วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จากลมหายใจสู่ความหลุดพ้นเรายึดถือจิตใจเหนียวแน่นกว่าเรายึดถือร่างกาย เวลาเราภาวนาเนี่ยจะปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ก่อนการปล่อยวางความยึดถือในจิตใจ ปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ ภูมิธรรมของพระอนาคานาเนี่ยปล่อยแล้ว แต่ปล่อยความยึดถือในจิตใจต้องพระอรหันต์ถึงจะปล่อยได้ พวกเรายังไม่ปล่อยแต่ว่าก็เดินในร่องรอยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกัน ค่อยๆฝึกค่อยๆดำเนินไปนะวันละเล็กวันละน้อย ไม่ต้องรีบร้อนหรอกที่จะบรรลุเร็วๆ แต่ว่าปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่ารีบร้อนที่จะให้ได้ผล อย่าลุกลี้ลุกลน ปฏิบัติลุกลี้ลุกลนไม่ได้กินหรอก แต่ว่าปฏิบัติแบบย่อหย่อนก็ไม่ได้กินเหมือนกัน งั้นเราขยันดูนะ ดูบ่อยๆดูเนืองๆ แต่ไม่ได้ดูด้วยหวังผลว่าจะได้อะไร ดูไปจนวันหนึ่งมันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้มันจะเข้าใจความเป็นจริงของโลกด้วย ทั้งกายกับใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในโลกนี้จะมีอะไรที่น่ายึดถือ คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น