วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Oldies Medley Nonstop

Eruption - One way ticket (Autoradio 29.11.2014)

Neil Young - Heart Of Gold

Neil Young - Heart Of Gold

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้. จบอธิมุตตเถรคาถา

เราจะรู้แจ้งในจิตของเราในขณะจิตเดียวทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้. จบอธิมุตตเถรคาถา

ไฺฮไลท์ของเรื่องอินเวอร์เตอร์สามเฟสครับ

โอวาทพระอานนท์เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษนั้นคือการทนต่อความเจ็บปวด พระอานนท์มีพระรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อเยี่ยมไข้ แต่เมื่อเห็นอาการไข้ของโกกิลาภิกษุณีแล้ว ความสงสารและกังวลของท่านก็ค่อยๆ คลายตัวลง ความฉลาดอย่างเลิศล้ำของพระพุทธอนุชาแทงทะลุความรู้สึกและเคลัญญาการของนาง ท่านรู้สึกว่าท่านถูกหลอก ท่านไม่เชื่อเลยว่านางจะเป็นไข้จริง "แต่เอาเถิด" พระอานนท์ปรารภกับตัวท่านเอง "โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสดีเหมือนกันที่จะแสดงบางอย่างให้นางทราบ เพื่อนางจะได้ละความพยายาม เลิกรัก เลิกหมกมุ่นในโลกียวิสัยหันมาทำความเพียรเพื่อละสิ่งที่ควรละ และเจริญสิ่งที่ควรทำให้เจริญ ให้เหมาะสมกับเพศภิกษุณีแห่งนาง คงจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่นางไปตลอดกาลนาน คงจะเป็นปฏิการอันประเสริฐสำหรับความรักของนางผู้ภักดีต่อเราตลอดมา".

โอวาทพระอานนท์เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มารเสียใจเพราะพระองค์ตรัสรู้ ในสมัยนั้น มารถึงความโทมนัสแล้ว นั่งที่หนทางใหญ่ พลางรำพึงว่า "เราติดตามมาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้คอยเพ่งจับผิด ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไรๆ ของสิทธัตถะนี้ บัดนี้ เธอก้าวล่วงวิสัยของเราไปเสียแล้ว." ทีนั้น ธิดาของมารนั้นสามคนเหล่านี้ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา ดำริว่า "บิดาของเราไม่ปรากฏ บัดนี้ ท่านอยู่ที่ไหนหนอ?" เที่ยวมองหาอยู่ จึงเห็นบิดานั้นผู้นั่งแล้วอย่างนั้น จึงเข้าไปหาแล้วไต่ถามว่า "คุณพ่อ เพราะเหตุไร? คุณพ่อจึงมีทุกข์เสียใจ" มารนั้นจึงเล่าเนื้อความแก่ธิดาเหล่านั้น. ลำดับนั้น ธิดาเหล่านั้นจึงบอกกะมารผู้บิดานั้นว่า "คุณพ่อ คุณพ่ออย่าคิดเลย พวกดิฉันจักทำเขาให้อยู่ในอำนาจของตนแล้วนำมา." มาร. แม่ทั้งหลาย ใครๆ ก็ไม่อาจทำเขาไว้ในอำนาจได้. ธิดา. คุณพ่อ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นหญิง พวกดิฉันจักผูกเธอไว้ด้วยบ่วง มีบ่วงคือราคะเป็นต้นแล้วนำมา ในบัดนี้แหละ คุณพ่ออย่าคิดเลย" แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาทของพระองค์." ธิดามารประเล้าประโลมพระศาสดา พระศาสดามิได้ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามารเหล่านั้นเลย ไม่ทรงลืมพระเนตรทั้งสองขึ้นดูเลย. พวกธิดามารคิดกันอีกว่า "ความประสงค์ของพวกบุรุษ สูงๆ ต่ำๆ แล. บางพวกมีความรักในเด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย, บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปฐมวัย, บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย. บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย; พวกเราจักประเล้าประโลมเธอโดยประการต่างๆ" คนหนึ่งๆ นิรมิตอัตภาพได้ร้อยหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่งเพศมีเพศเด็กหญิงรุ่นเป็นต้น เป็นเด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย เป็นหญิงยังไม่คลอด คลอดแล้วคราวหนึ่ง คลอดแล้วสองคราว เป็นหญิงกลางคนและเป็นหญิงแก่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า "ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาททั้งสองของพระองค์" ดังนี้ ถึง ๖ ครั้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามารแม้นั้น โดยประการที่ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะธิดามารผู้ติดตามมา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า "พวกเจ้าจงหลีกไป พวกเจ้าเห็นอะไรจึงพยายามอย่างนี้? การทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ต่อหน้าของพวกที่มีราคะไม่ไปปราศจึงจะควร, ส่วนตถาคตละกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นได้แล้ว พวกเจ้าจักนำเราไปในอำนาจของตน ด้วยเหตุอะไรเล่า?" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :- ๑. ยสฺส ชิตํ นาวชียติ ชิตมสฺส โนยาติ โกจิ โลเก ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ. ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ. กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้, กิเลสหน่อยหนึ่งในโลก ย่อมไปหากิเลสชาตที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้. พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร? ตัณหามีข่ายซ่านไปตาม อารมณ์ต่างๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปใน ภพไหนๆ, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีอารมณ์ ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร?กิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสั...

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”

วิธีการฝึกสติเพื่อการเจริญปัญญาการฝึกสติเพื่อการเจริญปัญญ

ปรินิพพานนับไม่ถ้วน เหมือนยังมโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บริบูรณ์ในมนุษยโลกเฉพาะกรุงสาวัตถีมีถึงห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล. ในกรุงราชคฤห์ทั้งภายในภายนอกมีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ ในฐานะแม้อื่นๆ คือ แม้ในมนุษยโลกก็อยู่กันเป็นคณะเหมือนกัน. แม้ในเทวโลกและพรหมโลก ตั้งต้นแต่ภุมมเทวดาไปก็อยู่กันเป็นคณะ. ก็เทวบุตรแต่ละองค์ย่อมมีเทพอัปสรผู้ฟ้อนรำถึงสองโกฏิครึ่ง บางองค์มีถึง ๙ โกฏิ ถึงพรหมจำนวนนับหมื่นก็อยู่รวมในที่เดียวกัน. แต่นั้นทรงดำริว่า เราบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป ก็เพื่อกำจัดการอยู่รวมเป็นคณะ แต่ภิกษุเหล่านี้ นับจำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุเหล่านี้ย่อมเกาะกลุ่มยินดีในหมู่ กระทำกรรมไม่สมควรเลย. พระองค์ทรงเกิดธรรมสังเวช เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นเหตุ ทรงดำริว่า ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุสองรูปไม่พึงอยู่ในที่เดียวกัน แต่ไม่สามารถจะบัญญัติได้ เอาละ เราจะแสดงพระสูตรชื่อมหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทสำหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา และเหมือนกระจกสำหรับส่องหมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่าที่วางไว้ ณ ประตูเมือง แต่นั้นกษัตริย์เป็นต้นเห็นโทษของตนในกระจกบานหนึ่ง ละโทษนั้นย่อมเป็นผู้หาโทษมิได้ฉันใด แม้เมื่อเราปรินิพพานแล้วล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายย่อมระลึกถึงพระสูตรนี้ จักบรรเทาความเป็นหมู่ ยินดีในเอกีภาพ จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์ได้. กุลบุตรทั้งหลายระลึกถึงพระสูตรนี้แล้ว บรรเทาความเป็นหมู่ยังทุกข์ในวัฏฏะให้สิ้นไป แล้วปรินิพพานนับไม่ถ้วน เหมือนยังมโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บริบูรณ์.

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่งพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร ม...พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ผู้สละโลก ขุมทรัพย์อันวิเศษด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกศาสตร์จึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50) เมื่อนิพพานพ้นไป นิพพานจึงเทียบได้กับ ไฟอันที่หมดเชื้อไฟแล้วและดับไป อันเชื้อไฟนั้นเปรียบได้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น อ้างอิง[แก้]

พระนิพพานคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว ไม่พูดว่าเขารู้อะไร เพราะสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

การนั่งสมาธิตามแบบพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องมีคำบริกรรม

จรวดมันจะออกจากโลกได้มันต้องใช้แรง ฆารวาสนะ ถ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการมีชีวิตอยู่ทุกวันๆนี้มีแต่ทุกข์ มันก็อยากพ้นเหมือนกัน ถ้าเราบอกทางให้ ร้อยคนจะหลุดไปได้ซักครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่บอกเลยก็ไปไม่ได้ซักคน หลวงพ่อถึงสอนพวกเรา คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอนกับพระ แต่อย่างหลวงพ่อภาวนาจริงจัง เข้าหาครูบาอาจารย์นะท่านสอนอย่างนี้เลย ท่านไม่ได้มาสอนทำทานถือศีลนั่งสมาธิ สอนเรื่องเจริญปัญญา เรื่องมรรคผลนิพพาน แล้วนึกดู ฆารวาสก็ทำได้นะ ฆารวาสสมัยพุทธกาลทำไมเค้าทำได้ ฆารวาสยุคนี้มันจะโง่ขนาดนั้นเลยหรือทำไม่­ได้เลย ร้อยคนได้ฟัง น่าจะได้ซักครึ่งกว่าๆถ้าได้ฟัง เกินครึ่งเนี่ยทำได้ ถ้าสนใจจะทำนะ บางคนไม่สนใจทำ เราไปเทศน์ ร้อยคนมันก็ไม่ฟัง ฟังคนเดียวสองคน แล้วก็ไม่ค่อยทำ คือถ้าคนสนใจนะ ตั้งใจฟัง ลงมือทำ น่าจะได้เกินครึ่ง หลวงพ่อสอนละเอียดมาก ควรจะทำได้ มันไม่เหลือวิสัยหรอกที่มนุษย์ธรรมดาจะทำไ­ด้

จรวดมันจะออกจากโลกได้มันต้องใช้แรง ฆารวาสนะ ถ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการมีชีวิตอยู่ทุกวันๆนี้มีแต่ทุกข์ มันก็อยากพ้นเหมือนกัน ถ้าเราบอกทางให้ ร้อยคนจะหลุดไปได้ซักครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่บอกเลยก็ไปไม่ได้ซักคน หลวงพ่อถึงสอนพวกเรา คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอนกับพระ แต่อย่างหลวงพ่อภาวนาจริงจัง เข้าหาครูบาอาจารย์นะท่านสอนอย่างนี้เลย ท่านไม่ได้มาสอนทำทานถือศีลนั่งสมาธิ สอนเรื่องเจริญปัญญา เรื่องมรรคผลนิพพาน แล้วนึกดู ฆารวาสก็ทำได้นะ ฆารวาสสมัยพุทธกาลทำไมเค้าทำได้ ฆารวาสยุคนี้มันจะโง่ขนาดนั้นเลยหรือทำไม่­ได้เลย ร้อยคนได้ฟัง น่าจะได้ซักครึ่งกว่าๆถ้าได้ฟัง เกินครึ่งเนี่ยทำได้ ถ้าสนใจจะทำนะ บางคนไม่สนใจทำ เราไปเทศน์ ร้อยคนมันก็ไม่ฟัง ฟังคนเดียวสองคน แล้วก็ไม่ค่อยทำ คือถ้าคนสนใจนะ ตั้งใจฟัง ลงมือทำ น่าจะได้เกินครึ่ง หลวงพ่อสอนละเอียดมาก ควรจะทำได้ มันไม่เหลือวิสัยหรอกที่มนุษย์ธรรมดาจะทำไ­ด้

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจถ้ารักความชั่วก็นิมนต์สนใจกับเรื่องของชา­วบ้านให้มาก เรื่องส่วนตัวไม่ต้องสนใจ ถ้ารักความดีละก็ตัดความสนใจกับเรื่องของช­าวบ้านเขาเสีย เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุท­ธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็­แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปั­สสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ แต่ถ้าหากว่าพระคุณเจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุ­ทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด

การละความยินดีในภพทั้งสามพระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คิดดี พูดดี ทำดีชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

มีสติรู้กายรู้ใจในขณะปัจจุบันด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง....ขั้นแรก จิตไหลไปแล้วรู้สึก ใจก็จะตั้งมั่น ต่อไปก็จะเห็นเลย จิตที่ไหลไปก็ไม่เที่ยง จิตที่รู้สึกก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ไปบังคับให้รู้สึกตลอดนะ ดูแต่ของไม่เที่ยงในจิตใจไป ดูแต่ของที่ของที่บังคับไม่ได้ในจิตใจไป ดูด้วยความเป็นกลาง ถึงวันที่ปัญญาแก่รอบนะ มันก็จะเข้าใจธรรมะเป็นลำดับๆไป ข้างต้นก็ล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ขั้นปลายก็ล้างความหลงผิดว่าขันธ์ ๕ กายใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ที่แท้ไม่ใช่ของดีของวิเศษแต่เป็นตัวทุกข์หรอก หัดเบื้องต้นมีความสุขเยอะเลย หัดเบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย จนกระทั่งแจ้งแล้วนะ เจอบรมสุขเลย สุขที่ไม่ผันแปรอีกแล้ว พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ



สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ.ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

ใครที่ด่าการทำน้ำมนต์ ก็เท่ากับด่าพระพุทธเจ้าด้วย!!!ในเวลานั้นเป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา พระบรมศาสดาเสด็จมาจำพรรษาอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อแสดงธรรมต่อพระเจ้าพิมพิสารตามที่เคยให้ปฏิญาณตั้งแต่ครั้งเมื่อแรก เสด็จออกบวช เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลี เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้รับการแต่งตั้งให้นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายและเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จโปรดระงับภัยพิบัติยังนครเวสาลี ซึ่งในครั้งนั้นได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่ ๑. ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพงด้วยพืชผลในไร่นาแห้งตายเสียหายเป็นอันมาก ด้วยฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย ๒. อมนุสสภัย คือ เหล่าภูตปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง ๓. อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด เนื่องจากเมื่อผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ไม่มีใครนำพาในการฝังซากศพทิ้งให้น้ำเหม็นบ้านเมืองสกปรกโสโครก เชื้อโรคร้ายจึงแพร่ระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น ชาว เมืองทั้งหลายต่างร่วมประชุมปรึกษาและลงความเห็นว่า ต่ก่อนไม่เคยเกิดทุกข์ ภัยเช่นนี้ ด้วยเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีผู้ปกครองที่ผ่านมาล้วนตั้งอยู่ในจารีตประเพณีและ ศีลธรรมอันดี ครั้นนำเรื่องมาร้องเรียนและมีการตรวจสอบก็มิได้พบเหตุแห่งอาเพศประการใดชน ทั้งหลายทราบว่าบัดนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นบนโลกแล้วควร อาราธนามาช่วยดับทุกข์ร้อนด้วยพระบารมี พระเจ้าพิมพิสารได้จัดการปรับเส้นทางชลมารค (การเสด็จทางน้ำ) ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นระยะทางประมาณ ๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ถึงแม่น้ำคงคา ซึ่งพระบรมศาสดาพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ต้องใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินถึง ๕ วัน จากนั้นเป็นการเสด็จพุทธดำเนินทางเรือ พระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสด็จพระบรมศาสดาโดยลุยลงไปในแม่น้ำเพียงพระศอ แล้วกราบทูลว่า “หม่อมฉันจะมารอรับการเสด็จ ณ ที่นี้ ในยามที่พระพุทธองค์เสด็จกลับมายังนครราชคฤห์” ขณะที่เรือพระที่นั่งทรงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้รับการประดับตกแต่ง อย่างสวยงามสมพระเกียรติแล่นออกจากท่า มหาชนต่างพากันทำสักการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ สิ้นระยะทางหนึ่งโยชน์จากฝั่งแม่น้ำคงคาก็มาถึงท่าเรือพระราชอาณาเขตพระนคร เวสาลี เจ้าชายมหาลีและเหล่าราชทูตจึงเชิญเสด็จพระบรมศาสดาขึ้นจากเรือ และจัดถวายการต้อนรับเป็นที่มโหฬาร พระพุทธองค์นำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ในระยะเวลา ๓ วันจึงถึงเมืองเวสาลี เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จพุทธดำเนินถึงเมืองเวสาลีพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ก้าวแรกที่ทรงเหยียบพระบาทสู่ภาคพื้นดินอันเกิดภัยพิบัติ พระพุทธองค์ทรงประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปุเร (ชาติต่าง ๆในอดีต) ทันใดนั้นมหาเมฆได้เริ่มตั้งเค้าดังแผ่นผ้าสีครามยืนยาวเหยียด ณ ทิศประจิม (ตะวันตก) แล้วเคลื่อนมาปกคลุมพระนครเวสาลี สายฟ้าแลบแปลบปลาบท้องฟ้าส่งเสียงลั่นคำราม ในที่สุดสายฝนก็ตกลงมาประหนึ่งตั้งใจชะล้างพื้นดินให้สะอาดเพื่อต้อนรับพระ บรมศาสดา สายน้ำได้ไหลบ่าเข้าสู่พระนครพัดพาซากศพมนุษย์และสัตว์อีกปฏิกูลทั้งหลายไป สู่ทะเลใหญ่ เมื่อฝนขาดเม็ดพื้นแผ่นดินจึงสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล และอากาศที่ร้อนอบอ้าวก็บรรเทาสงบลง ในเวลาเย็นของวันนั้น พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเรียนมนต์ พระปริตรรัตนสูตร พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระพุทธคุณพระบรมศาสดา จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา จนกระทั่งตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์แล้วได้สวดพุทธมนต์พระปริตรรัตนสูตรประกาศพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ประคองบาตรของพระพุทธองค์อันเต็มไปด้วยน้ำพุทธมนต์ เที่ยวจาริกไปรอบพระนครเวสาลีพร้อมเหล่าเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเพื่อประพรมน้ำ พุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ชาวเมืองที่กำลังเจ็บป่วยต่างหายจากโรคภัย บรรดาภูตผีปีศาจล้วนตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหลีกหนีออกจากนครเวสาลีจนหมด สิ้น เหล่ามหาชนเป็นอันมากต่างตามพระอานนท์มาเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธาปสาทะ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และพากันมาฟังพระธรรมเทศนาตลอด ๗ วัน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ครั้นเมื่อภัยพิบัติ ๓ ประการได้สงบลงแล้ว เจ้าลิจฉวีพร้อมด้วยเหล่ามหาชนต่างจัดพุทธบูชาถวายเพื่อส่งเสด็จอย่างมโหฬาร เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินกลับมาถึงนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารและเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนชาวเมืองต่างมีความปีติยินดีพา กันมาเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ณ พระเวฬุวันมหาวิหารอย่างเนืองแน่น

แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็สอนพระอานนท์ทำน้ำมนต์ในเวลานั้นเป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา พระบรมศาสดาเสด็จมาจำพรรษาอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อแสดงธรรมต่อพระเจ้าพิมพิสารตามที่เคยให้ปฏิญาณตั้งแต่ครั้งเมื่อแรก เสด็จออกบวช เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลี เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้รับการแต่งตั้งให้นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายและเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จโปรดระงับภัยพิบัติยังนครเวสาลี ซึ่งในครั้งนั้นได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่ ๑. ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพงด้วยพืชผลในไร่นาแห้งตายเสียหายเป็นอันมาก ด้วยฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย ๒. อมนุสสภัย คือ เหล่าภูตปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง ๓. อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด เนื่องจากเมื่อผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ไม่มีใครนำพาในการฝังซากศพทิ้งให้น้ำเหม็นบ้านเมืองสกปรกโสโครก เชื้อโรคร้ายจึงแพร่ระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น ชาว เมืองทั้งหลายต่างร่วมประชุมปรึกษาและลงความเห็นว่า ต่ก่อนไม่เคยเกิดทุกข์ ภัยเช่นนี้ ด้วยเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีผู้ปกครองที่ผ่านมาล้วนตั้งอยู่ในจารีตประเพณีและ ศีลธรรมอันดี ครั้นนำเรื่องมาร้องเรียนและมีการตรวจสอบก็มิได้พบเหตุแห่งอาเพศประการใดชน ทั้งหลายทราบว่าบัดนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นบนโลกแล้วควร อาราธนามาช่วยดับทุกข์ร้อนด้วยพระบารมี พระเจ้าพิมพิสารได้จัดการปรับเส้นทางชลมารค (การเสด็จทางน้ำ) ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นระยะทางประมาณ ๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ถึงแม่น้ำคงคา ซึ่งพระบรมศาสดาพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ต้องใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินถึง ๕ วัน จากนั้นเป็นการเสด็จพุทธดำเนินทางเรือ พระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสด็จพระบรมศาสดาโดยลุยลงไปในแม่น้ำเพียงพระศอ แล้วกราบทูลว่า “หม่อมฉันจะมารอรับการเสด็จ ณ ที่นี้ ในยามที่พระพุทธองค์เสด็จกลับมายังนครราชคฤห์” ขณะที่เรือพระที่นั่งทรงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้รับการประดับตกแต่ง อย่างสวยงามสมพระเกียรติแล่นออกจากท่า มหาชนต่างพากันทำสักการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ สิ้นระยะทางหนึ่งโยชน์จากฝั่งแม่น้ำคงคาก็มาถึงท่าเรือพระราชอาณาเขตพระนคร เวสาลี เจ้าชายมหาลีและเหล่าราชทูตจึงเชิญเสด็จพระบรมศาสดาขึ้นจากเรือ และจัดถวายการต้อนรับเป็นที่มโหฬาร พระพุทธองค์นำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ในระยะเวลา ๓ วันจึงถึงเมืองเวสาลี เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จพุทธดำเนินถึงเมืองเวสาลีพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ก้าวแรกที่ทรงเหยียบพระบาทสู่ภาคพื้นดินอันเกิดภัยพิบัติ พระพุทธองค์ทรงประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปุเร (ชาติต่าง ๆในอดีต) ทันใดนั้นมหาเมฆได้เริ่มตั้งเค้าดังแผ่นผ้าสีครามยืนยาวเหยียด ณ ทิศประจิม (ตะวันตก) แล้วเคลื่อนมาปกคลุมพระนครเวสาลี สายฟ้าแลบแปลบปลาบท้องฟ้าส่งเสียงลั่นคำราม ในที่สุดสายฝนก็ตกลงมาประหนึ่งตั้งใจชะล้างพื้นดินให้สะอาดเพื่อต้อนรับพระ บรมศาสดา สายน้ำได้ไหลบ่าเข้าสู่พระนครพัดพาซากศพมนุษย์และสัตว์อีกปฏิกูลทั้งหลายไป สู่ทะเลใหญ่ เมื่อฝนขาดเม็ดพื้นแผ่นดินจึงสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล และอากาศที่ร้อนอบอ้าวก็บรรเทาสงบลง ในเวลาเย็นของวันนั้น พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเรียนมนต์ พระปริตรรัตนสูตร พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระพุทธคุณพระบรมศาสดา จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา จนกระทั่งตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์แล้วได้สวดพุทธมนต์พระปริตรรัตนสูตรประกาศพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ประคองบาตรของพระพุทธองค์อันเต็มไปด้วยน้ำพุทธมนต์ เที่ยวจาริกไปรอบพระนครเวสาลีพร้อมเหล่าเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเพื่อประพรมน้ำ พุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ชาวเมืองที่กำลังเจ็บป่วยต่างหายจากโรคภัย บรรดาภูตผีปีศาจล้วนตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหลีกหนีออกจากนครเวสาลีจนหมด สิ้น เหล่ามหาชนเป็นอันมากต่างตามพระอานนท์มาเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธาปสาทะ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และพากันมาฟังพระธรรมเทศนาตลอด ๗ วัน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ครั้นเมื่อภัยพิบัติ ๓ ประการได้สงบลงแล้ว เจ้าลิจฉวีพร้อมด้วยเหล่ามหาชนต่างจัดพุทธบูชาถวายเพื่อส่งเสด็จอย่างมโหฬาร เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินกลับมาถึงนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารและเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนชาวเมืองต่างมีความปีติยินดีพา กันมาเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ณ พระเวฬุวันมหาวิหารอย่างเนืองแน่น

