วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ของจริงเป็นหนึ่งของไม่จริงเป็นคู่สัทธาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗ } พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร วิริยพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ สติพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ สมาธิพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับ ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก ว่า สมาธิพละ ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล วิตถตสูตรที่ ๔ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น