วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีละความยินดีในโลกียสุขของพระอนาคามีบุคคลอุปาทาน อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นยึดมั่นด้วยอำนาจของกิเลส หรือความยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามอำนาจของตัณหา หรือความยึดมั่นถือมั่นตามความพึงพอใจของตัวของตน มี ๔ ประการ คือ ๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกาม คือ ยึดมั่นใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ(สัมผัส) เนื่องด้วยตัณหาความกำหนัดในสิ่งต่างๆเหล่านั้นด้วยอำนาจของกิเลส ไม่รู้ด้วยอวิชชาว่าสังขารเหล่านั้นทั้งหลายทั้งปวงล้วนอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เป็นธรรมดา จึงควบคุมไม่ได้อย่างแท้จริง (กามุปาทาน - ความยึนมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ : จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยท่านพระธรรมปิฏก) ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ คือ ยึดมั่นในความเห็น ความเชื่อ ความคิด หรือในทฤษฎีของตัวของตน จึงไม่เชื่อหรือแอบต่อต้านในสิ่งต่างๆที่ขัดแย้งหรือไม่ลงรอยไปกับความคิด ความเห็น ความเชื่อ หรือทฤษฎีของตัวของตนเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจิตจึงไม่ยอมศึกษาหรือพิจารณาอย่างจริงจังในความคิดความเห็นอื่นๆที่ถูกต้องและดีงามแต่ขัดแย้งกับความเชื่อความเห็นเดิมๆของตน เกิดความรู้สึกต่อต้าน ขัดแย้ง ไม่พอใจในสิ่งต่างๆ ที่ไม่ตรงความเชื่อความเข้าใจของตัวของตนโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา จึงทำให้ไม่สามารถเห็นหรือเข้าใจในสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงที่เป็นไปของธรรมหรือสิ่งนั้นๆได้อย่างปรมัตถ์หรือถูกต้องดีงาม (ทิฏฐุปาทาน - ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือความเห็น ลัทธิ หรือหลักคำสอนต่างๆ : จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยท่านพระธรรมปิฏก) ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในศีล(ข้อสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด) และพรต(ข้อที่พึงถือปฏิบัติ) แต่เป็นการยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส ดังเช่น ตามความเชื่อหรือตามการปฏิบัติที่ทำตามๆกันต่อมาแต่ไม่ถูกต้องโดยงมงายด้วยอวิชชา เช่น พ้นทุกข์ได้โดยถือศีลแต่ฝ่ายเดียวไม่ต้องปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญา, ปฏิบัติแต่สมาธิแล้วจะบรรลุมรรคผลต่างๆจากสมาธิโดยตรงจึงขาดการวิปัสสนา, อ้อนวอนบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆนาๆ, ทรมานตนเพื่อบรรลุธรรม, คล้องพระเพื่อคงกระพัน โชคลาภ, ทำบุญแต่ฝ่ายเดียวเพื่อหวังมรรคผล, ล้างบาปได้ (สีลัพพตุปาทาน - ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่ากระทำสืบๆ กันมา หรือปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล : จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยท่านพระธรรมปิฏก) ๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในคำพูด(วาทุ-วาทะ)ที่ใช้แสดงความเป็นของตัวเป็นของตน จึงเกิดการไปหลงคิดหลงยึดหรือจดจำ(สัญญา)เอาอย่างเป็นจริงเป็นจังว่าเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริงโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา กล่าวคือ เกิดความหลงยึดเนื่องจากวาทะการพูดจาเพื่อใช้สื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในสิ่งต่างๆในทางโลกโดยไม่รู้ตัวและซึ่งย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างประจำสมํ่าเสมอในการดำรงชีวิต จึงเกิดการซึมซับแล้วซึมซ่านไปย้อมจิตให้หลงไปยึด ไปหลงในคำพูดต่างๆเหล่านั้นว่า เป็นจริงเป็นจังอย่างจริงแท้แน่นอน เช่น คำพูดในการแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น นี่บ้านฉัน นั่นรถฉัน แฟนฉัน สมบัติฉัน นี่ของฉัน จิตจึงไปหลงยึดด้วยอวิชชาความเคยชินในคำพูดที่แสดงความเป็นตัวของตนเหล่านั้น ที่ใช้สื่อสารเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางโลกๆเข้าไปโดยไม่รู้ตัวอยู่เป็นประจำด้วยอวิชชา (รายละเอียดเพิ่มเติม) (อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวงอันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ : จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยท่านพระธรรมปิฏก) สิ่งต่างๆทั้ง๔ เหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว เริ่มเป็นไปตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน หรือเป็นไปดังนี้เสียนานจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น โดยไม่เคยคิดที่จะหยุดยั้งกระบวนการจิตเหล่านี้เลย เนื่องเพราะความไม่รู้(อวิชชา)นั่นเอง จึงปล่อยให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมชาติของปุถุชนหรือสรรพสัตว์ทั่วไป ดังนั้นอุปาทานนี้จึงมีอยู่แล้วตามที่ได้สั่งสมมาแต่ช้านานดังข้างต้น แต่ในสภาพที่นอนเนื่องอยู่ ยังไม่ได้ถูกกระตุ้นเร่งเร้าด้วยเหตุปัจจัยใดๆ จึงอยู่ในสภาพที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ดับ อยู่ กล่าวคือ นอนเนื่องอยู่อยู่ในสภาพของอาสวะกิเลส หรือกิเลสที่นอนเนื่องซึมซาบย้อมจิตนั่นเอง เมื่ออุปาทานที่นอนเนื่อง ในรูปของอาสวะกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดการถูกกระตุ้นปลุกเร้า เหตุปัจจัยโดยตรงที่ปลุกเร้าก็คือตัณหา อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง กล่าวคือ เมื่อเกิดตัณหาความอยากหรือไม่อยากใน เวทนา (ความรู้สึกรับรู้อันเกิดแต่การผัสสะ) อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นในจิตแล้ว สิ่งเหล่านั้นยังเป็นเพียงแค่ความปรารถนาอันเกิดมาแต่เวทนา แต่ยังไม่เกิดขึ้นหรือเป็นเพียงนามธรรมอยู่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล โดยธรรมชาติของจิต จึงต้องเกิดปฏิกริยาต่อตัณหาเหล่านั้นตามอุปาทานที่สั่งสมไว้ดังข้างต้น โดยการตั้งเป้าหมายหรือการที่ต้องยึดมั่น ก็เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายหรือสัมฤทธิ์ผลเป็นตัวเป็นตนขึ้นตามความต้องการ ให้เป็นไปตามตัณหาความปรารถนาของตัวของตนนั้นๆที่เกิดขึ้น ก็เพื่อให้ตัวตนของตนได้รับความพึงพอใจจากการได้รับการตอบสนองอันเป็นไปตามตัณหาความอยากนั่นเอง อันเป็นพื้นฐานโดยธรรมชาติในการดำรงคงชีวิตอย่างหนึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และในทางธรรมะก็จัดว่าสิ่งเหล่านี้ก็เป็นธรรมชาติ เพียงแต่เป็นธรรมชาติที่ก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นของสรรพสัตว์โดยถ้วนหน้าด้วยเช่นกัน เมื่ออุปาทานเกิดขึ้น ที่หมายถึง อุปาทานที่สั่งสมนอนเนื่องอยู่ได้ถูกปลุกเร้าให้ผุดขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยตัณหาเป็นปัจจัยแล้ว สิ่งต่างๆที่ดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปต่อจากนั้นในจิต จึงย่อมถูกครอบงำไว้ด้วยกำลังของอุปาทาน ที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความพึงพอใจของตัวของตนเป็นสำคัญโดยไม่รู้ตัว จึงไม่เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเกิดขึ้นและเป็นไปตามความเป็นจริง แต่เห็นและอยากให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวของตนเป็นสำคัญแต่ฝ่ายเดียวและโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา จึงผูกมัดสัตว์ไว้กับกองทุกข์มาตลอดกาลนาน

ลำดับแห่งการละอุปาทานขันธ์หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

ดวงประทีปของโลกหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

ภิกษุควรละเว้น สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไ­กล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุม­คูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย  ห่างไกล ฉะนั้น

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้องบริหารอยู่เป็นนิตย์ เบญจกามคุณ อันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มี ปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อ แอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด บุคคลจับวานร ด้วยเครื่องล่อ ฉะนั้น ปุถุชนเหล่าใด มีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิง เหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพ ใหม่ขึ้นอีก ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้นเหมือนบุคคลสลัดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติระงับตัณหาอันซ่านไปในโลกเสียได้ เราเห็นโทษในกาม ทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชาโดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง แล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก"มาคันทิยะ ในกาลก่อน เราได้เห็นธิดามารทั้งสามเหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพเช่นกับแท่งทอง ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครก มีเสมหะเป็นต้น แม้ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย ก็สรีระแห่งธิดาของท่านเต็มไปด้วยซากศพ คืออาการ ๓๒ เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด อันตระการตา ณ ภายนอก แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไซร้ และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู ถึงอย่างนั้น เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- แม้ความพอใจในเมถุน ไม่ได้มีแล้ว เพราะเห็น นางตัณหา นางอรดี และนางราคา, เพราะเห็นสรีระแห่ง ธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรและกรีส, (เราจักมี ความพอใจในเมถุนอย่างไรได้?) เราย่อมไม่ปรารถนา เพื่อจะแตะต้องสรีระธิดาของท่านนั้น แม้ด้วยเท้า. ในเวลาจบเทศนา เมียผัวทั้งสองตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล ดังนี้แล.

