ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก
งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ดับมันด้วยโลกุตตระปัญญา ดับมันด้วยมรรคมันถึงจะดับสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น
พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป
สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น