วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
วิธีสร้างความผ่องใสให้กับจิตใจยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ จบเมตตากถา ฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น