วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

จิตสัมผัสพระนิพพาน มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็นเจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะผลอดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ๓ วิธีคือ (๑) การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์อย่างไรก็ตามไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มากระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไปจำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีกดังนั้นวิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้ (๒) การรักษาจิตใจให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์ เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็น สุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็นอนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวยและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก (๓) การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆเสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิตที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่สัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟักอย่างไรก็ตามเมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก คนดูแลสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามรถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกายและจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริงทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ความจริงของทุกข์ เมื่อทุข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะว่างความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กายและใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือต้ณหาให้ดับสนิลลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้องแสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง การรู้ทุกข์หรือการเจริญวิปัสสนานั้นมีหลักการสำคัญดังนี้คือ ๑. ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง คือต้องรู้รุปนาม จะไปรู้อารมณ์อื่นๆที่เป็นสมมุติปัญญัติหรือแม้กระทั่งนิพพานหรือมหาสุญญตาไม่ได้นักปฏิบัติบางท่านพยายามจะรู้นิพพานและพยายามใช้ความว่างๆเป็นอารมณ์ นั่นเป็นทางเดินที่ผิดเพราะบัญญัติและนิพพานไม่ใช่ทุกข์ผู้ปฏิบัติต้องรู้ทุกข์คือรู้รูปนามจึงจะละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราได้ในเบื้องต้น และละความถือมั่นในรูปนามได้ในเบื้องปลาย ๒. ต้องมีวิธีที่ถูกต้องในการรู้อารมณ์ คือ ขั้นแรก ต้องมีความรู้สึกตัว ไม่หลงไปอยู่ในโลก ของสมมุติบัญญัติหรือโลกของความคิดฝัน จึงสามารถรู้กายรู้ใจได้ ขั้นที่สอง ต้องรู้รูปที่กำลังปรากฏในปัจจุบันหรือต้องรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ และ ขั้นที่สาม เมื่อรู้แล้วอย่าปรุงแต่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปอีก รู้แล้วให้จบลงแค่รู้ แต่เมื่อรู้บ่อยเข้าในที่สุดก็จะเกิดปัญญาคือความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือไม่ใช่ตัวเรา เมื่อเข้าใจอย่างนี้ความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราจะถูกทำลายไปก่อน แล้วควบยึดถือในรูปนามจะถูกทำลายในภายหลัง ต่อไปนี้จะขอเล่าถึงวิธีการปฏิบัติธรรมอย่างง่ายๆ ให้เพื่อนนักปฏิบัติที่ยังไม่ทราบว่าจะลงมือปฏิบัติอย่างไรดีได้ลองนำไปพิจารณาดูดังนี้ ๑. การเลือกอารมณ์กรรมฐานที่ถูกจริต บุคคลที่มีตัณหาจริตคือมีธรรมชาตินิสัยเด่นรักสวยรักงามรักสุขรักสบาย ควรจะรู้กาย แต่ถ้ามีสติปัญญาแก่กล้าแล้วก็ควรเวทนา