วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สติปัญญาแก่รอบตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆจะปล่อยวางตรงคำสอนของพระพุทธ..การภาวนามันไม่ใช่การทำอะไรที่ยุ่งยากวุ่นวายผิดปกติผิดธรรมดามากนะ การปฏิบัติธรรมจริงๆ การภาวนาจริงๆ คือการเรียนรู้ตัวเราเองจนเราแจ่มแจ้ง เบื้องต้นมันจะแจ่มแจ้งว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อตัวเราไม่มีนะมันไม่มีที่รองรับความทุกข์ ความทุกข์มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ความทุกข์มี แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ภาวนาต่อไป ปฏิบัติต่อไป ปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ก็เห็นเลยว่าสิ่งที่ไม่ใช่เราเนี่ยเป็นแค่รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นตัวอะไร? มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย เราจะภาวนาจนวันหนึ่งเห็นความจริงนะ ว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าภาวนาได้อย่างนี้นะมันจะเกิดอาการของจิตที่อัศจรรย์มาก คือมันจะสลัด คืนกาย คืนใจ ให้โลกไป เราจะเข้าถึงอิสระภาพทางจิตใจที่แท้จริงเลย จิตใจที่เข้าถึงสภาวะอันนี้ ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีขอบเขต ไม่มีการไป ไม่มีการมา กว้างขวาง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด เป็นภาวะที่อิสระอย่างแท้จริง ภาวะอย่างนี้เนี่ยเป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ไม่มีความแปรปรวนใดๆอีก เป็นความสุขที่คงที่ ไม่แปรปรวน สิ่งเหล่านี้เนี่ยมีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ความสุขอย่างโลกๆที่คนในโลกไขว่คว้ากันเนี่ยเป็นความสุขที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างพวกเราก็เที่ยวหาความสุขมาตั้งแต่เกิดนะ แสวงหาความสุขมาเรื่อยๆ ความสุขมันก็เป็นของแปลก เหมือนๆจะได้มานะ แต่ก็หลุดมือไปทุกที เหมือนจะได้แล้วก็หายไป เหมือนจะได้แล้วก็หายไป ความสุขอย่างโลกๆเป็นความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น อิงอาศัยคนอื่น เช่นตอนเด็กๆเราต้องอยู่กับพ่อกับแม่ เราถึงจะมีความสุข เป็นวัยรุ่นนะเรามีเพื่อน เราถึงจะมีความสุข ต่อมามีครอบครัว มีความสุข มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น หรืออยากมีชื่อเสียง ชื่อเสียงเนี่ยเรามีชื่อเสียงเองไม่ได้ คนอื่นเขาให้ชื่อเสียง ต้องอาศัยเค้าอีก หรือมีความสุขเพราะมีรูปที่พอใจ เพราะมีเสียง ได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่พอใจ ความสุขของเราอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น เช่นต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะมีความสุข ต้องได้ยินแบบนี้ถึงจะมีความสุข ได้กลิ่นอย่างนี้มีความสุข กลิ่นอย่างนี้ไม่สุขอะไรอย่างนี้ จิตใจทิ่วิ่งหาความสุขนะมันพล่านไปตลอดเวลา เพราะความสุขนี้มันอิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ไม่ใช่สุขได้ด้วยตนเอง เมื่อมันอิงอาศัยของข้างนอก อิงอาศัยคนอื่น เราต้องง้อเค้านะ เราเสียอิสระภาพของเราไป เรารักใครเราก็เสียอิสรภาพกับคนๆนั้นน่ะ ต้องเอาใจเค้า ต้องอะไรเค้า พระพุทธเจ้าถึงสอนนะ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” คือที่ใดเราไปผูกพันรักใคร่ผูกพันกับสิ่งใด เราเอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งนั้นกับคนนั้นน่ะ เราต้องคอยระวัง กลัวจะสูญเสียเค้าไป กลัวจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ชีวิตเราหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ มีสมบัติในโลกเยอะ มีอะไรต่ออะไรสวยๆงามๆเยอะ ท่านก็ยังเห็นว่ามันหาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ความสุขที่อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น คนที่ท่านรักนะถึงวันหนึ่งก็ต้องตายไป เนี่ยท่านรู้แล้วว่าพ่อท่านต้องแก่ต้องตาย ตัวท่านเองก็ไปไม่รอด ถึงวันหนึ่งก็ต้องแก่ต้องตาย ท่านเลยละความสุขปลอมๆเหล่านั้นนะ มาแสวงหาความสุขอันยิ่ง ความสุขอันยิ่งจริงๆนะ พอพ้น ค้นพบนะ คือพระนิพพานนั่นเอง นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ ไม่ใช่ยูโทเปียนะ ไม่ใช่อะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีจริงแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกให้เราทำความดี นิพพานเป็นสภาวะซึ่งมีอยู่จริงๆ มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เคยหายไปไหนเลย แต่จิตของเราเองแหละไม่มีคุณภาพพอที่จะสัมผัสพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก เรียกว่าวิราคะ ใจของเรามีความอยากอยู่ตลอดเวลา อยากเห็นรูป อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย อยากคิดนึกที่สนุกสนานทางใจ เพลิดเพลินทางใจ เนี่ยใจเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา พอใจเรามีความอยากนะ จะไปเป็นสภาวะที่พ้นจากความอยากไม่ได้ ก็ไม่เห็นพระนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ใจของเราปรุงแต่งตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงชั่วเดี๋ยวก็ปรุงดี