วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โอกาสทองของชีวิตเรารักตัวเองที่สุดนะแต่เราสนใจตัวเองน้อยที่สุด เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห็น เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลาย ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

อัปนาสมาธิ สมาธิเข้าสู่ มรรคผล นิพพาน เอโกทิภาวะเอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้นพอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดิน ได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที ถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร

วิธีซ่อมเตาแม่เหล็กไฟฟ้ารับซ่อมแผงวงจรเตาแม่เหล็กไฟฟ้าทุกยี่ห้อทุกรุ่นทุกอาการ บริการแก้ไข ซ่อม แผงวงจร เตาแม่หล็กไฟฟ้า แผงวงจร ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ส่งเฉพาะแผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า มาอย่างเดียว อย่าส่งมาทั้งเครื่องนะครับ ส่งซ่อม ได้ที่ 69/6 ซอย ติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 1100 โทรศัพท์ 02-045-3653 Line 081-803-6553 Email sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมแผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-045-36563 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ TM51 PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

รับซ่อมแผงวงจรเตาแม่เหล็กหม้อหุงข้าวดิจิตอลคอมพิวเตอร์รับซ่อมแผงวงจรเตาแม่เหล็กไฟฟ้าทุกยี่ห้อทุกรุ่นทุกอาการ บริการแก้ไข ซ่อม แผงวงจร เตาแม่หล็กไฟฟ้า แผงวงจร ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ส่งเฉพาะแผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า มาอย่างเดียว อย่าส่งมาทั้งเครื่องนะครับ ส่งซ่อม ได้ที่ 69/6 ซอย ติวานนท์ 18 แยก 5 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 1100 โทรศัพท์ 02-045-3653 Line 081-803-6553 Email sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com จำหน่าย อุปกรณ์ POWER ELECTRONICS กำลังสำหรับนำไปสร้าง ซ่อม เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเชื่อม ชนิดอินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ กระแสสลับสามเฟส ที่ใช้ใน แอร์ อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่่งเพาเวอร์ ซัพพลาย รับซ่อมแผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกรุ่น.ทุกยี่ห้อ.ทุกอาการ..ครับ..รบกวน..ส่งมาที่ 69/6 ซอยปิ่นประภาคม 3 ติวานนท์ 18 แยก 5 หมู่ 1 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนท์บุรี ระหัส 11000 ส่งมาทาง ไปรษณีย์ นะครับ...ติดต่อ ที่ Line 081-803-6553 โทรศัพท์ 02-045-36563 ขอบคุณมากครับ..ที่กรุณา...อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่าย มีดังนี้ครับ TM51 PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI ELECTRIC POWER MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ..ราคาตัวละ 300 บาท.IGBT 15J331 MOSFET 2SK2689 2SK 2611 มีอีกหลายเบอร์ครับ ราคา ตั้งแต่ ตัวละ 15 บาท ถึง 60 บาท มีทั้ง แบบ ไร้ขา SMD และแบบ มีขา TO-92 TO-220 TO-247 ขนาด แรงดัน 20 Volts ถึง 600 Volts ขนาด กระแส สูงจะเป็นแบบแรงดันต่ำครับ ขนาดแรงดันสูงจะเป็นกระแสต่ำ ไม่เกิน20 Amps ครับ... FUJI ELECTRIC POWER MODULE 6DI15S-050C 6DI15S-050D ราคาตัวละ 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท

พระพุทธเจ้าเปิดโลกเราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ

นิพพานธาตุภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ นี้แล ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๗

นิพพานธาตุภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ นี้แล ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๗

เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่ายสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็นที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆคฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดีเพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปรินิพพานนับไม่ถ้วน ว่าด้วยวิมุตตายตนะ ๕ คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ ๕. ความว่า เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ๑, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น ๑, การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว ๑, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ ๑, อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน ๔๐ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ๑. ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อน สพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นย่อมเข้า ใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การ เคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เมื่อภิกษุนั้นเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็ย่อมเกิดความปราโมทย์, เมื่อเกิดความ ปราโมทย์แล้ว ปีติก็ย่อมเกิด, เมื่อใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ, ผู้มีกายสงบก็ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น, นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ได้แสดงธรรม แก่ภิกษุเลย แต่ว่า ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดย พิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรม นั้นที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ได้ สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตาม ที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุ ก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตาม ที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึก- ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่า เรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึก- ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง หนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรง ไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุย่อม เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ได้เล่าเรียน สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความ ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๕ ดังนี้แล.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.

การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกัน รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป 

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เป้าหมายของพวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง

เป้าหมายของพวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง

พระพุทธเจ้าสอนให้ ฉลาดในการรักษาจิตของเราจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

สู้แค่หมดลมหายใจ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ชีวิตนี้น้อยนัก พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช - เสียงอ่านจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า...

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การควบคุมความเร็วมอเตอร์กระแสตรงและกระแสสลับชนิดแปรงถ่านแบบใหม่รับทำ ออกแบบ วิจัย พัฒนา เครื่องจักรกล ไฟฟ้า ในส่วนของตัวขับเคลื่อน มอเตอร์ นวัตกรรมนำไทย เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ไม่ใช้ฟืน ไม่ใช้น้ำมัน ไม่ใช้แก๊ส ไม่ทำลาย ธรรมชาติ ...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่ สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า เร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ..https://www.youtube.com/watch?v=zNyOWave-cw.https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คิดถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐานโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้วทำไมท่านไม่ยึดถือเพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะจนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เราความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เราจิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมดเนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อยเบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบันเบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..?มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็น ตัวทุกข์ความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงสิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเราถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลยแล้วจิตตัวเดียวนี้เองถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้นสลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ.มันสลัดได้จริงๆนะแต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ใครเคยเห็นบ้างว่าจิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิพวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อยก็พอสมควรนะเห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ยบางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อยใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลยจิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เองจะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เองนี่แค่ปล่อยอารมณ์สังเกตมั้ยพอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลยสบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหนนี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้มันจะสุขมหาศาลขนาดไหนมันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้นเป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลยงั้นพวกเราต้องฝึกนะ สรุปให้ฟังเอาง่ายๆ เลยนะเบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อนศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่านอันที่ ๒พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่งช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้วก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้าอะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะจิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไปเคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น. สรุปนะ อีกทีข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัวใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะแต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน(ทำสมถกรรมฐาน)ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัวข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัวพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงานดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายคอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้วถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกายดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ)เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะเดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้วเคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆอยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่าหรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปีสุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไปแต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้วเราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลยเพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละอะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ/|\ /|\ /|\#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีแสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 มีนาคม 2556

คิดถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐานโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้วทำไมท่านไม่ยึดถือเพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะจนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เราความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เราจิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมดเนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อยเบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบันเบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..?มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็น ตัวทุกข์ความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงสิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเราถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลยแล้วจิตตัวเดียวนี้เองถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้นสลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ.มันสลัดได้จริงๆนะแต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ใครเคยเห็นบ้างว่าจิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิพวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อยก็พอสมควรนะเห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ยบางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อยใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลยจิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เองจะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เองนี่แค่ปล่อยอารมณ์สังเกตมั้ยพอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลยสบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหนนี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้มันจะสุขมหาศาลขนาดไหนมันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้นเป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลยงั้นพวกเราต้องฝึกนะ สรุปให้ฟังเอาง่ายๆ เลยนะเบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อนศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่านอันที่ ๒พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่งช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้วก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้าอะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะจิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไปเคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น. สรุปนะ อีกทีข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัวใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะแต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน(ทำสมถกรรมฐาน)ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัวข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัวพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงานดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายคอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้วถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกายดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ)เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะเดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้วเคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆอยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่าหรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปีสุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไปแต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้วเราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลยเพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละอะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ/|\ /|\ /|\#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีแสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 มีนาคม 2556

การแตกทำลายของจักรวาล douforyouการแตกทำลายของจักรวาล 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 6.3.1 การทำลายโดยไฟ 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ 6.3.3 การทำลายโดยลม 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก แนวคิด 1. โลกสามารถถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ และลม ทั้งนี้ขึ้นกับกิเลสภายในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มากด้วย โทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มากด้วยราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้ามนุษย์ มากด้วยโมหะ โลกจะถูกทำลายด้วยลม 2. ช่วงเวลาและขอบเขตในการทำลายของไฟ น้ำ และลม จะแตกต่างกัน โดยไฟจะทำลายโลก ก่อนน้ำและลม แต่มีขอบเขตในการทำลายน้อยกว่าน้ำและลม ขณะที่ลมจะทำลายโลกหลัง จากที่ไฟและน้ำทำลายโลกไปแล้วรวม 63 ครั้ง และมีขอบเขตการทำลายมากกว่าไฟและน้ำ 3. วิธีการเอาตัวรอดจากการถูกทำลายทั้งจากไฟ น้ำ และลมนั้น สามารถทำได้โดยเจริญสมาธิ ภาวนาให้เกิดฌาน เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่อยู่นอกขอบเขตการทำลาย และถ้าจะให้ ปลอดภัยถาวรก็ทำตนให้หมดกิเลส เพื่อจะได้ไม่ต้องลงมาเกิดในภพต่างๆ อีก วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายสาเหตุที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลำดับ ช่วงเวลา และขอบเขต ในการทำลายของไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 3.เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวิธีในการดำเนินชีวิต ให้เกิดความปลอดภัยจากการที่โลกจะถูกทำลายได้ ทั้งโดยส่วนตัวและเพื่อผู้อื่น ความนำ ในบทเรียนต่างๆ ที่เราได้ศึกษาผ่านมานั้น ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับแผนภูมิของภพภูมิต่างๆ ว่า ภพภูมิเหล่านั้นมีตำแหน่งที่ตั้งอย่างไร สภาพบรรยากาศและชีวิตของสัตว์ที่อยู่ในภพภูมิเหล่านั้นเป็นเช่นไร และในบทเรียนบทที่ 5 ที่ผ่านมา เราก็ได้ทราบว่า สิ่งต่างๆ อันได้แก่ จักรวาล โลก ดวงดาวต่างๆ มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายกำเนิดขึ้นมาอย่างไร มีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง รวมทั้งอายุขัยของโลกและจักรวาลว่า มีอายุเท่าไร ในบทเรียนนี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและกระบวนการเสื่อมสลายและแตกทำลายของจักรวาล โลก และสรรพสิ่งว่าเป็นอย่างไร 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล นักศึกษาอย่าเพิ่งคิดไปไกลด้วยความเข้าใจผิดเพราะความเคยชินว่า สิ่งที่จะทำลายโลกจะเป็นอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ห้ำหั่นกันในยุคสมัยนี้ หรืออาวุธมหาประลัยทั้งหลายที่มนุษย์แข่งขันประดิษฐ์ คิดค้นกันแต่อย่างใด แต่สิ่งที่จะทำลายโลกที่น่ารื่นรมย์ในความคิดของหลายท่านนั้นมีอยู่ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ไฟ น้ำ และลม ทั้ง 3 สิ่งนี้จะเป็นตัวทำลายโลก แต่อย่าเข้าใจนำหน้าไปก่อนว่า ไฟอะไรกันจะเผาไหม้ได้ทั้งโลก ขนาดมีผู้ลักลอบเผาบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด ก็ไม่เห็นว่าจะเกิดความเสียหายมากมายอะไรนัก และอะไรหลายๆ อย่างในโลกก็ไม่ใช่ว่าจะไหม้ไฟไปเสียทั้งหมด และเช่นเดียวกัน อย่าเพิ่งเข้าใจว่า น้ำและลมจะทำลายโลกไม่ได้ เพราะคุ้นเคยกับภาพ หรือข่าวน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ต่างๆ พายุ ถล่มในหลายภูมิภาค ซึ่งก็ไม่เห็นจะสร้างความเสียหายมากมายแต่อย่างใด ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่า ไฟ น้ำ และลม ที่สามารถทำลายโลกได้นี้ ไม่ใช่ ไฟ น้ำ และลมอย่างที่เราเห็นหรือรู้จักกัน แต่เป็นไฟ น้ำ และลมประลัยกัลป์ที่มีอานุภาพในการทำลายมหาศาล เพราะเกิดด้วย แรงกรรมของสัตวโลก ซึ่งถ้าจะกล่าวตรงๆ แล้ว สัตวโลกที่ว่านี้ก็คือมนุษย์นั่นเอง เพราะว่าสัตว์อื่น ไม่สามารถจะทำกรรมอะไรได้มากมายเท่ามนุษย์ ส่วนมากล้วนกำลังเสวยวิบาก คือผลกรรมที่ตนเคยทำเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ พวกเทวดา และพรหมในชั้นต่างๆ ก็เสวยผลบุญอยู่ และปกติก็มีจิตใจที่ดีงามอยู่แล้ว ถึงได้ไปเกิดตรงนั้นได้ ส่วนพวกที่เสวยทุกข์อยู่ในอบาย ไม่ว่าจะเป็นในมหานรกขุมต่างๆ ในยมโลก ที่เป็นเปรต อสุรกาย หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน เพราะว่าสัตว์ที่เกิดในอบายนี้ ก็ย่อมต้องรับผลของบาปที่ตนกระทำ ด้วยวิธีการ และลักษณะต่างๆ กันไปตามแต่ละภพภูมิ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำสิ่งไม่ดี ก็เหลือเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มี โอกาสอย่างเสรี ในการคิด พูด และทำสิ่งต่างๆ และเพราะเหตุที่มีเสรีภาพ ในการคิด พูด และทำได้ไม่มีที่ สิ้นสุดนี้เอง จึงทำให้มนุษย์ทำสิ่งไม่ดี ทำกรรมชั่ว เมื่อทำมากเข้า หนาแน่นเข้า ผลกรรมจึงทำให้โลกถูกทำลายลงในที่สุด 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ ถึงแม้ว่าทั้ง ไฟ น้ำ และ ลม จะเป็นสิ่งทำลายโลกและสรรพสิ่งทั้งปวง (ซึ่งไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะมีอานุภาพ การทำลายมากไปกว่านี้) แต่ใช่ว่าทั้ง 3 สิ่ง จะสามัคคีชุมนุมมะรุมมะตุ้มตะลุมบอนออกฤทธิ์ถล่มโลกจน แตกสลายก็หาไม่ เพราะการทำลายจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นไฟ ก็ไฟอย่างเดียว ถ้าเป็นน้ำก็น้ำอย่างเดียว และถ้าเป็นลมก็ลมอย่างเดียว การที่สิ่งใดจะทำลายโลกนั้น ขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์ว่า หนาแน่นไปด้วยกิเลสตระกูลใดมากที่สุด ซึ่งถ้าจิตใจมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มีจิตใจที่หนาแน่นไปด้วย ราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้าจิตใจของมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโมหะ โลกก็จะถูกทำลาย ด้วยลม เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็สามารถเลือกได้ว่า เราจะให้โลกถูกทำลายด้วยอะไรดี ถ้าอยากให้โลกถูก ทำลายด้วยไฟ ก็เกลียดกันเข้าไป โกรธกันเข้าไป ถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยน้ำก็โลภกันให้มากๆ เห็นแก่ตัวกันเข้าไป หมกมุ่นกามกันให้มาก และถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยลมก็ไม่ต้องสนใจกฎแห่งกรรม ไม่ต้องเชื่อบุญเชื่อบาป จะทำอะไรก็จงทำด้วยความพอใจไปเถิด แต่ถ้าอยากให้โลกอยู่รอดปลอดภัย ไม่ถูกสิ่งใดทำลายเลย ก็ต้องช่วยกันให้มนุษย์ทั่วทั้งโลกไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสทั้ง 3 ตระกูล สิ่งที่ทำลายโลก กิเลสในใจมนุษย์ ไฟ กิเลสตระกูลโทสะ น้ำ กิเลสตระกูลราคะ ลม กิเลสตระกูลโมหะ นอกจากโลกจะไม่ถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ หรือลมพร้อมกัน แต่จะถูกทำลายด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวแล้ว ในการทำลายของทั้ง 3 สิ่งนี้ ยังมีระยะเวลาและลำดับในการทำลายด้วย โลกจะถูกทำลายด้วยไฟเป็นสิ่งแรก และจะถูกทำลายเป็นครั้งๆ ไป ถึง 7 ครั้ง ในครั้งที่ 8 โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ หลังจากนั้นถูกทำลายด้วยไฟอีก 7 ครั้ง แล้วถูกทำลายด้วยน้ำอีก จะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งครั้งที่ 64 โลกจึง จะถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการเกิดขึ้นของโลกและจักรวาลขึ้นใหม่ และโลกก็จะถูกทำลายอีกจะเป็นอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อรวมจำนวนที่โลกถูกทำลายด้วยสิ่งต่างๆ ใน 64 ครั้ง จะถูกทำลายด้วยไฟ 56 ครั้ง ถูกทำลาย ด้วยน้ำ 7 ครั้ง และถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม นอกจากจำนวนครั้งในการทำลายของสิ่งที่ทำลายโลกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันแล้ว อานุภาพในการทำลายยังแตกต่างกันอีก ซึ่งแต่ละสิ่งมีขอบเขตในการทำลายดังนี้ 6.3.1 การทำลายโดยไฟ ไฟจะทำลายภพภูมิต่างๆ 14 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมา 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ น้ำจะทำลายภพภูมิต่างๆ 17 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา 6.3.3 การทำลายโดยลม ลมจะทำลายภพภูมิต่างๆ 20 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 6. ภพของพรหมที่ได้ตติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภาและพรหมสุภกิณหา แผนภาพแสดงขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 011.jpg 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ การที่โลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น เริ่มจากจะไม่มีฝนตกเป็นเวลายาวนาน ความแห้งแล้งเริ่มปรากฏขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายต่างเหี่ยวแห้งและตายจนหมดสิ้น ในกาลต่อมา ดวงอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏขึ้น ทำให้ ขณะนั้นโลกและจักรวาลมีดวงอาทิตย์ถึง 2 ดวง ทำให้ไม่มีกลางวันและกลางคืน เนื่องเพราะว่าโลกถูก แสงสว่างเจิดจ้าจากดวงอาทิตย์ทั้ง 2 ด้าน ดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ จะมีความร้อนรุนแรงกว่าดวงอาทิตย์ที่มีมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นเพราะดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้เกิดด้วยอานุภาพกรรมของมนุษย์ จึงไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่เหมือน ดวงอาทิตย์ดวงแรกซึ่งไม่ได้เกิดจากแรงกรรม และด้วยความร้อนแรงที่มากขึ้นอย่างมหาศาล สุริยเทพบุตรที่ อาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์ดวงเดิมนั้น ก็ไม่อาจจะอยู่ต่อไปได้ จึงเร่งทำความเพียรเจริญภาวนา เพื่อให้ได้ฌาน และหนีไปบังเกิดยังพรหมโลกชั้นสูง ซึ่งเป็นภพที่อานุภาพการทำลายไปไม่ถึง และเพราะเหตุที่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นถึง 2 ดวง อุณหภูมิความร้อนในโลกจึงทวีขึ้นอย่างมากมาย ส่งผลให้บนท้องฟ้าปราศจากเมฆและหมอก น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เหือดแห้ง น้ำที่ยังเหลืออยู่ในโลก มีเพียงน้ำในแม่น้ำ 5 สาย คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ และสรภู เท่านั้น มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ต่างล้มตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้งหมด เพราะพากันเร่งรีบเจริญภาวนาเพื่อให้ได้ฌานกัน ทั้งนี้เพราะทราบล่วงหน้าว่าภัยร้ายแรงจะมาเยือน สาเหตุที่มนุษย์ทราบว่าโลกจะถูกทำลายนั้น เนื่องจากก่อนที่โลกจะถูกทำลายแสนปี จะมีเทวดาประเภทหนึ่ง เรียกว่า โลกพยุหเทวดา นุ่งห่มด้วยผ้าสีแดง มาป่าวประกาศให้มนุษย์ทราบว่า อีกแสนปี ข้างหน้าโลกจะพินาศ รวมทั้งจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง แม้กระทั่งภูมิของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น จนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ปฐมฌาน และยังแนะนำต่อไปอีกว่า อย่าประมาทให้เร่งสร้างบุญกุศล เพื่อจะได้ไปเกิดในภูมิที่พ้นจากความพินาศนี้ หลังจากที่เทวดานั้นมาประกาศให้มนุษย์ทราบแล้ว มนุษย์ต่างบังเกิดความสลดสังเวชใจ จึงเร่งสร้างบุญกุศล และบำเพ็ญภาวนากันจนได้ฌานสมาบัติ ตายแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก เหล่าเทวดา และพรหมก็เช่นกัน ต่างเร่งเจริญภาวนาเพื่อจะได้ไปบังเกิดในภพภูมิที่ปลอดภัย ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งหลายเมื่อพ้นจากวิบากกรรมมาเกิดเป็นมนุษย์ และทราบเรื่องที่เทวดามาประกาศ ก็เร่งสร้างบุญกุศลและเจริญภาวนาเช่นกัน คงเหลือเพียงผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิที่ไม่เร่งสร้างบุญกุศล เมื่อโลกถูกทำลายจึงไปบังเกิดใน ภพภูมิเดิมของจักรวาลอื่นที่ยังไม่ถูกทำลาย หลังจากนั้นมาอีกยาวนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏขึ้น และด้วยอานุภาพความร้อนแรงที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำที่เคยเหลืออยู่ในแม่น้ำทั้ง 5 นั้น เหือดแห้งไปจนหมดสิ้น ต่อมาปรากฏมีดวงอาทิตย์ดวงที่ 4 ความร้อนแรงยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทับทวี จนกระทั่งทำให้น้ำในสระใหญ่บริเวณป่าหิมพานต์ซึ่งละลายมาจากหิมะ แห้งหายจนหมดสิ้น น้ำในมหาสมุทรของจักรวาลเริ่มแห้งขอดลง หลังจากนั้น ดวงอาทิตย์ดวงที่ 5 ก็บังเกิดขึ้น ถึงตรงนี้ น้ำในมหาสมุทรต่างๆ เหือดแห้งจนหมดสิ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ 6 ปรากฏ อานุภาพของความร้อนจึงทำให้แผ่นดินและภูเขาไม่หลงเหลือ ธาตุน้ำอยู่เลย ทำให้ไม่สามารถคงสภาพเดิมไว้ได้ กลายเป็นผงฝุ่นฟุ้งไปทั่วทั้งโลก ต่อจากนั้นดวงอาทิตย์ดวงที่ 7 ก็ปรากฏขึ้น ด้วยความร้อนแรงที่ไม่มีประมาณ ทำให้โลกธาตุทั้งแสนโกฏิจักรวาลลุกเป็นไฟขึ้นพร้อมกัน เกิดการระเบิดเสียงดังสนั่นกึกก้องกัมปนาท ยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และดาวดึงส์ถอนหลุดออกจากที่ แล้วแตกแยกย่อยกระจัดกระจายสูญหายไปในอากาศ สำหรับเปลวไฟที่เผาทำลายโลกและจักรวาลนี้ จะเริ่มที่โลกมนุษย์ก่อน จากนั้นจึงลุกลามไปยังเทวโลกทุกชั้นตามลำดับ และเลยไปถึงพรหมโลกชั้นต้น ซึ่งเป็นพรหมที่ได้ปฐมฌาน ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมมา ไฟนี้จะไหม้อยู่เป็นเวลาที่ยาวนานมาก จนกระทั่งไม่มีสิ่งใดหลงเหลือ ไฟจึงมอดดับลงในพรหมโลกชั้นนี้ หลังจากไฟมอดดับไปแล้ว จักรวาลเหลือเพียงอากาศว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดๆ บังเกิดความมืดมิดขึ้นทั่วทั้งจักรวาลเป็นเวลายาวนาน 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ การที่โลกถูกทำลายด้วยน้ำ จะไม่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นเหมือนกับที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ โลกยังคงมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียวอย่างที่เคยเป็นมา แต่การทำลายจะเริ่มจาก มีเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดขึ้น แล้วฝนจึงตกลงมาจากเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดนั้น ทำให้กลายเป็นน้ำกรดที่มีฤทธิ์รุนแรง สามารถกัดละลายสรรพสิ่งทั้งหลายให้ละลายได้ โดยจะตกต่อเนื่อง ไม่มีขาดช่วงเลย แรกๆ ก็ตกมาทีละน้อยและมีเม็ดละเอียด แล้วจึงตกหนักขึ้น พร้อมกับขนาดของเม็ดที่โตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเหมือนสายน้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นๆ จนในที่สุด ท่วมพื้นแผ่นดินและภูเขา ท่วมโลกจนกระทั่งเต็มทั่วท้องจักรวาลทั้งแสนโกฏิจักรวาล น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดรุนแรงนี้ จะกัดละลายทุกสิ่งทุกอย่างจนสูญสลายไม่มีเหลือ ระดับน้ำจะสูงขึ้นไป จนท่วมสวรรค์ชั้นต่างๆ ท่วมถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ทุติยฌาน คือ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา แล้วหยุดเพียงเท่านี้ สิ่งทั้งหลายที่จมน้ำหรือถูกท่วมถึง ก็จะถูกกัดละลายจนหมดสิ้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกกัดละลายจนไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดนั้นจะยุบแห้งหายไป เหลือเพียงอากาศที่ว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ทั่วทั้งจักรวาลมืดมิดไม่มีแสงสว่างใดๆ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม ในครั้งที่โลกและจักรวาลถูกทำลายด้วยลม โลกยังคงมีดวงอาทิตย์ดวงเดียวเช่นที่เคยเป็นมา แต่ การทำลายด้วยลมเริ่มจากมีลมเกิดขึ้น ในช่วงแรกเป็นเพียงลมอ่อนๆ แล้วจึงแรงขึ้นตามลำดับ จากที่พัด พาสิ่งที่มีน้ำหนักเบา ก็แรงจนสามารถทำให้สิ่งต่างๆ พัดปลิวไปในอากาศได้ เริ่มจากที่เพียงพัดฝุ่นให้ฟุ้งตลบขึ้น เป็นพัดพาทราย กรวด และก้อนหิน และแรงขึ้นจนพัดสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ ทั้งต้นไม้ อาคารบ้านเรือน ตลอดจนสรรพสิ่ง หลุดลอยขึ้นไปในอากาศ ด้วยอานุภาพรุนแรงอย่างมหาศาล จึงทำให้สิ่งต่างๆ ที่ถูกพัดขึ้นไปแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย ต่อมาเกิดลมขึ้นใต้ผืนแผ่นดิน ความรุนแรงของลมได้พัดพลิกแผ่นดินให้หงายขึ้น และพัดปลิวขึ้นไปในอากาศ แม้แต่ภูเขา และน้ำจากแหล่งต่างๆ ทั้งในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ทุกสิ่งทุกอย่างถูกพัดปลิวขึ้นสู่อากาศ และแหลกกระจุยกระจายด้วยแรงลมที่มีความรุนแรงในการฉีกทำลายมหาศาล ลมได้พัดทำลายสรรพสิ่งสิ้นทั้งโลก พัดทำลายสิ่งต่างๆ ในจักรวาล เขาพระสุเมรุถูกพัดหลุดลอยขึ้นไปในอากาศ และแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือเศษ สวรรค์ชั้นต่างๆ จักรวาลทั้งหลายกระทบกระแทกเข้าหากันจนแตกละเอียดเป็นผุยผง ตลอดจนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ตติยฌานทั้ง 3 อันได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา และพรหมสุภกิณหา ได้ถูกลมพัดทำลายจนสิ้น เมื่อสิ่งต่างๆ ถูกทำลายจนหมดสิ้น ลมจึงสงบหายไป เหลือเพียงความเวิ้งว้างของท้องจักรวาล ที่มีแต่ความว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ปรากฏเพียงความมืดมิดทั่วทั้งจักรวาล 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงการทำลายของโลกนี้ มิได้มีพระประสงค์ที่จะให้ผู้ใดหวาดกลัว มิได้ประสงค์จะเตือนให้ระวังภัยที่โลกจะถูกทำลาย และมิได้มีพระประสงค์จะแสดงเพื่อให้เป็นศาสตร์ว่าด้วย ความรู้เรื่องการเกิดและการทำลายของโลก แต่ที่ทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายนี้ ก็เพื่อที่จะแสดงให้เกิดความเบื่อหน่ายในโลก เบื่อหน่ายในการเวียนว่ายในสังสารวัฏที่หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่พบ เพราะแม้ว่าภพภูมิต่างๆ จะน่ารื่นรมย์ สวยสดงดงาม และมีสัมผัสอันเป็นสุขอย่างไรก็ตาม แต่ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีผู้ใดเลยที่จะสามารถเป็นเจ้าของหรือครอบครองสิ่งใดได้ ตลอดไป และไม่มีใครที่จะสามารถรักษาให้สิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายมิให้เปลี่ยนแปลง เมื่อถึงเวลาสิ่งต่างๆ ก็มีอันต้องเสื่อมสลายหมดอายุขัยไป ไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พึง พอใจหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นย่อมต้องจากเราไป หรือบางครั้งเราก็เป็นผู้ที่ต้องจากไปเสียเอง ดังนั้นหากยัง ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีก ก็ยังจะต้องเผชิญกับทุกข์นานาประการอีกไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายดังนี้ เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย สลด สังเวชใจ และหาทางหลุดพ้นในที่สุด ดังที่แสดงใน สุริยสูตร ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคาม และติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉาเหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง…ควรหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง… ควรหลุดพ้น ทรงตรัสถึงลักษณะที่โลกและจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งถูกทำลายลง เมื่อดวงอาทิตย์มาปรากฏ เพิ่มขึ้นเช่นนี้ จนถึง 7 ดวง และทรงตรัสให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงดังนี้ เช่นกัน ทรงตรัสอีกว่า แม้จะเกิดเป็นท้าวสักกะ เป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ไม่พ้นจากทุกข์ได้เพราะ ยังไม่ตรัสรู้ไม่ได้แทงตลอดธรรม 4 ประการ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ ซึ่งถ้าหากผู้ใดแทงตลอดในธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ก็ชื่อว่าตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว สามารถถอนตัณหาในภพอันเป็นเหตุทำให้เกิดได้แล้ว จึงไม่ต้องบังเกิดอีกต่อไป เป็นการปลอดภัยอย่างแท้จริง

