วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

จิตคือตัวทุกข์จิตนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ น้อยคนนักที่จะเข้าใจได้ว่า ตัวจิตเองนั่นแหละ เป็นตัวทุกข์อันใหญ่ทีเดียว ไม่ใช่ต้องอยากหรือยึดสิ่งอื่นหรือขันธ์อื่นเท่านั้น ที่จะเป็นทุกข์ เพียงเมื่อใดยึดว่า จิตเป็นเรา ทันทีนั้นแหละทุกข์เกิดแล้ว และเมื่อเอา จิตที่เป็นเรา ไปกระโดดโลดเต้นตามแรงกิเลสตัณหา เช่นไปยึดว่านี่กายเรา นี่ความสุขความทุกข์ของเรา นี่ครอบครัว นี่สมบัติของเรา แล้วคราวใดเกิดความไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ อันนี้เป็นทุกข์ซ้ำซ้อนที่ตามมาทีหลัง ส่วนมากเราจะรู้จักทุกข์ชนิดนี้ แต่ไม่ค่อยรู้จักจิตที่เป็นก้อนทุกข์ ทั้งที่ไม่ได้ยึดถือสิ่งภายนอก เมื่อเราดูจิตอยู่นั้น และเห็นว่ามันเป็นทุกข์ จิตลึกๆ มันอดที่จะอยากให้จิตพ้นทุกข์ไม่ได้ (ดังที่บอกว่า “เฝ้าดูแล้วมันไม่ดีขึ้น” นั่นแหละครับ เราอยากให้ดีขึ้นนะครับ) ความอยากนั้น ยิ่งทำให้เพ่งจ้อง ให้พยายามทำลายทุกข์ แล้วผลก็คือทุกข์จะหนักและแรงยิ่งขึ้น ไม่มีใครทำหรอกครับ เราทำของเราเองทั้งนั้น ทีนี้ต่อมาเฝ้าสังเกตอยู่เฉยๆ แล้วจิตมันพิจารณาว่านี้คืออะไร จิตก็ตอบว่า อุปาทาน แล้วความทุกข์ก็คลายออก ลักษณะนี้ผู้ปฏิบัติเป็นกันทั้งนั้นครับ เวลาจิตติดขัดสิ่งใดอยู่นั้น เมื่อใดที่ปัญญาตามทัน ปัญญาจะตัดอารมณ์ที่จิตกำลังยึดถืออยู่ ขาดออกไปทันที เพราะคุณสมบัติของปัญญาคือการตัด แต่อันนี้ต้องเป็นปัญญาที่มันผุดขึ้นในใจจริงๆ จึงจะตัดได้ ถ้าคิดๆ เอา ยังตัดไม่ได้ครับ ที่ปฏิบัติมา ทำได้ดีเชียวครับ ทีนี้เมื่อจิตวางความทุกข์แล้ว จิตเบา สบาย มีปีติแล้ว อย่าลืมหันมาสังเกตความยินดีพอใจที่เกิดขึ้นอีกนะครับ ส่วนมากพอหายทุกข์แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพอใจ แล้วหยุดอยู่แค่นั้นเอง เข้าลักษณะเกลียดทุกข์ รักสุข ผมเองเมื่อก่อนที่ปฏิบัติทีแรกก็เป็นอย่างเดียวกันนี้เหมือนกันครับ โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

พุทโธ เศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

จิตจะวางการรับรู้ทางทวารทั้งห้าแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้

ใบไม้ในกำมือ การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง แสดงน้อยลง

ตราบใดที่ยังเป็นสอง ไม่ใช่ของจริง การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง แสดงน้อยลง

เราเป็นลูกพระพุทธเจ้าเราต้องเชื่อพ่อแม่เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,,

สวดพระปริตทำนองสรภัญญะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อย แล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ มีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส ….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะ พวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะ เวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนาน ทำกันแรมเดือนแรมปี….. วาบเดียวขาดสะบั้นเลย…. เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะ นาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลย ล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียว งั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะ ปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เกิดความรู้สึกตัว แล้วรู้กายรู้ใจได้การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

เอานั่นมาแก้เอานี่มาแก้ไม่ได้ความจิตยังส่งออกนอกอยู่การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

ไม่ทำงานอะไรเลิกทำงานแล้วไม่มีอะไรงานไม่มีงานจะทำแล้วที่ว่างหมดงานหมดงาน..การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง.

ไม่ทำงานอะไรเลิกทำงานแล้วไม่มีอะไรงานไม่มีงานจะทำแล้วที่ว่างหมดงานหมดงาน..การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง.

ไม่ทำงานอะไรเลิกทำงานแล้วไม่มีอะไรงานไม่มีงานจะทำแล้วที่ว่างหมดงานหมดงาน..การที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง.

ตราบใดที่ยังเป็นสอง ไม่ใช่ของจริงการที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

ตราบใดที่ยังเป็นสอง ไม่ใช่ของจริงการที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ

อย่าซึมกระทือการเปลี่ยนโครงสร้างในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร ระบบควบคุม ใน เครื่องจักรกล ในเครื่องมือ ใน เครื่องใช้ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัด ทางวิทยาศาสตร์ ทางการเเพทย์ โดยการลดแรงดันและกระแสไฟฟ้า ในระบบ ให้มีแรงดัน ที่ต่ำกว่า 5 โวลต์ และใช้กระแสที่ ต่ำ กว่าเดิม ทำให้โลก อยู่ใน สภาวะ ที่ แตกต่าง ไปจาก ที่เราคิด..เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกันเราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกัน อัลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler) นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ คลื่นลูกที่สาม หรือ The Third Wave ได้เสนอทฤษฎีคลื่นลูกใหม่ 3 ลูก ในประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงระบบโลกจากอ­­ดีตมาสู่ปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการ­­ผลิตของมนุษย์ในแต่ละยุคอันนำมาสู่ความเจ­ร­ิญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคย่อมก­­่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลรอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ และด้วยจิตสำนึกที่จะทำให้สังคมโลกดำรงอยู­­่ได้ต่อไปอย่างสันติ ยั่งยืน และสมดุลย์

พระโพธิสัตว์ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิสู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อย แล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ มีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส ….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะ พวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะ เวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนาน ทำกันแรมเดือนแรมปี….. วาบเดียวขาดสะบั้นเลย…. เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะ นาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลย ล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียว งั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะ ปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย

เอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่งเอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของ ถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้น พอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดินได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที เนี่ยถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น

เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ไว้บ่อย...พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที­่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออ­กมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์น­ั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็­นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ทุกข์อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่เองจิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

อัศจรรย์ความจริงเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เกิดจากการกีดกันเอาโลกธาตุบางส่วน มาเป็นตัวเราก่อน พอเราสร้างตัวเราขึ้นมา มันก็มีสิ่งซึ่งเกินตัวเราออกไป มีคนอื่นขึ้นมา มีโลกธาตุภายนอกที่แวดล้อมอยู่ ถ้าเข้าใจความเป็นจริง จิตก็สลัดคืนสิ่งที่เรียกว่าตัวเราคืนให้โลกธาตุไป ก็เป็นอันเดียวกันทั้งหมด สภาวธรรมทั้งหลายจะเป็นอันเดียวกันทั้งหมด ไม่มีแบ่งแยก ไม่แยกออกมาว่านี่เป็นธรรมภายใน เป็นธรรมภายนอก ไม่แยกเป็นธรรมที่หยาบที่ละเอียด ที่สุข ที่ทุกข์ ที่ดี ที่ชั่ว ที่เป็นเรา ที่เป็ฯเขา อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เป็นคู่ๆ ไม่มีนะ พอสลัดคืนแล้ว ไม่มีสิ่งที่เป็ฯคู่ๆ แต่เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้าเข้าถึงหนึ่ง ถึงจะเข้าถึงความจริงของศาสนาพุทธ

พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญาสามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่.พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี ได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย..

พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญาสามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่.. พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้..

พระอานนท์ พระพุทธอนุชา บทนำเรื่องท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลง อย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่นวายเหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุ­ทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่­างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ใ­นชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบาย ไว้ด้วยภาษาที่สละสลวย และง่าย แก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..

อำลาพุทธภูมิถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามหากจะถามว่าคนเรามีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งใด? คำตอบคงออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน บ้างว่า มีชีวิตเพื่อความร่ำรวย บ้างว่าเพื่อความรัก บ้างว่าเพื่อชื่อเสียง บ้างว่าเพื่อหากินไปวันๆ ไม่ว่าคำตอบ จะออกมาแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม หากจะสรุปคำตอบเหล่านั้นลงในคำๆเดียวว่า “มีชีวิตเพื่อแสวงหา ความสุข” คงไม่มีใครปฏิเสธว่าคำตอบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะอย่างน้อยที่สุดคงไม่มีใครมีชีวิตเพื่อแสวงหา ความทุกข์แน่นอน แม้จะมีข้อสรุปว่าคนเรามีชีวิตเพื่อแสวงหาความสุข แต่หากลองพิจารณาดูชีวิตของแต่ละคนแล้ว กลับพบว่าไม่มีใครที่มีความสุขแท้จริงสักคนเดียว มีแต่ความสุขจอมปลอม ชั่วครู่ชั่วคราว ขาดๆหายๆ ครึ่งๆกลางๆ สุขบ้างทุกข์บ้าง สลับกันไป เช่นนั้นทำอย่างไรจึงจะมีความสุขที่สมบูรณ์ แท้จริง ยั่งยืนถาวร ความสุขก็เช่นเดียวกับสังขาร ธรรมอื่นๆ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยหลายๆประการประกอบกัน ช่วยกันอุดหนุนให้ความสุขเกิดขึ้นและ ตั้งอยู่ได้ หากต้องการความสุขที่สมบูรณ์แท้จริง ยั่งยืนถาวร ก็ต้องทำเหตุปัจจัยเหล่านั้นให้พร้อม ก็จะได้ความสุขดังหวัง ความสุขนอกจากจะเกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการแล้ว ความสุขก็ยังมีเสี้ยนหนามที่คอยทิ่มตำ ความสุขให้ได้รับความเจ็บปวด คอยทำลายความสุขให้กลับกลายเป็นความทุกข์อยู่เสมอๆ ในบรรดา เสี้ยนหนามทั้งหลายของความสุข สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือความกลัวตาย ความตายเป็นความสิ้นสุดของชีวิต ซึ่งคู่กับความเกิดคือการเริ่มต้นของชีวิต เพราะฉะนั้นสำหรับ ชีวิตที่เกิดมาแล้วก็ไม่มีทางหนีความตายได้พ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ความตายก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวอยู่เหมือนกัน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสียเลยทีเดียว แม้เราจะหนีความตายไม่พ้น แต่เราก็มีวิธีปฏิบัติที่จะอยู่เหนือ ความตายคือไม่เป็นทุกข์เพราะความตายเป็นเหตุ เมื่อเราปฏิบัติตามวิธีนั้นแล้ว ความกลัวตายก็จะ ถูกทำลายลง จิตใจก็จะอยู่เหนือความตาย ชีวิตของเราก็จะมีความสุขที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจึงควรทำ ความรู้จักกับความตายในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งวิธีปฏิบัติเพื่อให้จิตใจอยู่เหนือความตาย

คนเล่นฌานหมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิ โดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

จิตดูจิตจิตเห็นจิตสิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจิต แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงวิโมกข์: ความพ้น พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

พระอนาคามี วิโมกข์: ความพ้น พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

พระพุทธเจ้าเปิดโลกสิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจิต แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด

พุทธรัตนะข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

พุทธรัตนะดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลายปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของ­พระผู้มีพระภาคแล

วงจรเครื่องปรับอากาศ การแก้ไขและซ่อม แอร์ อินเวอร์เตอร์ช่วงนี้อากาศ ร้อนจัด ครับ ดู ตำแหน่งที่ติดตั้ง คอยล์ร้อน ให้ระบาย ความร้อนให้เร็ว และไม่โดนแดด หรือทำตัวพ่นละอองน้ำ คอยล์ร้อน

เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ไว้บ่อย...BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้นยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเณ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุฯ ช่างดอกไม้ ย่อมร้อยพวงดอกไม้ จากกองดอกไม้ให้มากได้ฉันใด บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้น

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว

ผู้สิ้นความเพลิดเพลินในภพดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ

ผู้สิ้นความเพลิดเพลินในภพข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่ง มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชน ทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีฤทธิ์เดชแรง กล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้ เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลา นั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำ กิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้ เป็นข้าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๑] ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัว เพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตาม มาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่าน ควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๒] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่า หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาสู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๓] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัว เพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบ ห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้น เป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ [๓๑๔] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้าง นี้เป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือ แพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และ ใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้น ได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึง ฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความ โดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวก นั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า เพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงเมตตากับคนใกล้ตัว ศัตรูบางทีไม่ได้อยู่ไกลอ่ะ ศัตรูบางทีนอนอยู่บนเตียงเดียวกับเราก็มี (หลวงพ่อหัวเราะ) เมตตามันบ้างนะ ไอ้คนข้างๆ เราอ่ะ บางคนมันไปเมตตาคนไกลนะ แต่มันโหดร้ายกับคนใกล้ **ส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้แหละ** อาภัพที่สุดเลย มนุษย์ทั้งหลายนะ มันไปเห็นอกเห็นใจคนห่างๆ นะ อภัยให้คนไกลได้ แต่คนใกล้เนี่ย มันเอาเป็นเอาตายเลย ทำอะไรนิดนึงก็โมโหแล้วหล่ะ …………… คนทั่วๆ ไป จะไปดีกับคนอื่น **แต่จะมาร้าย แสดงอิทธิฤทธิ์เต็มที่เลย กับคนที่เรารู้สึกว่าปลอดภัย** ตัวนี้แหละ ที่เราอาภัพมากเลย **เราทำร้ายคนที่เราควรจะรักนะ** เพราะงั้น ถ้าใครเป็นอย่างนี้ก็ไปปรับตัวซะ เราชอบทำร้ายคนที่เราใกล้ชิด เราจะชอบไปเกรงใจคนที่เราห่างๆ ออกไป ยิ่งกับศัตรูเนี่ย เวลาเจอกันแล้วจำเป็นต้องพูดเนี่ย เราจะพูดอย่างดีเลย รู้สึกมั้ย? ต้องระวังเป็นพิเศษ เดี๋ยวพลาดพลั้ง แต่กับคนใกล้นะ โอ๊ย เต็มที่เลย ยังไงก็ได้ อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ

เครื่องเพิ่มไฟฟ้าวิธีขนานTM51เพื่อเพิ่มกำลังวัตต์https://www.youtube.com/watch?v=A9fDf... TM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 48 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ..มีจำหน่ายที่Line id:pornpimon1411 โทรศัพท์ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE

เราทำร้ายคนที่เราควรจะรักนะเพราะงั้นถ้าใครเป็นอย่างนี้ก็ไปปรับตัวซะเมตตากับคนใกล้ตัว ศัตรูบางทีไม่ได้อยู่ไกลอ่ะ ศัตรูบางทีนอนอยู่บนเตียงเดียวกับเราก็มี (หลวงพ่อหัวเราะ) เมตตามันบ้างนะ ไอ้คนข้างๆ เราอ่ะ บางคนมันไปเมตตาคนไกลนะ แต่มันโหดร้ายกับคนใกล้ ***ส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้แหละ*** อาภัพที่สุดเลย มนุษย์ทั้งหลายนะ มันไปเห็นอกเห็นใจคนห่างๆ นะ อภัยให้คนไกลได้ แต่คนใกล้เนี่ย มันเอาเป็นเอาตายเลย ทำอะไรนิดนึงก็โมโหแล้วหล่ะ …………… คนทั่วๆ ไป จะไปดีกับคนอื่น ***แต่จะมาร้าย แสดงอิทธิฤทธิ์เต็มที่เลย กับคนที่เรารู้สึกว่าปลอดภัย*** ตัวนี้แหละ ที่เราอาภัพมากเลย ***เราทำร้ายคนที่เราควรจะรักนะ*** เพราะงั้น ถ้าใครเป็นอย่างนี้ก็ไปปรับตัวซะ เราชอบทำร้ายคนที่เราใกล้ชิด เราจะชอบไปเกรงใจคนที่เราห่างๆ ออกไป ยิ่งกับศัตรูเนี่ย เวลาเจอกันแล้วจำเป็นต้องพูดเนี่ย เราจะพูดอย่างดีเลย รู้สึกมั้ย? ต้องระวังเป็นพิเศษ เดี๋ยวพลาดพลั้ง แต่กับคนใกล้นะ โอ๊ย เต็มที่เลย ยังไงก็ได้ อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ให้ความสำคัญ กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ก่อนที่เวลา จะพรากเราจากไปรู้สึกว่าสังคมเดี๋ยวนี้ร้อนเหลือเกิน ทำให้ใจพลอยหงุดหงิด โมโหง่ายไปด้วย อยากให้หลวงพ่อแนะนำวิธีเจริญเมตตาเพื่อให้ใจร่มเย็นมากขึ้นหน่อยค่ะ ทุกวันนี้เบียดเบียนกันมากนะ ทำร้ายกันมาก โกรธเกลียดกันมาก ทุกวงการ ในที่ทำงานก็แย่งกันใช่มั้ย แย่งเงินเดือน แย่งตำแหน่ง แย่งอะไรต่ออะไร ไปทุกหนทุกแห่งก็มีแต่การแย่งชิงกันหมด ไม่เลือกเลย ในวงรัฐบาล วงข้าราชการ นักธุรกิจก็แย่ง กระทั่งวงการพระก็แย่งนะ แย่งกันเป็นเจ้าคุณ นี่ไม่ได้ว่านะ เจ้าคุณดีๆท่านเยอะนะ ไอ้ที่อยากแย่งก็มีหรอก คือทุกหนทุกแห่ง มันจะเอาเข้าตัวหมด ทีนี้ถ้าเราหัดเจริญเมตตา มองคนอื่นด้วยสายตาที่เป็นมิตรนะ รู้จักให้ได้บ้าง ชีวิตเราจะร่มเย็นเป็นสุขขึ้น มีศีลไว้นะ เจริญเมตตาไป จิตใจสงบสุข การเจริญเมตตานั่นแหละ เป็นวิธีทำสมาธิชนิดนึง เป็นสมาธิชั้นดีซะด้วย เป็นสมาธิที่ละเอียดประณีต ถ้าเจริญเมตตาเป็น ทำไปได้ถึงอรูปพรหมแน่ะ ทำได้ถึงอรูปฌานตายแล้วไปเป็นพระพรหมได้ คนไหนบอกว่าทำสมาธิไม่เป็น นั่งสมาธิแล้วจิตไม่รวม ลองมาหัดเจริญเมตตา คนเดี๋ยวนี้ใจร้อน ขี้โมโห ถ้าหัดเจริญเมตตาได้ ใจร่มเย็นนะ ใจมีสมาธิ ค่อยลองดูนะ วิธีฝึกขั้นแรกเลย เมตตาตัวเองก่อน อย่าเบียดเบียนตัวเองนะ เบียดเบียนตัวเองด้วยการผิดศีลห้าอย่าทำ ไปกินเหล้านี่เบียดเบียนตัวเองนะ ทุกครั้งที่กินเหล้าเข้าไปนี่ เซลสมองจะต้องตายไปส่วนนึง ถูกแอลกอฮอล์ทำลาย ทำลายแล้วทำลายเลย ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว งั้นจะเสื่อมลงไปเรื่อยๆ สงสารตัวเองนะอย่าไปกินเหล้า สงสารตัวเองอย่าไปเป็นชู้กับเค้า อย่าไปมีกิ๊ก สงสารตัวเองอย่าตลบตะแลง ปลิ้นปล้อน หลอกลวง สงสารตัวเองอย่าไปรังแกคนอื่น รักตัวเองได้ก็รักคนอื่นบ้าง คนอื่นเค้าก็รักชีวิตของเค้า สัตว์อื่นเค้าก็รักชีวิตของเค้า ค่อยๆทำความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมานะ แผ่เมตตาให้ตัวเอง แล้วก็ค่อยๆแผ่ไปถึงคนอื่น สัตว์อื่น ต่อมาเราก็เมตตาคนใกล้ๆตัวนะ ในบ้านเรา สามีเรากลับบ้านดึก เราโกรธแล้วกลับบ้านดึก ก่อนจะโกรธจะต้องสืบสวนก่อนว่าทำไมกลับดึก บางทีก็จำเป็นต้องกลับดึก นี่ค่อยมองแง่ดีบ้าง หรือบางทีคนอยู่ด้วยกันทำผิด เป็นไปได้มั้ย เป็นไปได้อย่างยิ่งเลย เพราะคนทุกคนมีโอกาสทำผิดทั้งนั้นแหละ พลาดพลั้งทำผิดไป มองด้วยสายตาเห็นอกเห็นใจเค้าบ้าง ไม่ใช่อาฆาตแค้น แต่บางเรื่องก็เห็นใจผู้หญิงนะ คดีบางเรื่องกะสามีนี่ไม่มีอายุความ หลายสิบปีนึกขึ้นได้ ก็ยังว่าได้อีก บางทีก็ไปเล่าให้ลูกหลานฟัง แค้นขึ้นมาตายแล้วก็ยังไปว่าอีกนะ นี่นะตอนหนุ่มๆเจ้าชู้ ไอ้ความดีที่เหลือไม่มีเลย นี่มองคนอื่นนะ ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น เราเองก็มีโอกาสผิดพลาด เราผิดพลาดเราอยากให้คนอื่นให้อภัย เราก็ต้องรู้จักให้อภัยคนอื่น นี่ถ้าใจเราเคล้าเคลียอยู่อย่างนี้นะ มองคนอื่น มองสัตว์อื่นด้วยความรู้สึกเป็นมิตร ด้วยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ คนโบราณฉลาดนะ "บอกให้เอาใจเขา มาใส่ใจเรา" เอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึงว่า ตัดสินเขา ด้วยสายตาของเขาบ้าง ไม่ใช่ตัดสินเค้าด้วยสายตาของเราคนเดียว ทำไมเค้าต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมเค้าต้องทำอย่างนี้ บางทีเค้าก็มีเหตุผลของเค้า เราเข้าใจแล้วนะ ความเคียดแค้นอะไรนี่ก็จะหายไป นี่พอเราเจริญเมตตามากๆ ใจเราจะมีความสุข มีความสงบ นี่เป็นกรรมฐานที่ดีนะ การเจริญเมตตาภาวนา เพราะว่าโลกทุกวันนี้ร้อนเต็มทีแล้ว ไปไหนก็ยุ่งไปหมดทุกหนทุกแห่ง นั่งรถไปเจอเสื้อเหลืองเสื้อแดงยุ่งไปหมด เปิดวิทยุ เปิดโทรทัศน์ เปิดหนังสือพิมพ์ ก็มีแต่เรื่องทะเลาะกัน ฉะนั้นเราเจริญเมตตา พอจิตใจสงบ ทีนี้ภาวนาง่ายแล้ว เจริญเมตตาไปกว้างๆ เจริญเมตตามีสองอันนะ อันนึงเรียกว่า "เมตตาพรหมวิหาร" อันนึงเรียกว่า "เมตตาอัปปมัญญา" สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน "เมตตาพรหมวิหาร" เป็นเมตตาแบบเจาะจง เช่น เราเห็นลุงคนนึงแก่แล้ว เรามองด้วยสายตาเป็นมิตร นี่อย่างนี้ หรือมีกรุณา สมมติเพื่อนเราไม่สบาย อยากให้เค้าหาย เบื้องต้นนะ เมตตา กรุณา มุฑิตา คนใกล้ๆตัว คนที่เรารักก่อน คนที่เกลียดนี่ อยู่ๆไปให้เมตตา เมตตายากนะ ทีแรกสิ่งที่เรารักที่สุดคือตัวเอง เมตตาตัวเองก่อน อย่าเบียดเบียนตัวเองด้วยความชั่วทั้งหลาย ต่อมาเมตตาคนรอบๆตัว ต่อไปก็ขยายวงออกไปเมตตาคนอื่นที่เป็นกลางๆ สุดท้ายเมตตากับศัตรูก็ได้นะ ศัตรูก็น่าสงสาร ศัตรูด่าเราแล้วเราเฉยๆ ศัตรูกลุ้มใจน่าสงสาร เมื่อยนะด่าเค้า วางแผนเอาอึไปปา เหนื่อยนะไม่ใช่ไม่เหนื่อย เหม็นก่อนเพื่อนเลย เหม็นก่อนนายกอีก นี่น่าสงสารนะ ถ้ามองอย่างนี้นะ มองด้วยสายตาที่เป็นมิตร มองด้วยสายตาที่เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ความโกรธความเกลียดในใจเรามันจะหายไป คราวนี้เรามองโลกทั้งโลกเลย ไม่ต้องมีประมาณ ไม่ต้องมีขอบเขต ไม่ต้องมองเป็นคนๆแล้ว ตรงที่มองเป็นคนๆนี้ยังเป็นพรหมวิหาร พรหมวิหารสี่ เมตตาคนนี้ กรุณาคนนี้ มุฑิตาคนนี้ อุเบกขาคนนี้ มุฑิตาก็คือ ดีใจกับเค้าด้วยเวลาเค้าได้ดี ไม่ใช่ไฟไหม้บ้านเค้าก็ดีใจกับเค้าด้วย อันนั้นไม่ใช่มุฑิตาแล้ว ถ้าเป็น "อัปปมัญญา" จะไม่มีขอบมีเขต ไม่เลือกคน ไม่เลือกเป้าหมายนะ ใจจะกว้างขวาง หัดทีแรกก็หัดเป็นทิศๆก่อน เช่น ทำความรู้สึกไป ขอความเป็นมิตรไมตรีให้มีแก่สัตว์ทางนี้ ทางข้างหน้านี้ ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างบน ข้างล่าง ฝึกไปเรื่อย ต่อไปใจเราจะคล้ายๆพระอาทิตย์ พระจันทร์ อยู่ตรงกลางนะ แผ่รัศมีไปรอบทิศทางได้ นี้เป็นเรื่องของสมาธิทั้งนั้นเลย

ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขาจิตตื่น..หลวงพ่อปราโมทย์ : คำว่าจิตตื่นของหลวงพ่อหมายถึง จิตซึ่งรู้สึกตัวขึ้นมา รู้สึกกาย รู้สึกใจ ไม่หลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกของความคิด ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขา สิ่งที่ผ่านหน้าบ้านเรา บางทีก็เป็นของสวยของงาม บางทีก็เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว เช่นหมาขี้เรื้อนวิ่งมา อะไรอย่างนี้ หมาบ้าวิ่งมาเนี่ย ผ่านหน้าบ้านไป อารมณ์ก็เหมือนกันนะ อารมณ์บางทีก็อารมณ์ที่ดี บางทีก็อารมณ์ที่เลว ผ่านมา แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เลว นักปฏิบัติที่แท้จริงจะเหมือนคนที่นอนเล่นในบ้าน ไม่วิ่งตามไป ไม่ใช่เห็นสาวสวยเดินผ่านหน้าบ้าน ก็วิ่งตามเขาไปนะ เห็นหมาบ้าวิ่งมาก็วิ่งออกไปไล่ตีมัน จิตใจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตใจจะแค่เป็นคนรู้คนดู แล้วก็สิ่งเหล่านั้นจะไม่แอบเข้าไปในบ้านเรา เหมือนผู้ร้ายไม่กล้าเข้าบ้าน เจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ใจเราตื่นขึ้นมานะ ผู้ร้ายคือกิเลสมันเข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าใจเราหลับเมือไหร่นะ มันย่องเข้ามา ย่องเบา เบาจริงๆนะ ย่องเข้ามา ไม่ทันรู้สึกหรอก กว่าจะรู้สึกตัวก็คือ มันขึ้นมาขี่คอเรียบร้อยแล้วนะ ให้คอยรู้สึกนะ รู้สึก…

คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘“การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์” ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้ “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุล แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล” เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้ “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล” บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น” บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้” สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้” ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้ “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร” “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร” จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

