วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะเรื่องผู้สละโลกนี้ เป็นประวัติของพระสาวกบางท่านซึ่งได้สละ ความสุขอย่างโลกๆ มาแสวงหาความสุขทางธรรม และท่านก็ได้พบ ความสุขนั้นสมใจหมาย อันที่จริง ท่านเหล่านี้มีพระสารีบุตร เป็นต้น พิจารณาตาม ประวัติแล้ว มีโอกาสเป็นอันมากในการที่จะเสวยความสุขทางโลก อย่างที่ชาวโลกมุ่งมอง ปักใจใฝ่ฝัน และแสวงหาอย่างชนิดที่เรียกว่า “ทุ่มชีวิตลงไปทั้งชีวิต” แต่ท่านเหล่านั้นกลับสละทิ้งอย่างไม่ใยดี ไปมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีความวุ่นวายกังวล บางท่านเป็นถึง พระราชาครองแคว้น เช่น พระมหากัปปินะ เมื่อได้ตัดสินพระทัย สละโลกมาอยู่ภายใต้ร่มธงแห่งธรรมแล้ว ทรงเปล่งอุทานอยู่เสมอๆ ว่า “สุขจริงหนอๆ” ทั้งนี้เพราะความสุขทางธรรม - สุขอันเกิดจาก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลนั้น เป็นความสุขที่ประณีต ชุ่มเย็นในดวงจิต เหนือความสุขทางโลกียารมณ์อันเจือด้วยความ กระหาย เร่าร้อนกระวนกระวายและทุกข์ รายละเอียดเกี่ยวกับ ข้อความทำนองนี้มีอยู่แล้วดาษดื่นในหนังสือเล่มนี้ ในศาสนานี้ ท่านผู้สละโลกเพื่อโลกเป็นพระองค์แรกก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมองเห็นว่า การหมกมุ่นอยู่ในโลกนั้น เป็นการยากที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ เหมือนคนไข้รักษา คนไข้ด้วยกัน จะทำได้สักเท่าใด แต่เมื่อจิตใจพ้นจากโลกแล้ว การ หลั่งประโยชน์แก่โลกย่อมทำได้เต็มที่ และมีผลยั่งยืนแก่โลกนั้น แสดงน้อยลง ตอบกลับ 1 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว) คำว่าโลก ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ มิได้หมายถึงโอกาสโลก แต่ หมายถึง กามโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อัน ยั่วยวนใจเป็นบ่วงบาศคล้องใจสัตว์ให้จมอยู่ หมกมุ่นพัวพัน ลุ่มหลง อยู่ในกามโลกนั้น บางทีพระพุทธองค์ทรงเรียกสิ่งนี้ว่า ตะปูตรึงใจ (เจโตขีละ) นอกจากสิ่งเร้าภายนอกคือกามคุณ ๕ ดังกล่าวแล้วยังมี แรงกระตุ้นภายใน คือ กิเลส เช่น ความกำหนัด เพราะความดำริถึง (สังกัปปราคะ) ความปักใจใฝ่ฝันใคร่ได้ใคร่มีชุ่มอยู่ในดวงจิตเหมือน เชื้อเพลิงอย่างดีชุ่มอยู่ด้วยน้ำมัน พอไฟคือสิ่งเร้าภายนอกมากระทบ ก็พลันลุกไหม้เผาทั้งน้ำมันและเชื้อเพลิงนั้น แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา ูรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อันยั่วยวนใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “โลกามิส- เหยื่อของโลก”ผู้ไม่กำหนดรู้โทษของเหยื่อเหล่านี้ เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างตะกละตะกลามลุ่มหลง ผูกพันย่อมถูกเบ็ด คือ ความทุกข์เกี่ยวเอาจนไม่อาจดิ้นให้หลุดเพื่ออิสรภาพของตนได้ ต่อแต่นั้นก็หยั่งลงสู่ทุกข์ (ทุกฺโขติณฺณา) มีทุกข์ ดักอยู่เบื้องหน้า (ทุกฺขปเรตา) คร่ำครวญอยู่ว่าทำอย่างไรหนอเรา จักพ้นทุกข์นี้ได้ ผู้สละโลกคือท่านผู้สละเหยื่อของโลก ไม่ติดเหยื่อของโลก เป็นผู้อันโลกจะครอบงำย่ำยีมิได้ย่อมเที่ยวไปในโลกได้อย่างเสรี เหมือนเนื้อที่ไม่ติดบ่วงของพรานไพร แม้บางคราวจะเกี่ยวข้องอยู่ด้วย บ่วง นอนทับกองบ่วงอยู่ แต่บ่วงก็หาทำอันตรายแต่ประการใดไม่ ดังพระพุทธวจนะอันลึกซึ้งจับใจที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เนื้อป่าที่ติดบ่วงแล้ว นอนทับบ่วงอยู่ย่อมถึง ความเสื่อมความพินาศ หนีไปไม่ได้ตามปรารถนา ถูกพรานเนื้อ กระทำเอาได้ตามต้องการฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ยังใฝ่ฝันลุ่มหลง ติดพัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามคุณ ๕ โดย ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดตนออก แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา ส่วนสมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามคุณ ๕ โดยเห็นโทษมีปัญญา เครื่องสลัดตนออก สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่ถึงความเสื่อม ความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำเอาได้ตามต้องการ เหมือน เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง แม้จะนอนทับกองบ่วงอยู่ก็ย่อมไม่ถึงความเสื่อม ความพินาศ เมื่อพรานเดินเข้ามาก็หนีไปได้ตามปรารถนาไม่ถูก พรานทำเอาได้ตามต้องการ” (ปาสราสิสูตร ๑๒/๓๒๘) พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์โลกผูกพันอยู่ในความหลง ตกอยู่ ในความมืด มีน้อยคนที่จะเห็นแจ้งตามเป็นจริง เพราะฉะนั้นจึง มีน้อยคนที่ไปสวรรค์ เหมือนนกที่ติดข่ายของนายพรานแล้ว น้อยตัว ที่จะพ้นไปได้” โลกียมหาชนนั่นเอง ตกอยู่ในความมืด เป็นผู้บอดเพราะไม่มี ปัญญาจักษุ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นผู้ใจบอด ไม่อาจมองเห็น สัจจะแห่งโลกได้ เขามีแต่ตาเนื้อสำหรับเห็นรูปต่างๆ อันยั่วยวนให้ หลงใหลหรือให้หลงรัก หลงชัง แล้วดิ่งลงไปในนรก คนไปสวรรค์ เหมือนเขาโค ส่วนคนไปนรกเหมือนขนโค คนทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครพ้นได้ ความตายของ ปุถุชนมีคติไม่แน่นอน บางชาติตกนรก บางชาติไปสวรรค์ บางชาติ เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน บางชาติเป็นเปรต เป็นอสูรกาย สุดแล้วแต่ กรรม น่าหวาดเสียว น่ากลัว ความทุกข์ในกำเนิดดิรัจฉาน เช่น สุนัข เป็นต้น ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร ! แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 ปีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว) แม้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็น่ากลัวอยู่นั่นเอง เพราะมนุษย์ มีหลายประเภท หลายสภาพ บางคนพิกลพิการ อดอยาก เจ็บกาย เจ็บใจ อยู่ตลอดชีวิต แม้คนที่มั่งมีและมีอวัยวะสมบูรณ์ก็ยังถูกกิเลส เผาให้เร่าร้อนอยู่เป็นประจำ ความต้องการออกจากโลกเป็นโลกุตตรชนนั้น เป็นทรรศนะ และอุดมคติของนักปราชญ์ ทั้งนี้เพราะได้มองเห็นด้วยปัญญา อันชอบว่า โลกนี้ไม่มีอะไรควรยึดมั่น สิ่งใดที่บุคคลเข้าไปยึดมั่น สิ่งนั้นก่อให้เกิดทุกข์เสียทุกครั้งไป ความสุขก็เล็กน้อยไม่พอกับ ความทุกข์ที่กระหน่ำอยู่ทุกเวลามิได้เว้น โลกนี้มีความทรุดโทรม แวดล้อมอยู่ด้วยทุกข์รอบด้าน มี ปัญหามาก พร่องอยู่เป็นนิตย์ มีความขัดข้องที่จะต้องแก้ไขอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นกัลยาณมิตรของท่าน ผู้ต้องการสละโลก (แม้จะยังสละไม่ได้ก็ตาม) และแม้ท่านผู้ยัง ต้องการอยู่ในโลกอย่างไม่เป็นทาสของโลกหรืออยู่อย่างมีทุกข์น้อย ที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น