การแตกทำลายของจักรวาล douforyouการแตกทำลายของจักรวาล 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 6.3.1 การทำลายโดยไฟ 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ 6.3.3 การทำลายโดยลม 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก แนวคิด 1. โลกสามารถถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ และลม ทั้งนี้ขึ้นกับกิเลสภายในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มากด้วย โทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มากด้วยราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้ามนุษย์ มากด้วยโมหะ โลกจะถูกทำลายด้วยลม 2. ช่วงเวลาและขอบเขตในการทำลายของไฟ น้ำ และลม จะแตกต่างกัน โดยไฟจะทำลายโลก ก่อนน้ำและลม แต่มีขอบเขตในการทำลายน้อยกว่าน้ำและลม ขณะที่ลมจะทำลายโลกหลัง จากที่ไฟและน้ำทำลายโลกไปแล้วรวม 63 ครั้ง และมีขอบเขตการทำลายมากกว่าไฟและน้ำ 3. วิธีการเอาตัวรอดจากการถูกทำลายทั้งจากไฟ น้ำ และลมนั้น สามารถทำได้โดยเจริญสมาธิ ภาวนาให้เกิดฌาน เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่อยู่นอกขอบเขตการทำลาย และถ้าจะให้ ปลอดภัยถาวรก็ทำตนให้หมดกิเลส เพื่อจะได้ไม่ต้องลงมาเกิดในภพต่างๆ อีก วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายสาเหตุที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลำดับ ช่วงเวลา และขอบเขต ในการทำลายของไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 3.เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวิธีในการดำเนินชีวิต ให้เกิดความปลอดภัยจากการที่โลกจะถูกทำลายได้ ทั้งโดยส่วนตัวและเพื่อผู้อื่น ความนำ ในบทเรียนต่างๆ ที่เราได้ศึกษาผ่านมานั้น ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับแผนภูมิของภพภูมิต่างๆ ว่า ภพภูมิเหล่านั้นมีตำแหน่งที่ตั้งอย่างไร สภาพบรรยากาศและชีวิตของสัตว์ที่อยู่ในภพภูมิเหล่านั้นเป็นเช่นไร และในบทเรียนบทที่ 5 ที่ผ่านมา เราก็ได้ทราบว่า สิ่งต่างๆ อันได้แก่ จักรวาล โลก ดวงดาวต่างๆ มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายกำเนิดขึ้นมาอย่างไร มีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง รวมทั้งอายุขัยของโลกและจักรวาลว่า มีอายุเท่าไร ในบทเรียนนี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและกระบวนการเสื่อมสลายและแตกทำลายของจักรวาล โลก และสรรพสิ่งว่าเป็นอย่างไร 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล นักศึกษาอย่าเพิ่งคิดไปไกลด้วยความเข้าใจผิดเพราะความเคยชินว่า สิ่งที่จะทำลายโลกจะเป็นอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ห้ำหั่นกันในยุคสมัยนี้ หรืออาวุธมหาประลัยทั้งหลายที่มนุษย์แข่งขันประดิษฐ์ คิดค้นกันแต่อย่างใด แต่สิ่งที่จะทำลายโลกที่น่ารื่นรมย์ในความคิดของหลายท่านนั้นมีอยู่ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ไฟ น้ำ และลม ทั้ง 3 สิ่งนี้จะเป็นตัวทำลายโลก แต่อย่าเข้าใจนำหน้าไปก่อนว่า ไฟอะไรกันจะเผาไหม้ได้ทั้งโลก ขนาดมีผู้ลักลอบเผาบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด ก็ไม่เห็นว่าจะเกิดความเสียหายมากมายอะไรนัก และอะไรหลายๆ อย่างในโลกก็ไม่ใช่ว่าจะไหม้ไฟไปเสียทั้งหมด และเช่นเดียวกัน อย่าเพิ่งเข้าใจว่า น้ำและลมจะทำลายโลกไม่ได้ เพราะคุ้นเคยกับภาพ หรือข่าวน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ต่างๆ พายุ ถล่มในหลายภูมิภาค ซึ่งก็ไม่เห็นจะสร้างความเสียหายมากมายแต่อย่างใด ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่า ไฟ น้ำ และลม ที่สามารถทำลายโลกได้นี้ ไม่ใช่ ไฟ น้ำ และลมอย่างที่เราเห็นหรือรู้จักกัน แต่เป็นไฟ น้ำ และลมประลัยกัลป์ที่มีอานุภาพในการทำลายมหาศาล เพราะเกิดด้วย แรงกรรมของสัตวโลก ซึ่งถ้าจะกล่าวตรงๆ แล้ว สัตวโลกที่ว่านี้ก็คือมนุษย์นั่นเอง เพราะว่าสัตว์อื่น ไม่สามารถจะทำกรรมอะไรได้มากมายเท่ามนุษย์ ส่วนมากล้วนกำลังเสวยวิบาก คือผลกรรมที่ตนเคยทำเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ พวกเทวดา และพรหมในชั้นต่างๆ ก็เสวยผลบุญอยู่ และปกติก็มีจิตใจที่ดีงามอยู่แล้ว ถึงได้ไปเกิดตรงนั้นได้ ส่วนพวกที่เสวยทุกข์อยู่ในอบาย ไม่ว่าจะเป็นในมหานรกขุมต่างๆ ในยมโลก ที่เป็นเปรต อสุรกาย หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน เพราะว่าสัตว์ที่เกิดในอบายนี้ ก็ย่อมต้องรับผลของบาปที่ตนกระทำ ด้วยวิธีการ และลักษณะต่างๆ กันไปตามแต่ละภพภูมิ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำสิ่งไม่ดี ก็เหลือเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มี โอกาสอย่างเสรี ในการคิด พูด และทำสิ่งต่างๆ และเพราะเหตุที่มีเสรีภาพ ในการคิด พูด และทำได้ไม่มีที่ สิ้นสุดนี้เอง จึงทำให้มนุษย์ทำสิ่งไม่ดี ทำกรรมชั่ว เมื่อทำมากเข้า หนาแน่นเข้า ผลกรรมจึงทำให้โลกถูกทำลายลงในที่สุด 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ ถึงแม้ว่าทั้ง ไฟ น้ำ และ ลม จะเป็นสิ่งทำลายโลกและสรรพสิ่งทั้งปวง (ซึ่งไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะมีอานุภาพ การทำลายมากไปกว่านี้) แต่ใช่ว่าทั้ง 3 สิ่ง จะสามัคคีชุมนุมมะรุมมะตุ้มตะลุมบอนออกฤทธิ์ถล่มโลกจน แตกสลายก็หาไม่ เพราะการทำลายจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นไฟ ก็ไฟอย่างเดียว ถ้าเป็นน้ำก็น้ำอย่างเดียว และถ้าเป็นลมก็ลมอย่างเดียว การที่สิ่งใดจะทำลายโลกนั้น ขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์ว่า หนาแน่นไปด้วยกิเลสตระกูลใดมากที่สุด ซึ่งถ้าจิตใจมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มีจิตใจที่หนาแน่นไปด้วย ราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้าจิตใจของมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโมหะ โลกก็จะถูกทำลาย ด้วยลม เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็สามารถเลือกได้ว่า เราจะให้โลกถูกทำลายด้วยอะไรดี ถ้าอยากให้โลกถูก ทำลายด้วยไฟ ก็เกลียดกันเข้าไป โกรธกันเข้าไป ถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยน้ำก็โลภกันให้มากๆ เห็นแก่ตัวกันเข้าไป หมกมุ่นกามกันให้มาก และถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยลมก็ไม่ต้องสนใจกฎแห่งกรรม ไม่ต้องเชื่อบุญเชื่อบาป จะทำอะไรก็จงทำด้วยความพอใจไปเถิด แต่ถ้าอยากให้โลกอยู่รอดปลอดภัย ไม่ถูกสิ่งใดทำลายเลย ก็ต้องช่วยกันให้มนุษย์ทั่วทั้งโลกไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสทั้ง 3 ตระกูล สิ่งที่ทำลายโลก กิเลสในใจมนุษย์ ไฟ กิเลสตระกูลโทสะ น้ำ กิเลสตระกูลราคะ ลม กิเลสตระกูลโมหะ นอกจากโลกจะไม่ถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ หรือลมพร้อมกัน แต่จะถูกทำลายด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวแล้ว ในการทำลายของทั้ง 3 สิ่งนี้ ยังมีระยะเวลาและลำดับในการทำลายด้วย โลกจะถูกทำลายด้วยไฟเป็นสิ่งแรก และจะถูกทำลายเป็นครั้งๆ ไป ถึง 7 ครั้ง ในครั้งที่ 8 โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ หลังจากนั้นถูกทำลายด้วยไฟอีก 7 ครั้ง แล้วถูกทำลายด้วยน้ำอีก จะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งครั้งที่ 64 โลกจึง จะถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการเกิดขึ้นของโลกและจักรวาลขึ้นใหม่ และโลกก็จะถูกทำลายอีกจะเป็นอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อรวมจำนวนที่โลกถูกทำลายด้วยสิ่งต่างๆ ใน 64 ครั้ง จะถูกทำลายด้วยไฟ 56 ครั้ง ถูกทำลาย ด้วยน้ำ 7 ครั้ง และถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม นอกจากจำนวนครั้งในการทำลายของสิ่งที่ทำลายโลกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันแล้ว อานุภาพในการทำลายยังแตกต่างกันอีก ซึ่งแต่ละสิ่งมีขอบเขตในการทำลายดังนี้ 6.3.1 การทำลายโดยไฟ ไฟจะทำลายภพภูมิต่างๆ 14 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมา 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ น้ำจะทำลายภพภูมิต่างๆ 17 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา 6.3.3 การทำลายโดยลม ลมจะทำลายภพภูมิต่างๆ 20 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 6. ภพของพรหมที่ได้ตติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภาและพรหมสุภกิณหา แผนภาพแสดงขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 011.jpg 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ การที่โลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น เริ่มจากจะไม่มีฝนตกเป็นเวลายาวนาน ความแห้งแล้งเริ่มปรากฏขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายต่างเหี่ยวแห้งและตายจนหมดสิ้น ในกาลต่อมา ดวงอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏขึ้น ทำให้ ขณะนั้นโลกและจักรวาลมีดวงอาทิตย์ถึง 2 ดวง ทำให้ไม่มีกลางวันและกลางคืน เนื่องเพราะว่าโลกถูก แสงสว่างเจิดจ้าจากดวงอาทิตย์ทั้ง 2 ด้าน ดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ จะมีความร้อนรุนแรงกว่าดวงอาทิตย์ที่มีมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นเพราะดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้เกิดด้วยอานุภาพกรรมของมนุษย์ จึงไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่เหมือน ดวงอาทิตย์ดวงแรกซึ่งไม่ได้เกิดจากแรงกรรม และด้วยความร้อนแรงที่มากขึ้นอย่างมหาศาล สุริยเทพบุตรที่ อาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์ดวงเดิมนั้น ก็ไม่อาจจะอยู่ต่อไปได้ จึงเร่งทำความเพียรเจริญภาวนา เพื่อให้ได้ฌาน และหนีไปบังเกิดยังพรหมโลกชั้นสูง ซึ่งเป็นภพที่อานุภาพการทำลายไปไม่ถึง และเพราะเหตุที่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นถึง 2 ดวง อุณหภูมิความร้อนในโลกจึงทวีขึ้นอย่างมากมาย ส่งผลให้บนท้องฟ้าปราศจากเมฆและหมอก น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เหือดแห้ง น้ำที่ยังเหลืออยู่ในโลก มีเพียงน้ำในแม่น้ำ 5 สาย คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ และสรภู เท่านั้น มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ต่างล้มตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้งหมด เพราะพากันเร่งรีบเจริญภาวนาเพื่อให้ได้ฌานกัน ทั้งนี้เพราะทราบล่วงหน้าว่าภัยร้ายแรงจะมาเยือน สาเหตุที่มนุษย์ทราบว่าโลกจะถูกทำลายนั้น เนื่องจากก่อนที่โลกจะถูกทำลายแสนปี จะมีเทวดาประเภทหนึ่ง เรียกว่า โลกพยุหเทวดา นุ่งห่มด้วยผ้าสีแดง มาป่าวประกาศให้มนุษย์ทราบว่า อีกแสนปี ข้างหน้าโลกจะพินาศ รวมทั้งจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง แม้กระทั่งภูมิของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น จนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ปฐมฌาน และยังแนะนำต่อไปอีกว่า อย่าประมาทให้เร่งสร้างบุญกุศล เพื่อจะได้ไปเกิดในภูมิที่พ้นจากความพินาศนี้ หลังจากที่เทวดานั้นมาประกาศให้มนุษย์ทราบแล้ว มนุษย์ต่างบังเกิดความสลดสังเวชใจ จึงเร่งสร้างบุญกุศล และบำเพ็ญภาวนากันจนได้ฌานสมาบัติ ตายแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก เหล่าเทวดา และพรหมก็เช่นกัน ต่างเร่งเจริญภาวนาเพื่อจะได้ไปบังเกิดในภพภูมิที่ปลอดภัย ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งหลายเมื่อพ้นจากวิบากกรรมมาเกิดเป็นมนุษย์ และทราบเรื่องที่เทวดามาประกาศ ก็เร่งสร้างบุญกุศลและเจริญภาวนาเช่นกัน คงเหลือเพียงผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิที่ไม่เร่งสร้างบุญกุศล เมื่อโลกถูกทำลายจึงไปบังเกิดใน ภพภูมิเดิมของจักรวาลอื่นที่ยังไม่ถูกทำลาย หลังจากนั้นมาอีกยาวนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏขึ้น และด้วยอานุภาพความร้อนแรงที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำที่เคยเหลืออยู่ในแม่น้ำทั้ง 5 นั้น เหือดแห้งไปจนหมดสิ้น ต่อมาปรากฏมีดวงอาทิตย์ดวงที่ 4 ความร้อนแรงยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทับทวี จนกระทั่งทำให้น้ำในสระใหญ่บริเวณป่าหิมพานต์ซึ่งละลายมาจากหิมะ แห้งหายจนหมดสิ้น น้ำในมหาสมุทรของจักรวาลเริ่มแห้งขอดลง หลังจากนั้น ดวงอาทิตย์ดวงที่ 5 ก็บังเกิดขึ้น ถึงตรงนี้ น้ำในมหาสมุทรต่างๆ เหือดแห้งจนหมดสิ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ 6 ปรากฏ อานุภาพของความร้อนจึงทำให้แผ่นดินและภูเขาไม่หลงเหลือ ธาตุน้ำอยู่เลย ทำให้ไม่สามารถคงสภาพเดิมไว้ได้ กลายเป็นผงฝุ่นฟุ้งไปทั่วทั้งโลก ต่อจากนั้นดวงอาทิตย์ดวงที่ 7 ก็ปรากฏขึ้น ด้วยความร้อนแรงที่ไม่มีประมาณ ทำให้โลกธาตุทั้งแสนโกฏิจักรวาลลุกเป็นไฟขึ้นพร้อมกัน เกิดการระเบิดเสียงดังสนั่นกึกก้องกัมปนาท ยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และดาวดึงส์ถอนหลุดออกจากที่ แล้วแตกแยกย่อยกระจัดกระจายสูญหายไปในอากาศ สำหรับเปลวไฟที่เผาทำลายโลกและจักรวาลนี้ จะเริ่มที่โลกมนุษย์ก่อน จากนั้นจึงลุกลามไปยังเทวโลกทุกชั้นตามลำดับ และเลยไปถึงพรหมโลกชั้นต้น ซึ่งเป็นพรหมที่ได้ปฐมฌาน ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมมา ไฟนี้จะไหม้อยู่เป็นเวลาที่ยาวนานมาก จนกระทั่งไม่มีสิ่งใดหลงเหลือ ไฟจึงมอดดับลงในพรหมโลกชั้นนี้ หลังจากไฟมอดดับไปแล้ว จักรวาลเหลือเพียงอากาศว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดๆ บังเกิดความมืดมิดขึ้นทั่วทั้งจักรวาลเป็นเวลายาวนาน 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ การที่โลกถูกทำลายด้วยน้ำ จะไม่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นเหมือนกับที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ โลกยังคงมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียวอย่างที่เคยเป็นมา แต่การทำลายจะเริ่มจาก มีเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดขึ้น แล้วฝนจึงตกลงมาจากเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดนั้น ทำให้กลายเป็นน้ำกรดที่มีฤทธิ์รุนแรง สามารถกัดละลายสรรพสิ่งทั้งหลายให้ละลายได้ โดยจะตกต่อเนื่อง ไม่มีขาดช่วงเลย แรกๆ ก็ตกมาทีละน้อยและมีเม็ดละเอียด แล้วจึงตกหนักขึ้น พร้อมกับขนาดของเม็ดที่โตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเหมือนสายน้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นๆ จนในที่สุด ท่วมพื้นแผ่นดินและภูเขา ท่วมโลกจนกระทั่งเต็มทั่วท้องจักรวาลทั้งแสนโกฏิจักรวาล น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดรุนแรงนี้ จะกัดละลายทุกสิ่งทุกอย่างจนสูญสลายไม่มีเหลือ ระดับน้ำจะสูงขึ้นไป จนท่วมสวรรค์ชั้นต่างๆ ท่วมถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ทุติยฌาน คือ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา แล้วหยุดเพียงเท่านี้ สิ่งทั้งหลายที่จมน้ำหรือถูกท่วมถึง ก็จะถูกกัดละลายจนหมดสิ้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกกัดละลายจนไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดนั้นจะยุบแห้งหายไป เหลือเพียงอากาศที่ว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ทั่วทั้งจักรวาลมืดมิดไม่มีแสงสว่างใดๆ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม ในครั้งที่โลกและจักรวาลถูกทำลายด้วยลม โลกยังคงมีดวงอาทิตย์ดวงเดียวเช่นที่เคยเป็นมา แต่ การทำลายด้วยลมเริ่มจากมีลมเกิดขึ้น ในช่วงแรกเป็นเพียงลมอ่อนๆ แล้วจึงแรงขึ้นตามลำดับ จากที่พัด พาสิ่งที่มีน้ำหนักเบา ก็แรงจนสามารถทำให้สิ่งต่างๆ พัดปลิวไปในอากาศได้ เริ่มจากที่เพียงพัดฝุ่นให้ฟุ้งตลบขึ้น เป็นพัดพาทราย กรวด และก้อนหิน และแรงขึ้นจนพัดสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ ทั้งต้นไม้ อาคารบ้านเรือน ตลอดจนสรรพสิ่ง หลุดลอยขึ้นไปในอากาศ ด้วยอานุภาพรุนแรงอย่างมหาศาล จึงทำให้สิ่งต่างๆ ที่ถูกพัดขึ้นไปแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย ต่อมาเกิดลมขึ้นใต้ผืนแผ่นดิน ความรุนแรงของลมได้พัดพลิกแผ่นดินให้หงายขึ้น และพัดปลิวขึ้นไปในอากาศ แม้แต่ภูเขา และน้ำจากแหล่งต่างๆ ทั้งในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ทุกสิ่งทุกอย่างถูกพัดปลิวขึ้นสู่อากาศ และแหลกกระจุยกระจายด้วยแรงลมที่มีความรุนแรงในการฉีกทำลายมหาศาล ลมได้พัดทำลายสรรพสิ่งสิ้นทั้งโลก พัดทำลายสิ่งต่างๆ ในจักรวาล เขาพระสุเมรุถูกพัดหลุดลอยขึ้นไปในอากาศ และแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือเศษ สวรรค์ชั้นต่างๆ จักรวาลทั้งหลายกระทบกระแทกเข้าหากันจนแตกละเอียดเป็นผุยผง ตลอดจนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ตติยฌานทั้ง 3 อันได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา และพรหมสุภกิณหา ได้ถูกลมพัดทำลายจนสิ้น เมื่อสิ่งต่างๆ ถูกทำลายจนหมดสิ้น ลมจึงสงบหายไป เหลือเพียงความเวิ้งว้างของท้องจักรวาล ที่มีแต่ความว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ปรากฏเพียงความมืดมิดทั่วทั้งจักรวาล 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงการทำลายของโลกนี้ มิได้มีพระประสงค์ที่จะให้ผู้ใดหวาดกลัว มิได้ประสงค์จะเตือนให้ระวังภัยที่โลกจะถูกทำลาย และมิได้มีพระประสงค์จะแสดงเพื่อให้เป็นศาสตร์ว่าด้วย ความรู้เรื่องการเกิดและการทำลายของโลก แต่ที่ทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายนี้ ก็เพื่อที่จะแสดงให้เกิดความเบื่อหน่ายในโลก เบื่อหน่ายในการเวียนว่ายในสังสารวัฏที่หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่พบ เพราะแม้ว่าภพภูมิต่างๆ จะน่ารื่นรมย์ สวยสดงดงาม และมีสัมผัสอันเป็นสุขอย่างไรก็ตาม แต่ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีผู้ใดเลยที่จะสามารถเป็นเจ้าของหรือครอบครองสิ่งใดได้ ตลอดไป และไม่มีใครที่จะสามารถรักษาให้สิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายมิให้เปลี่ยนแปลง เมื่อถึงเวลาสิ่งต่างๆ ก็มีอันต้องเสื่อมสลายหมดอายุขัยไป ไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พึง พอใจหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นย่อมต้องจากเราไป หรือบางครั้งเราก็เป็นผู้ที่ต้องจากไปเสียเอง ดังนั้นหากยัง ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีก ก็ยังจะต้องเผชิญกับทุกข์นานาประการอีกไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายดังนี้ เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย สลด สังเวชใจ และหาทางหลุดพ้นในที่สุด ดังที่แสดงใน สุริยสูตร ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคาม และติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉาเหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง…ควรหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง… ควรหลุดพ้น ทรงตรัสถึงลักษณะที่โลกและจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งถูกทำลายลง เมื่อดวงอาทิตย์มาปรากฏ เพิ่มขึ้นเช่นนี้ จนถึง 7 ดวง และทรงตรัสให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงดังนี้ เช่นกัน ทรงตรัสอีกว่า แม้จะเกิดเป็นท้าวสักกะ เป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ไม่พ้นจากทุกข์ได้เพราะ ยังไม่ตรัสรู้ไม่ได้แทงตลอดธรรม 4 ประการ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ ซึ่งถ้าหากผู้ใดแทงตลอดในธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ก็ชื่อว่าตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว สามารถถอนตัณหาในภพอันเป็นเหตุทำให้เกิดได้แล้ว จึงไม่ต้องบังเกิดอีกต่อไป เป็นการปลอดภัยอย่างแท้จริง