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด หวั่น มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

คาถาธรรมบทว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ

คาถาธรรมบทว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้ากิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า

รีบรู้สึกตัวไว้อย่ารีบละวางให้จิตเค้าวางเองให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ

รีบรู้สึกตัวไว้อย่ารีบละวางให้จิตเค้าวางเอง ไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์คิดได้ก็ใจเย็นคิดเป็นก็เย็นใจนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี แสดงน้อยลง

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งhttp://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part2.html จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเกิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งจิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

คัมภีร์เล่มสุดท้ายเพื่อความหลุดพ้นจากความเชื่อและลัทธิทั้งหลายหลวงปู่ดูลย์ จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย) ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์) จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้) ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง) อย่าส่งจิตออกนอก จิตคิด จิตถูกทำลาย ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง) (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ) "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง" "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ" "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง" "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง" "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะหลวงปู่ดูลย์ จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย) ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์) จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้) ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง) อย่าส่งจิตออกนอก จิตคิด จิตถูกทำลาย ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง) (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ) "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง" "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ" "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง" "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง" "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"

เรื่องโลกเรื่องจิตและจักรวาลเข้าใจจิต เข้าใจจักรวาล ผู้เขียน: ธรรม "จิตคือพุทธะ" โดย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหา พุทธภาวะ จากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นเองทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวาย เพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือ พุทธ นั่นเอง และ พุทธ ก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้น จงคิดดูเถิดเมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกๆ กรณีอยู่แล้ว คือเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธ ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้วอยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธ ก็ดี และถ้าเรายังยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องรอยกันกับทางๆ โน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้งหก และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็น พุทธ สักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่ พุทธ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้นหาใช่ พุทธ ที่บรรลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อ จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละ คือ พุทธที่แท้จริง พุทธ และสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้นมันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิต ของ พุทธ และของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดู พุทธ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุดถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้นและไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียว ที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเองคือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่องทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหาพุทธนอกตัวเราเอง พวกเรายังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลายต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกันไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย จิตนี้ ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ผูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็น พุทธ ดั้งเดิมของเรานั้นโดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตน แม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละคือ สิ่งๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

กายคตาสติกรรมฐานการพิจารณาร่างกาย “ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา” จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ขอพระองค์ผู้ประเสริฐจงช่วยยังความโศกของข้าพระพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด” พระ ศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า “อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของท่านที่หลั่งไหลออกมาในสังสารวัฏนี้เพราะมรณกรรมแห่งธิดามีประมาณ ยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ดูก่อนเปสกะ จงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น - ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร - ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ - ความทุกข์เพราะความชรา - ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน - ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ - ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ - ความทุกข์เพราะไม่ได้สัตว์และสังขารตามปรารถนา - ความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์ คือร่างกายอันเป็นเหมือนเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้ “ดู ก่อนเปสกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัวเพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลหลงเข้าสู่ป่าลึกซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินออกจากสังสารวัฏแล้วและชักชวนคนทั้งหลายให้เดินออกด้วย บัดนี้ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติแน่นอนไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแล้ว ท่านเบาใจเสียเถิด” นายช่างหูกนั้นสดับพระพุทธพจน์อันมี เหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ขอบรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนักได้สำเร็จอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ 

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพาน “ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา” จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ขอพระองค์ผู้ประเสริฐจงช่วยยังความโศกของข้าพระพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด” พระ ศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า “อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของท่านที่หลั่งไหลออกมาในสังสารวัฏนี้เพราะมรณกรรมแห่งธิดามีประมาณ ยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ดูก่อนเปสกะ จงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น - ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร - ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ - ความทุกข์เพราะความชรา - ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน - ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ - ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ - ความทุกข์เพราะไม่ได้สัตว์และสังขารตามปรารถนา - ความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์ คือร่างกายอันเป็นเหมือนเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้ “ดู ก่อนเปสกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัวเพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลหลงเข้าสู่ป่าลึกซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินออกจากสังสารวัฏแล้วและชักชวนคนทั้งหลายให้เดินออกด้วย บัดนี้ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติแน่นอนไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแล้ว ท่านเบาใจเสียเถิด” นายช่างหูกนั้นสดับพระพุทธพจน์อันมี เหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ขอบรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนักได้สำเร็จอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ 

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง “ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา” จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ขอพระองค์ผู้ประเสริฐจงช่วยยังความโศกของข้าพระพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด” พระ ศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า “อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของท่านที่หลั่งไหลออกมาในสังสารวัฏนี้เพราะมรณกรรมแห่งธิดามีประมาณ ยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ดูก่อนเปสกะ จงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น - ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร - ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ - ความทุกข์เพราะความชรา - ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน - ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ - ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ - ความทุกข์เพราะไม่ได้สัตว์และสังขารตามปรารถนา - ความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์ คือร่างกายอันเป็นเหมือนเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้ “ดู ก่อนเปสกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัวเพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลหลงเข้าสู่ป่าลึกซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินออกจากสังสารวัฏแล้วและชักชวนคนทั้งหลายให้เดินออกด้วย บัดนี้ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติแน่นอนไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแล้ว ท่านเบาใจเสียเถิด” นายช่างหูกนั้นสดับพระพุทธพจน์อันมี เหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ขอบรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนักได้สำเร็จอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ 

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ประการแรกพึงเกิดจิตที่ประเสริฐ 5 ประการ ... ๑.เกิดจิตมหาเมตตากรุณาที่เสมอภาคต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ๒.ไม่เสื่อมถอยจากจิตสัพพัญญู ๓.ทำความเข้าใจว่าเราเป็นมิตรกับหมู่สัตว์ทั้งปวง พวกเขาตก อยู่ในอันตรายจึงคิดจะช่วยเหลือดูแล ๔.ทำความเข้าใจว่าเรามีส่วนรับผิดชอบต่อหมู่สัตว์ ๕.มีสำนึกละอายว่าจะชดใช้หมดสิ้นเมื่อใด เมื่อสามารถเกิดจิต 5 ประการนี้แล้ว จึงจักบรรลุพระอนุตรสัมมา สัมโพธิได้โดยเร็ว... ”

หลวงปู่เทสก์198 หลักการภาวนา 06 ตค 26ปัพพโตปมคาถา ยาถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปริเยยฺยุง นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพาเมวาภิมทฺทติ น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุง ธเนน วา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺถโน พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธํ นิเวสเย โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ. แปลว่า ภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญนรชน นั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ดังนี้แล. Category

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะ"จิตคือพุทธะ" โดย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหา พุทธภาวะ จากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นเองทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวาย เพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือ พุทธ นั่นเอง และ พุทธ ก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้น จงคิดดูเถิดเมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกๆ กรณีอยู่แล้ว คือเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธ ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้วอยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธ ก็ดี และถ้าเรายังยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องรอยกันกับทางๆ โน้นเสียเลย จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติปารมิตาทั้งหก และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็น พุทธ สักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่ พุทธ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้นหาใช่ พุทธ ที่บรรลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อ จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละ คือ พุทธที่แท้จริง พุทธ และสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้นมันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิต ของ พุทธ และของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดู พุทธ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุดถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้นและไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียว ที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเองคือ พุทธะ เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่องทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหาพุทธนอกตัวเราเอง พวกเรายังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลายต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใดเลย เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกันไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย จิตนี้ ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ผูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็น พุทธ ดั้งเดิมของเรานั้นโดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตน แม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละคือ สิ่งๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะจิตหนึ่งจิตคือพุทธะพระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธะจิตหนึ่งจิตคือพุทธะพระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะ

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดแผ่เมตตา (กรณียเมตตสูตร)กะระณียะเมตตะสูตร กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค) กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะกะระณียะเมตตะสูตร กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค) กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดีย

กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะ ด้วยกรรมอันเป็นกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นเหตุให้พ่อแม่ครูอาจารย์ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ในสังสารวัฏทุกชีวิตจงถึงความสิ้นทุกข์ จงถึงความสุขตลอดไป ขอบพระคุณมากครับ ที่สละเวลาเข้ามาชม วีดีโอ นี้

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะ.mp4กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

บรรยายสรุปโซลาร์เซลล์http://www.youtube.com/watch?v=ow8OmeUU0cw

TM52A ที่ต่อโดยตรงจากโซล่าเซลล์ให้ทำตามนี้ครับhttp://www.youtube.com/watch?v=VKDcA13WWFE

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าธิดาช่างหูกได้บรรลุโสดาปัตติผล เทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ธิดา ช่างหูกถวายบังคมพระศาสดาแล้วรีบไปสู่สำนักของบิดา ณ โรงทอผ้า ขณะนั้นนายช่างหูกผู้เป็นบิดานั่งหลับอยู่ นางมิได้ดูให้แน่ว่าบิดาหลับอยู่หรือตื่นอยู่ จึงสอดด้ายหลอดเข้าไป ด้านหลอดนั้นกระทบปลายฟืมเสียงดังแล้วตกลงไปเบื้องล่าง นายช่างหูกตื่นขึ้นกระชากปลายหูกกลับมากระทบกับหน้าอกของธิดาสาวโดยแรง นางถึงกาลกิริยาทันที นายช่างหูกได้เห็นลูกสาวมีสรีระแดงฉานด้วยเลือดและสิ้นใจเสียแล้ว ก็เสียใจมาก คิดว่า “ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา” จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ขอพระองค์ผู้ประเสริฐจงช่วยยังความโศกของข้าพระพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด” พระ ศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า “อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของท่านที่หลั่งไหลออกมาในสังสารวัฏนี้เพราะมรณกรรมแห่งธิดามีประมาณ ยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ดูก่อนเปสกะ จงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น - ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร - ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ - ความทุกข์เพราะความชรา - ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน - ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ - ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ - ความทุกข์เพราะไม่ได้สัตว์และสังขารตามปรารถนา - ความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์ คือร่างกายอันเป็นเหมือนเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้ “ดู ก่อนเปสกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัวเพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลหลงเข้าสู่ป่าลึกซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินออกจากสังสารวัฏแล้วและชักชวนคนทั้งหลายให้เดินออกด้วย บัดนี้ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติแน่นอนไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาแล้ว ท่านเบาใจเสียเถิด” นายช่างหูกนั้นสดับพระพุทธพจน์อันมี เหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ขอบรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนักได้สำเร็จอรหัตผลเป็นพระอรหันต์

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเรารู้ของเราเองอย่างนี้ รู้ลงไปซื่อๆ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ คอยรู้ไป ถ้าเราไปเพ่งจิตให้นิ่ง มันจะไม่มีกิเลสอะไรให้ดู มันจะนิ่งๆ .

