วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เคยได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าจงเป็นตะเกียงให้กับตัวเอง มรรคทางเดิน ทางปฏิบัติ สัมมาทิฎฐิมาก่อนสิ่งอื่นคือปัญญา คือการปล่อยวางสุขในโลกธรรม๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจก่อน จึงจะมีศีล คือการไม่เห็นแก่ตัว รักผู้อื่นและสรรพสัตว์โดยสมบูรณ์ ประกอบเป็นสัมมาอาชีวะ สัมมาอื่นตามมา จึงมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือการเพ่งสติระลึกถึงความไม่ใช่ตัวตนทุกลมหายใจเข้าออก โดยสลัดคืนลมหายใจหรือจิตนี้ ( อานาปานสติขั้นที่๑๖ ขั้นสุดท้าย )คืนกลับให้เจ้าของเดิม คือธรรมชาติ ซึ่งธาตุลมนี้ก็ไม่ได้เกิด และก็ไม่ได้ตาย เป็นของมีอยู่แล้วสำหรับโลก จิตย่อมเป็นอิสระ ในสามส่วน เป็นวิชา เป็นวิมุตติ จบกิจพระพุทธศาสนา ดั่งคำพระตถาคตที่ตรัสไว้ดีแล้วว่า ดูกรอานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละ ความโลภความโกรธความหลง ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดี ที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ อย่ายินดี อย่ายินร้าย ถ้าละความโลภ ความโกรธ ความหลงในปัจจัยนั้น ได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินเป็นอันถึง พระนิพพานได้โดยแท้ โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น