วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมาธิ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคหมวด ๓ [๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เป็นไฉนอกุศลมูล ๓ อย่าง ๑. อกุศลมูล คือ โลภะ ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ ๓. อกุศลมูล คือ โมหะกุศลมูล ๓ อย่าง ๑. กุศลมูล คือ อโลภะ ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ ๓. กุศลมูล คือ อโมหะทุจริต ๓ อย่าง ๑. กายทุจริต [ความประพฤติชั่วทางกาย] ๒. วจีทุจริต [ความประพฤติชั่วทางวาจา] ๓. มโนทุจริต [ความประพฤติชั่วทางใจ]สุจริต ๓ อย่าง ๑. กายสุจริต [ความประพฤติชอบทางกาย] ๒. วจีสุจริต [ความประพฤติชอบทางวาจา] ๓. มโนสุจริต [ความประพฤติชอบทางใจ]อกุศลวิตก ๓ อย่าง ๑. กามวิตก [ความตริในทางกาม] ๒. พยาปาทวิตก [ความตริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาวิตก [ความตริในทางเบียดเบียน]กุศลวิตก ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมวิตก [ความตริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทวิตก [ความตริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาวิตก [ความตริในทางไม่เบียดเบียน]อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง ๑. กามสังกัปปะ [ความดำริในทางกาม] ๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางเบียดเบียน]กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมสังกัปปะ [ความดำริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]อกุศลสัญญา ๓ อย่าง ๑. กามสัญญา [ความจำได้ในทางกาม] ๒. พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางเบียดเบียน]กุศลสัญญา ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมสัญญา [ความจำได้ในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]อกุศลธาตุ ๓ อย่าง ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม] ๒. พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท] ๓. วิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความเบียดเบียน]กุศลธาตุ ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]ธาตุอีก ๓ อย่าง ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม] ๒. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป] ๓. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]ธาตุอีก ๓ อย่าง ๑. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป] ๒. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป] ๓. นิโรธธาตุ [ธาตุคือความดับทุกข์]ธาตุอีก ๓ อย่าง ๑. หีนธาตุ [ธาตุอย่างเลว] ๒. มัชฌิมธาตุ [ธาตุอย่างกลาง] ๓. ปณีตธาตุ [ธาตุอย่างประณีต]ตัณหา ๓ อย่าง ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม] ๒. ภวตัณหา [ตัณหาในภพ] ๓. วิภวตัณหา [ตัณหาในปราศจากภพ]ตัณหาอีก ๓ อย่าง ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม] ๒. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป] ๓. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]ตัณหาอีก ๓ อย่าง ๑. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป] ๒. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป] ๓. นิโรธตัณหา [ตัณหาในความดับสูญ] [อุจเฉททิฏฐิ]สัญโญชน์ ๓ อย่าง ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน] ๒. วิจิกิจฉา [ความลังเลสงสัย] ๓. สีลัพพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]อาสวะ ๓ อย่าง ๑. กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้] ๒. ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น] ๓. อวิชชาสวะ [อาสวะคือความเขลา]ภพ ๓ อย่าง ๑. กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร] ๒. รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร] ๓. อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร]เอสนา ๓ อย่าง ๑. กาเมสนา [การแสวงหากาม] ๒. ภเวสนา [การแสวงหาภพ] ๓. พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์]วิธา การวางท่า ๓ อย่าง ๑. เสยโยหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา] ๒. สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา] ๓. หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]อัทธา ๓ อย่าง ๑. อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต] ๒. อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต] ๓. ปัจจุบันนอัทธา [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]อันตะ ๓ อย่าง ๑. สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน] ๒. สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน] ๓. สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]เวทนา ๓ อย่าง ๑. สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข] ๒. ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์] ๓. อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]ทุกขตา ๓ อย่าง ๑. ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์] ๒. สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร] ๓. วิปริณามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]ราสี ๓ อย่าง ๑. มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน] ๒. สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน] ๓. อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน]กังขา ๓ อย่าง ๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส ๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส ๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใสข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความประพฤติชั่วทางใจที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้ ดังนี้กิญจนะ ๓ อย่าง ๑. ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ] ๒. โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ] ๓. โมหกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโมหะ]อัคคี ๓ อย่าง ๑. ราคัคคิ [ไฟคือราคะ] ๒. โทสัคคิ [ไฟคือโทสะ] ๓. โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ]อัคคีอีก ๓ อย่าง ๑. อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล] ๒. ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล] ๓. คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี]รูปสังคหะ ๓ อย่าง ๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไป กับด้วยการกระทบ] ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วย การกระทบ] ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]สังขาร ๓ อย่าง ๑. ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ] ๒. อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป] ๓. อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา]บุคคล ๓ อย่าง ๑. เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา] ๒. อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา] ๓. เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้อง ศึกษาก็ไม่ใช่]เถระ ๓ อย่าง ๑. ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ] ๒. ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม] ๓. สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ]ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง ๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน] ๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล] ๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง ๑. ทิฏฺเฐน [ด้วยได้เห็น] ๒. สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง] ๓. ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ]กามอุปบัติ ๓ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเมื่อกามปรากฏแล้ว ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายเช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบางจำพวก ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่หนึ่ง ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรตีฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่สอง ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่สามสุขอุปบัติ ๓ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่าพรหมกายิกา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น บางครั้งบางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯปัญญา ๓ อย่าง ๑. เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ] ๒. อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ] ๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ ของพระอเสขะก็ไม่ใช่] ฯปัญญาอีก ๓ อย่าง ๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด] ๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง] ๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯอาวุธ ๓ อย่าง ๑. สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง] ๒. ปวิเวกาวุธ [อาวุธคือความสงัด] ๓. ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา] ฯอินทรีย์ ๓ อย่าง ๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเรา จักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้] ๒. อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้] ๓. อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯจักษุ ๓ อย่าง ๑. มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ] ๒. ทิพพจักขุ [จักษุทิพย์] ๓. ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] ฯสิกขา ๓ อย่าง ๑. อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง] ๒. อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง] ๓. อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯภาวนา ๓ อย่าง ๑. กายภาวนา [การอบรมกาย] ๒. จิตตภาวนา [การอบรมจิต] ๓. ปัญญาภาวนา [การอบรมปัญญา] ฯอนุตตริยะ ๓ อย่าง ๑. ทัสสนานุตตริยะ [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม] ๒. ปฏิปทานุตตริยะ [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม] ๓. วิมุตตานุตตริยะ [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม] ฯสมาธิ ๓ อย่าง ๑. สวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร] ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร] ๓. อวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร] ฯสมาธิอีก ๓ อย่าง ๑. สุญญตสมาธิ [สมาธิที่ว่างเปล่า] ๒. อนิมิตตสมาธิ [สมาธิที่หานิมิตมิได้] ๓. อัปปณิหิตสมาธิ [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้] ฯโสเจยยะ ๓ อย่าง ๑. กายโสเจยยะ [ความสะอาดทางกาย] ๒. วจีโสเจยยะ [ความสะอาดทางวาจา] ๓. มโนโสเจยยะ [ความสะอาดทางใจ]โมเนยยะ ๓ อย่าง ๑. กายโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย] ๒. วจีโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา] ๓. มโนโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ] ฯโกสัลละ ๓ อย่าง ๑. อายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ] ๒. อปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม] ๓. อุปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความ เสื่อม]มทะ ความเมา ๓ อย่าง ๑. อาโรคยมทะ [ความเมาในความไม่มีโรค] ๒. โยพพนมทะ [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว] ๓. ชาติมทะ [ความเมาในชาติ] ฯอธิปเตยยะ ๓ อย่าง ๑. อัตตาธิปเตยยะ [ความมีตนเป็นใหญ่] ๒. โลกาธิปเตยยะ [ความมีโลกเป็นใหญ่] ๓. ธัมมาธิปเตยยะ [ความมีธรรมเป็นใหญ่] ฯกถาวัตถุ ๓ อย่าง ๑. ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้ ๒. ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้ ๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่า กาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ฯวิชชา ๓ อย่าง ๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติใน ก่อนได้] ๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย] ๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯวิหารธรรม ๓ อย่าง ๑. ทิพยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา] ๒. พรหมวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม] ๓. อริยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง ๑. อิทธิปาฏิหาริยะ [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์] ๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์] ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี-*พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯจบหมวด ๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น