พระพุทธเจ้าตรัสว่าภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เกิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์ มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล. -----------------------------------------------------

นิพพานัง ปรมัง สุขังบุญทานแม้เล็กน้อยไม่พึงดูหมิ่น บุคคลเมื่อล้างภาชนะบรรจุอาหาร พึงปรารภว่า แม้สัตว์เล็ก สัตว์น้อย ที่อยู่ในดิน ขอจงได้กิน ดื่ม อาหารและน้ำนี้ ขอจงมีอายุยืนนาน และมีความสุขสำราญ เทอญ

กัณหทีปายนะชาดกเหตุนั้นเราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เมื่อเราเป็นฤาษีชื่อว่ากัณหทีปายนะ เราไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ ยิ่งกว่า ๕๐ ปี ใครๆ จะรู้ใจที่ไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ของเรานั้นหามิได้ แม้เราก็ไม่บอกแก่ใครๆ ว่า ความ ไม่ยินดีมีในใจของเรา สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ชื่อมัณฑัพยะ เป็นฤาษีมีอานุภาพมากประกอบด้วยบุรพกรรม (กรรมเก่าให้ผล) ถูกเสียบหลาวทั้งเป็น เราทำการพยาบาลมัณฑัพยะดาบสนั่นให้หาย โรคแล้วได้อำลามาสู่บรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง พราหมณ์ ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภริยาและบุตร ต่างถือสักการะสำหรับ ต้อนรับแขก รวมสามคนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศรัยกับสหาย และภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำ งูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง จอมปลวก ควานไปถูกเอาศีรษะงูเข้าพอมือไปถูกศีรษะของมัน งูก็ โกรธ อาศัยกำลังพิษ เคืองจนเหลือจะอดกลั้นได้กัดเด็กทันที พร้อมกับถูกงูกัด เด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบ มารดาบิดาของทารกนั้น ผู้มีทุกข์เศร้าโศก ให้สว่างแล้ว ได้ทำ สัจจกิริยาอันประเสริฐสุดก่อนว่า เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ มีจิตเลื่อมใส อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อแต่นั้นมา การประพฤติของเรา ไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ เราไม่ปรารถนาจะประพฤติ เสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็ก นี้เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่ พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา มาณพหวั่นไหวด้วยกำลังพิษได้ฟื้น กายหายโรค ลุกขึ้นได้ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็น สัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

กายคตาสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน

กายคตาสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน

ทางแห่งความหลุดพ้นของจิตจากอาสวะกิเลส หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

หนึ่งศิษย์หนึ่งอาจารย์ ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงมีปัญญาของตนเอง หรือไม่พึงได้ศึกษาวินัยดีแล้ว ชนเป็นอันมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น [๑๐๔๙] ก็แลบุคคลบางพวกในโลกนี้ ได้ศึกษาวินัยมาเป็นอย่างดีในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย จึงมีวินัยอันอาจารย์แนะนำแล้ว เป็น นักปราชญ์ มีจิตตั้งมั่นดี เที่ยวไป

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่การที่เราคอยมีสติรู้ทันใจของเราเองเรื่อยๆเนี่ย นอกจากศีลแล้วสมาธิยังจะเกิดขึ้นได้ง่าย อย่างคนที่มาเรียนกับหลวงพ่อแต่เดิมรักษาศีลไม่ได้เดี๋ยวนี้รักษาง่าย แต่เดิมทำสมาธิไม่ได้เดี๋ยวนี้ทำสมาธิง่าย สมาธิไม่ใช่เรื่องยากอะไร จิตมันฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นฟุ้งไปในอารมณ์นี้ ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านจะดับโดยอัตโนมัติ มันมีกฎของธรรมะข้อนึงก็คือ กิเลสกับกุศลเนี่ยจะไม่เกิดร่วมกัน สติเป็นตัวกุศลนะ เพราะนั้นถ้าเมื่อไหร่เรามีสติอยู่ จิตฟุ้งซ่านเรามีสติรู้ทันปั๊บ จิตสงบอัตโนมัติ งั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้สงบเนี่ยไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีแล้วมันก็ยาก เช่นเราอุตสาห์ไปนั่งสมาธินะ นั่งกันเป็นวันๆพุทโธไปหายใจไป ฝึกกันแรมปีนะกว่าจะค่อยๆสงบได้บ้าง บางทีสงบมากๆไปอีกซึมไปเลย ออกจากสมาธิมานะใจก็ซึมๆเซื่องๆ หรือเวลาอยู่ในสมาธิมีความสุขมาก ออกมากระทบอารมณ์ข้างนอกนะ ใจทนไม่ไหว มันคล้ายๆเรามีชีวิตอยู่แต่ในห้องปลอดเชื้อ พอออกมาสู่อากาศข้างนอกโดนเชื้อโรคแป๊บเดียวตายเลย เวลาติดอยู่ในสมาธินะใจสงบสบายมีความสุขนึกว่าไม่มีกิเลส พอออกมากระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเท่านั้น กิเลสระเบิดเปรี้ยงปร้างเลย งั้นสมาธิอย่างนั้นไม่ค่อยได้เรื่องอะไรหรอก เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์หลวงพ่อปราโมทย์ :ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง ตัวสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่งท่าเดิน ไม่ใช่เดินท่าไหนถูก นั่งท่าไหนถูก จะเอามือไว้ตรงไหน เรื่องไร้สาระเลย อันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนจะถนัดเอามือไว้ตรงไหนก็เอาไป จุดสำคัญคือรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนในการทำสมาธิท่านถึงเรียกว่า “จิตตสิกขา” ไม่ใช่ให้เรียนเรื่องกายเรื่องจะเอามือเอาไม้ไว้ที่ไหนหรอก ใครจะถนัดเอามือไว้อย่างไรก็เอาไว้อย่างนั้นแหละ มีคราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปหินหมากเป้ง ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ยังอยู่ ท่านสรางมณฑปใหม่แล้วท่านไปอยู่ในมณฑป กุฏิเก่ายังไม่รื้อ เป็นไม้ ท่านให้หลวงพ่อไปพักที่กุฏิเก่าของท่าน กุฏิเก่ากับมณฑปนี้ห่างกันนิดเดียว จากกุฎิเก่ามองเข้าไปทะลุ ผนังเป็นกระจก มณฑปนั้นเป็นกระจกนะ มองเห็นท่านได้ทั้งคืนเลย เราไปถึงก็เนื้อยเหนื่อยนะ ไปถึงแต่มืดเลยเดินทางมาทั้งคืนแล้ว ไปถึงหินหมากเป้งตอนเช้า ไม่ได้พักนะ ภาวนาไปอะไรไป กะว่าค่ำๆจะนอน หลวงปู่ให้ไปอยู่กุฏิเก่าของท่าน มองเห็นท่านอยู่ ท่านเดินจงกรมอยู่เราไม่กล้านอนน่ะ ครูบาอาจารย์ยังไม่นอนเลย ลูกศิษย์นอนก่อน เสียสถาบันนักปฏิบัติ ก็นั่งสมาธิ เดินก็ไม่ไหวแล้ว หนาวพิลึกพิลั่นเลย คอยนั่งสมาธิ คอยลืมตา หลวงปู่ยังเดินอยู่ กะว่าสี่ทุ่มท่านคงพักมั้ง ปลอบใจตัวเอง เปล่าสี่ทุ่มก็ไม่พักนะ ห้าทุ่ม ห้าทุ่มแล้วหลวงปู่ พอเสร็จแล้วดึกๆมากนะ เห็นท่านพัก ท่านพักเราก็รีบนอนเลย นอนไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ ตีสองอะไรอย่างนี้ อู๊ยมันหนาวจัดนะ ตื่นมา ชะโงกดู อุ๊ย..หลวงปู่มาเดินอยู่อีกแล้ว ต้องลุกขึ้นนั่ง หนาวแทบตายเลย เห็นท่านเดินจงกรม เป็นเงาตะคุ่มๆนะ มืดๆ ท่านไม่ได้เปิดไฟอะไรไว้ ในห้องที่ท่านอยู่มืดๆ แต่พอมองเห็น เพราะผนังมันเป็นกระจก ด้านหนึ่งพระจันทร์มันก็ส่องอะไรอย่างนี้ เห็นท่านเดินตะคุ่มๆ ใจก็สงสัยขึ้นมา เอ๊..หลวงปู่ หลวงปู่เดินจงกรมเนี่ย หลวงปู่เอามือไว้ตรงไหน ไว้อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าเอาไว้อย่างนี้ แต่ละสำนักเขาสอนไม่เหมือนกัน นึกถามท่านนะ ถามจบปุ๊บท่านก็.. เนี่ย เดินอย่างนี้เลยนะ อ๋อเข้าใจแล้วครับ พอใจบอกว่าเข้าใจแล้วครับ ท่านก็เอามือเก็บ มันไม่ได้อยู่ที่ท่าทาง อยู่ที่สติ พออีกวันไปหาท่าน ท่านก็พูดเรื่องการปฏิบัติ ให้ทำด้วยความมีสติ เพราะฉะนั้นอิริยาบถท่าทางอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ บางคนแกว่งแขนแล้วสติกระเด็นไปหมดเลยใช่มั้ย ก็เลยชอบให้นิ่งๆ มือเคลื่อนไหวมากๆนะจิตใจกระเจิดกระเจิงไป บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า นั่นไม่สำคัญหรอก สำคัญที่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นเดินไปแล้วให้มีสติรักษาจิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน จิตไปคิดแล้วรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน เนี่ยจะได้สมาธิขึ้นมา

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

วิธีการเดินปัญญาเพื่อพาตนให้พ้นทุกข์หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่การที่เราคอยมีสติรู้ทันใจของเราเองเรื่อยๆเนี่ย นอกจากศีลแล้วสมาธิยังจะเกิดขึ้นได้ง่าย อย่างคนที่มาเรียนกับหลวงพ่อแต่เดิมรักษาศีลไม่ได้เดี๋ยวนี้รักษาง่าย แต่เดิมทำสมาธิไม่ได้เดี๋ยวนี้ทำสมาธิง่าย สมาธิไม่ใช่เรื่องยากอะไร จิตมันฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นฟุ้งไปในอารมณ์นี้ ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านจะดับโดยอัตโนมัติ มันมีกฎของธรรมะข้อนึงก็คือ กิเลสกับกุศลเนี่ยจะไม่เกิดร่วมกัน สติเป็นตัวกุศลนะ เพราะนั้นถ้าเมื่อไหร่เรามีสติอยู่ จิตฟุ้งซ่านเรามีสติรู้ทันปั๊บ จิตสงบอัตโนมัติ งั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้สงบเนี่ยไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีแล้วมันก็ยาก เช่นเราอุตสาห์ไปนั่งสมาธินะ นั่งกันเป็นวันๆพุทโธไปหายใจไป ฝึกกันแรมปีนะกว่าจะค่อยๆสงบได้บ้าง บางทีสงบมากๆไปอีกซึมไปเลย ออกจากสมาธิมานะใจก็ซึมๆเซื่องๆ หรือเวลาอยู่ในสมาธิมีความสุขมาก ออกมากระทบอารมณ์ข้างนอกนะ ใจทนไม่ไหว มันคล้ายๆเรามีชีวิตอยู่แต่ในห้องปลอดเชื้อ พอออกมาสู่อากาศข้างนอกโดนเชื้อโรคแป๊บเดียวตายเลย เวลาติดอยู่ในสมาธินะใจสงบสบายมีความสุขนึกว่าไม่มีกิเลส พอออกมากระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเท่านั้น กิเลสระเบิดเปรี้ยงปร้างเลย งั้นสมาธิอย่างนั้นไม่ค่อยได้เรื่องอะไรหรอก เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา

TM52A .เหลือ..ประมาณ.... 70..ตัวครับ..23 กันยายน 2557...

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์สำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้.

