วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าคู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค เจตสิกปรมัตถ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส เจตสิก ๕๒ อัญญสมนาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ โมจตุกเจตสิก ๔ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ผัสสะ โมหะ สัทธา เวทนา อหิริกะ สติ สัญญา อโนตตัปปะ หิริ เจตนา อุทธัจจะ โอตตัปปะ เอกัคคตา โลติกเจตสิก ๓ อโลภะ ชีวิตินทรีย์ โลภะ อโทสะ มนสิการ ทิฏฐิ ตัตรมัชฌัตตตา ปกิณณกเจตสิก ๖ มานะ กายปัสสัทธิ , จิตตปัสสัทธิ วิตก โทจตุกเจตสิก ๔ กายลหุตา , จิตตลหุตา วิจาร โทสะ กายมุทุตา , จิตตมุทุตา อธิโมกข์ อิสสา กายกัมมัญญตา , จิตตกัมมัญญตา วิริยะ มัจฉริยะ กายปาคุญญตา , จิตตปาคุญญตา ปีติ กุกกุจจะ กายุชุกตา , จิตตุชุกตา ฉันทะ ถีทุกเจตสิก ๒ วีรตีเจตสิก ๓ ถีนะ สัมมาวาจา มิทธะ สัมมากัมมันตะ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวะ วิจิกิจฉา อัปปมัญญาเจตสิก ๒ กรุณา มุทิตา ปัญญาเจตสิก ๑ ปัญญินทรีย์ หน้า ๒ เจตสิกปรมัตถนี้ ตามพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้นั้น ท่านจัดเป็นปริจเฉทที่ ๒ ให้ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค อันแปลว่าส่วนที่รวบรวมเรื่องเจตสิก เจตสิกสังคหวิภาคนี้ ท่านประพันธ์ไว้เป็นคาถาสังคหะรวม ๒๕ คาถา ดังจะแสดงตามลำดับต่อไปจนครบทั้ง ๒๕ คาถา เจตสิกคืออะไร เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการคือ เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุเดียวกับจิต ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า ๑. เอกุปฺปาทนิโรธา จ เอกาลมฺพณ วตฺถุกา เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส ธมฺมา เจตสิกา มตา แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง หน้า ๓ เจตสิกมี ลักษณะ ( คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง ) , รสะ ( กิจการงาน หรือหน้าที่ ) , ปัจจุปัฏฐาน ( อาการปรากฏ หรือ ผล ) , ปทัฏฐาน ( เหตุใกล้ให้เกิด ) เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก ลักขณาทิจตุกะ นั้น ดังนี้ จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ อาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ อวิโยคุปฺปาทนรสํ เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นผล จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ มีการเกิดขึ้นแห่งจิต เป็นเหตุใกล้ อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด เจตสิกทั้ง ๕๒ แบ่งเป็น ๓ ประเภท เจตสิกทั้งหมด มีจำนวน ๕๒ ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ถึงกระนั้นก็ยังแบ่งเจตสิก ๕๒ ดวงนี้ ได้เป็น ๓ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า คาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า ๒. เตรสญฺญสมานา จ จุทฺทสากุสลา ตถา โสภณา ปญฺจวีสาติ ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๔ ประเภท คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง โสภณเจตสิก ๑๕ ดวง หน้า ๔ อัญญสมานาเจตสิก อัญญสมานาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เสมอเหมือนกับสภาพอื่นได้ หมายความว่าเป็นเจตสิกที่ประกอบกับธรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล หรือเป็นอพยากตะได้ทุกชนิด เมื่อประกอบกับธรรมชนิดใด ก็มีสภาพเป็นชนิดนั้นไปด้วย กล่าวคือถ้าเกิดร่วมกับ อกุศลก็นับเป็นอกุศลไปด้วย ถ้าเกิดร่วมกับกุศล ก็จัดเป็นกุศลไปด้วย เมื่อเกิดร่วมกับอพยากตะ ก็เรียกว่าเป็นอพยากตะไปด้วย อัญญสมานาเจตสิก มีจำนวน ๑๓ ดวง ชื่ออะไรบ้าง มีแจ้งอยู่ที่หน้าต้นนั้นแล้ว ในจำนวน ๑๓ ดวงนี้ ยังจัดออกได้เป็น ๒ พวก คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มีจำนวน ๗ ดวง ปกิณณกเจตสิก มีจำนวน ๖ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิก สัพพจิตสาธารณเจตสิก เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมดหมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน นับอย่างย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็มี ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อจิตดวงใดเกิดขึ้น เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนี้ ย่อมเกิดประกอบกับจิตนั้นพร้อมกันทั้ง ๗ ดวงเสมอไป ไม่มีเว้นเลย ดังนั้นจึงว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมด สมกับชื่อที่ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้ หน้า ๕ ผัสสเจตสิก ๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ สงฺฆฏฏฺนรโส มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้ ความหมายของผัสสเจตสิกนี้ ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก ธรรม ๓ ประการนั้น คือ อารมณ์ ๑ วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิดวิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ เวทนาเจตสิก ๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่ ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ หน้า ๖ สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้ ข. ทุกขเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ยากลำบากกาย มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา มีความอาพาธทางกาย เป็นผล กายินฺทริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้ ค. โสมนัสเวทนาเจตสิกคือความสุขความสบายใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ อิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้ ง. โทมนัสเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ อนิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นกิจ เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฐานา มีความอาพาธทางใจ เป็นผล หทยวตฺถุปทฏฺฐานา มีหทัยวัตถุ เป็นเหตุใกล้ จ. อุเบกขาเจตสิก คือความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ มชฺฌตฺตเวทยิตลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ปานกลาง เป็นลักษณะ สมฺปยุตฺตานํ นาติอุปพยูหนมิลาปนรสา มีการักษาสัมปยุตตธรรม ไม่ให้เจริญ ไม่ให้เศร้าหมอง เป็นกิจ สนฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเฉยๆ เป็นผล นิปฺปิติกจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตที่ไม่ยินดีเป็นเหตุใกล้ สัญญาเจตสิก ๓. สัญญาเจตสิก คือ ความจำหมายอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้ หน้า ๘ เจตนาเจตสิก ๔. เจตนาเจตสิก คือการแสวงหาหรือขวนขวายที่จะให้เป็นไปในอารมณ์ หรือความตั้งใจ หรือความสำเร็จ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ เจตนาภาวลกฺขณา มีการชักชวน เป็นลักษณะ อายูหนรสา มีการขวนขวาย เป็นกิจ สํวิธาน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการจัดแจง เป็นผล เสสขนฺธตฺตยปทฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้ เอกัคคตาเจตสิก ๕. เอกัคคตาเจตสิก คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อวิกฺเขปลกฺขณา มีการไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะ สหชาตานํ สมฺปิณฺฑนรสา มีการรวบรวมสหชาตธรรม เป็นกิจ อุปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบ เป็นผล สุขปทฏฺฐานา มีสุขเวทนา เป็นเหตุใกล้ ชีวิตินทรียเจตสิก ๖. ชีวิตินทรียเจตสิก คือการรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยตนให้ตั้งอยู่ตามอายุของตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ หน้า ๙ สหชาตานํ อนุปาลนลกฺขณํ มีการเลี้ยงรักษาสหชาตธรรม เป็นลักษณะ เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความตั้งอยู่และเป็นไปได้ เป็นกิจ เตสญฺเญวฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ได้ซึ่งสหชาตธรรม เป็นผล เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานํ มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้ มนสิการเจตสิก ๗. มนสิการเจตสิก คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต หรือความใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ สารณลกฺขโณ มีการทำให้สัมปยุตตธรรมใส่ใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนรโส มีการทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ อารมฺมณาภิมุขีภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการทำให้สัมปยุตตธรรมให้มีหน้าที่เฉพาะอารมณ์ เป็นผล อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้ มนสิการเจตสิก คือ ความใส่ใจในอารมณ์นี้ ถ้ามีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอัน แยบคาย คือใส่ใจให้ถูกต้องตรงตามสภาวะแห่ง ความเป็นจริงแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ดีงาม หน้า ๑๐ ความใส่ใจเป็นอันดีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ถ้าไม่มีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอันไม่แยบคายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ไม่ดี จิตที่ ชั่วที่บาป ความไม่ใส่ใจเป็นอันดีนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ สาเหตุที่จะให้เกิด โยนิโสมนสิการ คือ ๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน ๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ ๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ ๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ ๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ส่วนสาเหตุที่จะให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ก็ตรงกันข้าม คือ ๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน ๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ) ๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ ๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ ๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด ปกิณณกเจตสิก ปกิณณกเจตสิก เป็นเจตสิกเบ็ดเตล็ด ไม่ประกอบกับจิตทั่วไปแต่ประกอบได้เป็นบางดวง ปกิณณกเจตสิกมี ๖ ดวง ดังต่อไปนี้ หน้า ๑๑ วิตกเจตสิก ๑. วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อภินิโรปนกฺขโณ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ อาหนปริยาหนรโส มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยนปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล เสสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้ วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก ความตั้งใจในอารมณ์ และมนสิการ เจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้ อันหมายถึงความสำเร็จ คือชัยชนะ มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธงอันเป็นหลักชัย วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว หน้า ๑๒ วิจารเจตสิก ๒. วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อารมฺมณานุมชฺชนลกฺขโณ มีการพิจารณาอารมณ์บ่อยๆ เป็นลักษณะ ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส มีการทำให้สหชาตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ จิตฺตอนุปฺปพนฺธปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตกแต่งจิตให้อยู่ในอารมณ์ เป็นผล เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้ อธิโมกขเจตสิก ๓. อธิโมกขเจตสิก มีการตัดสินอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ สนฺนิฏฺฐานลกฺขโณ มีการสันนิษฐานอารมณ์ เป็นลักษณะ อสํสปฺปนรโส มีการไม่โยกไม่คลอน เป็นกิจ วินิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตัดสิน เป็นผล สนฺนิฏเฐยฺยธมฺมปทฏฺฐาโน มีการสันนิษฐานธรรม เป็นเหตุใกล้ วิริยเจตสิก ๔. วิริยเจตสิก คือ ความเพียรเพื่อให้ได้อารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ หน้า ๑๓ อุสฺสาหนลกฺขณํ มีความอุตสาหะ เป็นลักษณะ สหชาตานํ อุปตฺถมฺภนรสํ มีการอุดหนุนค้ำชูสหชาตธรรม เป็นกิจ อสํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่ย่อท้อถดถอย เป็นผล สํเวคปทฏฺฐานํ มีความสลด เป็นเหตุใกล้ ปีติเจตสิก ๕. ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้ม หรืออิ่มใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ สมฺปิยายนลกฺขณา มีความอิ่มใจ เป็นลักษณะ กายจิตฺตปีฬนรสา มีการทำกายและใจอิ่มเอิบ เป็นกิจ โอทคฺยปจฺจุปฏฺฐานา มีกายและใจเฟื่องฟู เป็นผล เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้ ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มใจในอารมณ์นั้นมี ๕ ประการ ๑. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อยพอรู้สึกขนลุก ๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะเกิดขึ้นบ่อยๆ ๓. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวโยกตัวโคลง ๔. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวลอย ๕. ผราณาปีติ ปลาบปลื้มใจจนนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ ปีติ ที่เป็นองค์ฌานนั้น ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบอยู่ อนึ่ง ปีติ กับ สุข ต่างกัน คือ ปีติ เป็นสังขารขันธ์ สุข เป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมี ปีติ จะต้องมีสุขเสมอแน่นอน แต่ว่า เมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้ ฉันทเจตสิก ๖. ฉันทเจตสิก คือความพอใจในอารมณ์ ความปลงใจที่จะทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กตฺตุกมฺยตา ลกฺขโณ มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำ เป็นลักษณะ อารมฺมณปริเยสนรโส มีการแสวงอารมณ์ เป็นกิจ อารมฺมเณน อตฺถิกตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาอารมณ์ เป็นผล อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้ อกุศลเจตสิก อกุศลเจตสิก คือ เจตสิกที่ชั่ว ที่บาป ที่หยาบ ที่ไม่งาม ที่ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้ เมื่อประกอบกับจิตแล้ว ก็ทำให้จิตเศร้าหมองเร่าร้อน และทำให้เสียศีลธรรม อกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลเจตสิก ๑๒ ดวงเท่านั้น ไม่ประกอบกับจิตอย่างอื่นเลย และเพราะเหตุว่าอกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าอกุศลเจตสิก ไม่ชื่อว่าอโสภณเจตสิก เพราะถ้าชื่อว่า หน้า ๑๕ อโสภณเจตสิกแล้ว ก็จะมีความหมายไปว่า ต้องประกอบกับอโสภณจิตได้ทั้งหมด กล่าวคือต้องประกอบกับอเหตุกจิตด้วย อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ พวก คือ ก. โมจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกมีโมหะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก โมจตุก นี้ ประกอบกับอกุศลเจตสิกได้ทั้งหมดทั้ง ๑๒ ดวง ดังนั้นจึงมีชื่ออีกชื่อว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกที่สาธารณแก่ อกุศลจิต ทั้งหมด ข. โลติกเจตสิก หมายความว่าเป็นเจตสิกพวกโลภะ มี ๓ ดวงด้วยกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และมานะเจตสิก โลติกนี้ประกอบได้เฉพาะแต่โลภมูลจิต ๘ ดวงเท่านั้น ค. โทจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกโทสะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก โทจตุก นี้ประกอบได้แต่เฉพาะโทสมูลจิต ๒ ดวงเท่านั้น ง. ถีทุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกถีนะ มี ๒ ดวงด้วยกัน คือ ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก ถีทุก นี้ ประกอบได้เฉพาะแต่อกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ ดวงเท่านั้น จ. วิจิกิจฉาเจตสิกไม่มีพวก มีแต่ตัวดวงเดียว และประกอบได้เฉพาะแต่ โมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉา ดวงเดียวเท่านั้น เอง หน้า ๑๖ อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวงนั้น ดังนี้ โมหเจตสิก ๑. โมหเจตสิก คือ ความหลง ความไม่รู้จริงตามสภาวะของอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อญาณลกฺขโณ มีการไม่รู้ เป็นลักษณะ อารมมฺมณสภาวจฺฉาทนรโส มีการปกปิดไว้ซึ่งสภาวะแห่งอารมณ์ เป็นกิจ อนฺธการปจฺจุปฏฺฐาโน มีความมืดมน เป็นผล อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีก่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ ที่ว่า ไม่รู้นั้น หมายความว่าไม่รู้ในการสิ่งควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ ความไม่รู้ในที่นี้ หมายเฉพาะ ไม่รู้ในธรรม ๘ ประการ คือ (๑) ทุกฺเข อญาณํ ไม่แจ้งในทุกข์ (๒) ทุกฺขสมุทเย อญาณํ ไม่แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์ (๓) ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ ไม่แจ้งการดับทุกข์ (๔) ทุกฺขนิโรธคามินิปฏิปทาย อญาณํ ไม่แจ้งหนทางที่จะดับทุกข์ (๕) ปุพฺพนฺเต ยญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทริย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วนอดีต ( อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุ ) (๖) อปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วน อนาคต ( อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญและนัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล ) หน้า ๑๗ (๗) ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งที่เป็นส่วนในอดีตและในอนาคต ( อกริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล ) (๘) อธิปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญาณํ ไม่แจ้งในธรรมที่มีเหตุให้เกิดผลอันต่อเนื่องกัน ( อัตตทิฏฐิเชื่อว่าเป็นตัวเป็นตน ) อหิริกเจตสิก ๒. อหิริเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อการทำบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายทุจฺจริตาทีหิอชิคุจฺฉนลกฺขณํ มีการไม่เกลียดต่อกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ ปาปานํกรณรสํ มีการกระทำบาป เป็นกิจ อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล อตฺตอคารวปทฏฺฐานํ มีการไม่เคารพตน เป็นเหตุใกล้ ที่ไม่เคารพตน เพราะ ก. ไม่ละอายต่อ วัย ข. ไม่ละอายต่อ เพศ ค. ไม่ละอายต่อ ตระกูล ง. ไม่ละอายต่อ อกุศล หน้า ๑๘ อโนตตัปปเจตสิก ๓. อโนตตัปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศล มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อนุตฺตาสลกฺขณํ มีการไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ ปาปานํกรณรสํ มีการทำบาป เป็นกิจ อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล ปรอคารวปทฏฺฐานํ ไม่มีการเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้ อุทธัจจเจตสิก ๔. อุทธัจจเจตสิก คือความฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คิดฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อวูปสมลกฺขณํ มีความไม่สงบ เป็นลักษณะ อนวตฺถานรสํ มีการไม่มั่นในอารมณ์เดียว เป็นกิจ ภนฺตตฺถ ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหวั่นไหว เป็นผล อโยนิโสมนสิการ ปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ โลภเจตสิก ๕. โลภเจตสิก คือ ความรัก ความอยากได้ ความติดใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ หน้า ๑๙ อารมฺมณคหณลกฺขโณ มีการยึดมั่นซึ่งอารมณ์ เป็นลักษณะ อภิสงฺครโส มีการติดในอารมณ์ เป็นกิจ อปริจฺจาคปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่บริจาค เป็นผล สํโยชนิธมฺเมสุ อสฺสาททสฺสนปทฏฺฐาโน มีการดูด้วยความยินดีในสังโยชน์ เป็นเหตุใกล้ อรรถของโลภะโดยปริยาย ในไวยกรณ์ ตามบาลีในปรมัตถทีปนีฎีกา ได้จำแนกออกไป ๑๐ ประการ คือ (๑) ตัณหา ความต้องการ (๒) ราคะ ความกำหนัด (๓) กามะ ความใคร่ (๔) นันทิ ความเพลิดเพลิน (๕) อภิชฌา ความเพ่งเล็ง (๖) ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส (๗) โปโนพภวิก ความนำให้เกิดในภพใหม่ (๘) อิจฉา ความปรารถนา (๙) อาสา ความหวัง (๑๐) สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพันธ์ ผูกมัด รัดไว้ ล่ามไว้ ปริตสฺสตีติ ตณฺหาฯ (วิสุทธิมัคค) ความกระหายอยากได้ซึ่งอารมณ์นั้นเรียกว่า ตัณหา กาโม จ โสตณฺหา จาติ กามตณฺหา ฯ (ปรมัตถทีปนีฎีกา) ความกำหนัดที่อยากได้ซึ่งกามคุณอารมณ์นั้น เรียกว่า กามตัณหา สสฺสตทิฏฐิ สหคโต หิ ราโค ภวตณฺหาติ วุจฺจติฯ (วิสุทธิมัคค) ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย สัสสตทิฏฐิ เรียกว่า ภวตัณหา อุจฺเฉททิฏฐิ สหคโต หิ ราโค วิภวตณฺหา วุจฺจติ (วิสุทธิมัคค) ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย อุจเฉททิฏฐิ เรียกว่า วิภวตัณหา หน้า ๒๐ ทิฏฐิเจตสิก ๖. ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิดจากความเป็นจริงในสภาวธรรม มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณามีการถือมั่นด้วยหาปัญญามิได้ เป็นลักษณะ ปรามาส รสา มีการถือผิดจากสภาวะ เป็นกิจ มิจฺฉาภินิเวสปจฺจุปฏฺฐานา มีการยึดถือความเห็นผิด เป็นผล อริยานํ อทสฺสน กามตาทิ ปทฏฺฐานา ไม่ต้องการ เห็นพระอริยะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้ คำว่า ทิฏฐิ แปลตามพยัญชนะ คือ ตามตัวอักษร ตามศัพท์ ก็แปลว่าความเห็น ไม่เจาะจงว่าเป็นความเห็นผิดหรือ ความเห็นถูกต้องตามสภาวะ แต่โดยอรรถ คือ ตามความหมายแห่งธรรมแล้ว ถ้าใช้ลอยๆ ว่า ทิฏฐิ เฉยๆ ก็หมายว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเสมอไป เว้นไว้แต่ในที่ใดบ่งว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ จึงมีความหมายว่าเป็นความเห็นชอบความเห็นถูกโดยเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นความเห็นผิดเสมอไป และทิฏฐินี้แบ่งเป็นหยาบๆ เป็น ๒ คือ ทิฏฐิสามัญ และทิฏฐิพิเศษ ทิฏฐิสามัญ ได้แก่สักกายทิฏฐิ คือ เห็นเป็นตัวตนบุคคลเราเขา อันเป็นความเห็นผิด แต่ที่จัดเป็นสามัญ เพราะทิฏฐิ ชนิดนี้ มีประจำทั่วทุกตัวสัตว์เป็นปกตวิสัย (เว้นพระอริยบุคคล) ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อ เหตุ นัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล และสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยงแท้แน่นอน อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญ ตลอดทั้งทิฏฐิ ๖๒ ที่จัดเป็นทิฏฐิพิเศษ ก็เพราะว่าทิฏฐิชนิดนี้บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี มานเจตสิก ๗. มานเจตสิก คือ ความถือตนความทะนงตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้ อุณฺณติ ลกฺขโณ มีการทะนงตน เป็นลักษณะ สมฺปคฺค รโส มีการยกย่องสัมปยุตตธรรม เป็นกิจ เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาสูง เป็นผล ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตโลภ ปทฏฺฐาโน มีโลภจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต เป็นเหตุใกล้ มานะ นี้ท่านจัดไว้ ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๓) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคุณตัวว่า เลวกว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๖) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา (๗) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๙) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา หน้า ๒๒ อติมานะ=ดูหมิ่นท่าน,สารัมภะ=แข่งดี,ถัมภะ=หัวดื้อ,สาเถยยะ=โอ้อวด เหล่านี้จัดเป็นมานะทั้งสิ้น ข้อควรสังเกต คือถ้าเกิดมีการเปรียบเทียบเรากับเขาขึ้นเมื่อใดก็เป็นมานะเมื่อนั้น ไม่ว่าการเปรียบเทียบนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบด้วย ชาติ โคตร สกุล รูป สมบัติ ทรัพย์ ศิลปะวิทยา การงาน หรือ ความเฉลียวฉลาด โทสเจตสิก ๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้ ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษฐร้าย ทำลายเหล่านั้น เป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น อาฆาตวัตถุ อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดโทสะนั้นมี ๑๐ ประการ คือ (๑) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา (๒) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา (๓) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา หน้า ๒๓ (๔) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ (๕) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ (๖) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ (๗) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง (๘) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง (๙) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง (๑๐) ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่นเกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้ หรือ เหยียบหนาม เป็นต้น อิสสาเจตสิก ๙. อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ความริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ ปรสมฺปตฺตีนํ อุสฺสูยนลกฺขณา มีการริษยาในสมบัติของผู้อื่น เป็นลักษณะ ตตฺเถว อนภิรติรสา มีการไม่ชอบใจในความมั่งมีของผู้อื่น เป็นกิจ ตโตวิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีการเบือนหน้าหนีจากสมบัติของผู้อื่น เป็นผล ปรสมฺปตฺติปทฏฺฐานา มีสมบัติของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้ มัจฉริยเจตสิก ๑๐. มัจฉริยเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความตระหนี่เหนียวแน่น ไม่ยอมเสียสละ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ หน้า ๒๔ อตฺตโนสมฺปตฺตีนํ นิคูหนลกฺขณํ มีการซ่อนสมบัติของตน เป็นลักษณะ ตาสํ เยว ปเรหิสาธารณภาว อกฺขมนรสํ มีการไม่ชอบให้สมบัติของตนเป็นสาธารณแก่ผู้อื่น เป็นกิจ สงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหดหู่ หวงแหน ไม่เผื่อแผ่ เป็นผล อตฺตสมฺปตฺติปทฏฺฐานํ มีสมบัติของตน เป็นเหตุใกล้ มัจฉริยะ ๕ ประการ ได้แก่ (๑) อาวาสมัจฉริย ตระหนี่ ที่อยู่ (๒) กุลมัจฉริย ตระหนี่ สกุล (๓) ลาภมัจฉริย ตระหนี่ ลาภ (๔) วัณณมัจฉริย ตระหนี่ วรรณะ (๕) ธรรมมัจฉริย ตระหนี่ ธรรม กุกกุจจเจตสิก ๑๑. กุกกุจจเจตสิก คือธรรมชาติที่เดือดร้อนรำคาญใจในสิ่งชั่ว อกุสลกรรมที่ได้ทำไปแล้ว และร้อนใจในกุสลกรรม ความดีที่ยังไม่ได้ทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ ปจฺฉานุตาปลกฺขณํ มีความเดือดร้อนอยู่เนืองๆ ในภายหลัง เป็นลักษณะ กตากตานุโสจนรสํ มีการตามเดือดร้อนอยู่เนือง ๆ ถึงบาปที่ได้กระทำแล้ว และบุญที่ไม่ได้กระทำ เป็นกิจ วิปฺปฏิสารปจฺจุปฏฺฐานํ มีความกินแหนงใจอยู่ เป็นผล กตากตปทฏฺฐานํ มีการทำบาป มิได้กระทำบุญ เป็นเหตุใกล้ หน้า ๒๕ ถีนเจตสิก ๑๒. ถีนเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตท้อถอยหดหู่ เซื่องซึม ไม่ใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อนุสฺสาหลกฺขณํ มีการไม่อุตสาหะ เป็นลักษณะ วีริยวิโนทนรสํ มีการทำลายความเพียร เป็นกิจ สํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ มิทธเจตสิก ๑๓. มิทธเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยตนให้หดหู่ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน และง่วงซึมหลับ จับอารมณ์ไม่ติด มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อกมฺมญฺญตาลกฺขณํ มีความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ โอทหนรสํ มีการกั้นกำบังกุสล เป็นกิจ ลีนตาปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑๔. วิจิกิจฉาเจตสิก คือ ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ในอารมณ์ต่างๆ สงสัยตัดสินอารมณ์ไม่ได้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ หน้า ๒๖ สํสยลกฺขณา มีความสงสัย เป็นลักษณะ กมฺปนรสา มีการหวั่นไหวในอารมณ์ เป็นกิจ อนิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่สามารถตัดสินใจได้ เป็นผล อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานา มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ ความสงสัยทั้งหลาย หาใช่เป็นวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ทั้งหมดไม่ ความสงสัยในวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ หมายเฉพาะสงสัยในธรรม ๘ ประการเท่านั้น คือ (๑) สงสัยในพระพุทธเจ้า ได้แก่สงสัยในพระสรีระ (ว่าเห็นจะไม่มีตัวจริง น่าจะสมมุติขึ้น) หรือสงสัยในพระคุณ (พระพุทธคุณ ๙) (๒) สงสัยในพระธรรม ว่ามัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือและธรรมนี้นำออกจากทุกข์ ได้จริงหรือ (๓) สงสัยในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในมัคค ๔ ผล ๔ มีจริงหรือ สงฆ์ที่ปฏิบัติดีจริงมีหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์ มีจริงหรือ (๔) สงสัยในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา) ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ (๕) สงสัยในขันธ์ ๕ อายตน ธาตุที่เป็นส่วนอดีตมีจริงหรือ คือสงสัยว่าชาติก่อนมีจริงหรือ (อเหตุกทิฏฐิ) (๖) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ที่เป็นอนาคต มีจริงหรือ คือสงสัยว่า ชาติหน้ามีจริงหรือ (อุจเฉททิฏฐิ) (๗) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ทั้งที่เป็นส่วนอดีตและอนาคตนั้น มีจริงหรือ คือสงสัยทั้งชาติก่อนและชาติหน้า (อกิริยทิฏฐิ) หน้า ๒๗ (๘) สงสัยในปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้น มีจริงหรือ (อัตตทิฏฐิ) อนึ่งความสงสัยอย่างอื่นที่ไม่ใช่ธรรม ๘ ประการ เช่นสงสัยในเรื่องสมมุติและบัญญัติ ไม่เป็นกิเลส โสภณเจตสิก โสภณเจตสิก เป็นเจตสิกที่ดีงาม ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เมื่อประกอบกับจิต ก็ทำให้จิตนั้นดีงาม ปราศจากความเร่าร้อน ให้จิตตั้งอยู่ในศีลธรรม มีการเว้นจากบาป เว้นจากทุจริตต่างๆ ฉะนั้นเจตสิก ประเภทนี้ จึงเรียกว่า โสภณเจตสิก จิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า โสภณจิต ส่วนจิตใดที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า อโสภณจิต โสภณเจตสิก มีจำนวน ๒๕ ดวง และยังแบ่งออกได้เป็น ๔ พวก คือ ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่สาธารณะกับโสภณจิตทั้งหมด หมายความว่า โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกนี้ประกอบพร้อมกันทั้ง ๑๙ ดวง ไม่มีเว้นเลย ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง เป็นเจตสิกที่เว้นจากบาปธรรมทั้งปวง อันเกิดจากกายทุจริต และวจีทุจริต ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง เป็นเจตสิกที่มีความรู้แผ่ไปไม่มีประมาณ เรียกว่า พรหมวิหาร ก็ได้ ที่เรียกว่า อัปปมัญญานั้นเพราะแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย จนประมาณไม่ได้ ที่เรียกว่า พรหมวิหารนั้น เพราะธรรมนี้เป็นที่อยู่สำราญของพวกพรหม ง. ปัญญาเจตสิก มีดวงเดียว ไม่มีพวก เป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ เป็นประธาน ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง ปัญญินทรียเจตสิก ก็เรียก โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีดังนี้ สัทธาเจตสิก ๑. สัทธาเจตสิก คือ ความเชื่อถือเหตุผลตามความเป็นจริง ความเลื่อมใสในกุสลธรรม ความเชื่อในฝ่ายดี เช่น เชื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ สทฺทหนลกฺขณา มีความเชื่อถือในอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ ปสาทนรสา มีการเลื่อมใส เป็นกิจ อกาฬุสฺสิยปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล สทฺเทยฺยวตฺถุปทฏฺฐานา มีปูชนียวัตถุเป็นเหตุใกล้ สัทธาแม้อย่างน้อยเพียงเชื่อว่าสัตว์นั้นมีกรรมเป็นของตน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพียงเท่านี้ก็เป็นคุณยิ่ง มิฉะนั้นก็จะไม่ประหยัดต่อบาปกรรม หน้า ๒๙ จะกระทำอะไรก็ไม่คิดว่าเป็นทุจริตเสียหาย เพราะสำคัญผิดว่าจะไม่ต้องได้รับผลนั้น ถ้ามีสัทธา เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมแล้ว ก็จะตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ สัทธา จึงเป็นธรรมเบื้องต้นที่จะทำให้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญเป็นกุสล จนหาประมาณมิได้ สัทธา พีชํฯ สัทธาเปรียบเหมือนพืช (อันจะงอกงามโตใหญ่ให้ดอกผลในภายหน้า) เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสัทธา (๑) รูปปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม (๒) ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย (๓) โฆสปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้ฟังชื่อเสียงลือว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ (๔) ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้สดับธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง สติเจตสิก ๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์ สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ หน้า ๓๐ อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาท เป็นลักษณะ อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุสลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ (๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด (๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจด จำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด (๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต (๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้ (๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้ (๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ (๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ (๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้ (๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้ (๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น (๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้ (๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม (๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ (๑๔) สติเกิดขึ้น เพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า) (๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้ (๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้ (๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้ หิริเจตสิก ๓. หิริเจตสิก คือความละอายต่อการทำบาปทำชั่ว ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ บาปคือธรรมชาติที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บุญคือธรรมชาติที่ชำระจิตให้สะอาดผ่องแผ้ว ในขณะที่จิตอกุสลเกิดขึ้นอยากจะประพฤติผิดศีล ๕ เครื่องยับยั้งมิให้เกิดอกุสลจิตนั้นก็คือ หิริ คือเกิดความละอายต่อบาปที่จะกระทำ จึงยับยั้งไว้ช่วยไม่ให้ทำอกุสล ฉะนั้นหิริจึงเป็นธรรมที่เป็นโลกบาล คือเป็นธรรมชาติที่คุ้มครองโลก หิริ เกิดขึ้นทำให้ละอายต่อบาปจึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง สิ่งที่ทำให้เกิดหิริ คือมีการเคารพตนเอง จึงละอายต่อการทำบาป หิริเจตสิกมีลักขณาทิจตุกะดังนี้ ปาปโตชิคุจฺฉนลกฺขณา มีความเกลียดต่อบาป เป็นลักษณะ ปาปานํอกรณรสา มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ ปาปโตสงฺโกจน ปจฺจุปฏฺฐานา มีความละอายต่อบาป เป็นผล อตฺตคารวปทฏฺฐานา มีความเคารพในตน เป็นเหตุใกล้ โอตตัปปเจตสิก ๔. โอตตัปปเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความสะดุ้งกลัวต่อผลของบาป จึงไม่ทำบาป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อตฺตาสนลกฺขณํ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ ปาปานํอกรณรสํ มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ หน้า ๓๑ ปาปโตสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความละอายต่อบาป เป็นผล ปรคารวปทฏฺฐานํ มีความเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้ หิริกับโอตตัปปะ จะเกิดได้ต้องอาศัย เหตุภายนอก ๔ เหตุภายใน ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุภายนอก ๔ ได้แก่ (๑) อตฺตานุวาทภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนด้วยตนเอง (๒) ปรวาทานุภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนจากผู้อื่น (๓) ทณฺฑภยํ กลัวต่อราชทัณฑ์ คือกฎหมายบ้านเมือง (๔) ทุคฺคติภยํ กลัวต่อภัยในอบายภูมิ เหตุภายใน ๘ ได้แก่ (๑) กุละ ละอายบาป กลัวบาปโดยคำนึงถึงตระกูลของตน (๒) วยะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงวัยของตน (๓) พาหุสัจจะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงการศึกษาของตน (๔) ชาติมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงชาติอันประเสริฐของตน (๕) สัตถุมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงพระพุทธเจ้า บิดา มารดา ครู อาจารย์ (๖) ทายัชชมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง มรดกของพระพุทธเจ้า ของบิดา มารดา ซึ่งตนเองจะต้องรับมรดกนั้น หน้า ๓๒ (๗) สพรหมจารีมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง เพื่อนที่ดีที่เคยคบมา (๘) สูรภาวะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง ความกล้าหาญและความสงบเสงี่ยมเจียมตัวของตน อโลภเจตสิก ๕. อโลภเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ ไม่ข้องในอารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์ เมื่อประสบในอารมณ์นั้น จะพยายามให้หลุดออกไปจากอารมณ์นั้น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อลคฺคภาวลกฺขโณ มีความไม่ติดอารมณ์ เป็นลักษณะ อปริคฺคหรโส มีการไม่หวงแหน เป็นกิจ อนลฺลีนภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่ยึดมั่น เป็นผล โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ อโทสเจตสิก ๖. อโทสเจตสิก คือธรรมชาติที่ไม่โกรธ ไม่หยาบคาย ไม่มีปองร้าย ไม่ประทุษร้าย (มีเมตตาต่อกัน) มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ อจณฺฑิกลกฺขโณ มีความไม่ดุร้าย เป็นลักษณะ อาฆาตวินยรโส มีการทำลายความอาฆาต เป็นกิจ โสมภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีความร่มเย็น เป็นผล โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ หน้า ๓๓ ขนฺติ คือความอดทน ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ อกฺโกธ คือ ความไม่โกรธ ส่วน เมตฺตา ยังประสงค์ให้ผู้อื่นมีความสุขอีกด้วย ทั้ง ขันติ อักโกธ และเมตตา นี้องค์ธรรมได้แก่ อโทส เมตตา มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งจิตใจของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด ส่วนราคะ มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งร่างกายของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ๗. ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ การทำใจเป็นกลาง เป็นยุตติธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง การวางใจเฉยในอารมณ์ (เป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร) มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ จิตฺตเจตสิกานํ สมวาหิตลกฺขณา มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาค เป็นลักษณะ อูนาธิกตานิวารณรสา มีการห้ามความยิ่งหย่อน เป็นกิจ มชฺฌตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเป็นกลาง(อุเบกขา) เป็นผล สมฺปยุตฺตานํปทฏฺฐานา มีสัมปยุตตธรรม เป็นเหตุใกล้ กายปัสสัทธิเจตสิก และ จิตตปัสสัทธิเจตสิก ๘.กายปัสสิทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของเจตสิก ๙. จิตตปัสสัทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของจิต หน้า ๓๔ เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตานํทรถวูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิตสงบจากความเร่าร้อน เป็นลักษณะ กายจิตฺตทรถนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความเร่าร้อนของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ กายจิตฺตานํ อปริปฺผนฺทนสีติภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเยือกเย็น ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ กายลหุตาเจตสิก และ จิตตลหุตาเจตสิก ๑๐. กายลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้เจตสิกเบาจากอกุสล ความเบาของเจตสิกจากอกุสล ๑๑. จิตตลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้จิตเบาจากอกุสล ความเบาของจิตจากอกุสล เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตครุภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิต สงบจากความหนัก เป็นลักษณะ กายจิตฺตครุภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความหนักของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ กายจิตฺตานํอทนฺธตาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หนักของเจตสิก ของจิต เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ กายมุทุตาเจตสิก และ จิตตมุทุตาเจตสิก ๑๒. กายมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกมีความอ่อนโยน ความอ่อนโยนของเจตสิก ทำให้เป็นไปง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล ๑๓. จิตตมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตอ่อนโยน เจตสิกที่ทำให้จิตอ่อนโยน เป็นไปได้ง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตถทฺธวูปสมลกฺขณา มีเจตสิก และมีการทำให้จิตสงบจากความแข็ง กระด้าง เป็นลักษณะ กายจิตฺตถทฺธภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความแข็งกระด้างของเจตสิก และของจิต เป็นกิจ อปฺปฏิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่โกรธไม่อาฆาต เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ กายกัมมัญญตาเจตสิก และ จิตตกัมมัญญตาเจตสิก ๑๔. กายกัมมัญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ควรแก่การงานอันเป็นกุสล ความควรแก่การงานของเจตสิก ๑๕. จิตตกัมมัญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตควรแก่การงานอันเป็นกุสล การทำให้จิตควรแก่งาน เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตากมฺมญฺญภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิกทำให้จิตสงบจากความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ หน้า ๓๖ กายจิตฺตา กมฺมญฺญภาว นิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ควรแก่การงานของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ กายจิตฺตานํ อารมฺมณกรณสมฺปตฺติปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้เจตสิก ทำให้จิตมีอารมณ์สมควรแก่การงาน เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ จิตที่ไม่ควรแก่การงาน จะใช้จิตทำสมาธิก็มีผลน้อย เช่นจิตที่มีร่างกายอ่อนเพลีย หรือป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง เมื่อร่างกายไม่สะบายการทำสมาธิก็ได้ผลน้อยเสียเวลาทำสมาธิ ๒ ชั่วโมง ก็ทำไม่ได้ เพราะจิตไม่มีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบ จิตและเจตสิกที่ไม่ควรแก่การงาน คือจิตและเจตสิกที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ นิวรณ์เปรียบเหมือน ตะปูตรึงจิต หรือสนิมกินเนื้อเหล็กทำให้เหล็กกร่อน นิวรณ์ทั้ง ๕ อันมี กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เมื่อนิวรณ์ครอบงำจิตแล้วจิตก็ไม่ควรแก่การงาน ต้องละนิวรณ์ให้ได้ก่อน แล้วจึงใช้จิตทำงาน เมื่อจิตมีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบแล้ว การทำสมาธิก็จะได้ผลในชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อย กายปาคุญญตาเจตสิก และ จิตตปาคุญญตาเจตสิก ๑๖. กายปาคุญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้เจตสิกคล่องแคล่วต่อกุสล ความคล่องแคล่วของเจตสิกในกุสล ๑๗. จิตตปาคุญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตคล่องแคล่วต่อกุสล การทำให้จิตคล่องแคล่วในกุสล เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตานํ อเคลญฺญภาวลกฺขณา มีความไม่อาพาธของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ กายจิตฺตเคลญฺญนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความอาพาธ ของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ นิราทีนวปจฺจุปฏฺฐานา มีความปราศจากโทษ เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ หน้า ๓๗ กายุชุกตาเจตสิก และ จิตตุชุกตาเจตสิก ๑๘. กายุชุกตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกมุ่งตรงต่อกุสล ความมุ่งตรงของเจตสิกต่อกุสล ๑๙. จิตตุชุกตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล การทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายจิตฺตอชฺชวลกฺขณา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ กายจิตฺตกุฏิลภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ อชิมฺหตาปปจฺจุปฏฺฐานา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นผล กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้ วิรตีเจตสิก วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวะเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก ๑. สัมมาวาจาเจตสิก คือ การพูดชอบ พูดสิ่งที่เป็นกุสล เว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ มี มุสาวาท พูดปด ปิสุณาวาท พูดส่อเสียด ผรุสวาท พูดหยาบคาย สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับอาชีพ หน้า ๓๘ สัมมาวาจามี ๓ ประการ ก. กถาสัมมาวาจา ได้แก่ การกล่าววาจาที่ดี มีศีลธรรม เพื่อหวังประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่น อาจารย์สอนศิษย์ เป็นต้น ข. เจตนาสัมมาวาจา ได้แก่ ผู้มีเจตนาสมาทานศีล ว่าจะละเว้นวจีทุจริต มีการไม่กล่าวมุสา เป็นต้น ค. วิรตีสัมมาวาจา ได้แก่ การเว้นจากวาจาทุจริตทั้ง ๔ มีเว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาป ในเมื่อมีอารมณ์ที่ควรจะล่วงปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) (ไม่มีความตั้งใจไว้ก่อนเมื่อประสบกับอารมณ์เฉพาะหน้าจึงต้องงดเว้น) สัมมากัมมันตเจตสิก ๒. สัมมากัมมันตเจตสิก คือ ประกอบการงานชอบ การงานที่ไม่ทุจริต เว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และล่วงประเวณี เป็นการกระทำปกติ คือ เป็นการทำงานปกติประจำวัน ไม่เกี่ยวกับอาชีพ สัมมากัมมันตะ มี ๓ ประการ ก. ยถาพลังสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การกระทำการงานโดยชอบ การงานที่ไม่ทุจริต มีการประกอบกุสล เป็นต้น ตามกำลังของตน ข. เจตนาสัมมากัมมันตะ ได้แก่เจตนาที่ตั้งใจสมาทานว่าจะละเว้นกายทุจริต มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงประเวณี ค. วิรตีสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มีเว้นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงประเวณี ในเมื่อมีอารมณ์ที่ควรจะล่วงมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) หมายความว่าไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะงดเว้น แต่มาประสบกับอารมณ์จึงต้องงดเว้นเฉพาะหน้า หน้า ๓๙ สัมมาอาชีวเจตสิก ๓. สัมมาอาชีวเจตสิก คือ ความเป็นอยู่ชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพที่สุจริต เว้นจากทุจริตทั้ง ๗ คือ เว้นกายทุจริต ๓ และเว้นวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ สัมมาอาชีวะ มี ๒ ประการ ก. วิริยสัมมาอาชีวะ ได้แก่ความเพียรในการกระทำการงานหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ข. วิรตีสัมมาอาชีวะ ได้แก่การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวแก่อาชีพ เจตสิก ๓ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ กายทุจฺจริตาทิวตฺถุนํ อวีติกฺกมลกฺขณามีการไม่ล่วงกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ กายทุจฺจริตวตฺถุโตสงฺโกจนรสา มีการเว้นจากกายทุจริต เป็นต้น เป็นกิจ อกริยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ทุจริต เป็นผล สทฺธาหิโรตฺตปฺปาทิคุณปทฏฺฐานา มีคุณธรรมคือ สัทธา หิริโอตตัปป เป็นต้น เป็นเหตุใกล้ อัปปมัญญาเจตสิก อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง ได้แก่ กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก หน้า ๔๐ กรุณาเจตสิก ๑. กรุณาเจตสิก คือ มีความสงสาร อยากจะช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายหน้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ ทุกฺขาปนยนาการปวตฺติลกฺขณา มีการได้เห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ย่อมมีความสงสาร เป็นลักษณะ ปรทุกฺขาสหนรสา มีการไม่ชอบเห็นทุกข์ของผู้อื่น เป็นกิจ อวิหึสาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่เบียดเบียน เป็นผล ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสน ปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์อนาถา อันถูกทุกข์ ครอบงำ เป็นเหตุใกล้ อวิหึสา = ไม่เบียดเบียนผู้อื่น กรุณา = ยังประสงค์ช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์อีกด้วย โสก = เราสูญเสียของที่เรารัก ก็โศกเศร้า กรุณา = เห็นผู้อื่นสูญเสียสิ่งที่เขารัก เราก็ช่วยให้เขาพ้นทุกข์จากการเศร้าโศก เมตตา กรุณา เป็น อพยาปาท มุทิตา อุเบกขา เป็น อนภิชฌา (ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา) มุทิตาเจตสิก ๒. มุทิตาเจตสิก คือ พลอยยินดีด้วยในเมื่อรู้ว่าเขามีความสุข มีความยินดีต่อสัตว์ที่ได้สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ หน้า ๔๑ ปโมทนลกฺขณา มีความยินดีด้วยในความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ อนิสฺสายนรสา มีการไม่อิสสาริษยา เป็นกิจ อรติวิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความปรารถนาให้ผู้อื่นเจริญ เป็นผล สตฺตานํ สมฺปตฺติทสฺสนปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์มีสมบัติ เป็นเหตุใกล้ ปัญญาเจตสิก ปัญญาเจตสิก มีแต่ดวงเดียวไม่มีพวก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญินทรียเจตสิก ปัญญาเจตสิก คือความรู้ในเหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมและทำลายความเห็นผิด หรือเป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีความรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา มีการกำจัดมืด เป็นกิจ อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลงผิด หรือไม่เห็นผิด เป็นผล สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้ ปัญญานี้ มีอรรถาธิบายอย่างกว้างขวาง และแจกแจงได้หลายนัย หลายกระบวน เป็นจำนวนมากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวย่อ ๆ พอให้รู้เค้า จึงขอแจกแจงว่า ปัญญามีเพียง ๓ นัย เท่านั้น คือ ก. กัมมสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่า กรรมเป็นสมบัติของตน ข. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ รูปนาม เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ค. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจ ๔ ปัญญาที่รู้เห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า กัมมสกตาปัญญา นี้ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) อตฺถิทินนํ ปัญญารู้เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล (๒) อตฺยิฏฐํ ปัญญารู้เห็นว่า การบูชาย่อมมีผล (๓) อตฺถิหุตํ ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล (๔) อตฺถิกมฺมานํ ผลํวิปาโก ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม) (๕) อตฺถิอยํโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้จะมาเกิดนั้นมี) (๖) อตฺถิปโรโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้จะไปเกิดนั้นมี) (๗) อตฺถิมาตา ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล) (๘) อตฺถิปิตา ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดาย่อมจะได้รับผล) (๙) อตฺถิ สตฺตโอปปาติกา ปัญญารู้เห็นว่าโอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหมนั้นมี) (๑๐) อตฺถิ โลเกสมณพฺรหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา ปัญญารู้เห็นว่าสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยความรู้ยิ่ง เห็นจริง หน้า ๔๓ ประจักษ์ซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้นั้นมีอยู่ในโลกนี้ สัมปโยคนัย สัมปโยค แปลว่า ประกอบพร้อม ในที่นี้หมายความว่า เจตสิกแต่ละดวงนั้น ดวงหนึ่ง ๆ ประกอบกับจิตได้กี่ดวง คือจิตใดบ้าง ซึ่งจะได้แสดงต่อไปนี้ ดังมีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๓) ว่า ๓. เตสํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ ยถาโยคมิโต ปรํ จิตฺตุปฺปาเทสุ ปจฺเจกํ สมฺปโยโค ปวุจฺจติ ฯ แปลความว่า เบื้องหน้าแต่นี้จะแสดงสัมปโยคะ แห่งธรรม (คือเจตสิก) เหล่านี้ อันประกอบกับจิต เฉพาะในจิตตุปปาทะ (จิตที่เกิดขึ้น) ดวงหนึ่ง ๆ โดยสมควรแก่ที่จะประกอบได้ สัมปโยคนัยแห่งอัญญสมานาเจตสิก ๔. สตฺต สพฺพตฺถ ยุชฺชนติ ยถาโยคํ ปกิณฺณกา จุทฺทสากุเลเสฺวว โสภเณเสฺวว โสภณา ฯ แปลความว่า ๑. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (๗ ดวง) ประกอบในจิตได้ทุกดวง(โดยย่อจิตมี ๘๙ ดวง) ๒. ปกิณณกเจตสิก (๖ ดวง) ประกอบกับจิตได้เฉพาะแต่ที่ควร (ประกอบ ได้ บางดวง) ๓. อกุสลเจตสิก (๑๔ ดวง) ประกอบได้เฉพาะในอกุสลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น ๔. โสภณเจตสิก (๒๕ ดวง) ประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น หน้า ๔๔ ๕. ฉสฏฺสี ปญฺจปญฺญฺาส เอกาทส จ โสฬส สตฺตติ วีสติ เจว ปกิณฺณกวิวชฺชิตา ฯ แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกไม่ประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้ วิตก ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง วิจาร ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง อธิโมกข ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง วิริยะ ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง ปีติ ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง ฉันทะ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง ๖. ปญฺจปญฺญาส ฉสฎฺฐิ ฏฐสตฺตติ ติสตฺตติ เอกปญฺญาส เจกูน สตฺตติ สปกิณฺณกา ฯ แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกย่อมเข้าประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้ วิตก ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๕ ดวง วิจาร ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๖ ดวง อธิโมกข ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๘ ดวง วิริยะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๓ ดวง