วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีออกจากสังสารวัฎวิธีทำลายกิเลสอวิชชาทำลายตัณหาอุปาทานปฏิจจสมุปบาท แบบ นิโรธวาร ขวา ค้นหาศัพท์ อวิชชา เป็นหัวหน้าในการประกอบอกุศลธรรม อวิชฺชา ปุพฺพงฺคมา อกุสลานํ ธมฺมานัง สมาปตฺติยา วิชชาสูตร ๒๕/๒๒๗ คราวนี้จะขอกล่าวถึงการปฏิบัติโดยอาศัยอ้างอิงในปฏิจจสมุปบาทธรรม กล่าวคือ ดับอวิชชา ผู้ที่จะปฏิบัติดังนี้ ควรมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้ง เห็นการดำเนินและเป็นไปตามหลักปัจจยการของปฏิจจสมุปบาทได้อย่างคล่องแคล่วพอสมควร(ปัญญา)จากการปฏิบัติที่ได้สั่งสมไว้ อย่ารีบร้อนที่จะปฏิบัติไม่เกิดประโยชน์อันใด และอาจเกิดโทษได้เนื่องจากปฏิบัติผิดๆโดยไม่รู้ตัว เช่น เกิดการเบื่อหน่ายท้อแท้ในการปฏิบัติ, หลงเข้าใจผิด เช่น ปฏิบัติผิดไปดับหรือกดข่มความคิดความจำอันดีงามที่ใช้ในกิจหรือชีวิต ฯลฯ. ทั้งๆที่ปฏิบัติมาอย่างถูกต้องแนวทางแล้ว ขอให้โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคาย จนเข้าใจกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้ง จนเกิดปัญญาเห็นแล้ว จึงมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนาในวงจร หรืออุปาทานสังขาร(จิตสังขาร เช่น ความคิด ที่เป็นผลที่เกิดในชาติ) รวมทั้งเวทนา(เวทนูปาทานขันธ์)และสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์)ในองค์ธรรมชรา อันวนเวียนปรุงแต่งเป็นวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ ล้วนๆอันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนต่อเนื่อง และเป็นการเห็นและเข้าใจได้อย่างค่อนข้างสมํ่าเสมอหรือต่อเนื่อง(สัมมาสมาธิ) ดังนั้นท่านที่ยังไม่แจ่มแจ้งในปฏิจจสมุปบาทก็อ่านให้เข้าใจเป็นปัญญาเป็นพื้นฐานเสียก่อนก็ได้ แล้วต้องทำการโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทธรรมจนหมดวิจิกิจฉาเสียก่อนอื่น จนเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นและเป็นไปเยี่ยงนั้นด้วยเหตุด้วยผลจริง ด้วยตนเองในทุกองค์ธรรม เพราะเป็นบาทฐานอันสำคัญยิ่งในการดำเนินไปในการดับอวิชชา ต้องไม่ใช่แค่การท่องจำหรือจดจำได้ อย่างคล่องแคล่วในองค์ธรรมต่างๆ จึงต้องไม่ใช่ด้วยการน้อมเชื่อด้วยอธิโมกธ์ในพระศาสนาหรือองค์พระศาสดา หรือในข้อเขียน แต่อย่างเดียว ต้องเป็นการเห็นด้วยปัญญา(ปัญญาจักษุ)ในการเกิดขึ้นและเป็นไปเช่นนั้นจริงๆ อวิชชา เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชนที่มาพร้อมกับการเกิด คือ ย่อมเกิดมาพร้อมด้วยอวิชชาโดยธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อเกิดมาย่อมยังไม่มีวิชชา คือย่อมไม่มีความรู้หรือปัญญาติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นธรรมดาในธรรมหรือสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงอันครอบคลุมถึงความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริงอย่างปรมัตถ์ด้วย อวิชชาจึงเป็นสภาพที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับตัวตนหรือชีวิตโดยถ้วนหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นธรรมดา การดับอวิชชา จึงหมายถึงการทำให้มีวิชชาหรือปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง ดังนั้นการที่จะมีวิชชาในธรรมต่างๆที่ใช้ในการดับไปแห่งทุกข์นั้น จึงเป็นสิ่งที่เกิดแต่ปัญญาเป็นเหตุปัจจัยหลัก โดยมีสติและสมาธิเป็นบาทฐานเป็นเครื่องสนับสนุนอันสำคัญยิ่ง ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ จึงต้องมีการเรียนรู้,ศึกษา,ปฏิบัติ หรือต้องสังขารปรุงขึ้นด้วยปัญญานั่นเอง จึงจะเกิดขึ้นได้ และเป็นสังขารชนิดที่ควรทำให้เกิด ทำให้มี ทำให้เป็น และควรทำให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปอย่างยิ่งยวด จึงเป็นภาเวตัพพธรรม-ธรรมที่ควรเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไป ตามที่ได้สั่งสมกันมาจากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาท จนมีปัญญาเข้าใจ แล้วมีสติเห็น(ระลึกรู้เท่าทัน)เวทนา จิตตสังขารต่างๆ ตลอดจนสภาวธรรมหรือหลักธรรมชาติต่างๆ เช่น หลักอิทัปปัจจยตาอันมีเหตุมีผล เข้าใจอันใดเป็นอุปาทานทุกข์ หรืออุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลน ที่ควรดับ, อันใดเป็นทุกข์ธรรมชาติที่ยังคงมี ขันธ์๕อันไม่เป็นทุกข์ และธรรมต่างๆ เช่น อริยสัจ ๔ พระไตรลักษณ์เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความอยากความยึดลงกันไปบ้างแล้ว เป็นพื้นฐานที่จักเกิดขึ้นในผู้ที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทธรรม เห็น(หมายถึงเข้าใจ)ว่ามันเป็นไปเช่นนั้นเองอย่างแจ่มแจ้งด้วยเหตุด้วยผลแล้ว ตลอดจนเข้าใจกระบวนธรรมของขันธ์๕ คือ การทำงานอย่างเนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ที่มีอยู่ อย่างแจ่มแจ้ง ว่าเป็นสภาวธรรมของชีวิตที่ยังคงมีเกิดมีเป็นเช่นนั้นเป็นธรรมดาจนกว่าจะดับขันธ์ไป เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาด้วยการปฏิบัติและพิจารณาปฏิจจสมุปบาท จนมีสติปัญญา เห็น(เข้าใจและระลึกรู้เท่าทัน)เวทนา เห็นจิต สังขารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรปฏิจจสมุปบาทแจ่มแจ้งพอควรแล้ว บัดนี้ถึงเวลาที่ใช้สติ และสติอย่างต่อเนื่องนั้น(สัมมาสมาธิ) ตลอดจนสัมมาญาณหรือปัญญา เหล่านี้ที่ได้สั่งสมอบรมมาในการปฏิบัติในขั้นสำคัญยิ่ง กล่าวคือ ดับอวิชชา หรือก็คือ การยังให้มีวิชชาเกิดขึ้นอย่างบริบูรณ์ ยิ่งขึ้นไปนั่นเอง จึงย่อมยังผลให้ดำเนินไปตามหลักเหตุปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กัน อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวารหรือฝ่ายดับไปแห่งทุกข์นั่นเอง อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตาเช่นกัน ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับ จึงดับสังขารได้ เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับ จึงดับนาม-รูปได้ เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้ เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้ เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้ เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาติดับ จึงดับชรา-มรณะ - โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ได้ อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

สอนทำสายไหม

หยุดคิด!! ด้วยคำบริกรรม

หยุดคิด!! ด้วยคำบริกรรม

18 การละสังโยชน์ กามราคะ หลวงตามหาบัว

18 การละสังโยชน์ กามราคะ หลวงตามหาบัว

เพีจิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย) ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์) จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้) ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง) อย่าส่งจิตออกนอก จิตคิด จิตถูกทำลาย ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง) (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ) "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง" "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ" "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง" "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง" "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"ยงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่า...

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม. บทว่า ราโค อปฺปหีโน ความว่า กิเลส ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่า กำหนัด อันผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด (สมุจเฉทปหาน) คือ ไม่ให้ถึงการไม่ให้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วยมรรค. แม้ในโทสะและโมหะทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บรรดากิเลสเหล่านั้น ราคะ โทสะ โมหะที่จะให้ไปอบาย จะละได้ด้วยปฐมมรรค กามราคะ อย่างหยาบ และโทสะอย่างหยาบ จะละได้ด้วยทุติยมรรค กามราคะ และโทสะ เหล่านั้น จะละได้ไม่มีเหลือเลย ด้วยตติยมรรค. ภวราคะ และโมหะที่เหลือ จะละได้ด้วยมรรคที่ ๔. เมื่อละกิเลสเหล่านี้ได้อย่างนี้ กิเลสแม้ทั้งหมด ก็ย่อมละได้เหมือนกัน เพราะตั้งอยู่ในฐานะเดียวกัน กับกิเลสเหล่านั้น. ราคะเป็นต้นเหล่านี้ ตามที่พรรณนามานี้ ผู้ใดผู้หนึ่งจะ เป็นภิกษุ ก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม ยังละไม่ได้ แล้ว ด้วยมรรค. บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า บุคคลนี้ เราตถาคตเรียกว่า ถูกมารคือกิเลสผูกไว้แล้ว และ เขาถูกกิเลสมารผูกไว้แล้วด้วยบ่วงอันใด ก็เป็นอันถูกแม้อภิสังขารมาร เป็นต้นผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วงอันนั้น เหมือนกัน. บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส มารปาโส ความว่า กิเลส กล่าวคือบ่วงแห่งมาร เป็นอันเขา คือ บุคคลนี้ ผู้ยังละกิเลสไม่ได้ สวมไว้แล้ว เพราะยังละกิเลส ไม่ได้ นั้นนั่นเอง อธิบายว่า คล้องไว้แล้ว คือ สอดเข้าไปแล้ว ในจิต สันดานของตน ได้แก่ ถูกมารนั้นบังคับให้ผูกเอง. อีกอย่างหนึ่ง บ่วงมาร พึงเป็นของที่เขาสวมแล้ว. พึงทราบอธิบาย ในธรรมฝ่ายขาวต่อไปนี้.- บทว่า โอมุกฺกสฺส ความว่า บ่วงมารนั้น พึงเป็นของอันเขาเปลื้อง คือ แก้แล้ว ได้แก่ ตั้งอยู่ไม่ได้. คำที่เหลือ พึงทราบตามบรรยายที่ตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว. ในพระสูตรนี้ คาถามีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นฝ่ายขาว เท่านั้น ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวถึงพระอริยบุคคล ผู้สำรอกราคะ โทสะ และ อวิชชาออกแล้ว คือ ให้ดับไปแล้ว ด้วยมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค) ผู้มีกายอันอบรมแล้ว ว่า เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็นพรหม หรือ เป็นผู้ ประเสริฐสุด คือ บรรลุพระอรหัตต์(ความเป็นพระอรหันต์)แล้ว องค์ใด องค์หนึ่ง คือ องค์หนึ่ง ภายในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชื่อว่า อบรมตนแล้ว เพราะมีศีล สมาธิ และปัญญาอันอบรมแล้ว พระขีณาสพ ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ คือ อุปนิสัยที่เคยสะสมมาแล้ว และ ท่านเหล่านั้น ถึงแล้วคือบรรลุแล้ว ซึ่งพระนิพพานด้วยมัชฌิมา ปฏิปทาที่สงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ เว้นจาก ส่วนสุดทั้งสอง อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น แทงตลอดลักษณะ ที่แท้จริง แห่งขันธ์เป็นต้น ตามความเป็นจริง ท่านเหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่ง ทุกข์เป็นต้น อันเป็นธรรมที่แท้จริง โดยไม่ผิดพลาด และ ท่านเหล่านั้น เห็นอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยสามารถเพียงสิ่งที่ปรากฏ ให้เห็นได้ เป็นต้น เท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เหล่านี้ มีวาจาเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอริยโวหารอย่างเดียวโดย เว้นโวหาร(คำพูด)ที่ไม่ใช่ของพระอริยะ มีกายเป็นไปแล้วเหมาะสมแก่ วาจา และ มีวาจาเป็นไปแล้ว เหมาะสมแก่กาย ฉันใด พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าว คือ เรียก ได้แก่ สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ไป แล้วอย่างนั้น ว่า ผู้นี้เป็นพระอริยบุคคล ผู้ชื่อว่า รู้แล้ว เพราะรู้อริยสัจจ์ ๔ ผู้ก้าวล่วงบุคคลเวร(เวรเกิดจากบุคคล) กิเลสเวร (เวรเกิดจากกิเลส) และภัยมีการติเตียนตนเป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัย ผู้ชื่อว่าละ กิเลสทุกอย่างได้ เพราะละกิเลส และ อภิสังขารเป็นต้นทั้งมวลได้ ฉันนั้น. จบอรรถกถาปฐมราคสูตรที่ ๙.

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีเพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ … .. . “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด”

ภาวะที่สิ้นสุดการเกิดสังสารวัฎมีที่สิ้นสุดหลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ .... ๆ เราต้องแยก “รูปถอด” ด้วยวิชชา มรรคจิตเหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ ก็หมด พ้นเหตุเกิด.

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

คาถาของท่านพระสารีปุตตเถระเราไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่ หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก

สมมุติชื่อว่านามกายชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

MC3PHAC 3 phase inverter 6ch.PWM.mpgThe MC3PHAC is a single-chip intelligent controller Table of Contents designed specifically to meet the requirements for low-cost, variable-speed, 3-phase ac motor control systems. Target applications include: • Low horsepower HVAC • Home appliances • Commercial laundry and dishwashers • Process control • Pumps and fans

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ บริบูรณ์ได้...

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคต ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง....

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง....

เลิกทำงานแล้วหมดงานจะทำแล้วกิจที่ควรทำได้ทำแล้ว

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์

เมิ่อจิตมีสมาธิก็เกิดปัญญา

Germanium Alloy Diffused Transistor. Early bipolar junction transistors used Germanium as the semiconductor material and were of the Alloy Diffused type where, for a typical PNP transistor, two pellets of Indium (a trivalent material, having three electrons in their valence shell) are fused to either side of a wafer of N type Germanium, as shown in fig 2.1. Germanium Transistor The fusion process causes the indium to diffuse into the germanium. As the two metals fuse together indium atoms (with 3 valence electrons) mix with the pure germanium atoms (with 4 valence electrons) creating P type material where the Indium atoms will appear to be short of one electron, and so will bond with only three instead of four neighbouring atoms. This creates a "hole" charge carrier at each Indium atom. Fusing is stopped just before the two P type regions meet. The result is an extremely thin layer of N type semiconductor (the BASE) sandwiched between two thicker P type layers, which form the other two terminals, the emitter and the collector. Notice that the P type region used for the collector is larger than the emitter region. This is because most of the heat generated within the transistor is generated at the base/collector junction. This junction therefore needs to be larger to dissipate this extra heat. Alloy diffused transistors suffer from several drawbacks: 1. They have a poor frequency response due mainly to their large junction capacitances. 2. They are not reliable at high temperatures. 3. Because they are made from germanium, they have relatively high leakage currents across the junctions. 4. They cannot withstand high voltages. Germanium PNP high frequency transitor Transistors made from germanium do have an advantage in some circuits due to the lower forward voltage required between emitter and base (0.15V instead of 0.6V for silicon) to make them begin to conduct. A feature of any semiconductor used for transistors and diodes is that it conducts more current, the warmer it gets. In germanium this is much more noticeable than in silicon. Germanium transistors will tend to easily go into "thermal runaway" i.e. the warmer they get the more current they pass, so they get warmer and pass more current. This situation can build up until the transistor destroys itself if the circuit is not carefully designed to avoid it. One feature of such a design must be efficient heat sinks fitted to any transistor (often output transistors) that will have to pass more than small currents. This unstable tendency in germanium transistors and diodes can however, be put to good use. Either device can be used as a simple temperature sensor, the current being approximately proportional to temperature. Silicon can however, also be used as a temperature sensor. The advantages and disadvantages of germanium and silicon transistors are summarised in table 2.1 below: Table 2.1 Transistors Parameter Germanium Silicon Comments Current Gain 50 to 300 Up to 850 Higher gain from silicon due to greater stability. Max. Power dissipation PT Up to 6 Watts More than 50 watts Silicon much better in high power applications. Leakage current A few micro-amperes A few nano-amperes Germanium 1000 times more leaky than silicon. Max. collector-emitter voltageVCE Tens of Volts Hundreds of volts Silicon the only real choice for high voltage applications. Temperature stability Poor Good Germanium more sensitive to thermal runaway. Normally a problem but can be useful in temperature sensing. Highest operating frequency fT A few MHz -Not normally used above audio frequencies. Useful up to hundreds of MHz Silicon transistors much better at high frequencies. Note: When reading parameters such as these in technical information, they are sometimes also written as Ice/Ibe. The difference between using capitals or lower case for the subscript letters denotes that the parameter refers to large signal or DC operating conditions (Capitals) or small signal AC operation (lower case).

