วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ดูก่อนสุทัตตะ สังสารวัฏฏ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดใดนั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจและความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำบนกองกระดูกนอนอยู่บนองกระดูก นั่งอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น”

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เรามาฝึกพัฒนาสติมาฝึกพัฒนา สมาธ­ิ ให้จิตตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่ เป็­นกลางเรื่อยไป ปัญญาจะเกิด เมื่อปัญญาแก่รอบแล้ว จิตเค้าจะบรรลุมรรคผลนิพพานของเ­ค้าเอง เค้าเป็นเอง ไม่ใช่กูเก่งกูสั่งจิตให้บรรลุม­รรคผลได้ ไม่มีใครทำได้ หน้าที่ก็คือเปิดโอกาสให้จิตได้­เรียนรู้ความจริงของรูปนาม ด้วยการมีสติ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม ตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ต้อง­รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นรู้ด้วยจิ­ตที่เป็นกลาง จับหลักให้แม่นแล้วจะไม่พล­าด

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า “ภิกษุทั้งหลาย ! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆแต่แก้ได้ยากคือ บุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดรึงตรึงใจบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี”

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าพุทธังสรนังคัจฉามิ ธัมมังสรนังคัจฉามิ สังฆัง สรนังคัจฉามิ.....คำสอนของพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า เราสามารถทำกรรมดีในปัจจุบันเพื่อล้างบาปกรรมในอดีตได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนอดีตได้ ด้วยเหตุนี้ คนเคยทำบาปก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกรรมดีในปัจจุบัน

นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายประดุจกำแกลบสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคและท่านพระสารีบุตร ท่านพระ อุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน ใกล้เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียง แล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้แล ประดุจกำแกลบ เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ อุปเสนะว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระ อุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไป ภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราย ณ ที่นี้ ประดุจกำแกลบเล่า ท่านพระอุปเสนะ กล่าวว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือ จักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ดูกรท่านพระสารีบุตร เรา มิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ที่ภูเขา หิมพานต์ อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินซึ่งมีโอสถทุกชนิด ดาดาษไปด้วยดอกไม้และของหอมมากมาย หลายพันธุ์ เป็นที่สัญจรไปมาแห่งช้าง โค กระบือ กวางทอง จามรี เนื้อฟาน แรด ระมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาค ชะมด เสือปลา กระต่าย และ วัวกระทิง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่ช้างใหญ่ ช้างตระกูลอันประเสริฐ เกลื่อนกล่นอยู่ทั่วปริมณฑล อันราบเรียบ มีค่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อสมัน เนื้อฟาน ม้า และลา กินนร ยักษ์ และรากษส อยู่อาศัย ดาดาษไปด้วยหมู่ไม้นับไม่ถ้วน ทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้าน มีดอกบานตลอดปลาย มี นกเขา นกโพระโดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขก เต้า และนกการะเวก ส่งเสียงร้องกึกก้องไพเราะ เป็นประเทศที่ประดับไปด้วยแร่ธาตุหลายร้อย ชนิดเป็นต้นว่า อัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงินและทองคำ เป็นไพรสัณฑ์อัน น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าชื่อกุณาละ มีตัว ปีกและขนงดงามยิ่งนัก อาศัยอยู่ และนก ดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นนางบำเรอประมาณ ๓๕๐๐ ตัว นางนกดุเหว่าสองตัวเอา ปากคาบท่อนไม้ให้นกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น จับตรงกลางแล้วพากันบินไป ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่ากุณาละนั้น อย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัว บิน ไปเบื้องต่ำด้วยความประสงค์ว่า ถ้านกกุณาละนี้จะตกจากคอน พวกเราจะเอาปีกรับไว้ นางนก ดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แดดอย่าได้ส่งถูกนกกุณาละเลย นาง นกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลม หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกนกกุณาละนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไป ข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำ การงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกกุณาละนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน กระบอง ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย นกกุณาละนี้อย่าได้กระทบด้วยกอไม้ เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือพวกนกที่มีกำลังกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัวบินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำอัน เกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้เงียบเหงาอยู่ บนคอนนี้เลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพานกกุณาละนั้นจากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จากสวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จาก สวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จาก สวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ยินดี นกกุณาละอัน นางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกๆ วันอย่างนี้ ยังรุกรานอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อย ละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม. [๒๙๗] ดูกรท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ด้านทิศบูรพาแห่งขุนเขาหิมพานต์มีแม่น้ำอันไหล มาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุม มีสีเขียว ณ ภูเขาหิมพานต์อันเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจ ด้วยกลิ่นหอม อันเกิดเดี๋ยวนั้น จากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกบัวขม ดอกบัวผัน ดอกจงกลณี และดอกบัวเผื่อน เป็นป่าทึบมากไปด้วยไม้ต่างๆ ชนิด คือ ไม้โกฏดำ ไม้จิก ไม้เกต ไม้ยางทราย ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นหมากหอม ต้นประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นสาละ ต้นสน ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นกากะทิง ต้นหงอนไก่ ต้นราชดัด ต้นโลทนง และต้นจันทน์ เป็นราวป่าที่สล้างไปด้วยต้นกฤษณาดำ ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโร และต้นกล้วย ทรงไว้ ซึ่งต้นรกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นปรู ต้นทราก ต้นกัณณิการ์ ต้นชะบา ต้นว่านหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกและต้นขานางอันงามยิ่งนัก และมีไม้ดอก สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยดาดาษไปด้วยดอกมะลิ ว่านเปราะหอม ต้นคนธา ต้นกำยาน ต้นแฝก หอม ต้นกระเบา และไม้กอ เป็นประเทศอันประดับไปด้วยลดาวัลย์ดาดาษยิ่งนัก มีหมู่หงส์ นก นางนวล นกกาน้ำ และนกเป็ดน้ำ ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่สถิตอยู่แห่งหมู่ฤาษีสิทธิ์วิทยาธร สมณะ และดาบส เป็นประเทศที่ท่องเที่ยวไปแห่งหมู่มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนร และพญานาค เป็นไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ มีถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก มีนัยน์ตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมา อาศัยอยู่ ได้ยินว่า พระยา นกปุณณมุขะนี้ มีนางนกดุเหว่าบำเรอ ๓๕๐ ตัว เล่ากันมาว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัว เอาปากคาบ ท่อนไม้ให้พระยานกปุณณมุขะนั้นจับตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์ว่า พระยานกปุณณ มุขะนั้นอย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐ ตัว บินไปเบื้องต่ำด้วย ความประสงค์ว่า ถ้าพระยานกปุณณมุขะนี้จักพลาดจากคอน พวกเราจักเอาปีกทั้งสองรับไว้ นาง นกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แสงแดดอย่าได้แผดเผานกดุเหว่าขาว ชื่อปุณณมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ธุลี หรือน้ำค้าง อย่าได้ตกต้องนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนั้นเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้นด้วย ท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน ไม้ฆ้อน ศาตรา หรือก้อนกรวดเลย และนกดุเหว่า ขาวชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้กระทบกับกอไม้ เถาวัลย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือกับนก ที่มีกำลังมากกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยวาจาอันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณะมุขะนี้อย่าเงียบเหงา บนคอนเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำเอาผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้น พานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้น จากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จาก สวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวน มะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสัมมะลอนี้ ไปสู่สวนขนุนสัมมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้อง การให้ร่าเริง ได้ยินว่า นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ อันนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกวัน ๆ ย่อมสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีละๆ น้องหญิงทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายบำรุงบำเรอสามีอย่างนี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลธิดา. [๒๙๘] ได้ยินว่า ในกาลต่อมา นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะได้เข้าไปหาพระยานกกุณาละ ถึงที่อยู่ พวกนางนกดุเหว่าบริจาริกาของพระยานกกุณาละ ได้เห็นพระยานกปุณณมุขะนั้นกำลัง บินมาแต่ไกล จึงพากันเข้าไปหา แล้วพูดกะพระยานกปุณณมุขะนั้นว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ พระ ยานกกุณาละนี้ เป็นนกหยาบช้า มีวาจาหยาบคายเหลือเกิน แม้ไฉน พวกเราจะพึงได้วาจาอันน่ารัก เพราะอาศัยท่านบ้าง พระยานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้กระมังน้องหญิงทั้งหลาย แล้ว เข้าไปหาพระยานกกุมาละกล่าวสัมโมทนียกถากับพระยานกกุณาละแล้ว สถิตอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระยานกปุณณมุขะได้กล่าวกะพระยานกกุณาละว่า ดูกรสหายกุณาละ เพราะ เหตุไร ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อนางนกทั้งหลายผู้มีชาติเสมอกัน เป็นลูกของผู้มีสกุล ซึ่งปฏิบัติดีต่อท่าน เล่า ดูกรสหายกุณาละ นางนกทั้งหลายถึงเขาจะไม่พูดไม่ถูกใจ เราก็ควรจะพูดให้ถูกใจ จะป่วย กล่าวไปไยถึงนางนกที่พูดถูกใจเล่า เมื่อพระยานกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระยานกกุณาละ ได้รุกรานพระยานกปุณณมุขะอย่างนี้ว่า แนะสหายลามกชั่วถ่อย เจ้าฉิบหาย เจ้าละลาย ใครจะเป็นผู้ฉลาดด้วยการชนะเมียยิ่งไปกว่าเจ้า ก็แหละพระยานกปุณณมุขะถูกรุกรานอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปเสียจากที่นั้น. [๒๙๙] ได้ยินว่า สมัยต่อมา โดยกาลล่วงไปไม่นานนัก อาพาธอันแรงกล้าเกิดขึ้นแก่ พระยานกปุณณมุขะ คือ ลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็ง จวนจะตาย ครั้งนั้น พวกนางนก ดุเหว่า ผู้เป็นบริจาริกาของพระยานกปุณณมุขะ เกิดความปริวิตกว่า พระยานกปุณณมุขะนี้ อาพาธ หนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธนี้หนอ นางนกดุเหว่าเหล่านั้น ละทิ้งพระยานกปุณณ- *มุขะไว้แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง พากันเข้าไปหาพระยานกกุณาละ พระยานกกุณาละได้เห็นนาง นกดุเหว่าเหล่านั้นพากันมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางนกดุเหว่าเหล่านั้นว่า พวกอีถ่อย ผัวของ เจ้าไปไหนเสียเล่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นจึงตอบว่า ท่านสหายกุณาละ พระยานกปุณณมุขะ อาพาธหนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธหนักนั้น เมื่อนางนกดุเหว่าเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ แล้ว พระยานกกุณาละได้รุกรานนางนกดุเหว่าเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผลอเลอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม ครั้น กล่าวรุกรานแล้ว ได้เข้าไปหาพระยานกปุณณมุขะ แล้วร้องเรียกว่า เฮ้ยสหายปุณณมุขะ พระยานกปุณณมุขะขานรับว่า หาสหายกุณาละ ได้ยินว่า พระยานกกุณาละเข้าไปประคบ ประหงมพระยานกปุณณมุขะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้วให้ดื่มยาต่างๆ อาพาธ ของพระยานกปุณณมุขะก็สงบระงับ. [๓๐๐] ได้ยินว่า พระยานกกุณาละได้กล่าวกะพระยานกปุณณมุขะผู้หายจากไข้ยังไม่ นานนักว่า ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางกัณหาสองพ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิต ปฏิพัทธ์ในบุรุษคนที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ย เหมือนตัวกระพันธ์. และในเรื่องนี้มีคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า ครั้งนั้น นางคนหนึ่งล่วงละเมิดสามี ๕ คน คือ พระเจ้าอัชชุนะ พระเจ้า นกุละ พระเจ้าภีมเสน พระเจ้ายุธิษฐิล และพระเจ้าสหเทพ แล้วได้ กระทำลามกกับบุรุษเปลี้ยแคระ. ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางสมณีชื่อปัญจตปาวี อยู่ในท่ามกลางป่าช้า อดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอันลามกกับนักเลงสุรา ดูกรสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางเทวีนามว่า กากวดี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็นภรรยาของพระยาครุฑชื่อว่า ท้าวเวนไตรย ได้กระทำกรรมอันลามกกับกุเวรผู้เจนจบในการฟ้อน ดูกรสหายปุณณมุขะ เรา เห็นมาแล้ว นางขนงามนามว่า กุรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียกับเอฬกกุมาร ได้กระทำกรรมอัน ลามกกับฉฬังคกุมารเสนาบดี และธนันเตวาสีผู้เป็นคนใช้ของฉฬังคกุมาร เป็นความจริง เราได้ รู้มาอย่างนี้แล พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัตต์ ทรงทอดทิ้งพระเจ้าโกศลราช ได้ทรงกระทำ กรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อปัญจาลจัณฑะ หญิง ๕ คนนี้ก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้วซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย มหาปฐพี อันทรงไว้ซึ่งสรรพสัตว์ ย้อมแล้วเสมอกัน เป็นที่รับรองสิ่งดีและสิ่งชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านี้ ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย กิน เนื้อและเลือดเป็นอาหารมีอาวุธ ๕ อย่าง เป็นสัตว์หยาบช้า ยินดีในการ เบียดเบียนสัตว์อื่น ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกิน ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับหญิงเหล่านั้น. ดูกรปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด ชื่อโดยกำเนิดว่าแพศยา ว่านางงาม ว่าหญิงสัญจร ก็คือเป็น ผู้ฆ่าหญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวกโจร ประทุษร้ายเป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวด เหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือน หลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปโดย ส่วนเดียวเหมือนพระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตาม ปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนโจร ประทุษร้ายเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือนหลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยาก เหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปส่วนเดียวเหมือน พระยายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็นผู้กำสัตว์ไว้ในมือ จนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติในเรือนให้พินาศ. [๓๐๑] ดูกรปุณณมุขะ ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน ภรรยา ไม่ควร ให้อยู่ในสกุลอื่น บัณฑิตไม่พึงรักษาทรัพย์ ๔ อย่างนี้ให้อยู่พลาดจากเรือน. คนฉลาดย่อมไม่ฝากทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยาน พาหนะ ๑ ภรรยา ๑ ไว้ในตระกูลญาติ เพราะว่า คนที่ไม่มียานพาหนะ ย่อมใช้รถที่ฝากไว้ ย่อมฆ่าโคผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็นเกินกำลัง ย่อม ฆ่าลูกโคเพราะรีดนม ภรรยาย่อมประทุษร้ายในตระกูลญาติ. [๓๐๒] ดูกรสหายปุณณมุขะ สิ่งของ ๖ อย่างนี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์อะไร ไม่ได้ คือ ธนูไม่มีสาย ๑ ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรือที่ฝั่งโน้น ๑ ยาน พาหนะที่เพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายลามก ๑ สิ่งของทั้ง ๖ นี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์ไม่ได้. [๓๐๓] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุการ ๘ ประการ คือ เพราะสามีเป็นคนจน ๑ เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะสามีเป็นคนแก่ ๑ เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะสามีเป็นคนโง่ ๑ เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ๑ เพราะคล้อย ตามในกิจทุกอย่าง ๑ เพราะไม่ก่อให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บ กระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑ คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ๑. [๓๐๔] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการ คือ หญิงเป็นคนมักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหา ตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมอง หน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมา ให้สามีเพราะเหตุ ๙ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีถ้อยคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการนี้ คือ มัก ไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไปท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับประดา ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑ [๓๐๕] ดูกรสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการคือ ดัดกายหนึ่ง ก้มตัว กรีดกราย ทำอาย แกะเล็บ เอาเท้าเหยียบกัน เอาไม้ขีดแผ่นดิน ทำกระโดดเอง ให้เด็กกระโดด เล่นเอง ให้เด็กเล่น จุมพิตเด็ก ให้เด็กจุมพิต กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ขอของจากเด็ก ทำตามที่เด็กกระทำ พูดเสียงสูง พูดเสียงต่ำ พูดเปิดเผย พูดกระซิบ ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม ร้องไห้ กรีดกราย ด้วยการแต่งกาย ทำปึ่ง ยักเอว ส่ายผ้าที่ปิดของลับ เลิกขา ปิดขา ให้เห็นนม ให้เห็นรักแร้ ให้เห็น ท้องน้อย หลิ่วตา เลิกคิ้ว เม้มปาก แลบลิ้น ขยายผ้า กลับนุ่งผ้า สยายผม มุ่นผม ดูกรสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการนี้แล. [๓๐๖] ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการ คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี ย่อมไม่ระลึกถึงสามีที่ไปแรมคืน ย่อมไม่ ยินดีกะสามีที่มาแล้ว ย่อมกล่าวโทษสามี ไม่กล่าวคุณแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่สามี ย่อมไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น ย่อมนอนพลิก กลับไปมา ย่อมทำวุ่นวายนอนถอนหายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระ ปัสสาวะบ่อยๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ได้ยินเสียงชายอื่นย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ย่อมทอด สนิทชิดชอบกับชายผู้คุ้นเคย ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤติ นอกใจไม่เคารพในสามี มีใจประทุษร้าย ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเนืองๆ ย่อมทำให้เห็นรักแร้ นม ย่อม ไปเพ่งดูทิศต่างๆ ดูกรสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการนี้แล. และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า หญิงย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี ย่อมไม่เศร้าโศกถึงการไป ของสามี ครั้นเห็นสามีกลับมาก็ไม่แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวคุณ แห่งสามีในกาลไหนๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำ ประโยชน์ของสามีให้เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมคลุม หัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิง ผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมนอนพลิกกลับไปมา ย่อมทำวุ่นวาย นอนถอน หายใจยาว ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อยๆ อาการ เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อชายอื่นพูด ล้างผลาญ โภคสมบัติ กระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายอื่น อาการเหล่านี้ เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมทำทรัพย์สมบัติที่สามีได้มา โดยความลำบาก หามาได้โดยฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วยความยาก แค้นให้พินาศ อนึ่ง ย่อมกระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายที่คุ้นเคย กัน อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงออกนอกบ้าน เสมอ ประพฤติผิดจากความดี มีใจคิดประทุษร้ายในสามีอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจ ปราศจากความเคารพ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมยืนอยู่ที่ใกล้ประตูเนืองๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้างให้เห็น มีจิตวอกแวกเพ่งดูทิศต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้าย แม่น้ำทั้งปวงมีทางคดเคี้ยว และป่าทั้งปวงรกเรี้ยว ด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวงเมื่อได้ช่อง (ที่ลับ) พึงกระทำกรรมอัน ลามกฉันนั้น ถ้าว่าพึงได้โอกาส ที่ลับ หรือพึงได้ช่องเช่นนั้น หญิง ทั้งปวงพึงกระทำกรรมอันลามกเป็นแน่ ไม่ได้ชายที่สมบูรณ์อื่น ก็ย่อม ทำกับคนเปลี้ย ในพวกนารีที่หลายใจ เป็นผู้กระทำความยั่วยวนแก่ชาย ทั้งหลาย ไม่มีใครข่มขี่ได้ ถ้านารีเหล่าใดแม้จะทำให้พอใจโดยประการ ทั้งปวง ก็ไม่ควรวางใจในนารีเหล่านั้น เพราะว่า นารีเหล่านั้นเสมอด้วย ท่าน้ำ. [๓๐๗] บัณฑิตได้เห็นเรื่องอย่างไร ของพระเจ้ากินนรและพระนางกินนรีเทวี แล้วพึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนของตน พระนาง กินนรีเทวีทรงเห็นบุรุษอื่น แม้จะเป็นคนง่อยเปลี้ย ยังละทิ้งพระราช- สวามีเช่นพระเจ้ากินนร ไปทำกรรมอันลามกกับบุรุษเปลี้ยนั้นได้. [๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรงหมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระ มเหสียังประพฤติอนาจารกับคนรับใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมีหรือที่ หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น. [๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระนางมเหสีที่รักของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลก ทั้งปวง ได้ประพฤติอนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิดและเป็นไปในอำนาจ พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่ทั้งสองราย. [๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีละอาย ล่วงเสียซึ่งธรรม ย่อมเป็น ไปตามอำนาจจิตของตนเมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้ง สามีแม้จะอยู่ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์ แม้เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย จริง อยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไปไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิง ทั้งหลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้ วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือ เอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้ว ละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่าง เหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง เหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบ บุรุษได้ ทั้งที่น่ารัก ทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้ฝั่งโน้น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่ว ไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่าของเรา ก็ เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มี หญิงทั้ง หลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่ มีทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกิน เปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิง ทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะ สิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิง ที่คนหมู่มากไม่รักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยาคน อื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวกนี้ ไม่ ควรคบ. [๓๑๑] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ของพญานกกุณาละแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจ ของพวกหญิงเผลอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิงย่อม ละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่เหลาะแหละ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ร้องไห้ กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้ง บุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะ กะใบไม้ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควรวิสาสะกะ พระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควรวิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คน แล้ว ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่ สำรวม ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิงทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัด เองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึง กระทำความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำรวม ผู้ เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิง เหมือนคำเท็จ หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือก กินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วย การเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุดๆ ลุ่ยๆ และพูดเพราะ หญิง ทั้งหลายเป็นโจร หัวใจแข็ง ดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไรๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ธรรมดาหญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขต แดน กำหนัดนักทุกเมื่อ และคะนอง กินไม่ควร เหมือนเปลวไฟ ไหม้เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี เพราะหญิงทั้งหลาย ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอด ได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รัก ก็ไม่มี หญิง ย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลาย ย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อ ก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูล แต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชายเช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์. [๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะ รู้ชัดซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ดูกรพญานก ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ สี่อย่างนี้ ย่อมไม่ เต็มแม่น้ำสายใด สายหนึ่งอาศัย แผ่นดิน ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้นมหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียน เวทอันมีการบอกเป็นที่ห้าได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง พระราชาทรง ชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วยรัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้ง มหาสมุทรและภูเขา ครอบครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงคนหนึ่งๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้วกล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่ง กามรสทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือน เปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละ ชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชาย นั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความ จริงได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ ให้เต็มได้ยาก เสมอแม่น้ำ ทำ ให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตน ฉะนั้น. [๓๑๓] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญานกกุณาละรู้แจ้งแล้ว ซึ่งเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุดแห่งคาถา ของนารทพราหมณ์ผู้ประเสริฐ จึงได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะ ว่าหญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ ขับร้องและการ เจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียด เบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและ เนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเล ฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อัน น่ายินดี เป็นทำเลหากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อม เข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะ และโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อม เผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูก ราคะย้อม เหมือนเถาย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น หญิงประดับ ร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่างๆ ทำ ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทรราหู หญิงประดับประดาด้วยทอง แก้วมณีและมุกดา ถึงจะมีคนสักการะและ รักษาไว้ในตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่ใน ทรวงอก ประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเครื่อง พิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของ หญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ ถูกราหูจับฉะนั้น โจรผู้มี จิตโกรธ คิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่นซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญ หน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความ พินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผมและหยิกข่วน ด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือและท่อนไม้ ก็กลับวิ่งเข้าหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพ ฉะนั้น บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. [๓๑๔] พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึง ถ้าเดินทางเสียแต่วันนี้นะ ข้างหน้าก็ถึง ถ้าวันนี้ไม่เริ่มต้นนะ ข้างหน้าไปไม่ได้หรอก ลงได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการเจริญสติจนถึงขนาดนี้แล้วยังไม่ทำเนี่ย จะทำเมื่อไหร่ ไม่เริ่มวันนี้ จะเริ่มเมื่อไหร่ รอให้แก่รึ รอให้ตายรึ หรือจะไปเริ่มชาติหน้า หรือจะรอพระศรีอาริย์ ถ้านิสัยสันดานขี้เกียจขี้คร้าน ไปเจอพระศรีอาริย์ก็ยิ่งขี้เกียจกว่านี้อีก เพราะสะสมนิสัยไม่ดีไปนะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกนะ หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้เลย ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี สรรพสัตว์ทุกชีวิตมีจิตวิญญาณ..ล้วน..วิวัฒนาการ..มาจากแสงที่ส่องมาจาก..ดวงอาทิตย์..ศีล..ข้อที่1...ห้ามทำร้าย..สัตว์..ห้ามฆ่าสัตว์..เด็ดขาดครับ...ศีลทั้งห้าข้อ..เว้นขาดครับ..เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ... เพราะจิตมีความชินกับการที่จิตเราจับอยู่ที่พระพุทธองค์ และพระนิพพานเสมอ... ให้เชื่อมั่นว่า... ตายเมื่อไหร่เราขึ้นพระนิพพานแน่นอน.