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์พระเถระย่อมทูลถามถึง ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ... ภิกษุประคองตั้งจิตว่า เมื่อลูกศรคือตัณหาเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง ... ภิกษุประคองตั้งจิตว่า จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพียงใด ..... การนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณา ถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ..

สุขที่อยู่เหนือโลกวิธีถอนอัสมิมานะนั้นในเบื้องต้น ***ให้พิจารณาเห็นโทษของความทะนงตนว่าเป็นเหตุให้เสียหายนานาประการแล้วพยายามเข้าอกเข้าใจผู้อื่นทิฐิมานะจะได้ลดลง

โทษของสุราของมึนเมาสิ่งเสพติด นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

กาลเวลากลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวมันเอง นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

การประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟส เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

วิธีสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสใช้เอง 4 เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

ซ่อมสร้างแอร์อินเวอร์เตอร์ ขาย TRANSISTOR POWER MODULE 6DI15S-050 D ราคาตัวละ 400 บาท ครับ... ขาย TRANSISTOR POWER MODULE 6DI15S-050 C ราคาตัวละ 400 บาท ครับ ขาย TRANSISTOR POWER MODULE MP6501A ราคาตัวละ 400 บาท ครับ

เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้. เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น. ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาล มีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือนเขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น. แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนคนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ. พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก. เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม. บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้. ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย. ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดีๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย. ข้าพระบาทไม่ต้องการ ด้วยทรัพย์ร้อย ทรัพย์พัน หรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้ายใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายสารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็น ที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้ ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว ปรินิพพานแล้วเถิด. สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่ เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์ เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด. "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้" อุปติสสปริพาชกฟังจบแล้วรู้แจ้งว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว มีอันต้องดับไปเป็นธรรมดา" แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ณ ที่นั้นเอง

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเณ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุฯ ช่างดอกไม้ ย่อมร้อยพวงดอกไม้ จากกองดอกไม้ให้มากได้ฉันใด บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้น

POWER MODULE TM52A MC3PHAC ควบคุมมอเตอร์สามเฟสวันนี้ นับ TM52A ดูแล้ว..เหลือ..ประมาณ..ไม่ถึง..ร้อยตัวครับ.รุ่น..ต่อไป..จะเป็น..PS21244 ของ MITSUBISHI ครับ....ขอบคุณ...ทุกท่าน..ที่..กรุณา..อุดหนุน..สินค้า..ครับ..

วันนี้ นับ TM52A ดูแล้ว..เหลือ..ประมาณ..ไม่ถึง..ร้อยตัวครับ.รุ่น..ต่อไป..จะเป็น..PS21244 ของ MITSUBISHI ครับ....ขอบคุณ...ทุกท่าน..ที่..กรุณา..อุดหนุน..สินค้า..ครับ..

เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...

เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...

สตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้วจะ..รักษาจิตได้ นอน..ให้.น้อย..น้อย..ตื่น..ให้..นาน..นาน...ทำงาน...ให้...มาก....มาก....ดี...แน่..แน่...ครับ..

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

Emotiv EPOC + Wheelchair ( Cadeira de rodas controlada com o pensamento )

ชายในร่างแห(เทพบุตรชาวดิน)

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริง ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌาน ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเ­ลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและก­ิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌานในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิต ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด .... เราจะทุกข์..เพราะสิ่งน้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝัน ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด .... เราจะทุกข์..เพราะสิ่งน้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะ จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทันที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้าถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังมากที่สุดในรอบ 1 เดือน ..ไม่ใช่..ของเล่นนะครับ..กามราคะ.ถ้ามันไม่แน่จริง...มันจะตามพระพุทธเจ้า..มาจน..ถึงชาติสุดท้ายได้หรือ..ชักสะพาน..เสีย..รอดครับ....

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทันที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้าถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังมากที่สุดในรอบ 1 เดือน ..ไม่ใช่..ของเล่นนะครับ..กามราคะ.ถ้ามันไม่แน่จริง...มันจะตามพระพุทธเจ้า..มาจน..ถึงชาติสุดท้ายได้หรือ..ชักสะพาน..เสีย..รอดครับ....

เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้วจักมีต่อไปสังขารจักปราศจากไปจักคร่ำครวญไปทำ.ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้..

จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทั­นที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้า­ถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรร­ลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังม­ากที่สุดในรอบ 1 เดือน .

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

โอวาทพระอานนท์เถระแลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย "น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น "โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป "โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ? "น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ "น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่ที่บดยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม "โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร

โอวาทพระอานนท์เถระ เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษนั้นคือการทนต่อความเจ็บปวด พระอานนท์มีพระรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อเยี่ยมไข้ แต่เมื่อเห็นอาการไข้ของโกกิลาภิกษุณีแล้ว ความสงสารและกังวลของท่านก็ค่อยๆ คลายตัวลง ความฉลาดอย่างเลิศล้ำของพระพุทธอนุชาแทงทะลุความรู้สึกและเคลัญญาการของนาง ท่านรู้สึกว่าท่านถูกหลอก ท่านไม่เชื่อเลยว่านางจะเป็นไข้จริง "แต่เอาเถิด" พระอานนท์ปรารภกับตัวท่านเอง "โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสดีเหมือนกันที่จะแสดงบางอย่างให้นางทราบ เพื่อนางจะได้ละความพยายาม เลิกรัก เลิกหมกมุ่นในโลกียวิสัยหันมาทำความเพียรเพื่อละสิ่งที่ควรละ และเจริญสิ่งที่ควรทำให้เจริญ ให้เหมาะสมกับเพศภิกษุณีแห่งนาง คงจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่นางไปตลอดกาลนาน คงจะเป็นปฏิการอันประเสริฐสำหรับความรักของนางผู้ภักดีต่อเราตลอดมา"

โอวาทพระอานนท์"น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้" "ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่" "ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา" "ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก" "ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล" พระอานนท์พูดจบ คอยจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถาของท่านได้ผลภิกษุณีค่อยๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออกคลานมาหมอบลงแทบเท้าของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออก นางเสียใจอย่างสุดซึ้ง อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา ครู่หนึ่งพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง! หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา! พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระอริยะแท้ "ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้องเบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้ "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านแม้จะเป็นความทรมานสักป่านใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชา ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูนหม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิดชาติตระกูลและความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์ "ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์! กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย" นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบางเสมือนหยาดน้ำค้างถูกสลัดลงจากใบหญ้า เมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว "น้องหญิง! เรื่องชาติเรื่องตระกูลนั้นอย่านำมาปรารมภ์เลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลานานแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์ ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระศาสดาทรงสอนอยู่เสมอ เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่อมจะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ พระศาสดาตรัสว่าการเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความทรมานอื่นๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารอาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ต้องตกไปในอบายเป็นการถอยหลังไปอีกมาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย" "น้องหญิง! เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์,แพศย์ หรือสูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้างสรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใครๆ ไม่อาจต่อสู่ด้วยวิธีใดๆ ได้" "นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวภัยและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือนไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกันอยู่ทำไมว่า คนนั้นเป็นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่วก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด" "เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถสนองความรักของน้องหญิงได้นั้น มิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของเธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก" "ภคินีเอย! อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีกมันก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัยนั่นแล เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบความสุขความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า" พระอานนท์ละภิกษุนูปัสสยะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัดเลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ ริมสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมาเสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั้นสักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและสลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะโทสะและโมหะยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์! จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแต่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย" พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์แล้วตรัสให้กำลังใจว่า "อานนท์! เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่งเธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก" แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์นั้น จึงตรัสว่า "อานนท์! เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไปเลย"

พระอริยะบุคคล พระอนาคามี เขานั่งตรองถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะเวลา ๒ ปีที่อยู่ร่วมกับสุชาวดีเป็นระยะเวลาที่เขาลำบากชอกช้ำสุดประมาณได้ ลำดับนั้นสุภาษิตเก่าๆ ที่โบราณบัณฑิตได้กล่าวไว้ก็แจ่มแจ้งแก่เขา ประดุจคบเพลิงสว่างโร่ขึ้นในมุมมืด สุภาษิตนั้นมีดังนี้ -- มีบิดาผู้ซึ่งสะสมหนี้สินไว้มากคือศัตรู มีมารดาผู้ซึ่งมิได้ประพฤติในความบริสุทธิ์คือศัตรู มีภรรยารูปงามคือศัตรู มิตรที่ปราศจากความรู้คือศัตรู -- ความรู้เป็นประดุจยาพิษเพราะมิได้ใช้ความรู้นั้นให้เหมาะสม อาหารก็เปรียบเหมือนยาพิษเพราะไม่ย่อย พระราชวังเป็นประดุจยาพิษสำหรับคนเข็ญใจ ภรรยาสาวก็เปรียบเหมือนยาพิษสำหรับสามีชรา -- แสงจันทร์ และละอองฝนไม่เป็นที่ยินดีของคนหนาว แสงอาทิตย์ไม่เป็นที่พอใจของคนร้อน สามีชราย่อมไม่เป็นที่ยินดีพอใจของภรรยาสาว -- สามีเกศาหงอก ความรักของหญิงสาวผู้เป็นภรรยาจะมีรุนแรงได้อย่างไร ประดุจยาขม หรือไม่ขมก็ตาม ใครจะชอบรับประทานบ้าง เมื่อไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้สตรีจึงเอาใจออกห่างจากผัวแก่ไปฝักใฝ่ในชายอื่น -- ความรักในสมบัติ ความรักชีวิตย่อมมีอยู่ในบุคคลทั่วไป ทุกรูปทุกนาม แต่เมียสาวเป็นที่รักเลิศของผัวเฒ่ายิ่งกว่าหัวใจ -- ชายแก่มีสังขารทรุดโทรม แม้หมดกำลังเพื่อความสนุกรื่นรมณ์ ก็ยังมิวายกระเสือกกระสน เหมือนสุนัขถึงฟันหักเหี้ยน หากพบเนื้อติดกระดูกที่ตนไม่สามารถแทะทึ้งได้ ถึงกระนั้นก็ยังขอแต่ให้ได้เลียก็ยังดี ไม่มีสถานที่ ไม่มีโอกาส ไม่มีบุรุษจะชักชวนให้ไขว้เขว นารีบริสุทธิ์อยู่ได้เพราะเหตุนี้ต่างหาก -- เหตุที่สตรีจะทนเป็นพรหมจารีอยู่ได้ มิใช่จะเป็นเพราะรู้สึกละอาย มีจริยสมบัติ เกลียดการหยาบคายหรือมีใจเกรงขาม ที่แท้เป็นเพราะยังไม่มีผู้ปรารถนาอย่างเดียวเท่านั้น -- สตรีบางคนทำเป็นหวงตัวอย่างน่าหมั่นไส้ เหมือนใครกระทบกระแทกมิได้เลยแม้แต่น้อย แต่พออยู่ในที่ลับตาคน เธอกลับโถมเข้าหาผู้ชายเหมือนปลากระโดดลงน้ำ บัดนี้เขาตัดใจจากสุชาวดีได้แล้ว เรื่องเดียวที่วนเวียนอยู่ในจิตของเขา คือสหายผู้มีนามว่าอนันตชิน เขารอนแรมมาตามลำพังจนกระทั่งถึงเขตสาวัตถี ราชธานีแห่งแคว้นโกศล