น้ำมนต์ของพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ในเวลานั้นเป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา พระบรมศาสดาเสด็จมาจำพรรษาอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อแสดงธรรมต่อพระเจ้าพิมพิสารตามที่เคยให้ปฏิญาณตั้งแต่ครั้งเมื่อแรก เสด็จออกบวช เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลี เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้รับการแต่งตั้งให้นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายและเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จโปรดระงับภัยพิบัติยังนครเวสาลี ซึ่งในครั้งนั้นได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่ ๑. ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพงด้วยพืชผลในไร่นาแห้งตายเสียหายเป็นอันมาก ด้วยฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย ๒. อมนุสสภัย คือ เหล่าภูตปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง ๓. อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด เนื่องจากเมื่อผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ไม่มีใครนำพาในการฝังซากศพทิ้งให้น้ำเหม็นบ้านเมืองสกปรกโสโครก เชื้อโรคร้ายจึงแพร่ระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น ชาว เมืองทั้งหลายต่างร่วมประชุมปรึกษาและลงความเห็นว่า ต่ก่อนไม่เคยเกิดทุกข์ ภัยเช่นนี้ ด้วยเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีผู้ปกครองที่ผ่านมาล้วนตั้งอยู่ในจารีตประเพณีและ ศีลธรรมอันดี ครั้นนำเรื่องมาร้องเรียนและมีการตรวจสอบก็มิได้พบเหตุแห่งอาเพศประการใดชน ทั้งหลายทราบว่าบัดนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นบนโลกแล้วควร อาราธนามาช่วยดับทุกข์ร้อนด้วยพระบารมี พระเจ้าพิมพิสารได้จัดการปรับเส้นทางชลมารค (การเสด็จทางน้ำ) ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นระยะทางประมาณ ๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ถึงแม่น้ำคงคา ซึ่งพระบรมศาสดาพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ต้องใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินถึง ๕ วัน จากนั้นเป็นการเสด็จพุทธดำเนินทางเรือ พระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสด็จพระบรมศาสดาโดยลุยลงไปในแม่น้ำเพียงพระศอ แล้วกราบทูลว่า “หม่อมฉันจะมารอรับการเสด็จ ณ ที่นี้ ในยามที่พระพุทธองค์เสด็จกลับมายังนครราชคฤห์” ขณะที่เรือพระที่นั่งทรงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้รับการประดับตกแต่ง อย่างสวยงามสมพระเกียรติแล่นออกจากท่า มหาชนต่างพากันทำสักการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ สิ้นระยะทางหนึ่งโยชน์จากฝั่งแม่น้ำคงคาก็มาถึงท่าเรือพระราชอาณาเขตพระนคร เวสาลี เจ้าชายมหาลีและเหล่าราชทูตจึงเชิญเสด็จพระบรมศาสดาขึ้นจากเรือ และจัดถวายการต้อนรับเป็นที่มโหฬาร พระพุทธองค์นำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ในระยะเวลา ๓ วันจึงถึงเมืองเวสาลี เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จพุทธดำเนินถึงเมืองเวสาลีพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป ก้าวแรกที่ทรงเหยียบพระบาทสู่ภาคพื้นดินอันเกิดภัยพิบัติ พระพุทธองค์ทรงประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปุเร (ชาติต่าง ๆในอดีต) ทันใดนั้นมหาเมฆได้เริ่มตั้งเค้าดังแผ่นผ้าสีครามยืนยาวเหยียด ณ ทิศประจิม (ตะวันตก) แล้วเคลื่อนมาปกคลุมพระนครเวสาลี สายฟ้าแลบแปลบปลาบท้องฟ้าส่งเสียงลั่นคำราม ในที่สุดสายฝนก็ตกลงมาประหนึ่งตั้งใจชะล้างพื้นดินให้สะอาดเพื่อต้อนรับพระ บรมศาสดา สายน้ำได้ไหลบ่าเข้าสู่พระนครพัดพาซากศพมนุษย์และสัตว์อีกปฏิกูลทั้งหลายไป สู่ทะเลใหญ่ เมื่อฝนขาดเม็ดพื้นแผ่นดินจึงสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล และอากาศที่ร้อนอบอ้าวก็บรรเทาสงบลง ในเวลาเย็นของวันนั้น พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเรียนมนต์ พระปริตรรัตนสูตร พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระพุทธคุณพระบรมศาสดา จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา จนกระทั่งตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์แล้วได้สวดพุทธมนต์พระปริตรรัตนสูตรประกาศพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ประคองบาตรของพระพุทธองค์อันเต็มไปด้วยน้ำพุทธมนต์ เที่ยวจาริกไปรอบพระนครเวสาลีพร้อมเหล่าเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเพื่อประพรมน้ำ พุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ชาวเมืองที่กำลังเจ็บป่วยต่างหายจากโรคภัย บรรดาภูตผีปีศาจล้วนตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหลีกหนีออกจากนครเวสาลีจนหมด สิ้น เหล่ามหาชนเป็นอันมากต่างตามพระอานนท์มาเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธาปสาทะ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และพากันมาฟังพระธรรมเทศนาตลอด ๗ วัน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ครั้นเมื่อภัยพิบัติ ๓ ประการได้สงบลงแล้ว เจ้าลิจฉวีพร้อมด้วยเหล่ามหาชนต่างจัดพุทธบูชาถวายเพื่อส่งเสด็จอย่างมโหฬาร เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินกลับมาถึงนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารและเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนชาวเมืองต่างมีความปีติยินดีพา กันมาเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ณ พระเวฬุวันมหาวิหารอย่างเนืองแน่น

หยุดคิด!! ด้วยคำบริกรรม

หยุดคิด!! ด้วยคำบริกรรม

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ให้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเองครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้­เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได­้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที­่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญ­ัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น

ชนะตนเองนั่นแหละประเสริฐตนนั่นเหละเป็นที่พึงของตน ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้นเรื่องของ­มันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันทีตัวเราไม่มี­หรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่ม­ีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิตขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

พุทโธรู้ในกายของเราพุทโธรู้ในใจของเรา

พุทโธรู้ในกายของเราพุทโธรู้ในใจของเรา

นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือกเบื้องต้นให้รู้สึกตัวให้เป็นก่อน มีสติรู้กายรู้ใจ…ถึงจุดหนึ่งใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้กายรู้ใจต่อไป…ถึงจุดหนึ่งมันจะรู้โดยไม่เจตนาจะรู้สึก (เกิดสติตัวจริง) สติเกิดปั๊บใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมาได้เอง พอสติตัวจริงเกิด จิตจะมีความสุข พอจิตมีความสุข จิตจะมีสัมมาสมาธิ (สมาธิชั้นดี ตั้งมั่นในการรู้กายรู้ใจ) พอสติระลึกรู้กาย…จะเห็นทันทีว่ากายไม่ใช่ตัวเรา มีสติ มีสมาธิ ต่อไปเรื่อยๆ เกิดปัญญาตัวทีหนึ่งเรียก “นามรูปปริจเฉทญาณ” เห็นนามอยู่ส่วนหนึ่ง รูปอยู่ส่วนหนึ่ง… จะรู้สึกกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นว่ากายไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา ขันธ์ 5 เริ่มกระจายตัวออกไป (ทำลายสัญญาวิปลาส ต้องจับสิ่งที่เรียกว่าเรากระจายตัวออกไป เรียก วิภัชวิธี) สิ่ง ที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ…พอเรามีสติจริงๆ มีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่น สติระลึกลงไปรู้กายรู้ใจ…จะเห็นมันแยกส่วนกันกายอยู่ส่วนนึง จิตอยู่ส่วนนึง (กายกับจิตแยกจากกันเหมือนมีช่องว่างมาขั้น ไม่ใช่อันเดียวกันอีกต่อไป) เวทนากับจิตแยกส่วนกัน เหมือนมีช่องว่างมาขั้น… กุศล/อกุศล แยกออกจากจิต ตัวจิตเองก็เกิดดับ (เดี๋ยวเกิดที่ตา เดี๋ยวเกิดที่หู จมูก ลิ้น กาย ใจ…) สรุปว่าเบื้องต้น จะเห็นก่อนว่ามันกระจาย กระจายแล้วจะเห็นว่าแต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา… รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา แต่ละตัวมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ… เป็นปัญญาอีกขั้นเรียก “ปัจจยปริคคหญาณ” (รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สภาวะธรรมทั้งหลายไม่ได้เกิดลอยๆ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ) เห็นต่อไปสักพัก ปัญญาจะประณีตลึกซึ้งขึ้นไปอีก เริ่มรู้ว่าทั้งกายทั้งใจเป็นไตรลักษณ์ เกิด “สัมมสนญาณ” คือเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิด ตรึกตรอง เปรียบเทียบ…ตรงนี้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ตามรู้ตามดูต่อไป ถึงจุดที่สติและสัมมาสมาธิมีแรงพอ เริ่มเห็นความเกิดดับ (เช่น เห็นจิตเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาขั้น) พบว่าจิตดวงนึงกับจิตอีกดวงนึงเป็นคนละดวงกันเรียกว่า “สันตะติขาด” ภาวนาจนเห็นสันตะติขาด จึงเรียกว่าขึ้นวิปัสสนาจริงๆ ดูต่อไป เห็นสภาวะ เกิด-ดับ เกิด-ดับ สืบเนื่องกันไปแต่เป็นคนละอันกัน เห็นมากเข้าๆ ตัวเราหายไปไหน ??…ร่างกายไม่ใช่เรา….จิตใจไม่ใช่เรา…. จะตกใจ กลัว โหวงๆ เบื่อทุกอย่าง ใจจืดแต่สว่าง เห็นโลกจืดชืด ใจมีนิพพิทา (นิพพิทาญาณ) มองโลกแบนๆ ราบเป็นหน้ากลอง ตรงนี้ยังไม่ได้ตัดด้วยอริยมรรค แต่เกิดจากความรักตัวเอง ถึงตรงนี้คือได้ครึ่งทาง

สมาธิชนิดที่สำคัญ ที่ต้องเรียนให้ได้ถ้าจะเอามรรคผลในชาตินี้ โดยหลวงพ่อปร...

ขอขมาพระรัตนตรัยกาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ บทแปล ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์ ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธเจ้า สติปัฏฐาน ๔ ในหมวดกาย แบ่งเป็น ๖ บรรพ คือ - อานาปานบรรพ - อิริยาปถบรรพ - สัมปชัญญบรรพ - ปฏิกูลมนสิการบรรพ - ธาตุมนสิการบรรพ - นวสีวถิกาบรรพ ทุกบรรพจะลงท้ายด้วย "เห็นกายในกาย" จะขอยกเอา"อานาปานบรรพ"มาแสดงดังนี้ [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

ปรินิพพานนับไม่ถ้วน เหมือนยังมโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้จิตก็ต้องมีพลังมาก ในการที่จะถอดตัวออกจากสังสารวัฏได้ แต่ก่อนเค้าไม่ค่อยสอนกันนะแต่ก่อนสอนฆารวาส ทำทาน ถือศีล อย่างเก่งก็นั่งสมาธิ ฆารวาสนะ ถ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการมีชีวิตอยู่ทุกวันๆนี้มีแต่ทุกข์ มันก็อยากพ้นเหมือนกัน ถ้าเราบอกทางให้ ร้อยคนจะหลุดไปได้ซักครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่บอกเลยก็ไปไม่ได้ซักคน หลวงพ่อถึงสอนพวกเรา คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอนกับพระ แต่อย่างหลวงพ่อภาวนาจริงจัง เข้าหาครูบาอาจารย์นะท่านสอนอย่างนี้เลย ท่านไม่ได้มาสอนทำทานถือศีลนั่งสมาธิ สอนเรื่องเจริญปัญญา เรื่องมรรคผลนิพพาน แล้วนึกดู ฆารวาสก็ทำได้นะ ฆารวาสสมัยพุทธกาลทำไมเค้าทำได้ ฆารวาสยุคนี้มันจะโง่ขนาดนั้นเลยหรือทำไม่­ได้เลย ร้อยคนได้ฟัง น่าจะได้ซักครึ่งกว่าๆถ้าได้ฟัง เกินครึ่งเนี่ยทำได้ ถ้าสนใจจะทำนะ บางคนไม่สนใจทำ เราไปเทศน์ ร้อยคนมันก็ไม่ฟัง ฟังคนเดียวสองคน แล้วก็ไม่ค่อยทำ คือถ้าคนสนใจนะ ตั้งใจฟัง ลงมือทำ น่าจะได้เกินครึ่ง หลวงพ่อสอนละเอียดมาก ควรจะทำได้ มันไม่เหลือวิสัยหรอกที่มนุษย์ธรรมดาจะทำไ­ด้

จรวดมันจะออกจากโลกได้มันต้องใช้แรงจิตก็ต้องมีพลังมาก ในการที่จะถอดตัวออกจากสังสารวัฏได้ แต่ก่อนเค้าไม่ค่อยสอนกันนะแต่ก่อนสอนฆารวาส ทำทาน ถือศีล อย่างเก่งก็นั่งสมาธิ ฆารวาสนะ ถ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการมีชีวิตอยู่ทุกวันๆนี้มีแต่ทุกข์ มันก็อยากพ้นเหมือนกัน ถ้าเราบอกทางให้ ร้อยคนจะหลุดไปได้ซักครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่บอกเลยก็ไปไม่ได้ซักคน หลวงพ่อถึงสอนพวกเรา คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอนกับพระ แต่อย่างหลวงพ่อภาวนาจริงจัง เข้าหาครูบาอาจารย์นะท่านสอนอย่างนี้เลย ท่านไม่ได้มาสอนทำทานถือศีลนั่งสมาธิ สอนเรื่องเจริญปัญญา เรื่องมรรคผลนิพพาน แล้วนึกดู ฆารวาสก็ทำได้นะ ฆารวาสสมัยพุทธกาลทำไมเค้าทำได้ ฆารวาสยุคนี้มันจะโง่ขนาดนั้นเลยหรือทำไม่­ได้เลย ร้อยคนได้ฟัง น่าจะได้ซักครึ่งกว่าๆถ้าได้ฟัง เกินครึ่งเนี่ยทำได้ ถ้าสนใจจะทำนะ บางคนไม่สนใจทำ เราไปเทศน์ ร้อยคนมันก็ไม่ฟัง ฟังคนเดียวสองคน แล้วก็ไม่ค่อยทำ คือถ้าคนสนใจนะ ตั้งใจฟัง ลงมือทำ น่าจะได้เกินครึ่ง หลวงพ่อสอนละเอียดมาก ควรจะทำได้ มันไม่เหลือวิสัยหรอกที่มนุษย์ธรรมดาจะทำไ­ด้

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สภาพจิตทีมีคุณภาพเพื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรมพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ มาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตเทวดากล่าว "ภิกษุพึงมีสติหลีกเร้นอยู่ เพื่อละกามราคะ เหมือนบุรุษที่ถูกแทงด้วยหอกมุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะมุ่งดับไฟ ฉะนั้น" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส "ภิกษุพึงมีสติหลีกเร้นอยู่ เพื่อละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษที่ถูกแทงด้วยหอกมุ่งถอนออก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะมุ่งดับไฟ ฉะนั้น" (สัตติสูตร)

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะเทวดากล่าว "ภิกษุพึงมีสติหลีกเร้นอยู่ เพื่อละกามราคะ เหมือนบุรุษที่ถูกแทงด้วยหอกมุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะมุ่งดับไฟ ฉะนั้น" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส "ภิกษุพึงมีสติหลีกเร้นอยู่ เพื่อละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษที่ถูกแทงด้วยหอกมุ่งถอนออก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะมุ่งดับไฟ ฉะนั้น" (สัตติสูตร)

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเฝ้ารู้อยู่อย่างนี้เรื่อยๆ พอมันไม่มีเราขึ้นมาจริงๆ ความทุกข์มันอยู่ที่ไหน ความทุกข์มีอยู่ เพราะขันธ์ยังมีอยู่ ตัวขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ขันธ์เป็นตัวทุกข์นะ ไม่ใช่ขันธ์เป็นตัวสุข ไม่ใช่ว่าภาวนาแล้ววันหนึ่งขันธ์กลายเป็นตัวสุขขึ้นมาได้ ยังไงก็เป็นตัวทุกข์ เพราะขันธ์มันไม่เที่ยง มันถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ ยังไงก็เป็นทุกข์ แต่ว่าเมื่อใจยอมรับความจริง ว่าขันธ์มันเป็นทุกข์นะ ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นที่ขันธ์ก็อยู่ชั่วคราว ตัวขันธ์เองก็อยู่ชั่วคราว การที่เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวเนี่ย เรียกว่าเรารู้ทันความจริงละ เมื่อจิตรู้ทันความจริง เวลาความจริงมาปรากฏให้จิตยอมรับความจริงได้ จิตก็ไม่ทุกข์ ที่จิตทุกข์เพราะจิตยอมรับความจริงไม่ได้ เช่น ร่างกายมันจะแก่ จิตยอมรับความจริงได้ ของธรรมดา มันของชั่วคราว พอใจยอมรับความจริงได้ ใจมันก็ไม่ทุกข์ มันจะเจ็บมันจะตาย จิตใจเราจะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เจอสิ่งที่ไม่รัก เรายอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างชั่วคราว สุขทุกข์ดีชั่ว ของชั่วคราวทั้งหมด เมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ตอนนี้พวกเรายังเห็นสภาวะที่พ้นความปรุงแต่งไม่ได้ เพราะจิตเรายังปรุงแต่งอยู่ ที่จิตปรุงแต่งอยู่เพราะยังไม่รู้ความจริงของขันธ์ ยังไม่เห็นหรอกว่า ขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยังยอมรับไม่ได้ เวลาเห็นก็เห็นนิดๆ หน่อยๆ แต่ยังยอมรับความจริงไม่ได้ ใจลึกๆ มันก็ยังอยากให้ร่างกายนี้แข็งแรงตลอดกาล เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาล ยอมรับไม่ได้ที่จะไม่สมหวัง อยากให้มันสมหวัง อยากให้มันมีความสุข อยากให้มันบรรลุมรรคผล นิพพาน มันอดอยากไม่ได้ งั้นใจที่เรายังมีความอยากอยู่เนี่ย มันดิ้นรนไม่เลิก ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้า วันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงท­ี่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่­ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกป­รุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั­้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็­ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้­สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

จำหน่าย อุปกรณ์ ซ่อม สร้าง เครื่องควบคุม เครื่องจักรและมอเตอร์ไฟฟ้า. เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module ·

จุดเริ่มต้นอยู่ที่การเข้าไปเห็นสภาวะข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ จบอุทเทสวารกถา [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอานาปานบรรพ [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอิริยาปถบรรพ [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบสัมปชัญญบรรพ [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบปฏิกูลมนสิการบรรพ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบธาตุมนสิการบรรพ [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ จบนวสีวถิกาบรรพ จบกายานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ จบเวทนานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ จบจิตตานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่ เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ- *กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ จบนีวรณบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ จบขันธบรรพ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ อยู่ ฯ จบอายตนบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติ สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ จบโพชฌงคบรรพ จบภาณวารที่หนึ่ง [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิด- *เพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม- *สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม- *ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็น ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา กัมมันตะ ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา- *สมาธิ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ จบสัจจบรรพ จบธัมมานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙ -----------------------------------------------------

จุดเริ่มต้นอยู่ที่การเข้าไปเห็นสภาวะข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ จบอุทเทสวารกถา [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอานาปานบรรพ [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอิริยาปถบรรพ [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบสัมปชัญญบรรพ [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบปฏิกูลมนสิการบรรพ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบธาตุมนสิการบรรพ [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ จบนวสีวถิกาบรรพ จบกายานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ จบเวทนานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ จบจิตตานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่ เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ- *กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ จบนีวรณบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ จบขันธบรรพ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ อยู่ ฯ จบอายตนบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติ สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ จบโพชฌงคบรรพ จบภาณวารที่หนึ่ง [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิด- *เพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม- *สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม- *ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็น ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา กัมมันตะ ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา- *สมาธิ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ จบสัจจบรรพ จบธัมมานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙ -----------------------------------------------------

จุดเริ่มต้นอยู่ที่การเข้าไปเห็นสภาวะข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ จบอุทเทสวารกถา [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอานาปานบรรพ [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอิริยาปถบรรพ [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบสัมปชัญญบรรพ [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบปฏิกูลมนสิการบรรพ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบธาตุมนสิการบรรพ [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ จบนวสีวถิกาบรรพ จบกายานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ จบเวทนานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ จบจิตตานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่ เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ- *กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ จบนีวรณบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ จบขันธบรรพ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ อยู่ ฯ จบอายตนบรรพ ----------------------------------------------------- [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติ สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ จบโพชฌงคบรรพ จบภาณวารที่หนึ่ง [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิด- *เพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม- *สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม- *ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็น ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา กัมมันตะ ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา- *สมาธิ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ จบสัจจบรรพ จบธัมมานุปัสสนา ----------------------------------------------------- [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙ -----------------------------------------------------

สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี ... แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ... จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ ...