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง ดังนั้น หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะ เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระมหาโมคคัลลานเถระ [๔๐๐] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น. อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกาย ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง- ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย ห่างไกล ฉะนั้น. เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา ความว่า ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามกของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ พินาศ ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา กันดำริโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด. พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา ขึ้น ๔ คาถาความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร- ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เกิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์ มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล. ----------------------------------------------------- ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระมหาโมคคัลลานเถระ [๔๐๐] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น. อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกาย ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง- ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย ห่างไกล ฉะนั้น. เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา ความว่า ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามกของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ พินาศ ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา กันดำริโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด. พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา ขึ้น ๔ คาถาความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร- ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๕ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เกิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์ มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล. ----------------------------------------------------- ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา.

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้. พระวัดสามแยก: อาชีพที่ลามก การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวกพราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก. ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และในการวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่ลามก. วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก. ปฏิภาณ (ไหวพริบ) ในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลง เป็นต้น ที่ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต (คำชั่ว) ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก. ดนตรีทุกชนิดเป็นของเลวทั้งนั้น บทว่า ยเถวํ ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณอย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือนพิณนั่นแหละ

นี้คืออนุศาสนีย์ของเราสำหรับเธอทั้งหลายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้. พระวัดสามแยก: อาชีพที่ลามก การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวกพราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก. ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และในการวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่ลามก. วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก. ปฏิภาณ (ไหวพริบ) ในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลง เป็นต้น ที่ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต (คำชั่ว) ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก. ดนตรีทุกชนิดเป็นของเลวทั้งนั้น บทว่า ยเถวํ ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณอย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือนพิณนั่นแหละ

นี้คืออนุศาสนีย์ของเราสำหรับเธอทั้งหลายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้. พระวัดสามแยก: อาชีพที่ลามก การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวกพราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก. ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และในการวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่ลามก. วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก. ปฏิภาณ (ไหวพริบ) ในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลง เป็นต้น ที่ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต (คำชั่ว) ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก. ดนตรีทุกชนิดเป็นของเลวทั้งนั้น บทว่า ยเถวํ ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณอย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือนพิณนั่นแหละ

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้. พระวัดสามแยก: อาชีพที่ลามก การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวกพราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก. ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และในการวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่ลามก. วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก. ปฏิภาณ (ไหวพริบ) ในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลง เป็นต้น ที่ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต (คำชั่ว) ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก. ดนตรีทุกชนิดเป็นของเลวทั้งนั้น บทว่า ยเถวํ ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณอย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือนพิณนั่นแหละ

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าลำดับนั้น ในเวลาที่พระโพธิสัตว์อาราธนาแล้ว พราหมณ์จึงฟอกมือทั้งสองด้วยของหอม นำเอาคัมภีร์อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ ออกจากถุง จับขึ้นสองมือแล้วทูลว่า บัดนี้ขอมหาบพิตรจงทรงสดับคาถาชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา ตามที่พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้ อันจะถอนความเมามีความเมาด้วยราคะเป็นต้นให้สร่าง ให้สำเร็จอมตมหานิพพานนี้แล้ว ดูคัมภีร์กล่าวคาถาว่า " ข้าแต่ท่านสุตโสมมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษ (คนมีศีลธรรม) คราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากก็รักษาไม่ได้ พึงคบกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัตธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถที่เขาให้วิจิตรเป็นอันดี ยังคร่ำคร่าได้แล. แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษด้วยกัน ย่อมรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระราชา ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษทั้งสองนี้ ท่านกล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้นแล." พราหมณ์กล่าวคาถา ชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา ตามที่พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้อย่างนี้แล้ว ได้นั่งนิ่งอยู่ พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น มีพระหฤทัยโสมนัส (ดีใจ)ว่า การมาของเรามีผลหนอ ทรงพระดำริว่า คาถาเหล่านี้ ไม่ใช่ภาษิต(คำพูด) ของพระสาวก ไม่ใช่ภาษิตของฤๅษี ไม่ใช่ภาษิตของกวี แต่เป็นภาษิตของพระสัพพัญญู จะควรค่าเท่าไรหนอ ทรงพระดำริต่อไปว่า แม้เรา จักให้จักรวาลทั้งสิ้น กระทำให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ตลอดถึงพรหมโลก ก็ไม่อาจจะทำให้สมควร…….

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอาชีพที่ชาวพุทธไม่ควรทำ เล่ม 36 หน้า 376 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน (อุบาสก) ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา (การค้าขายอาวุธ) ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา (การค้าขายสัตว์) ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มํสวณิชฺชา (การค้าขายเนื้อสัตว์) ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา (การค้าขายน้ำเมา) ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา (การค้าขายยาพิษ) ได้แก่ ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์. เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า. อย่าเที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรม (การงาน) มีการสอดแนมเป็นต้น เหมือนคนของพระเจ้าโกศล ทำการสอดแนมเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้นโดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. ฝ่ายบุคคลใด แม้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำการค้า อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรม อย่างนี้

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? 1. การค้าขายศัสตรา (อาวุธ) 2. การค้าขายสัตว์ 3. การค้าขายเนื้อสัตว์ 4. การค้าขายน้ำเมา 5. การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้. อาชีพที่ลามก เล่ม 65 หน้า 483 การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวกพราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก. ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และในการวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่ลามก. วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก. ปฏิภาณ (ไหวพริบ) ในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลง เป็นต้น ที่ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต (คำชั่ว) ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก. ดนตรีทุกชนิดเป็นของเลวทั้งนั้น เล่ม 28 หน้า 494 บทว่า ยเถวํ ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณอย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือนพิณนั่นแหละ.

กายคตาสติกรรมฐานการพิจารณาร่างกายสติฝึกได้ตลอดวัน เป็นมรรควิธีที่แยบยลเท่าทันต่อเหตุการณ์การใช้ชีวิตทุกวันเหมาะสมมากกับทุกท่าน นี้เป็นทางที่ศาสดาทรงตรัสสอน อานาปาสติ กายคตาสติ อนุสติสิบ

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว- โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

สรุปการภาวนาความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

ทางเอก บทที่ 01-06 โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช อ่านโดย พระอาจารย์กฤช นิ...

วิถีแห่งความรู้แจ้ง โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช งานธรรมไร้พรมแดนครั้งทีความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น...

ความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

เจริญสติเพื่อความสิ้นแห่งทุกข์ความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเ­กิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

วิธีการเข้าถึงพระนิพพานเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาทิยสุตตคาถา

หลวงปู่เทสก์198 หลักการภาวนา 06 ตค 26

พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์ สามารถใช้กับมอเตอร์สามเฟสได้ครับTM52A สินค้า เหลือ ประมาณ 300 ตัว รุ่นต่อไป จะใช้ POWER MODULE เบอร์ PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050D 6DI15S-050 C MP6501A ครับ ในกรณีใช้โดยตรงจากแผงโซล่าเซลล์ อย่าง น้อย ให้ใช้ suntech 285 watts ห้าแผ่น ถึงเก้าแผ่น 180-320 Volts 7 Amps PS21244 MITSUBISHI

วิธีสร้างเครื่่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าโดยใช้ไฟฟ้าเฟสเดียว ถ้าเดินทางเสียแต่วันนี้นะ ข้างหน้าก็ถึง ถ้าวันนี้ไม่เริ่มต้นนะ ข้างหน้าไปไม่ได้หรอก ลงได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการเจริญสติจนถึงขนาดนี้แล้วยังไม่ทำเนี่ย จะทำเมื่อไหร่ ไม่เริ่มวันนี้ จะเริ่มเมื่อไหร่ รอให้แก่รึ รอให้ตายรึ หรือจะไปเริ่มชาติหน้า หรือจะรอพระศรีอาริย์ ถ้านิสัยสันดานขี้เกียจขี้คร้าน ไปเจอพระศรีอาริย์ก็ยิ่งขี้เกียจกว่านี้อีก เพราะสะสมนิสัยไม่ดีไปนะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกนะ หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้เลย ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้ามงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้ จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้ จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา คนที่หา ได้ยาก มากไฉน เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ มงคลที่ 15.การให้ทาน ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้ ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน มงคลที่ 22 มีความเคารพ ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย มงคลที่ 24 มีความสันโดษ ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี มงคลที่ 25 มีความกตัญญู กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่ คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร มงคลที่ 27 มีความอดทน ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์ มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์ เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์ มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์ เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่ ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้ ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่ ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม มงคลที่ 38 มีจิตเกษม จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องมงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้ จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้ จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา คนที่หา ได้ยาก มากไฉน เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ มงคลที่ 15.การให้ทาน ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้ ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน มงคลที่ 22 มีความเคารพ ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย มงคลที่ 24 มีความสันโดษ ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี มงคลที่ 25 มีความกตัญญู กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่ คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร มงคลที่ 27 มีความอดทน ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์ มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์ เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์ มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์ เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่ ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้ ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่ ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม มงคลที่ 38 มีจิตเกษม จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องมงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้ จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้ จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา คนที่หา ได้ยาก มากไฉน เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ มงคลที่ 15.การให้ทาน ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้ ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน มงคลที่ 22 มีความเคารพ ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย มงคลที่ 24 มีความสันโดษ ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี มงคลที่ 25 มีความกตัญญู กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่ คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร มงคลที่ 27 มีความอดทน ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์ มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์ เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์ มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์ เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่ ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้ ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่ ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม มงคลที่ 38 มีจิตเกษม จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

วิธีซ่อมเครื่องเชื่อมตู้เชื่อม INVERTER ตอนที่1มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้ จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้ จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา คนที่หา ได้ยาก มากไฉน เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ มงคลที่ 15.การให้ทาน ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้ ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน มงคลที่ 22 มีความเคารพ ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย มงคลที่ 24 มีความสันโดษ ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี มงคลที่ 25 มีความกตัญญู กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่ คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร มงคลที่ 27 มีความอดทน ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์ มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์ เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์ มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์ เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่ ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้ ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่ ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม มงคลที่ 38 มีจิตเกษม จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสอุฏฺานกาลมฺหิ อนุฏฺหาโน ยุวา พลี อาลสิย อุเปโต สสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต ปญฺาย มคฺค อลโส น วินฺทติ. " ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันใน กาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา."

อุฏฺานกาลมฺหิ อนุฏฺหาโน ยุวา พลี อาลสิย อุเปโต สสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต ปญฺาย มคฺค อลโส น วินฺทติ. " ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันใน กาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา."สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา. " เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด." เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา. "เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว พวกเธออย่ามัวประมาท...

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว

กรุณาธารณีสูตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า

กรุณาธารณีสูตร ม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เครื่องปรับรอบมอเตอร์ในยุคปัจจุบัน จำหน่ายแผงวงจรปรับรอบมอเตอร์สามเฟสแบบอินเวอร์เตอร์ ใช้ MITSUBISHI POWER MODULE PS21244 PS21963 PS219A2 SHINDENGEN TM52 A TL105C TM31T TOSHIBA MP6501A FUJI ELECTRIC 6DI15S-050 มี ขนาด 0.4 KW ถึง 3.7 KW

พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์ สามารถใช้กับมอเตอร์สามเฟสได้ครับจำหน่ายแผงวงจรปรับรอบมอเตอร์สามเฟสรุ่นใหม่ ใช้ MITSUBISHI POWER MODULE PS21244 PS21963 PS219A2 รุ่นกลาง ใช้ POWER MODULE TM52 A TL105C TM31 รุ่นเก่า ใช้ POWER MODULE MP6501A 6 DI15S-050 มี ขนาด 0.4 KW ถึง 3.7 KW

พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์ สามารถใช้กับมอเตอร์สามเฟสได้ครับจำหน่าย โมดูลอัฉริยะเบอร์ TM52A สำหรับ ผลิต ซ่อม สร้างเครื่องปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดอินดัตชั่นแบบสามเฟส ร่วมกับ ไอซี สร้างสัญญาน PWM 3 PHASE เบอร์ MC3PHAC

การควบคุมมอเตอร์สามเฟสอย่างง่ายจำหน่าย โมดูลอัฉริยะเบอร์ TM52A สำหรับ ผลิต ซ่อม สร้างเครื่องปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดอินดัตชั่นแบบสามเฟส ร่วมกับ ไอซี สร้างสัญญาน PWM 3 PHASE เบอร์ MC3PHAC

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดังนั้น หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึง

อาทิยะสุตตะคาถา ภุตตา โภคา ภะฎา ภัจจา วิติณณา อาปะทาสุ เม โภคะทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว บุคคลทั้งหลายที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นไปแล้ว อุคธัคคา ทักขิณา ทินนา อะโถ ปัญจะ พะลี กะตา ทักษิณาที่เจริญผล เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลีห้า เราได้ทำแล้ว อุปัฏฐิตา วีละวันโต สัญญะตา พรัหมะจาริโน ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว ยะทัตถัง โภคะมิจเฉยยะ ปัณฑิโต ฆะระมาวะสัง บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน ปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์อันใด โส เม อัตโถ อะนุปปัตโต กะตัง อะนะ นุตาปิยัง ประโยชน์นั้น เราได้บรรลุแล้ว กรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว เอตัง อะนุสสะรัง มัจโจ อะริยะธัมเม ฐิโต นะโร นรชนผู้จะต้องตายเมื่อตามระลึกถึงคุณข้อนี้อยู่ พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยะธรรม อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะตีติ. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล.

กิจที่ควรทำเราได้ทำสำเร็จแล้วปัพพโตปมคาถา ยาถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปริเยยฺยุง นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพาเมวาภิมทฺทติ น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุง ธเนน วา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺถโน พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธํ นิเวสเย โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ. แปลว่า ภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญนรชน นั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ดังนี้แล.

กิจที่ควรทำเราได้ทำสำเร็จแล้วปัพพโตปมคาถา ยาถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปริเยยฺยุง นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพาเมวาภิมทฺทติ น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุง ธเนน วา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺถโน พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธํ นิเวสเย โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ. แปลว่า ภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญนรชน นั้นในโลกนี้ นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ดังนี้แล.

หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้วันหน้าก็ถึงดังนั้น หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งดังนั้น หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าจิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามคฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆคฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดีเพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ธัมมบท ( หรือเขียนว่าธรรมบทก็ได้ ) หมายถึงสุภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ ข้อ ในที่นี้จะนำตัวอย่าง ๑๐ ข้อ คือ :- ๑. ไม่พึงมองดูความผิดพลาดของคนอื่น หรือมองดูสิ่งที่เขาทำหรือมิได้ทำ พึงมองดูแต่สิ่งที่ตนทำแล้ว หรือยัง มิได้ทำเท่านั้น. ๒. ดอกไม้ที่น่าชอบใจ มีสี แต่ไม่มีกลิ่น ก็เหมือนวาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม. ๓. ในมนุษย์ทั้งหลาย คนที่ถึงฝั่งมีน้อย คนนอกนี้วิ่งเลาะไปตามชายฝั่ง ( ข้างนี้ ) เท่านั้น. ๔. คนไม่มีศรัทธา, ไม่กตัญญู, ตัดช่อง ( เข้าขโมย ), มีโอกาศอันถูกขจัด, หมดหวัง, ผู้นั้นเป็นบุรุษผู้สูงสุด. ( เป็น คำกล่าว ดัดแปลงคำด่าให้เป็นคำดี คำว่า ไม่มีศรัทธา ในทางที่ดี ควรแปลว่า " ไม่เชื่อง่าย " คือพยายามทำให้ประจักษ์ในผลความดี ด้วยตนเองจนไม่ต้องเชื่อผู้อื่น, ไม่กตัญญู หรืออตัญญู แปลในทางดีว่า ผู้รู้นิพพาน ซึ่งไม่มีสิ่งใด ๆ หรือใครมาทำมาสร้างได้, ตัดช่อง ( เข้าขโมย ) แปลจากคำว่า สันธิจเฉทะ ซึ่งอาจแปลในทางที่ดีได้ว่า ตัดที่ต่อคือวัฏฏะ หรือการเวียนว่ายตายเกิดไม่ต้องเกิด อีก. มีโอกาสถูกขจัด แปลในทางดีได้ว่า หมดโอกาสที่จะเกิดอีก เพราะหมดพืชคือกุศลกรรมและอกุศลกรรมแล้ว หมดหวังหรือ คายความหวัง อาจจะตีความได้ว่า เมื่อได้บรรลุสิ่งที่สูงสุดแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องคอยมุ่งหวังอะไรต่อไปอีก. เรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่างใน ทางมองแง่ดี จากคำเยาะเย้ยถากถางของคนที่มุ่งร้าย ). ๕. ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้มิได้ประทุษร้าย ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส บาปย่อมสนองคนพาลนั้นเหมือนฝุ่นที่ ซัดไปทวนลม. ๖. คนเลี้ยงโคใช้ท่อนไม้ต้อนโคไปสู่ที่หากินฉันใด ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไปฉัน นั้น. ๗. ร่าเริงอะไรหรือหรือชื่นใจอะไรกัน ในเมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดห่อหุ้มแล้ว ไฉน จึงไม่แสวงหาดวงประทีป. ๘. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขาร ( สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ) เป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ความจริงข้อนี้แล้วดับทุกข์ได้เป็นสุขอย่างยิ่ง. ๙. อตุละเอย ! การนินทานี้เป็นของเก่า มิใช่ของดุจมีในวันนี้ คนนั่งนิ่งก็ถูกนินทา คนพูดมากก็ถุกนินทา คนพูด พอประมาณก็ถูกนินทา คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก. ๑๐. ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี เคราะห์เสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี. มีคำสรุปว่า ในธรรมบทมีคาถา คำฉันท์ ) ๔๒๓ บท ( บางเรื่องและบางหัวข้อ อาจประกอบด้วยคำฉันท์หลายบท เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ จึงหมายเฉพาะเนื้อเรื่อง ). คาถาธรรมบท ปฐมภาณวาร ยมกวรรค ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ ที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร ไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คน โน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้น ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลัก สิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ ในกาล ไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อม ระงับเพราะความไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า ก็ชนเหล่า อื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อม ระงับจากชนเหล่านั้น มารย่อมรังควาญบุคคลผู้มีปรกติเห็น อารมณ์ว่างาม ผู้ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว เหมือน ลมระรานต้นไม้ที่ทุรพล ฉะนั้น มารย่อมรังควาญไม่ได้ซึ่ง บุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ สำรวมดีแล้วใน อินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา ปรารภความเพียร เหมือนลมระรานภูเขาหินไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ใด ยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาดปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งห่มผ้า กาสายะผู้นั้นไม่ควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ส่วนผู้ใดมีกิเลส ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นแล้วในศีลประกอบด้วยทมะ และสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ชน เหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ และมีปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ ชน เหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และรู้ธรรม อันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้ ชน เหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมบรรลุธรรมอันเป็น สาระ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่บุคคลมุงไม่ดีฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่บุคคลไม่อบรมแล้ว ฉันนั้น ฝนย่อมไม่รั่วรดเรือน ที่บุคคลมุ่งดี ฉันใด ราคะย่อมไม่รั่วรดจิตที่บุคคลอบรมดีแล้ว ฉันนั้น บุคคลผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ย่อมเศร้าโศกใน โลกหน้า ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้น ย่อมเศร้าโศก บุคคลผู้ทำบาปนั้นเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน แล้ว ย่อมเดือดร้อน ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมบันเทิงในโลกนี้ ย่อม บันเทิงในโลกหน้า ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง ผู้ทำบุญไว้ แล้วนั้นย่อมบันเทิง ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงอย่างยิ่ง บุคคลผู้ทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า ย่อม เดือดร้อนในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้นย่อมเดือดร้อนว่า บาปเราทำแล้ว บุคคลผู้ทำบาปนั้นไปสู่ทุคติแล้ว ย่อมเดือด ร้อนโดยยิ่ง ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ย่อม เพลิดเพลินในโลกหน้า ย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินว่า บุญอันเราทำไว้แล้ว ผู้ทำ บุญไว้แล้วนั้นไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินโดยยิ่ง หากว่า นรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรม อันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้น ย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจ นายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจ- โครส ฉะนั้น หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อย ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่ถือมั่น ในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง คุณเครื่องความเป็นสมณะ ฯ อัปปมาทวรรค ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ชน เหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว บัณฑิต ทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทราบเหตุนั่นโดยความ แปลกกันแล้ว ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท ยินดีแล้ว ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น เป็นนักปราชญ์ เพ่งพินิจ มีความเพียรเป็นไปติดต่อ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจาก โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มี ความหมั่น มีสติ มีการงานอันสะอาด ผู้ใคร่ครวญแล้วจึงทำ ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท ผู้มี ปัญญาพึงทำที่พึงที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความฝึกตน ชน ทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความ ประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน ทรัพย์อันประเสริฐสุด ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความ ประมาทอย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ เมื่อใด บัณฑิตย่อมบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตผู้มีความประมาทอันบรรเทาแล้วนั้น ขึ้นสู่ ปัญญาดุจปราสาท ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล เหมือน บุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น ฉะนั้น ผู้มี ปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว ย่อมไม่ประมาท เมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคล เห็นปานนั้นไป ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น ท้าวมัฆวาฬถึง ความเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดกว่า เทวดาทั้งหลาย ด้วยความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ ไม่ประมาท ความประมาทบัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ ภิกษุยินดี แล้วในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เผา สังโยชน์น้อยใหญ่ไป ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาทหรือเห็นภัยใน ความประ มาทเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพาน ทีเดียว ฯ จิตตวรรค นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์ อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ ปุปผวรรค ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ใครจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้ พร้อมกับเทวโลก ใครจักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว ดุจนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น พระเสขะ จักรู้แจ้งแผ่นดิน พระเสขะจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้ พร้อมกับเทวโลก พระเสขะจักเลือกสรรบทธรรมที่เรา แสดงดีแล้วดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น ภิกษุทราบกายนี้ว่า เปรียบด้วยฟองน้ำ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ กายนี้ว่ามีพยับแดดเป็นธรรม ตัดดอกไม้อันเป็นประธาน ของมารแล้ว พึงไปสู่ที่ที่มัจจุราชไม่เห็น มัจจุย่อมจับนระ ผู้มีใจอันซ่านไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ ทั้งหลายนั่นเทียวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดบ้านอันหลับแล้ว ไป ฉะนั้น มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด ย่อมทำนระผู้มีใจอันซ่าน ไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ไม่อิ่ม แล้วในกามคุณนั่นแล ไว้ในอำนาจ ภมรไม่ยังดอกไม้ อันมีสีให้ชอกช้ำ ลิ้มเอาแต่รสแล้วย่อมบินไป แม้ฉันใด มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหู ของชนเหล่าอื่น ไม่พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ของชนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของ ตนเท่านั้น ดอกไม้งามมีสีแต่ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำ ฉันนั้น ดอกไม้งามมีสีมีกลิ่น แม้ฉันใด วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำดี ฉันนั้น นายมาลาการพึงทำกลุ่มดอกไม้ให้มาก แต่กองแห่งดอกไม้ แม้ฉันใด สัตว์ [ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ] ผู้เกิดแล้ว พึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น กลิ่นดอกไม้ย่อมฟุ้งทวนลมไป ไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือกฤษณา และกะลำพัก ย่อมฟุ้งทวน ลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษฟุ้งไปทั่วทิศ กลิ่นคือศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาติ เหล่านี้ คือจันทน์ กฤษณา ดอกบัว และมะลิ กลิ่นกฤษณา และจันทน์นี้ เป็นกลิ่นมีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้ มีศีลทั้งหลายเป็นกลิ่นสูงสุด ย่อมฟุ้งไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ โดยชอบ ดอกปทุมมีกลิ่นหอม พึงเกิดในกองแห่งหยากเยื่อ อันเขาทิ้งแล้วในใกล้ทางใหญ่นั้น ย่อมเป็นที่รื่นรมย์ใจ ฉันใด พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชน ทั้งหลายผู้เป็นเพียงดั่งกองหยากเยื่อ ย่อมไพโรจน์ล่วงปุถุชน ทั้งหลายผู้เป็นดังคนบอดด้วยปัญญา ฉันนั้น ฯ พาลวรรคที่ ๕ ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า สงสาร ยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน หรือสหายผู้เช่นด้วย ตนไซร้ บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น เพราะว่า คุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้ ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน ทรัพย์แต่ ที่ไหน ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้ ด้วย เหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล ถ้าคน พาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่ง ใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือน ลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อม เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลมีหน้า ชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อน ในภายหลัง กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี บุคคลอันปีติโสมนัส เข้าถึงแล้ว [ด้วยกำลังแห่งปีติ] [ด้วยกำลังแห่งโสมนัส] ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี คนพาล ย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น คนพาล ถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือนๆ เขาย่อมไม่ถึง เสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของพระอริย บุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว ก็บาปกรรมบุคคล ทำแล้วยังไม่แปรไป เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไป ฉะนั้น บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า ปกปิดแล้ว ฉะนั้น ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาลเพื่อสิ่งมิใช่ ประโยชน์อย่างเดียว ความรู้ ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขา ให้ฉิบหายตกไป ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ ความ ห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และ การบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย จงสำคัญ กรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว คฤหัสถ์และ บรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว ในบรรดา กิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ อิจฉา [ความริษยา] มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น ภิกษุ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่าง นี้ว่า ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง ปฏิปทาเครื่อง ให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน สักการะ พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ ฯ ปัณทิตวรรค บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ เหมือนบุคคลผู้บอก ขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็น ที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ บุคคลไม่ควรคบมิตรเลวทราม ไม่ควรคบบุรุษอาธรรม์ ควร คบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำ ไป พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่น ไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น ห้วงน้ำลึก ใสไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด บัณฑิตย์ทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส ฉันนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรม ทั้งปวงโดยแท้ สัตบุรุษทั้งหลายหาใคร่กามบ่นไม่ บัณฑิต ทั้งหลายผู้อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการ สูงๆ ต่ำๆ บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน ไม่ทำ บาปเพราะเหตุแห่งผู้อื่น ไม่พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์ ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น ไม่พึงปรารถนาความ สำเร็จแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา ประกอบด้วยธรรม ในหมู่มนุษย์ ชนผู้ที่ถึงฝั่งมี น้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ย่อมเลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ก็ชน เหล่าใดแล ประพฤติตามธรรมในธรรมอันพระสุคตเจ้าตรัส แล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก แล้ว จักถึงฝั่ง บัณฑิตออกจากอาลัยแล้ว อาศัยความไม่มีอาลัย ละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว บัณฑิตพึงปรารถนาความ ยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้โดยยาก ละกามทั้งหลายแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง เศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรมจิตด้วยดีโดยชอบ ในองค์แห่ง ธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้ ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดี แล้วในการสละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลก ฯ อรหันตวรรค ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีทางไกลอันถึงแล้ว ผู้มีความ โศกปราศไปแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ผู้มีกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวงอันละได้แล้ว ท่านผู้มีสติย่อมขวนขวาย ท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือน หงส์สละเปือกตมไป ฉะนั้น ชนเหล่าใดไม่มีการสั่งสม มีโภชนะอันกำหนดแล้ว มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร คติของชนเหล่านั้น รู้ได้โดยยาก เหมือนคติ ฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น ภิกษุใดมีอาสวะสิ้นแล้ว อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้วในอาหาร มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตต วิโมกข์เป็นโคจร รอยเท้าของภิกษุนั้นไปตามได้โดยยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น อินทรีย์ของภิกษุ ใดถึงความสงบระงับ เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะ อันละได้แล้ว หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่ ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน ผู้คงที่ เปรียบดังเสาเขื่อน มีวัตรดี ปราศจากกิเลสเพียงดังเปือกตม ผ่องใส เหมือนห้วงน้ำที่ ปราศจากเปือกตมมีน้ำใส ย่อมไม่พิโรธ สงสารทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้คงที่ มีอาสวะสิ้นแล้ว เช่นนั้น ใจ วาจา และกายกรรมของภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะ รู้โดยชอบ สงบระงับ คงที่ เป็นธรรมชาติสงบแล้ว นรชนใด ไม่เชื่อต่อผู้อื่น รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำไม่ได้ ผู้ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันขจัดแล้ว มีความหวังอันคลายแล้ว นรชนนั้น แลเป็นบุรุษผู้สูงสุด พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใดคือ บ้านหรือป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่นั้นเป็นภาคพื้นอันบุคคล พึงรื่นรมย์ ชนไม่ยินดีในป่าเหล่าใด ป่าเหล่านั้น ควร รื่นรมย์ ผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าเห็น ปานนั้น เพราะว่าท่านไม่ใช่ผู้แสวงหากาม ฯ สหัสสวรรค หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้ บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ ไซร้ คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบประเสริฐกว่า ก็บุคคลใดพึงกล่าวคาถา ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ ตั้งร้อย บทธรรมบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประ เสริฐกว่า บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพัน ใน สงคราม บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว บุคคลนั้นแล ชื่อว่าเป็น ผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม ตนแลอันบุคคลชนะแล้ว ประเสริฐ ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ๆ อันบุคคลชนะแล้วจัก ประเสริฐอะไร เพราะว่า เทวดา คนธรรพ์ มารกับ ทั้งพรหม พึงทำความชนะของบุรุษผู้มีตนอันฝึกแล้ว มีปกติ ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์ ผู้เป็นสัตว์เกิดเห็นปานนั้น ให้กลับแพ้ไม่ได้ ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรม แล้วคนหนึ่ง แม้เพียงครู่หนึ่ง ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้ที่ บูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งตลอดร้อยปีเสมอทุกเดือนๆ การบูชา ตั้งร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร ก็การบูชา ของผู้ที่บูชาท่าน ผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่งแล แม้เพียงครู่หนึ่ง ประเสริฐ กว่าผู้บำเรอไฟในป่าตั้งร้อยปี การบำเรอไฟตั้งร้อยปีนั้น จะประเสริฐอะไร บุคคลผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญที่บุคคลเซ่นสรวง แล้ว และยัญที่บุคคลบูชาแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก ตลอดปีหนึ่ง ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว และยัญที่บุคคล บูชาแล้ว [ทาน] นั้น แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงส่วนที่ ๔ แห่งการอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย การอภิวาทใน ท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย ประเสริฐกว่า ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการ อภิวาทเป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์ ก็บุคคล ผู้มีศีลเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ทุศีล มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้มีปัญญา เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไร้ปัญญา มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้ปรารภความเพียร มั่น มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคลผู้เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลว มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณา เห็นความเกิดขึ้นและเสื่อมไป มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐ กว่าบุคคล ผู้ไม่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นอมตบท มีชีวิต อยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นอมตบท มีชีวิตอยู่ร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุด มีชีวิต อยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ไม่พิจารณาเห็นธรรมอันสูง สุดมีชีวิตอยู่ร้อยปี ปาปวรรค บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป หากบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่พึง ทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการ สั่งสมบาปนำทุกข์มาให้ หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญ นั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ แม้คนลามกย่อมเห็นความเจริญตราบเท่าที่บาป ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดบาปย่อมให้ผล คนลามกจึงเห็นบาป เมื่อนั้น แม้คนเจริญก็ย่อมเห็นบาป ตราบเท่าที่ความเจริญ ยังไม่ให้ผล บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย [พอประมาณ] จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาด น้ำที่ตกทีละหยาดๆ [ฉันใด] คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละ น้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป [ฉันนั้น] บุคคลอย่าพึงดูหมิ่น บุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็ม ได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ภิกษุพึงเว้นบาปดุจพ่อค้า มีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นทางที่ควรกลัว ดุจบุรุษผู้ใคร่ ต่อชีวิตเว้นยาพิษ ฉะนั้น ถ้าที่ฝ่ามือไม่พึงมีแผลไซร้ บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมซาบ ฝ่ามือที่ไม่มีแผล บาปย่อมไม่มีแก่คนไม่ทำ ผู้ใดย่อม ประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่ มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นแหละ ผู้เป็นพาล ดุจธุลีละเอียดที่บุคคลซัดทวนลมไป ฉะนั้น คนบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ บางพวกมีกรรมอันลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้ที่มีคติดีย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป ส่วนแห่ง แผ่นดินที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว พึงพ้นจากกรรมอันลามกได้ ไม่มีเลย อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป ส่วนแห่งแผ่นดิน ที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว มัจจุพึงครอบงำ ไม่ได้ ไม่มีเลย ฯ ทัณฑวรรคที่ ๑๐ ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม สะดุ้งต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งปวง แล้วไม่พึง ฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา ผู้นั้น ย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อ ตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ด้วย อาชญา ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า ท่านอย่าได้ กล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน เพราะว่าถ้อยคำแข็งดีให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องท่าน ถ้าท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาลถูกขจัดแล้ว ท่านนี้ จะเป็นผู้ถึงนิพพาน ความแข็งดีย่อมไม่มีแก่ท่าน นายโคบาล ย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด ความแก่ และความตายย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น คน พาลผู้ไร้ปัญญาทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก ภายหลัง ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง เหมือนบุคคลถูกไฟ ไหม้ ฉะนั้น ผู้ใดย่อมประทุษร้ายในพระขีณาสพผู้ไม่มี อาชญา ผู้ไม่ประทุษร้าย ด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเหตุ แห่งทุกข์ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ เวทนาหยาบช้า ความเสื่อมทรัพย์ ความแตกแห่งสรีระ อาพาธหนัก ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความขัดข้องแต่พระราชา การกล่าวตู่อันร้ายแรง ความสิ้นญาติ ความย่อยยับแห่งโภคะ ทั้งหลาย หรือไฟย่อมไหม้เรือนของเขา เมื่อตายไป เขาผู้ ไร้ปัญญาย่อมเข้าถึงนรก ความประพฤติเปลือย การทรงชฎา การนอนที่เปือกตม การไม่กินข้าว หรือการนอนเหนือแผ่น ดิน ความคลุกคลีด้วยธุลี ความเพียรอันปรารภด้วยความเป็น คนกระโหย่ง ยังสัตว์มีความสงสัยอันข้ามไม่ได้แล้วให้หมด จดไม่ได้ ถ้าแม้บุคคลผู้ประดับแล้ว เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงแล้ว เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ วางอาชญาใน สัตว์ทุกจำพวก แล้วพึงประพฤติสม่ำเสมอไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นสมณะ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ บุรุษผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ มีอยู่ใน โลกน้อยคน บุรุษผู้บรรเทาความหลับตื่นอยู่ ดุจม้าที่เจริญ หลบแส้ หาได้ยาก ม้าที่เจริญถูกนายสารถีเฆี่ยนด้วยแส้ ย่อมทำความเพียร ฉันใด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเพียร มีความสังเวช ฉันนั้นเถิด เธอทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ และการวินิจฉัยธรรม เป็นผู้มี วิชชาและจรณะอันสมบูรณ์ เป็นผู้มีสติ จักละทุกข์มีประมาณ ไม่น้อยนี้เสียได้ ก็พวกใช้น้ำย่อมไขน้ำไป พวกช่างศรย่อม ดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ ผู้มีวัตรอันงามย่อม ฝึกตน ฯ ชราวรรค ร่าเริงอะไรกันหนอ ยินดีอะไรกัน ในเมื่อโลกสันนิวาสถูกไฟไหม้โพล่งแล้วเป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดหุ้มห่อ แล้ว เพราะเหตุไรจึงไม่แสวงหาประทีป ท่านจงดูอัตภาพอัน บุญกรรมทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็นแผล อันกระดูกสามร้อย ท่อนปรุงขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย อันมหาชนดำริกันโดย มาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง รูปนี้คร่ำคร่าแล้ว เป็นรังแห่ง โรค ผุพัง กายของตนอันเปื่อยเน่าจะแตกเพราะชีวิตมีความ ตายเป็นที่สุด กระดูกเหล่าใดเขาไม่ปรารถนาแล้ว เหมือน น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ จะยินดีอะไร เพราะได้เห็นกระดูกเหล่านั้น สรีระอันกรรมสร้างสรรให้ เป็นเมืองแห่งกระดูก มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องไล้ทา เป็น ที่ตั้งแห่งความแก่ ความตาย ความถือตัว และความลบหลู่ ราชรถทั้งหลายอันวิจิตรย่อมคร่ำคร่าได้โดยแท้ อนึ่งแม้ สรีระก็เข้าถึงความคร่ำคร่า ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่ เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษแลย่อมสนทนาด้วยสัตบุรุษ บุรุษมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อม เจริญ [แต่] ปัญญาของเขาหาเจริญไม่ เราแสวงหานาย ช่างเรือนอยู่ เมื่อยังไม่ประสบ แล่นไปแล้วสู่สงสารมีชาติ ไม่น้อย ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แน่ะนายช่างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนอีก ซี่โครงของ ท่านทั้งหมดเราหักแล้ว ยอดเรือนเราขจัดเสียแล้ว จิตของ เราถึงแล้วซึ่งนิพพานอันปราศจากสังขาร เราบรรลุความสิ้น แห่งตัณหาแล้ว คนพาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ ได้ทรัพย์ในคราวเป็นหนุ่ม ย่อมซบเซา เหมือนนกกะเรียน แก่ ซบเซาอยู่บนเปือกตม ซึ่งสิ้นปลาแล้ว ฉะนั้น คน พาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราว เป็นหนุ่มย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่า เหมือนลูกศรสิ้น ไปแล้วจากแล่ง ฉะนั้น ฯ อัตตวรรค หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็น อัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภาย หลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือน อย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้ ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้ว หนอ พึงฝึก ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ตนแลเป็นที่พึ่งของ ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น ความเป็นผู้ทุศีล ล่วงส่วน ย่อมรวบรัดอัตภาพของบุคคลใด ทำให้เป็นอัตภาพ อันตนรัดลงแล้ว เหมือนเถาย่านทรายรวบรัดไม้สาละให้เป็น อันท่วมทับแล้ว บุคคลนั้นย่อมทำตนเหมือนโจรผู้เป็นโจก ปรารถนาโจรผู้เป็นโจก ฉะนั้น กรรมไม่ดีและไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดแล เป็นประโยชน์ ด้วย ดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง ผู้ใดมีปัญญา ทราม อาศัยทิฐิอันลามก ย่อมคัดค้านคำสั่งสอนของพระ- พุทธเจ้า ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่โดย ธรรม การคัดค้านและทิฐิอันลามกของผู้นั้น ย่อมเผล็ดเพื่อ ฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อม เศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วย ตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ บุคคลไม่พึงยัง ประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ ของตน ฯ โลกวรรค บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก ภิกษุไม่พึงประมาท ในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า พึง ประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติ ธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า มัจจุราช ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำ เห็นพยับแดด ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตร เปรียบด้วยราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้ หาข้องอยู่ไม่ ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้ นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน พระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันลามก ผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น โลกนี้ มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อย ดุจนกพ้นจากข่าย ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่าน ผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจาก โลก คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้าม โลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี คนตระหนี่ย่อม ไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้ ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทาน นั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า โสดาปัตติ ผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความ ไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ พุทธวรรค กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นทรงชนะแล้ว กิเลสบางอย่างย่อมไม่ไปตามใน โลก ท่านทั้งหลายจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ ตรัสรู้แล้ว มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วย ร่องรอยอะไร ตัณหามีข่ายส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่มี แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อจะนำไปในภพ ไหนๆ ท่านทั้งหลายจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วย ร่องรอยอะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ขวนขวาย แล้วในฌาน เป็นนักปราชญ์ ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่เข้าไป ระงับ คือ เนกขัมมะ แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อม รักใคร่พระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น การได้เฉพาะความ เป็นมนุษย์ยาก ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายยาก การฟัง พระสัทธรรมยาก การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายยาก ความไม่ทำบาปทั้งปวง ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ความ ชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ฆ่า สัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อ ว่าเป็นสมณะเลย การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน ๑ การไม่เข้าไป ฆ่า ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในภัต ๑ การนอนการนั่งอันสงัด ๑ การประกอบ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน คือ กหาปณะ กามทั้งหลายมีความเพลิดเพลิน [ยินดี] น้อย เป็นทุกข์ บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ท่านย่อมไม่ถึงความยินดีใน ในกามทั้งหลายแม้อันเป็นทิพย์ สาวกของพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา มนุษย์เป็นอันมากแล ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อารามและรุกขเจดีย์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่ง นั้นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้ ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อัน ให้ถึงความสงบระงับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ ที่พึ่งนั้นแล เป็นที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก ท่าน ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป ท่านเป็นนักปราชญ์ย่อมเกิดในสกุล ใด สกุลนั้นย่อมถึงความสุข ความเกิดขึ้นแห่งพระ พุทธเจ้าทั้งหลาย นำสุขมาให้ พระสัทธรรมเทศนานำสุขมา ให้ ความพร้อมเพรียงแห่งหมู่นำสุขมาให้ ความเพียรของ ผู้พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข ใครๆ ไม่อาจนับบุญของบุคคล ผู้บูชาซึ่งปูชารหบุคคล คือ พระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระ พุทธเจ้า ผู้ก้าวล่วงธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ข้ามความโศกและ ความร่ำไรได้แล้ว ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านี้ ใครๆ ไม่อาจ นับบุญของบุคคลผู้บูชาปูชารหบุคคลเหล่านั้น ผู้คงที่ ผู้นิพพาน แล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ว่าบุญนี้ประมาณเท่านี้ ฯ จบปฐมภาณวาร สุขวรรค เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เมื่อพวก มนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ เมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความ เร่าร้อนอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ เมื่อพวกมนุษย์มีความ ขวนขวายอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่ เมื่อพวก มนุษย์มีความขวนขวายกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ เราไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เป็น อยู่สบายดีหนอ เรามีปีติเป็นภักษาเหมือนเหล่าเทวดา ชั้นอาภัสสระ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ พระขีณาสพผู้สงบระงับ ละความชนะความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอ ด้วยโทสะไม่มี ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี สุขยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้ แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรส ดื่มรสอันเกิดแต่ วิเวกและรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี การอยู่ ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ บุคคลพึงเป็น ผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้ เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลาย ด้วยว่าบุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้น กาลนาน การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการ อยู่ร่วมกับศัตรู ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือน สมาคมแห่งญาติ เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงคบบุคคลนั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกตินำธุระไป มีวัตร เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้น เหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น ฯ ปิยวรรค บุคคลประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบ ตนในกิจที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสีย มักถือเอาสัตว์ หรือสังขารว่าเป็นที่รัก ย่อมทะเยอทะยานต่อบุคคลผู้ประกอบ ตามตน บุคคลอย่าสมาคมแล้วด้วยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่ รัก หรือด้วยสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก ในกาลไหนๆ เพราะการไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็น สัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะการพลัด พรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ลามก กิเลสเครื่อง ร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีสัตว์และสังขาร อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้น วิเศษแล้ว จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน ความโศกย่อม เกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มี แก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน ความ โศกย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี ความ โศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากความยินดี ภัยจักมี แต่ที่ไหน ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่กาม ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากกาม ภัยจักมี แต่ที่ไหน ความโศกย่อมเกิดแต่ตัณหา ภัยย่อมเกิดแต่ตัณหา ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากตัณหา ภัยจักมี แต่ที่ไหน ชนย่อมกระทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัศนะ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีปกติกล่าวคำสัจ ผู้ทำการงานของตน ให้ เป็นที่รัก ภิกษุพึงเป็นผู้มีความพอใจในนิพพานอันใครๆ บอกไม่ได้ เป็นผู้อันใจถูกต้อง และเป็นผู้มีจิตไม่เกี่ยวเกาะ แล้วในกาม ภิกษุนั้นเรากล่าวว่าผู้มีกระแสในเบื้องบน ญาติ มิตร และเพื่อนผู้มีใจดี ย่อมชื่นชมต่อบุรุษผู้จากไปสิ้นกาล นาน กลับมาแล้วโดยสวัสดี แต่ที่ไกล ว่ามาแล้ว บุญ ทั้งหลาย ย่อมต้อนรับแม้บุคคลผู้ทำบุญไว้ ซึ่งจากโลกนี้ไป สู่โลกอื่น ดุจญาติต้อนรับญาติที่รักผู้มาแล้ว ฉะนั้น ฯ โกธวรรค บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วง สังโยชน์เสียทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล บุคคลใดแล พึง ห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลัง แล่นไปได้ ฉะนั้น เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้ เป็นคนถือเชือก พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ ความไม่ดีด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พึง ชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ พึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้ บุคคล พึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้ มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่ เศร้าโศก อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึง ความไม่มี ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่ โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูด มาก แม้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก บุรุษ ผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียว ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้ ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครย่อมควร เพื่อจะนินทาบุคคลนั้นผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุช แม้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น แม้ พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริต ด้วยกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วย วาจา ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา พึงรักษา ความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วย กาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้น แล สำรวมเรียบร้อยแล้ว ฯ มลวรรค บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง แม้บุรุษของพระยายมก็ ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม อนึ่ง เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึงแก่ตน จงรีบ พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวนจักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์ บัดนี้ท่าน เป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว เตรียมจะไปยังสำนักของ พระยายม อนึ่ง ที่พักในระหว่างของท่านก็ยังไม่มี และ เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบ พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มี กิเลสเครื่องยียวน จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก นักปราชญ์ ทำกุศลทีละน้อยๆ ในขณะๆ พึงขจัดมลทินของตนออกได้ โดยลำดับ เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทอง ฉะนั้น สนิม เกิดขึ้นแต่เหล็กเอง ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กนั้นแล้ว ย่อมกัด เหล็กนั้นแหละ ฉันใด กรรมของตนย่อมนำบุคคลผู้มัก ประพฤติล่วงปัญญาชื่อโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น มนต์มีอัน ไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน ความ เกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทิน ของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทินหญิง ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมทั้งหลายที่ลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งใน โลกนี้ทั้งในโลกหน้า เราจะบอกมลทินกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ละมลทินนี้เสียแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด บุคคลผู้ไม่มีหิริ กล้าเพียงดังกา มักขจัด มักแล่นไป ผู้คะนอง เป็นผู้ เศร้าหมองเป็นอยู่ง่าย ส่วนบุคคลผู้มีหิริ มีปกติแสวงหา ความสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจด เห็นอยู่เป็นอยู่ยาก นรชนใดย่อมล้างผลาญสัตว์มีชีวิต ถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก คบหาภริยาคนอื่น กล่าว คำเท็จ และประกอบการดื่มสุราเมรัยเนืองๆ นรชนนี้ย่อม ขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตนในโลกนี้แล ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า บาปธรรมทั้งหลายอันบุคคลไม่สำรวมแล้ว ความโลภและสภาวะมิใช่ธรรม อย่าพึงย่ำยีท่านเพื่อทุกข์สิ้น กาลนาน ชนย่อมให้ตามศรัทธาตามความเลื่อมใสโดยแท้ บุคคลใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าว ของชนเหล่า อื่นนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือ กลางคืน ส่วนผู้ใดตัดความเป็นผู้เก้อเขินนี้ได้ขาด ถอนขึ้น ให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นแลย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือ กลางคืน ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี โทษ ของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่า บุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของคนอื่น ดุจบุคคลโปรยแกลบ แต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วย กิ่งไม้ ฉะนั้น อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเพ่ง โทษผู้อื่น มีความสำคัญในการยกโทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็น ผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้า ไม่มีในอากาศ ฉะนั้น หมู่สัตว์ยินดีแล้วในธรรมเครื่องยัง สัตว์ให้เนิ่นช้า พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องยัง สัตว์ให้เนิ่นช้า สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศ ฉะนั้น สังขารทั้งหลายเที่ยงไม่มี กิเลสชาติเครื่องยังสัตว์ให้ หวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้า ฯ ธัมมัตถวรรค บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม ด้วยเหตุที่วินิจฉัยอรรถคดีโดย ผลุนผลัน ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตวินิจฉัยอรรถคดี และความ อันไม่เป็นอรรถคดีทั้งสอง วินิจฉัยบุคคลเหล่าอื่นโดยความ ไม่ผลุนผลัน โดยธรรมสม่ำเสมอ ผู้นั้นชื่อว่าคุ้มครองกฎหมาย เป็นนักปราชญ์ เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม บุคคลไม่ชื่อว่า เป็นบัณฑิต ด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก บุคคลผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย เราเรียกว่า เป็นบัณฑิต บุคคลไม่ชื่อว่า ทรงธรรมด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมด้วยนามกาย [และ] ไม่ประมาท ธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลไม่ชื่อว่าเป็น เถระ เพราะเหตุที่มีผมหงอกบนศีรษะ วัยของบุคคลนั้นแก่ หง่อมแล้ว บุคคลนั้นเรากล่าวว่า เป็นผู้แก่เปล่า สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะและทมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลมีมลทินอัน คายแล้ว เป็นนักปราชญ์ เราเรียกว่าเป็นเถระ นรชนผู้มัก ริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่เป็นผู้ชื่อว่ามีรูปงาม เพราะเหตุเพียงพูด หรือเพราะความเป็นผู้มีวรรณะงาม ส่วน ผู้ใดตัดโทษมีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาด แล้ว ผู้นั้นมีโทษอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า ผู้มี รูปงาม บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะศีรษะโล้น บุคคล ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ มากด้วยความอิจฉาและความโลภ จักเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใดสงบบาปน้อยใหญ่ได้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นสมณะ เพราะสงบ บาปได้แล้ว บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุเพียงที่ขอคนอื่น บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุนั้น ผู้ใดในโลกนี้ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ รู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เที่ยวไปในโลก ผู้นั้นแลเราเรียกว่าเป็น ภิกษุ บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะความนิ่ง บุคคลผู้หลงลืม ไม่รู้แจ้ง ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม อันประเสริฐ เป็นดุจบุคคลประคองตราชั่ง เว้นบาปทั้งหลาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่ามุนี ผู้ใดรู้จักโลก ทั้งสอง ผู้นั้นเราเรียกว่าเป็นมุนีเพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่เรา เรียกว่าเป็นอริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ดูกรภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ อย่าถึงความชะล่าใจ ด้วยเหตุเพียงศีลและวัตร ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยการได้ สมาธิ ด้วยการนอนในที่สงัด หรือด้วยเหตุเพียงความดำริ เท่านี้ว่า เราถูกต้องสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ ซึ่งปุถุชนเสพ ไม่ได้ ฯ มรรควรรค ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอัน พระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย ทางนี้เท่า นั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็น ที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนิน ไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราทราบชัดธรรม เป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออก บอกทางแก่ท่านทั้งหลาย แล้ว ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไปแล้ว ผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้ เมื่อใด บุคคล พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อ ใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความ หมดจด เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็น ทางแห่งความหมดจด บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาล เป็นที่ลุกขึ้น เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอัน จมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน คนเกียจคร้านย่อม ไม่ประสพทางแห่งปัญญา บุคคลพึงตามรักษาวาจา พึง สำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงทำอกุศลด้วยกาย พึงชำระ กรรมบถ ๓ ประการนี้ให้หมดจด พึงยินดีมรรคที่ฤาษีประ- กาศแล้ว ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความ ประกอบโดยแท้ ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความ เจริญและความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญา เพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้ ท่านทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายตัดป่าและหมู่ไม้ในป่าแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีป่า เพราะ กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าแม้ประมาณน้อยในนารีของนระ ยังไม่ ขาดเพียงใด นระนั้นยังมีใจเกาะเกี่ยว ดุจลูกโคผู้ดื่มกิน น้ำนม มีใจเกาะเกี่ยวในมารดาเพียงนั้น ท่านจงตัดความรัก ของตนเสีย ดุจบุคคลเด็ดดอกโกมุทอันเกิดในสรทกาลด้วย ฝ่ามือ ท่านจงเพิ่มพูนทางสงบอย่างเดียว นิพพานอันพระ สุคตทรงแสดงแล้ว คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่ นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน ดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและ ปสุสัตว์มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่ง ที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อม ไม่มีเพื่อความต้านทาน ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติ ทั้งหลาย บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว พึงเป็นผู้ สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลัน ทีเดียว ฯ ปกิณณกวรรค ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุข พอประมาณไซร้ เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์ พึง สละความสุขพอประมาณเสีย ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตน ด้วยการเข้าไปตั้งความทุกข์ไว้ในผู้อื่น ผู้นั้นระคนแล้วด้วย ความเกี่ยวข้องด้วยเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวร ก็กรรมที่ ควรทำภิกษุเหล่านี้ละทิ้งเสียแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดย่อมทำ กรรมที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะดังไม้อ้อยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว ก็กายคตาสติ อันภิกษุเหล่าใดปรารภด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นผู้ทำ ความเพียรเป็นไปติดต่อในกรรมที่ควรทำ ย่อมไม่ส้องเสพ กรรมที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติ สัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นไป พราหมณ์ฆ่ามารดาบิดา เสียได้ ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้งสองเสียได้ และฆ่า แว่นแคว้นพร้อมกับนายเสมียนเสียได้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไป พราหมณ์ฆ่ามารดาบิดาเสียได้ ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์ ทั้งสองเสียได้ และฆ่านิวรณ์มีวิจิกิจฉานิวรณ์ดุจเสือโคร่งเป็น ที่ ๕ เสียได้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์ไป สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน เหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วใน กาลทุกเมื่อ สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของ พระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ สติของชน เหล่าใดไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้ว ในกาลทุกเมื่อ สติของชนเหล่าใดไปแล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระ โคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ ใจของชนเหล่า ใดยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้ว ในกาลทุกเมื่อ ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในภาวนา ทั้ง กลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระ โคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ บวชได้ยาก ยินดี ได้ยาก เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้ การ อยู่ร่วมกับบุคคลผู้ไม่เสมอกัน นำความทุกข์มาให้ ชนผู้ เดินทางไกลอันทุกข์ตกตามแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคล ไม่พึงเดินทางไกลและไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ตกตามแล้ว กุลบุตร ผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เพรียบพร้อมแล้วด้วยยศ และโภคะ ไปถึงประเทศใดๆ เป็นผู้อันคนบูชาแล้วใน ประเทศนั้นๆ แล สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือน ภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษแม้นั่งแล้วในที่นี้ก็ย่อมไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่บุคคลยิงไปแล้วในเวลากลางคืน ฉะนั้น ภิกษุ พึงเสพการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไป ผู้เดียว ฝึกหัดตนผู้เดียว พึงเป็นผู้ยินดีแล้วในที่สุดป่า ฯ นิรยวรรค บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ใดทำบาป กรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์ผู้มีกรรมเลวทรามละไปแล้ว ย่อม เป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า คนเป็นอันมากผู้อันผ้ากาสาวะพัน คอแล้ว มีธรรมอันลามก ไม่สำรวม เป็นคนชั่วช้า ย่อม เข้าถึงนรกเพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย ก้อนเหล็กแดง เปรียบด้วยเปลวไฟ อันบุคคลบริโภคแล้วประเสริฐกว่า บุคคลผู้ทุศีล ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร นรชนผู้ประมาทแล้ว ทำชู้ ภริยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่าง คือไม่ได้บุญ ๑ ไม่ได้นอนตามความใคร่ ๑ นินทาเป็นที่ ๓ นรกเป็นที่ ๔ การไม่ได้บุญและคติอันลามก ย่อมมีแก่นรชนนั้น ความยินดี ของบุรุษผู้กลัวกับหญิงผู้กลัว น้อยนัก และพระราชาทรงลง อาชญาอย่างหนัก เพราะฉะนั้น นรชนไม่ควรทำชู้ภริยาของ ผู้อื่น หญ้าคาบุคคลจับไม่ดีย่อมบาดมือ ฉันใด ความเป็น สมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมคร่าเข้าไปในนรก ฉันนั้น การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรที่เศร้าหมอง และ พรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ ย่อมไม่มีผลมาก ถ้าจะ ทำพึงทำกิจนั้นจริงๆ พึงบากบั่นให้มั่น ก็สมณธรรมที่ย่อ หย่อน ย่อมเรี่ยรายกิเลสดุจธุลีโดยยิ่ง ความชั่วไม่ทำเสีย เลยดีกว่า เพราะความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ส่วน ความดีทำนั่นแลเป็นดี เพราะทำแล้วไม่เดือดร้อนในภาย หลัง ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนเหมือนปัจจันตนคร ที่มนุษย์ ทั้งหลายคุ้มครองไว้พร้อมทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้น ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะว่า ผู้ที่ล่วง ขณะ เสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรก ย่อมเศร้าโศก สัตว์ ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิย่อมละอายเพราะวัตถุอันบุคคลไม่พึง ละอาย ย่อมไม่ละอายเพราะวัตถุอันบุคคลพึงละอาย ย่อมไป สู่ทุคติ สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่ไม่ ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ ควรกลัว ย่อมไปสู่ทุคติ สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ และมีปกติเห็นในสิ่งที่ มีโทษว่าไม่มีโทษ ย่อมไปสู่ทุคติ สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่น สัมมาทิฐิ รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมที่มีโทษ และรู้ ธรรมที่หาโทษมิได้โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ ย่อมไปสู่ สุคติ ฯ นาควรรค เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศรที่ออก มาจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก ชน ทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัดแล้วไปสู่ที่ชุมนุม พระ ราชาย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คนที่ได้ ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด ม้า อัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ และช้างกุญชรผู้มหานาค ชนิดที่นายควานฝึกแล้ว จึงเป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้มีตน อันฝึกแล้ว ประเสริฐกว่าพาหนะเหล่านั้น บุคคลผู้ฝึกตน แล้ว พึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ได้ ฉันใด บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปแล้วด้วยยาน เหล่านี้ ฉันนั้น หาได้ไม่ กุญชรนามว่า ธนปาลกะ ผู้ตก มันจัด ห้ามได้ยาก เขาผูกไว้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอาหาร กุญชรย่อมระลึกถึงป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง เมื่อใด บุคคลเป็น ผู้บริโภคมาก มักง่วงซึม นอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจ สุกรใหญ่อันบุคคลปรนปรือด้วยเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้น เป็นคนเขลาเข้าห้องบ่อยๆ จิตนี้ได้เที่ยวไปสู่ที่จาริกตาม ความปรารถนา ตามความใคร่ ตามความสุข ในกาลก่อน วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย ดุจนายควาน ช้างผู้ถือขอข่มช้างผู้ตกมัน ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี ในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้น จากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก ดุจกุญชรผู้จมแล้วในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา รักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น นักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงครอบงำอันตรายทั้งปวง มีใจ ชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าว่าบุคคลไม่พึงได้ สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกันมีปกติอยู่ด้วย กรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะ แล้วเสด็จ เที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยวไป ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวประเสริฐ กว่า เพราะความเป็นสหายไม่มีในเพราะชนพาล บุคคลพึง เที่ยวไปผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย สหายทั้งหลาย เมื่อความต้องการเกิดขึ้น นำความสุขมาให้ ความยินดีด้วย ปัจจัยตามมีตามได้ นำมาซึ่งความสุข บุญนำความสุขมา ให้ในเวลาสิ้นชีวิต การละทุกข์ได้ทั้งหมดนำมาซึ่งความสุข ความเป็นผู้เกื้อกูลมารดานำมาซึ่งความสุขในโลก ความเป็น ผู้เกื้อกูลบิดานำมาซึ่งความสุข ความเป็นผู้เกื้อกูลสมณะนำ มาซึ่งความสุขในโลกและความเป็นผู้เกื้อกูลพราหมณ์นำมาซึ่ง ความสุขในโลก ศีลนำมาซึ่งความสุขตราบเท่าชรา ศรัทธา ตั้งมั่นแล้วนำมาซึ่งความสุข การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่ง ความสุข การไม่ทำบาปทั้งหลายนำมาซึ่งความสุข ฯ ตัณหาวรรค ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่าน ทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดัง วานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น ตัณหานี้ลามก ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบาง อันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น บุคคลใดแล ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาด น้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะ ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดราก แห่งตัณหาเสีย ดุจบุรุษต้องการแฝกขุดแฝก ฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ ฉะนั้น ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูก ตัดแล้วก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอน เชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้น ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคล ผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ซึ่งทำให้ใจเอิบ อาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว กระแสตัณหาย่อม ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิด แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา โสมนัสที่ซ่านไปแล้ว และที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข นรชนเหล่านั้นแล เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้ง ห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้ว กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วย สังโยชน์และธรรมเป็นเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ สิ้นกาลนาน หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อมล้อม แล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับ กระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคะ ธรรมแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย ท่าน ทั้งหลายจงเห็นบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า มีใจ น้อมไปแล้วในความเพียรดุจป่า พ้นแล้วจากตัณหาเพียงดัง ป่า ยังแล่นเข้าหาป่านั่นแล บุคคลนี้พ้นแล้วจากเครื่องผูก ยังแล่นเข้าหาเครื่องผูก นักปราชญ์ทั้งหลายหากล่าวเครื่อง ผูกซึ่งเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้อง ว่ามั่นไม่ สัตว์ผู้กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้ว มณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย และความห่วงใยในบุตรและ ภริยา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวเครื่องผูกอันหน่วงลง อัน หย่อน อันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก นั้นว่ามั่น นักปราชญ์ ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ละกามสุขแล้ว ย่อมเว้นรอบ สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อม แล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา ดุจแมลง มุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ย่อมละ ทุกข์ทั้งปวงไป ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีต เสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จง ปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่ เข้าถึงชาติและชราอีก ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตก ย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อม ทำเครื่องผูกให้มั่น ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบ วิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่ ผู้นั้นแลจักทำตัณหา ให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้ ภิกษุผู้ถึง ความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพ ได้แล้ว อัตภาพของภิกษุนี้มีในที่สุด ภิกษุปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุติและบท รู้จักความประชุมเบื้อง ต้น และเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีสรีระ ในที่สุด เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ เราเป็น ผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่าง พ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นตัณหา รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใคร เล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์) การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง ความ สิ้นตัณหาย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อม ฆ่าคนมีปัญญาทราม แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมี ปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้ เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความ อยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคล ถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุ นั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ ย่อมมี ผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะ เป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่าน ผู้ปราศจากโมหะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็น โทษ หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมี ผลมาก ฯ ภิกขุวรรค ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็น ความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวม ด้วยลิ้นเป็นความดี ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความ สำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม- เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยว แห้งแล้ว ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตน ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มี สติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็น คติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือน พ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่เข้า ไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ พราหมณวรรค ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จง บรรเทากามทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้น ไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งใน ธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้ง ปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดี ธรรมชาติมิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้ ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น บุคคลผู้มีบาปอันลอย แล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของ ตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น พราหมณ์ ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์ นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคล ผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าบุคคลผู้ประหารนั้น การ เกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็น คุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวม แล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึง นอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อม การบูชาไฟ ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการ เกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ ด้วย ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วย การเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎก ที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่าน ย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุล ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน) อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่ กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มี กิเลสเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ตัด ความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และ ตัดทิฐิดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจ ลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า การทุบตีและ การจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่ สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บน ปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่รู้ แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญา ลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรคและมิใช่มรรค ผู้ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้ง และมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาใน ตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลม นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบ คาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ผู้ไม่ ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว ผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้น ก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่า เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลก หน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้อง ในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลินในภพสิ้น แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์ ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทาง ลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็น ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความ เคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น เสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็น ทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็น ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่เทวดา คน ธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลส เครื่องกังวลในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และ ในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้ว กล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่น ไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึง ความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ..๕ เดือน ..๔ เดือน ..๓ เดือน ..๒ เดือน ..๑ เดือน ..กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แลฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ..๕ เดือน ..๔ เดือน ..๓ เดือน ..๒ เดือน ..๑ เดือน ..กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แลฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์เราต้องพึ่งตัวเราเอง คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