การแตกทำลายของจักรวาลการแตกทำลายของจักรวาล 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 6.3.1 การทำลายโดยไฟ 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ 6.3.3 การทำลายโดยลม 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก แนวคิด 1. โลกสามารถถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ และลม ทั้งนี้ขึ้นกับกิเลสภายในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มากด้วย โทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มากด้วยราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้ามนุษย์ มากด้วยโมหะ โลกจะถูกทำลายด้วยลม 2. ช่วงเวลาและขอบเขตในการทำลายของไฟ น้ำ และลม จะแตกต่างกัน โดยไฟจะทำลายโลก ก่อนน้ำและลม แต่มีขอบเขตในการทำลายน้อยกว่าน้ำและลม ขณะที่ลมจะทำลายโลกหลัง จากที่ไฟและน้ำทำลายโลกไปแล้วรวม 63 ครั้ง และมีขอบเขตการทำลายมากกว่าไฟและน้ำ 3. วิธีการเอาตัวรอดจากการถูกทำลายทั้งจากไฟ น้ำ และลมนั้น สามารถทำได้โดยเจริญสมาธิ ภาวนาให้เกิดฌาน เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่อยู่นอกขอบเขตการทำลาย และถ้าจะให้ ปลอดภัยถาวรก็ทำตนให้หมดกิเลส เพื่อจะได้ไม่ต้องลงมาเกิดในภพต่างๆ อีก วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายสาเหตุที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลำดับ ช่วงเวลา และขอบเขต ในการทำลายของไฟ น้ำ และลมได้อย่างถูกต้อง 3.เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวิธีในการดำเนินชีวิต ให้เกิดความปลอดภัยจากการที่โลกจะถูกทำลายได้ ทั้งโดยส่วนตัวและเพื่อผู้อื่น ความนำ ในบทเรียนต่างๆ ที่เราได้ศึกษาผ่านมานั้น ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับแผนภูมิของภพภูมิต่างๆ ว่า ภพภูมิเหล่านั้นมีตำแหน่งที่ตั้งอย่างไร สภาพบรรยากาศและชีวิตของสัตว์ที่อยู่ในภพภูมิเหล่านั้นเป็นเช่นไร และในบทเรียนบทที่ 5 ที่ผ่านมา เราก็ได้ทราบว่า สิ่งต่างๆ อันได้แก่ จักรวาล โลก ดวงดาวต่างๆ มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายกำเนิดขึ้นมาอย่างไร มีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง รวมทั้งอายุขัยของโลกและจักรวาลว่า มีอายุเท่าไร ในบทเรียนนี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและกระบวนการเสื่อมสลายและแตกทำลายของจักรวาล โลก และสรรพสิ่งว่าเป็นอย่างไร 6.1 สาเหตุแห่งการแตกทำลายของจักรวาล นักศึกษาอย่าเพิ่งคิดไปไกลด้วยความเข้าใจผิดเพราะความเคยชินว่า สิ่งที่จะทำลายโลกจะเป็นอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ห้ำหั่นกันในยุคสมัยนี้ หรืออาวุธมหาประลัยทั้งหลายที่มนุษย์แข่งขันประดิษฐ์ คิดค้นกันแต่อย่างใด แต่สิ่งที่จะทำลายโลกที่น่ารื่นรมย์ในความคิดของหลายท่านนั้นมีอยู่ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ไฟ น้ำ และลม ทั้ง 3 สิ่งนี้จะเป็นตัวทำลายโลก แต่อย่าเข้าใจนำหน้าไปก่อนว่า ไฟอะไรกันจะเผาไหม้ได้ทั้งโลก ขนาดมีผู้ลักลอบเผาบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด ก็ไม่เห็นว่าจะเกิดความเสียหายมากมายอะไรนัก และอะไรหลายๆ อย่างในโลกก็ไม่ใช่ว่าจะไหม้ไฟไปเสียทั้งหมด และเช่นเดียวกัน อย่าเพิ่งเข้าใจว่า น้ำและลมจะทำลายโลกไม่ได้ เพราะคุ้นเคยกับภาพ หรือข่าวน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ต่างๆ พายุ ถล่มในหลายภูมิภาค ซึ่งก็ไม่เห็นจะสร้างความเสียหายมากมายแต่อย่างใด ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่า ไฟ น้ำ และลม ที่สามารถทำลายโลกได้นี้ ไม่ใช่ ไฟ น้ำ และลมอย่างที่เราเห็นหรือรู้จักกัน แต่เป็นไฟ น้ำ และลมประลัยกัลป์ที่มีอานุภาพในการทำลายมหาศาล เพราะเกิดด้วย แรงกรรมของสัตวโลก ซึ่งถ้าจะกล่าวตรงๆ แล้ว สัตวโลกที่ว่านี้ก็คือมนุษย์นั่นเอง เพราะว่าสัตว์อื่น ไม่สามารถจะทำกรรมอะไรได้มากมายเท่ามนุษย์ ส่วนมากล้วนกำลังเสวยวิบาก คือผลกรรมที่ตนเคยทำเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ พวกเทวดา และพรหมในชั้นต่างๆ ก็เสวยผลบุญอยู่ และปกติก็มีจิตใจที่ดีงามอยู่แล้ว ถึงได้ไปเกิดตรงนั้นได้ ส่วนพวกที่เสวยทุกข์อยู่ในอบาย ไม่ว่าจะเป็นในมหานรกขุมต่างๆ ในยมโลก ที่เป็นเปรต อสุรกาย หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน เพราะว่าสัตว์ที่เกิดในอบายนี้ ก็ย่อมต้องรับผลของบาปที่ตนกระทำ ด้วยวิธีการ และลักษณะต่างๆ กันไปตามแต่ละภพภูมิ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำสิ่งไม่ดี ก็เหลือเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มี โอกาสอย่างเสรี ในการคิด พูด และทำสิ่งต่างๆ และเพราะเหตุที่มีเสรีภาพ ในการคิด พูด และทำได้ไม่มีที่ สิ้นสุดนี้เอง จึงทำให้มนุษย์ทำสิ่งไม่ดี ทำกรรมชั่ว เมื่อทำมากเข้า หนาแน่นเข้า ผลกรรมจึงทำให้โลกถูกทำลายลงในที่สุด 6.2 สิ่งที่ทำลายโลกขึ้นอยู่กับจิตใจมนุษย์ ถึงแม้ว่าทั้ง ไฟ น้ำ และ ลม จะเป็นสิ่งทำลายโลกและสรรพสิ่งทั้งปวง (ซึ่งไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะมีอานุภาพ การทำลายมากไปกว่านี้) แต่ใช่ว่าทั้ง 3 สิ่ง จะสามัคคีชุมนุมมะรุมมะตุ้มตะลุมบอนออกฤทธิ์ถล่มโลกจน แตกสลายก็หาไม่ เพราะการทำลายจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นไฟ ก็ไฟอย่างเดียว ถ้าเป็นน้ำก็น้ำอย่างเดียว และถ้าเป็นลมก็ลมอย่างเดียว การที่สิ่งใดจะทำลายโลกนั้น ขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์ว่า หนาแน่นไปด้วยกิเลสตระกูลใดมากที่สุด ซึ่งถ้าจิตใจมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโทสะ โลกจะถูกทำลายด้วยไฟ ถ้ามนุษย์มีจิตใจที่หนาแน่นไปด้วย ราคะ โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ และถ้าจิตใจของมนุษย์หนาแน่นด้วยกิเลสตระกูลโมหะ โลกก็จะถูกทำลาย ด้วยลม เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็สามารถเลือกได้ว่า เราจะให้โลกถูกทำลายด้วยอะไรดี ถ้าอยากให้โลกถูก ทำลายด้วยไฟ ก็เกลียดกันเข้าไป โกรธกันเข้าไป ถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยน้ำก็โลภกันให้มากๆ เห็นแก่ตัวกันเข้าไป หมกมุ่นกามกันให้มาก และถ้าอยากจะให้โลกถูกทำลายด้วยลมก็ไม่ต้องสนใจกฎแห่งกรรม ไม่ต้องเชื่อบุญเชื่อบาป จะทำอะไรก็จงทำด้วยความพอใจไปเถิด แต่ถ้าอยากให้โลกอยู่รอดปลอดภัย ไม่ถูกสิ่งใดทำลายเลย ก็ต้องช่วยกันให้มนุษย์ทั่วทั้งโลกไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสทั้ง 3 ตระกูล สิ่งที่ทำลายโลก กิเลสในใจมนุษย์ ไฟ กิเลสตระกูลโทสะ น้ำ กิเลสตระกูลราคะ ลม กิเลสตระกูลโมหะ นอกจากโลกจะไม่ถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ หรือลมพร้อมกัน แต่จะถูกทำลายด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวแล้ว ในการทำลายของทั้ง 3 สิ่งนี้ ยังมีระยะเวลาและลำดับในการทำลายด้วย โลกจะถูกทำลายด้วยไฟเป็นสิ่งแรก และจะถูกทำลายเป็นครั้งๆ ไป ถึง 7 ครั้ง ในครั้งที่ 8 โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ หลังจากนั้นถูกทำลายด้วยไฟอีก 7 ครั้ง แล้วถูกทำลายด้วยน้ำอีก จะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งครั้งที่ 64 โลกจึง จะถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการเกิดขึ้นของโลกและจักรวาลขึ้นใหม่ และโลกก็จะถูกทำลายอีกจะเป็นอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อรวมจำนวนที่โลกถูกทำลายด้วยสิ่งต่างๆ ใน 64 ครั้ง จะถูกทำลายด้วยไฟ 56 ครั้ง ถูกทำลาย ด้วยน้ำ 7 ครั้ง และถูกทำลายด้วยลม 1 ครั้ง 6.3 ขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม นอกจากจำนวนครั้งในการทำลายของสิ่งที่ทำลายโลกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันแล้ว อานุภาพในการทำลายยังแตกต่างกันอีก ซึ่งแต่ละสิ่งมีขอบเขตในการทำลายดังนี้ 6.3.1 การทำลายโดยไฟ ไฟจะทำลายภพภูมิต่างๆ 14 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมา 6.3.2 การทำลายโดยน้ำ น้ำจะทำลายภพภูมิต่างๆ 17 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา 6.3.3 การทำลายโดยลม ลมจะทำลายภพภูมิต่างๆ 20 ภพภูมิ คือ 1. ภพอบายทั้ง 4 2. ภพมนุษย์ 3. ภพสวรรค์ทั้ง 6 4. ภพของพรหมที่ได้ปฐมฌาน 3 5. ภพของพรหมที่ได้ทุติยฌาน 3 6. ภพของพรหมที่ได้ตติยฌาน 3 ได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภาและพรหมสุภกิณหา แผนภาพแสดงขอบเขตการทำลายของ ไฟ น้ำ และลม 011.jpg 6.4 ลักษณะที่จักรวาลถูกทำลาย 6.4.1 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยไฟ การที่โลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น เริ่มจากจะไม่มีฝนตกเป็นเวลายาวนาน ความแห้งแล้งเริ่มปรากฏขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายต่างเหี่ยวแห้งและตายจนหมดสิ้น ในกาลต่อมา ดวงอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏขึ้น ทำให้ ขณะนั้นโลกและจักรวาลมีดวงอาทิตย์ถึง 2 ดวง ทำให้ไม่มีกลางวันและกลางคืน เนื่องเพราะว่าโลกถูก แสงสว่างเจิดจ้าจากดวงอาทิตย์ทั้ง 2 ด้าน ดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ จะมีความร้อนรุนแรงกว่าดวงอาทิตย์ที่มีมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นเพราะดวงอาทิตย์ดวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้เกิดด้วยอานุภาพกรรมของมนุษย์ จึงไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่เหมือน ดวงอาทิตย์ดวงแรกซึ่งไม่ได้เกิดจากแรงกรรม และด้วยความร้อนแรงที่มากขึ้นอย่างมหาศาล สุริยเทพบุตรที่ อาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์ดวงเดิมนั้น ก็ไม่อาจจะอยู่ต่อไปได้ จึงเร่งทำความเพียรเจริญภาวนา เพื่อให้ได้ฌาน และหนีไปบังเกิดยังพรหมโลกชั้นสูง ซึ่งเป็นภพที่อานุภาพการทำลายไปไม่ถึง และเพราะเหตุที่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นถึง 2 ดวง อุณหภูมิความร้อนในโลกจึงทวีขึ้นอย่างมากมาย ส่งผลให้บนท้องฟ้าปราศจากเมฆและหมอก น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เหือดแห้ง น้ำที่ยังเหลืออยู่ในโลก มีเพียงน้ำในแม่น้ำ 5 สาย คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ และสรภู เท่านั้น มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ต่างล้มตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้งหมด เพราะพากันเร่งรีบเจริญภาวนาเพื่อให้ได้ฌานกัน ทั้งนี้เพราะทราบล่วงหน้าว่าภัยร้ายแรงจะมาเยือน สาเหตุที่มนุษย์ทราบว่าโลกจะถูกทำลายนั้น เนื่องจากก่อนที่โลกจะถูกทำลายแสนปี จะมีเทวดาประเภทหนึ่ง เรียกว่า โลกพยุหเทวดา นุ่งห่มด้วยผ้าสีแดง มาป่าวประกาศให้มนุษย์ทราบว่า อีกแสนปี ข้างหน้าโลกจะพินาศ รวมทั้งจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง แม้กระทั่งภูมิของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น จนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ปฐมฌาน และยังแนะนำต่อไปอีกว่า อย่าประมาทให้เร่งสร้างบุญกุศล เพื่อจะได้ไปเกิดในภูมิที่พ้นจากความพินาศนี้ หลังจากที่เทวดานั้นมาประกาศให้มนุษย์ทราบแล้ว มนุษย์ต่างบังเกิดความสลดสังเวชใจ จึงเร่งสร้างบุญกุศล และบำเพ็ญภาวนากันจนได้ฌานสมาบัติ ตายแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก เหล่าเทวดา และพรหมก็เช่นกัน ต่างเร่งเจริญภาวนาเพื่อจะได้ไปบังเกิดในภพภูมิที่ปลอดภัย ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งหลายเมื่อพ้นจากวิบากกรรมมาเกิดเป็นมนุษย์ และทราบเรื่องที่เทวดามาประกาศ ก็เร่งสร้างบุญกุศลและเจริญภาวนาเช่นกัน คงเหลือเพียงผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิที่ไม่เร่งสร้างบุญกุศล เมื่อโลกถูกทำลายจึงไปบังเกิดใน ภพภูมิเดิมของจักรวาลอื่นที่ยังไม่ถูกทำลาย หลังจากนั้นมาอีกยาวนาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏขึ้น และด้วยอานุภาพความร้อนแรงที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำที่เคยเหลืออยู่ในแม่น้ำทั้ง 5 นั้น เหือดแห้งไปจนหมดสิ้น ต่อมาปรากฏมีดวงอาทิตย์ดวงที่ 4 ความร้อนแรงยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทับทวี จนกระทั่งทำให้น้ำในสระใหญ่บริเวณป่าหิมพานต์ซึ่งละลายมาจากหิมะ แห้งหายจนหมดสิ้น น้ำในมหาสมุทรของจักรวาลเริ่มแห้งขอดลง หลังจากนั้น ดวงอาทิตย์ดวงที่ 5 ก็บังเกิดขึ้น ถึงตรงนี้ น้ำในมหาสมุทรต่างๆ เหือดแห้งจนหมดสิ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ 6 ปรากฏ อานุภาพของความร้อนจึงทำให้แผ่นดินและภูเขาไม่หลงเหลือ ธาตุน้ำอยู่เลย ทำให้ไม่สามารถคงสภาพเดิมไว้ได้ กลายเป็นผงฝุ่นฟุ้งไปทั่วทั้งโลก ต่อจากนั้นดวงอาทิตย์ดวงที่ 7 ก็ปรากฏขึ้น ด้วยความร้อนแรงที่ไม่มีประมาณ ทำให้โลกธาตุทั้งแสนโกฏิจักรวาลลุกเป็นไฟขึ้นพร้อมกัน เกิดการระเบิดเสียงดังสนั่นกึกก้องกัมปนาท ยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และดาวดึงส์ถอนหลุดออกจากที่ แล้วแตกแยกย่อยกระจัดกระจายสูญหายไปในอากาศ สำหรับเปลวไฟที่เผาทำลายโลกและจักรวาลนี้ จะเริ่มที่โลกมนุษย์ก่อน จากนั้นจึงลุกลามไปยังเทวโลกทุกชั้นตามลำดับ และเลยไปถึงพรหมโลกชั้นต้น ซึ่งเป็นพรหมที่ได้ปฐมฌาน ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมมา ไฟนี้จะไหม้อยู่เป็นเวลาที่ยาวนานมาก จนกระทั่งไม่มีสิ่งใดหลงเหลือ ไฟจึงมอดดับลงในพรหมโลกชั้นนี้ หลังจากไฟมอดดับไปแล้ว จักรวาลเหลือเพียงอากาศว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดๆ บังเกิดความมืดมิดขึ้นทั่วทั้งจักรวาลเป็นเวลายาวนาน 6.4.2 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยน้ำ การที่โลกถูกทำลายด้วยน้ำ จะไม่มีดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นเหมือนกับที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ โลกยังคงมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียวอย่างที่เคยเป็นมา แต่การทำลายจะเริ่มจาก มีเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดขึ้น แล้วฝนจึงตกลงมาจากเมฆที่มีฤทธิ์เป็นกรดนั้น ทำให้กลายเป็นน้ำกรดที่มีฤทธิ์รุนแรง สามารถกัดละลายสรรพสิ่งทั้งหลายให้ละลายได้ โดยจะตกต่อเนื่อง ไม่มีขาดช่วงเลย แรกๆ ก็ตกมาทีละน้อยและมีเม็ดละเอียด แล้วจึงตกหนักขึ้น พร้อมกับขนาดของเม็ดที่โตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเหมือนสายน้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นๆ จนในที่สุด ท่วมพื้นแผ่นดินและภูเขา ท่วมโลกจนกระทั่งเต็มทั่วท้องจักรวาลทั้งแสนโกฏิจักรวาล น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดรุนแรงนี้ จะกัดละลายทุกสิ่งทุกอย่างจนสูญสลายไม่มีเหลือ ระดับน้ำจะสูงขึ้นไป จนท่วมสวรรค์ชั้นต่างๆ ท่วมถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ทุติยฌาน คือ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และพรหมอาภัสสรา แล้วหยุดเพียงเท่านี้ สิ่งทั้งหลายที่จมน้ำหรือถูกท่วมถึง ก็จะถูกกัดละลายจนหมดสิ้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกกัดละลายจนไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย น้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดนั้นจะยุบแห้งหายไป เหลือเพียงอากาศที่ว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ทั่วทั้งจักรวาลมืดมิดไม่มีแสงสว่างใดๆ 6.4.3 เมื่อจักรวาลถูกทำลายด้วยลม ในครั้งที่โลกและจักรวาลถูกทำลายด้วยลม โลกยังคงมีดวงอาทิตย์ดวงเดียวเช่นที่เคยเป็นมา แต่ การทำลายด้วยลมเริ่มจากมีลมเกิดขึ้น ในช่วงแรกเป็นเพียงลมอ่อนๆ แล้วจึงแรงขึ้นตามลำดับ จากที่พัด พาสิ่งที่มีน้ำหนักเบา ก็แรงจนสามารถทำให้สิ่งต่างๆ พัดปลิวไปในอากาศได้ เริ่มจากที่เพียงพัดฝุ่นให้ฟุ้งตลบขึ้น เป็นพัดพาทราย กรวด และก้อนหิน และแรงขึ้นจนพัดสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ ทั้งต้นไม้ อาคารบ้านเรือน ตลอดจนสรรพสิ่ง หลุดลอยขึ้นไปในอากาศ ด้วยอานุภาพรุนแรงอย่างมหาศาล จึงทำให้สิ่งต่างๆ ที่ถูกพัดขึ้นไปแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือสิ่งใดๆ เลย ต่อมาเกิดลมขึ้นใต้ผืนแผ่นดิน ความรุนแรงของลมได้พัดพลิกแผ่นดินให้หงายขึ้น และพัดปลิวขึ้นไปในอากาศ แม้แต่ภูเขา และน้ำจากแหล่งต่างๆ ทั้งในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ทุกสิ่งทุกอย่างถูกพัดปลิวขึ้นสู่อากาศ และแหลกกระจุยกระจายด้วยแรงลมที่มีความรุนแรงในการฉีกทำลายมหาศาล ลมได้พัดทำลายสรรพสิ่งสิ้นทั้งโลก พัดทำลายสิ่งต่างๆ ในจักรวาล เขาพระสุเมรุถูกพัดหลุดลอยขึ้นไปในอากาศ และแหลกละเอียดกระจัดกระจายไม่เหลือเศษ สวรรค์ชั้นต่างๆ จักรวาลทั้งหลายกระทบกระแทกเข้าหากันจนแตกละเอียดเป็นผุยผง ตลอดจนถึงพรหมโลกชั้นที่ได้ตติยฌานทั้ง 3 อันได้แก่ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา และพรหมสุภกิณหา ได้ถูกลมพัดทำลายจนสิ้น เมื่อสิ่งต่างๆ ถูกทำลายจนหมดสิ้น ลมจึงสงบหายไป เหลือเพียงความเวิ้งว้างของท้องจักรวาล ที่มีแต่ความว่างเปล่าโล่งเตียนไม่หลงเหลือสิ่งใดๆ ปรากฏเพียงความมืดมิดทั่วทั้งจักรวาล 6.5 เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการทำลายของโลก การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงการทำลายของโลกนี้ มิได้มีพระประสงค์ที่จะให้ผู้ใดหวาดกลัว มิได้ประสงค์จะเตือนให้ระวังภัยที่โลกจะถูกทำลาย และมิได้มีพระประสงค์จะแสดงเพื่อให้เป็นศาสตร์ว่าด้วย ความรู้เรื่องการเกิดและการทำลายของโลก แต่ที่ทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายนี้ ก็เพื่อที่จะแสดงให้เกิดความเบื่อหน่ายในโลก เบื่อหน่ายในการเวียนว่ายในสังสารวัฏที่หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่พบ เพราะแม้ว่าภพภูมิต่างๆ จะน่ารื่นรมย์ สวยสดงดงาม และมีสัมผัสอันเป็นสุขอย่างไรก็ตาม แต่ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีผู้ใดเลยที่จะสามารถเป็นเจ้าของหรือครอบครองสิ่งใดได้ ตลอดไป และไม่มีใครที่จะสามารถรักษาให้สิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายมิให้เปลี่ยนแปลง เมื่อถึงเวลาสิ่งต่างๆ ก็มีอันต้องเสื่อมสลายหมดอายุขัยไป ไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พึง พอใจหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นย่อมต้องจากเราไป หรือบางครั้งเราก็เป็นผู้ที่ต้องจากไปเสียเอง ดังนั้นหากยัง ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีก ก็ยังจะต้องเผชิญกับทุกข์นานาประการอีกไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงถึงการที่โลกถูกทำลายดังนี้ เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย สลด สังเวชใจ และหาทางหลุดพ้นในที่สุด ดังที่แสดงใน สุริยสูตร ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคาม และติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉาเหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง…ควรหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง… ควรหลุดพ้น ทรงตรัสถึงลักษณะที่โลกและจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งถูกทำลายลง เมื่อดวงอาทิตย์มาปรากฏ เพิ่มขึ้นเช่นนี้ จนถึง 7 ดวง และทรงตรัสให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงดังนี้ เช่นกัน ทรงตรัสอีกว่า แม้จะเกิดเป็นท้าวสักกะ เป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ไม่พ้นจากทุกข์ได้เพราะ ยังไม่ตรัสรู้ไม่ได้แทงตลอดธรรม 4 ประการ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ ซึ่งถ้าหากผู้ใดแทงตลอดในธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ก็ชื่อว่าตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว สามารถถอนตัณหาในภพอันเป็นเหตุทำให้เกิดได้แล้ว จึงไม่ต้องบังเกิดอีกต่อไป เป็นการปลอดภัยอย่างแท้จริง

สรรเสริญ พระพุทธเจ้าบทสรรเสริญ พระพุทธคุณ. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง ครูบาอาจารย์ก็อยู่ไกล เราไหว้พระสวดมนต์ เราตามรู้ตามดูของเราไปบางทีธรรมะจะถ่ายทอดออกจากใจของเราเองหรือบางคนมีภาพประกอบ บางคนมีเสียง เห็นพระพุทธเจ้าไปบอกบ้างเลยคิดว่าพระพุทธเจ้ามาจริงๆ นะจริงๆ จิตนั่นเองมันถ่ายทอดธรรมะออกมาจิตใจโน้มเอียงที่จะอยู่กับธรรมะ เวลาติดขัดขึ้นมาจิตจะสอนธรรมะได้ เป็นเรื่องแปลกนะค่อยๆ ดู ท้าให้พิสูจน์นะ ไม่ได้ชวนให้เชื่อลองภาวนาดู เอาซีดี เอาหนังสือหลวงพ่อไป ไปฟังไปอ่านแจกให้ฟรีนะ ไปฟังไปอ่านแล้วค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราไป

จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา...

ทางพ้นทุกข์ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถอดเทปและจัดอักษร โดย เจนจิรา นวมงคลกุล และ กวี บุญดีสกุลโชค ขอความสุขความเจริญจงมีแก่สาธุชนทุกๆ ท่าน วันนี้เป็นโอกาสอันเป็นมงคล มงคลในศาสนาพุทธนะ ไม่ใช่มงคลมั่วๆซั่วๆ ท่านกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า อะไรบ้างที่เป็นมงคล อย่างเวลาเรามาเจอกันนี้มีมงคลหลายข้อ อันแรกเลยได้เห็นสมณะ ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรม มงคลสำคัญนี่ก็คือฟังธรรม ฟังธรรมแล้วต้องเอาไปปฏิบัติให้ได้ เมื่อกี๊หลวงพ่อ56+546+อยู่ห้องข้างๆได้ยิน มีท่านโฆษกบอกว่า พวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง ทางนี้ตั้งหัวข้อให้หลวงพ่อเทศน์ “ทางพ้นทุกข์ ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูก” รู้สึกว่าหลวงพ่อจะเริ่มจาก ฮ.นกฮูกมาหา ก.ไก่ แล้วละนะ (คนฟังฮา) เอา ฮ นกฮูก ก่อนก็แล้วกันนะ .....คือเราเป็นคนรุ่นใหม่ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร เราต้องรู้ชัด ถ้าเราจะไปสู่นิพพาน อย่างน้อยชาตินี้เป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว วันหนึ่งข้างหน้ายังไงก็ต้องเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันไม่ยากเกินไป เราต้องมาดูคุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนนะ พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์

พระพุทธศาสนายังมีอยู่หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญานสังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราวมีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาเป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบเป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติเป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญาเป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ยเราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญาก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิกพวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะวันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

พระพุทธศาสนายังมีอยู่หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญานสังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราวมีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาเป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบเป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติเป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญาเป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ยเราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญาก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิกพวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะวันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

คิดถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือ ในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว . ทำไมท่านไม่ยึดถือ เพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะ จนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เรา ความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เรา จิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมด เนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อย เบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบัน เบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..? มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็นความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเรา ถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แล้วจิตตัวเดียวนี้เอง ถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ . มันสลัดได้จริงๆนะ แต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ ใครเคยเห็นบ้างว่า จิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ พวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อย ก็พอสมควรนะ เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ย บางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อย ใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะ ไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลย จิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เอง จะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เอง นี่แค่ปล่อยอารมณ์ สังเกตมั้ย พอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลย สบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหน นี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้ มันจะสุขมหาศาลขนาดไหน มันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะ ในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้น เป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลย งั้นพวกเราต้องฝึกนะ . สรุปให้ฟัง เอาง่ายๆ เลยนะ เบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่าน . อันที่ ๒ พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่ง ช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะ ช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้า อะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะ จิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะ ค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น . สรุปนะ อีกที ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะ แต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน (ทำสมถกรรมฐาน) ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้ เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว . ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะ ดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้ว ถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่ พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก ... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต ... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ) . เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ ถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ เดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้ว เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆ . อยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่า หรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี สุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป แต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะ ถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้ว เราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลย เพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละ อะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ /|\ /|\ /|\ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 มีนาคม 2556 หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube

คิดถึงพระพุทธเจ้าตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา…ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละ อยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นิพพานคาถาโดยพระราชพรหมยานเถระSompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เราจะรู้เฉพาะนิพพาน แต่นิพพานนั้นยังมีมีชื่อเรียกอีกมากมายครับ จึงขอมอบไว้เพื่อเป็นวิทยาทาน ณ ที่นี้ ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๑. โมกขะ นิพพานชื่อว่าโมกขะ เพราะเป็นธรรมเป็นที่หลุดพ้น,เพราะเป็นธรรมที่เป็นเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ๒. นิพพาน ที่ชื่อว่านิพพพาน เพราะเป็นสภาพที่ดับสนิท เหตุเพราะหลุดพ้นจากตัณหาที่เรียกว่าวานะ,เพราะธรรมเครื่องดับไฟคือราคะเป็นต้น,เพราะเป็นสภาพที่สงบจากสังขารธรรมทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับราคะ,เพราะไม่มีตัณหา แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๓. ทีปะ นิพพานชื่อว่าทีปะ เพราะเป็นธรรมเป็นที่พึ่ง(ทีปธรรม),เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ผู้ถูกห้องน้ำในสงสารพัดพาไป ดุจเกาะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ผู้ถูกกระแสคลื่นพัดพาไป,เพราะทำบุคคลผู้หมดกิเลสให้เกิดเป็นเหมือนปทีปดับ ๔. ตัณหักขยะ นิพพานชื่อว่าตัณหักขยะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งตัณหา,เพราะมีความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นเหตุ แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๕. ปะระ (ปร) นิพพานชื่อว่าปะระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะเป็นต้น หรือเพราะมีอรรถประเสริฐสุด ๖. ตาณะ (ตาณ) นิพพานชื่อว่าตาณะ เพราะเป็นเครื่องต้านตัณหา,เพราะปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบายเป็นต้น ๗. เลณะ (เลณ) นิพพานชื่อว่าเลณะ เพราะเป็นธรรมที่หลบซ่อนหรือหลีกจากภัยในสงสาร ๘. อรูปะ (อรูป) นิพพานชื่อว่าอรูปะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีรูปลักษณ์ คือไม่มีรูปร่างสัณฐานว่ายาวและสั้นเป็นต้น แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๙. สันตะ (สนฺต) นิพพานชื่อว่าสันตะ เพราะเป็นธรรมเครื่องสงบ(สันตธรรม) ,เพราะกระทำให้ราคะเป็นต้นสงบลงได้ ๑๐. สัจจะ (สจฺจ) นิพพานชื่อว่าสัจจะ เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ(สัจจธรรม),เพราะเป็นธรรมที่ไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงหรือเป็นธรรมที่นับเนื่องในสัจจะ ๔ ๑๑. อนาละยะ (อนาลย) นิพพานชื่อว่าอนาละยะ เพราะเป็นธรรมปราศจากตัณหา,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีกิเลส,เพราะไม่มีความอาลัยในกาม อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๑๒. อสังขะตะ (อสงฺขต) นิพพานชื่อว่าอสังขะตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และเว้นจากลักษณะที่ถูกปรุงแต่ง ๑๓. สิวะ (สิว) นิพพานชื่อว่าสิวะ เพราะเป็นธรรมอันเกษม,เพราะกระทำความเกษมให้,เพราะเป็นธรรมที่ผู้กลัวภัยในสงสารพึงเสพ,เพราะยังบุคคลให้เข้าไปสงบ ๑๔. อมตะ (อมต) นิพพานชื่อว่าอมตะ เพราะเป็นสภาพที่พ้นจากความตาย(อมตธรรม),เพราะไม่มีความตาย จึงชื่อว่าอมตะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๑๕. สุทุททสะ (สุทุทฺทส) นิพพานชื่อว่าสุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง,เพราะเป็นธรรมที่มองได้ยากยิ่ง ๑๖. ปรายณะ (ปรายณ) นิพพานชื่อว่าปรายนะ เพราะเป็นธรรมที่พระอริยะเข้าถึง,เพราะเป็นธรรมเป็นที่ดำรงอยู่แห่งพระอริยบุคคล ๑๗. สรณะ (สรณ) นิพพานชื่อว่าสรณะ เพราะมีอรรถว่ากำจัดภัย คือทำลายภัยให้พินาศไป,เพราะเป็นธรรมเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๑๘. อนีติกะ (อนีติก) นิพพานชื่อว่าอนีติกะ เพราะปราศจากทุกข์,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีความชั่วร้ายคืออันตรายและบ่วง,เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อนีติ ที่นำสัตว์ไปสู่สงสาร ๑๙. อนาสวะ (อนาสว) นิพพานชื่อว่าอนาสวะ เพราะไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ,เพราะไม่มีอาสวะ ๔ อย่าง(อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม,ภวาสวะ อาสวะคือภพ,ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ,อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา) แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๒๐. ธุวะ (ธุว) นิพพานชื่อว่าธุวะ เพราะมีอรรถว่ามั่นคง(ธุวธรรม),เพราะมีความหมายว่ามั่นคงหรือไปสู่ความเป็นมัคคารมณ์ ๒๑. อนิทัสสนะ (อนิทสฺสน) นิพพานชื่อว่าอนิทัสสนะ เพราะเป็นธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตา,เพราะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยจักขุวิญญาณ,เพราะเป็นสภาพที่มองไม่เห็น,เพราะเป็นธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๒๒. อกตะ (อกต) นิพพานชื่อว่าอกตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่ถูกสร้างขึ้นโดยปัจจัย(ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๒๓. อปโลกิตะ (อปโลกิต) นิพพานชื่อว่าอปโลกิตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่เลือนหาย มีอยู่ตลอดกาลหรือเป็นธรรมที่ปรากฏอยู่โดยความเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมฯลฯ ๒๔. นิปุณะ (นิปุณ) นิพพานชื่อว่านิปุณะ เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน,เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระกิเลสของมรรค ๔ ให้หมดจด แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๒๕. อนันตะ (อนนฺต) นิพพานชื่อว่าอนันตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่พินาศ,เพราะเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมสลายไปตลอดกาล,เพราะไม่มีที่สุดและไม่มีการกำหนดขอบเขต(ไม่มีขอบเขต) ๒๖. อักขระ (อกฺขร) นิพพานชื่อว่าอักขระ เพราะเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย,เพราะเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออสังขตธรรมคือสิ่งที่เสื่อม ๒๗. ทุกขักขยะ (ทุกฺขกฺขย) นิพพานชื่อว่าทุกขักขยะ เพราะเป็นธรรมที่ทุกเบียดเบียนไม่ได้,เพราะเป็นเหตุสิ้นทุกข์ทั้งปวง แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๒๘. อัพยาพัชฌะ (อพฺยาพชฺฌ) นิพพานชื่อว่าอัพยาพัชฌะ เพราะเป็นธรรมที่ทุกข์เบียดเบียนไม่ได้,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีความพินาศ ๒๙. วิวัฏฏะ (วิวฏฺฏ) นิพพานชื่อว่าวิวัฏฏะ เพราะไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์ (ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก) ๓๐. เขมะ (เขม) นิพพานชื่อว่าเขมะ เพราะเป็นแดนเกษม(เขมธรรม),เพราะเป็นธรรมอันเกษมจากไฟมีราคะเป็นต้น,เพราะเป็นสถานที่ไม่มีภัย,เพราะเป็นธรรมเป็นเครื่องดับราคัคคิเป็นต้น แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๓๑. เกวละ (เกวล) นิพพานชื่อว่าเกวละ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีสังขารปรุงแต่ง ๓๒. อปวัคคะ (อปวคฺค) นิพพานชื่อว่าอปวัคคะ เพราะเป็นสภาพที่เว้นจากสังขาร ๓๓. วิราคะ (วิราค) นิพพานชื่อว่าวิราคะ เพราะเป็นธรรมปราศจากราคะ ฯลฯ ๓๔. ปณีตะ (ปณีต) นิพพานชื่อว่าปณีตะ เพราะเป็นธรรมที่เป็นประธาน,เพราะเป็นธรรมที่ประเสริฐสุด(เป็นธรรมที่ปราณีต) ๓๕. ปทะ (ปท) นิพพานชื่อว่าปทะ เพราะเป็นธรรมที่ซึ่งพระอริยะเข้าถึง แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๓๖. โยคักเขมะ (โยคกฺเขม) นิพพานชื่อว่าโยคักเขมะ เพราะเป็นธรรมสิ้นโยคะทั้ง ๔ (กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา) ๓๗. ปาระ (ปาร) นิพพานชื่อว่าปาระ เพราะเป็นธรรมที่สามารถสงบความเร่าร้อนเพราะทุกข์ในสงสาร,เพราะเป็นธรรมที่ไม่เป็นซี่ล้อแห่งสงสารวัฏฏ์. ๓๙. มุตติ (มุตฺติ) นิพพานชื่อว่ามุตติ เพราะเป็นธรรมอันหลุดพ้นจากกิเลส,เพราะเป็นธรรมหลุดพ้นจากกิเลสและพ้นจากสรีระและอินทรีย์ (ไม่มีตัวตน) อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๔๐. สันติ (สนฺติ) นิพพานชื่อว่าสันติ เพราะเป็นธรรมที่สงบจากกิเลส(สันติธรรม) ๔๑. วิสุทธิ (วิสุทฺธิ) นิพพานชื่อว่าวิสุทธิ เพราะเป็นธรรมอันหมดจดจากมลทินมีราคะเป็นต้น ๔๒. วิมุตติ (วิมุตฺติ) นิพพานชื่อว่าวิมุตติ เพราะเป็นธรรมที่พ้นจากสังขารทั้งปวง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๔๓. อสังขตธาตุ (อสงฺขตธาตุ) นิพพานชื่อว่าอสังขตธาตุ เพราะเป็นธรรมที่มีธาตุที่ไม่ถูกสร้างขึ้นด้วยเหตุปัจจัย แต่เป็นธาตุที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะความสงบ ๔๔. สุทธิ (สุทฺธิ) นิพพานชื่อว่าสุทธิ เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระมลทินมีราคะเป็นต้น,เพราะชำระสัตว์จากมลทินมีราคะเป็นต้น,เพราะเป็นธรรมที่บริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ ๔๕. นิพพุติ (นิพฺพุติ) นิพพานชื่อว่านิพพุติ เพราะเป็นธรรมที่ออกจาตัณหา,เพราะเป็นธรรมที่ปราศจากตัณหาเครื่องกั้นให้ติดอยู่ในสงสาร แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol4 ปีที่ผ่านมา ๔๖. อัจจุตะ (อจฺจุต) นิพพานชื่อว่าอัจจุตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่จุติของพระอรหันต์ เป็นสภาพที่พระอริยะถึงแล้ว ไม่มีการเคลื่อนไปเป็นอย่างอื่น (ตั้ง ๑ - ๔๖ นี้ เป็นชื่อที่ใช้เรียกนิพพานทั้งหมด คือเป็นชื่อของนิพพานทั้งหมด) ตอบกลับ

นิพพานคาถาโดยพระราชพรหมยานเถระพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

นิพพานคาถาโดยพระราชพรหมยานเถระพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่คือประตู...

สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง 
ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล 
พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ 
อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น
อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ 
ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ 
มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ 
ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ 
สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์
ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก 
พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ 
ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ 
ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์
แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ 

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ 
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ 
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ 
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค 
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ 
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ 
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ 
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ 
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น 
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง 
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ 
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย 
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย 
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ 
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง 
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส 
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง 
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

เนี่ยจาก ฮ นกฮูก ไปหา ก ไก่ จาก ก ไก่ กลับมา ฮ นกฮูกล่ะ

ไมตรี กรุณาพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทางมรรคผลนิพพานธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อัปปนาสมาธิ เจโตวิมุตติหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญานสังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราวมีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาเป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบเป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติเป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญาเป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ยเราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญาก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิกพวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะวันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะเรื่องผู้สละโลกนี้ เป็นประวัติของพระสาวกบางท่านซึ่งได้สละ ความสุขอย่างโลกๆ มาแสวงหาความสุขทางธรรม และท่านก็ได้พบ ความสุขนั้นสมใจหมาย อันที่จริง ท่านเหล่านี้มีพระสารีบุตร เป็นต้น พิจารณาตาม ประวัติแล้ว มีโอกาสเป็นอันมากในการที่จะเสวยความสุขทางโลก อย่างที่ชาวโลกมุ่งมอง ปักใจใฝ่ฝัน และแสวงหาอย่างชนิดที่เรียกว่า “ทุ่มชีวิตลงไปทั้งชีวิต” แต่ท่านเหล่านั้นกลับสละทิ้งอย่างไม่ใยดี ไปมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีความวุ่นวายกังวล บางท่านเป็นถึง พระราชาครองแคว้น เช่น พระมหากัปปินะ เมื่อได้ตัดสินพระทัย สละโลกมาอยู่ภายใต้ร่มธงแห่งธรรมแล้ว ทรงเปล่งอุทานอยู่เสมอๆ ว่า “สุขจริงหนอๆ” ทั้งนี้เพราะความสุขทางธรรม - สุขอันเกิดจาก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลนั้น เป็นความสุขที่ประณีต ชุ่มเย็นในดวงจิต เหนือความสุขทางโลกียารมณ์อันเจือด้วยความ กระหาย เร่าร้อนกระวนกระวายและทุกข์ รายละเอียดเกี่ยวกับ ข้อความทำนองนี้มีอยู่แล้วดาษดื่นในหนังสือเล่มนี้ ในศาสนานี้ ท่านผู้สละโลกเพื่อโลกเป็นพระองค์แรกก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมองเห็นว่า การหมกมุ่นอยู่ในโลกนั้น เป็นการยากที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ เหมือนคนไข้รักษา คนไข้ด้วยกัน จะทำได้สักเท่าใด แต่เมื่อจิตใจพ้นจากโลกแล้ว การ หลั่งประโยชน์แก่โลกย่อมทำได้เต็มที่ และมีผลยั่งยืนแก่โลกนั้น

จิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสคำแปล เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI

เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เก...คำแปล เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI

ผู้พ้นจากเครื่องผูกของมารทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา. ผู้ใด จักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำ (คือกาย) เป็นที่อาศัย ผู้นั้น จักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้. (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙,๒๐. คำว่า จิต หมายเอาธรรมชาติที่ทำสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตให้วิจิตร หรือหมายเอาธรรมชาติที่เป็นตัวคิด ซึ่งอาศัยหทัยรูปมีอยู่ภายในหัวใจ ทำหน้าที่คิดถึงเรื่องต่างๆ ได้มาก และรวดเร็ววิจิตรพิสดารมีความหมายพอสรุปได้ ๖ ประการ คือ ๑. วิจิตรโดยการกระทำ ๒. ตนเองเป็นสภาวะที่วิจิตร ๓. วิจิตรโดยสั่งสมกรรมและกิเลส ๔. วิจิตรในการรักษาวิบาก อันกรรมกิเลสสั่งสมไว้ ๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานตนเอง ๖. มีอารมณ์อันวิจิตรพิสดาร ดังนั้น พึงเห็นว่า สิ่งมีชีวิตและหาชีวิตมิได้ทั้งมวลที่วิจิตรพิสดารนั้น เป็นเพราะอำนาจของจิตคือมีตนเป็นผู้ทำให้วิจิตร อันได้แก่สัตว์และสิ่งของที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ เป็นต้น ทั้งการไปมาของจิตสู่ทิศและสถานที่ต่างๆ รวดเร็วยิ่งกว่าชั่วขณะลิงหลับ และในขณะเดียวกันก็สามารถรับเอาอารมณ์ ทั้งอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ แม้มีอยู่ที่ไกลมาได้ ทั้งการเกิดและเที่ยวไปก็ปรากฏทีละดวง คือ จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นเป็นไปและดับลง จิตดวงอื่นๆ จึงเกิดต่อไป หรือแม้แต่ทรวดทรงแห่งสรีระ หรือสีสันของจิตนั้นก็ไม่มี มีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่อาศัย เพราะเหตุที่จิตเป็นธรรมชาติ เที่ยวไปดวงเดียวแม้ในที่ไกลได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ปรากฏรูปร่างนี่เอง จึงเป็นหนทางเปิดช่องให้กิเลสต่างๆ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นที่เกิดแล้วย่อมเจริญมากขึ้น เพราะความหลงพร้อมแห่งสติ ฉะนั้น ผู้ใคร่พ้นจากบ่วงมาร จึงจำต้องตั้งสติให้มั่นกำหนดสำรวมทำใจให้เป็นธรรมชาติไม่ฟุ้งซ่าน แล้วจักพ้นจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เรียกว่าเครื่องผูกแห่งมาร เพราะไม่มีกิเลสได้.

กิเลสยังเหลืออยู่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

พระสาวกแห่งพระพุทธองค์พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าไม่มีความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐาน สำเร็จเป็นพระอนาคามี

วิมุตติ ความหลุดพ้น ทางที่เดินไปถึงนิพพาน ทางสายนี้เรียบง่าย การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา…ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละ อยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร

ผู้สละโลก พระมหาโมคคัลลานะเถระกับโกสิยะเศรษฐีศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ

ผู้สละโลก เรวัตกุมารกับโลกียสุขภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

ผู้สละโลก ปลดแอกภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว

ทางหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิงท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลง อย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่นวายเหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบาย ไว้ด้วยภาษาที่สละสลวย และง่าย แก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

พระอานนท์ พระพุทธอนุชา บทนำเรื่องท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลง อย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่นวายเหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบาย ไว้ด้วยภาษาที่สละสลวย และง่าย แก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

คำสอนพระพุทธเจ้า ช่วยให้เราอยู่กับโลกโดยไม่ทุกข์คนเรามีความทุกข์ก็เพราะมีกิเลส ทุกข์ทางใจ พอกิเลสครอบงำเบียดเบียนตัวเองก่อนเบียดเบียนคนอื่นทีหลัง งั้นโลกก็ไม่มีความสุข วุ่นวาย เรื่องของกิเลสทั้งนั้น เราดูข่าวดูโทรทัศน์ดูอะไรจะเห็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น น้ำท่วมน้ำไม่ท่วมนะก็เถียงกัน เรื่องผลประโยชน์ ทุกอย่าง ซ่อนเร้น เราไปแก้ที่คนอื่นไม่ได้ มาแก้ที่ตัวเราเอง กิเลสคนอื่นล้างไม่ได้ มาล้างกิเลสของเรา เราแก้โลกทั้งใบไม่ได้ แก้ประเทศทั้งประเทศไม่ได้ เราต้องอยู่กับมัน ทำหน้าที่ไป เรามาฝึกจิตฝึกใจของเรา โลกนี้มันทุกข์นะ เราต้องอยู่กับมันให้ได้ เพราะว่าเกิดมาแล่้ว คนที่ไม่มีธรรมะเค้าไม่มีทางเลือกเค้าต้องอยู่กับมันตลอดไป จมอยู่ในความทุกข์เรื่อยๆไป พวกเรายังมีบุญสนใจคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ว่าต้องเรียนให้ดี ทุกวันนี้คำสอนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิมันแฝงมาอยู่ในพระพุทธศาสนาเนี่ยเยอะแยะไปหมดเลย บางทีมันแทบจะล้มล้างคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าไป คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อลดละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย เพื่อความสันโดษ เพื่อความไม่คลุกคลี เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เป็นไปเพื่อวิมุตติความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อวิมุตติญาณทัสสนะความเข้าใจในพระนิพพาน เนี่ยเส้นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านพาเดินมา

กิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงอ...

ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ
เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง
ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว
เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

การบรรลุมรรคผลนิพพานพระโสดาบัน ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์

เมื่อใดที่ท่านมีความทุกข์ ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่าพุทธังสะระณัง คัจฉามิด้วยกรรมอันเป็นกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นเหตุให้พ่อแม่ครูอาจารย์ญาติมิตรและเพื่อนตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ในสังสารวัฏทุกชีวิตจงถึงความสิ้นทุกข์ จงถึงความสุขตลอดไป ขอบพระคุณมากครับ ที่สละเวลาเข้ามาชม วีดีโอ นี้ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ...สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำล­­ัง ของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมา ให้เรารู้สึก­­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นิยามนิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ อันครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ ได้แก่ อุตุนิยาม (physical laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อุณหภูมิ ดินฟ้าอากาศ สิ่งแวดล้อม พีชนิยาม (biological laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ เชื้อโรค ผ่านการสืบพันธุ์ จิตนิยาม (psychic law) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต เจตสิก กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือ กฎแห่งกรรม คือกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ ธรรมนิยาม (General Laws) อันได้แก่กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา[2]

การถอดถอนตัวเองออกจากกองทุกข์อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุม...

สรรเสริญ พระพุทธเจ้า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ นายนันทโคบาล // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พระผู้มีพระภาค // ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน 

ที่พึ่งใจสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ นายนันทโคบาล // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พระผู้มีพระภาค // ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน 

ละกาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเองมราคะ บรรลุธรรม

ละกาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเองมราคะ บรรลุธรรม

ละกาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเองมราคะ บรรลุธรรม

อำลาพุทธภูมิ ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

อำลาพุทธภูมิสุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนา

อำลาพุทธภูมิสุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนา

พุทธัง สรนัง คัจฉามิการที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ

กิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงอ..รู้สึกมั้ย เราไปหลงคิดทั้งวัน พอตื่นนอนขึ้นมา เราก็คิดเรื่องโน้นคิดเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ขณะที่เราหลง ไปอยู่ในโลกของความคิด เรียกว่าเราหลงอยู่กับสมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัตินะปิดบังปรมัตถ์คือ ปิดบังความจริง ปิดบังตัวรูปตัวนาม ขณะใดใจลอย ขณะนั้นมีร่างกาย ก็เหมือนไม่มี ขณะใดใจลอย ขณะนั้นมีจิตใจอยู่ก็ลืมมันไป มัวแต่สนใจคนอื่น สนใจสิ่งอื่น สนใจสิ่งภายนอก ลืมที่จะรู้สึกกายลืมที่จะรู้สึกใจ การที่ลืมรู้สึกกายรู้สึกใจนี่แหละ เรียกว่าขาดสติ งั้นเครื่องมือตัวแรกในการทำวิปัสสนานี่ เรียกว่า สติ สตินั้นสำคัญมาก จิตที่เป็นกุศลทั้งหลาย จะต้องประกอบด้วยสติเสมอ สติมีหลายระดับ สติทั่วๆไปอย่าง อยากฟังธรรมะ จิตเป็นกุศลนะ จิตดวงนี้มีสติ แต่สติอันนี้ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติที่จะทำให้เราพ้นโลกได้ มันเป็นแค่สติธรรมดา อย่างอยากทำบุญ อยากใส่บาตร อยากทำสังคมสงเคราะห์ อยากจัดให้คนมาฟังเทศน์เยอะๆ อะไรอย่างนี้มีสตินะ แต่ว่าเป็นสติอย่างโลก จะเกื้อกูลให้เรา อยู่ในโลกอย่างมีความสุขเท่านั้นเอง แต่สติข้ามโลกเนี่ย ต้องสติเรียนรู้กาย สติเรียนรู้ใจ สติรู้กาย สติรู้ใจ เรียกว่า สติปัฏฐาน ถ้าเมื่อไหร่ลืมกาย เมื่อไหร่ลืมใจ เค้าเรียกว่าขาดสติ (ปัฎฐาน) มีสติธรรมดาได้ แต่ว่าขาดสติปัฏฐาน ถ้าไม่ได้ทำสติปัฏฐานเนี่ย ไม่สามารถ บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ เพราะทางสายเอก ทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นเนี่ย คือการเจริญสติปัฏฐาน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจบ่อยๆ นี่ตัวที่หนึ่งนะ เราต้องมีสตินะ ตัวที่สอง เราต้องมีสัมมาสมาธิคือ มีใจที่ตั้งมั่น สัมมาสมาธิเนี่ย เป็นตัวที่อาภัพมาก คนไม่ค่อยรู้จัก เพราะเราไม่รู้จักสัมมาสมาธินี่เอง เราภาวนากันแทบล้มแทบตาย เราจึงไม่บรรลุมรรคผลจริงๆ อย่างบางคนภาวนาไปนะ เกิดอาการวูบๆวาบๆ ลืมเนื้อลืมตัวอะไร ก็บอกบรรลุมรรคผลแล้ว ไม่ใช่นะ ไม่ใช่มรรคผลอย่างนั้น กลับมาไม่นานกิเลสก็กลับมาอีกนะ มรรคผลถ้าเกิดจริงๆแล้ว ล้างกิเลสไปแล้ว จะไม่กลับอีกเลย ขาดสูญไปเลย งั้นถ้าเราภาวนาวูบๆ วาบๆ ไปแล้ว เราบอกว่าบรรลุแล้วๆ ไม่ใช่ของจริงนะ ของจริงมันต้องล้างกิเลสได้จริง ทำไมพวกเรามีสตินะ เราจะหายใจออกเราก็รู้สึก หายใจเข้าเราก็รู้สึก ท้องพองก็รู้ ท้องยุบก็รู้ เดินจงกรมยกเท้าย่างเท้านะ รู้หมดเลย แต่ทำไมมันขาดอะไร ทำให้ไม่เกิดมรรคผลที่แท้จริง กลายเป็นเกิดสมถะนะ อย่างเรารู้ลมหายใจนะ จิตสงบ จิตสว่าง จิตสบายขึ้นมานะ หรือสว่างจ้าขึ้นมา อยากรู้อยากเห็นอะไรนะส่งจิตไปดู รู้เห็นทั่วโลกธาตุ นี่ออกไปรู้ข้างนอกไม่กลับมารู้กายรู้ใจตัวเอง ใช้ไม่ได้จริง หรือเดินจงกรมอยู่แล้วตัวลอย ตัวเบา บางคนลอยจริงๆนะ ลอยจริงๆ ลอยจากพื้นเลยนะ บางคนตัวเบาๆ บางคนตัวพองๆ ขนลุกขนชัน สิ่งเหล่านี้เป็นปีตินะ ปีตินี้มันมีเกิดจากสมาธินะ เกิดจากการที่เราไปเพ่งอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง อย่างเรารู้ลมหายใจ จิตเราแนบอยู่กับลม รู้ท้องพองยุบ จิตเราไปแนบอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกรมจิตไปแนบอยู่ที่เท้า บางคนเลยเท้าออกไปอีก บางคนจิตไปอยู่ที่พื้น เดินจงกรมแล้ว รู้ว่าพื้นเย็น พื้นร้อน พื้นอ่อน พื้นแข็ง อันนี้ลืมเป้าหมาย ลืมวัตถุประสงค์ของการปฎิบัตละ เราปฎิบัติเพื่อละการเห็นผิด ว่ากายกับใจเป็นเรา กลับไปเรียนเรื่องพื้น พื้นไม่เป็นเราอยู่แล้ว มีใครรู้สึกพื้นเป็นตัวเรา มีมั้ย ก็ไม่มีหรอกนะนอกจากเพี้ยนจริงๆ งั้นอย่าให้เกินกายเกินใจออกไปนะ คอยรู้สึกกาย รู้สึกใจ รู้สึกยังไง รู้สึกตามความเป็นจริงนะ หลักของวิปัสนากรรมฐานไม่ยากหรอก ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงเท่านี้เอง ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ มีสติ ตัวนี้บอกแล้วต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจ สติแปลว่าอะไร สติแปลว่าความระลึกได้ พวกเราอย่าแปลสติว่ากำหนดนะ กำหนดมันมาจากภาษาเขมร แผลงมาจากคำว่ากดเอาไว้ กดเอาไว้ ข่มเอาไว้ บังคับเอาไว้ ควบคุมเอาไว้ หน้าที่ของเราคือระลึกรู้ ทำยังไงสติถึงจะเกิด สติเกิดเพราะถิรสัญญา ถิรสัญญา คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น ถ้าจิตจำสภาวะได้แม่น พอสภาวะที่จิตจำได้แล้วเกิดขึ้นนะ สติคือความระลึกได้ ก็จะระลึกขึ้นมาเองโดยไม่ได้เจตนาระลึก เราต้องพัฒนาตัวที่หนึ่งนะ มีสติ เพื่อว่าเราจะได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง อันนี้คือ วิปัสสนา ความเป็นจริงของกายของใจคือ ไตรลักษณ์ มีสติค่อยๆฝึก หัดรู้สภาวะ ไปทำกรรมฐานอะไรซักอย่างหนึ่งก็ได้แล้วแต่จริตนิสัยนะ อย่างทางยุวพุทธฯ ชอบดูพองยุบ ใช้พองยุบนี่แหละมาพัฒนาให้เกิดสติ ทำได้มั้ย ทำได้ แต่ถ้ามัวแต่เอาจิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง ท้องพองท้องยุบ จะได้สมถะนะ ได้จิตสงบเฉยๆ ไม่มีสติที่แท้จริงที่จะมาระลึกรู้ มันกลายเป็นการเพ่ง เมื่อไหร่เพ่งตัวอารมณ์นะ ภาษาแขกเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน อารัมมณู อารัมม ก็คืออารมณ์นั่นเอง ถ้าไปเพ่งตัวอารมณ์เมื่อไหร่เมื่อนั้นทำสมถะ ถ้าเป็นลักขณูปนิชฌานนะไปรู้ลักษณะ เพ่งลักษณะ ถึงจะเป็นวิปัสสนานะ รู้ไตรลักษณ์นะ ถึงเป็นวิปัสสนา เราต้องมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพ่งกายเพ่งใจ เบื้องต้นทำกรรมฐานซักอันนึง ใครเคยพุทโธ ก็หัดพุทโธไป ใครเคยรู้ลมหายใจก็รู้ไปนะ ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป ไม่ผิดนะ เหมือนกันหมดเลย ใช้ได้เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นชาวพุทธเรา อย่าโง่ทะเลาะกันเองนะ อย่ามาเถียงกันว่าพุทโธดีหรือว่าหายใจดี หรือว่าพองยุบดี มันดีด้วยกันนั่นแหละนะ จริตนิสัยคนแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เราจะมาบังคับทุกคนให้ทำกรรมฐานอย่างเดียวกันนะ มันไม่ได้ผลหรอก กรรมฐานนั้นต้องทำให้พอเหมาะพอควร กับแต่ละคน ทางใครทางมันนะ.

