วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พาไปกราบพระพุทธเจ้าและนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดียครับ



พาไปกราบพระพุทธเจ้าและนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดียครับ

ดู 2,056 ครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 29 มี.ค. 2014
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง
Sompong Tungmepol
สรณตฺตยํ สรณคตฺต นรํ
วฏ์ฎทุกฺขโต ปโม จ ยนฺเต
นาญสรณํ ยทิโย วทิตวา
อวํ ติสรณ คเมยฺย นโร

สังสารวัฏเวิ้ง ทุกขะ
พ้นเพราะไตรสรณะ นั่นแท้
พึ่งไอศวรรยะ ยังยาก
พึ่งไตรรัตนนั่นแล้ หลีกล้างราญเข็ญ

บุคคลผู้ใดซึ่งถึงไตรสรณะ ย่อมหลุดพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร
ที่พึ่งอันชื่นเช่นท้าวพระยามหาเสนาบดีจักให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารหามิได้
เหตุนั้นผู้รู้แล้วด้วยประการดังนี้
พึงถึงซึ่งไตรสรณะเป็นที่พึ่งแก่ตนเพราะวิเศษยิ่งกว่าที่พึ่งอันอื่น
Sompong Tungmepol
ทางแห่งความหมดจด
Sompong Tungmepol
ทางแห่งความหมดจด
พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่
สบายของภิกษุเหล่านี้ ?" จึงทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะสิ้น
สองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอ
ทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สังขาร
แม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะ
อรรถว่ามีแล้วไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
"เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ
หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."
แสดงน้อยลง
Sompong Tungmepol
๑. วานวาสิกาฉันท์

อลสสฺส น ชายติ มติ ธนญฺจ
มติธเน ยสฺส อสติ อิธ กถํ
โส สุขี ปรมฺหิ จ อปิ จ ทุขี
ตสฺมา อลโส วตน จ ภเวยฺย

เงินทองกองท่วมบ้าน           บ่ขยัน
ครั้นเกียจกอบโกยปัญ-        เญศด้อย
สุขังยั่งยืนฉัน-                    ใดเล่า..สหายเอย
สมบัติยศหมื่นร้อย               ย่อมรู้โรยรา

ปัญญาทรัพย์สมบัติเกิดมีแก่คนเกียจคร้านผู้ใด
เมื่อปัญญาและทรัพย์สมบัติไม่มีแก่คนผู้นั้นแล้ว (เสื่อมลง)
ความสุขในชาตินี้แลชาติหน้าจักมีด้วยประการฉันใด
ยศสมบัติเหล่านั้นนักปราชญ์จักปรารภเอาย่อมไม่มี

๒. จปลาฉันท์

ทานํ ธนพีชํ เส
สีลํ สุขพีชํ มิธ มนุชานํ
ตสฺมา สุทานทาตา
สิยา สุสิโล สหิทกาโก

ทานังดั่งพืชให้                 โภคทรัพย์
ศีลดั่งพืชให้สรรพ              สุขแผ้ว
ชนใดใคร่ลิ้มลัพธ์              รมเยศ
พึงปลูกหน่อธรรมแล้ว        จึ่งรู้รสธรรม

ทานเป็นพืชอันบังเกิดข้าวของสมบัติ
ศีลเป็นพืชบังเกิดสุขในใจแก่คนทั้งหลายในโลกย์
เหตุนั้นผู้ใดปรารถนาข้าวของสมบัติอันดีแก่ตน
พึงให้ทานด้วยความศรัทธาแลมีศีลอันดีเถิด 

๓. คีติฉันท์

โมหวนทฺโธ พาโล
ตณฺหา วสมา คโต จ โกธวสํ
ปาเป สาหส กาลี
อปายภูมี นิวาส คติ มสฺส

พาโลโมหะคลุ้ง                ครอบงำ
ตัณหราคะกรรม              โกรธแค้น
คิดบาปหยาบช้าทำ          กระลีโทษ
มี นรก รอแม้น                 มอดม้วยมรณา


ชนพาลอันโมหวิชชาครอบงำ
ลุอำนาจแห่งตัณหา
โกรธแค้นร้ายหนักหนาในบาปกรรม
มีอบายภูมินรกเป็นที่อยู่ที่ไปแห่งชนชั้นแล

