ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย ได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี; ปุถุชนผู้มิได้ สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วย ทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านาน ว่า “นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็น ตัวตนของเรา” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิต โดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสิ่งทีเรียกกันว่า “จิต” บ้าง ว่า “มโน” บ้าง ว่า “วิญญาณ” บ้างนั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้: เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี, เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิด อทุกขมสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเพราะไม้สองอันเสียดสีกันไปมา ไออุ่น ย่อมเกิด ความร้อนย่อมบังเกิดโดยยิ่ง. เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกจากกันเสีย
ไออุ่นใด ที่เกิดเพราะการเสียดสีระหว่างไม้สองอันนั้น ไออุ่นนั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป, ข้อนี้ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น; เพราะ ความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในผัสสะ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด, เพราะคลายความกำหนัด ย่อมหลุดพ้น, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่ จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป”. ดังนี้ แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี; ปุถุชนผู้มิได้ สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วย ทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านาน ว่า “นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็น ตัวตนของเรา” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิต โดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสิ่งทีเรียกกันว่า “จิต” บ้าง ว่า “มโน” บ้าง ว่า “วิญญาณ” บ้างนั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้: เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี, เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิด อทุกขมสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเพราะไม้สองอันเสียดสีกันไปมา ไออุ่น ย่อมเกิด ความร้อนย่อมบังเกิดโดยยิ่ง. เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกจากกันเสีย
ไออุ่นใด ที่เกิดเพราะการเสียดสีระหว่างไม้สองอันนั้น ไออุ่นนั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป, ข้อนี้ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น; เพราะ ความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละ, เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา, เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในผัสสะ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด, เพราะคลายความกำหนัด ย่อมหลุดพ้น, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่ จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป”. ดังนี้ แล.
________________________________
๑. สูตรที่ ๒ มหาวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
๑. สูตรที่ ๒ มหาวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น