ปีติ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๑ ดวง ฉันทะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๙ ดวง หน้า ๔๕ อธิบาย รวมความว่า อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย คือการประกอบกับจิตต่าง ๆ ได้นั้น แบ่งออกเป็น ๗ นัย คือ นัยที่ ๑ สัพพจิตตสาธารณ ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย และ มนสิการ นี้ประกอบกับจิตได้ทั้งหมดทุกดวง คือทั้ง ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดาร ก็ทั้ง ๑๒๑ ดวง ไม่มีเว้นเลย นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง แต่ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง นัยที่ ๓ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง นัยที่ ๔ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๘ ดวง ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง นัยที่ ๕ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๓ ดวง ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง นัยที่ ๖ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๑ ดวง ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง นัยที่ ๗ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๙ ดวง ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง วิตกเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ทุติยฌาน ๑๑ กามโสภณ ๒๔ ตติยฌาน ๑๑ ปฐมฌานจิต ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ปัญจมฌาน ๒๓ หน้า ๔๖ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ ทวิปัญจวิญญาน ๑๐ อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ตติยฌาน ๑๑ กามโสภณ ๒๔ จตุตถฌาน ๑๑ ปฐมฌาน ๑๑ ปัญจมฌาน ๒๓ ทุติยฌาน ๑๑ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๗๘ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาจิต) วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ กามโสภณ ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิต ได้ ๗๓ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๖ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กับ หสิตุปปาทจิต ๑ ) หมายเหตุ จิต ๑๖ ดวง ที่วิริยเจตสิก ไม่ประกอบนี้มีชื่อเรียกว่า อวีริยจิต ๑๖ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามโสภณ ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หน้า ๔๗ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง คือ โสมนัสโลภมูลจิต ๔ อุเบกขาโลภมูลจิต ๔ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ โทสมูลจิต ๒ โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ โมหมูลจิต ๒ โสมนัสกามโสภณจิต ๑๒ อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ กายวิญญาณจิต ๒ ทุติยฌานจิต ๑๑ อุเบกขากามโสภณจิต ๑๒ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ ปัญจมฌานจิต ๒๓ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๙ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามโสภณจิต ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หน้า ๔๘ สัมปโยคนัยแห่งอกุสลเจตสิก ๗. สพฺพาปุญฺเญสุ จตฺตาโร โลภมูเล ตโย คตา โทสมูเลสุ จตฺตาโร สสงฺขาเร ทวยํ ตถา ฯ แปลความว่า เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ อกุศลจิตทั้งหลาย เจตสิก ๓ ดวง ย่อมประกอบกับ โลภมูลจิต เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ โทสมูลจิต เจตสิก ๒ ดวง ย่อมประกอบกับ สสังขาริกจิต ๘. วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉา จิตฺเต จาติ จตุทฺทส ทฺวาทสากุสเลเสฺวว สมฺปยุชฺชนฺติ ปญฺจธา ฯ แปลความว่า วิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาจิต (เท่านั้น) อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ย่อมประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวง โดยสัมปโยคนัย ๕ อย่าง ดังนี้ อธิบาย รวมความว่า อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย คือการประกอบกับอกุสลจิตนั้นแบ่งออกเป็น ๕ นัย คือ นัยที่ ๑ เจตสิก ๔ ดวง คือ โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โมจตุกะ หรือสัพพากุสลสาธารณเจตสิกนั้น ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด คือทั้ง ๑๒ ดวง นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวงคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ มานเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โลติกะ นั้น โลภเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ทั้งหมด คือ ทั้ง ๘ ดวง ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ เฉพาะแต่ที่เป็นทิฏฐิคตสัมป ยุตตจิต ๔ ดวง มานเจตสิก ก็ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง นัยที่ ๓ เจตสิก ๔ ดวง คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โทจตุกะ นั้น ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวง นัยที่ ๔ เจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและมีทธเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า ถีทุกะ นั้นย่อมประกอบกับ สสังขาริกในอกุสลจิต อันมีจำนวน ๕ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง นัยที่ ๕ เจตสิก ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาสหคตจิต ได้เฉพาะดวงเดียวเท่านั้น สัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก ๙. เอกูนวีสติธมฺมา ชายนฺเตกูนสฏฺฐิสุ ตโย โสฬส จิตฺเตสุ อฏฺฐวีสติตํ ทฺวยํ ฯ หน้า ๕๐ แปลความว่า ธรรม ๑๙ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๕๙ ดวง ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง ๑๐. ปญฺญา ปกาสิตา สตฺต จตฺตาฬีส วิเธสุปิ สมฺปยุตฺตา จตุเธวํ โสภเณเสสฺวว โสภณา ฯ แปลความว่า ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง โสภณเจตสิก ย่อมประกอบกับโสภณจิตโดยสัมปโยคนัย ๔ อย่าง ดังนี้ อธิบาย โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ย่อมประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น และก็มิได้ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นจึงแสดงสัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิกไว้เป็น ๔ นัย คือ นัยที่ ๑ ธรรม ๑๙ ดวงนั้น หมายถึงโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ย่อมเข้าประกอบกับโสภณจิต ทั้ง ๕๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็ทั้ง ๙๑ ดวง กล่าวคือ โสภณจิตทั้ง ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ไม่ว่าจะ เป็นจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น โสภณสาธารณเจตสิกก็จะเข้าประกอบพร้อมกันทันทีทั้ง ๑๙ ดวง ไม่มีเว้นเลย โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา หน้า ๕๑ นัยที่ ๒ ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง นั้น หมายถึงวิรตีเจตสิก ๓ ดวง คือสัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวเจตสิก ย่อมประกอบได้กับจิต ๑๖ ดวง ได้แก่ มหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ นัยที่ ๓ ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง นั้น หมายถึงอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง คือ กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง ซึ่งได้แก่ มหากุสลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓) นัยที่ ๔ ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง ซึ่งได้แก่ กามาวจรญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ อนิยตโยคีเจตสิก อนิยตโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบไม่แน่นอน หมายความว่าเจตสิก นั้นบางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ ๑๑. อิสฺสมจฺฉเรกุกฺกุจฺจ วิรตี กรุณา ทโย นานา กทาจิ มาโนจ ถีนมิทฺธํ ตถา สห ฯ แปลความว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิรตี(๓ ดวง) กรุณา มุทิตา มานะ ถีนะ มิทธะ ย่อมประกอบกับจิตเป็นครั้งคราวไม่พร้อมกัน (ทั้ง ๑๑ ดวงนี้ เป็น อนิยตโยคีเจตสิก) หน้า ๕๒ ๑๒. ยถาวุตฺตานุสาเรน เสสา นิยตโยคิโน สงฺคหญจ ปวกฺขามิ เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ แปลความว่า อาศัยนัยที่กล่าวมานี้ เจตสิกที่เหลือ พึงรู้ว่าเป็น นิยตโยคีเจตสิก เจตสิกที่เหลือ (๔๑ ดวง) เป็นนิยตโยคีเจตสิก (ประกอบได้แน่นอน) ต่อไปนี้จะได้กล่าวสังคหนัยของเจตสิก ตามสมควร อธิบาย เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ อนิยตโยคีเจตสิก และนิยตโยคีเจตสิก ก. อนิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตไม่เสมอไป ไม่เป็นที่แน่นอนกล่าวคือ ประกอบเป็นครั้งคราว มีจำนวน ๑๑ ดวง ได้แก่ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กรุณา มุทิตา มานะ ถีนะ และมิทธะ ข. นิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตเสมอ เป็นที่แน่นอนมี ๔๑ ดวงคือ เจตสิกที่เหลือจาก ๑๑ ดวง นั่นเอง อนิยตโยคีเจตสิก ที่ว่าประกอบกับจิตไม่เสมอไป ไม่แน่นอน บางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ เป็นดังนี้ ๑. อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ๓ ดวงนี้ ถ้าจะเกิดก็ต้องเกิดร่วมกันพร้อมกับโทสจิต และจะต้องเกิดทีละดวง คือทีละอย่างเท่านั้น เพราะอารมณ์ต่างกัน การประกอบเป็นครั้งคราวและทีละดวง เช่นนี้เรียกว่า นานากทาจิ หน้า ๕๓ เวลาที่ริษยาสมบัติของผู้อื่น อิสสาเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่มัจฉริยะและกุกกุจจะไม่เกิด เพราะอารมณ์คนละอย่างต่างกัน เวลาที่เหนียวแน่นในสมบัติของตน มัจฉริยเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและกุกกุจจะไม่เกิด เวลาที่เศร้าใจ รำคาญใจ ในบาปที่ตนได้กระทำไปแล้ว หรือในการบุญที่ตนไม่ได้ทำ กุกกุจจะเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและมัจฉริยะไม่เกิด ๒. วิรตี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก และ สัมมาอาชีวเจตสิก นั้น ถ้าเป็นโลกีย์ ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสล ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางคราว และประกอบทีละดวง เวลาที่เว้น วจีทุจริต ๔ คือ มุสาวาจา ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปวาจา ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้นสัมมาวาจาก็เกิด แต่สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ไม่เกิด เวลาที่เว้นกายทุจริต ๓ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้น สัมมากัมมันตะก็เกิด แต่สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะไม่เกิด เวลาที่เว้นวจีทุจริต ๔ และเว้นกายทุจริต ๓ ที่รวมเรียกว่าเว้นทุจริต ๗ ที่เกี่ยวกับอาชีพเวลานั้นสัมมาอาชีวะเกิด แต่ถือว่าสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่เกิด หน้า ๕๔ แต่ถ้าเป็นโลกุตตรโดยประกอบกับโลกุตตรจิตแล้ว ก็เป็น นิยตเอกโต คือต้องประกอบแน่นอนและประกอบพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง เพราะวิรตีนี้เป็นองค์มัคคมีหน้าที่ประหารกิเลส ถ้าวิรตีไม่เกิด มัคคจิตก็จะเกิดไม่ได้เลย ๓. กรุณาเจตสิก กับมุทิตาเจตสิก ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง เวลาใดที่รับเอาทุกขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่เป็นอารมณ์เกิดกรุณาสงสารต่อสัตว์นั้น ปรารถนาช่วยสัตว์นั้นให้พ้นทุกข์ กรุณาเจตสิกก็เกิดแต่มุทิตาเจตสิกไม่เกิด เวลาใดที่รับเอาสุขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังมีความสุขอยู่เป็นอารมณ์แล้วก็พลอยปิติยินดีกับเขาด้วยเช่นนี้ มุทิตาเจตสิกก็เกิด แต่กรุณาเจตสิกไม่เกิด ๔. มานเจตสิก เพราะมีดวงเดียว ไม่มีพวก จึงเรียกว่าเป็น กทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้ง (ไม่ใช่ นานากทาจิ ซึ่งหมายความว่าประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง) มานเจตสิกนี้ถ้าจะเกิด ก็เกิดใน โลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง ๕. ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก คู่นี้เป็น สหกทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและพร้อมกัน หมายความว่า ถ้าจะประกอบก็ต้องประกอบด้วยกันพร้อมกันทั้งคู่ (ไม่ใช่ทีละดวง) หรือถ้าไม่ประกอบก็ไม่ประกอบทั้งคู่ หน้า ๕๕ สังคหนัย สังคหะ แปลว่า รวบรวม หรือสงเคราะห์ ในที่นี้มีความหมายว่า จิตแต่ละดวงได้รวบรวมเจตสิกเข้ามาไว้เท่าใด คืออะไรบ้าง หรือจิตแต่ละดวงมีเจตสิกอะไรบ้าง รวมเป็นจำนวนเท่าใดมาสงเคราะห์จิตนั้น ๑๓. ฉตฺตึสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตึส มหคฺคเต อฏฺฐตึสาปิ ลพฺภนฺติ กามาวจรโสภณเณ ฯ ๑๔. สตฺตวีสติปญฺญมฺหิ ทฺวาทสาเหตุเกติ จ ยถาสมฺภวโยเคน ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ แปลความว่า โลกุตตรจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๖ ดวง(โลกุตตรจิตอย่างย่อ๘ ดวง) มหัคคตจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๕ ดวง กามาวจรโสภณจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๘ ดวง อกุสลจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๒๗ ดวง อเหตุกจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๑๒ ดวง จิตที่ถูกประกอบด้วยเจตสิก โดยสังคหนัย ๕ อย่าง อนุตตรสังคหนัย อนุตตร มีความหมายว่า เหนืออย่างไม่มีอะไรเหนือกว่า หรือแม้แต่จะเหนือเท่า พ้นอย่างไม่มีอะไรจะเทียบได้ ทั้งนี้ก็หมายถึงโลกุตตรนั่นเอง ดังนั้นอนุตตรสังคหนัย ก็คือ สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต นั่นแหละ ๑๕. ฉตฺตึส ปญฺจตึสา จ จตุตฺตึส ยถากฺกมํ เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจวํ ปญฺจธานุตฺตเร ฐิตา ฯ แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้น (อย่างพิศดาร ๔๐ ดวง) มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับ คือ ๓๖ นัยหนึ่ง , ๓๕ นัยหนึ่ง , ๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ คู่หนึ่ง อธิบาย นัยที่ ๑ ปฐมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปฐมฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒) นัยที่ ๒ ทุติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ทุติยฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒) นัยที่ ๓ ตติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ตติยฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา) นัยที่ ๔ จตุตถฌานมัคคจิต ๔ ดวง จตุตถฌานผลจิต ๔ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา) หน้า ๕๗ นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปัญจมฌานผลจิต ๔ ดวงมีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา) มหัคคตสังคหนัย ๑๖. ปญฺจตึส จตุตฺตึส เตตฺตึส จ ยถากฺกมํ พาตฺตึส เจว ตึเสติ ปญฺจธาว มหคฺคเต แปลความว่า มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับคือ ๓๕ นัยหนึ่ง , ๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ นัยหนึ่ง , ๓๒ นัยหนึ่ง และ ๓๐ นัยหนึ่ง อธิบาย มหัคคตจิต ๒๗ ดวงนั้น เมื่อนับตามอำนาจแห่งฌานแล้ว ก็มีเจตสิกประกอบไม่เท่ากัน จึงจัดได้เป็น ๕ นัย คือ นัยที่ ๑ ปฐมฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) นัยที่ ๒ ทุติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มี หน้า ๕๘ เจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒(เว้นวิตกเจตสิก)โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓) นัยที่ ๓ ตติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นวิตก วิจาร)โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓) นัยที่ ๔ จตุตถฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓) นัยที่ ๕ ปัญจมฌาน ๑๕ ดวง คือ รูปาวจรปัญจมฌาน กุสล วิบาก กิริยา ๓ ดวง อรูปาวจร กุสล วิบาก กิริยา ๑๒ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐(เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก๒๐(เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒) กามาวจรโสภณสังคหนัย ๑๗. อฏฐตึส สตฺตตึส ทฺวยํ ฉตฺตึสกํ สุเภ ปญฺจตึส จตุตฺตึส ทฺวยํ เตตฺตึสกํ กฺริเย ฯ ๑๘. เตตฺตึส ปาเก พาตฺตึสทฺ วเยกตึสกํ ภว สเหตุกกามาวจร ปญฺญปากกฺริยามเน ฯ แปลความว่า ในสเหตุกกามาวจร กุสล วิบาก กิริยา มีสังคหะ หน้า ๕๙ ตามลำดับคือ มหากุศล มี ๓๘ หนึ่งนัย ๓๗ สองนัย ๓๖ หนึ่งนัย มหาวิบาก มี ๓๕ หนึ่งนัย ๓๔ สองนัย ๓๓ หนึ่งนัย มหากิริยา มี ๓๓ หนึ่งนัย ๓๒ สองนัย ๓๑ หนึ่งนัย อธิบาย ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะรวม ๑๒ นัย ดังนี้ คือ มหากุสล ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๘, ๓๗, ๓๗, ๓๖ มหากิริยา ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๕, ๓๔, ๓๔, ๓๓ มหาวิบาก ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๓, ๓๒, ๓๒, ๓๑ นัยที่ ๑ มหากุสล คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ ที่เป็นญาณสัมปยุตต ทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง เต็มที่ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕ นัยที่ ๒ มหากุสล คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ ซึ่งเป็นญาณวิปปยุตตทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) นัยที่ ๓ มหากุสล คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ ซึ่งเป็นอุเบกขาทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๕ นัยที่ ๔ มหากุสล คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ ซึ่งทั้งคู่เป็นอุเบกขาด้วยเป็นญาณวิปปยุตตด้วย มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญา) หน้า ๖๐ นัยที่ ๕ มหากิริยาคู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) นัยที่ ๖ มหากิริยาคู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ๓ ปัญญา ๑) นัยที่ ๗ มหากิริยา คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี) นัยที่ ๘ มหากิริยา คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ปัญญา) นัยที่ ๙ มหาวิบาก คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา) นัยที่ ๑๐ มหาวิบาก คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา) นัยที่ ๑๑ มหาวิบาก คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา) หน้า ๖๑ นัยที่ ๑๒ มหาวิบาก คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา) โสภณเจตสิกที่ไม่ได้สังคหนัย ต่อไปนี้จะแสดงโสภณเจตสิกบางดวง ที่ไม่ได้ประกอบกับโสภณจิต บางประเภท ๑๙. น วิชฺชนเตตฺถ วิรตี กฺริเยสุ จ มหคฺคเต อนุตฺตเร อปฺปมญฺญา กามปาเก ทฺวยํ ตถา ฯ แปลความว่า โสภณเจตสิกที่กล่าวมานี้ ในมหากิริยาจิต ย่อมไม่มีวิรตีเจตสิก ในโลกุตตรจิต ย่อมไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก ในมหาวิบากจิต ย่อมไม่มีทั้ง ๒ (คือทั้งวิรตี และ อัปปมัญญา) อธิบาย ๑. ในมหากิริยาจิต ๘ ดวง ทั้งนี้เป็นเพราะมหากิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งจบการศึกษาแล้ว เป็นผู้ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวง ตั้งแต่อรหัตตผลได้เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่จำเป็นหรือไม่มีกิจที่จะต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่วหรือเว้นเลี้ยงชีพชั่วอีกเลย ด้วยว่าไม่มีกิเลสเหลือที่จะให้ทำชั่วอย่างนั้น หรืออย่างไหน ๆ ทั้งสิ้น หน้า ๖๒ ๒. ในมหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกประกอบ เพราะมหัคคตจิตเกิดขึ้นโดยมีกัมมัฏฐานเป็น อารมณ์ ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเว้นทุจริตซึ่งจะต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ (วัตถุอันพึงเว้น) เป็นอารมณ์แต่อย่างใด ๓. ในโลกุตตรจิต ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิกประกอบ เพราะอัปปมัญญาเจตสิก จะต้องมีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว ๔. ในมหาวิบากจิต ๘ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ และอัปปมัญญาเจตสิกทั้ง ๒ รวม ๕ ดวงนี้ ประกอบด้วยเลย เพราะมหาวิบากเป็นจิตที่เป็นผลของมหากุสล ทำหน้าที่ปฏิสนธิ เป็นต้น เมื่อขณะปฏิสนธินั้น ไม่ต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่ว และเว้นเลี้ยงชีพชั่ว ทั้งขณะนั้นก็ไม่ได้กรุณาสงสารผู้ใด ไม่ได้มีมุทิตา คือพลอยยินดีกับใคร อันเป็นการเว้น คือไม่เกิด หรือเกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ จึงไม่ต้องมีวิรตีเจตสิก อัปปมัญญเจตสิก มาประกอบ ธรรมบางประการที่ทำให้จิตต่างกัน ๒๐. อนุตฺตเร ฌานธมฺมา อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม วิรตี ญาณ ปีติ จ ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ แปลความว่า ในโลกุตตรจิต ฌานธรรมย่อมทำให้ต่างกัน ในมหัคคตจิต ฌานธรรมและอัปปมัญญา ทำให้ต่างกัน ในกามาวจรโสภณจิต วิรตี ญาณ ปีติ ทำให้ต่างกัน อธิบาย ๑. ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือฌานทั้ง ๕ ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือต่างกันจาก ๘ ดวง เป็น ๔๐ ดวง และ วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปฐมฌาน ต่างกับโลกุตตร ทุติยฌาน วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตร ทุติยฌาน ต่างกับโลกุตตร ตติยฌาน ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตร ตติยฌาน ต่างกับโลกุตตร จตุตถฌาน สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร จตุตถฌาน ต่างกับโลกุตตร ปัญจมฌาน อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปัญจมฌาน ต่างกับโลกุตตร ฌานต้น ๆ ๒. ในมหัคคตจิตนั้น ฌานธรรมและอัปปมัญญาเจตสิก ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกัน ดังต่อไปนี้ วิตกเจตสิก ทำให้โลกีย ปฐมฌาน ต่างกับโลกีย ทุติยฌาน วิจารเจตสิก ทำให้โลกีย ทุติยฌาน ต่างกับโลกีย ตติยฌาน ปีติเจตสิก ทำให้โลกีย ตติยฌาน ต่างกับโลกีย จตุตถฌาน สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย จตุตถฌาน ต่างกับโลกีย ปัญจมฌาน อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ อัปปมัญญาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ ๓. ในกามาวจรโสภณจิตนั้น วิรตีเจตสิก ญาณคือ ปัญญาเจตสิกและปีติเจตสิก ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกันดังนี้ มหากุสลจิต มีวิรตีประกอบ ทำให้ต่างกับมหากิริยาจิต ซึ่งไม่มีวิรตีประกอบ หน้า ๖๔ จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต มีปัญญาเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ซึ่งไม่มีปัญญาเจตสิกประกอบ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา มีปีติเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ซึ่งไม่มีปีติเจตสิกประกอบ อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า ในกรณีใดที่ปัญญาเจตสิก หรือปีติเจตสิกจึงประกอบ หรือไม่ประกอบนั้น ดังนี้ จิตดวงใดที่เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว จิตดวงนั้นจะต้องมีปัญญาเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน จิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาแล้ว จิตดวงนั้นจะต้องมีปีติเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน (เฉพาะกามจิต) ดังนั้น ก็พึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า จิตดวงใดที่เป็นญาณวิปปยุตต คือไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว ปัญญาเจตสิกก็ย่อมไม่เข้าประกอบอยู่เอง และจิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา ความเสียใจก็ดีเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา เฉย ๆ ก็ดี ปีติ คือความอิ่มใจ ย่อมเข้าประกอบด้วยไม่ได้เลย เพราะความเสียใจ หรือความเฉย ๆ จะไม่มีความอิ่มใจ อกุสลสังคหนัย ๒๑. เอกูนวีสฏฺฐารส วีเสกวีส วีสติ ทฺวาวีส ปนฺนรเสติ สตฺตธากุสเล ฐิตา ฯ แปลความว่า อกุศลจิตมีสังคหะ ๗ นัย ตามลำดับ คือ ๑๙ นัยหนึ่ง , ๑๘ นัยหนึ่ง , ๒๑ นัยหนึ่ง , ๒๐ นัยหนึ่ง , ๒๒ นัยหนึ่ง และ ๑๕ นัยหนึ่ง หน้า ๖๕ อธิบาย อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบได้ รวมทั้งหมด ๒๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุสลเจตสิก ๑๔ แต่ว่า อกุสลจิตแต่ละดวงนั้นมีเจตสิกประกอบได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นอกุสล จิต ๑๒ ดวง จึงจัดสังคหะได้เป็น ๗ นัย คือ นัยที่ ๑ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๓ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ สัพพากุสลสาธารณเจตสิกหรือโมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ (เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๑) มานเจตสิก ๑ (เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๓) นัยที่ ๒ โลภมูลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๗ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑(ประกอบเฉพาะดวงที่ ๕) มานเจตสิก (ประกอบ เฉพาะดวงที่ ๗) นัยที่ ๓ โลภมูลจิตดวงที่ ๒ กับดวงที่ ๔ อันเป็นสสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๒) มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๔) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑ นัยที่ ๔ โลภมูลจิตดวงที่ ๖ กับดวงที่ ๘ อันเป็นสสังขาริก เหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) หน้า ๖๖ โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๖) มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๘) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑ นัยที่ ๕ โทสมูลจิตดวงที่ ๑ อันเป็นอสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ นัยที่ ๖ โทสมูลจิตดวงที่ ๒ อันเป็นสสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๒ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑ นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบเป็นจำนวนเท่ากัน คือ ๑๕ ดวง แต่มีที่ต่างกัน คือ ก. โมหมูลจิต ดวงที่ ๑ได้แก่ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตหรือวิจิกิจฉาสหคตจิต เจตสิกที่ประกอบคืออัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวม ๑๕ ดวง ข. โมหมูลจิต ดวงที่ ๒ ได้แก่ อุทธัจจสัมปยุตตจิต มีเจตสิกที่ประกอบ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ รวม ๑๕ ดวง เท่ากันกับ ก. สัพพากุสลโยคีเจตสิก ๒๒. สาธารณา จ จตฺตาโร สมานา จ ทสาปเร จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ สพฺพากุลสโยคิโน ฯ หน้า ๖๗ แปลความว่า สัพพากุสลสาธารณเจตสิก ๔ ดวง อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก อธิบาย สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด (ทั้ง ๑๒ ดวง) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก หรือโมจตุกะ ๔ ดวงคือ โมห อหิริก อโนตตัปป อุทธัจจ กับอัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง คือ ผัสส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร และ วิริยะ (เว้นอธิโมกธ ปีติ ฉันทะ) รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเป็นเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด หมายความว่า อกุสลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงหนึ่งดวงใดเกิดขึ้นเป็นต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวงนี้ ประกอบเสมอไปอย่างแน่นอน อเหตุกสังคหนัย ๒๓. ทฺวาทเสกาทส ทส สตฺต จาติ จตุพฺพิโธ อฏฐารสาเหตุเกสุ จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย ตามลำดับ คือ ๑๒ หนึ่งนัย , ๑๑ หนึ่งนัย , ๑๐ หนึ่งนัย , ๗ หนึ่งนัย หน้า ๖๘ อธิบาย อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ประเภทเดียวเท่านั้น คือ อัญญสมานาเจตสิก และอัญญสมานาเจตสิกก็เข้าประกอบกับอเหตุกจิตได้เป็นอย่างมากเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น ส่วนอีกดวง คือ ฉันทเจตสิกเข้าประกอบกับอเหตุกจิตด้วยไม่ได้เลยเป็นเด็ดขาดแน่นอน เหตุที่ฉันทเจตสิกไม่ประกอบกับอเหตุกจิตเลยนั้น เพราะว่าฉันทเจตสิกนี้มีลักษณะ คือ ความพอใจในอารมณ์ มีความปรารถนาจะกระทำ มีความปลงใจกระทำ ส่วนอเหตุกจิตนั้นเป็นจิตที่แม้ว่าจะปลงใจกระทำหรือไม่ ก็ต้องเกิด เช่น จักขุวิญญาณจิต มีหน้าที่เห็นรูป ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยงามอยากเห็นหรือเป็นรูปที่น่าเกลียดน่ากลัวไม่อยากเห็น เมื่อรูปนั้นมาปรากฏเฉพาะหน้า ก็จะต้องเห็น จะเลือกเห็นเฉพาะรูปที่สวยงามไม่ได้ ทางโสตวิญญาณจิต มีหน้าที่ได้ยินเสียงก็เช่นกัน จะเลือกได้ยินแต่เสียงที่เพราะ ๆ รื่นหู ก็ไม่ได้ ซึ่งผิดกับจิตอื่นที่มีฉันทเจตสิกประกอบ เช่นโทสจิต เป็นต้น เมื่อได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี เช่นเห็นสุนัขขี้เรื้อน ผู้เห็นพอใจปลงใจจะให้เกิดความเกลียดชังก็ได้ หรือจะเลือกในทางไม่เกลียดก็ได้ ถ้าเลือกในทางเกลียด โทสจิตก็เกิด ถ้าเลือกในทางสงสารว่าเป็นกรรมของสัตว์นั้น โทสจิตก็ไม่เกิด แต่กลับเป็นโสภณจิต ดังนั้นฉันทเจตสิกจึงไม่เกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย เพราะเป็นจิตที่เลือกไม่ได้ตามใจชอบ หน้า ๖๙ อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย คือ นัยที่ ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง อันเป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์โดยเฉพาะ บุคคลอื่นใดไม่มีจิตดวงนี้ หสิตุปปาทมีเจตสิกประกอบ ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันท) นัยที่ ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง (เรียกอีกชื่อหนึ่งตามกิจ หรือหน้าที่การงานว่า โวฏฐัพพนจิตก็ได้) และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง จิต ๒ ดวงนี้ มีเจตสิกประกอบ ๑๑ ดวง เท่ากัน แต่มีที่ต่างกัน คือ เจตสิกที่ประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก และฉันทเจตสิก) ส่วนเจตสิกที่ประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ แต่เว้นวิริยเจตสิก กับฉันทเจตสิก นัยที่ ๓ มโนธาตุ ๓ ดวง (ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง) กับอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ ดวง (คืออุเบกขาสันตีรณจิต ๒) รวมจิต ๕ ดวงนี้ มีเจตสิกประกอบได้ ๑๐ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริย ปีติ ฉันท) นัยที่ ๔ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง มีเจตสิกประกอบได้จำพวกเดียว คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเท่านั้นเอง ๒๔. อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ สตฺต เสสา ยถารหํ อิติ วิตฺถารโต วุตฺโต เตตฺตึสวิธ สงฺคโห ฯ หน้า ๗๐ แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ ย่อมประกอบด้วย สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วน ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวงนั้น ย่อมประกอบกับจิตตามที่จะประกอบได้ เมื่อนับโดยพิสดารย่อมได้สังคหนัย ๓๓ นัยดังได้กล่าวมาแล้ว ๒๕. อิตถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ จิตฺเตน สมมุทฺทิเส ฯ แปลความว่า ตามที่ได้กล่าวมา พึงรู้สัมปโยคนัยและสังคหนัยของเจตสิกเสียก่อน แล้วจึงจำแนกประเภทของจิตและ เจตสิกที่ประกอบกัน ตามที่จะเข้ากันได้เถิด อธิบาย สัมปโยคนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่า เจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดบ้าง สังคหนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่าจิตแต่ละดวงมีเจตสิกใดมาร่วมสงเคราะห์บ้าง สัมปโยคนัย มี ๑๖ นัย คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ได้สัมปโยค ๑ นัย ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ได้สัมปโยค ๖ นัย อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง ได้สัมปโยค ๕ นัย โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ได้สัมปโยค ๔ นัย รวม ๕๒ ดวง ได้สัมปโยค ๑๖ นัย หน้า ๗๑ สังคหนัย มี ๓๓ นัย คือ โลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง มีสังคหะ ๑๒ นัย อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีสังคหะ ๗ นัย อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย รวมจิต ๑๒๑ ดวง มีสังคหะ ๓๓ นัย อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๒ อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ทุติเย ปริจฺโฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ ในปริจเฉทที่ ๒ ( ชื่อ เจตสิกสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวมรวบ ซึ่งอรรถแห่งอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น