วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิตตรงที่ใจเป็นกลางต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และกามธรรมนี้เป็นภูมิของพระอนาคามี เพราะเมื่อไม่ยินดีไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและกามธรรม ก็คือปราศจากกามราคะ และ ปฏิฆะนั่นเอง จิตพ้นจากกามภูมิ หรือกามาวจรภูมิ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีจะไม่เวียนมาสู่กามภพ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นมนุษย์ ไม่เป็นเทวดา แต่จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นพรหมอัตโนมัตินะ อย่างต่ำที่สุดก็เป็นพรหมที่เรียกว่าพรหมปาริสัชชา อันเป็นพรหมบริวารของท้าวมหาพรหม พรหมมีทั้งหมด 20 ชั้น เป็นรูปพรหม 16 ชั้น เป็นอรูปพรหม 4 ชั้น ไม่ใช่ว่าพระ อนาคามีทุกองค์จะต้องอยู่สุทธาวาสนะ เข้าใจผิด สุทธาวาส เป็นภูมิของพระอนาคามีที่ได้ฌานที่ 4 แล้วมีอินทรีย์ 5 แก่กล้า คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ หรือปัญญาแก่กล้า ถ้าได้ฌาน 4 เฉยๆ อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็ไปเป็นพรหมชั้นเวหัปผลา ไม่ต้องรู้ชื่อก็ได้นะ เดี๋ยวฟังแล้วก็ลืม ฟังเล่นๆ ไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นภูมิที่พระอนาคามีไปเกิดเนี่ย เป็นพรหมชั้นที่ 1 ยันชั้นที่ 20 ไปได้ตลอด ถ้าจะเว้นก็เว้นอยู่ชั้นเดียวคือพรหมลูกฟัก หรือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้อีก จะไปเป็นพรหมชั้นใดก็แล้วแต่ว่าได้ฌานชั้นไหน และอินทรีย์แก่กล้าไหม ทำไมต้องไปเป็นพรหม ก็เพราะว่าไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณอารมณ์นั่นเอง ทีนี้ถ้าพระอนาคามีองค์ไหนไม่นิ่งนอนใจนะ ได้พระอนาคามีไม่ยึดกายแล้ว ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก การปฏิบัติก็จะบีบวงกระชับเข้ามาที่จิต จิตจะรู้เข้ามาที่จิต จะรวมเข้ามาที่จิตอันเดียว ตรงนี้จะมาเห็นอริยสัจแห่งจิต ถ้าเห็นอริยสัจ แห่งจิต ก็พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อหมดความยึดถือจิต ก็จะไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก ธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย - อวิหาภูมิ - อตัปปาภูมิ - สุทัสสาภูมิ - สุทัสสีภูมิ - อกนิฏฐาภูมิ 7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่ - รูปราคะ - อรูปราคะ - มานะ - อุทธัจจะ - อวิชชา 8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง) พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่ ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215953

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น