รู้ไปเลย เช่นเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ ยืนแล้วเมื่อยอยากเปลี่ยนอิริยาบถก็รู้ทันความอยากของตนเอง รู้ทันแล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถเพราะมันจำเป็นก็ได้ หรือจะไม่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อดูความจริงของทุกขเวทนาไปก่อนก็ได้ หรือนั่งอยู่เฉยๆ เกิดความคิดแล้วจิตเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างใดก็รู้ไปเลยก็ได้ เป็นต้น 6.2.3.5 อย่างไรก็ตาม หากนักปฏิบัติคนใดไม่สามารถรู้ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดาได้ก็ไม่ต้องตกใจ ในเบื้องต้นจะตั้งท่าปฏิบัติเสียก่อนก็ได้ เช่นถ้าจิตฟุ้งซ่านนักก็ทำความสงบเข้ามาก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เคลิ้มลืมตัว และอย่าให้เครียดขึ้นได้ ให้รู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งไปอย่างสบายๆ จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้ แม้กระทั่งการรู้คำบริกรรมก็ได้ เมื่อจิตใจสงบสบายแล้วจึงค่อยระลึกรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจไปตามธรรมชาติธรรมดาอีกชั้นหนึ่ง หรืออาจจะเริ่มจากการรู้ท้องพองยุบ รู้การเดินจงกรม รู้การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ ฯลฯ รวมความแล้วในเบื้องต้นจะทำกรรมฐานใดก็ได้ แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่การรู้แบบไม่ตั้งท่า หรือไม่จงใจต่อไป 6.2.3.6 ขณะใดที่เราตั้งท่าปฏิบัติ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งท่า ขณะนั้นการตั้งท่าจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังตั้งท่า ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.4 รู้ ไม่ใช่กำหนดรู้ 6.2.4.1 รู้ไม่ใช่การกำหนดรู้ หรือการตรึกพิจารณาถึงอารมณ์ว่าเป็นรูปนาม แต่เป็นการระลึกรู้(มนสิการ)ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดา นักปฏิบัติจำนวนมากคิดว่า รู้คือการกำหนดรู้ เพราะมักได้ยินคำพูดเกี่ยวกับการกำหนดรู้รูปนาม หรือการกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ จึงคิดว่า การรู้ต้องมีการกระทำ คือการกำหนด หรือการพิจารณาด้วย ดังนั้นพอรู้อารมณ์แล้วจึงรีบบริกรรมต่อท้ายการรู้ทันที เช่นยกหนอ ย่างหนอ โกรธหนอ เสียงหนอ ฯลฯ นี่คือการบริกรรมไม่ใช่การรู้ (เบื้องต้นอาจจำเป็นสำหรับบางท่านที่ต้องบริกรรมก่อน แต่พึงทราบว่าจะหยุดการปฏิบัติอยู่เพียงขั้นการตามบริกรรมไม่ได้ เพราะยังไม่ใช่วิปัสสนา) หรือบางท่านนิยมการพิจารณากำกับซ้ำลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่การรู้เช่นกัน เช่นเมื่อตาเห็นรูปตามธรรมชาติแล้ว ก็จงใจพิจารณารูปซ้ำลงไปอีก ว่า "รูปนี้เป็นเพียงสี ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ฯลฯ" หรือพิจารณาว่า "สีเป็นรูป รู้เป็นนาม" อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจกำหนด และเป็นการกระทำตามหลังการรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงยังไม่ใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.4.2 ขณะใดที่เรากำหนดรู้ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจกำหนดรู้ ขณะนั้นการกำหนดรู้จะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังกำหนดรู้ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.5 รู้ ไม่ใช่เพ่ง 6.2.5.1 รู้ไม่ใช่การเพ่ง แต่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบเพ่ง แม้แต่คนที่ไม่ชอบทำสมถะเพราะอยากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ก็มักเพ่งโดยไม่รู้ทันจิตใจของตนเอง แท้จริงการเพ่งเป็นสภาวะที่สืบเนื่องมาจากการจงใจและการตั้งท่าปฏิบัติ คือพอคิดถึงการปฏิบัติก็จงใจปฏิบัติ แล้วเกิดการตั้งท่าปฏิบัติ มีอาการสำรวมกายใจเข้ามาให้มั่นคง ถัดจากนั้นจึงเพ่งหรือจดจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่ออารมณ์ทั้งหลาย เป็นผลให้ลืมตัว และบางคนจิตใจด้านชา ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์ตามที่ควรจะเป็น หรือบางคนพอรู้กิเลสใดก็เพ่งใส่ พอกิเลสนั้นดับไป(เพราะเหตุของมันดับ) ก็เกิดความสำคัญผิดว่า เราสามารถดับกิเลสได้ทุกครั้ง หรือบางคนพอรู้อารมณ์แล้ว ก็หลงเพ่งจ้องเอาสติตามจี้อารมณ์ที่เคลื่อนหนีลึกเข้าไปภายใน นี่ก็เป็นการเพ่งเหมือนกัน แต่เป็นการตามเพ่งความปรุงแต่งที่เคลื่อนไหวได้ในจิตใจตนเอง อนึ่งการเพ่งนี้ถ้าไม่จงใจรุนแรงเกินไป ก็ทำให้จิตสงบเป็นการทำสมถะหรือสมาธิได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา 6.2.5.2 วิธีทำความรู้จักกับการเพ่งไม่ยากเลย ลองยกนิ้วหัวแม่มือของตนเองขึ้นมา แล้วเพ่งจ้องให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่นิ้วนั้นอย่างเดียว เพียงไม่นานจะรู้สึกว่า เราเห็นแต่นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น เพราะจิตจดจ่ออยู่ที่จุดเดียวนั้นด้วยความจงใจอันเกิดจากโลภะ ในขณะนั้นเห็นแต่นิ้ว กายจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เวทนาคือความรู้สึกจะสุขหรือทุกข์ก็ไม่ทราบ จิตจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่ทราบ จิตเคลื่อนไปอยู่ที่หัวแม่มือก็ไม่ทราบ รวมความแล้วจะทราบได้เฉพาะหัวแม่มือ แต่ไม่ทราบ กาย เวทนา จิต ธรรม ขอให้ผู้ปฏิบัติจำสภาวะของการเพ่งไว้ให้ดี เวลาที่เจริญสติรู้อารมณ์ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ให้สังเกตรู้ทันใจตนเอง อย่าให้หลงไปเพ่งจ้องรูปหรือนามนั้นเหมือนที่จ้องหัวแม่มือตนเอง มิฉะนั้นจะเป็นการหลงทำสมถะ ทั้งที่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนาคือรู้รูปนามอยู่ 6.2.5.3 ขณะใดที่เราเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเพ่งอยู่ ขณะนั้นการเพ่งจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเพ่ง ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.6 รู้ ไม่ใช่น้อม 6.2.6.1 รู้ไม่ใช่การน้อม เพราะอาการน้อมก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบทำกัน มันเป็นการเสแสร้งแกล้งทำขึ้นมาเมื่อคิดว่าจะปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับการเพ่ง เพียงแต่การเพ่งมุ่งจะรู้อารมณ์อันเดียวให้ชัดและพยายามตรึงอารมณ์นั้นไว้ ส่วนการน้อมเป็นการหลีกหนีอารมณ์เข้าหาความสงบสุขเคลิบเคลิ้มลืมเนื้อลืมตัว เพราะต้องการให้จิตสงบ กลายเป็นการปฏิบัติด้วยโลภะ จนจิตเกิดราคะเพลิดเพลินในความสงบสุข หรือเกิดความซึมเซาคือถีนมิทธะขึ้น วันใดซึมได้ที่หรือเคลิ้มได้ที่ก็สำคัญผิดว่าวันนั้นปฏิบัติดี วันใดปฏิบัติแล้วไม่ซึมหรือเคลิ้มก็เสียใจว่าวันนั้นปฏิบัติได้ไม่ดี การน้อมจิตนี้นักปฏิบัติบางท่านจะมีอุปกรณ์ช่วยคือการเปิดเทปธรรมะคลอไปด้วยระหว่างนั่งสมาธิ จะช่วยน้อมจิตให้ซึมได้ที่คือครึ่งหลับครึ่งตื่นได้โดยเร็ว 6.2.6.2 ขณะใดที่เราน้อมจิตเข้าหาความสงบ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังน้อมจิตอยู่ ขณะนั้นการน้อมจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังน้อม ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.7 รู้ ไม่ใช่จงใจรู้อะไร 6.2.7.1 รู้ไม่ใช่จงใจจะรู้อะไร ดังนั้นถ้านักปฏิบัติคนใดถามว่า ที่สอนให้รู้นั้น ควรจะรู้อะไร หรือควรจะรู้ตัวทั่วพร้อมคือรู้ทั้งตัวตั้งแต่ปลายผมถึงพื้นเท้า ผู้ที่ยังสงสัยเช่นนี้แสดงว่ายังไม่รู้จักการรู้ที่แท้จริง เพราะการรู้แท้จริงนั้น ไม่มีความจงใจว่าจะเลือกรู้สิ่งหนึ่งแล้วไม่รับรู้สิ่งอื่นๆ เนื่องจากความจงใจเหล่านั้นเป็นไปเพราะตัณหาและทิฏฐิล้วนๆ 6.2.7.2 การรู้คือสภาพที่จิตตื่นขึ้นจากโลกของความคิดความฝัน ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะตื่นเฉพาะร่างกายแต่ใจยังหลับฝันอย่างที่เรียกว่าฝันกลางวัน ภาวะรู้คือภาวะที่จิตตื่นจากความฝัน จิตมีความตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรู้อารมณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์นั้นตามธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้นก็คือ สามารถรู้เท่าทันปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีด้วย รู้ชนิดนี้ไม่มีความจงใจว่าจะต้องรู้อารมณ์ใด แต่อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใดก็รู้อารมณ์นั้นอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น นี่แหละคือความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่รู้ตัวทั้งตัวเพราะนั่นเป็นความจงใจเพ่งความรู้สึกไปจับที่กายทั้งกาย 6.2.7.3 ขณะใดที่เราจงใจ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจอยู่ ขณะนั้นความจงใจจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังจงใจ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.3 สรุปแล้ว ขณะใดพยายามจะรู้ หรือแสวงหาการรู้ที่ถูกต้อง (แม้กระทั่งการพยายามรักษารู้ให้ต่อเนื่อง ดูข้อ 6.6) ขณะนั้นเราจะพลาดไปสู่ความหลงผิดทันที เพราะการกระทำใดๆ ที่เกินจากการรู้ตามปกติ อันเป็นการกระทำด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐินั่นแหละ เป็นเครื่องปิดกั้นความสามารถในการระลึกรู้อารมณ์ซึ่งมีอยู่แล้วเอาไว้อย่างสนิทที่สุด ดังนั้นไม่ควรพยายามทำให้ถูก ขณะใดรู้ว่ารู้ผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่มีนักปฏิบัติจำนวนมากทีเดียวที่แม้จะได้ฟังคำสอนเกี่ยวกับการเจริญสติหรือการระลึกรู้ แต่ก็ยังปฏิเสธที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติ เพราะมีความคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อยขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ตัวนั้นตัวนี้ยังอ่อนเกินไป หรือยังไม่สมดุลกันจะต้องพัฒนาอินทรีย์ก่อน เช่นจะต้องเพิ่มปัญญาให้สมดุลกับศรัทธา เพิ่มสมาธิให้สมดุลกับวิริยะ ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่า หากเจริญสติหรือรู้ได้แล้ว นั่นแหละจะทำให้อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้ายิ่งขึ้นและสมดุลกันด้วย 6.4 สภาวะรู้ที่ถูกต้องจะเกิดได้ง่าย ด้วยการเกื้อกูลของสติและสัมมาสมาธิ กล่าวคือ 6.4.1 หากจิตสามารถจดจำสภาวธรรมต่างๆ ได้แม่นยำ เช่นจำสภาวะของความรัก โลภ โกรธ หลง ปีติ สุข ฯลฯ ได้แม่นยำ เมื่อสภาวะเหล่านั้นปรากฏขึ้นก็จะเกิดสติรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเพราะเคยรู้เคยประจักษ์ชัดอยู่ก่อนแล้ว ส่วนสภาวธรรมใดไม่รู้จักคุ้นเคย ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปช่วงหนึ่งก่อน จนจดจำสภาวะนั้นได้แม่นยำแล้ว จึงเกิดสติรู้ได้ง่าย 6.4.2 หากจิตมีสัมมาสมาธิ จะช่วยให้สภาวะรู้ถูกต้องง่ายขึ้น จิตที่มีสัมมาสมาธิคือจิตมีลักษณะตั้งมั่นทรงตัวไม่หวั่นไหวเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความสงบระงับคือไม่ฟูหรือแฟบไปตามอารมณ์ มีความเบาสบายแต่ไม่ใช่เบาหวิวเหมือนจะลอยไปในอากาศ มีความอ่อนโยนนุ่มนวลไม่แข็งกระด้างแกร่งเกร็ง มีความพร้อมและความว่องไวที่จะรับรู้อารมณ์ไม่ถูกกดข่มให้นิ่งเฉยซึมทื่อหรือเคลิบเคลิ้มติดสุขเหมือนคนติดยาเสพติด และมีความซื่อตรงต่อหน้าที่การรู้อารมณ์ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์เหมือนผู้พิพากษาที่ทำงานโดยไม่ลำเอียงเข้าข้างโจทก์หรือจำเลย จิตที่มีสัมมาสมาธิสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเข้าใจธรรมชาติที่ว่า จิตปกติธรรมดาที่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ หรือนัยหนึ่งจิตที่มีศีลนั่นแหละคือจิตที่มีสัมมาสมาธิอยู่ในตัวเอง อย่างไรก็ตามหากจิตของผู้ใดยังไม่มีสัมมาสมาธิจริงๆ ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ โดยในเบื้องต้นให้ตั้งใจรักษาศีลภายนอกเสียก่อน คือรักษาศีล 5 และศีล 8 เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกฝนจิตให้มีศีลภายในด้วยการฝึกสมาธิ อันได้แก่การมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อารมณ์นั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ยั่วกิเลส เช่นการกำหนดลมหายใจ การกำหนดจังหวะเดินจงกรม การกำหนดจังหวะเคลื่อนไหวมือ การกำหนดความเคลื่อนไหวของท้อง และการกำหนดคำบริกรรม เป็นต้น ให้จงใจกำหนดรู้อารมณ์นั้นอย่างสบายๆ อย่าเคร่งเครียดหรือตั้งใจมากนัก ถึงตรงนี้จิตมีทางแยกที่จะดำเนินไปได้ 2 ทางคือ 6.4.2.1 หากโมหะหรือโลภะเข้าแทรก จิตจะเกิดความอ่อนแอน้อมเข้าหาความสงบสบาย เกิดความเคลิบเคลิ้มบ้าง เกิดนิมิตต่างๆ บ้าง นี้เป็นทางของมิจฉาสมาธิ 6.4.2.2 หากในขณะที่กำหนดรู้อารมณ์อยู่นั้น ผู้ปฏิบัติมีสติตื่นตัวอยู่เสมอๆ ถ้าจิตขาดสติทิ้งอารมณ์กรรมฐานเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็รู้ทัน หากจิตเกิดการเพ่งอารมณ์ก็รู้ทัน หากจิตสักว่ารู้อารมณ์ก็รู้ทัน ทั้งนี้ ธรรมชาติจิตของบุคคลทั่วไปมักฟุ้งซ่านหลงไปตามอารมณ์นั้นบ้าง อารมณ์นี้บ้าง โดยไม่รู้เท่าทัน จึงต้องหัดรู้อารมณ์อันเดียวก่อน พอจิตเคลื่อนจากอารมณ์นั้นก็ให้คอยรู้ทัน ด้วยวิธีนี้เอง ในเวลาไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มรู้ทันจิตใจที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ พอรู้ทัน จิตก็หยุดการส่งส่ายแล้วตั้งมั่นอยู่โดยไม่ได้บังคับ ถัดจากนั้นเมื่อมีอารมณ์ใดปรากฏ จิตก็จะรู้ทันโดยสักว่ารู้ คือไม่เข้าไปแทรกแซงหรือหลงและไหลตามอารมณ์นั้นไป หากจะกล่าวว่าอาการกำหนดรู้(ด้วยตัณหาและทิฏฐิ)เป็นเครื่องมือของการทำสมถะ ส่วนอาการระลึกรู้หรือรู้ทัน(อย่างสักว่ารู้)เป็นเครื่องมือของการทำวิปัสสนา ก็กล่าวได้ 6.5 หากจะจำแนกสภาวะรู้ออกให้แจ่มชัดก็สามารถกล่าวได้ว่า รู้ คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง กล่าวคือ 6.5.1 จิตรู้เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ใดๆ ครอบงำ นั่นคือจิตที่มีสัมมาสมาธิ 6.5.2 จิตรู้เป็นจิตที่ว่องไวควรแก่การงาน คือเมื่ออารมณ์กระทบทางทวารใด สัมมาสติจะระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงทันที 6.5.3 จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิจะเป็นจิตที่รู้ตัว ซึ่งความรู้ตัวนั้นเป็นตัวสัมมาทิฏฐิหรือสัมปชัญญะ(ชนิดที่เรียกว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ) แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะเลื่อนไหลตามอารมณ์ ถูกอารมณ์ครอบงำและไม่รู้ตัว เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่สามารถรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงได้แจ่มชัด ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนาม และไม่เห็นอริยสัจจ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา 6.5.4 จิตที่มีสติ สมาธิ ปัญญาอบรมอยู่ ย่อมมีความคิดที่ถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะ และส่งผลให้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะบริบูรณ์ด้วย 6.5.5 การพากเพียรเจริญสติอยู่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มครองอินทรีย์อันเป็นการปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นการทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น นี้คือสัมมาวายามะ 6.6 ในเมื่อการรู้คือการเจริญอริยมรรค ดังนั้นเราควรทราบว่า กิจต่อการรู้หรือการเจริญอริยมรรคได้แก่การทำให้เจริญ หรือทำให้เกิดบ่อยๆ คือให้มีสติบ่อยที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้มีสติยาวนานที่สุดเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เพราะสติเองเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดดับไปทีละขณะพร้อมกับจิต ดังนั้นเราจะทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยงอยู่นานๆ ไม่ได้ แต่ทำให้เกิดบ่อยๆ ได้ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิดบ่อยก็คือการสามารถจดจำสภาวะของธรรมะต่างๆ ได้มากและแม่นยำ (ต้องจำตัวสภาวะได้ ไม่ใช่จำชื่อและลักษณะตามตำราได้เท่านั้น) เมื่อสภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น สติจึงสามารถระลึกรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว จนรู้ได้บ่อยแบบถี่ยิบ แล้วอกุศลก็จะมีโอกาสเกิดน้อยลงตามลำดับ จนหมดโอกาสเกิดในที่สุด 6.7 ในข้อ 6.2 ได้กล่าวถึงสภาวะที่ไม่ใช่รู้ไปแล้ว ในข้อนี้จะได้กล่าวถึง องค์ธรรมของจิตที่เป็นจิตรู้ อันเป็นเครื่องช่วยตรวจสอบได้อีกชั้นหนึ่งว่า การรู้ในขณะนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ องค์ธรรมดังกล่าว เช่น 6.7.1 จิตรู้ได้แก่จิตที่เป็น มหากุศลจิต ชนิดที่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุตต์) และเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนหรือหาทางทำให้เกิดขึ้น (อสังขาริก) ดังนั้น 6.7.1.1 ขณะใดจิตมีอกุศล ขณะนั้นยังไม่มีจิตรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ 6.7.1.2 ขณะใดจิตมุ่งใช้กำลังมากกว่าปัญญา เช่นออกแรงดิ้นรนหาทางละทุกข์หรืออกุศล หรืออยากรักษาสุขหรือกุศล ขณะนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.1.3 ขณะใดมีความพยายามอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะทำให้จิตรู้เกิดขึ้น ขณะนั้นพลาดจากรู้เสียแล้ว เพราะจิตรู้นั้น ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ ยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ 6.7.2 จิตรู้เป็นเพียงจิตที่มนสิการคือกระทำอารมณ์ไว้ในใจ หรือทำใจให้รู้อารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่เผลอ คิด ตั้งท่า กำหนด เพ่ง ฯลฯ (ดูข้อ 6.2) สภาวะของมนสิการนั้นเป็นการรู้ที่ ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ และเงียบกริบ ไม่มีความจงใจหรือเจตนาจะรู้ด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 6.7.3 จิตรู้ต้องประกอบด้วยโสภณสาธารณเจตสิก หรือสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม องค์ธรรมที่นำมาสังเกตจิตได้ง่ายได้แก่ 6.7.3.1 อโลภะ คือจิตในขณะนั้นไม่มีความอยาก ความโลภ หรือความกระหาย แม้แต่ในการแสวงหาธรรม ถ้าขณะใดจิตเกิดความอยากปฏิบัติ จงใจปฏิบัติ หรือพอใจในความสุขและกุศล ขณะนั้นมีโลภะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.2 อโทสะ คือจิตในขณะนั้นไม่ความขุ่นข้องขัดใจในอารมณ์ใดๆ ถ้าขณะใดจิตเกลียดทุกข์หรืออกุศล พยายามละทุกข์หรืออกุศล ขณะนั้นมีโทสะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.3 ความเป็นกลางในอารมณ์ (ตัตรมัชฌัตตตา) คือจิตปราศจากความยินดียินร้าย ไม่มีอคติต่ออารมณ์คือไม่พยายามรักษาอารมณ์บางอย่าง หรือพยายามละอารมณ์บางอย่าง ถ้าขณะใดจิตหลงยินดียินร้าย หรือกวัดแกว่งไปตามความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ ขณะนั้นจิตไม่เป็นกลาง จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความสงบระงับ (ปัสสัทธิ) คือเมื่อจิตรู้อารมณ์ใดก็รู้ด้วยความสงบระงับ ไม่แส่ส่ายดิ้นรนไปตามอารมณ์นั้นๆ แม้ตัวอารมณ์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เมื่อถูกรู้แล้วก็สงบระงับเพราะไม่ถูกเติมเชื้อให้ฟุ้งซ่านหรือดิ้นรนมากขึ้น หากจิตรู้อารมณ์แล้วเกิดความแส่ส่ายต่างๆ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความเบา (ลหุตา) คือจิตรู้จะเบาสบาย ไม่มีน้ำหนักใดๆ เกิดขึ้นเพราะการรู้อารมณ์แม้แต่น้อย ขณะใดปฏิบัติแล้วเกิดความหนักหรือมีน้ำหนักขึ้นในใจแม้แต่เพียงนิดเดียว (ทั้งนี้รวมถึงน้ำหนักที่ติดลบคือความรู้สึกเบาหวิวผิดธรรมชาติทั้งหลายด้วย) แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.5 ความอ่อนโยนนุ่มนวล (มุทุตา) คือจิตรู้จะเป็นจิตที่อ่อนโยนนุ่มนวล ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.6 ความควรแก่การงาน (กัมมัญญตา) คือจิตรู้เป็นจิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา ไม่ถูกเจือปนครอบงำด้วยนิวรณ์ใดๆ (แต่ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นก็สามารถรู้ชัดและเอานิวรณ์นั่นแหละมาเป็นทุกขสัจจ์ที่ถูกรู้ คือมีนิวรณ์ รู้นิวรณ์ แต่นิวรณ์ไม่ครอบงำจิต แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่หากจิตถูกครอบงำด้วยนิวรณ์ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.7 ความคล่องแคล่ว (ปาคุญญตา) คือจิตรู้จะมีสติปราดเปรียวคล่องแคล่ว ขณะใดรู้สึกเฉื่อยเนือย ซึมเซา เกียจคร้าน แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.8 ความซื่อตรง (อุชุกตา) คือจิตจะทำหน้าที่รู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่ทำหน้าที่เกินกว่าการรู้อารมณ์ หากจิตไม่ทำหน้าที่รู้ไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ แต่พยายามเสพย์หรือแทรกแซงอารมณ์ด้วยอำนาจของกิเลส จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.4 จิตรู้เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา / ปัญญินทรีย์ / สัมปชัญญะ / อโมหะ คือสามารถเจริญวิปัสสนาอยู่โดยรู้ชัดว่า จะทำอะไร(จะเจริญสติ) เพื่ออะไร(เพื่อความเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง) จะทำอย่างไร(จะเฝ้ารู้ปัจจุบันอารมณ์ตามความเป็นจริง) และจะเจริญสติอยู่ด้วยความรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอตามอารมณ์ใดๆ ไปด้วยอำนาจของโมหะ 7. สภาวธรรมคืออะไร 7.1 การเจริญสติที่ถูกต้องจะต้องระลึกรู้ถึงอารมณ์ปรมัตถ์ หรือเอาปรมัตถธรรมมาเป็นอารมณ์เครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติ ปรมัตถธรรมนี้บางท่านเรียกว่าสภาวธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ 4 ประการคือ รูป(ธรรมชาติที่แตกสลายได้เมื่อถูกกระทบด้วยความร้อนความเย็นเป็นต้น) จิต(ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิก(ธรรมชาติอันเป็นส่วนประกอบจิต) และนิพพาน(ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง พ้นทุกข์ พ้นกิเลสสิ้นเชิง) จะเจริญสติโดยไประลึกรู้สิ่งที่เป็นความคิดความฝัน(สมมุติบัญญัติ)ไม่ได้ เพราะความคิดความฝันทั้งหลายเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่ได้มีอยู่จริง 7.2 เราสามารถระลึกรู้ธรรมชาติทั้ง 4 ประการได้ด้วยทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือตัวรูปธรรมนั้นรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ส่วนนามธรรมรู้ได้ด้วยใจ 7.3 การรู้รูปทำได้ทุกๆ ทวารดังนี้คือ 7.3.1 รูปที่เรารู้ได้ด้วยตานั้นมีมากมายนับไม่ถ้วนว่ากี่แสนกี่ล้านรูป เช่นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก คนแก่ เสือ ลิง ปลา นก ทะเล แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ อัญมณี ฯลฯ แต่ในจำนวนรูปที่นับจำนวนไม่ถ้วนนั้น เอาเข้าจริงสิ่งที่ตามองเห็นก็คือสีเท่านั้นเอง แล้วอาศัยสัญญาคือความจำได้หมายรู้เข้ามาปรุงแต่งจิต จึงเกิดการจำแนกว่า กลุ่มสีอย่างนี้เรียกว่าผู้หญิง ผู้ชาย … อัญมณี สีจึงเป็นรูปตัวจริงที่เรารู้ได้ด้วยตา 7.3.2 รูปที่เรารู้ได้ด้วยหูก็คือเสียง รูปที่รู้ได้ด้วยจมูกคือกลิ่น รูปที่รู้ได้ด้วยลิ้นคือรส รูปที่รู้ได้ด้วยกายมี 3 ชนิดคือ ธาตุไฟหรือความเย็น-ร้อน ธาตุดินหรือความอ่อน-แข็ง และธาตุลมหรือความตึง-ไหว 7.3.3 รูปที่รู้ได้ด้วยใจมีจำนวนมากกว่ารูปที่รู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกาย ได้แก่ปสาทรูป 5 หรือประสาทสำหรับรับสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย กับรูปละเอียดหรือสุขุมรูป 16 เช่นรูปคือสารอาหาร รูปที่กำหนดเพศ รูปคือการเคลื่อนไหวกายและวาจาเพื่อสื่อความหมาย เป็นต้น 7.4 สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจนอกจาก รูปจำนวนมาก (21 รูป) ตามข้อ 7.3.3 แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างคือ (1) เจตสิก 52 ชนิด เช่น สุข ทุกข์ อุเบกขา ความจำได้หมายรู้ โลภะ โทสะ โมหะ ปีติ ศรัทธา วิริยะ ปัญญา ฯลฯ (2) จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ 89 หรือ 121 ดวง (3) นิพพาน และ (4) บัญญัติธรรม หรือสิ่งที่เป็นความคิดความฝันซึ่งไม่มีตัวจริง (อ้างอิงอภิธัมมัตถวิภาวินี) ใจจึงเป็นอายตนะที่รู้อารมณ์ได้กว้างขวางหลากหลายที่สุด 7.5 ถ้าจะกล่าวอย่างง่ายๆ การเจริญสติจะต้องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ซึ่งเป็นตัวแท้หรือตัวจริงของธรรมชาติ ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่คิดนึกเอาเอง(บัญญัติธรรม) เช่นเมื่อเราเข้าใกล้กองไฟ ความร้อนที่รู้ได้ทางกายนั่นแหละคืออารมณ์ปรมัตถ์ ส่วนคำพูดว่าร้อนๆ เป็นสมมุติบัญญัติ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้ถึงความร้อนที่มากระทบกาย ไม่ใช่ไปใช้ความคิดว่าไฟเป็นของร้อน เหมือนไฟกิเลสหรือไฟนรก เป็นต้น นอกจากนี้ จำเป็นต้องทราบด้วยว่าอารมณ์ชนิดใดรู้ได้ทางทวารใด เช่นถ้าจะกำหนดอิริยาบถคือรู้รูปยืน เดิน นั่ง นอน จะต้องรู้ด้วยใจ ไม่ใช่รู้ด้วยตาหรือด้วยกาย เป็นต้น 7.6 ในทางปฏิบัติจริงมีประเด็นเกี่ยวกับสภาวธรรมที่ควรทราบอีกบางอย่างคือ 7.6.1 จิตย่อมรู้อารมณ์ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และบัญญัติ จะเจาะจงเลือกรู้อย่างหนึ่งอย่างใดตามความอยากไม่ได้ ดังนั้นขณะใดจิตระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ก็รู้ทัน ขณะใดจิตรู้อารมณ์บัญญัติก็รู้ทัน เพราะแม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ย่อมรู้อารมณ์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ใช่รู้เฉพาะอารมณ์ปรมัตถ์อย่างเดียว 7.6.2 ในการเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มต้นด้วยการมีสติระลึกรู้รูปหรือนามอย่างใดก่อนก็ได้แล้วแต่ความถนัด คือจะเลือกเจริญสติปัฏฐานหมวดใดก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องรู้รูปนามหรือเจริญสติปัฏฐานให้ครบทุกชนิด แค่รู้เพียงรูปหรือนามอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นรู้ธาตุดิน (สิ่งที่แข็ง-อ่อน) จนเห็นธาตุดินทั้งในกายและนอกกายเป็นอนัตตา หรือรู้กุศลและอกุศลที่กำลังปรากฏ เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หากพยายามทำสติปัฏฐานทุกหมวด/ทุกบรรพ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังจะเกิดความฟุ้งซ่านเพราะความจับจดในการปฏิบัติได้ด้วย 7.6.3 แม้ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติอาจต้องจงใจระลึกรู้สภาวธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่ของจิต(วิหารธรรม)ไปก่อนก็จริง แต่ในขั้นที่สติพัฒนามากขึ้นจนเป็นมหาสติคือสติอัตโนมัติแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเลือกรู้อารมณ์ไม่ได้ หากมีอารมณ์ปรากฏทางทวารใดสติก็รู้ชัดทางทวารนั้น โดยจิตจะระลึกรู้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือธัมมารมณ์ หรือรู้ กาย เวทนา จิต หรือธรรม ไปตามธรรมชาติทีละขณะ มิหนำซ้ำผู้ปฏิบัติยังจะได้พบความจริงด้วยว่า จะบังคับให้จิตรู้เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไม่ได้ เพราะจิตเองก็เป็นอนัตตาคือเป็นของที่บังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร 8.1 การมีสติระลึกรู้สภาวธรรมทั้งหลายนั้น มีหลักสำคัญว่า ต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือคิดล้ำไปถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ทั้งนี้พระพุทธศาสนาเน้นการทำประโยชน์ในปัจจุบันเป็นสำคัญ ดังที่พระศาสดาทรงแสดงไว้ในภัทเทกรัตตสูตร (พระไตรปิฎก 14/527) ความว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ 8.2 ตัวอย่างเช่น ถ้าในขณะนี้มีความโกรธ ก็รู้ถึงสภาวะของความโกรธที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่โกรธเพื่อนเมื่อวานนี้แล้วมาวันนี้เพิ่งนึกได้ว่าโกรธ จากนั้นก็นั่งเสียใจว่าไม่น่าโกรธเพื่อนเลย อาการเช่นนี้ล้วนแต่ไม่เป็นปัจจุบัน คือขณะที่โกรธเมื่อวานนี้ก็ไม่รู้ ขณะนี้กำลังเสียใจที่โกรธเพื่อนก็ไม่รู้อีกเพราะมัวคิดถึงเรื่องเมื่อวาน หรือพอนึกได้ว่าโกรธเพื่อนไปเมื่อวาน ก็คิดว่าจะต้องไปง้อเพื่อนสักหน่อย จากนั้นก็กังวลว่าเราไปง้อแล้วเขาจะคืนดีไหมหนอ นี่ก็เป็นความกังวลในปัจจุบันที่เราไม่รู้ทัน เพราะมัวคิดถึงอนาคตเสีย 8.3 ธรรมชาติของจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น และหน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือการระลึกรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏในปัจจุบันจริงๆ อย่าพยายามหน่วงอารมณ์ที่เป็นอดีตไว้ดูนานๆ เพราะกลัวไม่เห็นไตรลักษณ์ ตัวอย่างเช่นเมื่อตาเห็นสีกลุ่มหนึ่งก็ให้รู้สีนั้นตามที่มันเป็นจริง เพราะสีนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ที่เรียกว่ารูปารมณ์ ต่อมาสัญญาเกิดจำรูปได้ว่านั่นเป็นรูปคนรักของเรา จิตเกิดความชอบใจอันเป็นราคะขึ้น ความชอบใจนั้นเป็นอารมณ์ใหม่ที่รู้ด้วยใจ(ธัมมารมณ์) หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือรู้เข้าไปที่สภาวะของความชอบใจที่กำลังปรากฏนั้น ไม่ใช่ย้อนกลับไปคิดพิจารณารูปคนรัก ว่าเป็นปฏิกูลอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อละราคะ เพราะรูปคนรักกลายเป็นอดีตไปแล้ว ส่วนราคะเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่กำลังแสดงความตั้งอยู่และดับไปให้เรารู้ได้ เป็นต้น 8.4 เมื่อกล่าวว่าให้เรารู้อารมณ์ปัจจุบัน บางคนอาจเกิดความสับสนว่า ถ้าเช่นนั้นชาวพุทธคงไม่สามารถวางแผนงานในอนาคตได้ การคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ในยามใดเรามีหน้าที่ต้องวางแผนงานก็ต้องวางแผนงาน แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงพิจารณาล่วงหน้าทุกเช้าว่า วันนี้ท่านควรแสดงธรรมโปรดใคร ด้วยเรื่องอะไร โปรดแล้วจะเกิดผลอย่างไร นับว่าท่านเป็นนักวางแผนชั้นเลิศ คือ (1) ทรงกำหนดบุคคลเป้าหมาย (2) กำหนดวิธีการ (3) กำหนดเนื้อหาธรรมที่จะสื่อสารกับผู้นั้น และ (4) พิจารณาถึงผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นจะได้รับด้วย ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักเลือกใช้ธรรมให้ถูกกาละเทศะ ยามใดมีหน้าที่วางแผนก็ต้องวางแผน มีหน้าที่เรียนก็ต้องเรียน มีหน้าที่ทำงานก็ต้องทำงาน จุดใดควรเจริญสติก็เจริญสติ จุดใดต้องใช้สมาธิในการทำงานก็ใช้สมาธิ จุดใดควรใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองก็ต้องใช้ความคิด ไม่ใช่เจริญสติรวดเดียวโดยไม่รู้จักทำความสงบใจหรือใช้ความคิดพิจารณาตามหน้าที่ของตน 8.5 มีข้อควรสังเกตประการหนึ่งก็คือ คำว่าปัจจุบันนั้นไม่ได้หมายถึงวันนี้ ชั่วโมงนี้ นาทีนี้ หรือแม้กระทั่งวินาทีนี้ แต่หมายถึง การระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาเราในขณะจิตนี้ ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นที่สุดจนทำอะไรมากเกินกว่ารู้ไม่ได้ 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร 9.1 เรื่องในข้อ 6 มุ่งทำความเข้าใจว่า จิตที่รู้ได้ถูกต้องนั้นมีสภาพอย่างไร ข้อ 7 เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ข้อ 8 เป็นการชี้ว่าการรู้ต้องรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน ส่วนหัวข้อนี้ เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันได้แล้ว ต้องระลึกรู้สภาวธรรมนั้น ตามความเป็นจริงเท่านั้น คือรู้สภาวะตรงตามที่มันกำลังเป็นอยู่ และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 9.2 นักปฏิบัติจำนวนมากพอพบเห็นสภาวธรรมใดๆ เข้า ก็มักไม่ระลึกรู้สภาวธรรมนั้นตามความเป็นจริง เนื่องจากถูกครอบงำด้วย ตัณหาและทิฏฐิ ทำให้การรับรู้ไม่บริสุทธิ์ ตัวอย่างเช่น 9.2.1 เมื่อรู้อกุศลธรรมก็พยายามละ เช่นเมื่อพบว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็พยายามบริกรรมพุทโธบ้าง บริกรรมฟุ้งซ่านหนอบ้าง เพื่อให้หายฟุ้งซ่าน เมื่อพบว่าจิตมีกามราคะก็พยายามพิจารณาอสุภะ เมื่อพบว่าจิตมีโทสะก็พยายามแผ่เมตตา หรือเมื่อพบว่าจิตเป็นทุกข์ก็พยายามละทุกข์นั้นด้วยวิธีการต่างๆ ฯลฯ การกระทำเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 9.2.1.1 เพราะเกิดความเห็นผิดเนื่องจากเคยได้ยินคำสอนว่า ให้ละความชั่วบาปทั้งปวง พอพบเห็นอกุศลธรรมจึงพยายามละ หารู้ไม่ว่าการเจริญสตินั้นเลยขั้นการละบาปและการเจริญกุศลให้ถึงพร้อมมาแล้ว แต่เป็นขั้นการทำจิตให้ผ่องแผ้วเหนือดีเหนือชั่ว หรือบางท่านตีความคำสอนของพระศาสดาคลาดเคลื่อน เช่นอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นีวรณบรรพ แล้วเข้าใจว่าพระศาสดาทรงสอนให้รู้และละนิวรณ์ด้วย จึงเข้าใจผิดว่าการเจริญสติที่แท้จริงมีทั้งการรู้และการละสภาวธรรม จะรู้อย่างเดียวไม่ได้ 9.2.1.2 เพราะไม่ทราบว่า กิจต่อทุกขสัจจ์ได้แก่การรู้ ไม่ใช่การละ เมื่อพบทุกข์จึงพยายามละทุกข์ อันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับจิตใจที่รักสุขเกลียดทุกข์ 9.2.1.3 เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญวิปัสสนาที่ให้รู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง จนรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และบังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงแล้วจิตจึงปล่อยวาง แล้วพ้นทุกข์ได้ด้วยการปล่อยวาง 9.2.1.4 เพราะคุ้นเคยกับการทำสมถะ หรือคิดว่าการปฏิบัติธรรมคือการทำความสงบเท่านั้น สมถะให้ความสุขได้ประณีตยิ่งกว่ากามสุข ผู้ทำสมถะมีความสงบในจิตใจบ้าง เกิดความรู้ความเห็นต่างๆ เป็นเรื่องสนุกและน่าภูมิใจบ้าง จึงเป็นที่นิยมยกย่องกันมากในหมู่นักปฏิบัติ ดังนั้นพอพบธรรมอันใดเป็นข้าศึกต่อความสงบ จึงพยายามละธรรมอันนั้น 9.2.2 เมื่อรู้กุศลธรรมก็พยายามรักษาหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยหวังว่าเมื่อพัฒนาให้ดีได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จิตจะหลุดพ้นในสักวันหนึ่งข้างหน้า เพราะพระอรหันต์คือ "คนที่จิตใจดีเลิศนิรันดร" ทัศนะเช่นนี้ผิดพลาดมาก เพราะจิตก็ดี กุศลเจตสิกก็ดี เป็นสังขารทั้งสิ้น ย่อมมีความแปรปรวนและบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้วต่างหาก จิตจึงปล่อยวางความยึดมั่นจิต แล้วหลุดพ้นเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ใช่หลุดพ้นเพราะทำจิต ซึ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยง ให้เที่ยงได้ 9.2.3 เกิดความไม่มั่นใจว่า การเฝ้ารู้เพียงเท่านี้จะได้ผลเพียงพอแก่การรู้ธรรม จึงต้องพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของการรับรู้นั้น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 9.2.3.1 การช่วยคิดพิจารณาสภาวธรรมที่กำลังถูกรู้นั้น เช่นเมื่อรู้โทสะก็พยายามคิดว่าโทสะไม่ดี นำความทุกข์มาให้ โทสะมีโทษมากอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น 9.2.3.2 การเพ่งจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่อสภาวธรรมนั้น เพื่อจะรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อเพ่งให้ดับ หรือบางทีถึงกับตามจ้องจนลืมตัวถลำเข้าไปในจิตส่วนลึกซึ่งในขณะนั้นยังรู้อารมณ์อันนั้นได้อยู่ แต่เป็นการรู้แบบคนที่ชะโงกดูสิ่งของในน้ำจนตนเองตกน้ำแล้วยังไม่รู้ตัวว่าตกน้ำ ก็มี 9.2.3.3 การลดปมด้อยซึ่งเกิดจากการคิดเอาเองว่า เรายังขาดคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นขาด ทาน สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เนกขัมมะ ศรัทธา วิริยะ สติ หิริ โอตตัปปะ ศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ จะต้องเพิ่มคุณธรรมเหล่านั้นให้เพียงพอและสมดุลกับคุณความดีอื่นๆ เสียก่อนจึงจะเจริญสติได้ แท้จริงถ้ามีความรู้ความเข้าใจ(มีสัมมาทิฏฐิ)จนรู้จักเจริญสติได้แล้ว คุณธรรมฝ่ายดีทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากมุ่งเพิ่มบารมีต่างๆ โดยละเลยการเจริญสติ ก็เหมือนคนที่เตรียมเสบียงเพื่อเดินทางไกล แต่ไม่ยอมก้าวเท้าออกจากบ้านสักที อีกกี่ปีก็ไปไม่ถึงจุดหมายที่หวังไว้ 9.3 เหตุผลที่ต้องรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็เพราะว่า เราจำเป็นต้องรู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ต้องการดัดแปลงหรือควบคุมสภาวธรรมเหล่านั้น ทั้งนี้ตามหัวข้อที่ 3 และ 4 ของบทความนี้ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า ความไม่รู้จักสภาวธรรมตามความเป็นจริงทำให้เกิดตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ หากทำลายความไม่รู้เสียได้ ตัณหาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก 9.4 การพยายามเข้าไปแทรกแซงการรู้สภาวธรรมจะก่อให้เกิดความหลงผิดหนักยิ่งขึ้น เช่นเมื่อกิเลสคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้น ด้วยการบริกรรมว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" ไม่นานความฟุ้งซ่านก็จะดับไปได้ (เพราะการบริกรรมไปยับยั้งความคิดอันเป็นต้นตอของความฟุ้งซ่าน) ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความสำคัญผิดว่า กิเลสเป็นสิ่งที่บังคับควบคุมได้(เป็นอัตตา) หรือจิตนี้เป็นตัวตนของเราที่สั่งได้ตามใจชอบ(เป็นอัตตา) ยิ่งปฏิบัติยิ่งชำนาญในการเพ่งจ้องหรือบริกรรมแก้กิเลส ความหลงผิดก็ยิ่งพอกพูนก่อให้เกิดมานะอัตตามากกว่าเก่าเสียอีก รวมทั้งไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงว่า ธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับธรรมนั้นก็ดับ กลายเป็นว่าเราดับธรรมนั้นได้ตามใจชอบเพราะเราฝึก"วิปัสสนา"จนเก่งแล้ว 9.5 โดยธรรมชาติของปุถุชนแล้ว อกุศลจิตเกิดอยู่แทบตลอดเวลา ส่วนกุศลจิตเกิดขึ้นน้อยมาก เช่นเรามักนั่งใจลอยทีละนานๆ อาจจะเป็นชั่วโมงๆ (ด้วยอำนาจของโมหะ) จึงเกิดระลึกรู้ทันว่ากำลังใจลอยอยู่ ขณะใจลอยนั้นจิตเป็นอกุศล แต่ขณะที่มีสติรู้ทันและความใจลอยดับไปโดยอัตโนมัตินั้น จิตเป็นกุศลเรียบร้อยแล้ว (ทันทีที่เกิดสติ/รู้ อกุศลจะดับไปเอง เมื่อมีสติ/รู้ จึงไม่มีอกุศลจะให้ละ แต่สิ่งที่ถูกละไปได้แก่อนุสัยหรือกิเลสที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตใจ ด้วยเหตุนี้แหละ หน้าที่ของเราจึงมีเพียงการรู้ ไม่ต้องละกิเลสเพราะในขณะที่มีสติบริบูรณ์นั้น ไม่มีกิเลสจะให้ละ แม้แต่ความทุกข์ก็ไม่ต้องไปคิดละมัน หากมันมีเหตุมันก็เกิด หากหมดเหตุมันก็ดับ หน้าที่ของเราคือรู้ทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว) จุดอ่อนของผู้เจริญสติก็คือจับหลักการเจริญสติได้ไม่แม่นยำ จิตจึงพลิกไปเป็นอกุศลอีกได้ในพริบตาเดียว คือพอเกิดความรู้ตัวเพียงวับเดียว แล้วก็อาจหลงคร่ำครวญถึงอดีตว่า "ตายละ เราหลงมาตั้งชั่วโมงหนึ่งแล้ว อย่างนี้จะเอาดีในทางธรรมได้อย่างไร" หรือเกิดห่วงกังวลถึงอนาคตว่า "ทำอย่างไรเราจะไม่หลงไปเหมือนที่เคยหลงมาแล้ว" การพยายามทำอะไรมากกว่ารู้ไปตามธรรมดาทีละขณะๆ นี้แหละ เป็นความผิดพลาดอย่างสำคัญทีเดียว 9.6 การรู้นั้น หากบริสุทธิ์บริบูรณ์ถึงขีดสุดจะมีสภาพที่เรียกว่า "สักว่ารู้" เป็นสภาวะรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง โดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงในการรับรู้นั้นแม้แต่น้อย เช่น (1) ไม่เติมความจงใจที่จะคิดคำนึงถึงสภาวธรรม(อารมณ์)นั้นๆ ว่า "นี้คือรูป นี้คือนาม ชื่อนี้ๆ ทำกิจอย่างนี้ มีผลอย่างนี้ มีเหตุใกล้อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่งาม และที่กำลังรู้อยู่นี้ก็เป็นสักว่ารู้" และ (2) ไม่เติมความจงใจที่จะหมายรู้จิตแม้แต่น้อย เจตน์จำนงหรือความจงใจที่จะหมายรู้(อารมณ์)ของใจ ซึ่งครอบคลุมทั้งการหมายรู้อารมณ์และการหมายรู้จิตนี้เอง เป็นอาหารหรือเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำกรรมหรือก่อพฤติกรรมทางใจ (และพฤติกรรมทางกายในขั้นต่อมา) ที่เรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" หรือ "การทำกรรมฐาน" ขึ้น สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดความจงใจก็คือความไม่รู้(อวิชชา)ว่าการกระทำเช่นนั้นจะก่อภพก่อชาติและก่อทุกข์ขึ้นมา และเพราะยางใยแห่งความยึดจิต จึงอยากให้จิตหลุดพ้น จึงต้องเที่ยวแสวงหาธรรม ความปรุงแต่งเหล่านี้ได้ปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ที่ปราศจากตัวตน(นิพพาน)ไว้ ทั้งที่นิพพานนั้นไม่เกิดไม่ตายมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ความปรุงแต่งได้ปิดกั้นญาณทัสสนะของเราไว้ไม่ให้ประจักษ์ถึงนิพพานอันเป็นอมตธาตุได้ อาการ สักว่ารู้ นั้นเกิดเพราะจิตมีปัญญารู้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความทะยานอยาก การแสวงหา การปรุงแต่งใดๆ แม้กระทั่งความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์เพื่อทำกรรมฐาน ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จิตจึงหยุดความคิดนึกปรุงแต่ง (แต่ความคิดอาจจะหยุดหรือไม่ก็ได้ จิตจะไม่สนใจบังคับให้หมดความคิด) หยุดการแสวงหา และหมดพฤติกรรมอาการของจิตอย่างสิ้นเชิง จิตเข้าถึงสภาพรู้ที่เป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายอย่างแท้จริง นี้คือจุดที่มหากุศลเต็มบริบูรณ์แล้ว 9.7 เมื่อปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์แต่รู้อารมณ์(ปรมัตถ์) และปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้จิตแต่รู้จิต การปรุงแต่งภพชาติหรือความเป็นตัวตนของจิตก็มีขึ้นไม่ได้ ผู้ปฏิบัติที่อินทรีย์แก่รอบแล้วก็จะพบเห็นว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งมีอยู่ เป็นความว่างจากตัวตนและความปรุงแต่งอย่างแท้จริง ที่สุดแห่งทุกข์คือนิโรธหรือนิพพานปรากฏเฉพาะหน้าอยู่ตรงนี้เอง อนึ่งจิตที่บริสุทธิ์กับนิพพานเป็นธรรมคนละอย่างกัน คือจิตที่บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติรู้ที่ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้ง แต่ก็ยังเป็นของที่ตกอยู่ในกลุ่มธรรมที่ต้องเกิดดับ ส่วนนิพพานซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้งเช่นกัน แต่นิพพานเป็นอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้าโดยไม่มีผู้ครอบครองเป็นเจ้าของนิพพาน และพ้นจากความเกิดดับ สภาวะ สักว่ารู้ ส่งผลให้ไม่มีตัวตนและถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง สมดังคำสอนของพระบรมศาสดาที่ประทานแก่ท่านพระพาหิยะว่า ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ (พาหิยสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 25/49) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร 10.1 ผู้ปฏิบัติจำนวนมากเมื่อได้ยินคำสอนว่า "ให้มีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง" แล้วอาจเกิดความสงสัยว่า การปฏิบัติเพียงเท่านี้จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อการปฏิบัติที่ยากลำบากกว่านี้ ยังไม่ช่วยให้รู้ธรรมได้ แท้จริงการเจริญสติเป็นสิ่งวิเศษอัศจรรย์ที่สุด วิเศษถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า นี้เป็นทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ได้ และได้ผลเร็วด้วย บางคนภายใน 7 วัน บางคนภายใน 7 เดือน และบางคนภายใน 7 ปี ก็มี 10.2 พวกเราไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่าการเจริญสติมีประโยชน์อย่างใดบ้าง เพราะพระศาสดาทรงประทานคำชี้แนะไว้แล้วดังต่อไปนี้คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ (1) สติสัมปชัญญะมีอยู่ (2) หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ (3) อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ (4) ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร เมื่อศีลมีอยู่ (5) สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ (6) ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะ มีอยู่ (7) นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ (8) วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ (สติสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23/187) 10.3 จากพระพุทธวัจนะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บรรดาคุณความดีชั้นเลิศทั้งหลายจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะความมีสติสัมปชัญญะเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ 10.3.1 หิริและโอตตัปปะ (ได้แก่ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป) เมื่อใดมีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้เท่าทันการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย และรู้ถึงพิษภัยของกิเลสได้ด้วยว่ากิเลสนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่จิตใจอย่างไร จิตใจย่อมละอายและเกรงกลัวต่อบาป โอกาสที่จะทำอกุศลกรรมหนักๆ จึงไม่มี อนึ่งหิริและโอตตัปปะนี้เป็นเทวธรรม คือเป็นธรรมที่ทำคนให้เป็นเทวดาได้ 10.3.2 อินทรียสังวร (ได้แก่ความสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่เมื่อกระทบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธัมมารมณ์แล้ว หากไม่สำรวมระวัง บาปอกุศลก็จะครอบงำจิตได้) ผู้ใดมีสติสัมปชัญญะ มีความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปแล้ว ย่อมเกิดความสำรวมระวังอินทรีย์โดยอัตโนมัติทีเดียว อนึ่งการมีสติระลึกรู้สภาวธรรมเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กายและใจกระทบอารมณ์นี้เอง ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว 10.3.3 ศีล (ได้แก่ความเป็นปกติของจิต) เมื่อมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันการกระทบอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 อยู่ จิตย่อมไม่ถูกอกุศลครอบงำ พ้นจากความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ จิตก็เข้าถึงความเป็นปกติธรรมดาหรือศีล ซึ่งจิตที่เป็นปกตินี้เองมีคุณสมบัติคือความผ่องใส(ประภัสสร) จิตจะมีลักษณะรู้ ตื่น และเบิกบานโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากเคยพบจิตอย่างนี้จะทราบดีว่า สามารถอยู่เป็นสุขในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อนึ่งศีลสามารถส่งผลให้มีความสุข มีโภคทรัพย์ และถึงนิพพานได้ เพราะจิตยิ่งเป็นปกติเท่าใด ความปรุงแต่งยิ่งน้อยลงเท่านั้น หากจิตพ้นความปรุงแต่ง จิตย่อมสามารถรู้อารมณ์นิพพานซึ่งอยู่เหนือความปรุงแต่งได้ 10.3.4 สัมมาสมาธิ (ได้แก่ความตั้งมั่นของจิต ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในข้อ 6.4 ของบทความนี้) โดยธรรมชาติแล้ว จิตที่มีศีลนั่นแหละเป็นจิตที่มีสัมมาสมาธิ และจิตที่มีสัมมาสมาธิก็คือจิตที่มีศีล เพราะศีลกับสัมมาสมาธิเป็นเครื่องขัดเกลาส่งเสริมซึ่งกันและกัน เหมือนเราล้างมือขวาด้วยมือซ้าย และล้างมือซ้ายด้วยมือขวา อนึ่งการเจริญสัมมาสมาธินี้ย่อมส่งผลให้ผู้ปฏิบัติบางท่านเข้าถึงความสงบในระดับฌานได้ ซึ่งให้ความสุขในปัจจุบัน และส่งผลให้ผู้นั้นเข้าถึงกำเนิดในพรหมโลกได้ด้วยหากยังไม่เข้าถึงนิพพานในชีวิตนี้ 10.3.5 ยถาภูตญาณทัสนะ (ได้แก่การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปนามถูกต้องตามความเป็นจริง ภูตในที่นี้หมายถึงรูปนาม/ขันธ์ 5 ไม่ใช่ผีตามความหมายในภาษาไทย) การรู้เห็นความจริงเป็นส่วนของปัญญา ซึ่งปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด คือเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกลางและมีสติระลึกรู้อารมณ์(รูปนาม) ก็จะเห็นรูปนามตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่อยากจะให้เป็น(ด้วยตัณหา) หรือตามที่คิดว่าน่าจะเป็น(ด้วยทิฏฐิ) 10.3.6 นิพพิทาวิราคะ (ได้แก่ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด) เมื่อรู้จักรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายเอือมระอา(นิพพิทา)ต่อรูปนามทั้งหลาย เพราะเห็นความไม่มีสาระแก่นสาร สภาวะของนิพพิทาไม่ใช่ความเบื่ออย่างโลกๆ ที่เป็นการเบื่อทุกข์แต่อยากได้สุข นิพพิทานั้นเห็นทั้งทุกข์และสุข ทั้งดีและชั่ว น่าเอือมระอาเสมอกัน เมื่อเกิดนิพพิทาแล้วจิตย่อมเกิดวิราคะอันเป็นสิ่งตรงข้ามกับตัณหา ได้แก่การหมดความดิ้นรนทะยานอยากที่จะปฏิเสธทุกข์หรือแสวงหาสุข จิตจะเข้าถึงความเป็นกลางต่อสังขารอย่างแท้จริง เพราะรู้ชัดแล้วว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปธรรมและนามธรรม (2) รูปธรรมและนามธรรมมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหรือไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปธรรมและนามธรรมมีเหตุปัจจัยให้เกิด แปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ และ (4) รู้ว่าความยึดถือในรูปธรรมและนามธรรมจะนำทุกข์มาให้ นี้คือการรู้อริยสัจจ์ในสายเกิด 10.3.7 วิมุตติญาณทัสนะ (ได้แก่ความรู้แจ้งเกี่ยวกับสภาวธรรมแห่งความหลุดพ้นจากเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลส) เมื่อจิตเป็นกลางต่อสังขาร จนรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตจะก้าวกระโดดอย่างฉับพลันไปสู่ความหลุดพ้น โดยผู้ปฏิบัติไม่ได้จงใจจะให้เป็นไปเช่นนั้น เป็นการประจักษ์ต่อนิโรธสัจจ์ หรือนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติที่ได้พบอารมณ์นิพพานด้วยการบรรลุมรรคผลถึง 4 ครั้งแล้ว ย่อมพ้นทุกข์พ้นกิเลสสิ้นเชิง ได้รับบรมสุขอันเนื่องจากจิตพ้นจากความเสียดแทงทั้งปวง อนึ่งผู้ที่เคยพบนิพพานแล้วในขณะที่เกิดมรรคผล อาจพบนิพพานได้อีกเพื่อเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย 2 วิธีการคือ (1) การไม่มนสิการ(ใส่ใจ)ถึงสังขารทั้งหลาย พอจิตวางอารมณ์ที่เป็นสังขารก็จะไปรู้อารมณ์นิพพาน หรือ (2) การมนสิการถึงอารมณ์นิพพานโดยตรง ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นประโยชน์สุขในปัจจุบันที่ได้มาด้วยการเจริญสติเท่านั้น 10.4 สรุปแล้ว สตินี้แหละยิ่งเกิดบ่อยยิ่งดี นอกจากการเจริญสติแล้วไม่ใช่ทางหรืออริยมรรคที่แท้จริง คำสอนใดที่มุ่งปรุงแต่ง(กุศล)เพื่อแก้ความปรุงแต่ง(อกุศล) คำสอนนั้นเป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า (แต่อาจจำเป็นในเบื้องต้นสำหรับบางคน) คำสอนใดให้เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล)จนพ้นจากความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล) คำสอนนั้นเป็นทาง(มรรค)ตัดตรงเข้าถึงความพ้นทุกข์สิ้นเชิง(นิโรธ/นิพพาน) ครูบาอาจารย์พระป่าทั้งหลายซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของผู้เขียน เช่นหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นต้น ท่านก็เน้นนักหนาให้ผู้เขียนเจริญสติคือรู้ไว้ บางท่านยกหัวใจคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ มาสอนผู้เขียนว่า หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า "ทำสมาธิ(ความสงบ)มากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน สิ่งสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ จะเดินจงกรมก็ต้องเดินด้วยความมีสติ นั่งสมาธิก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ ทำสิ่งใดก็ต้องทำด้วยความมีสติ เพราะเมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ผู้เขียนก็ได้อาศัยคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ดังกล่าวนี้เป็นแนวทางปฏิบัติตลอดมา…….. โดย พระปราโมทย์ ปาโมชโช

