วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมินิพพาน นิพพาน เป็นสภาวะของจิตที่ปราศจากกิเลส อันเป็นเครื่องมือร้อยรัดจิตใจให้ห่วง กังวล วุ่นวาย สับสน รุ่มร้อน เมื่อจิตใจปราศจากกิเลสเสียแล้วก็ไม่วุ่นวาย สับสน หรือรุ่มร้อนใดๆอีก จิตก็สงบ ร่มเย็น และเป็นสุข ซึ่งเป็น ความสุขอันสูงสุด เป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ตามหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ความสุขแบบนิพพานนั้นไม่ใช่ความสุขปกติธรรมดาทั่วไปอันเกิดจากการ ได้รับอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เรียกว่า สุขเวทนา แต่จะเป็นความสุขที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาท สัมผัสเหล่านั้น เป็นสภาวะแห่งความสุข ที่ผู้บรรลุแล้วเท่านั้น จึงจะประจักษ์ได้ด้วยตนเอง ลักษณะของนิพพาน นิพพานมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. อัจจุตะ สภาวะที่ไม่ตาย คือนิพพานเป็นสภาวะมี่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เป็นสภาวะธรรมที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการเวลา หรือที่เรียกว่า กาลวิมุตติ 2. อัจจันตะ สภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นอื่น คือ ผู้บรรลุนิพพานแล้ว จะกลับเสื่อม จากนิพพานเป็นไม่มี 3. อสังขตะ สภาวะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย4 คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่พ้นจากขันธ์ 5 คือ ขันธวิมุตติ 4. อนุตระ สภาวะที่ประเสริฐสูงสุด ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า เป็นโลกุตรธรรม สถานะของนิพพาน แม้ชาวพุทธทั่วไปจะมีความเชื่อว่า นิพพานมีอยู่จริง สามารถบรรลุได้จริง แต่ก็มักจะคำถามเสมอ ว่า "นิพพานอยู่ไหน" นั่นเพราะการสอนธรรมะแบบ บุคลาธิษฐาน ทำให้คิดกันว่า นิพพานเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่มิใช่โลก มนุษย์ และอยู่สูงกว่าโลกและสวรรค์ เช่นการสอนเรื่องวิบากแห่งกุศลกรรม การได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ การสอนว่ามนุษย์เป็นโลกๆหนึ่ง สวรรค์เป็นโลกแห่งความสุขอยู่เหนือโลกมนุษย์ และมีถึง 6 ชั้น การสอนเช่นนี้ทำให้เชื่อกันว่า นิพพานอยู่เหนือโลกมนุษย์และสวรรค์ขึ้นไปอีก จนนิพพานกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะ บรรลุได้ ไปถึงได้ในชาตินี้ เมื่อทำบุญก็ปรารถนานิพพานเพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนบรมสุข อธิษฐานเพียงขอให้นิพพาน ในกาลเบื้องหน้า นิพพานจึงเป็นสิ่งไกลเกินฝัน คำสอนเรื่องนิพพานกลายเป็นเป็นสิ่งสูงส่ง เข้าใจยาก บุคคลทั่วไปไม่ คู่ควร เรื่องของนิพพานแทบจะหมดความหมาย และสิ้นหวัง กลายเป็นเรื่องเลื่อนลอยเพ้อฝัน เพราะคำสอนผิดๆ นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้นในประดาชาวพุทธทั้งหลาย คำสอนเรื่องนิพพานไม่ใช่คำสอนที่สูงส่งกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจ นิพพานไม่ใช่สภาวะที่คนทั่วไป ไม่อาจจะเข้าถึง นิพานมิใช่เมืองแก้ว มิใช่มหานฤพาน แต่อย่างใดเลย นิพพานเป็นคำสอนสำหรับคนธรรมดาสามัญ ทั่วๆไป เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนไว้เพื่อเป็นการแก้ไขปํญหาของมนุษย์ และสังคม ดังที่พระองค์ได้ ตรัสถึงเรื่อง ปรมัตถธรรม4 จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตและ เจตสิกเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานนั้นเป็นเป้าหมายของการปฎิบัติธรรม ในสังคมเราทุกวันนี้ หากมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถละกิเลสได้แม้เพียงแค่บางส่วน สังคมก็จะน่าอยู่ ขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าหากมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสของตนเองได้หมด ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส สังคมก็จะยิ่งน่าอยู่ ถึงขนานที่เรียกได้ว่าเป็น สังคมอริยะเลยทีเดียว คือเป็นสังคมอุดมคติของพุทธศาสนาแท้ๆ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ว่า " นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นแก่กาล เรียกมาให้ดูได้ ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน " " นิพพาน คือความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ " " นิพพาน คือความสิ้นตัณหา " " ยังอิงอยู่จึงมีการสั่นไหว เมื่อไม่อิงแล้วก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อไม่มีการสั่นไหวก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอนก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไปก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มี