วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป1. ทางเอก มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ 1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ 2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก 3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­­ล้ว ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่ง­เดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน การถูกทำลาย ของจักรวาล และ โลกธาตุ ....... เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด) กำหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการ คือ ๑. อยู่ในเวลาวิวัฎฎฐายีอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คือ อายุมนุษย์ ไขยลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจนถึง อสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป) ๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี .......เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัป ที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับ ตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ ๘ มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลาย ด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ ........เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวมๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึง แสนโกฎิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย เขตของพระพุทธเจ้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฎิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฎิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน ๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยแสนโกฎิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริต ทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฎานาฎิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฎิจักรวาล ๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวน ไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณา รู้ทั่ว .......ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลาย พร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติ เขตและอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้น จากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฎฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วย ลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓) ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้มิถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตาม อายุขัย .......ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่า เทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วง รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศก เสียใจ สลดสังเวช จึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัย อันตรายนั้นๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าว เตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี .......เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรัก ใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรม เมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้น กามาพจร หรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหม ภูมิชั้นสูงๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิด หนึ่ง ชื่อ ชาติสรญาณ คือ ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่างๆ เหล่า นั้น ด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของ กุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อนๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้นๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์ บ้าง เทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศ แล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศ .......ก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้น ในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศล ธรรมต่างๆ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้น คือ ๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึง ความพินาศ ๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้ อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ ๓. จักกวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้ อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดขึ้นในโลก ๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลา อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรง แสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ ๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในระยะเวลา อีก ๗ ปี จะมีผู้ปฎิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก .......เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่ง ชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฎิจักรวาล บรรดา มนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปป วินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคำรามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพา กันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่น เดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง หมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฎขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็น มนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌานเข้าสู่เทวโลกหรือ พรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหม ภูมิโดยตรงทีเดียว) ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดยากทะยอย ตายลงไป กลับปรากฎดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรก ลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บัง เกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลยิ่งมีแสงแผด เผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานทีทั้ง ๕ ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานทีทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมา สรภู ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากินิ สีหปปาตะ กัณณมุณฑะ และ สระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควัน คลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฎิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้หลายสิ้นยาง คือความชุ่มเย็น ที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ้มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวัน เดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่ นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึง กลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่างๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไป ในอากาศ เปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษย์ภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้น จาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสิ้น และจึงลุก ลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นลำดับไปจนถึงรูป พรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม แล้วจึง หยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก ........ในบรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ไหม้แล้วนี้ ไม่มีเหลือแม้แต่ เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิจุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียง อณูเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมิมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอา กาศไปสิ้นจึงดับลง ครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอด ถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลา ก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล .......ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่ กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็ก ละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฎิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณ ไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่างๆ อยู่นั้น มีลม ชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นบ่าออกไปนอกแสนโกฎิจักรวาล น้ำ ฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้นอาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลาย แหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรด จะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน มือมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน .......ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอน ต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลม ชนิดหนึ่งชื่อ วาโยสังวัฎฎะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมนี้พัดอ่อนๆ พอพัดธุลีละออง ละเอียดฟุ้งขึ้นแล้ว ลมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้ เล็กใหญ่ ตลอดจนภูเขาต่างๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทก กันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่น ดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยก ออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็ กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฎิจักรวาล ตลอดจนรูปพรหม ภูมิทั้งชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อพัดทำลายทุกอย่างแหลก ละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้น ลมกรดนี้ก็ หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั้นมีอยู่จริง นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะแยกตัวออกจาก “กายหยาบ” ของเราได้ และถ้า “กายหยาบ” ปราศจากซึ่ง “จิตวิญญาณ” แล้ว มันก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย กล่าวคือขณะที่เราฝันแบบรู้ตัว(LucidDreaming Effect)นั้น ตัวต้นของเราที่อยู่ในความฝันความจริงแล้วมันก็คือ “จิตวิญญาณ” หรือ “ตัวตนที่อยู่ในรูปของพลังงาน” ของเรานั้นเอง ปกติแล้ว จิตวิญญาณ ดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ในโลกที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งก็คือ “โลกความฝัน” โดยในความฝันปกติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้นั้นก็เป็นเพราะ “จิต” ของเราขาดสมาธิ ความฝันจึงดำเนินไปตามจิตใต้สำนึกเป็นหลัก เมื่อความฝันจบลงเราก็จะตื่นขึ้นโดยไม่มีผลอะไรตามมา แต่ในกรณีที่เราฝันแล้วจิตของเราในตอนนั้นมีสมาธิที่สูง กรณีนี้ตัวเราจะสามารถควบคุมจิตวิญญาณของเราเองได้ สามารถกำหนดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความฝันได้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของเราออกมาจากโลกของความฝันได้อยู่ดี เมื่อระดับสมาธิของเราต่ำลงถึงจุดหนึ่งเราก็จะไม่สามารถควบคุมความฝันได้อีก ความฝันของเราก็จะกลายเป็นความฝันปกติ หรือไม่เราก็จะตื่นจากความฝัน มีทางเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถนำดวงจิตของเราออกจากความฝันได้นั้นก็คือ เราต้องทำให้จิตของเราหยุดปรุงแต่ง หรือพูดง่ายๆแต่ทำยากมากๆนั้นก็คือ เราต้องหยุดคิดให้ได้ในขณะที่เรามีสมาธิสูงอยู่นั่นเอง “หยุดคิด” มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่มีช่วงเวลาไหนที่มนุษย์เราจะหยุดคิดได้ด้วยหรือ แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้แต่มันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น