วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ผู้สละโลก พระราหุลเถระเจ้า พระมหากัปปินะเถระเจ้า



ผู้สละโลก พระราหุลเถระเจ้า พระมหากัปปินะเถระเจ้า

ดู 109,325 ครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2011
ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ให้เสียงบรรยายโดย ท่านมนัส ทองเพชรนิล ในความอุปถัมภ์ของ พระราชพิพัฒนาทร ...
http://www.dharma-gateway.com/monk/gr... เอตทัคคมหาสาวกผู้โอวาทภิกษุ
Udom Yantraruyaha
ธรรมนิยายนี้ไพเราะกวา่เพลงใดๆ หรือคำพูดใดๆ ได้ฟังบทประพันธ์ทุกเรื่องของท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ทุกตอนแล้วประทับใจสุดประมาณที่บรรจงถ่ายทอดคำสอนจากพระธรรมอันเป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ดีแล้วพร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะสมบูรณ์ดีแล้วโดยสิ้นเชิง ขอโมทนาสาธุ ครับ
Sompong Tungmepol
นิพพาน - วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/นิพพาน
คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ ( ออกไป, หมดไป, ไม่มี ) + วานะ ( พัดไป, ร้อยรัด ) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด ...
นิพพาน - ปฏิจจสมุปบาท
www.nkgen.com/22.htm
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ. ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......" ภิกขุสูตร ที่ ๒ ...
พระนิพพานคืออะไร - YouTube
วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 6:32
https://www.youtube.com/watch?v=XbQH96MFj6k
3 พ.ย. 2554 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol
คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ...
นิพพาน - YouTube
วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 4:30
https://www.youtube.com/watch?v=dU8tV72Om5U
30 พ.ค. 2559 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol
ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ...
นิพพานคืออะไร - Pantip
https://pantip.com/topic/30892923
27 ส.ค. 2556 - เวลาผ่านมา นิพพานกลายเป็นจิตว่างซะงั้น แล้วจิตว่างคืออะไร ศัพท์มันตกยุคไปแล้ว คนสมัยนี้ฟังแล้วแค่รู้สึกเท่ แต่ไม่เข้าใจสักนิด สำหรับผม นิพพานแปลง่ายๆ ว่า ...
นิพพานคือสภาวะเย็นลง ดับลงของกิเลสในจิตใจก่อน ตาย - Pantip
https://pantip.com/topic/34936132
20 มี.ค. 2559 - นิพพานคือสภาวะเย็นลง ดับลงของกิเลสในจิตใจก่อน ตาย. กระทู้สนทนา. ศาสนาพุทธ. 0. 1. สมาชิกหมายเลข 2931307 20 มีนาคม 2559 เวลา 23:06 น.
นิพพาน คืออะไรหรอครับ ? - Pantip
https://pantip.com/topic/30085504
27 พ.ค. 2560 - นิพพาน คืออะไรหรอครับ วันนึง ผมพูดคุย กับเพื่อนอยู่ในห้องเรียน เราจุดประเด็นขึ้นมาว่า นิพพานคืออะไรผมตอบไปว่า นิพพาน คือความว่างเปล่า ...
นิพพานสำหรับทุกคน - พุทธทาส
www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html
นี่ขอให้เข้าใจเถิดว่า นิพพานมีสำหรับทุกคนตามมากตามน้อย; เหมือนกับว่า สระใหญ่สระหนึ่ง สัตว์ชนิดไหนก็ลงไปอาบไปกินได้ เขียดตัวเล็กๆ ก็ลงไปอาบไปกินอยู่ได้ ช้างตัวโตๆ ...
นิพพาน 3 ระดับ ตทังคะ กับ วิกขัมภนะ จุดเริ่ม จากจิตว่าง - มติชนสุดสัปดาห์
https://www.matichonweekly.com › ศาสนา-ปรัชญา
30 ม.ค. 2560 - สังเกตหรือไม่ แม้คำว่า “นิพพาน” จะเป็นเรื่องขรึมขลัง เป็นเป้าหมายขั้นสูงสุดที่ชาวพุทธล้วนปรารถนาและบรรลุได้อย่างยากเย็นเป็นอย่างยิ่ง. แต่ “น้ำเสียง” ...