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือนวิถีแห่งความรู้แจ้ง ความในใจ เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากให้ความรักความเมตตาแวะเวียนไปสนทนาธรรมกับผู้เขียนเสมอ ส่วนมากมักถามถึงแนวทางปฏิบัติที่ผู้เขียนดำเนินมา เป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องพูดคุยในเรื่องเดิมๆ อยู่แทบทุกวัน ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อทุ่นแรงตนเอง หากเพื่อนนักปฏิบัติท่านใดต้องการทราบแนวทางปฏิบัติของผู้เขียน อ่านแล้วคงพอทราบได้ จะช่วยให้การสนทนาสั้นลง เป็นการประหยัดเวลาได้ทั้งสองฝ่าย พระปราโมทย์ ปาโมชโช วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ใจความ 1. สิ่งใดคือจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา - ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง 2. ความทุกข์คืออะไร - ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ หรือทุกข์ที่เนื่องด้วยกาย และทุกข์ที่เกิดจากจิต เช่นความแก่ เจ็บ ตาย การเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์(ภพ)คือทุกข์ 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร - ตัณหา ซึ่งมีที่มาจากความไม่เข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ (อวิชชา) 4. ทางแห่งความดับทุกข์ - มรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงเป็นการเจริญสติ ซึ่งเป็นเครื่องมือเฝ้าสังเกตการณ์จนเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดแล้วหลุดพ้น และย่อมรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์แล้ว 5. การเจริญสติคืออะไร - คือการระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร - แทบทุกคนระลึกรู้ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ แค่รู้ไปตามธรรมชาติโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงไปในการรู้นั้น ก็จะรู้สภาวธรรมได้ / สภาวธรรมรู้ง่ายกว่าที่คิดไว้มากนัก 7. สภาวธรรมคืออะไร - คือรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นปรมัตถธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายจิตใจอันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์นี้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความคิดฝันหรือจินตนาการเอาเอง 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร - หมายถึงสภาวธรรมที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะจิตต่อหน้านี้ ผู้ปฏิบัติต้องไม่หน่วงอาลัยถึงสภาวธรรมในอดีต และไม่กังวลถึงสภาวธรรมในอนาคต 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร - หมายถึงรู้สภาวะตรงตามที่มันเป็น และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยความอยาก(ตัณหา) และความเห็นผิด(ทิฏฐิ) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร - 1. ได้ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน 2. ได้ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 3. ได้ความสมบูรณ์แห่งศีล 4. ได้ความตั้งมั่นของจิตหรือสัมมาสมาธิ 5. ได้สัมมาทิฏฐิ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจธรรมชาติ 6. ได้ความเบาบางจางคลายจากความยึดถือทั้งหลาย และ 7. ได้ความหลุดพ้นและความรู้เกี่ยวกับความหลุดพ้น ขยายความ 1. จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา 1.1 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มุ่งตอบปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรเราจะเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ 1.2 คนทั้งหลายมักมองข้ามเรื่องความพ้นทุกข์ เพราะไม่เห็นความจริงของชีวิตว่า ที่เราต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อหนีทุกข์กันทั้งนั้น แม้แต่การศึกษาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ด้วยความหวังว่า จะได้ใช้เป็นวิชาชีพ หรือสร้างความบันเทิงใจ หรือเป็นประโยชน์อย่างอื่น อันเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ของชีวิตนั่นเอง ซึ่งศาสตร์เหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นควรแก่การศึกษา แต่หากเข้าใจพุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งแก้ทุกข์โดยตรงด้วย ก็ย่อมช่วยให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1.3 บางคนอาจมองเลยไปอีกว่า พระพุทธศาสนามองโลกแง่ร้ายเกินไป คือมองว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์ ประเด็นนี้ต้องขอแขวนไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะถ้าอธิบายกันในขณะนี้ก็จะกลายเป็นข้อถกเถียงทางปรัชญาไป 2. ความทุกข์คืออะไร 2.1 พระพุทธศาสนามองความทุกข์ไว้อย่างลึกซึ้งและหลายแง่มุม มากกว่าความทุกข์ที่พวกเรารู้จักกันทั่วๆ ไป กล่าวคือ 2.1.1 ทุกขเวทนา คือความทุกข์ทั่วไปที่พวกเรารู้จักกันอยู่แล้ว ได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจนั่นเอง สำหรับผู้ที่ไม่เคยเจริญสติอาจรู้สึกว่า นานๆ ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ผู้ที่เจริญสติอยู่จะพบว่า ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ่อยมาก เช่นถ้าเรามีสติรู้กายอยู่ จะพบว่าความทุกข์เหมือนสัตว์ร้ายที่วิ่งตามทำร้ายเราอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องคอยเปลี่ยนอิริยาบถ ต้องกิน ต้องดื่ม ต้องขับถ่าย ต้องเช็ดล้าง ต้องเกา ฯลฯ แทบไม่ได้หยุดพักเลย บางคราวมีความป่วยไข้อันเป็นความบีบคั้นที่รุนแรง และท้ายที่สุดเมื่อหมดกำลังวิ่งหนีทุกข์ เราก็จะถูกความทุกข์ทำร้ายเอาจนตาย ยามใดที่ทุกขเวทนาบรรเทาลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข แต่ไม่นานเลย ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกคราวหนึ่ง หากมีสติรู้อยู่ที่จิตใจก็จะพบว่า จิตของเราเกิดความเครียดขึ้นแทบตลอดเวลา ยามใดมีความเครียดน้อยลงก็รู้สึกเป็นสุข ยามใดมีความเครียดมากขึ้นก็รู้สึกเป็นทุกข์ 2.1.2 ทุกขลักษณะ ทุกข์ชนิดนี้ไม่ใช่ความทุกข์ในความหมายทั่วไปที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่มันเป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร(คือร่างกายจิตใจและสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย) ที่ว่า สังขารทั้งหลายไม่อาจคงทนอยู่ได้ตลอดไป ดังนั้น ตามความหมายนี้ กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นความทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้ เรื่องทุกขลักษณะนี้จะเห็นชัดขึ้น เมื่อได้ลงมือเจริญสติแล้ว ในชั้นนี้จึงควรทราบไว้เพียงนี้ก่อน 2.1.3 ทุกขสัจจ์ ทุกข์ชนิดนี้เป็นทุกข์ที่ลึกซึ้งกว่าทุกข์อย่างอื่น เพราะเป็นการมองความทุกข์อย่างพระอริยบุคคล หากเราฟังธรรมอย่างผิวเผินอาจรู้สึกว่าทุกขสัจจ์ไม่ใช่เรื่องที่ลึกซึ้งอะไรนัก เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา เป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นความทุกข์เช่นกัน ความลึกซึ้งของทุกขสัจจ์อยู่ตรงที่ว่า 2.1.3.1 มีสภาวะที่เป็นทุกข์ แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ เพราะพระอริยบุคคลย่อมเห็นความจริงว่า ในโลกนี้ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่ธรรมชาติบางอย่างที่มารวมตัวกันเข้าชั่วคราว แล้วโลกสมมุติเรียกว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เท่านั้นเอง ซึ่งธรรมชาติที่ว่านั้นก็คือรูป(ธรรม)และนาม(ธรรม)ทั้งหลายนั่นเอง 2.1.3.2 ลำพังมีรูปและนามมาประกอบกันแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น ต่อเมื่อมีความอยากและความยึดมั่นเกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ทุกข์จึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเกิดความอยาก/ความยึดถือก็เกิดภพหรือความมี/ความเป็นขึ้นมา แล้วก็ต้องทุกข์เพราะความมี/ความเป็นนั้น เช่นเมื่อยึดรูปนามกลุ่มหนึ่งว่าเป็นตัวเรา และยึดรูปนามกลุ่มอื่นว่าเป็นสามี/ภรรยาของเรา ก็จะต้องทุกข์เพราะความเป็นภรรยา/สามี ถ้าเป็นนักศึกษาก็ทุกข์อย่างนักศึกษา เป็นอาจารย์ก็ทุกข์อย่างอาจารย์ เป็นพ่อแม่ก็ทุกข์อย่างพ่อแม่ เป็นนักปฏิบัติธรรมก็ทุกข์อย่างนักปฏิบัติธรรม เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนว่า ภพ(อุปาทานขันธ์)ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น การเจริญสติเป็นทางสายเดียวที่จะทำให้เรารู้แจ้งถึงสัจจธรรมเหล่านี้ได้ 2.2 ความทุกข์ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้พ้นไปในเบื้องต้นได้แก่ความทุกข์ทางใจที่เกิดจากความถือมั่นในรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวง หรือทุกขสัจจ์นี่เอง ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเกิดจากความไม่เข้าใจลักษณะที่แท้จริงของรูปและนามที่ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ลักษณะ) และเป็นอนัตตา ส่วนทุกขเวทนาทางกายในชาติปัจจุบันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องแก้ไขตามสถานการณ์เป็นคราวๆ ไป โดยอยู่ในสภาพที่ว่า แม้กายทุกข์ แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย 3. ความทุกข์เกิดจากอะไร 3.1 ทุกขสัจจ์เกิดจากสมุทัย ซึ่งได้แก่ตัณหาหรือความทะยานอยากของจิตที่รักสุขและเกลียดทุกข์ จึงเข้าไปยึดถือรูปและนามทั้งปวง เพราะอยากให้มี หรือเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อให้มีสุข หรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหนีทุกข์ 3.2 ความอยากเกิดขึ้นก็เพราะความไม่รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริงว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปและนามเท่านั้น กระทั่งตัวเราก็ไม่มีอยู่จริง (2) รูปและนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปและนามมีเหตุปัจจัยให้เกิด ต้องแปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ (4) ความยึดถือในรูปและนามจะนำทุกข์มาให้ (5) ความไม่ยึดถือรูปและนามว่าเป็นตัวตนของตนจะทำให้ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น เพราะปราศจากตัวตนที่จะเข้าไปรองรับความทุกข์ทั้งหลาย 3.3 สรุปแล้ว ความทุกข์เกิดจากจิตเข้าไปหลงอยากหลงยึดในรูปและนาม ที่จิตหลงอยากหลงยึด ก็เพราะจิตไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายนั่นเอง 4. ทางแห่งความดับทุกข์ 4.1 เมื่อทราบแล้วว่าความทุกข์เกิดจากอะไร ย่อมไม่เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจว่า ความดับทุกข์เกิดจากอะไร ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการดับความอยาก(ตัณหา) โดยแก้ที่ความหลงผิดหรือความไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง สมดังพระพุทธวัจนะที่ว่า เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด(โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฏิบัติธรรม)อยู่จบแล้ว 4.2 การจะให้จิตรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ การมีสติ (ในบทความนี้ สติหมายถึงสติและสัมปชัญญะ แต่ที่ไม่ได้แยกแยะรายละเอียดของสติกับสัมปชัญญะในชั้นนี้ ก็เพราะต้องการให้ผู้แรกสนใจพระพุทธศาสนา ศึกษาได้โดยไม่ซับซ้อนนัก)เฝ้าระลึกรู้ สภาวธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง นี่เป็นเหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว ทำนองเดียวกับเมื่อเราอยากเห็นรูปภาพตรงหน้า เราก็ลืมตาขึ้นดูตรงๆ เลยทีเดียว ทั้งนี้ พระศาสดาทรงยืนยันว่า การเจริญสตินี้แหละคือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ เพราะการถอดถอนตัณหาและทิฏฐิ(ความเห็นผิดจากความจริง)ในโลกคือรูปนามเสียได้ 4.3 พวกเราบางคนได้ยินคำสอนที่ว่า ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้แก่การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 รวบย่อลงมาก็คือการศึกษาปฏิบัติในเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา สิ่งที่ได้ยินมานี้ถูกต้องเช่นกัน แต่ควรทำความเข้าใจให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า การเจริญอริยมรรคหรือการรักษาศีล การทำสมาธิ และการเจริญปัญญา ชนิดไหนที่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง และชนิดไหนไม่เกื้อกูลต่อความรู้แจ้ง 4.4 แท้จริงการบำเพ็ญคุณงามความดีทั้งหลาย เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระองค์เองก็ทรงบำเพ็ญบารมีมามากมายก่อนที่จะตรัสรู้(เข้าใจธรรมตามความเป็นจริงด้วยพระองค์เอง) เช่นทรงบำเพ็ญทานอย่างยิ่งยวดเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บางชาติทรงถือศีลแบบยอมสละชีวิต บางชาติทรงทำสมาธิจนได้อภิญญา 5 เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก บางชาติเช่นพระชาติที่เป็นมโหสถบัณฑิตก็ทรงสะสมปัญญาบารมีอย่างยิ่งยวด แต่เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในพระชาติเหล่านั้น กลับมาทรงตรัสรู้เอาในพระชาติสุดท้าย และทรงตรัสรู้ด้วยการเจริญอานาปานสติ จริงอยู่ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมีให้เต็มเปี่ยม พระองค์ย่อมไม่สามารถตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แต่ถ้าทรง บำเพ็ญพระบารมีโดยไม่ทรงเจริญสติ พระองค์ก็ทรงตรัสรู้ไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะการบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย เป็นการปรับพื้นฐานทางจิตใจของพระองค์ให้พร้อมสำหรับการแสวงหาหนทางเจริญสตินั่นเอง ตัวอย่างเช่น เพราะพระองค์เคยฝึกสละพระโอรสธิดาและพระชายาเพื่อพระโพธิญาณในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรมาแล้ว จึงทรงเข้มแข็งพอที่จะสละพระนางพิมพาและพระราหุลซึ่งเป็นที่รักยิ่ง เพื่อไปแสวงหาพระโพธิญาณ เป็นต้น 4.5 การทำความดีทั้งหลาย ทั้งทาน ศีล สมาธิ และการเจริญปัญญาบางระดับ ไม่ได้เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม เพียงแต่นำความสุขมาให้ด้วยกุศลวิบากหรือผลแห่งความดีเท่านั้น และบางกรณีเมื่อทำความดีอยู่ จิตกลับพลิกไปเป็นอกุศลก็ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น 4.51 การทำทาน หากทำโดยไม่ประกอบด้วยสติปัญญาก็อาจเป็นการพอกพูนกิเลสให้หนาหนักยิ่งขึ้น เช่นทำไปด้วยมิจฉาทิฏฐิว่า "เรา" ทำทานแล้ว เมื่อ "เรา" เกิดในชาติต่อไป "เรา" จะได้เสวยผลทานนี้ หรือเราจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะการทำทานนี้ หรือทำไปด้วยความโลภว่า เราทำทานนี้ ขอให้ได้รับดอกผลมากมายอย่างนี้ๆ เป็นต้น 4.5.2 การถือศีล หากไม่มีสติปัญญากำกับย่อมเป็นการง่ายที่ผู้ถือศีลจะกลายเป็นการถือศีลในลักษณะสีลัพพตปรามาส(ถือศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงาย) เช่นหลงผิดว่า การบำเพ็ญข้อวัตรที่กดข่มจิตใจมากๆ จะทำให้กิเลสเบาบางลง หรือยิ่งถือศีลก็ยิ่งพอกพูนกิเลส เช่นเกิดมานะมากขึ้น คือเกิดความสำคัญมั่นหมายว่า เราดีกว่าคนอื่นเพราะเราถือศีล ส่วนคนอื่นเลวกว่าเราเพราะไม่มีศีล เป็นต้น 4.5.3 การทำสมาธิ หากไม่ประกอบด้วยสติปัญญา ยิ่งทำสมาธิจิตยิ่งน้อมเข้าหาความสงบหรือความสุขสบาย หรือเกิดมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดมากขึ้นๆ ด้วยอำนาจของโมหะและราคะ เช่นทำสมาธิแล้วเกิดความเคลิบเคลิ้มขาดสติ หรือเกิดนิมิตต่างๆ มากมาย บางคนถึงขนาดเห็น"นิพพาน"เป็นบ้านเมืองหรือเป็นดวงแก้ว บางคนเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ แล้วหลงภูมิใจอยู่กับความรู้เหล่านั้น เป็นต้น 4.5.4 การเจริญปัญญา หากไม่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ จำแนกไม่ออกระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ก็เป็นการง่ายที่จะหลงทำสมาธิแล้วคิดว่ากำลังเจริญปัญญาอยู่ เช่นบางท่านมุ่งใช้ความคิดพิจารณาสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา วัตถุสิ่งของ ผู้คน ฯลฯ ให้เป็นไตรลักษณ์ การกระทำเหล่านั้นเป็นเพียงการทำสมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อความสงบของจิต บางครั้งแทนที่จะเกิดความสงบ อาจเกิดความฟุ้งซ่านแทนก็ได้ บางคนยิ่งคิดพิจารณาไตรลักษณ์ มานะอัตตากลับยิ่งพอกพูนขึ้นก็มี ทั้งนี้เพราะไตรลักษณ์นั้น คิดเอาไม่ได้ แต่ต้องประจักษ์ชัดถึงสภาวะที่แท้ของรูปธรรมและนามธรรม ด้วยความมีสติ และด้วยจิตที่มีความตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) จึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยปัญญาได้จริง 4.6 การทำความดีที่เกื้อกูลต่อการรู้ธรรม ต้องเป็นการทำดีที่เกื้อกูลต่อการเจริญสติที่ถูกต้อง หรือเจืออยู่ด้วยสติปัญญาในขณะที่ทำความดีนั้น เช่น 4.61 การทำทาน ควรมีสติปัญญากำกับจิตใจของตนไว้ ทั้งก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ หากเป็นการกระทำด้วยศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ทำแล้วตนเองหรือผู้อื่นไม่เดือดร้อนก็ควรทำตามความเหมาะสม หรือทำแล้วจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ก็มีสติระลึกรู้ความสุขความเบิกบานนั้นไป การทำทานจึงเป็นเครื่องมือฝึกการเจริญสติได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำด้วยความเมาบุญด้วยอำนาจโลภะและโมหะ ทานนั้นก็ไม่เกื้อกูลใดๆ ต่อการเจริญสติ 4.6.2 การรักษาศีล ศีลบริสุทธิ์ได้ยาก หากไม่มีสติกำกับอยู่ที่จิต แต่หากมีสติกำกับรู้อยู่ที่จิตใจตนเอง ศีลชนิดที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ กล่าวคือเมื่อโทสะเกิดขึ้นก็มีสติรู้ว่าโทสะเกิดขึ้น โทสะย่อมครอบงำจิตไม่ได้ ศีลข้อ 1 ก็เกิดขึ้นเต็มบริบูรณ์เพราะจิตไม่คิดฆ่าหรือทำร้ายใคร ถ้าโลภะเกิดขึ้นแล้วมีสติรู้ทัน ย่อมไม่ทำผิดศีลข้อ 2 และข้อ 3 โดยอัตโนมัติ เป็นต้น 4.6.3 การทำสมาธิ สัมมาสมาธิหรือความตั้งมั่นของจิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ดังนั้นสมาธิในพระพุทธศาสนาจึงต้องประกอบด้วยองค์มรรคอื่นๆ ด้วย เช่นต้องมีสติและปัญญากำกับอยู่เสมอ สมาธิที่ขาดสติปัญญา เป็นสมาธิที่ให้ความสุขหรือของเล่นอื่นๆ ได้ก็จริง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการเจริญสติ เพราะจิตไม่ตั้งมั่นจริง และเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ศีลและปัญญาก็ไม่อาจเกิดให้บริบูรณ์ได้ 4.6.4 การเจริญปัญญา การเจริญปัญญาที่ถูกถ้วนสมบูรณ์ที่สุดจะกล่าวในหัวข้อเกี่ยวกับการเจริญสติต่อไป ส่วนในหัวข้อนี้จะกล่าวเฉพาะการเจริญปัญญาในขั้นต้น ได้แก่การศึกษาปริยัติสัทธรรม ซึ่งขาวพุทธแม้จะเป็นนักปฏิบัติก็ไม่ควรทอดทิ้ง อย่างน้อยควรเรียนให้รู้หลักการขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนาไว้บ้าง มิฉะนั้นอาจกลายเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ ทั้งที่คิดว่าตนเป็นชาวพุทธก็ได้ 4.7 การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งดูว่ามีหลายอย่างนั้น ถ้าเจริญสติได้ถูกต้อง ศีล สมาธิและปัญญาจะเกิดขึ้นเอง เช่นในหนังสืออรรถกถาธรรมบท กล่าวถึงภิกษุรูปหนึ่งไปทูลลาสิกขาจากพระพุทธเจ้าเพราะรักษาศีลจำนวนมากไม่ไหว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ท่านเจริญสติแทนการตามรักษาศีลจำนวนมาก ท่านทำแล้วสามารถทำศีลของท่านให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ทั้งยังบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วย หรือหากเรามีสติจนสามารถระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏได้จริงๆ ในขณะนั้นเราจะเกิดสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ คือจิตจะเกิดความตั้งมั่นแล้วมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏโดยไม่เข้าไปหลงแทรกแซง สิ่งที่ตามมาก็คือปัญญาที่รู้จักสภาวะของรูปและนาม รู้ถึงความเป็นไตรลักษณ์ของรูปและนาม และรู้ได้แม้กระทั่งอริยสัจจ์ 4 ปัญญาเหล่านี้เกิดจากการเจริญสติด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิทั้งสิ้น ดังนั้นจะกล่าวว่า การปฏิบัติตามทางแห่งความพ้นทุกข์ จะต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ได้ ย่อลงมาเป็นการเจริญไตรสิกขาคือศีล สมาธิและปัญญาก็ได้ หรือถ้าย่อลงให้ถึงที่สุด การเจริญสตินั้นแหละคือการเจริญไตรสิกขาและมรรคมีองค์ 8 5. การเจริญสติคืออะไร 5.1 ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธศาสนาอธิบายว่า ความทุกข์เกิดจากความอยากและความยึดถือในรูปและนาม ซึ่งมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้สภาวธรรม(รูปนาม)ทั้งหลายตามความเป็นจริง ดังนั้นการที่จะทำลายความอยากและความยึดถือในรูปนามทั้งหลาย จึงต้องขจัดความไม่รู้ ด้วยการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามนั้น 5.2 การทำปัญญาหรือความรู้ให้เกิดขึ้นนั้น พวกเราเคยชินที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการเก่าๆ ได้แก่ (1) การรับถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ของผู้อื่นด้วยการอ่านและการฟัง และ (2) การขบคิดใคร่ครวญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งวิธีการทั้ง 2 นี้ใช้ได้สำหรับการเรียนรู้วิชาการอื่นๆ แต่การทำความเข้าใจพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องอาศัยการหาความรู้โดยอีกวิธีการหนึ่ง เพิ่มเติมจาก 2 วิธีแรกคือ (3) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะการรับฟังความรู้ของท่านผู้อื่นให้เราได้เพียงความจำ ส่วนการคิดให้เราได้เพียงความคิด ทั้งความจำและความคิดอาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ แต่ทั้งนี้ในเบื้องต้น เราต้องศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการอ่านและการฟัง แล้วนำมาคิดใคร่ครวญเพื่อให้รู้ถึงแนวทางของการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนามได้อย่างถูกต้องต่อไป 5.3 การแสวงหาความรู้ด้วยการอ่าน การฟัง และการคิด เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่พวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ในที่นี้จึงจะข้ามไปกล่าวถึงการแสวงหาความจริงด้วยการเจริญสติ อันได้แก่ การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนาม โดย การระลึกรู้ (ข้อ 6) ถึงสภาวธรรม(ข้อ 7)ที่กำลังปรากฏ(ข้อ 8) ตามความเป็นจริง(ข้อ 9) 6. การระลึกรู้ทำอย่างไร 6.1 มนุษย์โดยทั่วไปสามารถระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่นในขณะนี้ยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอนก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความสุข หรือความทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความรัก โลภ โกรธ หลง สงสัย ฟุ้งซ่าน หดหู่ เกียจคร้าน ศรัทธา วิริยะ หรือมีความสงบ ฯลฯ ก็ทราบได้ แต่ มนุษย์ละเลยที่จะเฝ้ารู้อารมณ์เหล่านั้น รวมทั้งนึกไม่ถึงด้วยว่าการเจริญสติที่แท้จริง ก็คือการใช้จิตใจที่เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เองไปรู้อารมณ์ แต่มักเกิดความเข้าใจผิดว่า การเจริญสติหรือการระลึกรู้นั้น เป็นสภาพอะไรอย่างหนึ่งที่พิเศษเหนือธรรมดา ดังนั้นแทนที่จะใช้จิตใจธรรมดาไปรู้อารมณ์ พวกเรากลับพยายามสร้าง "รู้" แบบผิดธรรมดาขึ้นมาแทน 6.2 การบ่งชี้สภาวะว่า การมีสติ หรือการมี รู้ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากมาก เพราะเพียงแต่เราเติมความคิดเห็นของเราลงไปว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจผิดทันที แต่หากเรามาพูดกันถึงสภาวะของการรู้ที่ไม่ถูกต้องเสียก่อน (ซึ่งล้วนแต่เกิดจากตัณหาหรือความอยาก และทิฏฐิหรือความเห็นผิดทั้งหลาย) เราก็จะเข้าใจถึงสภาวะรู้ที่ถูกต้องได้ไม่ยากนัก สภาวะผิดพลาดที่สำคัญได้แก่ 6.2.1 รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ (เผลอ/ลืมตัว) 6.2.1.1 สภาวะรู้ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสภาวะไม่รู้ อันได้แก่ความเหม่อ ความเผลอความลืมตัว ความใจลอย หรือความฝันกลางวัน นั่นเอง เป็นสภาวะของการปล่อยจิตใจให้หลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แม้กระทั่งเพลินไปในโลกของความคิดฝันและจินตนาการของตนเอง ตัวอย่างเช่นเมื่อตามองเห็นรูปบางอย่างแล้วเกิดจำได้ว่านั่นเป็นรูปผู้หญิงสวย/ผู้ชายหล่อ ก็มัวหลงเพลินมองตามอย่างลืมเนื้อลืมตัว หรือเมื่อนั่งอยู่คนเดียว ก็ใจลอยคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ชัดว่าคิดอะไร เป็นต้น 6.2.1.2 สภาวะที่เรียกว่าเผลอหรือลืมตัวนี้ เป็นสภาวะที่เราลืมร่างกายของตนเองเหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก รวมทั้งลืมจิตใจของตนเอง คือในขณะนั้นจิตใจจะมีสุขหรือทุกข์ จะดีหรือชั่วอย่างไรก็ไม่สามารถจะรู้ได้ กล่าวได้ว่าในเวลาที่เราเผลอหรือขาดสตินั้น เราไม่สามารถรู้กาย เวทนา จิต และธรรมได้นั่นเอง 6.2.1.3 ขณะใดที่เราเผลอ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเผลออยู่ ขณะนั้นความเผลอจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเผลอ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.2 รู้ ไม่ใช่คิด 6.2.2.1 สภาวะรู้ ไม่เหมือนกับสภาวะคิด ในขณะที่คิดนั้น เรารู้เรื่องที่กำลังคิดเป็นอย่างดี แต่เราลืมตัวเองคล้ายกับเวลาที่เผลอนั่นเอง การรู้เป็นการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง ในขณะที่การคิด เป็นการคาดว่าความจริงมันน่าจะเป็นอย่างไร (แต่ทั้งนี้หากมีกิจจำเป็นต้องคิด เช่นต้องคิดเพื่อการเรียนหรือการทำงาน เราก็ต้องคิดไปตามหน้าที่ของตน) 6.2.2.2 นักปฏิบัติจำนวนมากไม่เข้าใจการเจริญสติ โดยมีความสำคัญผิดว่าการคิดหรือการตรึกตรองเรื่องกายและใจตนเอง ว่า "เป็นอสุภะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" เป็นการทำวิปัสสนา แท้จริงการเจริญสติหรือการเจริญวิปัสสนาจะต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่การคิดถึงสภาวธรรมนั้นๆ เพราะความคิดของปุถุชนย่อมปนเปื้อนด้วยอคติเสมอๆ หรือคิดอยู่ในจุดยืนของความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิชนิดต่างๆ เช่นคิดว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงแต่จิตนี้เที่ยง พอร่างกายนี้ตายลงจิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่ หรือคิดว่าตัวเรามีอยู่ แต่พอตายลงก็สูญไปเลย เป็นต้น การคิดพิจารณาไม่ใช่วิปัสสนา ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์องค์หนึ่งของผู้เขียน (ท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) สอนไว้ว่า "การคิดพิจารณากายว่าเป็นอสุภะก็เพื่อแก้นิวรณ์(เป็นสมถะ) การคิดพิจารณาความตาย(มรณสติ) และการคิดพิจารณากายว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์ ก็เพื่อแก้อาการของจิตบางอย่าง(เป็นสมถะ)เช่นกัน ต่อเมื่อใดปฏิบัติจนถึงจิตถึงใจตนเอง จึงได้แก่นสารของการปฏิบัติธรรม" 6.2.2.3 ขณะใดที่เราคิด แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งอกตั้งใจคิดอยู่ ขณะนั้นความคิดจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังคิด ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.3 รู้ ไม่ใช่การตั้งท่าปฏิบัติ 6.2.3.1 รู้ไม่มีการตั้งท่าก่อนจะรู้ แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย เมื่อคิดจะปฏิบัติธรรมก็ต้องรีบตั้งท่าปฏิบัติเพราะไปแปลความหมายของ "การปฏิบัติ" ว่าเป็น "การกระทำ" ทั้งที่การรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไรมากกว่าการรู้เข้าไปตรงๆ ตามธรรมชาติธรรมดา เช่นเดียวกับเมื่อเราต้องการดูภาพตรงหน้า เราก็ทำแค่ลืมตาขึ้นดูเท่านั้น หรือเมื่อถูกยุงกัด เราก็แค่รู้ว่าคันเท่านั้น สภาวะรู้ที่เป็นธรรมชาตินั้นเรามีอยู่แล้ว แต่เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญสติ เราจึงตั้งท่าปฏิบัติ เหมือนนักวิ่ง 100 เมตรที่กำลังเข้าเส้นสตาร์ท คือเกร็งทั้งกายและจิตใจ แทนที่จะรู้อารมณ์ไปอย่างสบายๆ ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.3.2 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติมักบังคับใจตนเอง และเริ่มสร้างพฤติกรรมของจิตบางอย่าง เช่นการใช้สติจ้องมองดูจอภาพในใจของตน แล้วเที่ยวควานหา (scan) อยู่ในจอภาพนั้น เพื่อหาอะไรสักอย่างเอามาดู หรือการส่งจิตออกไปนิ่งอยู่ข้างหน้า แล้วคอยดูสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปฏิบัติไปด้วยตัณหาคือความอยากจะปฏิบัติธรรม และทิฏฐิคือความเห็นผิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้"เรา"รู้ธรรม 6.2.3.3 เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติบางท่านที่นิยมใช้รูปหรือกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน มักเริ่มด้วยการแทรกแซงพฤติกรรมตามธรรมชาติของกาย เช่นเมื่อคิดจะรู้ลมหายใจก็เข้าไปควบคุมจังหวะการหายใจ เมื่อคิดจะรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไปกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวของมือ เท้า และท้องบ้าง การกระทำเหล่านี้ไม่ผิด ถ้าเป็นการทำสมถะหรือต้องการใช้กายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติก่อนพัฒนาไปสู่การรู้ที่แท้จริง แต่ถ้าจงใจก่อพฤติกรรมทางกายโดยคิดว่านั่นคือการเจริญสติ และรู้ไม่ทันตัณหาและทิฏฐิที่กำลังครอบงำจิตจนก่อพฤติกรรมดังกล่าวขึ้นมา นั่นก็เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงมากอีกประการหนึ่ง 6.2.3.4 ความจริงแล้วถ้าเราจะเจริญสติหรือ รู้ อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เราไม่จำเป็นต้องตั้งท่าอะไรเลย ไม่ว่าทางจิตหรือทางกาย เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็รู้รูป(สี)นั้น หากจิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายต่อรูปก็รู้ทันอีก หรือขณะนี้อยู่ในอิริยาบถใดก็รู้ไปเลย เช่นเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ ยืนแล้วเมื่อยอยากเปลี่ยนอิริยาบถก็รู้ทันความอยากของตนเอง รู้ทันแล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถเพราะมันจำเป็นก็ได้ หรือจะไม่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อดูความจริงของทุกขเวทนาไปก่อนก็ได้ หรือนั่งอยู่เฉยๆ เกิดความคิดแล้วจิตเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างใดก็รู้ไปเลยก็ได้ เป็นต้น 6.2.3.5 อย่างไรก็ตาม หากนักปฏิบัติคนใดไม่สามารถรู้ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดาได้ก็ไม่ต้องตกใจ ในเบื้องต้นจะตั้งท่าปฏิบัติเสียก่อนก็ได้ เช่นถ้าจิตฟุ้งซ่านนักก็ทำความสงบเข้ามาก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เคลิ้มลืมตัว และอย่าให้เครียดขึ้นได้ ให้รู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งไปอย่างสบายๆ จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้ แม้กระทั่งการรู้คำบริกรรมก็ได้ เมื่อจิตใจสงบสบายแล้วจึงค่อยระลึกรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจไปตามธรรมชาติธรรมดาอีกชั้นหนึ่ง หรืออาจจะเริ่มจากการรู้ท้องพองยุบ รู้การเดินจงกรม รู้การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ ฯลฯ รวมความแล้วในเบื้องต้นจะทำกรรมฐานใดก็ได้ แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่การรู้แบบไม่ตั้งท่า หรือไม่จงใจต่อไป 6.2.3.6 ขณะใดที่เราตั้งท่าปฏิบัติ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งท่า ขณะนั้นการตั้งท่าจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังตั้งท่า ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.4 รู้ ไม่ใช่กำหนดรู้ 6.2.4.1 รู้ไม่ใช่การกำหนดรู้ หรือการตรึกพิจารณาถึงอารมณ์ว่าเป็นรูปนาม แต่เป็นการระลึกรู้(มนสิการ)ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดา นักปฏิบัติจำนวนมากคิดว่า รู้คือการกำหนดรู้ เพราะมักได้ยินคำพูดเกี่ยวกับการกำหนดรู้รูปนาม หรือการกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ จึงคิดว่า การรู้ต้องมีการกระทำ คือการกำหนด หรือการพิจารณาด้วย ดังนั้นพอรู้อารมณ์แล้วจึงรีบบริกรรมต่อท้ายการรู้ทันที เช่นยกหนอ ย่างหนอ โกรธหนอ เสียงหนอ ฯลฯ นี่คือการบริกรรมไม่ใช่การรู้ (เบื้องต้นอาจจำเป็นสำหรับบางท่านที่ต้องบริกรรมก่อน แต่พึงทราบว่าจะหยุดการปฏิบัติอยู่เพียงขั้นการตามบริกรรมไม่ได้ เพราะยังไม่ใช่วิปัสสนา) หรือบางท่านนิยมการพิจารณากำกับซ้ำลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่การรู้เช่นกัน เช่นเมื่อตาเห็นรูปตามธรรมชาติแล้ว ก็จงใจพิจารณารูปซ้ำลงไปอีก ว่า "รูปนี้เป็นเพียงสี ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ฯลฯ" หรือพิจารณาว่า "สีเป็นรูป รู้เป็นนาม" อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจกำหนด และเป็นการกระทำตามหลังการรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงยังไม่ใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติธรรมดา 6.2.4.2 ขณะใดที่เรากำหนดรู้ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจกำหนดรู้ ขณะนั้นการกำหนดรู้จะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังกำหนดรู้ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.5 รู้ ไม่ใช่เพ่ง 6.2.5.1 รู้ไม่ใช่การเพ่ง แต่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบเพ่ง แม้แต่คนที่ไม่ชอบทำสมถะเพราะอยากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ก็มักเพ่งโดยไม่รู้ทันจิตใจของตนเอง แท้จริงการเพ่งเป็นสภาวะที่สืบเนื่องมาจากการจงใจและการตั้งท่าปฏิบัติ คือพอคิดถึงการปฏิบัติก็จงใจปฏิบัติ แล้วเกิดการตั้งท่าปฏิบัติ มีอาการสำรวมกายใจเข้ามาให้มั่นคง ถัดจากนั้นจึงเพ่งหรือจดจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่ออารมณ์ทั้งหลาย เป็นผลให้ลืมตัว และบางคนจิตใจด้านชา ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์ตามที่ควรจะเป็น หรือบางคนพอรู้กิเลสใดก็เพ่งใส่ พอกิเลสนั้นดับไป(เพราะเหตุของมันดับ) ก็เกิดความสำคัญผิดว่า เราสามารถดับกิเลสได้ทุกครั้ง หรือบางคนพอรู้อารมณ์แล้ว ก็หลงเพ่งจ้องเอาสติตามจี้อารมณ์ที่เคลื่อนหนีลึกเข้าไปภายใน นี่ก็เป็นการเพ่งเหมือนกัน แต่เป็นการตามเพ่งความปรุงแต่งที่เคลื่อนไหวได้ในจิตใจตนเอง อนึ่งการเพ่งนี้ถ้าไม่จงใจรุนแรงเกินไป ก็ทำให้จิตสงบเป็นการทำสมถะหรือสมาธิได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา 6.2.5.2 วิธีทำความรู้จักกับการเพ่งไม่ยากเลย ลองยกนิ้วหัวแม่มือของตนเองขึ้นมา แล้วเพ่งจ้องให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่นิ้วนั้นอย่างเดียว เพียงไม่นานจะรู้สึกว่า เราเห็นแต่นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น เพราะจิตจดจ่ออยู่ที่จุดเดียวนั้นด้วยความจงใจอันเกิดจากโลภะ ในขณะนั้นเห็นแต่นิ้ว กายจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เวทนาคือความรู้สึกจะสุขหรือทุกข์ก็ไม่ทราบ จิตจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่ทราบ จิตเคลื่อนไปอยู่ที่หัวแม่มือก็ไม่ทราบ รวมความแล้วจะทราบได้เฉพาะหัวแม่มือ แต่ไม่ทราบ กาย เวทนา จิต ธรรม ขอให้ผู้ปฏิบัติจำสภาวะของการเพ่งไว้ให้ดี เวลาที่เจริญสติรู้อารมณ์ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ให้สังเกตรู้ทันใจตนเอง อย่าให้หลงไปเพ่งจ้องรูปหรือนามนั้นเหมือนที่จ้องหัวแม่มือตนเอง มิฉะนั้นจะเป็นการหลงทำสมถะ ทั้งที่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนาคือรู้รูปนามอยู่ 6.2.5.3 ขณะใดที่เราเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเพ่งอยู่ ขณะนั้นการเพ่งจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเพ่ง ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.6 รู้ ไม่ใช่น้อม 6.2.6.1 รู้ไม่ใช่การน้อม เพราะอาการน้อมก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบทำกัน มันเป็นการเสแสร้งแกล้งทำขึ้นมาเมื่อคิดว่าจะปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับการเพ่ง เพียงแต่การเพ่งมุ่งจะรู้อารมณ์อันเดียวให้ชัดและพยายามตรึงอารมณ์นั้นไว้ ส่วนการน้อมเป็นการหลีกหนีอารมณ์เข้าหาความสงบสุขเคลิบเคลิ้มลืมเนื้อลืมตัว เพราะต้องการให้จิตสงบ กลายเป็นการปฏิบัติด้วยโลภะ จนจิตเกิดราคะเพลิดเพลินในความสงบสุข หรือเกิดความซึมเซาคือถีนมิทธะขึ้น วันใดซึมได้ที่หรือเคลิ้มได้ที่ก็สำคัญผิดว่าวันนั้นปฏิบัติดี วันใดปฏิบัติแล้วไม่ซึมหรือเคลิ้มก็เสียใจว่าวันนั้นปฏิบัติได้ไม่ดี การน้อมจิตนี้นักปฏิบัติบางท่านจะมีอุปกรณ์ช่วยคือการเปิดเทปธรรมะคลอไปด้วยระหว่างนั่งสมาธิ จะช่วยน้อมจิตให้ซึมได้ที่คือครึ่งหลับครึ่งตื่นได้โดยเร็ว 6.2.6.2 ขณะใดที่เราน้อมจิตเข้าหาความสงบ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังน้อมจิตอยู่ ขณะนั้นการน้อมจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังน้อม ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.2.7 รู้ ไม่ใช่จงใจรู้อะไร 6.2.7.1 รู้ไม่ใช่จงใจจะรู้อะไร ดังนั้นถ้านักปฏิบัติคนใดถามว่า ที่สอนให้รู้นั้น ควรจะรู้อะไร หรือควรจะรู้ตัวทั่วพร้อมคือรู้ทั้งตัวตั้งแต่ปลายผมถึงพื้นเท้า ผู้ที่ยังสงสัยเช่นนี้แสดงว่ายังไม่รู้จักการรู้ที่แท้จริง เพราะการรู้แท้จริงนั้น ไม่มีความจงใจว่าจะเลือกรู้สิ่งหนึ่งแล้วไม่รับรู้สิ่งอื่นๆ เนื่องจากความจงใจเหล่านั้นเป็นไปเพราะตัณหาและทิฏฐิล้วนๆ 6.2.7.2 การรู้คือสภาพที่จิตตื่นขึ้นจากโลกของความคิดความฝัน ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะตื่นเฉพาะร่างกายแต่ใจยังหลับฝันอย่างที่เรียกว่าฝันกลางวัน ภาวะรู้คือภาวะที่จิตตื่นจากความฝัน จิตมีความตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรู้อารมณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์นั้นตามธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้นก็คือ สามารถรู้เท่าทันปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีด้วย รู้ชนิดนี้ไม่มีความจงใจว่าจะต้องรู้อารมณ์ใด แต่อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใดก็รู้อารมณ์นั้นอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น นี่แหละคือความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่รู้ตัวทั้งตัวเพราะนั่นเป็นความจงใจเพ่งความรู้สึกไปจับที่กายทั้งกาย 6.2.7.3 ขณะใดที่เราจงใจ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจอยู่ ขณะนั้นความจงใจจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังจงใจ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว 6.3 สรุปแล้ว ขณะใดพยายามจะรู้ หรือแสวงหาการรู้ที่ถูกต้อง (แม้กระทั่งการพยายามรักษารู้ให้ต่อเนื่อง ดูข้อ 6.6) ขณะนั้นเราจะพลาดไปสู่ความหลงผิดทันที เพราะการกระทำใดๆ ที่เกินจากการรู้ตามปกติ อันเป็นการกระทำด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐินั่นแหละ เป็นเครื่องปิดกั้นความสามารถในการระลึกรู้อารมณ์ซึ่งมีอยู่แล้วเอาไว้อย่างสนิทที่สุด ดังนั้นไม่ควรพยายามทำให้ถูก ขณะใดรู้ว่ารู้ผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่มีนักปฏิบัติจำนวนมากทีเดียวที่แม้จะได้ฟังคำสอนเกี่ยวกับการเจริญสติหรือการระลึกรู้ แต่ก็ยังปฏิเสธที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติ เพราะมีความคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อยขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ตัวนั้นตัวนี้ยังอ่อนเกินไป หรือยังไม่สมดุลกันจะต้องพัฒนาอินทรีย์ก่อน เช่นจะต้องเพิ่มปัญญาให้สมดุลกับศรัทธา เพิ่มสมาธิให้สมดุลกับวิริยะ ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่า หากเจริญสติหรือรู้ได้แล้ว นั่นแหละจะทำให้อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้ายิ่งขึ้นและสมดุลกันด้วย 6.4 สภาวะรู้ที่ถูกต้องจะเกิดได้ง่าย ด้วยการเกื้อกูลของสติและสัมมาสมาธิ กล่าวคือ 6.4.1 หากจิตสามารถจดจำสภาวธรรมต่างๆ ได้แม่นยำ เช่นจำสภาวะของความรัก โลภ โกรธ หลง ปีติ สุข ฯลฯ ได้แม่นยำ เมื่อสภาวะเหล่านั้นปรากฏขึ้นก็จะเกิดสติรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเพราะเคยรู้เคยประจักษ์ชัดอยู่ก่อนแล้ว ส่วนสภาวธรรมใดไม่รู้จักคุ้นเคย ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปช่วงหนึ่งก่อน จนจดจำสภาวะนั้นได้แม่นยำแล้ว จึงเกิดสติรู้ได้ง่าย 6.4.2 หากจิตมีสัมมาสมาธิ จะช่วยให้สภาวะรู้ถูกต้องง่ายขึ้น จิตที่มีสัมมาสมาธิคือจิตมีลักษณะตั้งมั่นทรงตัวไม่หวั่นไหวเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความสงบระงับคือไม่ฟูหรือแฟบไปตามอารมณ์ มีความเบาสบายแต่ไม่ใช่เบาหวิวเหมือนจะลอยไปในอากาศ มีความอ่อนโยนนุ่มนวลไม่แข็งกระด้างแกร่งเกร็ง มีความพร้อมและความว่องไวที่จะรับรู้อารมณ์ไม่ถูกกดข่มให้นิ่งเฉยซึมทื่อหรือเคลิบเคลิ้มติดสุขเหมือนคนติดยาเสพติด และมีความซื่อตรงต่อหน้าที่การรู้อารมณ์ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์เหมือนผู้พิพากษาที่ทำงานโดยไม่ลำเอียงเข้าข้างโจทก์หรือจำเลย จิตที่มีสัมมาสมาธิสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเข้าใจธรรมชาติที่ว่า จิตปกติธรรมดาที่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ หรือนัยหนึ่งจิตที่มีศีลนั่นแหละคือจิตที่มีสัมมาสมาธิอยู่ในตัวเอง อย่างไรก็ตามหากจิตของผู้ใดยังไม่มีสัมมาสมาธิจริงๆ ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ โดยในเบื้องต้นให้ตั้งใจรักษาศีลภายนอกเสียก่อน คือรักษาศีล 5 และศีล 8 เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกฝนจิตให้มีศีลภายในด้วยการฝึกสมาธิ อันได้แก่การมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อารมณ์นั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ยั่วกิเลส เช่นการกำหนดลมหายใจ การกำหนดจังหวะเดินจงกรม การกำหนดจังหวะเคลื่อนไหวมือ การกำหนดความเคลื่อนไหวของท้อง และการกำหนดคำบริกรรม เป็นต้น ให้จงใจกำหนดรู้อารมณ์นั้นอย่างสบายๆ อย่าเคร่งเครียดหรือตั้งใจมากนัก ถึงตรงนี้จิตมีทางแยกที่จะดำเนินไปได้ 2 ทางคือ 6.4.2.1 หากโมหะหรือโลภะเข้าแทรก จิตจะเกิดความอ่อนแอน้อมเข้าหาความสงบสบาย เกิดความเคลิบเคลิ้มบ้าง เกิดนิมิตต่างๆ บ้าง นี้เป็นทางของมิจฉาสมาธิ 6.4.2.2 หากในขณะที่กำหนดรู้อารมณ์อยู่นั้น ผู้ปฏิบัติมีสติตื่นตัวอยู่เสมอๆ ถ้าจิตขาดสติทิ้งอารมณ์กรรมฐานเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็รู้ทัน หากจิตเกิดการเพ่งอารมณ์ก็รู้ทัน หากจิตสักว่ารู้อารมณ์ก็รู้ทัน ทั้งนี้ ธรรมชาติจิตของบุคคลทั่วไปมักฟุ้งซ่านหลงไปตามอารมณ์นั้นบ้าง อารมณ์นี้บ้าง โดยไม่รู้เท่าทัน จึงต้องหัดรู้อารมณ์อันเดียวก่อน พอจิตเคลื่อนจากอารมณ์นั้นก็ให้คอยรู้ทัน ด้วยวิธีนี้เอง ในเวลาไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มรู้ทันจิตใจที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ พอรู้ทัน จิตก็หยุดการส่งส่ายแล้วตั้งมั่นอยู่โดยไม่ได้บังคับ ถัดจากนั้นเมื่อมีอารมณ์ใดปรากฏ จิตก็จะรู้ทันโดยสักว่ารู้ คือไม่เข้าไปแทรกแซงหรือหลงและไหลตามอารมณ์นั้นไป หากจะกล่าวว่าอาการกำหนดรู้(ด้วยตัณหาและทิฏฐิ)เป็นเครื่องมือของการทำสมถะ ส่วนอาการระลึกรู้หรือรู้ทัน(อย่างสักว่ารู้)เป็นเครื่องมือของการทำวิปัสสนา ก็กล่าวได้ 6.5 หากจะจำแนกสภาวะรู้ออกให้แจ่มชัดก็สามารถกล่าวได้ว่า รู้ คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง กล่าวคือ 6.5.1 จิตรู้เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ใดๆ ครอบงำ นั่นคือจิตที่มีสัมมาสมาธิ 6.5.2 จิตรู้เป็นจิตที่ว่องไวควรแก่การงาน คือเมื่ออารมณ์กระทบทางทวารใด สัมมาสติจะระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงทันที 6.5.3 จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิจะเป็นจิตที่รู้ตัว ซึ่งความรู้ตัวนั้นเป็นตัวสัมมาทิฏฐิหรือสัมปชัญญะ(ชนิดที่เรียกว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ) แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะเลื่อนไหลตามอารมณ์ ถูกอารมณ์ครอบงำและไม่รู้ตัว เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่สามารถรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงได้แจ่มชัด ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนาม และไม่เห็นอริยสัจจ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา 6.5.4 จิตที่มีสติ สมาธิ ปัญญาอบรมอยู่ ย่อมมีความคิดที่ถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะ และส่งผลให้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะบริบูรณ์ด้วย 6.5.5 การพากเพียรเจริญสติอยู่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มครองอินทรีย์อันเป็นการปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นการทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น นี้คือสัมมาวายามะ 6.6 ในเมื่อการรู้คือการเจริญอริยมรรค ดังนั้นเราควรทราบว่า กิจต่อการรู้หรือการเจริญอริยมรรคได้แก่การทำให้เจริญ หรือทำให้เกิดบ่อยๆ คือให้มีสติบ่อยที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้มีสติยาวนานที่สุดเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เพราะสติเองเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดดับไปทีละขณะพร้อมกับจิต ดังนั้นเราจะทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยงอยู่นานๆ ไม่ได้ แต่ทำให้เกิดบ่อยๆ ได้ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิดบ่อยก็คือการสามารถจดจำสภาวะของธรรมะต่างๆ ได้มากและแม่นยำ (ต้องจำตัวสภาวะได้ ไม่ใช่จำชื่อและลักษณะตามตำราได้เท่านั้น) เมื่อสภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น สติจึงสามารถระลึกรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว จนรู้ได้บ่อยแบบถี่ยิบ แล้วอกุศลก็จะมีโอกาสเกิดน้อยลงตามลำดับ จนหมดโอกาสเกิดในที่สุด 6.7 ในข้อ 6.2 ได้กล่าวถึงสภาวะที่ไม่ใช่รู้ไปแล้ว ในข้อนี้จะได้กล่าวถึง องค์ธรรมของจิตที่เป็นจิตรู้ อันเป็นเครื่องช่วยตรวจสอบได้อีกชั้นหนึ่งว่า การรู้ในขณะนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ องค์ธรรมดังกล่าว เช่น 6.7.1 จิตรู้ได้แก่จิตที่เป็น มหากุศลจิต ชนิดที่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุตต์) และเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนหรือหาทางทำให้เกิดขึ้น (อสังขาริก) ดังนั้น 6.7.1.1 ขณะใดจิตมีอกุศล ขณะนั้นยังไม่มีจิตรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ 6.7.1.2 ขณะใดจิตมุ่งใช้กำลังมากกว่าปัญญา เช่นออกแรงดิ้นรนหาทางละทุกข์หรืออกุศล หรืออยากรักษาสุขหรือกุศล ขณะนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.1.3 ขณะใดมีความพยายามอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะทำให้จิตรู้เกิดขึ้น ขณะนั้นพลาดจากรู้เสียแล้ว เพราะจิตรู้นั้น ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ ยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ 6.7.2 จิตรู้เป็นเพียงจิตที่มนสิการคือกระทำอารมณ์ไว้ในใจ หรือทำใจให้รู้อารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่เผลอ คิด ตั้งท่า กำหนด เพ่ง ฯลฯ (ดูข้อ 6.2) สภาวะของมนสิการนั้นเป็นการรู้ที่ ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ และเงียบกริบ ไม่มีความจงใจหรือเจตนาจะรู้ด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 6.7.3 จิตรู้ต้องประกอบด้วยโสภณสาธารณเจตสิก หรือสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม องค์ธรรมที่นำมาสังเกตจิตได้ง่ายได้แก่ 6.7.3.1 อโลภะ คือจิตในขณะนั้นไม่มีความอยาก ความโลภ หรือความกระหาย แม้แต่ในการแสวงหาธรรม ถ้าขณะใดจิตเกิดความอยากปฏิบัติ จงใจปฏิบัติ หรือพอใจในความสุขและกุศล ขณะนั้นมีโลภะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.2 อโทสะ คือจิตในขณะนั้นไม่ความขุ่นข้องขัดใจในอารมณ์ใดๆ ถ้าขณะใดจิตเกลียดทุกข์หรืออกุศล พยายามละทุกข์หรืออกุศล ขณะนั้นมีโทสะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.3 ความเป็นกลางในอารมณ์ (ตัตรมัชฌัตตตา) คือจิตปราศจากความยินดียินร้าย ไม่มีอคติต่ออารมณ์คือไม่พยายามรักษาอารมณ์บางอย่าง หรือพยายามละอารมณ์บางอย่าง ถ้าขณะใดจิตหลงยินดียินร้าย หรือกวัดแกว่งไปตามความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ ขณะนั้นจิตไม่เป็นกลาง จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความสงบระงับ (ปัสสัทธิ) คือเมื่อจิตรู้อารมณ์ใดก็รู้ด้วยความสงบระงับ ไม่แส่ส่ายดิ้นรนไปตามอารมณ์นั้นๆ แม้ตัวอารมณ์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เมื่อถูกรู้แล้วก็สงบระงับเพราะไม่ถูกเติมเชื้อให้ฟุ้งซ่านหรือดิ้นรนมากขึ้น หากจิตรู้อารมณ์แล้วเกิดความแส่ส่ายต่างๆ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.4 ความเบา (ลหุตา) คือจิตรู้จะเบาสบาย ไม่มีน้ำหนักใดๆ เกิดขึ้นเพราะการรู้อารมณ์แม้แต่น้อย ขณะใดปฏิบัติแล้วเกิดความหนักหรือมีน้ำหนักขึ้นในใจแม้แต่เพียงนิดเดียว (ทั้งนี้รวมถึงน้ำหนักที่ติดลบคือความรู้สึกเบาหวิวผิดธรรมชาติทั้งหลายด้วย) แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.5 ความอ่อนโยนนุ่มนวล (มุทุตา) คือจิตรู้จะเป็นจิตที่อ่อนโยนนุ่มนวล ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.6 ความควรแก่การงาน (กัมมัญญตา) คือจิตรู้เป็นจิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา ไม่ถูกเจือปนครอบงำด้วยนิวรณ์ใดๆ (แต่ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นก็สามารถรู้ชัดและเอานิวรณ์นั่นแหละมาเป็นทุกขสัจจ์ที่ถูกรู้ คือมีนิวรณ์ รู้นิวรณ์ แต่นิวรณ์ไม่ครอบงำจิต แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่หากจิตถูกครอบงำด้วยนิวรณ์ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.7 ความคล่องแคล่ว (ปาคุญญตา) คือจิตรู้จะมีสติปราดเปรียวคล่องแคล่ว ขณะใดรู้สึกเฉื่อยเนือย ซึมเซา เกียจคร้าน แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.3.8 ความซื่อตรง (อุชุกตา) คือจิตจะทำหน้าที่รู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่ทำหน้าที่เกินกว่าการรู้อารมณ์ หากจิตไม่ทำหน้าที่รู้ไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ แต่พยายามเสพย์หรือแทรกแซงอารมณ์ด้วยอำนาจของกิเลส จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง 6.7.4 จิตรู้เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา / ปัญญินทรีย์ / สัมปชัญญะ / อโมหะ คือสามารถเจริญวิปัสสนาอยู่โดยรู้ชัดว่า จะทำอะไร(จะเจริญสติ) เพื่ออะไร(เพื่อความเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง) จะทำอย่างไร(จะเฝ้ารู้ปัจจุบันอารมณ์ตามความเป็นจริง) และจะเจริญสติอยู่ด้วยความรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอตามอารมณ์ใดๆ ไปด้วยอำนาจของโมหะ 7. สภาวธรรมคืออะไร 7.1 การเจริญสติที่ถูกต้องจะต้องระลึกรู้ถึงอารมณ์ปรมัตถ์ หรือเอาปรมัตถธรรมมาเป็นอารมณ์เครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติ ปรมัตถธรรมนี้บางท่านเรียกว่าสภาวธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ 4 ประการคือ รูป(ธรรมชาติที่แตกสลายได้เมื่อถูกกระทบด้วยความร้อนความเย็นเป็นต้น) จิต(ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิก(ธรรมชาติอันเป็นส่วนประกอบจิต) และนิพพาน(ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง พ้นทุกข์ พ้นกิเลสสิ้นเชิง) จะเจริญสติโดยไประลึกรู้สิ่งที่เป็นความคิดความฝัน(สมมุติบัญญัติ)ไม่ได้ เพราะความคิดความฝันทั้งหลายเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่ได้มีอยู่จริง 7.2 เราสามารถระลึกรู้ธรรมชาติทั้ง 4 ประการได้ด้วยทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือตัวรูปธรรมนั้นรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ส่วนนามธรรมรู้ได้ด้วยใจ 7.3 การรู้รูปทำได้ทุกๆ ทวารดังนี้คือ 7.3.1 รูปที่เรารู้ได้ด้วยตานั้นมีมากมายนับไม่ถ้วนว่ากี่แสนกี่ล้านรูป เช่นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก คนแก่ เสือ ลิง ปลา นก ทะเล แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ อัญมณี ฯลฯ แต่ในจำนวนรูปที่นับจำนวนไม่ถ้วนนั้น เอาเข้าจริงสิ่งที่ตามองเห็นก็คือสีเท่านั้นเอง แล้วอาศัยสัญญาคือความจำได้หมายรู้เข้ามาปรุงแต่งจิต จึงเกิดการจำแนกว่า กลุ่มสีอย่างนี้เรียกว่าผู้หญิง ผู้ชาย … อัญมณี สีจึงเป็นรูปตัวจริงที่เรารู้ได้ด้วยตา 7.3.2 รูปที่เรารู้ได้ด้วยหูก็คือเสียง รูปที่รู้ได้ด้วยจมูกคือกลิ่น รูปที่รู้ได้ด้วยลิ้นคือรส รูปที่รู้ได้ด้วยกายมี 3 ชนิดคือ ธาตุไฟหรือความเย็น-ร้อน ธาตุดินหรือความอ่อน-แข็ง และธาตุลมหรือความตึง-ไหว 7.3.3 รูปที่รู้ได้ด้วยใจมีจำนวนมากกว่ารูปที่รู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกาย ได้แก่ปสาทรูป 5 หรือประสาทสำหรับรับสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย กับรูปละเอียดหรือสุขุมรูป 16 เช่นรูปคือสารอาหาร รูปที่กำหนดเพศ รูปคือการเคลื่อนไหวกายและวาจาเพื่อสื่อความหมาย เป็นต้น 7.4 สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจนอกจาก รูปจำนวนมาก (21 รูป) ตามข้อ 7.3.3 แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างคือ (1) เจตสิก 52 ชนิด เช่น สุข ทุกข์ อุเบกขา ความจำได้หมายรู้ โลภะ โทสะ โมหะ ปีติ ศรัทธา วิริยะ ปัญญา ฯลฯ (2) จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ 89 หรือ 121 ดวง (3) นิพพาน และ (4) บัญญัติธรรม หรือสิ่งที่เป็นความคิดความฝันซึ่งไม่มีตัวจริง (อ้างอิงอภิธัมมัตถวิภาวินี) ใจจึงเป็นอายตนะที่รู้อารมณ์ได้กว้างขวางหลากหลายที่สุด 7.5 ถ้าจะกล่าวอย่างง่ายๆ การเจริญสติจะต้องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ซึ่งเป็นตัวแท้หรือตัวจริงของธรรมชาติ ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่คิดนึกเอาเอง(บัญญัติธรรม) เช่นเมื่อเราเข้าใกล้กองไฟ ความร้อนที่รู้ได้ทางกายนั่นแหละคืออารมณ์ปรมัตถ์ ส่วนคำพูดว่าร้อนๆ เป็นสมมุติบัญญัติ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้ถึงความร้อนที่มากระทบกาย ไม่ใช่ไปใช้ความคิดว่าไฟเป็นของร้อน เหมือนไฟกิเลสหรือไฟนรก เป็นต้น นอกจากนี้ จำเป็นต้องทราบด้วยว่าอารมณ์ชนิดใดรู้ได้ทางทวารใด เช่นถ้าจะกำหนดอิริยาบถคือรู้รูปยืน เดิน นั่ง นอน จะต้องรู้ด้วยใจ ไม่ใช่รู้ด้วยตาหรือด้วยกาย เป็นต้น 7.6 ในทางปฏิบัติจริงมีประเด็นเกี่ยวกับสภาวธรรมที่ควรทราบอีกบางอย่างคือ 7.6.1 จิตย่อมรู้อารมณ์ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และบัญญัติ จะเจาะจงเลือกรู้อย่างหนึ่งอย่างใดตามความอยากไม่ได้ ดังนั้นขณะใดจิตระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ก็รู้ทัน ขณะใดจิตรู้อารมณ์บัญญัติก็รู้ทัน เพราะแม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ย่อมรู้อารมณ์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ใช่รู้เฉพาะอารมณ์ปรมัตถ์อย่างเดียว 7.6.2 ในการเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มต้นด้วยการมีสติระลึกรู้รูปหรือนามอย่างใดก่อนก็ได้แล้วแต่ความถนัด คือจะเลือกเจริญสติปัฏฐานหมวดใดก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องรู้รูปนามหรือเจริญสติปัฏฐานให้ครบทุกชนิด แค่รู้เพียงรูปหรือนามอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นรู้ธาตุดิน (สิ่งที่แข็ง-อ่อน) จนเห็นธาตุดินทั้งในกายและนอกกายเป็นอนัตตา หรือรู้กุศลและอกุศลที่กำลังปรากฏ เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หากพยายามทำสติปัฏฐานทุกหมวด/ทุกบรรพ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังจะเกิดความฟุ้งซ่านเพราะความจับจดในการปฏิบัติได้ด้วย 7.6.3 แม้ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติอาจต้องจงใจระลึกรู้สภาวธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่ของจิต(วิหารธรรม)ไปก่อนก็จริง แต่ในขั้นที่สติพัฒนามากขึ้นจนเป็นมหาสติคือสติอัตโนมัติแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเลือกรู้อารมณ์ไม่ได้ หากมีอารมณ์ปรากฏทางทวารใดสติก็รู้ชัดทางทวารนั้น โดยจิตจะระลึกรู้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือธัมมารมณ์ หรือรู้ กาย เวทนา จิต หรือธรรม ไปตามธรรมชาติทีละขณะ มิหนำซ้ำผู้ปฏิบัติยังจะได้พบความจริงด้วยว่า จะบังคับให้จิตรู้เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไม่ได้ เพราะจิตเองก็เป็นอนัตตาคือเป็นของที่บังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ 8. ที่กำลังปรากฏหมายถึงอะไร 8.1 การมีสติระลึกรู้สภาวธรรมทั้งหลายนั้น มีหลักสำคัญว่า ต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือคิดล้ำไปถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ทั้งนี้พระพุทธศาสนาเน้นการทำประโยชน์ในปัจจุบันเป็นสำคัญ ดังที่พระศาสดาทรงแสดงไว้ในภัทเทกรัตตสูตร (พระไตรปิฎก 14/527) ความว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ 8.2 ตัวอย่างเช่น ถ้าในขณะนี้มีความโกรธ ก็รู้ถึงสภาวะของความโกรธที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่โกรธเพื่อนเมื่อวานนี้แล้วมาวันนี้เพิ่งนึกได้ว่าโกรธ จากนั้นก็นั่งเสียใจว่าไม่น่าโกรธเพื่อนเลย อาการเช่นนี้ล้วนแต่ไม่เป็นปัจจุบัน คือขณะที่โกรธเมื่อวานนี้ก็ไม่รู้ ขณะนี้กำลังเสียใจที่โกรธเพื่อนก็ไม่รู้อีกเพราะมัวคิดถึงเรื่องเมื่อวาน หรือพอนึกได้ว่าโกรธเพื่อนไปเมื่อวาน ก็คิดว่าจะต้องไปง้อเพื่อนสักหน่อย จากนั้นก็กังวลว่าเราไปง้อแล้วเขาจะคืนดีไหมหนอ นี่ก็เป็นความกังวลในปัจจุบันที่เราไม่รู้ทัน เพราะมัวคิดถึงอนาคตเสีย 8.3 ธรรมชาติของจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น และหน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือการระลึกรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏในปัจจุบันจริงๆ อย่าพยายามหน่วงอารมณ์ที่เป็นอดีตไว้ดูนานๆ เพราะกลัวไม่เห็นไตรลักษณ์ ตัวอย่างเช่นเมื่อตาเห็นสีกลุ่มหนึ่งก็ให้รู้สีนั้นตามที่มันเป็นจริง เพราะสีนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ที่เรียกว่ารูปารมณ์ ต่อมาสัญญาเกิดจำรูปได้ว่านั่นเป็นรูปคนรักของเรา จิตเกิดความชอบใจอันเป็นราคะขึ้น ความชอบใจนั้นเป็นอารมณ์ใหม่ที่รู้ด้วยใจ(ธัมมารมณ์) หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือรู้เข้าไปที่สภาวะของความชอบใจที่กำลังปรากฏนั้น ไม่ใช่ย้อนกลับไปคิดพิจารณารูปคนรัก ว่าเป็นปฏิกูลอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อละราคะ เพราะรูปคนรักกลายเป็นอดีตไปแล้ว ส่วนราคะเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่กำลังแสดงความตั้งอยู่และดับไปให้เรารู้ได้ เป็นต้น 8.4 เมื่อกล่าวว่าให้เรารู้อารมณ์ปัจจุบัน บางคนอาจเกิดความสับสนว่า ถ้าเช่นนั้นชาวพุทธคงไม่สามารถวางแผนงานในอนาคตได้ การคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ในยามใดเรามีหน้าที่ต้องวางแผนงานก็ต้องวางแผนงาน แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงพิจารณาล่วงหน้าทุกเช้าว่า วันนี้ท่านควรแสดงธรรมโปรดใคร ด้วยเรื่องอะไร โปรดแล้วจะเกิดผลอย่างไร นับว่าท่านเป็นนักวางแผนชั้นเลิศ คือ (1) ทรงกำหนดบุคคลเป้าหมาย (2) กำหนดวิธีการ (3) กำหนดเนื้อหาธรรมที่จะสื่อสารกับผู้นั้น และ (4) พิจารณาถึงผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นจะได้รับด้วย ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักเลือกใช้ธรรมให้ถูกกาละเทศะ ยามใดมีหน้าที่วางแผนก็ต้องวางแผน มีหน้าที่เรียนก็ต้องเรียน มีหน้าที่ทำงานก็ต้องทำงาน จุดใดควรเจริญสติก็เจริญสติ จุดใดต้องใช้สมาธิในการทำงานก็ใช้สมาธิ จุดใดควรใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองก็ต้องใช้ความคิด ไม่ใช่เจริญสติรวดเดียวโดยไม่รู้จักทำความสงบใจหรือใช้ความคิดพิจารณาตามหน้าที่ของตน 8.5 มีข้อควรสังเกตประการหนึ่งก็คือ คำว่าปัจจุบันนั้นไม่ได้หมายถึงวันนี้ ชั่วโมงนี้ นาทีนี้ หรือแม้กระทั่งวินาทีนี้ แต่หมายถึง การระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาเราในขณะจิตนี้ ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นที่สุดจนทำอะไรมากเกินกว่ารู้ไม่ได้ 9. ตามความเป็นจริงหมายถึงอะไร 9.1 เรื่องในข้อ 6 มุ่งทำความเข้าใจว่า จิตที่รู้ได้ถูกต้องนั้นมีสภาพอย่างไร ข้อ 7 เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ข้อ 8 เป็นการชี้ว่าการรู้ต้องรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน ส่วนหัวข้อนี้ เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อรู้สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันได้แล้ว ต้องระลึกรู้สภาวธรรมนั้น ตามความเป็นจริงเท่านั้น คือรู้สภาวะตรงตามที่มันกำลังเป็นอยู่ และไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะเหล่านั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น 9.2 นักปฏิบัติจำนวนมากพอพบเห็นสภาวธรรมใดๆ เข้า ก็มักไม่ระลึกรู้สภาวธรรมนั้นตามความเป็นจริง เนื่องจากถูกครอบงำด้วย ตัณหาและทิฏฐิ ทำให้การรับรู้ไม่บริสุทธิ์ ตัวอย่างเช่น 9.2.1 เมื่อรู้อกุศลธรรมก็พยายามละ เช่นเมื่อพบว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็พยายามบริกรรมพุทโธบ้าง บริกรรมฟุ้งซ่านหนอบ้าง เพื่อให้หายฟุ้งซ่าน เมื่อพบว่าจิตมีกามราคะก็พยายามพิจารณาอสุภะ เมื่อพบว่าจิตมีโทสะก็พยายามแผ่เมตตา หรือเมื่อพบว่าจิตเป็นทุกข์ก็พยายามละทุกข์นั้นด้วยวิธีการต่างๆ ฯลฯ การกระทำเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 9.2.1.1 เพราะเกิดความเห็นผิดเนื่องจากเคยได้ยินคำสอนว่า ให้ละความชั่วบาปทั้งปวง พอพบเห็นอกุศลธรรมจึงพยายามละ หารู้ไม่ว่าการเจริญสตินั้นเลยขั้นการละบาปและการเจริญกุศลให้ถึงพร้อมมาแล้ว แต่เป็นขั้นการทำจิตให้ผ่องแผ้วเหนือดีเหนือชั่ว หรือบางท่านตีความคำสอนของพระศาสดาคลาดเคลื่อน เช่นอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นีวรณบรรพ แล้วเข้าใจว่าพระศาสดาทรงสอนให้รู้และละนิวรณ์ด้วย จึงเข้าใจผิดว่าการเจริญสติที่แท้จริงมีทั้งการรู้และการละสภาวธรรม จะรู้อย่างเดียวไม่ได้ 9.2.1.2 เพราะไม่ทราบว่า กิจต่อทุกขสัจจ์ได้แก่การรู้ ไม่ใช่การละ เมื่อพบทุกข์จึงพยายามละทุกข์ อันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับจิตใจที่รักสุขเกลียดทุกข์ 9.2.1.3 เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญวิปัสสนาที่ให้รู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง จนรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และบังคับเอาตามใจอยากไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงแล้วจิตจึงปล่อยวาง แล้วพ้นทุกข์ได้ด้วยการปล่อยวาง 9.2.1.4 เพราะคุ้นเคยกับการทำสมถะ หรือคิดว่าการปฏิบัติธรรมคือการทำความสงบเท่านั้น สมถะให้ความสุขได้ประณีตยิ่งกว่ากามสุข ผู้ทำสมถะมีความสงบในจิตใจบ้าง เกิดความรู้ความเห็นต่างๆ เป็นเรื่องสนุกและน่าภูมิใจบ้าง จึงเป็นที่นิยมยกย่องกันมากในหมู่นักปฏิบัติ ดังนั้นพอพบธรรมอันใดเป็นข้าศึกต่อความสงบ จึงพยายามละธรรมอันนั้น 9.2.2 เมื่อรู้กุศลธรรมก็พยายามรักษาหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยหวังว่าเมื่อพัฒนาให้ดีได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จิตจะหลุดพ้นในสักวันหนึ่งข้างหน้า เพราะพระอรหันต์คือ "คนที่จิตใจดีเลิศนิรันดร" ทัศนะเช่นนี้ผิดพลาดมาก เพราะจิตก็ดี กุศลเจตสิกก็ดี เป็นสังขารทั้งสิ้น ย่อมมีความแปรปรวนและบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้วต่างหาก จิตจึงปล่อยวางความยึดมั่นจิต แล้วหลุดพ้นเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ใช่หลุดพ้นเพราะทำจิต ซึ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยง ให้เที่ยงได้ 9.2.3 เกิดความไม่มั่นใจว่า การเฝ้ารู้เพียงเท่านี้จะได้ผลเพียงพอแก่การรู้ธรรม จึงต้องพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของการรับรู้นั้น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 9.2.3.1 การช่วยคิดพิจารณาสภาวธรรมที่กำลังถูกรู้นั้น เช่นเมื่อรู้โทสะก็พยายามคิดว่าโทสะไม่ดี นำความทุกข์มาให้ โทสะมีโทษมากอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น 9.2.3.2 การเพ่งจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่อสภาวธรรมนั้น เพื่อจะรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อเพ่งให้ดับ หรือบางทีถึงกับตามจ้องจนลืมตัวถลำเข้าไปในจิตส่วนลึกซึ่งในขณะนั้นยังรู้อารมณ์อันนั้นได้อยู่ แต่เป็นการรู้แบบคนที่ชะโงกดูสิ่งของในน้ำจนตนเองตกน้ำแล้วยังไม่รู้ตัวว่าตกน้ำ ก็มี 9.2.3.3 การลดปมด้อยซึ่งเกิดจากการคิดเอาเองว่า เรายังขาดคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นขาด ทาน สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เนกขัมมะ ศรัทธา วิริยะ สติ หิริ โอตตัปปะ ศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ จะต้องเพิ่มคุณธรรมเหล่านั้นให้เพียงพอและสมดุลกับคุณความดีอื่นๆ เสียก่อนจึงจะเจริญสติได้ แท้จริงถ้ามีความรู้ความเข้าใจ(มีสัมมาทิฏฐิ)จนรู้จักเจริญสติได้แล้ว คุณธรรมฝ่ายดีทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากมุ่งเพิ่มบารมีต่างๆ โดยละเลยการเจริญสติ ก็เหมือนคนที่เตรียมเสบียงเพื่อเดินทางไกล แต่ไม่ยอมก้าวเท้าออกจากบ้านสักที อีกกี่ปีก็ไปไม่ถึงจุดหมายที่หวังไว้ 9.3 เหตุผลที่ต้องรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็เพราะว่า เราจำเป็นต้องรู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ต้องการดัดแปลงหรือควบคุมสภาวธรรมเหล่านั้น ทั้งนี้ตามหัวข้อที่ 3 และ 4 ของบทความนี้ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า ความไม่รู้จักสภาวธรรมตามความเป็นจริงทำให้เกิดตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ หากทำลายความไม่รู้เสียได้ ตัณหาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก 9.4 การพยายามเข้าไปแทรกแซงการรู้สภาวธรรมจะก่อให้เกิดความหลงผิดหนักยิ่งขึ้น เช่นเมื่อกิเลสคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้น ด้วยการบริกรรมว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" ไม่นานความฟุ้งซ่านก็จะดับไปได้ (เพราะการบริกรรมไปยับยั้งความคิดอันเป็นต้นตอของความฟุ้งซ่าน) ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความสำคัญผิดว่า กิเลสเป็นสิ่งที่บังคับควบคุมได้(เป็นอัตตา) หรือจิตนี้เป็นตัวตนของเราที่สั่งได้ตามใจชอบ(เป็นอัตตา) ยิ่งปฏิบัติยิ่งชำนาญในการเพ่งจ้องหรือบริกรรมแก้กิเลส ความหลงผิดก็ยิ่งพอกพูนก่อให้เกิดมานะอัตตามากกว่าเก่าเสียอีก รวมทั้งไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงว่า ธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับธรรมนั้นก็ดับ กลายเป็นว่าเราดับธรรมนั้นได้ตามใจชอบเพราะเราฝึก"วิปัสสนา"จนเก่งแล้ว 9.5 โดยธรรมชาติของปุถุชนแล้ว อกุศลจิตเกิดอยู่แทบตลอดเวลา ส่วนกุศลจิตเกิดขึ้นน้อยมาก เช่นเรามักนั่งใจลอยทีละนานๆ อาจจะเป็นชั่วโมงๆ (ด้วยอำนาจของโมหะ) จึงเกิดระลึกรู้ทันว่ากำลังใจลอยอยู่ ขณะใจลอยนั้นจิตเป็นอกุศล แต่ขณะที่มีสติรู้ทันและความใจลอยดับไปโดยอัตโนมัตินั้น จิตเป็นกุศลเรียบร้อยแล้ว (ทันทีที่เกิดสติ/รู้ อกุศลจะดับไปเอง เมื่อมีสติ/รู้ จึงไม่มีอกุศลจะให้ละ แต่สิ่งที่ถูกละไปได้แก่อนุสัยหรือกิเลสที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตใจ ด้วยเหตุนี้แหละ หน้าที่ของเราจึงมีเพียงการรู้ ไม่ต้องละกิเลสเพราะในขณะที่มีสติบริบูรณ์นั้น ไม่มีกิเลสจะให้ละ แม้แต่ความทุกข์ก็ไม่ต้องไปคิดละมัน หากมันมีเหตุมันก็เกิด หากหมดเหตุมันก็ดับ หน้าที่ของเราคือรู้ทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว) จุดอ่อนของผู้เจริญสติก็คือจับหลักการเจริญสติได้ไม่แม่นยำ จิตจึงพลิกไปเป็นอกุศลอีกได้ในพริบตาเดียว คือพอเกิดความรู้ตัวเพียงวับเดียว แล้วก็อาจหลงคร่ำครวญถึงอดีตว่า "ตายละ เราหลงมาตั้งชั่วโมงหนึ่งแล้ว อย่างนี้จะเอาดีในทางธรรมได้อย่างไร" หรือเกิดห่วงกังวลถึงอนาคตว่า "ทำอย่างไรเราจะไม่หลงไปเหมือนที่เคยหลงมาแล้ว" การพยายามทำอะไรมากกว่ารู้ไปตามธรรมดาทีละขณะๆ นี้แหละ เป็นความผิดพลาดอย่างสำคัญทีเดียว 9.6 การรู้นั้น หากบริสุทธิ์บริบูรณ์ถึงขีดสุดจะมีสภาพที่เรียกว่า "สักว่ารู้" เป็นสภาวะรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง โดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงในการรับรู้นั้นแม้แต่น้อย เช่น (1) ไม่เติมความจงใจที่จะคิดคำนึงถึงสภาวธรรม(อารมณ์)นั้นๆ ว่า "นี้คือรูป นี้คือนาม ชื่อนี้ๆ ทำกิจอย่างนี้ มีผลอย่างนี้ มีเหตุใกล้อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่งาม และที่กำลังรู้อยู่นี้ก็เป็นสักว่ารู้" และ (2) ไม่เติมความจงใจที่จะหมายรู้จิตแม้แต่น้อย เจตน์จำนงหรือความจงใจที่จะหมายรู้(อารมณ์)ของใจ ซึ่งครอบคลุมทั้งการหมายรู้อารมณ์และการหมายรู้จิตนี้เอง เป็นอาหารหรือเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำกรรมหรือก่อพฤติกรรมทางใจ (และพฤติกรรมทางกายในขั้นต่อมา) ที่เรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" หรือ "การทำกรรมฐาน" ขึ้น สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดความจงใจก็คือความไม่รู้(อวิชชา)ว่าการกระทำเช่นนั้นจะก่อภพก่อชาติและก่อทุกข์ขึ้นมา และเพราะยางใยแห่งความยึดจิต จึงอยากให้จิตหลุดพ้น จึงต้องเที่ยวแสวงหาธรรม ความปรุงแต่งเหล่านี้ได้ปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ที่ปราศจากตัวตน(นิพพาน)ไว้ ทั้งที่นิพพานนั้นไม่เกิดไม่ตายมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ความปรุงแต่งได้ปิดกั้นญาณทัสสนะของเราไว้ไม่ให้ประจักษ์ถึงนิพพานอันเป็นอมตธาตุได้ อาการ สักว่ารู้ นั้นเกิดเพราะจิตมีปัญญารู้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความทะยานอยาก การแสวงหา การปรุงแต่งใดๆ แม้กระทั่งความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์เพื่อทำกรรมฐาน ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จิตจึงหยุดความคิดนึกปรุงแต่ง (แต่ความคิดอาจจะหยุดหรือไม่ก็ได้ จิตจะไม่สนใจบังคับให้หมดความคิด) หยุดการแสวงหา และหมดพฤติกรรมอาการของจิตอย่างสิ้นเชิง จิตเข้าถึงสภาพรู้ที่เป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายอย่างแท้จริง นี้คือจุดที่มหากุศลเต็มบริบูรณ์แล้ว 9.7 เมื่อปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้อารมณ์แต่รู้อารมณ์(ปรมัตถ์) และปราศจากความจงใจที่จะหมายรู้จิตแต่รู้จิต การปรุงแต่งภพชาติหรือความเป็นตัวตนของจิตก็มีขึ้นไม่ได้ ผู้ปฏิบัติที่อินทรีย์แก่รอบแล้วก็จะพบเห็นว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งมีอยู่ เป็นความว่างจากตัวตนและความปรุงแต่งอย่างแท้จริง ที่สุดแห่งทุกข์คือนิโรธหรือนิพพานปรากฏเฉพาะหน้าอยู่ตรงนี้เอง อนึ่งจิตที่บริสุทธิ์กับนิพพานเป็นธรรมคนละอย่างกัน คือจิตที่บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติรู้ที่ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้ง แต่ก็ยังเป็นของที่ตกอยู่ในกลุ่มธรรมที่ต้องเกิดดับ ส่วนนิพพานซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ปราศจากตัวตน ไร้รูปลักษณ์ ขนาด ขอบเขตและที่ตั้งเช่นกัน แต่นิพพานเป็นอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้าโดยไม่มีผู้ครอบครองเป็นเจ้าของนิพพาน และพ้นจากความเกิดดับ สภาวะ สักว่ารู้ ส่งผลให้ไม่มีตัวตนและถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง สมดังคำสอนของพระบรมศาสดาที่ประทานแก่ท่านพระพาหิยะว่า ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ (พาหิยสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 25/49) 10. ระลึกรู้แล้วได้อะไร 10.1 ผู้ปฏิบัติจำนวนมากเมื่อได้ยินคำสอนว่า "ให้มีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง" แล้วอาจเกิดความสงสัยว่า การปฏิบัติเพียงเท่านี้จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อการปฏิบัติที่ยากลำบากกว่านี้ ยังไม่ช่วยให้รู้ธรรมได้ แท้จริงการเจริญสติเป็นสิ่งวิเศษอัศจรรย์ที่สุด วิเศษถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า นี้เป็นทางสายเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ได้ และได้ผลเร็วด้วย บางคนภายใน 7 วัน บางคนภายใน 7 เดือน และบางคนภายใน 7 ปี ก็มี 10.2 พวกเราไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่าการเจริญสติมีประโยชน์อย่างใดบ้าง เพราะพระศาสดาทรงประทานคำชี้แนะไว้แล้วดังต่อไปนี้คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ (1) สติสัมปชัญญะมีอยู่ (2) หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ (3) อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ (4) ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร เมื่อศีลมีอยู่ (5) สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ (6) ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะ มีอยู่ (7) นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ (8) วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ (สติสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23/187) 10.3 จากพระพุทธวัจนะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บรรดาคุณความดีชั้นเลิศทั้งหลายจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะความมีสติสัมปชัญญะเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ 10.3.1 หิริและโอตตัปปะ (ได้แก่ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป) เมื่อใดมีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้เท่าทันการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย และรู้ถึงพิษภัยของกิเลสได้ด้วยว่ากิเลสนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่จิตใจอย่างไร จิตใจย่อมละอายและเกรงกลัวต่อบาป โอกาสที่จะทำอกุศลกรรมหนักๆ จึงไม่มี อนึ่งหิริและโอตตัปปะนี้เป็นเทวธรรม คือเป็นธรรมที่ทำคนให้เป็นเทวดาได้ 10.3.2 อินทรียสังวร (ได้แก่ความสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่เมื่อกระทบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธัมมารมณ์แล้ว หากไม่สำรวมระวัง บาปอกุศลก็จะครอบงำจิตได้) ผู้ใดมีสติสัมปชัญญะ มีความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปแล้ว ย่อมเกิดความสำรวมระวังอินทรีย์โดยอัตโนมัติทีเดียว อนึ่งการมีสติระลึกรู้สภาวธรรมเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กายและใจกระทบอารมณ์นี้เอง ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว 10.3.3 ศีล (ได้แก่ความเป็นปกติของจิต) เมื่อมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันการกระทบอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 อยู่ จิตย่อมไม่ถูกอกุศลครอบงำ พ้นจากความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ จิตก็เข้าถึงความเป็นปกติธรรมดาหรือศีล ซึ่งจิตที่เป็นปกตินี้เองมีคุณสมบัติคือความผ่องใส(ประภัสสร) จิตจะมีลักษณะรู้ ตื่น และเบิกบานโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากเคยพบจิตอย่างนี้จะทราบดีว่า สามารถอยู่เป็นสุขในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อนึ่งศีลสามารถส่งผลให้มีความสุข มีโภคทรัพย์ และถึงนิพพานได้ เพราะจิตยิ่งเป็นปกติเท่าใด ความปรุงแต่งยิ่งน้อยลงเท่านั้น หากจิตพ้นความปรุงแต่ง จิตย่อมสามารถรู้อารมณ์นิพพานซึ่งอยู่เหนือความปรุงแต่งได้ 10.3.4 สัมมาสมาธิ (ได้แก่ความตั้งมั่นของจิต ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในข้อ 6.4 ของบทความนี้) โดยธรรมชาติแล้ว จิตที่มีศีลนั่นแหละเป็นจิตที่มีสัมมาสมาธิ และจิตที่มีสัมมาสมาธิก็คือจิตที่มีศีล เพราะศีลกับสัมมาสมาธิเป็นเครื่องขัดเกลาส่งเสริมซึ่งกันและกัน เหมือนเราล้างมือขวาด้วยมือซ้าย และล้างมือซ้ายด้วยมือขวา อนึ่งการเจริญสัมมาสมาธินี้ย่อมส่งผลให้ผู้ปฏิบัติบางท่านเข้าถึงความสงบในระดับฌานได้ ซึ่งให้ความสุขในปัจจุบัน และส่งผลให้ผู้นั้นเข้าถึงกำเนิดในพรหมโลกได้ด้วยหากยังไม่เข้าถึงนิพพานในชีวิตนี้ 10.3.5 ยถาภูตญาณทัสนะ (ได้แก่การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปนามถูกต้องตามความเป็นจริง ภูตในที่นี้หมายถึงรูปนาม/ขันธ์ 5 ไม่ใช่ผีตามความหมายในภาษาไทย) การรู้เห็นความจริงเป็นส่วนของปัญญา ซึ่งปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด คือเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกลางและมีสติระลึกรู้อารมณ์(รูปนาม) ก็จะเห็นรูปนามตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่อยากจะให้เป็น(ด้วยตัณหา) หรือตามที่คิดว่าน่าจะเป็น(ด้วยทิฏฐิ) 10.3.6 นิพพิทาวิราคะ (ได้แก่ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด) เมื่อรู้จักรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายเอือมระอา(นิพพิทา)ต่อรูปนามทั้งหลาย เพราะเห็นความไม่มีสาระแก่นสาร สภาวะของนิพพิทาไม่ใช่ความเบื่ออย่างโลกๆ ที่เป็นการเบื่อทุกข์แต่อยากได้สุข นิพพิทานั้นเห็นทั้งทุกข์และสุข ทั้งดีและชั่ว น่าเอือมระอาเสมอกัน เมื่อเกิดนิพพิทาแล้วจิตย่อมเกิดวิราคะอันเป็นสิ่งตรงข้ามกับตัณหา ได้แก่การหมดความดิ้นรนทะยานอยากที่จะปฏิเสธทุกข์หรือแสวงหาสุข จิตจะเข้าถึงความเป็นกลางต่อสังขารอย่างแท้จริง เพราะรู้ชัดแล้วว่า (1) ในธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปธรรมและนามธรรม (2) รูปธรรมและนามธรรมมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหรือไม่อยู่ในบังคับของใคร (3) รูปธรรมและนามธรรมมีเหตุปัจจัยให้เกิด แปรปรวนไปตามเหตุ และถ้าเหตุดับมันก็ดับ และ (4) รู้ว่าความยึดถือในรูปธรรมและนามธรรมจะนำทุกข์มาให้ นี้คือการรู้อริยสัจจ์ในสายเกิด 10.3.7 วิมุตติญาณทัสนะ (ได้แก่ความรู้แจ้งเกี่ยวกับสภาวธรรมแห่งความหลุดพ้นจากเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลส) เมื่อจิตเป็นกลางต่อสังขาร จนรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตจะก้าวกระโดดอย่างฉับพลันไปสู่ความหลุดพ้น โดยผู้ปฏิบัติไม่ได้จงใจจะให้เป็นไปเช่นนั้น เป็นการประจักษ์ต่อนิโรธสัจจ์ หรือนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติที่ได้พบอารมณ์นิพพานด้วยการบรรลุมรรคผลถึง 4 ครั้งแล้ว ย่อมพ้นทุกข์พ้นกิเลสสิ้นเชิง ได้รับบรมสุขอันเนื่องจากจิตพ้นจากความเสียดแทงทั้งปวง อนึ่งผู้ที่เคยพบนิพพานแล้วในขณะที่เกิดมรรคผล อาจพบนิพพานได้อีกเพื่อเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย 2 วิธีการคือ (1) การไม่มนสิการ(ใส่ใจ)ถึงสังขารทั้งหลาย พอจิตวางอารมณ์ที่เป็นสังขารก็จะไปรู้อารมณ์นิพพาน หรือ (2) การมนสิการถึงอารมณ์นิพพานโดยตรง ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นประโยชน์สุขในปัจจุบันที่ได้มาด้วยการเจริญสติเท่านั้น 10.4 สรุปแล้ว สตินี้แหละยิ่งเกิดบ่อยยิ่งดี นอกจากการเจริญสติแล้วไม่ใช่ทางหรืออริยมรรคที่แท้จริง คำสอนใดที่มุ่งปรุงแต่ง(กุศล)เพื่อแก้ความปรุงแต่ง(อกุศล) คำสอนนั้นเป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า (แต่อาจจำเป็นในเบื้องต้นสำหรับบางคน) คำสอนใดให้เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล)จนพ้นจากความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล) คำสอนนั้นเป็นทาง(มรรค)ตัดตรงเข้าถึงความพ้นทุกข์สิ้นเชิง(นิโรธ/นิพพาน) ครูบาอาจารย์พระป่าทั้งหลายซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของผู้เขียน เช่นหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นต้น ท่านก็เน้นนักหนาให้ผู้เขียนเจริญสติคือรู้ไว้ บางท่านยกหัวใจคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ มาสอนผู้เขียนว่า หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า "ทำสมาธิ(ความสงบ)มากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน สิ่งสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ จะเดินจงกรมก็ต้องเดินด้วยความมีสติ นั่งสมาธิก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ ทำสิ่งใดก็ต้องทำด้วยความมีสติ เพราะเมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ผู้เขียนก็ได้อาศัยคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ดังกล่าวนี้เป็นแนวทางปฏิบัติตลอดมา…….. โดย พระปราโมทย์ ปาโมชโช