ส่วนคนที่มีทิฏฐิจริตคือมีธรรมชาตินิสัยเด่นในด้านคิดมาก เจ้าความคิด เจ้าทฤษฎี ชอบศึกษาเปรียบเทียบ ชอบวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์โต้แย้ง ฯลฯบุคคลเหล่านี้ควรจะรู้จิต แต่ถ้ามีสติปัญญาแก่กล้าแล้วก็ควรรู้ธรรมคือรูปนาม ๒. การรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม เป็นเรื่องของการรู้หรือรู้สึกๆ เอา ไม่ใช่การคิด และการเพ่ง ๓. เครื่องมือที่ใช้ในการรู้ ประกอบด้วย ๓.1 สติ คือความระลึกได้ถึงความปรากฏของรูปนาม สติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้สติเกิดขึ้นได้ เว้นเสียแต่มีเหตุที่สมควร สติจึงจะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ เพราะได้เจริญสติปฏฐานหรือตามรู้สภาวะของกาย เวทนา จิต หรือธรรมเนื่องๆ และทันทีที่สติเกิดขึ้น สติจะทำหน้าที่คุ้มครองจิต คืออกุศลจะดับไปแล้วกุศลเกิดขึ้นทันที สติหรือสัมมาสตินี้จะแตกต่างจากมิจฉาสติหรือสติธรรมดาตรงที่สัมมาสตินั้นเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้แก่รูปนามในชั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น และระลึกรู้นิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรคส่วนมิจฉาสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์บัญญัติอันเป็นสาธารณกุศลต่างๆผู้เขียนมีข้อสังเกตส่วนตัวที่ขอฝากให้เพื่อนปฏิบัติก็คือ สัมมาสติจะสึกว่าระลึกรู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปพร้อมกับจิตเป็นขณะๆส่วนสติธรรมดามักจะเข้าไปตั้งแข็งหรือนอนแช่อยู่ในอารมณ์ และให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าสตินั้นเป็นของที่ตั้งอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดดับ ๓.๒ สัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตในการระลึกรู้อารมณ์ปรมันต์ ได้แก่ ความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้รูปนามในชั่นการเจริญมรรคเบื้องต้น และความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้นิพานเมื่อเกิดอริยมรรค ความตั้งมั่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจิตเข้าไปตั้งแช่หรือนอนนิ่งอยู่กับอารมณ์ แต่เป็นสภาวะที่จิตไม่คลาดเคลื่อนจากอารมณ์ปรมัตถ์นั้นๆ แล้วไหลไปสู่อารมณ์บัญญัติแทน พูดง่ายๆ ก็คือในขณะที่รู้รูปนามก็รู้ด้วยความไม่ลืมตัว ไม่หลงไปหาอารมณ์อื่น และไม่เพ่งอารมณ์ที่กำลังรู้นั้นจนลืมตัว จิตจะตั้งมั่นและเป็นกลาง ไม่เผลอไปแต่ก็ไม่เพ่งอารมณ์ไว้ สัมมาสมาธิต่างจากมิจฉาสมาธิ ตรงที่จิตที่ตั้งมั่นอย่างมีสัมมาสมาธินั้นจะมีความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว และความซื่อตรงในการรู้อารมณ์รูปนามโดยไม่เข้าไปแทรกแซง และเกิดขึ้นได้เพราะจิตมีความสุขในการรู้รูปนาม ซึ่งความสุขนั้นก็เกิดเพราะจิตมีสตินั่นเอง ส่วนมิจฉาสมาธิมักจะเกิดจากโลภะคือความอยากจะรู้อารมณ์ให้ชัดๆ แล้วเกิดการกำหนด การประคอง การเพ่ง การรักษาจิตและอารมณ์ไว้ จิตมักจะเกิดโมหะและโลภะแทรที่จะเกิดปัญญารู้ความจริงของรูปนาม จิตมักมีอาการหนักแทนที่จะเบา แข็งแทนที่จะอ่อน ถูกนิวรณ์ครอบงำแทนที่จะควรแก่การงาน ซึมที่อแทนที่จะปราดเปรียวและเข้าไปแทรกแซงอารมณ์แทนที่จะรู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ๓.