รับซ่อม แผงวงจร ควบคุม ที่ใช้ใน โรงงานอุตสาหกรรมซ่อมแผงวงจรเครื่องจักรออกแบบซ่อมสร้างระบบควบคุมเครื่องจักร อุตสาหกรรม เคริ่องควบคุมมอเตอร์ รับซ่อมเตาแม่เหล็กไฟฟ้า แผงวงจรตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ทุกอาการ และ จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ IGBT POWER TRANSISTOR SCR แกนเทอรอยด์ สำหรับ สร้าง ผลิต ซ่อม เครื่อง ควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ เครื่องแปลงพลังงานไฟฟ้า เครื่องปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้า เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ 02-951-1356 081-803-6553 line id:pornpimon 1411 เลขที่ 69/6 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ซ่อมแผงวงจรเครื่องจักรออกแบบซ่อมสร้างระบบควบคุมเครื่องจักร อุตสาหกรรม เคริ่องควบคุมมอเตอร์ รับซ่อมเตาแม่เหล็กไฟฟ้า แผงวงจรตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ทุกอาการ และ จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ IGBT POWER TRANSISTOR SCR แกนเทอรอยด์ สำหรับ สร้าง ผลิต ซ่อม เครื่อง ควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ เครื่องแปลงพลังงานไฟฟ้า เครื่องปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้า เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ 02-951-1356 081-803-6553 line id:pornpimon 1411 เลขที่ 69/6 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000เลือกชมคลิป เกี่ยวกับ การควบคุมมอเตอร์ การแปลงพลังงานไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ ด้านล่างได้เลยครับ http://www.youtube.com/user/MrSompongt/featured http://www.youtube.com/watch?v=LPlTdDmECso&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=Jr4PA2yZjFY&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=Z_JSi0kmXMg&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=_zt1O0mfmew http://www.youtube.com/watch?v=35AA4IP0_0U http://www.youtube.com/watch?v=DMCSAUKl6Hk http://www.youtube.com/watch?v=wxPVFYizJ0M http://www.youtube.com/watch?v=kMvOS5FTKhE http://www.youtube.com/watch?v=bCfqUWItVm0 http://www.youtube.com/watch?v=VQZMdARwscg http://www.youtube.com/watch?v=abqrLKoLNsc http://www.youtube.com/watch?v=cXU3N1R9jZg http://www.youtube.com/watch?v=pyXrLOJzIOo http://www.youtube.com/watch?v=z_qdTnBuUKY http://www.youtube.com/watch?v=YrSDqbWSArc http://www.youtube.com/watch?v=-6F-Hj92w6A http://www.youtube.com/watch?v=XuThYLw1pIg http://www.youtube.com/watch?v=go3qKeRgMwc http://www.youtube.com/watch?v=IU-2nXZQG3M http://www.youtube.com/watch?v=cNeXJn2GzgE http://www.youtube.com/watch?v=jryLXkvK9nA http://www.youtube.com/watch?v=IuMOeAVq2P8 http://www.youtube.com/watch?v=kElglwzdyW4 http://www.youtube.com/watch?v=Wt9RjhKJNOU http://www.youtube.com/watch?v=2s-tXCj0UPY http://www.youtube.com/watch?v=IuS6KKuh_8w http://www.youtube.com/watch?v=_ZznWVylw5I http://www.youtube.com/watch?v=twkvQQ7c3qc http://www.youtube.com/watch?v=nse37ZeifwY http://www.youtube.com/watch?v=GGZgiUVukd4 http://www.youtube.com/watch?v=YeCJuUyvpAU http://www.youtube.com/watch?v=lsOLNshDQSw http://www.youtube.com/watch?v=TrC1qe5UntU http://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw http://www.youtube.com/watch?v=dfjbGcMJxpU http://www.youtube.com/watch?v=P3WDJJxTb64 http://www.youtube.com/watch?v=L8kTdxN2s4o http://www.youtube.com/watch?v=VKDcA13WWFE http://www.youtube.com/watch?v=fddoE6RFDtc http://www.youtube.com/watch?v=qdsDOm6L7Vs http://www.youtube.com/watch?v=Cb3yJW1M3ro http://www.youtube.com/watch?v=ow8OmeUU0cw http://www.youtube.com/watch?v=jFMX1WeqkAM http://www.youtube.com/watch?v=eX5unrmGnPc http://www.youtube.com/watch?v=iImuzuFDgKU http://www.youtube.com/watch?v=avQRpxDpdos http://www.youtube.com/watch?v=YLtIHEKLyQ8 http://www.youtube.com/watch?v=OHj-ptQ9ZyE http://www.youtube.com/watch?v=f3SOLzOUnvw http://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 http://www.youtube.com/watch?v=v6qpsaL0HhE http://www.youtube.com/watch?v=jbqcYAisSwo http://www.youtube.com/watch?v=n5B0VJYvu9U http://www.youtube.com/watch?v=eEv64R6jDMw http://www.youtube.com/watch?v=00WG-HgrVn0 http://www.youtube.com/watch?v=UxZq52trUGg http://www.youtube.com/watch?v=VhCAhtSUiVg http://www.youtube.com/watch?v=hAvZsskUcLg http://www.youtube.com/watch?v=RUtBhIv_xOg http://www.youtube.com/watch?v=PPU3xr1nDv4 http://www.youtube.com/watch?v=_hgE0RUmwOs http://www.youtube.com/watch?v=ChOUGDG5OU0 http://www.youtube.com/watch?v=9yrM81EELx8 http://www.youtube.com/watch?v=kyzT6zvmkDw http://www.youtube.com/watch?v=CX9f6zgZmWI http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=VSgnpBGL1Pg http://www.youtube.com/watch?v=57bJlcdrLqg http://www.youtube.com/watch?v=6Mys6jv1YRk http://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA http://www.youtube.com/watch?v=z1x7NKF_Sy8 http://www.youtube.com/watch?v=WE9riRuQLcs http://www.youtube.com/watch?v=_JNSc2QOdwY http://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg http://www.youtube.com/watch?v=_XPWPI3uJXw http://www.youtube.com/watch?v=ynxSRSOsF8w http://www.youtube.com/watch?v=FPC67MdEZiI http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=tUat2rFQYsM http://www.youtube.com/watch?v=-L_ACmhE4ro http://www.youtube.com/watch?v=djVTbW-sg_Q http://www.youtube.com/watch?v=C-_50YAt3AA http://www.youtube.com/watch?v=3zpTA3pF_ao http://www.youtube.com/watch?v=2Jfv7hEbg88 http://www.youtube.com/watch?v=fX-s0ODbXho http://www.youtube.com/watch?v=xtz1_-1oMsk http://www.youtube.com/watch?v=JboEh5T-VdE http://www.youtube.com/watch?v=nwrjWZ7XicA http://www.youtube.com/watch?v=z8Y_M_4MDqU http://www.youtube.com/watch?v=yWG6RHYU8Rw http://www.youtube.com/watch?v=j-9v856xrl0 http://www.youtube.com/watch?v=UlfpFRHun14 http://www.youtube.com/watch?v=w3MeaL7d-ZE http://www.youtube.com/watch?v=FCXR0ReeBsg http://www.youtube.com/watch?v=CYiiYnBgLdc http://www.youtube.com/watch?v=vUD68rti4Lk http://www.youtube.com/watch?v=GtZcAIPgxxo http://www.youtube.com/watch?v=skqQYQm1grw http://www.youtube.com/watch?v=xSwU4kiRdw8 http://www.youtube.com/watch?v=CzVp_-MP84k http://www.youtube.com/watch?v=0YMr5JhaHoU http://www.youtube.com/watch?v=SnhnNlu9Gi8 http://www.youtube.com/watch?v=MYsdOYikxfM http://www.youtube.com/watch?v=PZzMvTEnl0A http://www.youtube.com/watch?v=7ZFjwbYbaFk http://www.youtube.com/watch?v=VcWYY1Ot83Y http://www.youtube.com/watch?v=fZ6W2K3VAVs http://www.youtube.com/watch?v=XAxWglkvxhc http://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 http://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 http://www.youtube.com/watch?v=ucDsgWDC3lo http://www.youtube.com/watch?v=OY1u0LSMZ9E http://www.youtube.com/watch?v=3VfbBbfMFGU http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=XPhW6LNOVLU http://www.youtube.com/watch?v=9g9TroSM1gI http://www.youtube.com/watch?v=QTUk4a4l6sI http://www.youtube.com/watch?v=0FsWDpTZTJM http://www.youtube.com/watch?v=LHR_jSk5Dag http://www.youtube.com/watch?v=998KKwoPCl0 http://www.youtube.com/watch?v=YERYlMCHpn0 http://www.youtube.com/watch?v=fFZXYPB8w9E http://www.youtube.com/watch?v=AuVMkjmOjxc http://www.youtube.com/watch?v=ZQpVoosUZBMซ่อมสามเฟสอินเวอรเ์ตอร์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์กำลังและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไรมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติเพราะถ้าเจือ...คนไม่มีบุญเกิดมากับศาสนาพุทธก็ไม่สนใจหรอก ต้องมีบุญมีบารมีพอถึงจะสนใจ พวกเราได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เกิดมามีสติปัญญา มีร่างกายแข็งแรงพอสมควร ยังสนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมการยกระดับคุณภาพความเป็นมนุษย์ของเราให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ธรรมะนั้นอยู่ในบ้านในเมืองเรามานาน คนส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยจนกระทั่งมองไม่เห็นความสำคัญ มีคนส่วนน้อยหรอกที่สนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรม คนเข้าวัดส่วนใหญ่ก็ไปทำบุญเท่านั้น ที่จะสนใจถึงขนาดว่า “พระพุทธเจ้าสอนอะไร ทำอย่างไรเราจะเอาธรรมะเข้ามาสู่หัวใจของเราได้” มีไม่มาก การที่พวกเราสนใจได้ขนาดนี้ หลวงพ่อก็ขออนุโมทนาด้วย ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นของกลาง ท่านประทานไว้ให้ทุกๆคนแหละ แต่คนส่วนน้อย ที่จะสนใจ ที่จะศึกษาปฏิบัติ ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่เรื่อง ทำทาน รักษาศีล ไม่ใช่แค่เรื่องนั่งสมาธิ การทำทาน การรักษาศีล การนั่งสมาธิ ก็เป็นของดี แต่มันมีมาก่อนพระพุทธเจ้าซะอีก สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเอามาสั่งสอนพวกเรามันถึงขั้นเจริญปัญญา งั้นพวกเราต้องพยายามพัฒนาจิตใจให้มันเกิดปัญญาขึ้นมาให้ได้จริงๆ ถ้าใจเรามีปัญญาอย่างแท้จริง ในมันจะพ้นจากทุกข์ จะเข้าถึงความสะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าถึงสอนบอกว่า “บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” แต่คนไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ มันก็ไม่มีปัญญาหรอก แต่มีศีล มีสมาธิ แค่นั้นไม่พอ ต้องรู้วิธีที่จะพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้น ขั้นแรกเลยพวกเราต้องตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ จำเป็นมากนะ ทุกวันนี้คนละเลยศีลไปหมดแล้ว เห็นว่ามีแต่คนโง่ๆหรอกไปถือศีล เค้าไม่รู้หรอกว่าการถือศีลนั้นมีคุณค่าขนาดไหน คนที่มีศีลในจิตในใจของเรานะ จิตใจมันสงบง่าย มีความสุข มีความสงบ คนไม่มีศีล จิตใจเร่าร้อน หาความสุขความสงบไม่ได้ งั้นเบื้องต้นพวกเราอย่างน้อยเราต้องรักษาศีล ๕ ไว้ให้ได้ พอเรามีศีล ๕ แล้วเนี่ย ใจเราสบาย ใจเราสงบง่าย อย่างคนคิดจะฆ่าคนอื่น คิดจะทำร้ายคนอื่น จิตใจไม่สงบหรอก คนไม่คิดจะทำร้ายใครนะ คนมีความเมตตากรุณาในใจ ไม่คิดทำร้ายใคร จิตใจก็มีความสุข มีความสงบอยู่ในตัวเอง คนอยากขโมยเค้า จิตใจไม่สงบ คนอยากประพฤติผิดในกาม จิตใจไม่สงบ วุ่นวาย เราไม่ลักใครขโมยใคร รู้จักเสียสละ รู้จักให้ด้วยซ้ำไป ยิ่งมีความสุขใหญ่ เราซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของเรา ก็สบาย มีความสุข มีความสงบ บ้านเราก็ร่มเย็น ลูกหลานเราก็มีความสุข ถ้าผิดศีลผิดธรรมนะ บ้านก็เร่าร้อน ลูกหลานไม่มีความสุข งั้นการที่เรามีศีลนะ จะทำให้เรามีความสุขมีความสงบ คนไม่โกหก คนพูดความจริง จิตใจสบาย คนโกหก ไม่สบาย ต้องคอยจำ ว่าพูดอะไรไปแล้ว เดี๋ยวพูดไม่เหมือนเดิม เค้าจับได้ งั้นเบื้องต้นพวกเราพยายามรักษาศีลเอาไว้ ศีลข้อ ๕ เราก็อย่าไปกินเหล้าเมายา พยายามมีสติให้มากๆ กินเหล้าเมายามากๆ เสียสติ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่สงบ ทีนี้พอพวกเรามีศีลแล้วก็มาพัฒนาต่อไป มาพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิขึ้นมา รักษาศีลอย่างเดียว ไม่ทำสมาธิ จิตใจก็จะพัฒนาไม่พอ การที่เรามีศีลนั้นมันทำให้กาย ให้วาจาของเราเรียบร้อย การฝึกสมาธินั้น ทำให้จิตใจของเราเรียบร้อย มีความสุข มีความสงบ ศีล ช่วยรักษากาย รักษาวาจา ไม่ให้เกะกะระรานใคร สมาธิ ถ้าเราฝึกไป จิตใจเราก็สงบ สบาย เป็นการจัดกระเบียบจิตใจ ศีล เป็นเรื่องการจัดระเบียบกาย จัดระเบียบวาจา ให้เรียบร้อย ทีนี้สมาธินั้นมี ๒ ชนิด พวกเราต้องเรียนเหมือนกัน ต้องฟังไว้ให้ดี ส่วนใหญ่ที่เข้าวัดกันบางทีก็ไปนั่งสมาธิ แยกไม่ออกว่าสมาธิมันมี ๒ แบบ สมาธิแบบแรก ทำไปเพื่อให้จิตใจสงบ สบายอยู่อย่างเดียว นิ่งๆ สมาธิชนิดสงบนี่เอาไว้พักผ่อน เวลาจิตใจของเราวุ่นวายเร่าร้อนเหน็ดเหนื่อย ทำสมาธิชนิดสงบ จิตใจได้พักผ่อนสบาย มีความสุข หลวงพ่อก็หัดสมาธิชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ ฝึกรู้ลมหายใจ หายใจไปจิตสงบอยู่กับลมหายใจ จิตไม่ฟุ้งซ่านไปไหน มีความสุข มีความสงบ แต่มันไม่เกิดปัญญา สมาธิอีกชนิดหนึ่ง เป็นสมาธิที่จะทำให้เกิดปัญญา มันไม่ใช่แค่สงบ แต่มันเป็นความตั้งมั่นของจิต เป็นภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจของคนในโลกนะ หรือของสัตว์ทั้งหลายเนี่ย มันลืมตัวเองตลอดเวลา มันหนีไปคิดตลอด คิดไปอดีต คิดไปอนาคต ลืมปัจจุบัน ลืมตัวเอง เราต้องมาฝึกจิตใจให้มันอยู่กับตัวเอง อย่าลืมเนื้อลืมตัวนะ คอยรู้สึกตัว พูดง่ายๆ ก็คือเป็นสมาธิที่ฝึกแล้วก็รู้สึกตัว ใจไม่เคลิบเคลิ้ม ไม่เหมือนสมาธิชนิดสงบนะ นั่งพุทโธๆ นั่งหายใจอะไรอย่างนี้ สงบเฉยๆ หรือดูท้องพองยุบดูไปเรื่อยๆจิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับท้อง ก็ได้ความสงบ ก็สงบเฉยอยู่อย่างนั้น มันต้องมาพัฒนาขึ้นมาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต ปกติจิตของเราจะหนีตลอดเวลา หนีไปดู หนีไปฟัง หนีไปคิด หนีไปคิดนี่มีมากที่สุด คือจิตมันจะหนีไปคิดทั้งวัน คิดไปอดีต คิดไปอนาคต ตื่นมาก็เริ่มคิดไปแล้ว เราไม่สามารถรู้สึกตัวอยู่ในปัจจุบันได้ งั้นสมาธิชนิดที่สองนี่ฝึกขึ้นมาแล้วเราจะรู้สึกตัวอยู่ในปัจจุบัน จิตของเราจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ตรงที่จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่ เป็นจุดที่จะแตกหักเลย ว่าเราจะทำวิปัสสนากรรมฐาน เราจะเดินปัญญา ได้หรือไม่ได้ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่สามารถจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้จริงๆ เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้น ทำไปเป็นการเจริญปัญญา ปัญญานั้นมีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธินั้นต้องเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น ในทางตำรา ทางปริยัติเนี่ย คำว่าสมาธิก็แปลว่าความตั้งมั่น แต่พวกเราชอบมักง่าย ไปแปลสมาธิว่าความสงบ คนละตัวกันนะ เราต้องมาฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น จิตใจที่ตั้งมั่นคือจิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ตอนหลวงพ่อเป็นโยมนะ หลวงพ่อพยายามฝึก ตอนเด็กๆนะฝึกได้แต่สมาธิสงบ ต่อมาโตขึ้นมานะเจอครูบาอาจารย์ เข้าวัดไปท่านก็พูดแต่คำว่ามีจิตผู้รู้ หลวงปู่ดูลย์พูดบอกว่า ไม่ให้เอาจิตออกนอก ไม่ให้ส่งจิตออกนอก จิตที่ส่งออกนอกก็คือจิตที่มันหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด มันลืมตัวเอง จิตที่ไม่ออกนอกก็คือจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ งั้นหลวงพ่อก็มาฝึก พยายามให้จิตรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้ลืมเนื้อลืมตัว จนกระทั่งบางทีนะครูบาอาจารย์บางองค์ อย่างหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง เวลาไปกราบท่าน ท่านไม่รู้จักชื่อหลวงพ่อ ไม่เคยบอกท่าน ท่านเรียกหลวงพ่อว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ให้ฉายาว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ก็คือเรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ เมื่อเราฝึก มันต้องมีวิธีฝึก วิธีฝึกมันจะต่างกับการที่จะฝึกให้จิตสงบ การจะให้จิตสงบนั้น ให้เราน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตไม่ไปฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อันอื่น จิตก็สงบ เช่นบางคนมีความสุขที่จะท่องพุทโธ พุทโธๆมีความสุขนะ พอจิตใจมีความสุข จิตจะไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็สงบอยู่กับพุทโธ คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข รู้ลมหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวนะ หายใจสบาย จิตใจสงบอยู่กับลมหายใจ ไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็ได้ความสงบขึ้นมา คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข ก็ดูท้องพองยุบไป จิตใจมันก็สงบไม่หนีไปที่อื่น การที่จะฝึกให้จิตสงบนั้น ฝึกโดยการรู้จักเลือกอารมณ์ เราต้องดูว่าตัวเราเองนั้นอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขเราอยู่กับพุทโธไป จิตก็สงบไม่หนีไปที่อื่น เพราะจิตมันพอใจกับพุทโธซะแล้ว มันก็ไม่ไปหาอารมณ์อันอื่น คนไหนหายใจเข้าหายใจออก รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับลมหายใจไป จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น เนี่ยเคล็ดลับของการทำความสงบนะ การทำสมถะ เลือกอารมณ์ ต้องดูของตัวเราเอง เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ จิตใจไม่หนีไปหาอารมณ์อย่างอื่น อันนี้แหละ เราได้สมถะกรรมฐาน ทีนี้ฝึกอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นนั้นมันตรงข้ามกับจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่นมันคือจิตที่ไหลไป มันหลงไป มันไหลไป ตลอดเวลา หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เราก็หากรรมฐานมาสักอย่างหนึ่งนะ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่สักอย่างหนึ่งก่อน คนไหนเคยพุทโธแล้วสบายใจนะ ก็พุทโธต่อไป แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ เปลี่ยนนิดเดียวจากพุทโธเพื่อให้จิตสงบนะ มาเป็นพุทโธแล้วรู้ทันจิต พุทโธๆจิดหนีไปคิดรู้ทัน พุทโธๆจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน พุทโธๆแล้วจิตไปเพ่งนิ่งอยู่เฉยๆก็รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปหลงไปคิด เคลื่อนไปเพ่ง ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ คนไหนเคยรู้ลมหายใจแล้วมีความสุขนะ เราก็สงบอยู่กับลมหายใจ เราก็รู้ลมหายใจต่อไป แต่ไม่ใช่รู้เพื่อให้จิตไปอยู่กับลมหายใจ ถ้ารู้แล้วให้จิตไปอยู่กับลมหายใจเราได้สมถะกรรมฐาน ได้ความสงบเฉยๆ เรามาปรับนิดหน่อย เราหายใจไปจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตไปเพ่งใส่ลมหายใจเรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเราก็รู้ หายใจไปจิตหนีไปเรารู้ จิตหนีไปคิดเรารู้ หรือหายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ จิตเคลื่อนไปแล้วเรารู้ทัน เคลื่อนไปคิดเราก็รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจเราก็รู้ทัน ถ้าเรารู้ทันอย่างนี้ได้ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครถนัดดูท้องพองยุบ เคยดูท้องพองยุบ แล้วจิตไปสงบอยู่กับท้องก็เปลี่ยนนิดเดียว ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน คนไหนถนัดเดินจงกรมนะ ก็เดินจงกรมไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับเท้าก็รู้ทัน คือรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนั้นแหละ จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่ใช่สงบเฉยๆ สงบเฉยๆเนี่ยมันจะไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์อันเดียว อันนี้มันจะสงบด้วยมันจะตั้งมั่นด้วย จิตมันจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงนี้พวกเราต้องฝึกให้ได้นะ ถ้าพวกเราไม่สามารถจะฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ เรายังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้จริงหรอก ถึงจะไปนั่งคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะอะไรอย่างนี้ มันยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานหรอก วิปัสสนากรรมฐานนะเราต้องมีสติรู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ต่อเมื่อเรามีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่เป็นกลาง ถ้าจิตเรายังหลงอยู่ในโลกของความคิด เราจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ มันจะเพ่งกายเพ่งใจเฉยๆ แต่จะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์หรอก งั้นเราต้องมาฝึกนะให้ใจตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน ตัวนี้เป็นจุดที่แตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ได้ ถ้าจิตใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ชาตินี้เรายังไม่ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน แต่ถ้าจิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตเราอยู่กับตัวเราเองทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่เราจะเห็นความจริงของกายของใจ ก็เป็นไปได้

พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไรมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติเพราะถ้าเจือ...คนไม่มีบุญเกิดมากับศาสนาพุทธก็ไม่สนใจหรอก ต้องมีบุญมีบารมีพอถึงจะสนใจ พวกเราได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เกิดมามีสติปัญญา มีร่างกายแข็งแรงพอสมควร ยังสนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมการยกระดับคุณภาพความเป็นมนุษย์ของเราให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ธรรมะนั้นอยู่ในบ้านในเมืองเรามานาน คนส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยจนกระทั่งมองไม่เห็นความสำคัญ มีคนส่วนน้อยหรอกที่สนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรม คนเข้าวัดส่วนใหญ่ก็ไปทำบุญเท่านั้น ที่จะสนใจถึงขนาดว่า “พระพุทธเจ้าสอนอะไร ทำอย่างไรเราจะเอาธรรมะเข้ามาสู่หัวใจของเราได้” มีไม่มาก การที่พวกเราสนใจได้ขนาดนี้ หลวงพ่อก็ขออนุโมทนาด้วย ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นของกลาง ท่านประทานไว้ให้ทุกๆคนแหละ แต่คนส่วนน้อย ที่จะสนใจ ที่จะศึกษาปฏิบัติ ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่เรื่อง ทำทาน รักษาศีล ไม่ใช่แค่เรื่องนั่งสมาธิ การทำทาน การรักษาศีล การนั่งสมาธิ ก็เป็นของดี แต่มันมีมาก่อนพระพุทธเจ้าซะอีก สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเอามาสั่งสอนพวกเรามันถึงขั้นเจริญปัญญา งั้นพวกเราต้องพยายามพัฒนาจิตใจให้มันเกิดปัญญาขึ้นมาให้ได้จริงๆ ถ้าใจเรามีปัญญาอย่างแท้จริง ในมันจะพ้นจากทุกข์ จะเข้าถึงความสะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าถึงสอนบอกว่า “บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” แต่คนไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ มันก็ไม่มีปัญญาหรอก แต่มีศีล มีสมาธิ แค่นั้นไม่พอ ต้องรู้วิธีที่จะพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้น ขั้นแรกเลยพวกเราต้องตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ จำเป็นมากนะ ทุกวันนี้คนละเลยศีลไปหมดแล้ว เห็นว่ามีแต่คนโง่ๆหรอกไปถือศีล เค้าไม่รู้หรอกว่าการถือศีลนั้นมีคุณค่าขนาดไหน คนที่มีศีลในจิตในใจของเรานะ จิตใจมันสงบง่าย มีความสุข มีความสงบ คนไม่มีศีล จิตใจเร่าร้อน หาความสุขความสงบไม่ได้ งั้นเบื้องต้นพวกเราอย่างน้อยเราต้องรักษาศีล ๕ ไว้ให้ได้ พอเรามีศีล ๕ แล้วเนี่ย ใจเราสบาย ใจเราสงบง่าย อย่างคนคิดจะฆ่าคนอื่น คิดจะทำร้ายคนอื่น จิตใจไม่สงบหรอก คนไม่คิดจะทำร้ายใครนะ คนมีความเมตตากรุณาในใจ ไม่คิดทำร้ายใคร จิตใจก็มีความสุข มีความสงบอยู่ในตัวเอง คนอยากขโมยเค้า จิตใจไม่สงบ คนอยากประพฤติผิดในกาม จิตใจไม่สงบ วุ่นวาย เราไม่ลักใครขโมยใคร รู้จักเสียสละ รู้จักให้ด้วยซ้ำไป ยิ่งมีความสุขใหญ่ เราซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของเรา ก็สบาย มีความสุข มีความสงบ บ้านเราก็ร่มเย็น ลูกหลานเราก็มีความสุข ถ้าผิดศีลผิดธรรมนะ บ้านก็เร่าร้อน ลูกหลานไม่มีความสุข งั้นการที่เรามีศีลนะ จะทำให้เรามีความสุขมีความสงบ คนไม่โกหก คนพูดความจริง จิตใจสบาย คนโกหก ไม่สบาย ต้องคอยจำ ว่าพูดอะไรไปแล้ว เดี๋ยวพูดไม่เหมือนเดิม เค้าจับได้ งั้นเบื้องต้นพวกเราพยายามรักษาศีลเอาไว้ ศีลข้อ ๕ เราก็อย่าไปกินเหล้าเมายา พยายามมีสติให้มากๆ กินเหล้าเมายามากๆ เสียสติ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่สงบ ทีนี้พอพวกเรามีศีลแล้วก็มาพัฒนาต่อไป มาพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิขึ้นมา รักษาศีลอย่างเดียว ไม่ทำสมาธิ จิตใจก็จะพัฒนาไม่พอ การที่เรามีศีลนั้นมันทำให้กาย ให้วาจาของเราเรียบร้อย การฝึกสมาธินั้น ทำให้จิตใจของเราเรียบร้อย มีความสุข มีความสงบ ศีล ช่วยรักษากาย รักษาวาจา ไม่ให้เกะกะระรานใคร สมาธิ ถ้าเราฝึกไป จิตใจเราก็สงบ สบาย เป็นการจัดกระเบียบจิตใจ ศีล เป็นเรื่องการจัดระเบียบกาย จัดระเบียบวาจา ให้เรียบร้อย ทีนี้สมาธินั้นมี ๒ ชนิด พวกเราต้องเรียนเหมือนกัน ต้องฟังไว้ให้ดี ส่วนใหญ่ที่เข้าวัดกันบางทีก็ไปนั่งสมาธิ แยกไม่ออกว่าสมาธิมันมี ๒ แบบ สมาธิแบบแรก ทำไปเพื่อให้จิตใจสงบ สบายอยู่อย่างเดียว นิ่งๆ สมาธิชนิดสงบนี่เอาไว้พักผ่อน เวลาจิตใจของเราวุ่นวายเร่าร้อนเหน็ดเหนื่อย ทำสมาธิชนิดสงบ จิตใจได้พักผ่อนสบาย มีความสุข หลวงพ่อก็หัดสมาธิชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ ฝึกรู้ลมหายใจ หายใจไปจิตสงบอยู่กับลมหายใจ จิตไม่ฟุ้งซ่านไปไหน มีความสุข มีความสงบ แต่มันไม่เกิดปัญญา สมาธิอีกชนิดหนึ่ง เป็นสมาธิที่จะทำให้เกิดปัญญา มันไม่ใช่แค่สงบ แต่มันเป็นความตั้งมั่นของจิต เป็นภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจของคนในโลกนะ หรือของสัตว์ทั้งหลายเนี่ย มันลืมตัวเองตลอดเวลา มันหนีไปคิดตลอด คิดไปอดีต คิดไปอนาคต ลืมปัจจุบัน ลืมตัวเอง เราต้องมาฝึกจิตใจให้มันอยู่กับตัวเอง อย่าลืมเนื้อลืมตัวนะ คอยรู้สึกตัว พูดง่ายๆ ก็คือเป็นสมาธิที่ฝึกแล้วก็รู้สึกตัว ใจไม่เคลิบเคลิ้ม ไม่เหมือนสมาธิชนิดสงบนะ นั่งพุทโธๆ นั่งหายใจอะไรอย่างนี้ สงบเฉยๆ หรือดูท้องพองยุบดูไปเรื่อยๆจิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับท้อง ก็ได้ความสงบ ก็สงบเฉยอยู่อย่างนั้น มันต้องมาพัฒนาขึ้นมาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต ปกติจิตของเราจะหนีตลอดเวลา หนีไปดู หนีไปฟัง หนีไปคิด หนีไปคิดนี่มีมากที่สุด คือจิตมันจะหนีไปคิดทั้งวัน คิดไปอดีต คิดไปอนาคต ตื่นมาก็เริ่มคิดไปแล้ว เราไม่สามารถรู้สึกตัวอยู่ในปัจจุบันได้ งั้นสมาธิชนิดที่สองนี่ฝึกขึ้นมาแล้วเราจะรู้สึกตัวอยู่ในปัจจุบัน จิตของเราจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ตรงที่จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่ เป็นจุดที่จะแตกหักเลย ว่าเราจะทำวิปัสสนากรรมฐาน เราจะเดินปัญญา ได้หรือไม่ได้ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่สามารถจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้จริงๆ เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้น ทำไปเป็นการเจริญปัญญา ปัญญานั้นมีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธินั้นต้องเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น ในทางตำรา ทางปริยัติเนี่ย คำว่าสมาธิก็แปลว่าความตั้งมั่น แต่พวกเราชอบมักง่าย ไปแปลสมาธิว่าความสงบ คนละตัวกันนะ เราต้องมาฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น จิตใจที่ตั้งมั่นคือจิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ตอนหลวงพ่อเป็นโยมนะ หลวงพ่อพยายามฝึก ตอนเด็กๆนะฝึกได้แต่สมาธิสงบ ต่อมาโตขึ้นมานะเจอครูบาอาจารย์ เข้าวัดไปท่านก็พูดแต่คำว่ามีจิตผู้รู้ หลวงปู่ดูลย์พูดบอกว่า ไม่ให้เอาจิตออกนอก ไม่ให้ส่งจิตออกนอก จิตที่ส่งออกนอกก็คือจิตที่มันหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด มันลืมตัวเอง จิตที่ไม่ออกนอกก็คือจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ งั้นหลวงพ่อก็มาฝึก พยายามให้จิตรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้ลืมเนื้อลืมตัว จนกระทั่งบางทีนะครูบาอาจารย์บางองค์ อย่างหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง เวลาไปกราบท่าน ท่านไม่รู้จักชื่อหลวงพ่อ ไม่เคยบอกท่าน ท่านเรียกหลวงพ่อว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ให้ฉายาว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ก็คือเรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ เมื่อเราฝึก มันต้องมีวิธีฝึก วิธีฝึกมันจะต่างกับการที่จะฝึกให้จิตสงบ การจะให้จิตสงบนั้น ให้เราน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตไม่ไปฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อันอื่น จิตก็สงบ เช่นบางคนมีความสุขที่จะท่องพุทโธ พุทโธๆมีความสุขนะ พอจิตใจมีความสุข จิตจะไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็สงบอยู่กับพุทโธ คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข รู้ลมหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวนะ หายใจสบาย จิตใจสงบอยู่กับลมหายใจ ไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็ได้ความสงบขึ้นมา คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข ก็ดูท้องพองยุบไป จิตใจมันก็สงบไม่หนีไปที่อื่น การที่จะฝึกให้จิตสงบนั้น ฝึกโดยการรู้จักเลือกอารมณ์ เราต้องดูว่าตัวเราเองนั้นอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขเราอยู่กับพุทโธไป จิตก็สงบไม่หนีไปที่อื่น เพราะจิตมันพอใจกับพุทโธซะแล้ว มันก็ไม่ไปหาอารมณ์อันอื่น คนไหนหายใจเข้าหายใจออก รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับลมหายใจไป จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น เนี่ยเคล็ดลับของการทำความสงบนะ การทำสมถะ เลือกอารมณ์ ต้องดูของตัวเราเอง เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ จิตใจไม่หนีไปหาอารมณ์อย่างอื่น อันนี้แหละ เราได้สมถะกรรมฐาน ทีนี้ฝึกอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นนั้นมันตรงข้ามกับจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่นมันคือจิตที่ไหลไป มันหลงไป มันไหลไป ตลอดเวลา หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เราก็หากรรมฐานมาสักอย่างหนึ่งนะ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่สักอย่างหนึ่งก่อน คนไหนเคยพุทโธแล้วสบายใจนะ ก็พุทโธต่อไป แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ เปลี่ยนนิดเดียวจากพุทโธเพื่อให้จิตสงบนะ มาเป็นพุทโธแล้วรู้ทันจิต พุทโธๆจิดหนีไปคิดรู้ทัน พุทโธๆจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน พุทโธๆแล้วจิตไปเพ่งนิ่งอยู่เฉยๆก็รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปหลงไปคิด เคลื่อนไปเพ่ง ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ คนไหนเคยรู้ลมหายใจแล้วมีความสุขนะ เราก็สงบอยู่กับลมหายใจ เราก็รู้ลมหายใจต่อไป แต่ไม่ใช่รู้เพื่อให้จิตไปอยู่กับลมหายใจ ถ้ารู้แล้วให้จิตไปอยู่กับลมหายใจเราได้สมถะกรรมฐาน ได้ความสงบเฉยๆ เรามาปรับนิดหน่อย เราหายใจไปจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตไปเพ่งใส่ลมหายใจเรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเราก็รู้ หายใจไปจิตหนีไปเรารู้ จิตหนีไปคิดเรารู้ หรือหายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ จิตเคลื่อนไปแล้วเรารู้ทัน เคลื่อนไปคิดเราก็รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจเราก็รู้ทัน ถ้าเรารู้ทันอย่างนี้ได้ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครถนัดดูท้องพองยุบ เคยดูท้องพองยุบ แล้วจิตไปสงบอยู่กับท้องก็เปลี่ยนนิดเดียว ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน คนไหนถนัดเดินจงกรมนะ ก็เดินจงกรมไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับเท้าก็รู้ทัน คือรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนั้นแหละ จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่ใช่สงบเฉยๆ สงบเฉยๆเนี่ยมันจะไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์อันเดียว อันนี้มันจะสงบด้วยมันจะตั้งมั่นด้วย จิตมันจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงนี้พวกเราต้องฝึกให้ได้นะ ถ้าพวกเราไม่สามารถจะฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ เรายังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้จริงหรอก ถึงจะไปนั่งคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะอะไรอย่างนี้ มันยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานหรอก วิปัสสนากรรมฐานนะเราต้องมีสติรู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ต่อเมื่อเรามีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่เป็นกลาง ถ้าจิตเรายังหลงอยู่ในโลกของความคิด เราจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ มันจะเพ่งกายเพ่งใจเฉยๆ แต่จะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์หรอก งั้นเราต้องมาฝึกนะให้ใจตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน ตัวนี้เป็นจุดที่แตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ได้ ถ้าจิตใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ชาตินี้เรายังไม่ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน แต่ถ้าจิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตเราอยู่กับตัวเราเองทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่เราจะเห็นความจริงของกายของใจ ก็เป็นไปได้

การหาจุดเสียในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ร้านแก้ไขซ่อมสร้าง แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ปิ่นประภาคม 3 ซอยติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com ,mrsompongt@hotmail.comhttps://www.youtube.com/watch?v=OY1u0LSMZ9Eมอเตอร์ไฟฟ้ายุคพัฒนาแล้วเครื่องจักรกลไฟฟ้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/khay-kaen-fexr-rit-chnid-toriod-chi-srang-converter-inverter-power-supply-emergency-power-supply-induction-heating-welding-machine-mi-hlak-hlay-chnid-hlay-baeb-hlay-khnad-hlay-khwamthi-hlay-rakha-khrab-sompong-industrial-electronics-02-951-1356-081-803-6553-bxk-kalang-watt-thi-txngkar-laea-ngb-praman-ma-k-phx-khrab-xyang-xun-chen-wngcr-xupkrn-thi-phm-mi-xyu-phx-smkhwr-khrab-email-ca-sadwk-ni-kar-thangan-khxng-phm-khrab-thorsaphth-sadwk-chwng-klang-khun-mi-kein-si-thum-khrab-tidtx-sxbtham-di-thuk-wan-khrab-khxbkhun-mak-khrab https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-sxm-srang-kaekhi-tu-cheuxm-inverter-sompong-industrial-electronics-029511356 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/3-phase-induction-motor-control-device https://sites.google.com/site/sompongindustrial/xupkrn-xilekthrxniks-kalang-sung-hrux-power-electronics https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/rab-phlit-khay-cahnay-xupkrn-khwbkhum-khwamrew-mxtexr https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-kaekhi-sxm-srang-phaeng-wngcr-xaer-tu-yen-kheruxng-sak-pha-run-xin-wexr-texr-khux-thi-69-6-sxy-pinpraphakhm-3-tiwannth-18-xaphex-meuxngnnthburi-canghwad-nnthburi-ra-has-pirsniy-11000-thorsaphth-029511356

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

ใต้ร่มโพธิญาณการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวงตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอร...การให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวงตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงท­ี่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่­ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกป­รุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั­้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็­ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้­สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดั­กไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงท­ี่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่­ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกป­รุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั­้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็­ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้­สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดั­กไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

เป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มี...ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

การเกิดอริยมรรคมันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง

เครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสแบบโปรแกรมได้ครับรักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐกิจดี เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

มอเตอร์สามเฟส แบบ ธรรมดารักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐกิจดี เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐกิ...รักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐกิจดี เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจรักและสามัคคีกันไว้ ต้านภัยร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา..

ความน่ากลัวของสังสารวัฏถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

จิตรวมเข้าถึงจิตในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบร­ิวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่­ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัส­สามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่อ­งแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้­น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้...การสร้างเครื่องปรับมอเตอร์สามเฟสทำเองได้ใช้งานได้จริง ด้วย อุปกรณ์ ใหม่ ปรับรอบให้ ช้าลงหรือเร็วกว่า เดิม..ได้ ราคา ไม่เกิน 2000 บาท sompongindustrial@gmail.com

มอเตอร์อย่างง่ายการสร้างเครื่องปรับมอเตอร์สามเฟสทำเองได้ใช้งานได้จริง ด้วย อุปกรณ์ ใหม่ ปรับรอบให้ ช้าลงหรือเร็วกว่า เดิม..ได้ ราคา ไม่เกิน 2000 บาท sompongindustrial@gmail.com

มอเตอร์สามเฟส แบบ ธรรมดาการสร้างเครื่องปรับมอเตอร์สามเฟสทำเองได้ใช้งานได้จริง ด้วย อุปกรณ์ ใหม่ ปรับรอบให้ ช้าลงหรือเร็วกว่า เดิม..ได้ ราคา ไม่เกิน 2000 บาท sompongindustrial@gmail.com

ทำไฟฟ้าให้พอใช้ทำไฟฟ้าให้พอใช้

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”BUDDAN SARANAN - ISHAQU BAIG WITH ARROW STAR IN KALUKODAYAWA 2014

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอน สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา

ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนักบริการซ่อม แผงวงจร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ใน ระบบ ควบคุม มอเตอร์ ตู้เชื่อมอินเวอรน์เตอร์ .ส่ง สมพงค์ ทุ่งมีผล 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 .ติดต่อที่ 02-951-1356 มือถือ 081-803-6553 LINE IDคือ pornpimon1411 ครับ...email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.com

พุทธเวไนยตอนสายวันนั้นเอง อุปกะก็มาถึงบริเวณเชตวนารามอันร่มรื่น เห็นภิกษุทั้งหลายกำลังสาธยายธรรมบ้าง ทำกิจอย่างอื่น เป็นต้นว่านั่งเป็นกลุ่มๆ สนทนาธรรมบ้าง เขาเข้าไปหาภิกษุกลุ่มหนึ่ง นมัสการแล้วกล่าวขึ้นว่า "พระคุณเจ้าผู้เจริญ! ข้าพเจ้ามีสหายผู้หนึ่งนามว่า อนันตชิน ใบหน้าเอิบอิ่มมีแววแห่งความกรุณาฉายออกจากดวงตาทั้งสอง ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างท่านนี้ ท่านพอจะรู้จักผู้ซึ่งข้าพเจ้าเอ่ยนามถึงนี้อยู่บ้างหรือ? ภิกษุกลุ่มนั้นมองดูตากันแล้วยิ้มๆ ด้วยความอัศจรรย์ใจในการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ของพระศาสดา ก็พระองค์ตรัสสั่งไว้เมื่อเช้านี้เองว่า ถ้ามีคนมาถามหาพระอนันตชินให้พาไปเฝ้าพระองค์ ดังนั้นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า "อุบาสก! พระอนันตชินเป็นศาสดาแห่งเราทั้งหลาย พวกเราเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนเล่าพวกเราจะไม่รู้จักพระผู้มีนามเช่นนั้น มาเถิดตามข้าพเจ้ามา จะนำไปเฝ้าพระอนันตชินพระองค์นั้น" ว่าแล้วได้ลุกเดินนำอุปกะไป ถึงพระคันธกุฎี พระพุทธองค์ทรงรอคอยอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระรัศมีซ่านออกจากพระกายทั้ง ๖ สี ดุจเดียวกับวันที่พระองค์ได้พบอุปกะครั้งแรกเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ อุปกะก้มลงกราบพระมงคลบาทแห่งพระศาสดา มีน้ำตานองหน้ากราบทูลว่า "ข้าแต่พระอนันตชิน! ท่านจำข้าพเจ้าได้อยู่หรือ ข้าพเจ้าเคยพบท่านครั้งหนึ่งแขวงเมืองพาราณสีเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว" "ดูก่อนอุปกะ" พระศาสดาตรัสตอบ "เรารอคอยการมาของท่านอยู่ การมาของท่านครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ท่าน" พอได้ยินคำว่า "อุปกะ" เท่านั้น ปีติปราโมชก็แผ่ไปทั่วสรรพางค์ของอุปกะ ชื่อใดเล่าในโลกนี้จะไพเราะอ่อนหวานยิ่งกว่าชื่อของตนเอง ทุกคนจะดีใจเป็นที่ยิ่งเมื่อทราบว่าผู้อื่นจำชื่อของตนได้อย่างแม่นยำ หลังจากพรากกันไปเป็นเวลานาน "อุปกะ" พระองค์ตรัสต่อไป "หลังจาก จากกันคราวนั้นแล้วท่านไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร พอทนได้อยู่หรือ เมื่อก่อนนี้ดูท่านทรงเพศเป็นนักบวช บัดนี้ทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไป?" อุปกะได้เล่าความหลังทั้งมวลให้พระศาสดาทราบโดยตลอด แล้วทูลเพิ่มเติมว่า "พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เดินหลงทางอยู่เป็นเวลานาน บัดนี้มาพบพระองค์เป็นครั้งที่สอง คงจะดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้อง พระองค์ผู้อนุเคราะห์โลก โปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด" พูดเท่านั้นแล้วเขาก็ซบศีรษะลงแทบพระบาทมูลแห่งพระศาสดา พระจอมมุนีศรีศากยบุตร ประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า "ดูก่อนอุปกะ การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง อุปกะเอย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล รึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บ่วงบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี ดูก่อนอุปกะ ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีมิได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจครอบคลุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยและเพศใด "ดูก่อนอุปกะ เราจะขอสาธกให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง" นานมาแล้ว มีมานพหนุ่มน้อยลามารดาบิดาไปเรียนศิลปวิทยา ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา เมื่อเรียนจบแล้วจึงลาอาจารย์กลับบ้าน มารดาต้อนรับเขาด้วยความยินดียิ่ง เมื่อสนทนากันไปมารดาถามว่า ลูกได้เรียนอสาตมนต์แล้วหรือ ลูกชายตอบว่า ยังไม่ได้เรียน มารดาจึงขอร้องให้ไปเรียนอสาตมนต์เสียก่อน