สารคดี สำรวจกาลเวลา

สารคดี สำรวจกาลเวลา

กล้องโทรทรรศน์ Hubbleกล้องโทรทรรศน์ Hubble

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรม แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป เป็นอย่างนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก ทำไมสลัดคืน ก็มันเป็นตัวทุกข์ มันจะไปยกไว้ทำไม จะไปแบกไว้ทำไม ไม่ถือเอาไว้สลัดทิ้งไป .

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันตนนั่นเหละเป็นที่พึงของตน ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้นเรื่องของมันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันที

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับตนนั่นเหละเป็นที่พึงของตน ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้นเรื่องของมันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันที

เจอปัญหาต้องแก้อย่าอ้างทางสายกลาง หลวงพ่อปราโมทย์ บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้ง ปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้ เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึง จะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

เจอปัญหาต้องแก้อย่าอ้างทางสายกลาง หลวงพ่อปราโมทย์

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน รู้ที่เดียว คือที่จิต นอกนั้นเป็นแค่อาการ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดเลย ให้รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องแล้วก็รู้ จิตไหลไปอยู่ที่เท้าก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ส่วนถามว่าเดินจงกรม ท่าไหนดี? ... ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู ต้องแยกอย่างนี้ แล้วจะเห็นทันที กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา .... ไปดัดแปลงมัน ไม่ได้รู้ตามที่มันเป็น จุดนี้สำคัญ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดติดอยู่ตรงนี้แหละ ..เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

อย่าคิดว่าเราเป็นพระอริยะเจ้าเพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมด­เทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อ­ง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับ จิตจะปรุงแต่งอะไรไม่สำคัญนะ ปัญหาไปอยู่ที่เราไปปรุงแต่งจิต จิตจะปรุงความสุข ปรุงความทุกข์ ปรุงกุศล ปรุงอกุศล ไม่ใช่ปัญหาเลย จิตเขาก็ทำงานไปตามความคุ้นเคยของเขานั่นแหละ ยกตัวอย่างเราเดินอยู่ดีๆ เรามีนิสัยขี้โมโห เดินๆอยู่นะ คนมาเหยียบขาเราหน่อยนะ โมโหแล้วนะ ความโกรธเกิดขึ้นนี้ จิตปรุงความโกรธขึ้นมา ไม่ใช่ปัญหานะ จิตมันโกรธไม่ใช่ปัญหา เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอจิตมีความโกรธขึ้นมาแล้วเนี่ย ถ้าใจคล้อยตามความดโกรธเนี่ย เป็นปัญหาละ หรือถ้าใจต่อต้านความโกรธ เป็นปัญหาละ ใจต่อต้านความโกรธ เช่น พอโกรธปุ๊บ อุ๊ยโกรธไม่ดี ไม่โกรธดีกว่า ใช่มั้ย เข้าไปสู่ความเป็นคู่แล้ว อันหนึ่งดีอันหนึ่งไม่ดีละ เริ่มให้ค่าๆ ใจก็เริ่มดิ้นสิ ทำอย่างไรจะหายโกรธ ก็ดิ้นๆใหญ่นะ พุทโธๆ โกรธหนอๆ จะให้หายโกรธนะ ตรงนี้แหละใจเรากำลังปรุงแต่งอยู่ เพราะฉะนั้น จิตใจนะ มันมีธรรมชาติปรุงแต่งของมันเองอยู่แล้ว ไม่เป็นไร มันจะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่ว ไม่เป็นไร แต่พอสติเราไประลึกรู้แล้วเรารู้ไม่ทันขึ้นมาจริงๆนะ มันเกิดยินดียินร้าย ยินดียินร้ายแล้วคราวนี้ล่ะ เราปรุงแต่งล่ะ ไม่ใช่จิตปรุงนะ แต่เราปรุงแต่งล่ะ ตัวนี้คือตัวปัญหา มันง่ายกว่าที่นึกนะ ง่ายสุดขีดเลย เพราะเราไม่ต้องทำอะไร เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด ตอบกลับ · Sompong Tungmepol6 เดือนที่ผ่านมา ผู้สละโลก ผลงานของ ท่านอาจารย์ วศินอินทสระ ตอบกลับ · Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการภาวนา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญธรรมอันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ สติ.... ธัมมวิจยะ... วิริยะ... ปีติ.... ปัสสสัทธิ... สมาธิ... อุบเกขา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อความสละ ... เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....ฯ” Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยความอดกลั้น.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด ย่อมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ คำเสียดสี... อดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกาย.... เมื่อเธออดทนอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเมื่อเธอไม่รวมพึงเป็นเหตุให้อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น... ย่อมไม่มีแก่เธอ... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “....บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า... ไม่เป็นคนมีโทสะกล้า... ไม่เป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะ โทสะ โมหะ เนือง ๆ (แต่) อินทรีย์ ๕ ประการ.... คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาของเขา ปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน....” Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง ห่อนแก้ ฤาไหว พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า.. Born men are we all and one Brown black by the sun culture Knowledge can be done alike Only the heart differs from man to man Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่ บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่ว­งไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่ม­าถึงสิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มาผู้ใดเห­็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่น­ั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,ไม่ง่อนแง่นคลอนแ­คลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้คว­ามเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้นะ เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ­่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีค­วามเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคื­นว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม" Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอัน แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่ เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น ธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการซ่องเสพ.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นเสพจีวรเพียงเพื่อป้องกัน หนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด.... เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันน่าละอาย... ย่อมเสพบิณฑบาต. เพียงเพื่อความดำรงอยู่... ย่อมเสพเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด... เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิดจากฤดู. ย่อมเสพคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเพียงเพื่อบรรเทาเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่าง ๆ . เมื่อเธอเสพอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มี.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ภาวนานี้ได้ชื่อว่าอานาปานสติ เพราะมีการกำหนดที่ลมหายใจ หรือด้วยลมหายใจหรือโดยการเนื่องด้วยลมหายใจ เช่นเดียวกับอานาปานสติในขั้นต้น ๆ ที่แล้วมาและได้ชื่อว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา ก็เพราะเป็นการเจริญภาวนา ที่มีการกำหนดสิตหรือการเข้าไปตั้งไว้ซึ่งสติ ด้วยการตามพิจารณาซึ่งเวทนานั้นเอง. และเนื่องจากภาวนานี้เป็นไปทุกลมหายใจเข้า – ออก จึงกล่าวว่าเป็นอานาปานสติด้วย เป็นสติปัฏฐานภาวนาด้วย ด้วยอาการอย่างนี้. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยง ช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ที่มีหนาม หลุม ตลิ่งชัน บ่อโสโครก ท่อโสโครก... ย่อมหลีกเหลี่ยงที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรเที่ยวไป และบาปมิตร.... เมื่อเธอหลีกเลี่ยงอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกี­ยจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั­่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา เรามีพระพุทธเจ้าเป็นบิดา มีพระอรหันต์สาวกเป็น พี่. Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา เพราะประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น เมื่อพาก เพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส การรักษาอุโบสถ โดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้ ชื่อว่า อริยอุโบสถ Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการบรรเทา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไปซึ่งพยาบาทวิตก.... ซึ่งวิหิงสาวิตก... ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ... เมื่อเธอบรรเทาทาอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด ตอบกลับ · Sompong Tungmepol6 เดือนที่ผ่านมา ผู้สละโลก ผลงานของ ท่านอาจารย์ วศินอินทสระ ตอบกลับ · Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการภาวนา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญธรรมอันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ สติ.... ธัมมวิจยะ... วิริยะ... ปีติ.... ปัสสสัทธิ... สมาธิ... อุบเกขา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อความสละ ... เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....ฯ” Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยความอดกลั้น.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด ย่อมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ คำเสียดสี... อดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกาย.... เมื่อเธออดทนอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเมื่อเธอไม่รวมพึงเป็นเหตุให้อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น... ย่อมไม่มีแก่เธอ... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “....บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า... ไม่เป็นคนมีโทสะกล้า... ไม่เป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะ โทสะ โมหะ เนือง ๆ (แต่) อินทรีย์ ๕ ประการ.... คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาของเขา ปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน....” Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง ห่อนแก้ ฤาไหว พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า.. Born men are we all and one Brown black by the sun culture Knowledge can be done alike Only the heart differs from man to man Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่ บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่ว­งไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่ม­าถึงสิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มาผู้ใดเห­็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่น­ั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,ไม่ง่อนแง่นคลอนแ­คลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้คว­ามเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้นะ เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ­่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีค­วามเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคื­นว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม" Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอัน แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่ เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น ธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการซ่องเสพ.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นเสพจีวรเพียงเพื่อป้องกัน หนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด.... เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันน่าละอาย... ย่อมเสพบิณฑบาต. เพียงเพื่อความดำรงอยู่... ย่อมเสพเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด... เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิดจากฤดู. ย่อมเสพคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเพียงเพื่อบรรเทาเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่าง ๆ . เมื่อเธอเสพอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มี.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ภาวนานี้ได้ชื่อว่าอานาปานสติ เพราะมีการกำหนดที่ลมหายใจ หรือด้วยลมหายใจหรือโดยการเนื่องด้วยลมหายใจ เช่นเดียวกับอานาปานสติในขั้นต้น ๆ ที่แล้วมาและได้ชื่อว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา ก็เพราะเป็นการเจริญภาวนา ที่มีการกำหนดสิตหรือการเข้าไปตั้งไว้ซึ่งสติ ด้วยการตามพิจารณาซึ่งเวทนานั้นเอง. และเนื่องจากภาวนานี้เป็นไปทุกลมหายใจเข้า – ออก จึงกล่าวว่าเป็นอานาปานสติด้วย เป็นสติปัฏฐานภาวนาด้วย ด้วยอาการอย่างนี้. Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยง ช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ที่มีหนาม หลุม ตลิ่งชัน บ่อโสโครก ท่อโสโครก... ย่อมหลีกเหลี่ยงที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรเที่ยวไป และบาปมิตร.... เมื่อเธอหลีกเลี่ยงอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ.... Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกี­ยจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั­่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา เรามีพระพุทธเจ้าเป็นบิดา มีพระอรหันต์สาวกเป็น พี่. Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน Sompong Tungmepol1 ปีที่ผ่านมา เพราะประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น เมื่อพาก เพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส การรักษาอุโบสถ โดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้ ชื่อว่า อริยอุโบสถ Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการบรรเทา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไปซึ่งพยาบาทวิตก.... ซึ่งวิหิงสาวิตก... ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ... เมื่อเธอบรรเทาทาอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจ

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มรรคเบี้องต้นคือ โสตาปัตติมรรคละ ความเห็นผิด ละการยึดถือข้อปฏิบัติผิด และละความสงสัย จะละโลภะ โทสะ โมหะ ยัง ไม่ได้ อนาคามิมรรคละโทสะ ละการติดในกาม อรหัตมรรคละโลภะที่ติดในภพ ละมานะ ละโมหะ คือกิเลสทั้งหมดจะละได้เมื่อเป็นพระอรหันต์

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี

ธรรมะที่อาจจะได้ใช้ในอนาคต“ธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด การปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็คือการศึกษาธรรมะนั่นเอง ธรรมะก็คือกายกับใจ กายเรียกว่ารูปธรรม ใจเรียกว่านามธรรม ให้เราศึกษากาย ศึกษาใจ ศึกษาไปเรื่อย ตามดูว่าความเป็นจริงของกายเป็นยังไง ความเป็นจริงของใจเป็นยังไง ตัวความเป็นจริงนั่นแหละ ตัวธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ก็คือเข้าถึงธรรมะ … ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี…”

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือนรู้ที่เดียว คือที่จิต นอกนั้นเป็นแค่อาการ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดเลย ให้รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องแล้วก็รู้ จิตไหลไปอยู่ที่เท้าก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ส่วนถามว่าเดินจงกรม ท่าไหนดี? ... ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู ต้องแยกอย่างนี้ แล้วจะเห็นทันที กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา .... ไปดัดแปลงมัน ไม่ได้รู้ตามที่มันเป็น จุดนี้สำคัญ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดติดอยู่ตรงนี้แหละ ...

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป 

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือนรู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานทีนี้มาว่ากันถึง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตอนนี้พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้รู้อารมณ์ของจิต ให้รู้อยู่นะขอรับ ว่าจิตเป็นยังไง กำหนดรู้ไว้ ท่านตั้งรู้ไว้ถึง ๑๕ ข้อด้วยกัน จะพูดให้ฟัง อาการมันเหมือนกันนะขอรับ ผมจะไม่พูดให้ละเอียดหรอก เวลาสิบนาทีนี่พอ คือว่า ๑. รู้อยู่ว่าจิตมีราคะ ๒. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากราคะ คือไม่ต้องการความสวยสดงดงามใดๆ ตั้งใจฟังให้ดีนะครับ เอากันแค่รู้นะ ยังไม่ใช่ละ ๓. รู้อยู่ว่าจิตมีโทสะ คือความโกรธ ความไม่ชอบใจ ๔. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากโทสะ ว่าเวลานี้เราว่าง เราไม่ได้โกรธใครนะขอรับ เราไม่ได้คิดจะโกรธใคร ไม่คิดจะฆ่าจะด่าจะตีใคร ไม่พยาบาทปองร้ายใคร ๕. รู้อยู่ว่าจิตมีโมหะ ไอ้โมหะนี่ ความหลงความชั่วยึดโน่นยึดนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา ร่างกายก็ของเรา ทรัพย์สินก็ของเรา ลูก เมีย ผัว หลาน อะไรต่ออะไรมันเป็นของเราไปหมด หลอกตัวเอง ความโง่ โมหะ คือ ความโง่ นะขอรับ ชาวบ้านเขาจะแปลว่ายังไงก็ช่าง เขาแปลว่าความหลง ถ้าคนไม่โง่ มันก็ไม่หลง ทีนี้ ๖. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากโมหะ คือว่าเวลานี้จิตของเรามีปัญญา รู้ว่าร่างกายเรามันจะตาย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันจะสลายตัว มันไม่มีอะไรทรงสภาพ มันเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา สลายไปในที่สุด อีตอนนี้เรียกว่าจิตปราศจากโมหะ เป็นนักปราชญ์ เป็นคนฉลาด มันเป็นตอนๆ ให้รู้อยู่นะ ทีนี้ ๗. รู้อยู่ว่าจิตของเราหดหู่ คือมันเหี่ยวมันแห้งไม่มีกำลังใจ ๘. รู้อยู่ว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน คิดสร้างวิมานในอากาศ คิดส่งเดชหาเหตุหาผลไม่ได้ หาสิ่งที่เป็นสาระไม่ได้ ๙. รู้อยู่ว่าจิตมีอารมณ์ใหญ่ ไอ้จิตมีอารมณ์ใหญ่นี้จิคคิดสร้างบ้านสร้างเมือง อยากมีผัวมีเมีย อยากมีลูก อยากมีทรัพย์มีสิน อยากมีอำนาจวาสนาว่ากันจิปาถะ หาจุดจบไม่ได้ คิดเรื่อยเปื่อยไปทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุมีผลที่จะเป็นไปได้ ๑๐. รู้อยู่ว่าจิตไม่มีอารมณ์ใหญ่ หมายความว่าเวลานี้จิตของเราอยู่ในวงแคบ คิดในวงของร่างกายอย่างเดียว นี่ไม่มีอารมณ์ใหญ่นะขอรับ ๑๑. รู้อยู่ว่าอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า มีอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า นี่หมายความว่าตามธรรมดาน่ะ เราเป็นคนเฉยๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เวลานี้ซิกลับมีความปรารถนาอยากจะเป็นคนดีมีศีล อยากจะเป็นคนมีสมาธิ อยากจะเป็นคนมีวิปัสสนาญาณแจ่มใส คิดว่าอัตภาพร่างกายหรือความเป็นอยู่มันไม่คงทนถาวรต่อไป ไม่ช้ามันก็ตาย ไม่ช้ามันก็สลายตัว เราอยากจะไปนิพพานดีกว่า นี่เป็นอารมณ์ที่เยี่ยมกว่าอารมณ์ธรรมดานะขอรับ หวังพระนิพพานเป็นอารมณ์ ๑๒. รู้อยู่ว่าเราไม่มีอารมณ์อย่างอื่นที่เยี่ยมกว่า คือยามปกติมันเกิดอารมณ์ขึ้นอีกทางหนึ่งบอกอย่าไปมันเลยนิพพาน ไปเชื่อหลวงตาที่นั่งพูดนี่ไม่มีประโยชน์ ไปทำไมอยู่ในโลกนี้ดีกว่า มีโขน มีละคร มีหนัง มีความรัก มีก๋วยเตี๋ยวมีบะหมี่กินกันตามสบาย นี่อารมณ์ระยำของใจ มันเกิดขึ้นแบบนี้ เรียกว่าไม่มีอารมณ์ที่เยี่ยมกว่าอารมณ์ปกติ ๑๓. มีจิตตั้งมั่น รู้อยู่ว่าเวลานี้มีจิตตั้งมั่น นี่หมายความว่าอารมณ์ส่ายที่เป็น อุทธัจจกุกกุจจะ มันไม่มี อารมณ์นอกเหนือจากสมาธิที่เราตั้งใจไว้ไม่มี คือเราตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน อารมณ์ก็ตั้งอยู่เฉพาะเท่านั้น หรือว่าในธาตุ ในปฏิกูล ในสัญญา ในอะไรก็ตาม ในนวสีก็ตาม อารมณ์ตั้งอยู่โดยเฉพาะไม่สอดส่ายไปในอารมณ์อื่นๆ ยิ่งไปกว่านี้ นี่เรียกอารมณ์จิตตั้งมั่น ทีนี้ ๑๔. รู้อยู่ว่าในขณะนี้เรามีอารมณ์จิตไม่ตั้งมั่น นี่ขณะใดที่จิตมันส่ายออกนอกลู่นอกทางนอกจากอารมณ์ของความดี หรือความดีใดๆ ที่เราตั้งใจจะทรงไว้ แต่มันก็แลบออกไปเสียแล้วอย่างนี้เรารู้อยู่ ท่านเรียกว่ารู้อยู่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น ทีนี้ข้อที่ ๑๕ ข้อสุดท้าย เรารู้อยู่ว่าเวลานี้จิตเราหลุดพ้น รู้อยู่ว่าจิตหลุดพ้น แล้วข้อที่ ๑๖ เรารู้อยู่ว่าเวลานี้จิตเราไม่หลุดพ้น นี่ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนะขอรับ พระคุณเจ้าและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่นับถือ อาการอย่างนี้ทั้งหมดไม่ต้องท่องจำก็ได้ คือว่าไม่จำเป็นต้องเกาะตำรา เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมปชัญญะ ว่าขณะนี้เรามีอารมณ์เป็นยังไง คือรู้อารมณ์ คุมอารมณ์เท่านั้นนะขอรับ ว่าเรามีอารมณ์เป็นยังไง ถ้าจิตมีอารมณ์ราคะ ก็พยายามแก้ราคะเสีย จิตมีอารมณ์โทสะ ก็แก้โทสะเสีย จิตมีอารมณ์โมหะ ก็แก้โมหะเสีย หากฎของความเป็นจริง ถ้าจิตหดหู่ ก็สร้างจิตให้มันเบิกบานตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น คือว่าถ้ารู้ว่ามันมีจิตชั่ว จิตมันมี ๒ จิต รวมความว่า ไอ้จิตน่ะมันมี ๒ จิต ที่พูดมาแล้วทั้งหมดมันมีอยู่ ๒ อย่าง คือว่า จิตมีอารมณ์ดี หรือว่า จิตมีอารมณ์ชั่ว ถ้าจิตมีอารมณ์ดีเนื่องในกุศลส่วนใดส่วนหนึ่งอันนั้นควรส่งเสริมพยายามทำให้มากขึ้น รักษาอารมณ์นั้นให้แจ่มใส ถ้าอารมณ์ชั่วของจิตเกิดขึ้นเมื่อใดพยายามแก้ทันที นี่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแนะนำ เตือนให้รู้อยู่เสมอว่าขณะนี้อารมณ์จิตของเราเป็นยังไง เรื่องอารมณ์ของจิตนะขอรับ พระคุณเจ้าที่เคารพและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เรามักจะเผลอกัน เราไม่ค่อยได้สนใจกัน อุปกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของตัวเองไม่ค่อยมีใครสนใจ มักจะไปสนใจกับเรื่องของบุคคลอื่น อันนี้มันเป็น อุปกิเลส นะขอรับ รวมความว่าเข้าถึงความชั่ว อุป แปลว่า เข้าไป กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมอง ไอ้ความเศร้าหมองก็ความชั่วนั่นเอง ขอประทานอภัยนะขอรับ พระคุณเจ้ารักความชั่วหรือรักความดี ถ้ารักความชั่วก็นิมนต์สนใจกับเรื่องของชาวบ้านให้มาก เรื่องส่วนตัวไม่ต้องสนใจ ถ้ารักความดีละก็ตัดความสนใจกับเรื่องของชาวบ้านเขาเสีย เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปัสสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ แต่ถ้าหากว่าพระคุณเจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า ว่าเวลานี้จิตของเรามีสีหรือไม่มีสี มันจะมีสีอะไรสักสีหนึ่งนะขอรับ ไม่ต้องอธิบายเรื่องสี นั่นแสดงว่าความชั่วปักเข้ามาในจิตแล้วนะขอรับ สีของจิต สีทั้งหมดจะเป็นสีขาว สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีดำ สีอะไรก็ตาม เลอะเทอะแล้วครับ ใช้ไม่ได้ สีขาวธรรมดาก็ใช้ไม่ได้นะครับ สีขาวธรรมดา สีขาวอยู่ในเกณฑ์ดี อยู่ในเกณฑ์จิตผ่องใส อยู่ในเกณฑ์จิตสงบ แต่ว่าจิตสงบอย่างเลว ใช้ไม่ได้นะขอรับ เป็นสีที่เลวง่าย ต้องขัดสีแก้วให้เป็นสีประกายพรึกคล้ายๆ กระจกเงาที่ตั้งไว้ทวนแสงพระอาทิตย์ มองดูแล้วแพรวพราว จะหมดทั้งดวงหรือไม่หมดก็ตามใจ ถ้ามันเป็นประกายน้อยก็ขัดให้มันเป็นประกายมาก เป็นอาการระงับกิเลส กำจัดกิเลสให้สิ้นไป กิเลสหมดไปเท่าไร จิตเป็นประกายเท่านั้น แต่ใสๆ เหมือนแก้วล้างแล้วนี่ เป็นอารมณ์ของอุเบกขาในฌาน ๔ เท่านี้ยังไม่ดีนะครับ เขาเรียกว่าเด็กพึ่งสอนเดิน มันล้มง่าย สู้ขับให้เป็นประกายพรึกเหมือนกับกระจกเงาที่ตั้งทวนแสงพระอาทิตย์ไม่ได้ อย่างนี้แหละดี นี่ถ้าหากว่าท่านฝึกวิชชาสามได้แล้วมีประโยชน์มาก การบรรลุมรรคผลเป็นไปได้โดยรวดเร็ว คือว่าไม่เกินกำหนดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าหากว่าท่านได้สำเร็จ ทิพจักขุญาณ แล้ว สามารถสำเร็จมรรคผลได้ภายใน ๗ วัน ถ้าขี้เกียจหน่อยก็ภายใน ๗ เดือน ถ้าขี้เกียจมากอีกนิดก็ภายใน ๗ ปี ไม่เกินนี้นะครับ พระคุณเจ้าและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เอ..นี่ ว่าไปว่ามาเวลามันก็เหลืออีกนิดเดียว ขอลาบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทกลับก่อนดีกว่า วันพุธหน้ามาพบกันใหม่ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนและพระคุณเจ้าที่รับฟังทุกท่าน สวัสดี*