๓ ปัญญา คือ ความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด หมายความว่าเมื่อจิตตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ แล้วความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามหรือปัญญาก็จะเกิดขึ้น ปัญญาในที่นี้จึงเป็นวิปัสสนาปัญญาเกิดจาการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจาการอ่านและการฟังในขั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมและไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจาการคิด อนึ่ง ยังมีปัญญาขั้นสูงอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าโลกุตรปัญญา เป็นปัญญาที่เข้าใจนิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรค ๔. วิธีการรู้กาย ทำได้ง่ายๆ คือ เบื้องต้นควรทำสมถกรรมฐานเสียก่อน เพราะการรู้กายเหมาะสมสำหรับสมถยานิก พึงทำสมถกรรมฐานจนจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งและมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตจึงจะมีกำลังพอที่จะมองทะลุกายอันเป็นอารมณ์บัญญัติ เข้าไปเห็นรูปอันเป็นอารมณ์ประมัตถ์ได้โดยง่าย จากนั้นจึงใช้จิตที่ตั้งมั่นแล้วนั้นไปรูปรูปการรู้รูปไม่ใช่การเผลอไปสู่อารมณ์อื่น ไม่ใช่การคิดเรื่องกาย และไม่ใช่การเพ่งหรือกำหนดกายทั้งกาย หรือกายอันเป็นอวัยวะน้อยใหญชเนลมหายใจ มือ เท้า และท้อง เป็นต้น แต่การรู้รูปเป็นการรู้สึกถึงสภาวะหรืออาการที่กำลังปรากฏของรูป ซึ่งกำลังยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา คู้ เหยียด ก้ม เงย กิน ดื่ม พูด ขับถ่าย หายใจออก และหายใจเข้า และผู้ปฏิบัติจะรู้สึกได้โดยไม่ต้องน้อม คิดว่า สิ่งที่กำลังยืน เดินนั่ง นอน เคลื่อนไหว และหยุดนิ่งอยู่นั้นเป็นสักว่ารูป ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตันตน เรา เขา แต่อย่างใด และที่สำคัญผู้ปฏิบัติจะรู้ถึงจิตที่อาศัยอยู่กับรูปและเป็นผู้รู้รูปด้วย ๕. วิธีการรู้จิต ทำได้ง่ายๆ คือ ให้มีความรู้สึกตัว ไม่ใช่เผลอไม่ใช่คิด ไม่ใช่เพ่ง หากจิตมีความรู้สึกหรืออาการอย่างไรก็ค่อยตามรู้ความรู้สึกหรืออาการนั้น และรู้ความจริงว่านั่นเป็นสักว่านามไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่อย่างใด และที่สำคัญผู้ปฏิบัติจะรู้ถึงรูปอันเป็นที่อาศัยของจิตด้วย อนึ่ง ไม่ว่าเบื้องต้นผู้ปฏิบัติจะรู้กายหรือรู้จิตก่อน แต่สุดท้ายผู้ปฏิบัติก็ย่อมรู้ทั้งกายและจิต จนเห็นความจริงของกายและจิตว่าเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งหมด ๖. ความรู้สึกตัว เป็นสภาวะที่เข้าใจยากมาก ใครๆ ก็คิดว่าตนเองมีความรู้สึกตัวอยู่แล้ว ทั้งที่ในโลกนี้หาคนที่รู้สึกตัวจริงๆ ได้ยากเต็มที เพราะจิตของคนและสัตว์ทั้งหลายเคยชินที่จะส่งออกนอกคือหลงไปทางทวารทั้ง ๖ และเคยชินที่จะรู้บัญญัติเกี่ยวกับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ น้อยคนนักที่จะรู้สึกตัวและตื่นออกจากโลกของความคิดและสามรถรู้อารมณ์รูปนามที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้จริง ๗. รู้กับหลงเป็นสิ่งตรงข้ามกัน เมื่อใดจิตหลงดูรูป หลงฟ้งเสียงหลงดมกลิ่น หลงลิ้มรส หลงสัมผัสทางกาย หลงคิด และหลงเพ่งหรือกำหนด เมื่อนั้นจิตจะลืมรูปนาม/กายใจ จิตจะหลับฝันทั้งๆ ที่ร่างกายนี้ลืมตาตื่นอยู่ แต่เมื่อใดจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ จิตจะเกิดสติขึ้นเองเมื่อสภาวธรรมอันนั้นปรากฏขึ้น จิตจะเกิดความรู้สึกตัวเป็นความรู้ ตื่น และเบิกบานขึ้นในฉับพลัน ยกตัวอย่างความหลงที่เกิดบ่อยที่สุดก็คือการหลงคิด เมื่อหลงคิด ผู้นั้นจะรู้เรื่องที่คิดบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่เมื่อใดที่ผู้นั้นมีสติรู้ทันสภาวะของจิตว่ากำลังหลงคิดอยู่ ผู้นั้นจะเข้าถึงสภาวะแห่งความคื่นหรือความรู้สึกตัวในฉับพลันผู้ตื่นจะเป็นผู้ที่รู้ของจริงคืออารมณ์ปรมัตถ์ จะเห็นทันทีว่ารูปนาม/กายใจนี้ ไม่ใช่ตัวเราแต่อย่างใด เพราะแท่ที่จริงแล้วความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดเท่านั้น เมื่อหลุดออกจากความคิด กายใจนี้ก็แสดงความจริงว่ามันเป็นแค่รูปนาม ไม่ใช่ตัวตนของเราของเขาแต่อย่างใด ๘. การละความเห็นผิด