๔. อุปคีติฉันท์

ปาเณสุ น การุญฺโญ
ทลิทฺทเกสุ จ วิเหทูยติ
อาธมฺเม นโร ภวติโลเก
โย นโร นหิ สาธุ โส

ปาณาติบาตสิ้น                กรุณา
เบียนเบียฑปวงประชา      ยากไร้
ลืมธัมมะนำพา                 ภพสุข
หาสิ่งดีไม่ได้                    หนักพื้นโลกา

คนผู้ใดไม่มีความกรุณาในสัตว์และคนทั้งหลายผู้เข็ญใจ
ย่อมเบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข์
คนผู้นั้นจักเป็นผู้หาดีไม่ได้
ชื่อว่าเป็นคนอธรรมในโลกย์ 

๕. อาริยาคีติฉันท์

อติมาโน อธิโกโธ
อวมาน กโรนํ เวสุ อภวุฑฺเฒ สุ 
โย พหุสุโตมิ โสปิน
บณฺฑิโต พาลํ สมฺมโต อธิโลเก

มานะมีมากครั้ง               เคืองเคียด
ใจจะหยามหมิ่นเกียรติ     ทุกผู้
แม้นเรียนร่ำละเอียด         เอกอุ
ปากที่ฝากกระทู้              ถ่อยสิ้นสัทธรรม

คนผู้ใดมีทิฐิมานะใหญ่ยิ่งนัก มีความโกรธเคืองเคียด
ย่อมดูหมิ่นบุคคลอันหนุ่มและแก่กว่าตน
แม้นผู้นั้นจะเป็นพหูสูตร (ผู้ร่ำเรียนมากเท่าใดก็ดี)
จักถือเป็นบัณฑิตก็หามิได้ (เพราะความพาล) ขึ้นชื่อว่าเป็นคนใบ้คนหนึ่งในโลกย์

๖. เวตาลียฉันท์

อธิปจฺจํโคธ โย นโร
ตณฺหามาณว วตฺติโต ปเร
ปตาเปติ มตฺตวุฑฺฒิยา
ตถานาคเต ทุกฺขตา ปิโต

ครองแคว้นแค้นข่มข้า          ขุกเข็ญ
เพื่อประโยชน์โฉดเป็น          ที่ตั้ง
ภายหน้าพ่าห์เพียบเพ็ญ       พบเพท..ภัยเอย
กรรมเก่าเข้าฉุดรั้ง               เร่งให้ฉิบหาย

บุคคลใดถึงความเป็นใหญ่ในโลกย์ 
ใช้อำนาจเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
เพื่อประโยชน์แก่ตน
บุคคลนั้นจักเดือดร้อนในกาลหน้า ด้วยกรรมอันตนได้กระทำไว้

๗. โอปจฺฉนฺทสกฉันท์

การุณิโล สนฺนโรธิปจฺจํ
ยธา คโตโส สพฺพปาณเกสุ
กโรติ สุขยํ น ปาปิทุกฺขํ
สพฺพสุขีโน มานภาว ตสฺส

กรุงไกรกษัตริย์เกื้อ          กุศล
เสริมสง่าการุณพล          ไพร่ฟ้า
ใจจำกำราบ รณ             แรงบาป
สุข สรนุกถ้วนหน้า          แน่แท้ทุกสมัย


คนผู้มี กรุณามาก ได้เป็นใหญ่ ในโลกย์ ในกาลเมื่อใด
คนผู้นั้นกระทำความสุขให้แก่สัตว์โลกย์ทั้งหลาย 
ย่อมไม่กระทำความทุกข์
สัตว์โลกย์ทั้งหลายย่อมมีความสุขด้วยอำนาจของสัตตบุรุษนั้น

๘. อาปาฏลิกาฉันท์

โลภนิสฺสาย วินาโส
ภวติ โทสํ จโมหนากํ จ
โย นโร สวาฆนกาโม
สจิตฺตรกฺขํ ทนฺตหิ กเรยฺย

โลภมากกระชากช้ำ         ฉิบหาย
เหวแห่งจัตุราบาย            บ่งรู้
โทโสโม่ห์ละลาย              รมยสุข
ละเกลศแล้วผู้                  จิตพ้นสังสาร

ความฉิบหายอาศัยความโลภ ซึ่งเกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
ใช่แต่เท่านั้น ! ความฉิบหายย่อมอาศัยโทสะโมหะด้วย
บุคคลทั้งหลายผู้หวังความเจริญ
พึงกระทำการรักษาจิตใจของตนให้พ้นจากความโลภโกรธหลงนั้นเถิด 

๙. ทกฺขิณนฺติกาฉันท์

ปหาย โกธํภิขนฺติ มา
ทยาลุโก วา เมตฺตาจิตฺตกํ
ทยํ จ ปเณสุ สมฺปเร
สปญฺญวา น จเรติ ทารุนํ

ขันตีนีราศแกล้ว              โกรธา
ถึงซึ่งเหตุเมตตา              ตริถ้วน
หลีกเร้นเข่นฆ่าสา-           ธุสัตว์
สัปปุรุษเลิศล้วน               ละเว้นทารุณ 

สัตตบุรุษผู้มีปัญญาละเว้นเสียยังความโกรธเป็นผู้ที่มีความอดทน
ความกรุณามากนักย่อมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่สัตว์ทั้งหลาย
สัตตบุรุษผู้นั้นย่อมไม่กระทำทารุณแก่สัตว์

๑๐. อุทิจฺจวุติฉันท์

ปรสฺสลาเภ อุปาคเต
เนว นินฺเทยฺย มิสฺสุภา ยตํ
สภาวโต ยํ อธมฺมิกํ
กายเลนฺตํ วนินฺทเย มุนี

เศรษฐีมีมากแก้ว-             กองทอง
ปราชญ์ไป่ริษยาหมอง       หม่นไหม้
ทรัพย์ใดใช่สิ่งของ           สุจริต
ปราชญ์อาจแนะแคะไค้      ข่มได้โดยควร

ในเมื่อลาภมาถึงแก่ท่านผู้อื่น
ผู้มีปัญญามิพึงติเตียนด้วยความริษยา
วัตถุอันใดได้ด้วยมิชอบธรรม
ผู้มีปัญญาติเตียนในกาลอันควรแล

๑๑. ปจฺจวุติฉันท์

สกาลา ภูตุปาทนํ ยถา
อปฺปกมฺมิ สกลาภเก ตถา
สนฺตุฏฺเฐยฺยว ปญฺญวา
มา ปรสฺสลาเภ ปิหํ จเร

ทุรโภคทุรโชคสร้าง     ศฤงคาร-
ธนทรัพย์ธนสาร         ซึ่งน้อย
พึงสันโดษสันดาน       บัณฑิต
อย่ามักใหญ่ในร้อย     ลาภผู้อื่นสงวน


การบังเกิดลาภแห่งตนด้วยประการใด
แม้น้อยหนึ่งก็ดี
ผู้มีปัญญาพึงสันโดษในลาภแห่งตนนั้น
บ่มิพึงใคร่ได้ยังลาภแห่งท่านผู้อื่น 

๑๒. ปวสฺตกฉันท์

ยโส จลาโภ จ กิตฺติ จ
นิจฺจ ธัมฺมิกา เนว โหนฺติกา
วินาส ธมฺมา ว ปณฺฑิโต
ตาสุ มชฺชโต สพฺพทา ภเว

ชื่อเสียงลาภยศเบี้ย          บริวาร
ฤาอยู่ยั่งยืนนาน              เที่ยงแท้
ย่อมอันตรธาน                 ทุกเมื่อ
ปราชญ์ไป่มัวเมาแล้         รีบสร้างทางเขษม

ลาภยศบริวารชื่อเสียงก็ดี
ไม่มีสภาวะอันมั่นเที่ยง
ย่อมมีสภาวะอันรู้ฉิบหายไป
เหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงมัวเมาในกาลทุกเมื่อ

๑๓. อปรนฺติกาฉันท์

สพฺพโภคมิตฺตา สกานุคา
เนว สพฺพฐาเน สยํ กตํ
ปุญฺญปาปกมฺมํ สกานุคํ
ตํ ปรมิปโลกานิวัตฺตกํ

สินทรัพย์กับเพื่อนทั้ง            หญิงชาย
เคยติดตามยามตาย             หมดสิ้น
บุญบาป ขนาบกาย              เกาะแน่น..นานนา
นรชีพลับดับดิ้น                   บ่รู้ลาหาย


ข้าวของทรัพย์สมบัติมิตรสหาย
จักตามไปกับตนในสถานทุกแห่งหามิได้
กรรมอันเป็นบาปและบุญที่ตนได้กระทำไว้นั้น
ย่อมตามไปกับตนในสถานที่ทุกแห่งแม้ในปรโลกหน้า

๑๔. จารุหาสินีฉันท์

ยทิ อตฺตโน อถฺเมสิโต
ปหาย ปาปํว โส นโร
ยเทวปุญฺมา ปรายิเก
สุขาวหํตํ จเร สทา

ชนใดไขว่คว้าสุข          ใส่ตน
ย่อมละเสียซึ่งผล          บาปย้อม
บุญบารมีดล                แดนเทพ
สู่สุขาวดีพร้อม-            พรั่งด้วยสมบัติสวรรค์