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องทีนี้มาว่ากันถึง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตอนนี้พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้รู้อารมณ์ของจิต ให้รู้อยู่นะขอรับ ว่าจิตเป็นยังไง กำหนดรู้ไว้ ท่านตั้งรู้ไว้ถึง ๑๕ ข้อด้วยกัน จะพูดให้ฟัง อาการมันเหมือนกันนะขอรับ ผมจะไม่พูดให้ละเอียดหรอก เวลาสิบนาทีนี่พอ คือว่า ๑. รู้อยู่ว่าจิตมีราคะ ๒. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากราคะ คือไม่ต้องการความสวยสดงดงามใดๆ ตั้งใจฟังให้ดีนะครับ เอากันแค่รู้นะ ยังไม่ใช่ละ ๓. รู้อยู่ว่าจิตมีโทสะ คือความโกรธ ความไม่ชอบใจ ๔. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากโทสะ ว่าเวลานี้เราว่าง เราไม่ได้โกรธใครนะขอรับ เราไม่ได้คิดจะโกรธใคร ไม่คิดจะฆ่าจะด่าจะตีใคร ไม่พยาบาทปองร้ายใคร ๕. รู้อยู่ว่าจิตมีโมหะ ไอ้โมหะนี่ ความหลงความชั่วยึดโน่นยึดนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา ร่างกายก็ของเรา ทรัพย์สินก็ของเรา ลูก เมีย ผัว หลาน อะไรต่ออะไรมันเป็นของเราไปหมด หลอกตัวเอง ความโง่ โมหะ คือ ความโง่ นะขอรับ ชาวบ้านเขาจะแปลว่ายังไงก็ช่าง เขาแปลว่าความหลง ถ้าคนไม่โง่ มันก็ไม่หลง ทีนี้ ๖. รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากโมหะ คือว่าเวลานี้จิตของเรามีปัญญา รู้ว่าร่างกายเรามันจะตาย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันจะสลายตัว มันไม่มีอะไรทรงสภาพ มันเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา สลายไปในที่สุด อีตอนนี้เรียกว่าจิตปราศจากโมหะ เป็นนักปราชญ์ เป็นคนฉลาด มันเป็นตอนๆ ให้รู้อยู่นะ ทีนี้ ๗. รู้อยู่ว่าจิตของเราหดหู่ คือมันเหี่ยวมันแห้งไม่มีกำลังใจ ๘. รู้อยู่ว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน คิดสร้างวิมานในอากาศ คิดส่งเดชหาเหตุหาผลไม่ได้ หาสิ่งที่เป็นสาระไม่ได้ ๙. รู้อยู่ว่าจิตมีอารมณ์ใหญ่ ไอ้จิตมีอารมณ์ใหญ่นี้จิคคิดสร้างบ้านสร้างเมือง อยากมีผัวมีเมีย อยากมีลูก อยากมีทรัพย์มีสิน อยากมีอำนาจวาสนาว่ากันจิปาถะ หาจุดจบไม่ได้ คิดเรื่อยเปื่อยไปทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุมีผลที่จะเป็นไปได้ ๑๐. รู้อยู่ว่าจิตไม่มีอารมณ์ใหญ่ หมายความว่าเวลานี้จิตของเราอยู่ในวงแคบ คิดในวงของร่างกายอย่างเดียว นี่ไม่มีอารมณ์ใหญ่นะขอรับ ๑๑. รู้อยู่ว่าอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า มีอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า นี่หมายความว่าตามธรรมดาน่ะ เราเป็นคนเฉยๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เวลานี้ซิกลับมีความปรารถนาอยากจะเป็นคนดีมีศีล อยากจะเป็นคนมีสมาธิ อยากจะเป็นคนมีวิปัสสนาญาณแจ่มใส คิดว่าอัตภาพร่างกายหรือความเป็นอยู่มันไม่คงทนถาวรต่อไป ไม่ช้ามันก็ตาย ไม่ช้ามันก็สลายตัว เราอยากจะไปนิพพานดีกว่า นี่เป็นอารมณ์ที่เยี่ยมกว่าอารมณ์ธรรมดานะขอรับ หวังพระนิพพานเป็นอารมณ์ ๑๒. รู้อยู่ว่าเราไม่มีอารมณ์อย่างอื่นที่เยี่ยมกว่า คือยามปกติมันเกิดอารมณ์ขึ้นอีกทางหนึ่งบอกอย่าไปมันเลยนิพพาน ไปเชื่อหลวงตาที่นั่งพูดนี่ไม่มีประโยชน์ ไปทำไมอยู่ในโลกนี้ดีกว่า มีโขน มีละคร มีหนัง มีความรัก มีก๋วยเตี๋ยวมีบะหมี่กินกันตามสบาย นี่อารมณ์ระยำของใจ มันเกิดขึ้นแบบนี้ เรียกว่าไม่มีอารมณ์ที่เยี่ยมกว่าอารมณ์ปกติ ๑๓. มีจิตตั้งมั่น รู้อยู่ว่าเวลานี้มีจิตตั้งมั่น นี่หมายความว่าอารมณ์ส่ายที่เป็น อุทธัจจกุกกุจจะ มันไม่มี อารมณ์นอกเหนือจากสมาธิที่เราตั้งใจไว้ไม่มี คือเราตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน อารมณ์ก็ตั้งอยู่เฉพาะเท่านั้น หรือว่าในธาตุ ในปฏิกูล ในสัญญา ในอะไรก็ตาม ในนวสีก็ตาม อารมณ์ตั้งอยู่โดยเฉพาะไม่สอดส่ายไปในอารมณ์อื่นๆ ยิ่งไปกว่านี้ นี่เรียกอารมณ์จิตตั้งมั่น ทีนี้ ๑๔. รู้อยู่ว่าในขณะนี้เรามีอารมณ์จิตไม่ตั้งมั่น นี่ขณะใดที่จิตมันส่ายออกนอกลู่นอกทางนอกจากอารมณ์ของความดี หรือความดีใดๆ ที่เราตั้งใจจะทรงไว้ แต่มันก็แลบออกไปเสียแล้วอย่างนี้เรารู้อยู่ ท่านเรียกว่ารู้อยู่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น ทีนี้ข้อที่ ๑๕ ข้อสุดท้าย เรารู้อยู่ว่าเวลานี้จิตเราหลุดพ้น รู้อยู่ว่าจิตหลุดพ้น แล้วข้อที่ ๑๖ เรารู้อยู่ว่าเวลานี้จิตเราไม่หลุดพ้น นี่ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนะขอรับ พระคุณเจ้าและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่นับถือ อาการอย่างนี้ทั้งหมดไม่ต้องท่องจำก็ได้ คือว่าไม่จำเป็นต้องเกาะตำรา เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมปชัญญะ ว่าขณะนี้เรามีอารมณ์เป็นยังไง คือรู้อารมณ์ คุมอารมณ์เท่านั้นนะขอรับ ว่าเรามีอารมณ์เป็นยังไง ถ้าจิตมีอารมณ์ราคะ ก็พยายามแก้ราคะเสีย จิตมีอารมณ์โทสะ ก็แก้โทสะเสีย จิตมีอารมณ์โมหะ ก็แก้โมหะเสีย หากฎของความเป็นจริง ถ้าจิตหดหู่ ก็สร้างจิตให้มันเบิกบานตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น คือว่าถ้ารู้ว่ามันมีจิตชั่ว จิตมันมี ๒ จิต รวมความว่า ไอ้จิตน่ะมันมี ๒ จิต ที่พูดมาแล้วทั้งหมดมันมีอยู่ ๒ อย่าง คือว่า จิตมีอารมณ์ดี หรือว่า จิตมีอารมณ์ชั่ว ถ้าจิตมีอารมณ์ดีเนื่องในกุศลส่วนใดส่วนหนึ่งอันนั้นควรส่งเสริมพยายามทำให้มากขึ้น รักษาอารมณ์นั้นให้แจ่มใส ถ้าอารมณ์ชั่วของจิตเกิดขึ้นเมื่อใดพยายามแก้ทันที นี่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแนะนำ เตือนให้รู้อยู่เสมอว่าขณะนี้อารมณ์จิตของเราเป็นยังไง เรื่องอารมณ์ของจิตนะขอรับ พระคุณเจ้าที่เคารพและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เรามักจะเผลอกัน เราไม่ค่อยได้สนใจกัน อุปกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของตัวเองไม่ค่อยมีใครสนใจ มักจะไปสนใจกับเรื่องของบุคคลอื่น อันนี้มันเป็น อุปกิเลส นะขอรับ รวมความว่าเข้าถึงความชั่ว อุป แปลว่า เข้าไป กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมอง ไอ้ความเศร้าหมองก็ความชั่วนั่นเอง ขอประทานอภัยนะขอรับ พระคุณเจ้ารักความชั่วหรือรักความดี ถ้ารักความชั่วก็นิมนต์สนใจกับเรื่องของชาวบ้านให้มาก เรื่องส่วนตัวไม่ต้องสนใจ ถ้ารักความดีละก็ตัดความสนใจกับเรื่องของชาวบ้านเขาเสีย เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปัสสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ แต่ถ้าหากว่าพระคุณเจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า ว่าเวลานี้จิตของเรามีสีหรือไม่มีสี มันจะมีสีอะไรสักสีหนึ่งนะขอรับ ไม่ต้องอธิบายเรื่องสี นั่นแสดงว่าความชั่วปักเข้ามาในจิตแล้วนะขอรับ สีของจิต สีทั้งหมดจะเป็นสีขาว สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีดำ สีอะไรก็ตาม เลอะเทอะแล้วครับ ใช้ไม่ได้ สีขาวธรรมดาก็ใช้ไม่ได้นะครับ สีขาวธรรมดา สีขาวอยู่ในเกณฑ์ดี อยู่ในเกณฑ์จิตผ่องใส อยู่ในเกณฑ์จิตสงบ แต่ว่าจิตสงบอย่างเลว ใช้ไม่ได้นะขอรับ เป็นสีที่เลวง่าย ต้องขัดสีแก้วให้เป็นสีประกายพรึกคล้ายๆ กระจกเงาที่ตั้งไว้ทวนแสงพระอาทิตย์ มองดูแล้วแพรวพราว จะหมดทั้งดวงหรือไม่หมดก็ตามใจ ถ้ามันเป็นประกายน้อยก็ขัดให้มันเป็นประกายมาก เป็นอาการระงับกิเลส กำจัดกิเลสให้สิ้นไป กิเลสหมดไปเท่าไร จิตเป็นประกายเท่านั้น แต่ใสๆ เหมือนแก้วล้างแล้วนี่ เป็นอารมณ์ของอุเบกขาในฌาน ๔ เท่านี้ยังไม่ดีนะครับ เขาเรียกว่าเด็กพึ่งสอนเดิน มันล้มง่าย สู้ขับให้เป็นประกายพรึกเหมือนกับกระจกเงาที่ตั้งทวนแสงพระอาทิตย์ไม่ได้ อย่างนี้แหละดี นี่ถ้าหากว่าท่านฝึกวิชชาสามได้แล้วมีประโยชน์มาก การบรรลุมรรคผลเป็นไปได้โดยรวดเร็ว คือว่าไม่เกินกำหนดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าหากว่าท่านได้สำเร็จ ทิพจักขุญาณ แล้ว สามารถสำเร็จมรรคผลได้ภายใน ๗ วัน ถ้าขี้เกียจหน่อยก็ภายใน ๗ เดือน ถ้าขี้เกียจมากอีกนิดก็ภายใน ๗ ปี ไม่เกินนี้นะครับ พระคุณเจ้าและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เอ..นี่ ว่าไปว่ามาเวลามันก็เหลืออีกนิดเดียว ขอลาบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทกลับก่อนดีกว่า วันพุธหน้ามาพบกันใหม่ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนและพระคุณเจ้าที่รับฟังทุกท่าน สวัสดี*

โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทำอย่างไรใจเราจะไม่ทุกข์จิตที่ตั้งมั่น จะเห็นความจริง เกิดปัญญา หลวงพ่อปราโมทย์: ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทำอย่างไรใจเราจะไม่ทุกข์จิตที่ตั้งมั่น จะเห็นความจริง เกิดปัญญา หลวงพ่อปราโมทย์: ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทำอย่างไรใจเราจะไม่ทุกข์

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาและทุกข์ทั้งปวง ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

พาไปกราบพระพุทธเจ้าและนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดียครับhttp://www.youtube.com/watch?v=lrx1IbBrBlg

พระพุทธองค์ทรงชี้หนทางสว่างแสงธรรมส่องทางท่ามกลางโลกอันเวียนวน หลวงพ่อปราโมทย์ :ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง ตัวสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่งท่าเดิน ไม่ใช่เดินท่าไหนถูก นั่งท่าไหนถูก จะเอามือไว้ตรงไหน เรื่องไร้สาระเลย อันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนจะถนัดเอามือไว้ตรงไหนก็เอาไป จุดสำคัญคือรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนในการทำสมาธิท่านถึงเรียกว่า “จิตตสิกขา” ไม่ใช่ให้เรียนเรื่องกายเรื่องจะเอามือเอาไม้ไว้ที่ไหนหรอก ใครจะถนัดเอามือไว้อย่างไรก็เอาไว้อย่างนั้นแหละ มีคราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปหินหมากเป้ง ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ยังอยู่ ท่านสรางมณฑปใหม่แล้วท่านไปอยู่ในมณฑป กุฏิเก่ายังไม่รื้อ เป็นไม้ ท่านให้หลวงพ่อไปพักที่กุฏิเก่าของท่าน กุฏิเก่ากับมณฑปนี้ห่างกันนิดเดียว จากกุฎิเก่ามองเข้าไปทะลุ ผนังเป็นกระจก มณฑปนั้นเป็นกระจกนะ มองเห็นท่านได้ทั้งคืนเลย เราไปถึงก็เนื้อยเหนื่อยนะ ไปถึงแต่มืดเลยเดินทางมาทั้งคืนแล้ว ไปถึงหินหมากเป้งตอนเช้า ไม่ได้พักนะ ภาวนาไปอะไรไป กะว่าค่ำๆจะนอน หลวงปู่ให้ไปอยู่กุฏิเก่าของท่าน มองเห็นท่านอยู่ ท่านเดินจงกรมอยู่เราไม่กล้านอนน่ะ ครูบาอาจารย์ยังไม่นอนเลย ลูกศิษย์นอนก่อน เสียสถาบันนักปฏิบัติ ก็นั่งสมาธิ เดินก็ไม่ไหวแล้ว หนาวพิลึกพิลั่นเลย คอยนั่งสมาธิ คอยลืมตา หลวงปู่ยังเดินอยู่ กะว่าสี่ทุ่มท่านคงพักมั้ง ปลอบใจตัวเอง เปล่าสี่ทุ่มก็ไม่พักนะ ห้าทุ่ม ห้าทุ่มแล้วหลวงปู่ พอเสร็จแล้วดึกๆมากนะ เห็นท่านพัก ท่านพักเราก็รีบนอนเลย นอนไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ ตีสองอะไรอย่างนี้ อู๊ยมันหนาวจัดนะ ตื่นมา ชะโงกดู อุ๊ย..หลวงปู่มาเดินอยู่อีกแล้ว ต้องลุกขึ้นนั่ง หนาวแทบตายเลย เห็นท่านเดินจงกรม เป็นเงาตะคุ่มๆนะ มืดๆ ท่านไม่ได้เปิดไฟอะไรไว้ ในห้องที่ท่านอยู่มืดๆ แต่พอมองเห็น เพราะผนังมันเป็นกระจก ด้านหนึ่งพระจันทร์มันก็ส่องอะไรอย่างนี้ เห็นท่านเดินตะคุ่มๆ ใจก็สงสัยขึ้นมา เอ๊..หลวงปู่ หลวงปู่เดินจงกรมเนี่ย หลวงปู่เอามือไว้ตรงไหน ไว้อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าเอาไว้อย่างนี้ แต่ละสำนักเขาสอนไม่เหมือนกัน นึกถามท่านนะ ถามจบปุ๊บท่านก็.. เนี่ย เดินอย่างนี้เลยนะ อ๋อเข้าใจแล้วครับ พอใจบอกว่าเข้าใจแล้วครับ ท่านก็เอามือเก็บ มันไม่ได้อยู่ที่ท่าทาง อยู่ที่สติ พออีกวันไปหาท่าน ท่านก็พูดเรื่องการปฏิบัติ ให้ทำด้วยความมีสติ เพราะฉะนั้นอิริยาบถท่าทางอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ บางคนแกว่งแขนแล้วสติกระเด็นไปหมดเลยใช่มั้ย ก็เลยชอบให้นิ่งๆ มือเคลื่อนไหวมากๆนะจิตใจกระเจิดกระเจิงไป บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า นั่นไม่สำคัญหรอก สำคัญที่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นเดินไปแล้วให้มีสติรักษาจิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน จิตไปคิดแล้วรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน เนี่ยจะได้สมาธิขึ้นมา

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักที หลวงพ่อปราโมทย์ :ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง ตัวสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่งท่าเดิน ไม่ใช่เดินท่าไหนถูก นั่งท่าไหนถูก จะเอามือไว้ตรงไหน เรื่องไร้สาระเลย อันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนจะถนัดเอามือไว้ตรงไหนก็เอาไป จุดสำคัญคือรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนในการทำสมาธิท่านถึงเรียกว่า “จิตตสิกขา” ไม่ใช่ให้เรียนเรื่องกายเรื่องจะเอามือเอาไม้ไว้ที่ไหนหรอก ใครจะถนัดเอามือไว้อย่างไรก็เอาไว้อย่างนั้นแหละ มีคราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปหินหมากเป้ง ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ยังอยู่ ท่านสรางมณฑปใหม่แล้วท่านไปอยู่ในมณฑป กุฏิเก่ายังไม่รื้อ เป็นไม้ ท่านให้หลวงพ่อไปพักที่กุฏิเก่าของท่าน กุฏิเก่ากับมณฑปนี้ห่างกันนิดเดียว จากกุฎิเก่ามองเข้าไปทะลุ ผนังเป็นกระจก มณฑปนั้นเป็นกระจกนะ มองเห็นท่านได้ทั้งคืนเลย เราไปถึงก็เนื้อยเหนื่อยนะ ไปถึงแต่มืดเลยเดินทางมาทั้งคืนแล้ว ไปถึงหินหมากเป้งตอนเช้า ไม่ได้พักนะ ภาวนาไปอะไรไป กะว่าค่ำๆจะนอน หลวงปู่ให้ไปอยู่กุฏิเก่าของท่าน มองเห็นท่านอยู่ ท่านเดินจงกรมอยู่เราไม่กล้านอนน่ะ ครูบาอาจารย์ยังไม่นอนเลย ลูกศิษย์นอนก่อน เสียสถาบันนักปฏิบัติ ก็นั่งสมาธิ เดินก็ไม่ไหวแล้ว หนาวพิลึกพิลั่นเลย คอยนั่งสมาธิ คอยลืมตา หลวงปู่ยังเดินอยู่ กะว่าสี่ทุ่มท่านคงพักมั้ง ปลอบใจตัวเอง เปล่าสี่ทุ่มก็ไม่พักนะ ห้าทุ่ม ห้าทุ่มแล้วหลวงปู่ พอเสร็จแล้วดึกๆมากนะ เห็นท่านพัก ท่านพักเราก็รีบนอนเลย นอนไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ ตีสองอะไรอย่างนี้ อู๊ยมันหนาวจัดนะ ตื่นมา ชะโงกดู อุ๊ย..หลวงปู่มาเดินอยู่อีกแล้ว ต้องลุกขึ้นนั่ง หนาวแทบตายเลย เห็นท่านเดินจงกรม เป็นเงาตะคุ่มๆนะ มืดๆ ท่านไม่ได้เปิดไฟอะไรไว้ ในห้องที่ท่านอยู่มืดๆ แต่พอมองเห็น เพราะผนังมันเป็นกระจก ด้านหนึ่งพระจันทร์มันก็ส่องอะไรอย่างนี้ เห็นท่านเดินตะคุ่มๆ ใจก็สงสัยขึ้นมา เอ๊..หลวงปู่ หลวงปู่เดินจงกรมเนี่ย หลวงปู่เอามือไว้ตรงไหน ไว้อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าเอาไว้อย่างนี้ แต่ละสำนักเขาสอนไม่เหมือนกัน นึกถามท่านนะ ถามจบปุ๊บท่านก็.. เนี่ย เดินอย่างนี้เลยนะ อ๋อเข้าใจแล้วครับ พอใจบอกว่าเข้าใจแล้วครับ ท่านก็เอามือเก็บ มันไม่ได้อยู่ที่ท่าทาง อยู่ที่สติ พออีกวันไปหาท่าน ท่านก็พูดเรื่องการปฏิบัติ ให้ทำด้วยความมีสติ เพราะฉะนั้นอิริยาบถท่าทางอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ บางคนแกว่งแขนแล้วสติกระเด็นไปหมดเลยใช่มั้ย ก็เลยชอบให้นิ่งๆ มือเคลื่อนไหวมากๆนะจิตใจกระเจิดกระเจิงไป บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า นั่นไม่สำคัญหรอก สำคัญที่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นเดินไปแล้วให้มีสติรักษาจิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน จิตไปคิดแล้วรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน เนี่ยจะได้สมาธิขึ้นมา

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์จิตที่ตั้งมั่น จะเห็นความจริง เกิดปัญญา หลวงพ่อปราโมทย์: ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่งกับการบรรลุธรรมเป็นความต่างกันราวฟ้ากับดิน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับจิตจะปรุงแต่งอะไรไม่สำคัญนะ ปัญหาไปอยู่ที่เราไปปรุงแต่งจิต จิตจะปรุงความสุข ปรุงความทุกข์ ปรุงกุศล ปรุงอกุศล ไม่ใช่ปัญหาเลย จิตเขาก็ทำงานไปตามความคุ้นเคยของเขานั่นแหละ ยกตัวอย่างเราเดินอยู่ดีๆ เรามีนิสัยขี้โมโห เดินๆอยู่นะ คนมาเหยียบขาเราหน่อยนะ โมโหแล้วนะ ความโกรธเกิดขึ้นนี้ จิตปรุงความโกรธขึ้นมา ไม่ใช่ปัญหานะ จิตมันโกรธไม่ใช่ปัญหา เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอจิตมีความโกรธขึ้นมาแล้วเนี่ย ถ้าใจคล้อยตามความดโกรธเนี่ย เป็นปัญหาละ หรือถ้าใจต่อต้านความโกรธ เป็นปัญหาละ ใจต่อต้านความโกรธ เช่น พอโกรธปุ๊บ อุ๊ยโกรธไม่ดี ไม่โกรธดีกว่า ใช่มั้ย เข้าไปสู่ความเป็นคู่แล้ว อันหนึ่งดีอันหนึ่งไม่ดีละ เริ่มให้ค่าๆ ใจก็เริ่มดิ้นสิ ทำอย่างไรจะหายโกรธ ก็ดิ้นๆใหญ่นะ พุทโธๆ โกรธหนอๆ จะให้หายโกรธนะ ตรงนี้แหละใจเรากำลังปรุงแต่งอยู่ เพราะฉะนั้น จิตใจนะ มันมีธรรมชาติปรุงแต่งของมันเองอยู่แล้ว ไม่เป็นไร มันจะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่ว ไม่เป็นไร แต่พอสติเราไประลึกรู้แล้วเรารู้ไม่ทันขึ้นมาจริงๆนะ มันเกิดยินดียินร้าย ยินดียินร้ายแล้วคราวนี้ล่ะ เราปรุงแต่งล่ะ ไม่ใช่จิตปรุงนะ แต่เราปรุงแต่งล่ะ ตัวนี้คือตัวปัญหา มันง่ายกว่าที่นึกนะ ง่ายสุดขีดเลย เพราะเราไม่ต้องทำอะไร เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗ File: 500105 ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๓

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึง หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดป­รุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร ทางที่ดีมันต้องมีรูปแบบของการปฏิบัติไว้ซักอันหนึ่ง เราจะหัดพุทโธก็ได้ หัดเดินจงกรมก็ได้ ... รู้ว่าเป็นอย่างนั้น หัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้แล้วถึงจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้. การที่เราหัดดูจิตใจตัวเองนะ พุทโธแล้วก็ดูไป หลงไปก็รู้ เพ่งไว้ก็รู้ เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็รู้.. ตัวความเป็นจริงนั่นแหละ ตัวธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ก็คือเข้าถึงธรรมะ … ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม ... 

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึงหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดป­รุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึงhttp://www.youtube.com/watch?v=jl9Vcb3AbgU

ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

การเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

เพื่อนรักเพื่อนแท้ไม่ใช่ใครกายและใจของเรานี่เองเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับจิตจะปรุงแต่งอะไรไม่สำคัญนะ ปัญหาไปอยู่ที่เราไปปรุงแต่งจิต จิตจะปรุงความสุข ปรุงความทุกข์ ปรุงกุศล ปรุงอกุศล ไม่ใช่ปัญหาเลย จิตเขาก็ทำงานไปตามความคุ้นเคยของเขานั่นแหละ ยกตัวอย่างเราเดินอยู่ดีๆ เรามีนิสัยขี้โมโห เดินๆอยู่นะ คนมาเหยียบขาเราหน่อยนะ โมโหแล้วนะ ความโกรธเกิดขึ้นนี้ จิตปรุงความโกรธขึ้นมา ไม่ใช่ปัญหานะ จิตมันโกรธไม่ใช่ปัญหา เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอจิตมีความโกรธขึ้นมาแล้วเนี่ย ถ้าใจคล้อยตามความดโกรธเนี่ย เป็นปัญหาละ หรือถ้าใจต่อต้านความโกรธ เป็นปัญหาละ ใจต่อต้านความโกรธ เช่น พอโกรธปุ๊บ อุ๊ยโกรธไม่ดี ไม่โกรธดีกว่า ใช่มั้ย เข้าไปสู่ความเป็นคู่แล้ว อันหนึ่งดีอันหนึ่งไม่ดีละ เริ่มให้ค่าๆ ใจก็เริ่มดิ้นสิ ทำอย่างไรจะหายโกรธ ก็ดิ้นๆใหญ่นะ พุทโธๆ โกรธหนอๆ จะให้หายโกรธนะ ตรงนี้แหละใจเรากำลังปรุงแต่งอยู่ เพราะฉะนั้น จิตใจนะ มันมีธรรมชาติปรุงแต่งของมันเองอยู่แล้ว ไม่เป็นไร มันจะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่ว ไม่เป็นไร แต่พอสติเราไประลึกรู้แล้วเรารู้ไม่ทันขึ้นมาจริงๆนะ มันเกิดยินดียินร้าย ยินดียินร้ายแล้วคราวนี้ล่ะ เราปรุงแต่งล่ะ ไม่ใช่จิตปรุงนะ แต่เราปรุงแต่งล่ะ ตัวนี้คือตัวปัญหา มันง่ายกว่าที่นึกนะ ง่ายสุดขีดเลย เพราะเราไม่ต้องทำอะไร เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗ File: 500105 ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๓

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับจิตจะปรุงแต่งอะไรไม่สำคัญนะ ปัญหาไปอยู่ที่เราไปปรุงแต่งจิต จิตจะปรุงความสุข ปรุงความทุกข์ ปรุงกุศล ปรุงอกุศล ไม่ใช่ปัญหาเลย จิตเขาก็ทำงานไปตามความคุ้นเคยของเขานั่นแหละ ยกตัวอย่างเราเดินอยู่ดีๆ เรามีนิสัยขี้โมโห เดินๆอยู่นะ คนมาเหยียบขาเราหน่อยนะ โมโหแล้วนะ ความโกรธเกิดขึ้นนี้ จิตปรุงความโกรธขึ้นมา ไม่ใช่ปัญหานะ จิตมันโกรธไม่ใช่ปัญหา เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอจิตมีความโกรธขึ้นมาแล้วเนี่ย ถ้าใจคล้อยตามความดโกรธเนี่ย เป็นปัญหาละ หรือถ้าใจต่อต้านความโกรธ เป็นปัญหาละ ใจต่อต้านความโกรธ เช่น พอโกรธปุ๊บ อุ๊ยโกรธไม่ดี ไม่โกรธดีกว่า ใช่มั้ย เข้าไปสู่ความเป็นคู่แล้ว อันหนึ่งดีอันหนึ่งไม่ดีละ เริ่มให้ค่าๆ ใจก็เริ่มดิ้นสิ ทำอย่างไรจะหายโกรธ ก็ดิ้นๆใหญ่นะ พุทโธๆ โกรธหนอๆ จะให้หายโกรธนะ ตรงนี้แหละใจเรากำลังปรุงแต่งอยู่ เพราะฉะนั้น จิตใจนะ มันมีธรรมชาติปรุงแต่งของมันเองอยู่แล้ว ไม่เป็นไร มันจะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่ว ไม่เป็นไร แต่พอสติเราไประลึกรู้แล้วเรารู้ไม่ทันขึ้นมาจริงๆนะ มันเกิดยินดียินร้าย ยินดียินร้ายแล้วคราวนี้ล่ะ เราปรุงแต่งล่ะ ไม่ใช่จิตปรุงนะ แต่เราปรุงแต่งล่ะ ตัวนี้คือตัวปัญหา มันง่ายกว่าที่นึกนะ ง่ายสุดขีดเลย เพราะเราไม่ต้องทำอะไร เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗ File: 500105 ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๓

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีนั่งสมาธิและนั่งวิปัสสนาตรัสรู้หรือบรรลุธรรมได้หรือ ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

พระอริยะบุคคล พระอนาคามี นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

คำพูดบรรยายไม่หมด ได้แต่รู้กันด้วยใจ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคต พระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ผู้สละโลก ปลดแอกนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

โอวาทพระอานนท์นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

โอวาทพระอานนท์นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

เครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสขนาดไม่เกินหนึ่งแรงม้าครับรุ่นนี้ใช้ POWER MODULE PS21244 ของ MITSUBISHI ครับ ส่วน บอร์ด ควบคุม ยังคงใช้ MC3PHAC เหมือนเดิมครับ..PS21244 มีจำหน่ายที่ sompong industrial electronics 02-951-1356 081-803-6553 ครับ ราคา ตัวละ 400 บาท ครับ ....

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ป้องกันโรคด้วยนาฬิการ่างกาย นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคและท่านพระสารีบุตร ท่านพระ อุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน ใกล้เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียง แล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้แล ประดุจกำแกลบ เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ อุปเสนะว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระ อุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไป ภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราย ณ ที่นี้ ประดุจกำแกลบเล่า ท่านพระอุปเสนะ กล่าวว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือ จักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ดูกรท่านพระสารีบุตร เรา มิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร

Yangon.Myanmar.30 January 2012

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ นายนันทโคบาล // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พระผู้มีพระภาค // ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์อาสีวิสสูตร ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่ง มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชน ทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีฤทธิ์เดชแรง กล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้ เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลา นั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำ กิจนั้นเสีย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้ เป็นฆ่าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัว เพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตาม มาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่าน ควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่า หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาสู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัว เพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบ ห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้น เป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้าง นี้เป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือ แพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และ ใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้น ได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึง ฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความ โดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวก นั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า เพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ รถสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม มากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะ ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ๑ รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่ สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถม้าอันเทียมแล้ว ซึ่งมีประตักอันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา ขับไป ทางหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ ๔ แยก ซึ่งมีพื้นเรียบดี ตาม ความประสงค์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษาเพื่อจะรักษา ศึกษา เพื่อจะสำรวมศึกษาเพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรง อยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงฉาบทาผิวกาย ก็เพียงเพื่อต้องการเสพ หรือบุรุษพึง หยอดน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่ง ร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้ แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลากลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ สุขุมสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่ แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว (หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดอง ของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้ เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้ว ก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุ เหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน มนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่าน ทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่ อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๑ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ นายนันทโคบาล // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พระผู้มีพระภาค // ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ อวัสสุตสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย อยู่ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถาน ที่อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาล ไม่นาน เป็นสถานที่อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นก่อน สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบริโภคก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ จักทรงบริโภคในภายหลัง การทรงบริโภคของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาล นาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทรงทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จเข้าไปยัง สัณฐาคารใหม่ รับสั่งให้ลาดสัณฐาคารที่บุคคลลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว รับสั่งให้ตั้งแก้วน้ำไว้ประจำ แล้วรับสั่งให้ตามประทีปน้ำมันขึ้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัณฐาคารอันบุคคลปูลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะ แล้ว ตั้งแก้วน้ำประจำไว้แล้ว ตามประทีปน้ำมันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสำคัญกาลที่จะเสด็จเข้าไป ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรง ล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้าน หลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา ทำพระผู้มีพระภาคไว้ในเบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้ว ประทับนั่งพิงฝาด้านหน้า ทรงผินพระพักตร์ไปเบื้องหลัง ทรงทำพระผู้มีพระภาคไว้ ในเบื้องหน้าอย่างเดียวกัน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังเจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาหลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรท่านผู้โคตมโคตรทั้ง หลาย ราตรีล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลที่จะเสด็จไปเถิด เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จไป ฯ ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่ม แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นรับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกาม อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองใน ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลืออกุศลธรรมอัน ลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติ อยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศปัจจิม ใน ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่ว แล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้า นั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ภิกษุไม่ครอบงำรูป เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็น บาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อม รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะ พึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไป หาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้า แม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลาในทิศบูรพาด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟ ไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้า ไปใกล้กุฏาคารศาลานั้นในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศ เบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะ การขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่งด้วย คบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุ ครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาป เป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ดีแล้วๆ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ ทุกขธรรมสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรม เป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตาม เธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความ ดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความ เกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้... สัญญาดังนี้ สังขาร ทั้งหลายดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่ง วิญญาณดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่ง ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า เมื่อเธอ เห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิง นั้น บุรุษนั่นพึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าบุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือความ ทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฉันนั้นแล เมื่อเธอเห็นกาม ทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกาม ทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ โทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้าง ขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าเบียดเบียนเรา แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมคือปิยรูปและสาทรูปในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกาย คตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตาม ความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็น จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมี อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิด ขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อม ให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสาม หยาดตกลงในกะทะเหล็กอันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า ทีนั้นแล น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่าน ไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบาง คราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศล ธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ฉันนั้น เหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์ แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่ อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่ง ด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะ เหล่านี้ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือ กระเบื้องอยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ นั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึงเอาจอบและตะกร้ามาด้วยคิดว่า พวกเราจักช่วยกันทำแม่น้ำคงคา นี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นพึงกระทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลังได้บ้าง หรือหนอแล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุ // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปใน ทิศปราจีน แม่น้ำคงคานั้นอันบุคคลจะทำให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง ไม่ใช่ กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นเพียงไร แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้อง อยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอ น้อมไป เอนไป เงื้อมไปในวิเวกสิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ กึสุกสูตร ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไป หาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของ ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับ แห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ ไปเป็นธรรมดา ฯ ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้ว ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตาม ความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย เหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว ถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกร บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็น ดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้น เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาว ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้น พึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็ สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วย การพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึง ตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบ เหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการ ใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสนา คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ วีณาสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอัน บุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะ หน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียดและเป็นทางที่ไป ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านไม่ควรเสพหน ทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทาง ผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึง ห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของผู้รักษาข้าว กล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมา ความ ประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว ไม่ทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึงความเมา ความประมาทในกามคุณ ๕ ตามความต้องการ ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าสมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ ประมาท และโคกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับ โคนั้นสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วย ท่อนไม้แล้วพึงปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขา ทั้ง ๒ ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้นอยู่ ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่ข้าวกล้านั้น อีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด จิตอันภิกษุข่มแล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อม ดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ยัง ไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่า บรรเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ เสียงนั้น เป็นเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึง กราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่ เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือ ธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคัน และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบ หลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบ หลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณ นั้น ๑๐ เสี่ยงหรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วพึงเผาด้วยไฟ แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำมี กระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมา ประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อม แสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเท่าที่มีคติ อยู่ เมื่อเธอแสวงหารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ ความยึด ถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ ฯ ฉัปปาณสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง พึงเข้า ไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคาพึงบาดตัวที่ พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้นเป็นเหตุ โดย ยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน บ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้ มีสมาจารอย่างนี้ เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อ ว่า เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาดนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้ง อย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ เธอ ตามความเป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วย ลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้ เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมี วิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น คือ จับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึง ขมวดปมไว้ตรงกลางปล่อยไป ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจร ต่างกันเหล่านั้น พึงดึงมาหาโคจรและวิสัยของตนๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก เข้าไปสู่จอมปลวก จรเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของ ตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่ พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อม มีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่ โคจรและวิสัยของตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จรเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงแม่น้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่ อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วย คิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึง ลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกาย คตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูป อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อัน เป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือ เสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้ เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ยวกลาปิสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วย ไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คาน อันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล ถูกรูปอัน เป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและ ไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าว เหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ เทวาสุรสังคามสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายว่า ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวก อสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูร ประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำ มายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนัก ของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ อยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าว เวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่าเทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล อสูรทั้งหลายไม่ตั้ง อยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อมพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรอ อยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไป อสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคลผู้อัน มารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำของท้าว เวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อม พ้นจากมารผู้มีใจบาป ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มี รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจัก มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญินสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญีภ ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา ว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบท ว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญินาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัว ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา) ความ ถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจ กำจัดมานะออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

วิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่น

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตหลวงพ่อปราโมทย์ : นี่การที่เราคอยมีสติรู้ทันใจของเราเองเรื่อยๆเนี่ย นอกจากศีลแล้วสมาธิยังจะเกิดขึ้นได้ง่าย อย่างคนที่มาเรียนกับหลวงพ่อแต่เดิมรักษาศีลไม่ได้เดี๋ยวนี้รักษาง่าย แต่เดิมทำสมาธิไม่ได้เดี๋ยวนี้ทำสมาธิง่าย สมาธิไม่ใช่เรื่องยากอะไร จิตมันฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นฟุ้งไปในอารมณ์นี้ ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านจะดับโดยอัตโนมัติ มันมีกฎของธรรมะข้อนึงก็คือ กิเลสกับกุศลเนี่ยจะไม่เกิดร่วมกัน สติเป็นตัวกุศลนะ เพราะนั้นถ้าเมื่อไหร่เรามีสติอยู่ จิตฟุ้งซ่านเรามีสติรู้ทันปั๊บ จิตสงบอัตโนมัติ งั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้สงบเนี่ยไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีแล้วมันก็ยาก เช่นเราอุตสาห์ไปนั่งสมาธินะ นั่งกันเป็นวันๆพุทโธไปหายใจไป ฝึกกันแรมปีนะกว่าจะค่อยๆสงบได้บ้าง บางทีสงบมากๆไปอีกซึมไปเลย ออกจากสมาธิมานะใจก็ซึมๆเซื่องๆ หรือเวลาอยู่ในสมาธิมีความสุขมาก ออกมากระทบอารมณ์ข้างนอกนะ ใจทนไม่ไหว มันคล้ายๆเรามีชีวิตอยู่แต่ในห้องปลอดเชื้อ พอออกมาสู่อากาศข้างนอกโดนเชื้อโรคแป๊บเดียวตายเลย เวลาติดอยู่ในสมาธินะใจสงบสบายมีความสุขนึกว่าไม่มีกิเลส พอออกมากระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเท่านั้น กิเลสระเบิดเปรี้ยงปร้างเลย งั้นสมาธิอย่างนั้นไม่ค่อยได้เรื่องอะไรหรอก เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา

18/10 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดอุทัยธานีอาจจะเกิดสถานการณ์รุนแรง ที่จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ภัยแล้งที่ส่อเค้าว่าจะทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำตากแดดตั้งแต่ท้ายเขื่อนวังร่มเกล้าลงมา สภาพแม่น้ำตากแดด ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง ที่มีสภาพแห้งขอดจนมองเห็นเนินทรายกลางแม่น้ำ มีน้ำขังเป็นบางช่วงบางตอนที่เกิดจากน้ำซึมบ่อทรายเท่านั้น ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มความแห้งแล้งที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดอุทัยธานีอย่างหนักในปีนี้ ส่งผลให้ชาวนาที่ลงมือเพาะปลูกทำนาปรังไปในช่วงนี้ ต้องวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา หากไม่สามารถหาแหล่งน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ตลอดจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามชาวนาก็พยายามที่สูบน้ำที่มีหลงเหลืออยู่เข้าไปกักเก็บในแปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวประทังข้าวให้รอดตายไปในช่วงนี้ก่อน ซึ่งชาวนาได้เรียกร้องขอให้รัฐบาลได้เร่งแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำในการทำนาอย่างถาวรต่อไป อีกด้วย

18/10 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดอุทัยธานีอาจจะเกิดสถานการณ์รุนแรง ที่จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ภัยแล้งที่ส่อเค้าว่าจะทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำตากแดดตั้งแต่ท้ายเขื่อนวังร่มเกล้าลงมา สภาพแม่น้ำตากแดด ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง ที่มีสภาพแห้งขอดจนมองเห็นเนินทรายกลางแม่น้ำ มีน้ำขังเป็นบางช่วงบางตอนที่เกิดจากน้ำซึมบ่อทรายเท่านั้น ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มความแห้งแล้งที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดอุทัยธานีอย่างหนักในปีนี้ ส่งผลให้ชาวนาที่ลงมือเพาะปลูกทำนาปรังไปในช่วงนี้ ต้องวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา หากไม่สามารถหาแหล่งน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ตลอดจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามชาวนาก็พยายามที่สูบน้ำที่มีหลงเหลืออยู่เข้าไปกักเก็บในแปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวประทังข้าวให้รอดตายไปในช่วงนี้ก่อน ซึ่งชาวนาได้เรียกร้องขอให้รัฐบาลได้เร่งแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำในการทำนาอย่างถาวรต่อไป อีกด้วย

"เพลงเบ้าหลอมดวงใจ" ผืนแผ่นดินนี้มีชื่อว่าไทย ทุกหยดน้ำใจหลอมเข้าเป็นไทยสายเลือดเดียวกัน มีศาสนาและพระมหากษัตริย์ยึดมั่น มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นมิ่งขวัญของชนชาติไทย พระเจ้าอยู่หัวของชาติไทยเรา เหมือนดั่งร่มเงาคุ้มเกล้าพวกเราให้ชุ่มฉ่ำใจ ทรงแผ่เมตตาไปถึงไพร่ฟ้าทั้งเหนือและใต้ ดังพ่อแม่คอยห่วงใยลูกรักอยู่ในอ้อมกอดตัว เบ้าหลอมดวงใจ ของคนไทยทั้งชาติ คือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนเรามีพ่อแม่เดียวกันร่วมครอบครัว พระเจ้าอยู่หัว คือศูนย์รวมใจประชา น้อมเกล้าเคารพนพไหว้ทรงธรรม ทุกถ้อยน้ำคำร้อยเข้าดั่งพวงของช่อมาลา ด้วยจิตจงรักและภัคดีของข้าฯบาทไพร่ฟ้า สละชีพเพื่อพระราชา เอาเลือดหลั่งทาเพื่อชาติไทย...

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง-การปฏบัติเพื่อเข้าถึง พระอนาคามี(สุกขวิปัสสโก)การปฏบัติเพื่อเข้าถึง พระอนาคามี(สุกขวิปัสสโก) - พระธรรมเทศนาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี) วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี

จริยาของพระสกิทาคามีมรรค ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศล ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตต สัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเรา จักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความ ประพฤติชอบ และความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญา นั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร โลกแล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย ปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของ พวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศล ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตต สัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเรา จักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความ ประพฤติชอบ และความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญา นั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร โลกแล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย ปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของ พวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องมัชฌิมาปฏิปทา ทำพอสบายๆ ไม่เกียจคร้านเกินไป ไม่ขยันเกินไป นั่งนาน เมื่อย ก็นอน ยืน หรือเดิน ตามแต่จะเห็นว่าสบาย กำหนดอารมณ์ภาวนา หรือพิจารณาไปด้วย จงถือว่า สมาธิจะตั้งมั่น หรืออารมณ์จะผ่องใสจากกิเลสนั้น มีความสำคัญที่จิตใจไม่ใช่ที่กาย กินอาหารให้อิ่ม อิ่มพอดีนะ ระวังอย่ารับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย อะไรเคยกินแล้วเป็นพิษเป็นภัยแก่ ร่างกาย ควรเว้นไม่กินต่อไปเด็ดขาด ตัดสังคมที่มีความเห็นไม่เสมอกันเสียให้เด็ดขาด อยู่ใน สถานที่เงียบสงัด อย่าให้วันเวลาล่วงเลยไปโดยที่มิได้พิจารณาเห็นโทษของสังขาร ทำอย่างนี้น่าจะ พูดรับรองผล แต่ท่านห้ามพูดก็เลยเฉยไว้เพียงนี้ อย่างน้อย ฌานสมาบัติเป็นของท่านแน่นอน อย่างดีก็ถึงจุดหมายปลายทาง พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้อย่างนี้ ก็จงใคร่ครวญและปฏิบัติตามเถิด ไม่เสียเวลาเปล่าแน่

ไขจักรวาล เรามาอยู่บนโลกนี้ได้อย่างไร

ไขจักรวาล ผู้สร้างจักรวาลมีจริงไหม HD

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

บันทึกลึกลับ "กล้วยไทยหายาก"

บันทึกลึกลับ "กล้วยไทยหายาก"

ตอนเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ T19/1 01/09/2011รายการที่นำเสนอแนวทาง วิธีการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ด้วยแนวทางแพทย์ผสมผสานระหว่างแผนปัจจุบัน แผนไทยและแผนจีน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ และเพื่อสร้างให้เกิดแนวทางการสื่อสารระหว­่างการแพทย์ผสมผสานกับประชาชน

สิ่งที่ใครใครไม่อาจจะชนะได้"มหาบพิตรจะให้อาตมภาพเสื่อมไป เพราะทรัพย์ทำไม คนเราจะตาย เพราะภริยาทำไม. ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาว ซึ่งต้องแก่ ทำไมจะต้องให้ชราครอบงำ ในโลกสันนิวาสซึ่งมีชราและมรณะเป็นธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทำไม จะเล่นหัวไปทำไมจะยินดีไปทำไม จะมีประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรและภริยาแก่อาตมภาพ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก มัจจุราชย่อมไม่ประมาทในอาตมภาพผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลเมื่อถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว จะยินดีไปทำไม จะประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมเกิดภัย แต่การหล่นเป็นนิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมมีภัยแต่ความตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น ชนเป็นอันมากเห็นกันอยู่ในเวลาเช้า บางพวกพอตกเวลาเย็นก็ไม่เห็นกัน ชนเป็นอันมากเห็นกันอยู่ในเวลาเย็น บางพวกพอถึงเวลาเช้าก็ไม่เห็นกัน ภูมิประเทศที่ตั้งกองช้าง กองรถ กองราบ ย่อมไม่มีในสงคราม คือมรณะนั้น ไม่อาจจะต่อสู้เอาชัยชนะต่อมฤตยู ด้วยเวทมนต์ หรือยุทธวิธี หรือสินทรัพย์ได้ มฤตยูมิได้เว้นกษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้า ลูกจ้าง คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อไรๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะพึงรู้ว่าตายพรุ่งนี้ เพราะความผลัดผ่อนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ไม่มีเลย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จง บรรเทากามทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้น ไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งใน ธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้ง ปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดี ธรรมชาติมิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้ ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น บุคคลผู้มีบาปอันลอย แล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของ ตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น พราหมณ์ ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์ นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคล ผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าบุคคลผู้ประหารนั้น การ เกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็น คุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวม แล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึง นอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อม การบูชาไฟ ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการ เกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ ด้วย ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วย การเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎก ที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่าน ย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุล ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน) อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่ กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มี กิเลสเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ตัด ความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และ ตัดทิฐิดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจ ลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า การทุบตีและ การจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่ สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บน ปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่รู้ แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญา ลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรคและมิใช่มรรค ผู้ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้ง และมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาใน ตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลม นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบ คาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ผู้ไม่ ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว ผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้น ก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่า เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลก หน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้อง ในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลินในภพสิ้น แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์ ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทาง ลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็น ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความ เคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น เสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็น ทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็น ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่เทวดา คน ธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลส เครื่องกังวลในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และ ในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้ว กล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่น ไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึง ความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ 

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็น อัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภาย หลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือน อย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้ ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้ว หนอ พึงฝึก ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ตนแลเป็นที่พึ่งของ ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น ความเป็นผู้ทุศีล ล่วงส่วน ย่อมรวบรัดอัตภาพของบุคคลใด ทำให้เป็นอัตภาพ อันตนรัดลงแล้ว เหมือนเถาย่านทรายรวบรัดไม้สาละให้เป็น อันท่วมทับแล้ว บุคคลนั้นย่อมทำตนเหมือนโจรผู้เป็นโจก ปรารถนาโจรผู้เป็นโจก ฉะนั้น กรรมไม่ดีและไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดแล เป็นประโยชน์ ด้วย ดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง ผู้ใดมีปัญญา ทราม อาศัยทิฐิอันลามก ย่อมคัดค้านคำสั่งสอนของพระ- พุทธเจ้า ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่โดย ธรรม การคัดค้านและทิฐิอันลามกของผู้นั้น ย่อมเผล็ดเพื่อ ฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อม เศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วย ตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ บุคคลไม่พึงยัง ประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ ของตน

ผลที่ได้รับจากศาสนา 'พระศรีอริยเมตตรัย' มีความรัก กรุณา กันถ้วนหน้า ไม่แยกว่า จะอยู่ยัง ฝั่งเราเขา ลงจากเรือน ล้วนเพื่อนรัก ร่วมทุกข์เรา จากผู้เยาว์ ถึงแก่เฒ่า เรารักกัน ทำกิจใด จักได้รวม ร่วมกันสุข ท่านมีทุกข์ ทั้งกายใจ ให้บอกฉัน แย่งกันทำ แต่กรรมดี ถ้วนทั่วพลัน กลับเรือนนั้น เล่าสู่กัน กับครอบครัว จึงเป็นโลก ไกลโศก ของปวงสัตว์ ปฏิบัติ พุทธธรรม ทั้งเมียผัว ทั้งพระเณร เห็นแจ้งธรรม นำสุขบัว เบ่งบานทั่ว ทุกแห่งหน พ้นเกิดตาย

ลักษณะแห่งความเป็นอันเดียวกันของศาสนาทุกศาสนา

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราจิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ดังนั้นหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้นขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ

หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานสารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็น ที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้ ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว ปรินิพพานแล้วเถิด. สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่ เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์ เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด. "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้" อุปติสสปริพาชกฟังจบแล้วรู้แจ้งว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว มีอันต้องดับไปเป็นธรรมดา" แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ณ ที่นั้นเอง

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะ วิธีทะลวงจุดเหยินตุ๊ด้วยตนเอง...จอมยุทธในหนังจีนกำลังภายใน เวลาที่จะฝึกขั้นสูงสุด ส่วนใหญ่จะธาตุไฟเข้าแทรกก่อน แล้วจะไปเจอ จอมยุทธ อีกคนที่หายตัวไปจากยุทธจักร มานาน มาช่วยทะลวงจุด เหยินตุ๊ แต่ให้ง่าย..ง่าย....คือสั่งร่างกายให้ลุกเดิน..ตอนง่วงนอนที่สุด

