วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560
คุณของพระพุทธเจ้าคุณของพระพุทธเจ้า Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol ติดตามแล้ว43K เพิ่มลงใน แชร์ เพิ่มเติม ดู 197 ครั้ง 8 0 เผยแพร่เมื่อ 22 ต.ค. 2017 หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติแต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube แสดงน้อยลง ความคิดเห็น • 3 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ เพิ่มความคิดเห็นสาธารณะ... ความคิดเห็นยอดนิยม Sompong Tungmepol ตรึงโดย Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol3 วันที่ผ่านมา ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 1 วินาทีที่ผ่านมา คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ - OKNation oknation.nationtv.tv/blog/sbtredio/2010/10/13/entry-1 13 ต.ค. 2553 - พุทธคุณ ๙ ประการ" คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ ... พุทธคุณ ๙ ประการ : ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า - ธรรมะไทย www.dhammathai.org › ... › พระพุทธศาสนา › พระพุทธเจ้า › หมวดที่ ๖ พระธรรม "พุทธคุณ ๙ ประการ". คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ. ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์. ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ. ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ๔. สุคโต ... คุณของพระพุทธเจ้า 56 - madchima-org-net www.madchima.org/forum/index.php?topic=275.0 22 ม.ค. 2553 - 6 โพสต์ - 5 ผู้เขียน จากข้อความในหนังสือ หลักปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา กรรมฐาน หน้า 82 ได้กล่าวเรื่อง คุณของพระพุทธเจ้า 56 คุณของพระธรรม 38 คุณของพระสงฆ์ 14 รวมเป็น 108 รบกวนอธิบายพระพุทธคุณ 3 ประการของ พระพุทธเจ้าด้วยครับ | พลังจิต palungjit.org › เว็บบอร์ด › พลังจิต › วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ 30 พ.ค. 2553 - คือผมมีเรื่องอยากจะรบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลายหน่อยนะครับ พระอาจารย์ให้การบ้านผมมาเรื่องพระพุทธคุณ 3 ประการของ พระพุทธเจ้าหน่ะครับ พระพุทธเจ้านั้น... พุทธคุณ ๓ - เตวิชโช - GotoKnow https://www.gotoknow.org › หน้าแรก › เตวิชโช › สมุด › วิถีธรรมะ-วิถีพุทธะ ติดตาม เลิกติดตาม. พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ ... พระคุณของพระพุทธเจ้ามี ๓ ประการ ดังนี้ ... ทั้งหมดนี้เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระปัญญาคุณ ... พระพุทธเจ้ามีพระคุณต่อเราอย่างไร? - เว็บพุทธภูมิ buddhapoom.com/index.php?topic=103.0 2 ต.ค. 2555 - พระคุณของพระพุทธเจ้านั้นมากมายมหาศาล ท่านคือผู้ชี้ทางให้แก่สัตว์โลก ที่ตาบอดมืดมัวไปด้วยกิเลศ ... "ปัญญาธิคุณ" พระองค์มีปัญญาคุณแก่เรา เพราะว่า ... Surachai Liw: พระปัญญาคุณ liwsurachai.blogspot.com/2013/06/blog-post_7935.html 30 มิ.ย. 2556 - พระปัญญาคุณ หมายถึง ปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้พระธรรมด้วยพระองค์เอง ทรงเป็นผู้รู้ทั้งโลกและธรรม ดังพระนามที่ได้รับ เช่น สัมมาสัมพุทโธ ... พุทธคุณ ๓ : ทรูปลูกปัญญา www.trueplookpanya.com/learning/detail/3336/005454 20 ม.ค. 2553 - ทั้งหมดนี้เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระปัญญาคุณ. พระบริสุทธิคุณ • พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุธรรมและหลุดพ้นจากกิเลส คือ ปัจฉิมโอวาทหรือโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า : พระพุทธเจ้ามีพระคุณต่อ ... sphuta.blogspot.com/2012/06/blog-post_829.html 3 มิ.ย. 2555 - คุณของพระพุทธเจ้ามี 3 อย่างคือ 1. ปัญญาธิคุณ พระองค์มีปัญญาคุณแก่เรา เพราะว่า พระองค์ทรงสั่งสอนมนุษย์ให้รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ชี้ ทางสว่างให้เรา ... การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ คุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระพุทธ 9 ประการ เรียกว่า คุณค่าของพระพุทธ คุณความดีของพระพุทธเจ้า เช่น คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณต่อชาวโลกอย่างไร คุณของพระธรรม คุณความดีของพระธรรม แสดงน้อยลง ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 วันที่ผ่านมา ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู แสดงน้อยลง ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์2 ชั่วโมงที่ผ่านมา ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯกายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้ อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. จบ วิญญาณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๒๐. กีฎาคิริสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่อกีฎาคิริ ๔. ตรัสอธิบายถึงบุคคล ( ผู้ได้บรรลุคุณธรรม ) ๗ ประเภท พร้อมทั้งแจกรายละเอียด ดังต่อไปนี้:- (๑) อุภโตภาควิมุต ผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง ( อรรถกถาอธิบายว่า พ้นทั้งแจกรูปกายด้วยอรูปกายด้วยอรูปสมาบัติพ้นจากนามกายด้วยมรรค) ได้แก่ผู้ ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบระงับด้วยกาย ( คือนามกาย ) สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (๒) ปัญญาวิมุต ผู้พ้นด้วยปัญญา ได้แก่ผู้ ไม่ได้ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา ทั้งสองประเภทนี้ไม่ต้องทรงสอนให้ทำการด้วยความไม่ประมาท เพราะทำการด้วยความไม่ประมาทอยู่แล้ว ( คือเป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว ไม่เป็นไปได้ที่จะประมาทอีก ). (๓) กายสักขี ผู้ถูกต้องผัสสะแห่งฌานก่อนแล้ว จึงทำให้แจ้งนิพพานในภายหลัง. ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย แต่สิ่งสิ้นอาสวะเพียงบางส่วน (๔) ทิฏฐิปัตตะ ผู้บรรลุเพราะเห็นธรรมด้วยปัญญา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับ ด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน เห็นธรรมที่ตถาคตแสดงแล้วอย่างแจ่มแจ้งด้วยปัญญา (๕) สัทธาวิมุต ผู้พ้นเพราะศรัทธา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน มีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต (๖) ธัมมานุสารี ผู้แล่นไปตามธรรมะ ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน เพ่งพอประมาณซึ่งธรรมะที่ตถาคตแสดงแล้วด้วยปัญญา (๗) สัทธานุสารี ผู้แล่นไปตามศรัทธา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย มีศรัทธามีความรักในตถาคต. ตั้งแต่กายสักขีถึงสัทธานุสารี รวม ๕ ประเภท เป็นพระอริยบุคคลที่ยังไม่ถึงขั้นพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคยังทรงสอนให้ทำการด้วยความไม่ประมาท เพราะทรงเห็นผลของความไม่ประมาท. (หมายเหตุ: พระอริยบุคคล ๗ ประเภทนี้ กำหนดด้วยคุณสมบัติพิเศษทางจิตใจที่ต่างกันเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ มีอธิบายไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และอรรถกถาทั่วไป ในที่นี้จึงแสดงไว้พอรู้จักชื่อและคุณสมบัติตามควร ). ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ) แสดงน้อยลง ตอบกลับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น