วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โลกอันชราพยาธิและมรณะนำไปไม่มีผู้ต้านทานได้ นกุลปิตุสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่ [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็น ที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้ เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับ กระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มี- พระภาคเจ้าและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มี- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 2 พระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด พร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่าย อยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษา อย่างนี้แล. [๒] ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนี้นกุลบิดาชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะนกุลปิตุคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้าหรือ. นกุลปิตุคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไฉนจะไม่ เป็นอย่างนี้เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วย ธรรมีกถา. ส. ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรม รดท่าน ด้วยธรรมีกถาอย่างไรเล่า. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 3 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วย เนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอน ข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ด้วยธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระ สับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดีก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับ กระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึง ศึกษาอย่างนี้แล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤต- ธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล. [๓] ส. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อไปว่า พระเจ้าข้า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย และก็ด้วยเหตุเท่าไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อ ความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด. ส. ดูก่อนคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 4 นกุลปิตุคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ [๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูก่อน คฤหบดี คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีได้สดับแล้ว มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็น สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำใน สัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อม เห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็น เวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น เวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ เวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมี สัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 5 ความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่อเขา ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อม แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย. [๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับ กระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูก่อนคฤหบดี คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยะธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูป ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 6 เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูป แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมี เวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็น ผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวก นั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็น สัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความ ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็น อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความ เป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น สังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ สังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนใน วิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 7 เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกาย กระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล. จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๑ สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค อรรถกถานกุปิตุสูตรที่ ๑ นกุลปิตุวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้. บทว่า สุสุมารคิเร ได้แก่ ในนครชื่อสุงสุมารคิระ เล่ากันมาว่า เมื่อสร้างนครนั้น จระเข้ร้อง ฉะนั้นคนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สุงสุมารคิระ. บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่าที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะ ยักษิณีชื่อเภสกฬาสิงอยู่ ป่านั้นแหละ เรียกว่า มิคทายะ เพราะเป็นที่ ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนครนั้นในชนบทนั้น ประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้น. บทว่า นกุลปิตา ได้แก่ เป็นบิดาของทารก ชื่อนี้กุละ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 8 บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ เป็นผู้คร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า วุฑฺโฒ ได้แก่ เป็นผู้เจริญวัย. บทว่า มหลฺลโก ได้แก่ เป็นคนแก่นับแต่เกิด. บทว่า อทฺธคโต ได้แก่ ล่วงกาล ๓. บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ได้แก่ล่วงกาล ๓ นั้นๆ ถึงปัจฉิมวัยตามลำดับ. บทว่า อาตุรกาโย ได้แก่ มีกายเจ็บไข้. ความจริง สรีระนี้แม้มีวรรณะดังทอง ก็ชื่อว่ากระสับกระส่ายอยู่นั่นเอง เพราะ อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ แต่ว่าโดยพิเศษ สรีระนั้นย่อมมีความกระสับ กระส่าย ๓ อย่าง คือ กระสับกระส่ายเพราะชรา ๑ กระสับกระส่าย เพราะพยาธิ ๑ กระสับกระส่ายเพราะมรณะ ๑ ใน ๓ อย่างนั้น เพราะ ความเป็นคนแก่ จึงชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะชรานั้นก็จริง ถึง อย่างนั้น ในที่นี้ท่านก็ประสงค์เอาความที่สรีระนั้น กระสับกระส่าย เพราะพยาธิ เพราะเป็นโรคอยู่เนืองๆ. บทว่า อภิกฺขณาตงฺโก ได้แก่ เป็นโรคเนืองๆ คือเป็นโรคอยู่เรื่อย. บทว่า อนิจฺจทสฺสาวี ความว่า ข้าพระองค์ไม่อาจมาในขณะที่ปรารถนาๆ ได้เฝ้าบางคราวเท่านั้น มิได้เฝ้าตลอดกาล. บทว่า มโนภาวนียาน ได้แก่ ผู้ให้เจริญใจ ก็เมื่อ ข้าพระองค์เห็นภิกษุเหล่าใด จิตย่อมเจริญด้วยอำนาจกุศล ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่พระมหาเถระมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้ให้เจริญใจ. บทว่า อนุสาสตุ ได้แก่ขอโปรดสั่งสอนบ่อย ๆ. จริงอยู่ สอนครั้งแรกชื่อว่าโอวาท สอนครั้งต่อ ๆ ไปชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง สอนในเรื่องที่มีแล้วชื่อว่าโอวาท สอนตามแบบแผนคือตามประเพณี นั่นแหละในเรื่องที่ยังไม่มีชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง คำว่าโอวาทก็ดี คำว่า อนุสาสนี ก็ดี โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกันทีเดียว ต่างกันเพียง พยัญชนะเท่านั้นเอง. บทว่า อาตุโร หายั ตัดเป็น อาตุโร หิ อย. ความว่า กายนี้มีสี พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 9 เหมือนทอง แม้เสมอด้วยไม้ประยงค์ ก็ชื่อว่ากระสับกระส่าย เพราะ อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ. บทว่า อณฺฑภูโต ความว่า เป็นเหมือนฟองไข่ ใช้การไม่ได้ ฟองไข่ไก่ก็ตาม ฟองไข่นกยูงก็ตาม ที่คนเอามาทำเป็น ลูกข่าง จับโยนหรือขว้างไป ไม่อาจจะเล่นได้ ย่อมแตกในขณะนั้น นั่นเอง ฉันใด กายแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อคนเหยียบชายผ้าก็ดี สะดุดตอก็ดี ล้มลง ย่อมแตกเป็นเหมือนฟองไข่ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อณฺฑภูโต. บทว่า ปริโยนทฺโธ ได้แก่ เพียงผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้ เพราะฟองไข่มี เปลือกแข็งหุ้มไว้ฉะนั้นแม้เหลือบยุงเป็นต้นแอบเข้าไปเจาะผิวที่ฟองไข่นั้น ก็ไม่อาจให้น้ำเยื่อไข่ไหลออกมาได้ แต่ที่กายนี้ เจาะผิวหนังทำได้ตาม ปรารถนา กายนี้ผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้อย่างนี้. บทว่า กิมญฺตฺร พาลฺยา ความว่า อย่างอื่นนอกจากความอ่อนแอ จะมีอะไรเล่า กายนี้อ่อนแอ จริงๆ. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะกายนี้เป็นอย่างนี้ บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า คฤหบดีชื่อนี้กุลบิดา เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสัทธรรมจักรพรรดิ ต่อมาประสงค์จะทำ ความเคารพพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ เหมือนราชบุรุษเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วต่อมาจึงเข้าไปหา ท่านปรินายกรัตน์ (อัครมหาเสนาบดี). บทว่า วิปฺปสนฺนามิ ได้แก่ ผ่องใส ด้วยดี. บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า ปริสุทฺโธ ได้แก่ ปราศจากโทษ. คำว่า ปริโยทาโต เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริสุทฺโธ นั่นเอง. จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรนี้ ท่านเรียกว่า ปริโยทาโต เพราะท่าน ปราศจากอุปกิเลสนั่นเอง มิใช่เพราะเป็นคนขาว. คฤหบดีพอเห็นความ ผ่องแผ้วของพระสารีบุตรเท่านั้น ก็รู้ว่าท่านมีอินทรีย์ผ่องใส. ได้ยินว่า นี้เป็นปัญญาคาดคะเนของพระเถระ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 10 บทว่า กหญฺหิ โน สิยา ความว่า เพราะเหตุไรท่านจักไม่ได้ปัญญา นั้นเล่า อธิบายว่า ได้แล้วทีเดียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงอะไรแสดงว่าเป็น ผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา. ได้ยินว่า คฤหบดีนี้จำเดิมแต่ได้เห็นพระศาสดา ก็ได้ความรัก ดุจว่าตนเป็นบิดา ฝ่ายอุบาสิกาของท่านก็ได้ความรักดุจตนเป็นมารดา. ท่านทั้งสองเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาว่า บุตรของเรา. จริงอยู่ ความรักของท่านทั้งสองนั้นมีมาแล้วในภพอื่นๆ. ได้ยินว่าอุบาสิกานั้น ได้เป็นมารดา ส่วนคฤหบดีนั้นได้เป็นบิดาของพระตถาคต ๕๐๐ ชาติ. อุบาสิกาเป็นยายและเป็นป้า-น้า อุบาสกเป็นปู่ และเป็นอา ตลอด ๕๐๐ ชาติอีก. รวมความว่า พระศาสดาทรงเจริญเติบโตในมือของ ท่านทั้งสองนั้นเองสิ้น ๑,๕๐๐ อัตภาพ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านทั้งสองนั้น จึงนั่งพูดในสำนักของพระศาสดาใช้คำที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะพูดใน ที่ไกล้บุตรและธิดาได้. ก็ด้วยเหตุนี้นี่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง ตั้งท่านทั้งสองนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาอุบาสกสาวกที่สนิทสนมของเรา นกุลปิตา คฤหบดี จัดเป็นเลิศ บรรดาอุบาสิกา สาวิกา ที่สนิมสนมของเรา นกุลมาตา คหปตานี เป็นเลิศ ดังนั้นพระองค์เมื่อจะทรงประกาศความเป็นผู้สนิทสนมนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กหญฺหิ โน สิยา ดังนี้. บทว่า อมเตน อภิสิตฺโต ความว่า ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี อะไรอื่นในที่นี้ไม่พึงเห็นว่า อมตาภิเสก (คือการโสรจสรงด้วย น้ำอมฤต) แต่พระธรรมเทศนาที่ไพเราะเท่านั้น พึงทราบว่า อมตาภิเสก. บทว่า ทูรโตปิ ได้แก่ จากภายนอกแว่นแคว้นบ้าง ภายนอกชนบทบ้าง. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 11 คำว่า อสุตวา ปุถุชฺชโน นี้มีอรรถดังกล่าวมาแล้วนั่นแล พึงทราบ วินิจฉัยในคำว่า อริยาน อทสฺสาวี เป็นต้นดังต่อไปนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายกล่าวว่า อริยะเพราะไกล จากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในความเสื่อม เพราะดำเนินไปในความ เจริญ เพราะโลกพร้อมด้วยเทวโลกพึงดำเนินตาม อนึ่ง พระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแล เป็นพระอริยะในโลกนี้ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคตท่านเรียกว่าอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ดังนี้ ก็พึง ทราบวินิจฉัยในคำว่า สปฺปุริสาน ดังต่อไปนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าและ พระสาวกของตถาคต พึงทราบว่าสัตบุรุษ จริงอยู่ท่านเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าสัตบุรุษ เพราะเป็นคนงาม เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็น โลกุตตระ อนึ่ง ท่านทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นทั้ง ๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระอริยะด้วยเป็นสัปบุรุษด้วย แม้ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกอย่างนั้นเหมือนกัน เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลใดแล เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็น นักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความ ภักดีอันมั่นคง กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดย เคารพ บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เช่นนั้นว่า เป็นสัปปุรุษ. บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ความว่า ก็พุทธสาวก ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเพียงเท่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายท่านกล่าว ด้วยคุณมีกตัญญุตา เป็นต้น. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 12 ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดี ในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็น พระอริยะเจ้านั้นมี ๒ จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็น ด้วยญาณพวกหนึ่ง ใน ๒ พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอา ในที่นี้. แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่า เป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา แม้สัตว์เดียรัจฉาน มี สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยเจ้าด้วยจักษุ และ สัตว์เหล่านั้นจะชื่อว่าไม่เห็นพระอริยเจ้าก็หามิได้ ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ เล่ากันมาว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ ณ จิตรลดา- บรรพต เป็นผู้บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งท่านเที่ยวบิณฑบาตกับพระเถระ ถือบาตรและจีวรของพระเถระเดินไปข้างหลังถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร. พระเถระ ตอบว่า บุคคลบางตนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของ พระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็น ด้วยญาณ (ปัญญา) ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้. ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม. เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 13 พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุ แล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำ ความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ. บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมต่าง โดยสติปัฏฐานเป็นต้น ก็ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่าวินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง ท่านเรียกปุถุชนนี้ ว่า มิได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. ก็วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ และในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยแต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง. แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร. แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน. ใน ๕ อย่างนั้น สังวรในประโยคว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วย ปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่า สีลสังวร สังวรในประโยคว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริย จกฺขุนฺทฺริเย สวร อาปชฺชติ ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม ในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร สังวรในคาถาว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 14 ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตส นิวารณ โสตาน สวร พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเรา กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส ทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตจะปิดได้ ด้วยปัญญา. นี้ชื่อว่า ญาณสังวร สังวรในประโยคว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส ภิกษุย่อมอดทน ต่อหนาวต่อร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร สังวรในประโยคว่า อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ นี้ชื่อ วิริยสังวร อนึ่ง สังวรทั้งหมดนี้ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่อง ปิดกั้นกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงปิดกั้นตามหน้าที่ของตน และท่าน เรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องกำจัดกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงกำจัด ตามหน้าที่ของตน สังวรวินัยพึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ อย่าง ด้วย ประการฉะนี้ก่อน. อนึ่ง ในวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละ อนัตถะนั้นๆด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วย แสงประทีปนั่นแล โดยความเป็นปฏิปักษ์กัน คือ ละสักกายทิฏฐิด้วย การกำหนดนามรูป ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและทิฏฐิที่มีเหตุไม่เสมอกันด้วย การกำหนดปัจจัย ละวิจิกิจฉาด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิอันเป็นส่วน เบื้องปลายแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นแหละ ละการยึดถือว่า เรา ของเรา ด้วยการพิจารณานามรูปโดยเป็นกลาป ละสัญญาในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่า เป็นทางด้วยมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 15 ความเกิดของนามรูป ละสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับของนามรูป ละสัญญาในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัย ด้วยการเห็นนามรูปว่าเป็นภัย ละสัญญา ในอิสสาทะความยินดี ด้วยการเห็นอาทีนพโทษ ละสัญญาในอภิรติ ความยินดี ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความไม่อยากปล่อย ด้วย มุญจิตุกามยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละภาวะที่เป็น ปฏิโลมในธรรมฐิติญาณ และในนิพพานด้วยอนุโลมญาณ ละการยึดถือ นิมิตในสังขารด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน. อนึ่ง การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ ด้วยอุปจารสมาธิและ อัปปนาสมาธินั่นแล เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยการกั้นด้วยไม้ โดยห้ามภาวะ คือความเป็นไปเสีย นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน. การละหมู่กิเลสที่เป็นฝักฝ่ายสมุทัย ที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนโดยมรรคนั้นๆ เพราะทำอริยมรรค ๔ ให้เกิด โดยมิให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปทาน. อนึ่ง การระงับกิเลสทั้งหลายในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน. พระนิพพานที่ละสังขตธรรมได้หมด เพราะสลัดสังขตธรรม ทั้งหมดได้ นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน. อีกอย่างหนึ่ง ปหานทั้งหมดนี้ เหตุที่ท่านเรียกว่า ปหาน เพราะ อรรถว่า สละ เรียกว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด ฉะนั้นท่านจึง เรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้ท่านเรียกว่า ปหานวินัย เพราะมีการละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีการกำจัดกิเลสนั้นๆ แม้ ปหานวินัย ก็พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้. วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง โดยประเภทมี ๑๐ อย่าง ย่อมไม่มี แก่ปุถุชนผู้ไม่ได้ศึกษานั้น เพราะเป็นผู้ทำลายสังวร และเพราะไม่ละ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 16 สิ่งที่ควรละ ฉะนั้นปุถุชนนี้ท่านจึงเรียกว่า ผู้ไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มี วินัยนั้น. แม้ในคำนี้ว่า สปฺปุริสาน อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม อวีนีโต ก็นัยนี้.ความจริง คำนี้ว่าโดยอรรถไม่แตกต่างกัน เลย. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ผู้เป็นอริยะก็คือสัตบุรุษ ผู้เป็นสัตบุรุษก็คือ อริยะ ธรรมของอริยะก็คือธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือ ธรรมของอริยะ วินัยของอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษ ก็คือวินัยของอริยะ. คำว่า อริเย ก็ตาม สปฺปุริเส ก็ตาม อริยธมฺเม ก็ตาม สปฺปุริสธมฺเม ก็ตาม อริยวินเย ก็ตาม สปฺปุริสวินเย ก็ตาม นี้ๆเป็น อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน มีสภาพเป็นอย่างนั้น อื่นๆก็เป็นอย่างนั้น. บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนว่า รูปอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด รูปก็อันนั้น พิจารณาเห็นรูปและอัตตาว่าเป็นอย่างเดียวกัน. ภิกษุบางรูป ในศาสนานี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ พิจารณาเห็นรูปและ ตนว่าเป็นอย่างเดียวกัน รวมความว่า ย่อมเห็นรูปด้วยทิฏฐิว่า ตนเหมือน ประทีปน้ำมันที่กำลังตามอยู่ คนย่อมเห็นเปลวไฟและสีเป็นอย่างเดียวกัน ว่า เปลวไฟอันใด สีก็อันนั้น สีอันใด เปลวไฟก็อันนั้น.บทว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปว่าเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่ไม่มี รูปนั้นว่ามีรูป เหมือนเห็นต้นไม้ที่มีเงา. บทว่า อตฺตนิ วา รูป ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแหละว่าเป็นตน พิจารณาเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่น ในดอกไม้.บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตาน ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแลว่าตน พิจารณาเห็นตนนั้นในรูป เหมือนแก้วมณีในขวด. บทว่า ปริยุฏฺายี ความว่า ตั้งอยู่โดยอาการที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม คือโดยอาการที่ถูกครองงำ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 17 อธิบายว่า กลืนรูปด้วยตัณหาและทิฏฐิให้เสร็จไปอย่างนี้ว่า เรา ว่า ของเรา ชื่อว่าย่อมยึด.บทว่า ตสฺส ต รูป ได้แก่ รูปของเขานั้น คือที่ยึดไว้ อย่างนั้น แม้ในขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ท่านกล่าว รูปล้วนๆนั่นแลว่าตน.อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว สิ่งที่ไม่มีรูปใน ฐานะ ๗ เหล่านี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีรูป หรือ รูปในตน หรือตนในรูป ๑ เวทนา โดยเป็น ตน ๑ ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน กล่าว ตน ที่ระคนปนกับรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ โดยขันธ์ ๓ ใน บรรดาขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีเวทนา หรือเวทนาในตน หรือตนในเวทนา ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวอุจเฉททิฏฐิ ใน ฐานะว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน. ในทิฏฐิที่เหลือ สัสสตทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้ สรุปความว่า ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ภวทิฏฐิ ๑๕ (วิภวทิฏฐิ ๕) ย่อมเป็น อย่างนี้ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์ อันโสดาปัตติมรรค พึงฆ่า. บทว่า เอว โข คหปติ อาตุรกาโย เจว โหติ อาตุรจิตฺโต จ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาย แม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกัน ส่วนจิตซึ่งคล้อยตามราคะ โทสะ และโมหะ ก็ชื่อว่ากระสับ กระส่าย จิตนั้นท่านแสดงไว้ในที่นี้แล้ว. บทว่า น จ อาตุโร ความว่า ในที่นี้ท่านแสดงถึงความที่จิตสงัด ไม่กระสับกระส่าย เพราะปราศจากกิเลส. ดังนั้นในพระสูตรนี้พึงทราบว่า ท่านแสดงถึงโลกิยมหาชนว่า มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย พระขีณาสพ พึง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 18 ทราบว่า มีกายกระสับกระส่าย มีจิตไม่กระสับกระส่าย พระเสขะ ๗ จำพวก มีกายกระสับกระส่าย มีจิตกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่ มีจิตไม่กระสับกระส่ายก็ไม่เชิง แต่เมื่อจะคบ ย่อมคบแต่ผู้ที่มีจิตไม่ กระสับกระส่ายเท่านั้นแล. จบ อรรถกถานกุลปิตุสูตรที่ ๑ ๒. เทวทหสูตร ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕ [๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของ ศากยะทั้งหลายในสักกชนบท. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลา สารีบุตรแล้วหรือ.ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด สารีบุตรเป็นบัณฑิต อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 19 [๗] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มุงด้วยตะไคร่น้ำ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจาก อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร กล่าวคำปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยใน ปัจฉาภูมชนบท ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลายกราบทูลลา พระศาสดาแล้วหรือ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศ ต่างๆมีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พวกมนุษย์ที่เป็นบัณฑิตทดลอง ถามว่า พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ธรรมทั้งหลายพวกท่านฟังดีแล้ว เรียนดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาบ้างหรือ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พยากรณ์ อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถูกวิญญูชน ติเตียนได้. ภิ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลายมาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อ ความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 20 [๘] ส. ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะ ภิกษุผู้ไปไพรัชประเทศต่างๆมีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย มีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร ท่านทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็น บัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลายทรงเห็นโทษอะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 21 ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสย่อมเกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ของเราทั้งหลายทรงเห็นโทษนี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็น บัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระคาสดาของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์อะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมี ความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อม ไม่เกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์นี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. [๙] ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังสุคติไซร้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 22 พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมมีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน และเมื่อ ตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง สรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก ความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรม ทั้งหลาย ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้สุคติ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง สรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล. จบ เทวทหสูตรที่ ๒ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒ ในเทวทหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เจ้าทั้งหลายท่านเรียกว่า เทวะ สระอันเป็นมงคลของเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า เทวทหะ อีกนัยหนึ่ง สระนั้นเกิดเอง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกว่า เทวทหะ นิคมมีอยู่ ในที่ไม่ไกลสระเทวทหะนั้น จึงว่า เทวทหะนั้นแหละโดยเป็นนปุงสกลิงค์ บทว่า ปจฺฉาภูมคามิกา ได้แก่ ผู้ใคร่จะไปยังปัจฉาภูมชนบทที่ตั้งอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 23 ทิศอื่นอีก บทว่า นิวาส ได้แก่ อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน บทว่า อปโลกิโต แปลว่า บอกลา บทว่า อปโลเกถ แปลว่า ขอท่านจงบอกลา ถามว่า เพราะเหตุไร จึงให้พระเถระบอกลา ? ตอบว่า เพราะมี พุทธประสงค์จะทำให้ท่านเหล่านั้นมีภาระหน้าที่ จริงอยู่ ผู้ใดแม้เมื่ออยู่ ในวิหารเดียวกันก็ไม่ไปสู่สำนัก เมื่อจะหลีกไป ก็หลีกไปโดยไม่บอกลา ผู้นี้ชื่อว่า นิพฺภาโร ไม่มีภาระ ผู้ใดแม้อยู่ในวิหารเดียวกัน ก็มาพบกันได้ เมื่อจะหลีกจำต้องบอกลา ผู้นี้ชื่อว่ามีภาระ ภิกษุแม้เหล่านี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้จักเจริญด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีพระพุทธประสงค์จะทรงนำ ภิกษุเหล่านั้น ให้มีภาระหน้าที่ จึงรับสั่งให้บอกลา. บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต ๔ อย่าง มีความเป็นผู้ฉลาด ในธาตุเป็นต้น. บทว่า อนุคฺคาหโก ได้แก่ผู้อนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง คือ อนุเคราะห์ด้วยอามิส และอนุเคราะห์ด้วยธรรม ได้ยินว่า พระเถระ ไม่ไปบิณฑบาตแต่เช้าตรู่เหมือนภิกษุ เหล่าอื่น เมื่อภิกษุทั้งปวงไปแล้ว ก็เดินตรวจไปตามลำดับทั่วสังฆาราม กวาดที่ที่ไม่ได้กวาด ทิ้งหยากเยื่อที่ยังไม่ได้ทิ้ง เก็บงำ เตียงตั่ง เครื่องไม้และเครื่องดิน ที่เก็บไว้ไม่ดีในสังฆาราม ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะประสงค์ว่า อัญญเดียรถีย์ผู้เข้าไปวิหารเห็นเข้า อย่ากระทำ ความดูหมิ่น แต่นั้นได้ไปยังศาลาภิกษุไข้ ปลอบใจภิกษุไข้ถามว่า ต้องการอะไร จึงหาภิกษุหนุ่มและสามเณรของภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อ ประโยชน์ตามที่ประสงค์ แล้วแสวงหาเภสัชด้วยภิกขาจารวัตรหรือ ในที่ที่คนชอบพอกัน ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงส่งภิกษุเหล่านั้นไปด้วย กล่าวว่า ขึ้นชื่อการบำรุงภิกษุไข้ พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 24 สรรเสริญแล้ว ไปเถิด ท่านสัปปุรุษ พวกท่านอย่าเป็นผู้ประมาท แล้ว ตนเองก็เที่ยวไปบิณฑบาตหรือกระทำภัตกิจในตระกูลอุปัฏฐาก แล้วไป สู่วิหารข้อนี้เป็นเพราะพระเถระนั้นเคยประพฤติมาในสถานที่อยู่ประจำ ก่อน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป พระเถระคิดว่า เราเป็น พระอัครสาวกจึงไม่เดินสรวมรองเท้ากั้นร่มไปข้างหน้า. ก็ในบรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้แก่ เป็นผู้ไข้ หรือยังหนุ่มนัก พระเถระ ก็ให้เอาน้ำมันทาที่เจ็บของภิกษุเหล่านั้น แล้วให้ภิกษุหนุ่มและสามเณร ของตนถือบาตรและจีวร วันนั้นหรือวันรุ่งขึ้นก็พาภิกษุเหล่านั้นไป วันหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นท่านผู้นี้แล ไม่ได้เสนาสนะนั่งอยู่ในกลด เพราะมาถึงเวลาวิกาลเกินไป วันรุ่งขึ้นจึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แสดง เรื่องช้าง ลิง และนกกระทา แล้วทรงบัญญัติ สิกขาบทว่า ท่านพึงให้ เสนาสนะตามลำดับผู้แก่. อันดับแรกพระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยอามิส ด้วยประการฉะนี้ ก็แลพระองค์เมื่อจะทรงโอวาทร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง จนกระทั่งบุคคลนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้นจึง ทรงผละบุคคลนั้นแล้วโอวาทบุคคลอื่น โดยนัยนี้คนทั้งหลายตั้งอยู่ใน โอวาทของพระองค์ผู้ทรงโอวาทอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตนับไม่ถ้วน พระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยธรรมด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้เป็น อุปัชฌาย์ ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมา ดังนั้น เราจักทำในสำนักของท่านดังนี้แล้ว มิได้นิ่งเฉยเสีย จึงรับพระดำรัส พระศาสดาว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. บทว่า เอลคลาคุมฺเพ ได้แก่ ที่โรงที่มุงบังด้วยตะไคร่น้ำ ได้ยินว่า พุ่มตะไคร่น้ำนั้นเกิดในที่มีน้ำขังนานๆ ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้น ทำโรง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 25 ๔ เสาในที่นั้น แล้วยกพุ่มตะไคร่น้ำนั้นขึ้นไว้บนโรงนั้น ตะไคร่น้ำนั้น ปิดกั้นโรงนั้น ที่นั้นภิกษุเหล่านั้น จึงก่ออิฐไว้ภายใต้โรงนั้น เกลี่ยทราย ปูลาดอาสนะไว้ ลมอ่อนๆพัดต้องที่พักกลางวันอันร่มเย็น พระเถระนั่ง ในที่นั้น ซึ่งท่านมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า ที่พุ่มตะไคร่น้ำ. บทว่า นานา- เวรชฺชคต ความว่า ได้แก่ประเทศต่างๆนอกจากประเทศพระราชา พระองค์หนึ่ง. บทว่า วิรชฺช ได้แก่ ประเทศอื่น เหมือนอย่างว่า ถิ่นอื่น นอกจากถิ่นของตนออกไป ชื่อว่า วิเทส (ต่างถิ่น) ฉันใด ประเทศอื่น นอกจากประเทศที่เคยอยู่อาศัยชื่อวิรัชชะ (ต่างประเทศ) ฉันนั้น. ต่างประเทศนั้นท่านเรียกว่า เวรัชชะ. บทว่า ขตฺติยปณฺฑิตา ได้แก่ พระราชาผู้เป็นบัณฑิต มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น. บทว่า พฺราหฺมณปณฺฑิตา ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีจังกีพราหมณ์ และตารุกขพราหมณ์เป็นต้น. บทว่า คหปติปณฺฑิตา ได้แก่ คฤหบดีผู้เป็น บัณฑิต มีจิตตคฤหบดีและสุทัตตคฤหบดีเป็นต้น. บทว่า สมณปณฺฑิตา ได้แก่ นักบวช ผู้เป็นบัณฑิต มีสัพพิยปริพาชก และปิโลติกปริพาชก เป็นต้น. บทว่า วีมสกา ได้แก่ผู้แสวงหาประโยชน์. บทว่า กึวาที ได้แก่ ท่านกล่าวความเห็นของตนว่าอย่างไร อธิบายว่า ผู้มีลัทธิว่าอย่างไร. บทว่า กิมกฺขายี ได้แก่ บอกโอวาทและอนุสาสน์แก่สาวกทั้งหลายว่า อย่างไร. บทว่า ธมฺมสฺส จานุธมฺม ได้แก่ พยากรณ์ตามพยากรณ์ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว. บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ ผู้เป็นไปกับ ด้วยเหตุ. บทว่า วาทานุวาโท ได้แก่ กล่าวตามวาทะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส. บาลี วาทานุวาโต ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตกไปตาม คล้อยตาม เป็นไปตาม. แม้ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านแสดงเฉพาะวาทะที่คล้อยตาม วาทะนั่นเอง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 26 ในบทว่า อวีตราคสฺส พึงทราบอรรถโดยตัณหานั่นเอง เพราะ ฉะนั้นตัณหาแล ท่านเรียกว่า ราคะ เพราะกำหนัด ว่าฉันทะ เพราะ พอใจ ว่า เปมะ เพราะอรรถว่าประพฤติรักใคร่ ว่าปิปาสาระหาย เพราะอรรถว่าประสงค์จะดื่ม ว่าปริฬาหะรุ่มร้อน เพราะอรรถว่า ตามเผา. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า อกุสเล จาวุโส ธมฺเม แก้ว่า เพื่อแสดงโทษของผู้ไม่ปราศจากราคะและอานิสงส์ของ ผู้ปราศจากราคะในขันธ์ ๕. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิฆาโต ได้แก่ ผู้หมดทุกข์แล้ว. บทว่า อนุปายาโส ได้แก่ ผู้หมดความเดือดร้อน. บทว่า อปริฬาโห ได้แก่ผู้ไม่มีความรุ่มร้อน พึงทราบความทุกบทดังว่ามานี้. จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๒ ๓. หลิททิกานิสูตรที่ ๑ ว่าด้วยลักษณะมุนี [๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้ กุรรฆรนคร แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหา ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 27 มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น ดังนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธวจนะที่พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร. [๑๒] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี รูปธาตุเป็น ที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมีวิญญาณพัวพันด้วยราคะใน รูปธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่า มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี เวทนา... สัญญา...สังขารธาตุเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ ก็แหละมุนีใดมี วิญญาณพัวพันด้วยราคะในสังขารธาตุ มุนีนั้นท่านกล่าวว่ามีที่อยู่อาศัย เที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ด้วยประการ อย่างนี้แล. [๑๓] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย แห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคต ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 28 คฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใดใน เวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ... ในวิญญาณธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดราก ขาดแล้ว ทรงทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่ เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย เที่ยวไปอย่างนี้แล. [๑๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพัน ในรูป อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อนคฤหบดี มุนีท่านกล่าวว่าเป็น ผู้มีที่พักเที่ยวไป เพราะซ่านไปและพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส... ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์ อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ดูก่อน คฤหบดี มุนีเป็นผู้มีที่พักเที่ยวไป อย่างนี้แล. [๑๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี กิเลสเป็นเหตุซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและที่พัก อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดัง ตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี กิเลสเป็นเหตุไปพัวพันในเสียง... ในกลิ่น... ในรส... ในโผฏฐัพพะ... ในธรรมารมณ์อันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก อันพระตถาคต ทรงละเสียแล้ว ทรงตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทรงกระทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 29 พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างนี้แล. [๑๖] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อน คฤหบดี มุนีบ้างคนในโลกนี้ เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์อยู่ คือเป็น ผู้พลอยชื่นชมกับเขา พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ขวนขวาย ในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล. [๑๗] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ คือ ไม่พลอยชื่นชมกับเขา ไม่พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุข ก็ไม่สุขด้วย มีทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ขวนขวายในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็น ผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล. [๑๘] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล. [๑๙] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 30 ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ว่างจาก กามทั้งหลาย อย่างนี้แล. [๒๐] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในกาล ข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้มุ่งถึงกาล ข้างหน้า อย่างนี้แล. [๒๑] ดูก่อนคฤหบจี ก็มุนีเป็นผู้ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้าอย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ ว่า ในกาลข้างหน้า ขอเราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญา อย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่มุ่ง ถึงกาลข้างหน้า อย่างนี้แล. [๒๒] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ทำถ้อยคำเห็น ปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่าน จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่ท่านเคย ประพฤติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจงประพฤติเพื่อ ปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจงปลดเปลื้อง เสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น อย่างนี้แล. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 31 [๒๓] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้ทำคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างไร ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่ทำ ถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด เราเป็นผู้ปฏิบัติชอบ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว ทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรายกวาทะแก่ท่านแล้ว ท่านจง ประพฤติเพื่อปลดเปลื้องวาทะเสีย ท่านเป็นผู้อันเราข่มได้แล้ว หรือจง ปลดเปลื้องเสียเอง ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็นผู้ทำ ถ้อยคำแก่งแย่งกับชนอื่น อย่างนี้แล. [๒๔] ดูก่อนคฤหบดี พระพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แล้วในมาคัณฑิยปัญหา อันมีในอัฏฐกวรรคว่า มุนีละที่อยู่แล้ว ไม่มีที่พักเที่ยวไป ไม่ทำ ความสนิทสนมในบ้าน เป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งถึงกาลข้างหน้า ไม่ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับ ชนอื่น ดังนี้. ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. จบ หลิททิการนิสูตรที่ ๓ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 32 อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ ๓ ในหลิททิกานิสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อวนฺตีสุ ได้แก่ในแคว้นอวันตี กล่าวคือ อวันตีทักขิณาปถ. บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปปาเต ได้แก่ในเหว ข้างหนึ่ง ได้ยินว่า ภูเขาลูกนั้นมีข้างแถบหนึ่งเป็นเสมือนขาดตกไป. บาลีว่า ปวตฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เป็นสถานที่ประกาศลัทธิของพวก เดียรถีย์ต่างๆ. ดังนั้นพระเถระจึงอาศัยนครนั้นในรัฐนั้นแล้ว อยู่บน ภูเขานั้น. บทว่า หลิทฺทิกานิ ได้แก่ คฤหบดีนั้นผู้มีชื่ออย่างนั้น บทว่า ฏฺกวคฺคิเย มาคณฺฑิยปญฺเห ได้แก่ในปัญหาที่มีชื่อว่า มาคัณฑิยปัญหา ในวรรคที่ ๘. ด้วยบทว่า รูปธาตุ ท่านประสงค์เอารูปขันธ์. บทว่า รูปธาตุ- ราควินิพนฺธ ความว่า อันความกำหนัดในรูปธาตุรึงรัดแล้ว. บทว่า วิฺาณ ได้แก่กรรมวิญญาณ. บทว่า โอกสารี ได้แก่ผู้อาศัยเรือนอยู่ ประจำ คือผู้อาศัยอาลัยอยู่ประจำ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงไม่กล่าวว่า วิญฺาณธาตุ โข คหปติ. แก้ว่า เพื่อกำจัดความงมงาย. จริงอยู่ ว่าโดยอรรถ ปัจจัย ท่านเรียกว่า โอกะ กรรมวิญญาณที่เกิด ก่อนย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่กรรมวิญญาณ ทั้งแก่วิบากวิญญาณที่เกิด ภายหลัง ส่วนวิบากวิญญาณย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่วิบากวิญญาณ ทั้งแก่ กรรมวิญญาณ ฉะนั้น เพื่อจะกำจัดความงมงายที่จะพึงมีว่า อะไรหนอ แลชื่อว่า วิญญาณ ในที่นี้ จึงไม่ทรงกำหนดเอาข้อนั้นทำเทศนาโดย ไม่ปนเปกัน อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยอำนาจอารมณ์ เพื่อจะแสดง วิญญาณฐิติที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๔ อย่าง ที่ตรัสไว้นั้น จึงไม่จัดวิญญาณ เข้าในที่นี้. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 33 อุบายในคำว่า อุปายุปาทานา มี ๒ อย่าง คือ ตัณหาอบาย ๑ ทิฏฐิอุบาย ๑ และอุปาทาน ในคำว่า อุปายุปาทานา มี ๔ อย่าง มี กามุปาทานเป็นต้น. บทว่า เจตโส อธิฏฺานาภินิเวสานุสยา ได้แก่เป็น ที่ตั้งอาศัย เป็นที่ยึดมั่น และเป็นที่นอนเนื่องแห่งอกุศลจิต. บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงอยู่ ตัณหาและอุปาทาน เหล่านั้น พระขีณาสพทุกจำพวกละได้แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยส่วนสูง ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความที่พระศาสดาเป็นพระขีณาสพ ปรากฏชัด แล้วในโลก. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจัดวิญญาณไว้ในที่นี้ว่า วิญฺาณธาตุยา ดังนี้. แก้ว่า เพื่อแสดงการละกิเลส. ด้วยว่า กิเลสที่ ท่านละในขันธ์ ๔ เท่านั้น ยังไม่เป็นอันละได้ ต้องละได้ขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นอันละได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดไว้ เพื่อแสดงการละกิเลส. บทว่า เอว โข คหปติ อโนกสารี โหติ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย ประจำอย่างนี้ คือด้วยกรรมวิญญาณที่ไม่อาศัยที่อยู่. บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา ความว่า รูปนั่นแหละชื่อว่า นิมิต เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่านิเกตเพราะ อรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัยกล่าวคือเป็นอารมณ์ ดังนั้นจึงชื่อว่ามีรูปเป็นนิมิต และเป็นที่อยู่อาศัย. ความซ่านไปและความพัวพัน ชื่อว่าวิสารวินิพันธะ. ด้วยสองบทว่า วิสาระ และ วินิพันธะ ท่านกล่าวถึงความที่กิเลสแผ่ไป และความที่กิเลสพัวพัน. บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา แปลว่า เพราะซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ฉะนั้นจึงมี อธิบายว่า ด้วยความซ่านไปแห่งกิเลส และด้วยความพัวพันแห่งกิเลส ที่เกิดขึ้นในรูปที่เป็นนิมิตและเป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า นิเกตสารีติ วุจฺจติ ความว่า สถานที่เป็นที่อยู่อาศัย ท่านเรียกว่า สารี โดยกระทำให้เป็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 34 อารมณ์. บทว่า ปหีนา ความว่า พระตถาคตทรงละความซ่านไปและ ความพัวพันแห่งกิเลสในรูปที่เป็นนิมิตและเป็นที่อยู่อาศัย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ เบญจขันธ์ท่านจึงเรียกว่า โอกะ อารมณ์ ๖ ท่านจึงเรียกว่า นิเกตะ แก้ว่า เพราะฉันทราคะมีกำลังแรงและมี กำลังอ่อน. จริงอยู่ แม้เมื่อฉันทราคะมีกำลังเสมอกัน อารมณ์เหล่านั้น ก็มีความแตกต่างกัน ด้วยอรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัย คือ เรือนเป็นที่อยู่ อาศัยประจำนั่นแล ท่านเรียกว่า โอกะ. สวนเป็นต้นเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้ที่นัดหมายกันทำงานว่า วันนี้พวกเราจักทำในที่โน้น ชื่อว่า นิเกตะ ในสองอย่างนั้น ในขันธ์ที่เป็นไปภายใน เหมือนฉันทราคะในเรือนที่ เต็มด้วยบุตรภรรยาทรัพย์และธัญญาหาร ย่อมมีกำลังแรง. ในอารมณ์ ภายนอก ๖ เหมือนฉันทราคะในที่สวนเป็นต้น มีกำลังอ่อนกว่านั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า ตรัสเทศนาอย่างนี้เพราะฉันทราคะมีกำลังแรง และมีกำลังอ่อน. บทว่า สุขิเตสุ สุขิโต ความว่า เมื่อพวกอุปัฏฐากได้รับความสุข โดยได้ทรัพย์ธัญญาหารเป็นต้น ก็มีความสุขด้วยความสุขอาศัยเรือนว่า บัดนี้เราจักได้โภชนะที่น่าพอใจ เป็นเหมือนเสวยสมบัติที่พวกอุปัฏฐาก เหล่านั้นได้รับ เที่ยวไป. บทว่า ทุกฺขิเตสุ ทุกฺขิโต ความว่า เมื่อพวก อุปัฏฐากเหล่านั้นเกิดความทุกข์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ตนเองมี ความทุกข์สองเท่า. บทว่า กิจฺจกรณีเยสุ ได้แก่ ในเรื่องที่ควรทำ คือกิจ. บทว่า โยค อาปชฺชติ ความว่า ช่วยขวนขวาย คือทำกิจเหล่านั้นด้วย ตนเอง. บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลาย. บทว่า เอว โข คหปติ กาเมหิ น ริตฺโต โหติ ความว่า เป็นผู้ไม่ว่างจากกิเลสกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้ไม่เปล่า เพราะยังมีกามภายใน อย่างนี้. ฝ่ายตรงข้าม พึงทราบว่า พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 35 ว่าง คือเปล่า เพราะไม่มีกามเหล่านั้น. บทว่า ปุรกฺขราโน ได้แก่ มุ่งเพ่งแต่โทษ. ในบทว่า เอวรูโป สิย เป็นต้น ได้แก่ ปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ในบรรดารูปที่สูง และต่ำ ดำและขาวเป็นต้น ปรารถนาว่า ในเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีเวทนาอย่างนั้น ในสัญญามีสัญญาที่กำหนดด้วย นีลกสิณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสัญญาอย่างนั้น ในสังขารมี ปุญญาภิสังขารเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีสังขารอย่างนั้น ในวิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เราพึงเป็นผู้ชื่อว่ามีวิญญาณอย่างนั้น. บทว่า อปุรกฺขราโน ได้แก่ไม่มุ่งแต่โทษ. บทว่า สหิตมฺเม อสหิตนฺเต ได้แก่ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละสลวย คำของเรามีประโยชน์ สละสลวย หวาน. บทว่า อธิจิณฺ- ณนฺเต วิปราวตฺต ได้แก่ คำพูดของท่านที่สะสมคล่องแคล่วดีมานาน ทั้งหมดนั้นพอมาถึงวาทะของเราก็เปลี่ยนแปรกลับกันโดยทันที. บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ โทษของท่านเรายกขึ้นแล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงท่องเที่ยวไปเข้าหาอาจารย์นั้น ๆ เสาะหาให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อจะปลดเปลื้องวาทะนี้. บทว่า นิพฺเพเธหิ วา สเจ ปโหสิ ได้แก่ ถ้าตนเองสามารถ ท่านก็จงกล่าวแก้เสียในที่นี้เลยทีเดียว. จบ อรรถกถาหลิททิการนิสูตรที่ ๓ ๔. หลิททิการนิสูตร ที่ ๒ ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน [๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 36 เมืองกุรรฆรนคร อวันตีรัฐ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไป หา ท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จ ล่วงส่วน เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ดังนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร. [๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต ท่าน กล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้น เหล่านั้น ดู่ก่อนคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยืดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย แห่งจิตเหล่าใด ในเวทนาธาตุ... ในสัญญาธาตุ... ในสังขารธาตุ... ในวิญญาณธาตุ จิต ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความสละ เพราะความ สละคืน ซึ่งความพอใจ เป็นต้นเหล่านั้น ดูก่อนคฤหบดี พระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในสักกปัญหาว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด พ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น ผู้สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 37 บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มี- พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล. จบ ทุติยหลิททิการนิสูตรที่ ๔ อรรถกถาทุติยหลิททิการนิสูตรที่ ๔ ในทุติยหลิททิกานิสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คำว่า สกฺกปญฺเห นี้ท่านกล่าวไว้แล้วทั้งในจูฬสักกปัญหา และทั้งในมหาสักกปัญหา. บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตา ได้แก่ น้อมไปใน พระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาด้วยผลวิมุตติ ซึ่งมีพระนิพพาน นั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺา ได้แก่ เสร็จ คือสำเร็จด้วยดี เหลือเกิน แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเดียวกันนี้. จบ อรรถกถาหลิททิกานิสูตรที่ ๔ ๕. สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญหา [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิ ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อม พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 38 รู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ. [๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไร เป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็น ความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร ย่อม เพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็นความเกิด แห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 39 [๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไร เป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็น ความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูป ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่ เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ใน วิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทาน จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ. จบ สมาธิสูตรที่ ๕ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕ ในสมาธิสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 40 ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วทรงทราบว่า เมื่อภิกษุเหล่านี้ได้ความมีจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักเจริญ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สมาธึ เป็นต้น บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมปรารถนา. บทว่า อภิวทติ ความว่า ภิกษุย่อมกล่าวด้วยความยินดียิ่งนั้นว่า แหมอารมณ์นี้ช่าง น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ดังนี้ อนึ่ง เมื่อเธอยินดียิ่งซึ่งอารมณ์นั้น อาศัยอารมณ์นั้นทำให้เกิดความโลภขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวยกย่อง. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺติ ได้แก่ กลืนเสร็จสรรพรับไว้. บทว่า ยา รูเป นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินกล่าวคือความปรารถนา ในรูปอย่างแรงกล้า. บทว่า ตทุปฺปาทาน คือ ชื่อว่าอุปาทานเพราะอรรถ ว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น. บทว่า นาภินนฺทติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา. บทว่า นาภิวทติ ความว่า เธอย่อมไม่กล่าวว่า อารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา คือ ภิกษุผู้มีจิตใจประกอบด้วย วิปัสสนาแม้เมื่อทำการเปล่งวาจาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ชื่อว่าย่อม ไม่กล่าวยกย่องทั้งนั้น. จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕ ๖. ปฏิสัลลานสูตร ว่าด้วยการหลีกเร้นเป็นเหตุเกิดปัญญา [๓๐] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรใน การหลีกออกเร้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 41 และความดับแห่งรูป... แห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขาร... แห่งวิญญาณ (ความต่อไปนี้เหมือนข้อที่ ๒๘-๒๙) จบ ปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ อรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ ในปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากกายวิเวก แล้ว ทรงทราบว่า เมื่อพวกเธอได้กายวิเวก กรรมฐานจักเจริญ จึงได้ ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ปฏิสลฺลาเน เป็นต้น. จบ อรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ ๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง [๓๑] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้ง เพราะความไม่ถือมั่น แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มี- พระภาคเจ้าแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้. [๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้ เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำ ในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 42 ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูป ของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปของเขา แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ย่อมครอบงำจิต ของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความ หวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใย และสะดุ้งอยู่ เพราะความ ถือมั่น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อม เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของเขานั้น