โอวาทพระอานนท์เถระ กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

โอวาทพระอานนท์ กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

โอวาทพระอานนท์ กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

โลกอันชราพยาธิและมรณะนำไปไม่มีผู้ต้านทานได้ นกุลปิตุสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่ [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็น ที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้ เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับ กระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มี- พระภาคเจ้าและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มี- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 2 พระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด พร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่าย อยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษา อย่างนี้แล. [๒] ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนี้นกุลบิดาชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะนกุลปิตุคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้าหรือ. นกุลปิตุคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไฉนจะไม่ เป็นอย่างนี้เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วย ธรรมีกถา. ส. ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรม รดท่าน ด้วยธรรมีกถาอย่างไรเล่า. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 3 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วย เนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอน ข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ด้วยธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระ สับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดีก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับ กระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึง ศึกษาอย่างนี้แล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤต- ธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล. [๓] ส. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อไปว่า พระเจ้าข้า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย และก็ด้วยเหตุเท่าไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อ ความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด. ส. ดูก่อนคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 4 นกุลปิตุคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ [๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูก่อน คฤหบดี คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีได้สดับแล้ว มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็น สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำใน สัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อม เห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็น เวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น เวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ เวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมี สัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 5 ความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่อเขา ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อม แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย. [๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับ กระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูก่อนคฤหบดี คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยะธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูป ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 6 เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูป แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมี เวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็น ผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวก นั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็น สัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความ ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็น อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความ เป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น สังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ สังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนใน วิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 7 เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกาย กระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล. จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๑ สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค อรรถกถานกุปิตุสูตรที่ ๑ นกุลปิตุวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้. บทว่า สุสุมารคิเร ได้แก่ ในนครชื่อสุงสุมารคิระ เล่ากันมาว่า เมื่อสร้างนครนั้น จระเข้ร้อง ฉะนั้นคนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สุงสุมารคิระ. บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่าที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะ ยักษิณีชื่อเภสกฬาสิงอยู่ ป่านั้นแหละ เรียกว่า มิคทายะ เพราะเป็นที่ ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนครนั้นในชนบทนั้น ประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้น. บทว่า นกุลปิตา ได้แก่ เป็นบิดาของทารก ชื่อนี้กุละ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 8 บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ เป็นผู้คร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า วุฑฺโฒ ได้แก่ เป็นผู้เจริญวัย. บทว่า มหลฺลโก ได้แก่ เป็นคนแก่นับแต่เกิด. บทว่า อทฺธคโต ได้แก่ ล่วงกาล ๓. บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ได้แก่ล่วงกาล ๓ นั้นๆ ถึงปัจฉิมวัยตามลำดับ. บทว่า อาตุรกาโย ได้แก่ มีกายเจ็บไข้. ความจริง สรีระนี้แม้มีวรรณะดังทอง ก็ชื่อว่ากระสับกระส่ายอยู่นั่นเอง เพราะ อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ แต่ว่าโดยพิเศษ สรีระนั้นย่อมมีความกระสับ กระส่าย ๓ อย่าง คือ กระสับกระส่ายเพราะชรา ๑ กระสับกระส่าย เพราะพยาธิ ๑ กระสับกระส่ายเพราะมรณะ ๑ ใน ๓ อย่างนั้น เพราะ ความเป็นคนแก่ จึงชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะชรานั้นก็จริง ถึง อย่างนั้น ในที่นี้ท่านก็ประสงค์เอาความที่สรีระนั้น กระสับกระส่าย เพราะพยาธิ เพราะเป็นโรคอยู่เนืองๆ. บทว่า อภิกฺขณาตงฺโก ได้แก่ เป็นโรคเนืองๆ คือเป็นโรคอยู่เรื่อย. บทว่า อนิจฺจทสฺสาวี ความว่า ข้าพระองค์ไม่อาจมาในขณะที่ปรารถนาๆ ได้เฝ้าบางคราวเท่านั้น มิได้เฝ้าตลอดกาล. บทว่า มโนภาวนียาน ได้แก่ ผู้ให้เจริญใจ ก็เมื่อ ข้าพระองค์เห็นภิกษุเหล่าใด จิตย่อมเจริญด้วยอำนาจกุศล ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่พระมหาเถระมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้ให้เจริญใจ. บทว่า อนุสาสตุ ได้แก่ขอโปรดสั่งสอนบ่อย ๆ. จริงอยู่ สอนครั้งแรกชื่อว่าโอวาท สอนครั้งต่อ ๆ ไปชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง สอนในเรื่องที่มีแล้วชื่อว่าโอวาท สอนตามแบบแผนคือตามประเพณี นั่นแหละในเรื่องที่ยังไม่มีชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง คำว่าโอวาทก็ดี คำว่า อนุสาสนี ก็ดี โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกันทีเดียว ต่างกันเพียง พยัญชนะเท่านั้นเอง. บทว่า อาตุโร หายั ตัดเป็น อาตุโร หิ อย. ความว่า กายนี้มีสี พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 9 เหมือนทอง แม้เสมอด้วยไม้ประยงค์ ก็ชื่อว่ากระสับกระส่าย เพราะ อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ. บทว่า อณฺฑภูโต ความว่า เป็นเหมือนฟองไข่ ใช้การไม่ได้ ฟองไข่ไก่ก็ตาม ฟองไข่นกยูงก็ตาม ที่คนเอามาทำเป็น ลูกข่าง จับโยนหรือขว้างไป ไม่อาจจะเล่นได้ ย่อมแตกในขณะนั้น นั่นเอง ฉันใด กายแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อคนเหยียบชายผ้าก็ดี สะดุดตอก็ดี ล้มลง ย่อมแตกเป็นเหมือนฟองไข่ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อณฺฑภูโต. บทว่า ปริโยนทฺโธ ได้แก่ เพียงผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้ เพราะฟองไข่มี เปลือกแข็งหุ้มไว้ฉะนั้นแม้เหลือบยุงเป็นต้นแอบเข้าไปเจาะผิวที่ฟองไข่นั้น ก็ไม่อาจให้น้ำเยื่อไข่ไหลออกมาได้ แต่ที่กายนี้ เจาะผิวหนังทำได้ตาม ปรารถนา กายนี้ผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้อย่างนี้. บทว่า กิมญฺตฺร พาลฺยา ความว่า อย่างอื่นนอกจากความอ่อนแอ จะมีอะไรเล่า กายนี้อ่อนแอ จริงๆ. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะกายนี้เป็นอย่างนี้ บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า คฤหบดีชื่อนี้กุลบิดา เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสัทธรรมจักรพรรดิ ต่อมาประสงค์จะทำ ความเคารพพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ เหมือนราชบุรุษเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วต่อมาจึงเข้าไปหา ท่านปรินายกรัตน์ (อัครมหาเสนาบดี). บทว่า วิปฺปสนฺนามิ ได้แก่ ผ่องใส ด้วยดี. บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า ปริสุทฺโธ ได้แก่ ปราศจากโทษ. คำว่า ปริโยทาโต เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริสุทฺโธ นั่นเอง. จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรนี้ ท่านเรียกว่า ปริโยทาโต เพราะท่าน ปราศจากอุปกิเลสนั่นเอง มิใช่เพราะเป็นคนขาว. คฤหบดีพอเห็นความ ผ่องแผ้วของพระสารีบุตรเท่านั้น ก็รู้ว่าท่านมีอินทรีย์ผ่องใส. ได้ยินว่า นี้เป็นปัญญาคาดคะเนของพระเถระ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 10 บทว่า กหญฺหิ โน สิยา ความว่า เพราะเหตุไรท่านจักไม่ได้ปัญญา นั้นเล่า อธิบายว่า ได้แล้วทีเดียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงอะไรแสดงว่าเป็น ผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา. ได้ยินว่า คฤหบดีนี้จำเดิมแต่ได้เห็นพระศาสดา ก็ได้ความรัก ดุจว่าตนเป็นบิดา ฝ่ายอุบาสิกาของท่านก็ได้ความรักดุจตนเป็นมารดา. ท่านทั้งสองเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาว่า บุตรของเรา. จริงอยู่ ความรักของท่านทั้งสองนั้นมีมาแล้วในภพอื่นๆ. ได้ยินว่าอุบาสิกานั้น ได้เป็นมารดา ส่วนคฤหบดีนั้นได้เป็นบิดาของพระตถาคต ๕๐๐ ชาติ. อุบาสิกาเป็นยายและเป็นป้า-น้า อุบาสกเป็นปู่ และเป็นอา ตลอด ๕๐๐ ชาติอีก. รวมความว่า พระศาสดาทรงเจริญเติบโตในมือของ ท่านทั้งสองนั้นเองสิ้น ๑,๕๐๐ อัตภาพ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านทั้งสองนั้น จึงนั่งพูดในสำนักของพระศาสดาใช้คำที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะพูดใน ที่ไกล้บุตรและธิดาได้. ก็ด้วยเหตุนี้นี่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง ตั้งท่านทั้งสองนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาอุบาสกสาวกที่สนิทสนมของเรา นกุลปิตา คฤหบดี จัดเป็นเลิศ บรรดาอุบาสิกา สาวิกา ที่สนิมสนมของเรา นกุลมาตา คหปตานี เป็นเลิศ ดังนั้นพระองค์เมื่อจะทรงประกาศความเป็นผู้สนิทสนมนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กหญฺหิ โน สิยา ดังนี้. บทว่า อมเตน อภิสิตฺโต ความว่า ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี อะไรอื่นในที่นี้ไม่พึงเห็นว่า อมตาภิเสก (คือการโสรจสรงด้วย น้ำอมฤต) แต่พระธรรมเทศนาที่ไพเราะเท่านั้น พึงทราบว่า อมตาภิเสก. บทว่า ทูรโตปิ ได้แก่ จากภายนอกแว่นแคว้นบ้าง ภายนอกชนบทบ้าง. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 11 คำว่า อสุตวา ปุถุชฺชโน นี้มีอรรถดังกล่าวมาแล้วนั่นแล พึงทราบ วินิจฉัยในคำว่า อริยาน อทสฺสาวี เป็นต้นดังต่อไปนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายกล่าวว่า อริยะเพราะไกล จากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในความเสื่อม เพราะดำเนินไปในความ เจริญ เพราะโลกพร้อมด้วยเทวโลกพึงดำเนินตาม อนึ่ง พระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแล เป็นพระอริยะในโลกนี้ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคตท่านเรียกว่าอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ดังนี้ ก็พึง ทราบวินิจฉัยในคำว่า สปฺปุริสาน ดังต่อไปนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าและ พระสาวกของตถาคต พึงทราบว่าสัตบุรุษ จริงอยู่ท่านเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าสัตบุรุษ เพราะเป็นคนงาม เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็น โลกุตตระ อนึ่ง ท่านทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นทั้ง ๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระอริยะด้วยเป็นสัปบุรุษด้วย แม้ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกอย่างนั้นเหมือนกัน เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลใดแล เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็น นักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความ ภักดีอันมั่นคง กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดย เคารพ บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เช่นนั้นว่า เป็นสัปปุรุษ. บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ความว่า ก็พุทธสาวก ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเพียงเท่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายท่านกล่าว ด้วยคุณมีกตัญญุตา เป็นต้น. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 12 ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดี ในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็น พระอริยะเจ้านั้นมี ๒ จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็น ด้วยญาณพวกหนึ่ง ใน ๒ พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอา ในที่นี้. แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่า เป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา แม้สัตว์เดียรัจฉาน มี สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยเจ้าด้วยจักษุ และ สัตว์เหล่านั้นจะชื่อว่าไม่เห็นพระอริยเจ้าก็หามิได้ ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ เล่ากันมาว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ ณ จิตรลดา- บรรพต เป็นผู้บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งท่านเที่ยวบิณฑบาตกับพระเถระ ถือบาตรและจีวรของพระเถระเดินไปข้างหลังถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร. พระเถระ ตอบว่า บุคคลบางตนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของ พระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็น ด้วยญาณ (ปัญญา) ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้. ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม. เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 13 พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุ แล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำ ความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ. บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมต่าง โดยสติปัฏฐานเป็นต้น ก็ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่าวินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง ท่านเรียกปุถุชนนี้ ว่า มิได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. ก็วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ และในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยแต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง. แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร. แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน. ใน ๕ อย่างนั้น สังวรในประโยคว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วย ปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่า สีลสังวร สังวรในประโยคว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริย จกฺขุนฺทฺริเย สวร อาปชฺชติ ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม ในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร สังวรในคาถาว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 14 ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตส นิวารณ โสตาน สวร พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเรา กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส ทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตจะปิดได้ ด้วยปัญญา. นี้ชื่อว่า ญาณสังวร สังวรในประโยคว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส ภิกษุย่อมอดทน ต่อหนาวต่อร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร สังวรในประโยคว่า อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ นี้ชื่อ วิริยสังวร อนึ่ง สังวรทั้งหมดนี้ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่อง ปิดกั้นกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงปิดกั้นตามหน้าที่ของตน และท่าน เรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องกำจัดกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงกำจัด ตามหน้าที่ของตน สังวรวินัยพึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ อย่าง ด้วย ประการฉะนี้ก่อน. อนึ่ง ในวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละ อนัตถะนั้นๆด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วย แสงประทีปนั่นแล โดยความเป็นปฏิปักษ์กัน คือ ละสักกายทิฏฐิด้วย การกำหนดนามรูป ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและทิฏฐิที่มีเหตุไม่เสมอกันด้วย การกำหนดปัจจัย ละวิจิกิจฉาด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิอันเป็นส่วน เบื้องปลายแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นแหละ ละการยึดถือว่า เรา ของเรา ด้วยการพิจารณานามรูปโดยเป็นกลาป ละสัญญาในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่า เป็นทางด้วยมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 15 ความเกิดของนามรูป ละสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับของนามรูป ละสัญญาในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัย ด้วยการเห็นนามรูปว่าเป็นภัย ละสัญญา ในอิสสาทะความยินดี ด้วยการเห็นอาทีนพโทษ ละสัญญาในอภิรติ ความยินดี ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความไม่อยากปล่อย ด้วย มุญจิตุกามยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละภาวะที่เป็น ปฏิโลมในธรรมฐิติญาณ และในนิพพานด้วยอนุโลมญาณ ละการยึดถือ นิมิตในสังขารด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน. อนึ่ง การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ ด้วยอุปจารสมาธิและ อัปปนาสมาธินั่นแล เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยการกั้นด้วยไม้ โดยห้ามภาวะ คือความเป็นไปเสีย นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน. การละหมู่กิเลสที่เป็นฝักฝ่ายสมุทัย ที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนโดยมรรคนั้นๆ เพราะทำอริยมรรค ๔ ให้เกิด โดยมิให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปทาน. อนึ่ง การระงับกิเลสทั้งหลายในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน. พระนิพพานที่ละสังขตธรรมได้หมด เพราะสลัดสังขตธรรม ทั้งหมดได้ นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน. อีกอย่างหนึ่ง ปหานทั้งหมดนี้ เหตุที่ท่านเรียกว่า ปหาน เพราะ อรรถว่า สละ เรียกว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด ฉะนั้นท่านจึง เรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้ท่านเรียกว่า ปหานวินัย เพราะมีการละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีการกำจัดกิเลสนั้นๆ แม้ ปหานวินัย ก็พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้. วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง โดยประเภทมี ๑๐ อย่าง ย่อมไม่มี แก่ปุถุชนผู้ไม่ได้ศึกษานั้น เพราะเป็นผู้ทำลายสังวร และเพราะไม่ละ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 16 สิ่งที่ควรละ ฉะนั้นปุถุชนนี้ท่านจึงเรียกว่า ผู้ไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มี วินัยนั้น. แม้ในคำนี้ว่า สปฺปุริสาน อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม อวีนีโต ก็นัยนี้.ความจริง คำนี้ว่าโดยอรรถไม่แตกต่างกัน เลย. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ผู้เป็นอริยะก็คือสัตบุรุษ ผู้เป็นสัตบุรุษก็คือ อริยะ ธรรมของอริยะก็คือธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือ ธรรมของอริยะ วินัยของอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษ ก็คือวินัยของอริยะ. คำว่า อริเย ก็ตาม สปฺปุริเส ก็ตาม อริยธมฺเม ก็ตาม สปฺปุริสธมฺเม ก็ตาม อริยวินเย ก็ตาม สปฺปุริสวินเย ก็ตาม นี้ๆเป็น อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน มีสภาพเป็นอย่างนั้น อื่นๆก็เป็นอย่างนั้น. บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนว่า รูปอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด รูปก็อันนั้น พิจารณาเห็นรูปและอัตตาว่าเป็นอย่างเดียวกัน. ภิกษุบางรูป ในศาสนานี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ พิจารณาเห็นรูปและ ตนว่าเป็นอย่างเดียวกัน รวมความว่า ย่อมเห็นรูปด้วยทิฏฐิว่า ตนเหมือน ประทีปน้ำมันที่กำลังตามอยู่ คนย่อมเห็นเปลวไฟและสีเป็นอย่างเดียวกัน ว่า เปลวไฟอันใด สีก็อันนั้น สีอันใด เปลวไฟก็อันนั้น.บทว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปว่าเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่ไม่มี รูปนั้นว่ามีรูป เหมือนเห็นต้นไม้ที่มีเงา. บทว่า อตฺตนิ วา รูป ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแหละว่าเป็นตน พิจารณาเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่น ในดอกไม้.บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตาน ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแลว่าตน พิจารณาเห็นตนนั้นในรูป เหมือนแก้วมณีในขวด. บทว่า ปริยุฏฺายี ความว่า ตั้งอยู่โดยอาการที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม คือโดยอาการที่ถูกครองงำ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 17 อธิบายว่า กลืนรูปด้วยตัณหาและทิฏฐิให้เสร็จไปอย่างนี้ว่า เรา ว่า ของเรา ชื่อว่าย่อมยึด.บทว่า ตสฺส ต รูป ได้แก่ รูปของเขานั้น คือที่ยึดไว้ อย่างนั้น แม้ในขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ท่านกล่าว รูปล้วนๆนั่นแลว่าตน.อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว สิ่งที่ไม่มีรูปใน ฐานะ ๗ เหล่านี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีรูป หรือ รูปในตน หรือตนในรูป ๑ เวทนา โดยเป็น ตน ๑ ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน กล่าว ตน ที่ระคนปนกับรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ โดยขันธ์ ๓ ใน บรรดาขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีเวทนา หรือเวทนาในตน หรือตนในเวทนา ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวอุจเฉททิฏฐิ ใน ฐานะว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน. ในทิฏฐิที่เหลือ สัสสตทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้ สรุปความว่า ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ภวทิฏฐิ ๑๕ (วิภวทิฏฐิ ๕) ย่อมเป็น อย่างนี้ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์ อันโสดาปัตติมรรค พึงฆ่า. บทว่า เอว โข คหปติ อาตุรกาโย เจว โหติ อาตุรจิตฺโต จ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาย แม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกัน ส่วนจิตซึ่งคล้อยตามราคะ โทสะ และโมหะ ก็ชื่อว่ากระสับ กระส่าย จิตนั้นท่านแสดงไว้ในที่นี้แล้ว. บทว่า น จ อาตุโร ความว่า ในที่นี้ท่านแสดงถึงความที่จิตสงัด ไม่กระสับกระส่าย เพราะปราศจากกิเลส. ดังนั้นในพระสูตรนี้พึงทราบว่า ท่านแสดงถึงโลกิยมหาชนว่า มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย พระขีณาสพ พึง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 18 ทราบว่า มีกายกระสับกระส่าย มีจิตไม่กระสับกระส่าย พระเสขะ ๗ จำพวก มีกายกระสับกระส่าย มีจิตกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่ มีจิตไม่กระสับกระส่ายก็ไม่เชิง แต่เมื่อจะคบ ย่อมคบแต่ผู้ที่มีจิตไม่ กระสับกระส่ายเท่านั้นแล. จบ อรรถกถานกุลปิตุสูตรที่ ๑ ๒. เทวทหสูตร ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕ [๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของ ศากยะทั้งหลายในสักกชนบท. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลา สารีบุตรแล้วหรือ.ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด สารีบุตรเป็นบัณฑิต อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 19 [๗] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มุงด้วยตะไคร่น้ำ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจาก อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร กล่าวคำปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยใน ปัจฉาภูมชนบท ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลายกราบทูลลา พระศาสดาแล้วหรือ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศ ต่างๆมีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พวกมนุษย์ที่เป็นบัณฑิตทดลอง ถามว่า พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ธรรมทั้งหลายพวกท่านฟังดีแล้ว เรียนดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาบ้างหรือ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พยากรณ์ อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถูกวิญญูชน ติเตียนได้. ภิ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลายมาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อ ความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 20 [๘] ส. ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะ ภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศต่างๆมีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย มีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร ท่านทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็น บัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลายทรงเห็นโทษอะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 21 ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสย่อมเกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ของเราทั้งหลายทรงเห็นโทษนี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระคาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์อะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมี ความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อม ไม่เกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์นี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. [๙] ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังสุคติไซร้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 22 พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมมีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน และเมื่อ ตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง สรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก ความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรม ทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้สุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง สรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล. จบ เทวทหสูตรที่ ๒ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒ ในเทวทหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เจ้าทั้งหลายท่านเรียกว่า เทวะ สระอันเป็นมงคลของเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า เทวทหะ อีกนัยหนึ่ง สระนั้นเกิดเอง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกว่า เทวทหะ นิคมมีอยู่ ในที่ไม่ไกลสระเทวทหะนั้น จึงว่า เทวทหะนั้นแหละโดยเป็นนปุงสกลิงค์ บทว่า ปจฺฉาภูมคามิกา ได้แก่ ผู้ใคร่จะไปยังปัจฉาภูมชนบทที่ตั้งอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 23 ทิศอื่นอีก บทว่า นิวาส ได้แก่ อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน บทว่า อปโลกิโต แปลว่า บอกลา บทว่า อปโลเกถ แปลว่า ขอท่านจงบอกลา ถามว่า เพราะเหตุไร จึงให้พระเถระบอกลา ? ตอบว่า เพราะมี พุทธประสงค์จะทำให้ท่านเหล่านั้นมีภาระหน้าที่ จริงอยู่ ผู้ใดแม้เมื่ออยู่ ในวิหารเดียวกันก็ไม่ไปสู่สำนัก เมื่อจะหลีกไป ก็หลีกไปโดยไม่บอกลา ผู้นี้ชื่อว่า นิพฺภาโร ไม่มีภาระ ผู้ใดแม้อยู่ในวิหารเดียวกัน ก็มาพบกันได้ เมื่อจะหลีกจำต้องบอกลา ผู้นี้ชื่อว่ามีภาระ ภิกษุแม้เหล่านี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้จักเจริญด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีพระพุทธประสงค์จะทรงนำ ภิกษุเหล่านั้น ให้มีภาระหน้าที่ จึงรับสั่งให้บอกลา. บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต ๔ อย่าง มีความเป็นผู้ฉลาด ในธาตุเป็นต้น. บทว่า อนุคฺคาหโก ได้แก่ผู้อนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง คือ อนุเคราะห์ด้วยอามิส และอนุเคราะห์ด้วยธรรม ได้ยินว่า พระเถระ ไม่ไปบิณฑบาตแต่เช้าตรู่เหมือนภิกษุ เหล่าอื่น เมื่อภิกษุทั้งปวงไปแล้ว ก็เดินตรวจไปตามลำดับทั่วสังฆาราม กวาดที่ที่ไม่ได้กวาด ทิ้งหยากเยื่อที่ยังไม่ได้ทิ้ง เก็บงำ เตียงตั่ง เครื่องไม้และเครื่องดิน ที่เก็บไว้ไม่ดีในสังฆาราม ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะประสงค์ว่า อัญญเดียรถีย์ผู้เข้าไปวิหารเห็นเข้า อย่ากระทำ ความดูหมิ่น แต่นั้นได้ไปยังศาลาภิกษุไข้ ปลอบใจภิกษุไข้ถามว่า ต้องการอะไร จึงหาภิกษุหนุ่มและสามเณรของภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อ ประโยชน์ตามที่ประสงค์ แล้วแสวงหาเภสัชด้วยภิกขาจารวัตรหรือ ในที่ที่คนชอบพอกัน ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงส่งภิกษุเหล่านั้นไปด้วย กล่าวว่า ขึ้นชื่อการบำรุงภิกษุไข้ พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 24 สรรเสริญแล้ว ไปเถิด ท่านสัปปุรุษ พวกท่านอย่าเป็นผู้ประมาท แล้ว ตนเองก็เที่ยวไปบิณฑบาตหรือกระทำภัตกิจในตระกูลอุปัฏฐาก แล้วไป สู่วิหารข้อนี้เป็นเพราะพระเถระนั้นเคยประพฤติมาในสถานที่อยู่ประจำ ก่อน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป พระเถระคิดว่า เราเป็น พระอัครสาวกจึงไม่เดินสรวมรองเท้ากั้นร่มไปข้างหน้า. ก็ในบรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้แก่ เป็นผู้ไข้ หรือยังหนุ่มนัก พระเถระ ก็ให้เอาน้ำมันทาที่เจ็บของภิกษุเหล่านั้น แล้วให้ภิกษุหนุ่มและสามเณร ของตนถือบาตรและจีวร วันนั้นหรือวันรุ่งขึ้นก็พาภิกษุเหล่านั้นไป วันหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นท่านผู้นี้แล ไม่ได้เสนาสนะนั่งอยู่ในกลด เพราะมาถึงเวลาวิกาลเกินไป วันรุ่งขึ้นจึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แสดง เรื่องช้าง ลิง และนกกระทา แล้วทรงบัญญัติ สิกขาบทว่า ท่านพึงให้ เสนาสนะตามลำดับผู้แก่. อันดับแรกพระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยอามิส ด้วยประการฉะนี้ ก็แลพระองค์เมื่อจะทรงโอวาทร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง จนกระทั่งบุคคลนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้นจึง ทรงผละบุคคลนั้นแล้วโอวาทบุคคลอื่น โดยนัยนี้คนทั้งหลายตั้งอยู่ใน โอวาทของพระองค์ผู้ทรงโอวาทอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตนับไม่ถ้วน พระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยธรรมด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้เป็น อุปัชฌาย์ ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมา ดังนั้น เราจักทำในสำนักของท่านดังนี้แล้ว มิได้นิ่งเฉยเสีย จึงรับพระดำรัส พระศาสดาว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. บทว่า เอลคลาคุมฺเพ ได้แก่ ที่โรงที่มุงบังด้วยตะไคร่น้ำ ได้ยินว่า พุ่มตะไคร่น้ำนั้นเกิดในที่มีน้ำขังนานๆ ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้น ทำโรง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 25 ๔ เสาในที่นั้น แล้วยกพุ่มตะไคร่น้ำนั้นขึ้นไว้บนโรงนั้น ตะไคร่น้ำนั้น ปิดกั้นโรงนั้น ที่นั้นภิกษุเหล่านั้น จึงก่ออิฐไว้ภายใต้โรงนั้น เกลี่ยทราย ปูลาดอาสนะไว้ ลมอ่อนๆพัดต้องที่พักกลางวันอันร่มเย็น พระเถระนั่ง ในที่นั้น ซึ่งท่านมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า ที่พุ่มตะไคร่น้ำ. บทว่า นานา- เวรชฺชคต ความว่า ได้แก่ประเทศต่างๆนอกจากประเทศพระราชา พระองค์หนึ่ง. บทว่า วิรชฺช ได้แก่ ประเทศอื่น เหมือนอย่างว่า ถิ่นอื่น นอกจากถิ่นของตนออกไป ชื่อว่า วิเทส (ต่างถิ่น) ฉันใด ประเทศอื่น นอกจากประเทศที่เคยอยู่อาศัยชื่อวิรัชชะ (ต่างประเทศ) ฉันนั้น. ต่างประเทศนั้นท่านเรียกว่า เวรัชชะ. บทว่า ขตฺติยปณฺฑิตา ได้แก่ พระราชาผู้เป็นบัณฑิต มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น. บทว่า พฺราหฺมณปณฺฑิตา ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีจังกีพราหมณ์ และตารุกขพราหมณ์เป็นต้น. บทว่า คหปติปณฺฑิตา ได้แก่ คฤหบดีผู้เป็น บัณฑิต มีจิตตคฤหบดีและสุทัตตคฤหบดีเป็นต้น. บทว่า สมณปณฺฑิตา ได้แก่ นักบวช ผู้เป็นบัณฑิต มีสัพพิยปริพาชก และปิโลติกปริพาชก เป็นต้น. บทว่า วีมสกา ได้แก่ผู้แสวงหาประโยชน์. บทว่า กึวาที ได้แก่ ท่านกล่าวความเห็นของตนว่าอย่างไร อธิบายว่า ผู้มีลัทธิว่าอย่างไร. บทว่า กิมกฺขายี ได้แก่ บอกโอวาทและอนุสาสน์แก่สาวกทั้งหลายว่า อย่างไร. บทว่า ธมฺมสฺส จานุธมฺม ได้แก่ พยากรณ์ตามพยากรณ์ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว. บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ ผู้เป็นไปกับ ด้วยเหตุ. บทว่า วาทานุวาโท ได้แก่ กล่าวตามวาทะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส. บาลี วาทานุวาโต ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตกไปตาม คล้อยตาม เป็นไปตาม. แม้ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านแสดงเฉพาะวาทะที่คล้อยตาม วาทะนั่นเอง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 26 ในบทว่า อวีตราคสฺส พึงทราบอรรถโดยตัณหานั่นเอง เพราะ ฉะนั้นตัณหาแล ท่านเรียกว่า ราคะ เพราะกำหนัด ว่าฉันทะ เพราะ พอใจ ว่า เปมะ เพราะอรรถว่าประพฤติรักใคร่ ว่าปิปาสาระหาย เพราะอรรถว่าประสงค์จะดื่ม ว่าปริฬาหะรุ่มร้อน เพราะอรรถว่า ตามเผา. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า อกุสเล จาวุโส ธมฺเม แก้ว่า เพื่อแสดงโทษของผู้ไม่ปราศจากราคะและอานิสงส์ของ ผู้ปราศจากราคะในขันธ์ ๕. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิฆาโต ได้แก่ ผู้หมดทุกข์แล้ว. บทว่า อนุปายาโส ได้แก่ ผู้หมดความเดือดร้อน. บทว่า อปริฬาโห ได้แก่ผู้ไม่มีความรุ่มร้อน พึงทราบความทุกบทดังว่ามานี้. จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒ ๓. หลิททิกานิสูตรที่ ๑ ว่าด้วยลักษณะมุนี [๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้ กุรรฆรนคร แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหา ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 27 มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น ดังนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธวจนะที่พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร. [๑๒] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี รูปธาตุเป็น ที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมีวิญญาณพัวพันด้วยราคะใน รูปธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่า มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี เวทนา... สัญญา...สังขารธาตุเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมี วิญญาณพัวพันด้วยราคะในสังขารธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่ามีที่อยู่อาศัย เที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ด้วยประการ อย่างนี้แล. [๑๓] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย แห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคต ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 28 คฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใดใน เวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ... ในวิญญาณธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดราก ขาดแล้ว ทรงทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่ เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย เที่ยวไปอย่างนี้แล. [๑๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพัน ในรูป อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อนคฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่าเป็น ผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส... ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์ อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อน คฤหบดี มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป อย่างนี้แล. [๑๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี กิเลสเป็นเหตุซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและที่พัก อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดัง ตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี กิเลสเป็นเหตุไปพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส... ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก อันพระตถาคต ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 29 พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างนี้แล. [๑๖] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี มุนีบ้างคนในโลกนี้ เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์อยู่ คือเป็น ผู้พลอยชื่นชมกับเขา พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ขวนขวาย ในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล. [๑๗] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ คือ ไม่พลอยชื่นชมกับเขา ไม่พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุข ก็ไม่สุขด้วย มีทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ขวนขวายในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็น ผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล. [๑๘] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล. [๑๙] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 30 ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ว่างจาก กามทั้งหลาย อย่างนี้แล. [๒๐] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในกาล ข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาล ข้างหน้า อย่างนี้แล. [๒๑] ดูก่อนคฤหบจี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ ว่า ในกาลข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญา อย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่มุ่ง ถึงกาลข้างหน้า อย่างนี้แล. [๒๒] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ทำถ้อยคำเห็น ปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่าน จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่ท่านเคย ประพฤติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจงประพฤติเพื่อ ปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจงปลดเปลื้อง เสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น อย่างนี้แล. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 31 [๒๓] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้ทำคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่ทำ ถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว ทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจง ประพฤติเพื่อปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจง ปลดเปลื้องเสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็นผู้ทำ ถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างนี้แล. [๒๔] ดูก่อนคฤหบดี พระพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แล้วในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น ดังนี้. ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. จบ หลิททิการนิสูตรที่ ๓ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 32 อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ ๓ ในหลิททิกานิสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อวนฺตีสุ ได้แก่ในแคว้นอวันตี กล่าวคือ อวันตีทักขิณาปถ. บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปปาเต ได้แก่ในเหว ข้างหนึ่ง ได้ยินว่า ภูเขาลูกนั้นมีข้างแถบหนึ่งเป็นเสมือนขาดตกไป. บาลีว่า ปวตฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เป็นสถานที่ประกาศลัทธิของพวก เดียรถีย์ต่างๆ. ดังนั้นพระเถระจึงอาศัยนครนั้นในรัฐนั้นแล้ว อยู่บน ภูเขานั้น. บทว่า หลิทฺทิกานิ ได้แก่ คฤหบดีนั้นผู้มีชื่ออย่างนั้น บทว่า ฏฺกวคฺคิเย มาคณฺฑิยปญฺเห ได้แก่ในปัญหาที่มีชื่อว่า มาคัณฑิยปัญหา ในวรรคที่ ๘. ด้วยบทว่า รูปธาตุ ท่านประสงค์เอารูปขันธ์. บทว่า รูปธาตุ- ราควินิพนฺธ ความว่า อันความกำหนัดในรูปธาตุรึงรัดแล้ว. บทว่า วิฺาณ ได้แก่กรรมวิญญาณ. บทว่า โอกสารี ได้แก่ผู้อาศัยเรือนอยู่ ประจำ คือผู้อาศัยอาลัยอยู่ประจำ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงไม่กล่าวว่า วิญฺาณธาตุ โข คหปติ. แก้ว่า เพื่อกำจัดความงมงาย. จริงอยู่ ว่าโดยอรรถ ปัจจัย ท่านเรียกว่า โอกะ กรรมวิญญาณที่เกิด ก่อนย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่กรรมวิญญาณ ทั้งแก่วิบากวิญญาณที่เกิด ภายหลัง ส่วนวิบากวิญญาณย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่วิบากวิญญาณ ทั้งแก่ กรรมวิญญาณ ฉะนั้น เพื่อจะกำจัดความงมงายที่จะพึงมีว่า อะไรหนอ แลชื่อว่า วิญญาณ ในที่นี้ จึงไม่ทรงกำหนดเอาข้อนั้นทำเทศนาโดย ไม่ปนเปกัน อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยอำนาจอารมณ์ เพื่อจะแสดง วิญญาณฐิติที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๔ อย่าง ที่ตรัสไว้นั้น จึงไม่จัดวิญญาณ เข้าในที่นี้. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 33 อุบายในคำว่า อุปายุปาทานา มี ๒ อย่าง คือ ตัณหาอบาย ๑ ทิฏฐิอุบาย ๑ และอุปาทาน ในคำว่า อุปายุปาทานา มี ๔ อย่าง มี กามุปาทานเป็นต้น. บทว่า เจตโส อธิฏฺานาภินิเวสานุสยา ได้แก่เป็น ที่ตั้งอาศัย เป็นที่ยึดมั่น และเป็นที่นอนเนื่องแห่งอกุศลจิต. บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงอยู่ ตัณหาและอุปาทาน เหล่านั้น พระขีณาสพทุกจำพวกละได้แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยส่วนสูง ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความที่พระศาสดาเป็นพระขีณาสพ ปรากฏชัด แล้วในโลก. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจัดวิญญาณไว้ในที่นี้ว่า วิญฺาณธาตุยา ดังนี้. แก้ว่า เพื่อแสดงการละกิเลส. ด้วยว่า กิเลสที่ ท่านละในขันธ์ ๔ เท่านั้น ยังไม่เป็นอันละได้ ต้องละได้ขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นอันละได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดไว้ เพื่อแสดงการละกิเลส. บทว่า เอว โข คหปติ อโนกสารี โหติ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย ประจำอย่างนี้ คือด้วยกรรมวิญญาณที่ไม่อาศัยที่อยู่. บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา ความว่า รูปนั่นแหละชื่อว่า นิมิต เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่านิเกตเพราะ อรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัยกล่าวคือเป็นอารมณ์ ดังนั้นจึงชื่อว่ามีรูปเป็นนิมิต และเป็นที่อยู่อาศัย. ความซ่านไปและความพัวพัน ชื่อว่าวิสารวินิพันธะ. ด้วยสองบทว่า วิสาระ และ วินิพันธะ ท่านกล่าวถึงความที่กิเลสแผ่ไป และความที่กิเลสพัวพัน. บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา แปลว่า เพราะซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ฉะนั้นจึงมี อธิบายว่า ด้วยความซ่านไปแห่งกิเลส และด้วยความพัวพันแห่งกิเลส ที่เกิดขึ้นในรูปที่เป็นนิมิตและเป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า นิเกตสารีติ วุจฺจติ ความว่า สถานที่เป็นที่อยู่อาศัย ท่านเรียกว่า สารี โดยกระทำให้เป็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 34 อารมณ์. บทว่า ปหีนา ความว่า พระตถาคตทรงละความซ่านไปและ ความพัวพันแห่งกิเลสในรูปที่เป็นนิมิตและเป็นที่อยู่อาศัย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ เบญจขันธ์ท่านจึงเรียกว่า โอกะ อารมณ์ ๖ ท่านจึงเรียกว่า นิเกตะ แก้ว่า เพราะฉันทราคะมีกำลังแรงและมี กำลังอ่อน. จริงอยู่ แม้เมื่อฉันทราคะมีกำลังเสมอกัน อารมณ์เหล่านั้น ก็มีความแตกต่างกัน ด้วยอรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัย คือ เรือนเป็นที่อยู่ อาศัยประจำนั่นแล ท่านเรียกว่า โอกะ. สวนเป็นต้นเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้ที่นัดหมายกันทำงานว่า วันนี้พวกเราจักทำในที่โน้น ชื่อว่า นิเกตะ ในสองอย่างนั้น ในขันธ์ที่เป็นไปภายใน เหมือนฉันทราคะในเรือนที่ เต็มด้วยบุตรภรรยาทรัพย์และธัญญาหาร ย่อมมีกำลังแรง. ในอารมณ์ ภายนอก ๖ เหมือนฉันทราคะในที่สวนเป็นต้น มีกำลังอ่อนกว่านั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า ตรัสเทศนาอย่างนี้เพราะฉันทราคะมีกำลังแรง และมีกำลังอ่อน. บทว่า สุขิเตสุ สุขิโต ความว่า เมื่อพวกอุปัฏฐากได้รับความสุข โดยได้ทรัพย์ธัญญาหารเป็นต้น ก็มีความสุขด้วยความสุขอาศัยเรือนว่า บัดนี้เราจักได้โภชนะที่น่าพอใจ เป็นเหมือนเสวยสมบัติที่พวกอุปัฏฐาก เหล่านั้นได้รับ เที่ยวไป. บทว่า ทุกฺขิเตสุ ทุกฺขิโต ความว่า เมื่อพวก อุปัฏฐากเหล่านั้นเกิดความทุกข์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ตนเองมี ความทุกข์สองเท่า. บทว่า กิจฺจกรณีเยสุ ได้แก่ ในเรื่องที่ควรทำ คือกิจ. บทว่า โยค อาปชฺชติ ความว่า ช่วยขวนขวาย คือทำกิจเหล่านั้นด้วย ตนเอง. บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลาย. บทว่า เอว โข คหปติ กาเมหิ น ริตฺโต โหติ ความว่า เป็นผู้ไม่ว่างจากกิเลสกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้ไม่เปล่า เพราะยังมีกามภายใน อย่างนี้. ฝ่ายตรงข้าม พึงทราบว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 35 ว่าง คือเปล่า เพราะไม่มีกามเหล่านั้น. บทว่า ปุรกฺขราโน ได้แก่ มุ่งเพ่งแต่โทษ. ในบทว่า เอวรูโป สิย เป็นต้น ได้แก่ ปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ในบรรดารูปที่สูง และต่ำ ดำและขาวเป็นต้น ปรารถนาว่า ในเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีเวทนาอย่างนั้น ในสัญญามีสัญญาที่กำหนดด้วย นีลกสิณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสัญญาอย่างนั้น ในสังขารมี ปุญญาภิสังขารเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสังขารอย่างนั้น ในวิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีวิญญาณอย่างนั้น. บทว่า อปุรกฺขราโน ได้แก่ไม่มุ่งแต่โทษ. บทว่า สหิตมฺเม อสหิตนฺเต ได้แก่ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละสลวย คำของเรามีประโยชน์ สละสลวย หวาน. บทว่า อธิจิณฺ- ณนฺเต วิปราวตฺต ได้แก่ คำพูดของท่านที่สะสมคล่องแคล่วดีมานาน ทั้งหมดนั้นพอมาถึงวาทะของเราก็เปลี่ยนแปรกลับกันโดยทันที. บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ โทษของท่านเรายกขึ้นแล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงท่องเที่ยวไปเข้าหาอาจารย์นั้น ๆ เสาะหาให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อจะปลดเปลื้องวาทะนี้. บทว่า นิพฺเพเธหิ วา สเจ ปโหสิ ได้แก่ ถ้าตนเองสามารถ ท่านก็จงกล่าวแก้เสียในที่นี้เลยทีเดียว. จบ อรรถกถาหลิททิการนิสูตรที่ ๓ ๔. หลิททิการนิสูตร ที่ ๒ ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน [๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 36 เมืองกุรรฆรนคร อวันตีรัฐ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไป หา ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จ ล่วงส่วน เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ดังนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร. [๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต ท่าน กล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้น เหล่านั้น ดู่ก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยืดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย แห่งจิตเหล่าใด ในเวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ... ในวิญญาณธาตุ จิต ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความสละ เพราะความ สละคืน ซึ่งความพอใจ เป็นต้นเหล่านั้น ดูก่อนคฤหบดี พระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในสักกปัญหาว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด พ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น ผู้สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 37 บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล. จบ ทุติยหลิททิการนิสูตรที่ ๔ อรรถกถาทุติยหลิททิการนิสูตรที่ ๔ ในทุติยหลิททิกานิสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คำว่า สกฺกปญฺเห นี้ท่านกล่าวไว้แล้วทั้งในจูฬสักกปัญหา และทั้งในมหาสักกปัญหา. บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตา ได้แก่ น้อมไปใน พระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาด้วยผลวิมุตติ ซึ่งมีพระนิพพาน นั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺา ได้แก่ เสร็จ คือสำเร็จด้วยดี เหลือเกิน แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเดียวกันนี้. จบ อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ ๔ ๕. สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญหา [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิ ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อม พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 38 รู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ. [๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไร เป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็น ความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร ย่อม เพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็นความเกิด แห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 39 [๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไร เป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็น ความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูป ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่ เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ใน วิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทาน จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ. จบ สมาธิสูตรที่ ๕ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕ ในสมาธิสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 40 ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วทรงทราบว่า เมื่อภิกษุเหล่านี้ได้ความมีจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักเจริญ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สมาธึ เป็นต้น บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมปรารถนา. บทว่า อภิวทติ ความว่า ภิกษุย่อมกล่าวด้วยความยินดียิ่งนั้นว่า แหมอารมณ์นี้ช่าง น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ดังนี้ อนึ่ง เมื่อเธอยินดียิ่งซึ่งอารมณ์นั้น อาศัยอารมณ์นั้นทำให้เกิดความโลภขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวยกย่อง. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺติ ได้แก่ กลืนเสร็จสรรพรับไว้. บทว่า ยา รูเป นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินกล่าวคือความปรารถนา ในรูปอย่างแรงกล้า. บทว่า ตทุปฺปาทาน คือ ชื่อว่าอุปาทานเพราะอรรถ ว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น. บทว่า นาภินนฺทติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา. บทว่า นาภิวทติ ความว่า เธอย่อมไม่กล่าวว่า อารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา คือ ภิกษุผู้มีจิตใจประกอบด้วย วิปัสสนาแม้เมื่อทำการเปล่งวาจาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ชื่อว่าย่อม ไม่กล่าวยกย่องทั้งนั้น. จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕ ๖. ปฏิสัลลานสูตร ว่าด้วยการหลีกเร้นเป็นเหตุเกิดปัญญา [๓๐] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรใน การหลีกออกเร้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 41 และความดับแห่งรูป... แห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขาร... แห่งวิญญาณ (ความต่อไปนี้เหมือนข้อที่ ๒๘-๒๙) จบ ปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ อรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ ในปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากกายวิเวก แล้ว ทรงทราบว่า เมื่อพวกเธอได้กายวิเวก กรรมฐานจักเจริญ จึงได้ ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ปฏิสลฺลาเน เป็นต้น. จบ อรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ ๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง [๓๑] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้ง เพราะความไม่ถือมั่น แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มี- พระภาคเจ้าแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้. [๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้ เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำ ในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 42 ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูป ของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปของเขา แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ย่อมครอบงำจิต ของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความ หวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใย และสะดุ้งอยู่ เพราะความ ถือมั่น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อม เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของเขานั้น ย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็น สังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขาร ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ สังขารของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อม เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้นแห่ง ธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้น ย่อมมีความหวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 43 [๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ แล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับ แนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของ สัตษุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดย ความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อม ไม่เห็นตนในรูป ๑ รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวนย่อมเป็น อย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มี ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง และ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความ แปรปรวนแห่งรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิต ไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความ ลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่เห็น เวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของอริยสาวกนั้นย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตน ในสัญญา ๑ สัญญาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น อย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมี สังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ สังขารของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณ ของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 44 แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความบังเกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อม ไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มี ความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. จบ อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ ในอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อุปาทานปริตสฺสน ได้แก่ ความสะดุ้งที่เกิดขึ้นเพราะ ความยึดถือ. บทว่า อนุปาทานอปริตสฺสน ได้แก่ ความไม่สะดุ้งที่เกิดขึ้น เพราะความไม่ยืดถือ. บทว่า รูปวิปริณามานุวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณ ย่อมเป็นธรรมชาติหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปของเราแปรไปแล้วดังนี้ หรือว่ารูปนี้ได้เคยมีแก่เราแล้ว มาบัดนี้ รูปนี้ไม่มีแก่เราหนอดังนี้ บทว่า วิปริณามานุปริวตฺติ ได้แก่ อันเกิดแต่จิต ที่มีความแปรปรวนเป็นอารมณ์โดยหมุนเวียนไปตามรูปที่แปรปรวนไป. บทว่า ปริตสฺสนาธมฺมสมุปฺปาทา ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหาและ ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งอกุศลธรรม. บทว่า จิตฺต ได้แก่ กุศลจิต. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺนฺติ ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่. บทว่า อุตฺตาสวา ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 45 มีความสะดุ้ง. บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ มีความคับแค้นคือมีความทุกข์. บทว่า อเปกฺขวา ได้แก่ มีความอาลัย. บทว่า อุปาทาย จ ปริตสฺสติ ได้แก่ เป็นผู้ชื่อว่า สะดุ้งเพราะยึดถือ. บทว่า น รูปวิปริณามานุปริวตฺติ ได้แก่ กรรมวิญญาณนั่นแหละไม่มีแก่พระขีณาสพ เพราะฉะนั้น การพูดว่า ความหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูป ย่อมไม่มี ดังนี้จึงถูกต้อง. จบ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ ๘. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง [๓๔] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจัก แสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา รูปของเขานั้น ย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร ทั้งหลายว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา วิญญาณของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น อย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 46 ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. [๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็น สังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณของ อริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความ ไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. จบ อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ ในทุติยอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงพระธรรมเทศนาด้วยอำนาจตัณหา มานะและทิฏฐิ. พระองค์ ตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะในสูตรทั้ง ๔ ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้. จบ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 47 ๙ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๖] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่ เป็นอดีต อนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็น ปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนา ที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่ เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยใน วิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ในกาลัตตยอนิจจสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า โก ปน วาโท ปจฺจุปฺปนฺนสฺส ความว่า ในปัจจุบัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. รูปนั้นก็คงยังเป็นของไม่เที่ยงอยู่นั่นเอง. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นกำหนดว่า รูปที่เป็นอดีตอนาคตไม่เที่ยง จึง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 48 ลำบากในปัจจุบัน. ลำดับนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวถึงรูปที่เป็นอดีต และอนาคตจากรูปปัจจุบันนี้ว่า รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยว่า จักตรัสรู้จึงทรงแสดง พระธรรมเทศนานี้ตามอัธยาศัยของบุคคล. จบ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุบันสูตรที่ ๑ ๑๐. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๗] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน ไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณที่เป็น อดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไย เล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็น ผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 49 ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓ ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๘] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน ไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณ ที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงวิญญาณที่ เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓ จบ นกุลปิตุวรรคที่ ๑ ๑ - ๑๑ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตร สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๑๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัย ของบุคคลเห็นปานนั้นแลให้พิเศษออกไป ด้วยบทว่า ทุกฺข อนตฺตา ดังนี้ จงอรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ - ๑๑ จบอรรถกถานกุลปิตุวรรคที่ ๑