กุสินารา KUSHINAGARความเบื่อหน่ายจนเกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่­นจะนำไปสู่ความหลุดพ้น แต่ความเบื่อหน่ายเพราะไม่ถูกใจ คือ ความยึดติดหรือยึดมั่นถือมั่น ความเบื่อหน่ายทางธรรมะจะเป็นไปในทาง ' เฉย' จนถึงที่สุด คนที่เบื่อหน่ายแล้วกระสับกระส่ายเพราะควา­มไม่ชอบใจนั้นจะไม่ทำให้หลุดพ้น "ความเฉย" ต้องเกิดจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะเขาใจว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่เพราะโกรธเกลียดชังหรือไม่เห็นประโย­ชน์อะไรแก่ "ตน" นี้ไม่ใช่ความเฉยโดยแท้จริง เหมือนเพชรเม็ดหนึ่งไก่เห็นเข้าก็ไม่สนใจ แต่ถ้าข้าวสารเม็ดหนึ่งไก่เห็นเข้าก็สนใจ อาการคลายออกจากความยึดมั่นถือมั่น เพราะเห็นความจริงแห่งสิ่งนั้น ๆ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายและเกิดความรู้สึกเ­ฉย ๆ จึงจะนำไปสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยสมบู­รณ์

ความเบื่อหน่ายและความหลุดพ้นความเบื่อหน่ายจนเกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่­นจะนำไปสู่ความหลุดพ้น แต่ความเบื่อหน่ายเพราะไม่ถูกใจ คือ ความยึดติดหรือยึดมั่นถือมั่น ความเบื่อหน่ายทางธรรมะจะเป็นไปในทาง ' เฉย' จนถึงที่สุด คนที่เบื่อหน่ายแล้วกระสับกระส่ายเพราะควา­มไม่ชอบใจนั้นจะไม่ทำให้หลุดพ้น "ความเฉย" ต้องเกิดจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะเขาใจว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่เพราะโกรธเกลียดชังหรือไม่เห็นประโย­ชน์อะไรแก่ "ตน" นี้ไม่ใช่ความเฉยโดยแท้จริง เหมือนเพชรเม็ดหนึ่งไก่เห็นเข้าก็ไม่สนใจ แต่ถ้าข้าวสารเม็ดหนึ่งไก่เห็นเข้าก็สนใจ อาการคลายออกจากความยึดมั่นถือมั่น เพราะเห็นความจริงแห่งสิ่งนั้น ๆ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายและเกิดความรู้สึกเ­ฉย ๆ จึงจะนำไปสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยสมบู­รณ์

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙ วันทา (บทขอขมา) วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจฏิยัง พุทธะรูปัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปัณณัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต สาธุ สาธุ อนุโมทามิ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ โยโทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสสะมิง ธัมมัสสะมิง สังฆัสสะมิง ปะกะโตมะยา ขะมะถะเม กะตังโทสัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปฏิเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปามาเทนะ สัมปาเทถาติ อิจเจวะมัจ จันตะมะนัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญา ภิสันธัง วิปุลัง อะรัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย?

A Tour of Buddhist Shrines - Lumbini (Nepal), Kushinagar (India) วันทา (บทขอขมา) วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจฏิยัง พุทธะรูปัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปัณณัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต สาธุ สาธุ อนุโมทามิ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ โยโทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสสะมิง ธัมมัสสะมิง สังฆัสสะมิง ปะกะโตมะยา ขะมะถะเม กะตังโทสัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปฏิเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปามาเทนะ สัมปาเทถาติ อิจเจวะมัจ จันตะมะนัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญา ภิสันธัง วิปุลัง อะรัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย?

Darshan Of Maha Bodhi Temple - Bodh Gaya - Patna - Bihar - Indian Temple.. วันทา (บทขอขมา) วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจฏิยัง พุทธะรูปัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปัณณัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต สาธุ สาธุ อนุโมทามิ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ โยโทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสสะมิง ธัมมัสสะมิง สังฆัสสะมิง ปะกะโตมะยา ขะมะถะเม กะตังโทสัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปฏิเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปามาเทนะ สัมปาเทถาติ อิจเจวะมัจ จันตะมะนัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญา ภิสันธัง วิปุลัง อะรัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย? .

สังเวชนียสถาน, Lumpini, Kaya, Sarnath, Kushinagar, 4 Places of Buddha วันทา (บทขอขมา) วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจฏิยัง พุทธะรูปัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปัณณัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต สาธุ สาธุ อนุโมทามิ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ โยโทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสสะมิง ธัมมัสสะมิง สังฆัสสะมิง ปะกะโตมะยา ขะมะถะเม กะตังโทสัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปฏิเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปามาเทนะ สัมปาเทถาติ อิจเจวะมัจ จันตะมะนัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญา ภิสันธัง วิปุลัง อะรัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย?

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

๐๘.บารมี ๑๐ (๔) วิปัสสนาญาณ ๙ หน้า B

ถ้าเดินทางเสียแต่วันนี้นะ ข้างหน้าก็ถึง ถ้าวันนี้ไม่เริ่มต้นนะ ข้างหน้าไปไม่ได้หรอก ลงได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการเจริญสติจนถึงขนาดนี้แล้วยังไม่ทำเนี่ย จะทำเมื่อไหร่ ไม่เริ่มวันนี้ จะเริ่มเมื่อไหร่ รอให้แก่รึ รอให้ตายรึ หรือจะไปเริ่มชาติหน้า หรือจะรอพระศรีอาริย์ ถ้านิสัยสันดานขี้เกียจขี้คร้าน ไปเจอพระศรีอาริย์ก็ยิ่งขี้เกียจกว่านี้อีก เพราะสะสมนิสัยไม่ดีไปนะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกนะ หัดเจริญสติตั้งแต่วันนี้เลย ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้

ตอนแรกมุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์สุดท้ายเพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ

ตอนแรกมุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์สุดท้ายเพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์

ตอนแรกมุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์สุดท้ายเพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์

คิดดี พูดดี ทำดี

โซล่าเซลล์ใช้กับมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้ากำลังพอดีครับ

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาท (nervous system).wmv

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเราหนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) คุณทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา ขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวันอยู่นั้นร่างกายและอวัยวะของเราก็ทำงานอยู่เหมือนกันแต่หากเราไม่ได้ใส่ใจ กินนอนตามแต่ใจชอบ ร่างกายก็อาจเกิดความผิดปกติเล็กๆน้อยๆนานวันเข้าก็อาจกลายเป็นโรคขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน ดังนี้ 5.00-6.00 น. เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นนอนที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารคอร์ติซอลและจะเพิ่มสูงสุดในเวลา 8.00 น. ซึ่งสารคอร์ติซอลเป็นสเตรอยด์ตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อต้านการอักเสบ ควบคุมระดับความเครียด และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา ถ้าไม่ตื่นช่วงนี้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะหลับกี่โมงก็ควรตื่นในเวลานี้ และในตอนเช้าจะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ด้วย มันจะบีบตัวแรงสุดในช่วงนี้ซึ่งเหมาะมากกับการขับถ่ายอุจจาระ การไม่ถ่ายอุจจาระในตอนเช้าจะทำให้ของเสียคั่งค้างถูกดูดซึมกลับมาใหม่ ฉะนั้น การถ่ายอุจจาระทุกวัน ยังไม่สำคัญเท่าถ่ายทุกเช้า 6.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด แนะนำให้ออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30นาที และเคล็ดลับสำหรับผู้ทีอยากลดความอ้วน ควรออกกำลังกายต่อไปอีก 30 นาที เนื่องจาก 30 นาทีแรก ร่างกายจะดึงน้ำตาลในเลือดกับในตับมาใช้ แต่หลังจากนั้นถือว่าเป็นนาทีทอง ที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เดิมตามร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องกำลังกายเบาๆติดต่อกันประมาณ 1 ชั่วโมง และแนะนำให้งดทานอาหารหลังจากออกกำลังกายอีกประมาณ 1 ชั่วโมง อาจดื่มน้ำเปล่าได้บ้าง ที่ทำเช่นนี้ก้เพื่อปล่อยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ หลังออกกำลังกายเสร็จก็ควรอาบน้ำ ซึ่งน้ำที่อาบควรเป็นน้ำเย็นหรืออุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยในการเผาผลาญ และทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเผชิญความเครียดตลอดวัน พอสายหน่อยควรเติมพลังด้วยอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดคือ มื้อเช้า ซึ่งควรทานมื้เช้าทุกเช้า ถ้าเราไม่รับประทานอาหาร ร่างกายจะคิดว่าเราขาดอาหาร โดยจะไปดึงอาหารที่ค้างไว้เมื่อคืนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งผลเสียคือของเสียและสารพิษจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายส่งผลถึงการมีกลิ่นตัว สิว และโรค อ้วน ตามมาได้ 08.00-13.00 น. ช่วงนี้หันมาทำงานกันดีกว่า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปนั้น สมาธิของเราจะเริ่มลดลง และการทำงานไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าได้เวลาของอาหารมื้อที่ 2 แล้ว (ในมื้อกลางวันสำหรับผู้ที่อยากมีหุ่นสวยก็ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทแป้ง อย่างอื่นทานได้ตามสมควร) 13.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาเผาผลาญของร่างกายทำให้ความร้อนสูง จึงควนดื่มน้ำเยอะๆหรืออาจทานผลไม้เติมพลังงานได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรทานอาหารมื้อหนัก เนื่องด้วยเวลานี้เป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก การทานอาหารมื้อหนักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารแทนที่จะไปเลี้ยงที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารที่เราทานเข้าไปในตอนเช้าถูกดูดซึมได้ไม่ค่อยดี 17.00-21.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะเรื่มซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นเราควรพัก งดกิน งดออกกำลังกายได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง เพราะถ้ามีกิจกรรมที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน แร่ธาตุต่างๆที่ควรจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายก็กลายมาเป็นพลังงานแทน แต่ก้าในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องกินจริงๆ เช่น ต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงก็ขอแนะนำให้ทานอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แป้งและน้ำตาลเพราะมันจะไปสะสมทำให้เราอ้วนได้ 21.00-23.00 น. เป็นช่วงที่ต้องการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้อย่าอาบน้ำเย็นเพราะอาจทำให้ป็นหวัดง่าย จำไว้ง่ายๆคือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น แล้วเวลานี้ยังเป็นเวลาที่ควรเข้านอนที่สุด ด้วย 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะดึงน้ำในถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับตื่นกลางดึกหรือตอนเช้าจะจาม ฉะนั้นแนะนำให้ทานน้ำเยอะๆก่อนนอน 01.00-03.00 น. ร่างกายก็ยังคงทำงานอยู่ ช่วงที่หลับอยู่นี้ตับจะทำหน้าที่ขจัดสารพิษ ฆ่าเชื้อโรคเพราะฉะนั้นถ้าใครนอนดึกไขมันจะไปพอกตัวที่ตับซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย แต่ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ จะทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จะตื่นหรือหลับก็ได้ แต่หากได้ อยากให้ลุกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ลองสูดหายใจ เข้า-ออกลึกๆ สัก 3-4 รอบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี

เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไ­­ม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้น ย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ ไม่ต้องการด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มี  ร่างกายอื่น

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การนวดมือแก้นิ้วล็อค By Khun TONG Ka

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อคระยะแรก ด้วยน้ำส้มสายชู

อธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด หวั่น มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า.

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล..

ด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล..

ด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล..

ด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล..

ด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... สมพงค์ ทุ่งมีผล..

Jiddu Krishnamurti - Can We Be Free From The Desire Of Love.

Jiddu Krishnamurti: What Is The Nature Of Our Consciousness

Jiddu Krishnamurti: The Action With No Past Or Future

Jiddu Krishnamurti: To Live Without The Shadow Of Control

Jiddu Krishnamurti: Learning That Transforms Consciousness

Jiddu Krishnamurti: Living Without Images

It happens only in India !!!

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าลืมตา-หลับตาแบบไหนมากกว่ากัน พระพุทธเจ้าบรรลุขณะหลับตานอกเปิดตาใน พระสาวกบรรลุขณะฟังธรรม...ลืมตา ปัจจุบันเรามักจะนึกกันว่าต้องนั่งหลับตาภาวนาจึงจะบรรลุธรรม หลายท่านคิดอย่างนั้น ขณะที่หลาย ๆ ท่านก็เข้าใจว่ามันไม่ได้อยู่ที่ลืมตา หรือหลับตา ผลของการลืมตา หลับตาของแต่ละคนต่างกันครับ บางคนหลับตาแล้วฟุ้งซ่าน สู้มองพระพุทธเจ้าแล้วพิจารณาไม่ได้ บางคนลืมตาแล้วฟุ้งซ่านต้องหลับตา แต่ที่แน่ ๆ ไม่ว่าจะลืมตา หรือหลับตา จิตผู้บรรลุต้องเป็นไปในมรรคา ทางเดียวกัน จิตต้องเดินไปในการพิจารณาธรรมอันประกอบด้วยปัญญาเพื่อการบรรลุธรรม ปัญญา 2 แบบที่อยากให้ทราบไว้ก็คือ 1.) ปัญญาเพื่อการใช้ชีวิตเป็นอยู่ที่ถูกต้อง 2.) ปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะความเป็นจริง ปัญญาในข้อ 1 มักเป็นไปในด้านทาน ศีล ภาวนา หรือบุญกิริยาวัตถุ 10 และบารมี 10 แบบพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นกลาง ปัญญาในข้อ 2 เป็นไปในการละสังโยชน์ 10 ประการ บุญ บารมี แบบปรมัตถ์ การหลับตา หากแต่ว่าเมื่อได้พลังของสติ พลังของความสงบเป็นเรี่ยวแรงพอสมควรแก่การพิจารณา คือ ฌาณ 1 ไม่มีนิวรน์เกาะจิตใจ จึงกำหนดพิจารณามนสิการธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เฉพาะหน้า จากภายนอกสู่ภายใน ภายในสู่ภายนอก พิจารณาตัวเราเทียบกับตัวเขาพิจารณาตัวเขาเทียบตัวเรา จนไม่เหลือตัวตนให้ยึดถือ เป็นผลสำเร็จของการหลับตาภาวนา มิใช่เพื่อแช่นิ่งแต่ประการใด การลืมตาภาวนา อย่าลืมว่าภาวนาแปลว่าทำให้เจริญ คิดน้อมใจไปทางใดก็ได้ ในสมถะ วิปัสสนา เพื่อให้สติ ปัญญาเจริญขึ้น สมถะเพื่อสติ การจะเจริญสติได้นั้นต้องอาศัยปัญญาอย่างมากถึงจะเข้าใจสติที่ใช้เจริญปัญญา ถ้าไม่เข้าใจว่าสติตัวใดเป็นแบบไหน ก็จะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างปัญญาภายนอก กับปัญญาภายในได้เลย ธรรมที่เรารู้เราอ่านกัน ฟังกันมาเป็นปัญญาภายนอก ยังไม่ใช่ตัวรู้เพื่อดับทุกข์อย่างแท้จริง ปัญญาภายในคือปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะจิตของตน เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมของตน ของตัวเราเอง แรกปฏิบัติจึงหักกิเลส หักความหลงเบื้องต้นด้วยการพิจารณากายในกาย อันมีกายคตานุสสติ ธาตุ 4 อสุภะ 10 นวสี 9 เป็นเครื่องมือ เพื่อความไม่ยึดติดในกาย เห็นจริงแท้ว่ากายนี้ กายไหน ๆ ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วจึงมาดูกายในลักษณะของเวทนา อาการ สภาวะ แล้วจะเริ่มสังเกตเห็น และรู้ว่าจิตมีอาการเช่นไร แล้วจะเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ออกจากหลักสติปัฏฐาน 4 แล้วไปไม่ถึงฝั่งครับ นั่งหลับตาเป็นรูปธรรมว่าได้ปฏิบัติธรรมสำหรับบางคน กาปฏิบัติธรรมสำหรับบางคนก็เพียงเพื่อสงบระงับอารมณ์จากความวุ่นวายในหน้าที่ การงาน สังคม ครอบครัว เพื่อพักใจ พักผ่อนจากความเครียด อันนี้ไม่ว่ากันครับ ทำไปเถอะ พักไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีกว่าไปเที่ยวเป็นไหน ๆ เมื่อเวลามาถึงสมาธิจะสามารถเชื่อมต่อกับสมาธิในฝ่ายปัญญาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เจ้าชายหลับตาเห็นอะไร พระสาวกปัญจวัคคี พระสารีบุตร พระยสะ พระนางปฏาจารา หรือพระสาวกท่านอื่น ๆ ลืมตาเห็นอะไร เราหลับตาเห็นอะไร ลืมตาเห็นอะไร จะเป็นไปเพื่อการบรรลุธรรมไหมนะ อุปติสสะ กับโกลิตะดูละครเห็นไตรลักษณ์ เราดูหนัง ฟังเพลง ดูโลกเห็นอะไรอยู่ เจริญในธรรมครับ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งลืมตา-หลับตาแบบไหนมากกว่ากัน พระพุทธเจ้าบรรลุขณะหลับตานอกเปิดตาใน พระสาวกบรรลุขณะฟังธรรม...ลืมตา ปัจจุบันเรามักจะนึกกันว่าต้องนั่งหลับตาภาวนาจึงจะบรรลุธรรม หลายท่านคิดอย่างนั้น ขณะที่หลาย ๆ ท่านก็เข้าใจว่ามันไม่ได้อยู่ที่ลืมตา หรือหลับตา ผลของการลืมตา หลับตาของแต่ละคนต่างกันครับ บางคนหลับตาแล้วฟุ้งซ่าน สู้มองพระพุทธเจ้าแล้วพิจารณาไม่ได้ บางคนลืมตาแล้วฟุ้งซ่านต้องหลับตา แต่ที่แน่ ๆ ไม่ว่าจะลืมตา หรือหลับตา จิตผู้บรรลุต้องเป็นไปในมรรคา ทางเดียวกัน จิตต้องเดินไปในการพิจารณาธรรมอันประกอบด้วยปัญญาเพื่อการบรรลุธรรม ปัญญา 2 แบบที่อยากให้ทราบไว้ก็คือ 1.) ปัญญาเพื่อการใช้ชีวิตเป็นอยู่ที่ถูกต้อง 2.) ปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะความเป็นจริง ปัญญาในข้อ 1 มักเป็นไปในด้านทาน ศีล ภาวนา หรือบุญกิริยาวัตถุ 10 และบารมี 10 แบบพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นกลาง ปัญญาในข้อ 2 เป็นไปในการละสังโยชน์ 10 ประการ บุญ บารมี แบบปรมัตถ์ การหลับตา หากแต่ว่าเมื่อได้พลังของสติ พลังของความสงบเป็นเรี่ยวแรงพอสมควรแก่การพิจารณา คือ ฌาณ 1 ไม่มีนิวรน์เกาะจิตใจ จึงกำหนดพิจารณามนสิการธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เฉพาะหน้า จากภายนอกสู่ภายใน ภายในสู่ภายนอก พิจารณาตัวเราเทียบกับตัวเขาพิจารณาตัวเขาเทียบตัวเรา จนไม่เหลือตัวตนให้ยึดถือ เป็นผลสำเร็จของการหลับตาภาวนา มิใช่เพื่อแช่นิ่งแต่ประการใด การลืมตาภาวนา อย่าลืมว่าภาวนาแปลว่าทำให้เจริญ คิดน้อมใจไปทางใดก็ได้ ในสมถะ วิปัสสนา เพื่อให้สติ ปัญญาเจริญขึ้น สมถะเพื่อสติ การจะเจริญสติได้นั้นต้องอาศัยปัญญาอย่างมากถึงจะเข้าใจสติที่ใช้เจริญปัญญา ถ้าไม่เข้าใจว่าสติตัวใดเป็นแบบไหน ก็จะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างปัญญาภายนอก กับปัญญาภายในได้เลย ธรรมที่เรารู้เราอ่านกัน ฟังกันมาเป็นปัญญาภายนอก ยังไม่ใช่ตัวรู้เพื่อดับทุกข์อย่างแท้จริง ปัญญาภายในคือปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะจิตของตน เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมของตน ของตัวเราเอง แรกปฏิบัติจึงหักกิเลส หักความหลงเบื้องต้นด้วยการพิจารณากายในกาย อันมีกายคตานุสสติ ธาตุ 4 อสุภะ 10 นวสี 9 เป็นเครื่องมือ เพื่อความไม่ยึดติดในกาย เห็นจริงแท้ว่ากายนี้ กายไหน ๆ ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วจึงมาดูกายในลักษณะของเวทนา อาการ สภาวะ แล้วจะเริ่มสังเกตเห็น และรู้ว่าจิตมีอาการเช่นไร แล้วจะเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ออกจากหลักสติปัฏฐาน 4 แล้วไปไม่ถึงฝั่งครับ นั่งหลับตาเป็นรูปธรรมว่าได้ปฏิบัติธรรมสำหรับบางคน กาปฏิบัติธรรมสำหรับบางคนก็เพียงเพื่อสงบระงับอารมณ์จากความวุ่นวายในหน้าที่ การงาน สังคม ครอบครัว เพื่อพักใจ พักผ่อนจากความเครียด อันนี้ไม่ว่ากันครับ ทำไปเถอะ พักไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีกว่าไปเที่ยวเป็นไหน ๆ เมื่อเวลามาถึงสมาธิจะสามารถเชื่อมต่อกับสมาธิในฝ่ายปัญญาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เจ้าชายหลับตาเห็นอะไร พระสาวกปัญจวัคคี พระสารีบุตร พระยสะ พระนางปฏาจารา หรือพระสาวกท่านอื่น ๆ ลืมตาเห็นอะไร เราหลับตาเห็นอะไร ลืมตาเห็นอะไร จะเป็นไปเพื่อการบรรลุธรรมไหมนะ อุปติสสะ กับโกลิตะดูละครเห็นไตรลักษณ์ เราดูหนัง ฟังเพลง ดูโลกเห็นอะไรอยู่ เจริญในธรรมครับ

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่งลืมตา-หลับตาแบบไหนมากกว่ากัน พระพุทธเจ้าบรรลุขณะหลับตานอกเปิดตาใน พระสาวกบรรลุขณะฟังธรรม...ลืมตา ปัจจุบันเรามักจะนึกกันว่าต้องนั่งหลับตาภาวนาจึงจะบรรลุธรรม หลายท่านคิดอย่างนั้น ขณะที่หลาย ๆ ท่านก็เข้าใจว่ามันไม่ได้อยู่ที่ลืมตา หรือหลับตา ผลของการลืมตา หลับตาของแต่ละคนต่างกันครับ บางคนหลับตาแล้วฟุ้งซ่าน สู้มองพระพุทธเจ้าแล้วพิจารณาไม่ได้ บางคนลืมตาแล้วฟุ้งซ่านต้องหลับตา แต่ที่แน่ ๆ ไม่ว่าจะลืมตา หรือหลับตา จิตผู้บรรลุต้องเป็นไปในมรรคา ทางเดียวกัน จิตต้องเดินไปในการพิจารณาธรรมอันประกอบด้วยปัญญาเพื่อการบรรลุธรรม ปัญญา 2 แบบที่อยากให้ทราบไว้ก็คือ 1.) ปัญญาเพื่อการใช้ชีวิตเป็นอยู่ที่ถูกต้อง 2.) ปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะความเป็นจริง ปัญญาในข้อ 1 มักเป็นไปในด้านทาน ศีล ภาวนา หรือบุญกิริยาวัตถุ 10 และบารมี 10 แบบพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นกลาง ปัญญาในข้อ 2 เป็นไปในการละสังโยชน์ 10 ประการ บุญ บารมี แบบปรมัตถ์ การหลับตา หากแต่ว่าเมื่อได้พลังของสติ พลังของความสงบเป็นเรี่ยวแรงพอสมควรแก่การพิจารณา คือ ฌาณ 1 ไม่มีนิวรน์เกาะจิตใจ จึงกำหนดพิจารณามนสิการธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เฉพาะหน้า จากภายนอกสู่ภายใน ภายในสู่ภายนอก พิจารณาตัวเราเทียบกับตัวเขาพิจารณาตัวเขาเทียบตัวเรา จนไม่เหลือตัวตนให้ยึดถือ เป็นผลสำเร็จของการหลับตาภาวนา มิใช่เพื่อแช่นิ่งแต่ประการใด การลืมตาภาวนา อย่าลืมว่าภาวนาแปลว่าทำให้เจริญ คิดน้อมใจไปทางใดก็ได้ ในสมถะ วิปัสสนา เพื่อให้สติ ปัญญาเจริญขึ้น สมถะเพื่อสติ การจะเจริญสติได้นั้นต้องอาศัยปัญญาอย่างมากถึงจะเข้าใจสติที่ใช้เจริญปัญญา ถ้าไม่เข้าใจว่าสติตัวใดเป็นแบบไหน ก็จะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างปัญญาภายนอก กับปัญญาภายในได้เลย ธรรมที่เรารู้เราอ่านกัน ฟังกันมาเป็นปัญญาภายนอก ยังไม่ใช่ตัวรู้เพื่อดับทุกข์อย่างแท้จริง ปัญญาภายในคือปัญญาที่เข้าไปรู้สภาวะจิตของตน เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมของตน ของตัวเราเอง แรกปฏิบัติจึงหักกิเลส หักความหลงเบื้องต้นด้วยการพิจารณากายในกาย อันมีกายคตานุสสติ ธาตุ 4 อสุภะ 10 นวสี 9 เป็นเครื่องมือ เพื่อความไม่ยึดติดในกาย เห็นจริงแท้ว่ากายนี้ กายไหน ๆ ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วจึงมาดูกายในลักษณะของเวทนา อาการ สภาวะ แล้วจะเริ่มสังเกตเห็น และรู้ว่าจิตมีอาการเช่นไร แล้วจะเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ออกจากหลักสติปัฏฐาน 4 แล้วไปไม่ถึงฝั่งครับ นั่งหลับตาเป็นรูปธรรมว่าได้ปฏิบัติธรรมสำหรับบางคน กาปฏิบัติธรรมสำหรับบางคนก็เพียงเพื่อสงบระงับอารมณ์จากความวุ่นวายในหน้าที่ การงาน สังคม ครอบครัว เพื่อพักใจ พักผ่อนจากความเครียด อันนี้ไม่ว่ากันครับ ทำไปเถอะ พักไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีกว่าไปเที่ยวเป็นไหน ๆ เมื่อเวลามาถึงสมาธิจะสามารถเชื่อมต่อกับสมาธิในฝ่ายปัญญาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เจ้าชายหลับตาเห็นอะไร พระสาวกปัญจวัคคี พระสารีบุตร พระยสะ พระนางปฏาจารา หรือพระสาวกท่านอื่น ๆ ลืมตาเห็นอะไร เราหลับตาเห็นอะไร ลืมตาเห็นอะไร จะเป็นไปเพื่อการบรรลุธรรมไหมนะ อุปติสสะ กับโกลิตะดูละครเห็นไตรลักษณ์ เราดูหนัง ฟังเพลง ดูโลกเห็นอะไรอยู่ เจริญในธรรมครับ

ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพาน เราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน.

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิต เราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน.

จิตปรุงแต่งก็ให้รู้ว่าจิตปรุงแต่ง เราอย่าทำจิตให้นิ่งนะครับ..ใช้ความสังเกตุ..ว่าใจเรามีความหวัง..อะไร..หรือ..อยากอะไร..มันจะใช้เราให้หามาให้มัน..ทีนี้เเหละครับ..เรา..จะเห็นกิเลสของเรา..ชัดเลย..เราจะหาเพื่อนครับ...แต่..ทางนี้เป็นทางที่เดิน..คนเดียว..ไม่มีเพื่อนสองนะครับ..เราต้องทำได้สิ.. จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน.

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ใช้ได้กับมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส หนึ่งแรงม้า ที่อยู่ใน แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ และ หรือ อินเวอร์เตอร์ในงานอุตสากรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน ที่เป็น มอเตอร์ รุ่นใหม่ ส่วนมาก จะใช้ มอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส..ครับ

วิธีการสร้างเครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้า ใช้ได้กับมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส หนึ่งแรงม้า ที่อยู่ใน แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ และ หรือ อินเวอร์เตอร์ในงานอุตสากรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน ที่เป็น มอเตอร์ รุ่นใหม่ ส่วนมาก จะใช้ มอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส..ครับ

วิธีการสร้างเครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้า ใช้ได้กับมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส หนึ่งแรงม้า ที่อยู่ใน แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ และ หรือ อินเวอร์เตอร์ในงานอุตสากรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน ที่เป็น มอเตอร์ รุ่นใหม่ ส่วนมาก จะใช้ มอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส..ครับ

วิธีการสร้างเครื่องปรับรอบมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้า ใช้ได้กับมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส หนึ่งแรงม้า ที่อยู่ใน แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ และ หรือ อินเวอร์เตอร์ในงานอุตสากรรม ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน ที่เป็น มอเตอร์ รุ่นใหม่ ส่วนมาก จะใช้ มอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส..ครับ

MITSUBISHI INTELLIGENT POWER MODULE PS21963Dual-In-Line Package Intelligent Power Module, Mitsubishi Electric Semiconductor การใช้ MC3PHAC และ MITSUBISHI POWER MODULE PS21963 ควบคุมมอเตอร์มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์..หรือ..ไฟฟ้าจากไฟฟ้าเฟสเดียวตามบ้านเรือน 100 VAVถึง 240 VAC..

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจ'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในทุกวัน ทุกนาที คือ ปาฏิหาริย์ของการเกิดมา รับรู้ และมีสติ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง การรู้เท่าทันจิตของตัวเองที่รับอารมณ์ทางทวารทั้งหก

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในทุกวัน ทุกนาที คือ ปาฏิหาริย์ของการเกิดมา รับรู้ และมีสติ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง การรู้เท่าทันจิตของตัวเองที่รับอารมณ์ทางทวารทั้งหก

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เราติเตียนร่างกายอันเต็มไปด้วยของน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็น เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ชุ่มไปด้วยกิเลส มีช่อง ๙ ช่อง เป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดเป็นนิตย์ ท่านอย่าคิดถึงเรื่องเก่า อย่ามาเล้าโลมอริยสาวกผู้บรรลุอริยสัจธรรมให้ยินดีด้วยอำนาจกิเลส เพราะอริยสาวกของพระตถาคตเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในกามคุณแม้ในสวรรค์ จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามคุณอันเป็นของมนุษย์เล่า ก็ชนเหล่าใดแลเป็นคนพาล มีปัญญาทราม มีความคิดชั่ว ถูกโมหะหุ้มห่อไว้แล้ว ชนเหล่านั้น จึงจะกำหนัดยินดีในเครื่องผูกที่มารดักไว้ ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว ชนเหล่านั้นผู้คงที่ เป็นผู้ตัดเส้นด้ายคือตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูกพัน ย่อมไม่กำหนัดยินดีใน บ่วงมารนั้น. อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศเราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะ ขณะที่ง่วงนอนที่สุดให้ลุกขึ้นเดินทันที...ฝ่าความง่วง..จะเห็นเองครับ.

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะแม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและ เวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัด ตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยัง พระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่ง เถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ใน โรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตาม สบายเถิด ฯ ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรง ของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรง ลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง พระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้า บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดา ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ..๕ เดือน ..๔ เดือน ..๓ เดือน ..๒ เดือน ..๑ เดือน ..กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แลฯ

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ..๕ เดือน ..๔ เดือน ..๓ เดือน ..๒ เดือน ..๑ เดือน ..กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แลฯ

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อริยสัจสี่ของคนธรรมดาสามัญให้ดูตอนเช้าประมาณ ตีสาม พอเค้ามาเราจะรู้ ให้กลับมาทีลมหายใจของเราให้ได้ เชื่อเถอะครับมรรคผล นิพพาน มีอยู่ตลอดเวลา ความเพียรพยายามเราต้องทำเองครั­­­บ ถ้าจะให้เร็ว สั่งให้ร่างกายเราลุกขึ้น ทันที่ ที่เริ่มเปลี่ยน เรื่องฝัน(ตัวนึกคิดปรุงแต่ง)ถึ­­­งจะเหนื่อยก็คุ้มค่ากับการที่­ไ­ด­้ปรารภความเพียรครับ

กายคตาสติกรรมฐานการพิจารณาร่างกาย สติฝึกได้ตลอดวัน เป็นมรรควิธีที่แยบยลเท่าทันต่อเหตุการณ์การใช้ชีวิตทุกวันเหมาะสมมากกับทุกท่าน นี้เป็นทางที่ศาสดาทรงตรัสสอน อานาปาสติ กายคตาสติ อนุสติสิบ เป็นต้น สาธุ

จิตก็จะถอนจากสิ่งทั้งหมด จะยังเหลือแต่ใจคือ ผู้รู้ อย่างเดียว เราไปสำนักพระพุทธเจ้ากันเถิด สหายผู้อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว รับคำแล้ว ได้จูงมือพากันเข้ามา ยังสำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ศากโยรส แม้ข้าพระองค์ทั้งสอง จักบวชในสำนักของพระองค์ จักขออาศัยคำสอนของพระองค์ เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่ ท่านโกลิตะเป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์ถึงที่สุดแห่ง ปัญญา เราทั้งสองจะร่วมกันทำพระศาสนาให้งาม

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพาน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปห­นึ่งอสงไขย แสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทข­องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ความปรารถนาของข้าพระองค์นั้นสำ­เร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพานข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว

นิพพานัง ปรมัง สุขังhttp://www.dhammada.net/2012/04/07/14293/,เราไปแก้ที่คนอื่นไม่ได้ มาแก้ที่ตัวเราเอง กิเลสคนอื่นล้างไม่ได้ มาล้างกิเลสของเรา เราแก้โลกทั้งใบไม่ได้ แก้ประเทศทั้งประเทศไม่ได้ เราต้องอยู่กับมัน ทำหน้าที่ไป เรามาฝึกจิตฝึกใจของเรา โลกนี้มันทุกข์นะ เราต้องอยู่กับมันให้ได้ เพราะว่าเกิดมาแล่้ว http://mcucity.tripod.com/38virtues.htm,,มงคล 38 ประการ ที่จะทำให้บรรลุพระนิพพาน นิพพานัง ปรมัง สุขัง ซอปี่ ภาคเหนือของประเทศไทยครับ ถิ่นกำเนิด บ้านเกิดของผมเอง ครับ

หลวงปู่สิม148 อุบายสร้างบารมี 26 ตค 26ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

หลวงปู่สิม114 บ่วงมาร 20 สค 28ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

พระนิพพานนั้นอัศจรรย์ไม่เคยมีได้มีแก่พระนางสุเมธาราชกัญญาถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

ความทุกข์นี้เมื่อบุคคลขจัดตัณหานุสัยไม่ได้ขาดก็ย่อมเกิดได้อีกถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย อธิมุตตเถรคาถา ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด หวั่น มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

ขอบุญกุศลนั้นพึงเป็นเพื่อนใจ เมื่อก่อนเรามีนามว่าอันนภาระเป็นคนยากจน เที่ยวหารับ จ้างเลี้ยงชีพ ได้ถวายอาหารแด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะ เรืองยศ

ขอบุญกุศลนั้นพึงเป็นเพื่อนใจให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง ๑.

ความเบื่อหน่ายและความหลุดพ้นความเบื่อหน่ายจนเกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่นจะนำไปสู่ความหลุดพ้น แต่ความเบื่อหน่ายเพราะไม่ถูกใจ คือ ความยึดติดหรือยึดมั่นถือมั่น

พระอนันตชินพระอานนท์พระพุทธอนุชา ลำดับที่ 9 "ข้าแต่พระอนันตชิน! ท่านจำข้าพเจ้าได้อยู่หรือ ข้าพเจ้าเคยพบท่านครั้งหนึ่งแขวงเมืองพาราณสีเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว" "ดูก่อนอุปกะ" พระศาสดาตรัสตอบ "เรารอคอยการมาของท่านอยู่ การมาของท่านครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ท่าน" พอได้ยินคำว่า "อุปกะ" เท่านั้น ปีติปราโมชก็แผ่ไปทั่วสรรพางค์ของอุปกะ ชื่อใดเล่าในโลกนี้จะไพเราะอ่อนหวานยิ่งกว่าชื่อของตนเอง ทุกคนจะดีใจเป็นที่ยิ่งเมื่อทราบว่าผู้อื่นจำชื่อของตนได้อย่างแม่นยำ หลังจากพรากกันไปเป็นเวลานาน "อุปกะ" พระองค์ตรัสต่อไป "หลังจาก จากกันคราวนั้นแล้วท่านไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร พอทนได้อยู่หรือ เมื่อก่อนนี้ดูท่านทรงเพศเป็นนักบวช บัดนี้ทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไป?" อุปกะได้เล่าความหลังทั้งมวลให้พระศาสดาทราบโดยตลอด แล้วทูลเพิ่มเติมว่า "พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เดินหลงทางอยู่เป็นเวลานาน บัดนี้มาพบพระองค์เป็นครั้งที่สอง คงจะดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้อง พระองค์ผู้อนุเคราะห์โลก โปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด" พูดเท่านั้นแล้วเขาก็ซบศีรษะลงแทบพระบาทมูลแห่งพระศาสดา พระจอมมุนีศรีศากยบุตร ประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า "ดูก่อนอุปกะ การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง อุปกะเอย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล รึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บ่วงบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี ดูก่อนอุปกะ ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีมิได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจครอบคลุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยและเพศใด

พระอริยะบุคคล พระอนาคามีก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่ แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบ

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็นก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่ แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบ

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็นสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรง- แวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้ว ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพัก อยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มี ความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้น อนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด. ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้า ไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติ ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพัก ตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก. แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มี- พระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควร ถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติ

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็น ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็นข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่าดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความ หนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ พระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่าน ปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติ ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่าน ปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถาม ดูบ้าง ต่อนั้นพระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จ ออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็น ได้ยินว่า ในฐานะบางอย่าง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ได้ ได้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลงว่า นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอแล. เพราะกุลบุตรนี้แทงตลอดอนาคามิผลแล้ว ในกาลนั้นจึงถึงความตกลงว่า บุคคลนี้ คือพระศาสดาของเรา

ความสั่งสมซึ่งบุญทำให้เกิดสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ

ใจไม่มีแผล-พระไพศาล วิสาโล

เป็นมิตรกับตัวเอง-พระไพศาลวิสาโล

เปิดใจยอมรับพร้อมทุกอย่าง-พระไพศาล

ทำปัจจุปันให้ดีที่สุด-พระไพศาล

พร้อมตายจึงพ้นตาย-พระไพศาล

ตายดีตายสงบ-พระไพศาล วิสาโล

ตามรอยพระพุทธเจ้า.

ตามรอยพระพุทธเจ้า.

ตามรอยพระพุทธเจ้า 12 ... ไขปริศนา

ตามรอยพระพุทธเจ้า 5... กรุงราชคฤห์

ตามรอยพระพุทธเจ้า 1... แม่น้ำคงคา

พระพุทธเจ้า สารคดีระดับโลกจาก BBC

หลวงปู่เจี๊ยะ::พิจารณาร่างกาย

หลวงปู่เจี๊ยะ::พิจารณาร่างกาย

หลวงปู่เจี๊ยะ::นั่งนานว่าพุทโธมากๆ

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌานถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง

วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว . ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส. นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อม หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ความสงบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือ ของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น. นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด. ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย. ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ. ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย. ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตร ชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร. พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล

ลมหายใจออกลมหายใจเข้าและพุทโธพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว . ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส. นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อม หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ความสงบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือ ของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น. นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด. ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย. ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ. ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย. ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตร ชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร. พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌานพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผู้สละโลก ปลดแอก ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลก ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยว่างได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกบาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

ผู้สละโลก ผู้เลิศทางศรัทธาบาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกบาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... ภิกษุ..นิรนาม..

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามด้วยอานิสงส์แห่งจิตอันเป็นกุศลขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้หลุดพ้นจากความรักความผูกพันในสิ่งทั้งปวงและเป็นผู้พร้อมจะตายในทุกขณะเถิด... ภิกษุ..นิรนาม..

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม จิตเกาะพระนิพพานก็ไปพระนิพพาน ทรงให้อุบายปฏิบัติง่าย ๆ ว่า รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน หมายความว่า รู้ลม คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก ทำจิตให้สงบเป็นสุข รู้ตาย หมายความว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในความตาย เท่ากับไม่ประมาทในธรรมทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ บท รู้นิพพาน หมายความว่า จิตมั่นคงทุกขณะจิตว่า หากร่างกายตาย เป้าหมายมีจุดเดียว คือพระนิพพาน ทำอะไรทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว หากใครปฏิบัติได้ตามนี้ ก็มั่นใจได้ว่าท่านมีที่นั่ง ในรถไฟขบวนสุดท้ายอย่างแน่นอน

ใจเสียวใจหวั่นไหวใจฟุ้งซ่านทำยังไงดี จิตเกาะพระนิพพานก็ไปพระนิพพาน ทรงให้อุบายปฏิบัติง่าย ๆ ว่า รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน หมายความว่า รู้ลม คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก ทำจิตให้สงบเป็นสุข รู้ตาย หมายความว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในความตาย เท่ากับไม่ประมาทในธรรมทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ บท รู้นิพพาน หมายความว่า จิตมั่นคงทุกขณะจิตว่า หากร่างกายตาย เป้าหมายมีจุดเดียว คือพระนิพพาน ทำอะไรทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว หากใครปฏิบัติได้ตามนี้ ก็มั่นใจได้ว่าท่านมีที่นั่ง ในรถไฟขบวนสุดท้ายอย่างแน่นอน

ใจเสียวใจหวั่นไหวใจฟุ้งซ่านทำยังไงดี ผมได้กราบท่านนับเป็นวาสนาและโชคดีมากครับ

สลัดจิตทิ้งไปสิ้นโลกเหลือธรรม นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป เป็นอย่างนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก ทำไมสลัดคืน ก็มันเป็นตัวทุกข์ มันจะไปยกไว้ทำไม จะไปแบกไว้ทำไม ไม่ถือเอาไว้สลัดทิ้งไป .

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิถีแห่งความรู้แจ้ง โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช งานธรรมไร้พรมแดนครั้งที...

ลพ.ปราโมทย์ - ความสุขจากการเจริญสติ

ภาวนาต้องอดทน

ภาวนาแบบหัวใจเด็ก

รู้ทันกันหลง1-4

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักที

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักทีผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อได้ทำสมาธิให้มั่นคงแน่นหนาดีแล้ว จนกระทั่งจะเข้าจะออกก็ได้ จะอยู่ให้นานๆ และพิจารณากายอันนี้ให้เป็นอสุภะ หรือเป็นธาตุก็ได้ พิจารณาคนในโลกนี้ทั้งหมดให้เป็นโครงกระดูกทั้งหมดก็ได้ หรือพิจารณาให้เห็นในโลกนี้ทั้งหมดว่างเป็นอัชฌัตตากาศ ว่างเปล่าไปหมดก็ได้ ฯลฯ จิตผู้มีสมาธิเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ย่อมเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา แล้วก็มองเห็นกิเลสของตน ซึ่งเกิดจากจิตของตนได้ชัดเจนว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความมัน เกิดจากสิ่งนี้ๆ และมัน ตั้งอยู่ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ แล้วก็หาอุบาย ละ ด้วยอย่างนี้ ๆ เหมือนกับน้ำในสระที่ขุ่นมาเป็นร้อยๆ ปี เพิ่งมาใสสะอาดมองเห็นสิ่งสารพัดที่มีอยู่ก้นสระว่า แต่ก่อนแต่ไรเราไม่นึกไม่คิดเลยว่า ในก้นสระนี้มันจะมีของเหล่านี้ นั้น เรียกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ความเห็นตามสภาพจริง มันเป็นจริง อย่างไรก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่วิปริตผิดแปลกจากความเป็นจริงของมัน 

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันเราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝัน

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝัน ความปรุงแต่งจิตความอยากความกระหายทางจิตเกิดขึ้นให้รู้ทัน ตอนสุดท้ายนี้เริ่มฉลาด ชั้นไม่สู้แกหรอก แต่แกเล่นอะไรชั้นจะดูลูกเดียวเลย ชั้นไม่สู้กับแกแล้วนะ สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี่ รู้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมาทำอะไรเรา เราไม่ได้ชกกับมัน อยู่กันคนละเวที แกก็เต้นไปสิ เต้นฟุ้ตเวิร์คไป ชั้นไม่ขึ้นไปชกด้วย เดี๋ยวแกก็หมดแรงเอง นี่ ต้องอย่างนี้นะ มันสลายตัวไปเองเลย เราต้องไม่ไปยุ่งกับมัน

นี้คืออนุศาสนีย์ของเราสำหรับเธอทั้งหลาย

สิ่งที่นำสุขมาให้ในโลก

ความทุกข์นี้เมื่อบุคคลขจัดตัณหานุสัยไม่ได้ขาดก็ย่อมเกิดได้อีก

พ่อครู รักษาตาด้วยวิธีนวดตา

พ่อครู รักษาตาด้วยวิธีนวดตา

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ เราต้องพึ่งตัวเราเอง คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ ค้นพบ และ ประดิษฐ์

เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้วจักมีต่อไปสังขารจักปราศจากไปจักคร่ำครวญไปทำ..ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า..

เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้วจักมีต่อไปสังขารจักปราศจากไปจักคร่ำครวญไปทำ... ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า

ความไม่เศร้าโศกเราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์

Jiddu Krishnamurti: Living Without Images

การปลูกมะนาวในน้ำ www.kasetporpeangclub.com

เทคนิคการปลูกมะนาวในน้ำ เวอร์ชั่น 2

เกษตรพอเพียงลุงเขียว3 ตอน การปลูกมะนาวอินทรีย์ในบ่อซีเมนต์

สาธิตดินและน้ำแห้งมอเตอร์หมุนเร็วสูบน้ำเข้านาอัตโนมัติมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส มีข้อดีที่ความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบขึ้นอยู่กับความถี่ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีราคาถูกโครงสร้างไม่ซับซ้อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น หลักการทำงานของอินดักชั่นมอเตอร์ เมื่อจ่ายไฟฟ้าสลับ 3 เฟสให้ที่ขดลวดทั้ง 3 ของตัวสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนรอบ ๆตัวสเตเตอร์ ทำให้ตัวหมุน(โรเตอร์) ได้รับการเหนี่ยวนำทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่ตัวโรเตอร์ และขั้วแม่เหล็กนี้ จะดึงดูดสนามแม่เหล็กที่หมุนอยู่รอบๆ ทำให้มอเตอร์ของอินดักชั่นมอเตอร์หมุนไปได้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่ตัวสเตเตอร์นี้จะคงที่ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นโรเตอร์ของอินดักชั่น มอเตอร์ จึงหมุนตามสนามแม่เหล็กดังกล่าวด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็ก

คำว่าโลก ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ มิได้หมายถึงโอกาสโลก แต่ หมายถึง กามโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อัน ยั่วยวนใจเป็นบ่วงบาศคล้องใจสัตว์ให้จมอยู่ หมกมุ่นพัวพัน ลุ่มหลง อยู่ในกามโลกนั้น บางทีพระพุทธองค์ทรงเรียกสิ่งนี้ว่า ตะปูตรึงใจ (เจโตขีละ) นอกจากสิ่งเร้าภายนอกคือกามคุณ ๕ ดังกล่าวแล้วยังมี แรงกระตุ้นภายใน คือ กิเลส เช่น ความกำหนัด เพราะความดำริถึง (สังกัปปราคะ) ความปักใจใฝ่ฝันใคร่ได้ใคร่มีชุ่มอยู่ในดวงจิตเหมือน เชื้อเพลิงอย่างดีชุ่มอยู่ด้วยน้ำมัน พอไฟคือสิ่งเร้าภายนอกมากระทบ ก็พลันลุกไหม้เผาทั้งน้ำมันและเชื้อเพลิงนั้น

เรื่องผู้สละโลกนี้ เป็นประวัติของพระสาวกบางท่านซึ่งได้สละ ความสุขอย่างโลกๆ มาแสวงหาความสุขทางธรรม และท่านก็ได้พบ ความสุขนั้นสมใจหมาย อันที่จริง ท่านเหล่านี้มีพระสารีบุตร เป็นต้น พิจารณาตาม ประวัติแล้ว มีโอกาสเป็นอันมากในการที่จะเสวยความสุขทางโลก อย่างที่ชาวโลกมุ่งมอง ปักใจใฝ่ฝัน และแสวงหาอย่างชนิดที่เรียกว่า “ทุ่มชีวิตลงไปทั้งชีวิต” แต่ท่านเหล่านั้นกลับสละทิ้งอย่างไม่ใยดี ไปมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีความวุ่นวายกังวล บางท่านเป็นถึง พระราชาครองแคว้น เช่น พระมหากัปปินะ เมื่อได้ตัดสินพระทัย สละโลกมาอยู่ภายใต้ร่มธงแห่งธรรมแล้ว ทรงเปล่งอุทานอยู่เสมอๆ ว่า “สุขจริงหนอๆ” ทั้งนี้เพราะความสุขทางธรรม - สุขอันเกิดจาก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลนั้น เป็นความสุขที่ประณีต ชุ่มเย็นในดวงจิต เหนือความสุขทางโลกียารมณ์อันเจือด้วยความ กระหาย เร่าร้อนกระวนกระวายและทุกข์ รายละเอียดเกี่ยวกับ ข้อความทำนองนี้มีอยู่แล้วดาษดื่นในหนังสือเล่มนี้ ในศาสนานี้ ท่านผู้สละโลกเพื่อโลกเป็นพระองค์แรกก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมองเห็นว่า การหมกมุ่นอยู่ในโลกนั้น เป็นการยากที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ เหมือนคนไข้รักษา คนไข้ด้วยกัน จะทำได้สักเท่าใด แต่เมื่อจิตใจพ้นจากโลกแล้ว การ หลั่งประโยชน์แก่โลกย่อมทำได้เต็มที่ และมีผลยั่งยืนแก่โลกนั้น

เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะ อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น­­นั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสา­­ยเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุ­ก­ข์

เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้อง มีดนตรีบรรเลง ปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ก็ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องนั้นได้ เพราะยังเป็นผู้ยินดีในกามคุณอันเป็นวิสัยแห่งมาร พระ อนุรุทธะก้าวล่วงเบญจกามคุณนั้นเสียแล้ว ยินดีในพระพุทธศาสนา ก้าวล่วงโอฆะทั้งปวงแล้ว

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คิดดี พูดดี ทำดีกุศลกรรมบถ ๑๐ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก ๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา ๙. อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก คำว่า กุศลกรรมบถ แปลได้ ๒ นัย ๑. แปลว่า ทางเกิดแห่งกุศลกรรมที่ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ๒. แปลว่า กุศลกรรมที่เป็นเหตุเกิดในสุคติภูมิ และความสุขในสุคติภูมินั้น กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ทรงแสดงไว้ในพระสูตรมากมาย เฉพาะในอังคุตตรนิกาย มีอยู่หลายสูตร มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป ดังนี้ ในสาธุสูตร เรียกว่า สาธุธรรม (ธรรมดี) ในอริยธรรมสูตร เรียกว่า อริยธรรม (ธรรมของอารยชน) ในกุศลสูตร เรียกว่า กุศลธรรม (ธรรมที่ทำลายความชั่ว) ในอรรถสูตร เรียกว่า อรรถธรรม (ธรรมที่มีประโยชน์) ในสาสวสูตร เรียกว่า อนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีกิเลส) ในวัชชสูตร เรียกว่า อนวัชชธรรม (ธรรมที่ไม่มีโทษ) ในตปนียสูตร เรียกว่า อตปนียธรรม (ธรรมที่สร้างความร่มเย็น) ในอาจยคามิสูตร เรียกว่า อปจยคามิธรรม (ธรรมที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์) ในสาเลยยกสูตร ปัญจมวรรค แห่งมูลปัณณาสถ์ ทรงเรียกว่า ธรรมจริยสมจริยา ธรรมจริยา แปลว่า การประพฤติที่เป็นธรรม สมจริยา แปลว่า การประพฤติกรรมที่ถูกต้อง ทรงแสดงผลดีที่จะพึงได้รับ จากการประพฤติธรรม และการประพฤติกรรมที่ถูกต้องนี้ว่า ใครปรารถนาอะไร ? จะเป็นมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ พรหมสมบัติ มรรค ผล และนิพพาน ล้วนสำเร็จสมประสงค์ทั้งสิ้น ดังข้อความในสาเลยยกสูตรว่า ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายจากโลกนี้แล้ว ย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยา ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมจริยาและสมจริยา ทางกายมี ๓ ทางวาจามี ๔ ทางใจมี ๓ ธรรมจริยาและสมจริยา ทางกายมี ๓ คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ละการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เว้นขาดจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้มีท่อนไม้และศัสตราอันวางแล้ว มีความละอายประกอบด้วยความเอ็นดู เป็นผู้เกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก ๒. เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ขึ้นชื่อว่า ทรัพย์ของผู้อื่น จะอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าก็ตาม ย่อมเป็นผู้ไม่ถือเอาทรัพย์นั้นที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตคิดขโมย ๓. เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมจริยาและสมจริยา ทางกายมี ๓ ดังนี้แล ธรรมจริยา และสมจริยา ทางวาจามี ๔ คือ ๑. บุคคลในโลกนี้ เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปในสภาก็ดี ในบริษัทก็ดี ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ในท่ามกลางเสนาก็ดี ในท่ามกลางแห่งราชตระกูลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า แน่ะพ่อชาย ท่านจงมา ท่านรู้อย่างไร จงเบิกอย่างนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ ก็บอกว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ หรือรู้อยู่ก็บอกว่า ข้าพเจ้ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า ข้าพเจ้าไม่เห็น หรือเห็นก็บอกว่า ข้าพเจ้าเห็น ย่อมไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุแห่งอามิสสินจ้าง ๒. เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากกล่าวส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนทั้งหลายที่แตกกันแล้ว หรือสนับสนุนหมู่คนที่สามัคคีกันอยู่แล้ว เป็นผู้มีความชื่นชมยินดีในหมู่คนผู้สามัคคีกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน ๓. เป็นผู้ละคำหยาบ เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีโทษ เสนาะโสต เป็นที่รักจับใจ เป็นคำสุภาพ เป็นที่ชอบใจ พอใจของคนจำนวนมาก ๔. เป็นผู้ละการกล่าวเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการกล่าวเพ้อเจ้อ พูดในเวลาที่ควรพูด พูดคำจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ไม่พูดมาก พูดแต่คำที่มีประโยชน์ ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมจริยาและสมจริยาทางวาจามี ๔ อย่างนี้แล ธรรมจริยาและสมจริยา ทางใจมี ๓ อย่าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยความไม่เพ่งเล็ง ไม่ละโมบอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๒. เป็นผู้มีใจไม่พยาบาท ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น คิดแต่ในทางที่ดีว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย จงมีความสุข อยู่รอดปลอดภัยเถิด ๓. เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง โลกนี้มีจริง โลกหน้ามีจริง มารดามีบุญคุณ บิดามีบุญคุณ โอปปาติกะมีจริง สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้ามีจริง ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมจริยาและสมจริยาทางใจมี ๓ อย่างนี้แล ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะการประพฤติธรรม และการประพฤติกรรมอันชอบเหล่านี้แล ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติธรรมและประพฤติกรรมอันชอบ พึงหวังว่า หลังจากที่เราตายแล้ว ๑. พึงเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล ๒. พราหมณ์มหาศาล ๓. เทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๔. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ๕. เทวดาชั้นยามา ๖. เทวดาชั้นดุสิต ๗. เทวดาชั้นนิมมานรดี ๘. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ๙. พรหมชั้นพรหมปาริสัชชา ๑๐. พรหมชั้นพรหมปุโรหิตา ๑๑. พรหมชั้นมหาพรหมา ๑๒. พรหมชั้นปริตตาภา ๑๓. พรหมชั้นอัปปมาณาภา ๑๔. พรหมชั้นอาภัสสรา ๑๕. พรหมชั้นปริตตสุภา ๑๖. พรหมชั้นอัปปมาณสุภา ๑๗. พรหมชั้นสุภกิณหา ๑๘. พรหมชั้นอสัญญีพรหม ๑๙. พรหมชั้นเวหัปผลา ๒๐. พรหมชั้นอวิหา ๒๑. พรหมชั้นอตัปปา ๒๒. พรหมชั้นสุทัสสา ๒๓. พรหมชั้นสุทัสสี ๒๔. พรหมชั้นอกนิฏฐา ๒๕. อรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนะ ๒๖. อรูปพรหมชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๒๗. อรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนะ ๒๘. อรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ การบรรลุเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติในชาติปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นไปได้ ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติธรรมและเป็นผู้ประพฤติกรรมอันชอบ พระสูตรนี้แสดงว่า บุคคลผู้ปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติและนิพพานสมบัติ ก็ตาม ล้วนสมประสงค์ทั้งนั้น มนุษยสมบัติ ทรงแสดงด้วยคำว่า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับกษัตริย์มหาศาล และพราหมณ์มหาศาล สวรรคสมบัติ ทรงแสดงด้วยคำว่า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุม-มหาราช จนถึงอรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ นิพพานสมบัติ ทรงแสดงด้วยคำว่า การบรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ กุศลกรรมบถ ๑๐ ทำให้ได้มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จัดว่าเป็นศีล บุคคลผู้รักษาศีล กระทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ย่อมได้รับอานิสงส์ ดังนี้ ๑. สีเลน สุคตึ ยนฺติ คนทั้งหลายไปสู่สุคติได้ เพราะศีล ๒. สีเลน โภคสมฺปทา คนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ เพราะศีล ๓. สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ คนทั้งหลายบรรลุนิพพานได้ เพราะศีล ศีลเป็นเหตุให้ได้ไปสู่สุคตินั้น หมายถึง ให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ ๑ กามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เพราะผลของกุศลกรรมบถโดยตรง และพรหมโลก ๒๐ ชั้น เพราะผลของกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย ส่วนศีลเป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพาน หมายถึง ทรงแสดงศีลโดยความเป็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุอรหัตตผล ๒ ประเภท คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ อุปนิสัยมี ๓ อย่าง ๑. ทานูปนิสัย อุปนิสัยคือทาน การเสียสละ คนผู้มีอุปนิสัยนี้ ย่อมกำจัดความโลภหรือทำความโลภให้เบาบางได้ ๒. สีลูปนิสัย อุปนิสัยคือศีล การเว้นจากเบียดเบียนสัตว์อื่น คนผู้มีอุปนิสัยนี้ ย่อมไม่มีการเบียดเบียนสัตว์อื่น ๓. ภาวนูปนิสัย อุปนิสัยคือภาวนา การสั่งสมความดี คนผู้มีอุปนิสัยนี้ ย่อมเพียรพยายาม เพื่อทำความดีให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป กุศลกรรมบถ ๑๐ นี้ จัดเป็นศีล ดังนั้น จึงเป็นสีลูปนิสัย ที่จะช่วยสนับสนุนให้ได้บรรลุสมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ตามพระบาลีว่า สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส แปลว่า สมาธิที่ถูกบ่มด้วยศีล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อธิบายว่า บุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์ เมื่อบำเพ็ญสมาธิ ย่อมสามารถทำฌานให้เกิดได้ง่าย ครั้นได้ฌานแล้ว ตายไป ย่อมเกิดเป็นพรหม อย่างนี้ ชื่อว่ากุศลกรรมบถ เป็นเหตุให้ได้ไปเกิดในพรหมโลก ส่วนผู้ได้ฌานบางท่าน ทำฌานให้เป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงได้ง่าย ตามพระบาลีว่า สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา แปลว่า ปัญญาที่ถูกบ่มด้วยสมาธิ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตของบุคคลผู้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ตามพระบาลีว่า ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา แปลว่า จิตที่ถูกอบรมด้วยปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ โดยชอบ อย่างนี้ ชื่อว่ากรรมบถ เป็นเหตุให้ได้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ สีลูปนิสัย คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตุให้บุคคลได้บรรลุฌาน มรรค ผล และนิพพาน ดังพรรณนามาฉะนี้ เปรียบได้กับส่วนของต้นไม้ สีลูปนิสัย เป็นเสมือนรากไม้ สมาธิ เป็นเสมือนลำต้น ปัญญา เป็นเสมือนกิ่งก้านและใบ วิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นเสมือนดอกและผลของต้นไม้ ศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ทำให้ผู้ปฏิบัติได้มนุษยสมบัติ สวรรค-สมบัติ และนิพพานสมบัติ ตามขั้นตอนดังได้อธิบายมานี้ อธิบายกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยอาการ ๕ ๑. โดยธรรม คือ โดยสภาวธรรม กุศลกรรมบถ ๗ คือ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี ๒. อทินนาทานา เวรมณี ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี ๔. มุสาวาทา เวรมณี ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี แม้มีชื่อต่างกันก็จริง แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรม ได้แก่ เจตนา หรือวิรัติ หมายความว่า ถ้าไม่ตั้งใจจะงดเว้น หรือไม่มีการงดเว้น กรรมบถทั้ง ๗ นี้ ย่อมสำเร็จไม่ได้เลย มโนกรรม ๓ คือ อนภิชฌา โดยสภาวธรรม ได้แก่อโลภะ อพยาบาท โดยสภาวธรรม ได้แก่อโทสะ สัมมาทิฏฐิ โดยสภาวธรรม ได้แก่อโมหะ ที่ประกอบด้วยเจตนา ๒. โดยโกฏฐาสะ คือ โดยส่วนแห่งธรรมต่าง ๆ กุศลกรรมบถ ๗ คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นรากเหง้าของกุศลเหล่าอื่น ส่วนมโนกรรม ๓ อย่าง มีอนภิชฌา อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งรากเหง้าของกุศลเหล่าอื่น เพราะทั้ง ๓ นี้ ก็คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่เป็นกุศลมูลนั่นเอง ๓. โดยอารมณ์ คือ สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้ว เป็นเหตุให้งดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ พระอรรถกถาจารย์ อธิบายว่า อารมณ์แห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นแหละ เป็นอารมณ์แห่งกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ เปรียบเหมือนน้ำที่สามารถทำให้เรือลอยก็ได้ ทำให้จมลงก็ได้ ๔. โดยเวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ และเฉย ๆ พระอรรถกถา-จารย์ อธิบายว่า ในขณะทำกุศล ทุกขเวทนา คือ ความเสียใจ ความไม่สบายใจ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ในขณะประพฤติกุศลกรรมบถ จึงมีเพียงเวทนา ๒ คือ สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา ๕. โดยมูล คือ โดยกุศลมูล ๓ อย่าง ได้แก่ อโลภมูล ๑ อโทสมูล ๑ อโมหมูล ๑ กุศลกรรมบถ ๗ คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ที่บุคคลประพฤติด้วยปัญญา มีมูล ๓ คือ อโลภมูล อโทสมูล อโมหมูล ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูล ๒ คือ อโลภมูล อโทสมูล อนภิชฌาที่ประพฤติด้วยปัญญา มีมูล ๒ คือ อโทสมูล อโมหมูล ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูลเดียว คือ อโทสมูล อพยาบาทที่ประพฤติด้วยปัญญา มีมูล ๒ คือ อโลภมูล อโมหมูล ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูลเดียว คือ อโลภมูล สัมมาทิฏฐิ มีมูล ๒ คือ อโลภมูล อโทสมูล อานิสงส์ของกุศลกรรมบถ ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในจุนทสูตร ทสกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ ทางวาจามี ๔ ทางใจมี ๓ ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความสะอาดใจ มีความเอ็นดู มีความเมตตากรุณา ต่อสัตว์ทุกหมู่เหล่า ๒. เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตอันเป็นขโมย ไม่ว่าของนั้นจะอยู่ในบ้านของเขา อยู่ในป่า หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม ๓. เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ในท่ามกลาง หมู่ญาติ อยู่ในท่ามกลางเสนา หรืออยู่ในท่ามกลางราชสำนัก ก็ตาม ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า พ่อชายผู้เจริญ พ่อรู้อย่างไร ? จงเบิกความอย่างนั้น ผู้นั้น เมื่อไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็น ก็บอกว่าเห็น จะไม่เป็นผู้กล่าวมุสาวาท ทั้งที่รู้ตัว เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุแห่งอามิสสินจ้าง ๒. เป็นผู้ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ฟังฝ่ายนี้แล้ว ไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายคนฝ่ายนี้ หรือฟังฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายคนฝ่ายโน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกสามัคคี และสนับสนุนคนที่สามัคคีกันอยู่ ชื่นชมยินดีคนที่สามัคคีกัน พูดแต่วาจาที่สร้างความสามัคคี ๓. เป็นผู้ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้พูดแต่วาจาอันไม่มีโทษ เสนาะโสต เป็นที่รัก ซึ้งใจ เป็นคำพูดของผู้ดี เป็นที่รักและชอบใจของคนทั่วไป ๔. เป็นผู้ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ เป็นผู้พูดถูกกาลเวลา พูดแต่คำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงวินัย พูดถ้อยคำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยสมควรแก่เวลา ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความเพ็งเล็ง ไม่เพ็งเล็งคิดเอาของผู้อื่น มาเป็นของตนว่า ทำอย่างไรหนอ ? ทรัพย์ของผู้อื่นนั้น จะพึงเป็นของเรา ๒. เป็นผู้มีใจไม่พยาบาท มีใจไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงอย่าจองเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ จงมีแต่ความสุข อยู่รอดปลอดภัยเถิด ๓. เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีทัศนะอันไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง โลกนี้มีจริง โลกหน้ามีจริง มารดา บิดา มีบุญคุณต่อบุตรธิดาจริง โอปปาติกสัตว์มีจริง สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งประจักษ์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าแล้ว สั่งสอนผู้อื่นมีจริง ดูก่อนจุนทะ กุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการ ดังนี้แล ดูก่อนจุนทะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ ลุกขึ้นจากที่นอน แต่เช้าตรู่ จะจับต้องแผ่นดิน โคมัยสด หญ้าอันเขียวขจี หรือไม่จับต้องก็ตาม จะประนมไหว้พระอาทิตย์ หรือไม่ก็ตาม จะลงอาบน้ำเช้าเย็นหรือไม่ก็ตาม จะบูชาไฟ หรือไม่บูชาไฟก็ตาม ย่อมเป็นผู้สะอาดอย่างแท้จริง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนจุนทะ เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นพฤติกรรมอันสะอาดและเป็นเครื่องสร้างพฤติกรรมอันสะอาด ดูก่อนจุนทะ เทวคติ มนุษยคติ หรือสุคติอื่นใด บรรดามี ย่อมปรากฏ เพราะเหตุแห่งการประกอบกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้แล กุศลกรรมบถ ๑๐ จบ

คิดดี พูดดี ทำดี

วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานให้ดูตอนเช้าประมาณ ตีสาม พอเค้ามาเราจะรู้ ให้กลับมาทีลมหายใจของเราให้ได้ เชื่อเถอะครับมรรคผล นิพพาน มีอยู่ตลอดเวลา ความเพียรพยายามเราต้องทำเองครั­­­บ ถ้าจะให้เร็ว สั่งให้ร่างกายเราลุกขึ้น ทันที่ ที่เริ่มเปลี่ยน เรื่องฝัน(ตัวนึกคิดปรุงแต่ง)ถึ­­­งจะเหนื­่อยก็คุ้มค่ากับการที่­ไ­ด­้ปรารภความเพีย­รครับ

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องเรื่องมันมีแค่ว่าให้ตื่นก่อนที่มันจะฝัน

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าจิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักที เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้­งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว

เพลง สุดแผ่นดินสุดดินคือถิ่นน้ำ เขตครามไทยสุดแนว เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย่ำใจ เคยเสียน้ำตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำได้ดี เราถอยมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี พระสยามทรงนำโชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง ไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยไปจับจอง เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย

เพลง สุดแผ่นดินสุดดินคือถิ่นน้ำ เขตครามไทยสุดแนว เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย่ำใจ เคยเสียน้ำตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำได้ดี เราถอยมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี พระสยามทรงนำโชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง ไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยไปจับจอง เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย

สุดดินคือถิ่นน้ำ เขตครามไทยสุดแนว เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย่ำใจ เคยเสียน้ำตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำได้ดี เราถอยมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี พระสยามทรงนำโชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง ไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยไปจับจอง เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย

ท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A TM51 MITSUBISHI PS21244 PS21963 PS219A2 FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C TOSHIBA JAPAN MP6501A ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่ mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือ ติดต่อ ที่ พรพิมล ทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ.. ·

PS21244 PS21963 PS219A2 MITSUBISHI POWER MODULEคลิปนี้ทดสอบกับมอเตอร์ 3 เฟส 200 วัตต์ ใช้ POWER MODULE TM52A บอร์ดควบคุม MC3PHAC ใช้ไฟฟ้าจาก Suntech 285 Watts ต่อ อนุกรม 5 แผ่น แรงดันประมาณ 180 Vdc เวลาใช้งานจริง ต้องใช้ 280-320 Vdc ครับ มอเตอร์สามเฟสใช้โซล่าเซลล์ ตำแหน่ง สวิทช์ วอลลุ่ม ให้ดูที่พิมพ์ไว้บนแผง MC3PHAC ก็ได้ครับ

มอเตอร์สามเฟสใช้โซล่าเซลล์ TM52A ใช้งานได้สูงสุด สามแรงม้าครับ ไม่เหมาะกับปั๊ม..แบบชักครับ...ใช้ได้ดีกับ.งานที่มีการหมุน..แบบ..เรียบ..เรียบ..ไม่กระตุก...ครับ.

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นกเเล หนุ่มดอยเต่า ม่วนดี..เหมือน..กั๋น...

สบายดีหรือเปล่า - MV : เอ็กซ์วายแซด (XYZ)

คิดไม่ออก (Kid-Mai-Aok) : เอ็กซ์วายแซด (วง XYZ)

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีผลิตไฟฟ้า3เฟส จากไฟฟ้า เฟสเดียว เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ 3 เฟสมอเตอร์ไ เครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของมอเตอร์ นิยมใช้กันมาก ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ ยุคปัจจุบัน เช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำ อินเวอร์เตอร์ เครื่อง สูบน้ำ อินเวอร์เตอร์ รถ จักรยาน ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ยานพาหนะ ในยุคปัจจุบันและอนาคต ล้วนต้องใช้ อินเวอร์เตอร์ฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส มีข้อดีที่ความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบขึ้นอยู่กับความถี่ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีราคาถูกโครงสร้างไม่ซับซ้อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น หลักการทำงานของอินดักชั่นมอเตอร์ เมื่อจ่ายไฟฟ้าสลับ 3 เฟสให้ที่ขดลวดทั้ง 3 ของตัวสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนรอบ ๆตัวสเตเตอร์ ทำให้ตัวหมุน(โรเตอร์) ได้รับการเหนี่ยวนำทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่ตัวโรเตอร์ และขั้วแม่เหล็กนี้ จะดึงดูดสนามแม่เหล็กที่หมุนอยู่รอบๆ ทำให้มอเตอร์ของอินดักชั่นมอเตอร์หมุนไปได้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่ตัวสเตเตอร์นี้จะคงที่ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นโรเตอร์ของอินดักชั่น มอเตอร์ จึงหมุนตามสนามแม่เหล็กดังกล่าวด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็ก

กุศลกรรมบถสิบหลวงพ่อฤๅษีพูดกับข้าพเจ้าว่าทำบุญดีกว่านะ

นิพพานัง ปรมัง สุขัง ปกติของมนุษย์นั้น มีมีือเพื่อไหว้สิ่งที่มีคุณทั้งหลาย แม้ กระทั่งต้นไม้ใบหญ้า สัตว์เล็กสัตว์น้อยที่เราได้ล่วงเกิน ชีวิตเค้า จึงต้องรักษาศีลห้าเป็นอย่างต่ำ แล้วหมั่นเจริญ เมตตาภาวนา จะถึงความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงครับ ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข ความเจริญในธรรมยิ่งยิ่งขึ้นไปครับ

สัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อมบริสุทธิ์ ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยช­น์ไปใน ลัทธิภายนอก เราแสวงหาบท อันปัจจัยไม่ปรุงอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก ก็ไม่พึงได้แก่นไม้ใน ต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น

สัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อมบริสุทธิ์ ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยช­น์ไปใน ลัทธิภายนอก เราแสวงหาบท อันปัจจัยไม่ปรุงอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก ก็ไม่พึงได้แก่นไม้ใน ต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพานข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของ พระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันใน ที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคย กันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิทไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สาธิตน้ำมากและดินมีน้ำมากมอเตอร์หมุนเร็วสูบน้ำออกอัตโนมัติ TM52A สินค้า เหลือ ประมาณ 400 ตัว รุ่นต่อไป จะใช้ POWER MODULE เบอร์ PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050D 6DI15S-050 C MP6501A ครับ ในกรณีใช้โดยตรงจากแผงโซล่าเซลล์ อย่าง น้อย ให้ใช้ suntech 285 watts ห้าแผ่น ถึงเก้าแผ่น 180-320 Volts 7 Amps PS21244 MITSUBISHI IPM ใช้ได้กับมอเตอร์สามเฟส 750 วัตต์..มอเตอร์...ตัวเล็กก็จริง..ทว่า...สามารถใช้ได้...เกือบ..6...ชั่วโมงต่อ..วัน..ใช้..หลายตัว..ตอนแดดจัด..ก็..เปิด..ให้..ทำงาน..พร้อมกัน...ดี..กว่า...ใช้..ตัวใหญ่..เดิน..แล้วหยุด..หยุด..แล้ว..เดิน..หามอเตอร์...สามเฟส..ตัว..เล็ก..หลายตัว..หน่อย..จะดีกว่า...ครับ.

PS21244 POWER MODULE สำหรับมอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้า สัญญาณ PWM ย่อจาก Pulse Width Modulation คือสัญญาณที่สามารถปรับความกว้างของ Pulse ได้ ที่เรียกว่า Duty cycle ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของพลังงานไฟฟ้า ที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ เช่น มอเตอร์ และหลอดไฟ ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ และความสว่างของหลอดไฟ เป็นต้น

สัญญาณ PWM ย่อจาก Pulse Width Modulation คือสัญญาณที่สามารถปรับความกว้างของ Pulse ได้ ที่เรียกว่า Duty cycle ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของพลังงานไฟฟ้า ที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ เช่น มอเตอร์ และหลอดไฟ ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ และความสว่างของหลอดไฟ เป็นต้น

ผู้สละโลก ขุมทรัพย์อันวิเศษ เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

ผู้สละโลก ปลดแอก เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

ผู้สละโลก ปลดแอก ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า ถ้าทำมาหลายปีแล้วเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานเหมือนเดิม วันนี้สงบพรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน วันนี้ดีพรุ่งนี้ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้ ไม่ถูกแน่ๆ ทำไปได้เดือน 3 เดือน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน อย่างนี้ต้องเห็นผล ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลง

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า ถ้าทำมาหลายปีแล้วเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานเหมือนเดิม วันนี้สงบพรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน วันนี้ดีพรุ่งนี้ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้ ไม่ถูกแน่ๆ ทำไปได้เดือน 3 เดือน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน อย่างนี้ต้องเห็นผล ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลง

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้องบริหารอยู่เสมอ เบญจกามคุณ อันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ที่มี ปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้องบริหารอยู่เสมอ เบญจกามคุณ อันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ที่มี ปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกจิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทั­นที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้า­ถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรร­ลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังม­ากที่สุดในรอบ 1 เดือน .

จิตปรุงแต่งคืออย่างนี้ครับ วิธีดูพฤติกรรมทางจิตของตัวเรา *โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องคิด ไม่ต้องภาวนา หรือไม่ต้องพิจารณา* ถ้าไปภาวนาหรือพิจารณาเข้า ไอ้ตัวยุ่งๆ ในใจมันมีอยู่แล้ว วิตกนี่มันก็ยุ่ง โมหะมันก็ยุ่ง มันคิดไม่หยุดไม่หย่อน ถ้าเราไปภาวนาเข้า หรือพิจารณาเข้าก็เลยช่วยกันคิดเข้าไปใหญ่ ส่งเสริมกำลังใจกันเข้าไป ทีนี้ท่านเลยให้ตัดเสียด้วยการพิจารณาลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว โดยไม่ต้องภาวนาใดๆ ทั้งหมด

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ *โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องคิด ไม่ต้องภาวนา หรือไม่ต้องพิจารณา* ถ้าไปภาวนาหรือพิจารณาเข้า ไอ้ตัวยุ่งๆ ในใจมันมีอยู่แล้ว วิตกนี่มันก็ยุ่ง โมหะมันก็ยุ่ง มันคิดไม่หยุดไม่หย่อน ถ้าเราไปภาวนาเข้า หรือพิจารณาเข้าก็เลยช่วยกันคิดเข้าไปใหญ่ ส่งเสริมกำลังใจกันเข้าไป ทีนี้ท่านเลยให้ตัดเสียด้วยการพิจารณาลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว โดยไม่ต้องภาวนาใดๆ ทั้งหมด

การตามรู้ลมหายใจทำได้ทุกชีวิตทุกชาติทุกศาสนาทุกเพศทุกวัย *โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องคิด ไม่ต้องภาวนา หรือไม่ต้องพิจารณา* ถ้าไปภาวนาหรือพิจารณาเข้า ไอ้ตัวยุ่งๆ ในใจมันมีอยู่แล้ว วิตกนี่มันก็ยุ่ง โมหะมันก็ยุ่ง มันคิดไม่หยุดไม่หย่อน ถ้าเราไปภาวนาเข้า หรือพิจารณาเข้าก็เลยช่วยกันคิดเข้าไปใหญ่ ส่งเสริมกำลังใจกันเข้าไป ทีนี้ท่านเลยให้ตัดเสียด้วยการพิจารณาลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว โดยไม่ต้องภาวนาใดๆ ทั้งหมด

ความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเจริญอนิจจสัญญา... ๒. ...อนัตตสัญญา... ๓. ...อสุภสัญญา... ๔. ...อาทีนวสัญญา... ๕. ...ปหานสัญญา ๖. ...วิราคสัญญา... ๗. พวก ภิกษุจักเจริญนิโรธสัญญา อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ

จิตหนึ่งจิตคือพุทธะพระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง

Jiddu Krishnamurti: At The End Of Sorrow Is Passion

Jiddu Krishnamurti: Living Without Images

Jiddu Krishnamurti: At The End Of Sorrow Is Passion

Making the Most of the Micro (10): At the End of the Line

History Of The Computer Documentary

History Of The Computer Documentary

Birth of The Transistor: A video history of Japan's electronic industry....

