วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะเรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไป โดยอากาศ. ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระ- พุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์ ด้วยพุทธานุภาพ (บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการ ของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมา กระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ใน ภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ในพุทธุป- บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุตตระ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 3 วิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัย และโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่า วัสสการะ เห็นสมบัติ นั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์ ของตนแล้ว. เขาปฏิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัย น้อมไป ในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลา ที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ. เพื่อจะจัดยาถวาย พระเถระ อุตตรสามเณร จึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว วางบาตรไว้ที่ริมฝั่งทะเลสาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า. ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนคร โดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณร แล้วหนีไป. สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อ ของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติ เป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพล่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์. ก็ใน ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวน ทวนพยานเลย สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็น ๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อน สามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณ ของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ ซึ่งมีพระองคุลียาว อ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติ ที่กำลัง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 4 หลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณี ที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้น ด้วยกำลัง แห่งการพิจารณา ในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควร แก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณรกลับได้ปีติ และปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความ เป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้ว ด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของ พระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตาม ที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระ ศาสดา. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "สุเมธะ" มีพระมหาปุริสลักษณะ อันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัด จึงเสด็จไปป่า หิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณาเป็น อุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว ประทับนั่งขัด- สมาธิ ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูล ซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอด ภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้น พระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตาม พระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 5 ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา ๓ ดอก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอก เอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์ จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญ กรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฏชื่อว่า กรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธง สำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตูหน้าต่างตั้งแสนปรากฏ ในปราสาทของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จ ด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วย แก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมี ค่ามาก ยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ มี ราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อม ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เรา ปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ ดอกไม้ เบื้องบนเรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่ โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์ ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์ ดนตรีหกหมื่น บำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้าน แวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 6 ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการ เล่น ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิง อยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิง อยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และ ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับ มิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดใน สองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์ หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ยานช้าง ยานม้า และวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่ง ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา หมู่ทาส หมู่ทาสี และนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่าง ทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศ ใหม่ ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเป็นผู้อันเขา บูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มี พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 7 บริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย อนึ่ง ทุกข์ทางจิต ย่อมไม่มี ในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิด- แผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราอัน กุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดใน สกุลพราหมณ์ มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มี ปัญญาจักษุ ทรงทราบคุณของเรา จึงรับสั่งให้เรา อุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธ- บูชา ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึง ความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธ- บูชา ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ- บูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็อุตตรสามเณร เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาว แล้วยืนอยู่ใน อากาศ แสดงปาฏิหาริย์ ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิต พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 8 อัศจรรย์ในปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใด นั่นเอง. ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่ สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร ? เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส จะป่วยกล่าวไปใย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้น อยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญ วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษ อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัดตน ออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า ภพทั้งหลาย แยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ. แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลาย จะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย. สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนด หมายรู้ เพราะอาศัยเบญจขันธ์ อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลาย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 9 ปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจขันธ์ที่ท่านกล่าวไว้โดย ปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัย และเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือ แตกสลายไป. ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปร นี้ พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการ เกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นสภาพ. เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจร ยกเบญจขันธ์ ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัด ดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปใยถึงสังขารทั้งหลาย ที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ คือ โทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือน ที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษ อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ). ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยม ที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพ ทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น พระเถระ จึงกล่าวว่า นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้อธิบายว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 10 เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของ มนุษย์. บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มี สังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจ ไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็ ได้บรรลุ คือ ถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพาน และพระ- อรหัตผล. พระเถระ ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย เหล่าอื่น ผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อ บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น. จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา ๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ [๒๕๙] ได้ยินว่า พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่าง นี้ว่า ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไป โดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง อยู่ได้ เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดย ทางที่ชอบ. นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าว การไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็น เปลือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 11 อรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา คาถาของท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นยิท อนเยน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ อยู่ในถ้ำแห่งภูเขา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ถ้ำเป็นที่นอน ในเวลาที่ราชสีห์หลีกออกไปหากิน เพื่อจะทรง อนุเคราะห์เขา ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติแล้ว ราชสีห์คาบเอาเหยื่อกลับมา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประตูถ้ำ เป็นผู้ร่าเริงยินดี กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ ที่เกิดในน้ำและดอกไม้ที่เกิดบนบก ทำใจให้เลื่อมใส บันลือสีหนาทในเวลา ทั้ง ๓ เพื่อให้สัตว์ร้ายในป่าหนีไป เพื่อถวายอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืน เฝ้าอยู่โดยมีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ มันบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ วัน เหมือนอย่างที่บูชาในวันแรก. โดยล่วงไปได้ ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงพระดำริว่า เท่านี้ก็จะพอเป็นอุปนิสัย เป็นไปแก่ราชสีห์ เมื่อมันเห็นอยู่ นั่นแล เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ เสด็จไปยังพระวิหารแล้ว. ราชสีห์ ไม่อาจอด กลั้นความทุกข์ อันเกิดจากความพลัดพรากจากพระพุทธเจ้า กระทำกาละแล้ว ดุจช้างปาลิเลยยกะ เกิดในตระกูลของคฤหบดีผู้มีโภคะมาก ในพระนครหงสาวดี เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระวิหารพร้อมกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญ มหาทานตลอด ๗ วัน แล้วกระทำบุญจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 12 อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรปุโรหิต ของพระเจ้าอุเทน ใน พระนครโกสัมพี ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย โดยนาม ชื่อว่า ภารทวาชะ. เขาเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพท สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ถูก มาณพเหล่านั้นทอดทิ้ง เพราะเป็นผู้มีอาจาระไม่เหมาะสม เพราะเป็นคนจะกละ (กินจุ) ไปสู่พระนครราชคฤห์ เห็นลาภสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้า และ ของภิกษุสงฆ์ จึงบวชในพระศาสนา เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เที่ยวไป อันพระศาสดาทรงทำให้ตั้งอยู่ ในความเป็นผู้รู้ประมาณได้ด้วยอุบายวิธี เริ่ม ตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้นเราเที่ยวอยู่ใน ป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็พระเถระเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว คิดว่า มรรคผลใด อันสาวก ทั้งหลายพึงบรรลุ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มรรคผลนั้นเราก็ บรรลุแล้ว และบันลือสีหนาทในหมู่ภิกษุว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 13 ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ใน เอตทัคคะ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นยอดแห่งภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้บันลือสีหนาท. วันหนึ่ง ท่านเมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ ตระหนี่ เคยเป็นสหายกันในสมัยเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ผู้เข้าไปหาถึงสำนักจึงกล่าว กถาพรรณนาอานิสงส์ของทานแก่พราหมณ์นั้น แม้เมื่อพราหมณ์ จะทำการ ขมวดคิ้วสยิวหน้าว่า พระเถระนี้ ประสงค์จะยังทรัพย์ของเราให้พินาศ แล้ว- กล่าวว่า เราจะถวายภัตรมื้อหนึ่งแก่ท่าน ดังนี้ จึงกล่าวว่า ท่านจงถวายภัตร มื้อหนึ่งนั้นแก่พระสงฆ์ อย่าถวายเราเลย แล้วให้พราหมณ์น้อมนำภัตรนั้น ไป ถวายสงฆ์ เมื่อพราหมณ์แสดงความไม่พอใจอีกด้วยคิดว่า พระเถระนี้ประสงค์ จะให้เราถวายทานแก่ภิกษุจำนวนมาก ดังนี้ พระเถระจึงยังพราหมณ์ให้เลื่อมใส ด้วยการประกาศถึงความที่แห่งทักษิณาทาน ที่ถวายในสงฆ์ โดยพระธรรม เสนาบดีในวันที่สองว่ามีผลมาก คิดว่าพราหมณ์นี้ สำคัญว่า พระเถระนี้ชักชวน ให้เราถวายทาน ด้วยควานอยากในอาหาร เขาไม่รู้ความที่เราควบคุม (กำหนดรู้) อาหารได้แล้วโดยประการทั้งปวง เอาเถิด เราจะทำให้เขารู้ ดังนี้ จึงได้กล่าว คาถา ๒ คาถา ความว่า ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง อยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาโดยทางที่ชอบ. นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการ ไหว้ การบูชา ในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปลือก ตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะ อันบุรุษชั่วละได้ยาก ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 14 บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิท อนเยน ชีวิต ความว่า ชีวิต ของเรานี้ ชื่อว่า ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควรคือ โดยการแสวงหาที่ไม่สมควร มีการให้ไม้ไผ่ และการให้ดอกไม้เป็นต้น เพราะไม่มีความใคร่ในชีวิต. บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า ก็อาหารที่เรานำมา ย่อมไม่กระทำหทัย คือ จิต ให้สงบระงับ ดุจมรรคญาณและผลญาณ อธิบายว่า แต่จะกระทำเพียงระงับความหิวได้โดยทันทีอย่างเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า อาหาร คือ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความอยากในรส ไม่ได้ทำจิตของเราให้สงบ คือไม่ทำจิตของเราให้ข้อง เพราะไม่มีความอยากในรสนั่นเอง อาจารย์บางพวก กล่าวว่า สนฺติเก ก็มี. อธิบายว่า ผู้ที่มีความจะกละในอาหารนั้น ย่อมต้องขวนขวายหาลาภ สักการะเที่ยวไป อาหารจึง ชื่อว่า มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะต้องใส่ใจถึงอยู่ เนือง ๆ ส่วนผู้ใดรู้เท่าทัน (ควบคุม) อาหารได้ ผู้นั้น ชื่อว่าละฉันทราคะ ในอาหารนั้นได้แล้ว อาหารชื่อว่าไม่มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะไม่มีการกระทำ ไว้ในใจ มีอาทิว่า ทำอย่างไรหนอ ถึงจะได้อาหารดังนี้โดยแท้ เพราะใส่ใจ ถึงปัญหายอกย้อน อันจะมีขึ้นว่า ก็ถ้าท่านไม่มีความใคร่ในชีวิต และความอยาก ในรสอาหารไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ท่านจึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยว แสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ. อาหาร คือ โภชนะเป็นที่ตั้ง คือ เป็นฐานได้แก่เป็นปัจจัยของร่างกาย นั้น เพราะเหตุนั้น ร่างกายจึงชื่อว่า อาหารัฏฐิติกะมีอาหารเป็นที่ตั้ง อธิบายว่า การสั่งสม คือร่างกาย มีความเป็นไปเนื่องด้วยอาการ เพราะเราเห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ จึงยกเอาความข้อนี้ไว้ในสมอง ต้องเที่ยวแสวงหา คือ ทำการแสวงหา อาหาร. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 15 พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ท่านไม่ควรคิดในคนเช่นเราอย่างนี้ว่าเข้าไป สู่สกุลเพราะปัจจัยเป็นเหตุ และถูกลาภสักการะ คือการกราบไหว้บูชาในสกุล นั้น ผูกมัดไว้ จึงได้กล่าวคาถาว่า ปงฺโก (การไหว้การบูชาในตระกูลเป็น เปลือกตม). คาถานั้นมีอธิบายว่า เพราะเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้รู้ คือ รู้แจ้ง หรือได้แก่ประกาศการสรรเสริญคุณและการบูชา ของเหล่า บรรพชิตผู้เข้าไปสู่สกุล เพราะมีปัจจัยเป็นเหตุที่จักเป็นไปในตระกูลทั้งหลาย คือ ในหมู่ชาวบ้าน นี้นั้นว่าเป็นเปลือกตม คือเป็นหล่ม เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้วจมลง และเพราะกระทำความ เศร้าหมองให้แก่บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้ว ฉะนั้นการสรรเสริญคุณ และการบูชานั้น จึงไม่เป็นไปเพื่อผูกมัดสัตบุรุษทั้งหลาย จักป่วยกล่าวไปใย ถึงการหวังสักการะเล่า เพราะท่านละได้แล้ว แต่สำหรับอสัตบุรุษ ความหวัง ในสักการะ ย่อมชื่อว่าเป็นลูกศรอันละเอียด รู้ได้ยาก เพราะก่อให้เกิดความ บีบคั้นโดยเป็นสภาพที่รู้ได้โดยยาก และเพราะไม่สามารถจะถอนออกได้เพราะ เจาะลึกเข้าไปในภายใน เพราะเหตุนั้นแล สักการะจึงเป็นของอันบุรุษชั่วนั้น ละได้ยาก คือดึงออกไปได้โดยยาก เพราะไม่ดำเนินปฏิปทา อันเป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงการละสักการะนั้น ชื่อว่า เป็นคนเลว เพราะไม่ละความหวังในลาภ สักการะ. พราหมณ์ฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว ได้เป็นผู้มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง ในพระเถระ. จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 16 ๓. วัลลิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ [๒๖๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออกทางประตูนั้นเนือง ๆ จงหยุดนิ่ง นะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้ ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจัก ไปไกลไม่ได้ละ. อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา คาถาของท่านพระวัลลิยเถระ เริ่มต้นว่า มกฺกโฏ ปญฺจทฺวาราย. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน ๆ สั่งสมบุญมากหลายไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัป ที่ ๓๑ นับแต่ภัทรกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเข้าไปสู่ป่าด้วยกรณียกิจ บางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า นารทะ อยู่ที่โคนต้นไม้ในป่านั้น เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ทำศาลาด้วยไม้อ้อ มุงบังด้วยหญ้าถวาย และแผ้วถางที่ สำหรับเดินจงกรมของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เกลี่ยทรายลง (จนเรียบ) ถวาย. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 17 ได้มีนามว่า วัลลิยะ. เขาเจริญวัยแล้ว ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ เป็น ผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของอินทรีย์ ท่องเที่ยวไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยการแนะนำของกัลยาณมิตร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อ หารินะ ครั้งนั้นพระสยัมภูพุทธเจ้า นามว่า " นารทะ " อยู่ใกล้ต้นไม้ เราทำเรือนไม้อ้อ มุงด้วยหญ้า เราได้ แผ้วถางทางจงกรม ถวายพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เรา ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ ร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์นั้น วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญกรรมเนรมิตขึ้นอย่างสวยงาม เพราะผล แห่งการสร้างกุฎีไม้อ้อ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๑๔ กัป ได้เสวยสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง ได้เป็นพระ- เจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน เราขึ้นสู่ปราสาทคือ ธรรมแล้ว เข้าถึงซึ่งอมตธรรมอันประเสริฐ ด้วยอาการ ทั้งปวง อยู่ในศาสนาของพระศากยบุตร ตามปรารถนา ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ใน กาลนั้น ด้วยธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งกุฏิไม้อ้อ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 18 ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เพราะเหตุที่จิตของตนในเวลา ที่เป็นปุถุชน เป็นไปตามความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น บัดนี้ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยประกาศถึงความที่แห่งอารมณ์มีรูป เป็นต้น อันตนข่มไว้ได้แล้ว ด้วยพระอริยมรรค จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า วานรเข้าไปในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออก ทางประตูนั้นเนือง ๆ จงหยุด นิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้ ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏฺฏยนฺโต ความว่า พระโยคาวจร ละอารมณ์อย่างหนึ่ง แล้วไปยึดอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ด้วยจักษุทวารเป็นต้นนั้น ๆ ไม่พอใจเพื่อจะอยู่นิ่ง ๆ ด้วย สามารถแห่งการยึดมั่นของจิตสันดาน จึงพยายาม คือ ทำอารมณ์ให้ไหวอยู่ เนือง ๆ ย่อมไหวไปตาม