การจุติและอุบัติก็ไม่มีภพนี้ ภพหน้า ไม่มีในระหว่างทั้งสองภพ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ " ประเภทของนิพพาน ประเภทของนิพพานมีการแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน คือ นัยที่1 นิพพานโดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ มีความสงบกิเลสและขันธ์5 เป็นหลัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมพบกับสันติสุขด้วนกันทั้งสิ้น คือ ความสิ้นไปแห่งตัณหา พ้นจากความเกิดและความตาย นัยที่2 นิพพานโดยปริยาย คือการดับกิเลส อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ได้เป็นครั้งเป็นคราว หรือดับได้เพียงบางส่วน นิพพานโดยนิปปริยาย คือการดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด นัยที่3 สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจาก อำนาจแห่งกิเลสนั้น จึงไม่เกิดกับท่าน เว้นเสียแต่ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของชีวิต คือทุกข์เพราะการ บริหารขันธ์5 เข่นปวดปัสสาวะ ปวดอุจาระ หรือทุกข์เพราะร้อนหนาว และเจ็บป่วยโดยทั่วไป ตลอดจนชราภาพ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานของผู้ที่ไม่มีขันธ์หรือ อุปาทิ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว นัยที่4 อนิมิตตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัญฐานและสีสรรวรรณะใดๆ ซึ่งหมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนิจลักษณะ คือ พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ อปณิหิตนิพพาน ได้แก่ ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันเป็นตัวให้เกิด ความต้องการในอารมณ์นั้น หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง ทุกข์ลักษณะ คือ พิจารณาเห็นว่าสังขาร เป็นสิ่งที่ทนได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมไป สุญญตนิพพาน ได้แก่ ภาวะขอนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์5 ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เห็นเป็นสิ่งผูกมัดกังวล หมายถึงผู้ที่เจริญวิปัสสนาที่เน้นหนักไปทาง อนัตตลักษณะ คือพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ เป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน ภาวะทางปัญญา ผู้บรรลุนิพพาน มองเห็นทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นตามความจริง ตั้งแต่การ รับรู้อารมณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง และมีสติ ไม่หวั่นไหว หรือถูกชักจูงไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้ เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ตันจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบ กระแทกอันเนื่องมาจากอารมณ์นั้นๆ มาฉุดรั้งหรือสะดดุเอาไว้ให้เขวไปเสียก่อน ที่ลึกลงไปอีกคือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทัน สมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอก ของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติด อยู่เพี่ยงแง่ใดแง่หนึ่ง ภาวะทางจิต ผู้บรรลุนิพพาน จะมีความเป็นอิสระหรือที่เรียกว่า หลุดพ้น อันมีผลสืบเนื่องมา จากปัญญา คือเห็นตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงหลุดพ้นจากอำนาจการครอบงำของกิเลส เมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวน ยั่วยุ อารมณ์ไม่เป็นที่ตั้งของราคะ โลภะ โมสะ โมหะ นอกจากไม่มีเหตุที่จะทำให้ความชั่วหรือเสียหายในทางที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต ในการงานด้วย เป็นผู้ที่มีสติควบคุมตัวเองได้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ผู้ชนะตนเองได้ ถือว่าเป็นที่สุดแห่งชัยชนะทั้งปวง ภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ผู้บรรลุนิพพานนั้นจะมีพฤติกรรมหรือดำเนิน ชีวิตในลักษณะที่จะไม่ถูกชักจูงได้โดยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวเองและของตัวเอง หรือผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีความปรารถนา เพื่อตัวตนแฝงอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูป หยาบหรือละเอียด คือทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมัน ล้วนๆ เป็นการกระทำถึงขั้นที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหมดสิ้น โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น