พุทธธรรม ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสแล้ว. อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้น เราเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะแสวงหาโพธิสมภารมีทานบารมีเป็นต้นใหญ่โดยวิธีนี้ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว เหมือนอย่างที่แสดงแก่เธอในบัดนี้แหละ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ทรงกระทำทุกรกิริยาของพระองค์ทั้งที่กล่าวแล้ว และยังไม่ได้กล่าวในที่นี้ อันเป็นไปตลอดกาลนาน ด้วยการบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์รวมเป็นอันเดียวกัน โดยสังเขปเท่านั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า :- เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลาย อย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้วนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ คือ โดยนัยดังกล่าวแล้วนี้. บทว่า พหุวิธํ ทุกฺขํ คือ ทุกข์หลายอย่างหลายประการ เพราะอาหารมีใบหมากเม่าเป็นต้น เมื่อครั้งเป็นอกิตติบัณฑิตเป็นต้น และด้วยการอดอาหารเป็นต้น เพราะให้ใบหมากเม่านั้นแก่ยาจก. อนึ่ง เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ากุรุเป็นต้น สมบัติมีหลายอย่างเช่นกับสมบัติของท้าวสักกะ. บทว่า ภวาภเว คือ ภพน้อยภพใหญ่ หรือเสวยความเจริญและความเสื่อม ในภพน้อยภพใหญ่ ไม่เดือดร้อนด้วยทุกข์หลายอย่าง ไม่ถูกฉุดคร่าด้วยสมบัติหลายอย่าง เป็นผู้ขวนขวายในการบำเพ็ญบารมี ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันสมควรแก่บารมีนั้น บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างสูงสุด คือพระสัพพัญญุตญาณ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงความที่บารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาสิ้นกาลนาน เพื่อให้บริบูรณ์ให้เต็มเปี่ยมโดยไม่มีเหลือ และความที่ผลที่ควรบรรลุ พระองค์ได้บรรลุแล้ว จึงตรัสคาถามีอาทิว่า :- เราได้ให้ทานอันควรให้ บำเพ็ญศีลโดยหา เศษมิได้ ถึงเนกขัมมบารมีแล้วจึงบรรลุสัมโพธิญาณ อันสูงสุด. เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความ เพียรอยู่อย่างอุกฤษฏ์ อย่างถึงขันติบารมีแล้ว จึง บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราทำอธิษฐานอย่าง มั่น ตามรักษาสัจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุ สัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภ และเสื่อมลาภ ในยศและเสื่อมยศ ในความนับถือ และการดูหมิ่นทั้งปวง แล้วจึงบรรลุสัมโพธิญาณอัน สูงสุด. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ ความว่า ในกาลนั้น เราได้สละไทยธรรมมีราชสมบัติเป็นต้นในภายนอก อวัยวะและตาเป็นต้นในภายใน ที่พระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นยานเลิศ เพื่อบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นได้บริจาคทานมีประเภทเป็นทานบารมี ทานอุปบารมีและทานปรมัตถบารมี มีการบริจาคใหญ่ ๕ อย่างเป็นที่สุด คือบริจาคราชสมบัติ ๑ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคนัยน์ตา ๑ บริจาคบุตรภรรยา ๑ บริจาคตน ๑ โดยไม่มีเหลือ. ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทานบารมี ในกาลที่แล้วมา ในจริยานี้มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นอกิตติพราหมณ์ ในกาลเป็นสังขพราหมณ์ แม้ในกาลที่มิได้มามีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นเวลามพราหมณ์. ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ ครั้งเป็นสสบัณฑิต สละตนอย่างนี้ว่า :- เราเห็นยาจกเข้าไปขออาหาร จึงสละตน ของตน ผู้เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้คือทาน- บารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนั้น พึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร. บทว่า ความว่า อันผู้บำเพ็ญศีลของพระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมทั้งกายวาจา สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในกาลบริโภค มีอาชีพบริสุทธิ์ ควรบำเพ็ญบารมี อันมีประเภทเป็นศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี ยังศีลทั้งปวงให้บริบูรณ์ คือให้ถึงพร้อมด้วยชอบ โดยไม่มีส่วนเหลือ. แม้ในที่นี้ก็ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญศีลบารมี ในกาลที่มาแล้วในจริยานี้มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นศีลวนาคราช ในกาลเป็นจัมเปยยนาคราช และในกาลที่มิได้มามีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลเป็นมหาวานร ในกาลเป็นช้างฉัททันตะ. ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ ครั้งเป็นสังขปาละ สละตนอย่างนี้ว่า :- เราไม่โกรธเคืองพวกบุตรพราน แม้จะ แทงด้วยหลาว แม้จะทิ่มด้วยหอก นี้เป็นศีล- บารมีของเรา ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้ พึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร. บทว่า เนกฺขมฺเม ปารมึ คนฺตฺวา คือถึงบารมีในการออกบวชครั้งใหญ่ ๓ อย่างอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์สละราชสมบัติยิ่งใหญ่ แล้วบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ในกาลที่มาแล้วในจริยานี้อย่างนี้ คือ ในกาลเป็นยุธัญชยบัณฑิต ในกาลเป็นโสมนัสกุมาร และที่มิได้คือในกาลมีอาทิอย่างนี้ ในกาลเป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลเป็นมฆเทวะ. อนึ่ง เนกขัมมบารมีของพระมหาสัตว์นั้นผู้สละราชสมบัติออกบวช เพราะไม่เกี่ยวข้องอย่างนี้ว่า :- เราสละราชสมบัติอันใหญ่หลวงที่อยู่ใน เงื้อมมือ ดุจถ่มก้อนน้ำลาย เมื่อเราสละก็ไม่ เกี่ยวข้อง นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้ พึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร. บทว่า ปณฺฑิเต ปริปุจฺฉิตฺวา ความว่า เราสอบถามถึงการจำแนกธรรมมีกุศลเป็นต้นด้วยนัยมีอาทิว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ การจำแนกกรรมและผลของกรรม กรรมศิลปะวิชาอันไม่มีโทษ อันนำมาซึ่งอุปการะแก่สัตว์ทั้งหลาย กะบัณฑิตผู้มีปัญญา. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงปัญญาบารมี. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญปัญญาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลเป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาลเป็นอรกบัณฑิต ในกาลเป็นโพธิปริพาชก ในกาลเป็นมโหสถบัณฑิต. อนึ่ง ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นผู้แสดงถึงงูที่อยู่ภายในกระสอบว่า :- เราค้นหาด้วยปัญญา ปลดเปลื้องพราหมณ์ จากทุกข์. ผู้เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้เป็น ปัญญาบารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า วีริยํ กตฺวาน อุตฺตมํ คือกระทำวีริยบารมีหลายอย่างให้เกิด คือปธานะ วีริยะอันสูงสุดเพราะสามารถให้ถึงสัมมาสัมโพธิญาณได้. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญวีริยบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นมหาศีลวราช ในกาลเป็นปัญจาวุธกุมาร ในกาลเป็นพระยามหาวานร. อนึ่ง วีริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นครั้งเป็นพระมหาชนกข้ามมหาสมุทร อย่างนี้ว่า:- เราอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร มองไม่เห็นฝั่ง พวกมนุษย์ทั้งหลายพากันตายหมดแล้ว เราไม่มี จิตเป็นอย่างอื่น นี้เป็นวีริยบารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราบรรลุถึงอธิวาสนขันติเป็นต้น อันมีสภาพเป็นขันติชั้นอุกฤษฏ์อย่างยอดเยี่ยม ถึงขันติบารมีชั้นยอด. อธิบายว่า ยังขันติบารมีให้สมบูรณ์. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญขันติบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยาวานร ในกาลเป็นพระยากระบือ ในกาลเป็นรุรุมิคราช ในกาลเป็นธรรมเทพบุตร. อนึ่ง ขันติบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ครั้งเป็นขันติวาทีดาบสเสวยทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจอย่างนี้ว่า :- เราไม่โกรธพระราชากาสี ผู้โบยเราด้วย ขวานอันคม เหมือนเราไม่มีจิตใจ. นี้เป็นขันติ- บารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า กตฺวา ทฬฺหมธิฏฺฐานํ ความว่า เราทำอธิษฐานสมาทานกุศลอธิษฐานสมาทานบารมีนั้นๆ และสมาทานธรรมเป็นอุปการะแก่บารมีนั้นให้มั่นไม่ให้หย่อน. อธิบายว่า อธิษฐานสมาทานข้อปฏิบัตินั้นๆ โดยไม่มีการกลับกลอก. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพของพระมหาสัตว์ผู้บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นโชติปาละ ในกาลเป็นสรภังคะ ในกาลเป็นพระเนมิ. อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นครั้งเป็นพระเตมิยกุมาร อธิษฐานพรตสละชีวิตอย่างนี้ว่า :- เราไม่เกลียดชังพระมารดาและพระบิดา เราไม่เกลียดตัวเรา. พระสัพพัญญุตญาณเป็น ที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงอธิษฐานพรต. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า สจฺจวาจานุรกฺขิย ความว่า เราตามรักษาสัจวาจา รังเกียจโวหารที่ไม่เป็นอริยะ แม้ในเวลามีอันตรายถึงชีวิต ก็คงรักษาไว้ คือรักษาคำพูดที่ไม่ผิดปกติโดยประการทั้งปวง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพของพระมหาสัตว์ที่บำเพ็ญสัจบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้คือ ในกาลเป็นพระยาวานร ในกาลเป็นสัจจดาบส ในกาลเป็นพระยาปลา. อนึ่ง สัจบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นมหาสุตโสม สละชีวิตตามรักษาคำสัตย์อย่างนี้ว่า :- เราตามรักษาสัจวาจา สละชีวิตของเรา ให้โปริสาทปลดปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑. นี้เป็น สัจบารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า เมตฺตาย ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราถึงเมตตาบารมีอันมีลักษณะนำสิ่งเป็นประโยชน์ในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง อันเป็นบารมีชั้นอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญเมตตาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นจูฬธรรมปาละ ในกาลเป็นมหาสีลวราช. ในกาลเป็นสามบัณฑิต. อนึ่ง เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นสุวรรณสาม แผ่เมตตาไม่เหลียวแลแม้ชีวิตอย่างนี้ว่า :- ใครๆ ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเรา แม้เราก็ ไม่กลัวใครๆ. อันกำลังแห่งเมตตาอุปถัมภ์ไว้ เราจึงยินดีในป่าใหญ่ ในกาลนั้น. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. บทว่า สมฺมานนาวมานเน ความว่า เรามีจิตเสมอไม่ผิดปกติ ในการนับถือด้วยการบูชาสักการะเป็นต้น โดยเคารพ ในการดูหมิ่นด้วยการถ่มน้ำลายเป็นต้น และในโลกธรรมทั้งปวง ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอันยอดเยี่ยมสูงสุด. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญอุเบกขาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยามหาวานร ในกาลเป็นพระเจ้ากาสี ในกาลเป็นเขมพราหมณ์ ในกาลเป็นอัฐิเสนปริพาชก. อนึ่ง อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นมหาโลมหังสะแม้เมื่อเด็กชาวบ้านทำให้เกิดสุขและทุกข์ ด้วยการถ่มน้ำลายเป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอมเป็นต้น เข้าไปก็ไม่ละเลยอุเบกขาอย่างนี้ว่า :- เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูก ทำเป็นหมอนหนุน. เด็กชาวบ้านพวกหนึ่งพากันเข้า ไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่พระองค์ทรงทำแล้วในภัทรกัปนี้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณโดยสังเขปว่า :- เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลายอย่าง ในภพน้อยและภพใหญ่ตามนัยที่กล่าวแล้วนี้ แล้วจึง ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. แล้วทรงแสดงบารมี ๑๐ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญแล้วโดยชอบอีกว่า :- ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ ฯลฯ ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ เราให้ทานที่ควรให้ ฯลฯ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ อนึ่ง พระมหาบุรุษเมื่อให้อามิสทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมให้ทานข้าวด้วยตั้งใจว่า เราพึงยังสมบัติมีอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณเป็นต้นและสมบัติคือผลเลิศน่ารื่นรมย์ให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยทานนี้. อนึ่ง ให้น้ำเพื่อระงับความกระหายคือกามกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย. ให้ผ้าเพื่อให้ผิวพรรณงาม และเพื่อให้สำเร็จเครื่องประดับคือหิริโอตตัปปะ. ให้ยานเพื่อให้สำเร็จอิทธิวิธีคือการแสดงฤทธิได้ และนิพพานสุข. ให้ของหอมเพื่อให้สำเร็จความหอมคือศีล. ให้ดอกไม้และเครื่องลูบไล้เพื่อให้สำเร็จความงามด้วยพุทธคุณ. ให้อาสนะเพื่อให้สำเร็จอาสนะ ณ โพธิมณฑล. ให้ที่นอนเพื่อให้สำเร็จตถาคตไสยาคือนอนแบบพระตถาคต. ให้ที่พักเพื่อให้สำเร็จความเป็นสรณะ. ให้ประทีปเพื่อให้ได้ปัญจจักขุ. ให้รูปเป็นทานเพื่อให้สำเร็จรัศมีออกจากกายวาหนึ่ง. ให้เสียงเป็นทานเพื่อให้สำเร็จเสียงดุจเสียงพรหม. ให้รสเป็นทานเพื่อเป็นที่รักของโลกทั้งปวง. ให้โผฏฐัพพะเป็นทานเพื่อความเป็นพุทธสุขุมาล คือความละเอียดอ่อนของพระพุทธเจ้า. ให้เภสัชเป็นทานเพื่อความไม่แก่ไม่ตาย. ให้ความเป็นไทแก่ทาสทั้งหลายเพื่อปลดเปลื้องความเป็นทาสคือกิเลส. ให้ความยินดีในของเล่นที่ไม่มีโทษเป็นทานเพื่อความยินดีในพระสัทธรรม. ให้บุตรเป็นทานเพื่อนำสัตว์ทั้งหมดออกไปจากความเป็นบุตรของตนในชาติเป็นอริยะ. ให้ภรรยาเป็นทานเพื่อถึงความเป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสิ้น. ให้ทองแก้วมณี แก้วมุกดา แก้วประพาฬเป็นต้นเป็นทานเพื่อความสมบูรณ์ด้วยลักษณะงาม. ให้เครื่องประดับนานาชนิดเป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งอนุพยัญชนะ. ให้คลังสมบัติเป็นทานเพื่อบรรลุพระสัทธรรม. ให้ราชสมบัติเป็นทานเพื่อความเป็นพระธรรมราชา. ให้สวน สระ ป่า เป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งฌานเป็นต้น. ให้เท้าเป็นทานเพื่อก้าวไปสู่รัศมีโพธิมณฑลด้วยเท้ามีรอยจักร. ให้มือเป็นทานเพื่อให้มือคือพระสัทธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เพื่อถอนออกจากโอฆะ ๔. ให้หูและจมูกเป็นทานเพื่อได้อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น. ให้จักษุเป็นทานเพื่อได้สมันตจักข คือจักษุโดยรอบ. ให้เนื้อและเลือดเป็นทานด้วยหวังว่าจะนำประโยชน์สุขมาให้แก่สรรพสัตว์ตลอดกาลทั้งปวง ในการเห็น การฟัง การระลึกถึง การบำเรอเป็นต้น และกายของเราพึงเป็นกายอันโลกทั้งปวงพึงเข้าไปอาศัย. ให้อวัยวะสูงที่สุดเป็นทานด้วยหวังว่าเราจะพึงเป็นผู้สูงที่สุดในโลกทั้งปวง. อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้อย่างนี้ไม่ให้เพื่อแสวงหาผิด ไม่ให้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ให้เพราะกลัว เพราะละอาย เพราะเคืองทักขิไณยบุคคล. เมื่อมีของประณีตไม่ให้ของเศร้าหมอง. ไม่ให้ด้วยการยกตน ด้วยการข่มผู้อื่น ด้วยหวังผล ด้วยเกลียดยาจก ด้วยไม่เคารพ. ที่แท้ให้ด้วยความเคารพ ให้ด้วยมือของตน ให้ตามกาล ทำความเคารพแล้วให้ ให้ด้วยไม่แบ่งออก. ให้มีใจยินดีใน ๓ กาล. ครั้นให้แล้วก็ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ไม่ยกย่องและดูหมิ่นปฏิคาหก. เปล่งถ้อยคำน่ารัก รู้คำพูด ผู้เข้าไปขอให้พร้อมทั้งบริวาร. เพราะเมื่อให้ข้าวเป็นทานย่อมให้พร้อมด้วยผ้าเป็นต้นด้วยตั้งใจว่า เราจักทำสิ่งนั้นให้เป็นบริวารแล้วให้. อนึ่ง เมื่อให้ผ้าเป็นทานย่อมให้พร้อมกับข้าวเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำผ้านั้นให้บริวารแล้วให้. แม้ในการให้ยานเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้รูปเป็นทานกระทำแม้อารมณ์นอกนั้น ให้เป็นบริวารของรูปนั้นแล้วให้. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. ได้รูปเป็นทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาดอกไม้และผ้าเป็นต้น มีสีเขียว เหลือง แดงและขาวเป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิกำหนดรูปคิดว่า เราจักให้รูปเป็นทาน. รูปเป็นทาน เป็นของเราทำพร้อมวัตถุยังทานให้ตั้งอยู่ในทักขิไณยบุคคลเช่นนั้น. นี้ชื่อว่ารูปเป็นทาน. พึงทราบการให้เสียงเป็นทานด้วยเสียงกลองเป็นต้น ในการให้เสียงเป็นทานนั้นไม่สามารถให้เสียงได้ดุจถอนเง่าและรากบัว และดุจวางกำดอกบัวเขียวลงบนมือ. แต่ทำให้พร้อมกับวัตถุแล้วให้ชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน. เพราะฉะนั้น ในกาลใดทำเองและใช้ให้ทำเพลงบูชาพระรัตนตรัยด้วยดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งมีกลองและตะโพนเป็นต้น ด้วยคิดว่าเราจักให้เสียงเป็นทาน. ตั้งไว้เองและให้ผู้อื่นตั้งกลองเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่าเสียงเป็นทานของเรา. ให้ยาเสียงมีน้ำมันและน้ำผึ้งเป็นต้นแก่พระธรรมกถึกทั้งหลาย. ประกาศฟังธรรม. สวดสรภัญญะ. กล่าวธรรมกถา. ทำเองและให้ผู้อื่นทำอุปนิสินนกถาคือกถาของผู้เข้าไปนั่งใกล้ และอนุโมทนากถาคือกถาอนุโมทนา. ในกาลนั้นชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน. อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีกลิ่นหอมน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกลิ่นหอมที่รากของต้นไม้มีกลิ่นเป็นต้น หรือกลิ่นไรๆ ที่อบแล้ว นั่งขัดสมาธิกำหนดกลิ่นคิดว่า เราจักให้กลิ่นเป็นทาน. กลิ่นเป็นทานของเราแล้วทำเองและให้ผู้อื่นทำการบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น. มหาบุรุษบริจาควัตถุมีกลิ่นมีกฤษณาและจันทน์เป็นต้นเพื่อบูชากลิ่น. นี้ชื่อว่าให้กลิ่นทาน. อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีรสน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีรสที่รากเป็นต้น นั่งขัดสมาธิกำหนดรสคิดว่าเราจักให้รสเป็นทาน รสเป็นทานของเราแล้วให้แก่ทักขิไณยบุคคล. หรือสละข้าวเปลือกและโคเป็นต้นอันมีวัตถุเป็นรส. นี้ชื่อว่าให้รสเป็นทาน. อนึ่ง ให้โผฏฐัพพะเป็นทานพึงทราบด้วยสามารถเตียงและตั่งเป็นต้น และด้วยสามารถเครื่องลาดและเครื่องคลุมเป็นต้น. มหาบุรุษได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะไม่มีโทษน่ายินดี มีสัมผัสสบาย มีเตียงตั่งฟูกหมอนเป็นต้น หรือมีผ้านุ่งผ้าห่มเป็นต้น นั่งขัดสมาธิกำหนดโผฏฐัพพะคิดว่า เราจักให้โผฏฐัพพะเป็นทาน. โผฎฐัพพะเป็นทานของเราแล้วให้แก่ทักขิไณยบุคคล. ได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะตามที่กล่าวแล้วสละ. นี้ชื่อว่าให้โผฏฐัพพะเป็นทาน. อนึ่ง พึงทราบธรรมทานด้วยสามารถแห่งชีวิตดื่มด่ำมีโอชะ เพราะประสงค์เอาธรรมารมณ์. จริงอยู่ มหาบุรุษได้วัตถุน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีรสโอชาเป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิคิดว่า เราจักให้ธรรมเป็นทาน. ธรรมเป็นทานของเราแล้วให้ของมีรสอร่อยมีเนยใสเนยข้นเป็นต้นเป็นทาน. ให้ปานะ ๘ อย่างมีอัมพปานะเป็นต้น. มหาบุรุษนั่งขัดสมาธิคิดว่าจะให้ชีวิตเป็นทาน จึงให้สลากภัตรและปักขิกภัตรเป็นต้น. จัดหาหมอเยียวยาคนเจ็บป่วย ทำลายตาข่าย รื้อไซดักปลา เปิดกรงนก ให้ปล่อยสัตว์ที่ผูกไว้ด้วยเครื่องผูก ตีกลองป่าวประกาศมิให้ฆ่าสัตว์. ทำเองและให้ผู้อื่นทำกรรมอย่างอื่นและกรรมเห็นปานนี้เพื่อป้องกันชีวิตสัตว์ทั้งหลาย. นี้ชื่อว่าให้ธรรมเป็นทาน. มหาบุรุษน้อมทานสัมปทาตามที่กล่าวแล้วนี้ทั้งหมด เพื่อประโยชน์สุขแก่โลกทั้งสิ้น. อนึ่ง น้อมทานสัมปทาเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณของตน เพื่อวิมุติไม่กำเริบ เพื่อฉันทะ วิริยะ สมาธิ ปฏิภาณ ญาณ วิมุติไม่สิ้นไป. พระมหาสัตว์ปฏิบัติทานบารมีนี้พึงปรากฏอนิจจสัญญาในชีวิต. ในโภคะก็เหมือนกัน. พึงมนสิการถึงความเป็นสาธารณะอย่างมากแก่สัตว์เหล่านั้น. พึงให้ปรากฏมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายเนืองๆ สม่ำเสมอ. ถือเอาทรัพย์สินที่ควรถือเอาไปได้ นำสมบัติทั้งหมดและตนออกจากเรือนดุจออกจากบ้านที่ถูกไฟไหม้ไม่ให้มีอะไรเหลือ. ไม่ทำการแบ่งในที่ไหนๆ. โดยที่แท้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งสละหมดเลย. นี้เป็นลำดับแห่งการปฏิบัติทานบารมี. อนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งการปฏิบัติศีลบารมีต่อไป. มหาบุรุษผู้ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน. อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑ และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง ๑. จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่ เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. ด้วยประการฉะนี้ คนหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง. ก็แต่ว่าบางคราว เพราะหลงลืมไปศีลก็จะพึงขาดไปเป็นต้น. กระทำศีลที่ขาดไปนั้นให้เป็นปกติโดยเร็ว ด้วยการอยู่กรรมเป็นต้น เพื่อความถึงพร้อมแห่งหิริโอตตัปปะตามที่กล่าวแล้วนั้น. ศีลนี้มี ๒ อย่าง คือวาริตตศีล ๑ จาริตตศีล ๑. ในศีล ๒ อย่างนั้น พึงทราบลำดับการปฏิบัติในวาริตตศีลของพระโพธิสัตว์ดังต่อไปนี้. พึงเป็นผู้มีจิตเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยที่แม้ฝันก็ไม่พึงเกิดความอาฆาต. ไม่พึงจับต้องของของคนอื่นดุจงู เพราะยินดีในการช่วยเหลือผู้อื่น. หากเป็นบรรพชิต เป็นผู้ประพฤติห่างไกลจากอพรหมจรรย์ ปราศจากเมถุนสังโยค ๗ อย่าง ไม่ต้องพูดถึงจากการล่วงภรรยาคนอื่นละ. อนึ่ง หากว่าเป็นคฤหัสถ์ไม่ใช่บรรพชิต แม้จิตลามกก็มิให้เกิดขึ้นในภรรยาของผู้อื่นทุกเมื่อ. เมื่อพูดก็พูดคำพอประมาณเป็นคำจริงมีประโยชน์ น่ารักและกล่าวธรรมตามกาละ. ไม่โลภ ไม่พยาบาท ไม่เห็นวิปริต ประกอบด้วยกัมมัสสกตญาณ มีศรัทธามั่นคงในการปฏิบัติชอบ มีความรักมั่นคงในที่ทั้งปวง. เมื่อมหาบุรุษงดเว้นจากอกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่งอบาย ๔ และวัฏฏทุกข์และจากอกุศลธรรม แล้วตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่งสวรรค์และนิพพาน ความปรารถนาอันเข้าไปประกอบประโยชน์สุขแก่สัตว์ทั้งหลายตามปรารถนา เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยบริสุทธิ์ย่อมสำเร็จเร็วพลัน. บารมีย่อมบริบูรณ์. มหาบุรุษนี้เป็นอย่างนี้. มหาบุรุษย่อมให้อภัยทานแก่สรรพสัตว์ด้วยไม่ประพฤติเบียดเบียน ยังเมตตาภาวนาให้สมบูรณ์โดยไม่ยาก ย่อมบรรลุอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ มีอาพาธน้อย ไม่ป่วยเจ็บ มีอายุยืน มีสุขมากย่อมถึงลักษณวิเศษและตัดวาสนาอันเป็นโทษได้. อนึ่ง เพราะไม่ลักทรัพย์จึงได้โภคสมบัติอันไม่ทั่วไปด้วยโจรเป็นต้น. คนอื่นไม่รังเกียจ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าคบหามีใจไม่ข้องวิภวสมบัติ ชอบบริจาคและตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้. เพราะไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์จึงเป็นผู้ไม่โลเลมีกายใจสงบ เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่รังเกียจของสัตว์ทั้งหลาย กิตติศัพท์อันงามของเขาย่อมฟุ้งไป ไม่มีจิตข้องในมาตุคามทั้งหลาย มีอัธยาศัยไม่โลภ มากไปด้วยเนกขัมมะ ย่อมได้ลักษณะวิเศษและตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้. เพราะไม่พูดเท็จจึงเป็นประมาณของสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่เชื่อถือได้ไว้ใจได้ มีถ้อยคำควรถือได้. เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของทวยเทพ มีปากหอม รักษากายสมาจารวจีสมาจาร ย่อมได้ลักษณะวิเศษและตัดวาสนาอันเป็นกิเลสได้. เพราะไม่พูดส่อเสียดจึงมีกายไม่แตกแยก มีบริวารไม่แตกแยก แม้ด้วยความพยายามของคนอื่น. มีเสียงไม่แตกแยกในพระสัทธรรม มีมิตรมั่นคง เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียวดุจสะสมไว้ในระหว่างภพ มากด้วยความไม่เศร้าหมอง. เพราะไม่พูดหยาบจึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย มีปกติอยู่เป็นสุข พูดเพราะ น่ายกย่อง. เสียงของเขาประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้น. เพราะไม่พูดเพ้อเจ้อจึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าเคารพ น่ายกย่องของสัตว์ทั้งหลาย มีถ้อยคำควรเชื่อถือได้ พูดพอประมาณ มีศักดิ์และอานุภาพมาก ฉลาดในการแก้ปัญหาด้วยปฏิภาณฉับพลัน สามารถในการแก้ปัญหามากมายของสัตว์ทั้งหลาย หลายภาษาด้วยคำคำเดียวเท่านั้นในพุทธภูมิ. เพราะเป็นผู้ไม่โลภ จึงมีลาภที่ต้องการ. ได้ความชอบใจในโภคะมากมาย. เป็นที่ยอมรับของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น. ข้าศึกครอบงำไม่ได้ ไม่ถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์พิกลพิการ และเป็นบุคคลหาผู้เปรียบมิได้. เพราะไม่พยาบาทจึงเป็นผู้ดูน่ารัก เป็นที่ยกย่องของสัตว์ทั้งหลาย ให้สัตว์เลื่อมใสโดยไม่ยาก เพราะเป็นผู้พอใจยิ่งในประโยชน์ของผู้อื่น. อนึ่ง เป็นผู้มีสภาวะไม่เศร้าหมอง อยู่ด้วยเมตตา. เป็นผู้มีศักดิ์มีอานุภาพมาก. เพราะเป็นผู้ไม่เห็นผิดจึงย่อมได้สหายดี. แม้จะถึงตัดศีรษะก็ไม่ทำกรรมชั่ว. เป็นผู้ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวเพราะเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน. ศรัทธาของเราเป็นรากตั้งมั่นในพระสัทธรรม. เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต ไม่ยินดีในลัทธิอื่น ดุจพระยาหงส์ไม่ยินดีในที่มีขยะฉะนั้น. เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้ลักษณะ ๓ อย่างไร. และเป็นผู้ได้อนาวรณญาณในที่สุด. ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด จะเป็นผู้เด่นในหมู่สัตว์นั้นๆ เพียงนั้นและถึงสมบัติมากมายก่ายกอง. พึงยังการนับถืออย่างมากให้เกิดขึ้นว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งสรรพสมบัติ เป็นแดนเกิดของพระพุทธคุณทั้งปวง เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหน้า เป็นประมุขของพุทธการกธรรมทั้งปวงแล้ว พึงเป็นผู้ไม่ประมาทในการสำรวมกายวาจา ในการฝึกอินทรีย์ ในความบริสุทธิ์ของอาชีวะและในการบริโภคปัจจัยทั้งหลาย ด้วยกำลังแห่งสติสัมปชัญญะ กำหนดลาภสักการะและความสรรเสริญ ดุจศัตรูต่อหน้า ทำเป็นมิตรแล้วให้ศีล สมบูรณ์โดยเคารพตามนัยดังกล่าวแล้ว มีอาทิว่า กิกิว อณฺฑํ ดังนี้. นี้เป็นลำดับของการปฏิบัติในวาริตตศีล. ส่วนการปฏิบัติในจาริตตศีลพึงทราบอย่างนี้. พระโพธิสัตว์กระทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่กัลยาณมิตรผู้ดำรงอยู่ในฐานะครูตลอดเวลา. อนึ่ง ทำการบำรุงกัลยาณมิตรเหล่านั้นตลอดเวลา ทำการช่วยเหลือคนไข้ทั้งหลาย ฟังบทสุภาษิตแล้วทำสาธุการ. พรรณาคุณของผู้มีคุณธรรม อดทนในการทำความเสียหายของคนอื่น. ระลึกถึงผู้ทำอุปการะ. อนุโมทนาบุญ. น้อมบุญของตนเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ. อยู่ในความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดกาล. เมื่อมีโทษเห็นโดยความเป็นโทษแล้วแจ้งแก่สหธรรมิกเช่นนั้นตามความเป็นจริง. บำเพ็ญสัมมาปฏิบัติให้ยิ่งโดยชอบ. อนึ่ง เมื่อควรทำสิ่งเป็นประโยชน์อันสมควรของตนแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านถึงความเป็นสหาย. อนึ่ง เมื่อทุกข์มีความเจ็บป่วยเป็นต้นเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้จัดการช่วยเหลือตามสมควร. เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความเสื่อมมีความเสื่อมจากญาติและสมบัติเป็นต้น ก็ช่วยบรรเทาความเศร้าโศก เป็นผู้ตั้งอยู่ในสภาพที่จะช่วยเหลือ ข่มผู้ที่ควรข่มโดยถูกธรรม เพื่อให้พ้นจากอกุศลแล้วตั้งอยู่ในกุศล. ยกย่องผู้ที่ควรยกย่องโดยธรรม. กรรมใดที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง กว้างขวางที่สุด มีอานุภาพเป็นอจินไตยอันนำประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียวอันพระมหาโพธิสัตว์แต่ก่อนได้ประพฤติแล้ว. โพธิสมภารของพระมหาโพธิสัตว์เหล่านั้นได้ถึงความแก่กล้าโดยชอบด้วยกรรมใด. ฟังกรรมเหล่านั้นแล้วไม่หวาดสะดุ้ง มหาบุรุษแม้เหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน มีอัตภาพอบรมเพื่อความบริบูรณ์แห่งการศึกษาตามลำดับ ได้บรรลุถึงบารมีอย่างอุกฤษฏ์ในโพธิสมภารเพื่อถึงพร้อม ด้วยอานุภาพอันยอดเยี่ยมเช่นนั้น. เพราะฉะนั้น แม้เราก็พึงปฏิบัติอย่างนั้นโดยชอบในสิกขามีศีลสิกขาเป็นต้น. ไม่สละความเพียรอันมีศรัทธาเป็นบุเรจาริกด้วยคิดว่า แม้เราก็จะบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ตามลำดับด้วยการปฏิบัติ แล้วจักบรรลุตามถึงบทนั้นโดยส่วนเดียว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายโดยชอบ. อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ. มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้าย ไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ใจสงบ ปราศจากมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัย ในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ปรารภความเพียร มีตนมั่นคง ไม่คำนึงถึงกายและชีวิต. ไม่ยอมรับ ละ บรรเทาความเพ่งในกายและชีวิตแม้มีประมาณน้อย. ไม่ต้องพูดถึงมีประมาณมากละ. ละ บรรเทาอุปกิเลสมีโกรธและผูกโกรธเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งปวง. เป็นผู้ไม่ยินดีด้วยการบรรลุธรรมวิเศษอันมีประมาณน้อย. ไม่ท้อแท้ใจ พยายามเพื่อบรรลุธรรมวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป. สมบัติตามที่ได้แล้วไม่มีส่วนแห่งความเสื่อมหรือความมั่นคง. อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้นำคนตาบอด บอกทางให้. ให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่คนหูหนวก. อนุเคราะห์ประโยชน์. คนใบ้ก็เหมือนกัน. ให้ตั่งให้ยานแก่คนพิการหรือนำไป. คนไม่มีศรัทธาพยายามให้มีศรัทธา คนเกียจคร้านพยายามให้เกิดอุตสาหะ คนหลงลืมพยายามให้ได้สติ คนมีใจวุ่นวายพยายามให้ได้สมาธิ คนมีปัญญาทรามพยายามให้มีปัญญา. คนหมกมุ่นในกามฉันทะ พยายามบรรเทากามฉันทะ. คนหมกมุ่นในพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะและวิจิกิจฉา พยายามให้บรรเทาวิจิกิจฉา. คนไม่ปกติมีกามวิตกเป็นต้น พยายามบรรเทามิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น. อาศัยความเป็นผู้รู้คุณที่ทำแล้วแก่สัตว์ผู้เป็นบุรพการี จึงพูดขึ้นก่อน พูดน่ารัก สงเคราะห์ นับถือ โดยทำการตอบแทนเช่นเดียวกันหรือยิ่งกว่า. มหาบุรุษย่อมติดตามช่วยเหลือสหายในอันตรายทั้งหลาย. มหาบุรุษกำหนดรู้ตนและสภาพปกติของสหายเหล่านั้นๆ แล้ว อยู่รวมกับสหายเหมือนที่เคยอยู่ร่วมกันมา. อนึ่ง ปฏิบัติในสหายเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา. ด้วยให้พ้นจากอกุศลแล้วให้ตั้งอยู่ในกุศล มิใช่ให้ตั้งอยู่โดยอย่างอื่น. เพราะการตามรักษาจิตของผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความเจริญอย่างยิ่งเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น. ไม่ควรทะเลาะ. ไม่ควรให้ถึงความเป็นผู้เก้อเขิน เพราะอัธยาศัยนั้น. ไม่ควรให้เกิดความรังเกียจสัตว์อื่น. ควรทักท้วงในฐานะที่ควรข่ม. เมื่อเขาอยู่ต่ำกว่าไม่ควรวางตนในที่สูงกว่า. ไม่ควรคบในผู้อื่นจนหมดสิ้นก็หามิได้. ไม่ควรคบมากเกินไป. ไม่ควรคบพร่ำเพรื่อ. แต่คบสัตว์ที่ควรคบตามสมควรแก่กาละเทศะ. ไม่ติเตียนคนที่รักหรือสรรเสริญคนที่ไม่รัก ต่อหน้าผู้อื่น. ไม่วิสาสะกับคนที่ไม่คุ้นเคย. ไม่ปฏิเสธการเชื้อเชิญที่เป็นธรรม. ไม่แสดงตัวมากไป. ไม่รับของมากเกินไป. ย่อมยินดีกับผู้ที่มีศรัทธาด้วยการกล่าวอานิสงส์ของศรัทธา. อนึ่ง หากว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงกำลังปัญญา แสดงนรกเป็นต้น ตามสมควรด้วยกำลังอภิญญา ยังสัตว์ผู้ถึงความประมาทให้สังเวชแล้วยังสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ให้ตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น. ให้หยั่งลงในศาสนา ให้เจริญงอกงามในคุณสมบัติมีทานเป็นต้น. สัตว์นี้เป็นผู้ประพฤติตามจารีตของมหาบุรุษ เป็นผู้หลั่งไหลบุญกุศลหาประมาณมิได้ ย่อมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป พึงทราบด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ท่านตั้งคำถามไว้ว่า ศีลคืออะไร ศีลด้วยอรรถว่ากระไร แล้วกล่าวความพิสดารของศีลไว้ในวิสุทธิมรรคด้วยประการต่างๆ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ชื่อว่าศีล. กถาทั้งหมดนั้นควรนำมากล่าวในที่นี้. ในวิสุทธิมรรคนั้น ศีลกถามาด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงศีลกถา ทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบายคือกรุณาเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ เพราะเหตุนั้น นี้แหละเป็นความต่างกัน. มหาบุรุษไม่น้อมไปเพื่อวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ เหมือนศีลนี้ไม่น้อมไปเพื่อพ้นความเศร้าหมองในทุคติของตน ไม่น้อมไปเพื่อราชสมบัติ เพื่อจักรพรรดิสมบัติ เพื่อเทวสมบัติ เพื่อสักกสมบัติ เพื่อมารสมบัติ เพื่อพรหมสมบัติ แม้ในสุคติ. ที่แท้ พระมหาโพธิสัตว์ย่อมน้อมไปเพื่อให้ถึงศีลาลังการอันยอดเยี่ยมของสัตว์ทั้งหลายด้วยความเป็นพระสัพพัญญูฉะนี้แล. นี้คือลำดับแห่งการปฏิบัติศีลบารมี. อนึ่ง เพราะการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตเป็นไปแล้วด้วยการออกจากกามและภพทั้งหลาย มีการเห็นโทษเป็นเบื้องต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายคือกรุณา ชื่อว่าเนกขัมมบารมี. ฉะนั้น กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีการผูกพันด้วยสิ่งไม่เป็นประโยชน์มากมายลิ้มเลีย ความที่ฆราวาสไม่มีโอกาสหาความสุขในเนกขัมมะได้และความใคร่ ดุจลิ้มเลียหยาดน้ำผึ้งที่ติดอยู่บนคมมีด เพราะตั้งอยู่กับความเศร้าหมองทั้งสิ้น เพราะคับแค้นมากด้วยบุตรภรรยาเป็นต้น เพราะวุ่นวายด้วยการตั้งใจทำการงานหลายอย่างมีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น. ได้เวลานิดหน่อยดุจการฟ้อนรำที่ต้องใช้แสงไฟ. ได้สัญญาวิปริตดุจเครื่องประดับของคนบ้า. เป็นการตอบแทนดุจปกปิดไว้ด้วยคูถ. ไม่อิ่มดุจดื่มน้ำที่นิ้วมืออันเปียกด้วยน้ำ. มีความไม่สบายดุจบริโภคอาหารในเวลาหิว. เป็นเหตุรวมความพินาศดุจเหยื่อที่เบ็ด. เป็นเหตุเกิดทุกข์ใน ๓ กาลดุจความร้อนของไฟ. มีการผูกเป็นเครื่องหมายดุจยางดักลิง. มีการปิดไว้ด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ดุจปิดด้วยเปรียง. เป็นที่ตั้งแห่งภัยดุจอยู่บ้านศัตรู. เป็นเหยื่อของกิเลสมารเป็นต้นดุจเลี้ยงศัตรู. มีทุกข์เกิดจากการปรวนแปรไปดุจสมบัติมหรสพ. มีการเผาภายในดุจไฟในโพรงไม้. มีโทษไม่น้อยดุจหญ้าปล้องห้อยลงไปในหลุมเก่า. เป็นเหตุแห่งความกระหายดุจดื่มน้ำเค็ม. การเสพของชนชั้นต่ำดุจสุราเมรัย. อุปมาด้วยโครงกระดูกเพราะมีความยินดีน้อย. อนึ่ง เพราะเนกขัมมะเป็นเหตุของบรรพชา. ฉะนั้นจึงไม่ยกบรรพชาขึ้นมาก่อน. และเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ พระมหาสัตว์ดำรงอยู่ในบรรพชา จึงไม่ยกบรรพชาของดาบสปริพาชกผู้เป็นกรรมวาที กิริยาวาที ขึ้นมากล่าว. ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติแล้ว ควรบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. อนึ่ง ครั้นบวชแล้วอันผู้ตั้งอยู่ในศีลตามที่กล่าวแล้วควรสมาทานธุดงค์คุณ เพื่อความผ่องแผ้วแห่งศีลบารมีนั้นนั่นแล. จริงอยู่ มหาบุรุษทั้งหลายสมาทานธุดงค์ธรรม แล้วบริหารธุดงค์ธรรมเหล่านั้นโดยชอบเป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีสมาจารทั้งปวงบริสุทธิ์ด้วยคุณของผู้มีศีลอันหาโทษมิได้ เพราะเป็นผู้มีมลทินคือกิเลสบ้วนออกด้วยน้ำคือคุณธรรม มีความขัดเกลากิเลส สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เลี้ยงง่าย คงที่เป็นต้น ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ๓ อันเป็นของเก่า เข้าถึงฌานอันมีประเภทเป็นอุปจารฌานและอัปนาฌานตามสมควรในอารมณ์ ๔๐ เพื่อบรรลุอริยวงศ์คือความเป็นผู้ยินดีในภาวนาที่ ๔ อยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันมหาบุรุษนั้นบำเพ็ญเนกขัมมบารมีโดยชอบแล้ว. อนึ่ง ในที่นี้พึงกล่าวกรรมฐานและวิธีภาวนาแห่งสมาธิภาวนา ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ พร้อมด้วยธุดงค์ธรรม ๑๓ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญา ๑ ววัตถานะ คือการกำหนดธาตุ ๑ โดยพิสดาร. เพราะทั้งหมดนั้นท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค โดยประการทั้งปวง ฉะนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. จริงอยู่ ในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่นี้ควรกล่าวทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือกรุณาด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ ความต่างกันมีด้วยประการฉะนี้. พึงทราบลำดับแห่งเนกขัมมบารมีในที่นี้อย่างนี้แล. อนึ่ง ปัญญาเป็นดุจแสงสว่าง ย่อมไม่ร่วมกับโมหะอันเป็นความมืด ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ผู้หวังในปัญญาบารมีสมบูรณ์ จึงควรเว้นเหตุแห่งโมหะก่อน. พึงทราบถึงเหตุแห่งโมหะเหล่านี้ดังต่อไปนี้ :- ความริษยา ความเฉื่อยชา ความซบเซา ความเกียจคร้าน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความหลับง่าย การไม่ตั้งใจแน่วแน่ ความไม่สนใจในญาณ ถือตัวผิด การไม่สอบถาม การไม่บริหารร่างกายให้ดี จิตไม่ตั้งมั่น คบบุคคลปัญญาทราม ไม่เข้าไปใกล้คนมีปัญญา ดูหมิ่นตน ใคร่ครวญผิด ยึดถือวิปริต มั่นในกายมาก ไม่มีความสังเวชใจ นิวรณ์ ๕ ผู้เสพธรรมโดยย่อปัญญายังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อม. ผู้เว้นเหตุแห่งความหลงเหล่านี้ พึงทำความเพียรในพาหุสัจจะและในฌานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้

จงเตือนตนด้วยตนเองอลสสฺส น ชายติ มติ ธนญฺจ มติธเน ยสฺส อสติ อิธ กถํ โส สุขี ปรมฺหิ จ อปิ จ ทุขี ตสฺมา อลโส วตน จ ภเวยฺย เงินทองกองท่วมบ้าน บ่ขยัน ครั้นเกียจกอบโกยปัญ- เญศด้อย สุขังยั่งยืนฉัน- ใดเล่า..สหายเอย สมบัติยศหมื่นร้อย ย่อมรู้โรยรา ปัญญาทรัพย์สมบัติเกิดมีแก่คนเกียจคร้านผู้ใด เมื่อปัญญาและทรัพย์สมบัติไม่มีแก่คนผู้นั้นแล้ว (เสื่อมลง) ความสุขในชาตินี้แลชาติหน้าจักมีด้วยประการฉันใด ยศสมบัติเหล่านั้นนักปราชญ์จักปรารภเอาย่อมไม่มี ๒. จปลาฉันท์ ทานํ ธนพีชํ เส สีลํ สุขพีชํ มิธ มนุชานํ ตสฺมา สุทานทาตา สิยา สุสิโล สหิทกาโก ทานังดั่งพืชให้ โภคทรัพย์ ศีลดั่งพืชให้สรรพ สุขแผ้ว ชนใดใคร่ลิ้มลัพธ์ รมเยศ พึงปลูกหน่อธรรมแล้ว จึ่งรู้รสธรรม ทานเป็นพืชอันบังเกิดข้าวของสมบัติ ศีลเป็นพืชบังเกิดสุขในใจแก่คนทั้งหลายในโลกย์ เหตุนั้นผู้ใดปรารถนาข้าวของสมบัติอันดีแก่ตน พึงให้ทานด้วยความศรัทธาแลมีศีลอันดีเถิด ๓. คีติฉันท์ โมหวนทฺโธ พาโล ตณฺหา วสมา คโต จ โกธวสํ ปาเป สาหส กาลี อปายภูมี นิวาส คติ มสฺส พาโลโมหะคลุ้ง ครอบงำ ตัณหราคะกรรม โกรธแค้น คิดบาปหยาบช้าทำ กระลีโทษ มี นรก รอแม้น มอดม้วยมรณา ชนพาลอันโมหวิชชาครอบงำ ลุอำนาจแห่งตัณหา โกรธแค้นร้ายหนักหนาในบาปกรรม มีอบายภูมินรกเป็นที่อยู่ที่ไปแห่งชนชั้นแล ๔. อุปคีติฉันท์ ปาเณสุ น การุญฺโญ ทลิทฺทเกสุ จ วิเหทูยติ อาธมฺเม นโร ภวติโลเก โย นโร นหิ สาธุ โส ปาณาติบาตสิ้น กรุณา เบียนเบียฑปวงประชา ยากไร้ ลืมธัมมะนำพา ภพสุข หาสิ่งดีไม่ได้ หนักพื้นโลกา คนผู้ใดไม่มีความกรุณาในสัตว์และคนทั้งหลายผู้เข็ญใจ ย่อมเบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข์ คนผู้นั้นจักเป็นผู้หาดีไม่ได้ ชื่อว่าเป็นคนอธรรมในโลกย์ ๕. อาริยาคีติฉันท์ อติมาโน อธิโกโธ อวมาน กโรนํ เวสุ อภวุฑฺเฒ สุ โย พหุสุโตมิ โสปิน บณฺฑิโต พาลํ สมฺมโต อธิโลเก มานะมีมากครั้ง เคืองเคียด ใจจะหยามหมิ่นเกียรติ ทุกผู้ แม้นเรียนร่ำละเอียด เอกอุ ปากที่ฝากกระทู้ ถ่อยสิ้นสัทธรรม คนผู้ใดมีทิฐิมานะใหญ่ยิ่งนัก มีความโกรธเคืองเคียด ย่อมดูหมิ่นบุคคลอันหนุ่มและแก่กว่าตน แม้นผู้นั้นจะเป็นพหูสูตร (ผู้ร่ำเรียนมากเท่าใดก็ดี) จักถือเป็นบัณฑิตก็หามิได้ (เพราะความพาล) ขึ้นชื่อว่าเป็นคนใบ้คนหนึ่งในโลกย์ ๖. เวตาลียฉันท์ อธิปจฺจํโคธ โย นโร ตณฺหามาณว วตฺติโต ปเร ปตาเปติ มตฺตวุฑฺฒิยา ตถานาคเต ทุกฺขตา ปิโต ครองแคว้นแค้นข่มข้า ขุกเข็ญ เพื่อประโยชน์โฉดเป็น ที่ตั้ง ภายหน้าพ่าห์เพียบเพ็ญ พบเพท..ภัยเอย กรรมเก่าเข้าฉุดรั้ง เร่งให้ฉิบหาย บุคคลใดถึงความเป็นใหญ่ในโลกย์ ใช้อำนาจเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เพื่อประโยชน์แก่ตน บุคคลนั้นจักเดือดร้อนในกาลหน้า ด้วยกรรมอันตนได้กระทำไว้ ๗. โอปจฺฉนฺทสกฉันท์ การุณิโล สนฺนโรธิปจฺจํ ยธา คโตโส สพฺพปาณเกสุ กโรติ สุขยํ น ปาปิทุกฺขํ สพฺพสุขีโน มานภาว ตสฺส กรุงไกรกษัตริย์เกื้อ กุศล เสริมสง่าการุณพล ไพร่ฟ้า ใจจำกำราบ รณ แรงบาป สุข สรนุกถ้วนหน้า แน่แท้ทุกสมัย คนผู้มี กรุณามาก ได้เป็นใหญ่ ในโลกย์ ในกาลเมื่อใด คนผู้นั้นกระทำความสุขให้แก่สัตว์โลกย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำความทุกข์ สัตว์โลกย์ทั้งหลายย่อมมีความสุขด้วยอำนาจของสัตตบุรุษนั้น ๘. อาปาฏลิกาฉันท์ โลภนิสฺสาย วินาโส ภวติ โทสํ จโมหนากํ จ โย นโร สวาฆนกาโม สจิตฺตรกฺขํ ทนฺตหิ กเรยฺย โลภมากกระชากช้ำ ฉิบหาย เหวแห่งจัตุราบาย บ่งรู้ โทโสโม่ห์ละลาย รมยสุข ละเกลศแล้วผู้ จิตพ้นสังสาร ความฉิบหายอาศัยความโลภ ซึ่งเกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ใช่แต่เท่านั้น ! ความฉิบหายย่อมอาศัยโทสะโมหะด้วย บุคคลทั้งหลายผู้หวังความเจริญ พึงกระทำการรักษาจิตใจของตนให้พ้นจากความโลภโกรธหลงนั้นเถิด ๙. ทกฺขิณนฺติกาฉันท์ ปหาย โกธํภิขนฺติ มา ทยาลุโก วา เมตฺตาจิตฺตกํ ทยํ จ ปเณสุ สมฺปเร สปญฺญวา น จเรติ ทารุนํ ขันตีนีราศแกล้ว โกรธา ถึงซึ่งเหตุเมตตา ตริถ้วน หลีกเร้นเข่นฆ่าสา- ธุสัตว์ สัปปุรุษเลิศล้วน ละเว้นทารุณ สัตตบุรุษผู้มีปัญญาละเว้นเสียยังความโกรธเป็นผู้ที่มีความอดทน ความกรุณามากนักย่อมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่สัตว์ทั้งหลาย สัตตบุรุษผู้นั้นย่อมไม่กระทำทารุณแก่สัตว์ ๑๐. อุทิจฺจวุติฉันท์ ปรสฺสลาเภ อุปาคเต เนว นินฺเทยฺย มิสฺสุภา ยตํ สภาวโต ยํ อธมฺมิกํ กายเลนฺตํ วนินฺทเย มุนี เศรษฐีมีมากแก้ว- กองทอง ปราชญ์ไป่ริษยาหมอง หม่นไหม้ ทรัพย์ใดใช่สิ่งของ สุจริต ปราชญ์อาจแนะแคะไค้ ข่มได้โดยควร ในเมื่อลาภมาถึงแก่ท่านผู้อื่น ผู้มีปัญญามิพึงติเตียนด้วยความริษยา วัตถุอันใดได้ด้วยมิชอบธรรม ผู้มีปัญญาติเตียนในกาลอันควรแล ๑๑. ปจฺจวุติฉันท์ สกาลา ภูตุปาทนํ ยถา อปฺปกมฺมิ สกลาภเก ตถา สนฺตุฏฺเฐยฺยว ปญฺญวา มา ปรสฺสลาเภ ปิหํ จเร ทุรโภคทุรโชคสร้าง ศฤงคาร- ธนทรัพย์ธนสาร ซึ่งน้อย พึงสันโดษสันดาน บัณฑิต อย่ามักใหญ่ในร้อย ลาภผู้อื่นสงวน การบังเกิดลาภแห่งตนด้วยประการใด แม้น้อยหนึ่งก็ดี ผู้มีปัญญาพึงสันโดษในลาภแห่งตนนั้น บ่มิพึงใคร่ได้ยังลาภแห่งท่านผู้อื่น ๑๒. ปวสฺตกฉันท์ ยโส จลาโภ จ กิตฺติ จ นิจฺจ ธัมฺมิกา เนว โหนฺติกา วินาส ธมฺมา ว ปณฺฑิโต ตาสุ มชฺชโต สพฺพทา ภเว ชื่อเสียงลาภยศเบี้ย บริวาร ฤาอยู่ยั่งยืนนาน เที่ยงแท้ ย่อมอันตรธาน ทุกเมื่อ ปราชญ์ไป่มัวเมาแล้ รีบสร้างทางเขษม ลาภยศบริวารชื่อเสียงก็ดี ไม่มีสภาวะอันมั่นเที่ยง ย่อมมีสภาวะอันรู้ฉิบหายไป เหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงมัวเมาในกาลทุกเมื่อ ๑๓. อปรนฺติกาฉันท์ สพฺพโภคมิตฺตา สกานุคา เนว สพฺพฐาเน สยํ กตํ ปุญฺญปาปกมฺมํ สกานุคํ ตํ ปรมิปโลกานิวัตฺตกํ สินทรัพย์กับเพื่อนทั้ง หญิงชาย เคยติดตามยามตาย หมดสิ้น บุญบาป ขนาบกาย เกาะแน่น..นานนา นรชีพลับดับดิ้น บ่รู้ลาหาย ข้าวของทรัพย์สมบัติมิตรสหาย จักตามไปกับตนในสถานทุกแห่งหามิได้ กรรมอันเป็นบาปและบุญที่ตนได้กระทำไว้นั้น ย่อมตามไปกับตนในสถานที่ทุกแห่งแม้ในปรโลกหน้า ๑๔. จารุหาสินีฉันท์ ยทิ อตฺตโน อถฺเมสิโต ปหาย ปาปํว โส นโร ยเทวปุญฺมา ปรายิเก สุขาวหํตํ จเร สทา ชนใดไขว่คว้าสุข ใส่ตน ย่อมละเสียซึ่งผล บาปย้อม บุญบารมีดล แดนเทพ สู่สุขาวดีพร้อม- พรั่งด้วยสมบัติสวรรค์ บุคคลผู้ได้แสวงหาประโยชน์สุขแก่ตน ย่อมละเว้นจากบาปกรรมทั้งมวล กุศลกรรมอันใดซึ่งจักเป็นประโยชน์สุขในเทวโลก บุคคลผู้นั้นพึงกระทำในกาลทุกเมื่อแล ๑๕. อจลธิติ ฉันท์ ติสรณ มคต นรมรุ กลิคหนิ ทุจริต จริธ กลิผล อนุภวติ ตุมปคต นรมรุ นหิ กลิคหนิ สุจริต จริธ สุขผล อนุภวติ แก้วสามดวงเด่นไว้ หว่างทาง ทวยเทพนรชนปาง ปัดทิ้ง ถือทุจริตพลาง พบพิบาก..กรรมเอย ทุกข์ประทุกมากหยิ้ง ย่อมร้อนกลีผล เทวามานุษย์ผู้ พบตรัย..รัตน์เอย ถือสุจริตใจ อร่ามอล้า ดวงแก้วสาดส่องใส สว่างจิต สู่สุขรมย์ในหล้า แหล่งโน้นนีรันดร์ คนและเทวดาซึ่งไม่เข้าสู่ไตรสรณะ แลถือเอาลัทธิอันผิด ย่อมกระทำทุจริต แลได้เสวยวิบากเป็นทุกข์ในโลก คนและเทวดาซึ่งเข้าไปสู่ไตรสรณะ แลไม่ถือเอาลัทธิอันผิด ย่อมกระทำสุจริต แลได้เสวยสุขในโลก ๑๖. วิสิโลกฉันท์ โลกีย สมฺปท ธรติ สทา น สาสนมุตฺตมนฺติ กทาจิ ตสฺมา น เปกขิย โลกโภคํ ธเรยฺย สาสน อาธรนฺติ กุศลสร้างจึ่งพร้อม สมบัติ โลกิยนิทัศน์ ทุกข์ด้วย ศาสนวิวัฒน์ บางคาบ ผู้ใฝ่ธรรมธรรมฉ้วย ชีพรู้รสธรรม โลกียสมบัติตั้งอยู่ในโลกในกาลทุกเมื่อ ก็ด้วยกุศลแห่งสัตว์ทั้งหลาย ศาสนาอันประเสริฐ แห่งพระพุทธเจ้า มิตั้งอยู่ในโลกในกาลทุกเมื่อ ศาสนาตั้งอยู่ในกาลบางคาบ เหตุนั้นผู้มีปัญญามิพึงฝักใฝ่ในสมบัติ พึงฝักใฝ่ ในศาสนานั้นเถิด ๑๗. มตฺตาสมกฉันท์ สรณตฺตยํ สรณคตฺต นรํ วฏ์ฎทุกฺขโต ปโม จ ยนฺเต นาญสรณํ ยทิโย วทิตวา อวํ ติสรณ คเมยฺย นโร สังสารวัฏเวิ้ง ทุกขะ พ้นเพราะไตรสรณะ นั่นแท้ พึ่งไอศวรรยะ ยังยาก พึ่งไตรรัตนนั่นแล้ หลีกล้างราญเข็ญ บุคคลผู้ใดซึ่งถึงไตรสรณะ ย่อมหลุดพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร ที่พึ่งอันชื่นเช่นท้าวพระยามหาเสนาบดีจักให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารหามิได้ เหตุนั้นผู้รู้แล้วด้วยประการดังนี้ พึงถึงซึ่งไตรสรณะเป็นที่พึ่งแก่ตนเพราะวิเศษยิ่งกว่าที่พึ่งอันอื่น

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราความผิดปกติทางจิต จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ความผิดปกติทางจิต Mental disorder การจำแนกและทรัพยากรภายนอก ICD-10 F99 MeSH D001523 ความผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน (distress) หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน[1] ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่า[2] สาเหตุของความผิดปกติทางจิตมีหลากหลายและไม่ชัดเจนในบางกรณี และหลายทฤษฎีอาจรวมเอาการค้นพบจากหลายสาขาเข้าด้วยกัน มีการบริหารอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชหรือในชุมชน และการประเมินกระทำโดยจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และนักสังคมสงเคราะห์คลินิก โดยใช้หลายวิธี แต่มักอาศัยการสังเกตและการถาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจำนวนมากเป็นผู้ให้การรักษาทางคลินิก จิตบำบัดและการเยียวยาจิตเวชเป็นสองทางเลือกหลักในการรักษา เช่นเดียวกับการแทรกแซงทางสังคม การสนับสนุนจากเพื่อนและการช่วยเหลือตนเอง ในกรณีส่วนน้อยอาจมีการกักขังโดยไม่สมัครใจหรือการรักษาโดยไม่สมัครใจ ตามที่กฎหมายอนุญาต การประทับตราทางสังคม (social stigma) และการเลือกปฏิบัติเพราะสภาพจิต (mentalism หรือ sanism) สามารถซ้ำเติมความทุกข์ทรมานและความพิการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต (หรือที่ถูกวินิจฉัยหรือตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิต) นำไปสู่ขบวนการทางสังคมจำนวนมากที่พยายามเพิ่มความเข้าใจและคัดค้านการกีดกันทางสังคม ปัจจุบันการป้องกันปรากฏในยุทธศาสตร์สุขภาพจิตบ้างแล้ว

สังเกตุให้ดีดีมีแต่กิเลสกับทุกข์ทั้งนั้น เราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

สังเกตุให้ดีดีมีแต่กิเลสกับทุกข์ทั้งนั้นให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศล ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตต สัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเรา จักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความ ประพฤติชอบ และความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญา นั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร โลกแล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย ปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของ พวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศล ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตต สัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเรา จักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความ ประพฤติชอบ และความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญา นั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร โลกแล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย ปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของ พวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

การดูจิต - วิถีแห่งความรู้แจ้งหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

วิถีแห่งความรู้แจ้ง โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช งานธรรมไร้พรมแดนครั้งที...หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ

ล้มแล้วต้องลุกคลุกแล้วต้องคลานเพราะอิริยาบถนอนเป็นทีอาศัยของกิเลสลองเลีย...พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ

อย่าคิดว่าเราเป็นพระอริยะเจ้าภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

ผู้สละโลก ปลดแอกธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า ถ้าทำมาหลายปีแล้วเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานเหมือนเดิม วันนี้สงบพรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน วันนี้ดีพรุ่งนี้ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้ ไม่ถูกแน่ๆ ทำไปได้เดือน 3 เดือน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน อย่างนี้ต้องเห็นผล ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลง

ผู้สละโลก ปลดแอก ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

ผู้สละโลก ปลดแอก ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธ การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔ และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธ การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔ และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธ การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔ และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธ การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔ และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์ การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔ และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีน้อมนำจิตเข้าสู่พระนิพพานตามพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้คำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกแล้วนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติ พออีก 3 เดือนไปส่งการบ้าน ท่านอธิบายให้ฟังว่าที่ปฏิบัติอยู่ไม่ถูกหรอก เสร็จแล้วท่านสอนจิต คือพุทธะให้ฟัง จิตคือพุทธะ เทศน์ๆๆ อยู่ 45 นาที ก็เทศน์กลับไปกลับมาเรื่อย รอบหนึ่ง 45 นาที เราฟังจนเหนื่อยเต็มประดานะ จึงถามหลวงปู่ว่า 'หลวงปู่ ที่หลวงปู่เทศน์มาทั้งหมดเนี่ย ผมขอดูจิตอย่างเดียวได้มั้ย?' ที่ต้องถามเพราะมันไม่รู้เรื่อง ที่เทศน์มาเนี่ยไม่ได้รู้เรื่องเลย หลวงปู่ก็เลยบอกว่า 'ธรรมะทั้งหลายเกิดที่จิต ธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์นะเกิดที่จิต ถ้ารู้อยู่ที่จิตก็รู้ธรรมะได้' ฟังแล้วค่อยสบายใจนะ อือ โห ทำไมท่านสอนธรรมมากมาย ท่านสอนให้ไว้ใช้ในอนาคตแต่สอนทีไรก็สอนอย่างนี้ สอนเวียน ไปอยู่ในเรื่องของจิตคือพุทธะ จนครั้งสุดท้าย ไปหาท่านครั้งสุดท้าย 36 วันก่อนท่านมรณภาพ ไปหาท่านตั้งแต่ตอนบ่ายๆ อยู่กับท่าน ท่านก็เทศน์ให้ฟังไปเรื่อยๆ นะ จนทุ่มหนึ่ง ท่านนะหอบแฮ่กๆ เลย ไม่ยอมหยุดสอน เราก็สงสารท่านมากเลย บอกหลวงปู่ 'หลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ผมจะกลับแล้ว' 'จะกลับเหรอ ยังกลับไม่ได้นะ ต้องจำไว้ก่อน พบจิตให้ทำลายจิตนะ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง' จริงๆ มีอีกประโยคหนึ่ง แต่ไม่ค่อยอยากเล่า ท่านว่าพบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าซะ ฟังแล้วมันน่าตกใจนะ 'พบจิตให้ทำลายจิต พบผู้รู้ให้ทำลาย ผู้รู้ จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เข้าใจมั้ย?' บอกท่านว่าไม่เข้าใจแต่ผมจะจำไว้ 'เออดี จำไว้นะ ไป ไปได้แล้ว ไป' ลาท่านมา ลาแล้วหันไปมองหลายรอบนะ เฮ้อ รู้สึกอาลัยอาวรณ์ ไม่ได้เจออีกแล้ว รุ่งเช้าขึ้นรถไฟไปกราบหลวงพ่อพุธที่โคราช วัดท่านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ลงรถไฟแล้วก็เดินไปได้ ท่านเห็นหน้าท่านถามว่า 'นักปฏิบัติ หลวงปู่สอนอะไร รอบนี้หลวงปู่สอนอะไร' ท่านรู้ว่าหลวงพ่อไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ ทุกครั้งที่เรียนจะต้องแวะมาหาท่านนะ แล้วท่านก็จะถามว่าหลวงปู่สอนอะไรบ้าง กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่บอกว่าพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต ท่านก็บอกว่าเมื่ออาทิตย์ก่อน ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มา หลวงปู่ก็บอกท่านเหมือนกันบอกว่า 'เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต' เสร็จแล้วหลวงพ่อพุธก็บอกหลวงพ่อว่า 'คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกัน ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อนให้บอกกันนะ ว่าทำลายยังไง' ตอนนั้นปี 26 เสร็จแล้วก็ไปเจอท่านเรื่อยๆ นะ ตอนหลังๆ ท่านหนีไปจากวัด ท่านทนโยมไม่ไหว หลวงพ่อตอนนี้ยังทนไหวนะ อีกหน่อยคงทนไม่ไหวคงหนีเหมือนกัน หาตัวท่านไม่เจอ เจอเวลาท่านเข้าไปเทศน์ในกรุงเทพฯ บ้าง อะไรบ้าง คนเยอะๆ คน หลายร้อย คนเป็นพันเลยเข้าไม่ถึง ไม่เจอท่านนาน หลายปีไม่เจอ จนก่อนหลวงพ่อพุธจะมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลวงพ่อ ยังทำงานอยู่องค์การโทรศัพท์ ไปนั่งฟังเทศน์ คนก็เต็มห้องนะ 100 คนได้ ค่อยน้อยหน่อย ท่านเทศน์จบก็คลานเข้าไปกราบท่าน 'หลวงพ่อ ผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว' ท่านบอกว่า ท่านจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก บอก 'หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย' โห คราวนี้นะธรรมท่านเปลี่ยนฉับพลันเลย ที่เทศน์ๆ ธรรมดา เทศน์เสร็จแล้ว พอบอกว่าผมทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย ท่านห้าวหาญเลยพูดขึ้นมา 'จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่นั้นนะเติบโตเต็มที่แล้ว มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง' พอฟังท่านแล้ว โอ้ สะใจ รู้เลยธรรมของ ท่านระดับไหน เสร็จแล้วก็ลงมา กราบท่านแล้วลงมา ตอนท่านมาขึ้นรถกลับนะ ยืนอยู่ข้างถนน มาไหว้ท่านนะ ท่านก็ไขกระจกออกมาให้เราไหว้ นั่นเห็นกันครั้งสุดท้ายไม่นานก็มรณภาพ ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้เรียนปริยัติมาก นัก ท่านก็พูดตามที่ท่านพบท่านเห็นนะ ท่านว่า 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

คัมภีร์เล่มสุดท้ายเพื่อความหลุดพ้นจากความเชื่อและลัทธิทั้งหลายคำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกแล้วนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติ พออีก 3 เดือนไปส่งการบ้าน ท่านอธิบายให้ฟังว่าที่ปฏิบัติอยู่ไม่ถูกหรอก เสร็จแล้วท่านสอนจิต คือพุทธะให้ฟัง จิตคือพุทธะ เทศน์ๆๆ อยู่ 45 นาที ก็เทศน์กลับไปกลับมาเรื่อย รอบหนึ่ง 45 นาที เราฟังจนเหนื่อยเต็มประดานะ จึงถามหลวงปู่ว่า 'หลวงปู่ ที่หลวงปู่เทศน์มาทั้งหมดเนี่ย ผมขอดูจิตอย่างเดียวได้มั้ย?' ที่ต้องถามเพราะมันไม่รู้เรื่อง ที่เทศน์มาเนี่ยไม่ได้รู้เรื่องเลย หลวงปู่ก็เลยบอกว่า 'ธรรมะทั้งหลายเกิดที่จิต ธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์นะเกิดที่จิต ถ้ารู้อยู่ที่จิตก็รู้ธรรมะได้' ฟังแล้วค่อยสบายใจนะ อือ โห ทำไมท่านสอนธรรมมากมาย ท่านสอนให้ไว้ใช้ในอนาคตแต่สอนทีไรก็สอนอย่างนี้ สอนเวียน ไปอยู่ในเรื่องของจิตคือพุทธะ จนครั้งสุดท้าย ไปหาท่านครั้งสุดท้าย 36 วันก่อนท่านมรณภาพ ไปหาท่านตั้งแต่ตอนบ่ายๆ อยู่กับท่าน ท่านก็เทศน์ให้ฟังไปเรื่อยๆ นะ จนทุ่มหนึ่ง ท่านนะหอบแฮ่กๆ เลย ไม่ยอมหยุดสอน เราก็สงสารท่านมากเลย บอกหลวงปู่ 'หลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ผมจะกลับแล้ว' 'จะกลับเหรอ ยังกลับไม่ได้นะ ต้องจำไว้ก่อน พบจิตให้ทำลายจิตนะ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง' จริงๆ มีอีกประโยคหนึ่ง แต่ไม่ค่อยอยากเล่า ท่านว่าพบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าซะ ฟังแล้วมันน่าตกใจนะ 'พบจิตให้ทำลายจิต พบผู้รู้ให้ทำลาย ผู้รู้ จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เข้าใจมั้ย?' บอกท่านว่าไม่เข้าใจแต่ผมจะจำไว้ 'เออดี จำไว้นะ ไป ไปได้แล้ว ไป' ลาท่านมา ลาแล้วหันไปมองหลายรอบนะ เฮ้อ รู้สึกอาลัยอาวรณ์ ไม่ได้เจออีกแล้ว รุ่งเช้าขึ้นรถไฟไปกราบหลวงพ่อพุธที่โคราช วัดท่านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ลงรถไฟแล้วก็เดินไปได้ ท่านเห็นหน้าท่านถามว่า 'นักปฏิบัติ หลวงปู่สอนอะไร รอบนี้หลวงปู่สอนอะไร' ท่านรู้ว่าหลวงพ่อไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ ทุกครั้งที่เรียนจะต้องแวะมาหาท่านนะ แล้วท่านก็จะถามว่าหลวงปู่สอนอะไรบ้าง กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่บอกว่าพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต ท่านก็บอกว่าเมื่ออาทิตย์ก่อน ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มา หลวงปู่ก็บอกท่านเหมือนกันบอกว่า 'เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต' เสร็จแล้วหลวงพ่อพุธก็บอกหลวงพ่อว่า 'คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกัน ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อนให้บอกกันนะ ว่าทำลายยังไง' ตอนนั้นปี 26 เสร็จแล้วก็ไปเจอท่านเรื่อยๆ นะ ตอนหลังๆ ท่านหนีไปจากวัด ท่านทนโยมไม่ไหว หลวงพ่อตอนนี้ยังทนไหวนะ อีกหน่อยคงทนไม่ไหวคงหนีเหมือนกัน หาตัวท่านไม่เจอ เจอเวลาท่านเข้าไปเทศน์ในกรุงเทพฯ บ้าง อะไรบ้าง คนเยอะๆ คน หลายร้อย คนเป็นพันเลยเข้าไม่ถึง ไม่เจอท่านนาน หลายปีไม่เจอ จนก่อนหลวงพ่อพุธจะมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลวงพ่อ ยังทำงานอยู่องค์การโทรศัพท์ ไปนั่งฟังเทศน์ คนก็เต็มห้องนะ 100 คนได้ ค่อยน้อยหน่อย ท่านเทศน์จบก็คลานเข้าไปกราบท่าน 'หลวงพ่อ ผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว' ท่านบอกว่า ท่านจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก บอก 'หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย' โห คราวนี้นะธรรมท่านเปลี่ยนฉับพลันเลย ที่เทศน์ๆ ธรรมดา เทศน์เสร็จแล้ว พอบอกว่าผมทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย ท่านห้าวหาญเลยพูดขึ้นมา 'จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่นั้นนะเติบโตเต็มที่แล้ว มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง' พอฟังท่านแล้ว โอ้ สะใจ รู้เลยธรรมของ ท่านระดับไหน เสร็จแล้วก็ลงมา กราบท่านแล้วลงมา ตอนท่านมาขึ้นรถกลับนะ ยืนอยู่ข้างถนน มาไหว้ท่านนะ ท่านก็ไขกระจกออกมาให้เราไหว้ นั่นเห็นกันครั้งสุดท้ายไม่นานก็มรณภาพ ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้เรียนปริยัติมาก นัก ท่านก็พูดตามที่ท่านพบท่านเห็นนะ ท่านว่า 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

คัมภีร์เล่มสุดท้ายเพื่อความหลุดพ้นจากความเชื่อและลัทธิทั้งหลายคำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกแล้วนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติ พออีก 3 เดือนไปส่งการบ้าน ท่านอธิบายให้ฟังว่าที่ปฏิบัติอยู่ไม่ถูกหรอก เสร็จแล้วท่านสอนจิต คือพุทธะให้ฟัง จิตคือพุทธะ เทศน์ๆๆ อยู่ 45 นาที ก็เทศน์กลับไปกลับมาเรื่อย รอบหนึ่ง 45 นาที เราฟังจนเหนื่อยเต็มประดานะ จึงถามหลวงปู่ว่า 'หลวงปู่ ที่หลวงปู่เทศน์มาทั้งหมดเนี่ย ผมขอดูจิตอย่างเดียวได้มั้ย?' ที่ต้องถามเพราะมันไม่รู้เรื่อง ที่เทศน์มาเนี่ยไม่ได้รู้เรื่องเลย หลวงปู่ก็เลยบอกว่า 'ธรรมะทั้งหลายเกิดที่จิต ธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์นะเกิดที่จิต ถ้ารู้อยู่ที่จิตก็รู้ธรรมะได้' ฟังแล้วค่อยสบายใจนะ อือ โห ทำไมท่านสอนธรรมมากมาย ท่านสอนให้ไว้ใช้ในอนาคตแต่สอนทีไรก็สอนอย่างนี้ สอนเวียน ไปอยู่ในเรื่องของจิตคือพุทธะ จนครั้งสุดท้าย ไปหาท่านครั้งสุดท้าย 36 วันก่อนท่านมรณภาพ ไปหาท่านตั้งแต่ตอนบ่ายๆ อยู่กับท่าน ท่านก็เทศน์ให้ฟังไปเรื่อยๆ นะ จนทุ่มหนึ่ง ท่านนะหอบแฮ่กๆ เลย ไม่ยอมหยุดสอน เราก็สงสารท่านมากเลย บอกหลวงปู่ 'หลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ผมจะกลับแล้ว' 'จะกลับเหรอ ยังกลับไม่ได้นะ ต้องจำไว้ก่อน พบจิตให้ทำลายจิตนะ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง' จริงๆ มีอีกประโยคหนึ่ง แต่ไม่ค่อยอยากเล่า ท่านว่าพบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าซะ ฟังแล้วมันน่าตกใจนะ 'พบจิตให้ทำลายจิต พบผู้รู้ให้ทำลาย ผู้รู้ จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เข้าใจมั้ย?' บอกท่านว่าไม่เข้าใจแต่ผมจะจำไว้ 'เออดี จำไว้นะ ไป ไปได้แล้ว ไป' ลาท่านมา ลาแล้วหันไปมองหลายรอบนะ เฮ้อ รู้สึกอาลัยอาวรณ์ ไม่ได้เจออีกแล้ว รุ่งเช้าขึ้นรถไฟไปกราบหลวงพ่อพุธที่โคราช วัดท่านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ลงรถไฟแล้วก็เดินไปได้ ท่านเห็นหน้าท่านถามว่า 'นักปฏิบัติ หลวงปู่สอนอะไร รอบนี้หลวงปู่สอนอะไร' ท่านรู้ว่าหลวงพ่อไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ ทุกครั้งที่เรียนจะต้องแวะมาหาท่านนะ แล้วท่านก็จะถามว่าหลวงปู่สอนอะไรบ้าง กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่บอกว่าพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต ท่านก็บอกว่าเมื่ออาทิตย์ก่อน ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มา หลวงปู่ก็บอกท่านเหมือนกันบอกว่า 'เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต' เสร็จแล้วหลวงพ่อพุธก็บอกหลวงพ่อว่า 'คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกัน ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อนให้บอกกันนะ ว่าทำลายยังไง' ตอนนั้นปี 26 เสร็จแล้วก็ไปเจอท่านเรื่อยๆ นะ ตอนหลังๆ ท่านหนีไปจากวัด ท่านทนโยมไม่ไหว หลวงพ่อตอนนี้ยังทนไหวนะ อีกหน่อยคงทนไม่ไหวคงหนีเหมือนกัน หาตัวท่านไม่เจอ เจอเวลาท่านเข้าไปเทศน์ในกรุงเทพฯ บ้าง อะไรบ้าง คนเยอะๆ คน หลายร้อย คนเป็นพันเลยเข้าไม่ถึง ไม่เจอท่านนาน หลายปีไม่เจอ จนก่อนหลวงพ่อพุธจะมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลวงพ่อ ยังทำงานอยู่องค์การโทรศัพท์ ไปนั่งฟังเทศน์ คนก็เต็มห้องนะ 100 คนได้ ค่อยน้อยหน่อย ท่านเทศน์จบก็คลานเข้าไปกราบท่าน 'หลวงพ่อ ผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว' ท่านบอกว่า ท่านจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก บอก 'หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย' โห คราวนี้นะธรรมท่านเปลี่ยนฉับพลันเลย ที่เทศน์ๆ ธรรมดา เทศน์เสร็จแล้ว พอบอกว่าผมทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย ท่านห้าวหาญเลยพูดขึ้นมา 'จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่นั้นนะเติบโตเต็มที่แล้ว มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง' พอฟังท่านแล้ว โอ้ สะใจ รู้เลยธรรมของ ท่านระดับไหน เสร็จแล้วก็ลงมา กราบท่านแล้วลงมา ตอนท่านมาขึ้นรถกลับนะ ยืนอยู่ข้างถนน มาไหว้ท่านนะ ท่านก็ไขกระจกออกมาให้เราไหว้ นั่นเห็นกันครั้งสุดท้ายไม่นานก็มรณภาพ ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้เรียนปริยัติมาก นัก ท่านก็พูดตามที่ท่านพบท่านเห็นนะ ท่านว่า 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