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

วิธีการเข้าถึงพระนิพพาน. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

มรรควิธีที่ง่าย. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

คัมภีร์เล่มสุดท้ายคือกายกับใจของเรานี่เอง ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน นั้นแล ฯ [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข- *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

การเรียนรู้ความจริงของร่างกายและจิตใจของเราวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

การเรียนรู้ความจริงของร่างกายและจิตใจของเราวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

เบื้องต้นก็ภาวนาพุทโธธัมโมสังโฆแล้วก็พุทโธพุทโธวิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง...วิธีเจริญจิตภาวนา วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖ ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง" ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด" ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง" โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต"เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะเพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูปรูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณแล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดยังไม่รู้ รู้แล้วไม่ต้องคิด ก็เกิดปัญญา เอาธรรมมาอบรมธรรม รู้ธรรมในธรรม เอาธรรมชาติมาปฏิบัติธรรมชาติ ให้รู้ธรรมชาติในธรรมชาติ เอาธาตุมาปฏิบัติธาตุ ให้รู้ธาตุในธาตุ เอาธรรมอบรมในธรรม เอาจิตอบรมจิต ให้รู้ธรรมภายจิต รู้แล้วละวาง ปล่อยทิ้งและไม่อาลัย และไม่ยึดมั่นในธรรมต่างๆ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิต ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว บาปบุญเปรียบเหมือนมารยา เกิดขึ้นแล้วดับ ปล่อยทิ้งทั้งสอง มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ้นแห่ความรู้หุบปากเงียบ อิ่มในธรรม ธรรมเติมธรรมไม่มีธรรมนั่นคือธรรม คำสอนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล จิตคิดจิตเกิด จิตไม่คิดจิตไม่เกิด จิตคิดจิตถูกทำลาย จิตไม่คิดจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรุงแต่งจิตถูกทำลาย จิตไม่ปรุงแต่งจิตไม่ถูกทำลาย จิตแสวงหาจิตถูกทำลาย จิตไม่แสวงหาจิตไม่ถูกทำลาย จิตปรารถนาจิตถูกทำลาย จิตไม่มีความกำหนัดจิตไม่ถูกทำลาย ทิ้งหมดรู้หมด ทิ้งหมดได้หมด ไม่ทิ้งเลยไม่รู้ ไม่ทิ้งเลยไม่ได้ ทรงจิตเข้ามรรคจิตแล้วจิตพิจารณาจิต รู้ธรรมในจิตแล้วถนอมมรรคจิตจงทำให้ชำนาญ จิตอบรมจิต รู้ธรรมภายในจิตแล้วอบรมธรรมในธรรมภายในจิต

3 phase induction motor speed control ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module สำหรับใช้ กับมอเตอร์ สามเฟส ท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 PS21963 PS219A2 ราคา 400 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 400 บาท 6DI15S-050 C ราคา 400 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 400 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่ mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมล ทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..TM52A สินค้า หมดแล้วครับ...

ขอโอกาสแนะนำการใช้โซล่าเซลล์กับมอเตอร์ขนาดเล็กครับ ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module สำหรับใช้ กับมอเตอร์ สามเฟส ท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 PS21963 PS219A2 ราคา 400 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 400 บาท 6DI15S-050 C ราคา 400 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 400 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่ mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมล ทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..TM52A สินค้า หมดแล้วครับ...

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เรา­ปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่­งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตล­อดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โล­ก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบั­ติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้ง­สิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้­เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่ง­ความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้ส­อนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความค­ิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิ­เลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดท­ั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้­น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เรา­ปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่­งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตล­อดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โล­ก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบั­ติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้ง­สิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้­เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่ง­ความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้ส­อนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความค­ิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิ­เลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดท­ั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้­น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ ถ้าเราไม่อยากจะเนิ่นช้านะ อันแรกคือ ก็มาปรับพฤติกรรมของตัวเอง ปรับจิตใจของเราเองนะ ... มักน้อยเป็นอย่างไร มักน้อยหมายถึง มีความต้องการน้อย ยกตัวอย่างพระ ... เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น 

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

Neil Young - Heart Of Gold

คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ที่ถูกก็คือจิตเห็นจิตนั่นเอง คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การละกิเลสไปพร้อมกับการสร้างคุณธรรม ;หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

เรื่องจิตใจเราต้องปรับปรุงจึงดี ; หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ 12P ทำไมต้องสำรวมจิต

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ 12P ทำไมต้องสำรวมจิต

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ 12P ทำไมต้องสำรวมจิต

ความสิ้นกามทั้งหลายเป็นสุขอย่างยิ่ง ; หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ควรพัฒนาชีวิตให้สูงขึ้น ; หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

การปล่อยใจเป็นภัยของจิต ; หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

How Plug-In Vehicles Work

How Heavy Duty Series Hydraulic Hybrid Vehicles (HHVs) Work

แบตเตอรี่สองลูกใช้กับมอเตอร์สามเฟส220/380หนึ่งแรงม้าpower module สำหรับใช้กับมอเตอร์สามเฟส ที่ผมมีจำหน่าย ส่วนมากจะใช้กับมอเตอร์ขนาด หนึ่งแรงม้าครับ เช่น MP6501A 6DI15S-050D 6DI15S-050C PS21244 PS21963 ตัวทีใช้กับมอเตอร์ 0.4KW จะเป็นเบอร์ PS219A2 ราคาตัวละ 400 บาท ค่าส่ง Ems 100 บาท..ท่านทีสนใจ โทรมาที่ 02-951-1356 081-803-6553 LINE 081-803-6553 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.com TM51 พร้อม แกนเทอร์รอย และ ขดลวด ราคา ชุดละ 500 บาท ครับ .. ติดต่อที่ 029511356 Line 081-803-6553 mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.com

การควบคุมมอเตอร์3เฟส5แรงม้าด้วยไฟฟ้า220โวลต์ตามบ้านpower module สำหรับใช้กับมอเตอร์สามเฟส ที่ผมมีจำหน่าย ส่วนมากจะใช้กับมอเตอร์ขนาด หนึ่งแรงม้าครับ เช่น MP6501A 6DI15S-050D 6DI15S-050C PS21244 PS21963 ตัวทีใช้กับมอเตอร์ 0.4KW จะเป็นเบอร์ PS219A2 ราคาตัวละ 400 บาท ค่าส่ง Ems 100 บาท..ท่านทีสนใจ โทรมาที่ 02-951-1356 081-803-6553 LINE 081-803-6553 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.com TM51 พร้อม แกนเทอร์รอย และ ขดลวด ราคา ชุดละ 500 บาท ครับ .. ติดต่อที่ 029511356 Line 081-803-6553 mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

หลวงปู่ดุลย์::ตอบปัญหาจิตภาวนาชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

จิตคือพุทธะ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (Full.)ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะ ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะ ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะ ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

การละวิภาวะตัณหาเข้าสู่อนุปาทาปรินิพพาน ชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

ทางตรงอยู่ตรงนี้ไม่ต้องไปหาที่อื่นคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เรา­ปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่­งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตล­อดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โล­ก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบั­ติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้ง­สิ้นเลย

ทางตรงอยู่ตรงนี้ไม่ต้องไปหาที่อื่นเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป ไม่กินเนื้อที่อะไร อะไร แม้แต่จุดเดียว และเป็นสิ่งที่มีความเป็นอยู่หรือไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย

เสียงที่ทำให้จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะเมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

พระ พุทธองค์ทรงแสดงโทษของกามแก่ โปตลิยคหบดี ณ นิคมชื่อ อาปณะของชาวอังคุตตราปะ ในแคว้นอังคุตตราปะ เช้าวันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในอาปณนิคม เมื่อเสวยเสร็จแล้ว เสด็จประทับพักผ่อนที่ราวป่าแห่งหนึ่ง ประทับนั่งใต้ต้นไม้ ครั้งนั้น โปตลิยคหบดีถือร่ม สวมรองเท้าเดินเข้าไปในแนวป่านั้นเพื่อพักผ่อนเช่นเดียวกัน พระศาสดาทรงทักทายและทรงเชื้อเชิญให้นั่ง แต่ทรงเรียกเขาว่า คหบดี (ผู้มั่งคั่งหรือผู้ครองเรือน) “คหบดี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ก็ขอเชิญนั่งเถิด” ตรัสอย่างนี้ โปตลิยะไม่พอใจที่เรียกเขาว่า คหบดี พระศาสดาตรัสถึง 3 ครั้ง เขาจึงทูลว่าที่เรียกเขาว่าคหบดีนั้นไม่สมควร เพราะเขาเลิกการงานหมดแล้ว เลิกโวหารหมดแล้ว พระศาสดาตรัสว่า อาการ เพศ และเครื่องหมาย (เช่น การแต่งกาย ร่ม และรองเท้า) ของท่านล้วนเหมือนคหบดีทั้งสิ้น จึงเรียกท่านเช่นนั้น อนึ่งเล่าที่ท่านกล่าวว่าเลิกการงานทั้งปวงแล้ว ตัดโวหารทั้งปวงแล้วนั้นเป็นอย่างไร คหบดีทูลว่า ข้าพเจ้ามอบทรัพย์สินสมบัติทั้งปวงให้ลูกหมดสิ้นแล้ว เลิกว่ากล่าวสั่งสอนเขาโดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่าเลิกการงานและเลิกโวหารหมดแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า การเลิกโวหารของท่านเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการเลิกโวหารของในอริยวินัย (ธรรมเนียมของอริยเจ้า) เป็นอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน คหบดีทูลขอให้ทรงแสดงการเลิกโวหารในอริยวินัย จึงทรงแสดงโดยย่อดังนี้ ๑. เลิกปาณาติบาต ๒. เลิกอทินนาทาน ๓. เลิกพูดเท็จ ๔. เลิกพูดส่อเสียด ๕. เลิกติดใจแม้ในของๆตน (คิทธิโลภะ) ๖. เลิกโกรธเลิกนินทา ๗. เลิกคับแค้นเพราะโกรธ ๘. เลิกดูหมิ่นผู้อื่น เมื่อเลิกได้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ต้องร้อนใจเพราะกิเลสเหล่านั้น การที่จะต้องถูกติเตียนจากวิญญูชนก็ไม่มี ตนเองก็ไม่ต้องติเตียนตนเอง ไม่ต้องไปทุคติเมื่อสิ้นชีพแล้ว นี่คืออานิสงส์แห่งการเลิกปาณาติบาต เป็นต้น เพียงเท่านี้ยังไม่เรียกว่า การเลิกโวหารในวินัยของพระอริยะเสียทีเดียว คหบดีขอให้ทรงแสดงต่อไปว่า อย่างไรเรียกว่าเลิกโวหารอย่างเด็ดขาดในวินัยของพระอริยะ พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นโทษของกามว่า ๑. กามทั้งหลายไม่ทำให้บุคคลอิ่มในกามได้เลย เหมือนกระดูกสัตว์ที่ไม่มีเนื้อติดอยู่ เปื้อนเลือดอยู่เพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้สุนัขตัวที่แทะกระดูกนั้นอิ่มได้ สุนัขนั้นเหนื่อยเปล่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตใจให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลก (คือกาม) (อฏฐิกงกลูปมา กามา) ๒. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่สัตว์แย่งกัน จิกตีกันเพื่อได้เนื้อชิ้นนั้น ถ้าไม่ปล่อยเสียมีหวังถูกตีจนตาย (มํสเปสูปมา กามา) ๓. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงที่คนเดินถือทวนลม ย่อมทำให้ผู้ถือร้อน อาจไหม้มือพอง ถ้าไม่วางเสีย (ติณุกกูปมา กามา) ๔. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกท่วมหัวคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิงอันร้อนแรง (องคารกาสูปมา กามา) ใครตกลงไปย่อมเดือดร้อนถึงตาย ๕. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนสิ่งที่เห็นในฝัน (สุปินกูปมา กามา) ๖. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา (ยาจิตกูปมา กามา) เป็นของใช้ชั่วคราว ไม่นานต้องคืนเจ้าของไป ๗. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดก (รุกขผลูปมา กามา) ย่อมถูกทำลายถึงกับถูกโค่นต้นลงด้วยมือของบุรุษผู้โง่เขลา เห็นต้นไม้มีผลดกแต่ขึ้นต้นไม้ไม่เป็น ต้องการผลของมันจึงโค่นทั้งต้น ชายคนแรกที่ขึ้นกินอยู่บนต้นย่อมตกลงมาพร้อมด้วยการโค่นล้มของต้นไม้ อาจถึงตายหรือเจ็บปางตาย เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลกคือกาม เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ย่อมระลึกชาติได้บ้าง รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายบ้าง ย่อมได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันยอดเยี่ยม หากิเลสมิได้ อย่างนี้แลเรียกว่าเป็นการเลิกโวหารโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ โปตลิยคหบดีเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ทูลสรรเสริญว่า พระพุทธองค์เป็นสมณะที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง และขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิตเราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