บุคคลผู้ได้แสวงหาประโยชน์สุขแก่ตน
ย่อมละเว้นจากบาปกรรมทั้งมวล
กุศลกรรมอันใดซึ่งจักเป็นประโยชน์สุขในเทวโลก
บุคคลผู้นั้นพึงกระทำในกาลทุกเมื่อแล

๑๕. อจลธิติ ฉันท์

ติสรณ มคต นรมรุ กลิคหนิ
ทุจริต จริธ กลิผล อนุภวติ
ตุมปคต นรมรุ นหิ กลิคหนิ
สุจริต จริธ สุขผล อนุภวติ

แก้วสามดวงเด่นไว้          หว่างทาง
ทวยเทพนรชนปาง          ปัดทิ้ง
ถือทุจริตพลาง                พบพิบาก..กรรมเอย
ทุกข์ประทุกมากหยิ้ง       ย่อมร้อนกลีผล

เทวามานุษย์ผู้                พบตรัย..รัตน์เอย
ถือสุจริตใจ                    อร่ามอล้า
ดวงแก้วสาดส่องใส         สว่างจิต
สู่สุขรมย์ในหล้า              แหล่งโน้นนีรันดร์

คนและเทวดาซึ่งไม่เข้าสู่ไตรสรณะ แลถือเอาลัทธิอันผิด
ย่อมกระทำทุจริต แลได้เสวยวิบากเป็นทุกข์ในโลก
คนและเทวดาซึ่งเข้าไปสู่ไตรสรณะ แลไม่ถือเอาลัทธิอันผิด
ย่อมกระทำสุจริต แลได้เสวยสุขในโลก 

๑๖. วิสิโลกฉันท์

โลกีย สมฺปท ธรติ สทา
น สาสนมุตฺตมนฺติ กทาจิ
ตสฺมา น เปกขิย โลกโภคํ
ธเรยฺย สาสน อาธรนฺติ

กุศลสร้างจึ่งพร้อม           สมบัติ
โลกิยนิทัศน์                   ทุกข์ด้วย
ศาสนวิวัฒน์                   บางคาบ
ผู้ใฝ่ธรรมธรรมฉ้วย        ชีพรู้รสธรรม

โลกียสมบัติตั้งอยู่ในโลกในกาลทุกเมื่อ ก็ด้วยกุศลแห่งสัตว์ทั้งหลาย 
ศาสนาอันประเสริฐ แห่งพระพุทธเจ้า มิตั้งอยู่ในโลกในกาลทุกเมื่อ
ศาสนาตั้งอยู่ในกาลบางคาบ
เหตุนั้นผู้มีปัญญามิพึงฝักใฝ่ในสมบัติ พึงฝักใฝ่ ในศาสนานั้นเถิด

๑๗. มตฺตาสมกฉันท์

สรณตฺตยํ สรณคตฺต นรํ
วฏ์ฎทุกฺขโต ปโม จ ยนฺเต
นาญสรณํ ยทิโย วทิตวา
อวํ ติสรณ คเมยฺย นโร

สังสารวัฏเวิ้ง              ทุกขะ
พ้นเพราะไตรสรณะ     นั่นแท้
พึ่งไอศวรรยะ             ยังยาก 
พึ่งไตรรัตนนั่นแล้       หลีกล้างราญเข็ญ