เพื่อนรักเพื่อนแท้ไม่ใช่ใครกายและใจของเรานี่เองคำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกแล้วนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติ พออีก 3 เดือนไปส่งการบ้าน ท่านอธิบายให้ฟังว่าที่ปฏิบัติอยู่ไม่ถูกหรอก เสร็จแล้วท่านสอนจิต คือพุทธะให้ฟัง จิตคือพุทธะ เทศน์ๆๆ อยู่ 45 นาที ก็เทศน์กลับไปกลับมาเรื่อย รอบหนึ่ง 45 นาที เราฟังจนเหนื่อยเต็มประดานะ จึงถามหลวงปู่ว่า 'หลวงปู่ ที่หลวงปู่เทศน์มาทั้งหมดเนี่ย ผมขอดูจิตอย่างเดียวได้มั้ย?' ที่ต้องถามเพราะมันไม่รู้เรื่อง ที่เทศน์มาเนี่ยไม่ได้รู้เรื่องเลย หลวงปู่ก็เลยบอกว่า 'ธรรมะทั้งหลายเกิดที่จิต ธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์นะเกิดที่จิต ถ้ารู้อยู่ที่จิตก็รู้ธรรมะได้' ฟังแล้วค่อยสบายใจนะ อือ โห ทำไมท่านสอนธรรมมากมาย ท่านสอนให้ไว้ใช้ในอนาคตแต่สอนทีไรก็สอนอย่างนี้ สอนเวียน ไปอยู่ในเรื่องของจิตคือพุทธะ จนครั้งสุดท้าย ไปหาท่านครั้งสุดท้าย 36 วันก่อนท่านมรณภาพ ไปหาท่านตั้งแต่ตอนบ่ายๆ อยู่กับท่าน ท่านก็เทศน์ให้ฟังไปเรื่อยๆ นะ จนทุ่มหนึ่ง ท่านนะหอบแฮ่กๆ เลย ไม่ยอมหยุดสอน เราก็สงสารท่านมากเลย บอกหลวงปู่ 'หลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ผมจะกลับแล้ว' 'จะกลับเหรอ ยังกลับไม่ได้นะ ต้องจำไว้ก่อน พบจิตให้ทำลายจิตนะ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง' จริงๆ มีอีกประโยคหนึ่ง แต่ไม่ค่อยอยากเล่า ท่านว่าพบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าซะ ฟังแล้วมันน่าตกใจนะ 'พบจิตให้ทำลายจิต พบผู้รู้ให้ทำลาย ผู้รู้ จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เข้าใจมั้ย?' บอกท่านว่าไม่เข้าใจแต่ผมจะจำไว้ 'เออดี จำไว้นะ ไป ไปได้แล้ว ไป' ลาท่านมา ลาแล้วหันไปมองหลายรอบนะ เฮ้อ รู้สึกอาลัยอาวรณ์ ไม่ได้เจออีกแล้ว รุ่งเช้าขึ้นรถไฟไปกราบหลวงพ่อพุธที่โคราช วัดท่านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ลงรถไฟแล้วก็เดินไปได้ ท่านเห็นหน้าท่านถามว่า 'นักปฏิบัติ หลวงปู่สอนอะไร รอบนี้หลวงปู่สอนอะไร' ท่านรู้ว่าหลวงพ่อไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ ทุกครั้งที่เรียนจะต้องแวะมาหาท่านนะ แล้วท่านก็จะถามว่าหลวงปู่สอนอะไรบ้าง กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่บอกว่าพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต ท่านก็บอกว่าเมื่ออาทิตย์ก่อน ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มา หลวงปู่ก็บอกท่านเหมือนกันบอกว่า 'เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต' เสร็จแล้วหลวงพ่อพุธก็บอกหลวงพ่อว่า 'คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกัน ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อนให้บอกกันนะ ว่าทำลายยังไง' ตอนนั้นปี 26 เสร็จแล้วก็ไปเจอท่านเรื่อยๆ นะ ตอนหลังๆ ท่านหนีไปจากวัด ท่านทนโยมไม่ไหว หลวงพ่อตอนนี้ยังทนไหวนะ อีกหน่อยคงทนไม่ไหวคงหนีเหมือนกัน หาตัวท่านไม่เจอ เจอเวลาท่านเข้าไปเทศน์ในกรุงเทพฯ บ้าง อะไรบ้าง คนเยอะๆ คน หลายร้อย คนเป็นพันเลยเข้าไม่ถึง ไม่เจอท่านนาน หลายปีไม่เจอ จนก่อนหลวงพ่อพุธจะมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลวงพ่อ ยังทำงานอยู่องค์การโทรศัพท์ ไปนั่งฟังเทศน์ คนก็เต็มห้องนะ 100 คนได้ ค่อยน้อยหน่อย ท่านเทศน์จบก็คลานเข้าไปกราบท่าน 'หลวงพ่อ ผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว' ท่านบอกว่า ท่านจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก บอก 'หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย' โห คราวนี้นะธรรมท่านเปลี่ยนฉับพลันเลย ที่เทศน์ๆ ธรรมดา เทศน์เสร็จแล้ว พอบอกว่าผมทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย ท่านห้าวหาญเลยพูดขึ้นมา 'จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่นั้นนะเติบโตเต็มที่แล้ว มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง' พอฟังท่านแล้ว โอ้ สะใจ รู้เลยธรรมของ ท่านระดับไหน เสร็จแล้วก็ลงมา กราบท่านแล้วลงมา ตอนท่านมาขึ้นรถกลับนะ ยืนอยู่ข้างถนน มาไหว้ท่านนะ ท่านก็ไขกระจกออกมาให้เราไหว้ นั่นเห็นกันครั้งสุดท้ายไม่นานก็มรณภาพ ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้เรียนปริยัติมาก นัก ท่านก็พูดตามที่ท่านพบท่านเห็นนะ ท่านว่า 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันมีสติตั้งมั่นที่ลมหายใจของเราเองแล้วให้สังเกตุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในใจเป็นสิ่งแปลกปลอมทั้งสิ้น.ช้า..ช้า..ไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งมีสติตั้งมั่นที่ลมหายใจของเราเองแล้วให้สังเกตุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในใจเป็นสิ่งแปลกปลอมทั้งสิ้น.ช้า..ช้า..ไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌานสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อ ชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด. ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรงดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก. แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหา คนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจงธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน. ปุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม. ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เลย ถึงเห็นแล้ว ก็ไม่รู้จัก . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตร นี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา. แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงพึงธรรมนี้ จงใส่ใจให้ดี. เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว . ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส. นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อม หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ความสงบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือ ของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น. นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด. ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย. ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ. ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย. ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตร ชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร. พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌานเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

พระเจ้าปุกกุสาติเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

โอวาทพระอานนท์เถระท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่า­ว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิต การปฏิบัติธรรมเจริญสติ เพื่อให้รู้ทันจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์ เทปนี้สําคัญมากสําหรับการปฏิบัติเพื่อดูจิตครับ และบอกถึงการแก้ไขในการติดเพ่งด้วยครับ...

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานพระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

โอวาทพระอานนท์เถระพระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าพระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องพระอสีติมหาสาวกทุกรูป ก่อนจะได้มาบรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนั้น ล้วนได้ทำบุญสำคัญไว้เบื้องต้นคล้ายๆกัน คือ การบริจาคทาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่า “การบริจาค” เป็นคุณธรรมสำคัญพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรม ประเด็นที่น่าศึกษาก็คือว่า การบริจาคทานเป็นคุณธรรมสำคัญขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทานมี ๒ ชนิด คือ ๑. อามิสทาน การให้สิ่งของ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงสิ่งของที่พึงให้ไว้ ๑๐ อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม ยานพาหนะ พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องไล้ทา(ผิวหนัง) ที่นอน ที่พัก และประทีป(เครื่องให้แสงสว่าง) ๒. ธรรมทาน การให้ธรรม ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงธรรมไว้ว่า ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้า คำแนะนำ ความรู้ที่เกื้อกูลต่อการทำความดีหรือต่อการดำรงชีวิตที่ดี การให้ทั้ง ๒ นี้ เมื่อทำด้วยจิตศรัทธาและประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมให้ผลทางใจเหมือนกันตรงที่ทำให้ละความรักตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมอื่นๆ เกิดร่วม คือเมตตา (ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น) และกรุณา (ความสงสารต่อผู้อื่น) ตามปกติ คนเราเมื่อมีความรักความปรารถนาดีและความสงสารต่อผู้อื่นแล้ว ก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้ อันจะเป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรม คือการละกิเลสได้ การบรรลุธรรมย่อมทำให้ได้รับความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ปราศจากกาม ซึ่งชาวโลกส่วนมากมักจะกลัวต่อความสุขชนิดนี้ แต่กลับชื่นชมยึดติดอยู่กับความสุขที่เจือด้วยกาม กล่าวถึงการให้สิ่งของและการให้ธรรมนั้น นับเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่นำไปสู่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่และทำได้ยากยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการให้ตัวเอง หมายถึงการให้สิ่งของที่รัก อวัยวะ ชีวิต และสิ่งที่เสมอด้วยชีวิต พระอสีติมหาสาวกต่างล้วนได้ผ่านบทฝึกหัดเบื้องต้นนี้มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะการให้สิ่งของ ดูจะเป็นบทฝึกหัดเบื้องต้นที่สำคัญที่พระอสีติมหาสาวกทุกรูปต้องทำให้ได้ กล่าวถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านค้านว่า เมื่อศึกษาประวัติของพระอสีติมหาสาวกแล้ว พบว่า บุญสำคัญที่บางรูปทำนั้นไม่มีระบุถึงการให้สิ่งของไว้ มีแต่กล่าวว่า ท่านได้ทำการขวนขวายทำการรับใช้พระรัตนตรัย จากเรื่องนี้เมื่อศึกษาดูตามนัยแห่งบุญกิริยาวัตถุแล้ว จะเห็นว่า ทาน คือการให้ มีความหมายกว้างไปถึง การขวนขวายรับใช้ผู้อื่น(เวยยาวัจจะ) การแบ่งปันความดีให้แก่ผู้อื่น(ปัตติทาน) การยินดีด้วยในเมื่อมีผู้อื่นทำความดี(ปัตตานุโมทนา) ฉะนั้น ในกรณีของพระอสีติมหาสาวกบางรูปสามารถกล่าวได้ว่า ท่านได้ทำการให้มาแล้วในรูปของการขวนขวายรับใช้หรือช่วยเหลือ อันเป็นทางให้ละความรักตัวเองลงได้เช่นกัน ผลพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การให้เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมนั้น ก็คือ ๑. ตามหลักของสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ) สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง จัดเป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลละได้ พร้อมกับวิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ เป็นความเข้าใจผิดขั้นหยาบเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตตาที่มีอยู่แก่ปุถุชนทั่วไป จริงอยู่ การละสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของปัญญา ที่เริ่มต้นจากวิปัสสนาปัญญา ไปจนถึงมัคคปัญญา “การให้”แม้จะไม่ทำหน้าที่ละสักกายทิฏฐิโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดปัญญาที่จะละสักกายทิฏฐิ ๒. ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ในการละกิเลสได้เด็ดขาดที่เรียกว่าสมุจเฉทปหานนั้น ผู้ปฏิบัติต้องละตัณหา คือความอยาก ความรักตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเอง ซึ่งเกิดร่วมกับอวิชชาและอุปาทาน ตัณหา คือความรัก ความอยากได้ ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของการหวงแหนว่า นั่นเป็นของเรา(เอตํ มม) ในลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงกิเลสที่เกิดร่วมกับตัณหาอีกนัยหนึ่งคือมานะ คือความถือตัว ความสำคัญตัวว่า เรามีเราเป็น ที่เรียกว่า อัสมิมานะ กับทิฏฐิ คือความเห็นผิด ว่านั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา) และการจะละตัณหากับทิฏฐิได้เด็ดขาด ต้องละด้วยอรหัตมรรคญาณ จริงอยู่ การละตัณหาทำได้ด้วยปัญญา แต่ธรรมที่จะมาช่วยบ่มปัญญาให้แก่กล้าได้นั้น อย่างหนึ่งก็คือการให้(ทาน) ฉะนั้น การให้จึงเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เมื่อได้ทราบว่า การให้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้อย่างนี้แล้ว ประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ การให้อย่างไรจึงมีผลมาก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ที่มีผลมากไว้ว่า ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ องค์ประกอบฝ่ายทายก(ผู้ให้) ๓ กับองค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓ องค์ประกอบฝ่ายทายก ๓ ได้แก่ ๑. ก่อนให้ มีจิตโสมนัส ๒. ขณะให้ มีจิตผ่องใส ๓. ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตอิ่มเอิบ องค์ประกอบฝ่ายปฏิคาหก ๓ ได้แก่ ๑. เป็นผู้หมดราคะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้หมดโทสะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๓. เป็นผู้หมดโมหะ หรือ กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ในพุทธพจน์ตอนนี้มีกล่าวถึงแต่เรื่องทายกกับปฏิคาหกเท่านั้น ในที่บางแห่งยังมีกล่าวเพิ่มเติมถึงทานมีผลมากไว้อีกว่า ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกบริสุทธิ์ ๒. ปฏิคาหกบริสุทธิ์ ๓. ไทยธรรม(ของให้ทาน) บริสุทธิ์ ข้อ ๑ และข้อ ๒ อธิบายได้ด้วยหลักองค์ประกอบ ๖ ประการที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อที่ ๓ นั้นหมายถึงว่า ไทยธรรมบริสุทธิ์ได้ด้วยการที่ทายกได้มาโดยชอบธรรม คือจากการทำงานและการประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์ มีกล่าวกันว่า บรรดาความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ประการนั้น ความบริสุทธิ์ข้อไหนสำคัญที่สุด ซึ่งก็สามารถตอบได้ว่า ความบริสุทธิ์ของทายกเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็หมายความว่า ทายก(ผู้ให้) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการให้ทานตามนัยนี้ ความบริสุทธิ์ของทายกนั้นดูได้ที่เจตนา ๓ กาล คือ เจตนาก่อนทำ(ปุพฺพเจตนา) เจตนาขณะทำ(มุญฺจนเจตนา) และเจตนาหลังทำ(อปราปรเจตนา) ว่าแก่กล้าและมีปีติโสมนัสเกิดร่วมมากน้อยเพียงใด และเมื่อทายกมีความบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว ก็รวมไปถึงว่ามีไทยธรรมบริสุทธิ์ด้วย อนึ่ง เจตนาทั้ง ๓ กาลนั้น จัดเป็นมโนสัญเจตนาหาร คือสามารถส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสุคติภูมิต่างๆ พระอสีติมหาสาวกทุกรูป เริ่มต้นด้วยการทำบุญสำคัญ คือการให้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการให้ทาน การสร้างถาวรวัตถุ การขวนขวายรับใชัพระรัตนตรัย การให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่การบรรลุธรรมในเวลาต่อมา

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะวันประชุมชาดก สุภาษิตชี้โทษแห่งบ่วงมัจจุราช เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกวันประชุมชาดก สุภาษิตชี้โทษแห่งบ่วงมัจจุราช เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

มีสติรู้กายรู้ใจในขณะปัจจุบันด้วยจิตตั้งมั่นจะเห็นการทำงานของกายและจิต ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่าอยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย ... ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น .... เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง .... เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิด 

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า การละอาสวะได้เพราะการเห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวก เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มีที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี ๑. อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น ? คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๒. ธรรมที่ไม่ควรมนสิการที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน ? คือ เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ที่เขามนสิการอยู่ ๓. ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่เป็นไฉน ? คือ เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๔. ปุถุชนมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่าปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน ๕. เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่าเราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้น ๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ๖. ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการเมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๗. ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? คือ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ ๘. ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหนที่อริยสาวกมนสิการอยู่ ? คือ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้นเพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๙. อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น ๑๐. อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร ? คือ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร (ม.มู. ๑๒/สัพพาสวสังวรสูตร/๑๐-๑๓/๑๑-๑๔) ๑.๒ ละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ ๑.๒.๑ อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ ? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ ๑.๒.๒ อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิวระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น ๑.๒.๓ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เทียวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ ๑.๒.๔ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่งอาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา (ม.มู. ๑๒/สัพพาสวสังวรสูตร/๑๔-๑๗/๑๔-๑๕) ๑.๓ ละอาสวะได้เพราะการอบรม ๑.๓.๑ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม ๑.๓.๒ เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพอาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการบรรเทาอาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ แสดงน้อยลง

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เรามาฝึกพัฒนาสติมาฝึกพัฒนา สมาธ­ิ ให้จิตตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่ เป็­นกลางเรื่อยไป ปัญญาจะเกิด เมื่อปัญญาแก่รอบแล้ว จิตเค้าจะบรรลุมรรคผลนิพพานของเ­ค้าเอง เค้าเป็นเอง ไม่ใช่กูเก่งกูสั่งจิตให้บรรลุม­รรคผลได้ ไม่มีใครทำได้ หน้าที่ก็คือเปิดโอกาสให้จิตได้­เรียนรู้ความจริงของรูปนาม ด้วยการมีสติ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม ตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ต้อง­รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นรู้ด้วยจิ­ตที่เป็นกลาง จับหลักให้แม่นแล้วจะไม่พล­าด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า [1] กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า พระโสภิตพุทธเจ้า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระสุเมธพุทธเจ้า พระสุชาตพุทธเจ้า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า พระสิทธัตถพุทธเจ้า พระติสสพุทธเจ้า พระปุสสพุทธเจ้า พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ซึ่ง 28 พระองค์นี้ 3 พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และ พระสรณังกรพุทธเจ้า ไม่ได้พยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์ แต่เพิ่งจะได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกจากพระทีปังกรพุทธเจ้า จึงนับพระทีปังกรเป็นพระองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์ (หมายเหตุ พระโคดมพุทธเจ้าในอดีตได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปที่แล้วโดยในครั้งนั้นพระองค์เห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าแล้วศรัทธาถวายผ้าเก่า ดังที่พระองค์ตรัสเล่าไว้เองใน พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 32)[2] ไม่ใช่ปรารถนาครั้งแรกตอนแบกมารดาว่ายข้ามแม่น้ำอย่างที่เข้าใจกันตามข้อมูลในหนังสือมุนีนาถทีปนี [3] และหลังจากที่ได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกแล้วก็บำเพ็ญบารมีอย่างต่อเนื่องจนได้มาพบกับพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน) หากแบ่งตามกัป โดยการนับอสงไขยกัปในที่นี้ จะนับอสงไขยกัปแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจว่าปรารถนาจะเป็นพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกดังต่อไปนี้ กัปหนึ่งในอสงไขยกัปที่ 1-16 พระสัพพาภิภูพุทธเจ้า (สพฺพาภิภุสฺส พุทฺธสฺส) [4] สี่อสงไขยแสนกัปที่แล้วเป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ได้แก่[5] พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์แรกที่พยากรณ์ว่า พระโคดมพุทธเจ้าครั้งเป็นพระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสามอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ คือ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสองอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระสุมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือหนึ่งอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า เมื่อแสนกัปที่แล้ว[6] กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป ต่อมาอีก 7 หมื่นกัป (30,000 กัปที่แล้ว) จึงเป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสุเมธพุทธเจ้า พระสุชาตพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (1,800 กัปที่แล้ว) เป็นวรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระปียทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธััมมทัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1,706 กัป (94 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระสิทธัตถพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (92 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระติสสพุทธเจ้า พระปุสสพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (91 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 59 กัป (31 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า ต่อมาอีก 29 กัป เป็นกัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล) พระเมตไตยพุทธเจ้า (อนาคตอีกหลายล้านปีนับจากที่พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน)

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อย่าคิดว่าเราเป็นพระอริยะเจ้าก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กัณหทีปายนะชาดกเหตุนั้นเราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่าทีปายนะ เข้าไปหาดาบสมัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูกเสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อว่ากัณหทีปายนะ เพราะร่างกายมีสีดำ ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้วลงมาใส่. บทว่า ปโรปญฺญาสวสฺสานิ คือ ยิ่งกว่า ๕๐ ปี. บทว่า อนภิรโต จรึ อหํ คือ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและในธรรมอันเป็นอธิกุสล. ครั้นบวชแล้ว พระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่ยินดี. ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนกขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์ แต่ในจริยานี้ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความหวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน. ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า. เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช เมื่อเป็นดังนั้น พระมหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย. พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ละสมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัตินั้นอีก. รังเกียจคำติเตียนนี้ว่า กัณหทีปายนะนี้บ้าน้ำลาย กลับกลอกจริงหนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก. อนึ่ง ชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. และก็ดำรงอยู่มิได้. เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้ำตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส ก็ยังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สละพรหมจรรย์นั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว ก็กลับมาอีก เขารังเกียจคำพูดนี้ว่า กัณหทีปายนะ นี้บ้าน้ำลายกลับกลอกหนอ เราไม่ปรารถนาจะ ประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย. อนึ่ง ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะเป็นผู้ทำบุญอย่างนี้. บทว่า น โกจิ เอตํ ชานาติ ความว่า ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ย่อมไม่รู้ใจที่ไม่ยินดีของเรานั้น คือใจที่ปราศจากความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์. เพราะเหตุไร? เพราะเราไม่บอกแก่ใครๆ ว่า ความไม่ยินดีเป็นไปในใจของเรา ฉะนั้นใครๆ ที่เป็นมนุษย์จึงไม่รู้ใจนั้น. บทว่า พฺรหฺมจารี คือ ชื่อพรหมจารี เพราะเป็นผู้ศึกษาเสมอด้วยการบรรพชาเป็นดาบส. บทว่า มณฺฑพฺย คือ มีชื่อว่ามัณฑัพยะ. บทว่า สหาโย คือ เป็นสหายที่รัก เพราะเป็นมิตรแท้ทั้งในเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาเป็นบรรพชิต. บทว่า มหาอิสิ คือ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก. บทว่า ปุพฺพกมฺมสมายุตฺโต สูลมาโรปนํ ลภิ ความว่า ประกอบด้วยบุรพกรรมของตนถูกเสียบด้วยหลาวทั้งเป็น. ในบทนี้มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าโกสัมพิกะ ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนิคมแห่งหนึ่ง. พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ. ต่อมา เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทาน ละกาม เมื่อญาติมิตรบริวารชนร้องไห้คร่ำครวญ ได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันตประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วยการเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี. ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียงฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้. สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรสเค็มและเปรี้ยว ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกาสีนั้น ในนิคมหนึ่ง สหายครั้งเป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะ ชื่อว่ามัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณฑัพยะนั้น. มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บำรุงด้วยปัจจัย ๔. ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓-๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไปด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้นอีก. มัณฑัพยดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง. อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทำโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี ถูกพวกเจ้าของเรือนและพวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้ำ รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบสแล้วหนีไป. พวกมนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทำโจรกรรมในกลางคืน กลางวันเที่ยวไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดงแด่พระราชา. พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว. พวกมนุษย์นำดาบสนั้นไปยังป่าช้า เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้าไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนำหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาวนั้นก็มิได้เข้า. จึงนำหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า. ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่าของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้ ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น. นัยว่า ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลงวันตัวหนึ่งจึงเอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้. ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ไปได้ จึงกล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวกท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนำหลาวไม้ทองหลางมาเถิด. พวกราชบุรุษได้ทำตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป. ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟังเรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่ง ถามว่า สหายท่านทำอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทำอะไร? กัณหทีปายนะถามว่า ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้. มัณฑัพยดาบสตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับเรา. กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขของเราแล้วนั่งพิงหลาวอยู่. พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า เราไม่ได้สอบสวนทำลงไป จึงรีบเสด็จไป ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่เล่า? ดาบสทูลว่า อาตมาภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ทำแล้วหรือจึงได้ทำอย่างนี้? ทีปายนดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์. ลำดับนั้น ทีปายนดาบสกล่าวคำมีอาทิว่า :- ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อนทำ คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี. บรรพชิตไม่ สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่ครวญก่อนทำก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี. แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา. พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นำหลาวออก. พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่ไม่สามารถนำออกได้. มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน. ใครๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมภาพได้. หากพระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้ชีวิตแก่อาตมภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทำหลาวนี้เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้น. หลาวได้อยู่ภายในนั่นเอง ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร. นัยว่า ในครั้งนั้น มัณฑัพยดาบสเอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยนนั้นยังอยู่ในร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุของมันเอง เพราะฉะนั้น แม้มัณฑัพยดาบสนี้จึงยังไม่ตาย. พระราชาทรงไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง ทรงบำรุง. ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีชื่อว่าอาณิมัณทัพยะ. ดาบสนั้นอาศัยพระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง. ส่วนทีปายนดาบสชำระแผลของมัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนครั้งเป็นคฤหัสถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่ามัณฑัพยะ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุรพกรรมถูก เสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยาบาลมัณฑัพยดาบส นั้นให้หายโรคแล้ว ได้อำลามาสู่บรรณศาลาอันเป็น อาศรมของเราเอง. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาปุจฺฉิตฺวาน คือ อำลามัณฑัพยดาบสผู้เป็นสหายของเรา. บทว่า ยํ มยฺหํ สกมสิสมํ คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์สร้างให้. พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้และน้ำผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสล้างเท้าให้ดื่มน้ำ นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส. ลำดับนั้น บุตรของมัณฑัพยะพราหมณ์ ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ณ ที่นั้น งูเห่าอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบนหัวของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธเด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังของพิษงู. มารดาบิดารู้ว่า เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทำบุตรของกระผมให้หายโรคเถิด. ทีปายนดาบสกล่าวว่า เราไม่รู้จักยา เราไม่ใช่หมอ เราเป็นนักบวช. มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาในกุมารนี้แล้วทำสัจกิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทำสัจกิริยา จึงวางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทำสัจกิริยา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภรรยาและ บุตรต่างถือสักการะสำหรับต้อนรับแขก รวม ๓ คนมา หาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับสหายและภรรยาของเขา อยู่ในอาศรมของตน. เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำงูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่องจอม ปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พอมือไปถูกหัวของ มัน งูก็โกรธอาศัยกำลังพิษ เคืองจนเหลือจะอดกลั้น ได้กัดเด็กในทันที พร้อมกับถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือเรา มีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดาของเด็ก นั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้ทำสัจกิริยาอัน ประเสริฐสุด. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาคจฺฉุ ํ ปาหุนาคตํ คือ เข้าไปหาพร้อมด้วยสักการะต้อนรับแขก. บทว่า วฏฺฏมนุกฺขิปํ คือ ขว้างลูกข่างที่มีชื่อว่าวัฏฏะ เพราะหยุดหมุนขณะขว้างลงไป. อธิบายว่า เล่นลูกข่าง. บทว่า อาสีวิสมโกปยิ ความว่า เด็กขว้างลูกข่างไปบนพื้นดิน ลูกข่างเข้าไปในปล่องจอมปลวกกระทบหัวงูเห่าซึ่งอยู่ในจอมปลวกนั้นทำให้งูโกรธ. บทว่า วฏฺฏคตํ มคฺคํ อเนฺวสนฺโต คือ ควานไปยังทางที่ลูกข่างนั้นไป. บทว่า อาสีวิสสฺส หตฺเถน, อุตฺตมงฺคํ ปรามสิ คือ เด็กเอามือของตนซึ่งล้วงเข้าไปยังปล่องจอมปลวกถูกหัวงูเห่าเข้า. บทว่า วิสพลสฺสิโต อาศัยกำลังพิษคืองูเกิดเพราะอาศัยกำลังพิษของตน. บทว่า อฑํสิ ทารกํ ขเณ คือ งูได้กัดพราหมณ์กุมารนั้น ในขณะที่ลูบคลำนั่นเอง. บทว่า สห ทฏฺโฐ คือ พร้อมกับถูกงูกัดนั่นเอง. บทว่า อติวิเสน๑- คือ พิษร้าย. บทว่า เตน ความว่า เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ เพราะเด็กล้มลงบนพื้นดินด้วยกำลังพิษ. บทว่า มม วา หสิ ตํ ทุกฺขํ เรามีความรักจึงเป็นทุกข์ คือทุกข์ของเด็กและของมารดาบิดานำมาไว้ที่เรา. นำมาด้วยความกรุณาของเราดุจในสรีระของเรา. บทว่า ตฺยาหํ คือ เราปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นโดยนัยมีอาทิว่า อย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย. บทว่า โสกสลฺลิเน๒- คือ มีลูกศรคือความโศก. บทว่า อคฺคํ คือ แต่นั้น เราได้ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสูงสุด.

Induction Hob vs Gas - Speed Test

Lecture - 1 Power Electronics

How does an Alternator Work ?

Induction Motor

3 Phase AC Motor Working Principlehttp://www.youtube.com/watch?v=ChOUGDG5OU0

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะพระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เราปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่งเป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต…รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด (ชี้หนทางหลุดพ้นการเวียนว่าย) บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะพระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เราปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่งเป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต…รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด (ชี้หนทางหลุดพ้นการเวียนว่าย) บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าการละอาสวะได้เพราะการเห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวก เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มีที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี ๑. อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น ? คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๒. ธรรมที่ไม่ควรมนสิการที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน ? คือ เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ที่เขามนสิการอยู่ ๓. ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่เป็นไฉน ? คือ เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๔. ปุถุชนมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่าปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน ๕. เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่าเราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้น ๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ๖. ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการเมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๗. ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? คือ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ ๘. ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหนที่อริยสาวกมนสิการอยู่ ? คือ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้นเพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ๙. อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น ๑๐. อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร ? คือ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์อยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร (ม.มู. ๑๒/สัพพาสวสังวรสูตร/๑๐-๑๓/๑๑-๑๔) ๑.๒ ละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ ๑.๒.๑ อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ ? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ ๑.๒.๒ อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิวระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น ๑.๒.๓ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เทียวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ ๑.๒.๔ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่งอาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา (ม.มู. ๑๒/สัพพาสวสังวรสูตร/๑๔-๑๗/๑๔-๑๕) ๑.๓ ละอาสวะได้เพราะการอบรม ๑.๓.๑ อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม ๑.๓.๒ เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพอาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการบรรเทาอาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ

อย่าคิดว่าเราเป็นพระอริยะเจ้านอกจากปัญญาและความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางโดยประการทั้งป­­วง เรายังไม่เห็นความ สวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย

The Great Stupa at Sanchi - Indiahttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

7 Wonders of India: Sanchi Stupahttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

Vaishali Ananda Stupa & Asokan pillarhttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

Lumbini Ashoka Pillar (249 BC) next to Mayadevi templehttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

7 Wonders of India: Ashoka's Pillarhttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

7 Wonders of India: Nalanda Universityhttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

7 Wonders of India: Ajanta Ellora Caveshttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ร่าเริงอะไรกันหนอ ยินดีอะไรกัน ในเมื่อโลกสันนิวาสถูก ไฟไหม้โพล่งแล้วเป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดหุ้มห่อ แล้ว เพราะเหตุไรจึงไม่แสวงหาประทีป ท่านจงดูอัตภาพอัน บุญกรรมทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็นแผล อันกระดูกสามร้อย ท่อนปรุงขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย อันมหาชนดำริกันโดย มาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง รูปนี้คร่ำคร่าแล้ว เป็นรังแห่ง โรค ผุพัง กายของตนอันเปื่อยเน่าจะแตกเพราะชีวิตมีความ ตายเป็นที่สุด กระดูกเหล่าใดเขาไม่ปรารถนาแล้ว เหมือน น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ จะยินดีอะไร เพราะได้เห็นกระดูกเหล่านั้น สรีระอันกรรมสร้างสรรให้ เป็นเมืองแห่งกระดูก มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องไล้ทา เป็น ที่ตั้งแห่งความแก่ ความตาย ความถือตัว และความลบ หลู่ ราชรถทั้งหลายอันวิจิตรย่อมคร่ำคร่าได้โดยแท้ อนึ่งแม้ สรีระก็เข้าถึงความคร่ำคร่า ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่ เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษแลย่อมสนทนาด้วยสัตบุรุษ บุรุษมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อม เจริญ [แต่] ปัญญาของเขาหาเจริญไม่ เราแสวงหานาย ช่างเรือนอยู่ เมื่อยังไม่ประสบ แล่นไปแล้วสู่สงสารมีชาติ ไม่น้อย ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แน่ะนายช่างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนอีก ซี่โครงของ ท่านทั้งหมดเราหักแล้ว ยอดเรือนเราขจัดเสียแล้ว จิตของ เราถึงแล้วซึ่งนิพพานอันปราศจากสังขาร เราบรรลุความสิ้น แห่งตัณหาแล้ว คนพาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ ได้ทรัพย์ในคราวเป็นหนุ่ม ย่อมซบเซา เหมือนนกกระเรียน แก่ ซบเซาอยู่บนเปือกตม ซึ่งสิ้นปลาแล้ว ฉะนั้น คน พาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราว เป็นหนุ่มย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่า เหมือนลูกศรสิ้น ไปแล้วจากแล่ง ฉะนั้น ฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็น อัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภาย หลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือน อย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้ ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้ว หนอ พึงฝึก ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ตนแลเป็นที่พึ่งของ ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น ความเป็นผู้ทุศีล ล่วงส่วน ย่อมรวบรัดอัตภาพของบุคคลใด ทำให้เป็นอัตภาพ อันตนรัดลงแล้ว เหมือนเถาย่านทรายรวบรัดไม้สาละให้เป็น อันท่วมทับแล้ว บุคคลนั้นย่อมทำตนเหมือนโจรผู้เป็นโจก ปรารถนาโจรผู้เป็นโจก ฉะนั้น กรรมไม่ดีและไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดแล เป็นประโยชน์ ด้วย ดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง ผู้ใดมีปัญญา ทราม อาศัยทิฐิอันลามก ย่อมคัดค้านคำสั่งสอนของพระ- พุทธเจ้า ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่โดย ธรรม การคัดค้านและทิฐิอันลามกของผู้นั้น ย่อมเผล็ดเพื่อ ฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อม เศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วย ตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ บุคคลไม่พึงยัง ประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ ของตน ฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์บุคคลพึงเว้นจากความชั่ว ประหนึ่งพ่อค้าที่มีทรัพย์มากแต่มีพวกน้อยหลีกเลี่ยงทางที่มีภัย ฉะนั้น..

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อริยสัจ ๔บทสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตร (อินเดีย) อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว... ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา ....ยาติปิ ทุกขา.... มะระณัมปิ ทุกขัง อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว.. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว.. ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกานันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทังฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ... อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว .... ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว .. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว... ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

เครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสขนาดไม่เกินหนึ่งแรงม้าครับ Mitsubishi Intelligent Power Modules. MITSUBISHI SEMICONDUCTORS POWER MODULES MOS. USING INTELLIGENT POWER

Mitsubishi Intelligent Power Modules. MITSUBISHI SEMICONDUCTORS POWER MODULES MOS. USING INTELLIGENT POWER ทดสอบ MITSUBISHI SEMICONDUCTOR Intelligent Power Module. PS21244 มอเตอร์...

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จง บรรเทากามทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้น ไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งใน ธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้ง ปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดี ธรรมชาติมิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้ ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น บุคคลผู้มีบาปอันลอย แล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของ ตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น พราหมณ์ ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์ นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคล ผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าบุคคลผู้ประหารนั้น การ เกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็น คุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวม แล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึง นอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อม การบูชาไฟ ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการ เกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ ด้วย ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วย การเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎก ที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่าน ย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุล ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน) อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่ กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มี กิเลสเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ตัด ความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และ ตัดทิฐิดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจ ลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า การทุบตีและ การจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่ สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บน ปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่รู้ แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญา ลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรคและมิใช่มรรค ผู้ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้ง และมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาใน ตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลม นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบ คาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ผู้ไม่ ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว ผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้น ก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่า เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลก หน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้อง ในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลินในภพสิ้น แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์ ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทาง ลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็น ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความ เคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น เสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็น ทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็น ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่เทวดา คน ธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลส เครื่องกังวลในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และ ในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้ว กล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่น ไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึง ความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะด้วยกรรมอันเป็นกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นเหตุให้พ่อแม่ครูอาจารย์ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ในสังสารวัฏทุกชีวิตจงถึงความสิ้นทุกข์ จงถึงความสุขตลอดไป ขอบพระคุณมากครับ ที่สละเวลาเข้ามาชม วีดีโอ นี้

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะเรามาฝึกพัฒนาสติมาฝึกพัฒนา สมาธ­ิ ให้จิตตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่ เป็­นกลางเรื่อยไป ปัญญาจะเกิด เมื่อปัญญาแก่รอบแล้ว จิตเค้าจะบรรลุมรรคผลนิพพานของเ­ค้าเอง เค้าเป็นเอง ไม่ใช่กูเก่งกูสั่งจิตให้บรรลุม­รรคผลได้ ไม่มีใครทำได้ หน้าที่ก็คือเปิดโอกาสให้จิตได้­เรียนรู้ความจริงของรูปนาม ด้วยการมีสติ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม ตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ต้อง­รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นรู้ด้วยจิ­ตที่เป็นกลาง จับหลักให้แม่นแล้วจะไม่พล­าด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเรามาฝึกพัฒนาสติมาฝึกพัฒนา สมาธ­ิ ให้จิตตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่ เป็­นกลางเรื่อยไป ปัญญาจะเกิด เมื่อปัญญาแก่รอบแล้ว จิตเค้าจะบรรลุมรรคผลนิพพานของเ­ค้าเอง เค้าเป็นเอง ไม่ใช่กูเก่งกูสั่งจิตให้บรรลุม­รรคผลได้ ไม่มีใครทำได้ หน้าที่ก็คือเปิดโอกาสให้จิตได้­เรียนรู้ความจริงของรูปนาม ด้วยการมีสติ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม ตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ต้อง­รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นรู้ด้วยจิ­ตที่เป็นกลาง จับหลักให้แม่นแล้วจะไม่พล­าด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า Sompong Tungmepol ผ่าน Google+1 สัปดาห์ที่ผ่านมา กะระณียะเมตตะสูตร กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค) กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะ กะระณียะเมตตะสูตร กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค) กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว แสดงน้อยลง

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะ

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด 

โอวาทพระอานนท์เถระเวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษนั้นคือการทนต่อความเจ็บปวด

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจสมาทาน เมื่อท่านศึกษาระเบียบการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็เตรียมการปฏิบัติจริงก่อน การลงมือปฏิบัติ ท่านสอนให้ตัดกังวลต่างๆ เสียให้สิ้น คิดว่าเวลาเท่านี้เราจะปฏิบัติสมณธรรม ต้องเตรียมทำการงานที่จำเป็นไว้ให้ครบถ้วน สั่งคนภายในไว้ว่าเวลาเท่านั้นเราจะปฏิบัติสมณธรรม แขกไปใครมาขอให้รอพบกำหนดเวลาที่กำหนดให้ เมื่อพร้อมแล้วกังวลต่างๆ ไม่มีแล้วก็จัดแจง อาบน้ำชำระกายให้สะอาด หาดอกไม้ธูปเทียนสำหรับบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะหาได้ขณะที่ ขอเรียนกรรมฐานใหม่ๆ ตามความนิยมในสมัยก่อนๆ มาจนถึงสมัยที่กำลัง เขียนหนังสือนี้ ท่านให้จัดเครื่องบูชาอย่างละ ๕ คือ ธูป ๕ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๕ เล่ม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง สำหรับนักศึกษาภาคปฏิบัติใหม่และใช้คราวเดียวในคราว เข้ามาศึกษาใหม่ เท่านั้น ต่อไปใช้ดอกไม้ธูปเทียนตามแต่จะหาได้ ถ้าไม่มีที่หาก็ไม่ต้องหา เมื่อเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมเครื่องบูชาครบถ้วนแล้ว ก็เริ่มบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะบูชาได้ ไม่กะเกณฑ์ ว่าจะต้องบูชามากน้อยเพียงใด ท่านที่ว่าอะไรไม่ได้มาก ตั้งนโม ๓ จบ แล้วว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ แล้วว่า ทุติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ตติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ครบสามจบแล้ว ถ้าสวดได้ก็ สวดอิติปิโส ฯลฯ สักจบ ถ้าสวดไม่ได้ก็ไม่ต้อง ต่อไปก็ สมาทานศีล ๕ คือว่าศีล ๕ ว่าเอง โดยไม่ต้องมีพระนำ แล้วตั้งใจว่าเราจะรักษาศีล ๕ นี้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ตลอดชีวิตเราจะไม่ยอม ให้ศีลขาดด้วยเจตนา แล้วตั้งใจรักษาศีลด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยสังวรระวังใจ ควบคุมความ ประพฤติ ไม่เผลอทำลายศีลด้วยเจตนา และไม่ยุให้ผู้อื่นทำลายศีล ไม่ยินดีที่เห็นผู้อื่นทำลายศีล เมื่อสมาทานศีลเรียบร้อยแล้วก็เริ่มสมาทานกรรมฐาน การสมาทานกรรมฐานตามนัยวิสุทธิมรรค ท่านเขียนไว้ดังนี้ สมาทานตรงต่อพระพุทธเจ้า อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่สมเด็จ- พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอเสียสละ คือมอบเวนซึ่งอัตภาพนี้ แด่สมเด็จพระสรรเพชญ- สัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลตามท่านแปลไว้ในแบบ) อีกแบบหนึ่งท่านแปลเอาความ มีใจความ ที่ท่านแปลไว้ดังนี้ "ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบ กายถวายชีวิตแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" แบบหลังนี้ ท่านแปลศัพท์ว่า อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ ที่แปลว่า สละรอบซึ่งอัตภาพของข้าพเจ้า ท่านแปลถือเอาความว่า มอบกายถวายชีวิต ความจริงก็ได้ความดี การสละรอบกายก็ได้แก่สละชีวิตนั่นเอง ถ้าจะถือ เอาความตามภาษาไทยให้ชัดกันแล้ว ของท่านที่แปลไว้ตอนหลังได้ความชัดกว่าผู้เขียนเองก็ สอนศิษย์ให้แปลตามนัยหลัง สมาทานต่อครูอาจารย์ อิมาหัง ภันเต อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่ท่าน คำสมาทานที่ต่อเสริมกันใหม่ คำสมาทานนี้ นอกจากจะมีมาตามแบบแผนในวิสุทธิมรรคแล้ว แต่ละสำนัก แต่ละ อาจารย์ ต่างก็แต่งคำสมาทานขึ้นสอนศิษย์ให้สมาทานตามความที่เห็นว่าเหมาะสม การที่ใคร จะมีคำสมาทานว่าอย่างไรนั้น และไม่เกินพอดี คือยังแสดงความเคารพนับถือพระรัตนตรัยอยู่ ก็เป็นอันว่าใช้ได้ทั้งนั้น ไม่เห็นว่าจะน่าตำหนิกันตรงไหน บางอาจารย์ท่านก็ประพันธ์สำนวน ยืดยาวมาก บางอาจารย์ก็มีสำนวนสั้น ๆ พอได้ความ ข้อนี้ไม่ควรติชม เพราะขึ้นแก่ความ เหมาะสมและจำเป็น อย่างไรเหมาะสม อย่างไรจำเป็น ไม่ขอออกความเห็น เพราะเป็นเรื่อง ไม่น่าจะเก็บเอามาคิดให้เสียเวลา เรียนกับใครก็ควรจะเชื่อฟังท่านผู้สอนนั่นแหละเป็นการดีแล้ว สำหรับผู้เขียนเคยผูกแบบให้ศิษย์สมาทานดังนี้ ที่นำมาเขียนก็เพราะศิษย์ส่วนมาก เมื่ออ่าน หนังสืออุทุมพริกสูตรในหนังสือนั้นไม่มีคำสมาทาน ได้ขอร้องให้พิมพ์คำสมาทานแจก โอกาส ที่จะพิมพ์ไม่มี เมื่อเขียนหนังสือนี้ ก็ขอเอามาลงไว้ในหนังสือนี้ แบบสมาทานที่ผู้เขียนต่อเสริม ขึ้นนี้ ต่อไปท่านผู้ใดเห็นว่ายังแคบไปจะต่อเสริมก็ได้ ที่ท่านเห็นว่ากว้างขวางไปจะย่อให้สั้นเข้า ก็ได้ หรือเห็นว่ารุงรังจะเลิก ไม่ใช้ ใช้เฉพาะแบบในวิสุทธิมรรคก็ตามใจ คำสมาทานที่ผู้เขียน ผูกขึ้นนี้ ตอนต้นต้องใช้แบบวิสุทธิมรรคก่อน แล้วต่อด้วยคำสมาทานที่ผูกขึ้นเองดังนี้ คำสมาทานที่ผูกขึ้นเอง "ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจก- พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีพระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปานวัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐาน ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ขอพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จงมาบังเกิดปรากฏในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวารของข้าพเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด" เสร็จแล้วก็กราบพระสามหน ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นคง กำหนดลมหายใจเข้าออก ไว้ในฐานทั้งสาม แล้วกำหนดพิจารณาโทษของนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ จนจิตสงบสงัดสงัดจากนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น ไม่มีนิวรณ์อย่างใดมารบกวนจิตแล้วก็เริ่มพิจารณาหรือภาวนา กรรมฐานที่พึง ปฏิบัติ ถ้าเป็นกรรมฐานภาวนา เมื่อนิวรณ์ระงับจากจิต จิตว่างจากนิวรณ์แล้ว สมาธิที่ได้ในขณะนั้น จะเข้าถึงปฐมฌานทันที ถ้าเป็นกรรมฐานพิจารณาจิตก็จะตั้งอยู่ในระดับอุปจารฌานละเอียดอารมณ์ จะแจ่มใส เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน หลายท่านที่ชำระจิตแจ่มใสจากนิวรณ์แล้ว เข้าภาวนาจิตเข้าไป หยุดอยู่ในสมาธิสูง คือฌาน ๔ อย่างนี้ก็มีมาก ฉะนั้น นักปฏิบัติก่อนที่จะภาวนาหรือพิจารณาอย่างอื่น ให้ชำระจิตจากนิวรณ์เสียก่อน คือใคร่ครวญพิจารณานิวรณ์ ๕ ประการ ให้เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เห็นโทษของนิวรณ์ จนจิตเอือมระอาจากนิวรณ์ มีความเบื่อหน่ายในนิวรณ์แล้ว จึงค่อย ๆ ภาวนา หรือพิจารณากรรมฐานที่ฝึก ถ้าจิตยังไม่ว่างจากนิวรณ์ก็อย่าเพ่อภาวนา ขืนทำไปก็เหนื่อยเปล่า อย่ารีบร้อนเร่งรัดเกินไป ค่อย ๆ ขับไล่นิวรณ์ให้สลายตัวไปเสียก่อน จะช้าเร็วอย่างไรไม่ต้องคำนึง ถ้านิวรณ์ระงับ ท่านก็จะถึงฌานทันที อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌาน และอาจถึงฌาน ๔ ภายในระยะเวลา อันสั้น จงจำไว้ว่าช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม ตามภาษิตโบราณท่านว่าอย่างนี้ (แต่ช้านานเกินกาล เกิน ควรก็เละไม่เป็นเรื่อง ภาษิตของผู้เขียน) มัชฌิมาปฏิปทา คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา คำนี้เป็นถ้อยคำที่พระพุทธสาวกจำกันจนขึ้นใจ เป็นพระพุทธพจน์ ที่ยืนยันถึงผลของการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัตินั้นมีแนวอยู่สามแนวคือ ๑. อัตตกิลมถานุโยค การดำรงความเพียรอย่างเคร่งเครียด กินน้อยนอนน้อยว่ากันหามรุ่ง หามค่ำ บางรายถึงกับอดมื้อกินมื้อ บางรายพยายามกินน้อยๆ ลดลงไปทุกวันจนร่างกายผอม และ มีการกลั้นลมหายใจ กลั้นกันนานๆ เพื่อให้มรรคผลนิพพานเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่เกิด เพราะมันไม่ใช่ ทางของผลที่ฌานและมรรคผลจะเกิด พระพุทธเจ้าเองท่านยืนยันว่า วิธีนี้พระองค์ทำมาแล้ว สิ้นเวลา หกปีเต็ม อดข้าวจนมีร่างกายผอมเกือบเดินไม่ไหว ขนที่พระกายเวลาเอามือลูบถึงกับหลุดติดมือ ออกมา กลั้นลมโดยเอาลิ้นกดเพดานจนลมออกหูอู้ ทำอย่างนี้พระองค์ตรัสว่า เป็นการทรมานตน ให้ลำบากเปล่าไม่เกิดมรรคผลเลย นอกจากจะเพิ่มทุกขเวทนาให้มากขึ้น สมัยนี้เห็นจะได้แก่การ อัดขันธ์ของอาจารย์บางคณะ เคยไปพบเขาที่สนามแจง จังหวัดลพบุรี เห็นอุบาสิกาสองคนนั่งคราง เสียงกระหึ่ม ได้เข้าไปถามว่า โยมเป็นอะไร เพราะคิดว่าแกป่วย ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ท่านสั่งให้อัดขันธ์ค่ะ " ถามว่า " อัดขันธ์เป็นอย่างไร " ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ให้กลั้นใจ " ฟังแล้วก็สลดใจ คิดว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้ว ท่านทำมาแล้วยิ่งกว่านี้ ท่านทราบว่า ไม่เป็นทางสำเร็จ ไม่คิดเลยว่าสมัยนี้ยังมีคนเอามาสอนกันอีก แบบนี้จงอย่าแตะต้องเลย ผู้เขียนเอง ก็ลองฝืนและได้รับผล คือ ของเก่าที่ได้มาแล้วพลอยสูญไปด้วย ที่เป็นโรคเส้นประสาท และถูก ประสาทหลอน ก็เพราะทำนอกรีตนอกรอยอย่างนี้แหละ ๒. กามสุขัลลิกานุโยค มีอารมณ์จิตพัวพันกับกามารมณ์ ไม่ถอนจิตจากกามารมณ์ ยิ่ง เอากายเข้าไปใกล้ชิดเพศตรงข้ามด้วย ยิ่งเป็นผลร้ายเต็มที่ เป็นทางกั้นมรรคผลโดยตรงทีเดียว จงระมัดระวังให้มาก อยากได้ดีต้องหลีกเลี่ยงได้ ถ้าอดใจหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เป็นกรรมของสัตว์ ไม่มีใครช่วยได้ ๓. มัชฌิมาปฏิปทา ทำพอสบายๆ ไม่เกียจคร้านเกินไป ไม่ขยันเกินไป นั่งนาน เมื่อย ก็นอน ยืน หรือเดิน ตามแต่จะเห็นว่าสบาย กำหนดอารมณ์ภาวนา หรือพิจารณาไปด้วย จงถือว่า สมาธิจะตั้งมั่น หรืออารมณ์จะผ่องใสจากกิเลสนั้น มีความสำคัญที่จิตใจไม่ใช่ที่กาย กินอาหารให้อิ่ม อิ่มพอดีนะ ระวังอย่ารับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย อะไรเคยกินแล้วเป็นพิษเป็นภัยแก่ ร่างกาย ควรเว้นไม่กินต่อไปเด็ดขาด ตัดสังคมที่มีความเห็นไม่เสมอกันเสียให้เด็ดขาด อยู่ใน สถานที่เงียบสงัด อย่าให้วันเวลาล่วงเลยไปโดยที่มิได้พิจารณาเห็นโทษของสังขาร ทำอย่างนี้น่าจะ พูดรับรองผล แต่ท่านห้ามพูดก็เลยเฉยไว้เพียงนี้ อย่างน้อย ฌานสมาบัติเป็นของท่านแน่นอน อย่างดีก็ถึงจุดหมายปลายทาง พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้อย่างนี้ ก็จงใคร่ครวญและปฏิบัติตามเถิด ไม่เสียเวลาเปล่าแน่

