วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ผู้ตั้งอยู่ในอริยะธรรม

อนุโมทนาวิธี

อนุโมทนารัมภคาถา
ยะถา วาริวะหา ปูราปะริปูเรนติ สาคะรัง,
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทร สาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด,
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลกนี้, ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น,
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง,
ขออิฏฐะผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว,
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ,
จงสำเร็จโดยฉับพลัน,
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา,
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่,
จันโท ปัณณะระโส ยะถา,
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ,
มะณิ โชติระโส ยะถา,
เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสวควรยินดี,

สามัญญานุโมทนาวิธี
สัพพีติโย วิวัชชันตุ,
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป,
สัพพะโรโค วินัสสะตุ,
โรคทั้งปวงของท่านจงหาย,
มา เต ภะวัตวันตะราโย,
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน,
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ,
ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน,
อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง.
พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล, ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์ ด้วยประการฉะนี้แล.

อัคคัปปสาทสุตตคาถา
อัคคะโต เว ปะสันนานัง อัคคัง ธัมมัง วิชานะตัง,
เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ,
อัคเค พุทเธ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ,
ทักขิเณยเย อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นทักษิเณยยะบุคคลอันเยี่ยมยอด,
อัคเค ธัมเม ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ,
วิราคูปะสะเม สุเข,
ซึ่งเป็นธรรมปราศจากกามะราคะ สงบระงับ เป็นสุข,
อัคเค สังเฆ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ ผู้เลิศ,
ปุญญักเขตเต อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นบุญญะเขตอย่างยอดเยี่ยม,
อัคคัส๎มิง ทานัง ทะทะตัง,
ถวายทานในท่านผู้เลิศ,
อัคคัง ปุญญัง ปะวัฑฒะติ,
บุญที่เลิศย่อมเจริญ,
อังคัง อายุ จะ วัณโณ จะ,
อายุ วรรณะที่เลิศ,
ยะโส กิตติ สุขัง พะลัง,
และยศเกียรติคุณ สุขะ พละ ที่เลิศย่อมเจริญ,
อัคคัสสะ ทาตา เมธาวี,
ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศ,
อัคคะธัมมะสะมาหิโต,
และให้ทานแก่ท่านผู้มีธรรมอันเลิศ,
เทวะ ภูโต มะนุสโส วา,
จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ก็ตาม,
อัคคัปปัตโต ปะโมทะตี ติ.
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศอันบันเทิง, อยู่ดังนี้แล.

ติโรกุฑฑะกัณฑะปัจฉิมภาคคาถา
อะทาสิ เม อะกาสิ เม, ญาติมิตตา สะขา จะ เม เปตานัง ทักขิณัง, ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง,
บุคคลมาระลึก ถึงอุปการะ, อันท่านได้ทำแล้วแก่ตน, ในกาลก่อนว่าผู้นี้ให้สิ่งนี้แก่เรา, ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา, ให้แก่เรา, ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตรของเราดังนี้, ก็ควรให้ทักษิณาทาน, เพื่อผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว,
นะ หิ รุณณัง วา โสโก วายาวัญญา ปะริเทวะนา,
การร้องไห้ก็ดี, การเศร้าโศกก็ดี, หรือร่ำไรรำพันอย่างอื่นก็ดี, บุคคลไม่ควรทำทีเดียว,
นะ ตัง เปตานะมัตถายะ,
เพราะว่าการร้องไห้ เป็นต้นนั้น, ไม่เป็นประโยชน์ แก่ญาติทั้งหลาย, ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว,
เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย,
ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ อย่างนั้น,
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา,
ก็ทักษิณานุปาทานนี้, แลอันท่านให้แล้ว,
สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา,
ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์,
ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ,
ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูล แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วนั้น, ตลอดกาลนานตามฐานะ,
โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต,
ญาติธรรมนี้นั้น, ท่านได้แสดง, ให้ปรากฏแล้วแก่ญาติทั้งหลาย, ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว,
เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา,
แลบูชาอย่างยิ่ง, ท่านก็ได้ทำแล้วแก่ญาติทั้งหลาย, ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว,
พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง,
กำลังแห่งท่านภิกษุทั้งหลายชื่อว่าท่านได้เพิ่มให้แล้วด้วย,
ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ.
ด้วยบุญไม่น้อย, ท่านได้ขวนขวายแล้วดังนี้.

โภชะนะทานุโมทะนาคาถา
อายุโท พะละโท ธีโร,
ผู้มีปัญญาให้อายุให้กำลัง,
วัณณะโท ปะฏิภาณะโท,
ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ,
สุขัสสะ ทาตา เมธาวี,
ผู้มีปัญญา ให้ความสุข,
สุขัง โส อะธิคัจฉะติ,
ย่อมได้ประสบสุข,
อายุง ทัต๎วา พะลัง วัณณัง สุขัญจะ ปะฏิภาณะโท,
บุคคลผู้ให้อายุ พละ วรรณะ สุข และ ปฏิภาณ,
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตีติ.
ไปเกิดในที่ใดๆ, ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน, มียศในที่นั้นๆ ดังนี้.

สัพพะโรคะวินิมุตโต
สัพพะโรคะวินิมุตโต,
จงพ้นจากสรรพโรคทั้งปวง,
สัพพะ สันตา ปะวัชชิโต,
จงเว้นจาก ความเดือดร้อนทั้งปวง,
สัพพะ เวระ มะติกกันโต,
จงล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง,
นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ,
จงดับเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวงแก่ท่านทั้งหลาย,
...................................................................................................................................
สัจเจนะ จะ,
ด้วยสัจจะก็ดี,
สีเลนะ จะ,
ด้วยศีลก็ดี,
ขันติเมตตา พะเลนะ จะ,
ด้วยกำลังแห่งขันติ และเมตตาก็ดี,
เตสัง พุทธานัง,
แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
อะนุรักขันตุ, (เต,)
จงรักษาท่าน,
อะโรคะเยนะ จะ,
ด้วยสภาวะหาโรคมิได้ก็ดี,
สุเขนะ จะ,
ด้วยความสุขก็ดี,
โหนฺตุ เต.
จงมีแก่ท่านทั้งหลาย ทุกเมื่อ เทอญ.

โส อัตถะลัทโธ
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต,
ท่านชาย จงเป็นผู้มีประโยชน์ อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬโห พุทธะสาสะเน,
เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรโค สุขิโต โหหิ,
ไม่มีโรคถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ,
พร้อมกับด้วยญาติทั้งหลาย,
สา อัตถะลัทธา สุขิตา,
ท่านหญิง จงเป็นผู้มีประโยชน์ อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬหา พุทธะสาสะเน,
เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรคา สุขิตา โหหิ,
ไม่มีโรคถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ,
พร้อมกับด้วยญาติทั้งหลาย,
เต อัตถะลัทธา สุขิตา,
ท่านทั้งหลาย ทั้งชายและหญิง, จงเป็นผู้มีประโยชน์อันได้แล้วถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬหา พุทธะสาสะเน,
เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรคา สุขิตา โหถะ,
ไม่มีโรคถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ.
พร้อมกับด้วยญาติทั้งหลายทั้งชายและหญิง, จงรักษาศีลให้บริบูรณ์.

กาลทานสุตตะคาถา
กาเล ทะทันติ สะปัญญา วะทัญญู วีตะมัจฉะรา,
นรชนผู้มีปัญญาประกอบ ด้วยศรัทธา เป็นอันดี, มีตระหนี่อันปราศไปแล้ว ได้บริจาคทาน, ในกาลเมื่อปฏิคาหกขัดสนมีความปรารถนา เช่นนี้,
กาเลนะ ทินนัง อะริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ,
ทานที่ท่านผู้บริจาคได้ให้แล้วในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรงด้วยดีต่อธรรมวินัยอยู่เสมอ, ไม่เสื่อมจากคุณที่ได้แล้ว,
วิปปะสันนะมะนา ตัสสะ วิปุลา โหติ ทักขิณา,
ทานเครื่องเจริญความสุขของท่านผู้นั้น, เป็นของที่บุคคลทั้งหลาย ควรมีใจชื่นชมยินดี, เพราะว่าเป็นทักษิณาทาน, ที่เต็มไปด้วยวิบากกรรม สมบัติอันพิเศษไพบูลย์ยิ่งนัก,
เย ตัตถะ อะนุโมทันติ เวยยาวัจจัง กะโรนติ วา,
ชนทั้งหลายที่มิใช่เจ้าของทาน, เป็นแต่มีความยินดี, ร่าเริงบันเทิงจิตตามในกองทานนั้นก็ดี, และบุคคลที่ช่วยกระทำการขวนขวายในทานนั้นก็ดี,
นะ เตนะ ทักขิณา โอนา เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน,
ย่อมเป็นผู้ได้ส่วนบุญด้วยอนุโมทนามัย, แลไวยาวัจมัยในทานนั้น, ส่วนทักษิณาทานนั้นเล่าก็มิได้บกพร่องไปด้วยเหตุนั้น,
ตัส๎มา ทะเท อัปปะฏิวานะ จิตโต ยัตถะ ทินนัง มะหัปผะลัง,
ดังนั้น บัณฑิตชนผู้มีศรัทธามั่น,พึงทำความยินดีในทักษิณาทาน, ที่ตนได้บริจาคแล้วนั้นเถิด, เพราะว่า ผลของทานนั้นใหญ่หลวงยิ่งนัก,
ปุญญานิ ปะระโลกัส๎มิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินันติ.
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย, กุศลบุญที่ท่านทั้งหลายได้ทำไว้แล้วนั้น, ย่อมเป็นที่พึ่งแห่งท่านทั้งหลาย, ในโลกเบื้องหน้าดังนี้แล.

ทานานุโมทนาคาถา
อันนัง ปานัง วัตถัง ยานัง มาลา คันธัง วิเลปะนัง เสยยาวะสะถัง ปะทีเปยยัง ทานาวัตถู อิเม ทะสะ,
ทานวัตถุ ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือข้าว, น้ำ, ผ้า, ยานพาหนะ, ระเบียบ ดอกไม้, ของหอม, เครื่องลูบไล้, ที่นอน, ที่พักอาศัย และเครื่องประทีป,
อันนะโท พะละโท โหติ,
ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง,
วัตถะโท โหติ วัณณะโท,
ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ,
ยานะโท สุขะโท โหติ,
ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข,
ทีปะโท โหติ จักขุโท,
ผู้ให้ประทีป ชื่อว่าให้ดวงตา,
มะนาปะทายี ละภะเต มะนาปัง,
ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ,
อัคคัสสะ ทาตา ละภะเต ปุนัคคัง,
ผู้ให้วัตถุอันเลิศย่อมได้วัตถุอันเลิศ,
วะรัสสะ ทาตา วะระลาภิ  โหติ,
ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี,
เสฏฐันทะโท เสฏฐะมุเปติ ฐานัง,
ผู้ให้ฐานะอันประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ,
อัคคะทายี วะระทายี เสฏฐะทายี จะ โย นะโร,
นรชนใดให้ของที่เลิศให้ของที่ดีและให้ฐานะอันประเสริฐ,
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตี ติ,
นรชนนั้น ไปเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในที่นั้นๆ,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยสัจจะวาจาภาษิตนี้,
สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา อาโรคิยะสุขัญเจวะ กุสะลัญจะ อะนามะยัง.
ขอความสุข ความสวัสดี ความไม่มีโรค และอนามัยเป็นอันดี จงมีแก่ท่านทั้งหลายทุกเมื่อ.
...................................................................................................................................
สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ
ขอผลทั้งนี้ จงเป็นผลสำเร็จ
สิทธะมัตถุ อิทัง ผะลัง
จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ
เอตัส๎มิง ระตะนัตตะ ยัส๎มิง สัมปะสาทะ นะเจตะโส.
แก่ท่านผู้มีใจเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเทอญ.

สุภาษิตคาถา
สาธุรูโป จะปาสังโส ท๎วารัตตะเยนะ สัจจะวา,
ผู้มีความสัตย์ ด้วยทวารทั้งสาม, ครบทั้งกาย วาจา ใจ ดีจริง ควรสรรเสริญ,
ฉันโท จะวิริยัง จิตตัง วิมังสา จาตถะสาธิกา,
ความชอบใจอยากทำหนึ่ง ความเพียรหนึ่ง, จิตที่ดีหนึ่ง ปัญญาที่รู้เลือกเฟ้นหนึ่ง, ทั้งสี่สิ่งนี้ให้ประโยชน์นั้นๆ สำเร็จทุกกิจการ,
ทะทายะ อิริตา วาจา,
วาจาที่บุคคลกล่าวด้วยเอ็นดูกรุณา,
โสตุนา อะนุการินา,
ควรที่ผู้ฟังจะทำตาม,
โสตูหิ อะนุกาตัพพา เมตตะ จิตเตนะภาสิตา,
วาจาที่ผู้มีจิตเมตตากล่าว, ผู้ฟังทั้งหลายพึงทำตาม,
โสตูหิ สุฏฐุ โสตัพพา อัตถะกาเมนะ ภาสิตา,
วาจาที่ผู้ปรารถนาประโยชน์กล่าว, ผู้ฟังพึงฟังให้ดี โดยเคารพเถิด,
กะตัสสะ นัตถิ ปะฏิการัง,
สิ่งที่ตนทำแล้วจะทำคืนไม่ได้,
ปะเควะตัง ปะริกขิตัง,
ให้ผู้จะทำ พิจารณาเสียก่อนจึงทำ,
อะวิจินติยะกะตัง กัมมัง,
กรรมที่บุคคลไม่ได้คิดแล้วทำ,
ปัจฉาตาปายะ วัตตะเต,
เป็นไปเพื่อเดือดร้อนเมื่อภายหลัง,
กะยิรา เจ กะยิราเถนัง,
ถ้าจะทำแล้วก็ให้ทำจริงๆ จึงจะดี,
เอวันตัง ตัง สะมิชฌะติ,
อย่างนี้กิจนั้นนั้น ก็จะสำเร็จได้โดยประสงค์,
รักเขยยะ อัตตะโน สาธุง,
ให้รักษาคุณความดีของตนไว้,
ละวะณัง โลณะตัง ยะถา,
ดังเกลือรักษาความเค็ม ของเกลือไว้,
สัมมาปะฏิเวกขิต๎วา ตังตัง กะเรยยะอิสสะโร,
คนใหญ่ให้พิจารณาให้ดีให้ชอบเสียก่อน, จึงค่อยทำกิจการนั้นๆ,
กะเรยยัง กิญจิ ปาสังสัง,
จะทำอะไรให้ผู้รู้ชมสรรเสริญ,
เอวัง โนสสานุตัปปะนัง,
อย่างนี้จึงจะไม่มีความร้อนใจเมื่อภายหลัง,
สัมมุขา ยาทิสัง จิณณัง,
ต่อหน้าคนประพฤติเช่นไร,
ปะรัมมุขาปิ ตาทิสัง,
ถึงลับหลังคนก็ให้ประพฤติเช่นนั้น,
ภูมิเว สาธุรูปานัง กะตัญญู กะตะเวทิตา,
ความเป็นผู้กตัญญูกตเวทีเป็นพื้นของคนดีทั้งหลายในโลก,
สุทาชชะโว อะโนลิโน,
ผู้ซื่อตรงดีไม่ท้อถอย,
กุพพัง ปะรัมมุขา อะปิ,
เมื่อทำกิจการแม้ ณ ที่ลับหลัง,
รักขะมาโน สะโต รักเข,
ผู้จะรักษาให้มีสติระวังรักษา,
อัปปัต โตโน จะ อุลละเป,
อนึ่ง เมื่อยังไม่ถึงอย่าพึงพูดอวด,
อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ,
ตนเป็นที่พึ่งของตน,
โกหิ นาโถ ปะโร สิยา,
ใครผู้อื่นจะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้,
ปะฏิกัจเจวะตัง กะยิรา ยังชัญญา หิตะมัต ตะโน,
ถ้ารู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว, พึงทำกิจนั้นๆ แต่เดิมทีเดียว,
สะทัตถะ ปะสุโต สิยา,
พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตนเถิด,
สะทัตถะ ปะระมา อัตถา,
ประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่ง,
ขันตะยาภิยโย นะ วิชชะติ,
สิ่งอื่นๆ ไม่มียิ่งกว่าขันติความอดทน,
สามัญเญ สะมะโณ ติฏเฐ,
ตนเป็นสมณะ พึงตั้งอยู่ในธรรมของสมณะ,
ปูเรยยะ ธัมมะมัตตะโน,
พึงบำเพ็ญธรรมของตนๆ ให้บริบูรณ์เถิด,
อุจโจหิ อุจจะตัง รักขัง,
ตนเป็นคนสูง ให้รักษาความสูงของตนไว้,
คุณะวา จาตตะโน คุณัง,
ผู้มีคุณความดีให้รักษาคุณความดีของตนไว้ให้ดี,
สาธุโข ทุลละโภ โลเก,
คุณความดีหายากยิ่งนักในโลก,
อะสาธุ สุละโภ สะทา.
สิ่งที่ไม่ดีไม่ชอบหาง่ายทุกเมื่อ.

มงคลจักรวาลน้อย
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง,
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง, ติณณังระตะนานัง อานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนะสามคือ, พุทธรัตนะ ธัมมะรัตนะ สังฆรัตนะ,
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน,
ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ ชินะสาวะกานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฎก, ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า,
สัพเพ เต โรคา สัพเพ เต ภะยา,
สรรพโรคทั้งหลายของท่าน, สรรพภัยทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา,
สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน, สรรพอุปัทวะ ทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต ทุนนิมิตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา,
สรรพนิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน, สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน,
วินัสสันตุ,
จงพินาศไป,
อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก,
ความเจริญอายุ ความเจริญทรัพย์,
สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก,
ความเจริญสิริ ความเจริญยศ,
พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก,
ความเจริญกำลัง ความเจริญวรรณะ,
สุขะวัฑฒะโก โหนตุ สัพพะทา,
ความเจริญสุข จงมีแก่ท่านในกาลทั้งปวง,
ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัท๎วา,
ทุกข์โรคภัยและเวรทั้งหลาย, ความโศก ศัตรู และอุปัทวะทั้งหลาย,
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา,
ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก, จงพินาศไปด้วยเดชะ,
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง,
ความชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์และลาภ,
โสตถิ ภาค๎ยัง สุขัง พะลัง,
ความสวัสดี ความมีโชค ความสุขมีกำลัง,
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา,
สิริ อายุ วรรณะ โภคะ, ความเจริญ และความเป็นผู้มียศ,
สะตะวัสสา จะ อายู จะ,
แลอายุยืนร้อยปี,
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต.
ความสำเร็จกิจ ในความเป็นอยู่ จงมีแก่ท่าน.

สัพพะพุทธานุภาเวนะ (ย่อ)
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง,
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอความสวัสดีทั้งหลาย, จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ.

ภะวะตุ สัพ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน,
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
ขอเหล่าเทวดา จงรักษาท่าน,
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์,
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอความสวัสดีทั้งหลาย, จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ.

ปัจฉิมพุทธโอวาทปาฐะ
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยา มิโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้, เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,
อะยังตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา.
นี่เป็นวาจามีในครั้งสุด ท้ายของพระตถา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น