พระ พุทธองค์ทรงแสดงโทษของกามแก่ โปตลิยคหบดี ณ นิคมชื่อ อาปณะของชาวอังคุตตราปะ ในแคว้นอังคุตตราปะ เช้าวันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในอาปณนิคม เมื่อเสวยเสร็จแล้ว เสด็จประทับพักผ่อนที่ราวป่าแห่งหนึ่ง ประทับนั่งใต้ต้นไม้ ครั้งนั้น โปตลิยคหบดีถือร่ม สวมรองเท้าเดินเข้าไปในแนวป่านั้นเพื่อพักผ่อนเช่นเดียวกัน พระศาสดาทรงทักทายและทรงเชื้อเชิญให้นั่ง แต่ทรงเรียกเขาว่า คหบดี (ผู้มั่งคั่งหรือผู้ครองเรือน) “คหบดี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ก็ขอเชิญนั่งเถิด” ตรัสอย่างนี้ โปตลิยะไม่พอใจที่เรียกเขาว่า คหบดี พระศาสดาตรัสถึง 3 ครั้ง เขาจึงทูลว่าที่เรียกเขาว่าคหบดีนั้นไม่สมควร เพราะเขาเลิกการงานหมดแล้ว เลิกโวหารหมดแล้ว พระศาสดาตรัสว่า อาการ เพศ และเครื่องหมาย (เช่น การแต่งกาย ร่ม และรองเท้า) ของท่านล้วนเหมือนคหบดีทั้งสิ้น จึงเรียกท่านเช่นนั้น อนึ่งเล่าที่ท่านกล่าวว่าเลิกการงานทั้งปวงแล้ว ตัดโวหารทั้งปวงแล้วนั้นเป็นอย่างไร คหบดีทูลว่า ข้าพเจ้ามอบทรัพย์สินสมบัติทั้งปวงให้ลูกหมดสิ้นแล้ว เลิกว่ากล่าวสั่งสอนเขาโดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่าเลิกการงานและเลิกโวหารหมดแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า การเลิกโวหารของท่านเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการเลิกโวหารของในอริยวินัย (ธรรมเนียมของอริยเจ้า) เป็นอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน คหบดีทูลขอให้ทรงแสดงการเลิกโวหารในอริยวินัย จึงทรงแสดงโดยย่อดังนี้ ๑. เลิกปาณาติบาต ๒. เลิกอทินนาทาน ๓. เลิกพูดเท็จ ๔. เลิกพูดส่อเสียด ๕. เลิกติดใจแม้ในของๆตน (คิทธิโลภะ) ๖. เลิกโกรธเลิกนินทา ๗. เลิกคับแค้นเพราะโกรธ ๘. เลิกดูหมิ่นผู้อื่น เมื่อเลิกได้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ต้องร้อนใจเพราะกิเลสเหล่านั้น การที่จะต้องถูกติเตียนจากวิญญูชนก็ไม่มี ตนเองก็ไม่ต้องติเตียนตนเอง ไม่ต้องไปทุคติเมื่อสิ้นชีพแล้ว นี่คืออานิสงส์แห่งการเลิกปาณาติบาต เป็นต้น เพียงเท่านี้ยังไม่เรียกว่า การเลิกโวหารในวินัยของพระอริยะเสียทีเดียว คหบดีขอให้ทรงแสดงต่อไปว่า อย่างไรเรียกว่าเลิกโวหารอย่างเด็ดขาดในวินัยของพระอริยะ พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นโทษของกามว่า ๑. กามทั้งหลายไม่ทำให้บุคคลอิ่มในกามได้เลย เหมือนกระดูกสัตว์ที่ไม่มีเนื้อติดอยู่ เปื้อนเลือดอยู่เพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้สุนัขตัวที่แทะกระดูกนั้นอิ่มได้ สุนัขนั้นเหนื่อยเปล่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตใจให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลก (คือกาม) (อฏฐิกงกลูปมา กามา) ๒. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่สัตว์แย่งกัน จิกตีกันเพื่อได้เนื้อชิ้นนั้น ถ้าไม่ปล่อยเสียมีหวังถูกตีจนตาย (มํสเปสูปมา กามา) ๓. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงที่คนเดินถือทวนลม ย่อมทำให้ผู้ถือร้อน อาจไหม้มือพอง ถ้าไม่วางเสีย (ติณุกกูปมา กามา) ๔. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกท่วมหัวคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิงอันร้อนแรง (องคารกาสูปมา กามา) ใครตกลงไปย่อมเดือดร้อนถึงตาย ๕. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนสิ่งที่เห็นในฝัน (สุปินกูปมา กามา) ๖. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา (ยาจิตกูปมา กามา) เป็นของใช้ชั่วคราว ไม่นานต้องคืนเจ้าของไป ๗. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดก (รุกขผลูปมา กามา) ย่อมถูกทำลายถึงกับถูกโค่นต้นลงด้วยมือของบุรุษผู้โง่เขลา เห็นต้นไม้มีผลดกแต่ขึ้นต้นไม้ไม่เป็น ต้องการผลของมันจึงโค่นทั้งต้น ชายคนแรกที่ขึ้นกินอยู่บนต้นย่อมตกลงมาพร้อมด้วยการโค่นล้มของต้นไม้ อาจถึงตายหรือเจ็บปางตาย เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลกคือกาม เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ย่อมระลึกชาติได้บ้าง รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายบ้าง ย่อมได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันยอดเยี่ยม หากิเลสมิได้ อย่างนี้แลเรียกว่าเป็นการเลิกโวหารโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ โปตลิยคหบดีเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ทูลสรรเสริญว่า พระพุทธองค์เป็นสมณะที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง และขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิตเราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

พุทธวจนบรรยาย ลมหายใจไปวิมุตติ อานิสงส์ของสมถะ(สมาธิ)นั้นมี ๕ ประการ คือ ๑. ทำให้เข้าสมาบัติได้ เพื่อเป็นสุขในภพปัจจุบัน ๒. ทำให้เป็นบาทวิปัสสนา ๓. ทำให้เกิดโลกียอภิญญา ๕ ประการ ๔. ทำให้เกิดเป็นพรหม ๕. ทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้ อานิสงส์ของวิปัสสนา ๑. มีสติมั่นคงไม่ตายด้วยความหลง ๒. ได้เกิดอยู่ในสุคติภูมิ (คือมนุษย์สวรรค์) ๓. ถ้าอุปนิสัยยังอ่อนอยู่ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดขันธสันดานไ­ปในภพหน้า ๔. ถ้ามีอุปนิสัยและอินทรีย์แก่กล้­า ก็จะทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยปัญญ­าภายใน ๗ วันหรือ ๗ เดือน หรือ ๗ ปี พระอรหันต์หรือพระอนาคามี พึงหวังได้

มงคลสูตรชีวิตที่มีมงคลสามสิบแปดประการหันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะณามะเส มงคลชีวิต ๓๘ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ในสมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับมาว่า ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อนาถะปิณฑิกะ อาราเม พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ในพระวิหารชื่อ เชตะวนาราม ของ อนาถปิณฑิกเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา ครั้งนั้นแล เทพยดา องค์หนึ่ง อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา มีรัศมีงามยิ่ง เมื่อปฐมยาม ราตรีผ่านไปแล้ว เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา ยังพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่ว เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ (เทพยดา) ได้เข้าไปพระผู้มีพระภาคเจ้า จนถึงที่ประทับ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่อันควร ส่วนหนึ่ง เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ว่า พะหู เทวา มะนุสสา จะ เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดถึงมงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงตรัสบอก มงคลอันสูงสุด ด้วยเถิด .... พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกว่า ( มงคลข้อที่ ๑ ) อะเสวะนา จะ พาลานัง การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๒ ) ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๓ ) ปูชา จะ ปูชะนียานัง การบูชา คนที่ควรบูชา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๔ ) ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ การอยู่ในประเทศอันควร ( มงคลข้อที่ ๕ ) ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้วในกาลก่อน ( มงคลข้อที่ ๖ ) อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ การตั้งตนไว้แล้ว โดยชอบ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๗ และข้อที่ ๘ ) พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ ความเป็นผู้เรียนรู้มาก การมีศิลปะวิทยา ( มงคลข้อที่ ๙ ) วินะโย จะ สุสิกขิโต ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี ( มงคลข้อที่ ๑๐ ) สุภาสิตา จะ ยา วาจา การพูดแต่วาจาที่ดี เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๑ ) มาตาปิตุอุปัฏฐานัง การบำรุงบิดามารดา ( มงคลข้อที่ ๑๒ และ ๑๓ ) ปุตตะทารัสสะ สังคะโห การสงเคราะห์บุตร การสงเคราะห์ภรรยา ( มงคลข้อที่ ๑๔ ) อะนากุลา จะ กัมมันตา การเป็นผู้ทำการงาน ไม่คั่งค้าง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๕ และ ๑๖ ) ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ การให้ทาน การประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบทสิบ ( มงคลข้อที่ ๑๗ ) ญาตะกานัญจะ สังคะโห การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๑๘ ) อะนะวัชชานิ กัมมานิ การทำงานที่ปราศจากโทษ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๙ ) อาระตี วิระตี ปาปา การงดเ้ว้นจากความชั่ว ( มงคลข้อที่ ๒๐ ) มัชชะปานา จะ สัญญะโม การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา ( มงคลข้อที่ ๒๑ ) อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๒๒ และ ๒๓ ) คาระโว จะ นิวาโต จะ การมีสัมมาคารวะ การอ่อนน้อมถ่อมตน ( มงคลข้อที ๒๔ และ ๒๕ ) สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา มีความสันโดด มีความกตัญญู ( มงคลข้อที่ ๒๖ ) กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง การฟังธรรมตามกาลเวลา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๒๗ และ ๒๘ ) ขันตี จะ โสวะจัสสะตา มีความอดทน ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ( มงคลข้อที่ ๒๙ ) สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง การได้พบเห็นสมณะ คือผู้สงบระงับ ( มงคลข้อที่ ๓๐ ) กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา การสนทนาธรรม ตามกาลเวลา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๓๑ และ ๓๒ ) ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์ ( มงคลข้อที่ ๓๓ ) อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง การเห็นอริยะสัจ ทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๓๔ ) นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๓๕ ) ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ จิตไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งแปด ( มงคลข้อที่ ๓๖ – ๓๗ และ ๓๘ ) อะโสกัง วิระชัง เขมัง จิตไม่เศร้าโศก จิตหมดธุลีคือกิเลส จิตถึงความเกษม คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ห้าข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิบัติมงคลธรรม เครื่องให้ถึงความเจริญ เช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงสุขสวัสดี ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะณามะเส มงคลชีวิต ๓๘ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ในสมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับมาว่า ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อนาถะปิณฑิกะ อาราเม พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ในพระวิหารชื่อ เชตะวนาราม ของ อนาถปิณฑิกเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา ครั้งนั้นแล เทพยดา องค์หนึ่ง อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา มีรัศมีงามยิ่ง เมื่อปฐมยาม ราตรีผ่านไปแล้ว เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา ยังพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่ว เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ (เทพยดา) ได้เข้าไปพระผู้มีพระภาคเจ้า จนถึงที่ประทับ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่อันควร ส่วนหนึ่ง เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ว่า พะหู เทวา มะนุสสา จะ เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดถึงมงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงตรัสบอก มงคลอันสูงสุด ด้วยเถิด .... พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกว่า ( มงคลข้อที่ ๑ ) อะเสวะนา จะ พาลานัง การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๒ ) ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๓ ) ปูชา จะ ปูชะนียานัง การบูชา คนที่ควรบูชา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๔ ) ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ การอยู่ในประเทศอันควร ( มงคลข้อที่ ๕ ) ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้วในกาลก่อน ( มงคลข้อที่ ๖ ) อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ การตั้งตนไว้แล้ว โดยชอบ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๗ และข้อที่ ๘ ) พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ ความเป็นผู้เรียนรู้มาก การมีศิลปะวิทยา ( มงคลข้อที่ ๙ ) วินะโย จะ สุสิกขิโต ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี ( มงคลข้อที่ ๑๐ ) สุภาสิตา จะ ยา วาจา การพูดแต่วาจาที่ดี เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๑ ) มาตาปิตุอุปัฏฐานัง การบำรุงบิดามารดา ( มงคลข้อที่ ๑๒ และ ๑๓ ) ปุตตะทารัสสะ สังคะโห การสงเคราะห์บุตร การสงเคราะห์ภรรยา ( มงคลข้อที่ ๑๔ ) อะนากุลา จะ กัมมันตา การเป็นผู้ทำการงาน ไม่คั่งค้าง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๕ และ ๑๖ ) ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ การให้ทาน การประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบทสิบ ( มงคลข้อที่ ๑๗ ) ญาตะกานัญจะ สังคะโห การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๑๘ ) อะนะวัชชานิ กัมมานิ การทำงานที่ปราศจากโทษ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๑๙ ) อาระตี วิระตี ปาปา การงดเ้ว้นจากความชั่ว ( มงคลข้อที่ ๒๐ ) มัชชะปานา จะ สัญญะโม การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา ( มงคลข้อที่ ๒๑ ) อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สามข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๒๒ และ ๒๓ ) คาระโว จะ นิวาโต จะ การมีสัมมาคารวะ การอ่อนน้อมถ่อมตน ( มงคลข้อที ๒๔ และ ๒๕ ) สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา มีความสันโดด มีความกตัญญู ( มงคลข้อที่ ๒๖ ) กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง การฟังธรรมตามกาลเวลา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๒๗ และ ๒๘ ) ขันตี จะ โสวะจัสสะตา มีความอดทน ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ( มงคลข้อที่ ๒๙ ) สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง การได้พบเห็นสมณะ คือผู้สงบระงับ ( มงคลข้อที่ ๓๐ ) กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา การสนทนาธรรม ตามกาลเวลา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๓๑ และ ๓๒ ) ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์ ( มงคลข้อที่ ๓๓ ) อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง การเห็นอริยะสัจ ทั้งหลาย ( มงคลข้อที่ ๓๔ ) นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ( มงคลข้อที่ ๓๕ ) ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ จิตไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งแปด ( มงคลข้อที่ ๓๖ – ๓๗ และ ๓๘ ) อะโสกัง วิระชัง เขมัง จิตไม่เศร้าโศก จิตหมดธุลีคือกิเลส จิตถึงความเกษม คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ห้าข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิบัติมงคลธรรม เครื่องให้ถึงความเจริญ เช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงสุขสวัสดี ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ

วิธีดูจิตดูกายดูใจ สังเกตให้ดีนะ มีแต่คำว่า 'รู้' เต็มไปหมดเลยในสติปัฏฐาน

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีดับทุกข์ทางใจด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีดับทุกข์ทางใจด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีพาจิตกลับบ้าน จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อมหรือเปิดเผยมันได้ความตรัสรู้คือความไม่มี... จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

หลวงปู่ดุลย์::ตอบปัญหาจิตภาวนา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

หลวงปู่ดุลย์::ตอบปัญหาจิตภาวนา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบ จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝัน จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

