วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
การเจริญพระกรรมฐานคำนำวิชชา มโนมยิทธิ เป็นหลักสูตรทางพระพุทธศาสนาในด้านวิชชา ๓ กึ่งอภิญญา คำว่า มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจ เป็นวิชชาที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) นำมาสอนศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัทฯจุดประสงค์สำคัญ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้พิสูจน์พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องนรก สวรรค์ พรหม พระนิพพาน ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นจริง เป็นการสร้างกำลังใจ และทำให้การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์เป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็วผู้ที่ฝึก มโนมยิทธิ ได้ การทรงอารมณ์ พระโสดาบัน จะได้ผลอย่างรวดเร็ว เพราะ พระโสดาบัน ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ สักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส และพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ท่านกล่าวไว้ว่า การละสักกายทิฏฐิของพระโสดาบัน คือ คิดว่าตัวเราจะต้องตายแน่ และให้นึกถึงความตายอยู่เสมอ คิดว่าเราอาจจะตายวันนี้พรุ่งนี้ จะได้ไม่ประมาทในชีวิตผู้ที่ฝึก มโนมยิทธิ ได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการตัดตัววิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องสวรรค์-นรก ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นจริง เป็นการละสังโยชน์ข้อที่ ๒ ในสังโยชน์ ๑๐เห็นโทษจากการละเมิดศีล ก็จะตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เป็นการละสังโยชน์ข้อที่ ๓ คือ สีลัพพตปรามาสการปฏิบัติพระกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นสายใดก็ดีทุกสาย ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกจริตกับเราหรือไม่ เพราะทุกสายมีจุดมุ่งหวังเดียวกัน คือเพื่อความพ้นทุกข์ไปข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอ ก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มี ฤทธิ์ทางใจบางเหล่า .. กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด นิโรธสูตร ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอ ก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มี ฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่าน พระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วง ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทาง ใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วย ปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วง ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทาง ใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร ว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิง การาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิต- *นิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคันค้าน เราถึง ๓ ครั้ง และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุ อรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารี- *บุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่าน พระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็น ภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี ... ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มี พระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่งเสีย ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ก็เธอย่อมหมายถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่าเทพชั้นอรูปที่สำเร็จ ด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด จึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอควรพูด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจักวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาดซึ่ง ถูกเบียดเบียนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมี ได้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง พระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไป หาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนา นี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่ พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้น แสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็น ของอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้าไปนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบน อาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถามท่านพระอุปวาณะว่า ดูกรอุปวาณะ ภิกษุ ผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ๑ เธอเป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เธอเป็นผู้มีวาจา ไพเราะ มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑ เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ เธอย่อม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ พ. ดีละๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้ ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อนพรหมจรรย์พึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มี หนังย่น อะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เถระ ฉะนั้น เพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ฯ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เธอเป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑ เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ เธอย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น