จำหน่าย อุปกรณ์ ซ่อม สร้าง เครื่องควบคุม เครื่องจักรและมอเตอร์ไฟฟ้า.รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

วิธีสร้างเครื่องอินเวอร์เตอร์สำหรับมอเตอร์สามเฟสใช้เองเพื่อสูบน้ำบาดาลด้...รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

การต่อมอเตอร์สามเฟสกับอินเวอร์เตอร์รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงกำลังจะหมดโลกรับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

ความรู้เบื้องต้นเรื่องเครื่องจักรกลไฟฟ้าในโลกยุคที่ 4รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

ISHIKAWA LOOMS 705 723 725 735 SYSTEM BOARD SIMULATORรับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

การสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องทอผ้าใช้ PIC 16F84รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ สิ้นตัณหาดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่างเปล่า สูญทั้งนั้น ฯ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงอินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง Iรุ่นนี้ยังมีอยู่ประมาณ 30 แผงครับ เป็น ไอ ซี ของ อินเทล INTEL N87C196MC INDUSTRIAL MOTOR CONTROL MICROCONTROLLER

ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานคำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง

คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียวคำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้ มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้ ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจากสิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง

เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเรา...ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

การค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของตัวเราเอง* ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มหัศจรรย์ฝันรู้ตัว Lucid Dreamingลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม

การตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้วพระโพธิธรรม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี "พระโพธิธรรม" โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (สันสกฤต: โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC) : bōdhidharma; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó , Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ)เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว ค.ศ. 520 เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุก ๆ ศาสนา ตลอดจนวรรณคดี อักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งสมาธิเข้าฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง 7 วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 แห่งนิกายเซน (ซึ่งอ้างว่าสืบมาตั้งแต่พระมหากัสสปะในสมัยพุทธกาล ถือเป็นพระปฐมสังฆปริณายกของนิกายเซนในประเทศจีน) หลังจากนั้นท่านได้จาริกจากอินเดียไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 (6 ขวบ?) ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ และไม่นานต่อมาได้ก่อตั้งอารามขึ้นในเมืองลั่วหยาง และใช้เวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึง 9 ปีในการเพ่งผนังถ้ำ ฝ่ายมหายาน ถือว่าพระโพธิธรรมเป็นสังฆปริณายกองค์ที่ 28 ที่สืบสายโดยตรงมาจากพระโคตมพุทธเจ้าผ่านทางพระมหากัสสปะ และยังเป็นผู้สถาปนานิกายเซนขึ้นมาในประเทศจีนอีกด้วย เนื่องจากคำสอนของท่านจะเน้นไปที่การเข้าฌาน แนวทางคำสอนของท่านจึงมักจะเรียกกันว่า ฌาน (สันสกฤต: [ธฺยาน] ध्यान : dhyan ) ในภาษาจีนเรียกว่า 'ฉาน'(สำเนียงจีนกลาง ส่วนสำเนีงแต้จิ๋วเรียกว่า เซี้ยง) และภาษาญี่ปุ่นว่า 'เซน' ประวัติชีวิตของท่านถือเป็นตำนาน ขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็เติบโตกลายเป็นต้นชา และตำนานยังเล่าต่อว่า ด้วยเหตุดังกล่าวภิกษุนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงเวลาทำสมาธิ พ.ศ. 1079 มีการสร้างสถูปอุทิศถวายท่านขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิถังไท่จง ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า "ดะรุมะ" ก็เชื่อกันว่าสืบมาจากท่านตั๊กม้อนี้ อ้างอิง[แก้] Avari, Burjor (2007), India: The Ancient Past, New York: Routledge. Broughton, Jeffrey L. (1999), The Bodhidharma Anthology: The Earliest Records of Zen, Berkeley: University of California Press, ISBN 0-520-21972-4 Dumoulin, Heinrich (2005), Zen Buddhism: A History, 1: India and China, Bloomington, IN: World Wisdom, ISBN 0-941532-89-5 Dumoulin, Heinrich (1993), "Early Chinese Zen Reexamined: A Supplement to Zen Buddhism: A History", Japanese Journal of Religious Studies 20 (1): 31–53, ISSN 0304-1042. Faure, Bernard (1986), "Bodhidharma as Textual and Religious Paradigm", History of Religions 25 (3): 187–198, doi:10.1086/463039 Ferguson, Andrew. Zen's Chinese Heritage: The Masters and their Teachings. Somerville: Wisdom Publications, 2000. ISBN 0-86171-163-7. Hu, William; Bleicher, Fred (1965), "The Shadow of Bodhidharma", Black Belt Magazine (Black Belt Inc.) (May 1965, Vol. III, No. 5): 36–41. Kohn, Michael H., ed. (1991), The Shambhala Dictionary of Buddhism and Zen, Boston: Shambhala. Lin, Boyuan (1996), Zhōngguó wǔshù shǐ 中國武術史, Taipei 臺北: Wǔzhōu chūbǎnshè 五洲出版社 Maguire, Jack (2001), Essential Buddhism, New York: Pocket Books, ISBN 0-671-04188-6 Mahajan, Vidya Dhar (1972), Ancient India, S. Chand & Co. OCLC 474621 Red Pine, ed. (1989), The Zen Teaching of Bodhidharma: A Bilingual Edition, New York: North Point Press, ISBN 0-86547-399-4. Soothill, William Edward and Hodous, Lewis. A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. London: RoutledgeCurzon, 1995. Sutton, Florin Giripescu (1991), Existence and Enlightenment in the Laṅkāvatāra Sūtra: A Study in the Ontology and Epistemology of the Yogācāra School of Mahāyāna Buddhism, Albany: State University of New York Press, ISBN 0-7914-0172-3. Suzuki, D.T., ed. (1932), The Lankavatara Sutra: A Mahayana Text. Suzuki, D.T. (1948), Manual of Zen Buddhism. Suzuki, D.T. (1949), Essays in Zen Buddhism, New York: Grove Press, ISBN 0-8021-5118-3 Watts, Alan. The Way of Zen. New York: Vintage Books, 1985. ISBN 0-375-70510-4 Watts, Alan (1958), The Spirit of Zen, New York: Grove Press. Williams, Paul. Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations. ISBN 0-415-02537-0. Zvelebil, Kamil V. (1987), "The Sound of the One Hand", Journal of the American Oriental Society (Journal of the American Oriental Society, Vol. 107, No. 1) 107 (1): 125–126, doi:10.2307/602960. 金实秋. Sino-Japanese-Korean Statue Dictionary of Bodhidharma (中日韩达摩造像图典). 宗教文化出版社, 2007-07. ISBN 7-80123-888-5

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุ..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

บัดนี้การประชุมกันด้วยปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้วสมาคมได้ขาดแล้วข้าพระองค์จั...เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเ­สวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

พุทธวจน ธรรมลาดลุ่ม เรียบง่าย เข้าถึงใจ

สารคดี"เมื่ออาตมาอาพาธ" DPU "อาหารที่เราตักบาตรให้พระ เรื่องใกล้ตัว ที่เราอาจมองข้ามไป"

พุทโธรู้ในกายของเราพุทโธรู้ในใจของเราเราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน

โคตรภูญาณญาณข้ามโคตรพอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคม...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ สัตบุรุษ ฯ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตร พึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดิน ใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอัน บุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ มารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตร คนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้ สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นใน ปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ [๒๗๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม มีวาทะว่าอย่างไร กล่าวว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำ ฯ พ. ท่านพระโคดม มีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำอย่างไร ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวว่า ไม่ควรทำอกุศลธรรมอันลามกหลายอย่าง และเรากล่าว ว่า ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวว่า ควรทำกุศลธรรม หลายอย่าง ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่าควรทำและกล่าวว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล ฯ พ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ... ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ [๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่ จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูกร คฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้ ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายก ผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก" ฯ [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น อนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วใน ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความ หน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ คลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ นั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้ เช่นนี้ ฯ ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง พระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำ อาราธนาด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาใน บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มี- *พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระ ผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนาง วิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึง ที่อยู่เถิด ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้ว ในภพนั้นแน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรม แล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็น ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้น แหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไป ในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ [๒๘๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ ครั้งนั้นแล พราหมณ์อารามทัณฑะได้เข้าไปหาท่านพระมหา- *กัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่าน กัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์ กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหากามราคะ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกาม ราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะท่วมทับ แม้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะ กับสมณะวิวาทกัน ฯ มหา. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ ตกอยู่ใน อำนาจทิฐิราคะ กำหนัดยินดีในทิฐิราคะ ถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฐิราคะ ท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็ในโลก ยังจะมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการ เวียนเข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกาม- *ราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้ และก้าวล่วงการ เวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้เสียได้ ฯ มหา. ดูกรพราหมณ์ ในโลก มีท่านที่ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากาม- *ราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกาม- *ราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้เสียได้ และก้าวล่วงความเวียนเข้าไป หาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิ- *ราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ใครในโลกเป็นผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากาม- *ราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ ฯ มหา. ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี ณ พระนครสาวัตถีนั้นทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้นกำลังประทับอยู่ ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงก้าวล่วง การเวียนเข้าไปหากามราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย เมื่อท่านพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะลุกจาก ที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกมณฑลเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนม อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มี- *พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้แล้ว กับทั้งได้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมโดย อเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง ทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่าน กัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ [๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมือง มธุรา ครั้งนั้นแล พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้ ฟังมาดังนี้ว่า ท่านสมณะกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ที่ชรา แก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ ฟังมานั้นจริงแท้ เพราะท่านกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ที่ชรา แก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ การ กระทำเช่นนี้นั้นเป็นการไม่สมควรแท้ ฯ ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก ที่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่กำเนิด ก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกเคี้ยวกินอยู่ ยังเป็นผู้ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับ ว่าเป็นพาล ไม่ใช่เถระโดยแท้ ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่ บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ไม่ถูก กามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียวแล ทราบว่า เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะ ได้ลุกจากที่นั่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าของภิกษุที่หนุ่มด้วยเศียรเกล้า กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าแก่ ตั้งอยู่แล้วในภูมิคนแก่ เรายังเด็ก ตั้งอยู่ในภูมิเด็ก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านพระกัจจานะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่อง ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านพระกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระเจ้า- *แผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อม ไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อ มิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจรย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้ พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อมสะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก มีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือออกไป ทางใดทางหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความ สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จก็ได้ เพราะการปฏิบัติผิด เป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ ฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ จบสมจิตตวรรคที่ ๔

อริยสัจสี่ของคนธรรมดาสามัญ

เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้ สันโดษ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มงคลสูตร ภาษาอินเดียเอวัมเม สุตัง อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน, เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม, อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี, อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา, ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง, อะภิกกันตายะ รัตติยา, ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว, อะภิกกันตะวัณณา, มีรัศมีอันงามยิ่งนัก, เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง, ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง, โอภาเสตะวา, เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ, พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น, อุปสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว, เอกะมันตัง อัฏฐาสิ, ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง, เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา, ครั้นเทพยดานั้น ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล, ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ, ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า, พะหู เทวา มะนุสสา จะ, หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก, มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง, ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย, พรูหิ มังคะละมุตตะมัง. ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด. (ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) อะเสวะนา จะ พาลานัง, การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑. ปิณฑิตานัญจะ เสวะนา, การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑, ปูชา จะ ปูชะนียานัง, การบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด , ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ, การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑. ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา, การเป็นผู้มีบุญ อันทำแล้วในกาลก่อน ๑, อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ, การตั้งตนไว้ชอบ ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด , พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ, การได้ฟังมาแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑, วินะโย ตะ สุสิกขิโต, วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑, สุภาสิตา จะ ยา วาจา, วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, มาตาปิตุอุปัฏฐานัง, การบำรุงมารดาและบิดา ๑, ปุตตะทารัสสะ สังคะโห, การสงเคราห์ลูกและเมีย ๑, อะนากุลา จะ กัมมันตา, การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑, เอตัมมังตะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ, การให้ ๑ การประพฤติธรรม ๑, ญาตะกานัญจะ สังคะโห, การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑, อะนะวัชชานะ กัมมานิ, กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑. เอตัมมังตะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, อาระตี วีระตี ปาปา, การงดเว้นจากบาป ๑, มัชชะปานา จะ สัญญะโม, การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ๑. อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ, ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑. เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, คาระโว จุ นิวาโต จะ, การเคารพ ๑ การไม่จองหอง ๑, สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา, ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ การเป็นผู้รู้ อุปการะ อันท่านทำแล้วแก่ตน ๑, กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง, การฟังธรรมโดยกาล ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, ขันตี จะ โสวะจัสสะตา, ความอดทน ๑ การเป็นผู้ว่าง่าย ๑, สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง, การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑, กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา, การเจรจาธรรมโดยกาล ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, ตะโป จะ พรัหมะ จะริยัญจะ, ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑, อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง, การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑, นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ, การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง, จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย ยัสสะ นะ กัมปะติ, ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว, อะโสกัง วิระชัง เขมัง, ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, เอตาทิสานิ กัตวานะ, เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว, สัพพัตถะ มะปะราชิตา, เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง, สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ, ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง, ตันเตสัง มังคะละมุตตะมัง, ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทพยดา และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ภาวะที่สิ้นสุดการเกิดสังสารวัฎมีที่สิ้นสุดพุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่ากับปาก สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช­่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) หมวดหมู่ การศึกษ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับกลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้นเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอ­กเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองนอกจากนี้แล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดใดเลยกลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้นเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอ­กเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป

แล้วแต่มันจะสอนแล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายเราจะเป็นบ้ากลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้นเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอ­กเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป

การดับทุกสิ้นตัณหาไม่เหลือเชื้อกลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้นเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอ­กเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป

เอานั่นมาแก้เอานี่มาแก้ไม่ได้ความจิตยังส่งออกนอกอยู่กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ภาวะที่สิ้นสุดการเกิดสังสารวัฎมีที่สิ้นสุดธรรมสนทนาของหลวงปู่ดูลย์ (ท่านมีอายุได้ ๙๐ ปี และได้เข้าพักที่ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรฯ) ถาม : พุทโธ เป็นอย่างไร หลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย ถาม : การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ ถาม : เห็นจิตครั้งเดียวนี้ ใช้ได้ไหมครับ หลวงปู่ : เห็นครั้งเดียวถ้าชัดเจนแล้วไม่ลืม ทำให้ชำนาญ เมื่อเกิดความสงบแล้วก็พิจารณาความสงบ หัดเข้าหัดออกให้ชำนาญ เมื่อเวลาภาวนา จิตสงบแล้ว พิจารณา รู้ว่าเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อถึงเวลาคับขัน สิ่งที่พร้อมอยู่แล้วมันก็ย่อมเป็นไปเอง ก็มีเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย ถาม : ในเวลาคับขันเกิดจะตายขึ้นมากะทันหัน และเราเข้าสมาธิไม่ทัน จะทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : นั่นแหละ ต้องหัดเข้าให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วอะไรมาปิดบังไม่ได้หรอก ถาม : หลวงปู่ครับ ความสงบนั้นเราจะทำอย่างไรให้มีตลอดไป หลวงปู่ : ความสงบ รึ ภาวนานั่นเอง ภาวนาให้จิตเกิด ถาม : การงดเว้นจากการทำภาวนา จิตเราจะเสื่อมไหมครับ หลวงปู่ : ถ้าหากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ไม่เสื่อม ถ้ารู้ไม่ถึงความเป็นจริงมักจะเสื่อม ถาม : คิดๆ ไป ทั้งที่คิดไปเห็นแต่กลับไม่เห็นอีก หลวงปู่ : มันจะเห็นมาจากไหน ไปหาให้มันเห็น มันไม่เคยให้ใครเห็นหรอก เลิกหา เลิกคิดของเก่าที่เคยเห็น ทำเอาใหม่ ให้เลิกอยากรู้อยากเห็นของเก่า ทำใหม่อีกมันก็เกิดใหม่อีก อย่าไปยึดสิ่งที่เคยเป็นแล้วเกิดใหม่อีก ทำใหม่อีก ดูแต่จิตอย่างเดียว อะไรๆ ออกจากจิตอย่างเดียวเท่านั้น ถาม : ดูจิตแล้วเห็นปรุงแต่งเรื่องราวมากมาย ไม่ชนะ จะตามดับ หลวงปู่ : ต้องลำบากไปตามดับมันทำไม ดูแต่จิตอย่างเดียวมันก็ดับไปเอง มันออกไปปรุงแต่งข้างนอก มันเกิดจากต้นตอที่จิตทั้งนั้นหาแต่ต้นตอให้พบ ก็จะรู้แจ้งหมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยู่ที่นี้ทั้งหมด (ท่านพูดพลางเอาหัวแม่มือชี้ที่หน้าอก) สิ่งที่ได้รู้ได้เห็น แล้วอยากรู้อยากเห็นอีก นั่นแหละคือตัวกิเลส ถาม : เมื่อถึงโลกุตตระแล้ว มีเมตตา กรุณาอะไรไหมครับ หลวงปู่ : ไม่มีหรอก ความเมตตา กรุณา อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ในโลกทั้งหมด จิตสูงสุดหลุดพ้น อยู่เหนือโลกทั้งหมด ถาม : ไม่มีเมตตาหรือครับ หลวงปู่ : มีก็ไม่ว่า ไม่มีก็ไม่ว่า เลิกพูดเลิกว่า เลิกอะไรๆ ทั้งหมด มันเป็นเพียงคำพูดแท้ๆ ให้ดูจิตอย่างเดียวเท่านั้น ความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงคำพูด สลัดทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นมายาออกเสีย ตัวผู้ที่รู้และเข้าใจอันนี้แหละคือตัว พุทธะ หมดภารกิจ หมดทุกอย่างที่จะทำอะไรต่อไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยู่ที่นี่ จบอยู่ที่นี่ ไม่มียาวต่อไปอีกไม่มีเล็ก...ใหญ่...หญิง...ชาย...อยู่ว่างเปล่า ไม่มีคำพูด เปล่า เปล่า บริสุทธิ์ (เสียงระฆังวัดบวรฯ ทำวัตรเย็นดังขึ้น รับประโยคสุดท้ายของหลวงปู่)

การหาจุดเสียในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

ปรับปรุงวงจร อินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ที่ใช้ IGBT GT15J331 ครับ

สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

รวม เรื่อง การสร้าง เครื่อง อินเวอร์เตอร์ สำหรับใช้ควบคุมควบเร็วมอเตอร์ สามเฟสครับ..และมอเตอร์ แบบแปรงถ่าน AC DC ก็มีครับ รวมทั้งเครื่องเพิ่มแรงดันไฟฟ้า ที่ใช้ TM51 http://www.youtube.com/watch?v=_zt1O0mfmew http://www.youtube.com/watch?v=35AA4IP0_0U http://www.youtube.com/watch?v=DMCSAUKl6Hk http://www.youtube.com/watch?v=wxPVFYizJ0M http://www.youtube.com/watch?v=kMvOS5FTKhE http://www.youtube.com/watch?v=bCfqUWItVm0 http://www.youtube.com/watch?v=VQZMdARwscg http://www.youtube.com/watch?v=abqrLKoLNsc http://www.youtube.com/watch?v=cXU3N1R9jZg http://www.youtube.com/watch?v=pyXrLOJzIOo http://www.youtube.com/watch?v=z_qdTnBuUKY http://www.youtube.com/watch?v=YrSDqbWSArc http://www.youtube.com/watch?v=-6F-Hj92w6A http://www.youtube.com/watch?v=XuThYLw1pIg http://www.youtube.com/watch?v=go3qKeRgMwc http://www.youtube.com/watch?v=IU-2nXZQG3M http://www.youtube.com/watch?v=cNeXJn2GzgE http://www.youtube.com/watch?v=jryLXkvK9nA http://www.youtube.com/watch?v=IuMOeAVq2P8 http://www.youtube.com/watch?v=kElglwzdyW4 http://www.youtube.com/watch?v=Wt9RjhKJNOU http://www.youtube.com/watch?v=2s-tXCj0UPY http://www.youtube.com/watch?v=IuS6KKuh_8w http://www.youtube.com/watch?v=_ZznWVylw5I http://www.youtube.com/watch?v=twkvQQ7c3qc http://www.youtube.com/watch?v=nse37ZeifwY http://www.youtube.com/watch?v=GGZgiUVukd4 http://www.youtube.com/watch?v=YeCJuUyvpAU http://www.youtube.com/watch?v=lsOLNshDQSw http://www.youtube.com/watch?v=TrC1qe5UntU http://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw http://www.youtube.com/watch?v=dfjbGcMJxpU http://www.youtube.com/watch?v=P3WDJJxTb64 http://www.youtube.com/watch?v=L8kTdxN2s4o http://www.youtube.com/watch?v=VKDcA13WWFE http://www.youtube.com/watch?v=fddoE6RFDtc http://www.youtube.com/watch?v=qdsDOm6L7Vs http://www.youtube.com/watch?v=Cb3yJW1M3ro http://www.youtube.com/watch?v=ow8OmeUU0cw http://www.youtube.com/watch?v=jFMX1WeqkAM http://www.youtube.com/watch?v=eX5unrmGnPc http://www.youtube.com/watch?v=iImuzuFDgKU http://www.youtube.com/watch?v=avQRpxDpdos http://www.youtube.com/watch?v=YLtIHEKLyQ8 http://www.youtube.com/watch?v=OHj-ptQ9ZyE http://www.youtube.com/watch?v=f3SOLzOUnvw http://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 http://www.youtube.com/watch?v=v6qpsaL0HhE http://www.youtube.com/watch?v=jbqcYAisSwo http://www.youtube.com/watch?v=n5B0VJYvu9U http://www.youtube.com/watch?v=eEv64R6jDMw http://www.youtube.com/watch?v=00WG-HgrVn0 http://www.youtube.com/watch?v=UxZq52trUGg http://www.youtube.com/watch?v=VhCAhtSUiVg http://www.youtube.com/watch?v=hAvZsskUcLg http://www.youtube.com/watch?v=RUtBhIv_xOg http://www.youtube.com/watch?v=PPU3xr1nDv4 http://www.youtube.com/watch?v=_hgE0RUmwOs http://www.youtube.com/watch?v=ChOUGDG5OU0 http://www.youtube.com/watch?v=9yrM81EELx8เครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสอย่างง่ายใช้กับมอเตอร์หนึ่งแรงม้าได้