อาการ ของ สมาธิเรายึดถือจิตใจเหนียวแน่นกว่าเรายึดถือร่างกาย เวลาเราภาวนาเนี่ยจะปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ก่อนการปล่อยวางความยึดถือในจิตใจ ปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ ภูมิธรรมของพระอนาคานาเนี่ยปล่อยแล้ว แต่ปล่อยความยึดถือในจิตใจต้องพระอรหันต์ถึงจะปล่อยได้ พวกเรายังไม่ปล่อยแต่ว่าก็เดินในร่องรอยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกัน ค่อยๆฝึกค่อยๆดำเนินไปนะวันละเล็กวันละน้อย ไม่ต้องรีบร้อนหรอกที่จะบรรลุเร็วๆ แต่ว่าปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่ารีบร้อนที่จะให้ได้ผล อย่าลุกลี้ลุกลน ปฏิบัติลุกลี้ลุกลนไม่ได้กินหรอก แต่ว่าปฏิบัติแบบย่อหย่อนก็ไม่ได้กินเหมือนกัน งั้นเราขยันดูนะ ดูบ่อยๆดูเนืองๆ แต่ไม่ได้ดูด้วยหวังผลว่าจะได้อะไร ดูไปจนวันหนึ่งมันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้มันจะเข้าใจความเป็นจริงของโลกด้วย ทั้งกายกับใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในโลกนี้จะมีอะไรที่น่ายึดถือ คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง

จากลมหายใจสู่ความหลุดพ้นเรายึดถือจิตใจเหนียวแน่นกว่าเรายึดถือร่างกาย เวลาเราภาวนาเนี่ยจะปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ก่อนการปล่อยวางความยึดถือในจิตใจ ปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ ภูมิธรรมของพระอนาคานาเนี่ยปล่อยแล้ว แต่ปล่อยความยึดถือในจิตใจต้องพระอรหันต์ถึงจะปล่อยได้ พวกเรายังไม่ปล่อยแต่ว่าก็เดินในร่องรอยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกัน ค่อยๆฝึกค่อยๆดำเนินไปนะวันละเล็กวันละน้อย ไม่ต้องรีบร้อนหรอกที่จะบรรลุเร็วๆ แต่ว่าปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่ารีบร้อนที่จะให้ได้ผล อย่าลุกลี้ลุกลน ปฏิบัติลุกลี้ลุกลนไม่ได้กินหรอก แต่ว่าปฏิบัติแบบย่อหย่อนก็ไม่ได้กินเหมือนกัน งั้นเราขยันดูนะ ดูบ่อยๆดูเนืองๆ แต่ไม่ได้ดูด้วยหวังผลว่าจะได้อะไร ดูไปจนวันหนึ่งมันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้มันจะเข้าใจความเป็นจริงของโลกด้วย ทั้งกายกับใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในโลกนี้จะมีอะไรที่น่ายึดถือ คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

วิธีเอาชนะความอยาก โดยหลวงพ่อปราโมทย์ในครั้งนี้หลวงพ่อปราโมทย์เทศน์ถึงวิธีชนะความอยากหรือตัณหา ( 9.28 นาที ) : แสดงธรรม ณ สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

การเจริญปัญญาเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุด โดยหลวงพ่อปราโมทย์ในครั้งนี้หลวงพ่อปราโมทย์เทศน์ให้ฟังว่าบุญอะไรก็ไม่สูงสุดเท่าบุญจากการเจริญสติเจริญปัญญา ( 6.15 นาที ) ในคลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงธรรม ณ บ้านสติ ขอนแก่น จ.ขอนแก่น วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559 https://youtu.be/xlXjEbj2Rjg

การเจริญปัญญาเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุด โดยหลวงพ่อปราโมทย์ในครั้งนี้หลวงพ่อปราโมทย์เทศน์ให้ฟังว่าบุญอะไรก็ไม่สูงสุดเท่าบุญจากการเจริญสติเจริญปัญญา ( 6.15 นาที ) ในคลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงธรรม ณ บ้านสติ ขอนแก่น จ.ขอนแก่น วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559 https://youtu.be/xlXjEbj2Rjg

การเจริญปัญญาเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุด โดยหลวงพ่อปราโมทย์

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธถ้าจิตใจมันตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูได้นะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ จะเห็นว่า กายกับใจ เป็นคนละอันกัน แล้วร่างกายเป็นแค่วัตถุ ไม่ใช่ตัวเราอีกต่อไปแล้ว เนี่ย ถ้าเราหัดดู มากเข้าๆนะ สุดท้ายมันก็ล้างความเห็นผิดว่า ร่างกายเป็นตัวเราได้ ถ้าล้างความเห็นผิดได้นะ ขนาดยังไม่ได้มรรคได้ผลอะไรนะ เพราะฉะนั้น เบื้องต้น พวกเราจำนวนมากเลย ทุกวันนี้ คนมหาศาลเลยนะ ที่ได้ฟังธรรมเนี่ย สามารถแยกได้ว่า กายกับจิตเป็นคนละอันกัน ในห้องนี้ก็ทำได้ตั้งหลายคนนะ แยกได้เยอะแยะเลย . ถ้าพอเราแยกได้ว่า กายกับจิตเป็นคนละอันกันแล้วเนี่ย ถ้ากายมันแก่ มันจะไม่ใช่เราแก่ กายมันเจ็บ มันจะไม่ใช่เราเจ็บ กายมันตาย มันจะไม่ใช่เราตายอีกต่อไปแล้ว ก็วัตถุธาตุมันมารวมกันชั่วคราว แล้วธาตุนั้นก็แตกแยกออกไป เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เราอีกต่อไปแล้ว เนี่ย อย่างนี้เรียกว่า หัดเจริญปัญญา มาดูความจริงของกายของใจนะ ของความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย จนเห็นเลยว่า ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น ในกายในใจของเราเนี่ย เป็นของชั่วคราวเท่านั้นเอง เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวรเลย ความสุขเกิดขึ้นในกาย เรามีสติรู้ทัน จิตเราเป็นคนดู เราจะเห็นว่า ความสุขกับร่างกาย เป็นคนละอันกัน ความสุขกับจิตใจ ก็เป็นคนละอันกัน พอเราเห็นอย่างนี้ได้นะ ต่อไป เราก็จะเห็นเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าเท่านั้นเอง หรือความโกรธที่เกิดขึ้น คนไหนขี้โมโห เราก็ดูจิตที่มันโกรธนะ เราก็จะเห็นอีก ความโกรธไม่ใช่ร่างกาย ความโกรธ ไม่ใช่ความสุข-ความทุกข์ ความโกรธ ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เพราะฉะนั้นความโกรธ สุดท้ายความโกรธ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่ เกิดแล้วก็หายไปๆ ไม่ใช่ตัวเราอีก มาดูจนถึงจิตถึงใจของเรานะ เราจะเห็นว่า จิตเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปรับรู้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวก็ไปรับรู้อารมณ์ทางหู เดี๋ยวก็รับรู้อารมณ์ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เดี๋ยวก็หนีไปคิด จิตมันไปดู มันก็ดูของมันได้เอง จิตจะไปฟัง มันก็ไปฟังของมันได้เอง จิตมันจะคิด มันก็ไปคิดของมันได้เอง จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา เราสั่งมันไม่ได้ อย่างขณะที่ฟังหลวงพ่อพูดเนี่ย รู้สึกมั้ย บางทีจิตหนีไปคิด คิดเรื่องอื่นเลยก็มี ใช่มั้ย บางทีก็คิดตามที่หลวงพ่อพูด จงใจคิดรึเปล่า ไปดูให้ดี ไม่ได้จงใจนะ มันคิดได้เอง . เนี่ย การที่เรามาคอยรู้คอยดู สุดท้ายเราจะเห็นเลย มันไม่ใช่เราหรอก มันทำงานได้เอง มันโกรธได้เองด้วยนะ มันโลภได้เอง เคยมั้ย ตั้งใจจะไม่โกรธ แล้วก็โกรธ ตั้งใจจะไม่เสียใจ แล้วก็เสียใจ ตั้งใจจะไม่น้อยใจ แล้วก็น้อยใจ ตั้งใจว่าจะไม่กลัว แล้วก็กลัว เพราะอะไร..? เราสั่งมันไม่ได้ เนี่ย การที่เรามาคอยดูของจริงในกายในใจ นี่แหละ เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานนะ . เราคอยรู้สึกอยู่ที่กาย รู้สึกอยู่ที่ใจ ดูกายมันทำงาน ดูจิตใจมันทำงานไป ความสุข-ความทุกข์ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป จิตเอง เดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด จิตที่ดู อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป จิตที่ฟัง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป จิตที่คิด อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป เนี่ย เราหัดรู้ หัดดู อย่างนี้เนืองๆนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง . พวกเราเคยได้ยินคำว่า สติปัฏฐานมั้ย ใครเคยได้ยินสติปัฏฐาน ยกมือให้หลวงพ่อชื่นใจซิ โฮ้..ชื่นใจมาก รู้จักชื่อ ใครเคยเจริญสติปัฏฐาน คราวนี้จะเหลือน้อยแล้ว สติปัฏฐานเนี่ย ถ้าเราทำถูกต้องนะ ถูกต้อง ก็ต้องมีสมาธิ(จิตตั้งมั่น) ขึ้นมาเป็นคนดูก่อนนะ แล้วแยกขันธ์ออกไปเป็นส่วนๆ นั้นแหละ เราถึงจะทำเจริญสติปัฏฐานถูกต้อง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี จะต้องได้ผลบ้าง ควรจะได้ผลบ้าง แล้วพระพุทธเจ้าสอนถึงขนาดว่า ถ้าเรายังมีผู้เจริญสติปัฏฐานอยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ . ตำรารุ่นหลัง ชอบไปแต่งกันว่า รุ่นหลังๆ จะไม่มีพระอรหันต์ อันนั้น ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือ ในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว . ทำไมท่านไม่ยึดถือ เพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะ จนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เรา ความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เรา จิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมด เนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อย เบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบัน เบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..? มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็นความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเรา ถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แล้วจิตตัวเดียวนี้เอง ถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ . มันสลัดได้จริงๆนะ แต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ ใครเคยเห็นบ้างว่า จิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ พวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อย ก็พอสมควรนะ เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ย บางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อย ใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะ ไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลย จิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เอง จะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เอง นี่แค่ปล่อยอารมณ์ สังเกตมั้ย พอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลย สบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหน นี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้ มันจะสุขมหาศาลขนาดไหน มันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะ ในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้น เป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลย งั้นพวกเราต้องฝึกนะ . สรุปให้ฟัง เอาง่ายๆ เลยนะ เบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่าน . อันที่ ๒ พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่ง ช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะ ช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้า อะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะ จิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะ ค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น . สรุปนะ อีกที ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะ แต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน (ทำสมถกรรมฐาน) ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้ เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว . ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะ ดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้ว ถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่ พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก ... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต ... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ) . เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ ถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ เดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้ว เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆ . อยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่า หรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี สุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป แต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะ ถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้ว เราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลย เพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละ อะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ /|\ /|\ /|\ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 มีนาคม 2556

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธถ้าจิตใจมันตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูได้นะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ จะเห็นว่า กายกับใจ เป็นคนละอันกัน แล้วร่างกายเป็นแค่วัตถุ ไม่ใช่ตัวเราอีกต่อไปแล้ว เนี่ย ถ้าเราหัดดู มากเข้าๆนะ สุดท้ายมันก็ล้างความเห็นผิดว่า ร่างกายเป็นตัวเราได้ ถ้าล้างความเห็นผิดได้นะ ขนาดยังไม่ได้มรรคได้ผลอะไรนะ เพราะฉะนั้น เบื้องต้น พวกเราจำนวนมากเลย ทุกวันนี้ คนมหาศาลเลยนะ ที่ได้ฟังธรรมเนี่ย สามารถแยกได้ว่า กายกับจิตเป็นคนละอันกัน ในห้องนี้ก็ทำได้ตั้งหลายคนนะ แยกได้เยอะแยะเลย . ถ้าพอเราแยกได้ว่า กายกับจิตเป็นคนละอันกันแล้วเนี่ย ถ้ากายมันแก่ มันจะไม่ใช่เราแก่ กายมันเจ็บ มันจะไม่ใช่เราเจ็บ กายมันตาย มันจะไม่ใช่เราตายอีกต่อไปแล้ว ก็วัตถุธาตุมันมารวมกันชั่วคราว แล้วธาตุนั้นก็แตกแยกออกไป เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เราอีกต่อไปแล้ว เนี่ย อย่างนี้เรียกว่า หัดเจริญปัญญา มาดูความจริงของกายของใจนะ ของความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย จนเห็นเลยว่า ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น ในกายในใจของเราเนี่ย เป็นของชั่วคราวเท่านั้นเอง เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวรเลย ความสุขเกิดขึ้นในกาย เรามีสติรู้ทัน จิตเราเป็นคนดู เราจะเห็นว่า ความสุขกับร่างกาย เป็นคนละอันกัน ความสุขกับจิตใจ ก็เป็นคนละอันกัน พอเราเห็นอย่างนี้ได้นะ ต่อไป เราก็จะเห็นเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าเท่านั้นเอง หรือความโกรธที่เกิดขึ้น คนไหนขี้โมโห เราก็ดูจิตที่มันโกรธนะ เราก็จะเห็นอีก ความโกรธไม่ใช่ร่างกาย ความโกรธ ไม่ใช่ความสุข-ความทุกข์ ความโกรธ ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เพราะฉะนั้นความโกรธ สุดท้ายความโกรธ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่ เกิดแล้วก็หายไปๆ ไม่ใช่ตัวเราอีก มาดูจนถึงจิตถึงใจของเรานะ เราจะเห็นว่า จิตเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปรับรู้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวก็ไปรับรู้อารมณ์ทางหู เดี๋ยวก็รับรู้อารมณ์ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เดี๋ยวก็หนีไปคิด จิตมันไปดู มันก็ดูของมันได้เอง จิตจะไปฟัง มันก็ไปฟังของมันได้เอง จิตมันจะคิด มันก็ไปคิดของมันได้เอง จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา เราสั่งมันไม่ได้ อย่างขณะที่ฟังหลวงพ่อพูดเนี่ย รู้สึกมั้ย บางทีจิตหนีไปคิด คิดเรื่องอื่นเลยก็มี ใช่มั้ย บางทีก็คิดตามที่หลวงพ่อพูด จงใจคิดรึเปล่า ไปดูให้ดี ไม่ได้จงใจนะ มันคิดได้เอง . เนี่ย การที่เรามาคอยรู้คอยดู สุดท้ายเราจะเห็นเลย มันไม่ใช่เราหรอก มันทำงานได้เอง มันโกรธได้เองด้วยนะ มันโลภได้เอง เคยมั้ย ตั้งใจจะไม่โกรธ แล้วก็โกรธ ตั้งใจจะไม่เสียใจ แล้วก็เสียใจ ตั้งใจจะไม่น้อยใจ แล้วก็น้อยใจ ตั้งใจว่าจะไม่กลัว แล้วก็กลัว เพราะอะไร..? เราสั่งมันไม่ได้ เนี่ย การที่เรามาคอยดูของจริงในกายในใจ นี่แหละ เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานนะ . เราคอยรู้สึกอยู่ที่กาย รู้สึกอยู่ที่ใจ ดูกายมันทำงาน ดูจิตใจมันทำงานไป ความสุข-ความทุกข์ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป จิตเอง เดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด จิตที่ดู อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป จิตที่ฟัง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป จิตที่คิด อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป เนี่ย เราหัดรู้ หัดดู อย่างนี้เนืองๆนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง . พวกเราเคยได้ยินคำว่า สติปัฏฐานมั้ย ใครเคยได้ยินสติปัฏฐาน ยกมือให้หลวงพ่อชื่นใจซิ โฮ้..ชื่นใจมาก รู้จักชื่อ ใครเคยเจริญสติปัฏฐาน คราวนี้จะเหลือน้อยแล้ว สติปัฏฐานเนี่ย ถ้าเราทำถูกต้องนะ ถูกต้อง ก็ต้องมีสมาธิ(จิตตั้งมั่น) ขึ้นมาเป็นคนดูก่อนนะ แล้วแยกขันธ์ออกไปเป็นส่วนๆ นั้นแหละ เราถึงจะทำเจริญสติปัฏฐานถูกต้อง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี จะต้องได้ผลบ้าง ควรจะได้ผลบ้าง แล้วพระพุทธเจ้าสอนถึงขนาดว่า ถ้าเรายังมีผู้เจริญสติปัฏฐานอยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ . ตำรารุ่นหลัง ชอบไปแต่งกันว่า รุ่นหลังๆ จะไม่มีพระอรหันต์ อันนั้น ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือ ในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว . ทำไมท่านไม่ยึดถือ เพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะ จนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เรา ความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เรา จิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมด เนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อย เบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบัน เบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..? มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็นความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเรา ถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แล้วจิตตัวเดียวนี้เอง ถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ . มันสลัดได้จริงๆนะ แต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ ใครเคยเห็นบ้างว่า จิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ พวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อย ก็พอสมควรนะ เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ย บางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อย ใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะ ไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลย จิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เอง จะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เอง นี่แค่ปล่อยอารมณ์ สังเกตมั้ย พอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลย สบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหน นี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้ มันจะสุขมหาศาลขนาดไหน มันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะ ในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้น เป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลย งั้นพวกเราต้องฝึกนะ . สรุปให้ฟัง เอาง่ายๆ เลยนะ เบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่าน . อันที่ ๒ พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่ง ช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะ ช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้า อะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะ จิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะ ค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น . สรุปนะ อีกที ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะ แต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน (ทำสมถกรรมฐาน) ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้ เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว . ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะ ดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้ว ถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่ พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก ... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต ... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ) . เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ ถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ เดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้ว เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆ . อยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่า หรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี สุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป แต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะ ถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้ว เราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลย เพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละ อะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ /|\ /|\ /|\ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 มีนาคม 2556

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สุดท้ายมันก็ถึงบ้านเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคตินิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้

อรูปพรหมหลักของการปฏิบัติที่จะให้เกิดสติปัญญาแท้ๆ เกิดมรรคเกิดผลได้ มีไม่มากหรอก จำหลักสั้นๆ ไว้นิดเดียว ให้เรามีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง การที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งป­วงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็น­กลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลา­งด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพ­พาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพ­ธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้ง­ปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี­่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโน­มัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปต­รงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

那裡能找到佛陀?พบพระพุทธเจ้าได้ที่ไหน?

พระอนาคามีทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

ข้ามภพข้ามชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

จิตจะเกิดการก้าวกระโดดในทางธรรมคือเกิดดวงตาเห็นธรรมเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

พระอริยบุคคลอันดับแรกเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

พระอริยบุคคล อันดับแรกเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

ถือศีลไว้สิ่งที่เรารักที่สุดคือ ร่างกาย และจิตใจของเรานี่แหละแต่เราไม่สนใจ เราไปสนใจสิ่งอื่น กายกับใจเป็นตัวทุกข์อยู่แล้วนะ พอเกิดตัณหา เกิดอุปาทานคือความยึดถือ ก็เกิดภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต ความทุกข์ก็จะเกิดซ้ำซ้อนขึ้นที่จิตอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่รู้ทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัย จิตใจก็ดิ้นรนปรุงแต่ง นิโรธก็ไม่ปรากฏ นิโรธคือนิพพาน นิพพานคือสภาวะซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง สภาวะซึ่งพ้นจากตัณหา สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง มีชื่อเป็นภาษาแขกว่า วิสังขาร สภาวะที่พ้นจากตัณหามีชื่อว่าวิราคะ อันนี้เป็นชื่อของนิพพานทั้งสิ้นเลยนะ เมื่อจิตยังดิ้นรนค้นคว้า จิตยังมีความอยากมีความยึดถืออยู่ นิพพานไม่ปรากฏ ความพ้นทุกข์ไม่มี เพราะยังวนเวียนยึดถือขันธ์อยู่ ต่อเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยถูกละอัตโนมัติ นิโรธแจ้งอัตโนมัติ อริยมรรคก็เกิดอัตโนมัติเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงบอกว่าให้เรารู้แจ้งอริยสัจเท่านั้น แต่ท่านบอกวิธีที่จะทำให้เรารู้แจ้งอริยสัจด้วย คือให้รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ สมุทัยดับเอง นิโรธปรากฏเอง อริยมรรคเกิดขึ้นเอง ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลย มันคล้ายๆ เปิดสวิตช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะ เพราะฉะน้นพระอริยะในภูมิเดียวกันนะ ระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรอย่างนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพาน ก็รู้ว่าพระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี้แหละ แต่โง่เอง ไม่เห็น ทำไมไม่เห็น มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เขาปล่อย เขาข้ามแล้ว เขาทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตรน่ะ ข้ามจากปุถุชน มาเป็นพระอริยะ ข้ามทิ้งตรงนี้ มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง ทีนี้พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่าน­ั้นแหละ ถ้ามันพอเมื่อไหร่ มันก็ข้ามโคตร เปลี่ยนสกุล ก็ไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงพระอ­ริยะนะ ท่านจะบอกว่า ลูกของเรา จิตต้นกำเนิดหรือจิตอวิชา หรือจิตผู้รู้ ตัวเดียวกัน ที่พวกเราต้องฝึกหาจิตผู้รู้นะ ให้มีจิตผู้รู้นะ นั่นแหละจิตผู้รู้นั้นแหละ ยังเป็นจิตอวิชาอยู่ แต่อาศัยมันก่อน แล้ววันหนึ่งก็ค่อยมาทำลายตัวนี้ไปอีกทีหน­ึ่งก่อน เนี่ยดูแล้วมันละเอี๊ยดละเอียดนะ มันสว่าง มันผ่องใสนะ มันมีอวิชาซ่อนอยู่ เมื่อเห็นกายเห็นใจ ตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผล จะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

นั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกคำสอนใดไม่สอนให้รู้กายรู้ใจไม่มีทางหรอก อยู่นอกกรอบคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแล้ว * .. เรารู้ทุกข์ให้มากนะ รู้กายรู้ใจให้มากนะ รู้อย่างที่เค้าเป็น วันหนึ่งก็จะละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้นมา เป็นของเค้าเอง ต้องสู้นะอย่าท้อถอย ตั้งใจไว้เลยว่าชีวิตนี้ต้องดีขึ้น เรื่องอะไรจะต้องเลวลง เรื่องอะไรจะเสมอตัว มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะปราณีตลึกซึ้งถึงขนาดนี้ โอกาสที่จะได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า หายากนะ ยากมากเลยวันเวลาที่มีพระพุทธเจ้านะ สั้นนิดเดียว วันเวลาที่ไม่มีธรรมะแท้ๆนะ ยาวนาน นานๆ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นองค์หนึ่ง เกิดขึ้นองค์หนึ่งแล้วเนี่ย ศาสนาตั้งอยู่ไม่นาน เพราะศาสนาพุทธเนี่ย เป็นศาสนาฝืนโลกฝืนกิเลส ไม่ใช่ตามใจกิเลส ถ้าตามใจกิเลสก็อยู่นาน ฝืนโลกฝืนกิเลสสู้โลกสู้กิเลสไม่ได้แล้วคนใจมันท้อถอยนะธรรมะก็หายไป ทิ้งธรรมะเอากิเลสแทน อย่างธรรมะง่ายๆทำสมาธิแล้วมีความสุขเนี่ยไม่มีพระพุทธเจ้าเค้าก็ทำกัน เพราะว่ามันตามใจกิเลส ทำแล้วมีความสุข หรือไหว้พระเจ้าไหว้เทวดา ให้เทวดาให้พระเจ้าช่วย อย่างนี้มันตามกิเลสนะ เราไม่ค่อยชอบช่วยตัวเองแต่ชอบให้คนอื่นช่วยนะให้คนอื่นช่วยมันสบายดีตามใจกิเลสแล้วไม่คิดจะมีวิริยะอุตสาหะอะไรที่ดีเลยธรรมะแบบนี้เค้าอยู่นานธรรมะช่วยตัวเองอยู่ยากธรรมะที่ต้องใช้สติใช้สมาธิใช้ปัญญาอยู่ยากมากเลยงั้นเมื่อเราได้ยินได้ฟังแล้ว อย่าเสียโอกาสนะ รีบภาวนาไม่งั้นวันข้างหน้านะไปเกิดต่อไป ไม่มีธรระจะลำบาก

เราภาวนานะ เราคอยรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงไปเรื่อย รู้บ้างหลงบ้าง อย่าไ...

คำสอนใดไม่สอนให้รู้กายรู้ใจไม่มีทางหรอก

อยู่นอกกรอบคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแล้ว *
.. ... .. ... .. ... .. ... ..
เรารู้ทุกข์ให้มากนะ
รู้กายรู้ใจให้มากนะ รู้อย่างที่เค้าเป็น
วันหนึ่งก็จะละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้นมา
เป็นของเค้าเอง
ต้องสู้นะอย่าท้อถอย
ตั้งใจไว้เลยว่าชีวิตนี้ต้องดีขึ้น
เรื่องอะไรจะต้องเลวลง เรื่องอะไรจะเสมอตัว
มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะปราณีตลึกซึ้งถึงขนาดนี้
โอกาสที่จะได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า
หายากนะ ยากมากเลย
วันเวลาที่มีพระพุทธเจ้านะ สั้นนิดเดียว
วันเวลาที่ไม่มีธรรมะแท้ๆนะ ยาวนาน
นานๆ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นองค์หนึ่ง
เกิดขึ้นองค์หนึ่งแล้วเนี่ย ศาสนาตั้งอยู่ไม่นาน
เพราะศาสนาพุทธเนี่ย
เป็นศาสนาฝืนโลกฝืนกิเลส
ไม่ใช่ตามใจกิเลส
ถ้าตามใจกิเลสก็อยู่นาน
ฝืนโลกฝืนกิเลสสู้โลกสู้กิเลสไม่ได้แล้ว
คนใจมันท้อถอยนะธรรมะก็หายไป
ทิ้งธรรมะเอากิเลสแทน
อย่างธรรมะง่ายๆ
ทำสมาธิแล้วมีความสุขเนี่ย
ไม่มีพระพุทธเจ้าเค้าก็ทำกัน
เพราะว่ามันตามใจกิเลส ทำแล้วมีความสุข
หรือไหว้พระเจ้าไหว้เทวดา ให้เทวดาให้พระเจ้าช่วย
อย่างนี้มันตามกิเลสนะ
เราไม่ค่อยชอบช่วยตัวเองแต่ชอบให้คนอื่นช่วยนะ
ให้คนอื่นช่วยมันสบายดีตามใจกิเลสแล้ว
ไม่คิดจะมีวิริยะอุตสาหะอะไรที่ดีเลย
ธรรมะแบบนี้เค้าอยู่นาน
ธรรมะช่วยตัวเองอยู่ยาก
ธรรมะที่ต้องใช้สติใช้สมาธิใช้ปัญญาอยู่ยากมากเลย
งั้นเมื่อเราได้ยินได้ฟังแล้ว อย่าเสียโอกาสนะ
รีบภาวนา
ไม่งั้นวันข้างหน้านะไปเกิดต่อไป ไม่มีธรระจะลำบาก

เป้าหมายของชีวิตอันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างนี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

พุทโธเพื่อจะรู้ทันจิตเวลามันหนีไปจากพุทโธอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน

พุทโธเพื่อจะรู้ทันจิตเวลามันหนีไปจากพุทโธอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน

พุทธัง สรนัง คัจฉามิอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน

พุทธัง สรนัง คัจฉามิอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน

พุทธัง สรนัง คัจฉามิอริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ใน รูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้น สมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน

ถึงนาทีสุดท้ายจิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิโดยอัตโนมัติเลย ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึก...หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว

จิตหยุดปรุงแต่งกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ ที่ให้โอกาส หมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­วกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกน­ี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้­นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แ­หละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแ­ล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้น­กายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเร­ื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลร­ูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิ­ตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข­้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในท­ุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่­ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตท­ี่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภ­ูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที­่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้แหละ อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น มันมีคำสองคำนะ คำว่า “ตื่น” กับคำว่า “รู้” ไม่ใช่คำเดียวกัน ตื่นเฉยๆแต่ไม่รู้ก็มี รู้แบบไม่ตื่นก็มี ... จะพูดอยู่เรื่อยๆเลยว่าในโลกมันไม่มีคนตื่นน่ะ หาคนตื่นเนี่ยนับตัวได้เลย หายากจริงๆ มีแต่คนหลับคนฝัน ตื่นเฉพาะร่างกายแต่จิตหลับ จิตไม่เคยตื่น .ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่­างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไป อยู่ในโลกของความคิดน­ั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะ มันปรุง ไม่เล­ิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ความพ้นทุกข์เราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

สุขที่อยู่เหนือโลกตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

บุคคลผู้เกิดมาแล้วจำต้องตาย ควรทำกุศลให้มากแม้ฉันนั้นตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ...

ตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี

พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ...ตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิตตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะพอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ และปล่อยวางความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี การเห็นความจริงของกายของใจ นั่นแหละ เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม ธรรมะคืออะไร ธรรมะก็คือการที่เราเห็นว่ากายกับใจ รูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระโสดาบันที่ว่ามีดวงตาเห็นธรรมนั้น ท่านเห็นว่าทั้งรูปทั้งนามที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ไม่มีตัวเราหรอก นี่เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม คือเห็นความจริงนั่นแหละ ความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ พอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน รู้กายรู้ใจต่อไปอีกนะ จนเห็นความจริง ของกายลึกซึ้งประณีตยิ่งขึ้นไปอีก กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ นะ ไม่ใช่กายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง พวกเราเห็นแต่ว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จึงปล่อยวางไม่ได้จริง มันจะดิ้นหาแต่ความสุขและดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย มันจะปล่อยวางความยึดถือกาย ถ้าปล่อยวาง ความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี สิ่งที่เรียกว่ากายนี้ ถ้ากระจายออกไปให้ละเอียดยิ่งขึ้น ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง คือส่วนที่เป็นรูปธรรม ถ้ากระทั่งตาเรายังไม่ยึดถือ ใจมันก็จะไม่ยึดถือรูป ถ้ากระทั่งหูก็ไม่ยึดถือ ใจมันก็ไม่ยึดถือเสียง มันไม่ยึดถือจมูก มันก็ไม่ยึดถือกลิ่น ไม่ยึดถือลิ้น ก็ไม่ยึดถือรส ไม่ยึดถือกาย ก็ไม่ยึดถือโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นจิตใจจะเป็นกลางต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รวมทั้งความคิดคำนึงถึงรูปเสียงกลิ่นรสและโผฏฐัพพะอันเป็นธรรมารมณ์ที่เรียกว่า 'กามธรรม' ด้วย ตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

พระโสดาบัน จะเห็นแล้วว่าตัวเราจริงๆไม่มีหรอกพอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ และปล่อยวางความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี การเห็นความจริงของกายของใจ นั่นแหละ เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม ธรรมะคืออะไร ธรรมะก็คือการที่เราเห็นว่ากายกับใจ รูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระโสดาบันที่ว่ามีดวงตาเห็นธรรมนั้น ท่านเห็นว่าทั้งรูปทั้งนามที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ไม่มีตัวเราหรอก นี่เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม คือเห็นความจริงนั่นแหละ ความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ พอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน รู้กายรู้ใจต่อไปอีกนะ จนเห็นความจริง ของกายลึกซึ้งประณีตยิ่งขึ้นไปอีก กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ นะ ไม่ใช่กายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง พวกเราเห็นแต่ว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จึงปล่อยวางไม่ได้จริง มันจะดิ้นหาแต่ความสุขและดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย มันจะปล่อยวางความยึดถือกาย ถ้าปล่อยวาง ความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี สิ่งที่เรียกว่ากายนี้ ถ้ากระจายออกไปให้ละเอียดยิ่งขึ้น ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง คือส่วนที่เป็นรูปธรรม ถ้ากระทั่งตาเรายังไม่ยึดถือ ใจมันก็จะไม่ยึดถือรูป ถ้ากระทั่งหูก็ไม่ยึดถือ ใจมันก็ไม่ยึดถือเสียง มันไม่ยึดถือจมูก มันก็ไม่ยึดถือกลิ่น ไม่ยึดถือลิ้น ก็ไม่ยึดถือรส ไม่ยึดถือกาย ก็ไม่ยึดถือโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นจิตใจจะเป็นกลางต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รวมทั้งความคิดคำนึงถึงรูปเสียงกลิ่นรสและโผฏฐัพพะอันเป็นธรรมารมณ์ที่เรียกว่า 'กามธรรม' ด้วย ตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเ..เราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไปหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา

เรามีบ้านที่แท้จริงเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไปหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสร...คำว่าเห็นโลกคืออะไร เห็นโลกคือเห็นรูปกับนาม เห็นกายกับใจนี้ คำว่าโลกไม่ใช่สิ่งอื่นนะ โลกก็คือ กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก ที่มีใจครอง ก็คือรูปธรรมนามธรรมนี้แหละที่เรียกว่าโลก ท่านให้เห็นโลกโดยความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวใช่ตน คอยถอนความเห็นผิด ความรู้สึกผิดๆ ว่าเป็นตัวเป็นตนซะ ท่านไม่สอนบอกว่า จงไปดูความว่างเปล่า ท่านบอกให้มีสติทุกเมื่อแล้วก็ตามเห็นโลก สิ่งที่เราเห็นคือเห็นโลก เห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นใจ ท่านโมฆราชฉลาด มีปัญญามาก ก็เห็นโลกเป็นอนัตตา เห็นโลกว่างเปล่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปดูความว่างเปล่า ดูสุญญตานะ คนละเรื่องกันเลย บางคนเอาพระสูตรนี้ไปอ้าง บอกว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ดูสุญญตา ไม่มีนะ สุญญตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีแต่ให้รู้รูปรู้นาม ให้รู้โลก แล้วถอนการตามรู้ว่าเป็นตัวตนนั้นเป็นอย่างไร ก็เหมือนกับที่หลวงพ่อพูดทุกวันๆแหละ อย่างเราเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เรารู้เลย ตัวที่ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นรูป ยืน เดินนั่ง นอน ไม่ใช่เรา ยืน เดิน นั่ง นอน ค่อยๆถอนความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย ไม่ใช่คิดนะ แต่เป็นความรู้สึก เห็นความโกรธเกิดขึ้น ก็เห็น ความโกรธมันเกิด ไม่ใช่เราโกรธนะ จิตโกรธขึ้นมาหรือเปล่า จิตก็ไม่ได้โกรธ แต่ความโกรธผุดขึ้นมาในจิต ผุดขึ้นมาให้จิตรู้ ถ้ารู้ไม่ทันก็ครอบงำจิต จิตยังไม่ได้โกรธเลย เราก็ไม่ได้โกรธ เพราะว่าความโกรธก็ไม่ใช่เรา จิตก็ไม่ใช่เรา คอยรู้ลงไปที่ตัวสภาวะนะ แล้วก็เห็นตัวสภาวะว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ดูไปอย่างนี้เรื่อยๆ นี่ท่านสอนท่านโมฆราชนะ เพราะฉะนั้นพวกเราก็เอาไปทำได้ คอยรู้สึกอยู่ ร่างกายที่เคลื่อนไหวไม่ใช่เราเคลื่อนไหว จิตใจที่เคลื่อนไหวไม่ใช่เราเคลื่อนไหว กลายเป็นจิตไม่ใช่เรา แค่รู้สึกไปเรื่อย เห็นแต่สภาวธรรมเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ดูไปเรื่อยๆ เห็นมั้ยธรรมะหลายพันปีก็ยังสอนอย่างเดิมนั่นแหละ หลวงพ่อก็สอนเท่านี้เอง ไม่มีสอนนะว่า หายใจมีกี่จังหวะ จะหยิบข้าวหยิบของมีกี่จังหวะ จะเดินหนึ่งก้าวมีกี่จังหวะ ไม่ได้สอน ทำไมไม่ได้สอน เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนไว้ หลวงพ่อจะปัญญาที่ไหนไปสอน เราไม่ได้ฉลาดกว่าพระพุทธเจ้านะ ไม่ได้สอนเก่งกว่าพระพุทธเจ้า สอนเกินที่ท่านสอน ท่านสอนให้มีสติทุกเมื่อ “สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ” รู้สึกไว้ๆ คำว่าสติ ให้รู้สึกอะไร รู้สึกโลก รู้สึกกาย รู้สึกใจ สติที่รู้สึกกาย สติที่รู้สึกใจ นี่แหละเรียกว่าสติปัฏฐาน สติที่ไปรู้อารมณ์ที่เป็นกุศลอื่นๆไม่เรียกว่าสติปัฏฐาน สตินี้เกิดกับจิตที่เป็นกุศลทุกๆดวง แต่บางทีก็ไปรู้อย่างอื่นไม่ใช่รู้กายรู้ใจ เฉพาะสติที่รู้กายรู้ใจจึงจะเรียกว่าสติปัฏฐาน สติปัฏฐานนี่แหละเป็นทางเดียวที่จะไปถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เรียกว่ารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้ง รู้โลกแจ่มแจ้ง โลกภายในโลกภายนอกก็แจ่มแจ้งพร้อมๆกันนั่นแหละ ถ้าเราเห็นความจริงกายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เราก็จะเห็นโลภายนอกไม่ใช่เราไปด้วย พร้อมๆกัน เรียกว่ารู้ทั้งภายในภายนอกนะ ไม่เห็นมีความแตกต่างระหว่างภายในภายนอก ไม่มีการแบ่งแยกภายในภายนอกอีกต่อไป พวกเราตอนนี้มีการแบ่งแยกภายในภายนอกอยู่ เวลาเราภาวนาเรารู้สึกมีข้างในมีข้างนอกนะ อันนี้อยู่ในช่วงของทางผ่าน คนซึ่งไม่เคยภาวนาเลย ก็ไม่มีข้างในข้างนอก มีอันเดียว ข้างในข้างนอกเป็นอันเดียว คือเป็นตัวเราหมดเลย ถ้าไม่ใช่ตัวเราก็ของเรา ถ้าไม่ใช่ของเรา ก็เป็นของที่ไม่ใช่ของเรา มันหา “เรา” มาใส่จนได้นะ ของคนอื่นก็ยังบอกว่าของที่ไม่ใช่ของเราได้ อะไรๆก็มีเราแทรกอยู่ ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา…

Itipiso Bagawa - Sangeeth Wijesooriya.Mp4ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

ඉතිබිසෝ බගවා Itipiso bagawa 1080p HD ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

Hamawita pawasanu muwin obe - Gindara Videosถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

"Obe Raagi Mana" Song By chaminda Abewardana - siyanihi show - 2015-04-1...

ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ
เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง
ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว
เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

"Obe Raagi Mana" Song By chaminda Abewardana - siyanihi show - 2015-04-1...

ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ
เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง
ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว
เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

"Obe Raagi Mana" Song By chaminda Abewardana - siyanihi show - 2015-04-1...

ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก
งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ
เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง
ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว
เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

กิเลสยังเหลืออยู่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

ฟังเพลงบรรลุธรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

คาถาธรรมบท ผู้มีร่างกายเป็นร่างกายสุดท้ายธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือวิมุตตายตนะ ๕ ดูกรผู้มี- *อายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง แสดง ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ท่านแสดง เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อ ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่หนึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย แต่ว่าภิกษุอื่นแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรม ทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุต- *ตายตนะข้อที่สอง ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ว่ากระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กาย สงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร และมิได้กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดย พิสดาร แต่ว่าเธอตรึกตามตรองตาม เพ่งตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ เธอตรึกตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อม เกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สี่ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร และมิได้กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดย พิสดาร และเธอมิได้ตรึกตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต มิได้ เพ่งตามด้วยใจ แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่ภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว กระทำไว้ ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น โดยประการที่สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เธอเรียนดี แล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อเธอ รู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อ มีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ห้า ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

พุทโธเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ

ขายอุปกรณ์การเรียน จำหน่าย power module แอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า รุ่นใหม่ไฟลบภาค คอนโทรล ต่อกับ ขา 11 กับ 15 ของ PS21244 ครับ จุดเดียวกับ ไฟลบ ภาค เพาเวอร์ครับ...ต่อเป็นจุดกราวด์เพลน..ครับ..http://eprojectszone.com/wp/2016/08/21/how-to-generate-a-sine-wave-from-arduino-or-atmega-328/ Intelligent Power Module (IPM) การใช้ MC3PHAC และ MITSUBISHI POWER MODULE PS21963 ควบคุมมอเตอร์มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์..หรือ..ไฟฟ้าจากไฟฟ้าเฟสเดียวตามบ้านเรือน จำหน่าย PS21244 POWER MITSUBISHI MODULE FOR 3 PHASE INVERTER MOTOR SPEED CONTROL ราคา ตัวละ 300 บาท..ครับ จำหน่าย SEMIKRON SEMIX241MD008s ราคา. ... SEMIKRON POWER MODULES SEMiX241MD800s 75 VOLTS 250 AMPS. ความเพียร พยายามชอบ ย่อมไม่ไร้ผล

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พระโสดาบันบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ. เราต้องฝึกหาจิตผู้รู้นะ ให้มีจิตผู้รู้นะ นั่นแหละจิตผู้รู้นั้นแหละ ยังเป็นจิตอวิชาอยู่ แต่อาศัยมันก่อน แล้ววันหนึ่งก็ค่อยมาทำลายตัวนี้ ไปอีกทีหนึ่งก่อน เนี่ยดูแล้วมันละเอี๊ยดละเอียดนะ มันสว่าง มันผ่องใสนะ มันมีอวิชาซ่อนอยู่ ถ้าหยาบๆขึ้นมานะ ไม่ใช่อวิชาแล้ว ตื้น กลายเป็นกิเลสหยาบๆแล้ว ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง ถ้าเห็นตัวผู้รู้เป็นตัวทุกข์ ก็เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือจิต มันจะสลัดคืนจิตให้โลกไปเลย จะสลัดคืนตัวรู้ คืนตัวรู้ให้โลกไป พอสลัดตัวรู้ทิ้ง ตัณหาจะไม่เกิดอีก ทันที่รู้แจ้งทุกข์นะ มันจะสลัดตัวทุกข์ออกไป พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วมันจะสลัดทิ้งเอง สลัดคืน เรียกว่าสลัดคืน ปฏินิสสัคคะสลัดคืนจริงๆ คืนโลก เนี่ยคำแต่ละคำในพระไตรปิฎก ในตำรับตำรานะ ตรงเป๊ะๆเลย เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เห็นตัวจิตผู้รู้นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ก็สลัดคืนตัวผู้รู้ให้โลกไป ในขณะนั้นละสมุทัยเรียบร้อยแล้ว ความอยากจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว รู้ทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยในคราวเดียวกันเลย ในขณะนั้นแจ้งนิโรธคือพระนิพพานเลย ในขณะเดียวกัน ในขณะนั้นเกิดอริยมรรคเลย ในขณะเดียวกัน อัศจรรย์ อัศจรรย์ที่สุดนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า พวกเราต้องพากเพียรนะ ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ ตรงที่จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่ เป็นจุดที่จะแตกหักเลย ว่าเราจะทำวิปัสสนากรรมฐาน เราจะเดินปัญญา ได้หรือไม่ได้ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่สามารถจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้จริงๆ เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้น ทำไปเป็นการเจริญปัญญา ปัญญานั้นมีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธินั้นต้องเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น ในทางตำรา ทางปริยัติเนี่ย คำว่าสมาธิก็แปลว่าความตั้งมั่น แต่พวกเราชอบมักง่าย ไปแปลสมาธิว่าความสงบ คนละตัวกันนะ เราต้องมาฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น จิตใจที่ตั้งมั่นคือจิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ตอนหลวงพ่อเป็นโยมนะ หลวงพ่อพยายามฝึก ตอนเด็กๆนะฝึกได้แต่สมาธิสงบ ต่อมาโตขึ้นมานะเจอครูบาอาจารย์ เข้าวัดไปท่านก็พูดแต่คำว่ามีจิตผู้รู้ หลวงปู่ดูลย์พูดบอกว่า ไม่ให้เอาจิตออกนอก ไม่ให้ส่งจิตออกนอก จิตที่ส่งออกนอกก็คือจิตที่มันหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด มันลืมตัวเอง จิตที่ไม่ออกนอกก็คือจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ งั้นหลวงพ่อก็มาฝึก พยายามให้จิตรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้ลืมเนื้อลืมตัว จนกระทั่งบางทีนะครูบาอาจารย์บางองค์ อย่างหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง เวลาไปกราบท่าน ท่านไม่รู้จักชื่อหลวงพ่อ ไม่เคยบอกท่าน ท่านเรียกหลวงพ่อว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ให้ฉายาว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ก็คือเรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ เมื่อเราฝึก มันต้องมีวิธีฝึก วิธีฝึกมันจะต่างกับการที่จะฝึกให้จิตสงบ การจะให้จิตสงบนั้น ให้เราน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตไม่ไปฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อันอื่น จิตก็สงบ เช่นบางคนมีความสุขที่จะท่องพุทโธ พุทโธๆมีความสุขนะ พอจิตใจมีความสุข จิตจะไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็สงบอยู่กับพุทโธ คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข รู้ลมหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวนะ หายใจสบาย จิตใจสงบอยู่กับลมหายใจ ไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็ได้ความสงบขึ้นมา คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข ก็ดูท้องพองยุบไป จิตใจมันก็สงบไม่หนีไปที่อื่น การที่จะฝึกให้จิตสงบนั้น ฝึกโดยการรู้จักเลือกอารมณ์ เราต้องดูว่าตัวเราเองนั้นอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขเราอยู่กับพุทโธไป จิตก็สงบไม่หนีไปที่อื่น เพราะจิตมันพอใจกับพุทโธซะแล้ว มันก็ไม่ไปหาอารมณ์อันอื่น คนไหนหายใจเข้าหายใจออก รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับลมหายใจไป จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น เนี่ยเคล็ดลับของการทำความสงบนะ การทำสมถะ เลือกอารมณ์ ต้องดูของตัวเราเอง เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ จิตใจไม่หนีไปหาอารมณ์อย่างอื่น อันนี้แหละ เราได้สมถะกรรมฐาน ทีนี้ฝึกอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นนั้นมันตรงข้ามกับจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่นมันคือจิตที่ไหลไป มันหลงไป มันไหลไป ตลอดเวลา หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เราก็หากรรมฐานมาสักอย่างหนึ่งนะ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่สักอย่างหนึ่งก่อน คนไหนเคยพุทโธแล้วสบายใจนะ ก็พุทโธต่อไป แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ เปลี่ยนนิดเดียวจากพุทโธเพื่อให้จิตสงบนะ มาเป็นพุทโธแล้วรู้ทันจิต พุทโธๆจิดหนีไปคิดรู้ทัน พุทโธๆจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน พุทโธๆแล้วจิตไปเพ่งนิ่งอยู่เฉยๆก็รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปหลงไปคิด เคลื่อนไปเพ่ง ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ คนไหนเคยรู้ลมหายใจแล้วมีความสุขนะ เราก็สงบอยู่กับลมหายใจ เราก็รู้ลมหายใจต่อไป แต่ไม่ใช่รู้เพื่อให้จิตไปอยู่กับลมหายใจ ถ้ารู้แล้วให้จิตไปอยู่กับลมหายใจเราได้สมถะกรรมฐาน ได้ความสงบเฉยๆ เรามาปรับนิดหน่อย เราหายใจไปจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตไปเพ่งใส่ลมหายใจเรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเราก็รู้ หายใจไปจิตหนีไปเรารู้ จิตหนีไปคิดเรารู้ หรือหายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ จิตเคลื่อนไปแล้วเรารู้ทัน เคลื่อนไปคิดเราก็รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจเราก็รู้ทัน ถ้าเรารู้ทันอย่างนี้ได้ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครถนัดดูท้องพองยุบ เคยดูท้องพองยุบ แล้วจิตไปสงบอยู่กับท้องก็เปลี่ยนนิดเดียว ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน คนไหนถนัดเดินจงกรมนะ ก็เดินจงกรมไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับเท้าก็รู้ทัน คือรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนั้นแหละ จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่ใช่สงบเฉยๆ สงบเฉยๆเนี่ยมันจะไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์อันเดียว อันนี้มันจะสงบด้วยมันจะตั้งมั่นด้วย จิตมันจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงนี้พวกเราต้องฝึกให้ได้นะ ถ้าพวกเราไม่สามารถจะฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ เรายังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้จริงหรอก ถึงจะไปนั่งคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะอะไรอย่างนี้ มันยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานหรอก วิปัสสนากรรมฐานนะเราต้องมีสติรู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ต่อเมื่อเรามีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่เป็นกลาง ถ้าจิตเรายังหลงอยู่ในโลกของความคิด เราจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ มันจะเพ่งกายเพ่งใจเฉยๆ แต่จะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์หรอก งั้นเราต้องมาฝึกนะให้ใจตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน ตัวนี้เป็นจุดที่แตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ได้ ถ้าจิตใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ชาตินี้เรายังไม่ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน แต่ถ้าจิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตเราอยู่กับตัวเราเองทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่เราจะเห็นความจริงของกายของใจ ก็เป็นไปได้

การฝึกจิตให้ตั้งมั่นบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ. เราต้องฝึกหาจิตผู้รู้นะ ให้มีจิตผู้รู้นะ นั่นแหละจิตผู้รู้นั้นแหละ ยังเป็นจิตอวิชาอยู่ แต่อาศัยมันก่อน แล้ววันหนึ่งก็ค่อยมาทำลายตัวนี้ ไปอีกทีหนึ่งก่อน เนี่ยดูแล้วมันละเอี๊ยดละเอียดนะ มันสว่าง มันผ่องใสนะ มันมีอวิชาซ่อนอยู่ ถ้าหยาบๆขึ้นมานะ ไม่ใช่อวิชาแล้ว ตื้น กลายเป็นกิเลสหยาบๆแล้ว ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง ถ้าเห็นตัวผู้รู้เป็นตัวทุกข์ ก็เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือจิต มันจะสลัดคืนจิตให้โลกไปเลย จะสลัดคืนตัวรู้ คืนตัวรู้ให้โลกไป พอสลัดตัวรู้ทิ้ง ตัณหาจะไม่เกิดอีก ทันที่รู้แจ้งทุกข์นะ มันจะสลัดตัวทุกข์ออกไป พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วมันจะสลัดทิ้งเอง สลัดคืน เรียกว่าสลัดคืน ปฏินิสสัคคะสลัดคืนจริงๆ คืนโลก เนี่ยคำแต่ละคำในพระไตรปิฎก ในตำรับตำรานะ ตรงเป๊ะๆเลย เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เห็นตัวจิตผู้รู้นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ก็สลัดคืนตัวผู้รู้ให้โลกไป ในขณะนั้นละสมุทัยเรียบร้อยแล้ว ความอยากจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว รู้ทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยในคราวเดียวกันเลย ในขณะนั้นแจ้งนิโรธคือพระนิพพานเลย ในขณะเดียวกัน ในขณะนั้นเกิดอริยมรรคเลย ในขณะเดียวกัน อัศจรรย์ อัศจรรย์ที่สุดนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า พวกเราต้องพากเพียรนะ ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ ตรงที่จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่ เป็นจุดที่จะแตกหักเลย ว่าเราจะทำวิปัสสนากรรมฐาน เราจะเดินปัญญา ได้หรือไม่ได้ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่สามารถจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้จริงๆ เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้น ทำไปเป็นการเจริญปัญญา ปัญญานั้นมีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด สมาธินั้นต้องเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น ในทางตำรา ทางปริยัติเนี่ย คำว่าสมาธิก็แปลว่าความตั้งมั่น แต่พวกเราชอบมักง่าย ไปแปลสมาธิว่าความสงบ คนละตัวกันนะ เราต้องมาฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น จิตใจที่ตั้งมั่นคือจิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ตอนหลวงพ่อเป็นโยมนะ หลวงพ่อพยายามฝึก ตอนเด็กๆนะฝึกได้แต่สมาธิสงบ ต่อมาโตขึ้นมานะเจอครูบาอาจารย์ เข้าวัดไปท่านก็พูดแต่คำว่ามีจิตผู้รู้ หลวงปู่ดูลย์พูดบอกว่า ไม่ให้เอาจิตออกนอก ไม่ให้ส่งจิตออกนอก จิตที่ส่งออกนอกก็คือจิตที่มันหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด มันลืมตัวเอง จิตที่ไม่ออกนอกก็คือจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ งั้นหลวงพ่อก็มาฝึก พยายามให้จิตรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้ลืมเนื้อลืมตัว จนกระทั่งบางทีนะครูบาอาจารย์บางองค์ อย่างหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง เวลาไปกราบท่าน ท่านไม่รู้จักชื่อหลวงพ่อ ไม่เคยบอกท่าน ท่านเรียกหลวงพ่อว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ให้ฉายาว่า ผู้รู้ ผู้รู้ ก็คือเรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ เมื่อเราฝึก มันต้องมีวิธีฝึก วิธีฝึกมันจะต่างกับการที่จะฝึกให้จิตสงบ การจะให้จิตสงบนั้น ให้เราน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตไม่ไปฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อันอื่น จิตก็สงบ เช่นบางคนมีความสุขที่จะท่องพุทโธ พุทโธๆมีความสุขนะ พอจิตใจมีความสุข จิตจะไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็สงบอยู่กับพุทโธ คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข รู้ลมหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวนะ หายใจสบาย จิตใจสงบอยู่กับลมหายใจ ไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็ได้ความสงบขึ้นมา คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข ก็ดูท้องพองยุบไป จิตใจมันก็สงบไม่หนีไปที่อื่น การที่จะฝึกให้จิตสงบนั้น ฝึกโดยการรู้จักเลือกอารมณ์ เราต้องดูว่าตัวเราเองนั้นอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขเราอยู่กับพุทโธไป จิตก็สงบไม่หนีไปที่อื่น เพราะจิตมันพอใจกับพุทโธซะแล้ว มันก็ไม่ไปหาอารมณ์อันอื่น คนไหนหายใจเข้าหายใจออก รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับลมหายใจไป จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น เนี่ยเคล็ดลับของการทำความสงบนะ การทำสมถะ เลือกอารมณ์ ต้องดูของตัวเราเอง เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ จิตใจไม่หนีไปหาอารมณ์อย่างอื่น อันนี้แหละ เราได้สมถะกรรมฐาน ทีนี้ฝึกอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นนั้นมันตรงข้ามกับจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่นมันคือจิตที่ไหลไป มันหลงไป มันไหลไป ตลอดเวลา หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เราก็หากรรมฐานมาสักอย่างหนึ่งนะ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่สักอย่างหนึ่งก่อน คนไหนเคยพุทโธแล้วสบายใจนะ ก็พุทโธต่อไป แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ เปลี่ยนนิดเดียวจากพุทโธเพื่อให้จิตสงบนะ มาเป็นพุทโธแล้วรู้ทันจิต พุทโธๆจิดหนีไปคิดรู้ทัน พุทโธๆจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน พุทโธๆแล้วจิตไปเพ่งนิ่งอยู่เฉยๆก็รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปหลงไปคิด เคลื่อนไปเพ่ง ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ คนไหนเคยรู้ลมหายใจแล้วมีความสุขนะ เราก็สงบอยู่กับลมหายใจ เราก็รู้ลมหายใจต่อไป แต่ไม่ใช่รู้เพื่อให้จิตไปอยู่กับลมหายใจ ถ้ารู้แล้วให้จิตไปอยู่กับลมหายใจเราได้สมถะกรรมฐาน ได้ความสงบเฉยๆ เรามาปรับนิดหน่อย เราหายใจไปจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตไปเพ่งใส่ลมหายใจเรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเราก็รู้ หายใจไปจิตหนีไปเรารู้ จิตหนีไปคิดเรารู้ หรือหายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ จิตเคลื่อนไปแล้วเรารู้ทัน เคลื่อนไปคิดเราก็รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจเราก็รู้ทัน ถ้าเรารู้ทันอย่างนี้ได้ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครถนัดดูท้องพองยุบ เคยดูท้องพองยุบ แล้วจิตไปสงบอยู่กับท้องก็เปลี่ยนนิดเดียว ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน คนไหนถนัดเดินจงกรมนะ ก็เดินจงกรมไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับเท้าก็รู้ทัน คือรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนั้นแหละ จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่ใช่สงบเฉยๆ สงบเฉยๆเนี่ยมันจะไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์อันเดียว อันนี้มันจะสงบด้วยมันจะตั้งมั่นด้วย จิตมันจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงนี้พวกเราต้องฝึกให้ได้นะ ถ้าพวกเราไม่สามารถจะฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ เรายังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้จริงหรอก ถึงจะไปนั่งคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะอะไรอย่างนี้ มันยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานหรอก วิปัสสนากรรมฐานนะเราต้องมีสติรู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ต่อเมื่อเรามีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่เป็นกลาง ถ้าจิตเรายังหลงอยู่ในโลกของความคิด เราจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ มันจะเพ่งกายเพ่งใจเฉยๆ แต่จะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์หรอก งั้นเราต้องมาฝึกนะให้ใจตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน ตัวนี้เป็นจุดที่แตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ได้ ถ้าจิตใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ชาตินี้เรายังไม่ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน แต่ถ้าจิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตเราอยู่กับตัวเราเองทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่เราจะเห็นความจริงของกายของใจ ก็เป็นไปได้

ธรรมะ ทางมรรคผลนิพพานกราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงเกิดจิตใจที่ฉลาด รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ..กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ.