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ความดีตามคำสอนของพระพุทธศาสนาในบรรดาที่พึ่งทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศที่สุด ในหมู่เพื่อนทั้งหลาย ศรัทธาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในบรรดามารทั้งหลาย Nhamdog ร้ายที่สุด ในบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลาย ความหยิ่งทะนงตนร้ายที่สุด ในบรรดาความเลวทั้งหลาย การหมิ่นประมาทเลวที่สุด ผู้ที่มิได้ชำระล้างบาปของตนให้บริสุทธิ์ด้วยพลังทั้งสี่ ย่อมถูกผูกติดให้เวียนว่ายไปในสังสารวัฏ(การสำนึกผิดด้วยความจริงใจ, ความแน่วแน่ที่จะไม่กระทำอีก,- ตั้งใจกระทำดีเพื่อทดแทนความผิด,พิจารณาธรรมชาติแห่งความว่างของทุกสิ่ง) ผู้ที่ไม่ขยันหมั่นเพียรสร้างสมบุญกุศล ย่อมไม่สามารถได้รับวิมุตติสุขได้เลย ผู้ที่ไม่สามารถละเลิกการกระทำอกุศลทั้งสิบได้ ย่อมถูกผูกมัดอยู่กับความทุกข์ทรมาน ตลอดทางดำเนิน ผู้ที่มิได้บำเพ็ญภาวนาในเรื่องสุญญตาและความเมตตากรุณา ย่อมไม่มีทางเข้าถึงพุทธภาวะ หากเธอต้องการจะเข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ ให้เฝ้าสังเกตเรียนรู้จิตของเธออย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติโยคะทั้งหก,แก่นแท้และคำสอนอันเป็นที่สุดแห่งตันตระทั้งหมด ปฏิบัติในหนทางแห่งกุศโลบายอันแยบคายของตันตระ,แก่นแท้และคำสอน อันเป็นที่สุดของคำแนะนำอันเป็นประเด็นสำคัญเฉพาะตน หากเธอแสวงหาชื่อเสียง ทรัพยสมบัติ และการยอมรับ นั่นเธอกำลังโยนตัวเองเข้าไปในปากแห่งมาร หากเธอด่าทอผู้อื่น แต่ยกย่องตัวเอง นั่นเธอกำลังตกลงสู่อเวจี หากเธอไม่สามารถฝึกจิตอันเป็นดั่งช้างป่าให้เชื่องได้ คำสอนทั้งหลายและคำแนะนำอันจำเพาะ ก็เปล่าประโยชน์ บารมีอันสูงสุดคือการยกจิตขึ้นสู่โพธิจิต การเข้าใจแจ้งชัดในความไม่เกิด คือ ความเห็นอันสูงสุด การภาวนาอันลึกซึ้ง คือ คำสอนเรื่องความเชี่ยวชาญแห่งมรรค นาดิส และ การฝึกลมหายใจ ควรต้องปฏิบัติเช่นกัน จงเฝ้าสังเกตและตระหนักรู้ให้แจ้งชัดในหน้าตาของสิ่งที่มีมาอยู่แต่ดั้งเดิม จงฝากตัวไว้ในอุ้งมือของผู้ประเสริฐ อย่าทำชีวิตให้สูญเปล่า ไปกับการทำสิ่งที่ไร้ค่า จงเฝ้าสังเกตจิตเดิมแท้อันนอกเหนือการเกิด จงอย่าได้สนใจต่อความสุขในสังสารวัฏ จงอย่าได้คิดว่าความทุกข์ทั้งหมดเป็นสิ่งเลวร้าย เมื่อเธอรู้แจ้งในจิตของเธอ เธอจะกลายเป็นพุทธะ มันไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องพูด หรือ ทำอะไรให้มาก มันไม่มีคำสอนใดอีกแล้วที่ลึกซึ้งกว่านี้ ดังนั้น จงปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดนี้เถิด

ผู้ไม่หมกมุ่นครุ่นคิดส่งจิตให้เลื่อนลอยในบรรดาที่พึ่งทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศที่สุด ในหมู่เพื่อนทั้งหลาย ศรัทธาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในบรรดามารทั้งหลาย Nhamdog ร้ายที่สุด ในบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลาย ความหยิ่งทะนงตนร้ายที่สุด ในบรรดาความเลวทั้งหลาย การหมิ่นประมาทเลวที่สุด ผู้ที่มิได้ชำระล้างบาปของตนให้บริสุทธิ์ด้วยพลังทั้งสี่ ย่อมถูกผูกติดให้เวียนว่ายไปในสังสารวัฏ(การสำนึกผิดด้วยความจริงใจ, ความแน่วแน่ที่จะไม่กระทำอีก,- ตั้งใจกระทำดีเพื่อทดแทนความผิด,พิจารณาธรรมชาติแห่งความว่างของทุกสิ่ง) ผู้ที่ไม่ขยันหมั่นเพียรสร้างสมบุญกุศล ย่อมไม่สามารถได้รับวิมุตติสุขได้เลย ผู้ที่ไม่สามารถละเลิกการกระทำอกุศลทั้งสิบได้ ย่อมถูกผูกมัดอยู่กับความทุกข์ทรมาน ตลอดทางดำเนิน ผู้ที่มิได้บำเพ็ญภาวนาในเรื่องสุญญตาและความเมตตากรุณา ย่อมไม่มีทางเข้าถึงพุทธภาวะ หากเธอต้องการจะเข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ ให้เฝ้าสังเกตเรียนรู้จิตของเธออย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติโยคะทั้งหก,แก่นแท้และคำสอนอันเป็นที่สุดแห่งตันตระทั้งหมด ปฏิบัติในหนทางแห่งกุศโลบายอันแยบคายของตันตระ,แก่นแท้และคำสอน อันเป็นที่สุดของคำแนะนำอันเป็นประเด็นสำคัญเฉพาะตน หากเธอแสวงหาชื่อเสียง ทรัพยสมบัติ และการยอมรับ นั่นเธอกำลังโยนตัวเองเข้าไปในปากแห่งมาร หากเธอด่าทอผู้อื่น แต่ยกย่องตัวเอง นั่นเธอกำลังตกลงสู่อเวจี หากเธอไม่สามารถฝึกจิตอันเป็นดั่งช้างป่าให้เชื่องได้ คำสอนทั้งหลายและคำแนะนำอันจำเพาะ ก็เปล่าประโยชน์ บารมีอันสูงสุดคือการยกจิตขึ้นสู่โพธิจิต การเข้าใจแจ้งชัดในความไม่เกิด คือ ความเห็นอันสูงสุด การภาวนาอันลึกซึ้ง คือ คำสอนเรื่องความเชี่ยวชาญแห่งมรรค นาดิส และ การฝึกลมหายใจ ควรต้องปฏิบัติเช่นกัน จงเฝ้าสังเกตและตระหนักรู้ให้แจ้งชัดในหน้าตาของสิ่งที่มีมาอยู่แต่ดั้งเดิม จงฝากตัวไว้ในอุ้งมือของผู้ประเสริฐ อย่าทำชีวิตให้สูญเปล่า ไปกับการทำสิ่งที่ไร้ค่า จงเฝ้าสังเกตจิตเดิมแท้อันนอกเหนือการเกิด จงอย่าได้สนใจต่อความสุขในสังสารวัฏ จงอย่าได้คิดว่าความทุกข์ทั้งหมดเป็นสิ่งเลวร้าย เมื่อเธอรู้แจ้งในจิตของเธอ เธอจะกลายเป็นพุทธะ มันไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องพูด หรือ ทำอะไรให้มาก มันไม่มีคำสอนใดอีกแล้วที่ลึกซึ้งกว่านี้ ดังนั้น จงปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดนี้เถิด

จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม คฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆคฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดีเพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มี สัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ ได้ ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้ จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ [๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้ สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว ฯ [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ- *จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น ของสงบ ฯ [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี- *พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้- *มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น ธรรมดา ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด 

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายการกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด .... ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด .... ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบหลวงพ่อปราโมทย์ : ยากเหลือเกินที่จะหลอกกิเลสได้ เพราะกิเลสอยู่ในใจเรา เราคิดอะไรกิเลสรู้หมดเลย แต่กิเลสคิดอะไร เราไม่เคยรู้เลย มันเก่งจริงๆนะ มันมวยคนละชั้นเลย หาญสู้ขึ้นไปทีไร ถูกมันชกดั้งจมูกหงายท้องทุกทีตอนสุดท้ายน­ี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

Movie reconstruction from human brain activity ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ทดสอบแผงวงจรMC3PHACที่ปรับปรุงแล้วการควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย ทำได้เอง โดยการใช้ POWER MODULE