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานสมาทาน เมื่อท่านศึกษาระเบียบการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็เตรียมการปฏิบัติจริงก่อน การลงมือปฏิบัติ ท่านสอนให้ตัดกังวลต่างๆ เสียให้สิ้น คิดว่าเวลาเท่านี้เราจะปฏิบัติสมณธรรม ต้องเตรียมทำการงานที่จำเป็นไว้ให้ครบถ้วน สั่งคนภายในไว้ว่าเวลาเท่านั้นเราจะปฏิบัติสมณธรรม แขกไปใครมาขอให้รอพบกำหนดเวลาที่กำหนดให้ เมื่อพร้อมแล้วกังวลต่างๆ ไม่มีแล้วก็จัดแจง อาบน้ำชำระกายให้สะอาด หาดอกไม้ธูปเทียนสำหรับบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะหาได้ขณะที่ ขอเรียนกรรมฐานใหม่ๆ ตามความนิยมในสมัยก่อนๆ มาจนถึงสมัยที่กำลัง เขียนหนังสือนี้ ท่านให้จัดเครื่องบูชาอย่างละ ๕ คือ ธูป ๕ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๕ เล่ม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง สำหรับนักศึกษาภาคปฏิบัติใหม่และใช้คราวเดียวในคราว เข้ามาศึกษาใหม่ เท่านั้น ต่อไปใช้ดอกไม้ธูปเทียนตามแต่จะหาได้ ถ้าไม่มีที่หาก็ไม่ต้องหา เมื่อเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมเครื่องบูชาครบถ้วนแล้ว ก็เริ่มบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะบูชาได้ ไม่กะเกณฑ์ ว่าจะต้องบูชามากน้อยเพียงใด ท่านที่ว่าอะไรไม่ได้มาก ตั้งนโม ๓ จบ แล้วว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ แล้วว่า ทุติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ตติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ครบสามจบแล้ว ถ้าสวดได้ก็ สวดอิติปิโส ฯลฯ สักจบ ถ้าสวดไม่ได้ก็ไม่ต้อง ต่อไปก็ สมาทานศีล ๕ คือว่าศีล ๕ ว่าเอง โดยไม่ต้องมีพระนำ แล้วตั้งใจว่าเราจะรักษาศีล ๕ นี้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ตลอดชีวิตเราจะไม่ยอม ให้ศีลขาดด้วยเจตนา แล้วตั้งใจรักษาศีลด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยสังวรระวังใจ ควบคุมความ ประพฤติ ไม่เผลอทำลายศีลด้วยเจตนา และไม่ยุให้ผู้อื่นทำลายศีล ไม่ยินดีที่เห็นผู้อื่นทำลายศีล เมื่อสมาทานศีลเรียบร้อยแล้วก็เริ่มสมาทานกรรมฐาน การสมาทานกรรมฐานตามนัยวิสุทธิมรรค ท่านเขียนไว้ดังนี้ สมาทานตรงต่อพระพุทธเจ้า อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่สมเด็จ- พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอเสียสละ คือมอบเวนซึ่งอัตภาพนี้ แด่สมเด็จพระสรรเพชญ- สัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลตามท่านแปลไว้ในแบบ) อีกแบบหนึ่งท่านแปลเอาความ มีใจความ ที่ท่านแปลไว้ดังนี้ "ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบ กายถวายชีวิตแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" แบบหลังนี้ ท่านแปลศัพท์ว่า อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ ที่แปลว่า สละรอบซึ่งอัตภาพของข้าพเจ้า ท่านแปลถือเอาความว่า มอบกายถวายชีวิต ความจริงก็ได้ความดี การสละรอบกายก็ได้แก่สละชีวิตนั่นเอง ถ้าจะถือ เอาความตามภาษาไทยให้ชัดกันแล้ว ของท่านที่แปลไว้ตอนหลังได้ความชัดกว่าผู้เขียนเองก็ สอนศิษย์ให้แปลตามนัยหลัง สมาทานต่อครูอาจารย์ อิมาหัง ภันเต อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่ท่าน คำสมาทานที่ต่อเสริมกันใหม่ คำสมาทานนี้ นอกจากจะมีมาตามแบบแผนในวิสุทธิมรรคแล้ว แต่ละสำนัก แต่ละ อาจารย์ ต่างก็แต่งคำสมาทานขึ้นสอนศิษย์ให้สมาทานตามความที่เห็นว่าเหมาะสม การที่ใคร จะมีคำสมาทานว่าอย่างไรนั้น และไม่เกินพอดี คือยังแสดงความเคารพนับถือพระรัตนตรัยอยู่ ก็เป็นอันว่าใช้ได้ทั้งนั้น ไม่เห็นว่าจะน่าตำหนิกันตรงไหน บางอาจารย์ท่านก็ประพันธ์สำนวน ยืดยาวมาก บางอาจารย์ก็มีสำนวนสั้น ๆ พอได้ความ ข้อนี้ไม่ควรติชม เพราะขึ้นแก่ความ เหมาะสมและจำเป็น อย่างไรเหมาะสม อย่างไรจำเป็น ไม่ขอออกความเห็น เพราะเป็นเรื่อง ไม่น่าจะเก็บเอามาคิดให้เสียเวลา เรียนกับใครก็ควรจะเชื่อฟังท่านผู้สอนนั่นแหละเป็นการดีแล้ว สำหรับผู้เขียนเคยผูกแบบให้ศิษย์สมาทานดังนี้ ที่นำมาเขียนก็เพราะศิษย์ส่วนมาก เมื่ออ่าน หนังสืออุทุมพริกสูตรในหนังสือนั้นไม่มีคำสมาทาน ได้ขอร้องให้พิมพ์คำสมาทานแจก โอกาส ที่จะพิมพ์ไม่มี เมื่อเขียนหนังสือนี้ ก็ขอเอามาลงไว้ในหนังสือนี้ แบบสมาทานที่ผู้เขียนต่อเสริม ขึ้นนี้ ต่อไปท่านผู้ใดเห็นว่ายังแคบไปจะต่อเสริมก็ได้ ที่ท่านเห็นว่ากว้างขวางไปจะย่อให้สั้นเข้า ก็ได้ หรือเห็นว่ารุงรังจะเลิก ไม่ใช้ ใช้เฉพาะแบบในวิสุทธิมรรคก็ตามใจ คำสมาทานที่ผู้เขียน ผูกขึ้นนี้ ตอนต้นต้องใช้แบบวิสุทธิมรรคก่อน แล้วต่อด้วยคำสมาทานที่ผูกขึ้นเองดังนี้ คำสมาทานที่ผูกขึ้นเอง "ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจก- พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีพระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปานวัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐาน ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ขอพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จงมาบังเกิดปรากฏในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวารของข้าพเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด" เสร็จแล้วก็กราบพระสามหน ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นคง กำหนดลมหายใจเข้าออก ไว้ในฐานทั้งสาม แล้วกำหนดพิจารณาโทษของนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ จนจิตสงบสงัดสงัดจากนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น ไม่มีนิวรณ์อย่างใดมารบกวนจิตแล้วก็เริ่มพิจารณาหรือภาวนา กรรมฐานที่พึง ปฏิบัติ ถ้าเป็นกรรมฐานภาวนา เมื่อนิวรณ์ระงับจากจิต จิตว่างจากนิวรณ์แล้ว สมาธิที่ได้ในขณะนั้น จะเข้าถึงปฐมฌานทันที ถ้าเป็นกรรมฐานพิจารณาจิตก็จะตั้งอยู่ในระดับอุปจารฌานละเอียดอารมณ์ จะแจ่มใส เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน หลายท่านที่ชำระจิตแจ่มใสจากนิวรณ์แล้ว เข้าภาวนาจิตเข้าไป หยุดอยู่ในสมาธิสูง คือฌาน ๔ อย่างนี้ก็มีมาก ฉะนั้น นักปฏิบัติก่อนที่จะภาวนาหรือพิจารณาอย่างอื่น ให้ชำระจิตจากนิวรณ์เสียก่อน คือใคร่ครวญพิจารณานิวรณ์ ๕ ประการ ให้เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เห็นโทษของนิวรณ์ จนจิตเอือมระอาจากนิวรณ์ มีความเบื่อหน่ายในนิวรณ์แล้ว จึงค่อย ๆ ภาวนา หรือพิจารณากรรมฐานที่ฝึก ถ้าจิตยังไม่ว่างจากนิวรณ์ก็อย่าเพ่อภาวนา ขืนทำไปก็เหนื่อยเปล่า อย่ารีบร้อนเร่งรัดเกินไป ค่อย ๆ ขับไล่นิวรณ์ให้สลายตัวไปเสียก่อน จะช้าเร็วอย่างไรไม่ต้องคำนึง ถ้านิวรณ์ระงับ ท่านก็จะถึงฌานทันที อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌาน และอาจถึงฌาน ๔ ภายในระยะเวลา อันสั้น จงจำไว้ว่าช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม ตามภาษิตโบราณท่านว่าอย่างนี้ (แต่ช้านานเกินกาล เกิน ควรก็เละไม่เป็นเรื่อง ภาษิตของผู้เขียน) มัชฌิมาปฏิปทา คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา คำนี้เป็นถ้อยคำที่พระพุทธสาวกจำกันจนขึ้นใจ เป็นพระพุทธพจน์ ที่ยืนยันถึงผลของการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัตินั้นมีแนวอยู่สามแนวคือ ๑. อัตตกิลมถานุโยค การดำรงความเพียรอย่างเคร่งเครียด กินน้อยนอนน้อยว่ากันหามรุ่ง หามค่ำ บางรายถึงกับอดมื้อกินมื้อ บางรายพยายามกินน้อยๆ ลดลงไปทุกวันจนร่างกายผอม และ มีการกลั้นลมหายใจ กลั้นกันนานๆ เพื่อให้มรรคผลนิพพานเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่เกิด เพราะมันไม่ใช่ ทางของผลที่ฌานและมรรคผลจะเกิด พระพุทธเจ้าเองท่านยืนยันว่า วิธีนี้พระองค์ทำมาแล้ว สิ้นเวลา หกปีเต็ม อดข้าวจนมีร่างกายผอมเกือบเดินไม่ไหว ขนที่พระกายเวลาเอามือลูบถึงกับหลุดติดมือ ออกมา กลั้นลมโดยเอาลิ้นกดเพดานจนลมออกหูอู้ ทำอย่างนี้พระองค์ตรัสว่า เป็นการทรมานตน ให้ลำบากเปล่าไม่เกิดมรรคผลเลย นอกจากจะเพิ่มทุกขเวทนาให้มากขึ้น สมัยนี้เห็นจะได้แก่การ อัดขันธ์ของอาจารย์บางคณะ เคยไปพบเขาที่สนามแจง จังหวัดลพบุรี เห็นอุบาสิกาสองคนนั่งคราง เสียงกระหึ่ม ได้เข้าไปถามว่า โยมเป็นอะไร เพราะคิดว่าแกป่วย ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ท่านสั่งให้อัดขันธ์ค่ะ " ถามว่า " อัดขันธ์เป็นอย่างไร " ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ให้กลั้นใจ " ฟังแล้วก็สลดใจ คิดว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้ว ท่านทำมาแล้วยิ่งกว่านี้ ท่านทราบว่า ไม่เป็นทางสำเร็จ ไม่คิดเลยว่าสมัยนี้ยังมีคนเอามาสอนกันอีก แบบนี้จงอย่าแตะต้องเลย ผู้เขียนเอง ก็ลองฝืนและได้รับผล คือ ของเก่าที่ได้มาแล้วพลอยสูญไปด้วย ที่เป็นโรคเส้นประสาท และถูก ประสาทหลอน ก็เพราะทำนอกรีตนอกรอยอย่างนี้แหละ ๒. กามสุขัลลิกานุโยค มีอารมณ์จิตพัวพันกับกามารมณ์ ไม่ถอนจิตจากกามารมณ์ ยิ่ง เอากายเข้าไปใกล้ชิดเพศตรงข้ามด้วย ยิ่งเป็นผลร้ายเต็มที่ เป็นทางกั้นมรรคผลโดยตรงทีเดียว จงระมัดระวังให้มาก อยากได้ดีต้องหลีกเลี่ยงได้ ถ้าอดใจหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เป็นกรรมของสัตว์ ไม่มีใครช่วยได้ ๓. มัชฌิมาปฏิปทา ทำพอสบายๆ ไม่เกียจคร้านเกินไป ไม่ขยันเกินไป นั่งนาน เมื่อย ก็นอน ยืน หรือเดิน ตามแต่จะเห็นว่าสบาย กำหนดอารมณ์ภาวนา หรือพิจารณาไปด้วย จงถือว่า สมาธิจะตั้งมั่น หรืออารมณ์จะผ่องใสจากกิเลสนั้น มีความสำคัญที่จิตใจไม่ใช่ที่กาย กินอาหารให้อิ่ม อิ่มพอดีนะ ระวังอย่ารับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย อะไรเคยกินแล้วเป็นพิษเป็นภัยแก่ ร่างกาย ควรเว้นไม่กินต่อไปเด็ดขาด ตัดสังคมที่มีความเห็นไม่เสมอกันเสียให้เด็ดขาด อยู่ใน สถานที่เงียบสงัด อย่าให้วันเวลาล่วงเลยไปโดยที่มิได้พิจารณาเห็นโทษของสังขาร ทำอย่างนี้น่าจะ พูดรับรองผล แต่ท่านห้ามพูดก็เลยเฉยไว้เพียงนี้ อย่างน้อย ฌานสมาบัติเป็นของท่านแน่นอน อย่างดีก็ถึงจุดหมายปลายทาง พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้อย่างนี้ ก็จงใคร่ครวญและปฏิบัติตามเถิด ไม่เสียเวลาเปล่าแน่

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องสมาทาน เมื่อท่านศึกษาระเบียบการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็เตรียมการปฏิบัติจริงก่อน การลงมือปฏิบัติ ท่านสอนให้ตัดกังวลต่างๆ เสียให้สิ้น คิดว่าเวลาเท่านี้เราจะปฏิบัติสมณธรรม ต้องเตรียมทำการงานที่จำเป็นไว้ให้ครบถ้วน สั่งคนภายในไว้ว่าเวลาเท่านั้นเราจะปฏิบัติสมณธรรม แขกไปใครมาขอให้รอพบกำหนดเวลาที่กำหนดให้ เมื่อพร้อมแล้วกังวลต่างๆ ไม่มีแล้วก็จัดแจง อาบน้ำชำระกายให้สะอาด หาดอกไม้ธูปเทียนสำหรับบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะหาได้ขณะที่ ขอเรียนกรรมฐานใหม่ๆ ตามความนิยมในสมัยก่อนๆ มาจนถึงสมัยที่กำลัง เขียนหนังสือนี้ ท่านให้จัดเครื่องบูชาอย่างละ ๕ คือ ธูป ๕ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๕ เล่ม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง สำหรับนักศึกษาภาคปฏิบัติใหม่และใช้คราวเดียวในคราว เข้ามาศึกษาใหม่ เท่านั้น ต่อไปใช้ดอกไม้ธูปเทียนตามแต่จะหาได้ ถ้าไม่มีที่หาก็ไม่ต้องหา เมื่อเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมเครื่องบูชาครบถ้วนแล้ว ก็เริ่มบูชาพระรัตนตรัยตามแต่จะบูชาได้ ไม่กะเกณฑ์ ว่าจะต้องบูชามากน้อยเพียงใด ท่านที่ว่าอะไรไม่ได้มาก ตั้งนโม ๓ จบ แล้วว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ แล้วว่า ทุติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ตติยัมปิ พุทธัง ฯลฯ ครบสามจบแล้ว ถ้าสวดได้ก็ สวดอิติปิโส ฯลฯ สักจบ ถ้าสวดไม่ได้ก็ไม่ต้อง ต่อไปก็ สมาทานศีล ๕ คือว่าศีล ๕ ว่าเอง โดยไม่ต้องมีพระนำ แล้วตั้งใจว่าเราจะรักษาศีล ๕ นี้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ตลอดชีวิตเราจะไม่ยอม ให้ศีลขาดด้วยเจตนา แล้วตั้งใจรักษาศีลด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยสังวรระวังใจ ควบคุมความ ประพฤติ ไม่เผลอทำลายศีลด้วยเจตนา และไม่ยุให้ผู้อื่นทำลายศีล ไม่ยินดีที่เห็นผู้อื่นทำลายศีล เมื่อสมาทานศีลเรียบร้อยแล้วก็เริ่มสมาทานกรรมฐาน การสมาทานกรรมฐานตามนัยวิสุทธิมรรค ท่านเขียนไว้ดังนี้ สมาทานตรงต่อพระพุทธเจ้า อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่สมเด็จ- พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอเสียสละ คือมอบเวนซึ่งอัตภาพนี้ แด่สมเด็จพระสรรเพชญ- สัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลตามท่านแปลไว้ในแบบ) อีกแบบหนึ่งท่านแปลเอาความ มีใจความ ที่ท่านแปลไว้ดังนี้ "ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบ กายถวายชีวิตแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" แบบหลังนี้ ท่านแปลศัพท์ว่า อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ ที่แปลว่า สละรอบซึ่งอัตภาพของข้าพเจ้า ท่านแปลถือเอาความว่า มอบกายถวายชีวิต ความจริงก็ได้ความดี การสละรอบกายก็ได้แก่สละชีวิตนั่นเอง ถ้าจะถือ เอาความตามภาษาไทยให้ชัดกันแล้ว ของท่านที่แปลไว้ตอนหลังได้ความชัดกว่าผู้เขียนเองก็ สอนศิษย์ให้แปลตามนัยหลัง สมาทานต่อครูอาจารย์ อิมาหัง ภันเต อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่ท่าน คำสมาทานที่ต่อเสริมกันใหม่ คำสมาทานนี้ นอกจากจะมีมาตามแบบแผนในวิสุทธิมรรคแล้ว แต่ละสำนัก แต่ละ อาจารย์ ต่างก็แต่งคำสมาทานขึ้นสอนศิษย์ให้สมาทานตามความที่เห็นว่าเหมาะสม การที่ใคร จะมีคำสมาทานว่าอย่างไรนั้น และไม่เกินพอดี คือยังแสดงความเคารพนับถือพระรัตนตรัยอยู่ ก็เป็นอันว่าใช้ได้ทั้งนั้น ไม่เห็นว่าจะน่าตำหนิกันตรงไหน บางอาจารย์ท่านก็ประพันธ์สำนวน ยืดยาวมาก บางอาจารย์ก็มีสำนวนสั้น ๆ พอได้ความ ข้อนี้ไม่ควรติชม เพราะขึ้นแก่ความ เหมาะสมและจำเป็น อย่างไรเหมาะสม อย่างไรจำเป็น ไม่ขอออกความเห็น เพราะเป็นเรื่อง ไม่น่าจะเก็บเอามาคิดให้เสียเวลา เรียนกับใครก็ควรจะเชื่อฟังท่านผู้สอนนั่นแหละเป็นการดีแล้ว สำหรับผู้เขียนเคยผูกแบบให้ศิษย์สมาทานดังนี้ ที่นำมาเขียนก็เพราะศิษย์ส่วนมาก เมื่ออ่าน หนังสืออุทุมพริกสูตรในหนังสือนั้นไม่มีคำสมาทาน ได้ขอร้องให้พิมพ์คำสมาทานแจก โอกาส ที่จะพิมพ์ไม่มี เมื่อเขียนหนังสือนี้ ก็ขอเอามาลงไว้ในหนังสือนี้ แบบสมาทานที่ผู้เขียนต่อเสริม ขึ้นนี้ ต่อไปท่านผู้ใดเห็นว่ายังแคบไปจะต่อเสริมก็ได้ ที่ท่านเห็นว่ากว้างขวางไปจะย่อให้สั้นเข้า ก็ได้ หรือเห็นว่ารุงรังจะเลิก ไม่ใช้ ใช้เฉพาะแบบในวิสุทธิมรรคก็ตามใจ คำสมาทานที่ผู้เขียน ผูกขึ้นนี้ ตอนต้นต้องใช้แบบวิสุทธิมรรคก่อน แล้วต่อด้วยคำสมาทานที่ผูกขึ้นเองดังนี้ คำสมาทานที่ผูกขึ้นเอง "ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจก- พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีพระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปานวัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐาน ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ขอพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศน์ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จงมาบังเกิดปรากฏในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวารของข้าพเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด" เสร็จแล้วก็กราบพระสามหน ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นคง กำหนดลมหายใจเข้าออก ไว้ในฐานทั้งสาม แล้วกำหนดพิจารณาโทษของนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ จนจิตสงบสงัดสงัดจากนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น ไม่มีนิวรณ์อย่างใดมารบกวนจิตแล้วก็เริ่มพิจารณาหรือภาวนา กรรมฐานที่พึง ปฏิบัติ ถ้าเป็นกรรมฐานภาวนา เมื่อนิวรณ์ระงับจากจิต จิตว่างจากนิวรณ์แล้ว สมาธิที่ได้ในขณะนั้น จะเข้าถึงปฐมฌานทันที ถ้าเป็นกรรมฐานพิจารณาจิตก็จะตั้งอยู่ในระดับอุปจารฌานละเอียดอารมณ์ จะแจ่มใส เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน หลายท่านที่ชำระจิตแจ่มใสจากนิวรณ์แล้ว เข้าภาวนาจิตเข้าไป หยุดอยู่ในสมาธิสูง คือฌาน ๔ อย่างนี้ก็มีมาก ฉะนั้น นักปฏิบัติก่อนที่จะภาวนาหรือพิจารณาอย่างอื่น ให้ชำระจิตจากนิวรณ์เสียก่อน คือใคร่ครวญพิจารณานิวรณ์ ๕ ประการ ให้เห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เห็นโทษของนิวรณ์ จนจิตเอือมระอาจากนิวรณ์ มีความเบื่อหน่ายในนิวรณ์แล้ว จึงค่อย ๆ ภาวนา หรือพิจารณากรรมฐานที่ฝึก ถ้าจิตยังไม่ว่างจากนิวรณ์ก็อย่าเพ่อภาวนา ขืนทำไปก็เหนื่อยเปล่า อย่ารีบร้อนเร่งรัดเกินไป ค่อย ๆ ขับไล่นิวรณ์ให้สลายตัวไปเสียก่อน จะช้าเร็วอย่างไรไม่ต้องคำนึง ถ้านิวรณ์ระงับ ท่านก็จะถึงฌานทันที อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌาน และอาจถึงฌาน ๔ ภายในระยะเวลา อันสั้น จงจำไว้ว่าช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม ตามภาษิตโบราณท่านว่าอย่างนี้ (แต่ช้านานเกินกาล เกิน ควรก็เละไม่เป็นเรื่อง ภาษิตของผู้เขียน) มัชฌิมาปฏิปทา คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา คำนี้เป็นถ้อยคำที่พระพุทธสาวกจำกันจนขึ้นใจ เป็นพระพุทธพจน์ ที่ยืนยันถึงผลของการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัตินั้นมีแนวอยู่สามแนวคือ ๑. อัตตกิลมถานุโยค การดำรงความเพียรอย่างเคร่งเครียด กินน้อยนอนน้อยว่ากันหามรุ่ง หามค่ำ บางรายถึงกับอดมื้อกินมื้อ บางรายพยายามกินน้อยๆ ลดลงไปทุกวันจนร่างกายผอม และ มีการกลั้นลมหายใจ กลั้นกันนานๆ เพื่อให้มรรคผลนิพพานเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่เกิด เพราะมันไม่ใช่ ทางของผลที่ฌานและมรรคผลจะเกิด พระพุทธเจ้าเองท่านยืนยันว่า วิธีนี้พระองค์ทำมาแล้ว สิ้นเวลา หกปีเต็ม อดข้าวจนมีร่างกายผอมเกือบเดินไม่ไหว ขนที่พระกายเวลาเอามือลูบถึงกับหลุดติดมือ ออกมา กลั้นลมโดยเอาลิ้นกดเพดานจนลมออกหูอู้ ทำอย่างนี้พระองค์ตรัสว่า เป็นการทรมานตน ให้ลำบากเปล่าไม่เกิดมรรคผลเลย นอกจากจะเพิ่มทุกขเวทนาให้มากขึ้น สมัยนี้เห็นจะได้แก่การ อัดขันธ์ของอาจารย์บางคณะ เคยไปพบเขาที่สนามแจง จังหวัดลพบุรี เห็นอุบาสิกาสองคนนั่งคราง เสียงกระหึ่ม ได้เข้าไปถามว่า โยมเป็นอะไร เพราะคิดว่าแกป่วย ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ท่านสั่งให้อัดขันธ์ค่ะ " ถามว่า " อัดขันธ์เป็นอย่างไร " ได้รับคำตอบว่า " อาจารย์ให้กลั้นใจ " ฟังแล้วก็สลดใจ คิดว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้ว ท่านทำมาแล้วยิ่งกว่านี้ ท่านทราบว่า ไม่เป็นทางสำเร็จ ไม่คิดเลยว่าสมัยนี้ยังมีคนเอามาสอนกันอีก แบบนี้จงอย่าแตะต้องเลย ผู้เขียนเอง ก็ลองฝืนและได้รับผล คือ ของเก่าที่ได้มาแล้วพลอยสูญไปด้วย ที่เป็นโรคเส้นประสาท และถูก ประสาทหลอน ก็เพราะทำนอกรีตนอกรอยอย่างนี้แหละ ๒. กามสุขัลลิกานุโยค มีอารมณ์จิตพัวพันกับกามารมณ์ ไม่ถอนจิตจากกามารมณ์ ยิ่ง เอากายเข้าไปใกล้ชิดเพศตรงข้ามด้วย ยิ่งเป็นผลร้ายเต็มที่ เป็นทางกั้นมรรคผลโดยตรงทีเดียว จงระมัดระวังให้มาก อยากได้ดีต้องหลีกเลี่ยงได้ ถ้าอดใจหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เป็นกรรมของสัตว์ ไม่มีใครช่วยได้ ๓. มัชฌิมาปฏิปทา ทำพอสบายๆ ไม่เกียจคร้านเกินไป ไม่ขยันเกินไป นั่งนาน เมื่อย ก็นอน ยืน หรือเดิน ตามแต่จะเห็นว่าสบาย กำหนดอารมณ์ภาวนา หรือพิจารณาไปด้วย จงถือว่า สมาธิจะตั้งมั่น หรืออารมณ์จะผ่องใสจากกิเลสนั้น มีความสำคัญที่จิตใจไม่ใช่ที่กาย กินอาหารให้อิ่ม อิ่มพอดีนะ ระวังอย่ารับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย อะไรเคยกินแล้วเป็นพิษเป็นภัยแก่ ร่างกาย ควรเว้นไม่กินต่อไปเด็ดขาด ตัดสังคมที่มีความเห็นไม่เสมอกันเสียให้เด็ดขาด อยู่ใน สถานที่เงียบสงัด อย่าให้วันเวลาล่วงเลยไปโดยที่มิได้พิจารณาเห็นโทษของสังขาร ทำอย่างนี้น่าจะ พูดรับรองผล แต่ท่านห้ามพูดก็เลยเฉยไว้เพียงนี้ อย่างน้อย ฌานสมาบัติเป็นของท่านแน่นอน อย่างดีก็ถึงจุดหมายปลายทาง พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้อย่างนี้ ก็จงใคร่ครวญและปฏิบัติตามเถิด ไม่เสียเวลาเปล่าแน่

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

DHAMMAPADA EL CAMINO DE LA DOCTRINAThe Dhammapada: Verses and Stories Translated by Daw Mya Tin, M.A. Edited by Editorial Committee, Burma Tipitaka Association Rangoon, Burma, 1986 Courtesy of Nibbana.com For free distribution only, as a gift of dhamma. Preface Dhammapada is one of the best known books of the Pitaka. It is a collection of the teachings of the Buddha expressed in clear, pithy verses. These verses were culled from various discourses given by the Buddha in the course of forty-five years of his teaching, as he travelled in the valley of the Ganges (Ganga) and the sub-mountain tract of the Himalayas. These verses are often terse, witty and convincing. Whenever similes are used, they are those that are easily understood even by a child, e.g., the cart's wheel, a man's shadow, a deep pool, flowers. Through these verses, the Buddha exhorts one to achieve that greatest of all conquests, the conquest of self; to escape from the evils of passion, hatred and ignorance; and to strive hard to attain freedom from craving and freedom from the round of rebirths. Each verse contains a truth (dhamma), an exhortation, a piece of advice. Dhammapada Verses Dhammapada verses are often quoted by many in many countries of the world and the book has been translated into many languages. One of the earliest translations into English was made by Max Muller in 1870. Other translations that followed are those by F.L. Woodward in 1921, by Wagismara and Saunders in 1920, and by A.L. Edmunds (Hymns of the Faith) in 1902. Of the recent translations, that by Narada Mahathera is the most widely known. Dr. Walpola Rahula also has translated some selected verses from the Dhammapada and has given them at the end of his book "What the Buddha Taught," revised edition. The Chinese translated the Dhammapada from Sanskrit. The Chinese version of the Dhammapada was translated into English by Samuel Beal (Texts from the Buddhist Canon known as Dhammapada) in 1878. In Burma, translations have been made into Burmese, mostly in prose, some with paraphrases, explanations and abridgements of stories relating to the verses. In recent years, some books on Dhammapada with both Burmese and English translations, together with Pali verses, have also been published. The Dhammapada is the second book of the Khuddaka Nikaya of the Suttanta Pitaka, consisting of four hundred and twenty-three verses in twenty-six chapters arranged under various heads. In the Dhammapada are enshrined the basic tenets of the Buddha's Teaching. Verse (21) which begins with "Appamado amatapadam" meaning "Mindfulness is the way to Nibbana, the Deathless," is a very important and significant verse. Mindfulness is the most important element in Tranquillity and Insight Meditation. The last exhortation of the Buddha just before he passed away was also to be mindful and to endeavour diligently (to complete the task of attaining freedom from the round of rebirths through Magga and Phala). It is generally accepted that it was on account of this verse on mindfulness that the Emperor Asoka of India and King Anawrahta of Burma became converts to Buddhism. Both kings had helped greatly in the propagation of Buddhism in their respective countries. In verse (29) the Buddha has coupled his call for mindfulness with a sense of urgency. The verse runs: "Mindful amongst the negligent, highly vigilant amongst the drowsy, the wise man advances like a race horse, leaving the jade behind." Verses (1) and (2) illustrate the immutable law of Kamma, under which every deed, good or bad, comes back to the doer. Here, the Buddha emphasizes the importance of mind in all our actions and speaks of the inevitable consequences of our deeds, words and thoughts. Verses (153) and (154) are expressions of sublime and intense joy uttered by the Buddha at the very moment of his Enlightenment. These two verses give us a graphic account of the culmination of the Buddha's search for Truth. They tell us about the Buddha finding the 'house-builder,' Craving, the cause of repeated births in Samsara. Having rid of Craving, for him no more houses (khandhas) shall be built by Craving, and there will be no more rebirths. Verses (277), (278) and (279) are also important as they tell us about the impermanent, unsatisfactory and the non-self nature of all conditioned things; it is very important that one should perceive the true nature of all conditioned things and become weary of the khandhas, for this is the Path to Purity. Then the Buddha shows us the Path leading to the liberation from round of rebirths, i.e., the Path with eight constituents (Atthangiko Maggo) in Verse (273). Further, the Buddha exhorts us to make our own effort in Verse (276) saying, "You yourselves should make the effort, the Tathagatas only show the way." Verse (183) gives us the teaching of the Buddhas. It says, "Do no evil, cultivate merit, purify one's mind; this is the teaching of the Buddhas." In Verse (24) the Buddha shows us the way to success in life, thus: "If a person is energetic, mindful, pure in thought, word and deed, if he does everything with care and consideration, restrains his senses; earns his living according to the Dhamma and is not unheedful, then, the fame and fortune of that mindful person increase." These are some of the examples of the gems to be found in the Dhammapada. Dhammapada is, indeed, a philosopher, guide and friend to all. This translation of verses is from Pali into English. The Pali text used is the Dhammapada Pali approved by the Sixth International Buddhist Synod. We have tried to make the translation as close to the text as possible, but sometimes it is very difficult, if not impossible, to find an English word that would exactly correspond to a Pali word. For example, we cannot yet find a single English word that can convey the real meaning of the word "dukkha" used in the exposition of the Four Noble Truths. In this translation, wherever the term "dukkha" carries the same meaning as it does in the Four Noble Truths, it is left untranslated; but only explained. When there is any doubt in the interpretation of the dhamma concept of the verses or when the literal meaning is vague or unintelligible, we have referred to the Commentary (in Pali) and the Burmese translation of the Commentary by the Nyaunglebin Sayadaw, a very learned thera. On many occasions we have also consulted the teachers of the Dhamma (Dhammacariyas) for elucidation of perplexing words and sentences. In addition we have also consulted Burmese translations of the Dhammapada, especially the translation by the Union Buddha Sasana Council, the translation by the Sangaja Sayadaw (1805-1876), a leading Maha thera in the time of King Mindon and King Thibaw, and also the translation by Sayadaw U Thittila, an Ovadacariya Maha thera of the Burma Pitaka Association. The book by the Sangaja Sayadaw also includes paraphrases and abridgements of the Dhammapada stories. Dhammapada Stories Summaries of the Dhammapada stories are given in the second part of the book as it is generally believed that the Dhammapada Commentary written by Buddhaghosa (5th century A.D.) is a great help towards a better understanding of the Dhammapada. Three hundred and five stories are included in the Commentary. Most of the incidents mentioned in the stories took place during the life-time of the Buddha. In some stories, some facts about some past existences were also retold. In writing summaries of stories we have not tried to translate the Commentary. We have simply culled the facts of the stories and have rewritten them briefly: A translation of the verses is given at the end of each story. It only remains for me now to express my deep and sincere gratitude to the members of the Editorial Committee, Burma Pitaka Association, for having meticulously gone through the script; to Sayagyi Dhammacariya U Aung Moe and to U Thein Maung, editor, Burma Pitaka Association, for helping in the translation of the verses. May the reader find the Path to Purity. Daw Mya Tin 20th April, 1984 Burma Pitaka Association Editorial Committee Doctrinal Adviser Sayadaw U Kumara, BA, Dhammcariya (Siromani, Vatamsaka). Chairman U Shwe Mra, BA., I.C.S. Retd., Former Special Adviser, Public Administration Division, E.S.A., United Nations Secretariat. Members U Chan Htoon, LL.B., Barrister-at-law; Former President, World Fellowship of Buddhists. U Nyun, B.A., I.C.S. Retd., Former Executive Secretary, United Nations Economic Commission for Asia and the Far East; Vice-President, World Fellowship of Buddhists. U Myint Too, B.Sc., B.L., Barrister-at-law, Vice-President, All Burma Buddhist Association. Daw Mya Tin, M.A., Former Head of Geography Department, Institute of Education, Rangoon. Doctrinal Consultant U Kyaw Htut, Dhammacariya; Former Editor-in-chief of the Board for Burmese Translation of the Sixth Synod Pali Texts. Editors U Myo Min, M.A., B.L., Former Professor of English, Rangoon University. U Thein Maung, B.A., B.L U Hla Maung, B.A., B.L.

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่ กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้ การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่จำพรรษาแล้ว เสด็จออกจากหมู่บ้านเวฬุวะ ทรงดำริว่า เราจะไปเมืองสาวัตถี แล้วเสด็จกลับจากทางที่เสด็จมานั่นเทียว ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้วเสด็จไปพระเชตวัน. พระธรรมเสนาบดีแสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปที่พักกลางวัน. เพื่อนเหล่าอันเตวาสิกในที่นั้นแสดงวัตรหลีกไปแล้ว ท่านจึงกวาดที่พักกลางวัน ปูแผ่นหนัง ล้างเท้าแล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าผลสมาบัติ. ลำดับนั้น เมื่อท่านออกจากผลสมาบัตินั้นตามกำหนดแล้ว เกิดความปริวิตกนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายจักปรินิพพานก่อนหรือหนอ หรือว่าพระอัครสาวกปรินิพพานก่อน. แต่นั้นรู้แล้วว่า พระอัครสาวกปรินิพพานก่อน แล้วจึงตรวจดูอายุสังขารของตน. รู้แล้วว่า อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จึงคิดว่า เราจะปรินิพพานที่ไหน. ลำดับนั้นจึงคิดแล้วคิดอีกว่า พระราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์พิภพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระปรินิพพานที่สระฉัททันต์ เราจะปรินิพพานที่ไหน ดังนี้ จึงเกิดความสังเวชปรารภมารดาว่า มารดาของเราก็เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เลย ท่านมีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ได้เห็นอุปนิสัยแห่งพระโสดาปัตติมรรค จึงตรวจดูว่าจักบรรลุด้วยเทศนาของใคร ทราบว่าจักบรรลุด้วยธรรมเทศนาของเราเท่านั้น มิใช่ของใครอื่น ก็ถ้าเราพึงขวนขวายน้อย ก็จักมีคนกล่าวกับเราว่า พระสารีบุตรเถระเป็นที่พึ่งของคนที่เหลือทั้งหลาย. จริงอย่างนั้น ในวันแสดงสมจิตตสูตรของท่าน เทวดาพันโกฏิบรรลุพระอรหัต เทวดาที่แทงตลอดมรรคทั้ง ๓ ก็นับไม่ถ้วน ปรากฏการตรัสรู้ในที่อื่นๆ อีกมาก และตระกูลแปดหมื่นทำใจให้เลื่อมใสในพระเถระ ก็ได้เกิดในสวรรค์ทั้งนั้น บัดนี้ ท่านไม่อาจที่จะเปลื้องแม้เพียงความเห็นผิดของมารดาของตนได้ เพราะฉะนั้น จึงตกลงใจว่า เราจักเปลื้องมารดาจากความเห็นผิด แล้วปรินิพพานในห้องที่เกิดนั่นแหละ จึงคิดแล้วว่า วันนี้เทียว เราจะขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วออกไป ดังนี้ จึงเรียกพระจุนทเถระมาว่า จุนทะ เธอจงให้สัญญาแก่ภิกษุบริษัท ๕๐๐ รูปของเราว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงถือเอาบาตรและจีวรไป พระธรรมเสนาบดีประสงค์จะไปบ้านนาฬกะ. พระเถระก็ได้ทำอย่างนั้น. ภิกษุทั้งหลายจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรไปสำนักพระเถระ. พระเถระเก็บเสนาสนะ กวาดที่พักกลางวันและยืนที่ประตูที่พักกลางวัน ตรวจดูที่พักกลางวัน คิดว่า บัดนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่มีการมาอีกแล้ว มีภิกษุ ๕๐๐ รูปแวดล้อมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตข้าพระองค์ ขอพระสุคตเจ้าทรงอนุญาต นี้เป็นกาลปรินิพพานของข้าพระองค์ อายุสังขารข้าพระองค์ปลงลงแล้ว. ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสว่า เธอจงปรินิพพาน ก็จะกลายเป็นสรรเสริญความตาย. เมื่อตรัสว่า เธออย่าปรินิพพาน คนผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะยกโทษว่า กล่าวสรรเสริญคุณของวัฏฏะ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำแม้ทั้งสอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เธอจักปรินิพพานที่ไหน สารีบุตร. เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพานในห้องที่ข้าพระองค์เกิดในบ้านนาฬกะ แคว้นมคธนั้น จึงตรัสว่า สารีบุตร เธอจงสำคัญเวลาในบัดนี้ ก็การเห็นภิกษุเช่นเธอ ของภิกษุผู้เป็นทั้งพี่และน้องของเธอจักหาได้ยากในบัดนี้ เธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. พระเถระรู้แล้วว่า พระศาสดาทรงหวังเฉพาะการแสดงธรรมที่ขึ้นต้นด้วยการแสดงฤทธิ์ของเรา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเหาะขึ้นไปประมาณชั่วต้นตาล เหาะลงแล้วถวายบังคมพระบาทพระทศพล และเหาะขึ้นไปประมาณสองชั่วลำตาลอีกลงแล้ว ถวายบังคมพระบาทพระทศพล แล้วเหาะขึ้นไปประมาณเจ็ดชั่วลำตาลโดยทำนองนี้ แสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างแล้วปรารภธรรมกถา. พระเถระกล่าวธรรมกถาด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ไม่ปรากฏบ้าง ด้วยการเบื้องบน เบื้องล่าง หรือครึ่งกาย บางทีก็แสดงเป็นรูปพระจันทร์โดยไม่มีใครเห็น บางครั้งก็เป็นรูปพระอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นรูปภูเขา บางทีก็เป็นรูปทะเล บางทีก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บางทีก็เป็นเวสวัณมหาราช บางทีก็เป็นท้าวสักกมหาราช บางทีก็เป็นท้าวมหาพรหม เมื่อแสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างอย่างนี้ พระเถระจึงกล่าวธรรมกถา ชาวพระนครทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว พระเถระเหาะลงแล้ว ได้ยืนถวายบังคมพระบาทพระทศพล. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะพระเถระนั้นว่า สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร. ส. ชื่อ สีหนิกีฬิตะ พระเจ้าข้า. พ. สารีบุตร เอาเถิด ธรรมปริยายนี้ ชื่อว่าสีหนิกีฬิตะ สารีบุตร เอาเถิด กระบวนธรรมนี้ชื่อว่า สีหนิกีฬิตะ. พระเถระได้เหยียดมือมีสีดังครั่งสด แล้วจับที่ข้อพระบาท เช่นกับลายเต่าทอง ของพระศาสดา พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญบารมีมาหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันในที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคยกันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมืองคือพระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิท ไม่มีภัยที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัยโทษไรๆ ของข้าพระองค์ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว. พ. สารีบุตร เราอดโทษต่อเธอ ก็โทษไรๆ ของเธอที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาที่ไม่ชอบใจเราไม่มีเลย สารีบุตร บัดนี้เธอจงสำคัญกาลอันควรเถิด. เมื่อท่านพระสารีบุตรพอถวายบังคมพระบาทพระศาสดา ลุกขึ้นในลำดับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว แผ่นดินใหญ่แม้ที่กำหนดนับด้วยภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล ภูเขาหิมพานต์และภูเขาบริภัณฑ์ ร้องขึ้นพร้อมกันดุจกล่าวว่า เราไม่อาจจะทรงกองแห่งพระคุณนี้ไว้ได้ในวันนี้ ได้ไหวแล้วจนถึงน้ำเป็นที่สุด. เทพมโหระทึกในอากาศก็บรรเลงขึ้น มหาเมฆตั้งขึ้นแล้วให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว. พระศาสดาทรงดำริว่า เราจักให้พระธรรมเสนาบดีแสดงโดยเฉพาะ ดังนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจากที่ฟังธรรม เสด็จมุ่งหน้าต่อพระคันธกุฎี ได้ประทับยืนบนแผ่นแก้ว. พระเถระทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้ว ถวายบังคมในที่ ๔ แห่ง กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เลยไปหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ความปรารถนาของข้าพระองค์นั้นสำเร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว เป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การได้เห็นพระองค์ไม่ได้มีอีกแล้ว ดังนี้ แล้วประคองอัญชลีซึ่งรุ่งเรืองด้วยการประชุมแห่งนิ้วทั้งสิบ หันหน้าเฉพาะตราบเท่าที่ที่จะเห็นได้ ถอยกลับแล้วถวายบังคมแล้วหลีกไป. มหาปฐพีไม่อาจจะทรงไว้ได้ ไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเหล่าภิกษุที่ยืนแวดล้อมว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงติดตามพี่ชายของพวกเธอเถิด. ขณะนั้น บริษัท ๔ ละพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้พระองค์เดียวในพระเชตวัน ออกไปไม่เหลือเลย. ฝ่ายชาวพระนครสาวัตถีพากันพูดว่า ข่าวว่า พระสารีบุตรเถระทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะปรินิพพานออกไปแล้ว พวกเราจะไปเยี่ยมท่าน พากันถือเอาของหอมและพวงมาลัยเป็นต้นออกไปจนแน่นประตูเมือง สยายผม ร้องไห้ คร่ำครวญ โดยนัยเป็นต้นว่า บัดนี้พวกเราเมื่อถามว่า ท่านผู้มีปัญญามากนั่งที่ไหน พระธรรมเสนาบดีนั่งที่ไหน ดังนี้ จะไปสำนักของใคร จะไปวางสักการะในมือของใคร พระเถระหลีกไปแล้ว จึงได้ติดตามพระเถระ. พระเถระเพราะความที่ตนดำรงอยู่ในปัญญามาก คิดแล้วว่า ทางนี้คนทั้งหมดไม่ควรก้าวเลยมา แล้วโอวาทมหาชนว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกท่านจงหยุด อย่าถึงความประมาทในพระทศพลเลย แล้วให้หมู่ภิกษุกลับ หลีกไปกับบริษัทของตน. พวกมนุษย์เหล่าใดต่างคร่ำครวญว่า ครั้งก่อน พระผู้เป็นเจ้าเที่ยวจารึกไปแล้วก็กลับมา บัดนี้ การไปนี้เป็นการไปเพื่อไม่กลับมาอีก จึงพากันติดตามอยู่อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าสังขารทั้งหลายย่อมเป็นอย่างนี้ จึงให้กลับแล้ว. ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรทำการสงเคราะห์พวกมนุษย์ตลอดเจ็ดวัน ในระหว่างทางพักแรมคืนเดียวในที่ทุกแห่ง ถึงบ้านนาฬกะเวลาเย็น ได้ยืนที่โคนต้นนิโครธใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น หลานของพระเถระ ชื่อว่าอุปเรวตะ ไปนอกบ้าน ได้เห็นพระเถระแล้ว จึงเข้าไปยืนไหว้อยู่แล้ว. พระเถระจึงกล่าวกับเขาว่า ยายของเธออยู่ในเรือนหรือ. อุ. ครับ ท่านผู้เจริญ. ส. เธอจงไปบอกว่าเรามาที่นี้ เมื่อยายกล่าวว่า มาเพราะเหตุอะไร จงกล่าวว่า ข่าวว่า พระเถระจะอยู่ในบ้านตลอดวันหนึ่งในวันนี้ ท่านจงจัดแจงห้องที่พระเถระเกิด และข่าวว่า ท่านจงรู้ที่เป็นที่อยู่ของภิกษุ ๕๐๐ รูป. เขาไปแล้วบอกว่า ยาย ลุงของผมมาแล้ว. ยาย. เวลานี้ อยู่ที่ไหน. อุ. ประตูบ้าน. ย. มีใครอื่นมาบ้างไหม. อุ. มีภิกษุ ๕๐๐ รูป. ย. มาทำไม. เขาบอกความเป็นไปนั้น. นางพราหมณีคิดอยู่ว่า ลูกชายเราทำไมจึงให้เตรียมที่อยู่แก่พวกภิกษุเท่านี้ ท่านบวชมาตั้งแต่หนุ่ม ตอนแก่อยากจะสึกละกระมัง จึงให้จัดแจงห้องคลอด ให้ทำที่เป็นที่พักของภิกษุ ๕๐๐ รูปให้จุดเทียนและตะเกียงส่งไปถวายพระเถระๆ พร้อมกับพวกภิกษุขึ้นปราสาท เข้าไปนั่งยังห้องคลอด พอนั่งลงแล้วก็ส่งพวกภิกษุไปว่า พวกท่านจงไปพักผ่อนกันเถิด. พอพวกภิกษุไปแล้วเท่านั้น อาพาธอย่างกล้าก็เกิดขึ้นแก่พระเถระ เวทนาปางตายเพราะถ่ายเป็นโลหิต ต้องเอาภาชนะหนึ่งเข้าไป (รองรับ) เอาภาชนะหนึ่งออกมา. นางพราหมณีคิดว่า เราไม่ชอบใจความเป็นไปแห่งบุตรของเราเลย ได้ยืนพิงประตูห้องที่อยู่ของตน. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูอยู่ว่า พระธรรมเสนาบดีอยู่ที่ไหน เห็นแล้วว่า นอนบนเตียงเป็นที่ปรินิพพาน. ในห้องที่ตนคลอดในบ้านนาฬกะ พวกเราจักไปเยี่ยมเป็นครั้งสุดท้าย มาแล้วได้ยืนไหว้อยู่แล้ว. สารีบุตร. พวกท่านเป็นใคร. มหาราช. เป็นท้าวมหาราชขอรับ. สารีบุตร. มาเพราะเหตุไร. มหาราช. จักบำรุงท่านผู้เป็นไข้. ส. ช่างเถิด ผู้บำรุงเราผู้เป็นไข้มีอยู่ พวกท่านจงไปเถิด แล้วได้ส่งไป คล้อยหลังท้าวมหาราชทั้ง ๔ ไปแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพก็มาแล้วโดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็เมื่อท้าวสักกะไปแล้ว ท้าวมหาพรหมก็มา พระเถระก็ได้ส่งท่านเหล่านั้นไป เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. เมื่อนางพราหมณีเห็นพวกเทวดาพากันมาจึงคิดว่า เทวดาเหล่านี้ไหว้บุตรของเราแล้วก็ไป เพราะเหตุอะไรหนอแล จึงไปยังประตูห้องพระเถระแล้วถามว่า พ่อจุนทะมีความเป็นไปอย่างไร. พระจุนทะบอกความเป็นไปนั้นแล้วจึงเรียนพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ มหาอุบาสิกมา. พระเถระจึงถามว่า เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาไม่เหมาะ. นางจึงกล่าวว่า พ่อ แม่มาเพื่อเยี่ยมลูก แล้วจึงถามว่า พ่อ พวกใครมาก่อน. สารีบุตร. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มหาอุบาสิกา. มารดา. เจ้าใหญ่กว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือพ่อ. ส. อุบาสิกา ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เหมือนเด็กวัด ตั้งแต่พระศาสดาของพวกเราถือปฏิสนธิ ก็ถือพระขรรค์ รักษาแล้ว. ม. พ่อ คล้อยหลังท้าวมหาราชไปแล้วใครมาเล่า. ส. ท้าวสักกะจอมเทพ. ม. เจ้าใหญ่กว่าจอมเทพหรือ พ่อ. ส. อุบาสิกา ท้าวสักกะก็เช่นเดียวกับสามเณรผู้ถือสิ่งของเวลาที่พระศาสดาของพวกเรา เสด็จลงจากดาวดึงสพิภพ ก็ได้ถือบาตรจีวรตามลงมา. ม. พ่อ หลังจากที่ ท้าวสักกะนั้นไปแล้ว ดูเหมือนสว่างไสว ใครมา. ส. อุบาสิกา นั่นก็คือมหาพรหม ผู้เป็นพระเจ้าและศาสดาของโยม. ม. พ่อยังใหญ่กว่ามหาพรหมพระเจ้าของโยมหรือ. ส. ใช่ อุบาสิกา เล่ากันมาว่า ชื่อว่ามหาพรหม ๔ เหล่านั้น วันที่พระศาสดาของพวกเราประสูติ เอาข่ายทองรองรับพระมหาบุรุษ. ขณะนั้น เมื่อนางพราหมณีคิดว่า เพียงลูกของเรายังมีอานุภาพเท่านี้ พระศาสดาซึ่งเป็นพระเจ้าของลูกเราจักมีอานุภาพขนาดไหนหนอ พลันปีติห้าอย่างเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วสรีระ. พระเถระคิดว่า ปีติโสมนัสเกิดขึ้นแล้วแก่มารดาเทียว บัดนี้เป็นเวลาสมควรแสดงธรรม จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านกำลังคิดอะไร. ม. พ่อ แม่กำลังคิดถึงเหตุนี้ว่า เพียงลูกเรายังมีคุณถึงเพียงนี้ แล้วศาสดาของลูกนั้นจะขนาดไหน. ส. มหาอุบาสิกา ในขณะที่พระศาสดาของอาตมาประสูติ ในขณะเสด็จออกผนวช ในขณะตรัสรู้ และในขณะประกาศธรรมจักร หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ขึ้นชื่อว่าผู้ที่เสมอด้วยศีลสมาธิ ปัญญา วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะไม่มี แล้วก็แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพระคุณของพระพุทธเจ้าที่ขยายให้พิสดารว่า แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ เป็นต้น. เวลาจบธรรมเทศนาของลูกรัก นางพราหมณีดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว จึงกล่าวกับลูกว่า พ่ออุปติสสะ ทำไม พ่อจึงทำอย่างนี้ พ่อไม่ได้ให้อมตธรรมเห็นปานนี้แก่แม่ตลอดกาลเท่านี้. พระเถระคิดว่า บัดนี้เราให้เท่านี้ก็ควรแก่มารดาแล้ว ค่าเลี้ยงดูสำหรับแม่พราหมณีสารี จักควรด้วยเหตุเท่านี้ จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านจงไปเถิด ส่งนางพราหมณีไป จึงกล่าวว่า จุนทะ เวลาเท่าไร. จุนทะ. จวนสว่างแล้ว ขอรับ. ส. เธอจงประชุมภิกษุสงฆ์. จ. ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอรับ. ส. เธอจงประคองเราให้นั่ง จุนทะ. พระจุนทะประคองให้นั่งแล้ว พระเถระจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า อาวุโส เมื่อพวกท่านทั้งหลายเที่ยวไปกับผมตลอด ๔๔ ปี กรรมใดของผมที่เป็นไปทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ซึ่งพวกท่านไม่ชอบใจ ขอให้พวกท่านจงอดโทษแก่ผมด้วย. ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ย่อมไม่มีแก่พวกข้าพเจ้าผู้ไม่ละท่านเที่ยวไป ดุจเงาของท่านตลอดกาลเท่านี้. แต่ว่า ขอท่านจงอดโทษให้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. ลำดับนั้น พระเถระดึงมหาจีวรมาปิดหน้า นอนโดยข้างขวา เข้าสมาบัติ ๙ ตามลำดับสมาบัติทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม เหมือนพระศาสดา แต่ว่าเข้าตั้งต้นแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ให้มหาปฐพีสั่นสะเทือนในทันใดนั้นเอง ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. อุบาสิกาคิดว่า ลูกของเราไม่กล่าวอะไรเลยหรือหนอ ลุกขึ้นนวดหลังเท้ารู้ว่าปรินิพพานแล้ว เปล่งเสียงดังหมอบที่เท้า กล่าวว่า พ่อพวกเราไม่รู้คุณของพ่อ ก่อนแต่นี้ ก็บัดนี้แม่ไม่ได้เพื่อนิมนต์ภิกษุหลายร้อยหลายพัน หลายแสน ตั้งต้นแต่พ่อให้นั่งฉันในนิเวศน์นี้ ไม่ได้เพื่อให้นุ่งห่มด้วยจีวร ไม่ได้เพื่อให้สร้างวิหารเป็นพัน ดังนี้ คร่ำครวญอยู่แล้วจนถึงอรุณขึ้น. เมื่ออรุณพอขึ้นเท่านั้น นางก็ให้เรียกช่างทองมาให้เปิดห้องเก็บทอง ให้ชั่งด้วยตาชั่งใหญ่ส่งไปด้วยกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย จงทำเรือนยอดห้าร้อย

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพาน ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสว่า เธอจงปรินิพพาน ก็จะกลายเป็นสรรเสริญความตาย. เมื่อตรัสว่า เธออย่าปรินิพพาน คนผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะยกโทษว่า กล่าวสรรเสริญคุณของวัฏฏะ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำแม้ทั้งสอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เธอจักปรินิพพานที่ไหน สารีบุตร. เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพานในห้องที่ข้าพระองค์เกิดในบ้านนาฬกะ แคว้นมคธนั้น จึงตรัสว่า สารีบุตร เธอจงสำคัญเวลาในบัดนี้ ก็การเห็นภิกษุเช่นเธอ ของภิกษุผู้เป็นทั้งพี่และน้องของเธอจักหาได้ยากในบัดนี้ เธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. พระเถระรู้แล้วว่า พระศาสดาทรงหวังเฉพาะการแสดงธรรมที่ขึ้นต้นด้วยการแสดงฤทธิ์ของเรา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเหาะขึ้นไปประมาณชั่วต้นตาล เหาะลงแล้วถวายบังคมพระบาทพระทศพล และเหาะขึ้นไปประมาณสองชั่วลำตาลอีกลงแล้ว ถวายบังคมพระบาทพระทศพล แล้วเหาะขึ้นไปประมาณเจ็ดชั่วลำตาลโดยทำนองนี้ แสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างแล้วปรารภธรรมกถา. พระเถระกล่าวธรรมกถาด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ไม่ปรากฏบ้าง ด้วยการเบื้องบน เบื้องล่าง หรือครึ่งกาย บางทีก็แสดงเป็นรูปพระจันทร์โดยไม่มีใครเห็น บางครั้งก็เป็นรูปพระอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นรูปภูเขา บางทีก็เป็นรูปทะเล บางทีก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บางทีก็เป็นเวสวัณมหาราช บางทีก็เป็นท้าวสักกมหาราช บางทีก็เป็นท้าวมหาพรหม เมื่อแสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างอย่างนี้ พระเถระจึงกล่าวธรรมกถา ชาวพระนครทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว พระเถระเหาะลงแล้ว ได้ยืนถวายบังคมพระบาทพระทศพล. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะพระเถระนั้นว่า สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร. ส. ชื่อ สีหนิกีฬิตะ พระเจ้าข้า. 

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานสารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็น ที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้ ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว ปรินิพพานแล้วเถิด. สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่ เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์ เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด. "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้" อุปติสสปริพาชกฟังจบแล้วรู้แจ้งว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว มีอันต้องดับไปเป็นธรรมดา" แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ณ ที่นั้นเอง

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักทีจิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน ให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น

Billy Joel - You May Be Right ไม่สู้กิเลส..แล้วครับ...ดู..อย่าง..เดียว

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โอวาทพระอานนท์เถระ ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่า­ว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

https://plus.google.com/110938975784818113577/videos

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไปทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่งกายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิกปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อมได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ [๓๒๔] ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออก ไปจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้ บันไดจงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่ ที่จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายในเดินจงกรมอยู่ แต่นั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ได้ บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนวโทษปรากฏแก่ข้าพระองค์ ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของข้าพระองค์ ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จงทอดพระเนตร ดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้าพระองค์ได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว. จบภคุเถรคาถา

ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลสนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ท่านพระ- นาคสมาลเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ใน คิมหสมัย ได้เห็นพระศาสดาเสด็จดำเนินบนภาคพื้นอันร้อนระอุไปด้วย แสงพระอาทิตย์ จึงได้ถวายร่ม. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่า นาคสมาละ เจริญวัยแล้วได้ศรัทธาบวชในสมาคมแห่งพระญาติ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระ- ผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดกาลเล็กน้อย. วันหนึ่งท่านเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร เห็นหญิงนักฟ้อนคนหนึ่ง ประดับตกแต่งแล้วฟ้อนอยู่ ในเมื่อดนตรีกำลัง ประโคมอยู่ในหนทางใหญ่ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปว่า วาโย- ธาตุอันกระทำให้วิจิตรนี้ ย่อมเปลี่ยนแปรกรัชกายไปโดยประการนั้น ๆ ด้วยอำนาจความแผ่ไป น่าอัศจรรย์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้แล้ว ได้ บำเพ็ญขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ในอปทาน๑ว่า แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระ- ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตระ เสด็จจงกรมอยู่ ๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๗. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 3 ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทางไป ได้เห็นพระสัม- พุทธเจ้าเข้าไปกลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ภูมิ- ภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่าน เพลิง พายุใหญ่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่ หนาว ร้อน ย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โดยรับร่มนี้อันเป็นเครื่อง ป้องกันลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักสัมผัสพระนิพพาน พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความ ดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอม เทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระ- เจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เราได้เสวยกรรมของตนซึ่ง ก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันที่ชนทั้งหลายก็พากัน กั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่ภัทร- กัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ ... พระ- พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ก็แลครั้นท่านพระพระอรหัตแล้ว ได้พยากรณ์พระอรหัตผล โดย ระบุข้อปฏิบัติของตนขึ้นเป็นประธานด้วย ๔ คาถาว่า เราเดินทางเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิง ฟ้อนรำคนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์นุ่งห่ม พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 4 สวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทร์ ฟ้อน รำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่านกลางพระนคร เป็น ดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้น แก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลง มั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอ ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ความว่า มีตัวประดับด้วย อาภรณ์มีกำไรมือเป็นต้น. บทว่า สุวสนา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มผ้าดี คือ นุ่งผ้างาม. บทว่า มาลินี ได้แก่ทัดทรงดอกไม้ คือมีพวงดอกไม้ประดับ แล้ว. บทว่า จนฺทนุสฺสทา ได้แก่มีร่างกายลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์. บทว่า มชฺเฌ มหาปเถ นารี ตูริเย นจฺจติ นฏฺฏกี ความว่า หญิงนักฟ้อน คือหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ในสถานที่ตามที่กล่าวแล้ว ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรี มีองค์ ๕ ในท่ามกลางถนนพระนคร คือกระทำการฟ้อนรำอยู่ตาม ปรารถนา. บทว่า ปิณฺฑิกาย ได้แก่ เพื่อภิกษา. บทว่า ปวิฏฺโมฺหิ ได้แก่ เราเข้าไปยังพระนคร. บทว่า คจฺฉนฺโต น อุทิกฺขิส ความว่า เมื่อ เดินไปบนถนนในพระนคร ตรวจดูถนนเพื่อกำจัดอันตราย ได้แลดูหญิง นักฟ้อนนั้น. ถามว่าเหมือนอะไร ? แก้ว่า เหมือนบ่วงแห่งมัจจุราช อัน ธรรมชาติมาดักไว้, อธิบายว่า อารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นบ่วงแห่ง มัจจุ คือแห่งมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้ คือเที่ยวสัญจรอยู่ในโลก ย่อม นำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวฉันใด หญิงนักฟ้อนแม้นั้นก็ฉันนั้น พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 5 ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวแก่ปุถุชนคนบอด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเสมือนกับบ่วงแห่งมัจจุราช. บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ข้องอยู่ เสมือนบ่วงแห่งมัจจุราช. บทว่า เม ได้แก่ เรา. บทว่า มนสีกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ว่า ร่างกระดูกนี้ อันเอ็นเกี่ยวพันไว้ อันเนื้อฉาบทาไว้ อันผิวหนัง ปิดบังไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดและปฏิกูล มีอันปิดบัง ย่ำยี ทำลาย กำจัดความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา จึงแสดงอาการอันแปลกเช่นนี้. บทว่า อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไป ทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่ง กายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิก ปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อม ได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น. บทว่า นิพฺพิทา สมติฏฺถ ความว่า ความเบื่อหน่าย ย่อมสำเร็จ ด้วยอานุภาพแห่งอาทีนวานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นโทษ คือ นิพพิทาญาณย่อมสำเร็จแล้วในหทัยของเรา, จิตในการจับรูปธรรม และ นามธรรมเหล่านั้น แม้เพียงครู่เดียวก็ไม่ปรากฏ, โดยที่แท้เกิด แต่เพียง วางเฉยในรูปธรรมนามธรรมนั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจความเป็นผู้ใคร่จะพ้น เป็นต้น. บทว่า ตโต ความว่า เบื้องหน้าแต่วิปัสสนาญาณ. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 6 บทว่า จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราได้หลุดพ้นแล้วจาก สรรพกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค ในเมื่อโลกุตรภาวนาเป็นไปอยู่. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงแสดงเหตุเกิดขึ้นแห่งผล. จริงอยู่ในขณะแห่งมรรคจิต กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมหลุดพ้น. ในขณะแห่งผลจิต กิเลสชื่อว่าหลุดพ้น แล้ว ฉะนี้แล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. จบอรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