มรรควิธีที่ง่าย จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเรา จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2558/2015 (ปีมะเมีย - ปีมะแม) คริสตศักราช 2015 , มหาศักราช 1937 , รัตนโกสินทร์ศก 233 - 234 ฉศก จุลศักราช 1376 ถึง สัปตศก จุลศักราช 1377 , ปกติสุรทิน อธิกมาส ปกติวาร ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2558 วันอาทิตย์ที่ 4มกราคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนยี่(๒)ปีมะเมียวันจันทร์ที่ 12มกราคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนยี่(๒)ปีมะเมียวันจันทร์ที่ 19มกราคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนยี่(๒)ปีมะเมียวันอังคารที่ 27มกราคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนสาม(๓)ปีมะเมีย ปฏิทินวันพระ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 วันอังคารที่ 3กุมภาพันธ์2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนสาม(๓)ปีมะเมียวันพุธที่ 11กุมภาพันธ์2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนสาม(๓)ปีมะเมียวันอังคารที่ 17กุมภาพันธ์2558เป็นวันแรม๑๔ค่ำ เดือนสาม(๓)ปีมะเมียวันพุธที่ 25กุมภาพันธ์2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนสี่(๔)ปีมะเมีย ปฏิทินวันพระ เดือนมีนาคม 2558 วันพุธที่ 4มีนาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนสี่(๔)ปีมะเมียวันมาฆบูชาวันพฤหัสบดีที่ 12มีนาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนสี่(๔)ปีมะเมียวันพฤหัสบดีที่ 19มีนาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนสี่(๔)ปีมะเมียวันศุกร์ที่ 27มีนาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนห้า(๕)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนเมษายน 2558 วันศุกร์ที่ 3เมษายน2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนห้า(๕)ปีมะแมวันเสาร์ที่ 11เมษายน2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนห้า(๕)ปีมะแมวันศุกร์ที่ 17เมษายน2558เป็นวันแรม๑๔ค่ำ เดือนห้า(๕)ปีมะแมวันเสาร์ที่ 25เมษายน2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนหก(๖)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนพฤษภาคม 2558 วันเสาร์ที่ 2พฤษภาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนหก(๖)ปีมะแมวันอาทิตย์ที่ 10พฤษภาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนหก(๖)ปีมะแมวันอาทิตย์ที่ 17พฤษภาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนหก(๖)ปีมะแมวันจันทร์ที่ 25พฤษภาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนเจ็ด(๗)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนมิถุนายน 2558 วันจันทร์ที่ 1มิถุนายน2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนเจ็ด(๗)ปีมะแมวันวิสาขบูชาวันอังคารที่ 9มิถุนายน2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนเจ็ด(๗)ปีมะแมวันอัฏฐมีบูชาวันจันทร์ที่ 15มิถุนายน2558เป็นวันแรม๑๔ค่ำ เดือนเจ็ด(๗)ปีมะแมวันอังคารที่ 23มิถุนายน2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนแปด(๘)ปีมะแมวันอังคารที่ 30มิถุนายน2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนแปด(๘)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนกรกฎาคม 2558 วันพุธที่ 8กรกฎาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนแปด(๘)ปีมะแมวันพุธที่ 15กรกฎาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนแปด(๘)ปีมะแมวันพฤหัสบดีที่ 23กรกฎาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)ปีมะแมวันพฤหัสบดีที่ 30กรกฎาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)ปีมะแมวันอาสาฬหบูชาวันศุกร์ที่ 31กรกฎาคม2558เป็นวันแรม๑ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)ปีมะแมวันเข้าพรรษา ปฏิทินวันพระ เดือนสิงหาคม 2558 วันศุกร์ที่ 7สิงหาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)ปีมะแมวันศุกร์ที่ 14สิงหาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)ปีมะแมวันเสาร์ที่ 22สิงหาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนเก้า(๙)ปีมะแมวันเสาร์ที่ 29สิงหาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนเก้า(๙)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนกันยายน 2558 วันอาทิตย์ที่ 6กันยายน2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนเก้า(๙)ปีมะแมวันเสาร์ที่ 12กันยายน2558เป็นวันแรม๑๔ค่ำ เดือนเก้า(๙)ปีมะแมวันอาทิตย์ที่ 20กันยายน2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนสิบ(๑๐)ปีมะแมวันอาทิตย์ที่ 27กันยายน2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนสิบ(๑๐)ปีมะแม ปฏิทินวันพระ เดือนตุลาคม 2558 วันจันทร์ที่ 5ตุลาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนสิบ(๑๐)ปีมะแมวันจันทร์ที่ 12ตุลาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนสิบ(๑๐)ปีมะแมวันอังคารที่ 20ตุลาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ปีมะแมวันอังคารที่ 27ตุลาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ปีมะแมวันออกพรรษา ปฏิทินวันพระ เดือนพฤศจิกายน 2558 วันพุธที่ 4พฤศจิกายน2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ปีมะแมวันอังคารที่ 10พฤศจิกายน2558เป็นวันแรม๑๔ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ปีมะแมวันพุธที่ 18พฤศจิกายน2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒)ปีมะแมวันพุธที่ 25พฤศจิกายน2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒)ปีมะแมวันลอยกระทง ปฏิทินวันพระ เดือนธันวาคม 2558 วันพฤหัสบดีที่ 3ธันวาคม2558เป็นวันแรม๘ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒)ปีมะแมวันพฤหัสบดีที่ 10ธันวาคม2558เป็นวันแรม๑๕ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒)ปีมะแมวันรัฐธรรมนูญวันศุกร์ที่ 18ธันวาคม2558เป็นวันขึ้น๘ค่ำ เดือนอ้าย(๑)ปีมะแมวันศุกร์ที่ 25ธันวาคม2558เป็นวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือนอ้าย(๑)ปีมะแม วันพระ 2558 วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้ การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ 3 ประการคือ 1. การเตรียมกาย ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น 2. การเตรียมใจ ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น 3. การเตรียมสิ่งของ ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ 1. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ) 2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ 3. การฟังธรรม 4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาเรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

หลวงปู่สิม::ตายทุกวัน เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ

ที่ถูกก็คือจิตเห็นจิตนั่นเอง เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ

การละวิภาวะตัณหาเข้าสู่อนุปาทาปรินิพพาน เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้าต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว “ศีล” การบริกรรม “พุทโธ” เปล่า ๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียรทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อ ๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของ พุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าสึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธา ตนเองเลย เมื่อจิตค่อย ๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเองเพราะคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อย ๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้น ๆ … .. . “บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครบริกรรมพุทโธ” 2. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่ออารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไปมาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอ ๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบ ๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กริยาจิตใด ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ เข้าใจกริยาหรือพฤติแห่จิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) … .. . “ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ” 3. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) … .. . “ระวังจิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ 6 ” 4. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ … .. . “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด” 5. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่ายังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติสังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนสามารถเข้าใจพฤติของจิตได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนั่นเอง ไปหาปรุง หาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ … .. . “คำว่า แยกถอดรูป นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง “ 6. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่าง ๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใด ๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น … .. . “สมุจเฉทธรรมทั้งปวง” 7. ใช้หนี้–ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด” … .. . 8. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ปัจฉิมอรหันต์สาวกคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาและทุกข์ทั้งปวงคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีพาจิตกลับบ้านคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

โอวาทพระอานนท์เถระคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

มรรควิธีที่ง่าย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ (สวด) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ ! ก็เธอสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ ได้หรือ ?” ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ! เพราะฉะนั้นแล เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใดเธอจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และจักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อเธอนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เธอนั้นจักไม่กระทำกรรมอันเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป” ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา และทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ และ โมหะเสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีคำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สติและการฝึกสติ

สติและการฝึกสติ

Coolest Street Artist

Amazing Street Performer Does Something Unbelievable

วิธีแก้กรรมในพระพุทธศาสนาจิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีแก้กรรมในพระพุทธศาสนาจิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีออกจากสังสารวัฎวิธีทำลายกิเลสอวิชชาทำลายตัณหาอุปาทานจิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

วิธีน้อมนำจิตเข้าสู่พระนิพพานตามพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด



เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้วจักมีต่อไปสังขารจักปราศจากไปจักคร่ำครวญไปทำ...จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด



พระเจ้าปุกกุสาติจิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด



วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

การละวิภาวะตัณหาเข้าสู่อนุปาทาปรินิพพาน จิต คือ พุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง ‘จิตหนึ่ง’ นอกจากจิตหนึ่งแล้วไม่ได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่สิ่งของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีการตั้งอยู่ หรือไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ หรือแม้การเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นว่าตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้มันเป็นเหมือนกับของว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำสิ่งนี้เท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามถึงสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง พุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่ง ๆ นี้ในเมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ เมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเลยก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี แล้วเราไปยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ ไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ‘ทาง’ ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างและปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตของเราปรุงแต่งคิดฝันไปต่าง ๆ นั้นเท่ากับเราละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะไปเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังกล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเพียงแต่ ‘ตื่น’ และ ‘ลืมตา’ ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ ‘จิต’ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและ กัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราเป็นเพียงนักศึกษาเรื่อง ‘ทาง’ ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ ‘จิต’ นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเราจะยังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนี้ โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ ‘จิต’ นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมาย ความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว ‘พฤติของจิต’ ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิตก็คือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอกและแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งนั้นย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหน ๆ แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือว่าไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือเป็นกำเนิด ซึ่งไม่ได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น มันเป็นของว่างเปล่า แต่ละมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมา ไม่มีอาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก จะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น และเราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ ‘สัมมาสัมโพธิ’ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญาก็คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำคือจิตและวัตถุ เป็นของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง และเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกของความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธะทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันจะเป็นสิ่งซึ่งจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาล เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่าง ๆ ตลอดดวงดาวอันนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมีรูปกับนามเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและเปลี่ยนแปลง เพราะมองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดงเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วก็เข้ามาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณู ซึ่ง เป็นสุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างคั่นระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้เกิด กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณจนปัจจุบันชาตินี้ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วที่พวกสัตว์ติดอยู่ในสุขุมรูป ๕ กอง ตลอดเพศผู้เมีย เป็นสุขุมรูปที่ติดอยู่ใน ๕ กองนั้น ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็นรูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ในข้างใน เรียกว่า ‘รูปวิญญาณ’ หรือจะเรียกว่า ‘รูปถอด’ ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามว่าง ภาวะคั่นรูปหยาบนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตอยู่ คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ๑ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ๑ เรื่องการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับติดอยู่ในสุขุมรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า ‘จิต’ จึงมี ‘สำนักงานของจิต’ ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมเป็นที่ทำงานของจิตกลาง และก็ติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น ‘จิต’ กับ ‘วิญญาณ’ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นตัวรู้นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นชีวิต...รูปสุขุม๒ รูปที่ถอดมาจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้เมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ ได้เป็นเหตุเกิดสืบต่อภพชาติต่อไป เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยชีวิตแท้รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับสืบต่อคอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป ๒ ส่วนที่เป็นจุดไข่ปลา คือ ส่วนที่ไม่สามารถถอดความจากไฟล์เสียงได้ กาย ใจ แล้วจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอดหรือวิญญาณก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุมรูปวิญญาณซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระองค์สร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบ โดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็ทรงเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้าง ได้พากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดมาจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสมันว่าเป็นทุกข์ และกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้นคือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ในชีวิตและร่างกายนั้นได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์และสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น ๑ เป็นส่วนที่มีอยู่ในต้นฉบับเดิมจากการถอดเทปครั้งแรก โดย ดร. ดาราวรรณ เด่นอุดม เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๒๖ แต่ข้อความส่วนนี้ในไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับในการถอดความครั้งนี้ขาดหายไป พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นใน อันจะส่งผลให้ก่อเกิดวิภวตัณหาได้แล้วชั้นหนึ่งเสียก่อน จึงได้เลื่อนขึ้นสู่ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นคือลักษณาการแห่งชั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีอยู่ทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับเวทนาขันธ์ อันเป็นจิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่มีจิตส่วนใน คือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอยู่ตรงนี้ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันเป็นปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ถูกภาวะอื่นใดครอบงำ เป็นภาวะจงใจ ไม่ถูกภาวะใดครอบคลุมอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใด ๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง ก็คือก้อนวัตถุหนึ่งนั้นเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยตรง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

มหาสุญญตาสูตร จิตคือพุทธะ>> พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก>> ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด>> จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้>> จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย>> เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ >> สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน>> ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว>> จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น>> การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย>> จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น>> ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ>> เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด>> เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย>> จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง>> หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว>> จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด>> ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง>> จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก>> จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา>> ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย>> จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่>> ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น>> มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด>> จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้>> สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา>> ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง>> สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร>> โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด>> สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้>> เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้>> จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม>> ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต>> ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต>> เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม>> สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น>> เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ>> ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย>> ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ>> เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย>> ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน>> เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน>> ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์>> นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น>> พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ>> เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น>> นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์>> เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง>> นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย>>

มหาสุญญตาสูตร จิตคือพุทธะ>> พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก>> ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด>> จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้>> จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย>> เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ >> สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน>> ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว>> จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น>> การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย>> จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น>> ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ>> เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด>> เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย>> จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง>> หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว>> จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด>> ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง>> จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก>> จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา>> ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย>> จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่>> ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น>> มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด>> จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้>> สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา>> ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง>> สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร>> โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด>> สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้>> เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้>> จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม>> ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต>> ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต>> เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม>> สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น>> เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ>> ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย>> ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ>> เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย>> ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน>> เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน>> ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์>> นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น>> พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ>> เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น>> นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์>> เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง>> นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย>>

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาจิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาจิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

วิธีพาจิตกลับบ้านจิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุจิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

การให้ทานอย่างสุดท้ายสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้จัมปานคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว กะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟัง ธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาใน สำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสก ชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ข้างหนึ่ง ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี และทาน เช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทาน เช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนใน โลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิต ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้ เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่อง ลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกร สารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทาน เห็นปานนี้หรือ ฯ สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิต ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่มีหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทาน เห็นปานนี้หรือ ฯ สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มี จิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไป แล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทาน นั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้น กรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ ความเป็นอย่างนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วย คิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะ ไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้น ฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา จักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิด ความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็น ใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อ เราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็น เครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช- *ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก 

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องเรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า กาล๑ล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัย๒ละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

การเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

วิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูจงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ … .. . “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด”

มีสติรู้กายรู้ใจในขณะปัจจุบันด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง....จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ … .. . “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด”

ที่ถูกก็คือจิตเห็นจิตนั่นเองจิตคือพุทธะ>> พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก>> ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด>> จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้>> จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย>> เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ >> สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน>> ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว>> จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น>> การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย>> จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น>> ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ>> เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด>> เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย>> จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง>> หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว>> จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด>> ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง>> จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก>> จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา>> ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย>> จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่>> ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น>> มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด>> จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้>> สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา>> ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง>> สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร>> โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด>> สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้>> เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้>> จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม>> ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต>> ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต>> เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม>> สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น>> เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ>> ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย>> ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ>> เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย>> ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน>> เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน>> ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์>> นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น>> พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ>> เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น>> นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์>> เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง>> นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย>>

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะวิธีเจริญจิตภาวนาfficeffice" />>> วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว>> รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม >> เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ>> จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป>> ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร >> ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป>> ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต>> พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง>> ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว>> เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้>> ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที>> เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง>> ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ>> เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" >> การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป>> แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน >> ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ>> เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย>> เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย>> เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ>> บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ>> ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)>> ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ>> ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) >> ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖>> ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ>> คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด>> ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ >> คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง>> ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น >> เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง">> ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด">> ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) >> เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน >> เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร>> เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน" >> โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น >> คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ >> ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย >> การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้>> อเหตุกจิต ๓ ประการ>> ๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้>> ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้>> หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้>> จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้>> ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้>> กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้>> วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอก ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้>> การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)>> ๒. มโนทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้>> ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น>> ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์>> ๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี>> สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้า และในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม>> อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง >> อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง>> จิตคือพุทธะ>> พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก>> ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด>> จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้>> จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย>> เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ >> สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน>> ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว>> จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น>> การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย>> จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น>> ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ>> เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด>> เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย>> จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง>> หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว>> จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด>> ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง>> จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก>> จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา>> ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย>> จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย>> ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่>> ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น>> มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด>> จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้>> สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา>> ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง>> สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร>> โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด>> สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้>> เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้>> จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม>> ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต>> ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต>> เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม>> สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น>> เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ>> ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย>> ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ>> เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย>> ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน>> เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน>> ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์>> นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น>> พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ>> เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น>> นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์>> เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง>> นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย>>

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

เพลงแสงทองแสงธรรม สมยศ ทัศนพันธ์อรุณทาบทอง ผ่องฟ้าทั่วพสุธา อบอุ่นไอฟ้าเคลียคลอ เรื่อเรืองดูงามอร่ามจริงหนอ มวลไม้ชูช่อ กิ่งก็ล้วนต่างสล้างตา ..ดอกทานตะวันเจ้าเอ๋ย รุ่งเช้าเจ้าเงย ดอกงามขึ้นเชยอุษา ..โลกพลันพลิกตื่น จากห้วงนิทรา แจ่มใสเริงร่า เมื่อคราอรุณหมุนอุทัย ..ทั่ววัดวาอาราม ทั่วเขตนิคาม เหลืองงามยามมองใกล้ไกล ..สีจีวรสงฆ์อันสดใส ออกโปรดสัตว์ไป ให้ชนพ้นบาปตามเคย ..อรุณจรุงรุ่งแล้ว ทั่วแคว้นเพริดแพรว สู่วันใหม่แล้วเพื่อนเอ๋ย ตื่นมาเสียจากกิเลสนั้นเลย มืดมิดเหลือเอ่ย ออกพาชมเชยแสงแห่งบุญ ..ทั่ววัดวาอาราม ทั่วเขตนิคาม เหลืองงามยามมองใกล้ไกล ..สีจีวรสงฆ์อันสดใส ออกโปรดสัตว์ไป ให้ชนพ้นบาปตามเคย ..อรุณจรุงรุ่งแล้ว ทั่วแคว้นเพริดแพรว สู่วันใหม่แล้วเพื่อนเอย ตื่นมาเสียจากกิเลสนั้นเลย มืดมิดเหลือเอ่ย ออกพาชมเชยแสงแห่งบุญ..

คอยก่อนมนุษยธรรม - สมยศ ทัศนพันธ์ เย็นย่ำยามสนธยา องค์แห่งทิวา ปลีกดวงอำลาจะลับโลก รอนๆแฝงอาวรณ์ ริ้วรอยวิโยค เหมือนบ่วงห่วงโลก โศกอ้างว้างอยู่ห่างจากตัว ..ความมืดสลัวมัวเศร้า พลันทาบสีเทา บดบังเบ่งเงาไปพร้อมทั่ว ดูไปเหมือนภูตพราย ของความร้ายชั่ว เร้นซ่อนหลบตัว ต่อยามฟ้ามัวจึงออกปะปน ..ดังกิเลสแห่งปวงทั้งหลาย เกลียดโกรธโลภโมโทสา แฝงบังตามวลปุถุชน ..ลืมว่าบุญคุณโทษของตน นิจเอ๋ยปวงชน เมื่อไหร่จะพ้นไปเสียที ..คอยก่อนมนุษยธรรม จงอยู่ชักนำ ปลดบ่วงห่วงกรรมมนุษย์นี่ จงเรืองแสงคุณธรรม ค้ำจุนน้องพี่ หันหน้าอารีย์ มุ่งประพฤติดี โดยทั่วเถิดเอย ..ดังกิเลสแห่งปวงตัณหา เกลียดโกรธโลภโมโทสา แฝงบังตามวลปุถุชน ..ลืมบาปบุญคุณโทษของตน นิจเอ๋ยปวงชน เมื่อไหร่จะพ้นไปเสียที ..คอยก่อนมนุษยธรรม จงอยู่ชักนำ ปลดบ่วงห่วงกรรมมนุษย์นี่ จงเรืองแสงคุณธรรม ค้ำจุนน้องพี่ หันหน้าอารีย์ มุ่งประพฤติดี โดยทั่วเถิดเอย

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักทีเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด



วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทันเพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่นเพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โอวาทพระอานนท์ 3พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม" พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ความเจ็บความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ "ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน "ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้ "ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘" "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง" พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใครๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้

โอวาทพระอานนท์ 3พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม"

โอวาทพระอานนท์ แลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย "น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น "โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป "โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ? "น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ "น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม "โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร "น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้" "ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่" "ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา" "ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก" "ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล" พระอานนท์พูดจบ คอยจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถาของท่านได้ผลภิกษุณีค่อยๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออกคลานมาหมอบลงแทบเท้าของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออก นางเสียใจอย่างสุดซึ้ง อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา ครู่หนึ่งพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง! หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา! พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระอริยะแท้ "ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้องเบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้ "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านแม้จะเป็นความทรมานสักป่านใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชา ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูนหม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิดชาติตระกูลและความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์ "ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์! กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย" นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบางเสมือนหยาดน้ำค้างถูกสลัดลงจากใบหญ้า เมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว "น้องหญิง! เรื่องชาติเรื่องตระกูลนั้นอย่านำมาปรารมภ์เลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลานานแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์ ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระศาสดาทรงสอนอยู่เสมอ เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่อมจะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ พระศาสดาตรัสว่าการเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความทรมานอื่นๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารอาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ต้องตกไปในอบายเป็นการถอยหลังไปอีกมาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย" "น้องหญิง! เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์,แพศย์ หรือสูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้างสรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใครๆ ไม่อาจต่อสู่ด้วยวิธีใดๆ ได้" "นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวภัยและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือนไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกันอยู่ทำไมว่า คนนั้นเป็นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่วก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด" "เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถสนองความรักของน้องหญิงได้นั้น มิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของเธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก" "ภคินีเอย! อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีกมันก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัยนั่นแล เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบความสุขความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า" พระอานนท์ละภิกษุนูปัสสยะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัดเลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ ริมสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมาเสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั้นสักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและสลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะโทสะและโมหะยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์! จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแต่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย" พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์แล้วตรัสให้กำลังใจว่า "อานนท์! เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่งเธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก" แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์นั้น จึงตรัสว่า "อานนท์! เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไปเลย" พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม" พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ความเจ็บความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ "ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน "ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้ "ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘" "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง" พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใครๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้

โอวาทพระอานนท์เถระ แลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย "น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น "โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป "โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ? "น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ "น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม "โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร "น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้" "ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่" "ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา" "ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก" "ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล" พระอานนท์พูดจบ คอยจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถาของท่านได้ผลภิกษุณีค่อยๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออกคลานมาหมอบลงแทบเท้าของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออก นางเสียใจอย่างสุดซึ้ง อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา ครู่หนึ่งพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง! หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา! พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระอริยะแท้ "ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้องเบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้ "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านแม้จะเป็นความทรมานสักป่านใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชา ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูนหม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิดชาติตระกูลและความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์ "ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์! กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย" นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบางเสมือนหยาดน้ำค้างถูกสลัดลงจากใบหญ้า เมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว "น้องหญิง! เรื่องชาติเรื่องตระกูลนั้นอย่านำมาปรารมภ์เลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลานานแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์ ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระศาสดาทรงสอนอยู่เสมอ เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่อมจะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ พระศาสดาตรัสว่าการเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความทรมานอื่นๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารอาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ต้องตกไปในอบายเป็นการถอยหลังไปอีกมาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย" "น้องหญิง! เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์,แพศย์ หรือสูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้างสรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใครๆ ไม่อาจต่อสู่ด้วยวิธีใดๆ ได้" "นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวภัยและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือนไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกันอยู่ทำไมว่า คนนั้นเป็นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่วก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด" "เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถสนองความรักของน้องหญิงได้นั้น มิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของเธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก" "ภคินีเอย! อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีกมันก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัยนั่นแล เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบความสุขความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า" พระอานนท์ละภิกษุนูปัสสยะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัดเลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ ริมสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมาเสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั้นสักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและสลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะโทสะและโมหะยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์! จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแต่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย" พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์แล้วตรัสให้กำลังใจว่า "อานนท์! เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่งเธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก" แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์นั้น จึงตรัสว่า "อานนท์! เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไปเลย" พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม" พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ความเจ็บความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ "ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน "ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้ "ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘" "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง" พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใครๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้

โอวาทพระอานนท์เถระ เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษนั้นคือการทนต่อความเจ็บปวด 

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

ผู้รู้อยู่ตรงไหนจิตก็ตั้งอยู่ตรงนั้นเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

การควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าอย่างง่ายแนะนำการต่อ บอร์ด MC3PHAC กับ MITSUBISHI POWER MODULE PS21244 ครับ...ราคา บอร์ด MC3PHAC 1000 บาท PS21244 ราคา 400 บาท...ชุดนี้ใช้ได้ ไม่เกิน หนึ่งแรงม้าครับ... สร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

พระอานนท์ พระพุทธอนุชา บทนำเรื่องท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริง สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด หวั่น มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่ง

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล..... เพลงธรรมะสมัยพุทธกาล 3 แนวทางการบรรลุธรรม ดังที่ปรากฎในพระคัมภีร์ คือ 1.ได้ฟัง 2.ได้คิด 3.ได้ปฏิบัติ ในอรรถกถามังคลัตถทีปนี กล่าวไว้ว่า"การได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์" ที่อัศจรรย์ คือ "การฟังเพลงหรือเสียงขับ ถ้าผู้ฟังได้พิจารณาไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้" ตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะที่ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วได้ยินเสียงพิณจากพระอินทร์ เกิดสติปัญญา จนเป็นเหตุพาไปสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ถ้าจะพูดเป็นภาษาปัจจุบัน ก็ว่าพระพุทธเจ้าฟังเพลง Folk Song(ซอสามสาย) พระอินทราธิราชทรงทราบวาระจิตของพระโพธิสัตว์ จึงจัดพิณทิพย์ 3 สาย ดีดเป็นเพลงร้องบรรเลงถวาย พระโพธิสัตว์สดับแจ่มชัดสบายคลายกังขา....มัชฌิมาปฏิปทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ทางนี้แหละถูกทาง ปฏิบัติพอดีจึงดี จึงงดงาม หลังจากนั้นอีกไม่นาน พระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้ เป็นพระอนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากนั้นไม่นาน จึงเกิดชุมชน"ทวนกระแส"ขึ้นทั่วทั้งโลกอีกครั้งหนึ่ง เพลงพาไปบรรลุธรรม พระเจ้าพิมพิสารอยากให้พระนางเขมาพระมเหสีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงของชีวิต...... แต่เพราะพระนางเขมาเป็นผู้มีความงดงามเลอเลิศ จึงติดที่พระพุทธเจ้าเทศนาว่ารูปกายของคนไม่สวยไม่งาม พระนางเขมาจึงไม่อยากไปฟังเทศนา.... พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงให้คนแต่งเพลงบรรยายความงามของวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า..... แล้วทรงให้คนขับร้องให้พระนางเขมาฟังทุกวัน จนพระนางเขมาตัดสินใจเสด็จไปวัดเวฬุวัน เพราะเพลงไพเราะจับใจเหลือเกิน จึงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันใด!!!..... บทเพลง 4 บรรทัด บรรลุพระอรหันต์ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · Sompong Tungmepol 1 วินาทีที่ผ่านมา พระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... อ่านเพิ่มเติม (122 บรรทัด) ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+1 สัปดาห์ที่ผ่านมา สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล..... เพลงธรรมะสมัยพุทธกาล 3 แนวทางการบรรลุธรรม ดังที่ปรากฎในพระคัมภีร์ คือ 1.ได้ฟัง 2.ได้คิด 3.ได้ปฏิบัติ ในอรรถกถามังคลัตถทีปนี กล่าวไว้ว่า"การได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์" ที่อัศจรรย์ คือ "การฟังเพลงหรือเสียงขับ ถ้าผู้ฟังได้พิจารณาไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้" ตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะที่ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วได้ยินเสียงพิณจากพระอินทร์ เกิดสติปัญญา จนเป็นเหตุพาไปสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ถ้าจะพูดเป็นภาษาปัจจุบัน ก็ว่าพระพุทธเจ้าฟังเพลง Folk Song(ซอสามสาย) พระอินทราธิราชทรงทราบวาระจิตของพระโพธิสัตว์ จึงจัดพิณทิพย์ 3 สาย ดีดเป็นเพลงร้องบรรเลงถวาย พระโพธิสัตว์สดับแจ่มชัดสบายคลายกังขา....มัชฌิมาปฏิปทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ทางนี้แหละถูกทาง ปฏิบัติพอดีจึงดี จึงงดงาม หลังจากนั้นอีกไม่นาน พระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้ เป็นพระอนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากนั้นไม่นาน จึงเกิดชุมชน"ทวนกระแส"ขึ้นทั่วทั้งโลกอีกครั้งหนึ่ง เพลงพาไปบรรลุธรรม พระเจ้าพิมพิสารอยากให้พระนางเขมาพระมเหสีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงของชีวิต...... แต่เพราะพระนางเขมาเป็นผู้มีความงดงามเลอเลิศ จึงติดที่พระพุทธเจ้าเทศนาว่ารูปกายของคนไม่สวยไม่งาม พระนางเขมาจึงไม่อยากไปฟังเทศนา.... พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงให้คนแต่งเพลงบรรยายความงามของวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า..... แล้วทรงให้คนขับร้องให้พระนางเขมาฟังทุกวัน จนพระนางเขมาตัดสินใจเสด็จไปวัดเวฬุวัน เพราะเพลงไพเราะจับใจเหลือเกิน จึงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันใด!!!..... บทเพลง 4 บรรทัด บรรลุพระอรหันต์ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · พระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol แชร์สิ่งนี้ ผ่าน Google+1 เดือนที่ผ่านมา ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+3 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+8 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · Sompong Tungmepol8 เดือนที่ผ่านมา การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม ตอบกลับ · Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า: โอ, มหาบัณฑิต! ด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลอันมากมายเหลือจะประมาณ บ่งแสดงว่าเนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธ โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้มีใจเปี่ยมอยู่ด้วยความกรุณา สำหรับเขาเหล่านั้น เราจักกล่าวแต่โดยย่อๆ โอ, มหาบัณฑิต! ในวัฏสงสาร อันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไป ในการว่ายเวียนในการเกิดอีกตายอีก, ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์สองเท้าสัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะทำลงไปได้อย่างไรหนอ, จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นอยู่ว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมด, เป็นภราดรของตน, แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของมันอีกหรือ? โอ, มหาบัณฑิต! เนื้อสุนัข เนื้อลา อูฐ ม้า โค และเนื้อมนุษย์ เหล่านี้เป็นเนื้อที่ประชาชนไม่รับประทาน แม้กระนั้นเนื้อของสัตว์เหล่านี้ก็ถูกนำมาปลอมขาย ในนามของเนื้อแกะฯ ภายในเมืองเพราะเห็นแก่เงิน เพราะเหตุนี้ เนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกิน โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา โอ, มหาบัณฑิต! เพราะว่าเนื้อย่อมเกิดจากเลือด และน้ำอสุจิ, เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค สำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์ต่อความสะอาดบริสุทธิ์ (หลุดพ้นทุกข์ทางจิตใจ) และเพราะมันเป็นการสร้างความหวาดกลัว ให้เกิดขึ้นในระหว่างกันและกัน โอ, มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้นเนื้อนี้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคโดยบรรพชิตแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์มิตรภาพในเพื่อนสัตว์ด้วยกัน ทุกถ้วนหน้า ตัวอย่างอันประจักษ์เช่นเมื่อสัตว์ได้เห็นนายพรานป่า ชาวประมงหรือนักกินเนื้ออื่นๆ เดินมาแม้ในระยะอันไกล สัตว์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวเสียแล้ว บางครั้งหรือสัตว์บางชนิดขาดใจตาย ทำนองเดียวกัน สัตว์ตัวน้อยๆ อื่นๆ ในท้องฟ้า บนบกหรือในน้ำก็ตาม เมื่อได้เห็นนักกินเนื้อแต่ที่ไกล หรือได้กลิ่นด้วยจมูกอันไวของมัน ก็จะพากันวิ่งหนีไปไกลพร้อมกับความรู้สึกอยู่ในใจว่า เขาเหล่านั้นเป็นผียักษ์อสุรกายผู้ล้างผลาญ นั่นเพราะความกลัวต่อความตายของมัน เนื้อเป็นสิ่งที่ควรกินสำหรับผู้ใจดำอำมหิต เป็นสิ่งที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมเสีย และเป็นสิ่งที่จะถูกห้ามกันโดยท่านสัตบุรุษ โอ, มหาบัณฑิต! เนื้อนี้เป็นของไม่ควรบริโภคโดยพุทธสาวก โอ, มหาบัณฑิต! สัตบุรุษย่อมบริโภคเฉพาะแต่ อาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อและเลือด เพราะฉะนั้นควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเยือกเย็นไปด้วยพระกรุณา มีพระทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นที่พึ่งที่ป้องกันภัยแก่ดวงใจของปวงสัตว์ และมีพระสัมปชัญญะสมบูรณ์พอที่จะไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสสำหรับความเสื่อมเสียระบาดขึ้นได้เลยนั้น ย่อมจะทรงบัญญัติเนื้อสัตว์ว่าเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค โอ, มหาบัณฑิต! ในโลกนี้มีคนเป็นอันมาก ซึ่งกล่าวคำเท็จเทียมต่อพระพุทธดำรัสฯ ให้ผิดไปจากความจริง เขากล่าวกันว่า บรรดาผู้ซึ่งคัดค้านอาหารอันสมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล ย่อมกินอาหารเหมือนนักกินเนื้อ ย่อมเที่ยวใส่ความทุกข์เจ็บปวดให้แก่สัตว์น้อยๆ ที่มีชีวิตอยู่ในอากาศ บนบก และในน้ำ เที่ยวรบกวนรังควานมัน ทั้งที่นี่และที่นั่นอยู่เสมอ สมณภาพของเขาถูกทำลายเสียย่อยยับแล้ว พราหมณ์ภาพของเขาถูกทำให้เศร้าหมองเสียแล้ว เขามิได้ประกอบด้วยศรัทธาและสมาจาร คนชนิดนี้แหละ ที่กล่าวคำเท็จเทียมมากมายหลายชนิด แด่พระพุทธวจนะ โอ, มหาบัณฑิต! มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกับกลิ่นแห่งศพ แม้เหตุผลเพียงเท่านี้ เนื้อก็เป็นของไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าศพถูกเผา และเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ถูกเผา มันก็จะมีกลิ่นอันน่ารังเกียจ ไม่แตกต่างอะไรกันเลย ดังนั้น บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้หวังความบริสุทธิ์ จะไม่บริโภคเนื้อใดเลย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกันแล้ว สำหรับท่านผู้บริสุทธิ์ และสาวกของท่าน ในกรณีที่จะพยายามเพื่อโมกษะและความตรัสรู้ เพราะฉะนั้นสาวกผู้ดำเนินตามทางอันสูงยิ่งนี้ ทั้งครอบครัวลูกหญิงชาย ย่อมรู้อยู่อย่างเต็มใจว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกัน ในทุกๆกรณีที่พยายามเพื่อสมาธิ โอ, มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้น เนื้อทุกๆ ชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนซึ่งเป็นผู้ที่ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิต ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น นักกินเนื้อ ย่อมเป็นเหยื่อแห่งโรคหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน โรคเจ็บในท้อง ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดั่งนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิต เป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วยมลทิน ปราศจากคุณธรรมใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาด โดยประการทั้งปวง โอ, มหาบัณฑิต! เราได้บัญญัติไว้แล้วว่า สำหรับอาหารอันสมควรซึ่งได้กำหนดนิยมกันมาแล้วโดยบรรดาท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล ได้แก่อาหารที่ปรุงขึ้นจากข้าว ลูกเดือย ข้าวสาลี สารแห่งหญ้ามุญชะ อูรทะและมสุร ฯลฯ นมส้ม น้ำนม นม น้ำตาลสด กุท (?) น้ำตาล และน้ำตาลกรวด ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! ในกาลก่อน มีพระราชาครองราชสมบัติอย่างผาสุกพระองค์หนึ่ง นามว่า ราชาสิงหะเสาทโส ต่อมาได้กลายเป็นผู้ละโมบอย่างแรงในการบริโภคเนื้อ ในที่สุดถึงกับใช้เนื้อคนเป็นอาหาร เนื่องจากความอยากได้เป็นไปแก่กล้าหนักเข้า เพราะเหตุนั้น พระองค์ถูกถอดออกจากความเป็นพระราชา โดยพระสหาย เสนาบดี และประยูรญาติของพระองค์เอง และคนอื่นๆ ต่อจากนั้นต้องสละราชสมบัติ ถูกเนรเทศออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์โดยประชาชน ต้องรับทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวง เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุ โอ, มหาบัณฑิต! ก็ในปัจจุบันชาตินี้เอง เขาเหล่านั้นซึ่งเคยชินเกินไปในการกินเนื้อสัตว์ ในมาตรฐานนี้ เมื่อความอยากเป็นไปรุนแรงเข้า ก็กินเนื้อคนได้ (ในยามขาดแคลน) ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกิน และเป็นเหมือนยักษ์ปีศาจร้าย ครั้นถึงอนาคตชาติหน้า เพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ สุนัขป่า สุนัขไน แมว สุนัขจิ้งจอก นกเค้า และ ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! มิใช่เพราะเนื้อจะเป็นของต้องกิน หรือการฆ่าเป็นของต้องทำก็หามิได้ ในกรณีนั้นๆ ส่วนมากทั้งหมดเป็นเพราะการเห็นแก่เงิน จึงฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ถึงแม้จะเป็นสัตว์เชื่องและปราศจากอันตรายแต่อย่างใด ก็ได้ถูกฆ่า การฆ่าเพราะเหตุอื่นนั้นมีน้อยที่สุด มันเป็นการทรมานใจเขามาก ในเมื่อใจเต็มไปด้วย ความอยากกินเนื้ออย่างแรงกล้า คนก็กินเนื้อคนได้อยู่เสมอ จะต้องกล่าวไปทำไมกะเนื้อสัตว์ เนื้อนก ฯลฯ ส่วนมากที่สุด เนื่องจากความโง่เง่าเข้าใจผิด มนุษย์จึงได้รับกรรม ความกระวนกระวายใจ โดยความอยากในเนื้อสัตว์ คนฆ่านก ฆ่าแกะ และปลา โดยใช้ข่ายหรือเครื่องกล การฆ่ามันเหล่านั้นซึ่งเป็นสัตว์ที่เชื่องและหาอันตรายมิได้ นั่นก็เพื่อหวังจะให้ได้เงิน โอ, มหาบัณฑิต! ในกรณีแห่งอาหาร ที่เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ซึ่งเป็นของควรกิน สัตว์ซึ่งเป็นของไม่ควรกิน ไม่เป็นเหตุควรถูกกิน ไม่ใช่สิ่งที่ควรสมมุติว่าควรกิน ในอนาคตกาล ในหมู่สงฆ์ของเราจะเกิดมีคนบางคน ซึ่งกำลังสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิต และกำลังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตร กำลังครองผ้ากาสาวพัสตร์สีแดงหม่น จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตนคลุกเคล้าอยู่ในความเพลิดเพลิน เขาจะมีจิตที่เต็มไปด้วย ความปรารถนาลามก บัญญัติข้อปฏิบัติที่ผิดแบบแผนขึ้นใหม่ เขาเหล่านั้น เป็นผู้อยากเสพเพราะติดรส และจะเรียบเรียงพระคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จ อันจะเป็นเครื่องยืนยัน และโต้แย้งอย่างพอเพียง สำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์ เขาจะกล่าวว่าเรา ตถาคตได้บัญญัติไว้ในเรื่องนี้ เช่นนี้ และว่าเราตถาคตนับมันเข้าไว้ ในสิ่งทั้งหลายที่ควรกิน และว่าพระภควันต์ก็ได้ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง แต่ โอ, มหาบัณฑิต! เรามิได้เคยบัญญัติเนื้อสัตว์ไว้ในสูตรใดๆ หรือกล่าวว่ามันเป็นของควรกิน หรือนับมันเข้าในประเภทของดีที่ควรกิน โอ, มหาบัณฑิต! อริยสาวกทั้งหลาย ไม่บริโภค แม้แต่สิ่งที่คนธรรมดาชอบกินนิยมกันว่าดี เขาเหล่านั้นจะมาบริโภคเนื้อและเลือด ซึ่งเป็นของควรปฏิเสธได้อย่างไรเล่า? เหล่าสาวกของตถาคต เป็นผู้เดินตามแนวแห่งสัจธรรม คนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องคิดค้นของตนเอง และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอื่นๆ (แห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ) ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาเหล่านั้นมิใช่ผู้กินเนื้อสัตว์ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนๆ ก็เป็นดังนั้น… พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย มีสัจธรรมเป็นพระกายของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยสัจธรรม ไม่ทรงดำรงกายด้วยเนื้อสัตว์ ท่านเหล่านั้น ไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์อย่างใดๆ เลย พระองค์ทรงเพิกถอนความอยากในโลกียวัตถุได้ทั้งหมดแล้ว ท่านเหล่านั้นปราศจากมลจิต อันเป็นมูลแห่งความทุกข์ ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณอันไม่ข้องขัด ในอันจะหยั่งทราบสิ่งซึ่งเป็นกุศลและอกุศล ทรงทราบสิ่งทั้งปวง เห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง พระองค์ทรงมองไปที่สรรพสัตว์คล้ายกับเป็นบุตรของพระองค์เอง ทรงประกอบด้วยมหาเมตตากรุณาคุณ โดยทำนองเดียวกันนี้ เราตถาคตเห็นสรรพสัตว์เช่นเดียวกับบุตรของเราเอง เราจะบัญญัติให้สาวกของเรา บริโภคเนื้อลูกของเราได้อย่างไรเล่า? และเราเองก็จะบริโภคมันได้อย่างไรเล่า? มันไม่มีข้อควรสงสัยเลยในเรื่องว่า เราได้บัญญัติให้สาวกบริโภค หรือเราได้บริโภคมันโดยตนเองหรือไม่" (ในที่สุด ได้ตรัสคำที่ผูกเข้าเป็นคาถา ซึ่งจะยกมาในที่นี้แต่บางคาถา มีใจความว่า: ) โอ, มหาบัณฑิต! พระชินวรได้ตรัสไว้แล้วว่า สุรา เนื้อ และหอมกระเทียม เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิก หรือมหาพุทธศาสนิกใดๆ ไม่ควรบริโภค (๑) บรรพชิตควรเว้นเสมอ จากเนื้อสัตว์ หัวหอม และนานาประเภทแห่งเครื่องดื่มอันมึนเมา กระเทียม และหัวผักกาด (๕) เขาผู้ฆ่าสัตว์ชนิดใดๆ ก็ตาม เพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้น ทั้งสองพวกชื่อว่าเป็น ผู้ประกอบอกุศลกรรม และจักจมลงในนรกโรรุวะ และนรก ฯลฯ (๙) เราบัญญัติห้ามเนื้อสัตว์ไว้ในข้อความ แห่งคัมภีร์เหล่านี้ คือ ๑. หัสติกักสยะ ๒. มหาเมฆะ ๓. นิรวาณางคลี มาลิกา และ ๔. ลังกาวตารสูตร (๑๖) อันเดียวกันกับที่ ความถูกผูกพันเป็นข้าศึกของความหลุดพ้นเป็นอิสรภาพ, เนื้อสัตว์ สุรา และ ฯลฯ ก็เป็นข้าศึกของนิรวาณ (คือนิพพาน) ฉะนั้น (๒๐) ดังนั้น เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของดูน่ากลัวแก่สรรพสัตว์ และเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติเพื่อวิมุติ จึงเป็นของไม่ควรกิน นี่คือธงชัยแห่งอารยชน (๒๔)  อ่านเพิ่มเติม (105 บรรทัด) ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+8 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol ผ่าน Google+6 เดือนที่ผ่านมา พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา เมื่อใดเกิดทุกข์ใจ ให้ท่านพูดในใจคำว่า่...พุท..โธ..หายใจ..ลึก..ลึก..ช้า..ช้า... ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเรารู้ทันจิตเราจะหลุดจากโลกของความคิดเราจะหยุดฝัน ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อ ประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมด ก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้ง หลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาด สูญนั้นเทียว ตอบกลับ · 2 Sompong Tungmepol10 เดือนที่ผ่านมา เมื่อใดบุคคลพิจารณา เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคล นั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของ เราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่าง- กายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น ตอบกลับ · 2

