วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

สาวกบารมีญานเสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย. ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส สัณฐาคารใหม่อัน พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้ เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาค ทรงบริโภคเป็นปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมี เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาด สัณฐาคาร ให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชำระพระบาทยุคลแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่ง พิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา. แม้ภิกษุสงฆ์ชำระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัจจิม ผินหน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาค. แม้พวกเจ้าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ชำระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา ผินพักตร์เฉพาะทิศปัจจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูกรอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคลจงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เถิด เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค- *โปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สำเร็จสีหไสยาสน์ ด้วยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท เหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันเสด็จลุกขึ้น. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดูกรมหานาม อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร ไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อบำบัดความอยากอาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่ เป็นผาสุกจักมีแก่เรา ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คืออริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม. ๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อม แห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น. ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน. ๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็น อริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรม อาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริย ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัย ซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาเป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่าเป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม เปรียบเหมือนฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไข่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายในเปลือกไข่นั้นก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด ดูกรมหานาม อริยสาวกก็ฉันนั้นเพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะ ตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้เป็นความ แตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็น หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษ์อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ ฉะนี้ ข้อนี้ เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สองของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะ เปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่ง ฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ความเป็นผู้มีวิชชาและจรณะ ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวก เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง. คาถาสนังกุมารพรหม ดูกรมหานาม อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ แม้ สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด. ดูกรมหานาม คาถานั้น สนังกุมารพรหมขับดีแล้ว มิใช่ขับชั่ว กล่าวดีแล้ว มิใช่กล่าวชั่ว ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรงอนุมัติ แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า สาธุๆ อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ดีแล. ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี พวกเจ้าศากยะ เมือง กบิลพัสดุ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล. จบ เสขปฏิปทาสูตร ที่ ๓

ธรรมจักษุเสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย. ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส สัณฐาคารใหม่อัน พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้ เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาค ทรงบริโภคเป็นปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมี เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาด สัณฐาคาร ให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชำระพระบาทยุคลแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่ง พิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา. แม้ภิกษุสงฆ์ชำระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัจจิม ผินหน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาค. แม้พวกเจ้าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ชำระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา ผินพักตร์เฉพาะทิศปัจจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูกรอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคลจงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เถิด เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค- *โปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สำเร็จสีหไสยาสน์ ด้วยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท เหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันเสด็จลุกขึ้น. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดูกรมหานาม อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร ไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อบำบัดความอยากอาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่ เป็นผาสุกจักมีแก่เรา ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คืออริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม. ๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อม แห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น. ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน. ๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็น อริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรม อาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริย ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัย ซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาเป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่าเป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม เปรียบเหมือนฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไข่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายในเปลือกไข่นั้นก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด ดูกรมหานาม อริยสาวกก็ฉันนั้นเพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะ ตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้เป็นความ แตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็น หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษ์อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ ฉะนี้ ข้อนี้ เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สองของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะ เปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่ง ฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ความเป็นผู้มีวิชชาและจรณะ ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวก เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง. คาถาสนังกุมารพรหม ดูกรมหานาม อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ แม้ สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด. ดูกรมหานาม คาถานั้น สนังกุมารพรหมขับดีแล้ว มิใช่ขับชั่ว กล่าวดีแล้ว มิใช่กล่าวชั่ว ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรงอนุมัติ แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า สาธุๆ อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ดีแล. ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี พวกเจ้าศากยะ เมือง กบิลพัสดุ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล. จบ เสขปฏิปทาสูตร ที่ ๓

มันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ปัจฉิมอรหันต์สาวกเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

กลับบ้านเราพระพุทธเจ้ารออยู่เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิตเมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้­ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของ­อะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมัน­ได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปว­ง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่า­งของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ในมรรคจิตดวงที่ ๓ บทว่า อนวเสสปฺปหานาย (เพื่อละไม่ให้มีเหลือ) ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละที่เบาบางด้วยอำนาจสกทาคามิมรรคมิให้เหลือ. ในมรรคจิตดวงที่ ๔ คำว่า เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะและอวิชชา มิให้มีเหลือ ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านั้น มิให้เหลือ.

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระราชพรหมยานเถระนักปฏิบัติใหม่อันดับแรกจะต้องรู้ลมหายใจเข้าอ­อกท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายบารมี ๑๐ จบไปแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็มาพูดกันถึงพระสกิทาคามี การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานคงจะเป็นของไม่ยากของท่านพุทธบริษัท พระโสดาบันเท่านั้นที่เราจะขึ้นกันได้ยาก เพราะว่าเป็นของใหม่ ถ้าถึงพระโสดาบันแล้ว เราจะปฏิบัติตนเพื่อพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ตอนนี้เป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์ท่านพูดไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ถ้าบุคคลใดเป็นพระโสดาบันในที่นั่งใด จงทำตอนให้เข้าถึงพระอรหันตผลในที่นั่งอันนั้น เป็นเจตนาของท่านที่กล่าวไว้ด้วยดี แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะการเป็นพระโสดาบันนี้ยาก คำว่ายากก็เพราะว่าเป็นของใหม่แก่จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะจิตใจของเราคบกับอกุศลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราจะมีตั้งหน้าตั้งตาคิดว่า จะทำตนให้เป็นพระโสดาบัน อกุศลที่เป็นเพื่อนเก่าของเรานั้นมันก็จะเข้าประหัตประหาร มันจะเข้ามาพยายามทำลาย แต่ก็ไม่เป็นไร เราฟังบารมีกันมาแล้วนี่ ถึงแม้จะฟังบารมีแต่เพียงย่อๆ ก็พอเข้าใจแล้วว่ากำลังใจของเราครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้ากำลังใจของเรายังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เราก็ไม่ต้องยุ่ง ทำให้มันครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน ถ้ากำลังใจในด้านปฏิบัติบารมี ๑๐ ประการครบถ้วนเป็นปกติ คำว่าบริบูรณ์คือเห็นตามนั้นเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง จะนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานใดก็ตาม จะไปนั่งในวงเหล้าเมากัญชาก็ช่าง เราจะไปอยู่ในสังคมไหนก็ช่าง เราอาจจะพูดคุยตามใจเขาได้แต่ว่าจิตใจของเราไม่เป็นไปตามนั้น อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรสนใจ ท่านเห็นดีด้วยไหม เห็นดีหรือไม่เห็นดีด้วยก็ตามใจ ตอนนี้เรามาพูดกันถึงพระสกิทาคามี เราเป็นพระโสดาบันแล้วมีศีลบริสุทธิ์ รู้แล้วว่าอัตภาพร่างกายของเรามันจะพัง เราเชื่อคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่สงสัยในคำสอนของพระองค์ว่า อัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่ายกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะหาความสุขด้วยการตัดร่างกาย คือหนีร่างกายให้พ้นไป พระโสดาบันนี่ถ้าเราปฏิบัติได้มันก็ยังดีไม่มากนัก เพียงแค่คุมศีลไว้ให้เป็นปกติ ไม่ละเมิดในศีล ยังมีความพอใจในกามารมณ์แต่ก็ยังอยู่ในของเขตของศีล แล้วเราไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระโสดาบันไม่ประมาทคิดว่าเราจะต้องตายเป็นปกติ ถ้าเราตายแล้วเราปรารถนาพระนิพพาน พระโสดาบันเป็นผู้มีสติปัญญาและเป็นผู้มีศรัทธาสูง มีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย เรามานั่งมองดูพระโสดาบันก็คิดว่าการเป็นพระโสดาบันก็ดี แต่ทว่าเวลาที่ความวุ่นวายของจิตนี้มันยังมาก เราเห็นว่าไม่เป็นเรื่องเปลืองเวลา ทำไมเราจึงจะต้องไปยุ่งกับกามราคะ ความพอใจในกามคุณ การมีผัวมีเมียซึ่งเต็มไปด้วยความสกปรก หรือพอใจอยู่ในความร่ำรวยเกินไป แล้วเราก็ยังมีความพอใจในขันธ์ ๕ ความสวยสดงดงาม ความจริงพระโสดาบันไม่ละเมิดในศีล ๕ แต่ทว่ายังอยู่ในกามารมณ์ ยังยุ่งอยู่ในความรวย เรายังเห็นว่ากามารมณ์ทำให้เราเป็นทุกข์ ความร่ำรวยไม่ได้สร้างความสุขใจให้เกิดแก่บุคคลใด เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะทำอย่างไรล่ะ? ก็ใช้ปัญญาบารมีหรือบารมีทั้ง ๑๐ ประการ เข้ามาประหัตประหารอารมณ์ที่เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเราให้หนักขึ้น นอกจากจะเห็นว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็ยังเห็นความสกปรกโสมมของมันหนักขึ้น จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย มีความสะอิดสะเอียนในร่างกายของเราและบุคคลอื่น ตอนนี้จะถามว่ามีกรรมฐานบทไหนเป็นเครื่องยึด ไม่ตอบแล้วเพราะการจะขึ้นเป็นพระโสดาบันนี่มันต้องพบมาทุกอย่างแล้ว จะมานั่งบอกกันอยู่อีกเหรอ ไม่มีความจำเป็น ถ้ายังต้องมานั่งบอกกันอยู่อีกก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน จะเป็นกันได้อย่างไร ถ้ากรรมฐานหยาบๆ ในด้านสมถภาวนา เขาต้องบุกแหลกกันมาตั้งแต่ก่อนเป็นพระโสดาบัน มันจึงจะเป็นพระโสดาบันได้ แต่ว่าสมถภาวนาก็ต้องคุมให้อยู่ ไม่ใช้ผ่านแล้วก็ทิ้งกันไป แล้วจะมานั่งถามกันว่าตัดเพราะอะไร ถ้ามาถามด้วยตนเองจะไม่บอกให้ฟังเลย ทั้งนี้เพราะว่าสิ่งที่จะต้องถามมันไม่มี มันผ่านมาแล้ว แต่ตอนนี้เป็นตอนพูดให้ฟังก็จะพูด เพราะการที่เราจะมาห้ำหั่นด้วยอำนาจสักกายทิฏฐิ ทำลายกามฉันทะ หรือทำลายความรู้สึกของกามให้มันลดน้อยถอยลงไป ถ้าเราจะพูดกันถึงสกิทาคามี อาตมาว่าไม่ดี เอาอนาคามีเลยดีกว่า พระสกิทาคามีก็ละสังโยชน์ได้แค่พระโสดาบัน เป็นแต่เพียงว่าอารมณ์จิตละเอียดกว่า ความรู้สึกในกามยังพอมี แต่เบาบางมาก มันมีอาการคล้ายกับว่าคนที่ความรู้สึกในกามมันไม่มีนะ มีความรู้สึกในกามน้อยแต่มันก็ยังมีอยู่ ความโกรธความพยาบาทมันก็น้อยแต่ก็ยังมีอยู่ เราเอาแบบไม่มีเลยดีกว่า เป็นพระอนาคามีเลยดีไหม เลือกเอาพระอนาคามี จากพระโสดาบันเป็นพระสกิทาคามีมันก็เป็นของง่าย ขยับใจขึ้นไปนิดไปหน่อยมันก็ถึง ถ้าเราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้น้ำอสุจิมันเหือดแห้งไป แล้วความรู้สึกในใจมันไม่มีเรื่องกามารมณ์ องค์กำเนิดของแต่ละคนจะหมดฤทธิ์ ไม่มีกำลัง ถ้าหากว่าท่านสงสัยก็ปฏิบัติให้มันถึงก็แล้วกัน ถ้าถามว่าเพราะอะไรร่างกายมันจึงสร้างสภาวะขึ้นมาเป็นอย่างนั้นใจจึงทำลายได้อันนี้ไม่ตอบ จะตอบได้อย่างไรล่ะ ตอบไปเท่าไรก็ไม่หมดสงสัย ถ้าทำให้มันถึงแล้วมันหมดสงสัยเอง เพราะมันถึงจริงๆ มาว่าถึงอำนาจของความโกรธและความพยาบาท พระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังมี แต่กำลังมันน้อยมันทรุดตัวแล้ว พอถึงพระอนาคามี ใช้พรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ เป็นตัวยืนโรง คราวนี้ไม่ต้องเกะกะมาก เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที วิ่งชนอรหันต์เลยวันนี้ เพราะบารมีของท่านเต็มแล้วมันเป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันในที่นั่งอันใด จงทำใจของท่านเองให้เข้าถึงความเป็นอรหันตผลในที่นั่งอันเดียวนั้น เพราะตอนหลังนี้มันง่าย พอถึงอนาคามีแล้วเหลืออะไรอีกที่เป็นกิเลส มันเป็นอุปกิเลสหรืออนุสัยตัวเล็กๆ เป็นของเด็กเหมือนกับลูกน้ำ เราฆ่าตะเข้ตะโขงตายหมด เสือสางช้างม้าฆ่าตายหมด เหลือแต่มดกับลูกน้ำ แต่ก็ต้องระวังให้ดีเพราะลูกน้ำหรือมดมันจับยากเหมือนกัน เพราะตัวมันเล็ก แต่ถ้าอารมณ์จิตของเราเข้าถึงอนาคามีเสียแล้ว รู้สึกว่าจะเล็กขนาดไหนเราก็จับไหว อารมณ์ที่มันยังขังใจอยู่มีตรงไหนล่ะ เหลืออีก ๕ ข้อเท่านั้น คือ รูปราคะ เห็นว่ารูปฌานเป็นของดี อรูปราคะ เห็นว่าอรูปฌานเป็นของดี แต่ความจริงมันก็ดี แต่ว่าดีกว่านี้มันยังมีอยู่อีก เราไม่หยุดดีกันแค่การทรงรูปฌานและอรูปฌาน ก้าวดีต่อไป มานะ คือถือตัวถือตน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คนจนคนรวย คนสกปรกคนสะอาด เข้ากันไม่ได้ คนกับสัตว์เดรัจฉานถือตัวว่าเหนือกว่ากัน อย่างนี้มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวถ่วง อารมณ์อย่างนี้ยังพอเหลืออยู่ ทำลายมันให้พินาศไป อุทธัจจะ อารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ตอนนี้พระมหานามเคยถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์บอกว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอนาคามี แต่ว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านทำไมยังมีอยู่ แต่ว่าฟุ้งซ่านในด้านกุศล องค์สมเด็จพระทศพลก็ตอบว่า มันยังมี ไปตัดได้ตอนเป็นพระอรหันต์ อารมณ์ที่ไม่ฟุ้งซ่านน่ะเป็นอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นยังมีอยู่ ยังปักหลักไม่หยุด คือหลักมันยังมีความหวั่นไหวอยู่บ้าง ไม่ไหวมากมันก็ไหวน้อย ถ้าพระอรหันต์มันก็เหมือนเสาเขื่อน ไม่หวั่นไม่ไหว อวิชชา ความโง่ ตอนนี้เราจะเข้ามาตัดกันตอนไหน ของทั้ง ๕ ประการนี้ รูปฌานและอรูปฌานนี้เป็นของง่าย แต่เรารู้ว่าความเป็นอรหันต์ยังดีกว่านี้ เราก็ใช้รูปฌานและอรูปฌานทั้ง ๒ ประการ เป็นกำลังช่วยประคับประคอง เป็นพาหนะเพื่อวิ่งไปหาความเป็นพระอรหันตผล คือเราไม่หยุดอยู่ตรงนั้น เท่านี้มันก็หมดไป ตัวที่ถือตัวถือตนก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านก็ดีไม่ต้องตัด คือไปตัดตัวปลายคืออวิชชาเลยดีกว่า ตัดอวิชชามันตัดกันตรงไหนล่ะ ก็จับสักกายทิฏฐิตัวนั้นตัวเดียว คือเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่ายกาย ร่างกายมีในเรา ตอนนี้นักเจริญวิปัสสนาหรืออาจารย์ทั้งหลายจะเห็นว่าอาตมาพูดย่อเกินไป เขาใช้คำว่าขันธ์ ๕ แต่อาตมาไม่ชอบ เวลาปฏิบัติมาจริงๆ ก็ไม่ชอบเหมือนกัน เพราะเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย และเราก็พูดกันจนชินแล้วว่าร่างกาย จะไปนั่งเรียกว่าขันธ์ ๕ ให้มันยุ่งเพื่อประโยชน์อะไร เรามานั่งตัดนั่งคิดพิจารณาดูว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว ความปรารถนาคือฉันทะ ความพอใจ ในการที่เราจะยึดถือความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม ทำไมจึงจะต้องมีสำหรับเราอีก เพราะว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ยังอยู่ในเกณฑ์ของความเป็นทุกข์ หรือจะมีคือว่ามนุษย์ไม่ดี ร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ไม่ดี มันมีความทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการกายทิพย์ คือกายของเทวดาหรือกายพรหม นี่ถ้าหลงอยู่ในกายเทวดาหรือกายพรหมก็ชื่อว่ายังหลงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน เราก็มานั่งนึกว่า เทวดาหรือพรหมนี่ดีไหม ถ้าเราจะพูดกับคนธรรมดาก็ต้องตอบว่าดี ทำไมมันจะไม่ดี เพราะว่าเทวดาก็มีร่างกายเป็นทิพย์ พรหมก็มีร่างกายเป็นทิพย์ มันเป็นทิพย์เหมือนกันนี่มันก็ต้องดี แล้วมีดีกันตรงไหนล่ะ ดีที่ร่างกายเป็นทิพย์ไม่ต้องกิน ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องหาอะไร มีไว้แล้วทุกอย่าง แต่ว่าส่วนที่ไม่ดีมันยังมีอยู่อีก ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม เราก็ต้องโดดมาเป็นมนุษย์ มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มาพบกับความทุกข์อีก พบกับความยุ่งยากใจอีก นี่มันจะดีตรงไหน แล้วก็เลยหาความดีกันไม่ได้ ใช้ปัญญาบารมี อย่าลืมนะ ปัญญาบารมีเป็นบารมีครอบจักรวาล เอาปัญญามานั่งพิจารณาว่ามีไหมเทวดาหรือพรหมที่หมดบุญวาสนาบารมีแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย มีไหม เราก็จะเห็นว่ามีถมเถไป ถ้าเข้าถึงอนาคามีแล้วก็สบาย คลำเอาสบายเลย ตัวที่โยกโคลงทั้งหลายมันไม่มีแล้ว มันมีแต่ตัวตรง ตัวหยาบก็หมดไปแล้วเหลือแต่กิเลสละเอียด ช้อนลูกน้ำหรือช้อนมด จับมดจับลูกน้ำมันตัวเล็กแต่ว่าจับยาก แต่ไม่เป็นไร ปัญญาบารมีนี้ถ้าเป็นแหหรือสวิงก็เป็นแหหรือสวิงที่ตาถี่ ช้อนอะไรก็ติดทั้งหมด ก็มีนั่งคลำกันให้ดีว่าพรหมกับเทวดานี่ถึงที่สุดแล้วรึยัง พระพุทธเจ้าท่านบอกเสมอว่า “พรหมกับเทวดาก็ต้องจุติ ยังไม่พ้นจากความเป็นมนุษย์ ไม่พ้นจากความเกิด” แล้วเราจะนั่งสนใจอะไรกับการเป็นพรหมเป็นเทวดาเพื่อประโยชน์อะไร ยกเลิก ความต้องการคือราคะ ความรักใจความเป็นเทวดาหรือพรหมยกเลิกกันไป ตอนนี้ไม่ต้องมานั่งยกเลิกมนุษย์แล้ว ความเป็นมนุษย์มันไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว เพราะว่าถ้าเราเป็นพระอนาคามี ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็บำเพ็ญบารมีบนนั้นเป็นอรหันต์ไปนิพพานเลย เราไม่ต้องมานั่งมองมนุษย์ให้มันเหนื่อยเมื่อยลูกตา เมื่อยใจ นั่งมองพรหมกับเทวดาดีกว่า ถ้าเราไปอยู่ที่เทวดาหรือพรหมก็ยังมีกิจที่จะต้องทำ เวลานี้เวลาของเราก็ยังมีอยู่นี่ ใช้เวลาอีกไม่กี่นาทีมันก็เสร็จแล้ว เพราะว่าเราเชื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว เป็นอนาคามีหรือเป็นอรหันต์ไม่ใช่ของยาก ง่ายมาก เป็นของตัวเล็ก ถ้ามีกำลังใจเข้มแข็งไม่เกิน ๓๐ นาทีก็เป็นพระอรหันต์ จะเป็นได้เราก็มานั่งมองว่า เทวดาหรือพรหมไม่ดีเราไม่รัก และความรักความพอใจมันไม่มีแล้ว เรามานั่งเชือดเฉือนความดีของเทวดาหรือพรหมเพื่อประโยชน์อะไร มันก็พ้นไป นี่เราก็มานั่งกลับหน้ากลับหลัง ทวนไปทวนมา ไปเอาปัญญาบารมีเป็นเครื่องใช้ ใช้จิตอนุโลมพยายามค้นคว้ากำลังใจว่า เวลาที่จิตของเราเข้าถึงพระโสดาบันมันเป็นอย่างไร ตอนจิตของเราที่เข้าถึงพระโสดาบัน เราจะมองได้เฉพาะที่เห็นชัดคือศีลบริสุทธิ์ เรามั่นคงอยู่ในศีล การละเมิดศีลของเราไม่มี เรามีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริงๆ ในพระธรรมจริงๆ ในพระสงฆ์จริงๆ อารมณ์ของเราจับเฉพาะอย่างเดียวคือมีนิพพานเป็นอารมณ์ นี่นั่งมองพระโสดาบันมีตัวนี้ มันไม่หวั่นไม่ไหวไปจากตรงนี้ ตัวนี้ทรงอยู่ ความรักความโลภความโกรธความหลงยังมี แต่ว่าศีลไม่ขาด ไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ตัวนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ทีนี้ตอนที่เราเข้าถึงอนาคามี สกิทาคามีจะไม่พูดเพราะไม่จำเป็น ของเล็กๆ นี่พูดทำไม พระสกิทาคามีกับพระโสดาบันก็ใกล้เคียงกัน จะว่ากันไปอีกทีก็เป็นคนรุ่นพี่รุ่นน้องเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเทียบแบบนายทหารก็คือร้อยตรีเหมือนกัน เพราะว่าร้อยตรีรุ่นพี่กับรุ่นน้องมันก็แค่นั้นแหละ แต่ว่าเงินดาวน์เงินเดือนเขามันสูงกว่านิดหน่อยนี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา การงานอาจจะก้าวหน้าไปกว่ากันหน่อยมันก็เป็นของเล็กน้อยไม่ต้องมานั่งพูด นี่เราพูดกันถึงนายพันกันเลยดีกว่า ถ้าอารมณ์จิตเข้าถึงพระอนาคามีมันถึงจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร รู้เลยว่าเรามีกำลังใจสิ้นแล้วจากกามคุณ เป็นคนกามตายด้าน อารมณ์จิตมันตายด้านในกามจริงๆ ถ้าเราไม่แน่ใจก็ไปหาหมอ ให้เขาฉีดยาบำรุงกามให้ ยาอะไรก็ตามอย่างแรงที่สุด อย่างเบาอย่างกลาง ให้หมอเขาวินิจฉัย ไปบอกเขาว่าเราเป็นโรคกามตายด้าน ถ้าหมอทำอย่างไรก็หมดท่า แล้วยกเลิกไป นั่นใช่แล้ว เราเข้าถึงพระอนาคามีแล้ว คนสวยไม่มีมีแต่คนสกปรก วัตถุสวยไม่มีมีแต่วัตถุสกปรก ความติดความพอใจในความสวยสดงดงามในคนและวัตถุก็ไม่มีสำหรับเรา ใจมันทรงอารมณ์เป็นปกติอย่างนี้นั่นคือพระอนาคามีอันดับที่หนึ่ง ยังไม่เต็ม พระอนาคามีอันดับที่ ๒ ก็ต้องไปดูความโกรธความพยาบาท เขาด่าปาวๆ เราฟังแล้วมีความรู้สึกอย่างไร? เฉย...ยิ้มได้สบายๆ มีอารมณ์ปกติ เขาจะด่ามากด่าน้อย เขาจะด่าว่าเป็นหมูเป็นหมาก็ช่าง เรารู้ตัวของเราว่าเราไม่ใช่หมา เราไม่ใช่หมู และเราก็ไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราคือพระอนาคามี เพราะเป็นบุคคลที่มีความโกรธความพยาบาทสิ้นไปแล้ว มีแต่แมตตาปรานีมีอารมณ์ยิ้มเป็นปกติ มันยิ้มเป็นปกติไม่ใช่ฝืนยิ้ม ยิ้มแบบธรรมดาๆ ยิ้มด้วยอาการสดชื่น จิตใจมันไม่กระทบกับอารมณ์แบบประเภทนี้ความเร่าร้อนไม่มี มีแต่ความเยือกเย็นใจ ตอนนี้เราเป็นพระอนาคามีเต็มที่แล้ว ความสบายมันเกิดขึ้นมาก แต่ก็ยัง จุดเบ่งมันยังมี คืออารมณ์ในบางครั้งมีอารมณ์ฟุ้งซ่านคือถือตัวถือตน แยกสัตว์กับคนว่ามีค่าไม่เสมอกัน คนรวยกับคนจนมีค่าไม่เสมอกัน คนสกปรกกับคนสะอาดมีค่าไม่เสมอกัน ยังมีอารมณ์รังเกียจ ตอนนี้ก็จับสักกายทิฏฐิเข้าไปตัดมันเลย ตัดฉันทะกับราคะคือความพอใจในความเป็นเทวดาหรือพรหม หรือความรักในความเป็นเทวดาหรือพรหม ความนิยมใดๆ ในโลกโยนทิ้งไปหมดเลย โลกทั้งโลกโยนทิ้งไป ร่างกายของเรามันเลว มันจะไปชนกับใครก็ได้ เห็นคนสกปรก เราก็สกปรก เห็นคนจน เราก็จน มันจะไปรวยอะไร มันไม่จนจริงแล้วมันจะตายทำไม แล้วมันจนจากความเป็นอิสรภาพ จากกิเลสมันบังคับให้แก้ก็ต้องแก่ มันบังคับให้ป่วยก็ต้องป่วย บังคับให้ตายก็ต้องตาย เราไม่มีสมบัติใดๆ ที่จะไปต่อต้านกิเลส ในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็จนเท่ากันแหละ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ เพราะอำนาจว่าเรายังหลงในรูปฌานและอรูปฌาน เรารู้จักมานะทิฏฐิ พอตัดตัวนี้ได้เสียแล้ว ความฟุ้งซ่านมันก็ไม่มี อารมณ์พอมันก็เกิด ความสบายใจมันก็เกิด เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ความเป็นมนษย์ความเป็นเทวดา ความเป็นพรหมไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราเอาจิตใจของเราจับอารมณ์เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว มีแต่ความสุข เห็นใครเขารวยก็ดี เห็นใครเขาสวยก็ดี เห็นใครเขาโมโหโทโส รบราฆ่าฟันกันก็ดี เห็นใครเขาถือโน่นถือนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา เรานอนสบายยิ้มแฉ่ง นายถืออย่างไรก็ถือไปฉันสบายใจแล้ว นี่ก็ฟุ้ง โลกนี้เธออยู่กันเถอะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" เวลานี้เรามีกำลังใจถึงแล้วนี่ ถึงแล้วเราวางโลกเสียได้แล้ว อะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มีแล้ว มีแต่ความสดชื่นมีแต่ความหรรษา มีแต่ความสุขกายสุขใจ กายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ใจเป็นสุข ถือว่าเป็นกฎธรรมดา อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อจิตใจของทุกท่านวางเสียได้หมดอย่างนี้ว่าช่างมันๆ หรือ ธรรมดาๆ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้จบกิจของพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน สวัสดี.

พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายบารมี ๑๐ จบไปแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็มาพูดกันถึงพระสกิทาคามี การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานคงจะเป็นของไม่ยากของท่านพุทธบริษัท พระโสดาบันเท่านั้นที่เราจะขึ้นกันได้ยาก เพราะว่าเป็นของใหม่ ถ้าถึงพระโสดาบันแล้ว เราจะปฏิบัติตนเพื่อพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ตอนนี้เป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์ท่านพูดไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ถ้าบุคคลใดเป็นพระโสดาบันในที่นั่งใด จงทำตอนให้เข้าถึงพระอรหันตผลในที่นั่งอันนั้น เป็นเจตนาของท่านที่กล่าวไว้ด้วยดี แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะการเป็นพระโสดาบันนี้ยาก คำว่ายากก็เพราะว่าเป็นของใหม่แก่จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะจิตใจของเราคบกับอกุศลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราจะมีตั้งหน้าตั้งตาคิดว่า จะทำตนให้เป็นพระโสดาบัน อกุศลที่เป็นเพื่อนเก่าของเรานั้นมันก็จะเข้าประหัตประหาร มันจะเข้ามาพยายามทำลาย แต่ก็ไม่เป็นไร เราฟังบารมีกันมาแล้วนี่ ถึงแม้จะฟังบารมีแต่เพียงย่อๆ ก็พอเข้าใจแล้วว่ากำลังใจของเราครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้ากำลังใจของเรายังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เราก็ไม่ต้องยุ่ง ทำให้มันครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน ถ้ากำลังใจในด้านปฏิบัติบารมี ๑๐ ประการครบถ้วนเป็นปกติ คำว่าบริบูรณ์คือเห็นตามนั้นเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง จะนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานใดก็ตาม จะไปนั่งในวงเหล้าเมากัญชาก็ช่าง เราจะไปอยู่ในสังคมไหนก็ช่าง เราอาจจะพูดคุยตามใจเขาได้แต่ว่าจิตใจของเราไม่เป็นไปตามนั้น อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรสนใจ ท่านเห็นดีด้วยไหม เห็นดีหรือไม่เห็นดีด้วยก็ตามใจ ตอนนี้เรามาพูดกันถึงพระสกิทาคามี เราเป็นพระโสดาบันแล้วมีศีลบริสุทธิ์ รู้แล้วว่าอัตภาพร่างกายของเรามันจะพัง เราเชื่อคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่สงสัยในคำสอนของพระองค์ว่า อัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่ายกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะหาความสุขด้วยการตัดร่างกาย คือหนีร่างกายให้พ้นไป พระโสดาบันนี่ถ้าเราปฏิบัติได้มันก็ยังดีไม่มากนัก เพียงแค่คุมศีลไว้ให้เป็นปกติ ไม่ละเมิดในศีล ยังมีความพอใจในกามารมณ์แต่ก็ยังอยู่ในของเขตของศีล แล้วเราไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระโสดาบันไม่ประมาทคิดว่าเราจะต้องตายเป็นปกติ ถ้าเราตายแล้วเราปรารถนาพระนิพพาน พระโสดาบันเป็นผู้มีสติปัญญาและเป็นผู้มีศรัทธาสูง มีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย เรามานั่งมองดูพระโสดาบันก็คิดว่าการเป็นพระโสดาบันก็ดี แต่ทว่าเวลาที่ความวุ่นวายของจิตนี้มันยังมาก เราเห็นว่าไม่เป็นเรื่องเปลืองเวลา ทำไมเราจึงจะต้องไปยุ่งกับกามราคะ ความพอใจในกามคุณ การมีผัวมีเมียซึ่งเต็มไปด้วยความสกปรก หรือพอใจอยู่ในความร่ำรวยเกินไป แล้วเราก็ยังมีความพอใจในขันธ์ ๕ ความสวยสดงดงาม ความจริงพระโสดาบันไม่ละเมิดในศีล ๕ แต่ทว่ายังอยู่ในกามารมณ์ ยังยุ่งอยู่ในความรวย เรายังเห็นว่ากามารมณ์ทำให้เราเป็นทุกข์ ความร่ำรวยไม่ได้สร้างความสุขใจให้เกิดแก่บุคคลใด เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะทำอย่างไรล่ะ? ก็ใช้ปัญญาบารมีหรือบารมีทั้ง ๑๐ ประการ เข้ามาประหัตประหารอารมณ์ที่เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเราให้หนักขึ้น นอกจากจะเห็นว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็ยังเห็นความสกปรกโสมมของมันหนักขึ้น จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย มีความสะอิดสะเอียนในร่างกายของเราและบุคคลอื่น ตอนนี้จะถามว่ามีกรรมฐานบทไหนเป็นเครื่องยึด ไม่ตอบแล้วเพราะการจะขึ้นเป็นพระโสดาบันนี่มันต้องพบมาทุกอย่างแล้ว จะมานั่งบอกกันอยู่อีกเหรอ ไม่มีความจำเป็น ถ้ายังต้องมานั่งบอกกันอยู่อีกก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน จะเป็นกันได้อย่างไร ถ้ากรรมฐานหยาบๆ ในด้านสมถภาวนา เขาต้องบุกแหลกกันมาตั้งแต่ก่อนเป็นพระโสดาบัน มันจึงจะเป็นพระโสดาบันได้ แต่ว่าสมถภาวนาก็ต้องคุมให้อยู่ ไม่ใช้ผ่านแล้วก็ทิ้งกันไป แล้วจะมานั่งถามกันว่าตัดเพราะอะไร ถ้ามาถามด้วยตนเองจะไม่บอกให้ฟังเลย ทั้งนี้เพราะว่าสิ่งที่จะต้องถามมันไม่มี มันผ่านมาแล้ว แต่ตอนนี้เป็นตอนพูดให้ฟังก็จะพูด เพราะการที่เราจะมาห้ำหั่นด้วยอำนาจสักกายทิฏฐิ ทำลายกามฉันทะ หรือทำลายความรู้สึกของกามให้มันลดน้อยถอยลงไป ถ้าเราจะพูดกันถึงสกิทาคามี อาตมาว่าไม่ดี เอาอนาคามีเลยดีกว่า พระสกิทาคามีก็ละสังโยชน์ได้แค่พระโสดาบัน เป็นแต่เพียงว่าอารมณ์จิตละเอียดกว่า ความรู้สึกในกามยังพอมี แต่เบาบางมาก มันมีอาการคล้ายกับว่าคนที่ความรู้สึกในกามมันไม่มีนะ มีความรู้สึกในกามน้อยแต่มันก็ยังมีอยู่ ความโกรธความพยาบาทมันก็น้อยแต่ก็ยังมีอยู่ เราเอาแบบไม่มีเลยดีกว่า เป็นพระอนาคามีเลยดีไหม เลือกเอาพระอนาคามี จากพระโสดาบันเป็นพระสกิทาคามีมันก็เป็นของง่าย ขยับใจขึ้นไปนิดไปหน่อยมันก็ถึง ถ้าเราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้น้ำอสุจิมันเหือดแห้งไป แล้วความรู้สึกในใจมันไม่มีเรื่องกามารมณ์ องค์กำเนิดของแต่ละคนจะหมดฤทธิ์ ไม่มีกำลัง ถ้าหากว่าท่านสงสัยก็ปฏิบัติให้มันถึงก็แล้วกัน ถ้าถามว่าเพราะอะไรร่างกายมันจึงสร้างสภาวะขึ้นมาเป็นอย่างนั้นใจจึงทำลายได้อันนี้ไม่ตอบ จะตอบได้อย่างไรล่ะ ตอบไปเท่าไรก็ไม่หมดสงสัย ถ้าทำให้มันถึงแล้วมันหมดสงสัยเอง เพราะมันถึงจริงๆ มาว่าถึงอำนาจของความโกรธและความพยาบาท พระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังมี แต่กำลังมันน้อยมันทรุดตัวแล้ว พอถึงพระอนาคามี ใช้พรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ เป็นตัวยืนโรง คราวนี้ไม่ต้องเกะกะมาก เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที วิ่งชนอรหันต์เลยวันนี้ เพราะบารมีของท่านเต็มแล้วมันเป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันในที่นั่งอันใด จงทำใจของท่านเองให้เข้าถึงความเป็นอรหันตผลในที่นั่งอันเดียวนั้น เพราะตอนหลังนี้มันง่าย พอถึงอนาคามีแล้วเหลืออะไรอีกที่เป็นกิเลส มันเป็นอุปกิเลสหรืออนุสัยตัวเล็กๆ เป็นของเด็กเหมือนกับลูกน้ำ เราฆ่าตะเข้ตะโขงตายหมด เสือสางช้างม้าฆ่าตายหมด เหลือแต่มดกับลูกน้ำ แต่ก็ต้องระวังให้ดีเพราะลูกน้ำหรือมดมันจับยากเหมือนกัน เพราะตัวมันเล็ก แต่ถ้าอารมณ์จิตของเราเข้าถึงอนาคามีเสียแล้ว รู้สึกว่าจะเล็กขนาดไหนเราก็จับไหว อารมณ์ที่มันยังขังใจอยู่มีตรงไหนล่ะ เหลืออีก ๕ ข้อเท่านั้น คือ รูปราคะ เห็นว่ารูปฌานเป็นของดี อรูปราคะ เห็นว่าอรูปฌานเป็นของดี แต่ความจริงมันก็ดี แต่ว่าดีกว่านี้มันยังมีอยู่อีก เราไม่หยุดดีกันแค่การทรงรูปฌานและอรูปฌาน ก้าวดีต่อไป มานะ คือถือตัวถือตน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คนจนคนรวย คนสกปรกคนสะอาด เข้ากันไม่ได้ คนกับสัตว์เดรัจฉานถือตัวว่าเหนือกว่ากัน อย่างนี้มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวถ่วง อารมณ์อย่างนี้ยังพอเหลืออยู่ ทำลายมันให้พินาศไป อุทธัจจะ อารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ตอนนี้พระมหานามเคยถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์บอกว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอนาคามี แต่ว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านทำไมยังมีอยู่ แต่ว่าฟุ้งซ่านในด้านกุศล องค์สมเด็จพระทศพลก็ตอบว่า มันยังมี ไปตัดได้ตอนเป็นพระอรหันต์ อารมณ์ที่ไม่ฟุ้งซ่านน่ะเป็นอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นยังมีอยู่ ยังปักหลักไม่หยุด คือหลักมันยังมีความหวั่นไหวอยู่บ้าง ไม่ไหวมากมันก็ไหวน้อย ถ้าพระอรหันต์มันก็เหมือนเสาเขื่อน ไม่หวั่นไม่ไหว อวิชชา ความโง่ ตอนนี้เราจะเข้ามาตัดกันตอนไหน ของทั้ง ๕ ประการนี้ รูปฌานและอรูปฌานนี้เป็นของง่าย แต่เรารู้ว่าความเป็นอรหันต์ยังดีกว่านี้ เราก็ใช้รูปฌานและอรูปฌานทั้ง ๒ ประการ เป็นกำลังช่วยประคับประคอง เป็นพาหนะเพื่อวิ่งไปหาความเป็นพระอรหันตผล คือเราไม่หยุดอยู่ตรงนั้น เท่านี้มันก็หมดไป ตัวที่ถือตัวถือตนก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านก็ดีไม่ต้องตัด คือไปตัดตัวปลายคืออวิชชาเลยดีกว่า ตัดอวิชชามันตัดกันตรงไหนล่ะ ก็จับสักกายทิฏฐิตัวนั้นตัวเดียว คือเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่ายกาย ร่างกายมีในเรา ตอนนี้นักเจริญวิปัสสนาหรืออาจารย์ทั้งหลายจะเห็นว่าอาตมาพูดย่อเกินไป เขาใช้คำว่าขันธ์ ๕ แต่อาตมาไม่ชอบ เวลาปฏิบัติมาจริงๆ ก็ไม่ชอบเหมือนกัน เพราะเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย และเราก็พูดกันจนชินแล้วว่าร่างกาย จะไปนั่งเรียกว่าขันธ์ ๕ ให้มันยุ่งเพื่อประโยชน์อะไร เรามานั่งตัดนั่งคิดพิจารณาดูว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว ความปรารถนาคือฉันทะ ความพอใจ ในการที่เราจะยึดถือความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม ทำไมจึงจะต้องมีสำหรับเราอีก เพราะว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ยังอยู่ในเกณฑ์ของความเป็นทุกข์ หรือจะมีคือว่ามนุษย์ไม่ดี ร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ไม่ดี มันมีความทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการกายทิพย์ คือกายของเทวดาหรือกายพรหม นี่ถ้าหลงอยู่ในกายเทวดาหรือกายพรหมก็ชื่อว่ายังหลงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน เราก็มานั่งนึกว่า เทวดาหรือพรหมนี่ดีไหม ถ้าเราจะพูดกับคนธรรมดาก็ต้องตอบว่าดี ทำไมมันจะไม่ดี เพราะว่าเทวดาก็มีร่างกายเป็นทิพย์ พรหมก็มีร่างกายเป็นทิพย์ มันเป็นทิพย์เหมือนกันนี่มันก็ต้องดี แล้วมีดีกันตรงไหนล่ะ ดีที่ร่างกายเป็นทิพย์ไม่ต้องกิน ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องหาอะไร มีไว้แล้วทุกอย่าง แต่ว่าส่วนที่ไม่ดีมันยังมีอยู่อีก ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม เราก็ต้องโดดมาเป็นมนุษย์ มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มาพบกับความทุกข์อีก พบกับความยุ่งยากใจอีก นี่มันจะดีตรงไหน แล้วก็เลยหาความดีกันไม่ได้ ใช้ปัญญาบารมี อย่าลืมนะ ปัญญาบารมีเป็นบารมีครอบจักรวาล เอาปัญญามานั่งพิจารณาว่ามีไหมเทวดาหรือพรหมที่หมดบุญวาสนาบารมีแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย มีไหม เราก็จะเห็นว่ามีถมเถไป ถ้าเข้าถึงอนาคามีแล้วก็สบาย คลำเอาสบายเลย ตัวที่โยกโคลงทั้งหลายมันไม่มีแล้ว มันมีแต่ตัวตรง ตัวหยาบก็หมดไปแล้วเหลือแต่กิเลสละเอียด ช้อนลูกน้ำหรือช้อนมด จับมดจับลูกน้ำมันตัวเล็กแต่ว่าจับยาก แต่ไม่เป็นไร ปัญญาบารมีนี้ถ้าเป็นแหหรือสวิงก็เป็นแหหรือสวิงที่ตาถี่ ช้อนอะไรก็ติดทั้งหมด ก็มีนั่งคลำกันให้ดีว่าพรหมกับเทวดานี่ถึงที่สุดแล้วรึยัง พระพุทธเจ้าท่านบอกเสมอว่า “พรหมกับเทวดาก็ต้องจุติ ยังไม่พ้นจากความเป็นมนุษย์ ไม่พ้นจากความเกิด” แล้วเราจะนั่งสนใจอะไรกับการเป็นพรหมเป็นเทวดาเพื่อประโยชน์อะไร ยกเลิก ความต้องการคือราคะ ความรักใจความเป็นเทวดาหรือพรหมยกเลิกกันไป ตอนนี้ไม่ต้องมานั่งยกเลิกมนุษย์แล้ว ความเป็นมนุษย์มันไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว เพราะว่าถ้าเราเป็นพระอนาคามี ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็บำเพ็ญบารมีบนนั้นเป็นอรหันต์ไปนิพพานเลย เราไม่ต้องมานั่งมองมนุษย์ให้มันเหนื่อยเมื่อยลูกตา เมื่อยใจ นั่งมองพรหมกับเทวดาดีกว่า ถ้าเราไปอยู่ที่เทวดาหรือพรหมก็ยังมีกิจที่จะต้องทำ เวลานี้เวลาของเราก็ยังมีอยู่นี่ ใช้เวลาอีกไม่กี่นาทีมันก็เสร็จแล้ว เพราะว่าเราเชื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว เป็นอนาคามีหรือเป็นอรหันต์ไม่ใช่ของยาก ง่ายมาก เป็นของตัวเล็ก ถ้ามีกำลังใจเข้มแข็งไม่เกิน ๓๐ นาทีก็เป็นพระอรหันต์ จะเป็นได้เราก็มานั่งมองว่า เทวดาหรือพรหมไม่ดีเราไม่รัก และความรักความพอใจมันไม่มีแล้ว เรามานั่งเชือดเฉือนความดีของเทวดาหรือพรหมเพื่อประโยชน์อะไร มันก็พ้นไป นี่เราก็มานั่งกลับหน้ากลับหลัง ทวนไปทวนมา ไปเอาปัญญาบารมีเป็นเครื่องใช้ ใช้จิตอนุโลมพยายามค้นคว้ากำลังใจว่า เวลาที่จิตของเราเข้าถึงพระโสดาบันมันเป็นอย่างไร ตอนจิตของเราที่เข้าถึงพระโสดาบัน เราจะมองได้เฉพาะที่เห็นชัดคือศีลบริสุทธิ์ เรามั่นคงอยู่ในศีล การละเมิดศีลของเราไม่มี เรามีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริงๆ ในพระธรรมจริงๆ ในพระสงฆ์จริงๆ อารมณ์ของเราจับเฉพาะอย่างเดียวคือมีนิพพานเป็นอารมณ์ นี่นั่งมองพระโสดาบันมีตัวนี้ มันไม่หวั่นไม่ไหวไปจากตรงนี้ ตัวนี้ทรงอยู่ ความรักความโลภความโกรธความหลงยังมี แต่ว่าศีลไม่ขาด ไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ตัวนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ทีนี้ตอนที่เราเข้าถึงอนาคามี สกิทาคามีจะไม่พูดเพราะไม่จำเป็น ของเล็กๆ นี่พูดทำไม พระสกิทาคามีกับพระโสดาบันก็ใกล้เคียงกัน จะว่ากันไปอีกทีก็เป็นคนรุ่นพี่รุ่นน้องเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเทียบแบบนายทหารก็คือร้อยตรีเหมือนกัน เพราะว่าร้อยตรีรุ่นพี่กับรุ่นน้องมันก็แค่นั้นแหละ แต่ว่าเงินดาวน์เงินเดือนเขามันสูงกว่านิดหน่อยนี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา การงานอาจจะก้าวหน้าไปกว่ากันหน่อยมันก็เป็นของเล็กน้อยไม่ต้องมานั่งพูด นี่เราพูดกันถึงนายพันกันเลยดีกว่า ถ้าอารมณ์จิตเข้าถึงพระอนาคามีมันถึงจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร รู้เลยว่าเรามีกำลังใจสิ้นแล้วจากกามคุณ เป็นคนกามตายด้าน อารมณ์จิตมันตายด้านในกามจริงๆ ถ้าเราไม่แน่ใจก็ไปหาหมอ ให้เขาฉีดยาบำรุงกามให้ ยาอะไรก็ตามอย่างแรงที่สุด อย่างเบาอย่างกลาง ให้หมอเขาวินิจฉัย ไปบอกเขาว่าเราเป็นโรคกามตายด้าน ถ้าหมอทำอย่างไรก็หมดท่า แล้วยกเลิกไป นั่นใช่แล้ว เราเข้าถึงพระอนาคามีแล้ว คนสวยไม่มีมีแต่คนสกปรก วัตถุสวยไม่มีมีแต่วัตถุสกปรก ความติดความพอใจในความสวยสดงดงามในคนและวัตถุก็ไม่มีสำหรับเรา ใจมันทรงอารมณ์เป็นปกติอย่างนี้นั่นคือพระอนาคามีอันดับที่หนึ่ง ยังไม่เต็ม พระอนาคามีอันดับที่ ๒ ก็ต้องไปดูความโกรธความพยาบาท เขาด่าปาวๆ เราฟังแล้วมีความรู้สึกอย่างไร? เฉย...ยิ้มได้สบายๆ มีอารมณ์ปกติ เขาจะด่ามากด่าน้อย เขาจะด่าว่าเป็นหมูเป็นหมาก็ช่าง เรารู้ตัวของเราว่าเราไม่ใช่หมา เราไม่ใช่หมู และเราก็ไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราคือพระอนาคามี เพราะเป็นบุคคลที่มีความโกรธความพยาบาทสิ้นไปแล้ว มีแต่แมตตาปรานีมีอารมณ์ยิ้มเป็นปกติ มันยิ้มเป็นปกติไม่ใช่ฝืนยิ้ม ยิ้มแบบธรรมดาๆ ยิ้มด้วยอาการสดชื่น จิตใจมันไม่กระทบกับอารมณ์แบบประเภทนี้ความเร่าร้อนไม่มี มีแต่ความเยือกเย็นใจ ตอนนี้เราเป็นพระอนาคามีเต็มที่แล้ว ความสบายมันเกิดขึ้นมาก แต่ก็ยัง จุดเบ่งมันยังมี คืออารมณ์ในบางครั้งมีอารมณ์ฟุ้งซ่านคือถือตัวถือตน แยกสัตว์กับคนว่ามีค่าไม่เสมอกัน คนรวยกับคนจนมีค่าไม่เสมอกัน คนสกปรกกับคนสะอาดมีค่าไม่เสมอกัน ยังมีอารมณ์รังเกียจ ตอนนี้ก็จับสักกายทิฏฐิเข้าไปตัดมันเลย ตัดฉันทะกับราคะคือความพอใจในความเป็นเทวดาหรือพรหม หรือความรักในความเป็นเทวดาหรือพรหม ความนิยมใดๆ ในโลกโยนทิ้งไปหมดเลย โลกทั้งโลกโยนทิ้งไป ร่างกายของเรามันเลว มันจะไปชนกับใครก็ได้ เห็นคนสกปรก เราก็สกปรก เห็นคนจน เราก็จน มันจะไปรวยอะไร มันไม่จนจริงแล้วมันจะตายทำไม แล้วมันจนจากความเป็นอิสรภาพ จากกิเลสมันบังคับให้แก้ก็ต้องแก่ มันบังคับให้ป่วยก็ต้องป่วย บังคับให้ตายก็ต้องตาย เราไม่มีสมบัติใดๆ ที่จะไปต่อต้านกิเลส ในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็จนเท่ากันแหละ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ เพราะอำนาจว่าเรายังหลงในรูปฌานและอรูปฌาน เรารู้จักมานะทิฏฐิ พอตัดตัวนี้ได้เสียแล้ว ความฟุ้งซ่านมันก็ไม่มี อารมณ์พอมันก็เกิด ความสบายใจมันก็เกิด เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ความเป็นมนษย์ความเป็นเทวดา ความเป็นพรหมไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราเอาจิตใจของเราจับอารมณ์เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว มีแต่ความสุข เห็นใครเขารวยก็ดี เห็นใครเขาสวยก็ดี เห็นใครเขาโมโหโทโส รบราฆ่าฟันกันก็ดี เห็นใครเขาถือโน่นถือนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา เรานอนสบายยิ้มแฉ่ง นายถืออย่างไรก็ถือไปฉันสบายใจแล้ว นี่ก็ฟุ้ง โลกนี้เธออยู่กันเถอะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" เวลานี้เรามีกำลังใจถึงแล้วนี่ ถึงแล้วเราวางโลกเสียได้แล้ว อะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มีแล้ว มีแต่ความสดชื่นมีแต่ความหรรษา มีแต่ความสุขกายสุขใจ กายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ใจเป็นสุข ถือว่าเป็นกฎธรรมดา อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อจิตใจของทุกท่านวางเสียได้หมดอย่างนี้ว่าช่างมันๆ หรือ ธรรมดาๆ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้จบกิจของพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน สวัสดี.

