วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าคู่มือการศึกษา วิถีสังคหวิภาค พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๔ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส วิถี วิถีสังคหวิภาค เป็นส่วนที่รวบรวมแสดงโดยย่อเรื่อง วิถีจิต คือ แสดงความเป็นไปของจิตตามลำดับที่เกิดก่อนและหลัง ในเมื่อประสบกับอารมณ์ใหม่ ในวาระหนึ่ง ๆ ถ้าได้ศึกษา วิถีจิต ให้เข้าใจโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้การศึกษาพระอภิธรรม (เฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์มหาปัฏฐาน) เข้าใจได้ซาบซึ้งยิ่งขึ้นดังที่ท่านโบราณจารย์ได้กล่าวไว้ว่า จะเชี่ยวชาญ พระวินัย ต้องแตกฉานใน อุโบสถ จะเชี่ยวชาญ พระสูตร ต้องแตกฉานใน ลิงคะ ( ไวยกรณ์ ) จะเชี่ยวชาญ พระอภิธรรม ต้องแตกฉานใน วิถี วิถีสังคหะนี้ ท่านพระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาพระอภิธัมมัตถสังคหะจัดเป็นปริจเฉทที่ ๔ ให้ชื่อว่า วิถีสังคหะวิภาค ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะรวม ๑๐ คาถา คาถาที่ ๑ และที่ ๒ ประพันธ์ไว้ว่า ๑. จิตฺตปฺปาทานมิจฺเจวํ กตฺวา สงฺคหมุตฺตรํ ภูมิปุคฺคลเภเทน ปุพฺพาปรนิยามิตํ ฯ ๒. ปวตฺติสงฺคหํ นาม ปฏิสนฺธิปฺปวตฺติยํ ปวกฺขามิ สมาเสน ยถาสมฺภวโต กถํ ฯ แปลความว่า ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า อนุรุทธาจารย์ ได้แสดงปกิณกสังคหะ อันเป็นอรรถอันยิ่งแห่งจิตและเจตสิกแล้ว บัดนี้จักกล่าว ปวัตติสังคหะในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แสดงความเป็นไปองจิตและเจตสิกตามลำดับที่เกิดก่อนและหลัง พร้อมด้วยประเภทแห่งภูมิและบุคคล โดยย่อตามสมควรแก่ความบังเกิดขึ้นของจิต หน้า ๒ ปวัตติสังคหะ ปวัตติสังคหะ หมายความว่า การรวบรวมกล่าวถึงความเป็นอยู่ หรือความ เป็นไปของจิตและเจตสิก จำแนกได้เป็น ๒ คือ ความเป็นอยู่ หรือความเป็นไปของ จิตและเจตสิก ในปฏิสนธิกาล ๑ ในปวัตติกาล ๑ ความเป็นอยู่และความเป็นไปของจิตและเจตสิกใน ปฏิสนธิกาล นั้นมีชื่อว่า วิถีมุตตจิต เป็นจิตที่พ้นวิถี เป็นจิตที่ไม่อยู่ในวิถี เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถี จึงไม่แสดง ในปริจเฉทนี้ แต่จะแสดงในปริจเฉทต่อไป ส่วนความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของจิตและเจตสิกใน ปวัตติกาล นั้นมีชื่อ ว่า วิถีจิต ซึ่งจะแสดงในปริจเฉทนี้ ฉักกะ ๖ ในวิถีสังคหะนี้ มีธรรมเกี่ยวเนื่องกัน ๖ หมวด แต่ละหมวดก็จำแนกได้เป็น ๖ อย่าง จึงเรียก ฉักกะ รวม ๖ หมวดก็เป็น ๖ ฉักกะ คือ ๑. วัตถุฉักกะ (วัตถุ ๖) คือ ที่ที่จิตและเจตสิกอาศัยเกิด ๖ แห่ง ๒. ทวารฉักกะ (ทวาร ๖) คือ ทางที่จิตและเจตสิกรับอารมณ์ ๖ ทาง ๓. อารัมมณฉักกะ (อารมณ์ ๖) คือ สิ่งที่จิตและเจตสิกรู้ ๖ สิ่ง ๔. วิญญาณฉักกะ (วิญญาณ ๖) คือ จิตที่รับรู้ หรือ ตัวรู้ ๖ ประเภท ๕. วิถีฉักกะ (วิถี ๖) คือ ความเป็นไปของจิต ๖ กระแส (๖ วิถี) ๖. วิสยัปปวัตติฉักกะ (วิสยัปปวัตติ ๖) คือ จิตที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ มี ๖ อย่าง หมวดที่ ๑ วัตถุฉักกะ คือ วัตถุ ๖ ได้แก่ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และ หทยวัตถุ หมวดที่ ๒ ทวารฉักกะ คือ ทวาร ๖ได้แก่ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และ มโนทวาร หมวดที่ ๓ อารัมมณฉักกะ คือ อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์และ ธัมมารมณ์ ธรรม ๓ หมวดนี้ ได้กล่าวแล้วในปริเฉทที่ ๓ คือ วัตถุฉักกะ ได้แสดง แล้วใน วัตถุสังคหะ ทวารฉักกะ ได้แสดงแล้วใน ทวารสังคหะ และ อารัมมณฉักกะ ได้แสดงแล้วในอารัมมณสังคหะ หมวดที่ ๔ วิญญาณฉักกะ คือวิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และ มโนวิญญาณ หน้า ๓ ธรรมหมวดที่ ๔ นี้ ก็ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๑ จิตสังคหวิภาค นั้นแล้ว หมวดที่ ๕ วิถีฉักกะ คือ วิถี ๖ ความเป็นไปของจิต ๖ กระแส หรือ ๖ สาย หรือ ๖ ทาง หรือ ๖ วิถี มีความหมายถึงความเป็นไปของจิตนั้นเกี่ยวกับ ทวารใดในทวารทั้ง ๖ นั้น คือ กระแสจิตที่เกิดทาง จักขุทวาร ก็เรียกว่า จักขุทวารวิถี กระแสจิตที่เกิดทาง โสตทวาร ก็เรียกว่า โสตทวารวิถี กระแสจิตที่เกิดทาง ฆานทวาร ก็เรียกว่า ฆานทวารวิถี กระแสจิตที่เกิดทาง ชิวหาทวาร ก็เรียกว่า ชิวหาทวารวิถี กระแสจิตที่เกิดทาง กายทวาร ก็เรียกว่า กายทวารวิถี กระแสจิตที่เกิดทาง มโนทวาร ก็เรียกว่า มโนทวารวิถี หมวดที่ ๖ วิสยัปปวัตติฉักกะ คือ วิสยัปปวัตติ ๖, วิสย แปลว่า อารมณ์, ปวัตติ แปลว่า ความเป็นไป, วิสยัปปวัตติ ก็แปลว่า ความเป็นไป(ของจิต) ในอารมณ์หนึ่ง ๆ , วิสยัปปวัตติ ๖ จำแนกได้เป็น ๒ คือ วิสยัปปวัตติทาง ปัญจทวาร และ มโนทวาร ก. วิสยัปปวัตติ ทางปัญจทวาร มี ๔ ได้แก่ ๑. อติมหันตารมณ์ ๒. มหันตารมณ์ ๓. ปริตตารมณ์ ๔. อติปริตตารมณ์ ข. วิสยัปปวัตติ ทางมโนทวาร มี ๒ ได้แก่ ๑. วิภูตารมณ์ ๒. อวิภูตารมณ์ อนึ่ง วิสยัปปวัตติ ในปฏิสนธิกาล มีเพียง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และ คตินิมิตอารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากอดีตชาติเมื่อจะ ตาย ไม่เกี่ยวกับวิสยัปปวัตติ ๖ นี้ ปฏิสนธิจิต มีอารมณ์เก่า ไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ด้วย เป็นจิตที่พ้นทวาร (ทวาร วิมุตตจิต)ด้วย และเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถี (วิถีมุตตจิต) ด้วย จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้ แม้ ภวังคจิต และ จุติจิต ในภพเดียวชาติเดียวกับปฏิสนธิจิตนั้น ก็เป็น จิตดวงเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับปฏิสนธิจิต ก็เป็นทวารวิมุตตจิต วิถีวิมุตต จิตเหมือนกัน จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้เช่นเดียวกัน วิถีฉักกะ กับวิสยัปปวัตติฉักกะ ความแตกต่างกันระหว่างหมวดที่ ๕ วิถีฉักกะ กับ หมวดที่ ๖ วิสยัปปวัตติ ฉักกะ คือ วิถีฉักกะ นั้นแสดงเพื่อให้ทราบว่า ความเป็นไปของจิตที่เกี่ยวเนื่องกับทวาร นั้นว่า วิถีจิตนั้นเกิดทางทวารไหน หน้า ๔ ส่วน วิสยัปปวัตติ นั้นแสดงเพื่อให้ทราบว่า ความเป็นไปของจิตที่เกี่ยว เนื่องกับอารมณ์นั้นว่า อารมณ์นั้นชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด เมื่อรวมกล่าวทั้ง วิถี และ วิสยัปปวัตติ ไปด้วยกัน ก็เป็นการแสดงให้ ทราบว่า วิถีจิตนั้นเกิดทางทวารไหน และมีอารมณ์ชัดเพียงใดด้วย ดังนี้ จักขุทวารวิถี ที่เป็นอติมหันตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร อติมหันตารมณ์วิถี จักขุทวารวิถี ที่เป็นมหันตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร มหันตารมณ์วิถี จักขุทวารวิถี ที่เป็นปริตตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร ปริตตารมณ์วิถี จักขุทวารวิถี ที่เป็นอติปริตตารมณ์ ก็เรียกว่า จักขุทวาร อติปริตตารมณ์วิถี แม้ทางโสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี และกายทวารวิถี ก็เป็นไป อย่างเดียวกันนี้ ส่วนทางมโนทวาร ก็คงเรียก วิภูตารมณ์วิถี หรือ อวิภูตารมณ์วิถี เท่านั้น เพราะทั้ง ๒ชื่อนี้ย่อมต้องเกิดทางมโนทวารทางเดียว จะเกิดทางทวารอื่นหาได้ไม่ ความแตกต่างกันระหว่างวิสยัปปวัตติ ๖ ๑. อติมหันตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง ทางตาเห็นรูป ก. เกี่ยวกับวัตถุ จักขุวัตถุที่มีหน้าที่รับรูปารมณ์นั้น จะต้องเป็นจักขุปสาท ที่ดี ไม่พิการแม้แต่เล็กน้อยเลย มีความใส คือ มีความสามารถรับรูปารมณ์ได้เป็นอย่างดี ข. เกี่ยวกับอารมณ์ รูปารมณ์นั้นต้องชัดและเด่น ตั้งอยู่ไม่ไกลเกินไปหรือผ่าน ไปไม่เร็วนัก รูปารมณ์นั้นต้องอยู่ในที่ที่แสงสว่างพอที่จักขุปสาทจะรับได้ชัดเจน เมื่อจักขุวัตถุได้รับรูปารมณ์ชัดเจนแจ่มแจ้งเช่นนั้น จึงทำให้ขณะจิตเกิดได้มาก ที่สุด แม้ทางหูได้ยินเสียง ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นได้รส ทางกายได้รับการสัมผัส ถูกต้อง ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากที่สุดที่ชื่อว่า อติมหันตารมณ์นี้ มีจิตตุปปาทะ (คือจิตที่เกิดขึ้นในวิถี) ถึง ๑๔ ขณะ ทั้งนี้ไม่นับภวังคจิต ๓ ขณะ ซึ่งไม่ใช่จิตใน วิถีด้วย และมีวิถีจิตถึง ๗ ๒. มหันตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากพอประมาณ ไม่เด่นชัด หรือแจ่มแจ้งเท่าอติมหันตารมณ์ ทั้งนี้เพราะวัตถุหรืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บกพร่องไปบ้างเล็กน้อย อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้มากพอประมาณที่ชื่อว่า มหันตารมณ์นี้ มีจิตตุป ปาทะเพียง ๑๒ ขณะ ทั้งนี้ไม่นับภวังคจิตรวมด้วยเช่นเดียวกัน และมีวิถีจิตเพียง ๖ ๓. ปริตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อย เพราะวัตถุหรืออารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องไปมาก จึงไม่ชัดแจ้งพอที่จะตัดสินลงไปได้ว่าอารมณ์นั้นดี หรือชั่วประการใด หน้า ๕ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อย ที่ชื่อว่า ปริตตารมณ์นี้ มีจิตตุปปาทะ เพียง ๗ ขณะเท่านั้นเอง และมีวิถีจิตเพียง ๕ ๔. อติปริตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อยที่สุด เพราะวัตถุหรือ อารมณ์นั้นบกพร่องมากเหลือเกิน จึงทำให้จิตเพียงแต่แว่ว ๆ ไหว ๆ เท่านั้น ไม่ทัน จะได้เห็น ไม่ทันจะได้ยิน อารมณ์นั้นก็ดับไปเสียแล้วเลยยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อยที่สุด ที่ชื่อว่า อติปริตตารมณ์นี้ จิตตุปปาทะ ไม่มีเลย และวิถีจิตก็ไม่มีด้วยทั้ง ๔ นี้ เป็นวิสยัปปวัตติทางปัญจทวาร ต่อไปนี้จะแสดง วิสยัปปวัตติ ทางมโนทวาร อีก ๒ คือ ๕. วิภูตารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจชัดเจนแจ่มแจ้งมาก ทำให้มีจิต ตุปปาทะถึง ๑๐ ขณะ และมีวิถีจิต ๓ ๖. อวิภูตารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อยกว่า หรือไม่แจ่มแจ้งเท่าวิภูตารมณ์ จึงมีจิตตุปปาทะเพียง ๘ ขณะ และมีวิถีจิตเพียง ๒ ความหมายของจิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะ คำว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ ในที่นี้มี ความหมายว่า ในวิถีนั้นมีจิตเกิดขึ้นกี่ดวง นับแต่ อาวัชชนจิต คือ จิตที่รับอารมณ์ ใหม่เป็นต้นไป ส่วน ภวังคจิต แม้จะมีอยู่ในวิถีนั้นด้วยก็ไม่นับ เพราะภวังคจิตเป็น จิตที่รับอารมณ์เก่าดังกล่าวแล้วข้างต้น จิตเกิดขึ้นในวิถีนั้นกี่ดวงก็นับเรียงดวงไปเลย ไม่ว่าจิตนั้นจะทำกิจอย่างเดียวกัน หรือทำกิจต่างกัน เช่น ชวนจิตในวิถีนั้นมี ๗ ดวง หรือ ๗ ขณะ ซึ่งทำชวนกิจอย่างเดียวกัน ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๗ ขณะ หรือ ๗ ดวง ตทาลัมพนจิตในวิถีนั้นมี ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ ซึ่งทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียว ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ คำว่า วิถีจิต คือ จิตในวิถีนั้นมีกี่อย่าง มีความหมายว่า จิตในวิถีนั้นทำกิจ กี่อย่าง ทำกิจอย่างหนึ่งก็เรียกว่ามีวิถีจิต ๑ นับแต่ อาวัชชนจิต คือจิตที่รับอารมณ์ใหม่เป็นต้นไป เช่นเดียวกับจิตตุปปาทะ แต่ไม่นับเรียงดวง นับเป็นพวก ๆ เช่น ชวนจิตมีจิตตุปปาทะ ๗ แต่ทำชวนกิจอย่างเดียวเท่านั้นก็เรียกว่าวิถีจิต ๑, ตทาลัมพนจิต ๒ ดวง ทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียวก็เรียกว่า วิถีจิต ๑ เช่นกัน รวมชวนจิต ๗ ตทาลัมพนจิต ๒ เป็นจิต ๙ ดวง ก็เรียกว่า มีวิถีจิต ๒ เป็นต้น หน้า ๖ คำว่า ขณะ คือ จิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางทีก็เรียก ขณะ เฉย ๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้น ยังแบ่ง ได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็ก คือ อุปาทขณะ หมายถึงขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, ฐีติขณะ หมายถึงขณะที่จิตตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และ ภังคขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ขณะจิตหรือจิตแต่ละดวง นั้นมีอายุ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑, ฐีติขณะ ๑, ภังคขณะ ๑ อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็น ฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่๔๙ อนุขณะ และเป็น ภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะ เท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก ส่วนฐีติ ขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐีติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุยืนยาวกว่าจิตมาก รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตฺตรสายุกรูป รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตฺตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพียง ๒๒ รูป เท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูป คือ วิญญัติรูป ๒ และ ลักขณะรูป ๔ มีอายุไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่า กับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะ เท่านั้น ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูป กับ สันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้น ไม่ถึง ๕๑ ขณะ ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้ง อยู่คือ ฐีติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือ ภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะ รูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปมีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะ แม้แต่สักรูปหนึ่ง ก็ไม่มีอายุถึง ๕๑ อนุขณะ เพื่อให้เข้าใจความหมายและการนับจำนวน จิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะจิต ได้ง่ายเข้า ดูภาพประกอบคำอธิบายข้างต้นดังนี้ หน้า ๗ อติมหันตารมณ์วิถี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ จิตตุปปาทะ ๑๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ วิถีจิต ๗ มหันตารมณ์วิถี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗ ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ จิตตุปปาทะ ๑๒ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ วิถีจิต ๖ ปริตตารมณ์วิถี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗ ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ภ ภ ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ จิตตุปปาทะ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ วิถีจิต ๕ อติปริตตารมณ์วิถี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ขณะจิต ๑๗ ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ภ ภ ภ จิตตุปาทะ และวิถีจิต ไม่มีเลย วิภูตารมณ์วิถี น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ จิตตุปปาทะ ๑๐ ๑ ๒ ๓ วิถีจิต ๓ หน้า ๘ อวิภูตารมณ์วิถี น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ จิตตุปปาทะ ๘ ๑ ๒ วิถีจิต ๒ ความหมายของอักษรย่อ ตี = อตีตภวังค, น = ภวังคจลนะ, ท = ภวังคุ ปัจเฉทะ, ป = ปัญจทวาราวัชชนะ, วิ = ปัญจวิญญาณ, สํ = สัมปฏิจฉันนะ, สัน = สันตีรณะ, วุ = โวฏฐัพพนะ, ช = ชวนะ, ต = ตทาลัมพนะ, ภ = ภวังค, มโน = มโนทวาราวัชชนะ อนึ่ง อติมหันตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี และอติปริตตารมณ์ วิถี เป็นวิถีที่เกิดทางปัญจทวาร ซึ่งต้องมีรูปธรรมเป็นอารมณ์แน่นอน อายุของ รูปธรรมนั้นมี ๑๗ ขณะจิต จึงแสดงจิต ๑๗ ดวง เท่าอายุของรูปธรรมที่มา เป็นอารมณ์ ส่วนวิภูตารมณ์วิถี และอวิภูตารมณ์วิถีนั้น เป็นวิถีที่เกิดทางมโนทวาร มี รูปธรรมเป็นอารมณ์ก็ได้ มีนามธรรมหรือบัญญัติเป็นอารมณ์ก็ได้ จึงไม่ได้แสดงจิต ถึง ๑๗ ขณะ จำแนกวิถี ในวิถีสังคหะนี้ จำแนกวิถีออกไปตามประเภทของจิต คือ วิถีของจิตประเภท กามาวจร ก็เรียก กามวิถี วิถีของจิตประเภทมหัคคต ก็เรียกว่า โลกียอัปปนาวิถี หรือ มหัคคตวิถี วิถีของจิตประเภทโลกุตตร ก็เรียกว่า โลกุตตรอัปปนาวิถี หรือ โลกุตตรวิถี ในกามวิถียังแยกเป็น ๒ คือ กามวิถีทางปัญจทวาร และกามวิถีทางมโน ทวาร กามวิถีทางปัญจทวารก็แจกเป็น อติมหันตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริต ตารมณ์วิถี และอติปริตตารมณ์วิถี ส่วนกามวิถีทางมโนทวารก็แจกเป็น วิภูตารมณ์วิถี และอวิภูตารมณ์วิถี ในอติมหันตารมณ์วิถี มี ๑ นัย มหันตารมณ์วิถี มี ๒ นัย ปริตตารมณ์วิถี มี ๖ นัย และอติปริตตารมณ์วิถี มี ๖ นัย รวมกามวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวารมี ๑๕ นัย ๕ ทวาร ก็เป็น ๗๕ นัย ดูภาพต่อไปนี้ประกอบด้วย จะทำให้เข้าใจได้ง่ายเข้า หน้า ๙ วิถี | ----------------------------------------------------------------------------------------- | | กามวิถี อัปปนาวิถี | | ----------------------------------- ---------------------------------- ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี โลกียอัปปนาวิถี โลกุตตรอัปปนาวิถี อติมหันตารมณ์วิถี ๑ นัย วิภูตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ๒ นัย อวิภูตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย อติปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย รวม ๑๕ นัย ๕ ทวาร เป็น ๗๕ นัย กามวิถี อติมหันตารมณ์วิถี นัยเดียว ตทาลัมพนวาระ ๑. ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต มหันตารมณ์วิถี ๒ นัย ชวนวาระ ๑. ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ภ ๒. ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย โวฏฐัพพนวาระ ๑. ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ภ ภ ภ ๒. ตี ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ภ ภ ๓. ตี ตี ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ภ ๔. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ภ ๕. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ วุ ๖. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ วุ หน้า ๑๐ อติปริตตารมณ์วิถี ๖ นัย โมฆวาระ ๑. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ภ ภ ภ ๒. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ภ ภ ๓. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ภ ๔. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ภ ๕. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น ภ ๖. ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี ตี น น วิภูตามณ์วิถี ตทาลัมพนวาระ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต อวิภูตารมณ์วิถี ชวนวาระ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ปัญจทวารวิถี ปัญจทวารวิถี อยู่ในประเภท กามวิถี อย่างเดียว เพราะอัปปนาวิถีไม่เกิดทางปัญจทวารเลย ปัญจทวารวิถี คือ วิถีจิตที่ปรากฏอารมณ์ทางปัญจทวารเท่านั้น ปัญทวารวิถีนี้ มีคาถาสังคหะที่ ๓ แสดงว่า ๓. วิถีจิตฺตานิ สตฺเตว จิตฺตุปฺปาทา จตุทฺทส จตุปญฺญาส วิตฺถารา ปญฺจทฺวาเร ยถารหํ ฯ แปลความว่า วิถีจิตที่ปรากฏอารมณ์ทางปัญจทวารนั้น กล่าวโดยวิถีจิต แล้วมี ๗ กล่าวโดยจิตตุปปาทะ แล้วมี ๑๔ กล่าวโดยพิสดาร แล้วมี ๕๔ อธิบาย ปัญจทวารวิถี กล่าวโดยวิถีจิต คือ จิตที่นับเป็นวิถีแล้ว มี ๗ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑, ทวิปัญจวิญญาณจิตดวงใดดวงหนึ่งแล้วแต่อารมณ์ที่มา ปรากฏ ๑, สัมปฏิจฉันนจิต ๑, สันตีรณจิต ๑, โวฏฐัพพนจิต ๑, ชวนจิต ๑, และ ตทาลัมพนจิต ๑ เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ คือ ตามจำนวนจิตที่เกิดขึ้นแล้วมี ๑๔ ได้แก่ ปัญจ ทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง ทวิปัญจวิญญาณจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้น ๑ ดวง สันตีรณจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง โวฏฐัพพนจิตเกิดขึ้น ๑ ดวง ชวนจิตเกิด ขึ้น ๗ ดวง (คือ ๗ ขณะ) และตทาลัมพนจิตเกิดขึ้น ๒ ดวง (คือ ๒ ขณะ) ดังนี้ จึงรวมเป็น ๑๔ การนับจำนวนวิถีจิตก็ดี การนับจำนวนจิตตุปปาทะก็ดี ได้แสดงเป็นภาพเพื่อ ให้เห็นได้ง่าย ที่หน้า ๗-๘ ขอให้พลิกไปดูประกอบด้วย ถ้ากล่าวโดยพิสดารแล้วมี ๕๔ นั้น หมายความว่า บรรดาจิตที่อาจจะเกิดขึ้น ในปัญจทวารวิถีได้มีทั้งหมดรวม ๕๔ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัญจทวารวิถี มีจิตที่จะเกิดได้ถึง ๕๔ ดวง ซึ่งจิตทั้ง ๕๔ ดวงนี้ ล้วนแต่เป็น กามจิต ทั้งนั้น คือ วิถีจิตที่เรียกว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า ปัญจวิญญาณจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า สัมปฏิจฉันนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า สันตีรณจิต มีจิตที่เกิดได้คือ สันตีรณจิต ๓ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า โวฏฐัพพนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า ชวนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ กามชวนจิต ๒๙ ดวง วิถีจิตที่เรียกว่า ตทาลัมพนจิต มีจิตที่เกิดได้คือ ตทาลัมพนจิต ๑๑ ดวง รวมตัวเลขได้ ๕๗ แต่ต้องหัก สันตีรณจิต ๓ ซึ่งรวมอยู่ในตทาลัมพนจิต ๑๑ อีกด้วยนั้นออกเสีย เพราะซ้ำกัน จึงคงเหลือ ๕๔ ดวง ทั้ง ๕๔ ดวงนี้ เป็นกามจิต ทั้งสิ้น แสดงเป็นภาพได้ดังนี้ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๑ ๑๐ ๒ ๓ ๑ กามชวน ๒๙ ๑๑ รวมกามจิต ๕๔ร อนึ่ง ที่แสดงว่า ปัญจทวารวิถี กล่าวโดยวิถีจิตมี ๗ กล่าวโดยจิตตุปปาทะมี ๑๔ กล่าวโดยพิสดารมี ๕๔ นั้น เป็นการแสดงส่วนรวมถึงจำนวนอย่างมากที่จะ พึงมีพึงเป็นไปได้ ขณะจิตในอติมหันตารมณ์วิถี อติมหันตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตที่เกิดทางปัญจทวาร มีถึง ๑๗ ขณะจิต ตาม ลำดับดังต่อไปนี้ หน้า ๑๒ ขณะที่ ๑ อตีตภวังค เป็นภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ใหม่ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อารมณ์ใหม่มากระทบกับภวังคจิตดวงใด ภวังคจิตดวงนั้นได้ชื่อ ว่า อตีตภวังค ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ภวังคจิตมี กรรมอารมณ์ หรือกรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน ซึ่งขอ สมมติเรียกว่าอารมณ์เก่า อตีตภวังคก็คงมีอารมณ์เก่า ยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ เป็น แต่เพียงอารมณ์ใหม่มากระทบเท่านั้นเอง ดังนั้น จิตดวงนี้จึงยังไม่เรียกว่า วิถีจิต ขณะที่ ๒ ภวังคจลนะ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ แต่ยังคงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเหมือนกัน ขณะที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ เป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์ เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นต่อไป ภวังคุปัจเฉทะนี้ ก็ยัง คงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเช่นเดียวกัน อตีตภวังค ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ ทั้ง ๓ ขณะ ที่กล่าวมานี้ ได้แก่ ภวังคจิตดวงเดียวกัน ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนภวังคจิต ๑๕ ดวง (เว้นอรูป วิปากจิต ๔) ขณะที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นกิริยาจิตก็เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาอารมณ์ ใหม่ที่มากระทบนั้น ว่าเป็นอารมณ์ที่มาทางทวารไหน จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่ วิญญาณจิตทางทวารนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้เป็นปฐมวิถีจิต คือ เป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นวิถี หรือที่นับ เป็นวิถี เพราะจิตดวงนี้ได้รับอารมณ์ใหม่แล้ว และจิตดวงต่อ ๆ ไป ก็รับอารมณ์ ใหม่ และนับเป็นวิถีจิต จนกว่าจะสุดวิถี คือ กลับเป็นภวังคไปตามเดิม ขณะที่ ๕ ปัญจวิญญาณ ก็เกิดขึ้นตามควรแก่อารมณ์ คือ เป็น รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้น เห็นรูปนั้น เป็น สัททารมณ์ โสตวิญญาณ ก็เกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น เป็น คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้กลิ่นนั้น เป็น รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้รสนั้น เป็น โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้สึกในสัมผัสนั้น หน้า ๑๓ ขณะที่ ๖ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณเสนอต่อไป ยังสันตีรณะ ขณะที่ ๗ สันตีรณะ เกิดขึ้นไต่สวนอารมณ์นั้น ว่าดีหรือไม่ประการใด ขณะที่ ๘ โวฏฐัพพนะ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวารนี้ก็เกิดขึ้น ตัดสินและกำหนดให้เป็นไป กุสล หรือ อกุสล หรือกิริยา ตามควรแก่ มนสิการ และบุคคล ขณะที่ ๙ ถึงขณะที่ ๑๕ รวม ๗ ขณะ เป็น ชวนจิต ทั้ง ๗ ขณะ เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นเป็นกุสล อกุสล กิริยา ตามที่โวฏฐัพพนะได้ตัดสินและกำหนดมานั้นแล้ว เสพให้เป็นกุสลก็เป็นกุสลทั้ง ๗ ขณะ ให้เป็นอกุสลหรือกิริยาอย่างใดก็เป็น อย่างนั้นแต่อย่างเดียวตลอดทั้ง ๗ ขณะ ชวนจิตที่เกิดได้ในวิถีนี้ ได้เฉพาะกามชวนจิต ๒๙ ดวงเท่านั้น ขณะที่ ๑๖ และ ๑๗ ตทาลัมพนะ ก็เกิดขึ้นยึดหน่วงอารมณ์ที่เหลือจาก ชวนะนั้นอีก ๒ ขณะ เป็นอันครบ ๑๗ ขณะจิต เป็นอันสิ้นสุดวิถี และสิ้นอายุของอารมณ์ใหม่นั้น ด้วยพอดี แล้วก็กลับเป็นภวังคจิต รับอารมณ์ต่อไปตามเดิม ขณะจิตในมหันตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๒ นัย มีขณะจิตเหมือนกับ อติมหันตารมณ์วิถีทุกประการ เว้นแต่ ก. มหันตารมณ์วิถีนัยที่ ๑ มีอตีตภวังค ๒ ขณะ นัยที่ ๒ มีอตีตภวังค ๓ ขณะ ที่มีอตีตภวังคมากขณะ ก็เพราะว่า วัตถุ ๕ (คือปสาทรูป ๕) และปัญจารมณ์ นั้นบกพร่องหรืออ่อน อารมณ์นั้นจึงต้องกระทบกับภวังคจิตหลาย ๆ ครั้ง ภวังคจิต จึงจะรู้สึกตัวไหวตัวได้ ข. ไม่มีตทาลัมพนะภายหลังชวนะ (ดูภาพที่หน้า ๗ ประกอบด้วย) กล่าวคือ เมื่อชวนะเสพอารมณ์ครบ ๗ ขณะ แล้วก็เป็นภวังคจิตรับอารมณ์เก่าไปเลย ทั้งนี้ เพราะอารมณ์นั้นหมดอายุ จึงดับไปไม่เหลือพอให้เกิดตทาลัมพนะได้ ๒ ขณะ หน้า ๑๔ ขณะจิตในปริตตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๖ นัย นัยที่ ๑ มี อตีตภวังค ๔ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๔ ขณะ นัยที่ ๒ มี อตีตภวังค ๕ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๓ ขณะ นัยที่ ๓ มี อตีตภวังค ๖ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๒ ขณะ นัยที่ ๔ มี อตีตภวังค ๗ ขณะ มีภวังคจิตข้างหลังวิถีจิต ๑ ขณะ นัยที่ ๕ มี อตีตภวังค ๘ ขณะ ไม่มีภวังคจิตข้างหลังมีแค่โวฏฐัพพนะ ๓ ขณะ นัยที่ ๖ มี อตีตภวังค ๙ขณะไม่มีภวังคจิตข้างหลังและมีโวฏฐัพพนะเพียง ๒ ขณะ ปริตตารมณ์วิถีนี้ มีจิตตุปปาทะ หรือวิถีจิตเพียงแค่โวฏฐัพพนะเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะวัตถุ ๕ หรือปัญจารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างบกพร่องมาก จึงรับอารมณ์ได้ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งพอที่จะตัดสิน และกำหนดลงไปได้ว่า ควรจะเป็นอย่างไร ขณะจิตในอติปริตตารมณ์วิถี อติปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร ที่มีอารมณ์อ่อนที่สุด อารมณ์ กระทบกับภวังคจิตหลายครั้ง ภวังคจิตนั้นจึงรู้สึกตัว ไหวตัว และเป็นแต่แว่ว ๆ ไหว ๆ เพียงแต่ ๒ ขณะเท่านั้นยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็ปล่อยวางอารมณ์ใหม่ กลับไปทำหน้าที่ภวังค มีอารมณ์เก่าไปตามเดิมอีก มี ๖ นัย มีอตีตภวังคตั้งแต่ ๑๐ ขณะ ขึ้นไปจนถึง ๑๕ ขณะ แล้วมีภวังค จลนะ คือไหวตัว ๒ ขณะเท่านั้น (ดูภาพที่หน้า ๙-๑๐ ประกอบด้วย) ไม่มีแม้แต่จิตตุป ปาทะ หรือวิถีจิตเลย ถึงกระนั้นก็ยังเรียกว่าวิถี เพราะได้มีอารมณ์ใหม่มากระทบกับ ภวังคจิตแล้ว จนถึงกับไหวตัวเป็นภวังคจลนะ มีข้อที่ควรสังเกตว่า วิถีใดมีอตีตภวังคน้อยขณะ วิถีนั้นก็มีอารมณ์ชัดเจนแจ่ม แจ้งมาก มีจิตตุปปาทะมาก มีวิถีจิตมาก แต่ถ้ามีอตีตภวังคมากขณะเท่าใด ก็แสดง ว่าวิถีนั้นก็มีอารมณ์ชัดน้อยลง มีจิตตุปปาทะน้อยลง มีวิถีจิตน้อยลงเท่านั้น จนถึงกับไม่มีเลย ชื่อของวาระแห่งปัญจทวารวิถี อติมหันตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ ตทาลัมพนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ตทาลัมพนวาระ มหันตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ ชวนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ชวนวาระ หน้า ๑๕ ปริตตารมณ์วิถี มีวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ โวฏฐัพพนจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โวฏฐัพพนวาระ อติปริตตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีแต่เพียง อตีตภวังค และภวังคจลนะ ไม่มีจิต ขึ้นวิถี ยังไม่ทันมีวิถีจิตเลย ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมฆะวาระ เป็นวาระที่เปล่า ที่ว่าง ที่ไม่มีประโยชน์ กุสลวิบาก และ อกุสลวิบาก เมื่อได้ดูตามวิถีจิตแล้ว จะเห็นได้ว่าจิตในวิถี ๔ ประเภท คือ ปัญจวิญญาณ จิต ๑, สัมปฏิจฉันนจิต ๑, สันตีรณจิต ๑ และ ตทาลัมพนจิต ๑ ล้วนแต่เป็น วิบากจิตทั้งสิ้น วิบากจิตเหล่านี้เป็นผลของกุสล และอกุสล จิตนั้นจะเป็นกุสลวิบาก หรืออกุสลวิบาก ก็ย่อมแล้วแต่อารมณ์ที่จิตนั้นประสบ กล่าวคือ ๑. เมื่อประสบกับ อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมากแล้ว ปัญจวิญญาณจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต และตทาลัมพนจิต ย่อมเป็น กุสลวิบาก ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ สันตีรณจิต และ ตทาลัมพนจิต ย่อมเกิดพร้อมด้วย โสมนัสเวทนา เสมอ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต กุสลวิบาก อุเบกขา กุสลวิบาก อุเบกขา กุสลวิบาก โสมนัส กุสลวิบาก อุเบกขา (สำหรับกายวิญญาณ ก็เป็นสุขเวทนา ไม่ใช่อุเบกขาเวทนา) ๒. เมื่อประสบกับ อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ดีแล้ว จิตทั้ง ๔ ประเภทนี้ ก็เป็น กุสลวิบากเช่นเดียวกัน แต่ สันตีรณจิต และ ตทาลัมพนจิต ย่อมเกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต กุสลวิบาก อุเบกขา กุสลวิบาก อุเบกขา กุสลวิบาก อุเบกขา กุสลวิบาก อุเบกขา (สำหรับกายวิญญาณ ก็เป็นสุขเวทนา ไม่ใช่อุเบกขา) ๓. เมื่อประสบกับ อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดีแล้ว จิตทั้ง ๔ ประเภท นั้น เป็นอกุสลวิบาก อันเกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา แต่อย่างเดียว ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต อกุสลวิบาก อุเบกขา อกุสลวิบาก อุเบกขา อกุสลวิบาก อุเบกขา อกุสลวิบาก อุเบกขา (สำหรับกายวิญญาณ ก็เป็นทุกขเวทนา ไม่ใช่อุเบกขา) หน้า ๑๖ อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ การที่จะทราบว่าธรรมใดเป็น อิฏฐารมณ์ และธรรมใดเป็น อนิฏฐารมณ์ นั้น มีหลักกว้าง ๆ ที่จะพิจารณาได้พอประมาณดังนี้ คือ ก. ธรรมใดเป็นกุสล เกิดมาจากกุสล หรือ เนื่องด้วยกุสล ธรรมนั้น ๆ เป็น อิฏฐารมณ์ ข. ธรรมใดเป็นอกุสล เกิดมาจากอกุสล หรือ เนื่องด้วยอกุสล ธรรมนั้น ๆ เป็น อนิฏฐารมณ์ แม้กระนั้นก็ยังไม่เป็นการตายตัว เช่น สุนัขเน่า ตามสภาพก็เป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะดูก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าชัง แต่ว่าเป็นที่ชอบใจ และเป็นอาหารอันโอชาของ กาและแร้ง ก็ถือว่าเป็นอิฏฐารมณ์ของกาของแร้ง และเรียกว่าเป็น ปริกัปปอิฏฐา รมณ์ (ปริกัปป แปลว่า กำหนดว่า หรือสำคัญว่า) เพราะแร้งและกากำหนดว่า หรือสำคัญว่า สุนัขเน่านั้นเป็นของดีของมัน ในทางตรงกันข้าม ทุเรียน ใคร ๆ ก็ชอบกลิ่นและชอบกิน แต่ว่าบางคน ไม่ชอบก็มี ดังนั้นทุเรียนก็เป็น ปริกัปปอนิฏฐารมณ์ของผู้นั้น เพราะผู้นั้นกำหนดว่า สำคัญว่า ทุเรียนเป็นของไม่ดีสำหรับเขาโดยเฉพาะ ในการที่จะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์นี้ มีทางพิจารณา ได้หลายแง่หลายมุม ท่านอรรถกถาจารย์และฎีกาจารย์ จึงได้แสดงแนวทางในการ พิจารณาในเรื่องนี้ไว้ ๕ ประการ คือ ๑. พิจารณาโดย วิบากจิต ๒. พิจารณาโดย มัชฌัตตบุคคล ๓. พิจารณาโดย ทวาร ๔. พิจารณาโดย อารมณ์ ๕. พิจารณาโดย กาละ ๑. พิจารณาโดยวิบากจิต ถ้าวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นเป็นกุสลวิบาก แล้ว อารมณ์นั้นต้องเป็นอิฏฐารมณ์แน่นอน และถ้าวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น เป็นอกุสลวิบากแล้ว อารมณ์นั้นก็ต้องเป็น อนิฏฐารมณ์แน่นอน ในการใช้วิบากจิตเป็นเครื่องพิจารณา เป็นเครื่องตัดสินว่าอารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์นี้ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ปุถุชนธรรมดาสามัญจะทราบได้อย่างไรว่า หน้า ๑๗ วิบากจิตของใคร หรือแม้แต่ของตนเองเป็นกุสลวิบาก