วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ.เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีลทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น