Documentary Films - Japan: Miracle in Asia (1963) - Rare Video

ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา.. ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่ บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา.. บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้ง ปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้ เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึง จะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา.. บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้ง ปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้ เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึง จะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

ตักเตือนตัวเราก่อนตักเตือนชาวโลก บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้ง ปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้ เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึง จะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

วิธีสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสใช้เอง 3อินเวอร์เตอร์ กับการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันเราทุกคนต่างประสบกับปัญหาพลังงาน ราคาแพง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคา น้ำมันซึ่งปรับตัวสูงขึ้นมากๆ ทำให้ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าก็ปรับค่าไฟขึ้นและค่าไฟก็เป็นต้นทุน หลักตัวหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ดังนั้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่าอย่างประหยัดก็จะเป็นการลดต้น ทุน การดำเนินงานได้ ในโรงแรมขนาดใหญ่ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และในหลายอุตสาหกรรม เช่น โรงทอผ้า อาหาร อิเลคทรอนิกส์ ที่มีการใช้ระบบเกี่ยวกับความร้อน การระบายอากาศ เครื่องทำความเย็น ระบบปรับอากาศ การใช้น้ำ การรักษาความดันอากาศหรือน้ำ ในระบบเหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ที่สำคัญ คือ พัดลม และ ปั้มน้ำ โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวขับ ดังนั้น ถ้าเรามองถึงการประหยัดพลังงานก็ต้องมุ่งไปที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะใช้มอเตอร์ขับ ปั้มน้ำ และ พัดลมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดสุด ตารางโหลด "อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานหรือค่าไฟได้อย่างไร????" ถ้าเราพิจารณาจาก คุณสมบัติของโหลดชนิดต่างๆ จากตารางด้านบนของโหลดประเภทปั๊มและพัดลมนี้ เราจะเห็นว่า กำลัง (P) จะแปรผันตามความเร็วรอบยกกำลังสาม (N 3) สมมุติว่า ในกระบวนการ ใช้งานเราสามารถลดความเร็วรอบลงได้ 10% นั่นก็คือ 0.9 N เราก็จะได้กำลัง P (N) = N*N*N = N3 P (0.9N) = 0.9*0.9*0.9 N3 = 0.729 N3 P (N) - P (0.9N) = 0.29 N3 เราจะเห็นว่า ถ้าเราสามารถลดรอบของปั้มหรือพัดลมลงได้ 10% เราสามารถประหยัด พลังงานลงได้เกือบ 30% และในหลักการเดียวกับข้างต้น ถ้าลดความเร็วรอบลงได้ 20% เราจะสามารถประหยัดพลังงาน ลงได้ถึงเกือบ 50% ทีเดียว Pressure Control อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานตรงที่หน้าที่ของมัน คือ ปรับความเร็ว รอบของมอเตอร์ให้ลดลงตามที่เราต้องการ โดยที่ทำให้มอเตอร์ใช้กระแสไฟลดลง เนื่องจากโหลดต้องการกำลังลดลง ลองพิจารณาจากรูปด้านข้าง จากรูป ถ้าสมมุติว่าในตอนแรกยังไม่มีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในการขับปั้ม เมื่อเดินปั้มๆ จะปั้มน้ำเข้าสู่ระบบจนกระทั่งความดันได้ตามที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วไปอาจจะมีตัววาล์ว ความดันอยู่ซึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำออกเพื่อไม่ให้ความดันเกิน แต่มอเตอร์จะเดินอยู่ตลอด เวลาหรืออาจจะเป็นลักษณะที่ให้มอเตอร์หยุดเมื่อถึงความดันที่ต้องการ และเดินใหม่อีก ครั้งเมื่อความดันลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ จะเห็นว่าทั้งสองวิธีก็จะมีการสูญเสียพลังงานมาก แบบแรก มอเตอร์เดินตลอดเวลา ส่วนแบบที่สอง มอเตอร์จะเดินหยุดๆ ตลอดเวลา ซึ่ง ก็เป็นการสูญเสียเช่นกัน ถ้าเราติดตั้งอินเวอร์เตอร์เข้าไปและใช้ตัว Pressure transmitter เป็นตัวส่งสัญญาณในการปรับรอบของมอเตอร์ให้ลดลง เมื่อความดันเพิ่มจากที่ต้องการ และเดินที่ความเร็วรอบปกติของมอเตอร์เมื่อความดันลดลง โดยอาจควบคุมเป็น แบบ PI หรือ PID ก็ได้ จากผลอันนี้เราจะประหยัดพลังงานได้อย่างมากทีเดียว นอกเหนือไปจากผลที่ได้จากการประหยัดพลังงานแล้ว การใช้อินเวอร์เตอร์ในงานปั้ม หรือ พัดลม ยังให้คุณประโยชน์ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น 1. การควบคุมดีขึ้น และ สะดวกมากขึ้น - รักษาความดันน้ำคงที่สม่ำเสมอ - รักษาอุณหภูมิอากาศคงที่สม่ำเสมอ - ปรับเปลี่ยนง่ายไม่ยุ่งยาก 2. ลดความเครียดทางกล (Reduce mechanical stress) เช่น การเกิด Water hammer ในท่อ เนื่องจากเดิน หรือ หยุด ปั้มน้ำอย่างกระทันหันทำให้ค่าบำรุงรักษาลดลงด้วย

แผงวงจรที่ประกอบและทดสอบพร้อมทั้งโปรแกรมแล้วตามมาตรฐานการควบคุมความเร็วรอบ มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดอินดัตชั่นสามเฟสเฉพาะBOARD ราคา 1,000-1,500 บาทเพื่อนำไปสรัาง 3 phase inverter ออกแบบให้ใช้งานง่ายเหมาะกับยุคปัจจุบันโดยนำไปต่อกับ INTELLIGENT POWER MODULES TM52A TL105C TM35 TM39 TM31 หรือ IPM ได้ทุกเบอร์ ทุกยี่ห้อทุกขนาดครับ

แอร์ใหม่ตู้เย็นใหม่เครื่องซักผ้าใหม่ใช้อินเวอร์เตอร์ควบคุมมอเตอร์ เครื่องปรับอากาศตู้เย็นเครื่องซักผ้ารวมทั้งเครื่องใช้ที่มีมอเตอร์สามเฟสและอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวมอเตอร์และชุดควบคุมโดยใช้ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์โมดูล Transistor Power Module มอสเฟท เพาเวอร์โมดูล Mosfet Power Module ไอจีบีที เพาเวอร์โมดูล Igbt Power Module

แอร์ใหม่ตู้เย็นใหม่เครื่องซักผ้าใหม่ใช้อินเวอร์เตอร์ควบคุมมอเตอร์การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ (Air Conditioner Inverter Operation) เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องปรับอากาศธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวคอมเพรสเซอร์เป็นหลักเนื่องจากเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะตัดต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์เมื่ออุณหภูมิห้องได้ตามต้องการเนื่องจากความเร็วรอบคงที่แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์จะลดความเร็วรอบลงเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ได้ตามที่ต้องการจึงทำให้เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์สามารถทำความเย็นได้เร็วมีความเย็นสบายและเงียบกว่า การทำงานเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ช่วงแรกความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์จะทำงานสูงสุดเพื่อจะทำความเย็นให้ได้อุณหภูมิตามต้องการเร็วขึ้นทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นด้วย แต่หลังจากที่ได้ อุณหภูมิ ตามต้องการแล้วก็จะลดความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์ลงเพื่อรักษาอุณหภูมิคงที่ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงด้วยซึ่งเป็นช่วงที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศธรรมดาซึ่งความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่จะใช้การตัดต่อการทำงานคอมเพรสเซอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิทำให้ช่วงเริ่มการทำงานของคอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ส่วนประกอบและหลักการทำงาน 1.รีโมทคอนโทรล (Remote control) จะเป็นตัวที่สั่งการทำงานเช่นอุณหภูมิและความเร็วรอบพัดลมที่ต้องการแล้วส่งสัญญาณให้กับหน่วยควบคุมเครื่องภายใน (Indoor control unit) 2,หน่วยควบคุมเครื่องภายใน (Indoor control unit) จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากรีโมทคอนโทรล เช่น อุณหภูมิที่ต้องการและความเร็วรอบพัดลมแล้วทำการประมวลผลโดยชุดประมวลผล (MCU: Micro control unit) แล้วส่งสัญญาณไปยังหน่วยควบคุมเครื่องภายนอก (Outdoor control unit) มอเตอร์พัดลมเครื่องภายนอก (Fan motor outdoor unit) จะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้แผงระบายความร้อนภายนอก (Condenser) ซึ่งปกติถ้าเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะมีความเร็วรอบคงที่โดยจะใช้มอเตอร์กระแสสลับและจะทำงานพร้อมกับตัวคอมเพรสเซอร์แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์โดยส่วนจะใช้มอเตอร์พัดลมกระแสงตรงเนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้โดยจะควบคุมโดยชุดคอนโทรลภายนอก (Outdoor control unit) 3.คอมเพรสเซอร์กระแสตรง (DC Compressor) มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หรือ DC มอเตอร์ จะทำงานได้ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญและมีการทำงานดังนี้ 4.1วงจรเรกติไฟเออร์ หรือวงจรเรียงกระแส (Rectifier circuit) : ทำหน้าที่แปลงผันหรือเปลี่ยนจากแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง วงจรประกอบด้วย เพาเวอร์ไดโอด 4 ตัว กรณีที่อินพุทเป็นแบบเฟสเดียว หรือมีเพาเวอร์ไดโอด 6 ตัว กรณีที่อินพุตเป็นแบบ 3 เฟส ดังรูป ( สำหรับอินเวอร์เตอร์บางประเภทจะใช้ SCR ทำหน้าที่เป็นวงจรเรกติไฟเออร์ซึ่งทำให้สารมารถควบคุมระดับแรงดันในวงจร ดีซีลิ๊งค์ได้) 4.2วงจรเชื่อมโยงทางดีซี (DC Link) คือวงจรเชื่อมโยงระหว่างวงจรเรียกกระแสและวงจรอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะประกอบด้วยแคปปาซิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ พิกัดแรงดัน ไฟฟ้า 400 VDC หรือ 800 VDC โดยขึ้นอยู่กับแรงดันอินพุตว่าเป็นแบบเฟสเดียวหรือ 3 เฟส ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากวงจรเรียงเรกติไฟเออร์ให้เรียบยิ่งขึ้น และทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ขณะที่มอเตอร์ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในช่วงสั้นเนื่องจาการเบรคหรือมีการลดความเร็วรอบลงอย่างรวดเร็ว (สำหรับกรณีที่ใช้งานกับโหลดที่มีแรงเฉื่อยมาก ๆ และต้องการหยุดอย่างรวดเร็ว จะเกิดแรงดันสูงย้อนกับมาตกคร่อมแคปปาซิเตอร์และทำให้ แคปปาซิเตอร์เสียหาย ได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจะมีวงจรชอปเปอร์โดยต่อค่าความต้านอนุกรมกับทรานซิสเตอร์ และต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์ไว้ โดยทรานซิสเตอร์จะทำให้ที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อควบคุมให้กระแสไหลผ่านค่าความต้านทานเพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้น 4.3วงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) คือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงผันจากแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ผ่านการกรองจากวงจรดีซีลิ๊งค์) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรจะประกอบด้วยเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์กำลัง 6 ชุด (ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ IGBT) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอาศัยเทคนิคที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ PWM (Pule width modulation) 4.4วงจรควบคุม (Control Circuit) จะอยู่ชุดเดี่ยวกันกับวงจรอินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากชุดคอลโทรลภายในควบคุมความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์ไปทำการประมวลผล และส่งนำเอาท์พุทออกไปควบคุมการทำงานของทรานซิสเตอร์เพื่อจ่ายแรงดันและความถี่ให้ได้ความเร็วรอบและแรงบิดตามที่ชุดคอนโทรลภายในส่งสัญญาณมา 5.วาล์วควบคุมความดัน (PMV: Pulse motor valve) จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความไปยังอิวาพอเรตอร์เพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ชุดวาล์วควบคุมความดันจะถูกสั่งงานโดยชุคอนโทรลภายนอก 6.มอเตอร์พัดลมเครื่องภายนอก (Fan motor outdoor unit) จะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้แผงระบายความร้อนภายนอก (Condenser) ซึ่งปกติถ้าเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะมีความเร็วรอบคงที่โดยจะใช้มอเตอร์กระแสสลับและจะทำงานพร้อมกับตัวคอมเพรสเซอร์แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์โดยส่วนจะใช้มอเตอร์พัดลมกระแสงตรงเนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้โดยจะควบคุมโดยชุดคอนโทรลภายนอก (Outdoor control unit)

การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ (Air Conditioner Inverter Operation) เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 30-40 % จากเครื่องปรับอากาศธรรมดาซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างที่ตัวคอมเพรสเซอร์เป็นหลักเนื่องจากเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะตัดต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์เมื่ออุณหภูมิห้องได้ตามต้องการเนื่องจากความเร็วรอบคงที่แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์จะลดความเร็วรอบลงเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ได้ตามที่ต้องการจึงทำให้เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์สามารถทำความเย็นได้เร็วมีความเย็นสบายและเงียบกว่า การทำงานเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ช่วงแรกความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์จะทำงานสูงสุดเพื่อจะทำความเย็นให้ได้อุณหภูมิตามต้องการเร็วขึ้นทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นด้วย แต่หลังจากที่ได้ อุณหภูมิ ตามต้องการแล้วก็จะลดความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์ลงเพื่อรักษาอุณหภูมิคงที่ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงด้วยซึ่งเป็นช่วงที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศธรรมดาซึ่งความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่จะใช้การตัดต่อการทำงานคอมเพรสเซอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิทำให้ช่วงเริ่มการทำงานของคอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ส่วนประกอบและหลักการทำงาน 1.รีโมทคอนโทรล (Remote control) จะเป็นตัวที่สั่งการทำงานเช่นอุณหภูมิและความเร็วรอบพัดลมที่ต้องการแล้วส่งสัญญาณให้กับหน่วยควบคุมเครื่องภายใน (Indoor control unit) 2,หน่วยควบคุมเครื่องภายใน (Indoor control unit) จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากรีโมทคอนโทรล เช่น อุณหภูมิที่ต้องการและความเร็วรอบพัดลมแล้วทำการประมวลผลโดยชุดประมวลผล (MCU: Micro control unit) แล้วส่งสัญญาณไปยังหน่วยควบคุมเครื่องภายนอก (Outdoor control unit) มอเตอร์พัดลมเครื่องภายนอก (Fan motor outdoor unit) จะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้แผงระบายความร้อนภายนอก (Condenser) ซึ่งปกติถ้าเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะมีความเร็วรอบคงที่โดยจะใช้มอเตอร์กระแสสลับและจะทำงานพร้อมกับตัวคอมเพรสเซอร์แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์โดยส่วนจะใช้มอเตอร์พัดลมกระแสงตรงเนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้โดยจะควบคุมโดยชุดคอนโทรลภายนอก (Outdoor control unit) 3.คอมเพรสเซอร์กระแสตรง (DC Compressor) มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หรือ DC มอเตอร์ จะทำงานได้ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญและมีการทำงานดังนี้ 4.1วงจรเรกติไฟเออร์ หรือวงจรเรียงกระแส (Rectifier circuit) : ทำหน้าที่แปลงผันหรือเปลี่ยนจากแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง วงจรประกอบด้วย เพาเวอร์ไดโอด 4 ตัว กรณีที่อินพุทเป็นแบบเฟสเดียว หรือมีเพาเวอร์ไดโอด 6 ตัว กรณีที่อินพุตเป็นแบบ 3 เฟส ดังรูป ( สำหรับอินเวอร์เตอร์บางประเภทจะใช้ SCR ทำหน้าที่เป็นวงจรเรกติไฟเออร์ซึ่งทำให้สารมารถควบคุมระดับแรงดันในวงจร ดีซีลิ๊งค์ได้) 4.2วงจรเชื่อมโยงทางดีซี (DC Link) คือวงจรเชื่อมโยงระหว่างวงจรเรียกกระแสและวงจรอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะประกอบด้วยแคปปาซิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ พิกัดแรงดัน ไฟฟ้า 400 VDC หรือ 800 VDC โดยขึ้นอยู่กับแรงดันอินพุตว่าเป็นแบบเฟสเดียวหรือ 3 เฟส ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากวงจรเรียงเรกติไฟเออร์ให้เรียบยิ่งขึ้น และทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ขณะที่มอเตอร์ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในช่วงสั้นเนื่องจาการเบรคหรือมีการลดความเร็วรอบลงอย่างรวดเร็ว (สำหรับกรณีที่ใช้งานกับโหลดที่มีแรงเฉื่อยมาก ๆ และต้องการหยุดอย่างรวดเร็ว จะเกิดแรงดันสูงย้อนกับมาตกคร่อมแคปปาซิเตอร์และทำให้ แคปปาซิเตอร์เสียหาย ได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจะมีวงจรชอปเปอร์โดยต่อค่าความต้านอนุกรมกับทรานซิสเตอร์ และต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์ไว้ โดยทรานซิสเตอร์จะทำให้ที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อควบคุมให้กระแสไหลผ่านค่าความต้านทานเพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้น 4.3วงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) คือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงผันจากแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ผ่านการกรองจากวงจรดีซีลิ๊งค์) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรจะประกอบด้วยเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์กำลัง 6 ชุด (ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ IGBT) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอาศัยเทคนิคที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ PWM (Pule width modulation) 4.4วงจรควบคุม (Control Circuit) จะอยู่ชุดเดี่ยวกันกับวงจรอินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากชุดคอลโทรลภายในควบคุมความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์ไปทำการประมวลผล และส่งนำเอาท์พุทออกไปควบคุมการทำงานของทรานซิสเตอร์เพื่อจ่ายแรงดันและความถี่ให้ได้ความเร็วรอบและแรงบิดตามที่ชุดคอนโทรลภายในส่งสัญญาณมา 5.วาล์วควบคุมความดัน (PMV: Pulse motor valve) จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความไปยังอิวาพอเรตอร์เพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ชุดวาล์วควบคุมความดันจะถูกสั่งงานโดยชุคอนโทรลภายนอก 6.มอเตอร์พัดลมเครื่องภายนอก (Fan motor outdoor unit) จะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้แผงระบายความร้อนภายนอก (Condenser) ซึ่งปกติถ้าเครื่องปรับอากาศธรรมดาจะมีความเร็วรอบคงที่โดยจะใช้มอเตอร์กระแสสลับและจะทำงานพร้อมกับตัวคอมเพรสเซอร์แต่ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์โดยส่วนจะใช้มอเตอร์พัดลมกระแสงตรงเนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้โดยจะควบคุมโดยชุดคอนโทรลภายนอก (Outdoor control unit)

อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานหรือค่าไฟได้อย่างไร????" ถ้าเราพิจารณาจาก คุณสมบัติของโหลดชนิดต่างๆ จากตารางด้านบนของโหลดประเภทปั๊มและพัดลมนี้ เราจะเห็นว่า กำลัง (P) จะแปรผันตามความเร็วรอบยกกำลังสาม (N 3) สมมุติว่า ในกระบวนการ ใช้งานเราสามารถลดความเร็วรอบลงได้ 10% นั่นก็คือ 0.9 N เราก็จะได้กำลัง P (N) = N*N*N = N3 P (0.9N) = 0.9*0.9*0.9 N3 = 0.729 N3 P (N) - P (0.9N) = 0.29 N3 เราจะเห็นว่า ถ้าเราสามารถลดรอบของปั้มหรือพัดลมลงได้ 10% เราสามารถประหยัด พลังงานลงได้เกือบ 30% และในหลักการเดียวกับข้างต้น ถ้าลดความเร็วรอบลงได้ 20% เราจะสามารถประหยัดพลังงาน ลงได้ถึงเกือบ 50% ทีเดียว Pressure Control อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานตรงที่หน้าที่ของมัน คือ ปรับความเร็ว รอบของมอเตอร์ให้ลดลงตามที่เราต้องการ โดยที่ทำให้มอเตอร์ใช้กระแสไฟลดลง เนื่องจากโหลดต้องการกำลังลดลง ลองพิจารณาจากรูปด้านข้าง จากรูป ถ้าสมมุติว่าในตอนแรกยังไม่มีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในการขับปั้ม เมื่อเดินปั้มๆ จะปั้มน้ำเข้าสู่ระบบจนกระทั่งความดันได้ตามที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วไปอาจจะมีตัววาล์ว ความดันอยู่ซึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำออกเพื่อไม่ให้ความดันเกิน แต่มอเตอร์จะเดินอยู่ตลอด เวลาหรืออาจจะเป็นลักษณะที่ให้มอเตอร์หยุดเมื่อถึงความดันที่ต้องการ และเดินใหม่อีก ครั้งเมื่อความดันลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ จะเห็นว่าทั้งสองวิธีก็จะมีการสูญเสียพลังงานมาก แบบแรก มอเตอร์เดินตลอดเวลา ส่วนแบบที่สอง มอเตอร์จะเดินหยุดๆ ตลอดเวลา ซึ่ง ก็เป็นการสูญเสียเช่นกัน ถ้าเราติดตั้งอินเวอร์เตอร์เข้าไปและใช้ตัว Pressure transmitter เป็นตัวส่งสัญญาณในการปรับรอบของมอเตอร์ให้ลดลง เมื่อความดันเพิ่มจากที่ต้องการ และเดินที่ความเร็วรอบปกติของมอเตอร์เมื่อความดันลดลง โดยอาจควบคุมเป็น แบบ PI หรือ PID ก็ได้ จากผลอันนี้เราจะประหยัดพลังงานได้อย่างมากทีเดียว นอกเหนือไปจากผลที่ได้จากการประหยัดพลังงานแล้ว การใช้อินเวอร์เตอร์ในงานปั้ม หรือ พัดลม ยังให้คุณประโยชน์ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น 1. การควบคุมดีขึ้น และ สะดวกมากขึ้น - รักษาความดันน้ำคงที่สม่ำเสมอ - รักษาอุณหภูมิอากาศคงที่สม่ำเสมอ - ปรับเปลี่ยนง่ายไม่ยุ่งยาก 2. ลดความเครียดทางกล (Reduce mechanical stress) เช่น การเกิด Water hammer ในท่อ เนื่องจากเดิน หรือ หยุด ปั้มน้ำอย่างกระทันหันทำให้ค่าบำรุงรักษาลดลงด้วย แสดงน้อยลง

การควบคุมมอเตอร์3เฟส5แรงม้าด้วยไฟฟ้า220โวลต์ตามบ้าน Sompong Tungmepol1 สัปดาห์ที่ผ่านมา อินเวอร์เตอร์ กับการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันเราทุกคนต่างประสบกับปัญหาพลังงาน ราคาแพง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคา น้ำมันซึ่งปรับตัวสูงขึ้นมากๆ ทำให้ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าก็ปรับค่าไฟขึ้นและค่าไฟก็เป็นต้นทุน หลักตัวหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ดังนั้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่าอย่างประหยัดก็จะเป็นการลดต้น ทุน การดำเนินงานได้ ในโรงแรมขนาดใหญ่ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และในหลายอุตสาหกรรม เช่น โรงทอผ้า อาหาร อิเลคทรอนิกส์ ที่มีการใช้ระบบเกี่ยวกับความร้อน การระบายอากาศ เครื่องทำความเย็น ระบบปรับอากาศ การใช้น้ำ การรักษาความดันอากาศหรือน้ำ ในระบบเหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ที่สำคัญ คือ พัดลม และ ปั้มน้ำ โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวขับ ดังนั้น ถ้าเรามองถึงการประหยัดพลังงานก็ต้องมุ่งไปที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะใช้มอเตอร์ขับ ปั้มน้ำ และ พัดลมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดสุด

เครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์ (Invertor) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของมอเตอร์ นิยมใช้กันมาก ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ ยุคปัจจุบัน เช่น แอร์อินเวอร์เตอร์ ตู้เย็น อินเวอร์เตอร์ เครื่องซักผ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มน้ำ อินเวอร์เตอร์ เครื่อง สูบน้ำ อินเวอร์เตอร์ รถ จักรยาน ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ยานพาหนะ ในยุคปัจจุบันและอนาคต ล้วนต้องใช้ อินเวอร์เตอร์

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกไม้ผลบนพื้นที่เค็ม

การปลูกต้นไม้ในทะเลทราย

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คนสู้โรค - ประโยชน์อาหารหมักของไทย 23Sep13

คนสู้โรค - กินต้านโรค 20Aug13

คนสู้โรค - ออกกำลังกายต้านโรค 15Jul13

คนสู้โรค - อาหารเช้าผู้สูงวัย 18Feb13

คนสู้โรค - ภูมิแพ้และหอบหืด 24Dec12

พิชิตโรคร้าย โดยไม่ใช้ยา 11Dec12

สุขภาพดีวิถีไทย ตอนพิเศษ " โรคเบาหวานหายขาดได้ "