การเข้าสู่ นิพพาน นั้น เมื่อตายไปแล้วที่ว่า ไม่เกิด ไม่ดับ แล้วไปไหน ? : เว็บ ...
www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1181
ผมมีความสงสัยในคำว่า นิพพาน ครับว่า คำว่าถ้าเข้านิพพาน แล้วนั้นจะไม่เกิดไม่ดับ อยู่ในวัฎรสงสาร อีกนั้น ไม่ทราบว่าจะไปอยู่ที่ไหนครับ ในเมื่อวิทยาศาสตร์เค้าบอกว่า ...
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ นิพพาน
Sompong Tungmepol
เบื้องต้นให้รู้สึกตัวให้เป็นก่อน
มีสติรู้กายรู้ใจ…ถึงจุดหนึ่งใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมา
มีสติรู้กายรู้ใจต่อไป…ถึงจุดหนึ่งมันจะรู้โดยไม่เจตนาจะรู้สึก (เกิดสติตัวจริง)
สติเกิดปั๊บใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมาได้เอง
พอสติตัวจริงเกิด จิตจะมีความสุข
พอจิตมีความสุข จิตจะมีสัมมาสมาธิ (สมาธิชั้นดี ตั้งมั่นในการรู้กายรู้ใจ)
พอสติระลึกรู้กาย…จะเห็นทันทีว่ากายไม่ใช่ตัวเรา 
มีสติ มีสมาธิ ต่อไปเรื่อยๆ
เกิดปัญญาตัวทีหนึ่งเรียก “นามรูปปริจเฉทญาณ”
เห็นนามอยู่ส่วนหนึ่ง รูปอยู่ส่วนหนึ่ง… จะรู้สึกกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง
เห็นว่ากายไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา
ขันธ์ 5 เริ่มกระจายตัวออกไป
(ทำลายสัญญาวิปลาส ต้องจับสิ่งที่เรียกว่าเรากระจายตัวออกไป เรียก วิภัชวิธี)
สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ…พอเรามีสติจริงๆ มีสัมมาสมาธิ
มีใจตั้งมั่น
สติระลึกลงไปรู้กายรู้ใจ…จะเห็นมันแยกส่วนกันกายอยู่ส่วนนึง
จิตอยู่ส่วนนึง (กายกับจิตแยกจากกันเหมือนมีช่องว่างมาขั้น
ไม่ใช่อันเดียวกันอีกต่อไป)
เวทนากับจิตแยกส่วนกัน เหมือนมีช่องว่างมาขั้น… กุศล/อกุศล แยกออกจากจิต
ตัวจิตเองก็เกิดดับ (เดี๋ยวเกิดที่ตา เดี๋ยวเกิดที่หู จมูก ลิ้น กาย ใจ…)
สรุปว่าเบื้องต้น จะเห็นก่อนว่ามันกระจาย
กระจายแล้วจะเห็นว่าแต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา… รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละตัวไม่ใช่ตัวเรา
แต่ละตัวมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ… เป็นปัญญาอีกขั้นเรียก “ปัจจยปริคคหญาณ”
(รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สภาวะธรรมทั้งหลายไม่ได้เกิดลอยๆ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ)
เห็นต่อไปสักพัก
ปัญญาจะประณีตลึกซึ้งขึ้นไปอีก
เริ่มรู้ว่าทั้งกายทั้งใจเป็นไตรลักษณ์
เกิด “สัมมสนญาณ” คือเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิด ตรึกตรอง เปรียบเทียบ…ตรงนี้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา
ตามรู้ตามดูต่อไป
ถึงจุดที่สติและสัมมาสมาธิมีแรงพอ
เริ่มเห็นความเกิดดับ (เช่น เห็นจิตเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาขั้น) 
พบว่าจิตดวงนึงกับจิตอีกดวงนึงเป็นคนละดวงกันเรียกว่า “สันตะติขาด”
ภาวนาจนเห็นสันตะติขาด จึงเรียกว่าขึ้นวิปัสสนาจริงๆ
ดูต่อไป เห็นสภาวะ เกิด-ดับ เกิด-ดับ สืบเนื่องกันไปแต่เป็นคนละอันกัน
เห็นมากเข้าๆ