ผู้สละโลก ปลดแอกภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

กัณหทีปายนะชาดกเหตุนั้นเราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่าทีปายนะ เข้าไปหาดาบสมัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูกเสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อว่ากัณหทีปายนะ เพราะร่างกายมีสีดำ ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้วลงมาใส่. บทว่า ปโรปญฺญาสวสฺสานิ คือ ยิ่งกว่า ๕๐ ปี. บทว่า อนภิรโต จรึ อหํ คือ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและในธรรมอันเป็นอธิกุสล. ครั้นบวชแล้ว พระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่ยินดี. ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนกขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์ แต่ในจริยานี้ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความหวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน. ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า. เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช เมื่อเป็นดังนั้น พระมหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย. พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ละสมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัตินั้นอีก. รังเกียจคำติเตียนนี้ว่า กัณหทีปายนะนี้บ้าน้ำลาย กลับกลอกจริงหนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก. อนึ่ง ชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. และก็ดำรงอยู่มิได้. เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้ำตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส ก็ยังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สละพรหมจรรย์นั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว ก็กลับมาอีก เขารังเกียจคำพูดนี้ว่า กัณหทีปายนะ นี้บ้าน้ำลายกลับกลอกหนอ เราไม่ปรารถนาจะ ประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย. อนึ่ง ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะเป็นผู้ทำบุญอย่างนี้. บทว่า น โกจิ เอตํ ชานาติ ความว่า ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ย่อมไม่รู้ใจที่ไม่ยินดีของเรานั้น คือใจที่ปราศจากความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์. เพราะเหตุไร? เพราะเราไม่บอกแก่ใครๆ ว่า ความไม่ยินดีเป็นไปในใจของเรา ฉะนั้นใครๆ ที่เป็นมนุษย์จึงไม่รู้ใจนั้น. บทว่า พฺรหฺมจารี คือ ชื่อพรหมจารี เพราะเป็นผู้ศึกษาเสมอด้วยการบรรพชาเป็นดาบส. บทว่า มณฺฑพฺย คือ มีชื่อว่ามัณฑัพยะ. บทว่า สหาโย คือ เป็นสหายที่รัก เพราะเป็นมิตรแท้ทั้งในเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาเป็นบรรพชิต. บทว่า มหาอิสิ คือ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก. บทว่า ปุพฺพกมฺมสมายุตฺโต สูลมาโรปนํ ลภิ ความว่า ประกอบด้วยบุรพกรรมของตนถูกเสียบด้วยหลาวทั้งเป็น. ในบทนี้มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าโกสัมพิกะ ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนิคมแห่งหนึ่ง. พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ. ต่อมา เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทาน ละกาม เมื่อญาติมิตรบริวารชนร้องไห้คร่ำครวญ ได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันตประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วยการเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี. ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียงฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้. สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรสเค็มและเปรี้ยว ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกาสีนั้น ในนิคมหนึ่ง สหายครั้งเป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะ ชื่อว่ามัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณฑัพยะนั้น. มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บำรุงด้วยปัจจัย ๔. ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓-๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไปด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้นอีก. มัณฑัพยดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง. อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทำโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี ถูกพวกเจ้าของเรือนและพวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้ำ รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบสแล้วหนีไป. พวกมนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทำโจรกรรมในกลางคืน กลางวันเที่ยวไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดงแด่พระราชา. พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว. พวกมนุษย์นำดาบสนั้นไปยังป่าช้า เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้าไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนำหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาวนั้นก็มิได้เข้า. จึงนำหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า. ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่าของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้ ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น. นัยว่า ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลงวันตัวหนึ่งจึงเอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้. ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ไปได้ จึงกล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวกท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนำหลาวไม้ทองหลางมาเถิด. พวกราชบุรุษได้ทำตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป. ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟังเรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่ง ถามว่า สหายท่านทำอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทำอะไร? กัณหทีปายนะถามว่า ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้. มัณฑัพยดาบสตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับเรา. กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขของเราแล้วนั่งพิงหลาวอยู่. พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า เราไม่ได้สอบสวนทำลงไป จึงรีบเสด็จไป ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่เล่า? ดาบสทูลว่า อาตมาภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ทำแล้วหรือจึงได้ทำอย่างนี้? ทีปายนดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์. ลำดับนั้น ทีปายนดาบสกล่าวคำมีอาทิว่า :- ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อนทำ คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี. บรรพชิตไม่ สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่ครวญก่อนทำก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี. แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา. พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นำหลาวออก. พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่ไม่สามารถนำออกได้. มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน. ใครๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมภาพได้. หากพระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้ชีวิตแก่อาตมภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทำหลาวนี้เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้น. หลาวได้อยู่ภายในนั่นเอง ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร. นัยว่า ในครั้งนั้น มัณฑัพยดาบสเอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยนนั้นยังอยู่ในร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุของมันเอง เพราะฉะนั้น แม้มัณฑัพยดาบสนี้จึงยังไม่ตาย. พระราชาทรงไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง ทรงบำรุง. ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีชื่อว่าอาณิมัณทัพยะ. ดาบสนั้นอาศัยพระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง. ส่วนทีปายนดาบสชำระแผลของมัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนครั้งเป็นคฤหัสถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่ามัณฑัพยะ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุรพกรรมถูก เสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยาบาลมัณฑัพยดาบส นั้นให้หายโรคแล้ว ได้อำลามาสู่บรรณศาลาอันเป็น อาศรมของเราเอง. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาปุจฺฉิตฺวาน คือ อำลามัณฑัพยดาบสผู้เป็นสหายของเรา. บทว่า ยํ มยฺหํ สกมสิสมํ คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์สร้างให้. พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้และน้ำผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสล้างเท้าให้ดื่มน้ำ นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส. ลำดับนั้น บุตรของมัณฑัพยะพราหมณ์ ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ณ ที่นั้น งูเห่าอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบนหัวของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธเด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังของพิษงู. มารดาบิดารู้ว่า เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทำบุตรของกระผมให้หายโรคเถิด. ทีปายนดาบสกล่าวว่า เราไม่รู้จักยา เราไม่ใช่หมอ เราเป็นนักบวช. มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาในกุมารนี้แล้วทำสัจกิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทำสัจกิริยา จึงวางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทำสัจกิริยา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภรรยาและ บุตรต่างถือสักการะสำหรับต้อนรับแขก รวม ๓ คนมา หาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับสหายและภรรยาของเขา อยู่ในอาศรมของตน. เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำงูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่องจอม ปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พอมือไปถูกหัวของ มัน งูก็โกรธอาศัยกำลังพิษ เคืองจนเหลือจะอดกลั้น ได้กัดเด็กในทันที พร้อมกับถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือเรา มีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดาของเด็ก นั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้ทำสัจกิริยาอัน ประเสริฐสุด. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาคจฺฉุ ํ ปาหุนาคตํ คือ เข้าไปหาพร้อมด้วยสักการะต้อนรับแขก. บทว่า วฏฺฏมนุกฺขิปํ คือ ขว้างลูกข่างที่มีชื่อว่าวัฏฏะ เพราะหยุดหมุนขณะขว้างลงไป. อธิบายว่า เล่นลูกข่าง. บทว่า อาสีวิสมโกปยิ ความว่า เด็กขว้างลูกข่างไปบนพื้นดิน ลูกข่างเข้าไปในปล่องจอมปลวกกระทบหัวงูเห่าซึ่งอยู่ในจอมปลวกนั้นทำให้งูโกรธ. บทว่า วฏฺฏคตํ มคฺคํ อเนฺวสนฺโต คือ ควานไปยังทางที่ลูกข่างนั้นไป. บทว่า อาสีวิสสฺส หตฺเถน, อุตฺตมงฺคํ ปรามสิ คือ เด็กเอามือของตนซึ่งล้วงเข้าไปยังปล่องจอมปลวกถูกหัวงูเห่าเข้า. บทว่า วิสพลสฺสิโต อาศัยกำลังพิษคืองูเกิดเพราะอาศัยกำลังพิษของตน. บทว่า อฑํสิ ทารกํ ขเณ คือ งูได้กัดพราหมณ์กุมารนั้น ในขณะที่ลูบคลำนั่นเอง. บทว่า สห ทฏฺโฐ คือ พร้อมกับถูกงูกัดนั่นเอง. บทว่า อติวิเสน๑- คือ พิษร้าย. บทว่า เตน ความว่า เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ เพราะเด็กล้มลงบนพื้นดินด้วยกำลังพิษ. บทว่า มม วา หสิ ตํ ทุกฺขํ เรามีความรักจึงเป็นทุกข์ คือทุกข์ของเด็กและของมารดาบิดานำมาไว้ที่เรา. นำมาด้วยความกรุณาของเราดุจในสรีระของเรา. บทว่า ตฺยาหํ คือ เราปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นโดยนัยมีอาทิว่า อย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย. บทว่า โสกสลฺลิเน๒- คือ มีลูกศรคือความโศก. บทว่า อคฺคํ คือ แต่นั้น เราได้ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสูงสุด. ____________________________ ๑- ม. อาสิวิเสน. ๒- ม. โลกสลฺลิเต. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงสัจจกิริยาโดยสรุป จึงตรัสคาถาว่า :- เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมา การประพฤติของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความ สัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้เถิด พิษจง ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่. ในบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตาหเมว คือ ๗ วันตั้งแต่วันที่เราบวช. บทว่า ปสนฺนจิตฺโต คือ มีจิตเลื่อมใสเพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม. บทว่า ปุญฺญตฺถิโก คือ ผู้ต้องการบุญ ได้แก่ผู้ประกอบแล้วด้วยความพอใจในธรรม. บทว่า อถาปรํ ยํ จริตํ คือ เพราะฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์ของเราเกิน ๗ วัน. บทว่า อกามโกวาหิ คือ เราไม่ปรารถนาบรรพชาเสียเลย. บทว่า เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ด้วยความสัตย์นี้ขอความสวัสดีจงมี คือหากว่า ความที่เราผู้อยู่อย่างไม่ยินดีตลอด ๕๐ ปีเศษไม่มีใครรู้เป็นความสัตย์. ด้วยความสัตย์นั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมารเถิด ขอยัญญทัตตกุมารจงได้คืนชีวิตเถิด. ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว พิษตกจากสรีระของยัญญทัตตะลงไปสู่แผ่นดิน. กุมารลืมตาแลดูมารดาบิดาแล้วลุกขึ้นเรียก แม่จ๋า พ่อจ๋า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา เด็กหวั่นไหวด้วย กำลังพิษไม่รู้สึกตัวได้ฟื้นกายหายโรค ลุกขึ้นได้. บทนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ พร้อมกับการทำสัจจะของเรา แต่นั้นเด็กหวั่นไหวด้วยกำลังพิษในกาลก่อน ไม่รู้สึกตัวเพราะสลบ ได้ฟื้นขึ้นเพราะปราศจากพิษลุกขึ้นทันที. กุมารนั้นได้หายโรคเพราะไม่มีกำลังพิษ. บัดนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่สัจกิริยาของพระองค์นั้น เป็นปรมัตถบารมี จึงกล่าวว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ, เอสา เม สจฺจปารมี มีคำแปลดังได้แปลไว้แล้ว. แต่มาในอรรถกถาชาดกว่า ด้วยสัจกิริยาของพระมหาสัตว์ พิษได้ตกจากเบื้องบนถันของกุมารแล้วไหลไป. ด้วยสัจกิริยาของบิดา พิษตกจากบนสะเอวของเด็ก. ด้วยสัจกิริยาของมารดาพิษตกจากร่างกายที่เหลือของเด็กแล้วไหลไป. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- บางครั้ง เราเห็นแขกมาเรือนก็ไม่ยินดีจะให้. อนึ่ง สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตร ก็ไม่รู้ความที่เรา ไม่รัก เราไม่ปรารถนาจะให้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอ ความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ขอยัญญทัตต กุมารจงเป็นอยู่เถิด. ดูก่อนพ่อยัญญทัตตะ อสรพิษมีพิษร้ายออก จากปล่องได้เห็นเจ้า วันนี้ความพิเศษไรๆ ไม่มีแก่ เรา เพราะความไม่รักในอสรพิษนั้น และในบิดา ของเจ้า ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด. ในบทเหล่านั้น บทว่า วาสกาเล คือ ในเวลามาเรือนเพื่อต้องการอยู่. บทว่า น จาปิ เม อปฺปิยตํ อเวทุ ํ คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายแม้เป็นพหูสูตก็ไม่รู้ความที่เราไม่รักนี้ว่า มัณฑัพยะพราหมณ์นี้ไม่ยินดีการให้ ไม่ยินดีเราดังนี้. ท่านแสดงว่า เพราะเราแลดูสมณพราหมณ์เหล่านั้นด้วยตาอันน่ารักเท่านั้น. บทว่า เอเตน สจฺเจน ความว่า หากเราแม้ให้ก็ไม่เชื่อผล ให้เพราะความไม่ปรารถนาของตน. อนึ่ง ชนเหล่าอื่นไม่รู้ความที่เราไม่ปรารถนา. อธิบายว่า ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีเถิด. บทว่า ปหูตเตโช คือ มีพิษร้ายแรง. บทว่า ปตรา คือ ปล่อง. บทว่า อุทิจฺจ คือ โผล่ขึ้น. อธิบายว่า ขึ้นจากปล่องจอมปลวก. ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อยัญญทัตตะ ความพิเศษไรๆ ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะความไม่รักในอสรพิษนั้นและในบิดาของเจ้า. อนึ่งเว้นความไม่เป็นที่รักนั้น วันนี้เราไม่เคยรู้จักความพิเศษไรๆ. หากข้อนี้เป็นความจริง ด้วยคำสัตย์นั้นขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้าเถิด ด้วยประการฉะนี้. พระโพธิสัตว์เมื่อเด็กหายจากโรคแล้ว จึงให้บิดาของเด็กนั้นตั้งอยู่ในความเชื่อกรรมและผลของกรรมว่า ชื่อว่าผู้ให้ทานควรเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมแล้ว พึงให้ดังนี้ ตนเองบรรเทาความไม่ยินดี แล้วยังฌานและอภิญญา ให้เกิดครั้นสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก. มัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้. ภริยาของมัณฑัพยะนั้น คือนางวิสาขา. บุตร คือพระราหุลเถระ. อาณิมัณฑัพยะ คือพระสารีบุตรเถระ. กัณหทีปายนะ คือพระโลกนาถ. ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงสัจบารมี และบารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้นซึ่งท่านยกขึ้นไว้ในบาลีโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีการบริจาคมหาโภคสมบัติจนหมดสิ้น ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็นhttp://www.youtube.com/watch?v=122NzlHXPBU

