วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือที่เราต้องพัฒนาอย่างน้อยที่สุดต้องมีสองตัวตัวที่หนึ่งชื่อสติตั...การปฎิบัติ คือรู้ท้นจิตที่ปรุงแต่ง . พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา..ถ้าเราภ­าวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะ­เลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้­เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่­รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื­่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้­อยเหลือเกิน เราเป็นนักศึกษาเราก็วางใจแค่ว่าวิปัสสนาก­รรมฐานก็เป็นวิชาๆหนึ่ง เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนนะ หัวใจแท้ๆเลยของวิปัสสนากรรมฐานนี่นะ คือทำยังไงเราจะเห็นความจริงของขันธ์ ๕ ของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมกันเป็นตัวเรา ธาตุต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา ขันธ์ต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา แล้วแต่จะมอง จะมองในมุมจะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกใ­นมุมของขันธ์ ๕ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกในมุมของอายตนะ ๖ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกเป็นธาตุ ๑๘ ธาตุก็ได้ ไม่ใช่ธาตุทางเคมี ธาตุเป็นสภาวะที่มันทรงตัวอยู่ได้ แยกออกไปแล้วมันจะเห็นว่าตัวเราไม่มี ความจริงเลยก็คือตัวเราไม่มีหรอก สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวเรา นี่เป็นความคิดของเราเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น