ตัวเราหายไปไหน ??…ร่างกายไม่ใช่เรา….จิตใจไม่ใช่เรา…. จะตกใจ กลัว โหวงๆ เบื่อทุกอย่าง 
ใจจืดแต่สว่าง เห็นโลกจืดชืด ใจมีนิพพิทา (นิพพิทาญาณ) มองโลกแบนๆ ราบเป็นหน้ากลอง
ตรงนี้ยังไม่ได้ตัดด้วยอริยมรรค แต่เกิดจากความรักตัวเอง
ถึงตรงนี้คือได้ครึ่งทาง
มีสติต่อไป
เห็นสภาวะทั้งหลายเป็นสิ่งแปลกปลอม…เป็นความรู้สึกที่ปรุงขึ้นมา…พอรู้ทันก็ดับไป
ใจจะตั้งมั่นเห็นว่ามันทำงานของมันเอง สั่งมันไม่ได้จริง…เห็นร่างกายไม่ใช่เรา เห็นว่าร่างกายถูกความทุกข์บีบคั้น
เห็นด้วยใจที่เป็นกลาง…ส่วนจิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเรา
ดูเรื่อยๆ … พอเผลอ…ก็มีตัวเรา พอมีสติ…ตัวเราก็หายไป แต่คราวนี้ไม่กลัวแล้ว….
ดูไปๆ
ปัญญาเริ่มแจ้ง เห็นทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น
พอใจรู้และยอมรับตรงนี้
ความสุขเกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะรักษา ความสุขไม่เกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะแสวงหา
ความทุกข์เกิด….จิตจะไม่เกลียด ไม่ดิ้นรนที่จะผลักออก ความทุกข์ไม่เกิด…..จิตไม่ดิ้นรนที่จะป้องกัน
จิตหมดความดิ้นรน จิตหมดความปรุงแต่ง จิตหมดการทำงาน
เหลือแต่รู้…แล้วก็สักว่ารู้… จิตไม่ปรุงต่อ…
จะเห็นสภาวธรรมเคลื่อนผ่านไปเรื่อยๆ
ใจรู้อย่างแจ่มแจ้งว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นภาพลวงตา…ไม่อินเข้าไป ไม่ดิ้นรน ไม่ปรุงแต่ง
เมื่อสติปัญญาแก่รอบพอ
จิตจะรวมลงอัปปนาสมาธิด้วยตัวเอง… เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเกิดกระบวนการของอริยมรรค
(อัปปนาสมาธิเรียกเอกัคคตาเจตสิก มีหน้าที่เป็นที่ประชุมรวบรวมองค์มรรคทั้งหลาย คือที่เหลืออีก 7 ตัว)
มีสัมมาสมาธิเกิดขึ้นที่จิต…พอรวมลงช่วงแรกจะยังส่งกระแสออกไป (เนื่องจากมันเคยชิน)
ออกไปรู้สภาวะภายนอก แต่รู้แบบสักว่ารู้อย่างแท้จริง
รู้อยู่ในอัปปนาสมาธิ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร…เพราะไม่มีสมมติบัญญัติ
ถึงขั้นไม่มีสมมติบัญญัติ….จิตจะมีขันติอย่างยิ่ง อดทนต่อสิ่งเร้า
มันจะตั้งมั่นแต่ยังส่งกระแสออกไป…มีกระแสแห่งความรับรู้ไหลออกไป
เห็นสภาวะเกิดดับ …บางคนเห็น 2 ขณะ…บางคนเห็น 3 ขณะ
แจ้งอริยสัจขึ้นมา…มันจะทวนกระแส….ตัดกระแสที่ส่งออกไป….มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้ กลับเข้ามาหาจิต
(จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง)
สัมมาสมาธิจะประชุมองค์ธรรมฝ่ายกุศลทั้งหมด รวมลงที่จิต…องค์มรรครวมตัวกัน รวมพลังของมรรคทั้งหมด
รวมทั้งโพธิปักขิยธรรม 37 ( ตั้งแต่30กว่าๆขึ้นไป ) ประชุมลงที่จิต
เกิดพลังทำลายล้างวัฏจักร
เบื้องต้นทำลายไม่ได้จริง…แค่กรีดมันขาดออกจากกัน แล้วก็กลับมาปิดอีก
กรีดครั้งที่ 2 ถ่างออกมากขึ้น แล้วก็กลับมาปิดอีก
กรีดครั้งที่ 3 แรงมากขึ้น แล้วก็กลับมาปิดอีก
กรีดครั้งที่ 4 โลกถล่มทลาย วัฏจักรจะคว่ำลงไป แล้วจะไม่มีอะไรเข้ามาปิดอีก
จิตซึ่งไม่ถูกอะไรปิดจะดีดตัวขึ้นมาเต็มโลกธาตุเรียก “วิมริยาทิกตจิต”(มีจิตไร้ขอบคั่น หรือมีใจไร้เขตแดน)จิตใหญ่เต็มโลกธาตุ…. ไม่มีอะไรครอบงำอีก….ไม่มีการไป…ไม่มีการมา….
จิตปราศจากสิ่งห่อหุ้ม กระจายเป็นเนื้อเดียวกับจักรวาล 
ไม่มีขอบ…ไม่มีเขต…ไม่มีจุด…ไม่มีดวง… ไม่มีอะไรปรุงแต่งมันได้อีก
อาสวกิเลสเป็นทางผ่านให้กิเลสไหลมาสู่จิตได้
พอเข้าใจธรรมะแจ่มแจ้ง จะทำลายอาสวกิเลส ทำลายสังโยชน์…ไม่มีช่องเชื่อมต่อให้กิเลสกลับเข้ามาอีก
มันขุดคุ้ยถึงภวังคจิต…อนุสัยทั้งหลายสลายตัวหมด
Sompong Tungmepol
 
เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด  ก็ไม่ได้
              ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น     ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วย
              ปัญญา   มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย    เห็น
              โทษด้วยญาณ  ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.
                        บรรดาความอิ่มทั้งหลาย  ความอิ่มด้วย
              ปัญญาประเสริฐ   เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น   ย่อมไม่
              เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย  คนผู้อิ่มด้วยปัญญา  ตัณหา
              ย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.
                      ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย   พึงเป็นผู้มี
              ความปรารถนาน้อย  ไม่มีความละโมบ  บุรุษผู้มีปัญญา
              เปรียบด้วยมหาสมุทร    ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกาม
              ทั้งหลาย.
                        ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ   เมื่อประ-
              กอบรองเท้า  ส่วนใดควรเว้นก็เว้น  เลือกเอาแต่ส่วนที่
              ดี  ๆ   มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้ว   ย่อมมีความสุข
              ฉันใดเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน  พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
              ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย    ย่อมถึงความสุข   ถ้าพึงปรา-
              รถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.
                      คาถาทั้งหมด  ๘  คาถา ที่ท่านกล่าวแล้ว
              ขอท่านจงรับเอาทรัพย์  ๘  พันนี้เถิด  คำที่ท่านกล่าวนี้
              เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
Sompong Tungmepol
พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาให้สดับจบลงแล้ว พระราชาพร้อมทั้งบริวารได้
บรรลุโสดาปัตติผลแล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ได้ประทานด้วยวิธี เอหิภิกขุ
อุปสัมปทา
Mananya Bunjaren
ฟังแล้วมีความสุขทุกครั้งคลายทุกและตั้งใจทำความดีอย่างใม่ย่อท้อขอบคุณผู้จัดทำมากบุญของท่านยิ่งใหญ่นัก
Happy Life
ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ในพระธรรม       ข้าพเจ้าจะปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ  ตามพระธรรมนั้น   เมื่อข้าพเจ้าข้ามพ้นแล้วจะให้ผู้อื่นข้ามพ้นด้วย
Nutchari Sawatdiuang
ขออนุโมทนาสาธุสาธุสาธุคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น