อตัมมยตา มีได้ในทุกสาขาอาชีพ

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี... เรารู้ของเราเองอย่างนี้ รู้ลงไปซื่อๆ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ คอยรู้ไป ถ้าเราไปเพ่งจิตให้นิ่ง มันจะไม่มีกิเลสอะไรให้ดู มันจะนิ่งๆ .

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เรารู้ของเราเองอย่างนี้ รู้ลงไปซื่อๆ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ คอยรู้ไป ถ้าเราไปเพ่งจิตให้นิ่ง มันจะไม่มีกิเลสอะไรให้ดู มันจะนิ่งๆ .

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

วิธีทำลายอวิชชาทำลายตัณหาทำลายกิเลสราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

วิธีทำลายอวิชชาทำลายตัณหาทำลายกิเลสราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

สังเกตุให้ดีดีมีแต่กิเลสกับทุกข์ทั้งนั้นราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

วิธีพาจิตกลับบ้านราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

ราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

การทำตนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎ 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไป 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีกแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีรักษาจิต : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ตัดกามกิเลส ๑ จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทั­นที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้า­ถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรร­ลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังม­ากที่สุดในรอบ 1 เดือน .

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทั­นที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้า­ถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรร­ลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังม­ากที่สุดในรอบ 1 เดือน .

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทั­นที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้า­ถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรร­ลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังม­ากที่สุดในรอบ 1 เดือน .

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น. อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกาย ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง- ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย ห่างไกล ฉะนั้น. เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา ความว่า ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามกของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ พินาศ ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา กันดำริโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด. พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา ขึ้น ๔ คาถาความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร- ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เกิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์ มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล. ----------------------------------------------------- ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น. อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกาย ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง- ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย ห่างไกล ฉะนั้น. เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา ความว่า ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามกของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ พินาศ ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา กันดำริโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด. พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา ขึ้น ๔ คาถาความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร- ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เกิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์ มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล. ----------------------------------------------------- ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก สุภาษิตชี้โทษแห่งบ่วงมัจจุราช เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกพิจารณาว่าเราจะไปกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับของเน่าอย่างนี้ทำไม ค่อย ๆ พิจารณาไปนะครับ ... เพราะการพูดอะไรกันตรงๆอย่างนี้ การแก้ไขก็จะชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย ... เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะพิจารณาว่าเราจะไปกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับของเน่าอย่างนี้ทำไม ค่อย ๆ พิจารณาไปนะครับ ... เพราะการพูดอะไรกันตรงๆอย่างนี้ การแก้ไขก็จะชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย ... เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

หลวงพ่อพุธ02 สมาธิในฌาน

การปฏิบัติเริ่มต้น จนเข้าถึงพระนิพพาน โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

การปฏิบัติเริ่มต้น จนเข้าถึงพระนิพพาน โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้พระเถระทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้ว ถวายบังคมในที่ ๔ แห่ง กราบทูล แล้วว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ความปรารถนาของข้าพระองค์นั้นสำเร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว เป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การได้เห็น พระองค์ไม่ได้มีอีกแล้ว ดังนี้ แล้วประคองอัญชลี ซึ่งรุ่งเรื่องด้วยการ ประชุมแห่งนิ้วทั้งสิบ หันหน้าเฉพาะตราบเท่าที่ที่จะเห็นได้ ถอยกลับแล้วถวาย บังคมแล้วหลีกไป. มหาปฐพีไม่อาจจะทรงไว้ได้ ไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิ

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริง เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด 

บางปะกง - อรวี สัจจานนท์

พุทธภาษิต - สมยศ ทัศนพันธ์.avi

คอยก่อนมนุษยธรรม สมยศ ทัศนพันธ์เย็นย่ำยามสนธยา องค์แห่งทิวา ปลีกดวงอำลาจะลับโลก รอนๆแฝงอาวรณ์ ริ้วรอยวิโยค เหมือนบ่วงห่วงโลก โศกอ้างว้างอยู่ห่างจากตัว ..ความมืดสลัวมัวเศร้า พลันทาบสีเทา บดบังเบ่งเงาไปพร้อมทั่ว ดูไปเหมือนภูตพราย ของความร้ายชั่ว เร้นซ่อนหลบตัว ต่อยามฟ้ามัวจึงออกปะปน ..ดังกิเลสแห่งปวงทั้งหลาย เกลียดโกรธโลภโมโทสา แฝงบังตามวลปุถุชน ..ลืมว่าบุญคุณโทษของตน นิจเอ๋ยปวงชน เมื่อไหร่จะพ้นไปเสียที ..คอยก่อนมนุษยธรรม จงอยู่ชักนำ ปลดบ่วงห่วงกรรมมนุษย์นี่ จงเรืองแสงคุณธรรม ค้ำจุนน้องพี่ หันหน้าอารีย์ มุ่งประพฤติดี โดยทั่วเถิดเอย ..ดังกิเลสแห่งปวงตัณหา เกลียดโกรธโลภโมโทสา แฝงบังตามวลปุถุชน ..ลืมบาปบุญคุณโทษของตน นิจเอ๋ยปวงชน เมื่อไหร่จะพ้นไปเสียที ..คอยก่อนมนุษยธรรม จงอยู่ชักนำ ปลดบ่วงห่วงกรรมมนุษย์นี่ จงเรืองแสงคุณธรรม ค้ำจุนน้องพี่ หันหน้าอารีย์ มุ่งประพฤติดี โดยทั่วเถิดเอย..

เพลงแสงทองแสงธรรม สมยศ ทัศนพันธ์เพลง แสงทองแสงธรรม.. ...ดนตรี... ..อรุณทาบทอง ผ่องฟ้าทั่วพสุธา อบอุ่นไอฟ้าเคลียคลอ เรื่อเรืองดูงามอร่ามจริงหนอ มวลไม้ชูช่อ กิ่งก็ล้วนต่างสล้างตา ..ดอกทานตะวันเจ้าเอ๋ย รุ่งเช้าเจ้าเงย ดอกงามขึ้นเชยอุษา ..โลกพลันพลิกตื่น จากห้วงนิทรา แจ่มใสเริงร่า เมื่อคราอรุณหมุนอุทัย ..ทั่ววัดวาอาราม ทั่วเขตนิคาม เหลืองงามยามมองใกล้ไกล ..สีจีวรสงฆ์อันสดใส ออกโปรดสัตว์ไป ให้ชนพ้นบาปตามเคย ..อรุณจรุงรุ่งแล้ว ทั่วแคว้นเพริดแพรว สู่วันใหม่แล้วเพื่อนเอ๋ย ตื่นมาเสียจากกิเลสนั้นเลย มืดมิดเหลือเอ่ย ออกพาชมเชยแสงแห่งบุญ ..ทั่ววัดวาอาราม ทั่วเขตนิคาม เหลืองงามยามมองใกล้ไกล ..สีจีวรสงฆ์อันสดใส ออกโปรดสัตว์ไป ให้ชนพ้นบาปตามเคย ..อรุณจรุงรุ่งแล้ว ทั่วแคว้นเพริดแพรว สู่วันใหม่แล้วเพื่อนเอย ตื่นมาเสียจากกิเลสนั้นเลย มืดมิดเหลือเอ่ย ออกพาชมเชยแสงแห่งบุญ..

