วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

พระพุทธเมตตา#พระมหาโพธิ์เจดย์

#สิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุดก็คือจิตของเราสิ่งที่เราสำคัญมั่นหมายเหนียวแน่นว่าเป็นตัวเรามากที่สุดก็คือจิตนี่เอง

จิตนี้เป็นที่ตั้งเลยเป็นตัวใหญ่เป็นตัวหลักเลยถ้าเราไม่เห็นว่าจิตเป็นตัวเรา 
ก็จะไม่เห็นว่าสิ่งใดในโลกเป็นตัวเราถ้าเห็นความจริงแล้วว่าจิตเป็นตัวทุกข์ในโลกนี้จะเป็นตัวทุกข์ทั้งหมดเลยแล้วจิตตัวเดียวนี้เองถ้าเรารู้แจ่มแจ้ง ความพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้น
สลัดคืนจิตให้โลกได้เมื่อไหร่นะที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแหละ.
#มันสลัดได้จริงๆนะแต่ถ้าพวกเราหัดใหม่ๆมันยังไม่สลัดคืนจิตให้โลก
มันสลัดอารมณ์ได้ใครเคยเห็นบ้างว่าจิตปล่อยอารมณ์ได้ ยกมือให้หลวงพ่อดูซิพวกที่ฟังหลวงพ่อมาแล้ว ยกสูงๆหน่อยก็พอสมควรนะ
เห็นมั้ย จิตกับอารมณ์ บางทีมันก็เข้าไปจับ ใช่มั้ยบางทีมันก็ปล่อย บางทีมันก็จับ บางทีมันก็ปล่อยใครเห็นแบบนี้บ้าง ยกมือซิ มีมั้ย..?
ก็เยอะแล้วนะไปหัดดูนะ สุดท้ายจะรู้เลยจิตมันจะเข้าไปจับอารมณ์ มันก็จับได้เองจะปล่อยอารมณ์มันก็ปล่อยได้เองนี่แค่ปล่อยอารมณ์
สังเกตมั้ยพอจิตปล่อยอารมณ์ได้ มีความสุขเยอะแยะเลยสบายขึ้นเยอะเลย 
ลองคิดดูสิ ถ้าจิตมันปล่อยขันธ์ได้ มันจะสุขขนาดไหนนี่แค่ปล่อยอารมณ์นะ
ถ้าจิตมันปล่อยตัวมันเองได้มันจะสุขมหาศาลขนาดไหนมันสุข เรียกว่า สุขปางตายเลยนะในขณะที่อริยมรรค อริยผลเกิดขึ้นนั้นเป็นความสุขที่มหาศาลจริงๆเลยงั้นพวกเราต้องฝึกนะ สรุปให้ฟังเอาง่ายๆ เลยนะเบื้องต้น ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อนศีล ๕ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมนุษย์ถ้าเสียศีล ๕ ไป จิตใจจะฟุ้งซ่านอันที่ ๒พยายามฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวทำกรรมฐานขึ้นสักอย่างหนึ่งช่วงไหนที่จิตใจว้าวุ่นมาก ก็ให้จิตไปจับอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน เรียกว่าทำสมถะช่วงไหน จิตใจสงบพอสมควรแล้วก็ค่อยๆฝึก แยกไปนะ 
เห็นว่า ร่างกาย ก็เป็นของที่จิตไปรู้เข้าอะไรๆ ก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆฝึกไปเรื่อยนะจิตใจมันจะเป็นคนดูออกมานะค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย 
ฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการรู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป
เคลื่อนไปคิด เคลื่อนไปเพ่งอารมณ์ถ้ารู้ทันว่า จิตมันเคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่น.
สรุปนะ อีกทีข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ไว้ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว
ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยไปแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้นะแต่ถ้าวันไหนจิตมันฟุ้งซ่านมาก ก็เอาจิตเข้าไปจับอารมณ์ให้นิ่งๆไปเลย พักผ่อน(ทำสมถกรรมฐาน)
ถ้าวันไหนมีแรง เอาแค่ว่า ใจลอยแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ไปเรื่อยนะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งนะ พุทโธไป หายใจไป แล้วใจลอยไป แล้วรู้ใจเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ ก็รู้ใจเคลื่อนไปเพ่งท้อง เพ่งเท้า ก็รู้เนี่ย รู้อย่างนี้เรื่อยๆ ในที่สุดจิตใจจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัวข้อ ๑. รักษาศีล ๕ ข้อ ๒. ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัวพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วข้อ ๓. ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงานดูด้วยจิตที่เป็นคนดูนี่แหละ จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัวนี่แหละ
เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเห็นจิตใจมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายคอยดูความเปลี่ยนแปลงของกายของใจให้มากนะดูไป ดูไปจนจิตมันหมดแรงแล้วถ้าจิตมันหมดแรงนะ ดูจิตไม่ไหว ให้ดูกายดูจิตก็ไม่ไหว ดูกายก็ไม่ไหว ทำสมถะน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ให้จิตได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาใหม่พอจิตมีแรงขึ้นมาใหม่ กลับมาดูจิตอีก... ดูจิตได้.. ให้ดูจิต... ดูจิตไม่ได้.. ให้ดูกาย
... ดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้... ก็ทำความสงบไว้ (ทำสมถะ)เนี่ยฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะถ้าเราตั้งใจทำได้จริงๆ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราควรจะได้อะไรบ้าง
คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะเดือนสองเดือน แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไปตั้งมากมายแล้วเคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นๆอยู่ที่พวกเรานะว่า 
เราจะให้โอกาสกับชีวิตตัวเองรึเปล่าหรือเราจะปล่อยชีวิตตามยถากรรม
เหมือนที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปีสุดท้ายมันก็หมดไป โดยที่ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไปแต่ถ้าเราหัดเจริญสติ ตั้งแต่วันนี้นะถ้าบุญกุศลเราพอ บุญบารมีเราสร้างมาพอแล้วเราอาจจะได้มรรคผลในชีวิตนี้ชีวิตเราจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว
ถ้าเกิดเรายังไม่ได้มรรคผลในชีวิตนี้ชาติต่อๆไป เราจะภาวนาง่าย
สติ สมาธิ ปัญญาอะไร มันจะเกิดง่ายเลยเพราะมันเคยฝึก
อะไรที่ไม่เคยฝึก ไม่เคยทำ มันยากทั้งนั้นแหละอะไรที่เคยฝึกแล้ว ทำแล้วนะ มันคุ้นจนชิน มันก็ง่ายไปหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น