หรืออกุสลวิบาก ข้อนี้ท่านมุ่งหมายที่จะแสดงให้ทราบว่า ในการใช้วิบากจิตเป็นเครื่องตัดสินนี้ เป็น ธัมมาธิฏฐาน คือเป็นสภาพธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีทางผันแปรไปเป็น อย่างอื่นได้เลยนั้น ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ก็เพื่อแสดงให้ทราบต่อไปว่า จะใช้ชวนจิตเป็นเครื่องตัดสินหาได้ไม่ เพราะแม้ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ดี ชวนจิตก็อาจเป็นโทสะ คือไม่ชอบก็ได้ ตรงกันข้าม แม้ว่าอารมณ์ นั้นจะเป็นอนิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี แต่ชวนจิตอาจเป็นโลภะ คือชอบใจ ติดใจ ก็มีได้มากเหมือนกัน ๒. พิจารณาโดยมัชฌัตตบุคคล คือ บุคคลชั้นกลาง ๆ อย่างธรรมดาสามัญ ทั่ว ๆ ไปเป็นเครื่องตัดสิน เพราะว่าโดยปกติบุคคธรรมดาสามัญโดยทั่ว ๆ ไป ย่อม เห็นวัตถุสิ่งใดเป็นไปทำนองเดียวกัน สิ่งใดดี ก็ว่าดี และชอบใจติดใจเหมือนๆกัน สิ่งใดไม่ดีก็ว่าไม่ดี ไม่ชอบใจคล้าย ๆ กัน แต่บุคคลชั้นต่ำ หรือสัตว์เดรัจฉาน แม้ว่าจะเห็นวัตถุสิ่งใดที่ไม่ดี เช่น อาหาร ที่มีกลิ่นจวนจะบูด หรือถึงกับบูดแล้ว ก็ยังเห็นว่าเป็นของที่ดีมาก ติดใจ ชอบใจ เต็มใจกิน ส่วนบุคคลชั้นสูง เมื่อได้เห็นวัตถุสิ่งใดที่ใคร ๆ เขาก็ว่าดีแล้ว ก็มักจะถือว่า ไม่ใช่ของดิบของดีอะไร เพราะตนเคยประสบกับวัตถุสิ่งของที่ดียิ่งกว่านั้นมามากกว่ามากนัก ดังนั้น จึงต้องอาศัย มัชฌัตตบุคคล เป็นเครื่องพิจารณาตัดสิน ๓. พิจารณาโดยทวาร เป็นเครื่องตัดสิน วัตถุสิ่งของโดยมาก เมื่อมากระทบ กับทวารทั้ง ๖ แล้ว ย่อมให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ทวารใดรู้สึกว่าดีใจ ชอบใจ ก็เป็นอิฏฐารมณ์ของทวารนั้น ทวารใดรู้สึกว่าไม่ดี ไม่ชอบใจ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ของทวารนั้น เช่น พริก เมื่อว่าโดยจักขุทวารแล้ว ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะรูปก็งาม สีก็สวย แดงสด น่าดู เมื่อว่าโดยชิวหาทวารแล้ว ผู้ชอบเผ็ดก็กลับเป็นอิฏฐารมณ์ เพราะ อร่อยและชูรสหนักหนา เมื่อว่าโดยกายทวารแล้วกลับเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะทำให้ปวดแสบปวดร้อน ยิ่งที่ลูกตาก็ทำให้แสบตา ถึงกับน้ำตาไหลได้ เมื่อว่าโดยมโนทวาร ย่อมแล้วแต่ว่า มโนทวารนั้นเกิดต่อจากทวารใด เช่น ตัวอย่างนี้ มโนทวาร นั้น เกิดต่อจากจักขุทวารที่มีอารมณ์เป็นอิฏฐารมณ์ ก็เป็นอิฏฐารมณ์ด้วย เกิดต่อ จากกายทวารที่มีอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ด้วย ๔. พิจารณาโดยอารมณ์ เช่นบุคคลบางคน ว่าโดยรูปารมณ์และสัททารมณ์ แล้ว ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะรูปร่างงดงาม เสียงก็ไพเราะ แต่ว่าโดยธัมมารมณ์ คือ นิสสัยใจคอ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นนักย่องเบาตัวยงดอกไม้บางอย่าง ว่าโดย รูปารมณ์ คือ สี ก็เป็นอิฏฐารมณ์ เป็นที่น่าชม น่าพอใจ แต่เมื่อว่าโดยคันธารมณ์ แล้ว กลับเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะมีกลิ่นเหม็น หน้า ๑๘ ๕. พิจารณาโดยกาละ เช่น องคุลีมาล ในเวลาที่เที่ยวฆ่าคนจะให้ครบพัน นั้น เป็นอนิฏฐารมณ์ แต่ในเวลาที่มาอุปสมบทแล้วเป็นอิฏฐารมณ์ ปลาดุก เวลาที่ยังสดอยู่ เหม็นคาว ในกาละนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์ แต่พอได้ย่าง สุกแล้ว หอมน่ากิน ในกาละนั้นเป็นอิฏฐารมณ์ ปลาดุกที่ย่างสุกแล้วนี้แหละ เวลาที่เราสบายดีก็หอมน่ากิน ในกาละนั้นเป็น อิฏฐารมณ์ ครั้นเวลาที่เราเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน ปลาดุกย่างที่ว่าหอมน่ากินนั้น กลับ เหม็นและเบื่อจนกินไม่ได้เลย ในกาละนั้นปลาดุกย่างกลับเป็นอนิฏฐารมณ์ ไฟ เวลาให้แสงสว่าง หรือให้ความร้อนในเวลาหุงต้มอาหาร ในกาละนั้นเป็น อิฏฐารมณ์ แต่ในเวลาที่เผาไหม้เนื้อเราจนพอง หรือขณะที่ไหม้บ้านเรือน ในกาละ นั้นเป็นอนิฏฐารมณ์ น้ำ เวลาที่ร้อนใช้อาบ เวลากระหายใช้ดื่ม ในกาละนี้ น้ำเป็นอิฏฐารมณ์ แต่ เวลาที่ไหลบ่ามาท่วมบ้านเรือนในกาละนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์ มโนทวารวิถี (ในกามวิถี) อารมณ์ที่ปรากฏทาง ปัญจทวารวิถี ได้แก่ ปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์ สัททา รมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ ล้วนแล้วแต่เป็นรูปธรรมทั้งนั้น รวมเป็น ๗ รูปด้วยกัน คือ วัณณะ สัททะ คันธะ รสะ ปฐวี เตโช และ วาโย อารมณ์เหล่านี้ต้องเป็นปัจจุบัน คือ กำลังมีอยู่ด้วย จึงจะเป็นอารมณ์แก่ปัญจทวาร วิถีได้ ส่วนมโนทวารวิถี (ในที่นี้กล่าวเฉพาะที่เป็นกามวิถีเท่านั้น) ที่จะกล่าวต่อไป นี้ มีอารมณ์ได้ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ ซึ่งมีรูปธรรม นามธรรม ทั้งที่ไม่ใช่รูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม (คือ บัญญัติ)ด้วย ก็เป็นอารมณ์ให้แก่มโนทวารวิถีได้ทั้งสิ้น (ธัมมารมณ์นั้น ได้แก่ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพานและบัญญัติ) อารมณ์ที่มาสู่มโนทวารวิถี อารมณ์ต่าง ๆ ที่มาสู่มโนทวารวิถีนั้น มีมาได้เป็น ๒ ทางด้วยกัน คือ รับ อารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีนั้นทางหนึ่ง หน้า ๑๙ อารมณ์มาปรากฏทางใจโดยตรงโดยเฉพาะ อีกทางหนึ่ง อารมณ์ที่มาปรากฏทางใจโดยตรงโดยเฉพาะนั้น ตาม ปรมัตถทีปนีฎีกา แสดง ไว้ว่า มีเหตุ ๑๔ ประการ ทิฏฺฐโต ทิฏฺฐสมฺพนฺธโต สุตโต สุตสมฺพนฺธโต สทฺธาย รุจิยา อาการปริวิตกฺเกน ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา นานากมฺมพเลน นานาอิทฺธิพเลน ธาตุกฺโขภวเสน เทวโตปสํหารวเสน อนุโพธวเสน ปฏิเวธเสนาติ จุทฺทส หิ การเณ หิ อารมฺมณธมฺมา สุทฺเธ มโนทฺวาเร อาปาตํ อาคจฺฉนฺติ ฯ ๑. ด้วยอำนาจที่เคยเห็น เคยพบ อารมณ์ทั้ง ๖ มาแล้ว (ทิฏฺฐโต) ๒. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้น เหมือน ๆ กันกับที่เคยได้พบเคยเห็น มาแล้ว (ทิฏฺฐสมฺพนฺธโต) ๓. ด้วยอำนาจที่ได้เคยฟัง เคยเรียนมาแล้ว หรือขณะที่กำลังฟัง กำลังเรียน กำลังอ่านข้อความอยู่ (สุตโต) ๔. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเหมือน ๆ กับที่เคยได้ฟัง เคยเรียน เคยอ่านมาแล้ว (สุตสมฺพนฺธโต) ๕. ด้วยอำนาจแห่งความ เชื่อในคำพูดของผู้อื่น (สทฺธาย) ๖. ด้วยอำนาจแห่งความ พอใจของตน (รุจิยา) ๗. ด้วยอำนาจแห่งความ นึกคิด โดยอาศัย เรื่องราว คำพูด เหตุผล (อาการปริวิตกฺเกน) ๘. ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยปัญญา และด้วยลัทธิของ ตน แล้วตัดสินลงไป (ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา) ๙. ด้วยอำนาจแห่ง กรรมต่าง ๆ (นานากมฺมพเลน) ๑๐. ด้วยอำนาจแห่ง อิทธิฤทธิต่าง ๆ (นานาอิทฺธิพเลน) ๑๑. ด้วยอำนาจแห่ง ธาตุในร่างกาย มีน้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิต ลม เหล่านี้ วิปริตไป (ธาตุกฺโขภวเสน) ๑๒. ด้วยอำนาจแห่ง เทวดามาดลใจ (เทวโตปสํหารวเสน) ๑๓. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้ไปตามสมควรแก่ มัคคญาณ ผลญาณ (อนุโพธว เสน) ๑๔. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้แจ้งในอริยสัจจ ๔ (ปฏิเวธวเสน) หน้า ๒๐ มโนทวารกามวิถี มีวิสยัปปวัตติ ๒ ปัญจทวารวิถี ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีวิสยัปปวัตติ ๔ คืออติมหันตารมณ์ ๑ มหันตารมณ์ ๑ ปริตตารมณ์ ๑ และอติปริตตารมณ์ ๑ ส่วน มโนทวารกามวิถี ที่จะกล่าวต่อไปนี้ กล่าวเฉพาะตามหลักใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ มีวิสยัปปวัตติ ๒ คือ วิภูตารมณ์ ๑ และ อวิภูตารมณ์ ๑ วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเจนแจ่มแจ้งมากตามปกติ ก็มีวิถีจิตถึงตทาลัมพนะ อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อย กว่า อ่อนกว่าวิภูตารมณ์วิถี วิถีจิตจึงมีแต่ชวนะเท่านั้น ไม่ถึงตทาลัมพนะ จำนวนจิตในมโนทวารกามวิถี มโนทวารกามวิถี มีวิถีจิต จิตตุปปาทะ และจำนวนจิตพิสดารเท่าใดนั้น มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า ๔. วิถีจิตฺตานิ ตีเฌว จิตฺตุปฺปาทา ทเสริตา วิตฺถาเรน ปเนตฺเถก- จตฺตาฬีส วิภาวเย ฯ แปลความว่า อารมณ์ที่ปรากฏในมโนทวารกามวิถีนั้น กล่าวโดยวิถีจิต มี ๓ กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๑๐ กล่าวโดย จำนวนพิสดารแล้ว มี ๔๑ อธิบาย วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ชัดแจ้งมากนั้น มีขณะจิตดังนี้ คือ ภวังคจิตไหวตัวจะรับอารมณ์ใหม่ ๑ ขณะ เรียกว่า ภวังคจลนะ ภวังคจิตปล่อยอารมณ์ เพื่อรับอารมณ์ใหม่ต่อไป ๑ ขณะ เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ แล้ว มโนทวาราวัชชนจิต ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ รับอารมณ์ใหม่และตัดสิน กำหนดให้เป็น กุสล อกุสล ด้วยเสร็จ มโนทวาราวัชชนจิตนี้ เป็นปฐมวิถีจิตทาง มโนทวารกามวิถีต่อจากนั้น ชวนะ ก็เสพอารมณ์นั้น ๗ ขณะ และเพราะว่าอารมณ์นั้นชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะ จึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนะอีก ๒ ขณะ จึงรวมเป็น ๑๒ ขณะจิตด้วยกัน หน้า ๒๑ กล่าวโดยวิถีจิต ก็มี ๓ คือ มโนทวาราวัชชนจิตอย่างหนึ่ง ชวนจิตอย่างหนึ่ง และตทาลัมพนจิตอีกอย่างหนึ่ง กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๑๐ คือ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ชวนจิต เกิดขึ้น ๗ ครั้ง และตทาลัมพนจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้ง กล่าวโดยพิสดาร คือ จำนวนจิตที่สามารถจะเกิดในวิถีนี้ได้นั้น ได้แก่ มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง กามชวนจิต ๒๙ ดวง และตทาลัมพนจิต ๑๑ ดวง รวม เป็น ๔๑ ดวงด้วยกัน กิริยาจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ วิบากจิต ๑๑ กามจิต ๔๑ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ตทาลัมพนวาระ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ จิตตุปปาทะ ๑๐ ๑ ๒ ๓ วิถีจิต ๓ อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อยกว่า อ่อนกว่า วิภูตารมณ์วิถี มีขณะจิตเกิดอย่างเดียวกับวิภูตารมณ์วิถี เป็นแต่มีถึงเพียง ชวนะเท่านั้น ไม่ตั้งอยู่จนถึงตทาลัมพนะ กล่าวคือ มี ภวังคจลนะ ภวังคไหว ๑ ขณะ, ภวังคุปัจเฉทะ ตัดกระแสภวังค ๑ ขณะ, มโนทวาราวัชชนะ ๑ ขณะ และ ชวนะ ๗ ขณะ รวมเป็น ๑๐ ขณะจิตเท่านั้น กล่าวโดยวิถีจิต มีเพียง ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิตอย่างหนึ่ง ชวนจิตอีก อย่างหนึ่ง กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๘ คือ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ และ ชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะ กล่าวโดยพิสดาร คือ จำนวนจิตที่สามารถจะเกิดในวิถีนี้ได้นั้น ได้แก่ มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ กามชวนจิต ๒๙ ดวง รวมเป็น ๓๐ ดวง ด้วยกัน กิริยาจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ กามจิต ๓๐ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ชวนวาระ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ จิตตุปปาทะ ๘ ๑ ๒ วิถีจิต ๒ อนึ่งมโนทวารกามวิถีนี้ มีจิตพิสดาร(จำนวนมากที่สุด) ๔๑ นั้นก็คือ กามจิต ๔๑ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) นั่นเอง ที่ต้องเว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ มโนธาตุ ๓ ก็เพราะจิต ๑๓ ดวงนี้เกิด ได้เฉพาะแต่ในปัญจทวารวิถีเท่านั้น จะเกิดทางมโนทวารวิถีไม่ได้ หน้า ๒๒ มโนทวารวิถี (กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ) ไม่มีอตีตภวังค เพราะอารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อนเหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับอารมณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต ให้จิตไหวตัวขึ้นรับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวารวิถีจึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำน้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ ก. มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล อกุสลเอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้ ข. แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น ค. และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่งส่วนทางปัญจทวารวิถี มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่ แล้วจึงเสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต(หน้า ๙-๑๐) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถีมีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง ชื่อของวาระแห่งมโนทวารกามวิถี วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้งมาก ตามปกติ ก็มีวิถีจิตถึงตทาลัมพนะ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ตทาลัมพนวาระ อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดทางใจเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อย กว่า อ่อนกว่า วิภูตารมณ์วิถี วิถีจิตจึงมีแค่ ชวนะ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ชวนวาระ ข้อสังเกตในกามวิถี ในกามวิถีนี้ ไม่ว่าจะทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถี และไม่ว่าอารมณ์ นั้น จะชัดเจนแจ่มแจ้งมากหรือน้อยก็ตาม มีข้อที่ควรสังเกต คือ หน้า ๒๓ ก. กล่าวโดยอารมณ์ของแต่ละวิถี ในวิถีนั้นจะต้องมีอารมณ์แต่อย่างเดียว ตั้ง แต่เริ่มต้นวิถีจนสิ้นสุดวิถี ในวิถีเดียวจะมีอารมณ์หลายอย่างไม่ได้ เช่น ปัญจทวารา วัชชนะมีวัณณะเป็นอารมณ์ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตลอดจนตทาลัมพนะ ก็มีวัณณะเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน ดังนี้เป็นต้น ข. กล่าวโดยชวนะ ซึ่งตามปกติในวิถีหนึ่ง ย่อมมี ๗ ขณะ ชวนะทั้ง ๗ ขณะ นี้จะต้องเป็นจิตชาติเดียวกัน กล่าวคือถ้าเป็นชาติกุสล ก็เป็นกุสลชวนะทั้ง ๗ ขณะ เป็นชาติอกุสล ก็เป็นอกุสลชวนะทั้ง ๗ ขณะ เป็นชาติกิริยา ก็เป็นกิริยาชวนะทั้ง ๗ ขณะ ค. ชวนะทั้ง ๗ ขณะ ต้องเป็นชาติเดียวกันดังกล่าวในข้อ ข. แล้วนั้น ชวนะ ทั้ง ๗ ก็เป็นกามชวนะแต่อย่างเดียว ไม่มีมหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ มาปะปนด้วยเลย ทั้งนี้ผิดกับอัปปนาวิถี ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี คือ มโนทวารวิถี ที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถี อันมีปรมัตถเป็นอารมณ์ เพื่อให้รู้เรื่องราวของบัญญัติ ตามโวหารของโลก จากปรมัตถอารมณ์นั้น ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ที่เกิดติดต่อจากปัญจ ทวารวิถีนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง หรือ ๔ วิถี คือ ๑. อตีตัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์ตามปัญจทวารวิถี ซึ่งปัญจทวารวิถีได้ ประสบมา แต่ว่าอารมณ์นั้นได้หมดอายุและดับไปแล้ว ปัญจทวารวิถีมีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วย ส่วนอตีตัค คหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ ซึ่งเป็นอารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถีนั้นเอง แต่ว่า เป็นอดีตอารมณ์ จักขุทวารวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ ดังภาพนี้ ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต อตีตัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ แต่เป็นอดีตอารมณ์ ดังภาพนี้ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต การเกิดขึ้นของปัญจทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถีทั้ง ๒ วิถีนี้ เกิดสลับกันเป็น จำนวนหลายร้อยหลายพันรอบ หน้า ๒๔ ๒. สมูหัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์เหล่านั้นมารวมกัน เพื่อให้ได้ความ วิถีนี้ก็เกิดหลายร้อยหลายพันรอบเหมือนกัน น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต สมูหัคคหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นอดีตอารมณ์เช่นเดียวกับ อตีตัคคหณวิถี ๓. อัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้เนื้อความของอารมณ์นั้น เกิดได้มากมายหลาย รอบเช่นเดียวกัน น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช อัตถัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นบัญญัติ คือรู้เนื้อความของอารมณ์นั้น ตามโวหาร ของโลก มีข้อสังเกตว่า