เพลงแสงทองแสงธรรม สมยศ ทัศนพันธ์เพลงแสงทองแสงธรรม สมยศ ทัศนพันธ์

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

รีบรู้สึกตัวไว้อย่ารีบละวางให้จิตเค้าวางเองไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์คิดได้ก็ใจเย็นคิดเป็นก็เย็นใจนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่างเปล่า สูญทั้งนั้น ฯ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่างเปล่า สูญทั้งนั้น ฯ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่างเปล่า สูญทั้งนั้น ฯ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ฝั่งนี้เต็มไปด้วยอันตราย ฝั่งโน้นปลอดภัย เขาจึงเอาไม้มาผูกเป็นแพ พยายามแจวหรือพายจนข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี พระพุทธองค์ตรัสดังนี้ ทรงไขความว่า อสรพิษ ๔ ตัว หมายถึง มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลมไฟ เพชรฆาต ๕ คน หมายถึง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พวกโจร หมายถึง ความกำหนัดยินดีในกามคุณ บ้านร้าง หมายถึง อายตนะภายใน คือ หา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ห้วงน้ำใหญ่ หมายถึง กาม ภพ (ความมี ความเป็น) ความเห็นผิด ความโง่เขลา ฝั่งนี้ หมายถึง ร่างกายของเรา ฝั่งโน้น หมายถึง พระนิพพาน แพ หมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ การพยายามแจวหรือพายเรือด้วยมือและเท้า คือ การทำความเพียรฝึกฝนอบรมตน การถึงฝั่งโดยสวัสดี หมายถึง การบรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ถึงจุดหมายปลายทางแห่งขีวิต

โอวาทพระอานนท์เถระเวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษนั้นคือการทนต่อความเจ็บปวด พระอานนท์มีพระรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อเยี่ยมไข้ แต่เมื่อเห็นอาการไข้ของโกกิลาภิกษุณีแล้ว ความสงสารและกังวลของท่านก็ค่อยๆ คลายตัวลง ความฉลาดอย่างเลิศล้ำของพระพุทธอนุชาแทงทะลุความรู้สึกและเคลัญญาการของนาง ท่านรู้สึกว่าท่านถูกหลอก ท่านไม่เชื่อเลยว่านางจะเป็นไข้จริง "แต่เอาเถิด" พระอานนท์ปรารภกับตัวท่านเอง "โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสดีเหมือนกันที่จะแสดงบางอย่างให้นางทราบ เพื่อนางจะได้ละความพยายาม เลิกรัก เลิกหมกมุ่นในโลกียวิสัยหันมาทำความเพียรเพื่อละสิ่งที่ควรละ และเจริญสิ่งที่ควรทำให้เจริญ ให้เหมาะสมกับเพศภิกษุณีแห่งนาง คงจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่นางไปตลอดกาลนาน คงจะเป็นปฏิการอันประเสริฐสำหรับความรักของนางผู้ภักดีต่อเราตลอดมา". (เรียบเรียงโดย อาจารย์ วศิน อินทสระ)

โอวาทพระอานนท์เถระความรักของหญิงสาวที่มีต่อท่านพระอานนท์(จบ) ความรักของหญิงสาวที่มีต่อท่านพระอานนท์(จบ) แลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย "น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น "โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป "โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ? "น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ "น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่ที่บดยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม "โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร "น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้" "ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่" "ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา" "ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก" "ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล" พระอานนท์พูดจบ คอยจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถาของท่านได้ผลภิกษุณีค่อยๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออกคลานมาหมอบลงแทบเท้าของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออก นางเสียใจอย่างสุดซึ้ง อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา ครู่หนึ่งพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง! หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา! พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระอริยะแท้ "ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้องเบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้ "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านแม้จะเป็นความทรมานสักป่านใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชา ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูนหม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิดชาติตระกูลและความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์ "ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์! กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย" นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบางเสมือนหยาดน้ำค้างถูกสลัดลงจากใบหญ้า เมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว "น้องหญิง! เรื่องชาติเรื่องตระกูลนั้นอย่านำมาปรารมภ์เลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลานานแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์ ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระศาสดาทรงสอนอยู่เสมอ เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่อมจะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ พระศาสดาตรัสว่าการเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความทรมานอื่นๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารอาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ต้องตกไปในอบายเป็นการถอยหลังไปอีกมาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย" "น้องหญิง! เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์,แพศย์ หรือสูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้างสรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใครๆ ไม่อาจต่อสู่ด้วยวิธีใดๆ ได้" "นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวภัยและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือนไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกันอยู่ทำไมว่า คนนั้นเป็นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่วก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด" "เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถสนองความรักของน้องหญิงได้นั้น มิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของเธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก" "ภคินีเอย! อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีกมันก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัยนั่นแล เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบความสุขความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า" พระอานนท์ละภิกษุนูปัสสยะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัดเลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ ริมสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมาเสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั้นสักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและสลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะโทสะและโมหะยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์! จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแต่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย" พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์แล้วตรัสให้กำลังใจว่า "อานนท์! เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่งเธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก" แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์นั้น จึงตรัสว่า "อานนท์! เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไปเลย" พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม" พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ความเจ็บความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ "ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน "ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้ "ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘" "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง" พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใครๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้. (เรียบเรียงโดย อาจารย์ วศิน อินทสระ)

โอวาทพระอานนท์เถระท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไปhttp://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHXLmbVU

โอวาทพระอานนท์เถระ จิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในทุกวัน ทุกนาที คือ ปาฏิหาริย์ของการเกิดมา รับรู้ และมีสติ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง การรู้เท่าทันจิตของตัวเองที่รับอารมณ์ทางทวารทั้งหก ตอบกลับ · 1

พระปริตรและอนุโมทนาคาถาหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

สาธิตการทำหม้อแปลงไว้ใช้เอง เยี่ยมเลยครับพี่..

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจที่ควรทำเราได้ทำสำเร็จแล้ว อาทิยะสุตตะคาถา ภุตตา โภคา ภะฎา ภัจจา วิติณณา อาปะทาสุ เม โภคะทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว บุคคลทั้งหลายที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นไปแล้ว อุคธัคคา ทักขิณา ทินนา อะโถ ปัญจะ พะลี กะตา ทักษิณาที่เจริญผล เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลีห้า เราได้ทำแล้ว อุปัฏฐิตา วีละวันโต สัญญะตา พรัหมะจาริโน ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว ยะทัตถัง โภคะมิจเฉยยะ ปัณฑิโต ฆะระมาวะสัง บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน ปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์อันใด โส เม อัตโถ อะนุปปัตโต กะตัง อะนะ นุตาปิยัง ประโยชน์นั้น เราได้บรรลุแล้ว กรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว เอตัง อะนุสสะรัง มัจโจ อะริยะธัมเม ฐิโต นะโร นรชนผู้จะต้องตายเมื่อตามระลึกถึงคุณข้อนี้อยู่ พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยะธรรม อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะตีติ. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล.

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ขอพระสัจธรรมจงรุ่งเรือง

BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ - เพลงไตรสรณคมน์ (Angulimal... เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”

วิธีดับทุกข์ทางใจด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญา

ฝากเพลงลอยลม - ธานินทร์ อินทรเทพ

กัณหทีปายนะชาดกเหตุนั้นเราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์เมื่อเราเป็นฤาษีชื่อว่ากัณหทีปายนะ เราไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ ยิ่งกว่า ๕๐ ปี ใครๆ จะรู้ใจที่ไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ของเรานั้นหามิได้ แม้เราก็ไม่บอกแก่ใครๆ ว่า ความ ไม่ยินดีมีในใจของเรา สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ชื่อมัณฑัพยะ เป็นฤาษีมีอานุภาพมากประกอบด้วยบุรพกรรม (กรรมเก่าให้ผล) ถูกเสียบหลาวทั้งเป็น เราทำการพยาบาลมัณฑัพยะดาบสนั่นให้หาย โรคแล้วได้อำลามาสู่บรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง พราหมณ์ ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภริยาและบุตร ต่างถือสักการะสำหรับ ต้อนรับแขก รวมสามคนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศรัยกับสหาย และภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำ งูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง จอมปลวก ควานไปถูกเอาศีรษะงูเข้าพอมือไปถูกศีรษะของมัน งูก็ โกรธ อาศัยกำลังพิษ เคืองจนเหลือจะอดกลั้นได้กัดเด็กทันที พร้อมกับถูกงูกัด เด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบ มารดาบิดาของทารกนั้น ผู้มีทุกข์เศร้าโศก ให้สว่างแล้ว ได้ทำ สัจจกิริยาอันประเสริฐสุดก่อนว่า เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ มีจิตเลื่อมใส อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อแต่นั้นมา การประพฤติของเรา ไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ เราไม่ปรารถนาจะประพฤติ เสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็ก นี้เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่ พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา มาณพหวั่นไหวด้วยกำลังพิษได้ฟื้น กายหายโรค ลุกขึ้นได้ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็น สัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล

A Glimpse of Pleiades in the breeze In the wind is a sandy universe All of our heroes have disappeared Never had the chance to get what they deserve Out in the field is a Pegasus Venus on the corner of a street Tell me where have all the people gone Never had the chance to get what they deserve All of us have seem to forgotten The stars that we have on earth None of us can help but gaze into the sky Tell me, swallow What do you see from above? Where is the light? The stars we have on our land Tell me, swallow Where have the glory gone? Where have all the stars On earth, on our planet gone? On a cliff I can see Jupiter Under the water is a Sirius All of our heroes have disappeared Never had the chance to get what they deserve Running after fame and glory The result is a same old story People and up grasping ice and they shiver Tell me, swallow What do you see form above? Where is the lights? The stars of our planet Tell me, swallow Where have the glory gone? Where have all the stars On earth, on our planet gone? Running after fame and glory The result is a same old story People and up grasping ice and they shiver A Glimpse of pleiades in the breeze In the wind is a sandy universe All of our heroes have disappeared Never had the chance to get what they deserve Tell me, swallow What do you see from above? Where is the light? The stars we have on our planet Tell me, swallow Where have the glory gone? Where have all the stars On earth, on our planet gone?

ความพยายามของมนุษย์เทวดาก็ยอมแพ้ 地上の星 / 中島みゆき [公式] กินข้าวเปล่า..ก็.อร่อยดี

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรมฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่าอยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย ... ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น .... เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง .... เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิด

วิธีละความยินดีในโลกียสุขของพระอนาคามีบุคคลhttp://www.luangporruesi.com/15.html,สมาธิในอานาปานสติกรรมฐาน แล้วก็เป็นกรรมฐานกำจัดโมหจริต คือวิตกจริต เรียกว่ากำจัดความโง่ของจิต ป้องกันอารมณ์ฟุ้งซ่าน คืออุทธัจจะกุกกุจจะในนิวรณ์ห้าประการ ใครที่อารมณ์ฟุ้งซ่านไม่ทรงตัวละก็ ถ้าใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นปกติจิตจะทรงสมาธิเอง

พระเกจิอาจารย์หลายท่านที่เป็นพระอรหันต์สอนภาวนา พุทโธ สอนถูกตรงกับพระพุท.. พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา ) อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้.

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา ) อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด หวั่น มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า ·

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

จริยาของพระสกิทาคามีมรรคภิกษุ ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพานอันใครๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี ผู้มีจิต ไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็นก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น- *สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด