วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เพชรน้ำเอกในคำสอนของพระตถาคตเจ้า“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่."ธรรมบท" อุปมาเหมือน "ปิยมิตร" ผู้ซื่อสัตย์คอยชี้ทางแห่งความสุขและความเจริญ และคอยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น คำสอนในคัมภีร์พระธรรมบทมีคุณค่าและเหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ดังนั้น ธรรมบทจึงได้ชื่อว่า "วรรณคดีโลก" (World Literature) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นในตัณหานั้นมีอยู่ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพานภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มีวิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น เพราะความยึดมั่นในตัณหานั้นไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ภิกษุผู้สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งราคะ และความเพลิดเพลิน จึงเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น