วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เห็นสิ่งเดียวกันจิตต้นกำเนิดหรือจิตอวิชา หรือจิตผู้รู้ ตัวเดียวกัน ที่พวกเราต้องฝึกหาจิตผู้รู้นะ ให้มีจิตผู้รู้นะ นั่นแหละจิตผู้รู้นั้นแหละ ยังเป็นจิตอวิชาอยู่ แต่อาศัยมันก่อน แล้ววันหนึ่งก็ค่อยมาทำลายตัวนี้ไป อีกทีหนึ่งก่อน เนี่ยดูแล้วมันละเอี๊ยดละเอียดนะ มันสว่าง มันผ่องใสนะ มันมีอวิชาซ่อนอยู่ ถ้าหยาบๆขึ้นมานะ ไม่ใช่อวิชาแล้ว ตื้น กลายเป็นกิเลสหยาบๆแล้ว ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้­เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง ถ้าเห็นตัวผู้รู้เป็นตัวทุกข์ ก็เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือจิต มันจะสลัดคืนจิตให้โลกไปเลย จะสลัดคืนตัวรู้ คืนตัวรู้ให้โลกไป พอสลัดตัวรู้ทิ้ง ตัณหาจะไม่เกิดอีก ทันที่รู้แจ้งทุกข์นะ มันจะสลัดตัวทุกข์ออกไป พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วมันจะสลัดทิ้งเอง สลัดคืน เรียกว่าสลัดคืน ปฏินิสสัคคะสลัดคืนจริงๆ คืนโลก เนี่ยคำแต่ละคำในพระไตรปิฎก ในตำรับตำรานะ ตรงเป๊ะๆเลย เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เห็นตัวจิตผู้รู้นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ก็สลัดคืนตัวผู้รู้ให้โลกไป ในขณะนั้นละสมุทัยเรียบร้อยแล้ว ความอยากจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว รู้ทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยในคราวเดียวกั­นเลย ในขณะนั้นแจ้งนิโรธคือพระนิพพานเลย ในขณะเดียวกัน ในขณะนั้นเกิดอริยมรรคเลย ในขณะเดียวกัน เบื้องต้นให้รู้สึกตัวให้เป็นก่อน มีสติรู้กายรู้ใจ…ถึงจุดหนึ่งใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมา มีสติรู้กายรู้ใจต่อไป…ถึงจุดหนึ่งมันจะรู้โดยไม่เจตนาจะรู้สึก (เกิดสติตัวจริง) สติเกิดปั๊บใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมาได้เอง พอสติตัวจริงเกิด จิตจะมีความสุข พอจิตมีความสุข จิตจะมีสัมมาสมาธิ (สมาธิชั้นดี ตั้งมั่นในการรู้กายรู้ใจ) พอสติระลึกรู้กาย…จะเห็นทันทีว่ากายไม่ใช่ตัวเรา มีสติ มีสมาธิ ต่อไปเรื่อยๆ เกิดปัญญาตัวทีหนึ่งเรียก “นามรูปปริจเฉทญาณ” เห็นนามอยู่ส่วนหนึ่ง รูปอยู่ส่วนหนึ่ง… จะรู้สึกกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นว่ากายไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา ขันธ์ 5 เริ่มกระจายตัวออกไป (ทำลายสัญญาวิปลาส ต้องจับสิ่งที่เรียกว่าเรากระจายตัวออกไป เรียก วิภัชวิธี) สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ…พอเรามีสติจริงๆ มีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่น สติระลึกลงไปรู้กายรู้ใจ…จะเห็นมันแยกส่วนกันกายอยู่ส่วนนึง จิตอยู่ส่วนนึง (กายกับจิตแยกจากกันเหมือนมีช่องว่างมาขั้น ไม่ใช่อันเดียวกันอีกต่อไป) เวทนากับจิตแยกส่วนกัน เหมือนมีช่องว่างมาขั้น… กุศล/อกุศล แยกออกจากจิต ตัวจิตเองก็เกิดดับ (เดี๋ยวเกิดที่ตา เดี๋ยวเกิดที่หู จมูก ลิ้น กาย ใจ…) สรุปว่าเบื้องต้น จะเห็นก่อนว่ามันกระจาย กระจายแล้วจะเห็นว่าแต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา… รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา แต่ละตัวมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ… เป็นปัญญาอีกขั้นเรียก “ปัจจยปริคคหญาณ” (รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สภาวะธรรมทั้งหลายไม่ได้เกิดลอยๆ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ) เห็นต่อไปสักพัก ปัญญาจะประณีตลึกซึ้งขึ้นไปอีก เริ่มรู้ว่าทั้งกายทั้งใจเป็นไตรลักษณ์ เกิด “สัมมสนญาณ” คือเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิด ตรึกตรอง เปรียบเทียบ…ตรงนี้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ตามรู้ตามดูต่อไป ถึงจุดที่สติและสัมมาสมาธิมีแรงพอ เริ่มเห็นความเกิดดับ (เช่น เห็นจิตเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาขั้น) พบว่าจิตดวงนึงกับจิตอีกดวงนึงเป็นคนละดวงกันเรียกว่า “สันตะติขาด” ภาวนาจนเห็นสันตะติขาด จึงเรียกว่าขึ้นวิปัสสนาจริงๆ ดูต่อไป เห็นสภาวะ เกิด-ดับ เกิด-ดับ สืบเนื่องกันไปแต่เป็นคนละอันกัน เห็นมากเข้าๆ ตัวเราหายไปไหน ??