วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การทำตนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎ

สมุททวาณิชชาดก

ว่าด้วยพ่อค้าทางสมุทร
[๑๖๒๕] ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน เป็นมนุษย์ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการ
งาน ไม่ถึงส่วนหนึ่งแห่งเกาะอันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีกว่าชมพูทวีป.
[๑๖๒๖] ในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่นจัด จะท่วมเกาะใหญ่นี้ให้จมลง
คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่านทั้งหลายเสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่ง
อาศัยที่อื่นเถิด.
[๑๖๒๗] คลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้ เหตุอันนั้นเราเห็นแล้วด้วยนิมิตเป็น
อันมาก ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
[๑๖๒๘] ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้ อันมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและ
น้ำมากมาย เป็นที่อยู่อาศัยเถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะเกิด
มีแก่ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วยบุตรหลานเถิด.
[๑๖๒๙] เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้านความเกษมสำราญ ถ้อยคำของเทพ-
บุตรนั้นเป็นคำจริง เทพบุตรในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย หรือมิใช่ภัย ท่าน
ทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
[๑๖๓๐] เทวดาเหล่านี้ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร เทวดาตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย
ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอดภัย ดังเราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของ
เราเถิด เราทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย.
[๑๖๓๑] เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้มั่นคงติดเครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ
ถ้าเทพบุตรในทิศทักษิณพูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่าๆ .
[๑๖๓๒] เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรานั้นก็จักไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่
ละทิ้งเกาะนี้ ถ้าหากเทพบุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศทักษิณก็
พูดค้านเปล่าๆ .
[๑๖๓๓] เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนั้นทันที ข้ามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดีอย่างนี้ พวก
เราไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ว่าคำจริงโดยคำแรก ไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ซึ่งถ้อยคำ
ที่เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใดในโลกนี้เลือกถือ
เอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อมเข้าถึงซึ่งฐานะอันประเสริฐ.
[๑๖๓๔] กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวาง แทงตลอดประโยชน์ในอนาคตแล้ว ย่อมไม่
ให้ประโยชน์นั้นผ่านพ้นไปแม้แต่น้อย เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้น พา
กันไปในท่ามกลางทะเลโดยสวัสดีด้วยกรรมของตน.
[๑๖๓๕] ส่วนพวกคนพาลมัวหมกมุ่นอยู่ในรสด้วยโมหะ ไม่แทงตลอดประโยชน์
อันเป็นอนาคต เมื่อความต้องการเกิดขึ้น เฉพาะหน้าย่อมพากันล่มจม
เหมือนมนุษย์เหล่านั้นพากันล่มจมในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
[๑๖๓๖] ชนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำก่อนเสียทีเดียว อย่าให้กิจที่ต้องทำ
เบียดเบียนตัวได้ในเวลาที่ต้องการ กิจนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลผู้รีบทำ
กิจที่ควรทำเช่นนั้น ในเวลาที่ต้องการ.
จบสมุททวาณิชชาดก ที่ ๓.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น