วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มอเตอร์สามเฟสหนึ่งแรงม้าทำงานด้วยไฟฟ้า48โวลต์จากแบตเตอรี่ ตลาดรถยนต์ไทยกำลังถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หลังสำนักงานส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เตรียมออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยรัฐบาลคาดว่าภายในปีนี้จะประกาศนโยบายสนับสนุนได้ การส่งเสริมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นความพยายามการรักษาฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค หลังจากที่ก่อนหน้านั้นไทยมีจุดแข็งในเรื่องฐานการผลิตปิกอัพและอีโคคาร์ แต่การผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันกำลังเผชิญกั การแข่งขันมากขึ้นจากหลายประเทศ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงาน "Energy Forumครั้งที่ 3" เรื่อง"อนาคตยานยนต์ไฟฟ้ากับการพัฒนาพลังงาน ว่า กระทรวงพลังงานมีแนวทางส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังในเมืองใหญ่ โดยคาดว่าทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะนำเสนอบอร์ดบีโอไอภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายชักชวนให้มีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ "คาดว่านโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถประกาศ ออกมาได้ภายในปีนี้ หลังจากนั้นเอกชนจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีในการตั้งโรงงาน ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ในอีก 3 ปี จะเริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์" นายณรงค์ชัย กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงพลังงานจะมีการปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและก๊าซ เพื่อให้สถานีบริการน้ำมันและก๊าซฯ โดยเฉพาะของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถที่จะตั้งจุดบริการเพื่อชาร์จไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ จากปัจจุบันที่การจำหน่ายไฟฟ้าในลักษณะขายปลีกอนุญาตให้เฉพาะการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น นอกจากนี้ ยังจะมีมาตรการอื่นๆ ที่จะจูงใจให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางประจำวันกันมากขึ้น "แนวทางการส่งเสริมจะทั่วไปจะเน้นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการผลิตในประเทศมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้านำเข้า โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนของอัตราค่าไฟฟ้าที่จะแข่งขันได้กับเชื้อเพลิงประเภทอื่นที่ใช้กันอยู่ปกติคือน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะต้องไม่แพงกว่ารถยนต์ทั่วไปรวมทั้งการเพิ่มจุดที่จะให้บริการในการชารต์ไฟฟ้าที่ทั่วถึง" นายณรงค์ชัย กล่าวว่า การส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลก เพราะระยะการเดินทางจากบ้านถึงที่ทำงานไม่ไกล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงต้องมีความพร้อมที่จะเตรียมมาตรการต่างๆ เอาไว้รองรับชงบอร์ดบีโอไอพิจารณาใน2เดือน นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า แนวทางการส่งเสริมของบีโอไอในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้มีการลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีความสำคัญมากขึ้นจากที่เคยให้การส่งเสริมอยู่ เช่น ระบบมอเตอร์ ระบบแบตเตอรี่ เป็นต้น เพื่อไม่ต้องการที่จะให้เป็นเพียงการเข้ามาตั้งโรงงานประกอบเท่านั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณาการนโยบายการส่งเสริมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงานคาดว่าจะสามารถนำเข้าบอร์ดบีโอไอได้ภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมลงทุนผลิตระบบปรับอากาศของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว 1 ราย โดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี เป็นสัดส่วนไม่เกิน 100% ของเงินลงทุนการยกเว้นอากรขาเข้าของเครื่องจักร และยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อส่งออก สำหรับในส่วนของมาตรการภาษีของรถยนต์ไฟฟ้านั้น ทางกรมสรรพสามิตได้มีการกำหนดโครงสร้างอัตราภาษีที่เตรียมพร้อมเอาไว้แล้วและจะเริ่มใช้ในปี 2559 โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะเสียภาษีอยู่ที่ 10% ในขณะที่รถยนต์อีโคคาร์ ซึ่งใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน อัตราภาษีจะลดลงจากปัจจุบัน 17% เหลือ 14% และอีโคคาร์ที่ใช้น้ำมัน อี85 จะมีอัตราภาษีอยู่ที่ 12% ยอดใช้ทั่วโลกเพิ่มปีละ6ล้านคัน นายโชคดี กล่าวว่า ปัญหาเรื่องของการขาดแคลนพลังงานและภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยผลักดันให้มีการผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งไม่มีไอเสียมากขึ้น โดยข้อมูลในปี2555 ทั่วโลกใช้รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 180,000 คัน โดยสหรัฐมีการใช้สูงสุด 38% และญี่ปุ่น 24% และมีกาคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 6 ล้านคันต่อปี จากปี 2555 และจะมีรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกประมาณ 20 ล้านคัน สำหรับในประเทศไทยมองว่าปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า คือ โครงสร้างพื้นฐานที่จะมารองรับการผลิตและการใช้ที่จะต้องจัดเตรียมให้พร้อม เช่น ปริมาณการผลิตไฟฟ้า สถานีให้บริการชาร์จไฟฟ้า เรื่องขนาดของตลาดในประเทศและส่งออกที่มากพอสำหรับการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศการพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำลง สามารถเดินทางได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น และนโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเตรียมศึกษาผลกระทบ นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานเตรียมประเมินผลดี ผลเสีย และผลกระทบของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามาในไทย เพื่อรองรับทิศทางรถยนต์อนาคต รวมถึงการประเมินการใช้ไฟฟ้าว่าจะมากขึ้นเท่าไร พร้อมกันนี้จะต้องหารือกับการไฟฟ้าเพื่อกำหนดราคาจำหน่ายไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจน โดยจะพยายามมุ่งเน้นให้รถยนต์ไฟฟ้าไปชาร์จไฟฟ้าในช่วงที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าน้อยๆ โดยเฉพาะหลัง 21.00 น.ไปแล้ว แต่จะต้องกำหนดราคาจำหน่ายให้แตกต่างกันระหว่างชาร์จไฟฟ้าช่วงกลางวันกับช่วงค่ำ เพื่อจูงใจไม่ให้สร้างความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เกิดขึ้นในรอบวันด้วย ในปี 2557 มีรถยนต์ไฟฟ้าที่นำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว จำนวน 2,372 คัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้เบนซิน ที่มีอยู่ ประมาณ 4.4 ล้านคันและรถยนต์ที่ใช้ดีเซล 7.6 ล้านคัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น