…ร่างกายไม่ใช่เรา….จิตใจไม่ใช่เรา…. จะตกใจ กลัว โหวงๆ เบื่อทุกอย่าง ใจจืดแต่สว่าง เห็นโลกจืดชืด ใจมีนิพพิทา (นิพพิทาญาณ) มองโลกแบนๆ ราบเป็นหน้ากลอง ตรงนี้ยังไม่ได้ตัดด้วยอริยมรรค แต่เกิดจากความรักตัวเอง ถึงตรงนี้คือได้ครึ่งทาง มีสติต่อไป เห็นสภาวะทั้งหลายเป็นสิ่งแปลกปลอม…เป็นความรู้สึกที่ปรุงขึ้นมา…พอรู้ทันก็ดับไป ใจจะตั้งมั่นเห็นว่ามันทำงานของมันเอง สั่งมันไม่ได้จริง…เห็นร่างกายไม่ใช่เรา เห็นว่าร่างกายถูกความทุกข์บีบคั้น เห็นด้วยใจที่เป็นกลาง…ส่วนจิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเรา ดูเรื่อยๆ … พอเผลอ…ก็มีตัวเรา พอมีสติ…ตัวเราก็หายไป แต่คราวนี้ไม่กลัวแล้ว…. ดูไปๆ ปัญญาเริ่มแจ้ง เห็นทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น พอใจรู้และยอมรับตรงนี้ ความสุขเกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะรักษา ความสุขไม่เกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะแสวงหา ความทุกข์เกิด….จิตจะไม่เกลียด ไม่ดิ้นรนที่จะผลักออก ความทุกข์ไม่เกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะป้องกัน จิตหมดความดิ้นรน จิตหมดความปรุงแต่ง จิตหมดการทำงาน เหลือแต่รู้…แล้วก็สักว่ารู้… จิตไม่ปรุงต่อ… จะเห็นสภาวธรรมเคลื่อนผ่านไปเรื่อยๆ ใจรู้อย่างแจ่มแจ้งว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นภาพลวงตา…ไม่อินเข้าไป ไม่ดิ้นรน ไม่ปรุงแต่ง เมื่อสติปัญญาแก่รอบพอ จิตจะรวมลงอัปปนาสมาธิด้วยตัวเอง… เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเกิดกระบวนการของอริยมรรค (อัปปนาสมาธิเรียกเอกัคคตาเจตสิก มีหน้าที่เป็นที่ประชุมรวบรวมองค์มรรคทั้งหลาย คือที่เหลืออีก 7 ตัว) มีสัมมาสมาธิเกิดขึ้นที่จิต…พอรวมลงช่วงแรกจะยังส่งกระแสออกไป (เนื่องจากมันเคยชิน) ออกไปรู้สภาวะภายนอก แต่รู้แบบสักว่ารู้อย่างแท้จริง รู้อยู่ในอัปปนาสมาธิ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร…เพราะไม่มีสมมติบัญญัติ ถึงขั้นไม่มีสมมติบัญญัติ….จิตจะมีขันติอย่างยิ่ง อดทนต่อสิ่งเร้า มันจะตั้งมั่นแต่ยังส่งกระแสออกไป…มีกระแสแห่งความรับรู้ไหลออกไป เห็นสภาวะเกิดดับ …บางคนเห็น 2 ขณะ…บางคนเห็น 3 ขณะ แจ้งอริยสัจขึ้นมา…มันจะทวนกระแส….ตัดกระแสที่ส่งออกไป….มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้ กลับเข้ามาหาจิต (จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง) สัมมาสมาธิจะประชุมองค์ธรรมฝ่ายกุศลทั้งหมด รวมลงที่จิต…องค์มรรครวมตัวกัน รวมพลังของมรรคทั้งหมด รวมทั้งโพธิปักขิยธรรม 37 ( ตั้งแต่30กว่าๆขึ้นไป ) ประชุมลงที่จิต เกิดพลังทำลายล้างวัฏจักร เบื้องต้นทำลายไม่ได้จริง…แค่กรีดมันขาดออกจากกัน แล้วก็กลับมาปิดอีก กรีดครั้งที่ 2 ถ่างออกมากขึ้น แล้วก็กลับมาปิดอีก กรีดครั้งที่ 3 แรงมากขึ้น แล้วก็กลับมาปิดอีก กรีดครั้งที่ 4 โลกถล่มทลาย วัฏจักรจะคว่ำลงไป แล้วจะไม่มีอะไรเข้ามาปิดอีก จิตซึ่งไม่ถูกอะไรปิดจะดีดตัวขึ้นมาเต็มโลกธาตุเรียก “วิมริยาทิกตจิต”(มีจิตไร้ขอบคั่น หรือมีใจไร้เขตแดน)จิตใหญ่เต็มโลกธาตุ…. ไม่มีอะไรครอบงำอีก….ไม่มีการไป…ไม่มีการมา…. จิตปราศจากสิ่งห่อหุ้ม กระจายเป็นเนื้อเดียวกับจักรวาล ไม่มีขอบ…ไม่มีเขต…ไม่มีจุด…ไม่มีดวง… ไม่มีอะไรปรุงแต่งมันได้อีก อาสวกิเลสเป็นทางผ่านให้กิเลสไหลมาสู่จิตได้ พอเข้าใจธรรมะแจ่มแจ้ง จะทำลายอาสวกิเลส ทำลายสังโยชน์…ไม่มีช่องเชื่อมต่อให้กิเลสกลับเข้ามาอีก มันขุดคุ้ยถึงภวังคจิต…อนุสัยทั้งหลายสลายตัวหมดถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง. พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้ ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น