บางคนนะเมื่อรู้สึกชั่วก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา เลยปรุงความว่างๆ ไปปรุงความว่างขึ้นมา ปรุงชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงความว่างความไม่มีอะไร เรียก อเนญชาภิสังขาร รากเหง้าของมันก็อันเดียวกันคืออวิชชานั่นเอง ไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่เห็นแจ้งอริยสัจ ความปรุงแต่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง นิพพานเป็นวิมุตตินะ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสที่ห้อหุ้ม จิตของเรามีอาสวะที่ห่อหุ้มอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันใดที่อริยมรรคเกิด ทำลายอาสวะไป เมื่อจิตเป็นอิสระไม่มีเปลือกหุ้มนะ จิตเป็นอิสระไป เรียกว่าวิมุตติ งั้นจิตของเราเองแหละที่ทำให้เราไม่เห็นพระนิพพาน เราก็ต้องมาพัฒนาจิตใจของเราให้มีคุณภาพนะ พัฒนายังไงให้สิ้นตัณหา ให้สิ้นความอยาก สิ้นตัณหาได้นะมันก็จะสิ้นความปรุงแต่งได้นะ คือเมื่อไรมีวิราคะ สิ้นตัณหา ก็จะเกิดวิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง ก็เกิดวิมุตติ หลุดพ้นออกไป การที่จะมาฝึกจิตฝึกใจให้พ้นจากความอยากเนี่ยไม่ใช่พูดเอาเล่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่ต้องลงมือทำ การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเนี่ยคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่สำคัญที่สุดชื่ออริยสัจ ท่านบอกว่าอริยสัจเป็นธรรมสำคัญนะ ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้วเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่เห็นพระนิพพานหรอก อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ พวกเรายังไม่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์ เมื่อเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัยคือเกิดความอยาก อย่างเราไม่รู้ความจริงว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราก็อยากให้ร่างกายเป็นสุขถาวร อยากให้มันสวยมันงามถาวร มันหนุ่มมันสาวถาวร อยากให้มันแข็งแรงถาวร อยากให้มันเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ความอยากเนี่ยเกิดจากความไร้เดียงสาที่เราไม่รู้ความจริงว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าวันใดที่สติปัญญาเราแก่กล้านะ จะเห็นว่ากายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่เห็นอย่างที่พวกเราเห็น พวกเราเห็นอะไร? เราเห็นว่าร่างกายเนี่ยเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง รู้สึกไหม ร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เมื่อเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ความดิ้นรนของจิตก็จะเกิดขึ้น ดิ้นรนยังไง? ดิ้นรนจะให้ร่างกายมีความสุข ดิ้นรนจะให้ร่างกายไม่ทุกข์ เนี่ยเกิดความดิ้นของจิตขึ้นมา ความทุกข์ทางใจมันจะเกิดขึ้น ไม่เห็นพระนิพพานแล้ว นิพพานเป็นสันติ เป็นความสงบสุขของจิตของใจเรานี้เอง ถ้าเมื่อไรเราเห็นความจริงว่ากายเป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากที่จะให้กายเป็นสุขจะไม่เกิด ความอยากให้กายพ้นทุกข์ก็ไม่เกิด ความอยากทั้งหลายไม่ว่าจะมีมากมายแค่ไหนนะ ย่อลงมาประมวลลงมาแล้วก็สรุปได้นิดเดียว เพราะอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ลองไปสังเกตดู ความอยากนานาชนิดที่พวกเรามีนะ จุดสุดท้ายเลย จุดที่ลึกที่สุดเลยนะ คือมันอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ถ้าปัญญาแก่รอบนะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ความอยากให้กายเป็นสุขไม่มี ความอยากให้กายพ้นทุกข์ไม่มี ความอยากไม่มี ถ้าวันใดเห็นว่าจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ซึ่งพวกเรายังไม่เห็น เราเห็นว่าจิตของเรานี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกไหม จิตใจของเราเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันมีทางเลือก เราก็จะดิ้นรนหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนหาความสุขก็มีนานาชนิดตามสติปัญญานะ บางคนก็ดิ้นรนหาความสุขด้วยการสนองความต้องการตลอดเวลา อยากอะไรก็ได้อันนั้นมาเราก็มีความสุข คิดว่าถ้ามีความอยากเกิดขึ้นตอบสนองมันได้แล้วมีความสุข เพราะงั้นอยากมันไม่ได้คงที่ พออยากได้อันนี้ ได้มาปุ๊บ มันอยากอันอื่นต่อไปอีกแล้ว เพราะงั้นใจเลยไม่มีความสุขสักที หิวตลอดเวลาเลย งั้นภาวนาเรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งเห็นว่าตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆ ตรงที่เห็นตัวจิตเป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย ความอยากให้จิตเป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้จิตพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้น แล้วมันจะไม่ยึดถือจิต ตรงที่ไม่ยึดถือจิตเนี่ยเป็นการปฏิบัติในขั้นสูงสุดนะ ที่หลวงพ่อเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ทุกๆองค์นะ ลงท้ายก็มาลงตรงนี้หมดเลย พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น