พุทธเวไนยตอนสายวันนั้นเอง อุปกะก็มาถึงบริเวณเชตวนารามอันร่มรื่น เห็นภิกษุทั้งหลายกำลังสาธยายธรรมบ้าง ทำกิจอย่างอื่น เป็นต้นว่านั่งเป็นกลุ่มๆ สนทนาธรรมบ้าง เขาเข้าไปหาภิกษุกลุ่มหนึ่ง นมัสการแล้วกล่าวขึ้นว่า "พระคุณเจ้าผู้เจริญ! ข้าพเจ้ามีสหายผู้หนึ่งนามว่า อนันตชิน ใบหน้าเอิบอิ่มมีแววแห่งความกรุณาฉายออกจากดวงตาทั้งสอง ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างท่านนี้ ท่านพอจะรู้จักผู้ซึ่งข้าพเจ้าเอ่ยนามถึงนี้อยู่บ้างหรือ? ภิกษุกลุ่มนั้นมองดูตากันแล้วยิ้มๆ ด้วยความอัศจรรย์ใจในการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ของพระศาสดา ก็พระองค์ตรัสสั่งไว้เมื่อเช้านี้เองว่า ถ้ามีคนมาถามหาพระอนันตชินให้พาไปเฝ้าพระองค์ ดังนั้นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า "อุบาสก! พระอนันตชินเป็นศาสดาแห่งเราทั้งหลาย พวกเราเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนเล่าพวกเราจะไม่รู้จักพระผู้มีนามเช่นนั้น มาเถิดตามข้าพเจ้ามา จะนำไปเฝ้าพระอนันตชินพระองค์นั้น" ว่าแล้วได้ลุกเดินนำอุปกะไป ถึงพระคันธกุฎี พระพุทธองค์ทรงรอคอยอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระรัศมีซ่านออกจากพระกายทั้ง ๖ สี ดุจเดียวกับวันที่พระองค์ได้พบอุปกะครั้งแรกเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ อุปกะก้มลงกราบพระมงคลบาทแห่งพระศาสดา มีน้ำตานองหน้ากราบทูลว่า "ข้าแต่พระอนันตชิน! ท่านจำข้าพเจ้าได้อยู่หรือ ข้าพเจ้าเคยพบท่านครั้งหนึ่งแขวงเมืองพาราณสีเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว" "ดูก่อนอุปกะ" พระศาสดาตรัสตอบ "เรารอคอยการมาของท่านอยู่ การมาของท่านครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ท่าน" พอได้ยินคำว่า "อุปกะ" เท่านั้น ปีติปราโมชก็แผ่ไปทั่วสรรพางค์ของอุปกะ ชื่อใดเล่าในโลกนี้จะไพเราะอ่อนหวานยิ่งกว่าชื่อของตนเอง ทุกคนจะดีใจเป็นที่ยิ่งเมื่อทราบว่าผู้อื่นจำชื่อของตนได้อย่างแม่นยำ หลังจากพรากกันไปเป็นเวลานาน "อุปกะ" พระองค์ตรัสต่อไป "หลังจาก จากกันคราวนั้นแล้วท่านไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร พอทนได้อยู่หรือ เมื่อก่อนนี้ดูท่านทรงเพศเป็นนักบวช บัดนี้ทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไป?" อุปกะได้เล่าความหลังทั้งมวลให้พระศาสดาทราบโดยตลอด แล้วทูลเพิ่มเติมว่า "พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เดินหลงทางอยู่เป็นเวลานาน บัดนี้มาพบพระองค์เป็นครั้งที่สอง คงจะดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้อง พระองค์ผู้อนุเคราะห์โลก โปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด" พูดเท่านั้นแล้วเขาก็ซบศีรษะลงแทบพระบาทมูลแห่งพระศาสดา พระจอมมุนีศรีศากยบุตร ประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า "ดูก่อนอุปกะ การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง อุปกะเอย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล รึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บ่วงบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี ดูก่อนอุปกะ ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีมิได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจครอบคลุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยและเพศใด "ดูก่อนอุปกะ เราจะขอสาธกให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง" นานมาแล้ว มีมานพหนุ่มน้อยลามารดาบิดาไปเรียนศิลปวิทยา ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา เมื่อเรียนจบแล้วจึงลาอาจารย์กลับบ้าน มารดาต้อนรับเขาด้วยความยินดียิ่ง เมื่อสนทนากันไปมารดาถามว่า ลูกได้เรียนอสาตมนต์แล้วหรือ ลูกชายตอบว่า ยังไม่ได้เรียน มารดาจึงขอร้องให้ไปเรียนอสาตมนต์เสียก่อน

พุทธเวไนยปัจจุกาลวันนั้น พระอนันตชินสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแผ่ข่ายพระ­ญาณออกครอบจักรวาล มองดูอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ที่พระองค์พอจ­ะโปรดได้ อุปกะเข้าไปในข่ายพระญาณแห่งพระองค์ ทรงทราบโดยตลอดว่า เช้าวันนี้อุปกะจะมาถึงเชตวัน จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎีรับสั่งให้ประชุ­มสงฆ์ในเชตวนารามทั้งหมด แล้วตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย วันนี้ถ้ามีอาคันตุกะมาถามหาบุคคลผู้มีนาม­ว่าอนันตชินก็ขอให้พาไปหาที่คันธกุฎี ตรัสเท่านี้แล้วทรงให้โอวาทภิกษุสงฆ์เป็นก­รณีพิเศษเกี่ยวกับเรื่องความเคารพในปฏิสัน­ถาร มีอาทิว่า "ภิกษุทั้งหลาย! ผู้เคารพหนักแน่นในพระศาสดา ในพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์ มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเครื่องเผาบาป และเคารพในไตรสิกขา และเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับอาคันตุกะ ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน"

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่­งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­ว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวน­าได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

เนกขัมมะสุขกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์

กายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะ...ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญา เมื่อมันเป็นกลางด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิ เพราะงั้นจะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์ งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami songBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami songBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami songBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

คาถาธรรมบทบาลีฮินดีเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

เรามีสติเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความ­จริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรน เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตการปฏิบัติธรรมเจริญสติ เพื่อให้รู้ทันจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์ เทปนี้สําคัญมากสําหรับการปฏิบัติเพื่อดูจิตครับ และบอกถึงการแก้ไขในการติดเพ่งด้วยครับ... เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

เคล็ดลับอยู่ที่จิตไหวให้รู้ทันการปฏิบัติธรรมเจริญสติ เพื่อให้รู้ทันจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์ เทปนี้สําคัญมากสําหรับการปฏิบัติเพื่อดูจิตครับ และบอกถึงการแก้ไขในการติดเพ่งด้วยครับ... เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์การภาวนามันไม่ใช่การทำอะไรที่ยุ่งยากวุ่นวายผิดปกติผิดธรรมดามากนะ การปฏิบัติธรรมจริงๆ การภาวนาจริงๆ คือการเรียนรู้ตัวเราเองจนเราแจ่มแจ้ง เบื้องต้นมันจะแจ่มแจ้งว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อตัวเราไม่มีนะมันไม่มีที่รองรับความทุกข์ ความทุกข์มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ความทุกข์มี แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย

จิตคือตัวทุกข์การภาวนามันไม่ใช่การทำอะไรที่ยุ่งยากวุ่นวายผิดปกติผิดธรรมดามากนะ การปฏิบัติธรรมจริงๆ การภาวนาจริงๆ คือการเรียนรู้ตัวเราเองจนเราแจ่มแจ้ง เบื้องต้นมันจะแจ่มแจ้งว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อตัวเราไม่มีนะมันไม่มีที่รองรับความทุกข์ ความทุกข์มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ความทุกข์มี แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย

บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค

ทางพ้นทุกข์โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

มรรคผล นิพพานถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วจิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน? ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญูรู้เห็นธรรมทั้งปวงชนะหมู่มารมีพระกรุณาใหญ่จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน?

ตายเเล้วไปไหนจิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไป­ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหู­จมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมาร­ู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อย­ู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญ­ญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน?

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

กลับบ้านเราพระพุทธเจ้ารออยู่คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน

เจดีย์พุทธสถานอินเดียพม่าไทยลาวกัมพูชาเวียดนาม1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน” วันทามิ วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขังเจติยัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปชาอาจาริย คุนัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ มาตาปิตุนัง สัพพะเมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปันนัง เมโทสัง ขะมะตะเม ภันเต วันทามิ สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต สุมะนะกุเต โยนะ กะปุเร นัมมะทายะนะทิยา ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทุระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส สีสัง เม ปัจจุมัง กัตตะวา ทีปัญจะ นัยยะนา ทะวะรัง วะจะสา ธูปะกาเรนะ มะนะสา จตุคันธะกา พุทธะคาระวะตา ธัมมะคาระวะตา สังฆะคาระวะตา สิกขาคาระวะตา สะมาธิคาระวะตา อัปปะมาทะคาระวะตา ปฏิสันฐาคาระวะตา อิเจวะ มัจจันตะนะ มัตตะเนยยัง นะมัตตะมาโน ระตะนัตตะ ยัง ยังปุญญาภิสัญทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะ อันตะราตโย อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปติเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะ ธัมมาสังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโย

ผู้ไม่มีร่องรอย1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ผู้ไม่มีร่องรอย1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ทางของพระพุทธเจ้า1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ทางของพระพุทธเจ้า1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงอันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง..

การเปลี่ยน คาปาซิเตอร์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้าการเปลี่ยน คาปาซิเตอร์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เสียและเสื่อมสภาพ ตามเวลาที่ใช้งาน จะมีอยู่ สองตัวสีดำ ทำหน้าที่ บายพาสความถี่ ค่า 4-5 uf 400 volts และ ทำหน้าที่เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ค่า 0.27 uf-0.33 uf 1,200 volts ทำให้ Igbt ลัดวงจร ฟิวส์ จะขาด ให้ถอดออกมาวัดทั้ง สองตัว และเปลี่ยน Igbt 15 -25 Amps q1,200 Volts วัดทรานซิสเตอร์ Igbt Gate Drive และ R gate Drive บาง ครั้ง จะเสีย เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง จะผ่าน ขา Gate มาที่ ภาค Gate Drive

ซ่อมแผงวงจรอุตสาหกรรมออกแบบซ่อมสร้างระบบควบคุมเครื่องจักร sompong tungmepol ซ่อมแผงควบคุมอุตสาหกรรม แผงวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ 02-951-1356 081-803-6553 แก้ไขซ่อมสร้างแผงวงจรอุตสาหกรรม 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ระหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ 029511356 https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong...

มอเตอร์ไฟฟ้าสู้ภัยแล้งTM51 เป็นตัวเพิ่มแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง จาก แบตเตอรีรถยนต์ สองลูกให้เป็น ไฟฟ้ากระแสตรง 370 โวลต์ สามารถมาไปใช้กับมอเตอร์ แบบแปลงถ่าน เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ มีวงจร จ่ายไฟฟ้าแบบ สวิทชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย ในคลิปนี้ ใช้กับ TM52A เพื่อขับมอเตอร์สามเฟส ตอนนี้ TM52A สินค้าที่ผมไม่มีแล้ว ครับ ให้ใช้ PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท แทนครับ....ราคา TM51 พร้อมขดลวดชุดละ 500 บาท ห้าชุดขึ้นไป เหลือ ชุดละ 400 บาท ครับ..

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัวเมื่อเห็นกายเห็นใจ ตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่­งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­ว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวน­าได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผล จะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์เมื่อเห็นกายเห็นใจ ตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่­งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­ว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวน­าได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผล จะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน

สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาปัญญา ที่รู้ความจริงที่คล้อยตามสัจจะเราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความ­จริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารม­­­ณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่­­­ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็­­­นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­­็น เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี­่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโ­นมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหล­า­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป

ใบไม้ในกำมือถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

ใบไม้ในกำมือถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

ใบไม้ในกำมือถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

ใต้ร่มโพธิญาณตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง

คำตอบทั้งหมดอยู่ที่จิตถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง..คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ... มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ... ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง.

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ตอนนี้ก็จับสักกายทิฏฐิเข้าไปตัดมันเลย ตัดฉันทะกับราคะคือความพอใจในความเป็นเทวดาหรือพรหม หรือความรักในความเป็นเทวดาหรือพรหม ความนิยมใดๆ ในโลกโยนทิ้งไปหมดเลย โลกทั้งโลกโยนทิ้งไป ร่างกายของเรามันเลว มันจะไปชนกับใครก็ได้ เห็นคนสกปรก เราก็สกปรก เห็นคนจน เราก็จน มันจะไปรวยอะไร มันไม่จนจริงแล้วมันจะตายทำไม แล้วมันจนจากความเป็นอิสรภาพ จากกิเลสมันบังคับให้แก้ก็ต้องแก่ มันบังคับให้ป่วยก็ต้องป่วย บังคับให้ตายก็ต้องตาย เราไม่มีสมบัติใดๆ ที่จะไปต่อต้านกิเลส ในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็จนเท่ากันแหละ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ เพราะอำนาจว่าเรายังหลงในรูปฌานและอรูปฌาน เรารู้จักมานะทิฏฐิ พอตัดตัวนี้ได้เสียแล้ว ความฟุ้งซ่านมันก็ไม่มี อารมณ์พอมันก็เกิด ความสบายใจมันก็เกิด เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ความเป็นมนษย์ความเป็นเทวดา ความเป็นพรหมไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราเอาจิตใจของเราจับอารมณ์เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว มีแต่ความสุข เห็นใครเขารวยก็ดี เห็นใครเขาสวยก็ดี เห็นใครเขาโมโหโทโส รบราฆ่าฟันกันก็ดี เห็นใครเขาถือโน่นถือนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา เรานอนสบายยิ้มแฉ่ง นายถืออย่างไรก็ถือไปฉันสบายใจแล้ว นี่ก็ฟุ้ง โลกนี้เธออยู่กันเถอะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" เวลานี้เรามีกำลังใจถึงแล้วนี่ ถึงแล้วเราวางโลกเสียได้แล้ว อะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มีแล้ว มีแต่ความสดชื่นมีแต่ความหรรษา มีแต่ความสุขกายสุขใจ กายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ใจเป็นสุข ถือว่าเป็นกฎธรรมดา อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อจิตใจของทุกท่านวางเสียได้หมดอย่างนี้ว่าช่างมันๆ หรือ ธรรมดาๆ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้จบกิจของพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน สวัสดี.