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล..... เพลงธรรมะสมัยพุทธกาล 3 แนวทางการบรรลุธรรม ดังที่ปรากฎในพระคัมภีร์ คือ 1.ได้ฟัง 2.ได้คิด 3.ได้ปฏิบัติ ในอรรถกถามังคลัตถทีปนี กล่าวไว้ว่า"การได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์" ที่อัศจรรย์ คือ "การฟังเพลงหรือเสียงขับ ถ้าผู้ฟังได้พิจารณาไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้" ตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะที่ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วได้ยินเสียงพิณจากพระอินทร์ เกิดสติปัญญา จนเป็นเหตุพาไปสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ถ้าจะพูดเป็นภาษาปัจจุบัน ก็ว่าพระพุทธเจ้าฟังเพลง Folk Song(ซอสามสาย) พระอินทราธิราชทรงทราบวาระจิตของพระโพธิสัตว์ จึงจัดพิณทิพย์ 3 สาย ดีดเป็นเพลงร้องบรรเลงถวาย พระโพธิสัตว์สดับแจ่มชัดสบายคลายกังขา....มัชฌิมาปฏิปทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ทางนี้แหละถูกทาง ปฏิบัติพอดีจึงดี จึงงดงาม หลังจากนั้นอีกไม่นาน พระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้ เป็นพระอนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากนั้นไม่นาน จึงเกิดชุมชน"ทวนกระแส"ขึ้นทั่วทั้งโลกอีกครั้งหนึ่ง เพลงพาไปบรรลุธรรม พระเจ้าพิมพิสารอยากให้พระนางเขมาพระมเหสีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงของชีวิต...... แต่เพราะพระนางเขมาเป็นผู้มีความงดงามเลอเลิศ จึงติดที่พระพุทธเจ้าเทศนาว่ารูปกายของคนไม่สวยไม่งาม พระนางเขมาจึงไม่อยากไปฟังเทศนา.... พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงให้คนแต่งเพลงบรรยายความงามของวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า..... แล้วทรงให้คนขับร้องให้พระนางเขมาฟังทุกวัน จนพระนางเขมาตัดสินใจเสด็จไปวัดเวฬุวัน เพราะเพลงไพเราะจับใจเหลือเกิน จึงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันใด!!!..... บทเพลง 4 บรรทัด บรรลุพระอรหันต์ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · Sompong Tungmepol 1 วินาทีที่ผ่านมา พระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... อ่านเพิ่มเติม (122 บรรทัด) ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+1 สัปดาห์ที่ผ่านมา สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล..... เพลงธรรมะสมัยพุทธกาล 3 แนวทางการบรรลุธรรม ดังที่ปรากฎในพระคัมภีร์ คือ 1.ได้ฟัง 2.ได้คิด 3.ได้ปฏิบัติ ในอรรถกถามังคลัตถทีปนี กล่าวไว้ว่า"การได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์" ที่อัศจรรย์ คือ "การฟังเพลงหรือเสียงขับ ถ้าผู้ฟังได้พิจารณาไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้" ตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะที่ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วได้ยินเสียงพิณจากพระอินทร์ เกิดสติปัญญา จนเป็นเหตุพาไปสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ถ้าจะพูดเป็นภาษาปัจจุบัน ก็ว่าพระพุทธเจ้าฟังเพลง Folk Song(ซอสามสาย) พระอินทราธิราชทรงทราบวาระจิตของพระโพธิสัตว์ จึงจัดพิณทิพย์ 3 สาย ดีดเป็นเพลงร้องบรรเลงถวาย พระโพธิสัตว์สดับแจ่มชัดสบายคลายกังขา....มัชฌิมาปฏิปทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ทางนี้แหละถูกทาง ปฏิบัติพอดีจึงดี จึงงดงาม หลังจากนั้นอีกไม่นาน พระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้ เป็นพระอนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากนั้นไม่นาน จึงเกิดชุมชน"ทวนกระแส"ขึ้นทั่วทั้งโลกอีกครั้งหนึ่ง เพลงพาไปบรรลุธรรม พระเจ้าพิมพิสารอยากให้พระนางเขมาพระมเหสีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงของชีวิต...... แต่เพราะพระนางเขมาเป็นผู้มีความงดงามเลอเลิศ จึงติดที่พระพุทธเจ้าเทศนาว่ารูปกายของคนไม่สวยไม่งาม พระนางเขมาจึงไม่อยากไปฟังเทศนา.... พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงให้คนแต่งเพลงบรรยายความงามของวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า..... แล้วทรงให้คนขับร้องให้พระนางเขมาฟังทุกวัน จนพระนางเขมาตัดสินใจเสด็จไปวัดเวฬุวัน เพราะเพลงไพเราะจับใจเหลือเกิน จึงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันใด!!!..... บทเพลง 4 บรรทัด บรรลุพระอรหันต์ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · พระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา.... ท่านเดินทางผ่านสระบัว เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่ง เก็บดอกบัวไปร้องเพลงไป เพลงนี้มีเนื้อความว่า "ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่..... ๐ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้ง..... ๐ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์..... ๐ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น บทเพลง 4 บทนี้ ทำให้พระติสสะเถระ ถึงกับบรรลุพระอรหันต์ทันที!!!.... แสดงน้อยลง ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol แชร์สิ่งนี้ ผ่าน Google+1 เดือนที่ผ่านมา ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+3 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+8 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · Sompong Tungmepol8 เดือนที่ผ่านมา การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม ตอบกลับ · Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า: โอ, มหาบัณฑิต! ด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลอันมากมายเหลือจะประมาณ บ่งแสดงว่าเนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธ โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้มีใจเปี่ยมอยู่ด้วยความกรุณา สำหรับเขาเหล่านั้น เราจักกล่าวแต่โดยย่อๆ โอ, มหาบัณฑิต! ในวัฏสงสาร อันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไป ในการว่ายเวียนในการเกิดอีกตายอีก, ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์สองเท้าสัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะทำลงไปได้อย่างไรหนอ, จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นอยู่ว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมด, เป็นภราดรของตน, แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของมันอีกหรือ? โอ, มหาบัณฑิต! เนื้อสุนัข เนื้อลา อูฐ ม้า โค และเนื้อมนุษย์ เหล่านี้เป็นเนื้อที่ประชาชนไม่รับประทาน แม้กระนั้นเนื้อของสัตว์เหล่านี้ก็ถูกนำมาปลอมขาย ในนามของเนื้อแกะฯ ภายในเมืองเพราะเห็นแก่เงิน เพราะเหตุนี้ เนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกิน โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา โอ, มหาบัณฑิต! เพราะว่าเนื้อย่อมเกิดจากเลือด และน้ำอสุจิ, เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค สำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์ต่อความสะอาดบริสุทธิ์ (หลุดพ้นทุกข์ทางจิตใจ) และเพราะมันเป็นการสร้างความหวาดกลัว ให้เกิดขึ้นในระหว่างกันและกัน โอ, มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้นเนื้อนี้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคโดยบรรพชิตแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์มิตรภาพในเพื่อนสัตว์ด้วยกัน ทุกถ้วนหน้า ตัวอย่างอันประจักษ์เช่นเมื่อสัตว์ได้เห็นนายพรานป่า ชาวประมงหรือนักกินเนื้ออื่นๆ เดินมาแม้ในระยะอันไกล สัตว์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวเสียแล้ว บางครั้งหรือสัตว์บางชนิดขาดใจตาย ทำนองเดียวกัน สัตว์ตัวน้อยๆ อื่นๆ ในท้องฟ้า บนบกหรือในน้ำก็ตาม เมื่อได้เห็นนักกินเนื้อแต่ที่ไกล หรือได้กลิ่นด้วยจมูกอันไวของมัน ก็จะพากันวิ่งหนีไปไกลพร้อมกับความรู้สึกอยู่ในใจว่า เขาเหล่านั้นเป็นผียักษ์อสุรกายผู้ล้างผลาญ นั่นเพราะความกลัวต่อความตายของมัน เนื้อเป็นสิ่งที่ควรกินสำหรับผู้ใจดำอำมหิต เป็นสิ่งที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมเสีย และเป็นสิ่งที่จะถูกห้ามกันโดยท่านสัตบุรุษ โอ, มหาบัณฑิต! เนื้อนี้เป็นของไม่ควรบริโภคโดยพุทธสาวก โอ, มหาบัณฑิต! สัตบุรุษย่อมบริโภคเฉพาะแต่ อาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อและเลือด เพราะฉะนั้นควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเยือกเย็นไปด้วยพระกรุณา มีพระทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นที่พึ่งที่ป้องกันภัยแก่ดวงใจของปวงสัตว์ และมีพระสัมปชัญญะสมบูรณ์พอที่จะไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสสำหรับความเสื่อมเสียระบาดขึ้นได้เลยนั้น ย่อมจะทรงบัญญัติเนื้อสัตว์ว่าเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค โอ, มหาบัณฑิต! ในโลกนี้มีคนเป็นอันมาก ซึ่งกล่าวคำเท็จเทียมต่อพระพุทธดำรัสฯ ให้ผิดไปจากความจริง เขากล่าวกันว่า บรรดาผู้ซึ่งคัดค้านอาหารอันสมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล ย่อมกินอาหารเหมือนนักกินเนื้อ ย่อมเที่ยวใส่ความทุกข์เจ็บปวดให้แก่สัตว์น้อยๆ ที่มีชีวิตอยู่ในอากาศ บนบก และในน้ำ เที่ยวรบกวนรังควานมัน ทั้งที่นี่และที่นั่นอยู่เสมอ สมณภาพของเขาถูกทำลายเสียย่อยยับแล้ว พราหมณ์ภาพของเขาถูกทำให้เศร้าหมองเสียแล้ว เขามิได้ประกอบด้วยศรัทธาและสมาจาร คนชนิดนี้แหละ ที่กล่าวคำเท็จเทียมมากมายหลายชนิด แด่พระพุทธวจนะ โอ, มหาบัณฑิต! มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกับกลิ่นแห่งศพ แม้เหตุผลเพียงเท่านี้ เนื้อก็เป็นของไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าศพถูกเผา และเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ถูกเผา มันก็จะมีกลิ่นอันน่ารังเกียจ ไม่แตกต่างอะไรกันเลย ดังนั้น บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้หวังความบริสุทธิ์ จะไม่บริโภคเนื้อใดเลย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกันแล้ว สำหรับท่านผู้บริสุทธิ์ และสาวกของท่าน ในกรณีที่จะพยายามเพื่อโมกษะและความตรัสรู้ เพราะฉะนั้นสาวกผู้ดำเนินตามทางอันสูงยิ่งนี้ ทั้งครอบครัวลูกหญิงชาย ย่อมรู้อยู่อย่างเต็มใจว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกัน ในทุกๆกรณีที่พยายามเพื่อสมาธิ โอ, มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้น เนื้อทุกๆ ชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนซึ่งเป็นผู้ที่ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิต ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น นักกินเนื้อ ย่อมเป็นเหยื่อแห่งโรคหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน โรคเจ็บในท้อง ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดั่งนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิต เป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วยมลทิน ปราศจากคุณธรรมใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาด โดยประการทั้งปวง โอ, มหาบัณฑิต! เราได้บัญญัติไว้แล้วว่า สำหรับอาหารอันสมควรซึ่งได้กำหนดนิยมกันมาแล้วโดยบรรดาท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล ได้แก่อาหารที่ปรุงขึ้นจากข้าว ลูกเดือย ข้าวสาลี สารแห่งหญ้ามุญชะ อูรทะและมสุร ฯลฯ นมส้ม น้ำนม นม น้ำตาลสด กุท (?) น้ำตาล และน้ำตาลกรวด ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! ในกาลก่อน มีพระราชาครองราชสมบัติอย่างผาสุกพระองค์หนึ่ง นามว่า ราชาสิงหะเสาทโส ต่อมาได้กลายเป็นผู้ละโมบอย่างแรงในการบริโภคเนื้อ ในที่สุดถึงกับใช้เนื้อคนเป็นอาหาร เนื่องจากความอยากได้เป็นไปแก่กล้าหนักเข้า เพราะเหตุนั้น พระองค์ถูกถอดออกจากความเป็นพระราชา โดยพระสหาย เสนาบดี และประยูรญาติของพระองค์เอง และคนอื่นๆ ต่อจากนั้นต้องสละราชสมบัติ ถูกเนรเทศออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์โดยประชาชน ต้องรับทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวง เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุ โอ, มหาบัณฑิต! ก็ในปัจจุบันชาตินี้เอง เขาเหล่านั้นซึ่งเคยชินเกินไปในการกินเนื้อสัตว์ ในมาตรฐานนี้ เมื่อความอยากเป็นไปรุนแรงเข้า ก็กินเนื้อคนได้ (ในยามขาดแคลน) ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกิน และเป็นเหมือนยักษ์ปีศาจร้าย ครั้นถึงอนาคตชาติหน้า เพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ สุนัขป่า สุนัขไน แมว สุนัขจิ้งจอก นกเค้า และ ฯลฯ โอ, มหาบัณฑิต! มิใช่เพราะเนื้อจะเป็นของต้องกิน หรือการฆ่าเป็นของต้องทำก็หามิได้ ในกรณีนั้นๆ ส่วนมากทั้งหมดเป็นเพราะการเห็นแก่เงิน จึงฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ถึงแม้จะเป็นสัตว์เชื่องและปราศจากอันตรายแต่อย่างใด ก็ได้ถูกฆ่า การฆ่าเพราะเหตุอื่นนั้นมีน้อยที่สุด มันเป็นการทรมานใจเขามาก ในเมื่อใจเต็มไปด้วย ความอยากกินเนื้ออย่างแรงกล้า คนก็กินเนื้อคนได้อยู่เสมอ จะต้องกล่าวไปทำไมกะเนื้อสัตว์ เนื้อนก ฯลฯ ส่วนมากที่สุด เนื่องจากความโง่เง่าเข้าใจผิด มนุษย์จึงได้รับกรรม ความกระวนกระวายใจ โดยความอยากในเนื้อสัตว์ คนฆ่านก ฆ่าแกะ และปลา โดยใช้ข่ายหรือเครื่องกล การฆ่ามันเหล่านั้นซึ่งเป็นสัตว์ที่เชื่องและหาอันตรายมิได้ นั่นก็เพื่อหวังจะให้ได้เงิน โอ, มหาบัณฑิต! ในกรณีแห่งอาหาร ที่เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ซึ่งเป็นของควรกิน สัตว์ซึ่งเป็นของไม่ควรกิน ไม่เป็นเหตุควรถูกกิน ไม่ใช่สิ่งที่ควรสมมุติว่าควรกิน ในอนาคตกาล ในหมู่สงฆ์ของเราจะเกิดมีคนบางคน ซึ่งกำลังสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิต และกำลังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตร กำลังครองผ้ากาสาวพัสตร์สีแดงหม่น จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตนคลุกเคล้าอยู่ในความเพลิดเพลิน เขาจะมีจิตที่เต็มไปด้วย ความปรารถนาลามก บัญญัติข้อปฏิบัติที่ผิดแบบแผนขึ้นใหม่ เขาเหล่านั้น เป็นผู้อยากเสพเพราะติดรส และจะเรียบเรียงพระคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จ อันจะเป็นเครื่องยืนยัน และโต้แย้งอย่างพอเพียง สำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์ เขาจะกล่าวว่าเรา ตถาคตได้บัญญัติไว้ในเรื่องนี้ เช่นนี้ และว่าเราตถาคตนับมันเข้าไว้ ในสิ่งทั้งหลายที่ควรกิน และว่าพระภควันต์ก็ได้ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง แต่ โอ, มหาบัณฑิต! เรามิได้เคยบัญญัติเนื้อสัตว์ไว้ในสูตรใดๆ หรือกล่าวว่ามันเป็นของควรกิน หรือนับมันเข้าในประเภทของดีที่ควรกิน โอ, มหาบัณฑิต! อริยสาวกทั้งหลาย ไม่บริโภค แม้แต่สิ่งที่คนธรรมดาชอบกินนิยมกันว่าดี เขาเหล่านั้นจะมาบริโภคเนื้อและเลือด ซึ่งเป็นของควรปฏิเสธได้อย่างไรเล่า? เหล่าสาวกของตถาคต เป็นผู้เดินตามแนวแห่งสัจธรรม คนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องคิดค้นของตนเอง และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอื่นๆ (แห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ) ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาเหล่านั้นมิใช่ผู้กินเนื้อสัตว์ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนๆ ก็เป็นดังนั้น… พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย มีสัจธรรมเป็นพระกายของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยสัจธรรม ไม่ทรงดำรงกายด้วยเนื้อสัตว์ ท่านเหล่านั้น ไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์อย่างใดๆ เลย พระองค์ทรงเพิกถอนความอยากในโลกียวัตถุได้ทั้งหมดแล้ว ท่านเหล่านั้นปราศจากมลจิต อันเป็นมูลแห่งความทุกข์ ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณอันไม่ข้องขัด ในอันจะหยั่งทราบสิ่งซึ่งเป็นกุศลและอกุศล ทรงทราบสิ่งทั้งปวง เห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง พระองค์ทรงมองไปที่สรรพสัตว์คล้ายกับเป็นบุตรของพระองค์เอง ทรงประกอบด้วยมหาเมตตากรุณาคุณ โดยทำนองเดียวกันนี้ เราตถาคตเห็นสรรพสัตว์เช่นเดียวกับบุตรของเราเอง เราจะบัญญัติให้สาวกของเรา บริโภคเนื้อลูกของเราได้อย่างไรเล่า? และเราเองก็จะบริโภคมันได้อย่างไรเล่า? มันไม่มีข้อควรสงสัยเลยในเรื่องว่า เราได้บัญญัติให้สาวกบริโภค หรือเราได้บริโภคมันโดยตนเองหรือไม่" (ในที่สุด ได้ตรัสคำที่ผูกเข้าเป็นคาถา ซึ่งจะยกมาในที่นี้แต่บางคาถา มีใจความว่า: ) โอ, มหาบัณฑิต! พระชินวรได้ตรัสไว้แล้วว่า สุรา เนื้อ และหอมกระเทียม เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิก หรือมหาพุทธศาสนิกใดๆ ไม่ควรบริโภค (๑) บรรพชิตควรเว้นเสมอ จากเนื้อสัตว์ หัวหอม และนานาประเภทแห่งเครื่องดื่มอันมึนเมา กระเทียม และหัวผักกาด (๕) เขาผู้ฆ่าสัตว์ชนิดใดๆ ก็ตาม เพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้น ทั้งสองพวกชื่อว่าเป็น ผู้ประกอบอกุศลกรรม และจักจมลงในนรกโรรุวะ และนรก ฯลฯ (๙) เราบัญญัติห้ามเนื้อสัตว์ไว้ในข้อความ แห่งคัมภีร์เหล่านี้ คือ ๑. หัสติกักสยะ ๒. มหาเมฆะ ๓. นิรวาณางคลี มาลิกา และ ๔. ลังกาวตารสูตร (๑๖) อันเดียวกันกับที่ ความถูกผูกพันเป็นข้าศึกของความหลุดพ้นเป็นอิสรภาพ, เนื้อสัตว์ สุรา และ ฯลฯ ก็เป็นข้าศึกของนิรวาณ (คือนิพพาน) ฉะนั้น (๒๐) ดังนั้น เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของดูน่ากลัวแก่สรรพสัตว์ และเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติเพื่อวิมุติ จึงเป็นของไม่ควรกิน นี่คือธงชัยแห่งอารยชน (๒๔)  อ่านเพิ่มเติม (105 บรรทัด) ตอบกลับ · Sompong Tungmepol ผ่าน Google+8 เดือนที่ผ่านมา เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol ผ่าน Google+6 เดือนที่ผ่านมา พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา เมื่อใดเกิดทุกข์ใจ ให้ท่านพูดในใจคำว่า่...พุท..โธ..หายใจ..ลึก..ลึก..ช้า..ช้า... ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเรารู้ทันจิตเราจะหลุดจากโลกของความคิดเราจะหยุดฝัน ตอบกลับ · 1 Sompong Tungmepol9 เดือนที่ผ่านมา เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อ ประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมด ก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้ง หลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาด สูญนั้นเทียว ตอบกลับ · 2 Sompong Tungmepol10 เดือนที่ผ่านมา เมื่อใดบุคคลพิจารณา เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคล นั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของ เราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่าง- กายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น ตอบกลับ · 2

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน....

