วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
จิตของเราคือหลักธรรมคติธรรม จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นทุกข์อุปาทาน สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม เป็นมรรคปฏิบัติ ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์ พนมพร คูภิรมย์ กล่าวคือ จิต,อีกทั้งทวารทั้ง๕ ที่ส่งออกไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการผัสสะ ย่อมยังให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้น เป็นธรรมดา อันเวทนาที่ย่อมเกิดขึ้นเหล่านี้นั่นแล อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายยิ่งกว่าทุกข์โดยธรรมชาติ อีกทั้งยังประกอบด้วยการวนเวียนปรุงแต่งเป็นระยะโดยที่ไม่สามารถหยุดได้อีกเสียด้วย คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา อันเมื่อบริกรรม ท่องบ่น เพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เครื่องพิจารณา อันพึงมีความเข้าใจในความหมายของธรรมเหล่านี้ด้วย จึงจักยังผลอันยิ่งใหญ่ อันมี อิทัปปัจจยตา แสดงหลักธรรมอิทัปปัจจยตาที่มีใจความอันสำคัญยิ่ง อีกทั้งเป็นจริงทุกกาลสมัยว่า เพราะเหตุนี้มี ผลเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ ปฏิจจสมุปบาท : เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา หมายถึงเมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้ว อาจเกิดตัณหาชนิดความทะยานอยาก(ภวตัณหา) หรือความไม่อยาก(วิภวตัณหา)ต่อเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ชนิดประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อน เผาลน กระวนกระวายขึ้น สังขาร อันเกิดจาก อาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับ อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด ทุกข์อุปาทาน (รายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท) อริยสัจ ๔ ทุกข์อันมี ทุกขอริยสัจ และทุกข์อุปาทานอันเป็นทุกข์ สมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์ นิโรธคือการพ้นทุกข์ มรรคคือทางปฏิบัติให้พ้นไปจากทุกข์ สติปัฏฐาน๔ : ทางสายเอกในการปฏิบัติ อันควรปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน กล่าวคือ เห็นธรรมใดคือสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมคือในกาย หรือ เวทนา หรือจิต หรือธรรมใดก่อน ก็ปฏิบัติไปตามธรรมนั้นๆ อันมี สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในเวทนา) ในสติปัฏฐาน ๔, อันคือมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในเวทนา สติเห็นจิตคือจิตตสังขาร(คิด,โทสะ ฯ.) หรือ จิตตานุปัสสนา (สติระลึกรู้เท่าทันในจิตตสังขาร) ในสติปัฏฐาน๔ อันคือสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในจิตที่หมายถึงจิตตสังขาร(ราคะ, โทสะ, ฟุ้งซ่าน, หดหู่ ฯลฯ หรือความคิด, ความนึก) สติเห็นกาย หรือ กายานุปัสสนา (สติระลึกรู้เท่าทันในกาย) ในสติปัฏาน๔ อันคือฝึกสติและมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจใน กายหรือกายสังขาร เช่น สักว่าธาตุ๔ ฯลฯ. สติเห็นธรรม ดังเช่น ธรรมานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในธรรม) ในสติปัฏฐาน๔ หรือสติเห็นปฏิจจสมุปบาท สติเห็นคือรู้เท่าทันและเข้าใจในธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ อีกเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ) อันสําคัญยิ่งในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ เมื่อมีสติรู้เท่าทันในธรรมทั้ง๔ คือกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม กล่าวคือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในธรรมทั้ง๔ นี้ที่บังเกิดขึ้นนั้นๆแล้ว ก็ให้ไม่ยึดมั่น หมายมั่นในสิ่งนั้นๆดังปรากฏในสติปัฏฐาน๔ ด้วยอาการของการเป็นกลางวางทีเฉย(อุเบกขา) โดยการปฏิบัติก็คือ การไม่เอนเอียงไปแทรกแซงคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องหรือกิจที่สติเท่าทันนั้นๆ แม้ทั้งทางดีหรือชั่ว อันหมายถึงไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ กล่าวคือไม่ไปยึดแม้ทั้งในด้านดี(กุศล)หรือด้านร้าย(อกุศล)ในเรื่องนั้นๆ เพราะต่างล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันให้เกิดการปรุงแต่งจนๆเกิดเวทนาต่างๆขึ้น อันอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันยังให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นในที่สุดโดยไม่รู้ตัว อันดำเนินเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง หลักปฏิบัติอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และมักเป็นไปกันโดยไม่รู้ตัว คือ อย่าจิตส่งใน ไปแช่นิ่งหรือเสพรส และอย่าส่งจิตออกนอก ไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง (เพราะย่อมเกิดการผัสสะ ให้เกิดเวทนาต่างๆนาๆ อันเวทนาเหล่านั้นอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้น อันย่อมต้องเป็นไปตามปฏิจจสมุปบันธรรม) ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ หาอ่านและปรับปรุงข้อธรรมที่เกิดขึ้นได้ใน http://www.nkgen.com http://nkgen.com me Anti Spam แจ้ง Email เมื่อหน้านี้มีการเปลี่ยนแปลง it's private by ChangeDetection สนับสนุน โดย เอ็น.เค.จี. เอ็นจิเนียริ่ง คลิกที่นี่ เพื่อเพิ่มหน้านี้ในแฟ้ม Favorites เพื่อความสะดวกในการเปิดครั้งต่อไป คลิกที่นี่ เพื่อตั้ง ปฏิจจสมุปบาท เป็นหน้าแรกที่เข้า Internet(Home Page) คลิกที่นี่ เพื่อแจ้งข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด เพื่อการแก้ไข คลิกที่นี่ เพื่อ Code ในการ Link มาที่นี่ Anti Spam ยินดีให้เผยแพร่ ส่วนหนึ่งส่วนใด ข้อเขียน ข้อความ ทั้งหลายทั้งปวง ในรูปแบบต่างๆได้ โดยไม่สงวนสิทธิใดๆทั้งสิ้น เพราะย่อมยังประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนา และโลกเป็นที่สุด สารบัญ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น