สติปัฎฐาน อริยสัจ พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ตอนนี้ก็จับสักกายทิฏฐิเข้าไปตัดมันเลย ตัดฉันทะกับราคะคือความพอใจในความเป็นเทวดาหรือพรหม หรือความรักในความเป็นเทวดาหรือพรหม ความนิยมใดๆ ในโลกโยนทิ้งไปหมดเลย โลกทั้งโลกโยนทิ้งไป ร่างกายของเรามันเลว มันจะไปชนกับใครก็ได้ เห็นคนสกปรก เราก็สกปรก เห็นคนจน เราก็จน มันจะไปรวยอะไร มันไม่จนจริงแล้วมันจะตายทำไม แล้วมันจนจากความเป็นอิสรภาพ จากกิเลสมันบังคับให้แก้ก็ต้องแก่ มันบังคับให้ป่วยก็ต้องป่วย บังคับให้ตายก็ต้องตาย เราไม่มีสมบัติใดๆ ที่จะไปต่อต้านกิเลส ในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็จนเท่ากันแหละ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ เพราะอำนาจว่าเรายังหลงในรูปฌานและอรูปฌาน เรารู้จักมานะทิฏฐิ พอตัดตัวนี้ได้เสียแล้ว ความฟุ้งซ่านมันก็ไม่มี อารมณ์พอมันก็เกิด ความสบายใจมันก็เกิด เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ความเป็นมนษย์ความเป็นเทวดา ความเป็นพรหมไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราเอาจิตใจของเราจับอารมณ์เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว มีแต่ความสุข เห็นใครเขารวยก็ดี เห็นใครเขาสวยก็ดี เห็นใครเขาโมโหโทโส รบราฆ่าฟันกันก็ดี เห็นใครเขาถือโน่นถือนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา เรานอนสบายยิ้มแฉ่ง นายถืออย่างไรก็ถือไปฉันสบายใจแล้ว นี่ก็ฟุ้ง โลกนี้เธออยู่กันเถอะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" เวลานี้เรามีกำลังใจถึงแล้วนี่ ถึงแล้วเราวางโลกเสียได้แล้ว อะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มีแล้ว มีแต่ความสดชื่นมีแต่ความหรรษา มีแต่ความสุขกายสุขใจ กายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ใจเป็นสุข ถือว่าเป็นกฎธรรมดา อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อจิตใจของทุกท่านวางเสียได้หมดอย่างนี้ว่าช่างมันๆ หรือ ธรรมดาๆ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้จบกิจของพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน สวัสดี.

ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงการถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้นะ บอกว่า อดีตก็ล่วงไปแล้วนะ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ให้มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนอยู่กับปัจจุบัน ท่านบอกว่าอย่าตามอาลัยอาวรณ์ไปถึงอดีตนะ อย่ากังวลไปถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าอดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันน่ะมันมีจริง ให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มีสติอยู่กับปัจจุบันไม่หลงเพลินไป ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกนะ เรียกว่าเราไม่ประมาท เรามีสติอยู่ มีสติเป็นไปในกาย มีสติเป็นไปในจิตใจ ตามรู้อยู่ในกาย ตามรู้อยู่ในใจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คนที่ทำได้อย่างนี้นะ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวหรือคืนเดียวเนี่ย ก็ควรชมแล้ว มีชีวิตร้อยปี แต่หลงร้อยปี ไม่ควรชมเลยนะ คนส่วนใหญ่มีชีวิตเท่าไหร่ กี่ปี มันก็หลงอยู่เท่านั้นปีแหละนะ เพราะฉะนั้นพวกเรามาหัดให้มามีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจนะ ถ้ามีชีวิตอยู่ได้วันเดียว พระพุทธเจ้าก็ชมแล้ว ให้พระพุทธเจ้าชมดีกว่าให้คนอื่นชมนะ คนอื่นชมบางทีมันแกล้งชม พระพุทธเจ้าชมเนี่ย ของดีของวิเศษแน่นอนเลย พวกเราก็มีโอกาสได้รับคำชมของพระพุทธเจ้าทุกๆคนนะ เพราะเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเรื่อยไป แค่วันเดียวท่านก็ชมแล้ว เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสนะที่จะได้รับคำชมของพระพุทธเจ้า มีโอกาสที่จะได้ชื่อว่าเป็นลูกแท้ๆของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกแบบหลอกๆมาเกาะกินพระพุทธเจ้าอยู่นะ ลูกเกาะกินพระพุทธเจ้าเยอะนะ หาผลประโยชน์จากพระศาสนาอะไรพวกนี้ มีเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปรารภความเพียรนะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานกลเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานกล ใช้กับมอเตอร์แบบอินดัตชั่นสามเฟส สามารถปรับความเร็วได้รายละเอียดดูจากคลิปอื่นประกอบด้วยก็ดีครับ เพาเวอร์โมดูลและบอร์ดควบคุมมอเตอร์สามเฟสที่มีจำหน่ายที่ผมครับ มีดังนี้ครับ...บอร์ด MC3PHAC N87C196MC S87C196MC เพาเวอร์โมดูล PS21244 PS21963 PS219A2 GT15J331 6DI15S-050 C 6DI15S-050 D MP6501A SEMIx241MD008s...การใช้งานและคุณสมบัติ..data sheet..ให้พิมพ์ หมายเลขอุปกรณ์ แล้วตามด้วย PDF นะครับ เช่น PS21244 PDF แล้ว ENTER.....

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวงตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

พระโพธิสัตว์ ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิ กรุณาธารณีสูตร เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวงตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ...พวกเราต้องอดทนนะอดทน พากเพียรเข้า อดทน เริ่มตั้งแต่อดทนฟัง พอฟังรู้เรื่อง รู้วิธีแล้วว่าเราจะต้องเจริญสติ รู้กายรู้ใจ ไม่เผลอลืมกายลืมใจ ไม่เพ่งกายเพ่งใจให้หยุดนิ่ง ปล่อยให้กายให้ใจมันทำงานไปแล้วเรามีสติตามดูมันไปเรื่อย ๆ นี่วิธีปฎิบัติ พอรู้แล้วเราก็ตามดูไปเรื่อย ตอนไหนจิตฟุ้งซ่านมากไป ตามดูกายดูใจไม่ออกก็ทำความสงบเข้ามา กรรมฐานที่ทำให้จิตสงบมีเยอะแยะ อะไรก็ได้ คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรมนะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงทาน คิดถึงศีล คิดถึงอะไรดี ๆ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงร่างกายของเราเอง คิดถึงความตาย สิ่งเหล่านี้ทำให้จิตใจสงบทั้งนั้น พอจิตใจเรามีกำลัง มีความสงบ มีความสบายแล้วนะ ก็มารู้สึกกาย มารู้สึกใจต่อ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก รู้สึกไปเรื่อย ๆ พอเรารู้สึกซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อไปเราจะเห็นความจริง ทีแรกต้องรู้กายรู้ใจก่อน พอรู้กายรู้ใจไปนาน ๆ ก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ตรงที่มีสติรู้กายรู้ใจนี่ถือว่าดีนะ มีสติแล้ว รู้กายรู้ใจ แต่ยังไม่มีปัญญา ตรงที่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาถึงจะเรียกว่ามีปัญญา พอมีปัญญาเห็นความจริง จิตจะค่อย ๆ ลดกิเลส ๆ เป็นลำดับไป พากเพียรเอานะ ที่เหลือคือพวกเราต้องช่วยตัวเองแล้ว หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้วนะ ขนาดพระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า “ท่านเป็นแค่ผู้บอกทาง” แล้วหลวงพ่อจะเป็นแค่อะไรละ หลวงพ่อก็เป็นแค่ผู้จำทางมาบอก “พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้บอกทาง หลวงพ่อเป็นเพียงผู้จำทางมาบอก พวกเรามีหน้าที่เดินทาง เส้นทางสายนี้ยังมีคนเดินอยู่ ยังไม่ขาดสาย ยังไม่ขาดระยะ ต้องรีบเดิน ถ้าขาดช่วงเมื่อไหร่จะหาเส้นทางนี้ได้อีกยากแสนยาก นานหนักหนากว่าจะมีผู้รู้เส้นทางนี้ขึ้นมา กว่าพระพุทธเจ้าจะค้นพบเส้นทางเส้นนี้ มีโอกาสแล้ว รู้ทางแล้ว ต้องรีบเดิน พระพุทธเจ้าเดินนำหายไปก่อนแล้ว ครูบาอาจารย์เดินตามหลังมา ยังเห็นรอยเท้าอยู่ นานไปรอยเท้านี้หายไป เพราะฉะนั้น เราต้องรีบเดินตาม ก่อนที่รอยเท้าของท่านจะหายไปหมด” ไม่มีอะไรมากหรอกนะ รู้สึกตัว รู้สึกตัวแล้วค่อย ๆ รู้สึกกายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น อย่าเเพ่งกาย อย่าเพ่งใจ อย่าไปกำหนดจดจ้อง ที่กำหนด ๆ นั้นนะ มันไม่ใช่นะ มันเป็นสมถะ กำหนด แปลว่า กด กำหนดเป็นภาษาเขมรนะ มาจากคำว่ากดนั่นเอง กด กดไว้ ข่มไว้ ให้เรารู้ ไม่ใช่ให้เราบังคับ รู้ไปเรื่อยจนเห็นความจริง เห็นความจริงแล้วก็หลุดพ้นไป พระพุทธเจ้าบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก” งานนี้เสร็จ จบแล้วนิ เสร็จกิจแล้วนี่ ก็หมดแค่นี้แหละ ที่เหลือไปทำเอาเอง

ใต้ร่มโพธิญาณต้นพระศรีมหาโพธิ์มหาเจดีย์พุทธคยาBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ใต้ร่มโพธิญาณต้นพระศรีมหาโพธิ์มหาเจดีย์พุทธคยาBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ใต้ร่มโพธิญาณจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโ­ดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายน­อกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ใต้ร่มโพธิญาณการที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งป­วงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็น­กลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลา­งด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพ­ธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

โลกุตรสุขเราชั่วได้มั้ย ชั่วไม่ได้ ทำไมเราชั่วไม่ได้ เพราะเรามีสติ ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า แสดงน้อยลง ตอบกลับ เล่นอัตโนมัติ รายการถัดไป ยังข้ามฝั่งไม่ได้อย่าเพิ่งทิ้งเรือ Sompong Tungmepol ดู 9 ครั้ง 33:45 ไมค์ทองคำเด็ก | น้องภูมิ หนุ่มน้อยสู้ชีวิต | เรียกพี่ได้ไหม | 9 เม.ย. 59 Full HD WorkpointOfficial ขอแนะนำสำหรับคุณใหม่ 11:15 ถ้ายังแปลได้ไม่ใช่ของแท้ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ ดู 7 ครั้ง 57:44 นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก Sompong Tungmepol ขอแนะนำสำหรับคุณ 24:12 ปากโป้ง เตือนภัย! เผยรายชื่อเมืองที่จะจมอยู่ใต้น้ำ ปี 2563 1/2 ThaiCh8 ขอแนะนำสำหรับคุณ 11:00 จริยาของพระสกิทาคามีมรรค Sompong Tungmepol ขอแนะนำสำหรับคุณ 22:33 ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ Sompong Tungmepol ดู 127 ครั้ง 6:54 มอเตอร์ไฟฟ้าง่ายๆ Pongskorn Saipetch ขอแนะนำสำหรับคุณ 6:57 รักอยู่รอบกาย - PAUSE [Official MV] ME RECORDS ดู 8,706,233 ครั้ง 4:31 ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล 2 Sompong Tungmepol ดู 33 ครั้ง 6:25 การขนาน PS21244 สำหรับมอเตอร์สามเฟสสองแรงม้าครับ Sompong Tungmepol ดู 342 ครั้ง 8:14 หยดน้ำที่เคลื่อนไหว : เคลิ้ม | Official MV rsfriends ดู 35,679,375 ครั้ง 9:44 ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล Sompong Tungmepol ดู 44 ครั้ง 2:43 เอากำลังใจมาฝากครับ ..ถ้าเรายังไม่ได้ยอมแพ้.. แปลว่ายังไม่แพ้ สู้ๆครับ ... " เกือบแพ้ แปลว่าชนะ " Sukaku Dasman ดู 237 ครั้ง 4:40 Blue Shade - อยากเจอ (Reason of loneliness) [Official Audio] TIGGER TWINS ดู 46,838,421 ครั้ง 5:06 คนรักหรือแค่รู้จัก - จิมมี่ สุรชัย [Official MV] i am official channel ดู 8,196,265 ครั้ง 6:57 แปลว่ายังหายใจ - พั้นช์【OFFICIAL MV】 GMM GRAMMY OFFICIAL ดู 236,798 ครั้ง 5:21 POLYCAT - มันเป็นใคร | Alright [Official MV] SmallroomOfficial ดู 40,300,806 ครั้ง 4:05 เธอคือทุกอย่าง - Crescendo feat. Mariam B5 [Official MV] werecordsgmm ดู 12,774,912 ครั้ง 5:24 อย่าล้อเล่น - NUM KALA「Official MV」 Genierock ดู 8,897,572 ครั้ง 4:37 แสดงเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

แมกเนติกคอนแทคเตอร์ออกแบบ ซ่อม สร้าง ชุดควบคุม รีเลย์ การทำงานของแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์ด้วยแผงวงจรแบบโปรแกรมได้ 02-951-1356

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำล­­ัง ของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

จำหน่ายเครื่องอินเวอร์เตอร์สามเฟส

จำหน่ายเครื่องอินเวอร์เตอร์สามเฟส

ภาวะแห่งความจนมุมภาวะของจิตที่หยุดแรงดิ้นรน

รถด่วนขบวนสุดท้ายสายอนุปาทาปรินิพพานพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิต­เข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะ­ไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภู­มิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามา

ทำเหมือนไม่ทำอะไรรู้เหมือนไม่รู้อะไรพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิต­เข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อ­นไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะ­ไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภู­มิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามา

ธาตุรู้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ความจริงมีแต่ทุกข์เท่านั้นเองชาตินี้ต้องได้พระโสดาบัน ตั้งเอาไว้อย่างนี้ ใครว่าโลภก็โลภล่ะวะ เอาไว้ก่อนแหละ ตั้งเป้าไว้ก่อน ชาตินี้ขอเป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ชาวพุทธต้องเอาอย่างนั้นเลยนะ ไม่ใช่ขอทำบุญทำทาน นั่งภาวนาทำสมาธิ อีกแสนๆชาติข้างหน้าค่อยให้ได้ธรรมะ โง่น่ะสิ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เนิ่นช้าปานนั้นนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ผลรวดเร็วมากเลย ถ้ารู้จักปฏิบัติที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้สมควรแก่ธรรม ทำให้ถูกต้องก่อน แล้วก็ทำให้พอ แค่นี้เอง ไม่เนิ่นช้าเท่าไหร่หรอก มันจะยากอะไรในการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง การปฏิบัติธรรมจริงๆก็คือการเรียนรู้กายรู้ใจของตัวเองเท่านั้นเองถ้ารู้เห็นความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี แค่นี้ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าเห็นความจริงนะว่า กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ หมดความยึดถือในกาย ก็ได้พระอนาคาฯ หมดความยึดถือในจิต เขาก็สมมุติเรียกว่า “พระอรหันต์” มันมีแต่เรื่องเรียนรู้กายเรียนรู้ใจตั้งแต่ต้นจนจบเลยของการปฏิบัติ