พระสกิทาคามีพระสกิทาคามี พระธรรมเทศนาโดยพระราชพรหมยานเถระ หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง คือเราไม่หยุดอยู่ตรงนั้น เท่านี้มันก็หมดไป ตัวที่ถือตัวถือตนก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านก็ดีไม่ต้องตัด คือไปตัดตัวปลายคืออวิชชาเลยดีกว่า ตัดอวิชชามันตัดกันตรงไหนล่ะ ก็จับสักกายทิฏฐิตัวนั้นตัวเดียว คือเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่ายกาย ร่างกายมีในเรา ตอนนี้นักเจริญวิปัสสนาหรืออาจารย์ทั้งหลา­ยจะเห็นว่าอาตมาพูดย่อเกินไป เขาใช้คำว่าขันธ์ ๕ แต่อาตมาไม่ชอบ เวลาปฏิบัติมาจริงๆ ก็ไม่ชอบเหมือนกัน เพราะเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย และเราก็พูดกันจนชินแล้วว่าร่างกาย จะไปนั่งเรียกว่าขันธ์ ๕ ให้มันยุ่งเพื่อประโยชน์อะไร เรามานั่งตัดนั่งคิดพิจารณาดูว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว ความปรารถนาคือฉันทะ ความพอใจ ในการที่เราจะยึดถือความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม ทำไมจึงจะต้องมีสำหรับเราอีก เพราะว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ยังอยู่ในเกณฑ์ของความเป็นทุกข์ หรือจะมีคือว่ามนุษย์ไม่ดี ร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ไม่ดี มันมีความทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการกายทิพย์ คือกายของเทวดาหรือกายพรหม นี่ถ้าหลงอยู่ในกายเทวดาหรือกายพรหมก็ชื่อ­ว่ายังหลงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน

บุญกุศลต้องทำทุกวัน

ไม่ใช่ปุถุชนไม่ใช่อริยะเราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารม­­ณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่­­ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็­­นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­­็น เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป

ปฐมสังคายนาสาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

ภัยในอนาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็ จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อัน ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้ เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนา- *สนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวง หาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่ เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอ ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะ อันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึง การแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล ต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขาเวียนมา เพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่ บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิก- *บุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี ประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดใน บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น

เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้...https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW...

ข้ามทะเลทั้งสี่แล้วจะถึงจิตหนึ่งกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ สันตินันท์ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือกเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

คำสอนที่ทำให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวงอันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใ­ช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางส­ายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.

มีแต่ทุกข์ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

ไม่มีทางอื่นให้เลือกเลยธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ...

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้สละโลก ปลดแอกเพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

คนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะภาวนาไปสู่ความพ้น­ทุกข์ถ้าต้องการธรรมะที่จะพ้นไปจากโลก พระองค์ถึงจะสอนธรรมะที่ประณีตสูงขึ้นไป เป็นธรรมะที่ไม่มีตัวตน สำหรับคนที่อยากพ้นทุกข์จริงๆถ้าเรามีปัญญ­า เราจะเห็นว่าความสุขในโลกเป็นของชั่วคราว กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกก็เป็นของชั่วคราว­เพราะสังขาร(สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ทุกอย่างไม่เที่ยงเลย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร เป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้จริง จึงหาทางออกจากโลก โลกก็คือรูปนาม(กายใจ) นั่นแหละให้เรามาเรียนรู้รูปนามให้แจ่มแจ้­งด้วยการเจริญวิปัสสนา โดยมีสติรู้รูปรู้นามที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ดูห่างๆเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจจะค่อยเป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ รู้ว่ารูปนานไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไปแ­ล้ว รูปนามนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้แล้วจบที่รู้ รู้แล้วเป็นกลางจริงๆ เพราะใจมันเห็นความจริงว่าทุกอย่างเป็นของ­ชั่งคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว แล้วเราจะไม่ไปหลงเอาของชั่วคราวมาเป็นที่­พึ่งอาศัย พอเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันหมด มีแต่เกิดแล้วดับเท่าเทียมกันหมด ความสุขเกิดขึ้นอีกก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้มัน­อยู่นานๆ ความสุขที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนไปแสว­งหามัน ความทุกข์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนต่อ­ต้านไม่ให้เกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วก็ไม่ดิ้นรนหาทางทำลา­ยมัน จิตหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง เพราะเห็นความจริงของตัวขันธ์(กายใจ) ว่าเป็นตัวทุกข์ เมื่อเรียนรู้รูปนามจนแจ่มแจ้ง จิตก็เป็นกลางกับรูปนาม สามารถถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก(รูปนาม­)เสียได้ จิตก็หมดตัณหา หมดความอยาก หมดดิ้นรน พ้นการปรุงแต่ง เรียกว่า วิสังขาร หรือวิราคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระนิพพาน จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชเป็นกลางด้วยปัญญาจิตจะหมดความดิ้นรนหมดความปรุงแต่งหมดการแสวงหา หมดกิริยา...

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกจิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว 18 ธ.ค. 2543

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...Brain activity and meditation From Wikipedia, the free encyclopedia This article is about the specific effects of meditation on the human brain. For general information about meditation, see Meditation. Highlighted region shows the anterior cingulate cortex, a region of the brain shown to be activated during meditation. Meditation and its effect on the central nervous system has become a focus of collaborative research in neuroscience, psychology and neurobiology during the latter 20th century. Research on meditation sought to define and characterize various practices. Meditation’s effect on the brain can be broken up into two categories: state changes and trait changes, respectively alterations in brain activities during the act of meditating and changes that are the outcome of long-term practice. Mindfulness meditation is frequently studied, a Buddhist meditation approach found in Zen and Vipassana.[1][2] Jon Kabat-Zinn describes mindfulness meditation as a complete, unbiased attention to the current moment.[3] Contents [hide] 1 Changes in brain state 1.1 Electroencephalography 1.2 Neuroimaging 1.2.1 Topographical findings 1.2.2 Study on meditation and emotion 2 Changes in brain due to prolonged practice of meditation 2.1 Electroencephalography 2.2 Neuroimaging 2.3 Clinical applications 2.3.1 Attention 2.3.2 Mood 2.3.3 Need for more research 3 Popular literature 3.1 Positive portrayal 3.2 Rebuttal 4 References Changes in brain state[edit] Electroencephalography[edit] Electroencephalography (EEG) has been used in many studies as a primary method for evaluating the meditating brain. Electroencephalography uses electrical leads placed all over the scalp to measure the collective electrical activity of the cerebral cortex. Specifically, EEG measures the electric fields of large groups of neurons. EEG has the benefit of excellent temporal resolution and is able to measure aggregate activity of portions or the entire cortex down to the millisecond scale. Unlike other imaging based methods, EEG does not have good spatial resolution and is more appropriately used to evaluate the running spontaneous activity of the cortex. This spontaneous activity is classified into four main classifications based on the frequency of the activity, ranging from low frequency delta waves (< 4 Hz) commonly found during sleep to beta waves (13–30 Hz) associated with an awake and alert brain. In between these two extremes are theta waves (4–8 Hz) and alpha waves (8–12 Hz). Many studies on mindfulness meditation, assessed in a review by Cahn and Polich in 2006, have linked lower frequency alpha and theta waves to meditation.[4] Much older studies report more specific findings, such as decreased alpha blocking and increased frontal lobe specific theta activity.[5] Alpha blocking is a phenomenon where the active brain, normally presenting beta wave activity, cannot as easily switch to alpha wave activity often involved in memory recall. These findings would suggest that in a meditative state a person is more relaxed but maintains a sharp awareness. Two large, recent comprehensive review works, however, point to poor control and statistical analyses in these early studies and comment that it can only be said with confidence that increased alpha and theta wave activity exists.[4][6] A statue of Buddha meditating. Neuroimaging[edit] Functional magnetic resonance imaging (fMRI) is another highly utilized methodology for studying state changes in meditating brains. fMRI detects subtle increases in blood flow to areas of the brain with higher metabolic activity. Thus these areas of increased metabolic activity indicate which regions of the brain are currently being used to process whatever stimuli presented. Counter to EEG, the advantage of fMRI is its spatial resolution, with the ability to produce detailed spatial maps of brain activity. It suffers, however, in temporal resolution and cannot measure progressive activity, like the EEG, with much detail. Topographical findings[edit] As a relatively new technology, fMRI has only recently been used to assess brain state changes during meditation. Recent studies have shown heightened activity in the anterior cingulate cortex, frontal cortex, and prefrontal cortex, specifically in the dorsal medial prefrontal area during Vipassana meditation.[7] Similarly, the cingulate cortex and frontal cortex areas were shown to have increased activity during Zen meditation.[8] Both studies comment on the possibility that these findings could indicate some state of heightened voluntary control over attention during mindfulness meditation. Review works by Cahn and Chiesa state that these results indicate consistency in meditation’s effect on these regions of the brain, citing a multitude of other studies spanning other meditative disciplines, but mention the need for further investigation with better controls.[4][6] Study on meditation and emotion[edit] The review by Cahn also notes findings describing a heightened emotional state of meditators. A more complex study, conducted in 2008 by Lutz et al., focused on emotional response during meditation.[9] This investigation involved the creation of a “compassion meditation” state by novice and experienced meditators and testing the meditators response to emotionally charged sounds. fMRI results indicated heightened activity in the cingulate cortex but also in the amygdala, temporo-parietal junction, and right posterior superior temporal sulcus in response to the emotional sounds. The authors of this study believe this indicates greater sensitivity to emotional expression and positive emotion due to the neural circuitry activated.[9] Changes in brain due to prolonged practice of meditation[edit] Electroencephalography[edit] Similar to research into state changes in brain function, older studies make more specific claims about trait changes in meditators versus non-meditators. Changes to the alpha wave were indicated to be a trait, as well as state, phenomena. Studies have reported an increase in the specific frequencies expressed in the alpha range, increased alpha band power, and an overall slowing (reduction in frequency) in EEG activity in experienced meditators versus less experienced meditators while meditating.[5][10] The alpha blocking phenomena, observed as a state change in brain function, was investigated as a possible trait change as well. One study that examined a variety of meditation techniques tried to show that alpha blocking was affected by the long term practice of meditation by testing response to auditory stimuli.[11] Review works, however, comment on inconsistent findings as well as a lack of repeated results in this, and other studies. They further remark that, similar to observations in brain state changes, only general assertions can be made about brain trait changes: some change in the electroencephalographic profile exists but with some inconsistency.[4][12] It is also important to note that these trait changes were observed during meditation, and although it does indicate that a practitioner’s electroencephalographic profile is modified by the practice of meditation, these EEG studies have not yet shown changes in non-meditating brains, even of experienced meditators. Red region of the brain shows the hippocampus which had been shown to have heightened activity during meditation by experienced meditators. Neuroimaging[edit] Brain trait changes have also been observed in neuroimaging studies, most often employing fMRI. A long-term increase in activity was discovered in the prefrontal cortex, the right anterior insula, and right hippocampus, suggesting a heightened ability to control attention and awareness.[13][14] The review by Chiesa attribute these findings to the direct attention to and awareness of bodily sensations.[6] One neuroimaging study also found some evidence for protection against the natural reduction in grey matter volume with aging, which could suggest a better attentiveness in aging meditators versus non-meditators.[15] Clinical applications[edit] Attention[edit] A host of other studies have investigated the use of meditation as a psychotherapy to induce trait changes and treat various diseases and disorders. Since state and trait change investigations point to a heightened control of attention, one study attempted to improve this ability in patients characterized by a reduced aptitude for attention and focus. This study, by Harrison et al. in 2004, implemented a 6-week yoga-based mindfulness meditation therapy for adolescents with attention-deficit hyperactivity disorder and reported significant reductions in the symptoms of these patients.[16] Several other studies also reported findings that indicate an increased attentional ability in a clinical setting, specifically noting an ability to maintain attention despite unexpected stimuli.[17][18] Mood[edit] Brain activity in the amygdala, cingulate, and frontal cortex areas seems to suggest that meditation has an impact on mood and emotion as previously discussed. Clinical studies have attempted to deploy this effect to treat emotional disorders and several studies have showed significant success in using mindfulness meditation to treat depression.[19][20] These studies demonstrated that meditation was statistically effective at combating depression as well as preventing it. Another similar study cited success in reducing depression relapse, especially in patients that have relapsed three or more times.[21] Reviews of these findings, and others, are more skeptical and offer other explanations for the observed results.[22] Across the board, reviews voice a need for more studies before meditation can backed scientifically as a therapy for depression.[4][6][22] Need for more research[edit] Many other clinical applications such as anxiety disorders, stress, as well as physiological disorders have been investigated. Results tend to be inconsistent and not always repeatable. However, most studies that look at trait changes, whether applied clinically or not, on a general level reinforce the consistent state changes that have been observed.[4][6] This would seem to suggest a neuroplastic mechanism that reinforces these state changes over time with continued meditation. Both Cahn and Chiesa are adamant about the need for further and more exhaustive research before more conclusions can be made.[4][6] Popular literature[edit] Positive portrayal[edit] Besides scientific literature, some authors have written of the promising research on meditation in books targeted for general audiences. Once such book, Buddha’s Brain by Rick Hanson, PhD shares the exciting current scientific research and investigations into meditation.[23] Hanson, a neuroscientist and researcher, explains to readers the scientific studies in plain language and discuss the impact of the results. Hanson’s main argument is that positive emotions, like love can be strengthened through meditation in a neuroplastic manner, citing dozens of scientific studies to support this claim.[23] Hanson’s viewpoint is representative of a larger popular movement to study and embrace Eastern phenomena including meditation in the Western world. Rebuttal[edit] Critics, like Owen Flanagan, PhD, believe that Hanson, and those like him, are over extending the results of current scientific studies.[citation needed] In his book, Bodhisattva’s Brain: Buddhism Naturalized, Flanagan presents a more conservative viewpoint of current scientific research and cautions readers against the seemingly exciting results of recent studies.[24] Flanagan does not believe current science supports the idea that positive emotion can be strengthened in the same way that stroke victims can recover use of limbs with use.[24] Flanagan does acknowledge that meditation may be beneficial in some way, but the mechanism of how meditation impacts the brain is still clouded.[24] Flanagan and Hanson use many of the same scientific studies to attempt to support their differing viewpoint, but both authors identify the need and importance of future studies investigating meditation. References[edit] Jump up ^ Mizuno, Kogen (1972). Essentials of Buddhism. Tokyo: Kosei Publishing Company. Jump up ^ Ahir, D.C. (1999). Vipassana : A Universal Buddhist Meditation Technique. New Delhi: Sri Satguru Publications. Jump up ^ Kabat-Zinn, Jon (1998). Wherever You Go, There You Are : Mindfulness Meditation in Everyday Life. New York: Hyperion. ^ Jump up to: a b c d e f g Cahn BR, Polich J (2006). "Meditation states and traits : EEG, ERP, and neuroimaging studies". Psychological Bulletin 132 (2): 180–211. doi:10.1037/0033-2909.132.2.180. PMID 16536641. ^ Jump up to: a b Kasamatsu KH, Hirai T (1966). "An electroencephalographic study on the zen meditation (Zazen)". Folia Psychiatrica et Neurologica Japonica 20: 315–336. ^ Jump up to: a b c d e f Chiesa A, Serretti, A (2010). "A systematic review of neurobiological and clinical features of mindfulness meditations". Psychological Medicine 40 (8): 1239–1252. doi:10.1017/S0033291709991747. Jump up ^ Holzel BK, Ott U, Hempel H, Hackl A, Wolf K, Stark R, Vaitl D (2007). "Differential engagement of anterior cingulate and adjacent medial frontal cortex in adept meditators and non-meditators". Neuroscience Letters 421: 16–21. Jump up ^ Pagnoni G, Cekic M, Guo Y (2008). "‘ Thinking about not- thinking’: neural correlates of conceptual processing during Zen meditation". PLoS ONE 3: e3083. ^ Jump up to: a b Lutz A, Brefczynski-Lewis J, Johnstone T, Davidson RJ (2008). "Regulation of the Neural Circuitry of Emotion by Compassion Meditation: Effects of Meditative Expertise". PLoS ONE 3 (3): e1897. doi:10.1371/journal.pone.0001897. PMC 2267490. PMID 18365029. Retrieved 2011-09-06. Jump up ^ Stigsby B, Rodenberg JC, Moth HB (1981). "Electroencephalographic findings during mantra meditation (transcendental meditation). A controlled, quantitative study of experienced meditators". Electroencephalography and Clinical Neurophysiology 51: 434–442. Jump up ^ Becker DE, Shapiro D (1981). "Physiological responses to clicks during Zen, yoga, and TM meditation". Psychophysiology 18: 694–699. Jump up ^ Andersen J (2000). "Meditation meets behavioural medicine: The story of experimental research on meditation". Journal of Consciousness Studies 7: 17–73. Jump up ^ Holzel BK, Ott U, Gard T, Hempel H, Weygandt M, Morgen K, Vaitl D (2008). "Investigation of mindfulness meditation practitioners with voxel-based morphometry". Social Cognitive and Affective Neuroscience 3 (1): 55–61. doi:10.1093/scan/nsm038. PMC 2569815. PMID 19015095. Jump up ^ Lazar SW, Kerr CE, Wasserman RH, Gray JR, Greve DN, Treadway MT, McGarvey M, Quinn BT, Dusek JA, Benson H, Rauch SL, Moore CI, Fischl B (2005). "Meditation experience is associated with increased cortical thickness". NeuroReport 16 (17): 1893–1897. doi:10.1097/01.wnr.0000186598.66243.19. PMC 1361002. PMID 16272874. Jump up ^ Pagnoni G, Cekic M (2007). "Age effects on gray matter volume and attentional performance in Zen meditation". Neurobiology of Aging 28 (10): 1623–1627. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2007.06.008. PMID 17655980. Jump up ^ Harrison L, Manoch R, Rubia K (2004). "Sahaja yoga meditation as a family treatment programme for children with attention deficit- hyperactivity disorder". Clinical Child Psychology and Psychiatry 9: 479–497. Jump up ^ Jha AP, Krompinger J, Baime MJ (2007). "Mindfulness training modifies subsystems of attention". Cognitive, Affective and Behavioral Neuroscience 7: 109–119. Jump up ^ Chambers R, Lo BCY, Allen NB (2008). "The impact of intensive mindfulness training on attentional control, cognitive style and affect". Cognitive Therapy and Research 32: 303–322. Jump up ^ Ma SH, Teasdale JD (2004). "Mindfulness-based cognitive therapy for depression: Replication and exploration of differential relapse prevention effects". Journal of Consulting and Clinical Psychology 72: 31–40. Jump up ^ Segal, Z. V. (2002). Mindfulness-based cognitive therapy for depression: A new approach to preventing relapse. New York: Guilford Press. Jump up ^ Teasdale JD, Segal ZV, Williams JMG, Ridgeway VA, Soulsby JM, Lau MA (2000). "Prevention of relapse/recurrence in major depression by mindfulness-based cognitive therapy". Journal of Consulting and Clinical Psychology 68: 615–623. ^ Jump up to: a b Young, SN (2011). "Biologic effects of mindfulness meditation: growing insights into neurobiologic aspects of the prevention of depression". Journal of Psychiatry and Neuroscience 36 (2): 75–77. ^ Jump up to: a b Hanson, Rick (2009). Buddha’s Brain: The Practical Neuroscience of Happiness, Love, and Wisdom. Oakland, CA: New Harbinger Publication, INC. ^ Jump up to: a b c Flanagan, Owen (2011). Bodhisattva’s Brain: Buddhism Naturalized. Cambridge, MA: The MIT Press.