จิตใจที่พ้นจากความทุกข์กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

จิตใจที่พ้นจากความทุกข์คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ท่านไม่ได้สอนให้พวกเราหนี ... ธรรมะเป็นเรื่องง่าย การปฏิบัติจริงๆเป็นเรื่องง่าย ทำแล้วมีความสุข ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องชีวิตจะพบความสุขอย่างรวดเร็วมากเลย ... อยากให้มันพ้นทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเราสามารถเรียนรู้ รู้ลงเข้ามาที่กาย รู้ลงเข้ามาที่ใจ ... ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงเกิดจิตใจที่ฉลาด รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ้นรนการปฎิบัติธรรมเนี่ย เราอย่าไปวาดภาพให้มันยุ่งยาก ธรรมะไม่ใช่ของลึกลับ พวกเราชอบคิดว่าธรรมะคืออะไรก็ไม่รู้ ลึกลับ รู้แต่ว่ามันเป็นของดี เราคิดแต่ว่ามันอยู่ไกลๆ เราต้องทำอีกนานๆถึงจะเจอ เราชอบคิดว่าธรรมะอยู่ที่วัด ธรรมะอยู่ที่พระ หรือธรรมะอยู่ที่การเข้าคอร์ส แท้จริงธรรมะไม่ได้พิกลพิการยากไร้ขนาดนั้นหรอก ธรรมะอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่เกิด ถ้าพวกเราอยากได้ธรรมะเนี่ย ให้ย้อนมาเรียนที่ตัวธรรมะจริงๆ อะไรเป็นตัวธรรมะตัวจริง กายนี้แหละเป็นธรรมะเรียกว่ารูปธรรม ชื่อมันบอกอยู่แล้วว่ามันเป็นธรรมะ เรียกว่ารูปธรรม ใจของเรานี้แหละเป็นธรรมะ เรียกว่านามธรรม อย่าไปแสวงหาธรรมะที่อื่น หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอนะ จะมาฟังอาตมาพูดกี่วันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ธรรมะ(แท้ๆ – ผู้ถอด)เรียนไม่ได้ด้วยการฟัง เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน เรียนไม่ได้ด้วยการคิดๆเอา ทางเดียวที่จะเรียนธรรมะได้นี่นะ คือต้องเรียนจากครูของเราจริงๆ ครูที่จะสอนธรรมะเราได้มีสองคนเท่านั้น คือ รูปกับนามหรือกายกับใจของเรานี่เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือ ให้คอยรู้ลงที่กายคอยรู้ลงที่ใจเนืองๆ กายและใจจะสอนธรรมะของจริงให้เราดู คนส่วนใหญ่เที่ยวหาธรรมะภายนอก ก็มีแต่หลงออกไปภายนอก ละเลยที่จะเรียนรู้เรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พระพุทธเจ้าสอนให้น้อมเข้ามา โอปนยิโก น้อมกลับเข้ามา มาเรียนเรื่องของตัวเราเอง เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นธรรมะในตำราอภิธรรมจะสอน บอกว่าต้องรู้รูปนามต้องรู้กายรู้ใจนะ

ฟังเพลงบรรลุธรรมเวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็...พระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือ ในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว . ทำไมท่านไม่ยึดถือ เพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะ จนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เรา ความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เรา จิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมด เนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อย เบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบัน เบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..? มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็นความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเรา ถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แล้วจิตตัวเดียวนี้เอง ถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ . มันสลัดได้จริงๆนะ แต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ ใครเคยเห็นบ้างว่า จิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ พวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อย ก็พอสมควรนะ เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ย บางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อย ใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะ ไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลย จิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เอง จะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เอง นี่แค่ปล่อยอารมณ์ สังเกตมั้ย พอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลย สบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหน นี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้ มันจะสุขมหาศาลขนาดไหน มันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะ ในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้น เป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลย งั้นพวกเราต้องฝึกนะ . สรุปให้ฟัง เอาง่ายๆ เลยนะ เบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่าน . อันที่ ๒ พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่ง ช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะ ช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้า อะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะ จิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะ ค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น . สรุปนะ อีกที ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะ แต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน (ทำสมถกรรมฐาน) ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้ เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว . ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะ ดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้ว ถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่ พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก ... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต ... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ) . เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ ถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ เดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้ว เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆ . อยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่า หรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี สุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป แต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะ ถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้ว เราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลย เพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละ อะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ /|\ /|\ /|\ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คิดถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าบอก ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระอรหันต์คือพวกไหน พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ซึ่งไม่ยึดถือ ในรูปนาม/ขันธ์ ๕ ไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว . ทำไมท่านไม่ยึดถือ เพราะท่านได้เจริญสติปัฏฐาน ท่านมีสติรู้สึกกาย ท่านมีสติรู้สึกจิตใจอยู่เรื่อยนะ จนเห็นความจริงเลย ร่างกายไม่ใช่เรา ความสุข-ความทุกข์ ไม่ใช่เรา กิเลส ไม่ใช่เรา จิตใจ ก็ไม่ใช่เรา อะไรๆ ก็ไม่ใช่เราไปหมด เนี่ยท่านก็ภาวนาไปเรื่อย เบื้องต้นจะเห็นว่า มันไม่ใช่เรานะ ได้พระโสดาบัน เบื้องปลายจะเห็นเลยว่า ตัวที่มันไม่ใชเรา มันเป็นอะไร..? มันเป็นตัวทุกข์ กายนี้ เป็นตัวทุกข์ เวทนา เป็นความสุข-ทุกข์ เป็นตัวทุกข์ สังขาร ก็เช่นกิเลสทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ จิต ที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ถ้าเห็นได้ถึงขนาดนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก แล้วก็จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุด ก็คือจิตของเรา สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่า เป็นตัวเรามากที่สุด ก็คือจิตนี่เอง จิตนี้เป็นที่ตั้งเลย เป็นตัวใหญ่ เป็นตัวหลักเลย ถ้าเราไม่เห็นว่า จิตเป็นตัวเรา ก็จะไม่เห็นว่า สิ่งใดในโลกเป็นตัวเรา ถ้าเห็นความจริงแล้วว่า จิตเป็นตัวทุกข์ ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แล้วจิตตัวเดียวนี้เอง ถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ . มันสลัดได้จริงๆนะ แต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆ มันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก มันสลัดอารมณ์ได้ ใครเคยเห็นบ้างว่า จิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ พวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อย ก็พอสมควรนะ เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ย บางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อย ใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..? ก็เยอะแล้วนะ ไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลย จิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เอง จะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เอง นี่แค่ปล่อยอารมณ์ สังเกตมั้ย พอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลย สบายขึ้นเยอะเลย ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหน นี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้ มันจะสุขมหาศาลขนาดไหน มันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะ ในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้น เป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลย งั้นพวกเราต้องฝึกนะ . สรุปให้ฟัง เอาง่ายๆ เลยนะ เบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่าน . อันที่ ๒ พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่ง ช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะ ช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้า อะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะ จิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะ ค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น . สรุปนะ อีกที ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะ แต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน (ทำสมถกรรมฐาน) ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้ เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว . ข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะ ดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้ว ถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่ พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก ... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต ... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย ... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ) . เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ ถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ เดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้ว เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆ . อยู่ที่พวกเรานะว่า เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่า หรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี สุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป แต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะ ถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้ว เราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลย เพราะมันเคยฝึก อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละ อะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมดแหละนะ /|\ /|\ /|\ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธีข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน แม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่? อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัยให้ดี อาตมภาพ จักแสดง. ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทูลสนองพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่าม กลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ- *โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อม ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ. จุลศีล [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของ เธอประการหนึ่ง. ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่ เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม. ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่. ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน. ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ. ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี. ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้. ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย. ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง ตวงวัด. ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง. ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. จบจุลศีล. มัชฌิมศีล [๑๐๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณ- *พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็น ข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่า นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๐๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. [๑๐๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน อันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการ แต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง ขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๑] ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็น ปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๒] ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณ- *พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและ การรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูด เลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. จบมัชฌิมศีล. มหาศีล [๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. [๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง. [๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์ หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. [๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล. จบมหาศีล. อินทรียสังวร [๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. สติสัมปชัญญะ [๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ. สันโดษ [๑๒๔] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่อง บริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. [๑๒๕] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอัน เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉาได้. อุปมานิวรณ์ [๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงาน ของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และ ทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ โสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้อง เสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้น แล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้าน อันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ โสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล. รูปฌาน ๔ [๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่ วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยาง ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. [๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. [๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. [๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. วิชชา ๘ วิปัสสนาญาณ [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ๑- เธอ ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๒- ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโต ขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบ แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น ประจักษ์ข้อก่อนๆ. มโนมยิทธิญาณ [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก @๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ- @ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ @๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. อิทธิวิธญาณ [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. ทิพยโสตญาณ [๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อม ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อัน บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่ เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. เจโตปริยญาณ [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก โมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็น มหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่น ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตน ในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่น ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ [๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ. จุตูปปาตญาณ [๑๓๗] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของ สัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาท ตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชน กำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน เหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่ การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. อาสวักขยญาณ [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและ ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น ประจักษ์ข้อก่อนๆ ดูกรมหาบพิตร ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี. พระเจ้าอชาตศัตรูแสดงพระองค์เป็นอุบาสก [๑๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ได้กราบทูลพระดำรัสนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป โทษได้ครอบงำหม่อมฉัน ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด หม่อมฉัน ได้ปลงพระชนมชีพ พระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรมเพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉันโดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จริง จริง ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด มหาบพิตรได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะเหตุ แห่งความเป็นใหญ่ แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพ ตามเป็นจริง ฉะนั้น อาตมภาพ ขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคลเห็นความผิด โดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริงรับสังวรต่อไป นี้เป็นความชอบในวินัยของ พระอริยเจ้าแล. [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอได้กราบทูลลาว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นหม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ขอมหาบพิตรทรงสำคัญเวลา ณ บัดนี้เถิด. ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงเพลิดเพลินยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไป. เมื่อท้าวเธอเสด็จไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็น พระราชาโดยธรรมไซร้ ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่ ประทับนี้ทีเดียว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล. จบสามัญญผลสูตร ที่ ๒.

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา ที่เรียกว่ากามาวจรจิต...

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุดับโลกธาตุ ร่างกายหายไป โลกหายไป บางทีโลกธาตุไม่ดับนะแต่จิตดับ มีแต่ร่างกายไม่มีจิต ..... จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว .

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุดับโลกธาตุ ร่างกายหายไป โลกหายไป บางทีโลกธาตุไม่ดับนะแต่จิตดับ มีแต่ร่างกายไม่มีจิต ..... จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว .

การรู้ทุกข์การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย ครูที่สอนธรรมะ คือ กายกับใจของเรา mp 3 (for download) : ครูที่สอนธรรมะ คือ กายกับใจของเรา Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser. หลวงพ่อปราโมทย์ : การปฎิบัตินะ การปฎิบัติธรรมเนี่ย เราอย่าไปวาดภาพให้มันยุ่งยาก ธรรมะไม่ใช่ของลึกลับ พวกเราชอบคิดว่าธรรมะคืออะไรก็ไม่รู้ ลึกลับ รู้แต่ว่ามันเป็นของดี เราคิดแต่ว่ามันอยู่ไกลๆ เราต้องทำอีกนานๆถึงจะเจอ เราชอบคิดว่าธรรมะอยู่ที่วัด ธรรมะอยู่ที่พระ หรือธรรมะอยู่ที่การเข้าคอร์ส แท้จริงธรรมะไม่ได้พิกลพิการยากไร้ขนาดนั้นหรอก ธรรมะอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่เกิด ถ้าพวกเราอยากได้ธรรมะเนี่ย ให้ย้อนมาเรียนที่ตัวธรรมะจริงๆ อะไรเป็นตัวธรรมะตัวจริง กายนี้แหละเป็นธรรมะเรียกว่ารูปธรรม ชื่อมันบอกอยู่แล้วว่ามันเป็นธรรมะ เรียกว่ารูปธรรม ใจของเรานี้แหละเป็นธรรมะ เรียกว่านามธรรม อย่าไปแสวงหาธรรมะที่อื่น หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอนะ จะมาฟังอาตมาพูดกี่วันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ธรรมะ(แท้ๆ – ผู้ถอด)เรียนไม่ได้ด้วยการฟัง เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน เรียนไม่ได้ด้วยการคิดๆเอา ทางเดียวที่จะเรียนธรรมะได้นี่นะ คือต้องเรียนจากครูของเราจริงๆ ครูที่จะสอนธรรมะเราได้มีสองคนเท่านั้น คือ รูปกับนามหรือกายกับใจของเรานี่เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือ ให้คอยรู้ลงที่กายคอยรู้ลงที่ใจเนืองๆ กายและใจจะสอนธรรมะของจริงให้เราดู คนส่วนใหญ่เที่ยวหาธรรมะภายนอก ก็มีแต่หลงออกไปภายนอก ละเลยที่จะเรียนรู้เรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พระพุทธเจ้าสอนให้น้อมเข้ามา โอปนยิโก น้อมกลับเข้ามา มาเรียนเรื่องของตัวเราเอง เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นธรรมะในตำราอภิธรรมจะสอน บอกว่าต้องรู้รูปนามต้องรู้กายรู้ใจนะ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี บ้านหนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ หลังฉันเช้า สวนโพธิญาณอรัญวาสี CD: สวนโพธิญาณอรัญวาสี แผ่นที่ ๑๐ Track: ๒ File: 480911B.mp3 ระหว่างวินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๕๑ เว็บไซต์ Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓ ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่ ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่ คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่ (Visited 288 times, 1 visits today) Related Posts via Taxonomies หลักของการปฏิบัติทั้งหมด รวมลงที่กายที่ใจทั้งสิ้น กายเป็นทุกข์ อย่าให้ใจทุกข์ไปด้วย ทางวิปัสสนา (๓) ปัญญาเป็นเครื่องทำลายความโง่ (อวิชชา) ใจที่ยอมรับความจริง จะหมดความดิ้นรน จะไม่ทุกข์ วิธีฝึกความรู้สึกตัว วิปัสสนาต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง การปฎิบัติอย่าให้เกินกายเกินใจออกไป กายกับใจนี่แหละ เป็นสนามรบของนักปฎิบัติ กรรมฐานไม่สำคัญที่รูปแบบ แต่สำคัญที่เนื้อหา คือการเห็นไตรลักษณ์ของกายใจ ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่กับพระ ธรรมะอยู่ที่ตัวของเราเอง การหัดดูสภาวะธรรมเป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เราเจริญวิปัสสนาได้ หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube

ตาสว่างกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ สุดท้ายจิตจะรู้เลยว่า มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ความปรุงแต่งเกิดขึ้นทีไร ความทุกข์เกิดขึ้นทุกที ความปรุงแต่งทั้งหลายสงบเสียได้ ความพ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น เคยได้ยินไหม “อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ” สังขารทั้งหลายสงบเสียได้เป็นสุข สังขารเนี่ยทำงาน ไหว วิ้บๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืนนะ วัฏฏะหมุนอยู่ในใจเราเนี่ย วิ้บๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืนเลย เราเฝ้ารู้เฝ้าดูไป อย่าไปเกลียด อย่าไปหนีไป ถึงหนีมันนะมันก็ยังไหวอยู่อย่างนี้ แต่เราไม่เห็น เราไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ไม่หนีมัน ไม่น้อมใจไปว่างๆหนีมัน เห็นไหววับๆๆ ไปอย่างนี้ ถ้าทนไม่ไหวก็ทำความสงบเข้ามา มีกำลังใจมีเรี่ยวมีแรงแล้ว ดูมันอีก สติมันจะอัตโนมัตินะมันจะเห็นเนี่ย ไหวยิบยับๆ เห็นทั้งวัน มันเห็นทั้งวันเห็นทั้งคืนด้วย สมาธิ จิตตั้งมันอยู่ อันนี้เป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นถึงเห็นมันไหววิบวับ แล้วเวลาจะพักน่ะ ใช้สมาธิชนิดสงบ คือใช้สมถะ ไม่ใช่พักด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ แต่พักด้วยจิตที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นที่พัก งั้นสมถะเอาไว้พักผ่อน พอพักผ่อนพอสมควร มีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็มีจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ดูธาตุดูขันธ์มันทำงาน ฝึกจนมันอัตโนมัติไปหมดเลยนะ สติระลึกถึงความไหวของจิตเนี่ย ทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่เจตนา จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ แถมยังได้รับความชุ่มฉ่ำของสมาธิของสมถะมาช่วยเหลือด้วย ใจไม่แห้งผากเกินไป ถ้าไม่มีสมถะช่วยด้วยจะแห้ง แห้งสุดขีดเลย แห้งผากเลยนะ เนี่ยอาศัยสิ่งเหล่านี้นะ ฝึกไปจนเป็นอัตโนมัติ พอมันอัตโนมัติแล้วคราวนี้เลิกไม่ได้ การปฏิบัตินะหยุดไม่ได้เลิกไม่ได้ แต่พักได้ด้วยสมถะ มีเท่านี้เอง เนี่ยทำมากเข้าๆ ปัญญามันพอนะ จิตมันรู้แจ้งเลยว่า จิตนี้เป็นทุกข์จริงๆ จิตนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ มีแต่ความไม่เที่ยง กระเพื่อมไหวอยู่ตลอดเวลา จิตนี้ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา จิตนี้ทำงานเอง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอะไร ถ้าได้อย่างนี้ มันรวมเข้ามานะ ก่อนที่มันจะเข้าใจเนี่ยจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเลย ทั้งๆที่ชาตินี้ไม่เคยหัดเข้าฌานเลยนะ เนี่ยหัดเจริญสติอยู่อย่างพวกเราเนี่ย คอยดูไป ถึงเวลาทำในรูปแบบบ้างอะไรบ้างนะ ทุกวันทำไปเพื่อให้มีแรง แล้วก็เจริญสติดูกายดูใจมันทำงานไป พอถึงขั้นละเอียดมันจะถึงความไหว ยิบยับๆในจิตนี่แหละ ก็ดูไปเรื่อยถึงมันพอนะ จิตจะเข้าอัปปนาสมาธิเอง เข้ารวมมาเองเลย แล้วมันจะมาตัดกิเลสข้างในใจเรานี้ ถัดจากนั้นออกจากสมาธิมาแล้ว พ้นจากระบวนการของอริยมรรคอริยผลแล้ว ทบทวนดู กิเลสอะไรล้างแล้ว กิเลสอะไรยังไม่ล้าง แต่ตอนทบทวนต้องระวังอย่างหนึ่ง บางคนจิตรวมเข้าสมาธิแล้วมีอาการแปลกๆ นึกว่าเกิดมรรคผล ไม่เกิดนะ มันเป็นอาการหลอกต่างๆนานาซึ่งเยอะมากเลยที่จะหลอก พอออกมาแล้วเนี่ย จิตค้างสมาธิออกมาด้วย ออกจากสมาธิแล้วจิตค้างความนิ่งออกมา จิตจะนิ่งๆ อย่างสมมุติว่าจิตนิ่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันเลย จะไม่มีกิเลสโผล่เลย แล้วบอกว่าดูแล้วไม่มีกิเลสแล้ว บรรลุแล้ว ที่จริงไม่ใช่หรอก ไปประคองจิตไว้ ไปรักษาจิตไว้ เมื่อเราไปประคองไว้นะ ไม่มีกิเลสนะ แต่พอปล่อยเท่านั้นล่ะ กิเลสจะมาเลย งั้นเวลาจะดูจิตว่าล้างกิเลสหรือยังนะ อย่าประคองจิตให้นิ่ง อย่าประคองจิตนะ ปล่อยจิตให้เป็นธรรมชาติ สมัยที่ยังภาวนาไม่เป็นอย่างนั้นเลย ปล่อยให้จิตมันทำงานปกติ ถ้าเห็นได้อย่างนั้นนะถึงจะดูตัวจริงออกว่ากิเลสนั้นยังมีหรือไม่มี กิเลสตัวไหนล้างแล้ว ตัวไหนยังไม่ล้าง จะเห็นด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าประคองจิตนิ่งๆนะ แล้วก็บอกว่าดูแล้วไม่มี อันนั้นไม่ใช่นะ

ตาสว่างกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ สุดท้ายจิตจะรู้เลยว่า มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ความปรุงแต่งเกิดขึ้นทีไร ความทุกข์เกิดขึ้นทุกที ความปรุงแต่งทั้งหลายสงบเสียได้ ความพ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น เคยได้ยินไหม “อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ” สังขารทั้งหลายสงบเสียได้เป็นสุข สังขารเนี่ยทำงาน ไหว วิ้บๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืนนะ วัฏฏะหมุนอยู่ในใจเราเนี่ย วิ้บๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืนเลย เราเฝ้ารู้เฝ้าดูไป อย่าไปเกลียด อย่าไปหนีไป ถึงหนีมันนะมันก็ยังไหวอยู่อย่างนี้ แต่เราไม่เห็น เราไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ไม่หนีมัน ไม่น้อมใจไปว่างๆหนีมัน เห็นไหววับๆๆ ไปอย่างนี้ ถ้าทนไม่ไหวก็ทำความสงบเข้ามา มีกำลังใจมีเรี่ยวมีแรงแล้ว ดูมันอีก สติมันจะอัตโนมัตินะมันจะเห็นเนี่ย ไหวยิบยับๆ เห็นทั้งวัน มันเห็นทั้งวันเห็นทั้งคืนด้วย สมาธิ จิตตั้งมันอยู่ อันนี้เป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นถึงเห็นมันไหววิบวับ แล้วเวลาจะพักน่ะ ใช้สมาธิชนิดสงบ คือใช้สมถะ ไม่ใช่พักด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ แต่พักด้วยจิตที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นที่พัก งั้นสมถะเอาไว้พักผ่อน พอพักผ่อนพอสมควร มีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็มีจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ดูธาตุดูขันธ์มันทำงาน ฝึกจนมันอัตโนมัติไปหมดเลยนะ สติระลึกถึงความไหวของจิตเนี่ย ทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่เจตนา จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ แถมยังได้รับความชุ่มฉ่ำของสมาธิของสมถะมาช่วยเหลือด้วย ใจไม่แห้งผากเกินไป ถ้าไม่มีสมถะช่วยด้วยจะแห้ง แห้งสุดขีดเลย แห้งผากเลยนะ เนี่ยอาศัยสิ่งเหล่านี้นะ ฝึกไปจนเป็นอัตโนมัติ พอมันอัตโนมัติแล้วคราวนี้เลิกไม่ได้ การปฏิบัตินะหยุดไม่ได้เลิกไม่ได้ แต่พักได้ด้วยสมถะ มีเท่านี้เอง เนี่ยทำมากเข้าๆ ปัญญามันพอนะ จิตมันรู้แจ้งเลยว่า จิตนี้เป็นทุกข์จริงๆ จิตนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ มีแต่ความไม่เที่ยง กระเพื่อมไหวอยู่ตลอดเวลา จิตนี้ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา จิตนี้ทำงานเอง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอะไร ถ้าได้อย่างนี้ มันรวมเข้ามานะ ก่อนที่มันจะเข้าใจเนี่ยจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเลย ทั้งๆที่ชาตินี้ไม่เคยหัดเข้าฌานเลยนะ เนี่ยหัดเจริญสติอยู่อย่างพวกเราเนี่ย คอยดูไป ถึงเวลาทำในรูปแบบบ้างอะไรบ้างนะ ทุกวันทำไปเพื่อให้มีแรง แล้วก็เจริญสติดูกายดูใจมันทำงานไป พอถึงขั้นละเอียดมันจะถึงความไหว ยิบยับๆในจิตนี่แหละ ก็ดูไปเรื่อยถึงมันพอนะ จิตจะเข้าอัปปนาสมาธิเอง เข้ารวมมาเองเลย แล้วมันจะมาตัดกิเลสข้างในใจเรานี้ ถัดจากนั้นออกจากสมาธิมาแล้ว พ้นจากระบวนการของอริยมรรคอริยผลแล้ว ทบทวนดู กิเลสอะไรล้างแล้ว กิเลสอะไรยังไม่ล้าง แต่ตอนทบทวนต้องระวังอย่างหนึ่ง บางคนจิตรวมเข้าสมาธิแล้วมีอาการแปลกๆ นึกว่าเกิดมรรคผล ไม่เกิดนะ มันเป็นอาการหลอกต่างๆนานาซึ่งเยอะมากเลยที่จะหลอก พอออกมาแล้วเนี่ย จิตค้างสมาธิออกมาด้วย ออกจากสมาธิแล้วจิตค้างความนิ่งออกมา จิตจะนิ่งๆ อย่างสมมุติว่าจิตนิ่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันเลย จะไม่มีกิเลสโผล่เลย แล้วบอกว่าดูแล้วไม่มีกิเลสแล้ว บรรลุแล้ว ที่จริงไม่ใช่หรอก ไปประคองจิตไว้ ไปรักษาจิตไว้ เมื่อเราไปประคองไว้นะ ไม่มีกิเลสนะ แต่พอปล่อยเท่านั้นล่ะ กิเลสจะมาเลย งั้นเวลาจะดูจิตว่าล้างกิเลสหรือยังนะ อย่าประคองจิตให้นิ่ง อย่าประคองจิตนะ ปล่อยจิตให้เป็นธรรมชาติ สมัยที่ยังภาวนาไม่เป็นอย่างนั้นเลย ปล่อยให้จิตมันทำงานปกติ ถ้าเห็นได้อย่างนั้นนะถึงจะดูตัวจริงออกว่ากิเลสนั้นยังมีหรือไม่มี กิเลสตัวไหนล้างแล้ว ตัวไหนยังไม่ล้าง จะเห็นด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าประคองจิตนิ่งๆนะ แล้วก็บอกว่าดูแล้วไม่มี อันนั้นไม่ใช่นะ

คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดีถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

Dhammapada - ' Chittvagago - चित्तवग्गो ' Pali-Hindi Chanting

เราภาวนานะ เราคอยรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงไปเรื่อย รู้บ้างหลงบ้าง อย่าไ...คำสอนใดไม่สอนให้รู้กายรู้ใจไม่มีทางหรอก อยู่นอกกรอบคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแล้ว * .. ... .. ... .. ... .. ... .. เรารู้ทุกข์ให้มากนะ รู้กายรู้ใจให้มากนะ รู้อย่างที่เค้าเป็น วันหนึ่งก็จะละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคขึ้นมา เป็นของเค้าเอง ต้องสู้นะอย่าท้อถอย ตั้งใจไว้เลยว่าชีวิตนี้ต้องดีขึ้น เรื่องอะไรจะต้องเลวลง เรื่องอะไรจะเสมอตัว มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะปราณีตลึกซึ้งถึงขนาดนี้ โอกาสที่จะได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า หายากนะ ยากมากเลย วันเวลาที่มีพระพุทธเจ้านะ สั้นนิดเดียว วันเวลาที่ไม่มีธรรมะแท้ๆนะ ยาวนาน นานๆ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นองค์หนึ่ง เกิดขึ้นองค์หนึ่งแล้วเนี่ย ศาสนาตั้งอยู่ไม่นาน เพราะศาสนาพุทธเนี่ย เป็นศาสนาฝืนโลกฝืนกิเลส ไม่ใช่ตามใจกิเลส ถ้าตามใจกิเลสก็อยู่นาน ฝืนโลกฝืนกิเลสสู้โลกสู้กิเลสไม่ได้แล้ว คนใจมันท้อถอยนะธรรมะก็หายไป ทิ้งธรรมะเอากิเลสแทน อย่างธรรมะง่ายๆ ทำสมาธิแล้วมีความสุขเนี่ย ไม่มีพระพุทธเจ้าเค้าก็ทำกัน เพราะว่ามันตามใจกิเลส ทำแล้วมีความสุข หรือไหว้พระเจ้าไหว้เทวดา ให้เทวดาให้พระเจ้าช่วย อย่างนี้มันตามกิเลสนะ เราไม่ค่อยชอบช่วยตัวเองแต่ชอบให้คนอื่นช่วยนะ ให้คนอื่นช่วยมันสบายดีตามใจกิเลสแล้ว ไม่คิดจะมีวิริยะอุตสาหะอะไรที่ดีเลย ธรรมะแบบนี้เค้าอยู่นาน ธรรมะช่วยตัวเองอยู่ยาก ธรรมะที่ต้องใช้สติใช้สมาธิใช้ปัญญาอยู่ยากมากเลย งั้นเมื่อเราได้ยินได้ฟังแล้ว อย่าเสียโอกาสนะ รีบภาวนา ไม่งั้นวันข้างหน้านะไปเกิดต่อไป ไม่มีธรระจะลำบาก

พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ทางพ้นทุกข์ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถอดเทปและจัดอักษร โดย เจนจิรา นวมงคลกุล และ กวี บุญดีสกุลโชค ขอความสุขความเจริญจงมีแก่สาธุชนทุกๆ ท่าน วันนี้เป็นโอกาสอันเป็นมงคล มงคลในศาสนาพุทธนะ ไม่ใช่มงคลมั่วๆซั่วๆ ท่านกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า อะไรบ้างที่เป็นมงคล อย่างเวลาเรามาเจอกันนี้มีมงคลหลายข้อ อันแรกเลยได้เห็นสมณะ ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรม มงคลสำคัญนี่ก็คือฟังธรรม ฟังธรรมแล้วต้องเอาไปปฏิบัติให้ได้ เมื่อกี๊หลวงพ่อ56+546+อยู่ห้องข้างๆได้ยิน มีท่านโฆษกบอกว่า พวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง ทางนี้ตั้งหัวข้อให้หลวงพ่อเทศน์ “ทางพ้นทุกข์ ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูก” รู้สึกว่าหลวงพ่อจะเริ่มจาก ฮ.นกฮูกมาหา ก.ไก่ แล้วละนะ (คนฟังฮา) เอา ฮ นกฮูก ก่อนก็แล้วกันนะ .....คือเราเป็นคนรุ่นใหม่ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร เราต้องรู้ชัด ถ้าเราจะไปสู่นิพพาน อย่างน้อยชาตินี้เป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว วันหนึ่งข้างหน้ายังไงก็ต้องเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันไม่ยากเกินไป เราต้องมาดูคุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนนะ พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์

ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะทางพ้นทุกข์ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถอดเทปและจัดอักษร โดย เจนจิรา นวมงคลกุล และ กวี บุญดีสกุลโชค ขอความสุขความเจริญจงมีแก่สาธุชนทุกๆ ท่าน วันนี้เป็นโอกาสอันเป็นมงคล มงคลในศาสนาพุทธนะ ไม่ใช่มงคลมั่วๆซั่วๆ ท่านกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า อะไรบ้างที่เป็นมงคล อย่างเวลาเรามาเจอกันนี้มีมงคลหลายข้อ อันแรกเลยได้เห็นสมณะ ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรม มงคลสำคัญนี่ก็คือฟังธรรม ฟังธรรมแล้วต้องเอาไปปฏิบัติให้ได้ เมื่อกี๊หลวงพ่อ56+546+อยู่ห้องข้างๆได้ยิน มีท่านโฆษกบอกว่า พวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง ทางนี้ตั้งหัวข้อให้หลวงพ่อเทศน์ “ทางพ้นทุกข์ ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูก” รู้สึกว่าหลวงพ่อจะเริ่มจาก ฮ.นกฮูกมาหา ก.ไก่ แล้วละนะ (คนฟังฮา) เอา ฮ นกฮูก ก่อนก็แล้วกันนะ .....คือเราเป็นคนรุ่นใหม่ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร เราต้องรู้ชัด ถ้าเราจะไปสู่นิพพาน อย่างน้อยชาตินี้เป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว วันหนึ่งข้างหน้ายังไงก็ต้องเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันไม่ยากเกินไป เราต้องมาดูคุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนนะ พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์

จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา ที่เรียกว่ากามาวจรจิต...ทางพ้นทุกข์ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถอดเทปและจัดอักษร โดย เจนจิรา นวมงคลกุล และ กวี บุญดีสกุลโชค ขอความสุขความเจริญจงมีแก่สาธุชนทุกๆ ท่าน วันนี้เป็นโอกาสอันเป็นมงคล มงคลในศาสนาพุทธนะ ไม่ใช่มงคลมั่วๆซั่วๆ ท่านกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า อะไรบ้างที่เป็นมงคล อย่างเวลาเรามาเจอกันนี้มีมงคลหลายข้อ อันแรกเลยได้เห็นสมณะ ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรม มงคลสำคัญนี่ก็คือฟังธรรม ฟังธรรมแล้วต้องเอาไปปฏิบัติให้ได้ เมื่อกี๊หลวงพ่อ56+546+อยู่ห้องข้างๆได้ยิน มีท่านโฆษกบอกว่า พวกเราต้องตั้งเป้าหมายนะ เราต้องได้ธรรมะในชีวิตนี้ เราอย่าไปวาดภาพว่า มรรคผลนิพพานนี้เป็นของที่ไกลเกินตัว มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี มรรคผลนิพพานจริงๆอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นิพพานเนี่ยไม่เคยหายไปไหนเลย แต่มรรคผลเนี่ยต้องทำให้เกิด ต้องพัฒนาใจจนวันหนึ่งเกิด ส่วนนิพพานนะไม่ต้องเกิด นิพพานมันเกิดอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง ทางนี้ตั้งหัวข้อให้หลวงพ่อเทศน์ “ทางพ้นทุกข์ ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูก” รู้สึกว่าหลวงพ่อจะเริ่มจาก ฮ.นกฮูกมาหา ก.ไก่ แล้วละนะ (คนฟังฮา) เอา ฮ นกฮูก ก่อนก็แล้วกันนะ .....คือเราเป็นคนรุ่นใหม่ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร เราต้องรู้ชัด ถ้าเราจะไปสู่นิพพาน อย่างน้อยชาตินี้เป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว วันหนึ่งข้างหน้ายังไงก็ต้องเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันไม่ยากเกินไป เราต้องมาดูคุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนนะ พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา ที่เรียกว่ากามาวจรจิต...เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

ที่สุดแห่งทุกข์เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

ฟังเพลงบรรลุธรรมพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงก...