บุคคลผู้ใดซึ่งถึงไตรสรณะ ย่อมหลุดพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร
ที่พึ่งอันชื่นเช่นท้าวพระยามหาเสนาบดีจักให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารหามิได้
เหตุนั้นผู้รู้แล้วด้วยประการดังนี้
พึงถึงซึ่งไตรสรณะเป็นที่พึ่งแก่ตนเพราะวิเศษยิ่งกว่าที่พึ่งอันอื่น
แสดงน้อยลง
Sompong Tungmepol
.....สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้วมีรูปกับนามสองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกริยาให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึดดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหวและหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้เพราะมีนาม ความว่างขั้นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวะธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสาร ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิดดับสืบเนื่องทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งคงทนเป็นปัจจุบันทุกยามได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล เพราะเป็นมายาหลอกลวงและเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามมีชีวิต  จากรูปนามมีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันไป คงแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี่เป็นจุดสุดยอดของการหลอกหลวงของรูปนาม......"
แสดงน้อยลง
Sompong Tungmepol
กำลังนิพพิทาญาณของพระอนาคามียังหยาบอยู่ ยังถือว่าหยาบ ตอนนี้มีความรู้สึกอย่างเดียวคือ สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณอารมณ์มันเฉยทุกอย่าง ความรู้สึกน่ะมีไม่ใช่ไม่คิด มีคนมาถามว่า ถ้าเราเลิกคิดกิเลสไม่กวนใจใช่ไหม ถามอย่างนี้ก็ไม่อยากตอบ ไม่ใช่เกลียด มันเกินวิสัย คนถ้ายังมีลมหายใจอยู่มันต้องคิด แล้วถ้าถามว่าเฉยยังไง ก็ตอบว่าอารมณ์มันเฉย คิดเหมือนกัน คิดแบบคนเฉย นั่นก็หมายความว่าทุึกอย่าง เห็นคนก็เฉย ความรักในเพศไม่เกิดขึ้น ความเกลียดไม่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย มีธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกันแบบนี้ มีอาการ ๓๒ มีความสกปรกโสโครก เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาสลายตัว

เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้มันก็เฉย มันจะเป็นยังไงก็ช่างหัวมัน ร่างกายเป็นหน้าที่ของร่างกาย จิตใจเป็นหน้าที่ของจิตใจ ร่างกายจะแก่เป็นหน้าที่ของร่างกาย จิตใจไม่ต้องไปช่วยให้มันแก่ ร่างกายจะป่วยก็เป็นหน้าที่ของร่างกาย ไม่ใช่ใจไปช่วยให้มันป่วย ร่างกายจะตายเป็นหน้าที่ของร่างกาย ไม่ใช่หน้าที่ของใจ ใจไม่ต้องไปช่วยให้มันตาย

รวมความว่าถ้ามันไม่ตาย อยากตายมันก็ไม่ตาย รวมความว่าอารมณ์อยากผิดปกติไม่มีในพระอรหันต์ มีอารมณ์เป็นสุข มีความเยือกเย็นเพราะสังขารุเปกขาญาณ คำว่าดีพิเศษในโลก ไม่มีสำหรับพระอรหันต์ ทุกอย่างท่านถือเป็นกฎธรรมดาไปหมด เมื่อธรรมดาเป็นยังไง จิตใจยอมรับนับถือธรรมดา จิตใจก็ไม่วุ่นวาย ร่างกายแก่ก็เรื่องของมัน ร่างกายป่วยก็เรื่องของมัน ร่างกายตายก็เรื่องของมัน

ก็รวมความว่าเป็นหน้าที่ของมันไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราคือจิต หรืออทิสสมานกาย กำลังใจพระอรหันต์อยู่จุดเดียวคือพระนิพพาน และก็มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน แต่ว่าจะเมตตาควรแก่การเมตตา กรุณาควรแก่การกรุณา ไม่ใช่เมตตาส่งเดช สิ่งใดถ้าผิดธรรมผิดวินัย อรหันต์ก็เมตตาไม่ได้ ต้องวางเฉย ใช้สังขารุเปกขาญาณ หรืออุเบกขา

รวมความว่า ตอนนี้ก็เข้าเขตอรหันต์ก็จบกัน ขอบรรดาท่านผู้ฟังและผู้ศึกษาทุกท่านจงปฏิบัติตามอัธยาศัยของท่าน เพราะการปฏิบัติจริงๆ ไม่ต้องเอาไกล เริ่มจับตั้งแต่พระโสดาบันมาเลยดีกว่า ไม่ต้องอ้อมเข้ามาใกล้เข้ามาหาจุด แล้วก็จะรู้จุดจบ สำหรับนักปฏิบัติที่กลุ้ม คือไม่รู้จุดจบ

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท ลิ้นมันก็ไม่ฟัง บังคับมันไม่ได้ มันรัวไปบ้าง พูดเร็วไปบ้าง เสียงเบาไปบ้าง หนักไปบ้าง เวลานี้ก็เหลืออีก ๒๕ วินาที ขอลาก่อน ขอความสุข สวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี
Sompong Tungmepol
 
ในวัฏสงสาร อันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไป ในการว่ายเวียนในการเกิดอีกตายอีก, ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์สองเท้าสัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะทำลงไปได้อย่างไรหนอ, จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นอยู่ว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมด, เป็นญาติของตน, แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของญาติอีกหรือ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น