วิถีที่มีอารมณ์เป็นบัญญัติก็ไม่มี ตทาลัมพนะ ๔. นามัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ๆ เกิดได้เป็นจำนวนมาก หลายรอบเช่นเดียวกัน น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช นามัคคหณวิถีนี้ ก็มีอารมณ์เป็นบัญญัติเหมือนกัน คือ รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ตามโวหารของโลก ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นทางจักขุทวาร มีรูป คือสีหรือวัณณะเป็นอารมณ์ ถ้าหากว่าผู้นั้นไม่เคยเห็นรูปนั้นมาก่อน ไม่รู้ว่ารูปนั้นชื่ออะไร นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด กล่าวคือไม่เคยเห็น " ไก่ " ก็เพียงแต่เห็นรูปร่างว่าเป็นอย่างนั้น ๆ แต่ไม่รู้ว่าเขา เรียกชื่อกันว่า " ไก่ " ทางจักขุทวาร อันมีรูปเป็นอารมณ์ ทางฆานทวาร อันมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ทาง ชิวหาทวาร อันมีรสเป็นอารมณ์ และทางกายทวารอันมีสิ่งที่มากระทบถูกต้องเป็น อารมณ์ทั้ง ๔ นี้ วิถีจิตเกิดดังกล่าวมานี้ เฉพาะอย่างยิ่ง อัตถัคคหณวิถีเกิดก่อน นามัคคหณวิถีเกิดทีหลัง แต่ว่าถ้าเป็นวิถีที่เกิดทางโสตทวาร อันมีเสียง คือ สัททะเป็นอารมณ์แล้ว นามัคคหณวิถีเกิดก่อน อัตถัคคหณวิถี เกิดทีหลัง และถ้าเสียงนั้นมีพยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีก็ไม่เกิด เพราะไม่ ต้องการมีการรวมอะไรแต่อย่างใด หรือถ้าไม่รู้เนื้อความของสัททารมณ์นั้น เช่นได้ยินภาษาต่างประเทศที่ตนไม่มี ความรู้ อัตถัคคหณวิถีก็ไม่เกิด ปัญจารมณ์ที่ไม่เกี่ยวแก่ชื่อต่าง ๆ เช่น เห็นคนกวักมือเรียก หรือร้องเรียกว่า มานี่ เป็นต้น นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด หน้า ๒๕ อนึ่ง นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการจำแนก จัก ซอย อัตถัคคหณวิถี ให้ละเอียดออกไปอีก คือ กายวิญญัตติคคหณวิถี เกิดต่อจากอัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ความหมายของ กายวิญญัตตินั้น เช่น รู้ว่าผู้ที่กำลังกวักมือนั้น กำลังเรียก วจีวิญญัตติคคหณวิถี ก็ทำนองเดียวกัน คือ รู้ความหมายของวจีวิญญัตติว่า เสียงนั้นเป็นเสียงเรียก อธิปายัคคหณวิถี เป็นวิถีที่เกิดต่อจากกายวิญญัตติคคหณวิถี หรือวจีวิญญัต ติคคหณวิถี เมื่ออธิปายัคคหณวิถีเกิดแล้ว ย่อมรู้ความประสงค์ของผู้ที่กวักมือ หรือ ออกเสียงเรียก ว่าให้เราไปหาเขา แต่อย่างไรก็ดี วิถีทั้ง ๓ นี้คือ กายวิญญัตติคคหณวิถี วจีวิญญัตติคคหณวิถี และ อธิปายัคคหณวิถี ก็อนุโลมเข้าใน อัตถัคคหณวิถีนั่นเอง ตัวอย่างเช่น มีผู้กวักมือเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดดังนี้ ๑. จักขุทวารวิถี เป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์ ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๒. อตีตัคคหณวิถี รับรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณได้เห็นแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ แต่เป็นอดีตอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๓. สมูหัคคหณวิถี รวมรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๔. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า กวักมือ เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ๕. กายวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียก เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ๖. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช มีผู้ร้องเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดขึ้นดังนี้ ๑. โสตทวารวิถี ได้ยินเสียง คือสัททารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์ ตี น ท ป โสต สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต หน้า ๒๖ ๒. อตีตัคคหณวิถี รับสัททารมณ์โสตวิญญาณได้ยินแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๓. สมูหัคคหณวิถี รวมสัททารมณ์ รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต แต่ถ้าเสียงที่เรียกนั้น พยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีนี้ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องรวม ๔. นามัคคหณวิถี รู้นาม รู้ชื่อ ว่าเสียงนั้นเป็นชื่อ เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ๕. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า เป็นชื่อเรา เป็นบัญญัติ อารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ๖. วจีวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียกเรา เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ๗. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช สุบินวิถี สุบินวิถี คือ ความเป็นไปของจิตในเวลาฝัน ได้แก่ กามชวนมโนทวารวิถี ที่ เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ การฝัน ก็มีชัดมากและชัดน้อย ชัดมากก็มีถึงตทาลัมพนะได้ ชัดน้อยก็มีเพียง ชวนะเท่านั้น เหตุที่ทำให้เกิดฝันขึ้นนั้น มี ๔ ประการ คือ ๑. บุพพนิมิต กรรมใด ๆ ที่ได้กระทำมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม กระตุ้นเตือนจิตใจให้ใฝ่ฝันถึงกรรมนั้น ๆ ๒. จิตอารมณ์ จิตใจจดจ่อในเรื่องใดๆ เป็นพิเศษยิ่งก็ทำให้ใฝ่ฝันถึงเรื่องนั้นๆ ๓. เทพสังหรณ์ เทวดาดลใจให้ฝัน ๔. ธาตุกำเริบ เวลาที่ธาตุไม่ปกติ ก็ทำให้ฝันได้เหมือนกัน หน้า ๒๗ ผู้ที่ฝัน ได้แก่ บุคคล ๖ คือ ๑. ทุคคติบุคคล (เว้นสัตว์นรก) ๒. สุคติบุคคล ๓. ทวิเหตุกบุคคล ๔. ติเหตุกบุคคล (เว้นรูปพรหม อรูปพรหม) ๕. โสดาบันบุคคล ๖. สกทาคามิบุคคล ที่สัตว์นรกไม่ฝัน เพราะถูกทรมานตลอดเวลา จนไม่มีโอกาสที่จะใฝ่ฝัน ที่รูปพรหม อรูปพรหม อนาคามีบุคคล และอรหัตตบุคคล ไม่ฝัน เพราะท่าน เหล่านี้ปราศจาก กามราคะแล้ว บุคคลที่ยังฝันอยู่ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ยังมีกามราคะ กามฉันทะอยู่ วิถีจิตของทารก ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดานั้น วิถีจิตก็เกิดได้ สำหรับมโนทวารวิถีเกิดได้ ตั้งแต่หลังจากปฏิสนธิ และภวังคจิต ๑๕ ขณะ เป็นต้นมา ส่วนทางปัญจทวารวิถีเกิดเพียง ๓ วิถี คือ โสตทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี และ กายทวารวิถี สำหรับจักขุทวารวิถี และฆานทวารวิถีนั้น เกิดได้หลังจากที่คลอดจากครรภ์ มารดา และทารกนั้นมีความสนใจในอารมณ์แล้ว ปัญจทวารวิถี กับ มโนทวารกามวิถี ปัญจทวารวิถี กับมโนทวารกามวิถี ต่างก็เป็นวิถีที่มีกามธรรม เป็นอารมณ์ เป็น กามวิถีด้วยกันทั้งคู่ แต่ว่ามีความแตกต่างกันหลายประการ คือ ปัญจทวารวิถี มโนทวารกามวิถี ๑. ต้องมีอตีตภวังคเสมอไป ไม่มี ๒. มีวิสยัปปวัตติ ๔ คือ ก. อติมหันตารมณ์ ข. มหันตารมณ์ ค. ปริตตารมณ์ ง. อติปริตตารมณ์ มีวิสยัปปวัตติเพียง ๒ คือ ก. วิภูตารมณ์ ข. อวิภูตารมณ์ ๓. อาศัยเกิดได้ ๕ ทวาร เกิดได้เฉพาะแต่มโนทวารทางเดียว หน้า ๒๘ ปัญจทวารวิถี มโนทวารกามวิถี ๔. อาศัยวัตถุ ๕ เกิด อาศัยเฉพาะหทยวัตถุเกิดแต่อย่างเดียว หรือมิฉนั้นก็เกิดโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ ใด ๆ เลย ๕. มีอารมณ์ ได้ ๕ อย่าง(ปัญจารมณ์) มีอารมณ์ได้ทั้ง ๖ ๖. มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มีทั้งรูปธรรม นามธรรม และบัญญัติธรรม เป็นอารมณ์ ๗. มีเฉพาะปรมัตถ เป็นอารมณ์ มีทั้งปรมัตถ และบัญญัติเป็นอารมณ์ ๘. มีอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันแต่ อย่างเดียว มีอารมณ์ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต ตลอดจนกาลวิมุตติ ๙. เกิดได้แก่ กามบุคคล รูปบุคคล (เว้นอสัญญสัตตบุคคล) เฉพาะรูป บุคคลก็เกิดได้แต่จักขุทวารวิถี และ โสตทวารวิถีเท่านั้น เกิดได้ทั้ง กามบุคคล รูปบุคคล ตลอดจน อรูปบุคคล (เว้นเฉพาะ อสัญญสัตตบุคคล เท่านั้น) ๑๐. เกิดได้ในกามภูมิ รูปภูมิ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ) และในรูปภูมินั้น ก็เกิด ได้เฉพาะจักขุทวารวิถี และ โสตทวารวิถีเท่านั้น เกิดได้ทั้งในกามภูมิ รูปภูมิ ตลอดจน อรูปภูมิ มีเว้นเฉพาะแต่อสัญญสัตตภูมิ เดียวเท่านั้น ๑๑. มีวิถีจิตอย่างมากได้ถึง ๗อย่าง คือ อาวัชชนะ ๑ ทวิปัญจวิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันนะ ๑ สันตีรณะ ๑ โวฏฐัพพนะ ๑ ชวนะ ๑ ตทาลัมพนะ ๑ มีวิถีจิตอย่างมากได้เพียง ๓ อย่าง คือ อาวัชชนะ ๑ ชวนะ ๑ ตทาลัมพนะ ๑ ๑๒. มีจิตตุปปาทะอย่างมากถึง ๑๔ ขณะ ถ้านับภวังคข้างหน้าด้วยก็เป็น ๑๗ ขณะ มีจิตตุปปาทะอย่างมาก ๑๐ ขณะ ถ้านับ ภวังคข้างหน้าด้วยก็เป็น ๑๒ขณะ หน้า ๒๙ ปัญจทวารวิถี มโนทวารกามวิถี ๑๓. มีจิตพิสดารถึง ๕๔ ดวง คือ กามจิตทั้งหมด มีจิตพิสดารเพียงกามจิต ๔๑ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ๑๐ มโนธาตุ๓ อันเป็น จิตที่เกิดทางปัญจทวารวิถีโดยเฉพาะ) ๑๔. เกิดจากภวังคจิตเพียง ๑๕ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปาวจรวิบาก ๕ เกิดจากภวังคจิตได้ทั้ง ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปาวจรวิบาก ๕ อรูปาวจรวิบาก ๔ ๑๕. มีเวทนาได้ทั้ง ๕ มีเวทนาได้เพียง ๓ คือ โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา เท่านั้น อัปปนาวิถี อัปปนา แปลว่า ทำลาย คือทำลายกิเลส มีนิวรณ์เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ถ้าเคยได้อัปปนาจิตในอารมณ์ใด เมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้นอีกเวลาใด หรือขณะใด ก็จะต้องมีอารมณ์อย่างนั้นเสมอไปไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอารมณ์อย่างอื่นเลย อัปปนาจิต คือจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๓๕ หรืออย่างพิสดาร ๖๗ ดวง คือ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ส่วน อัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีอัปปนาจิตอยู่ในวิถีนั้น ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ อย่างพิสดาร ๕๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ อัปปนาชวนะ คือ ชวนจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ ๕๘ เท่ากัน และเหมือนกันกับอัปปนาวิถีจิตนั่นเอง เพราะชวนะ เป็นจิตที่อยู่ในวิถี อัปปนาวิถี หรือ อัปปนาชวนะ เกิดได้ทาง มโนทวารวิถี ทางเดียวเท่านั้น ไม่เกิดทางปัญจทวารวิถีเลย หน้า ๓๐ อัปปนาวิถี เป็นมโนทวารวิถีก็จริง แต่ไม่จำแนก เป็นวิภูตารมณ์วิถี และ อวิภูตารมณ์วิถี เหมือนอย่าง มโนทวารกามวิถี เพราะอัปปนาวิถีมีแต่วิภูตารมณ์วิถี อย่างเดียว ด้วยเหตุว่า ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาชวนะ จะเกิดไม่ได้เลย อัปปนาวิถี จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. โลกียอัปปนาวิถี ๒. โลกุตตรอัปปนาวิถี โลกียอัปปนาวิถี โลกียอัปปนาจิต ได้แก่ มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง แต่ โลกียอัปปนาวิถี หรือ โลกียอัปปนาชวนะ ได้แก่มหัคคตชวนจิต ๑๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ เท่านั้น ส่วนมหัคคตวิบากจิตอีก ๙ ดวงนั้น ไม่นับเป็นโลกียอัปปนาวิถี เพราะเป็นจิต ที่พ้นวิถี (พ้นทวารด้วย) และไม่นับเป็นโลกียอัปปนาชวนะ เพราะไม่ได้ทำชวนกิจ โลกียอัปปนาวิถีนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วิถีจิตที่ได้ฌาน ที่ถึงฌาน ที่ฌานจิต เกิด (ทั้งนี้หมายเฉพาะฌานจิตที่เป็นกุสล และกิริยาเท่านั้น ยกเว้นฌานจิตที่เป็น วิบาก เพราะเป็นจิตที่พ้นวิถี) ผู้ที่ได้ปฐมฌาน เป็นครั้งแรก ก็ดี ได้ทุติยฌาน เป็นครั้งแรก ก็ดี ตลอดจนถึงได้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นครั้งแรกก็ดี รวมความหมายว่า ผู้ที่แรกได้ฌาน ชั้นนั้น ๆ วิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรก เรียกชื่อวิถีจิตนั้นว่า อาทิกัมมิกฌานวิถี มีวิถีดังนี้ อาทิกัมมิกฌานวิถี ของมันทบุคคล คือบุคคลผู้รู้ช้า กามชวนะ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ โลกียอัปปนาชวนะ กุสลฌานจิต ภวังคจิต น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ภ ชวนจิต ชวนจิต หน้า ๓๑ อาทิกัมมิกฌานวิถี ของติกขบุคคล คือบุคคลผู้รู้เร็ว กามชวนะ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ โลกียอัปปนาชวนะ กุสลฌานจิต ภวังคจิต น ท มโน อุป อนุ โค ฌ ภ ชวนจิต ชวนจิต ความหมายของอักษรย่อ น=ภวังคจลนะ,ท=ภวังคุปัจเฉทะ,มโน=มโนทวาราวัชชนะ,บริ=บริกรรม,อุป=อุปจาระ ,อนุ=อนุโลม,โค=โคตรภู,ฌ= ฌานจิต คำว่าโคตรภู ในโลกียอัปปนาวิถีนี้ หมายความว่า โอนโคตรหรือตัดจากโคตร กาม ไปเป็นโคตรพรหม อาทิกัมมิกฌานวิถี คือวิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรกนี้ ฌานจิตจะ เกิดเพียงขณะเดียว หรือดวง เดียวเท่านั้นเอง ต่อเมื่อมีวสีคือมีความชำนาญแล้ว จึงจะเกิดได้หลายขณะ โลกุตตรอัปปนาวิถี โลกุตตรอัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีโลกุตตรจิตในวิถีนั้น โลกุตตรจิตเป็นจิตที่ แนบแน่นแน่วแน่ในพระนิพพาน เป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้นเอง จะมีอารมณ์ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ โลกุตตรอัปปนาวิถี ได้แก่ โลกุตตรจิต คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ หรืออย่าง พิสดารก็ มัคคจิต ๒๐ ผลจิต ๒๐ ติเหตุกบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนบรรลุมัคคผล วิถีจิตที่ถึงมัคคถึงผล นั้นเรียกว่า มัคควิถี มีวิถีดังนี้ มัคควิถี ของ มันทบุคคล คือ บุคคลผู้รู้ช้า กามชวนะ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ อัปปนาชวนะ โลกุตตรจิต ๘ น ท มโน บริ อุป อนุ โค มัคค ผล ผล ภ มโน บริ อุป อนุ มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ โค มัคค ผล ผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ หน้า ๓๒ มัคควิถีของ ติกขบุคคล คือ บุคคลผู้รู้เร็ว กามชวนะ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ อัปปนาชวนะ โลกุตตรจิต ๘ น ท มโน อุป อนุ โค มัคค ผล ผล ผล ภ มโน อุป อนุ มีไตรลักษณ์แห่งรูปนาม โค มัคค ผล ผล ผลมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นอารมณ์ ในมัคควิถี ไม่ว่าจะเป็น มันทบุคคล(ผู้รู้ช้า) หรือติกขบุคคล(ผู้รู้เร็ว) มัคคจิต ก็เกิดขณะเดียวเท่านั้น มันทบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๓ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ เกิด ๒ ขณะ รวมเป็นชวนะ ๗ ขณะ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ น ท มโน บริ อุป อนุ โค มัคค ผล ผล ติกขบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๒ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ เกิด ๓ ขณะ รวมชวนะ ๗ ขณะ เหมือนกัน อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ น ท มโน อุป อนุ โค มัคค ผล ผล ผล ภ วิถีจิตของพระโสดาบัน ที่บรรลุ สกทาคามี มัคค - ผล ก็ดี วิถีจิตของพระสกทาคามี ที่บรรลุ อานาคามี มัคค - ผล ก็ดี วิถีจิตของพระอนาคามี ที่บรรลุ อรหัตต มัคค - ผล ก็ดี มีวิถีจิต คือ มัคควิถีอย่างเดียวกับที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ส่วนโคตรภู นั้น ไม่เรียกว่า โคตรภู แต่เรียกว่า โวทาน ในมัคควิถี คำว่า โคตรภู หมายความว่า ตัดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยะ กล่าวคือ ตัดจากโคตรชนที่หนา แน่นไปด้วยกิเลส เป็นโคตรชนที่ห่างไกลจากกิเลส ส่วนคำว่า โวทาน แปลว่า ธรรมขาว หมายความว่า พระสกทาคามี มีธรรม ที่ขาวกว่า สะอาดกว่า พระโสดาบัน, พระอนาคามี ก็มีธรรมที่ขาวยิ่งกว่า สะอาด ยิ่งกว่า พระสกทาคามี, สำหรับพระอรหันต์ นั้นเป็น ผู้ที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์หมดจด ด้วยประการทั้งปวง หน้า ๓๓ ข้อสังเกตในอัปปนาวิถี ดังได้กล่าวแล้วว่า อัปปนาวิถีเป็นวิถีจิตที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งมาก เพราะถ้าอารมณ์นั้น ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาวิถีจะไม่ เกิดเลย นอกจากนี้มีข้อที่ควรสังเกตอีก คือ ก. กล่าวโดยความชัดแจ้งของอารมณ์ แม้ว่าอัปปนาวิถีมีอารมณ์ชัดเจนแจ่ม แจ้งมาก แต่วิถีจิตก็มีไม่ถึง ตทาลัมพนะ เพราะอัปปนาวิถี มีทั้งกามอารมณ์ กาม ชวนะ และนิพพานเป็นอารมณ์ได้ด้วย ข. กล่าวโดยอารมณ์ของแต่ละวิถี ในวิถีเดียวกันนั้นเอง อัปปนาวิถีมีอารมณ์ ได้มากกว่า ๑ เช่นในมัคควิถี วิถีจิตตอนต้น ๆ คือ มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ วิถีจิตตอนหลัง ๆ คือ โคตรภู มัคคจิต ผลจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ ค. กล่าวโดยชวนะ ก็มีได้หลายชาติ เช่น ในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู และมัคคจิต เป็นชาติกุสล ส่วนผลจิต เป็นชาติวิบาก ง. นอกจากชวนะมีได้หลายชาติดังกล่าวในข้อ ค. นั้นแล้ว ชวนะยังมีจิตได้ หลายประเภท เช่น ในอาทิกัมมิกฌานวิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็น จิตประเภทกามาวจรจิต หรือ กามจิต ส่วนฌานจิตเป็น จิตประเภทมหัคคตจิต หรือ ฌานจิตไม่ใช่กามจิต และในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็นจิต ประเภท กามจิต ส่วนมัคคจิต ผลจิต เป็นจิตประเภทโลกุตตร ไม่ใช่กามจิต จำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนา ใน อัปปนาชวนะ ๕๘ ดวงนี้ เป็นโสมนัสเวทนาก็มี เป็นอุเบกขาเวทนาก็มี ทั้งนี้แล้วแต่ว่าญาณสัมปยุตตจิตที่เป็น บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู (หรือ โวทาน) นั้นจะเกิดพร้อมกับเวทนาอะไร ถ้าเป็นโสมนัสเวทนา อัปปนาชวนะก็เกิด ตามมา ก็เป็นโสมนัสด้วย ถ้าเป็นอุเบกขาเวทนา อัปปนาชวนะที่เกิดตามมาก็เป็น อุเบกขาด้วย หน้า ๓๔ การจำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนานี้ เป็นการแสดงอย่างที่เรียกว่า ธัมมา ธิฏฐาน คือไม่กล่าวอ้างถึงบุคคล แต่กล่าวอ้างเฉพาะจิตเท่านั้น ดังมีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๕ ) แสดงว่า ๕. ทฺวตฺตีส สุขปุญฺญมฺหา ทฺวาทโสเปกฺขกา ปรํ สุขิตกฺริยโต อฏฺฐ ฉ สมฺโภนฺติ อุเปกฺขกา ฯ แปลความว่า ก. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด ข. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด ค. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด ง. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ ย่อมเกิด อธิบาย (ก) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู(หรือโวทาน) นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัส อัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด โสมนัสอัปปนาชวนะ ๓๒ นั้น ได้แก่ รูปาวจร กุสล ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ ดวง มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๑๖ ดวง ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน๑๒ดวง(เว้นอรหัตตผล ๔) (ข) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู(หรือโวทาน) นั้นเป็นอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นอุเบกขา อัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด อุเบกขาอัปปนาชวนะนั้น ได้แก่ รูปาวจร กุสล ปัญจมฌาน ๑ อรูปาวจร กุสล ๔ มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๔ ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๓ (เว้นอรหัตตผล ๑) (ค) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ นั้น ได้แก่ รูปาวจรกิริยา ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ อรหัตตผลที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ หน้า ๓๕ (ง) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้น เป็น อุเบกขาเวทนา เกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้น อุเบกขาอัปปนา ชวนะ ๖ ย่อมเกิด อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ นั้น ได้แก่ รูปาวจร กิริยา ปัญจมฌาน ๑ อรูปาวจร กิริยา ๔ อรหัตตผล ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๑ จำแนกอัปปนาชวนะ โดยบุคคล อัปปนาชวนะ ๕๘ นี้ ท่านจำแนกอีกนัยหนึ่ง เป็นการจำแนกตามบุคคล อย่างที่เรียกว่า ปุคคลาธิฏฐาน บุคคลในที่นี้ ท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ปุถุชน และ เสกขบุคคล ซึ่ง เป็นบุคคลที่ยัง มีกิเลส อยู่ ๑ และ อเสกขบุคคล ซึ่งเป็นบุคคล ที่สิ้นกิเลส แล้วโดยสิ้นเชิง อีก ๑ เท่านั้น เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตของพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๑๔ ย่อมเกิดตามมา การจำแนกตามนัยนี้ มีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๖ ) แสดงว่า ๖. ปุถุชฺชนาน เสกฺขานํ กามปุญฺญติเหตุโต ติเหตุกามกฺริยโต วีตราคานมปฺปนา ฯ แปลความว่า เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตของติเหตุกปุถุชน และผลเสกขบุคคลเกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๔๔ ย่อมเกิดตามมา อธิบาย เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัส และอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของติเหตุกปุถุชน และผลเสกขบุคคล ๓ คือ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ซึ่งเป็นบุคคลที่ยังมีกิเลสอยู่ เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๔๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ ย่อมเกิดตามมา มหัคคตกุสล ๙ มัคคจิต ๒๐ ผลจิต ๑๕ (เว้นอรหัตตผล ๕) หน้า ๓๖ เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัสและอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สิ้นกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง เกิดขึ้นแล้ว อัปปนา ชวนะ ๑๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ ย่อมเกิดตามมา มหัคคต กิริยา ๙ อรหัตตผล ๕ การจำแนกอัปปนาชวนะโดยปุคคลาธิฏฐานนี้ ท่านไม่ได้กล่าวถึงการจำแนก เวทนาร่วมพร้อมกันไปด้วย แต่ถ้าจะจำแนกทั้งบุคคล และเวทนาร่วมไปพร้อมกัน ก็จะได้ภาพดังนี้ ยังมีกิเลส โสมนัส อัปปนาชวนะ ๓๒ รูปาวจร กุสล ๔ มัคคจิต ๑๖ ผลจิต(เบื้องต่ำ) ๑๒ เกิดต่อจากโสมนัส มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี ยังมีกิเลส อุเบกขา อัปปนาชวนะ ๑๒ รูปาวจร กุสล ๑ อรูปาวจร กุสล ๔ มัคคจิต ๔ ผลจิต(เบื้องต่ำ) ๓ เกิดต่อจากอุเบกขา มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี สิ้นกิเลสแล้ว โสมนัส อัปปนาชวนะ ๘ รูปาวจร กิริยา ๔ อรหัตตผล ๔ เกิดต่อจากโสมนัส มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี สิ้นกิเลสแล้ว อุเบกขา อัปปนาชวนะ ๖ รูปาวจร กิริยา ๑ อรูปาวจร กิริยา ๔ อรหัตตผล ๑ เกิดต่อจากอุเบกขา มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒ ในอัปปนาวิถี หน้า ๓๗ กามวิถี กับ อัปปนาวิถี กามวิถี กับ อัปปนาวิถี มีความแตกต่างกันหลายประการ กามวิถี อัปปนาวิถี ๑. ไม่ได้แนบแน่นอยู่ในอารมณ์ เดียว โดยเฉพาะ แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดย เฉพาะ ๒. เกิดได้ทั้งทางปัญจทวารวิถีและ มโนทวารวิถี เกิดได้ทางมโนทวารวิถีทางเดียว ๓. มีอารมณ์ได้ทั้ง ๖ มีได้เฉพาะธัมมารมณ์ คือ อากาสานัญ จายตน กุสล ๑, กิริยา ๑, อากิญจัญญา ยตน กุสล ๑, กิริยา ๑, บัญญัติและ นิพพานเท่านั้น ๔. มีได้ทั้งอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ และกาลวิมุตติอารมณ์ มีเฉพาะอดีตอารมณ์ และกาลวิมุตติ อารมณ์เท่านั้น ๕. อาศัยวัตถุ ๖ เกิด (เฉพาะหทยวัตถุ บางทีก็ไม่ต้องอาศัย) อาศัยเฉพาะหทยวัตถุเกิดแต่อย่างเดียว หรือมิฉะนั้น ก็เกิดโดยไม่ต้องอาศัย วัตถุเลย ๖. แยกประเภทมโนทวารวิถีเป็นสอง คือ วิภูตารมณ์วิถี และอวิภูตารมณ์วิถี ไม่แยกเป็นสองประเภทอย่างนั้น เพราะ มีแต่ วิภูตารมณ์นั้นอย่างเดียว ด้วยเหตุ ว่า ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง จริงๆ แล้ว อัปปนาชวนะก็เกิดไม่ได้เลย ๗. อาจมีถึงตทาลัมพนะได้ ไม่มีตทาลัมพนะเลย ๘. มีชวนะอย่างมากได้เพียง ๗ ชวนะเกิดได้ตั้งแต่ ๑ ขณะขึ้นไปจน มากมายถึงนับประมาณไม่ได้ ๙. มีเวทนาได้ทั้ง ๕ มีเวทนาได้เพียง ๒ คือ โสมนัส กับ อุเบกขาเท่านั้นเอง ๑๐. มีทั้ง อสังขาริก และสสังขาริก มีแต่ สสังขาริก อย่างเดียว หน้า ๓๘ กามวิถี อัปปนาวิถี ๑๑. มีสัมปยุตตได้ทั้ง ๕ คือ ทิฏฐิสัมปยุตต ปฏิฆสัมปยุตต วิจิกิจฉาสัมปยุตต อุทธัจจสัมปยุตต และ ญาณสัมปยุตต มีเฉพาะแต่ ญาณสัมปยุตต อย่างเดียว เท่านั้น ๑๒. มีทั้ง โสภณะ และอโสภณะ มีโสภณะ แต่อย่างเดียว ๑๓. มีเฉพาะโลกีย แต่อย่างเดียว มีทั้งโลกีย และโลกุตตร ๑๔. ไม่มีแม้แต่ มหัคคตจิต มีทั้งมหัคคต และโลกุตตร ๑๕. มีทั้งจิตที่เป็น กุสล อกุสล วิบาก และกิริยา ไม่มีจิตที่เป็นอกุสลเลย ๑๖. มีทั้งการสั่งสมกิเลส และทำลาย กิเลส แต่การทำลายกิเลส ก็ทำลาย เพียงชั่วขณะที่เรียกว่า ตทังคะ เท่านั้น ไม่มีการสั่งสมกิเลสเลย มีแต่การทำลาย กิเลสถ่ายเดียว และทำลายอย่าง วิกขัมภณะ ตลอดจนอย่าง สมุจเฉท ให้หมดสิ้นสูญเชื้อไปเลย ๑๗. เกิดได้แก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะ เป็นทุคคติบุคคล สุคติบุคคล ทวิเหตุก บุคคล ตลอดจน ติเหตุกบุคคล เกิดได้เฉพาะ ติเหตุกบุคคล เท่านั้น ๑๘. เกิดได้ในภูมิทั้ง ๓๐ เว้นอสัญญ สัตตภูมิ ภูมิเดียวเท่านั้น เกิดได้ในภูมิเพียง ๒๖ ภูมิ (เว้นอบายภูมิ ๔ อสัญญสัตตภูมิ ๑) ๑๙. มีวิถีจิตอย่างมากได้ถึง ๗ อย่าง คือ อาวัชชนจิต ๑ ปัญจวิญญาณจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ สันตีรณจิต ๑ โวฏฐัพพนจิต ๑ ชวนจิต ๑ ตทาลัมพนจิต ๑ มีวิถีจิตเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ อาวัชชนจิต ๑ และ ชวนจิต ๑ หน้า ๓๙ กามวิถี อัปปนาวิถี ๒๐. เกิดจากภวังคจิตได้ทั้ง ๑๙ คือ อุเบกขาสันตีรณวิบาก ๒ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙ เกิดจากภวังคจิตเพียง ๑๓ ดวง คือ มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ มหัคคตวิบาก ๙ ๒๑. มีจิตเกิดได้ทั้งสิ้นรวม ๕๔ ดวง คือ กามจิตทั้งหมด มีจิตที่เกิดได้ คือ อัปปนาชวนจิต ๕๘ ดวง คือ มหัคคตกุสล ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๔๐ ๒๒. ในวิถีเดียวกัน มีอารมณ์แต่อย่าง เดียวเท่านั้น ในวิถีเดียวกัน มีอารมณ์ได้มากกว่า อย่างเดียว ๒๓. ชวนจิตในวิถีเดียวกัน มีชวนจิต เป็นชาติเดียวกัน มีชวนจิตในวิถีเดียวกัน ได้มากกว่า ชาติเดียว ๒๔. ชวนจิตในวิถีเดียวกัน เป็นกาม ชวนะแต่อย่างเดียว ชวนจิตในวิถีเดียวกัน มีกามชวนะ และ มหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะด้วย ปัจจเวกขณวิถี ปัจจเวกขณะ แปลว่า พิจารณา หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม สภาวะธรรมที่เป็นจริง ปัจจเวกขณวิถี ก็คือ วิถีจิต หรือ ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง สภาพแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เมื่อ มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน จะไม่มีปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถี ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ หน้า ๔๐ ๑. พิจารณามัคค ๒. พิจารณาผล ๓. พิจารณานิพพาน ๔. พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๕. พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่ ในปัจจเวกขณะ ๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑ และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้ ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๑ และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๑ นั้น บางทีก็พิจารณา บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ จึงจะทราบเรื่องราวของกิเลส เมื่อทราบก็พิจารณาได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา ก็ไม่ทราบเรื่องจึงไม่พิจารณา ปัจจเจกขณวิถี ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี สกทาคามีมัคควิถี และ อนาคามีมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ ส่วนปัจจเวก ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙ ประการ คือ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔ ปัจจเวกขณวิถี เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น ก็มีได้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป แต่หลังจาก อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ วิถีไม่เกิด นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล หรือเป็น พระอริยบุคคล ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้ เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ คือ หน้า ๔๑ ๑. พิจารณาว่า เรามีความ แก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ ไปได้ ๒. พิจารณาว่า เรามีความ เจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บ ไปได้ ๓. พิจารณาว่า เรามีความ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ ตาย ไปได้ ๔. พิจารณาว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว สมาบัติวิถี สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงพร้อมหรือการเข้าอยู่พร้อม สมาบัตินี้มี ๓อย่างคือ ๑. ฌานสมาบัติ การเข้าถึงฌานจิต หรือการเข้าอยู่ในฌานจิต เป็นโลกียะ ๒. ผลสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งอริยผลจิต หรือการเข้าอยู่ในอริยผลจิต เป็น โลกุตตระ ๓. นิโรธสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งความดับของจิตและเจตสิก ไม่จัดเป็นโลกียะ หรือ โลกุตตระเพราะไม่มีจิตจะดับ ฌานสมาบัติวิถี การเข้าฌานสมาบัติ เพื่อหนีทุกขเวทนา โดยปรารถนาจะเสวยฌานสุข ยังความอิ่มใจ หรือความวางเฉย แน่วแน่อยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ตราบเท่า เวลาที่ตนอธิษฐาน (คือตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า) ไว้ ผู้เข้าฌานสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน และ ต้องมี วสี คือความชำนาญ หรือ ความแคล่วคล่องว่องไวทั้ง ๕ ประการ ได้แก่ ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการ นึกที่จะเข้าฌานตามที่ตนตั้งใจ ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการ เข้าฌาน ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญในการ ตั้งความปรารถนาที่จะให้ ฌานจิต ตั้งมั่นอยู่เป็นเวลาเท่าใด ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญในการ ออกจากฌาน ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการ พิจารณาองค์ฌาน หน้า ๔๒ เมื่อ ฌานลาภีบุคคล คือบุคคลผู้ได้ฌาน มีความคล่องแคล่วว่องไว ในวสีทั้ง ๕ แล้ว เวลาจะเข้าฌานสมาบัตินั้น กิจเบื้องต้นต้องตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) ว่า จะเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลา.... (ตามความประสงค์ว่าจะเข้าอยู่นานสักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ฌานจิตที่เคยได้แล้วนั้นจงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน)นี้ กามจิต อันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับปุถุชนและพระเสกขบุคคล หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดมีวิถีจิตดังนี้ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต่อจากนี้ก็เจริญสมถภาวนา เข้าฌานสมาบัติ โดยเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ตนเคยได้ เคย ผ่านมาแล้วนั้น วิถีจิตก็จะเกิดดังนี้ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ (ถ้าเป็นติกขบุคคล ก็ไม่มี บริกรรม) ต่อจากโคตรภู ฌานจิตก็เกิดเรื่อยไปตราบเท่า เวลาที่ตนตั้งความปรารถนาไว้ ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตนอธิษฐานไว้แล้ว ฌานจิต จึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไปตามปกติ อนึ่ง ฌานลาภีบุคคล ผู้ได้เพียงปฐมฌาน ก็ต้องเข้าฌานสมาบัติในปฐมฌาน เท่าที่ตนได้ ที่เป็นธรรมดาสามัญ แต่ถ้าได้ฌานที่สูงขึ้นไป ก็เข้าได้ทั้งฌานสูงเท่าที่ ตนได้ และเข้าสมาบัติในฌานที่ต่ำกว่าก็ได้ด้วย เช่นผู้ที่ได้ ตติยฌาน เข้าตติยฌาน สมาบัติได้ เข้าทุติยฌานสมาบัติได้ หรือจะเข้าปฐมฌานสมาบัติก็ได้ (ข้อนี้ผิดกับ การเข้าผลสมาบัติ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป) ผลสมาบัติวิถี การเข้าผลสมาบัติ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผล ญาณ อันบังเกิดแล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงเห็น ประจักษ์ได้ในปัจจุบัน พระนิพพาน ที่เป็นอารมณ์ของผลสมาบัตินั้นมีชื่อ ๓ ชื่อหรือมี ๓ อาการคือ ๑. อนิมิตตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมาย คือ อนิจจัง โดยบุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วยสีล เมื่อเข้าผลสมาบัติก็คงมีอนิมิตตนิพพาน เป็นอารมณ์ หน้า ๔๓ ๒. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้ คือทุกขัง โดยบุญญาธิ การแต่ปางก่อนแรงด้วยสมาธิ เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี อัปปณิหิตนิพพาน เป็นอารมณ์ ๓. สุญญตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า คืออนัตตา โดยบุญญาธิการ แต่ปางก่อนแรงด้วยปัญญา เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี สุญญตนิพพาน เป็นอารมณ์ บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยบุคคล คือเป็น พระโสดาบัน พระ สกทาคามี พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลย เป็นอันขาด พระอริยเจ้าที่จะเข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ ที่ตนถึงครั้ง สุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นมาแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ พระโสดาบัน ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ โสดาปัตติผล พระสกทาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ สกทาคามีผล เท่านั้น จะเข้าโสดาปัตติผล ซึ่งถึงแม้ว่าตนจะเคยได้เคยผ่านเคยพ้นมาแล้ว ก็หาได้ไม่ พระอนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่เฉพาะ อนาคามีผล พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ อรหัตตผลโดยเฉพาะเช่นกัน พระอริยบุคคล ผู้จะเข้าผลสมาบัติ กิจเบื้องต้นก็จะต้องตั้งความปรารถนาว่า จะเข้าผลสมาบัติเป็นเวลา .... (ตามความประสงค์ที่จะเข้าอยู่สักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ผลจิตที่เคยปรากฏมาแล้วนั้น จงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) นี้ กามจิตอันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับพระอริยเบื้องต่ำ ๓ หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับ พระอรหันต์ก็เกิด มีวิถีจิตซึ่งเรียกว่า อธิฏฐานวิถี ดังนี้ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต่อจากอธิฏฐานวิถี ก็เจริญวิปัสสนาภาวนา มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็น อารมณ์ เริ่มแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ผลจิตก็จะเกิด วิถีจิตนี้ชื่อว่า ผลสมา บัติวิถี มีวิถีดังนี้ น ท มโน อนุโลม อนุโลม อนุโลม อนุโลม ผล ผล ผล ฯลฯ ฯลฯ อนุโลม ๔ ขณะ สำหรับมันทบุคคล หรืออนุโลม ๓ ขณะ สำหรับติกขบุคคล ต่อจากอนุโลม ผลจิตก็เกิดเรื่อยไปเป็นจำนวนมากมาย ไม่สามารถที่จะประมาณได้ จนครบกำหนดเวลาที่ตนปรารถนาไว้ ผลจิตจึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไป ตามปกติ หน้า ๔๔ อนึ่ง จิตในผลสมาบัติวิถีนี้ ไม่เรียกว่า บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เหมือนอย่างในมัคควิถี แต่เรียก อนุโลมอย่างเดียวทั้ง ๔ ขณะ เพราะผลสมาบัติวิถี นี้ ไม่ได้ทำการประหารกิเลส เหมือนอย่างในมัคควิถี เป็นแต่จิต ๔ ดวงนี้เกิดขึ้น เพื่ออนุโลมให้จิตถึงพระนิพพาน หรือให้แนบแน่นในอารมณ์พระนิพพาน นิโรธสมาบัติวิถี การเข้านิโรธสมาบัติ เหมือนฝึกนิพพาน เข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ โดยปราศจากอันตรายใด ๆ เป็นมหาสันติสุขอันยอดเยี่ยม ดังนั้นพระอริยเจ้าจึงนิยม เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติด้วยศรัทธา และฉันทะในอมตรสนั้น จนกว่าจะ นิพพาน ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไป นี้ คือ ๑. ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ๒. ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน ๓. ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่ ก. มีสมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญาเป็นกำลัง ชำนาญ ข. ชำนาญในการระงับกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ชำนาญใน การระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา) ชำนาญในการ ระงับจิตตสังขาร (คือสัญญา และเวทนาที่ทำให้เจตนาปรุงแต่งจิต) ค. ชำนาญใน โสฬสญาณ (คือ ญาณทั้ง ๑๖) ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย ๔. ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือ ปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน หน้า ๔๕ พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติ ๘ อันเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังกล่าวแล้ว เมื่อจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องกระทำดังนี้ (๑) เข้าปฐมฌาน มีกัมมัฏฐานใดกัมมัฏฐานหนึ่ง ที่ตนได้มาแล้วเป็นอารมณ์ ปฐมฌานกุสลจิตสำหรับพระอนาคามี หรือ ปฐมฌานกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ ดังภาพนี้ ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌาน ภ (๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งการพิจารณาเช่นนี้ เรียกว่า ปัจจเวกขณวิถี ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ (๓) เข้าทุติยฌาน ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ (๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๕) เข้าตติยฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๖) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๗) เข้าจตุตถฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๘) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๙) เข้าปัญจมฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๑๐) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๑๑) เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๑๒) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๑๓) เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๑๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี (๑๕) เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ (๑๖) เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่ ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกาย ของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย หน้า ๔๖ ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณาอายุสังขารของตนด้วยว่าจะอยู่ถึง ๗ วันหรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน (๑๗) อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ) (๑๘) ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่ จิต เจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ (๑๙) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ ซึ่งเรียกว่า ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น อนาคามิผล สำหรับอนาคามิบุคคล หรืออรหัตตผล สำหรับอรหัตตบุคคล ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม ปกติต่อไปตามเดิม อภิญญาวิถี อภิญญา แปลว่า รู้ยิ่ง รู้พิเศษ มีความหมายว่า เป็นจิตที่มีความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นพิเศษจนมีอำนาจสามารถที่จะบันดาลให้เกิด สิ่งที่ตนปรารถนาได้ ต้องใช้ รูปาวจรปัญจมฌานกุสล หรือ รูปาวจรปัญจมฌานกิริยา ที่ได้มาจากกสิณเป็นบาทให้เกิดอภิญญาจิต ดังนั้นอภิญญานี้จึงมีได้แต่ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะต้องทำ อภิญญาด้วยรูปฌาน อภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานจิตเป็นบาทให้เกิดนั้น มี ๕ ประการ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนที่เคยเกิดมาแล้วได้ หน้า ๔๗ ๒. ทิพพจักขุ หรือ จุตูปปาตญาณ คือ ตาทิพย์เหมือนเทวดา และพรหม สามารถเห็นเหตุการณ์ไกล ๆ ที่ไปไม่ถึงได้ และ รู้จุติ ปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย ๓. ปรจิตตวิชชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จักจิตใจของผู้อื่นได้ ๔. ทิพพโสต คือ หูทิพย์เหมือนเทวดาและพรหม สามารถฟังเสียงที่ไกล ๆ ได้ ๕. อิทธิวิธ แสดงอิทธิฤทธิต่าง ๆ ได้ ผู้ทำอภิญญาได้ ต้องเป็นผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ๑. ได้สมาบัติทั้ง ๘ คือ ได้ทั้งรูปฌานสมาบัติ และอรูปฌานสมาบัติ โดย ครบถ้วน ๒. ต้องได้ทำการฝึกฝนอบรม (เป็นพิเศษอีก ๑๔ นัย) เพื่อให้ได้อภิญญา และต้องแคล่วคล่องว่องไวใน กระบวนการอบรม (ทั้ง ๑๔ นัย) นั้นด้วย (กระบวน การอบรมเป็นพิเศษ ๑๔ นัยนั้น แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๙) เมื่อฌานลาภีบุคคลผู้มีลักษณะดังกล่าว ปรารถนาจะทำอภิญญาอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต้องกระทำดังนี้ คือ ๑. ต้องเข้ารูปาวจรปัญจมฌานก่อน เพื่อเป็นบาทให้จิตมีกำลังกล้าแข็ง ซึ่ง เรียกชื่อว่า ปาทกฌานวิถี วิถีจิตเป็นดังนี้ ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ ๒. แล้วก็อธิษฐาน คือ ตั้งความปรารถนา ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่มั่นคง อย่างแรงกล้า ว่าประสงค์อภิญญาอย่างใด ซึ่งเรียกชื่อว่าอธิฏฐานวิถี เป็นกามวิถี ดังนี้ ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ ๓. ต่อจากนั้นก็เข้ารูปาวจรปัญจมฌานอีก เรียก ปาทกฌานวิถี เหมือนกัน วิถีจิตเป็นดังนี้ ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ ๔. ลำดับสุดท้าย อภิญญาจิตก็จะเกิดขึ้นตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานนั้น วิถีนี้จะเกิดอภิญญาจิตขณะเดียวเท่านั้น ดังนี้ ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค อภิญญา ภ หน้า ๔๘ ขณะที่อภิญญากำลังเกิดอยู่นั้น มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากอภิญญาวิถีนั้น เป็น มหากุสลหรือมหากิริยาตามควรแก่บุคคลที่แสดงอภิญญา และเป็นกามชวนมโน ทวารวิถี ถ้าหากว่า ได้กระทำดังกล่าวแล้ว แต่อภิญญายังไม่เกิด ก็ต้องตั้งต้นเริ่มทำมา ตั้งแต่ต้นใหม่อีก จนกว่าอภิญญาจิตจะเกิด อนึ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่าบุคคลที่แสดงอภิญญาได้ ก็ด้วย อำนาจแห่งการเจริญสมถภาวนาจนได้สมาบัติทั้ง ๘ เช่นนี้ท่านเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ซึ่งมีความหมายว่า สำเร็จถึงซึ่งฌานด้วยการปฏิบัติ ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในชาตินั้นไม่เคยเจริญสมถภาวนา เป็นแต่เจริญ วิปัสสนาภาวนาอย่างเดียว ถึงกระนั้นก็ดี บางบุคคลพอบรรลุมัคคผล ก็ถึงพร้อมซึ่ง ฌานด้วย จนถึงแสดงอภิญญาได้ก็มี เช่น พระจุฬปัณถก เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้ว ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์เป็นภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวัน เช่นนี้ท่านเรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ซึ่งมีความหมายว่า ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค มรณาสันนวิถี มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ใกล้ตาย วิถีนี้ชวนจิตเกิดเพียง ๕ ขณะเท่านั้น เพราะจิตมีกำลังอ่อนมากแล้ว เมื่อสุดวิถีของมรณาสันนวิถี จุติจิตต้องเกิดขึ้นอย่าง แน่นอน ๑ ขณะ สัตว์นั้นก็ถึงแก่ความตาย เมื่อจุติจิตดับลงแล้ว ปฏิสนธิก็เกิดติดต่อกันในทันทีทันใด ไม่มีจิตอื่นมาเกิด คั่นระหว่างจุติกับปฏิสนธิจิตเลย (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่มีปฏิสนธิจิตมาเกิด ต่อ) สัตว์ที่ใกล้ตาย ก่อนที่จุติจิตเกิด ถ้ามี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง เป็น อารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้นเรียกว่า มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร ถ้ามีความคิดนึกในทางใจเป็นอารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้นก็เรียกว่า มรณาสันน วิถีทางมโนทวาร มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวาร มี ๔ วิถี ดังนี้ ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ หน้า ๔๙ มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร มี ๔ วิถี เช่นเดียวกัน ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ ในมรณาสันนวิถี มี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต เป็นอารมณ์แน่นอน กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถีนี่แหละ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกภพชาติที่จุติสัตว์นั้นจะไปปฏิสนธิ กรรมอารมณ์ กับ คตินิมิตอารมณ์ ทั้ง ๒ นี้ เกิดเฉพาะทางมโนทวาร ส่วน กรรมนิมิตอารมณ์เกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร โดยเฉพาะ มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์ ไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต อารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ แม้แต่อย่างเดียว เพราะท่านไม่ต้องปฏิสนธิอีกแล้ว อารมณ์ในมรณาสันนวิถีทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิต อารมณ์ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ คือ ๑. ครุกรรม คือ กรรมที่หนัก ทางอกุสล ได้แก่ ปัญจานันตริยกรรม (อนัน ตริยกรรมทั้ง ๕) ในทางกุสลได้แก่ มหัคคตกุสล ๙ ถ้าได้ทำกรรมหนักเช่นนี้ ครุกรรมต้องให้ผลก่อน อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปปาท และ สังฆเภท ๒. อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย มีทั้งทางกุสล และทาง อกุสล ถ้าไม่มีครุกรรมแล้ว อาสันนกรรมนี้ต้องให้ผลเป็นอันดับแรก ๓. อาจิณณกรรม คือ กุสลกรรม และกุสลกรรมที่ทำอยู่เสมอเป็นอาจิณ ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรมแล้ว อาจิณณกรรมนี้ก็ให้ผลก่อน หน้า ๕๐ ๔. กฏัตตากรรม คือ กุสลกรรม และอกุสลกรรมที่ไม่ครบองค์ของกัมมบถ จัดเป็นกรรมเล็กน้อย ถ้าไม่มีกรรมอื่น คือ ๓ อย่างข้างต้นนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ กฏัตตากรรมนี้ให้ผล จุติ และ ปฏิสนธิ สัตว์ที่จะจุติ(เว้นอสัญญสัตต) จะต้องมีมรณาสันนวิถีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดัง ได้แสดงภาพมาแล้วจะผิดกันก็ตรงที่ชวนะซึ่งมี ๕ ขณะนั้น ว่าจะเป็น ชวนจิตที่เป็นบาปหรือเป็นบุญเพียงใด ๑. กามบุคคลจุติ และ ปฏิสนธิในกามภูมิอีกนั้น ก. วิถี จะจุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี หรือทางมโนทวารมรณาสันนวิถี อย่างใดวิถีใดก็ได้ทุกวิถี แล้วแต่ว่าจะประสบกับอารมณ์ใด ถ้าประสบกับปัญจารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี ถ้าประสบกับธัมมารมณ์ ก็จุติ ทางมโนทวารมรณาสันนวิถี ข. ชวนะ ในวิถีนั้น ๆ ซึ่งมีชวนะ ๕ ขณะ ก็เป็นกามชวนะ แต่จะเป็นโลภ ชวนะ โทสชวนะ โมหชวนะ มหากุสลญาณวิปปยุตตชวนะ หรือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตชวนะ ก็แล้วแต่อำนาจของกรรมทั้ง ๔ ที่สัตว์นั้นกระทำมา (ครุกรรม, อาสันนกรรม, อาจิณณกรรม, กฏัตตากรรม) ๒. กามบุคคลจุติ และ ปฏิสนธิในพรหมภูมิ เพราะเป็นฌานลาภีบุคคลนั้น ก. วิถี จะไม่จุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี แต่จุติทางมโนทวารมรณา สันนวิถี เพราะจะต้องมีบัญญัติ หรือมีธัมมารมณ์เป็นอารมณ์เสมอ ข. ชวนะ ในชวนะ ๕ ขณะนั้น เป็นมหัคคตชวนะ คือเป็นบริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู และฌานจิต แล้วจุติจิตจึงจะเกิด จะเป็นฌานจิตชั้นใด ก็แล้วแต่ ฌานที่ตนได้ตนถึง ๓. พรหมบุคคลจุติ และปฏิสนธิในพรหมภูมิชั้นเดิม หรือ ชั้นที่สูงขึ้นไปนั้น มรณาสันนวิถีก็จะเกิดเช่นเดียวกับกามบุคคลจุติ และปฏิสนธิในพรหมภูมิ (ข้อ ๒) คือ จุติทางมโนทวารมรณาสันนวิถี และชวนะเป็นมหัคคตชวนะ ๔. พรหมบุคคลจุติ และกลับมาปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ เพราะสิ้นบุญบารมี นั้น มรณาสันนวิถีก็จะเกิด เช่นเดียวกับกามบุคคลจุติ และปฏิสนธิในกามภูมิอีก (ข้อ ๑) คือ ชวนะเป็นกามชวนะ หน้า ๕๑ ปรินิพพาน ของ พระอรหันต์ พระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่ปรินิพพานทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี แต่ ปรินิพพานทางมโนทวารมรณาสันนวิถีทางเดียว และไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต อารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์เลย มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์นับได้ว่ามี ๕ อย่าง คือ ๑. กามชวนมรณาสันนวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากชวนะที่เป็นมหากิริยา อย่างนี้นับว่าเป็นการปรินิพพานอย่างธรรมดาสามัญ ๒. ฌานสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากฌานสมาบัติวิถี ๓. ปัจจเวกขณสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากวิถีที่พิจารณาองค์ฌาน ๔. อภิญญาสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากอภิญญาวิถี ที่แสดงอิทธิ ฤทธิต่าง ๆ ๕. ชีวิตสมสีสี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากการพิจารณา มัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่ประหารสิ้นแล้ว ตทาลัมพนนิยม ตทาลัมพนนิยม แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของตทาลัมพนะ มีความหมาย ว่า การที่ตทาลัมพนะจะเกิดได้นั้น มีข้อจำกัดประการใดบ้าง ตทาลัมพนะควรจะเกิด แต่มีข้อจำกัดอย่างใดบ้างที่ทำให้เกิดไม่ได้ และเมื่อตทาลัมพนะ ที่ควรจะเกิดแต่เกิด ไม่ได้แล้ว มีข้อจำกัดว่ามีอะไรเกิดมาแทนหรือไม่ ข้อจำกัดในการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะนี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๗ แสดงว่า ๗. กาเม ชวนสตฺตาลมฺ- พนานํ นิยเม สติ วิภูเต ติมหนฺเต จ ตทารมฺมณมีริตํ ฯ แปลความว่า ชวนะ สัตว์ อารมณ์ ที่เป็นกาม นั้น ตทาลัมพนะย่อมเกิดได้ในวิภูตารมณ์วิถี และ อติมหันตารมณ์วิถี หน้า ๕๒ อธิบาย ตทาลัมพนะ หรือ ตทารัมมณะ มีความหมายอย่างเดียวกัน มาจากคำว่า ตํ(นั้น) + อารมฺมณ(อารมณ์) = อารมณ์นั้น ตามคาถาสังคหะที่ ๗ คงได้ความว่า ตทาลัมพนะจะเกิดได้ ต่อเมื่อครบองค์ ดังนี้คือ ๑. ชวนะ ต้องเป็น กามชวนะ ๒. สัตว์ ต้องเป็น กามบุคคล ๓. อารมณ์ ต้องเป็น กามอารมณ์ ๔. วิถี ต้องเป็น วิภูตารมณ์ หรือ อติมหันตารมณ์วิถี ในข้อ ๑. ที่ว่า ชวนะต้องเป็นกามชวนะนั้น จะเป็นทางปัญจทวารวิถี หรือ มโนทวารวิถีก็ได้ แต่ถ้าเป็น อัปปนาชวนะ คือ มหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ แล้ว ตทาลัมพนะย่อมไม่เกิด ในข้อ ๒. ที่ว่า สัตว์ต้องเป็นกามบุคคลนั้น หมายถึงบุคคลในกามภูมิ แต่ถ้า บุคคลนั้นเป็นพรหมในรูปภูมิก็ดี ในอรูปภูมิก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด ในข้อ ๓ ที่ว่า อารมณ์ต้องเป็นกามอารมณ์นั้น หมายเฉพาะกามอารมณ์ที่เป็น ปรมัตถเท่านั้น แต่ถ้ากามอารมณ์นั้นเป็นบัญญัติอารมณ์ก็ดี หรือว่าเป็น มหัคคต อารมณ์ หรือเป็นโลกุตตรอารมณ์ก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด ในข้อ ๔ ที่ว่า วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์วิถี หรืออติมหันตารมณ์วิถีนั้น ความชัด อยู่แล้วว่า วิถีนอกจากนี้ คือ อวิภูตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี อติปริตตารมณ์วิถีนั้น ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อครบองค์ดังกล่าว ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้ ตทาลัมพนะที่เกิดนี้จะเป็น กุสลวิบาก หรือ อกุสลวิบาก และจะเป็นโสมนัส หรืออุเบกขา ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ อารมณ์ ที่มาประสบนั้นเป็นสำคัญโดยมีข้อจำกัดว่า ก. อารมณ์นั้นเป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมาก ตทาลัมพนะที่เกิด ย่อมเป็นกุสลวิบาก และเป็นโสมนัสด้วย ข. อารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ดีอย่างปานกลาง อย่างสามัญ ทั่ว ๆ ไป ตทาลัมพนะที่เกิดก็เป็นกุสลวิบากเหมือนกัน แต่เป็นอุเบกขา หน้า ๕๓ ค. แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็น อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีแล้วไซร้ ตทาลัมพนะ ที่เกิดต้องเป็นอกุสลวิบาก และเป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว ทั้งนี้ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ “กุสลวิบาก และ อกุสลวิบาก” ที่หน้า ๑๕ ขอให้ดูประกอบด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีที่กล่าวถึงในเรื่องตทาลัมพนะ ดังจะกล่าวต่อไปอีกเพียง เท่านี้ คือ กามาวจรกิริยาชวนะ ในสันดานแห่งพระขีณาสพนั้น ถ้าประกอบด้วยโสมนัส ตทาลัมพนะที่เกิดในที่สุดชวนะนั้น ก็เป็นโสมนัส ถ้ากามาวจรกิริยาชวนะ ประกอบด้วยอุเบกขา ตทาลัมพนะในที่สุดชวนะ ก็คงเป็นอุเบกขาไม่แปรผันเลย ด้วยสันดานแห่งพระขีณาสพปราศจากสัญญาวิปลาส ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในตอนนี้ เป็นการแสดงการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะ แต่ว่าในบางกรณีตทาลัมพนะควรจะต้องเกิด แต่ก็เกิดไม่ได้ จำต้องมีสิ่งอื่นมาเกิด แทน สิ่งที่มาเกิดแทนนั้นมีชื่อเรียกว่า อาคันตุกภวังค และก็มีข้อจำกัดว่าในกรณีใดบ้างที่จะต้องมี หรือไม่มี อาคันตุกภวังค ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ อาคันตุกภวังค อาคันตุกภวังค แปลว่า ภวังคที่จรมา ภวังคที่แปลกหน้ามา มีความหมายว่า ไม่ใช่ภวังคเดิม ที่เป็นองค์แห่งภพของสัตว์นั้น ๆ แต่ว่าเป็นภวังคหน้าใหม่จรมา ที่จะต้องมีอาคันตุกภวังค ก็เพราะจิตที่เกิดก่อนเป็นโทมนัสเวทนาจิตที่เกิด ทีหลังจะต้องเป็นโสมนัสเวทนา แต่ว่าโสมนัสเวทนาจะเกิดติดต่อกับโทมนัสเวทนา ไม่ได้ เพราะความรู้สึกนั้นตรงกันข้ามทีเดียว อุปมาดุจคนร้องไห้ จะหัวเราะ ในทันทีทันใดนั้นไม่ได้ ต้องหยุดร้องไห้เสียก่อนชั่วขณะแม้เพียงขณะน้อยนิดเดียว ต่อมาภายหลังจึงจะหัวเราะได้ ในวิถีจิต จิตที่เกิดก่อนเป็นโทมนัสเวทนาก็มีอยู่แห่งเดียว คือที่ชวนจิต ได้แก่ โทสชวนะ ต่อจากโทสชวนจิตก็เป็นตทาลัมพนะหรือภวังค ซึ่งถ้าหากว่าตามสภาวะ จะต้องเป็นโสมนัสเวทนาแล้ว โสมนัสตทาลัมพนะ หรือโสมนัสภวังคนั้นก็จะเกิดต่อจากโทสชวนะที่เป็นโทมนัสเวทนานั้นไม่ได้ จำต้องเกิดจากอาคันตุกภวังค ซึ่ง อาคันตุกภวังคนี้เป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว หน้า ๕๔ ๑. ในอติมหันตารมณ์วิถี ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้ จำต้องมีอาคันตุกภวังคเกิด มาแทนนั้น ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ก. ชวนะนั้นต้องเป็นโทสชวนะ ข. อารมณ์นั้นต้องเป็นอติอิฏฐารมณ์ ค. บุคคลนั้นต้องปฏิสนธิมาด้วย โสมนัสมหาวิบาก โสมนัสปฏิสนธิ อติอิฏฐารมณ์ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ต้องมีอาคันตุกภวังค ภวังคเดิมเป็นโสมนัส ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช อา ภ ๒. แม้ว่าชวนะนั้นจะเป็นโทสชวนะก็ดี แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ ถึงบุคคลนั้นจะปฏิสนธิมาด้วยโสมนัสมหาวิบากก็ตาม ตทาลัมพนะก็ เกิดได้ ไม่ต้องมีอาคันตุกภวังค เพราะเมื่ออารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์แล้ว ตทาลัมพนะก็เป็น อุเบกขาเวทนา จึงเกิดติดต่อกับโทมนัสเวทนาได้ โสมนัสปฏิสนธิ , อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ตทาลัมพนะเกิดได้ , อุเบกขา ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต ๓. แม้ว่าชวนะนั้นเป็นโทสชวนะก็ดี และทั้งอารมณ์ก็เป็น อติอิฏฐารมณ์ก็ดี แต่ถ้าบุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วยอุเบกขาเวทนาแล้ว ถึงตทาลัมพนะจะเกิดไม่ได้ก็จริง แต่ภวังคเดิมซึ่งต้องเป็นอุเบกขาเวทนา ก็เกิดติดต่อกับโทสชวนะ อันมีเวทนาเป็น โทมนัสได้ ไม่ต้องมีอาคันตุกภวังค หน้า ๕๕ อุเบกขาปฏิสนธิ , อติอิฏฐารมณ์ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ภวังคเดิมเกิดได้ , อุเบกขาเวทนา ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ภ ๔. ในมหันตารมณ์วิถี ภวังคเดิมเกิดไม่ได้ จำต้องมีอาคันตุกภวังคเกิดมาแทน นั้น ต้องพร้อมด้วยองค์ เพียง ๒ ประการเท่านั้น คือ ก. ชวนะนั้น ต้องเป็นโทสชวนะ ข. บุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วย โสมนัสมหาวิบาก โสมนัสปฏิสนธิ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ต้องมีอาคันตุกภวังค เป็นอุเบกขาเวทนา ภวังคเดิมเป็นโสมนัส ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช อา ภ ๕. แม้ว่าชวนะนั้นเป็นโทสชวนะก็ตาม แต่ถ้าบุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วย อุเบกขาเวทนาแล้ว ภวังคเดิมซึ่งเป็นอุเบกขาก็เกิดติดต่อกับโทสชวนะนั้นได้ ไม่ ต้องมีอาคันตุกภวังค อุเบกขาปฏิสนธิ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ภวังคเดิมเกิดได้ , อุเบกขาเวทนา ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ภ ๖. ในมโนทวารวิถี วิถีใดจะต้องมีอาคันตุกภวังค หรือไม่นั้น มีสิ่งที่จะต้อง พิจารณาเช่นเดียวกันกับทาง ปัญจทวารวิถี กล่าวคือในวิภูตารมณ์วิถี เป็นทำนองเดียวกันกับอติมหันตารมณ์วิถี ในอวิภูตารมณ์วิถี ก็เป็นทำนองเดียวกับ มหันตารมณ์วิถี ตามที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นนั้นทุกประการ หน้า ๕๖ ชวนนิยม ชวนนิยม แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของชวนะ มีความหมายในที่นี้ว่า ชวนจิตอย่างใดมีจำกัดว่าเกิดได้กี่ขณะ ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า ๘. สตฺตกฺขตฺตุํ ปริตฺตานิ มคฺคาภิญฺญา สกึ มตา อวเสสานิ ลพฺภนฺติ ชวนา พหูนิปิ ฯ แปลความว่า ท่านกล่าวว่ากามชวนะเกิดเพียง ๗ ขณะ มัคคชวนะ อภิญญาชวนะ เกิดเพียงขณะเดียว ชวนะที่เหลือนอกจากนี้ แม้หลาย ๆ ขณะก็เกิดได้ แสดงรายละเอียด ชวนจิตที่เกิด ๑ ขณะ ได้แก่จิต ๒๖ ดวง คือ ก. มหัคคตกุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี ข. มหัคคตกิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี ค. อภิญญาชวนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในอภิญญาวิถี ง. มัคคชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถี จ. อนาคามิผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ ฉ. อรหัตตผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ ชวนจิตที่เกิด ๒ ขณะ ได้แก่จิต ๖ ดวง คือ ก. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้านิโรธสมาบัติ ข. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของมันทบุคคล ชวนจิตที่เกิด ๓ ขณะ ได้แก่จิต ๑๒ ดวง คือ ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล ค. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของติกขบุคคล ชวนจิตที่เกิด ๔ ขณะ ได้แก่จิต ๘ ดวง คือ ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล หน้า ๕๗ อนึ่งมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจเวกขณวิถี) เมื่อสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น ก็เกิดเพียง ๔ ขณะ เพราะต้อง กระทำกิจนั้นโดยเร็วที่สุด ชวนจิตที่เกิด ๕ ขณะ ได้แก่จิต ๒๘ ดวง คือ กามชวนะ ๒๘ (เว้นหสิตุปปาทะ) ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถี คือ วิถีที่จะจุติ อนึ่งบางแห่งกล่าวว่า ชวนจิตที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล(ใกล้ตาย), มุจฉา กาล(ขณะหลง), วิสัญญีภูตกาล(ขณะสลบ), อติตรุณกาล(ขณะที่กัมมชรูปมีกำลัง อ่อนมาก) เหล่านี้ ชวนะก็เกิด ๕ ขณะ และมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจ เวกขณวิถี) เมื่อพระสาวกแสดงอิทธิฤทธิซึ่งเกี่ยวกับกรณีพิเศษชวนะก็เกิด ๕ ขณะ เหมือนกัน ชวนจิตที่เกิด ๖ ขณะ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นในเวลาสลบ อนึ่ง บางแห่งกล่าวว่า ในเวลาร่างกายเป็นปกติ กามชวนะ ๒๙ ดวงนั้น อาจจะเกิดเพียง ๖ ขณะ ก็มีได้ ชวนจิตที่เกิด ๗ ขณะ ได้แก่จิต ๒๙ ดวง คือ กามชวนะ ๒๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ ชวนจิตที่เกิดมากกว่า ๗ ขณะขึ้นไป ได้แก่จิต ๒๒ ดวง คือ ก. มหัคคต กุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ ข. มหัคคต กิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ ค. ผลจิต ๔ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ผลสมาบัติ บุคคล ๑๒ ประเภทของบุคคล ท่านจัดไว้เป็น ๑๒ คือ ปุถุชน ๔ อริยบุคคล ๘ ปุถุชน ๔ ได้แก่ ทุคคติอเหตุกบุคคล สุคติอเหตุกบุคคล ทวิเหตุกบุคคล ติเหตุกบุคคล หน้า ๕๘ อริยบุคคล ๘ ได้แก่ โสดาปัตติมัคคบุคคล สกทาคามิมัคคบุคคล อนาคามิมัคคบุคคล อรหัตตมัคคบุคคล มัคคบุคคล ๔ โสดาปัตติผลบุคคล สกทาคามิผลบุคคล อนาคามิผลบุคคล อรหัตตผลบุคคล ผลบุคคล ๔ ทุคคติอเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ บุคคลในอบายภูมิรวม ๔ ภูมิคือ นรก ๑ ภูมิ เปรต ๑ ภูมิ อสุรกาย ๑ ภูมิ และสัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ สัตว์ทั้ง ๔ นี้ ปฏิสนธิด้วย อุเบกขาสันตีรณอกุสลวิบาก ๑ ดวง สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ มนุษย์ผู้ หูหนวก ตาบอด เป็นบ้า เป็นใบ้ พิกลพิการต่าง ๆ ๑ ภูมิ และเทวดาบางจำพวกในชั้นจาตุมหาราชิกา ๑ ภูมิ สัตว์ใน ๒ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง ทวิเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดาทั้ง ๖ ภูมิ (รวมเรียกว่า กาม สุคติภูมิ ๗) ผู้ไม่มีปัญญา สัตว์ใน ๗ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง ติเหตุกบุคคล ๙ ได้แก่ ปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๘ ปุถุชน ๑ ได้แก่ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๐ ภูมิ (เว้น สุทธาวาส ๕ ภูมิ อสัญญสัตต ๑ ภูมิ) และอรูปพรหม ๔ ภูมิ รวมเป็น ๒๑ ภูมิ ด้วยกัน เป็นสัตว์ผู้มีปัญญาทั้งนั้นซึ่งปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง อริยบุคคล ๘ ได้แก่ มัคคบุคคล ๔ ผลบุคคล ๔ ในมนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๕ ภูมิ (เว้น อสัญญสัตต ๑ ภูมิ) และอรูปพรหม ๔ ภูมิ สัตว์ใน ๒๖ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง เพื่อให้เห็นได้ชัดว่า อริยบุคคล ๘ นั้น บุคคลใดมีได้ในภูมิใดบ้าง ขอแสดง ดังนี้ หน้า ๕๙ โสดาปัตติมัคคบุคคล ๑ บุคคลนี้มีได้ ๑๗ ภูมิ คือ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๐ ภูมิ บุคคลนี้มีไม่ได้ใน ๑๔ ภูมิ คือ อบาย ๔ ภูมิ สุทธาวาส ๕ ภูมิ อสัญญสัตต ๑ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ โสดาปัตติผลบุคคล ๑ สกทาคามิมัคคบุคคล ๑ สกทาคามิผลบุคคล ๑ อนาคามิมัคคบุคคล ๑ บุคคลทั้ง ๔ นี้ มีได้ใน ๒๑ ภูมิ คือ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๐ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ บุคคลทั้ง ๔ นี้ มีไม่ได้ใน ๑๐ ภูมิ คือ อบาย ๔ ภูมิ สุทธาวาส ๕ ภูมิ อสัญญสัตต ๑ ภูมิ อนาคามิผลบุคคล ๑ อรหัตตมัคคบุคคล ๑ อรหัตตผลบุคคล ๑ บุคคลทั้ง ๓ นี้ มีได้ใน ๒๖ ภูมิ คือ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๕ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ บุคคลทั้ง ๔ นี้ มีไม่ได้ใน ๕ ภูมิ คือ อบาย ๔ ภูมิ อสัญญสัตต ๑ ภูมิ หน้า ๖๐ จิตที่ไม่มีในบุคคลบางจำพวก บุคคลบางจำพวก ไม่มีจิตบางประเภทเลย มีสำนวนเก่าท่านกล่าวไว้ ซึ่งถ้าได้ พิจารณาแล้ว ก็พอจะเข้าใจได้ จึงเห็นว่าควรจะคงสำนวนนั้นไว้ โดยไม่เปลี่ยนแปลง แก้ไขเลย ดังมีข้อความต่อไปนี้ สัตว์ที่เป็นอเหตุก และ ทวิเหตุกนั้น เป็นสัตว์บุญน้อย ไม่ได้สำเร็จกิริยาชวนะ ( ชวนะจิตของพระอรหันต์ ) และ อัปปนาชวนะ ( หมายถึงสัตว์ที่เป็นอเหตุก และ ทวิเหตุกนั้น ไม่สามารถทำฌาน และบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ ในชาติที่ปฏิสนธิด้วย อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง และ มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง นั้น ) ถึงเกิดในสุคติ จิตที่เป็นกามาวจรวิบากญาณสัมปยุตตก็ไม่มีในสันดาน ถ้าเป็นอเหตุกสัตว์ในทุคคติแล้ว ก็ยิ่งชั่วร้อยเท่าพันทวี แม้แต่จิตที่เป็นมหา วิบากญาณวิปปยุตต ก็ไม่มีในสันดาน ท่านที่เป็นติเหตุกหรือ ไตรเหตุ มีไตรเหตุเกิดพร้อมด้วยปฏิสนธิจิตนั้น ถ้าบำเพ็ญพระกัมมัฏฐาน ก็จะได้สำเร็จเป็นพระขีณาสพ ขาดจากกุสลชวนะ และอกุสลชวนะ มีแต่ กิริยาชวนะ และอรหัตตชวนะ ปุถุชนที่เป็นติเหตุกหรือไตรเหตุ ยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ไม่มีกิริยาชวนะในสันดาน โลภชวนะที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหสัมปยุตตวิจิกิจฉา และกิริยา ชวนะก็ดี ย่อมไม่มีในสันดานแห่งเสกขบุคคลคือ พระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี พระอนาคามีบุคคลนั้น ในสันดานไม่มีปฏิฆชวนะ และกิริยาชวนะ และโลภ ชวนทิฏฐิสัมปยุตต และโมหชวนวิจิกิจฉาสัมปยุตต โลกุตตรชวนะนั้น มีกำหนดเกิดเป็นส่วน ๆ กัน โสดาปัตติชวนะนั้น จำเพาะ มีในสันดานพระโสดาบัน ครั้นถึงพระสกทาคามีแล้ว โสดาปัตติชวนะก็ขาดไป มีแต่สกทาคามีชวนะในสันดาน ครั้นได้อนาคามีแล้ว สกทาคามีชวนะก็ขาดไป มีแต่ อนาคามีชวนะ ครั้นได้อรหัตตแล้ว อนาคามีชวนะก็ขาดไป มีแต่อรหัตตชวนะอยู่ใน สันดาน วิถีจิตของบุคคล