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว 

เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย 
พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด 
เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป 
จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน 
มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน 
เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"
เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก 
ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป 
คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง 
เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว 
เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล 
ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา 
มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง 
เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด
ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น 
ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน 
ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด
ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด
ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) 
จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน
เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด
"พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

เมื่อใดที่ท่านมีความทุกข์ ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่าพุทธังสะระณัง คัจฉามิสมาธิไม่ใช่เรื่องยากอะไร จิตมันฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นฟุ้งไปในอารมณ์นี้ ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านจะดับโดยอัตโนมัติ มันมีกฎของธรรมะข้อนึงก็คือ กิเลสกับกุศลเนี่ยจะไม่เกิดร่วมกัน สติเป็นตัวกุศลนะ เพราะนั้นถ้าเมื่อไหร่เรามีสติอยู่ จิตฟุ้งซ่านเรามีสติรู้ทันปั๊บ จิตสงบอัตโนมัติ งั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้สงบเนี่ยไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีแล้วมันก็ยาก เช่นเราอุตสาห์ไปนั่งสมาธินะ นั่งกันเป็นวันๆพุทโธไปหายใจไป ฝึกกันแรมปีนะกว่าจะค่อยๆสงบได้บ้าง บางทีสงบมากๆไปอีกซึมไปเลย ออกจากสมาธิมานะใจก็ซึมๆเซื่องๆ หรือเวลาอยู่ในสมาธิมีความสุขมาก ออกมากระทบอารมณ์ข้างนอกนะ ใจทนไม่ไหว มันคล้ายๆเรามีชีวิตอยู่แต่ในห้องปลอดเชื้อ พอออกมาสู่อากาศข้างนอกโดนเชื้อโรคแป๊บเดียวตายเลย เวลาติดอยู่ในสมาธินะใจสงบสบายมีความสุขนึกว่าไม่มีกิเลส พอออกมากระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเท่านั้น กิเลสระเบิดเปรี้ยงปร้างเลย งั้นสมาธิอย่างนั้นไม่ค่อยได้เรื่องอะไรหรอก เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ...สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำล­­ัง ของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมา ให้เรารู้สึก­­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

วัดเวฬุวัน อินเดียในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล.....

เด็กอินเดียร้องบทสวดมนต์ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรชาย 7 คน ขณะกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่ง กำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงนางไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลง ฟังแล้วชวนให้พิจารณาอย่างยิ่ง "สรีระนี้ อาศัยหนัง มีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ ถึงความเป็นอามิส คือ เหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้ เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้!!!" ๐ สิ้นเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง 7 บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที!!!..... บรรลุพระโสดาบัน เพราะหมั่นร้องเพลง ๐ พระยานาคเอรกปัตตะ อยากรู้ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือยัง? จึงได้แต่งเพลงให้"มาณวิกา"ลูกสาวนั้น ยืนร้องเพลงบนพังพานของตน.... ใครสามารถแต่งเพลงแก้ได้ จะได้ธิดาแลนาคพิภพ ชายทั่วแคว้นแดนใด ต่างไปต่างปราชัย นับวันยิ่งนานไป ยังไม่มีผู้ใด สามารถอาจหาญ ณ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรวจอุปนิสัยสัตว์โลกใด ใครจะบรรลุธรรม? นาม"อุตตระ"ปรากฎพลัน!!! ๐ บ่ายวันนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใกล้ทาง ไปร้องเพลงแก้กับลูกสาวพระยานาค เนื้อหาของเพลง มาณวิกา-"ผู้เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา?" อุตตระมานพ-"ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา" มาณวิกา-"เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?" อุตตระมานพ-พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร" มาณวิกา-"แบบไหนจึงได้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?" อุตตระมานพ-"ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่า ปราศจากธุลี" พระศาสดาตรัสกับอุตตระมานพว่า เมื่อเธอขับเพลงนี้ นางจักขับเพลงขับแก้เพลงขับของเธออย่างนี้ มาณวิกา-"คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" อุตตระมานพ-"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ๐ มาณวิกา-"อย่างไรจึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ?" อุตตระมานพ-"บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร" มาณวิกา-"ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา" อุตตระมานพ-"บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ" สิ้นเสียงเพลง พระยานาคก็ทราบทันที จึงแปลงร่างเป็นคน แล้วไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก" จบเทศนา เหล่าสัตว์ 8 หมื่น 4 พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วฝ่ายนาคราช ควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น.....แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.... นาคราชนั้น ถึงภาวะ คือ ความไม่ลำบากในฐานะทั้ง 5 กล่าวคือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ....แล้วลำบากอยู่ย่อมได้ เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมานพนั่นแล ดังนี้แล.....

สุดท้ายมันก็ถึงบ้านเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ เนี่ยจาก ฮ นกฮูก ไปหา ก ไก่ จาก ก ไก่ กลับมา ฮ นกฮูกล่ะ เราจะเรียนได้แค่ไหน ป ปลาได้มั้ย หึๆๆ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก

สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เองเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ เนี่ยจาก ฮ นกฮูก ไปหา ก ไก่ จาก ก ไก่ กลับมา ฮ นกฮูกล่ะ เราจะเรียนได้แค่ไหน ป ปลาได้มั้ย หึๆๆ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก

ข้ามภพไปเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ เนี่ยจาก ฮ นกฮูก ไปหา ก ไก่ จาก ก ไก่ กลับมา ฮ นกฮูกล่ะ เราจะเรียนได้แค่ไหน ป ปลาได้มั้ย หึๆๆ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก

ข้ามภพไปเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ เนี่ยจาก ฮ นกฮูก ไปหา ก ไก่ จาก ก ไก่ กลับมา ฮ นกฮูกล่ะ เราจะเรียนได้แค่ไหน ป ปลาได้มั้ย หึๆๆ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก

ทางแห่งความหลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

วิมุตติ ความหลุดพ้น ทางที่เดินไปถึงนิพพาน ทางสายนี้เรียบง่ายเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

รู้แจ้งอริยสัจคือบรรลุนิพพานเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

รู้ทันจิต การค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเองเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

รู้ทันจิต การค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเองเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

ทางสายเดียวที่ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

จุดสุดท้ายเลยที่จะละอวิชชา คือการเห็นว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ นั่นแหละ อวิชช...เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้วจะ..รักษาจิตได้ เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป..เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้วจะ..รักษาจิตได้ เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ.. สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป..เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ

สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์เราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว

สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์เราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว

ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัยพอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ และปล่อยวางความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้น เป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนา ขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน กายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆถ้าภาวนา ได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิ­ตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว มันมีคำสองคำนะ คำว่า “ตื่น” กับคำว่า “รู้” ไม่ใช่คำเดียวกัน ตื่นเฉยๆแต่ไม่รู้ก็มี รู้แบบไม่ตื่นก็มี ... จะพูดอยู่เรื่อยๆเลยว่าในโลกมันไม่มีคนตื่นน่ะ หาคนตื่นเนี่ยนับตัวได้เลย หายากจริงๆ มีแต่คนหลับคนฝัน ตื่นเฉพาะร่างกายแต่จิตหลับ จิตไม่เคยตื่น .ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่­างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไป อยู่ในโลกของความคิดน­ั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะ มันปรุง ไม่เล­ิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป

ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัยพอเห็นความจริงได้ ละความเห็นผิดว่า กายกับใจเป็นเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ และปล่อยวางความยึดถือกายได้ ก็ได้พระอนาคามี ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้น เป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนา ขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน กายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆถ้าภาวนา ได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิ­ตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว มันมีคำสองคำนะ คำว่า “ตื่น” กับคำว่า “รู้” ไม่ใช่คำเดียวกัน ตื่นเฉยๆแต่ไม่รู้ก็มี รู้แบบไม่ตื่นก็มี ... จะพูดอยู่เรื่อยๆเลยว่าในโลกมันไม่มีคนตื่นน่ะ หาคนตื่นเนี่ยนับตัวได้เลย หายากจริงๆ มีแต่คนหลับคนฝัน ตื่นเฉพาะร่างกายแต่จิตหลับ จิตไม่เคยตื่น .ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่­างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไป อยู่ในโลกของความคิดน­ั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะ มันปรุง ไม่เล­ิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป

คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดีหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญานสังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราวมีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาเป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบเป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติเป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญาเป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ยเราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญาก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิกพวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะวันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพานหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญานสังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราวมีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาเป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบเป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติเป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญาเป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ยเราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญาก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิกพวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะวันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ“การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์” ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้ “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุล แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล” เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้ “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล” บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น” บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้” สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้” ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้ “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร” “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร” จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

เพชรน้ำเอกในคำสอนของพระตถาคตเจ้า“การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์” ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้ “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุล แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล” เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้ “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล” บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น” บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้” สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้” ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้ “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร” “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร” จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Make an Arduino Temperature Sensor (Thermistor Tutorial)

มโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้าดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วม หมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่ กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโต- *วิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิด โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็น อย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ [๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ ทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ ฯ (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ฯ (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิต ยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อม ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง ภายในนั้นได้ ฯ ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อม แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อม เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ [๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อม ใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของ ชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่อง ชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสี ในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของ ของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่อง สมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็น อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อม ใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการ นี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ [๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้ ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ [๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็น ผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ รู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจาก ข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตาม ศาสดา ฯ ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มี- *พระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่ การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อ ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณ-

วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มงคลสูตร ภาษาเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

คัมภีร์สูงสุดภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย

คัมภีร์สูงสุดภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย

อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะจะเกิดอยู่ตรงนั้นไปล้างกันต...อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไรจะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้วก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวางพอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่งพอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอกไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพานธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออกมันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพานตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชนเพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตรเรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะมีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออกก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลยมันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลยจากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะงั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะมันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเองพวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไปเปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิมโดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะจะเกิดอยู่ตรงนั้นไปล้างกันต...อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิตปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไรไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไรจะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเองถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้วก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวางพอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่งพอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอกไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพานธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออกมันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพานตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชนเพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตรเรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะมีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออกก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลยมันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลยจากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะงั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะมันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเองพวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไปเปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิมโดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จิตหมดแรงดิ้นกามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ ชาตรี จันเกตุ ชาตรี จันเกตุ1 เดือนที่ผ่านมา

จิตหมดแรงดิ้นกามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ ชาตรี จันเกตุ ชาตรี จันเกตุ1 เดือนที่ผ่านมา

บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง



บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

บางคนก็สองชาติเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดีถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

Buddan Saranan Gachchami พุทธัง สะระณัง คัจฉามิเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป หลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน

จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แ...

เราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่  เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย  จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้  คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง   เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน   เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง  เราก็ไม่คิดที่จะกลับ  นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ  ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา    ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ  คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ  ไม่ใช่ง่ายๆนะ  สอนให้คนละกิเลส  ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา  พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ  ใจมันอย่างนี้   มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน  ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี    คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย   แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น  ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ  7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน  บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย  หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง  แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้  พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา  นั้นแหละ นะ  เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป  พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง

 เทศเยอะไปละ พวกเรา  เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก  สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป   ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ  เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก  อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป

จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แเราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง เทศเยอะไปละ พวกเรา เริ่ม ตา แป๊ว แป๊ว แล้ว ยากไป ฟังไว้ก่อนนะ แล้วก็ขยันภาวนา ทำให้ถูก สิ่งที่ผิดมี 2 อันเองไม่ตึงไป ก็หย่อนไป ตึงไปก็เพราะโลภ หย่อนไปเพราะขี้เกียจ เพราะหลงโลก ตึงไปก็เพราะโลภมาก อยากดี อยากพ้นทุกข์ก็แค่นี้แหละ ถ้ารู้เท่าทันจิตใจ ตอนนี้ตึงไป รู้ทัน ตอนนี้หย่อนไป รู้ทัน มันก็เข้าทางสายกลาง เมื่อไหร่ไม่ผิดเมื่อนั้นก็ถูก ถ้าถูกแล้วมันก็เดินของมันไปเรื่อยๆ นะ แต่ละวัน บางช่วงก็เจริญบางช่วงก็เสื่อม แต่ภาพรวมแล้ว เราจะเติบโตขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งมันมีกำลัง ข้ามภพไป...

เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะเรื่องผู้สละโลกนี้ เป็นประวัติของพระสาวกบางท่านซึ่งได้สละ ความสุขอย่างโลกๆ มาแสวงหาความสุขทางธรรม และท่านก็ได้พบ ความสุขนั้นสมใจหมาย อันที่จริง ท่านเหล่านี้มีพระสารีบุตร เป็นต้น พิจารณาตาม ประวัติแล้ว มีโอกาสเป็นอันมากในการที่จะเสวยความสุขทางโลก อย่างที่ชาวโลกมุ่งมอง ปักใจใฝ่ฝัน และแสวงหาอย่างชนิดที่เรียกว่า “ทุ่มชีวิตลงไปทั้งชีวิต” แต่ท่านเหล่านั้นกลับสละทิ้งอย่างไม่ใยดี ไปมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีความวุ่นวายกังวล บางท่านเป็นถึง พระราชาครองแคว้น เช่น พระมหากัปปินะ เมื่อได้ตัดสินพระทัย สละโลกมาอยู่ภายใต้ร่มธงแห่งธรรมแล้ว ทรงเปล่งอุทานอยู่เสมอๆ ว่า “สุขจริงหนอๆ” ทั้งนี้เพราะความสุขทางธรรม - สุขอันเกิดจาก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลนั้น เป็นความสุขที่ประณีต ชุ่มเย็นในดวงจิต เหนือความสุขทางโลกียารมณ์อันเจือด้วยความ กระหาย เร่าร้อนกระวนกระวายและทุกข์ รายละเอียดเกี่ยวกับ ข้อความทำนองนี้มีอยู่แล้วดาษดื่นในหนังสือเล่มนี้ ในศาสนานี้ ท่านผู้สละโลกเพื่อโลกเป็นพระองค์แรกก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมองเห็นว่า การหมกมุ่นอยู่ในโลกนั้น เป็นการยากที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ เหมือนคนไข้รักษา คนไข้ด้วยกัน จะทำได้สักเท่าใด แต่เมื่อจิตใจพ้นจากโลกแล้ว การ หลั่งประโยชน์แก่โลกย่อมทำได้เต็มที่ และมีผลยั่งยืนแก่โลกนั้น แสดงน้อยลง ตอบกลับ 1 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว) คำว่าโลก ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ มิได้หมายถึงโอกาสโลก แต่ หมายถึง กามโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อัน ยั่วยวนใจเป็นบ่วงบาศคล้องใจสัตว์ให้จมอยู่ หมกมุ่นพัวพัน ลุ่มหลง อยู่ในกามโลกนั้น บางทีพระพุทธองค์ทรงเรียกสิ่งนี้ว่า ตะปูตรึงใจ (เจโตขีละ) นอกจากสิ่งเร้าภายนอกคือกามคุณ ๕ ดังกล่าวแล้วยังมี แรงกระตุ้นภายใน คือ กิเลส เช่น ความกำหนัด เพราะความดำริถึง (สังกัปปราคะ) ความปักใจใฝ่ฝันใคร่ได้ใคร่มีชุ่มอยู่ในดวงจิตเหมือน เชื้อเพลิงอย่างดีชุ่มอยู่ด้วยน้ำมัน พอไฟคือสิ่งเร้าภายนอกมากระทบ ก็พลันลุกไหม้เผาทั้งน้ำมันและเชื้อเพลิงนั้น  แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา ูรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อันยั่วยวนใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “โลกามิส- เหยื่อของโลก”ผู้ไม่กำหนดรู้โทษของเหยื่อเหล่านี้ เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างตะกละตะกลามลุ่มหลง ผูกพันย่อมถูกเบ็ด คือ ความทุกข์เกี่ยวเอาจนไม่อาจดิ้นให้หลุดเพื่ออิสรภาพของตนได้ ต่อแต่นั้นก็หยั่งลงสู่ทุกข์ (ทุกฺโขติณฺณา) มีทุกข์ ดักอยู่เบื้องหน้า (ทุกฺขปเรตา) คร่ำครวญอยู่ว่าทำอย่างไรหนอเรา จักพ้นทุกข์นี้ได้ ผู้สละโลกคือท่านผู้สละเหยื่อของโลก ไม่ติดเหยื่อของโลก เป็นผู้อันโลกจะครอบงำย่ำยีมิได้ย่อมเที่ยวไปในโลกได้อย่างเสรี เหมือนเนื้อที่ไม่ติดบ่วงของพรานไพร แม้บางคราวจะเกี่ยวข้องอยู่ด้วย บ่วง นอนทับกองบ่วงอยู่ แต่บ่วงก็หาทำอันตรายแต่ประการใดไม่ ดังพระพุทธวจนะอันลึกซึ้งจับใจที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เนื้อป่าที่ติดบ่วงแล้ว นอนทับบ่วงอยู่ย่อมถึง ความเสื่อมความพินาศ หนีไปไม่ได้ตามปรารถนา ถูกพรานเนื้อ กระทำเอาได้ตามต้องการฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ยังใฝ่ฝันลุ่มหลง ติดพัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามคุณ ๕ โดย ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดตนออก แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา ส่วนสมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามคุณ ๕ โดยเห็นโทษมีปัญญา เครื่องสลัดตนออก สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่ถึงความเสื่อม ความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำเอาได้ตามต้องการ เหมือน เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง แม้จะนอนทับกองบ่วงอยู่ก็ย่อมไม่ถึงความเสื่อม ความพินาศ เมื่อพรานเดินเข้ามาก็หนีไปได้ตามปรารถนาไม่ถูก พรานทำเอาได้ตามต้องการ” (ปาสราสิสูตร ๑๒/๓๒๘) พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์โลกผูกพันอยู่ในความหลง ตกอยู่ ในความมืด มีน้อยคนที่จะเห็นแจ้งตามเป็นจริง เพราะฉะนั้นจึง มีน้อยคนที่ไปสวรรค์ เหมือนนกที่ติดข่ายของนายพรานแล้ว น้อยตัว ที่จะพ้นไปได้” โลกียมหาชนนั่นเอง ตกอยู่ในความมืด เป็นผู้บอดเพราะไม่มี ปัญญาจักษุ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นผู้ใจบอด ไม่อาจมองเห็น สัจจะแห่งโลกได้ เขามีแต่ตาเนื้อสำหรับเห็นรูปต่างๆ อันยั่วยวนให้ หลงใหลหรือให้หลงรัก หลงชัง แล้วดิ่งลงไปในนรก คนไปสวรรค์ เหมือนเขาโค ส่วนคนไปนรกเหมือนขนโค คนทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครพ้นได้ ความตายของ ปุถุชนมีคติไม่แน่นอน บางชาติตกนรก บางชาติไปสวรรค์ บางชาติ เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน บางชาติเป็นเปรต เป็นอสูรกาย สุดแล้วแต่ กรรม น่าหวาดเสียว น่ากลัว ความทุกข์ในกำเนิดดิรัจฉาน เช่น สุนัข เป็นต้น ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร !  แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว) แม้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็น่ากลัวอยู่นั่นเอง เพราะมนุษย์ มีหลายประเภท หลายสภาพ บางคนพิกลพิการ อดอยาก เจ็บกาย เจ็บใจ อยู่ตลอดชีวิต แม้คนที่มั่งมีและมีอวัยวะสมบูรณ์ก็ยังถูกกิเลส เผาให้เร่าร้อนอยู่เป็นประจำ ความต้องการออกจากโลกเป็นโลกุตตรชนนั้น เป็นทรรศนะ และอุดมคติของนักปราชญ์ ทั้งนี้เพราะได้มองเห็นด้วยปัญญา อันชอบว่า โลกนี้ไม่มีอะไรควรยึดมั่น สิ่งใดที่บุคคลเข้าไปยึดมั่น สิ่งนั้นก่อให้เกิดทุกข์เสียทุกครั้งไป ความสุขก็เล็กน้อยไม่พอกับ ความทุกข์ที่กระหน่ำอยู่ทุกเวลามิได้เว้น โลกนี้มีความทรุดโทรม แวดล้อมอยู่ด้วยทุกข์รอบด้าน มี ปัญหามาก พร่องอยู่เป็นนิตย์ มีความขัดข้องที่จะต้องแก้ไขอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นกัลยาณมิตรของท่าน ผู้ต้องการสละโลก (แม้จะยังสละไม่ได้ก็ตาม) และแม้ท่านผู้ยัง ต้องการอยู่ในโลกอย่างไม่เป็นทาสของโลกหรืออยู่อย่างมีทุกข์น้อย ที่สุด 

ธรรมะ 62 อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนา

ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าเมื่อไหร่จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริง เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย …. ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ การปฏิบัตินะต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ต้องเห็นนะไม่ใช่คิด ต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไม่ใช่คิดเรื่องรูปนาม การคิดเรื่องรูปนามว่าเป็นไตรลักษณ์ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ในโสฬสญาณที่พูดถึงเมื่อกี้ ญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ แยกรูปแยกนาม ญาณที่ ๒ ชื่อปัจจัยปริคคหญาณ ดูว่ารูปนามแต่ละตัวๆมีเหตุถึงจะเกิด รู้เหตุเกิดของมัน ไม่มีอะไรที่เกิดลอยๆ ทุกอย่างมีเหตุถึงจะเกิด ถัดมาเป็นญาณที่ ๓ ชื่อสัมมสนญาณ จะเห็นเลยว่ารูปนามทั้งหลายเกิดแล้วดับทั้งสิ้น รูปนามทั้งหลายตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ แต่เป็นการเห็นด้วยการคิดเปรียบเทียบเอา ยังไม่ได้เห็นความเกิดดับต่อหน้าต่อตา เพราะงั้นอย่างการคิดเรื่องไตรลักษณ์ของรูปนาม ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน ในโสฬสญาณนี่อยู่ในญาณที่ ๓ นะ อย่างเป็นต้นว่าเราส่องกระจกนะ เห็นตีนกาขึ้น ใจก็สลดสังเวชนะ ร่างกายนี้ไม่เที่ยงนะ ปีกลายตีนกายังไม่ขึ้น ปีนี้ตีนกาขึ้นแล้ว ปีหน้าคงเป็นตีนวัวตีนควายอะไรอย่างนี้ ไม่เที่ยง ร่างกายนี้ไม่เที่ยง อย่างนี้ยังไม่ใช่วิปัสสนา ยังเจือด้วยการคิดอยู่ การเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเรียกว่าสัมมสนญาณ ขึ้นญาณที่ ๔ ชื่ออุทยัพพยญาณ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) อันนี้เป็นการเห็นความเกิดดับจริงๆ อันนี้ขึ้นวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนาญาณขึ้นจากโสฬสญาณ ญาณที่ ๔ นะ แล้วก็ไล่ไปเก้าอัน วิปัสสนาไล่ขึ้นไปเรื่อย ถึงสังขารุเบกขาญาณวิปัสสนาสูงสุดแล้ว สังขารุเบกขาญาณคือจิตมันเห็นความจริงจนกระทั่งมันเป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งปวง เห็นเลยสุขกับทุกข์นั้นเท่าเทียมกัน เพราะว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน กุศล อกุศล ทั้งหลายเท่าเทียมกัน ด้วยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน จิตยอมรับความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเสมอกันหมด ใจที่ภาวนามาถึงจุดนี้จะรู้สึกโลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง เสมอกันไปหมดเลย ดูไปนี่นะใจมันไม่กระเพื่อมขึ้นมานะ ชอบคนนี้เกลียดคนนี้ไม่มีเลย ตัวนั้นน่ะใจเข้าไปสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา ถัดจากนั้นกระบวนการเกิดอริยมรรคถึงจะเกิดขึ้น ก็จะมีตั้งแต่อนุโลมญาณ(สัจจานุโลมิกญาณ) โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ ในกระบวนการที่เกิดอริยมรรคก็มีตั้งแต่ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ เนี่ยอยู่ในกระบวนการที่จะเกิดอริยมรรค กระบวนการนี้จบแล้วยังจะเกิดญาณตัวที่สิบหก ปัจจเวกขณญาณ ทวนเข้าไปพิจารณาว่าตอนที่เกิดอริยมรรคนั้นล้างกิเลสอะไรไปบ้าง กิเลสอะไรยังไม่ล้าง จะทวนเข้าไปดู ก็รู้ว่างานยังไม่เสร็จ ถ้างานเสร็จแล้ว ก็ทวนเข้าไปดูเห็นความเสร็จแล้ว จิตจะไปพิจารณานิพพานได้แล้ว ไปทำความรู้แจ้งในตัวนิโรธ