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน....

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีhttp://www.youtube.com/watch?v=jV3fosv8Sss,ธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมลาดลุ่มไปตามลำดับ ฟังได้จาก คาถาธรรมบท ครับ เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

Evolution The Evolution of humans documentary 2014Evolution The Evolution of Shape HD documentary Evolution is the change in the inherited characteristics of biological populations over successive generations. Evolutionary processes give rise to diversity at every level of biological organisation, including species, individual organisms and molecules such as DNA and proteins.[1] All life on Earth is descended from a last universal ancestor that lived approximately 3.8 billion years ago. Repeated speciation and the divergence of life can be inferred from shared sets of biochemical and morphological traits, or by shared DNA sequences.[2] These homologous traits and sequences are more similar among species that share a more recent common ancestor, and can be used to reconstruct evolutionary histories, using both existing species and the fossil record. Existing patterns of biodiversity have been shaped both by speciation and by extinction.[3] Charles Darwin was the first to formulate a scientific argument for the theory of evolution by means of natural selection. Evolution by natural selection is a process inferred from three facts about populations: 1) more offspring are produced than can possibly survive, 2) traits vary among individuals, leading to different rates of survival and reproduction, and 3) trait differences are heritable.[4] Thus, when members of a population die they are replaced by the progeny of parents better adapted to survive and reproduce in the environment in which natural selection takes place. This process creates and preserves traits that are seemingly fitted for the functional roles they perform.[5] Natural selection is the only known cause of adaptation, but not the only known cause of evolution. Other, nonadaptive causes of evolution include mutation and genetic drift.[6] In the early 20th century, genetics was integrated with Darwin's theory of evolution by natural selection through the discipline of population genetics. The importance of natural selection as a cause of evolution was accepted into other branches of biology. Moreover, previously held notions about evolution, such as orthogenesis and "progress" became obsolete.[7] Scientists continue to study various aspects of evolution by forming and testing hypotheses, constructing scientific theories, using observational data, and performing experiments in both the field and the laboratory. Biologists agree that descent with modification is one of the most reliably established facts in science.[8] Discoveries in evolutionary biology have made a significant impact not just within the traditional branches of biology, but also in other academic disciplines (e.g., anthropology and psychology) and on society at large

How Does the Brain Work? - Human Cognition | PSYCHOLOGY & BRAIN SCIENCE ...

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกบุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

จิต คือ พุทธะ(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง และมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฎ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไรเป็นต้น) กับมันเขาดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสียและเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เป็นพุทธะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัลป์หนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดีการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วยเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่น ถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วย ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตวโลกทั้งหลาย คือจิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนเลยความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่างก็ไม่ได้ มืดลง ปรากฎการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติ ของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดีหรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัลป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่ จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเองพวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วยอมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหนแม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือ ไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือ ไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่าและมูลธาตุทั้ง ๕ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตายแต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไปฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสมารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิต และวัตถุเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏิ มันเต็มอยู่ในความว่างเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้นเมื่อเป็นดังนั้นแล้วอารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ ๆแห่งการกินเนื้อที่คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติหรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใดมันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยก “รูปถอด” ด้วยวิชชา มรรคจิตเหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน” เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ “อรูปฌาน” ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งเสียหน่อยซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบทรงนำมาตีเผยแผ่แจ้งออกสู่สัตว์โลก ให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายแล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือ ลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี้ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริง ๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือนั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

การดับขันธ์ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะจิต คือ พุทธะ(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง และมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฎ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไรเป็นต้น) กับมันเขาดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสียและเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เป็นพุทธะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัลป์หนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดีการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วยเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่น ถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วย ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตวโลกทั้งหลาย คือจิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนเลยความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่างก็ไม่ได้ มืดลง ปรากฎการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติ ของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดีหรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัลป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่ จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเองพวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วยอมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหนแม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือ ไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือ ไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่าและมูลธาตุทั้ง ๕ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตายแต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไปฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสมารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิต และวัตถุเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏิ มันเต็มอยู่ในความว่างเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้นเมื่อเป็นดังนั้นแล้วอารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ ๆแห่งการกินเนื้อที่คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติหรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใดมันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยก “รูปถอด” ด้วยวิชชา มรรคจิตเหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน” เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ “อรูปฌาน” ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งเสียหน่อยซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบทรงนำมาตีเผยแผ่แจ้งออกสู่สัตว์โลก ให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายแล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือ ลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี้ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริง ๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือนั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะจิต คือ พุทธะ(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง และมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฎ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไรเป็นต้น) กับมันเขาดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสียและเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เป็นพุทธะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัลป์หนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดีการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วยเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่น ถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วย ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตวโลกทั้งหลาย คือจิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนเลยความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่างก็ไม่ได้ มืดลง ปรากฎการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติ ของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดีหรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัลป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่ จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเองพวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วยอมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหนแม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือ ไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือ ไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่าและมูลธาตุทั้ง ๕ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตายแต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไปฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสมารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิต และวัตถุเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏิ มันเต็มอยู่ในความว่างเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้นเมื่อเป็นดังนั้นแล้วอารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ ๆแห่งการกินเนื้อที่คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติหรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใดมันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยก “รูปถอด” ด้วยวิชชา มรรคจิตเหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน” เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ “อรูปฌาน” ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งเสียหน่อยซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบทรงนำมาตีเผยแผ่แจ้งออกสู่สัตว์โลก ให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายแล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือ ลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี้ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริง ๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือนั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

การละวิภาวะตัณหาเข้าสู่อนุปาทาปรินิพพานจิต คือ พุทธะ(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง และมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฎ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไรเป็นต้น) กับมันเขาดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสียและเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เป็นพุทธะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัลป์หนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดีการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วยเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่น ถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วย ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้น ๆ แต่พุทธซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตวโลกทั้งหลาย คือจิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนเลยความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่างก็ไม่ได้ มืดลง ปรากฎการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติ ของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดีหรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัลป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่ จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเองพวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วยอมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเรา เพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจกความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั้นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั้นแหละ คือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ จิต แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิตการที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งที่ซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้ คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริง ๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริง ๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไร ๆ ที่ไหนแม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือ ไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมานั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือ ไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่าและมูลธาตุทั้ง ๕ ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตายแต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริง ๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไปฉะนั้น นี้แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสมารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิต และวัตถุเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏิ มันเต็มอยู่ในความว่างเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้นเมื่อเป็นดังนั้นแล้วอารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ ๆแห่งการกินเนื้อที่คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติหรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใดมันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง ๆ เราต้องแยก “รูปถอด” ด้วยวิชชา มรรคจิตเหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน” เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ “อรูปฌาน” ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่าง ๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งเสียหน่อยซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบทรงนำมาตีเผยแผ่แจ้งออกสู่สัตว์โลก ให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายแล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่าง ๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือ ลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริง ๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี้ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริง ๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือนั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปรกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ ๆ จริง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

PS21244 เพาเวอร์โมดูลสำหรับสร้างซ่อมอินเวอร์เตอร์ที่ใช้กับมอเตอร์สามเฟสMITSUBISHI SEMICONDUCTOR PS21244-E TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE Sep. 2001 Power Terminals Control Terminals Tc Heat sink boundary DIP-IPM Heat sink Tc 400 – 20~+100 – 40~+125 1500 V D = 13.5~16.5V, Inverter part T j = 125 ° C, non-repetitive, less than 2 μ s (Note 2) 60Hz, Sinusoidal, AC 1 minute, connection pins to heat-sink plate V CC(PROT) T C T stg V iso V V V V mA V 20 20 – 0.5~+5.5 – 0.5~V D +0.5 15 – 0.5~V D +0.5 Applied between V P1 -V PC , V N1 -V NC Applied between V UFB -V UFS , V VFB -V VFS , V WFB -V WFS Applied between U P , V P , W P -V PC , U N , V N , W N -V NC Applied between F O -V NC Sink current at F O terminal Applied between CIN-V NC Control supply voltage Control supply voltage Input voltage Fault output supply voltage Fault output current Current sensing input voltage V D V DB V CIN V FO I FO V SC 450 500 600 15 30 43 – 20~+150 Applied between P-N Applied between P-N T C = 25 ° C T C = 25 ° C, instantaneous value (pulse) T C = 25 ° C, per 1 chip (Note 1) V CC V CC(surge) V CES ± I C ± I CP P C T j Condition Symbol Parameter Ratings Unit Supply voltage Supply voltage (surge) Collector-emitter voltage Each IGBT collector current Each IGBT collector current (peak) Collector dissipation Junction temperature V V V A A W ° C

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

ชีวิตเป็นของน้อย - เทสก์ เทสรังสี

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาคที่ ๓ ตอนที่ ๔ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เถรคาถา วีสตินิบาต ๑. อธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย [๓๘๕] พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด เสียว มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม โดยมุ่งการตอบคำถามของนายโจรนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 2 ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 3 ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 4 ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้. จบอธิมุตตเถรคาถา

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาคที่ ๓ ตอนที่ ๔ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เถรคาถา วีสตินิบาต ๑. อธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย [๓๘๕] พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด เสียว มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม โดยมุ่งการตอบคำถามของนายโจรนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 2 ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 3 ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 4 ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้. จบอธิมุตตเถรคาถา

ผู้สละโลก ขุมทรัพย์อันวิเศษเพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ [๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ [๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖

มหาสุญญตาสูตรส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไป สงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็น ฐานะที่มีได้

อริยสัจสี่ของคนธรรมดาสามัญ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่ง

พระเจ้าปุกกุสาติ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่ง

พระเจ้าปุกกุสาติ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่ง

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพานสัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อมบริสุทธิ์ ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยช­น์ไปใน ลัทธิภายนอก เราแสวงหาบท อันปัจจัยไม่ปรุงอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก ก็ไม่พึงได้แก่นไม้ใน ต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น

อุปปาตะสันติ พระธัมมานันทะฯน้อมรำลึกครูผู้ไม่ละทิ้ง บาลีใหญ่ เพื่อคงการเรียนรู้ของพระสงฆ์ เสียงสวดอุปปาตะสันติคาถา พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต ศิษย์ของท่านได้นำเสียงของท่านมารวบรวมไว้ และได้แจกใน งานละสังขารของหลวงพ่อใหญ่ 100 วัน ที่วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

อุปปาตะสันติ พระธัมมานันทะฯน้อมรำลึกครูผู้ไม่ละทิ้ง บาลีใหญ่ เพื่อคงการเรียนรู้ของพระสงฆ์ เสียงสวดอุปปาตะสันติคาถา พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต ศิษย์ของท่านได้นำเสียงของท่านมารวบรวมไว้ และได้แจกใน งานละสังขารของหลวงพ่อใหญ่ 100 วัน ที่วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

คาถาของท่านพระสารีปุตตเถระ พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า [๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจน เกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การ บริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ สมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็น กัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด เดี่ยว ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนใน อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด ด้วยกิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มีความเพียร เลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนักของเราแม้ใน กาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นใน หมู่สัตว์โลกนี้ อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ตั้งมั่นอยู่ใน ศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมาประดิษฐานอยู่บน ศีรษะของเราเถิด ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีใน ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจาก โยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดี ในอริยมรรคอันเป็นทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุ นิพพานอันเป็นธรรมเกษม จากโยคะอย่างยอดเยี่ยม พระอรหันต์ทั้ง หลาย อยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตามที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม สถานที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากามย่อมไม่ยินดีใน ป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จักยินดีในป่าอัน น่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่เป็นผู้แสวงหากาม บุคคลควร เห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่ ความดีไม่มีชั่วเลย ปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่นจากธรรม ที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษ เท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของอสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้ว มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดง ธรรมอยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟัง ฟังของเรานั้น ไม่ไร้ประโยชน์ เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ เราไม่ ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อน เลย แต่คุณธรรมของสาวกทั้งหมดได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการบรรลุ มรรคผล เหมือนคุณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ ได้มีแก่พระพุทธ- เจ้า ฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มีภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ เป็นพระเถระผู้อุดมด้วยปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนไม้ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตกในขณะ ถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขา หินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือน ภูเขาเพราะสิ้นโมหะ ก็ฉันนั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มีกิเลส เครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เราไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่ หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุ ผู้สงบระงับ งดเว้นโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูด ด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้เหมือนลมพัดใบไม้ล่วง หล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมอง ใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ลอยบาปธรรม เสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับละเว้น กองกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลไม่ควร คุ้นเคย ในบุคคลบางพวกจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้น เขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม นิวรณ์ ๕ คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่อง เศร้าหมองจิต สมาธิของภิกษุผู้มีปกติชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยมีผู้สักการะ ๑ ด้วยไม่มี ผู้สักการะ ๑ นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรมอยู่เป็นปกติ พากเพียร เป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความ ยินดีว่า เป็นสัตบุรุษ มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และ แม้ลม ๑ ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของพระ ศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและ ไฟย่อมไม่ยินดียินร้าย ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญา เครื่องตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา ทั้งไม่เหมือน คนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้น เคยกับพระศาสดามาก เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลง ภาระหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นอนุศาสนีย์ของเรา เรา พ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปรินิพพาน.

โลกอันชราพยาธิและมรณะนำไปไม่มีผู้ต้านทานได้เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อ ประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมด ก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้ง หลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาด สูญนั้นเทียว

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

เครื่องจักรกลไฟฟ้ารุ่นใหม่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

เริ่มต้นการขนาน PS21244 เพื่อใช้กับมอเตอร์สามเฟสเกินหนึ่งแรงม้าสร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

วิธีผลิตไฟฟ้า3เฟส จากไฟฟ้า เฟสเดียว เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ 3 เฟสสร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

วิธีผลิตไฟฟ้า3เฟส จากไฟฟ้า เฟสเดียว เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ 3 เฟสสร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

MITSUBISHI PS21244 ใช้กับมอเตอร์อินดัตชั่นสามเฟสครับสร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

MC3PHAC PWM TESTสร้าง เครื่อง ควบคุม มอเตอร์ ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ใช้ในรถยนต์ ในเครื่องจักรการเกษตร ในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทำได้ด้วยตนเองครับ ลองติดตาม ไป เรื่อย.เรื่อย..ง่ายกว่าที่คิดครับ..

mc3phac epoxy printed circuit board 2015เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ...ใช้ ไอซี เบอร์ MC3PHAC เป็น แผงวงจรที่ประกอบและทดสอบพร้อมทั้งโปรแกรมแล้วตามมาตรฐานการควบคุมความเร็วรอบ ..อินดัตชั่นสามเฟส..โดยใช้ไฟฟ้าเฟสเดียว..หรือจากโซล่าเซลล์