อำลาพุทธภูมิ ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลางBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลางBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”Buddhan Saranan Gachchami | Teran Nanayakkara | Flash Back | Niyagama

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลางBUDDAN SARANAN - ISHAQU BAIG WITH ARROW STAR IN KALUKODAYAWA 2014

ปัพพะโตปะมะคาถา อนุโมทนาคาถา ปัพพะโตปะมะคาถา ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา ตัสสะมา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติฯ อะริยะธะนะคาถา ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา สีลัญจะ ยัสสะ กัลละยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง ตัสสะมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนันติฯ บทขัดธรรมนิยามะสูตร ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญาณัง ปุพเพ ปะวัตตะเต ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา อะนิจจะตา ทุกขะตา จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตัง ยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง โยนิโส ปะฏิปัตตะยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เสฯ ธัมมะนิยามะสุตตัง เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตตะระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฎฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขาราทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตตะวา อะภิสะเมตตะวา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ ติลักขะณาทิคาถา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา อัปปะภา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง ตัตตะราภิระติมิจเฉยยะ หิตตะวา กาเม อะกิญจะโน ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง จิตตักกะเลเสหิ ปัณฑิโต เยสัง สัมโพธิยังเคสุ สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง อาทานะปะฏินิสสัคเค อะนุปาทายะ เย ระตา ขีณาสะวา ชุติมันโต เต โลเก ปะรินิพพุตาติฯ พุทธะอุทานะคาถา ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ปะชานาติ สะเหตุธัมมังฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ขะยัง ปัจจะยานัง อะเวทิฯ ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พ์ราห์มะณัสสะ วิธูปะยัง ติฏฐะติ มาระเสนัง สูโรวะ โอภาสะยะมันตะลิกขันติฯ ภัทเทกะรัตตะคาถาฯ อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ์รูหะเย อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา เอวัง วิหาริมาตาปัง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนีติฯ ----------------------------------- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

สิ่งที่ครอบงำทุกชีวิตของสรรพสัตว์ยะถาปิ เสลา วิปุลา ภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา อันไพบูล สูดจดฟ้า สะมันตา อะนุปะริเยยยุง กลิ้งบดสัตว์มาทั้ง ๔ ทิศ นิปโปเถนตา จะตุททิสา แม้ฉันใด เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ ความแก่ และ ความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ อะธิวัตตันติ ปาณิโณ ทั้งหลาย ฉันนั้น ขัตติเย พฺราหฺมเณ เวสเส เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม สุทเท จัณพาละปุกกุเส เป็นพลเมืองก็ตามเป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ เป็นกุลีเทหยากเยื่อก็ตามมิได้เว้นสิ่งไรๆ ไว้ สัพพะเมวาภิมัททะติ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว นะ ตุตถะ หัตถีนัง ภูมิ ภูมิแห่งช้างทั้งหลายย่อมไม่มีย่อมไม่มีในชราและมรณะนั้น นะ ระถานัง นะ ปัตติยา ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ อนึ่ง อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะนั้น สักกะ เชตุง ธะเนนะ วา ด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนตร์หรือด้วยทรัพย์ ตัสมา หิ ปัณฑิโต โปโส เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน เมื่อเห็นประโยชน์ของตน พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ผู้มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม ธีโร สัทธัง นิเวสะเย และพระสงฆ์ โย ธัมมะจารี กาเยนะ ผู้ใดเป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย วาจายะ อุทะ เจตะสา ด้วยวาจา หรือด้วยใจ อิเธวะ นัง ปะสังสันติ บัณพิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้น ในโลกนี้ทีเดียว เปจจะ สัคเค ปะโมทะตี. ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ว่าด้วยร่างกายเปรียบด้วยฟองไข่บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ว่าด้วยร่างกายเปรียบด้วยฟองไข่บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ว่าด้วยร่างกายเปรียบด้วยฟองไข่บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ว่าด้วยร่างกายเปรียบด้วยฟองไข่บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

การไม่หวนกลับสัตว์ถือปฏิสนธิครั้งแรก อยู่ในครรภ์ตลอดคืนหนึ่ง ดำเนินไปไม่หวนกลับ เหมือนเมฆหมอกที่ตั้งขึ้นแล้วลอยผ่านไป นรชนทั้งหลายประกอบพร้อมด้วยกำลังพล สู้รบอยู่ในสงคราม จะไม่แก่ไม่ตายก็หาไม่ เพราะว่าสัตว์มีชีวิตนั้นล้วนถูกชาติและชราเบียดเบียน เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้น ทรงข่มขี่ราชาศัตรูผู้มีเสนาประกอบด้วยองค์ ๔ มีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชนะได้ แต่ไม่สามารถเอาชนะเสนาแห่งพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม พระราชาบางพวกแวดล้อมด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของปัจจามิตรได้ แต่ไม่อาจทรงพ้นจากพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม พระราชาทั้งหลายผู้ทรงกล้าหาญ ทรงหักค่ายทำลายนคร กำจัดมหาชนได้ด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า แต่ไม่อาจจะทรงหักรานพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ช้างทั้งหลายที่กำลังตกมัน มีมันไหลเยิ้ม ย่อมย่ำยีบ้านเมือง เข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่อาจย่ำยีพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม นายขมังธนูทั้งหลายผู้มีฝีมือฝึกปรือดีแล้ว เป็นผู้กล้าหาญ สามารถยิงไปได้ไกล แม่นยำไม่ผิดพลาด แต่ไม่อาจจะยิงพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม สระทั้งหลายย่อมเสื่อมสิ้นไป พื้นปฐพีพร้อมทั้งราวป่าก็หมดสิ้นไป ถึงทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตลอดกาลนานเข้าก็เสื่อมสิ้นไป เพราะสังขารทั้งหลายย่อมแตกสลายไปตามกาลกำหนด เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม แท้จริงชีวิตของเหล่าสัตว์ทั้งปวงทั้งหญิงชายในโลกนี้ มีสภาพหวั่นไหว ปั่นป่วน เหมือนแผ่นผ้าของนักเลง เหมือนต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่ง เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ทั้งคนหนุ่ม ทั้งคนแก่ ทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งบัณเฑาะก์ ย่อมมีกายแตกทำลายไปเหมือนผลไม้หล่นจากต้น เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”Buddham Saranam Gacchami (complete song) from Indian Movie Angulimaal (1...

Buddham Sharanam Gachchaami... (Angulimaal)BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”Buddan Saranan Gachchami Original Mohideen Beg New Sinhala Songs 201...

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”Buddan Saranan Gachchami Original Mohideen Beg New Sinhala Songs 201...

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”BUDDAN SARANAN - ISHAQU BAIG WITH ARROW STAR IN KALUKODAYAWA 2014

ishaq beg with flash back buddan saranam gachchami songBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือกภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

สุดขีดแล้วนะสติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้วปัญญาก็สุดขีดแล้วจิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ.

ไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยไม่มีที่มาไม่มีที่ไปบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ.

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ.

อาการของจิตข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว

จิตใจมันก็ทำงานของมันไปในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลางไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไ...ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว

เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ เศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

ตามรอยพระพุทธเจ้าตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง

พระโพธิสัตว์ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง

ใต้ร่มโพธิญาณตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง

ไม่มีที่ไปไม่มีที่มาไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

การบรรลุพระโสดาบันบรรลุพระสกิทาคามีบรรลุพระอนาคามีบรรลุพระอรหันต์เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขนาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิต

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่งกับการบรรลุธรรมเป็นความต่างกันราวฟ้ากับดินถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

อินเวอร์เตอร์ แผงวงจรแอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ออกแบบ สร้างแก้ภัยแล้ง ด้วยการสร้างอินเวอร์เตอร์ สามเฟส เพื่อ สูบน้ำ โดยใช้ แบตเตอรี่ และโซล่าเซลล์ 02-951-1356 Line pornpimon 1411 ราคา อุปกรณ์ ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ email sompongindustrial@gmail.com

แบตเตอรี่สองลูกใช้กับมอเตอร์สามเฟส220/380หนึ่งแรงม้าแก้ภัยแล้ง ด้วยการสร้างอินเวอร์เตอร์ สามเฟส เพื่อ สูบน้ำ โดยใช้ แบตเตอรี่ และโซล่าเซลล์ 02-951-1356 Line pornpimon 1411 ราคา อุปกรณ์ ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ email sompongindustrial@gmail.com

มอเตอร์ไฟฟ้าสู้ภัยแล้งแก้ภัยแล้ง ด้วยการสร้างอินเวอร์เตอร์ สามเฟส เพื่อ สูบน้ำ โดยใช้ แบตเตอรี่ และโซล่าเซลล์ 02-951-1356 Line pornpimon 1411 ราคา อุปกรณ์ ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ email sompongindustrial@gmail.com

แก้ภัยแล้งแก้ภัยแล้ง ด้วยการสร้างอินเวอร์เตอร์ สามเฟส เพื่อ สูบน้ำ โดยใช้ แบตเตอรี่ และโซล่าเซลล์ 02-951-1356 Line pornpimon 1411 ราคา อุปกรณ์ ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ email sompongindustrial@gmail.com

แก้ภัยแล้งแก้ภัยแล้ง ด้วยการสร้างอินเวอร์เตอร์ สามเฟส เพื่อ สูบน้ำ โดยใช้ แบตเตอรี่ และโซล่าเซลล์ 02-951-1356 Line pornpimon 1411 email sompongindustrial@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตรและพระสาวกภาษิตพระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์.

พระอานนท์ พระพุทธอนุชา บทนำเรื่อง

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิเรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย

เครื่องแปลงไฟฟ้าเอนกประสงค์ขออภัยบางตอนบรรยายไม่ตรงกับงานและอุปกรณ์­ครับ คลิปนี้เป็นเรื่องเครื่องเพิ่ม แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ด้วย POWER MODULE TM51 ยี่ห้อ SHINDENGEN ครับ... https://www.youtube.com/watch?v=A9fDf... TM-51 PWM UNIVERSAL MOTOR CONTROL TM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 48 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ TM 52 A ครับ TM 52 A จะทำหน้าที่ขับมอเตอร์ สามเฟส 220/380 Volts สูงสุดที่ประมาณ 3- 5 แรงม้าแนะนำให้ใช้ที่..3 แรงม้าครับ..บอร์ด MC3PHAC ทำหน้าที่ สร้างและกำหนดค่าของสัญญาณ สามเฟส SINE WAVE แบบ PWM ครับ..มีจำหน่ายหลายที่ครับ ติดต่อกันเองก็แล้วกัน ถ้าหาไม่ได้ ลองโทรไปที่ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE 6 DI 15 S -050 C 6 DI 15 S-050 D TM 51 TM 52 A สำหรับสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟส...http://sompong-industrial.blogspot.co... ราคาและขนาดที่มีจำหน่ายดูจาก Link ข้างบนครับ..ขอบคุณ..มากครับ... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... https://sites.google.com/site/sompong... หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube

AC DRIVE Motor inverter ปรับรอบมอเตอร์สามเฟส บอร์ด MC3PHAC ราคา 1000 บาท POWER MODULE TM52A สินค้าหมดแล้วครับ วันนี้เป็นเบอร์ PS21244 ราคา 300 และ GT15J331 ราคา 300 ครับ

AC DRIVE Motor inverter ปรับรอบมอเตอร์สามเฟส บอร์ด MC3PHAC ราคา 1000 บาท POWER MODULE TM52A สินค้าหมดแล้วครับ วันนี้เป็นเบอร์ PS21244 ราคา 300 และ GT15J331 ราคา 300 ครับ

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึ...อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้­สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อ­­จะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบา­­น เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น

อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึ...อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้­สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อ­­จะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบา­­น เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น

อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึ...อย่าไปซึมกระทือเราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้­สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อ­­จะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบา­­น เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ล้างกิเลสพริบตาเดียวเท่านั้นเองหมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพร...หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว

ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอนตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถ... ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอนตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถ... ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอวันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความ... ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกัน คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ร่วมกัน การเปลี่ยนโครงสร้างในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร ระบบควบคุม ใน เครื่องจักรกล ในเครื่องมือ ใน เครื่องใช้ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัด ทางวิทยาศาสตร์ ทางการเเพทย์ โดยการลดแรงดันและกระแสไฟฟ้า ในระบบ ให้มีแรงดัน ที่ต่ำกว่า 5 โวลต์ และใช้กระแสที่ ต่ำ กว่าเดิม ทำให้โลก อยู่ใน สภาวะ ที่ แตกต่าง ไปจาก ที่เราคิดคลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) : คลื่นลูกที่สาม (THE THIRD WAVE) อัลวิน ทอฟเลอร์ คลื่นลูกที่สาม : Company Logo www.themegallery.com คลื่นลูกที่สาม คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้ คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน คลื่นลูกที่สี่ : คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง..

เราจะ ก้าวข้าม ยุคสมัย ไปพร้อมกัน การเปลี่ยนโครงสร้างในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร ระบบควบคุม ใน เครื่องจักรกล ในเครื่องมือ ใน เครื่องใช้ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัด ทางวิทยาศาสตร์ ทางการเเพทย์ โดยการลดแรงดันและกระแสไฟฟ้า ในระบบ ให้มีแรงดัน ที่ต่ำกว่า 5 โวลต์ และใช้กระแสที่ ต่ำ กว่าเดิม ทำให้โลก อยู่ใน สภาวะ ที่ แตกต่าง ไปจาก ที่เราคิด..

ศึกครั้งนี้อาจแตกต่างไปมากกว่าที่คิดการเปลี่ยนโครงสร้างในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร ระบบควบคุม ใน เครื่องจักรกล ในเครื่องมือ ใน เครื่องใช้ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัด ทางวิทยาศาสตร์ ทางการเเพทย์ โดยการลดแรงดันและกระแสไฟฟ้า ในระบบ ให้มีแรงดัน ที่ต่ำกว่า 5 โวลต์ และใช้กระแสที่ ต่ำ กว่าเดิม ทำให้โลก อยู่ใน สภาวะ ที่ แตกต่าง ไปจาก ที่เราคิด..

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ประตูแห่งการบรรลุมรรคผลความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็นกลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญา เมื่อมันเป็นกลางด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพพาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิ เพราะงั้นจะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์ งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช