วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง ที่มา ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 สรุปเนื้อหาหนังสือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) โดย อ . สุทธิวัสส์ คําภา การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึก ลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่าน อวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง อวัยวะตัน ! หมายถึง ! หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ! อวัยวะกลวง ! หมายถึง ! กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ สําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบ ความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว ) การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น . และสูงสุดในช่วงเวลา ประมาณ 04.00 น . จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น . การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น . ได้มีการ ศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ําในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น . จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของ พลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไก การปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงไป การดําเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็น หลักฐานของการมีสุขถาพดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonin) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสาร มีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกาด้วยจึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ 1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย 2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทําให้ตับทํางานหนัก ตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่ หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธี 1.กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก 2.ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่นสองแก้ว 3.ถ้ายังไม่ถ่ายอีกให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะน้ำมนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย 4.บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือเท้าเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าท้องไปติดกับสันหลัง 07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะ อาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารในระยะเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขาไม่ค่อยมีแรง หน้าแก่ก่อนวัย 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ - ม้ามโต ม้ามจะเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย - ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรอพูดเก่งๆ ม้าจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรือตกใจให้ได้ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซึ บี โปรตีน เพื่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เม่ือลําไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูก ซึ่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซึ่ 15.00 - 17.00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจาก หัว ตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจํา ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงนี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง **ข้อควรระวัง - ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย - ถ้ามีโปรตัสเซียมออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจจะวายด้วยการให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม -การอั้นปัสสาวะบ่อยๆปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าในกระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมี่กลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ 17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหงาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงหงาวหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก - ไตซ้ายจะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน - ไตขวาจะควบคุมสมองด้านซาย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ทีไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า) ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กมิได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ตับจึงกลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแล คือ ตอนเช้าอาบนำเย็น ตอนเย็นอาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรจะใส่สมุนไพรที่ถูกแลกกับผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เทา แช่เท้าในน้ำอุ่น 21.00 - 23.00 น . เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น จึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทําให้เจ็บป่วย ได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ 21.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมีการดึงน้ำจากดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับดื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุเอาถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจลูกกระดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดสะโพก) ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนเป็น้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอน เพราะใยสังเคาระห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย **ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23 น. ที่มา จากหนังสือนาฬิกาชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น