อันแรกเริ่มเดิมความตามจิตแท้จิตนั้นแลเป็นพุทธะสุขหนักหนาจิตจุติแต่หนใดไร...พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

พระโพธิสัตว์ ดีใจที่ได้อำลาพุทธภูมิ กรุณาธารณีสูตรกิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรง และตรงด้วยดี พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต พึงเป็นผู้มีอินทร์สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นใด ด้วยกรรม ลามกอันใด ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา] ทั้งหมดไม่เหลือเลย. เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรืออ้วน. เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหาภพเกิด. ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด. สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขา ไม่ว่าในที่ไร ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กัน และกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น. มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ ทั้งปวง แม้ฉันนั้น. พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลก ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรม อันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู. ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอน ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน [คือไม่ง่วงนอน] เพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ว่า พรหมวิหาร ในพระศาสนานี้. มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ [สักกายทิฏฐิ] เป็นผู้ มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ [สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติ มรรค] นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็ ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก โดยแท้แล. จบเมตตสูตร 

อริยวงศ์ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว

มหาปรินิพพานสูตรและพระสาวกภาษิตทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

การสร้างเครื่องสูบน้ำเข้านาด้วยมอเตอร์สามเฟสใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์คลิปนี้วงจรถูกต้องครับ RECOMMEND USE TOSHIBA TLP557 consists of a GaAℓAs light emitting diode and an ... TLP557 is suitable for base driving circuit of power transistor module FOR THIS PROJECT SEMIKRON SEMIX241MD008s ใช้ได้ 75 โวลต์ 240 แอมป์ครับ..ใช้ในรถไฟฟ้า 48 โวลต์ครับ วงจรที่ผมลงใน YOUTUBE ทุกวงจร ไม่สงวนลิขสิทธิ์ นะครับ ส่วนอุปกรณ์ หาซื้อที่บ้านหม้อ หรือที่ผมก็ได้ครับ ส่วนต่างจังหวัด ผมจะส่งทางไปรษณีย์ ครับ..อย่าโอนเงินมาก่อนนะครับ.­..ต้องได้รับของแล้วและใช้งานได­้จริง..แล้วค่อยโอนเงินมาครับ..­.ขอบคุณมากครับ..ขออภัย..แกไขครับ..ตัวที่บอกว่า..800 โวลต์ที่จริงแล้วใช้ได้ 75 โวลต์ 240 แอมป์ครับ..ใช้ในรถไฟฟ้า 48 โวลต์ครับ...

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลก บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น

การฝึกจิตให้ตั้งมั่นบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก.ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ การที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งป­วงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็น­กลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลา­งด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพ­ธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก .ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ การที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งป­วงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็น­กลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลา­งด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพ­ธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา

มหาปรินิพพานสูตรและพระสาวกภาษิตการที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งป­วงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็น­กลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลา­งด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพ­ธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา

โอวาทพระอานนท์เถระ เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถ เหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่าง กายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่ง ทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้ นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปัญญา วิริยะ ขันติ สมาธิอารมณ์ฟุ้งซ่านก็ดีไม่ต้องตัด คือไปตัดตัวปลายคืออวิชชาเลยดีกว่า ตัดอวิชชามันตัดกันตรงไหนล่ะ ก็จับสักกายทิฏฐิตัวนั้นตัวเดียว คือเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่ายกาย ร่างกายมีในเรา ตอนนี้นักเจริญวิปัสสนาหรืออาจารย์ทั้งหลา­ยจะเห็นว่าอาตมาพูดย่อเกินไป เขาใช้คำว่าขันธ์ ๕ แต่อาตมาไม่ชอบ เวลาปฏิบัติมาจริงๆ ก็ไม่ชอบเหมือนกัน เพราะเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย และเราก็พูดกันจนชินแล้วว่าร่างกาย จะไปนั่งเรียกว่าขันธ์ ๕ ให้มันยุ่งเพื่อประโยชน์อะไร เรามานั่งตัดนั่งคิดพิจารณาดูว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว ความปรารถนาคือฉันทะ ความพอใจ ในการที่เราจะยึดถือความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม ทำไมจึงจะต้องมีสำหรับเราอีก เพราะว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ยังอยู่ในเกณฑ์ของความเป็นทุกข์ หรือจะมีคือว่ามนุษย์ไม่ดี ร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ไม่ดี มันมีความทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการกายทิพย์ คือกายของเทวดาหรือกายพรหม นี่ถ้าหลงอยู่ในกายเทวดาหรือกายพรหมก็ชื่อ­ว่ายังหลงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน

ออกแบบ สร้าง แก้ไข ซ่อม แผง วงจร เครื่องจักร ซ่อม บอร์ด เครื่องจักรกลเขียน ฟังชั่นการทำงาน.และอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมแค่นี้พอ ส่งมาทางemail ที่ sompongindustrial@gmail.com

รับทำเครื่องควบคุมอย่างง่ายเขียน ฟังชั่นการทำงาน.และอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมแค่นี้พอ ส่งมาทางemail ที่ sompongindustrial@gmail.com

การต่อมอเตอร์สามเฟสกับอินเวอร์เตอร์จำหน่ายแผงวงจรปรับรอบมอเตอร์สามเฟส รุ่น N87C196MC S87C196MC MC3PHAC แบบประกอบและทดสอบแล้ว ราคา ชุดละ 1,000 บาท ครับ MC3PHAC บอร์ดเปล่าขาดเฉพาะ MC3PHAC นอกนั้นมีครบ ใส่ปริ้นไว้แล้วยังไม่ได้บัดกรี ราคา แผ่นละ 100 บาท ครับ 02-951-1356 line : pornpimon 1411 email sompongindustrial@gmail.com

แผงวงจรปรับรอบมอเตอร์สามเฟสจำหน่ายแผงวงจรปรับรอบมอเตอร์สามเฟส รุ่น N87C196MC S87C196MC MC3PHAC แบบประกอบและทดสอบแล้ว ราคา ชุดละ 1,000 บาท ครับ MC3PHAC บอร์ดเปล่าขาดเฉพาะ MC3PHAC นอกนั้นมีครบ ใส่ปริ้นไว้แล้วยังไม่ได้บัดกรี ราคา แผ่นละ 100 บาท ครับ 02-951-1356 line : pornpimon 1411 email sompongindustrial@gmail.com

อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน" 

อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน" 

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

จิตใจคืออะไรบางอย่างซึ่งมีอยู่นอกและเหนือสมองอย่างสิ้นเชิงเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันเรื่องของมันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันที แท้ที่จริงตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่ม­­ีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่งพอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร ม...จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ปรีแอมป์ เยอรมันเนียม ทรานซิสเตอร์ เยอร์มาเนียม จากจินตนาการสู่โลกแห่งอิเลกทรอนิกส์ www.material.chula.ac.th/RADIO45/April/radio4-4.htmถ้าจะกล่าวถึงการค้นพบครั้งสำคัญทางเคมีนั้น การค้นพบธาตุเยอร์มาเนียม (germanium) ก็ ควรจะต้องจัดเป็น ... 1886 นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ วิงค์เลอร์ (Winkler) ได้ค้นพบธาตุดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้สละโลก เรวัตกุมารกับโลกียสุขอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

สุดท้ายจะเห็นตัวทุกข์อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

สุดท้ายจะเห็นตัวทุกข์อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

ไม่มีที่หนีไม่มีที่ถอยไม่มีที่มาไม่มีที่ไปอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

นิสสรณะ วิมุติจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่­เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธน­ะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจ­นั้น คือหัดรู้ใจของเรา หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น

จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่­เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธน­ะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจ­นั้น คือหัดรู้ใจของเรา หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางงามในที่สุดเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของคนจำนว...

เจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่­เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธน­ะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจ­นั้น คือหัดรู้ใจของเรา หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นมื่อปล่อยวางอารมณ์จิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ถึงโคตรภูญาณแล้วอริยมรรคก็จ...

ทางแยกไปพุทธภูมิจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

power converterhttps://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

จำหน่าย I G B T https://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

Digital Logic Motor Controllerhttps://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

ปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟสhttps://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

งบประมาณน้อยทำอะไรทำอย่างไรดีหนอhttps://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

ทำของจริงดีกว่าครับหมดเวลาทำของเล่นแล้วครับhttps://www.youtube.com/watch?v=KvuG8... การสร้างอินเวอร์เตอร์คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ IC L6569 ราคาตัวละ 30 บาท IR2153 MOSFET IGBT จำหน่าย IGBT 15J331 POWER MODULE ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัวขึ้นไปตัวละ 250 บาท แผ่นปริ๊นเปล่า แผ่นละ 30 บาทsompongindustrial@gmail.com Line : pornpimon 1411 โทร 02-951-1356 081-803-6553 ขอบพระคุณทุกท่านครับที่กรุณา...เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOW... https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rs... https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox... https://www.youtube.com/watch?v=L_faX... https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk... https://www.youtube.com/watch?v=w_Yex... https://www.youtube.com/watch?v=lpthW... หากใช้แบตเตอรี่รถยนต์ 100 แอมป์ 4 ลูก ประจุเต็มที่ เท่ากับ 4,800 วัตต์ 750 วัตต์ เท่ากับ หนึ่งแรงม้า จะเหมือนมี ม้า 1 ตัว ที่ วิ่งได้ ประมาณ 6 ชั่งโมง..ถ้า เครื่อง ทำงาน ตามปกติ.

สัมมาสมาธิสัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิต ในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน สมาธิได้แก่การถือเอา อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น แบบสมถะสมาธิ สัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีรากฐานจากการกำหนดรู้ ในมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด ลักษณะของสัมมาสมาธิ จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

สัมมาสมาธิสัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิต ในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน สมาธิได้แก่การถือเอา อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น แบบสมถะสมาธิ สัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีรากฐานจากการกำหนดรู้ ในมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด ลักษณะของสัมมาสมาธิ จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความรู้สึกตัวบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น

ทำวงจรเพิ่มแรงดันไฟฟ้าจากถ่านไฟฉายอิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์ (อังกฤษ: Electronic Oscillator) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตสัญญาณออกมาซ้ำ ๆ กัน คลื่นไฟฟ้าที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็น sine wave และคลื่นรูปสี่เหลี่ยม Oscillators มีแหล่งจ่ายไฟเป็นกระแสตรง (DC) มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณดังกล่าวเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์, สัญญาณนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกชนิด, นาฬิกาควอทซ์และเสียงที่ผลิตโดย beepers อิเล็กทรอนิกส์และวิดีโอเกม Oscillators แบ่งตามลักษณะของความถี่ของสัญญาณเอาต์พุต ได้แก่: oscillator เสียงที่มนุษย์ได้ยิน (audio frequency)ผลิตความถี่อยู่ในช่วงเสียงประมาณ 16-20 kHz. oscillator RF ผลิตสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ช่วงประมาณ 100 kHz ถึง 100 GHz. oscillator ความถี่ต่ำ (LFO) สร้างสัญญาณความถี่ต่ำกว่า 20 Hz ≈ คำนี้มักจะใช้ในด้านการสังเคราะห์เสียงจะแตกต่างจาก oscillator เสียง Oscillators เพื่อผลิตเอาต์พุต AC พลังงานสูงจากไฟกระแสตรงมักจะเรียกว่าอินเวอร์เตอร์ oscillator อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นสองประเภทหลักคือ oscillator เชิงเส้นหรือฮาร์โมนิคและ oscillator ไม่เชิงเส้นหรือผ่อนคลาย เนื้อหา [ซ่อน] 1 oscillator เชิงเส้น 1.1 Feedback Oscillator 1.2 Negative Resistance Oscillator 2 วงจร 3 oscillator แบบผ่อนคลาย 4 oscillator แบบควบคุมด้วยแรงดันไฟฟ้า(VCO) 5 ดูเพิ่ม 6 อ้างอิง oscillator เชิงเส้น[แก้] บล็อกไดอะแกรมของวงจร Feedback Linear Oscillator: วงจรขยาย A กับเอ้าท์พุท Vo, Feedback Vf ผ่านตัวกรอง β(jω) oscillator แบบฮาร์โมนิคหรือเชิงเส้นผลิตเอาต์พุตคลื่นซายน์ มีสองประเภท ได้แก่ Feedback Oscillator[แก้] รูปแบบที่พบมากที่สุดของ oscillator เชิงเส้นคือวงจรขยายสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เช่นแอมป์ทรานซิสเตอร์หรือออพแอมที่เชื่อมต่อกับ feedback loop ที่มีเอาต์พุตป้อนกลับเป็นอินพุทโดยผ่านทางตัวกรองเฉพาะความถี่เพื่อให้เป็น positive feedback เมื่อเริ่มจ่ายไฟไปให้วงจรขยายสัญญาณ สัญญาณรบกวนในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มให้วงจรออสซิลเลเตอร์ทำงาน สัญญาณรบกวนดังกล่าวเดินทางเป็นวงรอบในวงจรมีการขยายกำลังและถูกกรองเฉพาะความถี่ที่ต้องการออกมาเป็นคลื่นซายน์ที่ความถี่เดียว วงจร feedback สามารถจำแนกตามชนิดของตัวกรองเลือกความถี่ ดังนี้ วงจร RC, ตัวกรองประกอบด้วยตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ RC oscillator ส่วนใหญ่จะใช้ในการสร้างความถี่ต่ำเช่นในช่วงเสียงออดิโอ ประเภททั่วไปของวงจร RC ได้แก่ Phase-shifted Oscillator และ Wien Bridge Oscillator เปรียบเทียบระหว่าง แบบ Hartley และ แบบ Colpitts วงจร LC เป็นวงจรกรองแบบปรับความถี่ได้ ที่ประกอบด้วยตัวเหนี่ยวนำ (L) และตัวเก็บประจุ (C) เชื่อมต่อกันได้. ประจุไฟฟ้าจะไหลไปมาระหว่างแผ่นตัวเก็บประจุกับตัวเหนี่ยวนำ ดังนั้นวงจรกรองปรับความถี่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าที่จะสั่นที่ความถี่เรโซแนนซ์(การสั่นพ้อง, เรโซแนนซ์, ปรากฏการณ์เมื่อระบบถูกทำให้สั่นด้วยความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของระบบเองแล้ว การสั่นนั้นจะสั่นได้รุนแรงหรือมีช่วงกว้างของการสั่นกว้างมากที่สุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท) ของ L และ C นั้น มีการสูญเสียเล็กน้อยในวงจรดังกล่าว แต่วงจรขยายสัญญาณสามารถชดเชยการสูญเสียเหล่านั้นได้และจ่ายพลังงานเอาต์พุตเป็นสัญญาณออกมา oscillators LC มักจะสร้างความถี่วิทยุ ใช้กับงานที่ต้องมีการปรับความถี่เช่นในเครื่องสร้างสัญญาณ, ในเครื่องส่งสัญญาณวิทยุและการปรับหาสถานีในเครื่องรับวิทยุ โดยทั่วไป วงจร LC จะได้แก่ Hartley, Colpitts and Clapp วงจร electronic oscillator ความถี่ 1 MHz ที่ใช้การสั่นของผลึกควอทซ์เพื่อควบคุมความถี่ ให้สัญญาณนาฬิกาสำหรับอุปกรณ์ดิจิตอลเช่นคอมพิวเตอร์ วงจรคริสตัล ใช้ผลึกคริสตัลในการสร้างความถี่ คริสตัลจะสั่นด้วยแรงกล ทำตัวเหมือนตัวเรโซเนเตอร์ ความถี่ของการสั่นสะเทือนกำหนดความถี่ของสัญญาณที่ผลิต คริสตัลมีค่า Q-factor สูงมากและความมั่นคงด้านอุณหภูมิดีกว่า LC หรือ RC oscillators จึงถูกนำมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของความถี่ของเครื่องส่งสัญญาณวิทยุมากที่สุดและเพื่อสร้างสัญญาณนาฬิกาในคอมพิวเตอร์และนาฬิกาควอทซ์ oscillators คริสตัลมักจะใช้วงจรเดียวกับ oscillators LC แต่ใช้คริสตัลแทนที่วงจรการปรับความถี่; วงจรเพียร์ซเป็นที่นิยมใช้ ผลึกควอตซ์มีข้อจำกัดโดยทั่วไปที่ความถี่ 30 MHz หรือต่ำกว่า คลื่นพื้นผิว (SAW) เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งของ piezoelectric resonator ทำให้ได้ความถี่ที่สูงขึ้นมาก ออสซิลเลเตอร์ดังกล่าวจะใช้ในการใช้งานเฉพาะที่จำเป็นต้องมีการอ้างอิงความถี่สูงเช่นในโทรศัพท์มือถือ Negative Resistance Oscillator[แก้] บล็อกไดอะแกรมทั่วไปของ Negative resistance oscillator ในบางวงจรอุปกรณ์ความต้านทานเชิงลบจะต่อขนานกับวงจรเรโซแนนซ์ นอกจากนี้ feedback oscillator ที่อธิบายไว้ข้างต้นซึ่งใช้ทรานซิสเตอร์และออพแอมป์แล้ว, oscillator แบบเชิงเส้นยังมีอุปกรณ์ที่มีความต้านทานเชิงลบ เช่น หลอดแมกนีตรอน, ทันเนลไดโอด, และกันน์ไดโอด อีกด้วย. oscillators ต้านทานเชิงลบมักจะใช้ความถี่สูงในช่วงไมโครเวฟหรือสูงกว่า เพราะที่ความถี่สูงขนาดนี้ feedback oscillator ทำงานได้ไม่ดีเนื่องจากเฟสชิฟมากเกินไปในเส้นทาง feedback ใน oscillators ต้านทานเชิงลบ, วงจรเรโซแนนซ์เช่นวงจร LC, คริสตัลหรือ cavity resonator มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีความต้านทานที่หักล้างกันเอง วงจรเรโซแนนซ์โดยมันตัวเองเกือบจะเป็น oscillator อยู่แล้ว; โดยที่มันสามารถเก็บพลังงานในรูปแบบของการแกว่งทางอิเล็กทรอนิกส์ถ้ากระตุ้นมัน แต่เพราะมีความต้านทานและความสูญเสียภายในอื่นๆ ทำให้การแกว่งลดลงเป็นศูนย์ ความต้านทานเชิงลบของอุปกรณ์ได้หักล้างการต้านทาน(เชิงบวก)ภายในตัวเรโซเนเตอร์ เป็นผลให้ลดการลดทอนและสร้างการสั่นอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นเองที่ความถี่เรโซแนนซ์ของมันเอง oscillator แบบความต้านทานเชิงลบไม่จำกัดเฉพาะอุปกรณ์พอร์ตเดียวเหมือนไดโอด; วงจร feedback oscillator ที่ใช้อุปกรณ์ขยายสองพอร์ตเช่นทรานซิสเตอร์และหลอดก็มีความต้านทานเชิงลบเช่นกัน ในช่วงความถี่สูงทรานซิสเตอร์และ FETs ไม่ต้องการการ feedback แต่เมื่อใส่โหลดบางอย่างเข้าที่พอร์ตหนึ่งจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนที่อีกพอร์ตหนึ่ง ทำให้เกิดความต้านทานเชิงลบป้อนกลับภายใน เกิดการสั่นขึ้น ดังนั้น oscillators ความถี่สูงโดยทั่วไปได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคความต้านทานเชิงลบ. อุปกรณ์ที่ใช้งานใช้ใน oscillators และความถี่สูงสุดโดยประมาณ อุปกรณ์ ความถี่ Triode vacuum tube 1 GHz Bipolar transistor (BJT) 20 GHz Heterojunction Bipolar Transistor (HBT) 50 GHz Metal Semiconductor Field Effect Transistor (MESFET) 100 GHz High Electron Mobility Transistor (HEMT) 200 GHz Gunn diode, fundamental mode 100 GHz Gunn diode, harmonic mode 200 GHz IMPATT diode 300 GHz Klystron tube 200 GHz Magnetron tube 100 GHz Gyrotron tube 300 GHz วงจร[แก้]

การพาตนให้พ้นทุกข์ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความ โศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางเป็นที่ไปอันเอกนี้เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน

วงจรคูณแรงดันไฟฟ้า Voltage multiplierVoltage multiplier From Wikipedia, the free encyclopedia Villard cascade voltage multiplier.A voltage multiplier is an electrical circuit that converts AC electrical power from a lower voltage to a higher DC voltage, typically using a network of capacitors and diodes.Voltage multipliers can be used to generate a few volts for electronic appliances, to millions of volts for purposes such as high-energy physics experiments and lightning safety testing. The most common type of voltage multiplier is the half-wave series multiplier, also called the Villard cascade (but actually invented by Heinrich Greinacher).

การซ่อมแผงวงจรตู้เชื่อม การซ่อมแผงวงจรตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ โดยใช้ วิธีการจ่าย ไฟฟ้าความถี่สูงแรงดันต่ำประมาณ 24 โวลต์ ซึ่งเท่ากับหรือใกล้เคียงกันกับวงจรที่ใช้­งานจริงทำให้ซ่อมได้ง่ายประหยัดเวลา เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยง...

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ออกแบบ สร้าง แก้ไข ซ่อม แผง วงจร เครื่องจักร ซ่อม บอร์ด เครื่องจักรกลProfessional Services On Servo Motor DC motor speed control Encoder Power Electronics Control System Industrial Control Board 3phase motor speed control Communication Switching Power Supply sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com line id:pornpimon 1411 Tel 02-951-1356 081-803-6553 สินค้าที่ ผม สร้าง ออกแบบและที่ท่านซื้อไปแล้วหากเสียหายต้องการซ่อมกรุณาส่งซ่อมได้ที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 เมืองนนทบุรี 11000 โทร 02-951-1356 Line 081-803-6553ขอบคุณทุกท่านที่กรุณา..ขอบคุณ..มาก..ครับ.. จำหน่าย Power Module สำหรับ ซ่อม สร้าง เครื่อง ปรับรอบมอเตอร์ สามเฟส หนึ่งแรงมัา โดยใช้ไฟฟ้าเฟสเดียวและรับ ซ่อม แผงวงจร เครื่องจักรกล เครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม เครื่องทอผ้า ติดต่อที่ 02-951-1356 081-803-6553 ..รับออกแบบแก้ไขดัดแปลงซ่อมสร้างแผงวงจรควบคุมเครื่องจักรกล ที่ทำงานด้วยระบบสมองกลไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 02-951-1356 081-803-6553http://www.youtube.com/watch?v=8caQpnxa3iE&list=PL36E832F4CA46D233 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/khay-kaen-fexr-rit-chnid-toriod-chi-srang-converter-inverter-power-supply-emergency-power-supply-induction-heating-welding-machine-mi-hlak-hlay-chnid-hlay-baeb-hlay-khnad-hlay-khwamthi-hlay-rakha-khrab-sompong-industrial-electronics-02-951-1356-081-803-6553-bxk-kalang-watt-thi-txngkar-laea-ngb-praman-ma-k-phx-khrab-xyang-xun-chen-wngcr-xupkrn-thi-phm-mi-xyu-phx-smkhwr-khrab-email-ca-sadwk-ni-kar-thangan-khxng-phm-khrab-thorsaphth-sadwk-chwng-klang-khun-mi-kein-si-thum-khrab-tidtx-sxbtham-di-thuk-wan-khrab-khxbkhun-mak-khrab https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-sxm-srang-kaekhi-tu-cheuxm-inverter-sompong-industrial-electronics-029511356 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/3-phase-induction-motor-control-device https://sites.google.com/site/sompongindustrial/xupkrn-xilekthrxniks-kalang-sung-hrux-power-electronics https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-rab-sxm-phaeng-wngcr-fifa-thi-chi-ni-kheruxngcakr-thuk-run-thuk-yihx-khux-thi-sompong-industrial-electronics-029511356-69-6-pinpraphakhm3-tiwannth18-nnthburi-11000 https://sites.google.com/site/sompongindustrial/rab-phlit-khay-cahnay-xupkrn-khwbkhum-khwamrew-mxtexr https://sites.google.com/site/sompongindustrial/ran-kaekhi-sxm-srang-phaeng-wngcr-xaer-tu-yen-kheruxng-sak-pha-run-xin-wexr-texr-khux-thi-69-6-sxy-pinpraphakhm-3-tiwannth-18-xaphex-meuxngnnthburi-canghwad-nnthburi-ra-has-pirsniy-11000-thorsaphth-029511356

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยมจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

กลับบ้านเราพระพุทธเจ้ารออยู่จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

เจดีย์พุทธสถานอินเดียพม่าไทยลาวกัมพูชาเวียดนามจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ทางแยกไปพุทธภูมิจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

จิตหมดแรงดิ้นรนจิตที่พร้อมจะบรรลุมรรคผลจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

สาวกภูมิ พุทธภูมิ จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโ­ดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายน­อกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

สาวกภูมิ พุทธภูมิ จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโ­ดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายน­อกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ใต้ร่มโพธิญาณ จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโ­ดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลา­ย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายน­อกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ใต้ร่มโพธิญานเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ทางแยกไปพุทธภูมิเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ทางแยกไปพุทธภูมิเมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเองเมื่อปล่อยวางจิตจิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ถึงโคตรภูญาณแล้วอริยมรรคก็จะเก...

จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ภาวะแห่งความตื่น เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ให้มีสติรู้กายรู้ใจลงในปัจจุบันเราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ให้มีสติรู้กายรู้ใจลงในปัจจุบัน เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

จิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิคัมภีร์เล่มสุดท้ายคือกายกับใจของเรานี่เอง จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือ หลักธรรมสูงสุด สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปน­าสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าส­อนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพ­ะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ

บ้าวูบเดียวอรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ฉักกนิบาต ๑๔. สัพพกามเถรคาถา อรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔#- #- บาลีเป็น สัพพกามเถรคาถา. คาถาของท่านพระสัพพกามีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? ได้ยินว่า พระเถระนี้ได้เห็นพระเถระรูปหนึ่งชำระความแตกความสามัคคี อันเกิดขึ้นในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ แล้วจัดตั้งให้เป็นปกติตามเดิม จึงตั้งความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้สามารถชำระความแตกความสามัคคี ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต แล้วปรารถนาจัดตั้งให้เป็นปกติตามเดิม ดังนี้ แล้วกระทำบุญทั้งหลายอันสมควรแก่กรรมนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ในพุทธุปบาทกาลนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครเวสาลี ได้นามว่าสัพพกามะ พอเจริญวัยพวกญาติก็จัดให้มีเหย้าเรือน แต่เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการออกจากทุกข์ เกลียดการครองเรือน จึงบวชในสำนักของพระธรรมภัณฑาคาริก กระทำอยู่ ได้เข้าไปยังนครเวสาลีพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ จึงได้ไปยังเรือนญาติ. ณ เรือนญาตินั้น ภรรยาเก่าได้รับความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากสามี ซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่แต่งตัว นุ่งผ้าเก่าๆ ไหว้ท่านแล้วได้ยืนร้องไห้อยู่ที่ส่วนสุดข้างหนึ่ง เมื่อพระเถระเห็นดังนั้นก็เกิดความเมตตาอันมีกรุณาเป็นตัวนำ พลันกิเลสก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการในอารมณ์ที่ได้เสวยมาแล้ว. ท่านเกิดความสลดใจเหมือนม้าอาชาไนยที่เขาหวดด้วยแส้ ทันใดนั้นเอง จึงไปยังป่าช้ากำหนดเอาอสุภนิมิต กระทำฌานที่ได้ในป่าช้านั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต. ลำดับนั้น พ่อตาของท่านพาธิดาผู้ประดับตกแต่งมา ประสงค์จะให้ท่านสึก จึงได้ไปยังวิหารพร้อมด้วยบริวารมากมาย. พระเถระรู้ความประสงค์ของนางแล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่กำหนัดในกามทั้งหลายและความที่ตนเป็นผู้ไม่ติดในอารมณ์ทั้งปวง จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เต็ม ไปด้วยซากศพต่างๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้อง บริหารอยู่เป็นนิตย์. เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มีปรากฏในรูปร่าง หญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อแอบ ดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด บุคคลจับ วานรด้วยตังฉะนั้น ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด เข้าไปซ่องเสพหญิงเหล่า นั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อ ภพใหม่ขึ้นอีก ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้น เหมือนบุคคล สลัดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ระงับตัณหาอันซ่านไปใน โลกเสียได้ เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชา โดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความ สิ้นอาสวะแล้ว. บทว่า ทฺวิปาทโก ในคาถานั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- กายแม้ที่ไม่มีเท้าเป็นต้นเป็นกายไม่สะอาดทั้งนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวอย่างนี้ด้วยอำนาจวิสัยที่กระทำให้ยิ่งหรือด้วยการกำหนดอย่างสูง. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่กายอื่นๆ แม้ไม่สะอาด บุคคลเอาของเค็มและของเปรี้ยวเป็นต้นมาปรุงเข้า ก็ทำให้เป็นโภชนะสำหรับมนุษย์ทั้งหลายได้ แต่กายมนุษย์ทำให้เป็นโภชนะไม่ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงสภาวะอันไม่สะอาดยิ่งแห่งกายมนุษย์นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้. บทว่า อยํ นี้ ท่านกล่าวหมายเอารูปหญิงที่ปรากฏในเวลานั้น. บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาดเลย. อธิบายว่า ในรูปหญิงนี้ไม่มีความสะอาดอะไรเลย. บทว่า ทุคฺคนฺโธ ปริหีรติ ความว่า เป็นกายมีกลิ่นเหม็น เจ้าของปรุงแต่งด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น บริหารอยู่. บทว่า นานากุณปปริปูโร ได้แก่ เต็มด้วยซากศพอเนกประการมีผมเป็นต้น. ในบทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต นี้ เชื่อมความว่า กายนี้ แม้เมื่อชนทั้งหลายพยายามเพื่อจะปกปิดความที่กายเป็นของน่าเกลียด ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ก็ทำความพยายามนั้นให้ไร้ผล ทำน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ และทำเหงื่อที่หมักหมมให้ไหลออกจากขุมขนทั้งหลายบริหารอยู่. เมื่อจะแสดงว่า ก็กายนี้แม้เป็นของน่าเกลียดอย่างนี้ ก็ยังลวงปุถุชนผู้บอดเขลาด้วยรูปเป็นต้นของตน เหมือนพรานเนื้อลวงเนื้อเป็นต้นด้วยเครื่องดักมีหลุม (พราง) เป็นต้นฉะนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ นิลีนํ กูเฏน ความว่า เหมือนพรานเนื้อแอบคือซ่อนดักเนื้อด้วยเครื่องดักมีบ่วงเป็นต้น. จริงอยู่ อิวศัพท์ที่กำลังจะกล่าวถึง แม้ในประโยคนี้ก็ควรนำมาประกอบเข้า. บทว่า พฬิเสเนว อมฺพุชํ ความว่า เหมือนพรานเบ็ดตกสัตว์ที่เกิดในน้ำคือปลา ด้วยเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อไว้ฉะนั้น. บทว่า วานรํ วิย เลเปน ความว่า เบญจกามคุณย่อมลวงปุถุชนผู้บอดให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อลวงจับลิงด้วยตังซึ่งวางไว้ที่ต้นไม้และศิลาเป็นต้น. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า ใครทำให้ลำบาก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้. จริงอยู่ ส่วนของกาม ๕ ส่วนมีรูปเป็นต้น โดยพิเศษเป็นที่อาศัยของวัตถุที่เป็นวิสภาคกัน ทำใจของปุถุชนผู้บอดผู้ถูกห้อมล้อม ด้วยอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่เข้าไปอาศัยของวิปลาส ให้ยินดี ชื่อว่าย่อมยังอันธปุถุชนเหล่านั้นให้ลำบาก เพราะนำความพินาศมาให้ โดยความที่รูปเป็นต้นเป็นวัตถุที่ตั้งของกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รูปเสียง ฯลฯ ปรากฏในรูปหญิง. ก็ศัพท์หญิง ในคำนั่น พึงทราบว่า ท่านกระทำด้วยอำนาจอารมณ์ที่ทำให้ยิ่ง. ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ปุถุชนเหล่าใดซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีเนื้อความว่า ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด คือมีจิตถูกราคะความกำหนัดครอบงำ ย่อมซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ด้วยการกำหนดว่าเป็นเครื่องอุปโภคใช้สอย. บทว่า วฑฺเฒนฺติ กฏสึ โฆรํ ความว่า ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร กล่าวคือ กฏสิ การท่องเที่ยวเพราะคนอันธพาลยินดียิ่งนัก อันน่ากลัวคืออันนำความกลัวมาด้วยชาติเป็นต้น และด้วยนรกเป็นต้น ให้เจริญด้วยการเกิดและการตายเป็นต้นบ่อยๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก ดังนี้. บทว่า โย เจตา ความว่า ส่วนบุคคลใดงดเว้นหญิงเหล่านั้นเสียได้ด้วยการข่ม และการตัดขาดฉันทราคะในหญิงเหล่านั้น เหมือนคนสลัดหัวงูด้วยเท้า เป็นผู้มีสติล่วงพ้นตัณหากล่าวคือความซ่านไปในโลก เพราะละโลกทั้งปวงได้แล้วดำรงอยู่. บทว่า กาเมสฺวาทีนวํ ทิสฺวา ความว่า เห็นอาทีนพ คือโทษอันต่ำช้าโดยประการมิใช่น้อยในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยท่อนกระดูก มีความลำบากมาก มีความคับแค้นมาก. บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต ความว่า เห็นเนกขัมมะโดยภาวะ อันออกจากกามและภพทั้งหลาย ได้แก่บรรพชาและพระนิพพาน โดยความเกษมคือโดยปลอดอันตราย. สลัดออกคือพรากออกจากกรรมทั้งปวง ได้แก่ จากธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่. ก็พระเถระพรากแล้วจากกามเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้. พระเถระกล่าวธรรมด้วยคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาที่ ๖. พ่อตาได้ฟังดังนั้นคิดว่า ท่านผู้นี้ไม่ติดในสิ่งทั้งปวง ใครๆ ไม่อาจที่จะให้ท่านผู้นี้หมุนไปในกามทั้งหลายได้ จึงได้ไปตามทางที่มาแล้วนั่นแล. ฝ่ายพระเถระ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๑๐๐ ปี อุปสมบทได้ ๑๒๐ พรรษาเป็นพระเถระในแผ่นดิน ชำระเสนียดแห่งพระศาสนาที่ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีให้เกิดขึ้น สังคายนาร้อยกรองพระธรรมครั้งที่ ๒ แล้วจึงสั่งติสสมหาพรหมว่า ท่านจงชำระสะสางเสนียดอันจะเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าธรรมาโศก ในอนาคตกาล แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. จบอรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔ จบอรรถกถาเถรคาถา ฉักกนิบาต

อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ฉักกนิบาต ๑๔. สัพพกามเถรคาถา อรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔#- #- บาลีเป็น สัพพกามเถรคาถา. คาถาของท่านพระสัพพกามีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? ได้ยินว่า พระเถระนี้ได้เห็นพระเถระรูปหนึ่งชำระความแตกความสามัคคี อันเกิดขึ้นในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ แล้วจัดตั้งให้เป็นปกติตามเดิม จึงตั้งความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้สามารถชำระความแตกความสามัคคี ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต แล้วปรารถนาจัดตั้งให้เป็นปกติตามเดิม ดังนี้ แล้วกระทำบุญทั้งหลายอันสมควรแก่กรรมนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ในพุทธุปบาทกาลนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครเวสาลี ได้นามว่าสัพพกามะ พอเจริญวัยพวกญาติก็จัดให้มีเหย้าเรือน แต่เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการออกจากทุกข์ เกลียดการครองเรือน จึงบวชในสำนักของพระธรรมภัณฑาคาริก กระทำอยู่ ได้เข้าไปยังนครเวสาลีพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ จึงได้ไปยังเรือนญาติ. ณ เรือนญาตินั้น ภรรยาเก่าได้รับความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากสามี ซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่แต่งตัว นุ่งผ้าเก่าๆ ไหว้ท่านแล้วได้ยืนร้องไห้อยู่ที่ส่วนสุดข้างหนึ่ง เมื่อพระเถระเห็นดังนั้นก็เกิดความเมตตาอันมีกรุณาเป็นตัวนำ พลันกิเลสก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการในอารมณ์ที่ได้เสวยมาแล้ว. ท่านเกิดความสลดใจเหมือนม้าอาชาไนยที่เขาหวดด้วยแส้ ทันใดนั้นเอง จึงไปยังป่าช้ากำหนดเอาอสุภนิมิต กระทำฌานที่ได้ในป่าช้านั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต. ลำดับนั้น พ่อตาของท่านพาธิดาผู้ประดับตกแต่งมา ประสงค์จะให้ท่านสึก จึงได้ไปยังวิหารพร้อมด้วยบริวารมากมาย. พระเถระรู้ความประสงค์ของนางแล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่กำหนัดในกามทั้งหลายและความที่ตนเป็นผู้ไม่ติดในอารมณ์ทั้งปวง จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เต็ม ไปด้วยซากศพต่างๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้อง บริหารอยู่เป็นนิตย์. เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มีปรากฏในรูปร่าง หญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อแอบ ดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด บุคคลจับ วานรด้วยตังฉะนั้น ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด เข้าไปซ่องเสพหญิงเหล่า นั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อ ภพใหม่ขึ้นอีก ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้น เหมือนบุคคล สลัดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ระงับตัณหาอันซ่านไปใน โลกเสียได้ เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชา โดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความ สิ้นอาสวะแล้ว. บทว่า ทฺวิปาทโก ในคาถานั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- กายแม้ที่ไม่มีเท้าเป็นต้นเป็นกายไม่สะอาดทั้งนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวอย่างนี้ด้วยอำนาจวิสัยที่กระทำให้ยิ่งหรือด้วยการกำหนดอย่างสูง. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่กายอื่นๆ แม้ไม่สะอาด บุคคลเอาของเค็มและของเปรี้ยวเป็นต้นมาปรุงเข้า ก็ทำให้เป็นโภชนะสำหรับมนุษย์ทั้งหลายได้ แต่กายมนุษย์ทำให้เป็นโภชนะไม่ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงสภาวะอันไม่สะอาดยิ่งแห่งกายมนุษย์นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้. บทว่า อยํ นี้ ท่านกล่าวหมายเอารูปหญิงที่ปรากฏในเวลานั้น. บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาดเลย. อธิบายว่า ในรูปหญิงนี้ไม่มีความสะอาดอะไรเลย. บทว่า ทุคฺคนฺโธ ปริหีรติ ความว่า เป็นกายมีกลิ่นเหม็น เจ้าของปรุงแต่งด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น บริหารอยู่. บทว่า นานากุณปปริปูโร ได้แก่ เต็มด้วยซากศพอเนกประการมีผมเป็นต้น. ในบทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต นี้ เชื่อมความว่า กายนี้ แม้เมื่อชนทั้งหลายพยายามเพื่อจะปกปิดความที่กายเป็นของน่าเกลียด ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ก็ทำความพยายามนั้นให้ไร้ผล ทำน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ และทำเหงื่อที่หมักหมมให้ไหลออกจากขุมขนทั้งหลายบริหารอยู่. เมื่อจะแสดงว่า ก็กายนี้แม้เป็นของน่าเกลียดอย่างนี้ ก็ยังลวงปุถุชนผู้บอดเขลาด้วยรูปเป็นต้นของตน เหมือนพรานเนื้อลวงเนื้อเป็นต้นด้วยเครื่องดักมีหลุม (พราง) เป็นต้นฉะนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ นิลีนํ กูเฏน ความว่า เหมือนพรานเนื้อแอบคือซ่อนดักเนื้อด้วยเครื่องดักมีบ่วงเป็นต้น. จริงอยู่ อิวศัพท์ที่กำลังจะกล่าวถึง แม้ในประโยคนี้ก็ควรนำมาประกอบเข้า. บทว่า พฬิเสเนว อมฺพุชํ ความว่า เหมือนพรานเบ็ดตกสัตว์ที่เกิดในน้ำคือปลา ด้วยเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อไว้ฉะนั้น. บทว่า วานรํ วิย เลเปน ความว่า เบญจกามคุณย่อมลวงปุถุชนผู้บอดให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อลวงจับลิงด้วยตังซึ่งวางไว้ที่ต้นไม้และศิลาเป็นต้น. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า ใครทำให้ลำบาก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้. จริงอยู่ ส่วนของกาม ๕ ส่วนมีรูปเป็นต้น โดยพิเศษเป็นที่อาศัยของวัตถุที่เป็นวิสภาคกัน ทำใจของปุถุชนผู้บอดผู้ถูกห้อมล้อม ด้วยอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่เข้าไปอาศัยของวิปลาส ให้ยินดี ชื่อว่าย่อมยังอันธปุถุชนเหล่านั้นให้ลำบาก เพราะนำความพินาศมาให้ โดยความที่รูปเป็นต้นเป็นวัตถุที่ตั้งของกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รูปเสียง ฯลฯ ปรากฏในรูปหญิง. ก็ศัพท์หญิง ในคำนั่น พึงทราบว่า ท่านกระทำด้วยอำนาจอารมณ์ที่ทำให้ยิ่ง. ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ปุถุชนเหล่าใดซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีเนื้อความว่า ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด คือมีจิตถูกราคะความกำหนัดครอบงำ ย่อมซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ด้วยการกำหนดว่าเป็นเครื่องอุปโภคใช้สอย. บทว่า วฑฺเฒนฺติ กฏสึ โฆรํ ความว่า ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร กล่าวคือ กฏสิ การท่องเที่ยวเพราะคนอันธพาลยินดียิ่งนัก อันน่ากลัวคืออันนำความกลัวมาด้วยชาติเป็นต้น และด้วยนรกเป็นต้น ให้เจริญด้วยการเกิดและการตายเป็นต้นบ่อยๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก ดังนี้. บทว่า โย เจตา ความว่า ส่วนบุคคลใดงดเว้นหญิงเหล่านั้นเสียได้ด้วยการข่ม และการตัดขาดฉันทราคะในหญิงเหล่านั้น เหมือนคนสลัดหัวงูด้วยเท้า เป็นผู้มีสติล่วงพ้นตัณหากล่าวคือความซ่านไปในโลก เพราะละโลกทั้งปวงได้แล้วดำรงอยู่. บทว่า กาเมสฺวาทีนวํ ทิสฺวา ความว่า เห็นอาทีนพ คือโทษอันต่ำช้าโดยประการมิใช่น้อยในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยท่อนกระดูก มีความลำบากมาก มีความคับแค้นมาก. บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต ความว่า เห็นเนกขัมมะโดยภาวะ อันออกจากกามและภพทั้งหลาย ได้แก่บรรพชาและพระนิพพาน โดยความเกษมคือโดยปลอดอันตราย. สลัดออกคือพรากออกจากกรรมทั้งปวง ได้แก่ จากธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่. ก็พระเถระพรากแล้วจากกามเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้. พระเถระกล่าวธรรมด้วยคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาที่ ๖. พ่อตาได้ฟังดังนั้นคิดว่า ท่านผู้นี้ไม่ติดในสิ่งทั้งปวง ใครๆ ไม่อาจที่จะให้ท่านผู้นี้หมุนไปในกามทั้งหลายได้ จึงได้ไปตามทางที่มาแล้วนั่นแล. ฝ่ายพระเถระ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๑๐๐ ปี อุปสมบทได้ ๑๒๐ พรรษาเป็นพระเถระในแผ่นดิน ชำระเสนียดแห่งพระศาสนาที่ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีให้เกิดขึ้น สังคายนาร้อยกรองพระธรรมครั้งที่ ๒ แล้วจึงสั่งติสสมหาพรหมว่า ท่านจงชำระสะสางเสนียดอันจะเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าธรรมาโศก ในอนาคตกาล แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. จบอรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔ จบอรรถกถาเถรคาถา ฉักกนิบาต เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