ของเล่น wireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน https://www.youtube.com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www.youtube.com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www.youtube.com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www.youtube.com/watch?v=bd97PM3v66A

หม้อแปลงไฟฟ้าความถึ่สูง

ถ้าหยุดการปรุงแต่งจิตไม่ได้สุดท้ายจะเป็นบ้าเอาครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

หมดงานทำแล้วไม่มีงานจะทำแล้ว* ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

การเห็นครั้งสุดท้ายพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปที่พัก กลางวัน. เพื่อนเหล่าอันเตวาสิกในที่นั้นแสดงวัตรหลีกไปแล้ว ท่านจึงกวาดที่ พักกลางวัน ปูแผ่นหนัง ล้างเท้าแล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าผลสมาบัติ. ลำดับนั้น เมื่อท่านออกจากผลสมาบัตินั้น ตามกำหนดแล้ว เกิดความปริวิตกนี้ว่า พระ พุทธเจ้าทั้งหลาย จักปรินิพพานก่อนหรือหนอ หรือว่าพระอัครสาวกปรินิพพาน ก่อน. แต่นั้นรู้แล้วว่า พระอัครสาวกปรินิพพานก่อน แล้วจึงตรวจดูอายุ สังขารของตน รู้แล้วว่า อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ๗ วัน เท่านั้น

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง...เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง...เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานสารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็น ที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้ ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว ปรินิพพานแล้วเถิด. สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่ เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์ เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด. "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้" อุปติสสปริพาชกฟังจบแล้วรู้แจ้งว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว มีอันต้องดับไปเป็นธรรมดา" แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ณ ที่นั้นเอง

การเห็นครั้งสุดท้ายก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสว่า เธอจงปรินิพพาน ก็จะกลายเป็นสรรเสริญความตาย. เมื่อตรัสว่า เธออย่าปรินิพพาน คนผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะยกโทษว่า กล่าวสรรเสริญคุณของวัฏฏะ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำแม้ทั้งสอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เธอจักปรินิพพานที่ไหน สารีบุตร. เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพานในห้องที่ข้าพระองค์เกิดในบ้านนาฬกะ แคว้นมคธนั้น จึงตรัสว่า สารีบุตร เธอจงสำคัญเวลาในบัดนี้ ก็การเห็นภิกษุเช่นเธอ ของภิกษุผู้เป็นทั้งพี่และน้องของเธอจักหาได้ยากในบัดนี้ เธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. พระเถระรู้แล้วว่า พระศาสดาทรงหวังเฉพาะการแสดงธรรมที่ขึ้นต้นด้วยการแสดงฤทธิ์ของเรา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเหาะขึ้นไปประมาณชั่วต้นตาล เหาะลงแล้วถวายบังคมพระบาทพระทศพล และเหาะขึ้นไปประมาณสองชั่วลำตาลอีกลงแล้ว ถวายบังคมพระบาทพระทศพล แล้วเหาะขึ้นไปประมาณเจ็ดชั่วลำตาลโดยทำนองนี้ แสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างแล้วปรารภธรรมกถา. พระเถระกล่าวธรรมกถาด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ไม่ปรากฏบ้าง ด้วยการเบื้องบน เบื้องล่าง หรือครึ่งกาย บางทีก็แสดงเป็นรูปพระจันทร์โดยไม่มีใครเห็น บางครั้งก็เป็นรูปพระอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นรูปภูเขา บางทีก็เป็นรูปทะเล บางทีก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บางทีก็เป็นเวสวัณมหาราช บางทีก็เป็นท้าวสักกมหาราช บางทีก็เป็นท้าวมหาพรหม เมื่อแสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่างอย่างนี้ พระเถระจึงกล่าวธรรมกถา ชาวพระนครทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว พระเถระเหาะลงแล้ว ได้ยืนถวายบังคมพระบาทพระทศพล. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะพระเถระนั้นว่า สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร. ส. ชื่อ สีหนิกีฬิตะ พระเจ้าข้า.

ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอ...

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ตอบปัญหาธรรม ตอน 2

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ตอบปัญหาธรรม ตอน 1

เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” คำแปลภาษาไทย เป็นการแปลเอาความหมายโดยอรรถ แต่ไม่ทิ้งรูปแบบภาษา โดยเทียบภาษาเดิมและบาลี

ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ก็เพี้ยนได้แปลกดีตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ก็เพี้ยนได้แปลกดี เราก็เพี้ยน เหมือนกัน....หุ..หุ..หุ...

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

N87C196MC MC3PHAC แผงวงจรควบคุมมอเตอร์สามเฟสการควบคุมมอเตอร์สามเฟสยุคปัจจุบันครับผม

wireless energy transferการส่งพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าwireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายใช้ความถี่ 470Khz 60 Watts ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 12-48 Volts ส่งพลังงานผ่านวัสดุที่ไม่เป็นโลหะ..ระยะทางในการ รับ ส่ง ขึ้นอยู่กับ ขนาด และเส้น ผ่าศูนย์กลาง ของ ขดลวดทองแดง กำลังงาน หรือ พลังงาน ขึ้นอยู่กับ ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่อง..ครับ..ราคา เครื่องละ 4000 บาทครับ...มีเหลืออยู่ 4 เครื่องครับ...



ของเล่น wireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายwireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายใช้ความถี่ 470Khz 60 Watts ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 12-48 Volts ส่งพลังงานผ่านวัสดุที่ไม่เป็นโลหะ..ระยะทางในการ รับ ส่ง ขึ้นอยู่กับ ขนาด และเส้น ผ่าศูนย์กลาง ของ ขดลวดทองแดง กำลังงาน หรือ พลังงาน ขึ้นอยู่กับ ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่อง..ครับ..ราคา เครื่องละ 4000 บาทครับ...มีเหลืออยู่ 4 เครื่องครับ...



ของเล่น wireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายwireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายใช้ความถี่ 470Khz 60 Watts ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 12-48 Volts ส่งพลังงานผ่านวัสดุที่ไม่เป็นโลหะ..ระยะทางในการ รับ ส่ง ขึ้นอยู่กับ ขนาด และเส้น ผ่าศูนย์กลาง ของ ขดลวดทองแดง กำลังงาน หรือ พลังงาน ขึ้นอยู่กับ ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่อง..



wireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายwireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สาย ใช้ความถี 470 Khz 60 Watts ราคา 4000 บาทครับ ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 48 Voltsครับ.ติดต่อซื้อได้ที่ 02-951-1356 081-803-6553 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com

wireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สายwireless energy transferเครื่องส่งพลังงานไฟฟ้าไร้สาย ใช้ความถี 470 Khz 60 Watts

การควบคุมมอเตอร์3เฟส5แรงม้าด้วยไฟฟ้า220โวลต์ตามบ้านอินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง Iรุ่นนี้ยังมีอยู่ประมาณ 120 แผงครับ เป็น ไอ ซี ของ อินเทล INTEL N87C196MC S87C196MC INDUSTRIAL MOTOR CONTROL MICROCONTROLLER.

วิธีผลิตไฟฟ้า3เฟส จากไฟฟ้า เฟสเดียว เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง Iรุ่นนี้ยังมีอยู่ประมาณ 120 แผงครับ เป็น ไอ ซี ของ อินเทล INTEL N87C196MC S87C196MC INDUSTRIAL MOTOR CONTROL MICROCONTROLLER.

การควบคุมมอเตอร์สามเฟสยุคปัจจุบันครับผมอินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง Iรุ่นนี้ยังมีอยู่ประมาณ 120 แผงครับ เป็น ไอ ซี ของ อินเทล INTEL N87C196MC S87C196MC INDUSTRIAL MOTOR CONTROL MICROCONTROLLER.

อินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงอินเวอร์เตอร์ สำหรับมอเตอร์มาตรฐาน และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง Iรุ่นนี้ยังมีอยู่ประมาณ 120 แผงครับ เป็น ไอ ซี ของ อินเทล INTEL N87C196MC INDUSTRIAL MOTOR CONTROL MICROCONTROLLER.

เรียนตรงๆที่ลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ)

ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช- *ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

พุทธวจน : ลัด-สั้น-ตรง-จริง (สำหรับผู้ผ่านราตรีมานาน)

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

การควบคุมมอเตอร์สามเฟสแบบใหม่

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

All Alone in the Night - Time-lapse footage of the Earth as seen from th...

พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ อินเดีย 2ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ (สังเวชนียสถาน) มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่ กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้ การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรง- แวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้ว ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพัก อยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มี ความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้น อนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด. ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้า ไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติ ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพัก ตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก. แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มี- พระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควร ถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติ

J.Geils Band - One Last Kissสตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้ว จะ..รักษาจิตได้ เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป.. เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องสตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้ว จะ..รักษาจิตได้ เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป.. เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือโอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้ ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็นสุข หมายถึง ความสุขสบายใจ อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่างๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เกิดเป็นวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (หรือตรุณวิปัสสนา เช่น ในช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ในช่วงนี้ก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา วิปัสสนูปกิเลสทั้งสิบนี้ เป็นภาวะที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิด คิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึดเอาคิดว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้นก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป คือพลาดทางวิปัสสนา แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดได้ว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นไม่ใช่ทาง รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป

ทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

Bee Gees - Massachusetts (1997)

คอยข่าวคนรัก

หัตถกรรม มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟเฟสเดียว

หัตถกรรม มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟเฟสเดียวหัตถกรรม มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟเฟสเดียว เครื่องมือ เครื่องใช้ ในงาน หัตถกรรม..น่าจะดี..นะครับ...ถ้า..ปรับ..รอบ..ได้...รับ..ชม..ได้ในคลิป..นี้ครับ...

ผู้สละโลก ปลดแอกภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

พรจากพ่อ พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานีธรรมวิโมกข์ อย่าทะนงตน อย่าทะนงตน คิดว่าเราเป็นคนดี ถ้าคิดว่าดีเป็นผู้วิเศษเมื่อไร เมื่อนั้นแหละกรรมใหญ่ อันตรายใหญ่จะมาถึงท่าน ที่เราเรียกกันว่าความประมาท ขอจงพยายามคุมตนไว้ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ นั่นก็คือทรงอิทธิบาท ๔ ให้ครบถ้วน มีจรณะ ๑๕ ครบถ้วน ผมว่าเท่านี้ก็เหลือกินเหลือใช้ มีบารมี ๑๐ ครบถ้วนเท่านี้ก็เหลือแล้ว ถ้าครบเท่านี้อาการของความโลภไม่มี อาการของความทะเยอทะยานในเรื่องเพศในลักษณะของกามคุณไม่มี อารมณ์ที่จะผังไว้กับความโกรธไม่มี การที่จะยึดถืออะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มี ที่ยังมีอยู่ก็เพราะว่าเพียงแต่รับฟังไว้เฉยๆ ดีไม่ดีก็จำไว้ เอาไว้เป็นเครื่องข่มขู่คนอื่น ทะนงตนอวดว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมด้านปริยัติ ถ้าอารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่าปฏิบัติเหลว ไม่มีอะไร แดนที่จะไปก็คือ อเวจีมหานรก หรือว่า โลกันตนรก ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คาถาของท่านพระสารีปุตตเราไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่ หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก

คาถาของท่านพระสารีปุตตเถระเราไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่ หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก

การเห็นครั้งสุดท้าย “ดูก่อนอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะ คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”.

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกจิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

Lumbini, Birthplace of Lord Buddha - Part 1บทวันทา อุกาสะ วันทามิ ภันเต, เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง, สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา, กายะสา วะจะสา มะนะสา, เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต, สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน, จาปิ สัพพะทา, อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ....(กราบ ๓ ครั้ง)

Lumbini, Birthplace of Lord Buddha - Part 1บทวันทา อุกาสะ วันทามิ ภันเต, เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง, สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา, กายะสา วะจะสา มะนะสา, เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต, สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน, จาปิ สัพพะทา, อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ....(กราบ ๓ ครั้ง)

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้นยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเณ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุฯ ช่างดอกไม้ ย่อมร้อยพวงดอกไม้ จากกองดอกไม้ให้มากได้ฉันใด บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้น

อุปกรณ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คอนโทรล ที่พอจะคุ้นเคยและใช้งานกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ ก็เห็นจะไม่พ้นเอสซีอาร์ (SCR) ไตรแอก (TRIAC) ทรานซิสเตอร์กำลังและมอสเฟต โดยเฉพาะทรานซิสเตอร์และมอสเฟต ที่จะเป็นจุดพัฒนาการของอุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองชนิด ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ทรานซิสเตอร์กำลังขณะอยู่ในสภาวะนำกระแสจะมีอัตราการสูญเสียกำลังงานต่ำ มีอัตราแรงดันและขยายกระแสได้สูง แต่ความเร็วในการสวิตช์ทำงานยังต่ำอยู่ โดยเฉพาะช่วงหยุดนำกระแส จะมีช่วงเวลาที่ยาวกว่า ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติที่ตรงข้ามกับเพาเวอร์มอสเฟต ที่มีความเร็วในการสวิตช์ทำงานนำกระแสและหยุดนำกระแสได้เร็วกว่ามาก แต่ก็มีอัตราการสูญเสียกำลังงานสูงมากเช่นกัน จากเหตุผลที่กล่าวมาของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์และเพาเวอร์มอสเฟตจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ประเภทนี้ จนสามารถได้อุปกรณ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คอนโทรลชนิดใหม่ขึ้นมา โดยคุณสมบัติต่าง ๆ จะรวมเอาข้อได้เปรียบของทรานซิสเตอร์ไบโพลาร์และมอสเฟตเข้ามารวมไว้ในอุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ โดยมีการตั้งชื่อหรือเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า ไอจีบีที (Insulate Gate Bipolar Transistor : IGBT) แสดงน้อยลงMC3PHAC GT15J331 POWER MODULE LOW PRICE 3 PHASE MOTOR CONTROL

ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเองเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอ...

เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรร...เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่ากับปากหลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง

เมื่อปล่อยวางจิต จิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ถึงโคตรภูญาณ แล้วอริยมรรคก็จ...

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองจิตเห็นจิตเป็นมรรค ..ทำญาณให้เห็นจิตเหมือนดั่งตาเห็นรูป... ..เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อตรัสรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพพาน กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ .

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกบุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดั­กไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกบุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดั­กไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ควรป้องกันจิตนี้ เหมือนป้องกันพระนคร แล้วใช้อาวุธ คือ. ปัญญา รบกับมาร และควรรักษาชัยชนะไว้แต่ไม่ควรยินดีในชัยชนะนั้น

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ควรป้องกันจิตนี้ เหมือนป้องกันพระนคร แล้วใช้อาวุธ คือ. ปัญญา รบกับมาร และควรรักษาชัยชนะไว้แต่ไม่ควรยินดีในชัยชนะนั้น

บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.

แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายเราจะเป็นบ้าด้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ)

มหัศจรรย์ฝันรู้ตัว Lucid Dreamingศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

มหัศจรรย์ฝันรู้ตัว Lucid Dreamingศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

มหัศจรรย์ฝันรู้ตัว Lucid Dreamingศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

สามเณรไทยในพม่า

วัดไทยพุทธยา wat thaibuddhagayaสังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

หลวงพ่อดำนาลันทาสังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

หลวงพ่อดำ กลางทุ่ง นาลันทา อินเดียสังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ต้องสู้ เจินเจิน บุญสูงเนิน30 ลิขิตฟ้า 70ต้องฝ่าฝัน ต้องสู้..ต้องสู้ถึงจะชนะ

ต้องสู้ เจินเจิน บุญสูงเนิน

ทำตามป๊า | ท่ากดจุด ลดความดัน

หลงทางแล้วผิดทางแล้วโอภาสแสงสว่างภายนอกใช้ไม่ได้มันเป็นนิมิต* ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ทางรอดทางเดียวของเราคืออย่างนี้ครับเทคนิคที่ทำให้เกิด 'ความฝันรู้ตัว' (Lucid Dreaming) มีการพัฒนาเทคนิคเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความฝันรู้ตัวขึ้นมาหลายวิธี บันทึกนี้เป็นส่วนที่ขยายความของบันทึก มหัศจรรย์ฝันรู้ตัว (Lucid Dreaming) โปรดอ่านบทความดังกล่าวนี้ก่อน เทคนิคในการทำให้เกิดความฝันรู้ตัว แม้ว่าความฝันรู้ตัวจะเกิดขึ้นได้เองเป็นบางครั้ง แต่หากต้องการจะฝันรู้ตัวโดยตั้งใจแล้วละก็ คุณจะต้องมุ่งมั่น โดยมีแรงบันดาลใจหนุนหลัง อีกทั้งยังต้องใช้ความพยายามพอสมควรทีเดียว หากไม่นับเทคนิคที่เป็นภูมิปัญญาโบราณแล้ว ตัวอย่างเทคนิคสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การหวนระลึกถึงความฝัน (Dream Recall) : ผู้เชี่ยวชาญด้านความฝันรู้ตัวบอกว่า เงื่อนไขสำคัญอย่างแรกสุดที่คุณจะต้องทำให้ได้ก็คือ สามารถจดจำความฝันที่เพิ่งผ่านพ้นไปได้เป็นอย่างดี คุณอาจสงสัยทำไมต้องจำความฝันได้ด้วย? คำตอบก็คือ หากคุณจำความฝันได้อย่างแม่นยำ คุณก็จะคุ้นเคยกับความฝันของคุณเองจนสามารถจดจำรูปแบบและลักษณะเด่นๆ ได้ รูปแบบและลักษณะเด่นๆ ที่ว่านี้แหละที่จะช่วยให้คุณรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ในการฝันครั้งต่อๆ ไป ในทางกลับกัน หากคุณเป็นคนที่จำความฝันไม่แม่น ก็เป็นไปได้ว่า แม้คุณจะฝันรู้ตัว (ตอนกำลังนอน) แต่พอตื่นขึ้นมาก็ลืมหมด อย่างนี้ก็เท่ากับเสียของนั่นเอง เรื่องการฝึกจำความฝันนี้ อาจใช้การจดบันทึกลงใน สมุดบันทึกฝัน (ฝรั่งเรียกว่า dream journal) ซึ่งจะช่วยให้คุณจำได้แม่นยำขึ้นเรื่อยๆ การทดสอบว่าสภาวะที่เป็นอยู่นั้นว่าจริงหรือเปล่า (Reality Testing) : เทคนิคนี้คล้ายๆ กับที่สอนกันว่า ถ้าไปเจออะไรที่แปลกๆ หรือไม่ชอบมาพากล แล้วให้ลองหยิกตัวเองดูสักที ถ้าเจ็บก็จะได้รู้ว่าจริงนะ ไม่ได้ฝัน แต่นักวิจัยบอกว่า เทคนิคนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักฝันมือใหม่ โดยคุณจะต้องปฏิบัติหลายๆ ครั้งในวันๆ หนึ่ง วิธีการง่ายๆ เช่น ลองอ่านหนังสือสักข้อความหนึ่ง จากนั้นให้หันไปมองที่อื่น แล้วกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งว่าข้อความในหนังสือยังเหมือนเดิมไหม หรือ ลองเพ่งจิตให้ข้อความในหนังสือเปลี่ยนแปลงไป ฟังดูแปลกๆ พิลึก แต่เชื่อไหมว่า จากการวิจัยพบว่า หากคุณกำลังฝันรู้ตัวอยู่ ข้อความบนหน้าหนังสือนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปได้ถึง 75% ในการอ่านซ้ำครั้งแรก และอาจถึง 95% ในการอ่านซ้ำครั้งที่สอง สัญลักษณ์ที่บ่งว่ากำลังฝัน (Dreamsigns) : สิ่งที่ปรากฏในความฝันที่ทำให้ผู้ฝันรู้ตัวว่าตัวเองกำลังฝันอยู่แน่ๆ เช่น รู้สึกว่าตัวเองกำลังเหาะเหินเดินอากาศอยู่อย่างเพลิดเพลิน เห็นสัตว์ที่มีรูปร่างหรือสีสันแปลกๆ พบเจอกับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือ รัฐบาลประกาศว่า หวยใต้ดินได้หมดไปจากเมืองไทยแล้ว อะไรทำนองนี้ คุณต้องศึกษาความฝันของตัวเองจนกระทั่งคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ที่บ่งว่าคุณกำลังฝัน สัญลักษณ์นี้แตกต่างกันไป ของใครของมัน โดยหากเจ้าสัญลักษณ์นี้โผล่ขึ้นมาอีกเมื่อไร คุณก็จะมั่นใจว่ากำลังฝันอยู่แน่ๆ การเหนี่ยวนำความฝันรู้ตัวโดยใช้เครื่องมือช่วยจำ (Mnemonic Induction of Lucid Dreams - MILD) :เทคนิคนี้เรียกย่อๆ ว่า ไมลด์ (MILD) และมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ดังนี้ ตั้งใจว่าเดี๋ยวจะตื่นขึ้นในระหว่างที่กำลังนอนอยู่ และหากกำลังฝัน ก็จะจดจำความฝันนั้นไว้ ก่อนล้มตัวลงนอนใหม่ ให้ตั้งใจว่าจะต้องรู้ตัวให้ได้ว่ากำลังฝันในระหว่างหลับครั้งต่อไป โดยอาจบอกตัวเองว่า “คราวหน้าหากฝัน ฉันจะรู้ตัวว่ากำลังฝัน” ดร. ลาเบิร์จบอกว่าให้ท่องประโยคนี้ซ้ำๆ เหมือนท่องบ่นมนตรา โดยมีสมาธิแน่วแน่ ขณะที่กำลังท่องมนตร์อยู่นั้น ก็ให้จินตนาการพร้อมๆ กันไปด้วยว่า ได้กลับเข้าไปในฝันที่เพิ่งฝันก่อนตื่นขึ้นมา (หรืออาจจะเป็นฝันอื่นที่จดจำได้) และแสร้งทำเป็นรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ โดยมองหาสัญลักษณ์ที่บ่งว่าคุณกำลังฝันไปด้วยพร้อมๆ กัน ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำจนคุณผล็อยหลับไป หรือจนกระทั่งความตั้งใจแน่วแน่เข้าที่ คือคิดแต่ว่าจะต้องรู้ตัวขณะกำลังฝันให้จงได้ เทคนิค MILD นี้คิดค้นโดยตัว สตีเฟน ลาเบิร์จ เอง และเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขา

ถ้าหยุดการปรุงแต่งจิตไม่ได้สุดท้ายจะเป็นบ้าเอาศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

พุทธทาส ภิกขุ A_01 วิถีแห่งพระธรรมทูต

เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงสู้ภัยเศรษฐกิจภัยภิบัติภัยธรรมชาติ

แก้ภัยแล้ง2558

เรียนธรรมคู่เพื่อให้รู้ธรรมหนึ่งศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลวงปู่ฝากไว้ศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : ปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเริ่มเท่าไหร่ ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

ศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : ปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเริ่มเท่าไหร่ ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

ศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : ปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเริ่มเท่าไหร่ ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

ศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : ปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเริ่มเท่าไหร่ ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ไม่เพ่งไม่เผลอไม่เพียรไม่พัก* ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเรา...* ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก ต่อมาเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาขอให้หลวงปู่กลับ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ได้อุทิศชีวิต เพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่าเป็นอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง

ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเอง เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

Boney M - One Way Ticketสตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้วจะ..รักษาจิตได้ เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป..เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัจฉิมอรหันต์สาวก

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) * คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป เราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้นเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน * นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นก็เสียเวลาเปล่า วิธีละได้ง่ายก็คือ อย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเอง * ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

เรปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด เข้าไปซ่องเสพหญิงเหล่า นั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อ ภพใหม่ขึ้นอีก ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้น เหมือนบุคคล สลัดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ระงับตัณหาอันซ่านไปใน โลกเสียได้ เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชา โดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความ สิ้นอาสวะแล้ว. จาก สัพพกามเถรคาถาาเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ ). ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้อริยสัจธรรมได้ถูกต้องด้วยพระองค์เ­อง แม้ปรินิพพานนานแล้ว ยังปรากฎอยู่ โดยพระบริสุทธิคุณ เป็นต้น ดังนี้(กราบ).เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

-- บทสวดแผ่เมตตา โดยไม่มีประมาณ --

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาและทุกข์ทั้งปวงถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

อุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ electronics power converter

อุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ electronics power converter

หมดงานทำแล้วไม่มีงานจะทำแล้วธรรมสนทนาของหลวงปู่ดูลย์ (ท่านมีอายุได้ ๙๐ ปี และได้เข้าพักที่ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรฯ) ถาม : พุทโธ เป็นอย่างไร หลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย ถาม : การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ ถาม : เห็นจิตครั้งเดียวนี้ ใช้ได้ไหมครับ หลวงปู่ : เห็นครั้งเดียวถ้าชัดเจนแล้วไม่ลืม ทำให้ชำนาญ เมื่อเกิดความสงบแล้วก็พิจารณาความสงบ หัดเข้าหัดออกให้ชำนาญ เมื่อเวลาภาวนา จิตสงบแล้ว พิจารณา รู้ว่าเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อถึงเวลาคับขัน สิ่งที่พร้อมอยู่แล้วมันก็ย่อมเป็นไปเอง ก็มีเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย ถาม : ในเวลาคับขันเกิดจะตายขึ้นมากะทันหัน และเราเข้าสมาธิไม่ทัน จะทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : นั่นแหละ ต้องหัดเข้าให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วอะไรมาปิดบังไม่ได้หรอก ถาม : หลวงปู่ครับ ความสงบนั้นเราจะทำอย่างไรให้มีตลอดไป หลวงปู่ : ความสงบ รึ ภาวนานั่นเอง ภาวนาให้จิตเกิด ถาม : การงดเว้นจากการทำภาวนา จิตเราจะเสื่อมไหมครับ หลวงปู่ : ถ้าหากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ไม่เสื่อม ถ้ารู้ไม่ถึงความเป็นจริงมักจะเสื่อม ถาม : คิดๆ ไป ทั้งที่คิดไปเห็นแต่กลับไม่เห็นอีก หลวงปู่ : มันจะเห็นมาจากไหน ไปหาให้มันเห็น มันไม่เคยให้ใครเห็นหรอก เลิกหา เลิกคิดของเก่าที่เคยเห็น ทำเอาใหม่ ให้เลิกอยากรู้อยากเห็นของเก่า ทำใหม่อีกมันก็เกิดใหม่อีก อย่าไปยึดสิ่งที่เคยเป็นแล้วเกิดใหม่อีก ทำใหม่อีก ดูแต่จิตอย่างเดียว อะไรๆ ออกจากจิตอย่างเดียวเท่านั้น ถาม : ดูจิตแล้วเห็นปรุงแต่งเรื่องราวมากมาย ไม่ชนะ จะตามดับ หลวงปู่ : ต้องลำบากไปตามดับมันทำไม ดูแต่จิตอย่างเดียวมันก็ดับไปเอง มันออกไปปรุงแต่งข้างนอก มันเกิดจากต้นตอที่จิตทั้งนั้นหาแต่ต้นตอให้พบ ก็จะรู้แจ้งหมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยู่ที่นี้ทั้งหมด (ท่านพูดพลางเอาหัวแม่มือชี้ที่หน้าอก) สิ่งที่ได้รู้ได้เห็น แล้วอยากรู้อยากเห็นอีก นั่นแหละคือตัวกิเลส ถาม : เมื่อถึงโลกุตตระแล้ว มีเมตตา กรุณาอะไรไหมครับ หลวงปู่ : ไม่มีหรอก ความเมตตา กรุณา อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ในโลกทั้งหมด จิตสูงสุดหลุดพ้น อยู่เหนือโลกทั้งหมด ถาม : ไม่มีเมตตาหรือครับ หลวงปู่ : มีก็ไม่ว่า ไม่มีก็ไม่ว่า เลิกพูดเลิกว่า เลิกอะไรๆ ทั้งหมด มันเป็นเพียงคำพูดแท้ๆ ให้ดูจิตอย่างเดียวเท่านั้น ความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงคำพูด สลัดทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นมายาออกเสีย ตัวผู้ที่รู้และเข้าใจอันนี้แหละคือตัว พุทธะ หมดภารกิจ หมดทุกอย่างที่จะทำอะไรต่อไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยู่ที่นี่ จบอยู่ที่นี่ ไม่มียาวต่อไปอีกไม่มีเล็ก...ใหญ่...หญิง...ชาย...อยู่ว่างเปล่า ไม่มีคำพูด เปล่า เปล่า บริสุทธิ์ (เสียงระฆังวัดบวรฯ ทำวัตรเย็นดังขึ้น รับประโยคสุดท้ายของหลวงปู่)

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลหลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลหลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีการเข้าถึงพระสมถะ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้จิตได้รับการอบรม จิตได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละราคะ ... หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น ดับสนิท .

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเข้าณานธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไปเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเราถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไปเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเราถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

รีบรู้สึกตัวไว้อย่ารีบละวางให้จิตเค้าวางเองธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไปเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเราถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

การอ่านสภาวะทางจิตใจของตัวเราเองเส้นทางนี้สั้นนิดเดียว เพราะว่าพระพุทธเจ้าเคยบอกท่านพ­ระอนุรุทธะว่า ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า ถ้าทำมาหลายปีแล้วเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานเหมือนเดิม วันนี้สงบพรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน วันนี้ดีพรุ่งนี้ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้ ไม่ถูกแน่ๆ ทำไปได้เดือน 3 เดือน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน อย่างนี้ต้องเห็นผล ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่รู้ส­ึกได้

เส้นทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

การฟังการรู้การเห็นที่เป็นสาระธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน

รักษาศีลให้ดีคือมีสติรักษาจิต เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖

วิธีออกจากสังสารวัฎวิธีทำลายกิเลสอวิชชาทำลายตัณหาอุปาทานถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเราหลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

กครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรม เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี โดยประการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ธรรมที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่าง หม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ฯ พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละ พวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้ มีความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใด จักเป็นผู้ ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ ฯารเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม

การละความยินดีในภพทั้งสามครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรม เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี โดยประการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ธรรมที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่าง หม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ฯ พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละ พวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้ มีความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใด จักเป็นผู้ ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ ฯ

ความรู้เบื้องต้นเรื่องเครื่องจักรกลไฟฟ้าในโลกยุคที่ 4ประหยัดพลังงาน ปลอดสารพิษ ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้น้ำมัน

เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงกำลังจะหมดโลกประหยัดพลังงาน ปลอดสารพิษ ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้น้ำมัน

เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงประหยัดพลังงาน ปลอดสารพิษ ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้น้ำมัน

ประหยัดพลังงาน ปลอดสารพิษ ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้น้ำมัน

ปลอดสารพิษ ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้น้ำมัน

ตัวแท้ของจิต อันแรกเริ่ม เดิมความ ตามจิตแท้ จิตนั้นแล เป็นพุทธะ สุขหนักหนา จิตจุติ แต่หนใด ไร้ที่มา จิตนั้นหนา นานนม ตรมฤดี ทุกคราจิต พิสมัย ใคร่กำหนัด ดำเนินพัฒน์ ปัจจัตตัง ตามวิถี อวิชา พามืดบอด อนันตี ทุกชีวี จิตมืดมน นนทกาล อวิชา พาใจ ให้ยืดสุข แต่ลืม ทุกข์คู่ กันไป ในแก่นสาร มิอาจแยก จากกันไกล แต่ช้านาน สุขทุกข์พาน พบเจอ เป็นเกลอกัน ทั้งอินทร์ พรหม ยมยักต์ รวมสัตว์โลก เต็มหมื่นโลกธาตุไซร้ ให้โศกสันต์ หลงกันอยู่ในวัตถะ สงสารกัน ทั่วทุกชั้น ยังเวียนสุข ทุกข์กันไป ยังมิอาจ จะตัดภพ และตัดชาติ กิเลสขาด จากดวงจิต สิ้นสงสัย ยัง รับ รู้ จด จำ อุปทานไป สร้างชาติ ภพ ประสบใหม่ ใคร่ยินดี ต้องเร่งศิล สมาธิ และปัญญา ภาวนา ตามหลัก อริยสัจสี่ เจริญธรรม ลงสู่จิต ทั้งอินทรีย์ สิ้นกันที กับกองไฟ ไหม้หัวมา อันว่าธรรมนั้นว่ายาก ก็ยากได้ จะว่าง่าย แสนง่าย ไม่หนักหนา แต่ตัวเรา เขาสัตว์ ยังคณา ว่าเป็นเรา เขา ข้า ชั่งน่ากลัว ยังคงติด ยึดบ่วงกรรม ดำกิเลส ทุกประเทศ เพศ ภพ ประสบทั่ว โอกาสดี มีชัย จงเตรียมตัว พบผู้สอน ให้ละชั่ว พึงกราบกราน อันว่ามีด เหล็กหนา พาเห็นแน่ แต่เบื้องแท้ ที่มา น่าสงสาร ต้องทนร้อน ทนทุบ อยู่ช้านาน ทั้งไฟผลาญ หินฝน จนได้คม จะหลุดได้ พ้นได้ ต้องสลัด ต้องพานพลัด พลาดอยาก มากขื่นขม ต้องทิ้งละ โกรธ โลภ และหลง ตรม อีกทั้งปลง ในวัฎฏะ ไตรลักษณ์กัน จะได้มา ซื่งหลุด พ้นกิเลส มิเหลือเศษ เหลือหลง ให้โศกสันต์ ใช้ปัญญา พิจารณา ให้เร็วพลัน ชีวานั้น ใช่ยืด และยืนนาน กิเลสดุจ ไปกราน ผลาญศรีษะ เมื่อไหลหละ จะดับไป ในสังขาร ดับวันนี้ วันไหน อย่าช้านาน พอถึงกาล เวลาหมด ชดใช้กรรม ทางสายกลาง ทางเดียวไหน ให้รู้แน่ ธรรมแท้แท้ แน่นหนัก ละโศกสันต์ คือธรรมที่ ชี้ทาง สว่างพลัน มิเกิดกัน อีกอยู่ ทุกผู้ตน จงเบื่อหน่าย คลายเมา ในกิเลส ปฏิเสธ ยึดติด มีสิทธิ์ขน ว่าตัวกู ของกู เป็นของตน เวลาป่น เป็นธุรี ขี้เถ้าใคร ไม่ขนแบก แอกหนัก สรรพสิ่ง ให้ประวิง หวาดหวั่น พลันสั่นไหว ขนาดตัว ของตัวเอง ยังบรรลัย เกิด แก่... ตาย แปรไป ตามเวลา แม้แต่ธรรม ความรู้ ก็อยากแบก ให้ละแยก นิวรไป อย่าถือสา ประตูโลก พระนิพพาน สราญตา ยังเล็กกว่า ผ่าเกสา ถึงสามที อันบึงเล็ก บึงใหญ่ ต่างสันฐาน ลึกประมาณ โคลนตม สมวิถี มีแต่สิ่ง ปฏิกูล ถมทวี ในน้ำมี ทั้งเพทภัย ให้พบพา เปรียบดั่ง โลกธาตุใหญ่ ใส่กิเลส มีสาเหตุ ให้ดึงฉุด ทรุดหนักหนา ฝังบัวน้อย เหง้าลึก สุดคณา กว่าจะเกิด ผุดขึ้นมา แต่ช้านาน อันผลบ่วง ห่วงกรรม ชักนำจิต ตนมีสิทธิ ที่จะทำ นำสังขาร ให้ดอกลึก ดอกตื้น หรือพ้นพาน จากหมู่มาร ที่พานพบ ประสบกัน กว่าจะได้เป็น บัวเหล่า เถาที่หนึ่ง ต้องผ่านซึ่ง ทุกข์ทน ปนทั้งนั้น สะสมบุญ บารมีกัน แต่นานวัน ตัวเรานั้น ถือโชคดี ที่เกิดมา ได้พานพบ พุทธศาสตร์ สรนะแท้ น้อยกว่าแค่ หนึ่งหัวเต่า ในไพรศา พระสมุทร ผุดพลัน โผล่ขึ้นมา ได้พบพา ลอดห่วงพลุ๊ด เข้าพอดี เมื่อเป็นบัว ได้ผุดพ้น พบพุทธศาสตร์ อภิวาท วันทา เหนือเศียรศรี ปวารณา ไตรสรณะ ขณะมี ประพฤติดี ตามกฏ รสพระธรรม

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพาน อันแรกเริ่ม เดิมความ ตามจิตแท้ จิตนั้นแล เป็นพุทธะ สุขหนักหนา จิตจุติ แต่หนใด ไร้ที่มา จิตนั้นหนา นานนม ตรมฤดี ทุกคราจิต พิสมัย ใคร่กำหนัด ดำเนินพัฒน์ ปัจจัตตัง ตามวิถี อวิชา พามืดบอด อนันตี ทุกชีวี จิตมืดมน นนทกาล อวิชา พาใจ ให้ยืดสุข แต่ลืม ทุกข์คู่ กันไป ในแก่นสาร มิอาจแยก จากกันไกล แต่ช้านาน สุขทุกข์พาน พบเจอ เป็นเกลอกัน ทั้งอินทร์ พรหม ยมยักต์ รวมสัตว์โลก เต็มหมื่นโลกธาตุไซร้ ให้โศกสันต์ หลงกันอยู่ในวัตถะ สงสารกัน ทั่วทุกชั้น ยังเวียนสุข ทุกข์กันไป ยังมิอาจ จะตัดภพ และตัดชาติ กิเลสขาด จากดวงจิต สิ้นสงสัย ยัง รับ รู้ จด จำ อุปทานไป สร้างชาติ ภพ ประสบใหม่ ใคร่ยินดี ต้องเร่งศิล สมาธิ และปัญญา ภาวนา ตามหลัก อริยสัจสี่ เจริญธรรม ลงสู่จิต ทั้งอินทรีย์ สิ้นกันที กับกองไฟ ไหม้หัวมา อันว่าธรรมนั้นว่ายาก ก็ยากได้ จะว่าง่าย แสนง่าย ไม่หนักหนา แต่ตัวเรา เขาสัตว์ ยังคณา ว่าเป็นเรา เขา ข้า ชั่งน่ากลัว ยังคงติด ยึดบ่วงกรรม ดำกิเลส ทุกประเทศ เพศ ภพ ประสบทั่ว โอกาสดี มีชัย จงเตรียมตัว พบผู้สอน ให้ละชั่ว พึงกราบกราน อันว่ามีด เหล็กหนา พาเห็นแน่ แต่เบื้องแท้ ที่มา น่าสงสาร ต้องทนร้อน ทนทุบ อยู่ช้านาน ทั้งไฟผลาญ หินฝน จนได้คม จะหลุดได้ พ้นได้ ต้องสลัด ต้องพานพลัด พลาดอยาก มากขื่นขม ต้องทิ้งละ โกรธ โลภ และหลง ตรม อีกทั้งปลง ในวัฎฏะ ไตรลักษณ์กัน จะได้มา ซื่งหลุด พ้นกิเลส มิเหลือเศษ เหลือหลง ให้โศกสันต์ ใช้ปัญญา พิจารณา ให้เร็วพลัน ชีวานั้น ใช่ยืด และยืนนาน กิเลสดุจ ไปกราน ผลาญศรีษะ เมื่อไหลหละ จะดับไป ในสังขาร ดับวันนี้ วันไหน อย่าช้านาน พอถึงกาล เวลาหมด ชดใช้กรรม ทางสายกลาง ทางเดียวไหน ให้รู้แน่ ธรรมแท้แท้ แน่นหนัก ละโศกสันต์ คือธรรมที่ ชี้ทาง สว่างพลัน มิเกิดกัน อีกอยู่ ทุกผู้ตน จงเบื่อหน่าย คลายเมา ในกิเลส ปฏิเสธ ยึดติด มีสิทธิ์ขน ว่าตัวกู ของกู เป็นของตน เวลาป่น เป็นธุรี ขี้เถ้าใคร ไม่ขนแบก แอกหนัก สรรพสิ่ง ให้ประวิง หวาดหวั่น พลันสั่นไหว ขนาดตัว ของตัวเอง ยังบรรลัย เกิด แก่... ตาย แปรไป ตามเวลา แม้แต่ธรรม ความรู้ ก็อยากแบก ให้ละแยก นิวรไป อย่าถือสา ประตูโลก พระนิพพาน สราญตา ยังเล็กกว่า ผ่าเกสา ถึงสามที อันบึงเล็ก บึงใหญ่ ต่างสันฐาน ลึกประมาณ โคลนตม สมวิถี มีแต่สิ่ง ปฏิกูล ถมทวี ในน้ำมี ทั้งเพทภัย ให้พบพา เปรียบดั่ง โลกธาตุใหญ่ ใส่กิเลส มีสาเหตุ ให้ดึงฉุด ทรุดหนักหนา ฝังบัวน้อย เหง้าลึก สุดคณา กว่าจะเกิด ผุดขึ้นมา แต่ช้านาน อันผลบ่วง ห่วงกรรม ชักนำจิต ตนมีสิทธิ ที่จะทำ นำสังขาร ให้ดอกลึก ดอกตื้น หรือพ้นพาน จากหมู่มาร ที่พานพบ ประสบกัน กว่าจะได้เป็น บัวเหล่า เถาที่หนึ่ง ต้องผ่านซึ่ง ทุกข์ทน ปนทั้งนั้น สะสมบุญ บารมีกัน แต่นานวัน ตัวเรานั้น ถือโชคดี ที่เกิดมา ได้พานพบ พุทธศาสตร์ สรนะแท้ น้อยกว่าแค่ หนึ่งหัวเต่า ในไพรศา พระสมุทร ผุดพลัน โผล่ขึ้นมา ได้พบพา ลอดห่วงพลุ๊ด เข้าพอดี เมื่อเป็นบัว ได้ผุดพ้น พบพุทธศาสตร์ อภิวาท วันทา เหนือเศียรศรี ปวารณา ไตรสรณะ ขณะมี ประพฤติดี ตามกฏ รสพระธรรม

