วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ถ้าเรารู้ทันจิตคิดเราจะหลุดจากโลกของความคิดพอฝันเรารู้ว่าฝันเราจะหยุดฝันธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่­เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิด กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มั­นเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส กิเลสแบบละเอียด ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเรา­หลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรร­มชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ในความเป็นจริงในขณะที่เราดูธาตุดูขันธ์เกิดดับไปนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนั้นน่ะ จิตจะพลิกตัวเข้ามาทำสมถะเป็นช่วงๆ จิตไม่เคยเดินวิปัสสนารวดเดียว แต่ว่าจะเดินวิปัสสนาไปหน่อยนึง แล้วก็รวมเข้ามาทำสมถะ แล้วมันก็ออกไปเดินวิปัสสนาอีก ก็รวมเข้ามาเป็นช่วงๆไป สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำสมถะนะ ทำสมถะรวดเดียวได้ แต่จะเจริญปัญญารวดเดียวไม่มีหรอก จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ถ้าเราไม่ชำนาญพอนะตรงที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่ เห็นสภาวะธรรมเกิดดับ จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ เกิดสมาธิตกสมาธิอ่อน จิตผู้รู้หายไป จิตเคลื่อน จิตส่งออกนอก ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก จิตมันจะเคลื่อนไป อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น จิตมันเคลื่อนไปดูที่ความโกรธ มันไหลไปอยู่กับความโกรธนะ ความโกรธอาจจะหนีออกไปนอกร่างกายเราอีกนะ หนีออกไปข้างนอกเราตามไปดูอีก ความโกรธดับไปคราวนี้เสร็จเลย กลับบ้านไม่เป็น จิตไม่เข้าฐานแล้ว จิตไปอยู่ข้างนอก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จิตไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่ งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไปเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียิน­ร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรม­ใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่­วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธร­รมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเราถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจ­­ริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหล­­ายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วครา­­วนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น