เมื่อมีความรู้สึกตัวและระลึกรู้รูปนามอยู่เนืองๆ จิตจะค่อยๆ สะสมปัญญาคือความรู้ความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามทีละน้อยๆ ถึงจุดหนึ่งจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วเกิดกระบวนการทำลายล้างความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวตนอย่างฉับพลัน ผู้ที่ไมเห็นว่ารูปนามเป็นตนหรือตนเป็นรูปนามก็คือผู้ละสักกายทิฏฐิได้ หรือพระโสดาบันบุคคลนั่นเอง ๙. จิตปล่อยวางสิ่งอื่นเข้ามายึดจำเพาะจิต เมื่อตามรู้รูปนามต่อไป สติปัญญาจะยิ่งว่องไวขึ้น กำลังของกิเลสจะเริ่มเบาบางลง จิตจะประจักษ์แจ้งว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตาในโลกนี้หาอะไรเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวไม่ได้เลย จิตจะปล่อยวางความถือมั่นในสิ่งภายนอก แล้วเข้ามายึดถือเป็นที่พึ่งไว้อย่างเดียวเพราะเห็นว่าถ้าเมื่อใดจิตเกิดความอยากและความยึดถืออารมณ์ทั้งปวง จิตจะเป็นทุกข์ ถ้าไม่อยากและไม่ยึด จิตก็ไม่ทุกข์ จิตจึงจำกัดวงตัวเองเข้ามาอยู่จำเพาะจิต จิตตั้งมั่นมีสมาธิบริบูรณ์อยู่โดยไม่ต้องรักษา ๑๐. การรู้แจ้งอริยสัจจ์ เมื่อสติปัญญาแก่รอบอย่างถึงที่สุดแล้วผู้ปฏิบัติจะเห็นความจริงว่า จิตนั้นเองเป็นธรรมชาติที่ยังมีความแปรปรวน จิตเป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเอง คือไม่ใช่เป็นทุกข์เมื่อกระทบอารมณ์ที่ไม่ดีเท่านั้น และจิตนั้นเองเป็นสิ่งเดียวกันธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ธรรมภายในคือจิต กับธรรมภายนอกคือสิ่งอื่นๆทั้งปวงนับตั้งแต่ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเป็นต้นไปจนถึงโลกและจักวาล ล้วนเป็นของโลก เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่มีเจ้าของ แล้วฉับพลันนั้น จิตก็ปลดปล่อยความถือทั่นในตัวจิตเอง สลัดคืนจิตให้กับธรรมชาติ ในความรู้สึกจะเหมือนกับว่าจิตพรากออกจากขันธ์สำรองจากขันธ์ ไม่เกาะเกี่ยวขันธ์ ขันธ์ไม่กระทบเข้าถึงจิต จิตใหญ่ครอบโลกธาตุทั้งปวง จึงไม่มีการไปและการมาอีกต่อไป แล้วธรรมอันรุ่งเรืองเร้นลับที่ไม่เคยหายไปไหนก็ปรากฏเต็ฒบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง ๑๑. ธรรมนี้คือที่สุดแห่งทุกข์ การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนานั้นเมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกได้ว่า ธรรมนี้คือที่สุดแห่งทุกข์ เพราะเป็นที่สุดแห่งขันต์และกิเลสตัณหาทั้งปวง ขอกล่าวกับเพื่อนนักปฏิบัติอีกเพียงไม่กี่ประโยคว่า แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย แต่ง่ายจนยากเพราะเราคิดไม่ถึงว่าจะง่ายขนาดนี้ ดังนั้นแทนที่เราจะพยายามปรุงแต่งการปฏิบัติต่างๆ นานาขึ้นมาตั้งมากมายด้วยความยากลำบาก (ซึ่งเกือบทั้งหมดก็คือปุญญาภิสังขาร วึ่งเราสร้างขึ้นเองด้วยอำนาจบงการของอวิชา โดยหวังว่าเมื่อเราปรุงแต่งการปฏิบัติได้ดีถาวรแล้วเราจะบรรลุมรรคผลได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง) เราก็หันมารู้เท่าทันจิตที่แอบปรุงแต่งสิ่งต่างๆขึ้นมา เมื่อรู้ทันว่าจิตแอบปรุงแต่งแล้ว ความปรุงแต่งทั้งหลายนั้นก็จะดับไปเอง เมื่อความปรุงแต่งทั้งหลายดับลงแล้ว วามรู้สึกเป็นตัวตนจะมีไม่ได้เลย ขันธ์หรือรูปนามจะแสดงความเป็นของสูญต่อหน้าต่อตาเพราะความเป็นตัวตนเองเกิดจากความคิดนึกปรุงแต่งล้วนๆ เมื่อปราศจากความเป็นตัวตนของขันธ์ ก็ปราศจากเครื่องรองรับความทุกข์ทางใจความทุกข์ทางใจก็ตั้งอยู่ไม่ได้ นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ทางใจในปัจจุบันจนตราบถึงวันสิ้นขันต์ก็เป็นอันสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแต่เพียงเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น