อันแรกเริ่ม เดิมความ ตามจิตแท้ จิตนั้นแล เป็นพุทธะ สุขหนักหนา จิตจุติ แต.. อันแรกเริ่ม เดิมความ ตามจิตแท้ จิตนั้นแล เป็นพุทธะ สุขหนักหนา จิตจุติ แต่หนใด ไร้ที่มา จิตนั้นหนา นานนม ตรมฤดี ทุกคราจิต พิสมัย ใคร่กำหนัด ดำเนินพัฒน์ ปัจจัตตัง ตามวิถี อวิชา พามืดบอด อนันตี ทุกชีวี จิตมืดมน นนทกาล อวิชา พาใจ ให้ยืดสุข แต่ลืม ทุกข์คู่ กันไป ในแก่นสาร มิอาจแยก จากกันไกล แต่ช้านาน สุขทุกข์พาน พบเจอ เป็นเกลอกัน ทั้งอินทร์ พรหม ยมยักต์ รวมสัตว์โลก เต็มหมื่นโลกธาตุไซร้ ให้โศกสันต์ หลงกันอยู่ในวัตถะ สงสารกัน ทั่วทุกชั้น ยังเวียนสุข ทุกข์กันไป ยังมิอาจ จะตัดภพ และตัดชาติ กิเลสขาด จากดวงจิต สิ้นสงสัย ยัง รับ รู้ จด จำ อุปทานไป สร้างชาติ ภพ ประสบใหม่ ใคร่ยินดี ต้องเร่งศิล สมาธิ และปัญญา ภาวนา ตามหลัก อริยสัจสี่ เจริญธรรม ลงสู่จิต ทั้งอินทรีย์ สิ้นกันที กับกองไฟ ไหม้หัวมา อันว่าธรรมนั้นว่ายาก ก็ยากได้ จะว่าง่าย แสนง่าย ไม่หนักหนา แต่ตัวเรา เขาสัตว์ ยังคณา ว่าเป็นเรา เขา ข้า ชั่งน่ากลัว ยังคงติด ยึดบ่วงกรรม ดำกิเลส ทุกประเทศ เพศ ภพ ประสบทั่ว โอกาสดี มีชัย จงเตรียมตัว พบผู้สอน ให้ละชั่ว พึงกราบกราน อันว่ามีด เหล็กหนา พาเห็นแน่ แต่เบื้องแท้ ที่มา น่าสงสาร ต้องทนร้อน ทนทุบ อยู่ช้านาน ทั้งไฟผลาญ หินฝน จนได้คม จะหลุดได้ พ้นได้ ต้องสลัด ต้องพานพลัด พลาดอยาก มากขื่นขม ต้องทิ้งละ โกรธ โลภ และหลง ตรม อีกทั้งปลง ในวัฎฏะ ไตรลักษณ์กัน จะได้มา ซื่งหลุด พ้นกิเลส มิเหลือเศษ เหลือหลง ให้โศกสันต์ ใช้ปัญญา พิจารณา ให้เร็วพลัน ชีวานั้น ใช่ยืด และยืนนาน กิเลสดุจ ไปกราน ผลาญศรีษะ เมื่อไหลหละ จะดับไป ในสังขาร ดับวันนี้ วันไหน อย่าช้านาน พอถึงกาล เวลาหมด ชดใช้กรรม ทางสายกลาง ทางเดียวไหน ให้รู้แน่ ธรรมแท้แท้ แน่นหนัก ละโศกสันต์ คือธรรมที่ ชี้ทาง สว่างพลัน มิเกิดกัน อีกอยู่ ทุกผู้ตน จงเบื่อหน่าย คลายเมา ในกิเลส ปฏิเสธ ยึดติด มีสิทธิ์ขน ว่าตัวกู ของกู เป็นของตน เวลาป่น เป็นธุรี ขี้เถ้าใคร ไม่ขนแบก แอกหนัก สรรพสิ่ง ให้ประวิง หวาดหวั่น พลันสั่นไหว ขนาดตัว ของตัวเอง ยังบรรลัย เกิด แก่... ตาย แปรไป ตามเวลา แม้แต่ธรรม ความรู้ ก็อยากแบก ให้ละแยก นิวรไป อย่าถือสา ประตูโลก พระนิพพาน สราญตา ยังเล็กกว่า ผ่าเกสา ถึงสามที อันบึงเล็ก บึงใหญ่ ต่างสันฐาน ลึกประมาณ โคลนตม สมวิถี มีแต่สิ่ง ปฏิกูล ถมทวี ในน้ำมี ทั้งเพทภัย ให้พบพา เปรียบดั่ง โลกธาตุใหญ่ ใส่กิเลส มีสาเหตุ ให้ดึงฉุด ทรุดหนักหนา ฝังบัวน้อย เหง้าลึก สุดคณา กว่าจะเกิด ผุดขึ้นมา แต่ช้านาน อันผลบ่วง ห่วงกรรม ชักนำจิต ตนมีสิทธิ ที่จะทำ นำสังขาร ให้ดอกลึก ดอกตื้น หรือพ้นพาน จากหมู่มาร ที่พานพบ ประสบกัน กว่าจะได้เป็น บัวเหล่า เถาที่หนึ่ง ต้องผ่านซึ่ง ทุกข์ทน ปนทั้งนั้น สะสมบุญ บารมีกัน แต่นานวัน ตัวเรานั้น ถือโชคดี ที่เกิดมา ได้พานพบ พุทธศาสตร์ สรนะแท้ น้อยกว่าแค่ หนึ่งหัวเต่า ในไพรศา พระสมุทร ผุดพลัน โผล่ขึ้นมา ได้พบพา ลอดห่วงพลุ๊ด เข้าพอดี เมื่อเป็นบัว ได้ผุดพ้น พบพุทธศาสตร์ อภิวาท วันทา เหนือเศียรศรี ปวารณา ไตรสรณะ ขณะมี ประพฤติดี ตามกฏ รสพระธรรม.

พระโพธิสัตว์ ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิ กรุณาธารณีสูตรบุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้ง ปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้ เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึง จะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

กนิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ใคร่ครวญ หมายถึง การใช้สติสัมปชัญญะ และปัญญาเพ่งดูเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในเมื่อจะประกอบการนั้น ๆ ถึงจะใช้เวลานานหน่อยก็ยังดีกว่าทำอะไรรีบร้อน ใจเร็ว ด่วนไปได้ โดยขาดการใคร่ครวญก่อนทำ บางครั้งทำอะไรรีบร้อนก็อาจเสียหายได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้น เวลาจะทำอะไรก็ตาม ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณาดูก่อนแล้วจึงค่อยทำ จะทำให้การงานหรือสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ตามจุดประสงค์ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะประสบผลสำเร็จได้ ผู้ทำจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการทำงาน คือต้องพิจารณาให้รู้ก่อนว่า ถ้าเราทำงานสิ่งนี้ ผลออกมาจะเป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่าการงานนั้น ๆ ถ้าทำแล้วจะเป็นผลดีแก่ตนและสังคมอย่างมากมายก็ควรทำ หรือถ้ามีผลค่อนข้างมากก็ควรทำ ถ้ามีผลนิดหน่อยและยังว่างงานอยู่ก็ควรทำรองาน แต่ทั้งหมดต้องเป็นงานไม่มีโทษ แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่างานนั้น ๆ ไม่มีประโยชน์ก็ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เราเสียเวลาเปล่า บางทีจะทำให้เราได้รับโทษ เพราะการทำงานนั้น ๆ ก็เป็นได้ ฉะนั้น ก่อนจะทำอะไรลงไป จึงควรพิจารณาให้ดีก่อน แล้วจึงลงมือทำารเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม

การละความยินดีในภพทั้งสามนิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ใคร่ครวญ หมายถึง การใช้สติสัมปชัญญะ และปัญญาเพ่งดูเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในเมื่อจะประกอบการนั้น ๆ ถึงจะใช้เวลานานหน่อยก็ยังดีกว่าทำอะไรรีบร้อน ใจเร็ว ด่วนไปได้ โดยขาดการใคร่ครวญก่อนทำ บางครั้งทำอะไรรีบร้อนก็อาจเสียหายได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้น เวลาจะทำอะไรก็ตาม ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณาดูก่อนแล้วจึงค่อยทำ จะทำให้การงานหรือสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ตามจุดประสงค์ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะประสบผลสำเร็จได้ ผู้ทำจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการทำงาน คือต้องพิจารณาให้รู้ก่อนว่า ถ้าเราทำงานสิ่งนี้ ผลออกมาจะเป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่าการงานนั้น ๆ ถ้าทำแล้วจะเป็นผลดีแก่ตนและสังคมอย่างมากมายก็ควรทำ หรือถ้ามีผลค่อนข้างมากก็ควรทำ ถ้ามีผลนิดหน่อยและยังว่างงานอยู่ก็ควรทำรองาน แต่ทั้งหมดต้องเป็นงานไม่มีโทษ แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่างานนั้น ๆ ไม่มีประโยชน์ก็ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เราเสียเวลาเปล่า บางทีจะทำให้เราได้รับโทษ เพราะการทำงานนั้น ๆ ก็เป็นได้ ฉะนั้น ก่อนจะทำอะไรลงไป จึงควรพิจารณาให้ดีก่อน แล้วจึงลงมือทำ

การละความยินดีในภพทั้งสามนิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ใคร่ครวญ หมายถึง การใช้สติสัมปชัญญะ และปัญญาเพ่งดูเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในเมื่อจะประกอบการนั้น ๆ ถึงจะใช้เวลานานหน่อยก็ยังดีกว่าทำอะไรรีบร้อน ใจเร็ว ด่วนไปได้ โดยขาดการใคร่ครวญก่อนทำ บางครั้งทำอะไรรีบร้อนก็อาจเสียหายได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้น เวลาจะทำอะไรก็ตาม ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณาดูก่อนแล้วจึงค่อยทำ จะทำให้การงานหรือสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ตามจุดประสงค์ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะประสบผลสำเร็จได้ ผู้ทำจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการทำงาน คือต้องพิจารณาให้รู้ก่อนว่า ถ้าเราทำงานสิ่งนี้ ผลออกมาจะเป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่าการงานนั้น ๆ ถ้าทำแล้วจะเป็นผลดีแก่ตนและสังคมอย่างมากมายก็ควรทำ หรือถ้ามีผลค่อนข้างมากก็ควรทำ ถ้ามีผลนิดหน่อยและยังว่างงานอยู่ก็ควรทำรองาน แต่ทั้งหมดต้องเป็นงานไม่มีโทษ แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่างานนั้น ๆ ไม่มีประโยชน์ก็ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เราเสียเวลาเปล่า บางทีจะทำให้เราได้รับโทษ เพราะการทำงานนั้น ๆ ก็เป็นได้ ฉะนั้น ก่อนจะทำอะไรลงไป จึงควรพิจารณาให้ดีก่อน แล้วจึงลงมือทำ

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รุ่งอรุณแห่งพรหมจรรย์ อ.สมภพรุ่งอรุณแห่งพรหมจรรย์ อ.สมภพ

อ.สมภพ วิถีชีวีตของพรหมจรรย์

อ.สมภพ วิถีชีวีตของพรหมจรรย์

เลิกทำงานแล้วหมดงานจะทำแล้วกิจที่ควรทำได้ทำแล้วเมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้­ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของ­อะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมัน­ได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปว­ง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่า­งของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้

จำหน่าย อุปกรณ์ ซ่อม สร้าง เครื่องควบคุม เครื่องจักรและมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับควบคุมระบบอัตโนมัติ และ มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ดีซี มอเตอร์ สเตปเปอร์มอเตอร์ ที่ใช้ในรถไฟฟ้า เครื่องจักรอุตสาหกรรมทั่วไปเช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็นอินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้าอินเวอร์เตอร์ เครื่องทอผ้า เครื่องจักรที่ใช้ PLC CNC SERVO MOTOR INVERTER CONVERTER และรับเขียนโปรแกรม ควบคุมการทำงานของ เครื่องจักรกลไฟฟ้า โดยใช้ IC MICRO CONTROLLER โทรติดต่อได้ที่ 02-951-1356 หรือ 081-803-6553 ครับ..

เพื่อนรักเพื่อนแท้ไม่ใช่ใครกายและใจของเรานี่เองข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน นั้นแล ฯ [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข- *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นหลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรา นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

ความน่ากลัวของสังสารวัฏตลอดเวลาที่ผ่านมาเราคิดว่าเราเก่ง จิตของเราได้เก็บอะไรไว้หมดแล้ว บัดนี้ถึงเวลา ที่เราต้องมองย้อนกลับไปที่จิตของเรา แล้วสอนจิตใหม่ ขอให้โชคดีทุกท่านครับ กิเลสมันก็เหนื่อยเป็นเราดูอย่างเดียวไม่เหนื่อย

คัมภีร์เล่มสุดท้ายคือกายกับใจของเรานี่เองเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

ยอมรับความจริงได้ก็ถูกเมื่อนั้นเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

เเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอกพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่า...

ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานเมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานเฝ้ารู้อยู่อย่างนี้เรื่อยๆ พอมันไม่มีเราขึ้นมาจริงๆ ความทุกข์มันอยู่ที่ไหน ความทุกข์มีอยู่ เพราะขันธ์ยังมีอยู่ ตัวขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ขันธ์เป็นตัวทุกข์นะ ไม่ใช่ขันธ์เป็นตัวสุข ไม่ใช่ว่าภาวนาแล้ววันหนึ่งขันธ์กลายเป็นตัวสุขขึ้นมาได้ ยังไงก็เป็นตัวทุกข์ เพราะขันธ์มันไม่เที่ยง มันถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ ยังไงก็เป็นทุกข์ แต่ว่าเมื่อใจยอมรับความจริง ว่าขันธ์มันเป็นทุกข์นะ ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นที่ขันธ์ก็อยู่ชั่วคราว ตัวขันธ์เองก็อยู่ชั่วคราว การที่เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวเนี่ย เรียกว่าเรารู้ทันความจริงละ เมื่อจิตรู้ทันความจริง เวลาความจริงมาปรากฏให้จิตยอมรับความจริงได้ จิตก็ไม่ทุกข์ ที่จิตทุกข์เพราะจิตยอมรับความจริงไม่ได้ เช่น ร่างกายมันจะแก่ จิตยอมรับความจริงได้ ของธรรมดา มันของชั่วคราว พอใจยอมรับความจริงได้ ใจมันก็ไม่ทุกข์ มันจะเจ็บมันจะตาย จิตใจเราจะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เจอสิ่งที่ไม่รัก เรายอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างชั่วคราว สุขทุกข์ดีชั่ว ของชั่วคราวทั้งหมด เมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ตอนนี้พวกเรายังเห็นสภาวะที่พ้นความปรุงแต่งไม่ได้ เพราะจิตเรายังปรุงแต่งอยู่ ที่จิตปรุงแต่งอยู่เพราะยังไม่รู้ความจริงของขันธ์ ยังไม่เห็นหรอกว่า ขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยังยอมรับไม่ได้ เวลาเห็นก็เห็นนิดๆ หน่อยๆ แต่ยังยอมรับความจริงไม่ได้ ใจลึกๆ มันก็ยังอยากให้ร่างกายนี้แข็งแรงตลอดกาล เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาล ยอมรับไม่ได้ที่จะไม่สมหวัง อยากให้มันสมหวัง อยากให้มันมีความสุข อยากให้มันบรรลุมรรคผล นิพพาน มันอดอยากไม่ได้ งั้นใจที่เรายังมีความอยากอยู่เนี่ย มันดิ้นรนไม่เลิก ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้า วันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ พอไม่มีตัวเราซะอย่างเดียว โลกทั้งโลกไม่มีเจ้าของ แล้วเราค่อยฝึกเอา ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราการรู้การดูและสังเกตุพฤติกรรมทางจิตของตัวเราเอง

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราการรู้การดูและสังเกตุพฤติกรรมทางจิตของตัวเราเอง

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราการรู้การดูและสังเกตุพฤติกรรมทางจิตของตัวเราเอง

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ที่จริงความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เกิดจากการกีดกันเอาโลกธาตุบางส่วนมาเป็นตัวเราก่อน พอเราสร้างตัวเราขึ้นมา มันก็มีสิ่งซึ่งเกินตัวเราออกไป มีคนอื่นขึ้นมา มีโลกธาตุภายนอกที่แวดล้อมอยู่ ถ้าเข้าใจความเป็นจริง จิตก็สลัดคืนสิ่งที่เรียกว่าตัวเราคืนให้โลกธาตุไป ก็เป็นอันเดียวกันทั้งหมด สภาวธรรมทั้งหลายจะเป็นอันเดียวกันทั้งหมด ไม่มีแบ่งแยก ไม่แยกออกมาว่านี่เป็นธรรมภายใน เป็นธรรมภายนอก ไม่แยกเป็นธรรมที่หยาบที่ละเอียด ที่สุข ที่ทุกข์ ที่ดี ที่ชั่ว ที่เป็นเรา ที่เป็ฯเขา อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เป็นคู่ๆ ไม่มีนะ พอสลัดคืนแล้ว ไม่มีสิ่งที่เป็ฯคู่ๆ แต่เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้าเข้าถึงหนึ่ง ถึงจะเข้าถึงความจริงของศาสนาพุทธ

มอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟส

ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล เรา เขา ไม่ใช้ ถ่าน ไม่ใช้ ฟืน ไม่ใช้ ถ่านหิน ไม่ใช...ทดสอบที่ไฟฟ้ากระแสตรง 200 Volts ใช้ L6569 สร้างความถี่ 24 Khz Duty Cycle 50%

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่สักนิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดใจอย่างยิ่ง ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ วันที่ 22 มี.ค. 2558

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หมายถึง เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง) ๑. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร) ๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย) สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมนั้น มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทานที่ให้แล้วมีผล ๒. การสงเคราะห์กันมีผล ๓. การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล ๔. ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง ๕.โลกนี้มี (ที่มา) ๖. โลกหน้ามี (ที่ไป) ๗. แม่มี ๘. พ่อมี ๙. สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมี ๑๐. พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วมี สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ [๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หมายถึง เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง) ๑. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร) ๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย) สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมนั้น มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทานที่ให้แล้วมีผล ๒. การสงเคราะห์กันมีผล ๓. การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล ๔. ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง ๕.โลกนี้มี (ที่มา) ๖. โลกหน้ามี (ที่ไป) ๗. แม่มี ๘. พ่อมี ๙. สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมี ๑๐. พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วมี สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ [๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดในสมัยนั้น มีมาณพผู้หนึ่ง ชื่อว่า ยสะ เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงฆาร มีเรือน ๓ หลัง เป็นที่อยู่ประจำใน ๓ ฤดู อย่างผาสุก อิ่มอยู่ในกามสุขตามฆราวาสวิสัย ครั้งนั้น ในฤดูฝน พรรษากาลที่พระสัมพุทธเจ้า ทรงจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลแต่บ้านยสะมานพ ราตรีวันหนึ่ง ยสะมานพนอนหลับก่อน เหล่านางบำเรอและบริวารนอนหลับภายหลัง แสงชวาลาที่ตามไว้ยังสว่างอยู่ ยสะมานพตื่นขึ้นเห็นบริวารเหล่านั้นนอนหลับอยู่ ปราศจากสติสัมปชัญญะ แสดงอาการวิกลวิกาลไปต่าง ๆ บ้างกรน คราง ละเมอ เพ้อพึมพำ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีดังแต่ก่อน ปรากฏแก่ยสะมานพ เหมือนซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ยสะมานพเห็นแล้วเกิดความสลดใจ เบื่อหน่าย รำคาญ อยู่ในห้องไม่ติด ออกอุทานด้วยความสังเวชใจว่า “ ที่นี่วุ่นวาย ไม่เป็นสุข ” แล้วออกจากห้องสรวมรองเท้า เดินออกจากประตูเรือน ตรงไปทางที่จะไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลานั้น จวนใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสะมานพ เดินบ่นมาด้วยความสลดใจ ใกล้ที่จงกรมเช่นนั้น จึงรับสั่งเรียกด้วยพระมหากรุณาว่า "ยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ยสะ ที่นี่สงบ เป็นสุข ยสะ ท่านมาที่นี่เถิด" ฝ่ายยสะมานพได้ยินเสียงพระศาสดารับสั่งว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย สงบ เป็นสุข" ก็ดีใจ ถอดรองเท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ด้วยความสบายใจ พระศาสดาตรัสเทศนาโปรดยสะมานพด้วย อนุปุพพิกถา แสดงถึงปฏิปทาเบื้องต้น ที่คฤหัสถ์ชนจะพึงสดับ และปฏิบัติตามได้โดยลำดับ คือ ๑. ทาน พรรณาความเสียสละ ให้ด้วยความยินดี เพื่อบูชาคุณของท่านผู้มีคุณ ด้วยความกตัญญู ด้วยความเคารพนับถือ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลฉันท์ญาติมิตร ด้วยความไมตรี ด้วยน้ำใจอันงาม เพื่ออนุเคราะห์ผู้น้อย ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ด้วยความกรุณาสงสาร ๒. ศีล พรรณาความรักษากาย วาจา เป็นสุภาพ เรียบร้อย เว้นจากการเบียดเบียนกัน เพื่อความสงบสุข ตามหลักแห่งมนุษยธรรม ๓. สวรรค์ พรรณาถึงอานิสงส์ของผู้บำเพ็ญทาน รักษาศีล จะพึงได้พึงถึงความสุข อย่างเทพเจ้าในสรวงสวรรค์ ยิ่งกว่าความสุขของมนุษย์ ๔. กามาทีนพ พรรณณาถึงโทษของกาม ของผู้บริโภคกาม ทั้งในมนุษย์ทั้งในสวรรค์ เป็นช่องทางแห่งทุกข์โทษ เพราะวุ่นวาย ไม่สงบ เดือดร้อน ไม่รู้จักสิ้นสุด น่าระอา น่าเบื่อหน่าย ๕. เนกขัมมานิสงส์ พรรณาถึงอานิสงส์ของการหลีกออกจากกาม เหมือนคนออกจากเรือนไฟที่กำลังติดอยู่ ไม่เร่าร้อน สงบ เย็นใจ เป็นสุข ไม่มีภัยไม่มีเวรทุกประการ ฟอกจิตของยสะมานพ ให้ห่างไกลจากความยินดีในกามได้ธรรมจักษุ เหมือนผ้าที่ซักฟอกให้หมดมลทิน ควรจะรับน้ำย้อมได้แล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ , ทุกข์สมุทัย , เหตุให้ทุกข์เกิด, นิโรธ ความดับทุกข์ , และมรรคได้แก่ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ โปรดยสะมานพให้ได้เห็นธรรมพิเศษ ณ ที่นั่งนั้น ฝ่ายมารดาของยสะมานพ ทราบว่าลูกชายหาย มีความเศร้าโศก บอกแก่เศรษฐีผู้เป็นสามี ท่านเศรษฐีตกใจให้คนออกติดตามตลอดทางทุกสาย แม้ตนเองก็ร้อนใจ อยู่ไม่ติด ก็ออกติดตามด้วย เผอิญเดินทางผ่านมาใกล้ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เห็นรองเท้าของลูกก็จำได้ ดีใจ ตามเข้าไปหาจนถึงที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ โปรดท่านเศรษฐี ให้เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ท่านเศรษฐีได้เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยคนแรก ก่อนกว่าชนทั้งปวงในพระศาสนานี้ ขณะที่พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ โปรดท่านเศรษฐี ยสมานพนั่งอยู่ในที่นั้น ได้ฟังเทศนาทั้งสองเรื่องนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในที่นั่งนั้นเอง พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จอริยคุณเบื้องสูง เป็นพระอรหันต์ ณ ที่นั้น นับว่ายสะมานพ เป็น พระอรหันต์องค์แรกที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์ คือ ยังมิทันได้บวช ก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นคุณสูงสุดในพระศาสนานี้ ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดา ไม่ทราบว่า ท่านยสะสิ้นอาสวะแล้ว จึงกล่าวแก่ยสะว่า "พ่อยสะ มารดาของเจ้า ไม่เห็นเจ้า มีความเศร้าโศกพิไรรำพันยิ่งนัก เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด" ท่านยสะแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกแก่เศรษฐีให้ทราบว่า "บัดนี้ ยสะ ได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์แล้ว มิใช่ผู้ที่จะกลับคืนไปครองฆราวาสอีก" ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า "เป็นลาภอันประเสริฐของยสะแล้ว ขอให้ยสะได้รุ่งเรืองอยู่ในอนาคาริยวิสัยเถิด" แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับพระยสะให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้น ครั้นทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาด้วยอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับไปสู่เรือน แจ้งข่าวแก่ภรรยา พร้อมกับสั่งให้จัดแจงขาทนียะโภชนียาหารอันประณีต เพื่อถวายพระบรมศาสดา เมื่อท่านเศรษฐีกลับแล้ว ยสะมานพได้กราบทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุ พระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นพิเศษ ด้วยยสะมานพได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว เพียงแต่ทรงรับให้เข้าอยู่ในภาวะของภิกษุ ในพระธรรมวินัยได้เท่านั้น ดังนั้น จึงตรัสพระวาจาแต่สั้น ๆ ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด" ตัดคำว่า "เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ" ข้างท้ายออกเสีย ด้วยพระยสะถึงที่สุดทุกข์แล้ว ในเวลาเช้าวันนั้น พระบรมศาสดาก็มีพระยสะ เป็นพระตามเสด็จ ๑ รูป เสด็จไปยังเรือนท่านเศรษฐีตามคำอาราธนา ประทับนั่งยังอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวายเป็นอันดี มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้งสองนั้นได้ธรรมจักษุ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาของถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้เป็นอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา ก่อนกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในโลกนี้ ครั้นได้เวลาภัตตกิจ มารดาบิดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้จัดการอังคาสด้วยชัชชโภชนาหารอันประณีตด้วยมือของตนเอง เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนา ให้อุบาสกอุบาสิกาทั้ง ๓ นั้น อาจหาญ ร่าเริงในธรรม เป็นอันดีแล้ว เสด็จกลับประทับยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ครั้งนั้น มีเศรษฐีบุตรชาวเมืองพาราณสี ๔ คน คือ วิมละ ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ ซึ่งเป็นสหายที่รักใคร่ของพระยสะ ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระยสะออกบวช เกิดความสนใจใคร่จะรู้ธรรมที่พระยสะมุ่งหมายประพฤติพรต ดังนั้น สหายทั้ง ๔ คน จึงพร้อมกันไปพบพระยสะถึงที่อยู่ พระยสะได้พาสหายทั้ง ๔ คนนั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลให้ทรงสั่งสอน พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบุตรทั้ง ๔ นั้น ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ ทั้งทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตผลในกาลต่อมา ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ในโลกเป็น ๑๑ องค์ด้วยกัน ทั้งพระบรมศาสดา ต่อมามีสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบท ๕๐ คน ได้ทราบข่าวพระยสะออกบวช มีความคิดเช่นเดียวกับสหายของพระยสะทั้ง ๔ นั้น จึงไปหาพระยสะที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้สดับธรรม มีความเลื่อมใส ได้อุปสมบท และได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมดโดยนัยก่อน จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระศาสดาด้วยเป็น ๖๑ องค์

ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ผู้สละโลก ปลดแอกการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

เปิดกิจการเริ่มที่ประหยัดเวลาและรับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกลรุ่นใหม่ ที่ใช้ SERVO DRIVE SERVO MOTOR 3 PHASE MOTOR CONTROL 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

เครื่อง cnc สุดเจ๋งรับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

การสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องทอผ้าใช้ รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MICROCHIP ด้วยภาษา BASIC FOR PIC ติดต่อที่ 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com..

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องการเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันก็เป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบแล้ว คำบริกรรมเหล่านั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมีวิมุตติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

High Power 3KW PWM controller Snubber Circuit

ระบบอินเวอร์เตอร์ inverter ใช้ร่วมกับโซล่าเซลล์ประหยัดไฟได้จริงหรือไม่ด...

จิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกันธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า “ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกร­ู้ นั่นละ” ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเ­ด่นชัดด้วยอำนาจของสติ กล่าวสรุปคือ “หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น” เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจ­ริงได้เองว่า ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งไ­ด้แล้ว ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าทำงานด้วยไฟฟ้า48โวลต์จากแบตเตอรี่

ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับมอเตอร์สามเฟส

ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ.

ภาวนาละกิเลสเบื้องต้นก็ภาวนาพุทโธธัมโมสังโฆแล้วก็พุทโธพุทโธจงตระหนักว่าเมื่อใดที่จิต กลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้ คือกลับสู่ภาวะที่ไม่มีการนึกคิดการคิดนึกปรุงแต่ง มิได้แบ่งแยกสรรพสิ่งเป็นของคู่ เมื่อใดที่เรากลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้แม้ชั่วขณะเดียว และเมื่อใดความรู้แจ้งหรือแสงสว่างจากภายในอุบัติขึ้น จิตก็จะเห็นสภาวะเดิมของจิตที่ยังมิได้ปรุงแต่ง เมื่อใดจิตเห็นจิตเดิมแท้ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง เมื่อนั้นพุทธะก็บังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อพุทธะอุบัติขึ้นทุกข์ทั้งปวงก็สิ้นสลายไป ความจริงแล้วธรรมชาติเดิมแท้แห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนสักปรมาณูเดียว สิ่งนี้เป็นความว่างและมีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองเร้นลับ และหมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ให้ลึกซึ้ง ด้วยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวท่านเองเถิด

ถ้าหยุดการปรุงแต่งจิตไม่ได้สุดท้ายจะเป็นบ้าเอาเบื้องต้นก็ภาวนาพุทโธธัมโมสังโฆแล้วก็พุทโธพุทโธจงตระหนักว่าเมื่อใดที่จิต กลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้ คือกลับสู่ภาวะที่ไม่มีการนึกคิดการคิดนึกปรุงแต่ง มิได้แบ่งแยกสรรพสิ่งเป็นของคู่ เมื่อใดที่เรากลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้แม้ชั่วขณะเดียว และเมื่อใดความรู้แจ้งหรือแสงสว่างจากภายในอุบัติขึ้น จิตก็จะเห็นสภาวะเดิมของจิตที่ยังมิได้ปรุงแต่ง เมื่อใดจิตเห็นจิตเดิมแท้ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง เมื่อนั้นพุทธะก็บังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อพุทธะอุบัติขึ้นทุกข์ทั้งปวงก็สิ้นสลายไป ความจริงแล้วธรรมชาติเดิมแท้แห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนสักปรมาณูเดียว สิ่งนี้เป็นความว่างและมีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองเร้นลับ และหมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ให้ลึกซึ้ง ด้วยการลืมตาต่อมันด้วยตัวท่านเองเถิด

พระนิพพานคืออะไรธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า “ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ” ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ กล่าวสรุปคือ “หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น” เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิตธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า “ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ) หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ” ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ กล่าวสรุปคือ “หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น” เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น

ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขเราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว. แสดงน้อยลง

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี...หลวงพ่อปราโมทย์ : ยากเหลือเกินที่จะหลอกกิเลสได้ เพราะกิเลสอยู่ในใจเรา เราคิดอะไรกิเลสรู้หมดเลย แต่กิเลสคิดอะไร เราไม่เคยรู้เลย มันเก่งจริงๆนะ มันมวยคนละชั้นเลย หาญสู้ขึ้นไปทีไร ถูกมันชกดั้งจมูกหงายท้องทุกทีตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

Mahabodhi Temple - Indiaวันทามิ ภันเต, เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง, สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา, กายะสา วะจะสา มะนะสา,

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ไม่เพ่งไม่เผลอไม่เพียรไม่พักหลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้เผลอลืมกายลืมใจ ที่ไปของเราก็คือ ทุคติ ผู้เพ่งบังคับกายบังคับใจไว้ ที่ไปของเราในอนาคตคือสุคติ แต่ไม่ไปนิพพาน เพราะฉะนั้นการที่เราบังคับกายบังคับใจเรื่อยไป ไม่ตกนรกหรอก ดี แต่มันหยุดอยู่แค่ดีเท่านั้นเอง ไม่สามารถไปถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปสุดโต่งสองฝั่ง ถ้าเราไปสุดโต่งสองฝั่ง ไม่ไปนิพพาน ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้ ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลางให้เป็น

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองนอกจากนี้แล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดใดเลยเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว จิตไม่มีตัวตนอะไรหรอก แต่มันมีประจำอยู่แล้วในคนทุกๆคน จิตก็คือพุทธะ พุทธะคือจิต จิตคือพุทธะสิ่งสูงสุด ย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งลงในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด แล้วทุกๆสิ่งนี้เนื้อหาเป็นอันเดียวกับจิตหนึ่งนั้น ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ให้สงบ เราค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เราจะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานี้ถ้าเราทำความสงบอยู่จริงๆ เว้นจากความคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้น้อยที่สุดเสียได้จริงๆ คล้ายๆกับมันจะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป ไม่กินเนื้อที่อะไร อะไร แม้แต่จุดเดียว และเป็นสิ่งที่มีความเป็นอยู่หรือไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย

แบตเตอรี่สองลูกใช้กับมอเตอร์สามเฟส220/380หนึ่งแรงม้าเครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของม­อเตอร์ นิยมใช้กันมาก ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ ยุคปัจจุบัน เช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำ อินเวอร์เตอร์ เครื่อง สูบน้ำ อินเวอร์เตอร์ รถ จักรยาน ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ยานพาหนะ ในยุคปัจจุบันและอนาคต ล้วนต้องใช้ อินเวอร์เตอร์

การควบคุมมอเตอร์สามเฟสแบบใหม่ครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์ (Invertor) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของม­อเตอร์ นิยมใช้กันมาก ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ ยุคปัจจุบัน เช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำ อินเวอร์เตอร์ เครื่อง สูบน้ำ อินเวอร์เตอร์ รถ จักรยาน ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ยานพาหนะ ในยุคปัจจุบันและอนาคต ล้วนต้องใช้ อินเวอร์เตอร์

การเข้าถึงสัจจะ ท่านจะไม่โดดเดี่ยวเดียวดายอีกต่อไปเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

ป่าลั่น สุเทพ วงศ์กำแหง (ต้นฉบับ)" ป่าไม้..เป็นอาหารใจที่สำคัญ " พระพุทธเจ้าทรงบรรลุ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ในร่มไม้ป่า ป่าไม้เป็นมหาวิทยาลัยของพุทธศาสตร์ ของพุทธคือ..ป่าอิสิปตนะพระองค์ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัฒนสูตร อันบันลือโลกธาตุให้หวั่นไหว..ก็ป่าอีก วันมหาปรินิพพานของพระศาสดาจารย์..ก็ป่ารัง ที่เรียกกันตามภาษาบาลีว่า "ไม้สาละ"..เพราะเหตุนี้พวกเราควรปลูกป่ากันเถอะ รักษาป่ากันไว้ อย่าผลาญป่ากันอีกเลย จงพากันรักป่า มากกว่ารักเมือง พระพุทธเจ้าได้ของดีๆ มาจากป่า พระอรหันตสาวก ก็ได้ดิบได้ดีเป็นเนื้อนาบุญอันเอกของโลก ก็อยู่ในป่าโดยมากกว่าได้ดิบได้ดีอยู่ในปราสาท คำสอนพระเดชพระคุณหลวงปู่ขาว อนาลโย..ฝากเพื่อน..ขอรับ

ป่าลั่น สุเทพ วงศ์กำแหง (ต้นฉบับ)" ป่าไม้..เป็นอาหารใจที่สำคัญ " พระพุทธเจ้าทรงบรรลุ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ในร่มไม้ป่า ป่าไม้เป็นมหาวิทยาลัยของพุทธศาสตร์ ของพุทธคือ..ป่าอิสิปตนะพระองค์ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัฒนสูตร อันบันลือโลกธาตุให้หวั่นไหว..ก็ป่าอีก วันมหาปรินิพพานของพระศาสดาจารย์..ก็ป่ารัง ที่เรียกกันตามภาษาบาลีว่า "ไม้สาละ"..เพราะเหตุนี้พวกเราควรปลูกป่ากันเถอะ รักษาป่ากันไว้ อย่าผลาญป่ากันอีกเลย จงพากันรักป่า มากกว่ารักเมือง พระพุทธเจ้าได้ของดีๆ มาจากป่า พระอรหันตสาวก ก็ได้ดิบได้ดีเป็นเนื้อนาบุญอันเอกของโลก ก็อยู่ในป่าโดยมากกว่าได้ดิบได้ดีอยู่ในปราสาท คำสอนพระเดชพระคุณหลวงปู่ขาว อนาลโย..ฝากเพื่อน..ขอรับ

เพลงตื่นเถิดชาวไทยเพลงตื่นเถิดชาวไทย

ตื่นเถิดไทยราเผ่าไทย ต่างคนจากแดนไกล ต่างมารวมใจ สามัคคีทุกหมู่เหล่า พวกเราพร้อมพรั่ง งามถิ่นเรา ถิ่นไทย ในแดนทอง แหล่งดีคนปอง ไทยเข้าครองต้องรวมกัน ผูกพันรักเผ่า โบราณนานมาชาติไทยแกร่งเกรียงไกรกล้า ฝ่าฟันมาทุกเวลาไม่หวั่น พรั่นพรึงอันตราย ผ่านความลำเค็ญ ร้อนเย็นมิหน่าย ทอดกายเป็นชาติพลี ตื่นเถิดไทย มาพร้อมใจน้องพี่ เราเลือดไทยเสรี ปฐพีรักยิ่ง ตื่นเถิดไทย จงพร้อมใจทุกฝ่าย เรามิยอมแพ้พ่าย ศัตรูร้ายมุ่ง โบราณนานมา ชาติไทยแกร่งเกรียงไกรกล้า ฝ่าฟันมาทุกเวลาไม่หวั่น พรั่นพรึงอันตราย ผ่านความลำเค็ญ ร้อนเย็นมิหน่าย ทอดกายเป็นชาติพลี

ตื่นเถิดไทย

เพลง สุดแผ่นดินเพลง สุดแผ่นดิน

เพลง สุดแผ่นดิน

เพลง สุดแผ่นดิน

เพลง สุดแผ่นดิน

เพลง สุดแผ่นดิน

ไม่ดี ไม่งาม ไม่ทำ

ต่างศาสนาแต่ฟ้าเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อริยสัจสี่ของคนธรรมดาสามัญ เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้ สันโดษ

กายาเป็นเช่นขอนไม้

ไม่เมตตาจะเป็นพุทธะอย่างไร

พระแม่กวนอิมประทานพร.wmv

พระสุเมธาเถรี" อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราชสมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามเถิด ลูกจงวิวาหะเสียเถิด นะลูกนะ " พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า " อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระมิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่ยอมวิวาหะแน่แท้ " " กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาด กลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนังบรรจุซากศพ เต็มด้วยของไม่สะอาด ไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลายึดถืออยู่ " " ลูกรู้จักซากศพนั้นเป็นเหมือนอะไร เป็นเหมือนของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่อยู่ของลูกหลานหนอน เป็นอาหารของแร้งกา ทำไมทูลกระหม่อม จึงพระราชทานซากศพอันสกปรกโสโครกนี้ แก่พระราชาพระองค์นั้นเล่า " " ไม่ช้า ร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ อันหมู่ญาติผู้เกลียด ทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขาก็นำไปป่าช้า บิดามารดาของตนยังเกลียด ครั้นเอาซากศพนั้นไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์­อื่นในป่าช้าแล้ว เมื่อกลับมาก็ต้องอาบน้ำ สระผม จะป่วยกล่าวไปใยถึงหมู่ชนทั่วๆ ไปเล่า " " หมู่ชนยึดถืออยู่ในซากศพที่ไม่มีแก่นสาร เป็นร่างของกระดูกและเอ็น เป็นกายอันเน่าเต็มไปด้วยน้ำ น้ำตา และอุจจาระ " " ผู้ใดพึงชำแหละร่างกายนั้น เอาข้างในมาไว้ข้างนอก ก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้นไม่ได้ แม้แต่มารดาของตน ก็ยังเกลียด "

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี...หลวงพ่อปราโมทย์ : ยากเหลือเกินที่จะหลอกกิเลสได้ เพราะกิเลสอยู่ในใจเรา เราคิดอะไรกิเลสรู้หมดเลย แต่กิเลสคิดอะไร เราไม่เคยรู้เลย มันเก่งจริงๆนะ มันมวยคนละชั้นเลย หาญสู้ขึ้นไปทีไร ถูกมันชกดั้งจมูกหงายท้องทุกทีตอนสุดท้ายน­ี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว จ.เชียงราย 21 มี.ค. 2558

การค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของตัวเราเองชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองนอกจากนี้แล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดใดเลยชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