บุคคลทั้ง ๑๒ (ปุถุชน ๔, อริยบุคคล ๘)นั้น บุคคลใดมี วิถีจิต ได้เท่าใด ท่านได้แสดงไว้เป็นส่วนรวม ดังมีคาถา สังหคะเป็นคาถาที่ ๙ แสดงไว้ว่า ๙. อเสกฺขานํ จตุจตฺตา- ฬีส เสกฺขาน มุทฺทิเส ฉปญฺญาสาว เสสานํ จตุปญฺญาส สมฺภวา ฯ แปลความว่า อเสกขบุคคล มีวิถีจิต ๔๔ เสกขบุคคล มีวิถีจิต ๕๖ บุคคลนอกนั้น มีวิถีจิต ๕๔ หน้า ๖๑ อธิบาย อเสกขบุคคล คือบุคคลที่ไม่ต้องศึกษาอีกแล้ว หมายถึงพระอรหันต์ มีวิถีจิต ๔๔ คือ อเหตุกจิต ๑๘ มหากิริยา ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกิริยา ๙ อรหัตตผล ๑ ที่มีวิถีจิต ๔๔ นี้ หมายถึง พระอรหันต์อยู่ในกามภูมิ และได้ฌานทั้งรูปฌาน และอรูปฌานด้วย เสกขบุคคล คือ บุคคลที่ยังต้องศึกษาต่อไปอีก หมายถึง พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี มีวิถีจิต ๕๖ คือ อกุสลจิต ๗ (เว้นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉา ๑) อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นหสิตุปปาทะ) มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกุสล ๙ โลกุตตรจิต ๗ (เว้นอรหัตตผล) ที่มีวิถีจิต ๕๖ นี้กล่าวเป็นส่วนรวมทั้ง ๗ บุคคล เว้นแต่อรหัตตผลบุคคล บุคคลเดียวเท่านั้น บุคคลนอกนั้นคือ บุคคลที่นอกจากพระอริยะทั้ง ๘ หมายถึง บุคคลที่ยังเป็น ปุถุชนอยู่ และอยู่ในกามภูมิ มีวิถีจิต ๕๔ คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นหสิตุปปาทะ) มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกุสล ๙ หน้า ๖๒ ขยายความ เพื่อให้เห็นได้ชัดเป็นรายบุคคล ว่าแต่ละบุคคลมี วิถีจิต และประเภทจิตที่ไม่ สามารถจะมีได้นั้นเท่าใด อะไรบ้าง จึงขอแสดงดังต่อไปนี้ ทุคคติบุคคล ได้วิถีจิต ๓๗ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๕๒ ดวง คือ อกุสล ๑๒ อเหตุก ๑๗ มหากุสล ๘ หสิตุปปาทะ ๑ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตร ๘ สุคติบุคคล และ ทวิเหตุกบุคคล ได้วิถีจิต ๔๑ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๔๘ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหากุสลจิต ๘ มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ หสิตุปปาทะ ๑ มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ มหากิริยา ๘ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตร ๘ ติเหตุกปุถุชน (กามบุคคล) ได้วิถีจิต ๕๔ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๓๕ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหากุสลจิต ๘ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตกุสลจิต ๙ หสิตุปปาทะ ๑ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๘ หน้า ๖๓ โสดาบัน และ สกทาคามิบุคคล (กามบุคคล) ได้วิถีจิต ๕๐ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๓๙ ดวง คือ โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ โทสมูลจิต ๒ อุทธัจจสหคตจิต ๑ อเหตุกจิต ๑๗ มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกุสล ๙ โสดาปัตติผล หรือ สกทาคามิผล ๑ โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ หสิตุปปาทะ ๑ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต อีก ๗ อนาคามิบุคคล (กามบุคคล) ได้วิถีจิต ๔๘ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๔๑ ดวง คือ โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ อุทธัจจสหคตจิต ๑ อเหตุกจิต ๑๗ มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกุสล ๙ อนาคามิผล ๑ โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ โทสมูลจิต ๒ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ หสิตุปปาทะ ๑ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต อีก ๗ หน้า ๖๔ อรหัตตบุคคล (กามบุคคล) ได้วิถีจิต ๔๔ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๔๕ ดวง คือ อเหตุกจิต ๑๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตกิริยา ๙ อรหัตตผล ๑ อกุสล ๑๒ มหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ มหัคคตวิบาก ๙ โลกุตตรจิต อีก ๗ พรหมปุถุชน ในปฐมฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ และ จตุตถฌาน เฉพาะ เวหัปผลาภูมิ ๑ ใน ๗ ภูมินี้ มีจิตได้ ๓๙ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๕๐ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๑ มหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ ปฐมฌานวิบาก หรือ จตุตถฌานวิบาก หรือ ๑ ปัญจมฌานวิบาก โทสมูลจิต ๒ ฆาน ชิวหา กาย ๖ หสิตุปปาทะ ๑ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก อีก ๘ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๘ พรหมปุถุชน ใน ทุติยฌานภูมิ ๓ ใน ๓ ภูมินี้ มีจิตได้ ๔๐ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๔๙ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๑ มหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ ทุติยฌานวิบาก ๑ ตติยฌานวิบาก ๑ โทสมูลจิต ๒ ฆาน ชิวหา กาย ๖ หสิตุปปาทะ ๑ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก อีก ๗ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๘ หน้า ๖๕ พรหมอนาคามี ใน สุทธาวาส ๕ ภูมิ ใน ๕ ภูมินี้ มีจิตได้ ๓๕ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๕๔ ดวง คือ โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ อุทธัจจสหคตจิต ๑ อเหตุกจิต ๑๑ มหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ ปัญจมฌานวิบาก ๑ อนาคามิผล ๑ โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ โทสมูลจิต ๒ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ ฆาน ชิวหา กาย ๖ หสิตุปปาทะ ๑ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตวิบาก อีก ๘ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๗ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ในรูปพรหมชั้นอื่น ๆ คือ ใน ปฐมฌานภูมิ ๓ ในทุติยฌานภูมิ ๓ ในตติยฌานภูมิ ๓ และในจตุตถฌานภูมิ เฉพาะเวหัปผลาภูมิ ๑ รวม ๑๐ ภูมินั้น ก็มีจิตได้ ๓๕ ดวง เท่ากับพรหมอนาคามี ในสุทธาวาสภูมินี้ เพียงแต่ ก. เปลี่ยนปัญจมฌานวิบาก เป็น ปฐมฌานวิบาก ทุติยฌานวิบาก ตติยฌาน วิบาก หรือ จตุตถฌานวิบากให้ตรงตามที่ได้ที่ถึง ข. เปลี่ยน อนาคามิผลเป็น โสดาปัตติผล สกทาคามิผล หรือคงเป็นอนาคามิ ผล ให้ตรงตามที่ได้บรรลุอริยผลชั้นนั้น ๆ พรหมอรหันต์ ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ใน ๕ ภูมินี้ มีจิตได้ ๓๑ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๕๘ ดวง คือ อเหตุกจิต ๑๒ มหากิริยา ๘ มหัคคตกิริยา ๙ ปัญจมฌานวิบาก ๑ อรหัตตผล ๑ อกุสล ๑๒ ฆาน ชิวหา กาย ๖ มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตกุสล ๙ มหัคคตวิบาก อีก ๘ โลกุตตรจิต อีก ๗ พระอรหันต์ในรูปพรหมชั้นอื่น ๆ ก็มีจำนวนจิตเท่ากันนี้ เพียงแต่เปลี่ยน ปัญจมฌานวิบาก เป็น ปฐมฌานวิบาก ทุติยฌานวิบาก ตติยฌานวิบาก หรือ จตุตถ ฌานวิบาก ให้ตรงตามที่ได้ที่ถึง หน้า ๖๖ อรูปพรหมปุถุชน ในอากาสานัญจายตนภูมิ ในภูมินี้ มีจิตได้ ๒๔ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๖๕ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุสล ๘ อรูปกุสล ๔ อากาสานัญจายตนวิบาก ๑ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปวิบาก อีก ๓ อรูปกิริยา ๔ โลกุตตรจิต ๘ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ที่เป็นอากาสานัญจายตน พรหม มีจิตได้เพียง ๒๐ ดวง และประเภทจิตที่ไม่มี ๖๙ ดวง โดยต้องเพิ่มหรือลด ดังนี้ ก. ทางฝ่ายจิตที่มีได้ ต้องเพิ่มโสดาปัตติผล หรือสกทาคามิผล หรืออนาคามิ ผล ขึ้น ๑ ดวง แล้วแต่ว่าบรรลุผลจิตชั้นใด และต้องหักโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ รวม ๕ ดวง ออกเสียด้วย คงเป็น ๒๔+๑-๕ เท่ากับ ๒๐ ดวง ข. ทางฝ่ายประเภทจิตที่ไม่มี ต้องเพิ่มโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต๔ วิจิกิจฉาสหคต จิต ๑ รวม ๕ ดวง และต้องลดโลกุตตรจิตออกเสีย ๑ ดวง คงเป็น ๖๕+๕-๑ เท่ากับ ๖๙ ดวง หน้า ๖๗ อรูปพรหมปุถุชน ในวิญญาณัญจายตนภูมิ ในภูมินี้ มีจิตได้ ๒๓ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๖๖ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุสล ๘ อรูปกุสล ๓ วิญญาณัญจายตนวิบาก ๑ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อากาสานัญจายตนกุสลจิต ๑ อรูปวิบาก อีก ๓ อรูปกิริยา ๔ โลกุตตรจิต ๘ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ พระอนาคามี ที่เป็นวิญญาณัญจายตน พรหม มีจิตได้เพียง ๑๙ ดวง และประเภทจิตที่ไม่มี ๗๐ ดวง ต้องเพิ่มหรือลด ดังนี้ ก. ทางฝ่ายจิตที่มีได้ ต้องเพิ่มโสดาปัตติผล หรือสกทาคามีผล หรือ อนาคามี ผล ขึ้น ๑ ดวง แล้วแต่ว่าบรรลุผลจิตชั้นใด และต้องหักโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ รวม ๕ ดวงออกเสียด้วย คงเป็น ๒๓+๑-๕ เท่ากับ ๑๙ ดวง ข. ทางฝ่ายประเภทจิตที่ไม่มี ต้องเพิ่มโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉา สหคตจิต ๑ รวมเพิ่ม ๕ ดวง และต้องลดโลกุตตรจิตออกเสีย ๑ ดวง คงเป็น ๖๖+๕-๑ เท่ากับ ๗๐ ดวง อรูปพรหมปุถุชน ในอากิญจัญญายตนภูมิ ในภูมินี้ มีจิตได้ ๒๒ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๖๗ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุสล ๘ อากิญจัญญายตนกุสล ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนกุสล ๑ อากิญจัญญายตนวิบาก ๑ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อากาสานัญจายตนกุสล ๑ วิญญาณัญจายตนกุสล ๑ อรูปวิบาก อีก ๓ อรูปกิริยา ๔ โลกุตตรจิต ๘ พระเสกขบุคคล ๓ ที่เป็นอากิญจัญญายตนพรหม มีจิตได้เพียง ๑๘ ดวง และประเภทจิตที่ไม่มี ๗๑ ดวง ทั้งนี้ต้องเพิ่มหรือลด ดังนี้ ก. ทางฝ่ายจิตที่มีได้ ต้องเพิ่ม โสดาปัตติผล หรือ สกทาคามิผล หรือ อนาคา มิผล ขึ้น ๑ ดวง แล้วแต่ว่า บรรลุผลจิตชั้นใด และต้องหักโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ รวม ๕ ดวงออกเสียด้วยคงเป็น ๒๒+๑-๕ เท่ากับ ๑๘ ดวง ข. ทางฝ่ายประเภทจิตที่ไม่มี ต้องเพิ่มโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉา สหคตจิต ๑ รวมเพิ่ม ๕ ดวง และต้องลดโลกุตตรจิตออกเสีย ๑ ดวง คงเป็น ๖๗+๕-๑ เท่ากับ ๗๑ ดวง หน้า ๖๘ อรูปพรหมปุถุชน ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ในภูมินี้ มีจิตได้ ๒๑ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๖๘ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุสล ๘ เนวสัญญานาสัญญายตนกุสล ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ๑ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปกุสล อีก ๓ อรูปวิบาก อีก ๓ อรูปกิริยา ๔ โลกุตตรจิต ๘ พระเสกขบุคคล ที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม มีจิตได้เพียง ๑๗ ดวง เท่านั้น และประเภทจิตที่ไม่มี ๗๒ ดวง ทั้งนี้ต้องเพิ่ม หรือลด ดังนี้ ก. ทางฝ่ายจิตที่มีได้ ต้องเพิ่มโสดาปัตติผล หรือ สกทาคามิผล หรือ อนาคา มิผล ขึ้น ๑ ดวง แล้วแต่ว่าบรรลุผลจิตชั้นใด และต้องหักโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ รวม ๕ ดวง ออกเสียด้วย คงเป็น ๒๑+๑-๕ เท่ากับ ๑๗ ข. ทางฝ่ายประเภทจิตที่ไม่มี ต้องเพิ่มโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ วิจิกิจฉา สหคตจิต ๑ รวมเพิ่ม ๕ ดวง และต้องลดโลกุตตรจิตออกเสีย ๑ ดวง คงเป็น ๖๘+๕-๑ เท่ากับ ๗๒ พระอรหันต์ ในอากาสานัญจายตนภูมิ มีจิตเกิดได้ ๑๕ ดวง คือ ประเภทจิตที่ไม่มี ๗๔ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากิริยา ๘ อรูปกิริยา ๔ อากาสานัญจายตนวิบาก ๑ อรหัตตผล ๑ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปกุสล ๔ อรูปวิบาก อีก ๓ โลกุตตรจิต อีก ๗ หน้า ๖๙ พระอรหันต์ ในวิญญาณัญจายตนภูมินั้น ประเภทจิตที่เกิดได้ต้องหักอรูปกิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ออกเสีย ๑ และเปลี่ยน อากาสานัญจายตนวิบาก เป็นวิญญาณัญจายตนวิบาก คงเหลือจิตที่เกิดได้ ๑๔ ดวง ส่วนประเภทจิตที่ไม่มี ก็ต้องเพิ่มอรูปกิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ๑ รวมเป็น ๗๕ ดวง ด้วยกัน พระอรหันต์ ในอากิญจัญญายตนภูมินั้น ประเภทจิตที่เกิดได้ ต้องหัก อรูป กิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑ รวม ๒ ดวง ออกเสีย และเปลี่ยนอากาสานัญจายตนวิบาก เป็นอากิญจัญญายตนวิบากคงเหลือ จิตที่เกิดได้ ๑๓ ดวง ส่วนประเภทจิตที่ไม่มี ก็ต้องเพิ่มอรูปกิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑ รวมเพิ่ม ๒ เป็น ๗๖ พระอรหันต์ ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้น ประเภทจิตที่เกิดได้ ต้องหัก อรูปกิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑ และ อากิญ จัญญายตนกิริยา ๑ รวม ๓ ดวง ออกเสีย และเปลี่ยนอากาสานัญจายตนวิบาก เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก คงเหลือจิตที่เกิดได้ ๑๒ ดวง ส่วนประเภทจิตที่ไม่มี ก็ต้องเพิ่มอรูปกิริยา คือ อากาสานัญจายตนกิริยา ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑ และ อากิญจัญญายตนกิริยา ๑ รวมเพิ่ม ๓ จึงเป็น ๗๗ อนึ่ง ที่ต้องลดจิตของอรูปชั้นต่ำออกเสียนั้น เพราะเหตุว่าในอรูปพรหมชั้นสูง ได้ก้าวล่วงอารมณ์ของอรูปชั้นต่ำเสียแล้ว ดังนั้นอารมณ์ในอรูปชั้นต่ำจึงไม่มี ที่จะได้ เป็นปัจจัยให้แก่อรูปพรหมชั้นสูง วิถีจิตตามภูมิ ภูมิ อันเป็นชั้นที่อยู่แห่งสัตว์นั้น ในที่นี้จำแนกเพียง ๓ ภูมิ คือ กามภูมิ ๑ รูปภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๑ เมื่อกล่าวโดยส่วนรวมทั้ง ๓ ภูมิแล้ว ในภูมิใดมีวิถีจิตเกิดได้เท่าใดนั้น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๐ แสดงว่า ๑๐. อสีติ วิถีจิตฺตานิ กาเม รูเป ยถารหํ จตุสฏฺฐี ตถารูเป เทวฺจตฺตาฬีส ลพฺภเร ฯ แปลความว่า กามภูมิ มีวิถีจิต ๘๐ รูปภูมิ มีวิถีจิต ๖๔ อรูปภูมิ มีวิถีจิต ๔๒ มีรายละเอียดดังนี้ หน้า ๗๐ กามภูมิ ๑๑ มีวิถีจิต ๘๐ คือ ไม่มีจิต ๙ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ มหัคคตกุสล ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๘ มหัคคตวิบาก ๙ รูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีวิถีจิต ๖๔ คือ ไม่มีจิต ๒๕ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๒ มหากุสล ๘ มหากิริยา ๘ มหัคคตกุสล ๙ มหัคคตกิริยา ๙ โลกุตตรจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙ หน้า ๗๑ อรูปภูมิ ๔ มีวิถีจิต ๔๒ คือ ไม่มีจิต ๔๗ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุสล ๘ มหากิริยา ๘ อรูปกุสล ๔ อรูปกิริยา ๔ โลกุตตรจิต ๗ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ มหาวิบากจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปวิบาก ๔ โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ข้อความส่งท้าย วิถีจิต คือ ลำดับความเป็นไปของจิตตามทวารทั้ง ๖ ย่อมเกิดขึ้นรับอารมณ์ ใหม่ และเป็นไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ตลอดเวลา ไม่ขาดสายจนตลอดชีวิตแห่งสัตว์ นั้น เมื่อสิ้นสุดวิถีจิตแต่ละวิถี ต้องมีภวังคจิตเกิดมาคั่นไว้ชั่วระยะหนึ่งก่อน แล้ว จึงจะเริ่มเป็นวิถีจิตต่อไปใหม่ ภวังคจิตที่เกิดมาคั่นแต่ละวิถีนี้ มีจำนวนไม่เท่ากัน หลังวิถีจิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเกิดภวังคเพียง ๒ ขณะ พระสารีบุตร ย่อมเกิดเพียง ๑๖ ขณะ แต่ทว่าสัตว์อื่นทั้งหลายนั้นเกิดมากจนไม่อาจ นับได้ อนึ่งสัตว์ที่เกิดในโลกทั้งปวง ถ้าปราศจากประสาทแห่งทวารใดแล้ว ก็ปราศ จากจิตที่เกิดทางทวารนั้น ๆ สัตว์ที่เกิดเป็นอสัญญสัตตพรหมนั้นไม่มีจิต จิตปวัตติ คือ ความเป็นของ จิตวิถีจิตจึงไม่มี จิตระงับสงบอยู่ถึง ๕๐๐ มหากัปป์ ต่อเมื่อจุติจากอสัญญีภพแล้ว จึงประพฤติเป็นไปในภพทั้ง ๓ หน้า ๗๒ อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๔ อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห จตุตฺโถ ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ นี่ปริจเฉทที่ ๔ ( ชื่อ วิถีสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรมที่พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อเพียงเท่านี้แล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น