ย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็น สังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขาร ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ สังขารของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อม เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้นแห่ง ธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครองงำ ปุถุชนนั้น ย่อมมีความหวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 43 [๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ แล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับ แนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของ สัตษุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดย ความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อม ไม่เห็นตนในรูป ๑ รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวนย่อมเป็น อย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มี ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง และ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความ แปรปรวนแห่งรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิต ไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความ ลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่เห็น เวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของอริยสาวกนั้นย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตน ในสัญญา ๑ สัญญาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น อย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมี สังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ สังขารของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป... ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณ ของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 44 แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียนไปตาม ความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความบังเกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อม ไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มี ความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. จบ อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ ในอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อุปาทานปริตสฺสน ได้แก่ ความสะดุ้งที่เกิดขึ้นเพราะ ความยึดถือ. บทว่า อนุปาทานอปริตสฺสน ได้แก่ ความไม่สะดุ้งที่เกิดขึ้น เพราะความไม่ยืดถือ. บทว่า รูปวิปริณามานุวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณ ย่อมเป็นธรรมชาติหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปของเราแปรไปแล้วดังนี้ หรือว่ารูปนี้ได้เคยมีแก่เราแล้ว มาบัดนี้ รูปนี้ไม่มีแก่เราหนอดังนี้ บทว่า วิปริณามานุปริวตฺติ ได้แก่ อันเกิดแต่จิต ที่มีความแปรปรวนเป็นอารมณ์โดยหมุนเวียนไปตามรูปที่แปรปรวนไป. บทว่า ปริตสฺสนาธมฺมสมุปฺปาทา ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหาและ ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งอกุศลธรรม. บทว่า จิตฺต ได้แก่ กุศลจิต. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺนฺติ ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่. บทว่า อุตฺตาสวา ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 45 มีความสะดุ้ง. บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ มีความคับแค้นคือมีความทุกข์. บทว่า อเปกฺขวา ได้แก่ มีความอาลัย. บทว่า อุปาทาย จ ปริตสฺสติ ได้แก่ เป็นผู้ชื่อว่า สะดุ้งเพราะยึดถือ. บทว่า น รูปวิปริณามานุปริวตฺติ ได้แก่ กรรมวิญญาณนั่นแหละไม่มีแก่พระขีณาสพ เพราะฉะนั้น การพูดว่า ความหมุนเวียนไปตามความแตกแห่งรูป ย่อมไม่มี ดังนี้จึงถูกต้อง. จบ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๗ ๘. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง [๓๔] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจัก แสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา รูปของเขานั้น ย่อม แปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร ทั้งหลายว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา วิญญาณของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น อย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 46 ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. [๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็น สังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณของ อริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความ ไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล. จบ อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ ในทุติยอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงพระธรรมเทศนาด้วยอำนาจตัณหา มานะและทิฏฐิ. พระองค์ ตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะในสูตรทั้ง ๔ ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้. จบ อรรถกถาอุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๘ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 47 ๙ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๖] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่ เป็นอดีต อนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็น ปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนา ที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่ เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยใน วิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ในกาลัตตยอนิจจสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า โก ปน วาโท ปจฺจุปฺปนฺนสฺส ความว่า ในปัจจุบัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. รูปนั้นก็คงยังเป็นของไม่เที่ยงอยู่นั่นเอง. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นกำหนดว่า รูปที่เป็นอดีตอนาคตไม่เที่ยง จึง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 48 ลำบากในปัจจุบัน. ลำดับนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวถึงรูปที่เป็นอดีต และอนาคตจากรูปปัจจุบันนี้ว่า รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยว่า จักตรัสรู้จึงทรงแสดง พระธรรมเทศนานี้ตามอัธยาศัยของบุคคล. จบ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุบันสูตรที่ ๑ ๑๐. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๗] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน ไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณที่เป็น อดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไย เล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็น ผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 49 ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓ ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล [๓๘] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน ไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็น อนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณ ที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงวิญญาณที่ เป็นปัจจุบันไปไยเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน. จบ อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓ จบ นกุลปิตุวรรคที่ ๑ ๑ - ๑๑ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตร สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๑๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัย ของบุคคลเห็นปานนั้นแลให้พิเศษออกไป ด้วยบทว่า ทุกฺข อนตฺตา ดังนี้ จงอรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ - ๑๑ จบอรรถกถานกุลปิตุวรรคที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น