ทางตรงอยู่ตรงนี้ไม่ต้องไปหาที่อื่นชนม์ดับ มิกลับหลัง คุณะยัง ประทับนาน ซาบซึ้ง ณ ดวงมาน บริสุทธ์ สงบเย็น จิตคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไปธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) พ่อสอนลูก ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อยจนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ท่านกับเราก็เสมอกันเสมอกันโดยไตรลักษณ์ คืออนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพ สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป จงจำไว้ว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป จงจำไว้ว่าเราจะต้องตายถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์ เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์ เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม แต่สุดท้ายไม่นานผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์ สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม พิจารณาตน ๑. ถ้าบุคคลใดไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยากตนข่มท่าน ไม่มีความประมาท มีจริยาดี มีความสงบใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่ตถาคตสอน แล้วบุคคลใดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่น ทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่พระองค์ทรงสอน ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด อย่างนี้เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน ถ้าบุคคลใดทำจุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้นเห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่าคนและสัตว์นี้ก่อนเกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีที่พระองค์สอน แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์ ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือนถ้าบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี ๒. ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประมาณว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลาถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญ ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญ นั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว ศีล ๑. ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิ เพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ ๒. ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ตามถ้าเราละเมิดนั่นก็หมายความว่าเราเปิดช่องของอบายภูมิหรือเปิดทางเดินไปสู่อบายภูมิ มีเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน การเจริญกรรมฐานของบรรดาพุทธบริษัทก็ไม่มีผล เพราะฉะนั้นญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่คิดว่าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลวันนี้และตลอดไปในชีวิต จงตั้งจิตคิดว่านับแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต บางวันข้างหน้าอาจจะเผลอไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไปเราก็ยับยั้งมันเสีย และตั้งใจต่อไปเราจะไม่ทำผิดอีกและจงเข้าใจว่า ศีล ๕ ประการนี้ ถ้าจะขาดได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจทำ อย่างปาณาติบาตสัตว์เล็ก ๆ เราเดิน ๆไปเราไม่เห็นบังเอิญเหยียบตาย อันนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มียุงเป็นต้นมาเกาะกินเลือดเรา ถ้าไม่คิดจะฆ่ามันแต่มันเกาะนานเกินไป เราจะเอามือลูบให้มันหนีไป บังเอิญมันหนีไม่ทัน ถูกมันตาย อันนี้เราไม่บาป ศีลไม่ขาดเพราะเราไม่มีเจตนาจะฆ่า พรหมวิหาร ๔ ๑. ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คิดว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ดี ก็จัดว่าเป็นศูนย์รวมกำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี ๒. ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ แล้ว มีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผลมีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไรเพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็นมีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุขบุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันย่อมปรากฎ สมาธิ ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้ มหาสติปัฏฐาน ๑. มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิดปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้ บารมี ๑๐ บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ” ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา ๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป ทรงความดี ๑. การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์ เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์นั่นหมายถึงว่าตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์ ๒. เวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้า คือคำสอน องค์สมเด็จพระชินวรก็ไปนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายไปนิพานนับไม่ถ้วนก็เคยปฏิบัติอย่างนี้ ฉะนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่มีความอาลัยในชีวิตและร่างกายของเรา เราจะไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่น เราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุใด ๆ เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าบังเอิญมันจะตายในขณะที่เรานั่งนี่ก็เชิญ ร่างกายตายแต่ใจเราไปพระนิพพานตัดสินใจอย่างนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ภาวนา มโนมยิทธิ ๑. มโนมยิทธิ แปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ คำว่าฤทธิ์ทางใจหมายความว่าใช้ใจ โดยเฉพาะอันดับต้นต้องฝึกให้ได้ทิพจักขุญาณก่อน คำว่าทิพจักขุญาณก็หมายความว่าใช้ความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์ ถ้าฝึก “ ทิพย์จักขุญาณ ” ได้แล้ว ต่อไปจิตจะเคลื่อนไปสู่สวรรค์ก็ได้พรหมโลกก็ได้ไปแดนนิพพาน แดนเปรตแดนอะไรก็ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นมุมหนึ่งหรือจุดใดในโลกมนุษย์นี่ง่ายกว่า หรือว่าใครอยากจะไปเที่ยวดาวดาวต่าง ๆ ก็ไปได้ ไปดวงอาทิตย์เราก็ไปได้ไม่ตายเพราะใจเราไม่ตาย แต่ว่าวิธีปฏิบัติแบบนี้เวลาจะเคลื่อนใช้อารมณ์แนบแน่นสนิทไม่ได้ต้องมีอารมณ์เบา ๆ พอสมควร คือแค่อุปจารสมาธิให้เริ่มสัมผัสภาพได้ก่อน ไม่ได้เห็นด้วยลูกตา พอรับสัมผัสภาพได้ตอนนี้จิตเริ่มเป็นฌาน ตอนนี้ก็ยังเบาอยู่ แต่เคลื่อนจิตไปพระจุฬามณีได้ เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้น มันจะมีทั้งฌานและญาณบอก ฌานอย่างเดียวมันก็ไปไม่ได้ถ้าไปแล้วมันไม่เห็น ต้องมีตัวญาณเป็นตัวรู้ ฉะนั้น การขั้นตอนแรก ขึ้นด้วยญาณก่อนเมื่อไปถึงที่นั่นชำระจิตดี จิตสะอาดมากขึ้นความสว่างไสวจะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ลูกตาเห็น เป็นการเห็นจากจิต เป็นความรู้สึกจากจิต แต่เมื่อจิตสะอาดมากก็เห็นเหมือนตาเห็น ๒. ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว จงอย่ายับยั้งความดีไว้แค่มโนมยิทธิ เพราะถ้าหากท่านทำความดีได้แค่นี้มันยังไม่พ้นการลงนรก การให้ฝึกมโนมยิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายมีจริง การระลึกชาติมีจริง ตายแล้วไม่สูญจริงสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง นรก เปรต อสุรกายมีจริงเมื่อทำได้แล้วจงรวบรวมกำลังใจของท่าน ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระโสดาบัน จะได้ป้องกันอบายภูมิ ไม่ต้องตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉานต่อไป เป็นการก้าวไปหาพระนิพพานเร็วขึ้น วิปัสสนาญาณ ๑. ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน เมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้หากว่าชาตินี้ ถ้าไม่สามารถไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้วดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหมอยู่ไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัสรู้ เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานหรือ ปฏิกูลพรรพ ฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินศรีรู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว เลวที่สุดได้พระโสดาบันนี่เรียกว่าเลวที่สุดนะ ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผลตัวอย่างก็เยอะที่ปรากฏมาในพุทธประวัติ ๒. ถ้าหากว่าเรารู้จริงเห็นจริง ด้วยอำนาจของปัญญาว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกแบบนี้ เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร แม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควรและก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรกมันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั้นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรกเมื่อจิตของเราเห็นว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรัก ความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก พิจารณาความตาย ๑. เรื่องของความตายนี้ ทางพระท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าใครทั้งสิ้นที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายเหมือนกันหมด จะตายด้วยโรคอะไรหรืออาการอย่างไรในที่สุดก็ตายเหมือนกัน พระท่านสอนไม่ให้เสียใจเพราะเหตุแห่งความตายมาถึง คนรับฟังมีเยอะ แต่รับปฏิบัติ คือตัดใจไม่ให้เศร้าโศกถึงคนตายนี่หายาก เรื่องของการระงับความเศร้าโศกอาลัย ในเมื่อมีคนที่เรารักตายนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง คนที่จะทำได้แน่นอนไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในเรื่องของความตายนั้น ท่านว่ามีพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเห็นเรื่องของความตายเป็นของปกติธรรมดา เหมือนเห็นใบไม้ที่แก่งอมร่วงลงมาจากต้นไม่มีความรู้สึกเสียดายห่วงใยใด ๆ ถ้าว่ากันตามภาษาชาวบ้าน ถ้ามีคนตายเกิดขึ้นที่บ้านใคร ถ้าคนที่เกี่ยวข้อง เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ตาย ไม่ร้องไห้แสดงความเสียใจเขาก็หาว่าเป็นคนใจจืดใจดำ กลายเป็นคนไม่ดีไปเสียอีก ต้องแสดงออกถึงความโศกเศร้ารำพันนั่นแหละ เขาถึงจะนิยมว่าเป็นคนดีรักกันจริง เรื่องความเห็นของพระกับชาวบ้านไม่ใคร่จะลงกันก็อีตอนนี้แหละ ๒. คนเราเมื่อตายจากอัตภาพนี้แล้ว มันไม่ตายจริง คือไม่หมดความรู้สึกสุขทุกข์ยังมีสุขมีทุกข์มีความรู้สึกเหมือนเมื่อยังไม่ตาย แต่สิทธิต่าง ๆ ในเมื่อวิญญาณออกจากร่างนี้แล้วก็มีบางอย่างที่วิญญาณไม่มีสิทธิจะครองนั่นก็คือ ทรัพย์สินที่พยายามสะสมไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อยังทรงอัตภาพนี้ ส่วนอื่นนอกจากนี้ คือความสุขและความทุกข์ยังมีตามเดิม บางท่านเมื่อก่อนตาย ทำความดีไว้มาก เมื่อตายแล้วก็มีความสุข บางรายก่อนตายสร้างความเลวร้ายไว้มาก เมื่อตายแล้วก็ได้รับความทุกข์อันนี้เป็นกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ อริยสัจ ๑. เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มีถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมแปดประการ คือมีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่ ๒. สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่าเราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไปจงพิจารณาหาทุกข์ให้พอในอริยสัจจ์ พิจารณาขันธ์ ๕ ๑. ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์ก็เกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ๒. จิตต้องยึดเป็นอารมณ์ว่า ถ้าตายคราวนี้เรามุ่งนิพพาน ต้องคอยชำระจิต ก็หมายความว่าอย่าให้ความโลภคลุมใจ อย่าให้กามฉันทะมันคลุมใจ ความโกรธและโมหะอย่าให้คลุมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหันเข้ามาตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ ๕ ของเรา ตัดให้ขาด ทุกอย่างมันจะเกาะไม่ได้ สังโยชน์ ๑๐ ๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่นก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้อันนี้เป็นกำไรมาก ๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง พระโสดาบัน ๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน ๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้ ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป พระอนาคามี ๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ • สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ • จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก • ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่ ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล

วิธีการเข้าถึงพระนิพพานธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) พ่อสอนลูก ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อยจนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ท่านกับเราก็เสมอกันเสมอกันโดยไตรลักษณ์ คืออนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพ สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป จงจำไว้ว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป จงจำไว้ว่าเราจะต้องตายถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์ เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์ เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม แต่สุดท้ายไม่นานผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์ สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม พิจารณาตน ๑. ถ้าบุคคลใดไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยากตนข่มท่าน ไม่มีความประมาท มีจริยาดี มีความสงบใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่ตถาคตสอน แล้วบุคคลใดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่น ทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่พระองค์ทรงสอน ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด อย่างนี้เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน ถ้าบุคคลใดทำจุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้นเห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่าคนและสัตว์นี้ก่อนเกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีที่พระองค์สอน แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์ ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือนถ้าบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี ๒. ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประมาณว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลาถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญ ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญ นั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว ศีล ๑. ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิ เพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ ๒. ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ตามถ้าเราละเมิดนั่นก็หมายความว่าเราเปิดช่องของอบายภูมิหรือเปิดทางเดินไปสู่อบายภูมิ มีเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน การเจริญกรรมฐานของบรรดาพุทธบริษัทก็ไม่มีผล เพราะฉะนั้นญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่คิดว่าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลวันนี้และตลอดไปในชีวิต จงตั้งจิตคิดว่านับแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต บางวันข้างหน้าอาจจะเผลอไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไปเราก็ยับยั้งมันเสีย และตั้งใจต่อไปเราจะไม่ทำผิดอีกและจงเข้าใจว่า ศีล ๕ ประการนี้ ถ้าจะขาดได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจทำ อย่างปาณาติบาตสัตว์เล็ก ๆ เราเดิน ๆไปเราไม่เห็นบังเอิญเหยียบตาย อันนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มียุงเป็นต้นมาเกาะกินเลือดเรา ถ้าไม่คิดจะฆ่ามันแต่มันเกาะนานเกินไป เราจะเอามือลูบให้มันหนีไป บังเอิญมันหนีไม่ทัน ถูกมันตาย อันนี้เราไม่บาป ศีลไม่ขาดเพราะเราไม่มีเจตนาจะฆ่า พรหมวิหาร ๔ ๑. ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คิดว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ดี ก็จัดว่าเป็นศูนย์รวมกำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี ๒. ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ แล้ว มีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผลมีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไรเพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็นมีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุขบุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันย่อมปรากฎ สมาธิ ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้ มหาสติปัฏฐาน ๑. มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิดปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้ บารมี ๑๐ บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ” ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา ๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป ทรงความดี ๑. การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์ เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์นั่นหมายถึงว่าตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์ ๒. เวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้า คือคำสอน องค์สมเด็จพระชินวรก็ไปนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายไปนิพานนับไม่ถ้วนก็เคยปฏิบัติอย่างนี้ ฉะนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่มีความอาลัยในชีวิตและร่างกายของเรา เราจะไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่น เราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุใด ๆ เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าบังเอิญมันจะตายในขณะที่เรานั่งนี่ก็เชิญ ร่างกายตายแต่ใจเราไปพระนิพพานตัดสินใจอย่างนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ภาวนา มโนมยิทธิ ๑. มโนมยิทธิ แปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ คำว่าฤทธิ์ทางใจหมายความว่าใช้ใจ โดยเฉพาะอันดับต้นต้องฝึกให้ได้ทิพจักขุญาณก่อน คำว่าทิพจักขุญาณก็หมายความว่าใช้ความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์ ถ้าฝึก “ ทิพย์จักขุญาณ ” ได้แล้ว ต่อไปจิตจะเคลื่อนไปสู่สวรรค์ก็ได้พรหมโลกก็ได้ไปแดนนิพพาน แดนเปรตแดนอะไรก็ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นมุมหนึ่งหรือจุดใดในโลกมนุษย์นี่ง่ายกว่า หรือว่าใครอยากจะไปเที่ยวดาวดาวต่าง ๆ ก็ไปได้ ไปดวงอาทิตย์เราก็ไปได้ไม่ตายเพราะใจเราไม่ตาย แต่ว่าวิธีปฏิบัติแบบนี้เวลาจะเคลื่อนใช้อารมณ์แนบแน่นสนิทไม่ได้ต้องมีอารมณ์เบา ๆ พอสมควร คือแค่อุปจารสมาธิให้เริ่มสัมผัสภาพได้ก่อน ไม่ได้เห็นด้วยลูกตา พอรับสัมผัสภาพได้ตอนนี้จิตเริ่มเป็นฌาน ตอนนี้ก็ยังเบาอยู่ แต่เคลื่อนจิตไปพระจุฬามณีได้ เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้น มันจะมีทั้งฌานและญาณบอก ฌานอย่างเดียวมันก็ไปไม่ได้ถ้าไปแล้วมันไม่เห็น ต้องมีตัวญาณเป็นตัวรู้ ฉะนั้น การขั้นตอนแรก ขึ้นด้วยญาณก่อนเมื่อไปถึงที่นั่นชำระจิตดี จิตสะอาดมากขึ้นความสว่างไสวจะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ลูกตาเห็น เป็นการเห็นจากจิต เป็นความรู้สึกจากจิต แต่เมื่อจิตสะอาดมากก็เห็นเหมือนตาเห็น ๒. ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว จงอย่ายับยั้งความดีไว้แค่มโนมยิทธิ เพราะถ้าหากท่านทำความดีได้แค่นี้มันยังไม่พ้นการลงนรก การให้ฝึกมโนมยิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายมีจริง การระลึกชาติมีจริง ตายแล้วไม่สูญจริงสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง นรก เปรต อสุรกายมีจริงเมื่อทำได้แล้วจงรวบรวมกำลังใจของท่าน ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระโสดาบัน จะได้ป้องกันอบายภูมิ ไม่ต้องตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉานต่อไป เป็นการก้าวไปหาพระนิพพานเร็วขึ้น วิปัสสนาญาณ ๑. ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน เมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้หากว่าชาตินี้ ถ้าไม่สามารถไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้วดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหมอยู่ไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัสรู้ เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานหรือ ปฏิกูลพรรพ ฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินศรีรู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว เลวที่สุดได้พระโสดาบันนี่เรียกว่าเลวที่สุดนะ ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผลตัวอย่างก็เยอะที่ปรากฏมาในพุทธประวัติ ๒. ถ้าหากว่าเรารู้จริงเห็นจริง ด้วยอำนาจของปัญญาว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกแบบนี้ เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร แม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควรและก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรกมันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั้นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรกเมื่อจิตของเราเห็นว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรัก ความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก พิจารณาความตาย ๑. เรื่องของความตายนี้ ทางพระท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าใครทั้งสิ้นที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายเหมือนกันหมด จะตายด้วยโรคอะไรหรืออาการอย่างไรในที่สุดก็ตายเหมือนกัน พระท่านสอนไม่ให้เสียใจเพราะเหตุแห่งความตายมาถึง คนรับฟังมีเยอะ แต่รับปฏิบัติ คือตัดใจไม่ให้เศร้าโศกถึงคนตายนี่หายาก เรื่องของการระงับความเศร้าโศกอาลัย ในเมื่อมีคนที่เรารักตายนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง คนที่จะทำได้แน่นอนไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในเรื่องของความตายนั้น ท่านว่ามีพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเห็นเรื่องของความตายเป็นของปกติธรรมดา เหมือนเห็นใบไม้ที่แก่งอมร่วงลงมาจากต้นไม่มีความรู้สึกเสียดายห่วงใยใด ๆ ถ้าว่ากันตามภาษาชาวบ้าน ถ้ามีคนตายเกิดขึ้นที่บ้านใคร ถ้าคนที่เกี่ยวข้อง เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ตาย ไม่ร้องไห้แสดงความเสียใจเขาก็หาว่าเป็นคนใจจืดใจดำ กลายเป็นคนไม่ดีไปเสียอีก ต้องแสดงออกถึงความโศกเศร้ารำพันนั่นแหละ เขาถึงจะนิยมว่าเป็นคนดีรักกันจริง เรื่องความเห็นของพระกับชาวบ้านไม่ใคร่จะลงกันก็อีตอนนี้แหละ ๒. คนเราเมื่อตายจากอัตภาพนี้แล้ว มันไม่ตายจริง คือไม่หมดความรู้สึกสุขทุกข์ยังมีสุขมีทุกข์มีความรู้สึกเหมือนเมื่อยังไม่ตาย แต่สิทธิต่าง ๆ ในเมื่อวิญญาณออกจากร่างนี้แล้วก็มีบางอย่างที่วิญญาณไม่มีสิทธิจะครองนั่นก็คือ ทรัพย์สินที่พยายามสะสมไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อยังทรงอัตภาพนี้ ส่วนอื่นนอกจากนี้ คือความสุขและความทุกข์ยังมีตามเดิม บางท่านเมื่อก่อนตาย ทำความดีไว้มาก เมื่อตายแล้วก็มีความสุข บางรายก่อนตายสร้างความเลวร้ายไว้มาก เมื่อตายแล้วก็ได้รับความทุกข์อันนี้เป็นกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ อริยสัจ ๑. เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มีถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมแปดประการ คือมีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่ ๒. สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่าเราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไปจงพิจารณาหาทุกข์ให้พอในอริยสัจจ์ พิจารณาขันธ์ ๕ ๑. ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์ก็เกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ๒. จิตต้องยึดเป็นอารมณ์ว่า ถ้าตายคราวนี้เรามุ่งนิพพาน ต้องคอยชำระจิต ก็หมายความว่าอย่าให้ความโลภคลุมใจ อย่าให้กามฉันทะมันคลุมใจ ความโกรธและโมหะอย่าให้คลุมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหันเข้ามาตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ ๕ ของเรา ตัดให้ขาด ทุกอย่างมันจะเกาะไม่ได้ สังโยชน์ ๑๐ ๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่นก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้อันนี้เป็นกำไรมาก ๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง พระโสดาบัน ๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน ๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้ ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป พระอนาคามี ๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ • สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ • จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก • ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่ ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาจิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

นิพพานัง ปรมัง สุขังบุญทานแม้เล็กน้อยไม่พึงดูหมิ่น บุคคลเมื่อล้างภาชนะบรรจุอาหาร พึงปรารภว่า แม้สัตว์เล็ก สัตว์น้อย ที่อยู่ในดิน ขอจงได้กิน ดื่ม อาหารและน้ำนี้ ขอจงมีอายุยืนนาน และมีความสุขสำราญ เทอญ

พุทธวจน faq ผู้ทุศีล มีศีล ราคะกล้า มักโกรธ ฟุ้งซ่าน บรรลุธรรมได้อย่างไรถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

วิธีพาจิตกลับบ้านถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาและทุกข์ทั้งปวงถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การดับทุกข์สิ้นตัณหาไม่เหลือเชื้อการดับทุกข์สิ้นตัณหาไม่เหลือเชื้อมันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว สังขารธรรมที่อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๑ ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้พัฒนามาโดยลำดับ รุ่งเรือง สดใส มั่นคงและบริสุทธิ์ ปราศจากละอองธุลีอย่างแท้จริง ได้ท่องเที่ยวไปมาทั่วแดนแห่งพุทธจักรจนรู้แจ้งเห็นธรรม อย่าง "ไม่มีผู้ใดเทียบ" ตรงตามฉายา "อตุโล" ของท่าน บำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นอย่างมหาศาล เผยแพร่ดวงประทีปแก่ชาวโลกเป็นเวลานาน ก็ดับลงแล้ว ด้วยการยกชีวิตสังขารของท่าน สอนคนให้รู้ถึงความเป็นจริงแห่งชีวิต ซึ่งท่านชอบใช้คำว่า "ยังงั้น ยังงั้นแหละ" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ละทิ้งสังขาร มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๐๔.๑๓ น. รวมอายุได้ ๙๖ ปี กับ ๒๖ วัน พรรษา ๗๔ นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอย เป็นความงดงามบริสุทธิ์ และสงบเย็นอย่างสิ้นเชิงสาธุ! ศิษย์ทุกคนกราบแทบเท้าขอขมากรรมหลวงปู่ ธรรมะใดที่หลวงปู่เข้าถึงแล้ว ขอให้ศิษย์ทุกคนได้เข้าถึงธรรมะนั้น และได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด

การดับสิ้นไม่เหลือเชื้อสังขารธรรมที่อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๑ ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้พัฒนามาโดยลำดับ รุ่งเรือง สดใส มั่นคงและบริสุทธิ์ ปราศจากละอองธุลีอย่างแท้จริง ได้ท่องเที่ยวไปมาทั่วแดนแห่งพุทธจักรจนรู้แจ้งเห็นธรรม อย่าง "ไม่มีผู้ใดเทียบ" ตรงตามฉายา "อตุโล" ของท่าน บำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นอย่างมหาศาล เผยแพร่ดวงประทีปแก่ชาวโลกเป็นเวลานาน ก็ดับลงแล้ว ด้วยการยกชีวิตสังขารของท่าน สอนคนให้รู้ถึงความเป็นจริงแห่งชีวิต ซึ่งท่านชอบใช้คำว่า "ยังงั้น ยังงั้นแหละ" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ละทิ้งสังขาร มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๐๔.๑๓ น. รวมอายุได้ ๙๖ ปี กับ ๒๖ วัน พรรษา ๗๔ นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอย เป็นความงดงามบริสุทธิ์ และสงบเย็นอย่างสิ้นเชิงสาธุ! ศิษย์ทุกคนกราบแทบเท้าขอขมากรรมหลวงปู่ ธรรมะใดที่หลวงปู่เข้าถึงแล้ว ขอให้ศิษย์ทุกคนได้เข้าถึงธรรมะนั้น และได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด

การสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟสรุ่นใหม่อย่างง่ายง่าย มอเตอร์สามเฟสมีขดลวดสามชุด แต่ละชุดต่อเข้ากับแหล่ง จ่ายแรงดันระบบ 3 เฟส ให้กำลัง (horse power) สูงเมื่อเทียบกับมอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียวขนาดเดียวกัน ..

Motor Inverters ปรับรอบมอเตอร์สามเฟส 3 phase ac motor drivesเครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

วิธีทำให้ TM51จ่ายแรงดันไฟฟ้า 280โวลต์ไม่เกิน320โวลต์เพื่อใช้กับTM52Aเครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าทำงานด้วยไฟฟ้า48โวลต์จากแบตเตอรี่เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

แอร์ตู้เย็นเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่ใช้อินเวอร์เตอร์ควบคุมมอเตอร์อินดัตชั่่น...เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ บ้านสติ ขอนแก่น จ.ขอนแก่น วันที่ 5 เม.ย. 2558 สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และดาวน์โหลดเสียง­­พระธรรมเทศนาได้ที่เว็­บไซต์ dhamma.com (http://www.dhamma.com)หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ บ้านสติ ขอนแก่น จ.ขอนแก่น วันที่ 5 เม.ย. 2558

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ วันที่ 22 มี.ค. 2558

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ วันที่ 22 มี.ค. 2558

จงตระหนักว่าเมื่อใดที่จิต กลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้ คือกลับสู่ภาวะที่ไม่มีการนึกคิดการคิดนึกปรุงแต่ง มิได้แบ่งแยกสรรพสิ่งเป็นของคู่เมื่อใดที่เรากลับสู่รากเง้าของจิตเดิมแท้แม้ชั่วขณะเดียว และเมื่อใดความรู้แจ้งหรือแสงสว่างจากภายในอุบัติขึ้น จิตก็จะเห็นสภาวะเดิมของจิตที่ยังมิได้ปรุงแต่ง เมื่อใดจิตเห็นจิตเดิมแท้ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งเมื่อนั้นพุทธะก็บังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อพุทธะอุบัติขึ้นทุกข์ทั้งปวงก็สิ้นสลายไป ความจริงแล้วธรรมชาติเดิมแท้แห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนสักปรมาณูเดียว สิ่งนี้เป็นความว่างและมีอยู่ในทุกแห่งเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรล...

เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิตเมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"