จำหน่ายอุปกรณ์ทำเครื่องลดแรงดันไฟฟ้าจำหน่าย แกนหม้อแปลง ความถี่ สูง ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ไอจีบีที มอสเฟต สำหรับ นำไป สร้าง ซ่อม ภาคจ่ายไฟแรงดันต่ำ ความถี่ สูง 02-951-1356 line ID : PORNPIMON 1411 EMAIL sompongindustrial

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

นั่งสมาธิอย่างเดียว ล้างกิเลสไม่ได้สู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อย แล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ มีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส ….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะ พวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะ เวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนาน ทำกันแรมเดือนแรมปี….. วาบเดียวขาดสะบั้นเลย…. เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะ นาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลย ล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียว งั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะ ปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอยนานมากเลย ... ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ... มันจะดิ้นหาแต่ความสุขและดิ้นหนีทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอนานมากเลย อย่างพระอานนท์ สมัยก่อนจะเป็นพระอานนท์ ไปทำบุญมา แล้วขอให้มีรูปงาม ขอให้หล่อ อีกชาติหนึ่งเกิดมาหล่อเฟี้ยวเลย คราวนี้ก็ไปทำผิดศีล ประพฤติผิดในกาม ท่านบอกท่านตายจากชาตินั้นท่านไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน นี่มีคว่มสุขชั่วครั้งชั่วคราวแล้วไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน พ้นจากนรกขึ้นมานะ ท่านมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นวัว บุญที่ทำความดีไว้นะ และก็อธิฐานไว้ก็ส่งผลฝห้เกิดเป็นวัวรูปหล่อ (คนฟังหัวเราะ) เป็นวัวสุดหล่อนะ ถ้าเข้าประกวดทีไรต้องชนะ ทีนี้เวลาเจ้าของเทียมเกวียนจะมีวัวสาวๆมาวิ่งตาม เจ้าของรำคาญเลยจับตอนเสียอีก นี่ท่านบอกว่าท่านถูกตอนอยู่ 500ชาติ หมายถึงถูกตอนอย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เสร็จแล้วมาเกิดเป็นคนนะ เป็นคนที่ไม่สมประกอบ ผิดปกติทางเพศ ท่านบอกเป็นอยู่อย่างนี้อีกนาน กว่าจะสมประกอบคืนมาได้ ดูสิ่ทำผิดชั่ววูบเท่านั้นนะ เวียนอยู่นับเวลาไม่ถูกเลย เราอย่าประมาทน เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่ลวดอยู่บนขอบเหวนะ ไม่ใช่เดินอยู่บนพื้นเรียบๆนะ เหมือนไต่เชือกอะไรอยู่ พลาดพลั้งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ มีคนหนึ่งรู้จักกัน ก็เคยพลาดพลั้ง เคยบวชเป็นพระแล้วก็ถือศีลธรรมดานี่แหล่ะ แต่ว่าไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร เพราะว่าสมัยโน้น ไม่มีการเรียนปริยัติหรือปฎิบัติอะไรเลย บวชกันตามประเพณีไปอย่างนั้นอย่างนั้น วันๆ อยู่ไปเรื่อยๆ ตายจากชาตินั้นไปเกิดเป็นวัว ไปใช้หนี้ชาวบ้านเค้านะ แต่ว่าไม่ได้ทำกรรมชั่วอะไรนะ พอเป็นลูกวัวชาวบ้านก็เอามาปล่อยวัด กลับมาอยู่วัดเก่าที่เคยเป็นพระนี่แหล่ะ ประมาทไม่ได้เลยระสังสารวัฎเนี่ย พลาดแวบเดียวไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา เราพลัดตกเหวลงมานะ ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อไต่ใหม่ เราภาวนาไปช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวมีแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีกกระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยๆไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ งานในโลกนี้ไม่เคยเสร็จหรอก ถ้าคิดรอให้งานเสร็จแล้วจะภาวนา งั้นชาตินี้ก็จะไม่ได้ภาวนา ต้องภาวนาไปเลย ทำงานไปภาวนาไปนี่แหล่ะ ใช้ชีวิตปกตินี่แหล่ะภาวนาไปเลย กรรมฐานที่หลวงพ่อสอนให้ คือ การดูจิตดูใจนั้น เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง คนที่ต้องทำงานกับความคิดมากๆ ทำกรรมฐานอย่างอื่นไม่ได้หรอก

นั่งสมาธิอย่างเดียว ล้างกิเลสไม่ได้สู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อย แล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ มีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส ….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะ พวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะ เวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนาน ทำกันแรมเดือนแรมปี….. วาบเดียวขาดสะบั้นเลย…. เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะ นาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลย ล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียว งั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะ ปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอยนานมากเลย ... ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ... มันจะดิ้นหาแต่ความสุขและดิ้นหนีทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอนานมากเลย อย่างพระอานนท์ สมัยก่อนจะเป็นพระอานนท์ ไปทำบุญมา แล้วขอให้มีรูปงาม ขอให้หล่อ อีกชาติหนึ่งเกิดมาหล่อเฟี้ยวเลย คราวนี้ก็ไปทำผิดศีล ประพฤติผิดในกาม ท่านบอกท่านตายจากชาตินั้นท่านไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน นี่มีคว่มสุขชั่วครั้งชั่วคราวแล้วไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน พ้นจากนรกขึ้นมานะ ท่านมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นวัว บุญที่ทำความดีไว้นะ และก็อธิฐานไว้ก็ส่งผลฝห้เกิดเป็นวัวรูปหล่อ (คนฟังหัวเราะ) เป็นวัวสุดหล่อนะ ถ้าเข้าประกวดทีไรต้องชนะ ทีนี้เวลาเจ้าของเทียมเกวียนจะมีวัวสาวๆมาวิ่งตาม เจ้าของรำคาญเลยจับตอนเสียอีก นี่ท่านบอกว่าท่านถูกตอนอยู่ 500ชาติ หมายถึงถูกตอนอย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เสร็จแล้วมาเกิดเป็นคนนะ เป็นคนที่ไม่สมประกอบ ผิดปกติทางเพศ ท่านบอกเป็นอยู่อย่างนี้อีกนาน กว่าจะสมประกอบคืนมาได้ ดูสิ่ทำผิดชั่ววูบเท่านั้นนะ เวียนอยู่นับเวลาไม่ถูกเลย เราอย่าประมาทน เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่ลวดอยู่บนขอบเหวนะ ไม่ใช่เดินอยู่บนพื้นเรียบๆนะ เหมือนไต่เชือกอะไรอยู่ พลาดพลั้งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ มีคนหนึ่งรู้จักกัน ก็เคยพลาดพลั้ง เคยบวชเป็นพระแล้วก็ถือศีลธรรมดานี่แหล่ะ แต่ว่าไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร เพราะว่าสมัยโน้น ไม่มีการเรียนปริยัติหรือปฎิบัติอะไรเลย บวชกันตามประเพณีไปอย่างนั้นอย่างนั้น วันๆ อยู่ไปเรื่อยๆ ตายจากชาตินั้นไปเกิดเป็นวัว ไปใช้หนี้ชาวบ้านเค้านะ แต่ว่าไม่ได้ทำกรรมชั่วอะไรนะ พอเป็นลูกวัวชาวบ้านก็เอามาปล่อยวัด กลับมาอยู่วัดเก่าที่เคยเป็นพระนี่แหล่ะ ประมาทไม่ได้เลยระสังสารวัฎเนี่ย พลาดแวบเดียวไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา เราพลัดตกเหวลงมานะ ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อไต่ใหม่ เราภาวนาไปช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวมีแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีกกระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยๆไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ งานในโลกนี้ไม่เคยเสร็จหรอก ถ้าคิดรอให้งานเสร็จแล้วจะภาวนา งั้นชาตินี้ก็จะไม่ได้ภาวนา ต้องภาวนาไปเลย ทำงานไปภาวนาไปนี่แหล่ะ ใช้ชีวิตปกตินี่แหล่ะภาวนาไปเลย กรรมฐานที่หลวงพ่อสอนให้ คือ การดูจิตดูใจนั้น เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง คนที่ต้องทำงานกับความคิดมากๆ ทำกรรมฐานอย่างอื่นไม่ได้หรอก

สู้กับกิเลสถอยไม่ได้นะสู้กันถึงเลือดถึงเนื้อเลยถ้าท้อแท้ถดถอยถอยไกลนะสู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อย แล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ มีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาส ….หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป พอถึงวันที่เส้นทางนี้หายไปนะ พวกเราจะระหกระเหินอีกนานเลยนะ เวลาเราสะสมสติ สมาธิ ปัญญานะ ทำกันนาน ทำกันแรมเดือนแรมปี….. วาบเดียวขาดสะบั้นเลย…. เหมือนอย่างเราตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่งนะ เราฟันแล้วฟันอีกๆๆ ฟันไปเรื่อยๆนะ นาทีสุดท้ายที่ล้มน่ะ ฟันฉับเดียวขาดเลย ล้มไปแล้ว เวลาที่มรรคผลจะเกิด เกิดชั่วขณะจิต สั้นๆ ชั่วขณะเดียว งั้นการปฏิบัติธรรมหนึ่งขณะจิตนี่เรื่องสำคัญมากนะ ปัจจุบันก็คือขณะจิตต่อหน้านั่นเอง เราเรียนรู้กายเรียนรู้ใจลงปัจจุบันไปเรื่อยนะ ไม่หลงไปในอดีต ไม่หลงไปอนาคต รู้ลงปัจจุบันไป……. ถึงวันหนึ่งจิตเขารู้แจ้ง เขาวางปั๊บ ก็เข้าถึงธรรมปั๊บเลย ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอยนานมากเลย ... ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ... มันจะดิ้นหาแต่ความสุขและดิ้นหนีทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าอ่อนแอท้อถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกลไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆนะ ถ้าในคัมภีร์(พระไตรปิฎก) เขาจะว่าถอยครั้งละ 500 ชาติ บางทีถอนานมากเลย อย่างพระอานนท์ สมัยก่อนจะเป็นพระอานนท์ ไปทำบุญมา แล้วขอให้มีรูปงาม ขอให้หล่อ อีกชาติหนึ่งเกิดมาหล่อเฟี้ยวเลย คราวนี้ก็ไปทำผิดศีล ประพฤติผิดในกาม ท่านบอกท่านตายจากชาตินั้นท่านไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน นี่มีคว่มสุขชั่วครั้งชั่วคราวแล้วไปเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน พ้นจากนรกขึ้นมานะ ท่านมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นวัว บุญที่ทำความดีไว้นะ และก็อธิฐานไว้ก็ส่งผลฝห้เกิดเป็นวัวรูปหล่อ (คนฟังหัวเราะ) เป็นวัวสุดหล่อนะ ถ้าเข้าประกวดทีไรต้องชนะ ทีนี้เวลาเจ้าของเทียมเกวียนจะมีวัวสาวๆมาวิ่งตาม เจ้าของรำคาญเลยจับตอนเสียอีก นี่ท่านบอกว่าท่านถูกตอนอยู่ 500ชาติ หมายถึงถูกตอนอย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เสร็จแล้วมาเกิดเป็นคนนะ เป็นคนที่ไม่สมประกอบ ผิดปกติทางเพศ ท่านบอกเป็นอยู่อย่างนี้อีกนาน กว่าจะสมประกอบคืนมาได้ ดูสิ่ทำผิดชั่ววูบเท่านั้นนะ เวียนอยู่นับเวลาไม่ถูกเลย เราอย่าประมาทน เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่ลวดอยู่บนขอบเหวนะ ไม่ใช่เดินอยู่บนพื้นเรียบๆนะ เหมือนไต่เชือกอะไรอยู่ พลาดพลั้งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ มีคนหนึ่งรู้จักกัน ก็เคยพลาดพลั้ง เคยบวชเป็นพระแล้วก็ถือศีลธรรมดานี่แหล่ะ แต่ว่าไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร เพราะว่าสมัยโน้น ไม่มีการเรียนปริยัติหรือปฎิบัติอะไรเลย บวชกันตามประเพณีไปอย่างนั้นอย่างนั้น วันๆ อยู่ไปเรื่อยๆ ตายจากชาตินั้นไปเกิดเป็นวัว ไปใช้หนี้ชาวบ้านเค้านะ แต่ว่าไม่ได้ทำกรรมชั่วอะไรนะ พอเป็นลูกวัวชาวบ้านก็เอามาปล่อยวัด กลับมาอยู่วัดเก่าที่เคยเป็นพระนี่แหล่ะ ประมาทไม่ได้เลยระสังสารวัฎเนี่ย พลาดแวบเดียวไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา เราพลัดตกเหวลงมานะ ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลส ถอยไม่ได้ แต่ต้องสู้ ต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อไต่ใหม่ เราภาวนาไปช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวมีแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีกกระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยๆไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ งานในโลกนี้ไม่เคยเสร็จหรอก ถ้าคิดรอให้งานเสร็จแล้วจะภาวนา งั้นชาตินี้ก็จะไม่ได้ภาวนา ต้องภาวนาไปเลย ทำงานไปภาวนาไปนี่แหล่ะ ใช้ชีวิตปกตินี่แหล่ะภาวนาไปเลย กรรมฐานที่หลวงพ่อสอนให้ คือ การดูจิตดูใจนั้น เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง คนที่ต้องทำงานกับความคิดมากๆ ทำกรรมฐานอย่างอื่นไม่ได้หรอก

ผู้มีร่างกายเป็นร่างกายสุดท้าย ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยในชีวิ­ต ความกลัวทั้งปวง อันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายในปัจจุบันมิได้มีด้วยประการใด­ประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระลงแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เรา ประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มีความกลัวตายเหมือน บุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไปแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วคายทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มีความถือมั่น เสร็จกิจแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดีต่อความสิ้นอายุเหมือน บุคคลพ้นแล้วจากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งหมด ย่อมไม่เศร้าโศกในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วพอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง............. ...................................................................................................................................... เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

สุดขีดแล้วนะสติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้วปัญญาก็สุดขีดแล้ว นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า