วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

พระคันธกุฎี เขาคิชกูฏ นครราชคฤห์ - Khundhakuti Gridhkut- Rajgir#การสำรวมกายวาจาใจการสำรวมในทวารทั้งหลายเป็นความดี#การเกิดอริยมรรค#ทางบรรลุธรรม#การสำเร็จมรรคผล#ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดีความสำรวมด้วยหูเป็นความดีความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดีความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี#ความสำรวมด้วยกายเป็นความดีความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี#ความสำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม- เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์

#การสำรวมกายวาจาใจการสำรวมในทวารทั้งหลายเป็นความดี#การเกิดอริยมรรค#ทางบรรลุธรรม#การสำเร็จมรรคผล#ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดีความสำรวมด้วยหูเป็นความดีความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดีความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี#ความสำรวมด้วยกายเป็นความดีความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี#ความสำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี

ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ
สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น
อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ
ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี
ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม
ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ
ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้
เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม
ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ
ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา
ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ
เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว
จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม
ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม-
เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ
เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ
เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์
ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน
ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง
ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ
เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ
ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น
เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ
ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์
เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร
มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้
ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร
และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น