คือเที่ยวไปตามความใคร่ ในอารมณ์มีรูปารมณ์ เป็นต้นนั้นแล ดุจลิงเข้าไปหาผลไม้กิน ยังต้นไม้ให้ไหวในที่นั้นหลายครั้ง เพราะละกิ่งไม้กิ่งหนึ่งแล้ว ไปเกาะกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่ง เพราะความหลุกหลิก ของตน ฉะนั้น. ก็ในคาถานี้ ท่านกล่าวความเป็นปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่อง ที่ใกล้กับสิ่งที่ดำเนินไปอยู่ ก็เมื่อลิง (คือจิต) วิ่งวนไปมาอยู่อย่างนี้ พระเถระ จึงปรามว่า จงหยุดนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไป หมายความว่า ดูก่อนลิงคือจิต บัดนี้ เจ้าจงหยุด อย่าวิ่งไป คือจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าไม่สามรถจะวิ่งต่อไปได้ เพราะ เหตุที่เรือนคืออัตภาพนั้น เจ้าจะเข้าไปคบหาไม่ได้ดังกาลก่อน เพราะปิดประตู เรือนแล้ว ฉะนั้น เจ้าอย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เพราะเหตุไร ? เพราะเรา จับเจ้าได้แล้วด้วยปัญญา คือ เจ้าถูกข่มไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยการตัดอุปาทาน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 19 ๕ กล่าวคือกิเลสมาร และอภิสังขารมาร ด้วยมรรคปัญญา ในบัดนี้ เพราะ เหตุนั้น พระเถระจึงแสดงว่า เจ้าจักไปไกลไม่ได้ คือเจ้าจะไปสู่อัตภาพที่ สองเป็นต้น ซึ่งไกลกว่าอัตภาพนี้ไม่ได้ ได้แก่การไปของเจ้าจะมีได้เพียงแต่ จริมกจิตเท่านั้น. ปาฐะว่า เนโต ทูร ดังนี้ก็มี. ความหมายก็อันนั้น. จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา ๔. คังคาตีริยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระคังคาตีริยเถระ [๒๖๑] ได้ยินว่า พระคังคาตีริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า เราทำกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำ คงคา บาตรของเราเหมือนดังหม้อ สำหรับตักน้ำรด ศพ และจีวรของเราเป็นดังผ้าคลุกฝุ่น ในระหว่าง ๒ พรรษา เราพูดเพียงคำเดียวเท่านั้น ในภายใน พรรษาที่ ๓ เราทำลายกองความมืดคืออวิชชาได้แล้ว. อรรถกถาคังคาตีริยเถรคาถา คาถาของท่านพระคังคาตีริยเถระ เริ่มต้นว่า ติณฺณ เม ตาลปตฺตาน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? ได้ยินมาว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้วเป็นผู้มี ความเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสนา ได้ถวายน้ำดื่มแด่ภิกษุสงฆ์. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 20 ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของคฤหบดีคนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ทัตตะ. เขาเจริญวัย แล้วอยู่ครอบครองเรือน ไม่รู้จักความเป็นอคมนียยัฏฐาน จึงทำการล่วงละเมิด ต่อมารู้จักความเป็นอคมนียัฏฐานแล้ว จึงเกิดความสลดใจ บวชแล้ว รังเกียจ กรรมนั้น ดำรงตนตามลูขปฏิปทา (ปฏิบัติอย่างเศร้าหมอง) ถือบังสุกุลจีวร และบาตรดิน มีลักษณะคล้ายหม้อรดน้ำศพ กระทำกุฎีด้วยใบตาล ๓ ใบ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้สมญานามว่า คังคาตีริยะ. ท่านอธิษฐานจิตว่า เรายังไม่ได้บรรลุพระอรหัต จะไม่สนทนากับใคร ๆ แล้วเป็นผู้นิ่งอยู่ตลอดปีแรก ไม่ยอมทำวจีเภท (ไม่ยอมพูดจา) เลย อยู่แล้ว. ในปีที่สอง ถูกหญิงคนหนึ่งในโคจรคาม ประสงค์จะทดลองว่า เป็นใบ้ หรือเปล่า จึงเมื่อจะเทน้ำนมลงในบาตร แกล้งทำเป็นมือพิการเทราดลงไป เผลอเปล่งวาจาออกไปว่า พอละน้องหญิง แต่ในปีที่ ๓ เพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตแล้วในระหว่างพรรษาทีเดียว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว ไว้ในอปทานว่า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ในภิกษุสงฆ์ ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ จึงได้ตักน้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลาที่เราจะต้อง การน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศ หรือพื้นดิน น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน. เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 21 ก็พระเถระครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยมุขคือการชี้แจงข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า เราทำกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำ คงคา บาตรของเราเหมือนดังหม้อสำหรับรดน้ำศพ และจีวรของเราเป็นดังผ้าคลุกฝุ่น ในระหว่าง๒พรรษา เราพูดเพียงคำเดียว ในภายในพรรษาที่ ๓ เราทำลาย กองความมืด คืออวิชชาได้แล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณ เม ตาลปตฺตาน คงฺคาตีเร กุฏี กตา ความว่า เราสร้างกุฎีไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เพื่อป้องกันฝนด้วย ใบตาล ๓ ใบ ซึ่งหล่นลงมาจากต้นตาล. พระเถระแสดงความสันโดษด้วย เสนาสนะของตน ด้วยบทนั้น. สมจริงดังคำเป็นคาถาที่พระธรรมเสนาบดี กล่าวไว้ว่า สำหรับภิกษุผู้มีความเพียร นั่งขัดสมาธิ ไม่คุก- เข่า เป็นการเพียงพอที่จะอยู่ได้สบาย. ปาฐะว่า ตาลปตฺตีนปิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้น. บทว่า ฉวสิตฺโตว เม ปตฺโต ความว่า บาตรของเราเหมือนดัง หม้อสำหรับตักน้ำรดศพ อธิบายว่า คล้ายหม้อน้ำสำหรับรดน้ำนมให้คนตาย. บทว่า ปสุกูลญฺจ จีวร ความว่า และจีวรของเรา ก็เป็นดังผ้า คลุกฝุ่น ที่ทำด้วยเศษผ้า (ผ้าขี้ริ้ว) ที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลาย มีระหว่างทาง และป่าช้าเป็นต้น. พระเถระแสดงความสันโดษด้วยบริขาร ด้วยบททั้งสอง. บทว่า ทวินฺน อนฺตรวสฺสาน ความว่า ในระหว่างพรรษาทั้งสอง คือ ในปีที่บรรลุพระอรหัต นับแต่บวชแล้ว. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 22 บทว่า เอกา วาจา เม ภาสิตา ความว่า เราพูดเพียงคำเดียว คือ กล่าวห้ามการถวายน้ำนมว่า พอละน้องหญิงเท่านั้น การเปล่งคำพูด อย่างอื่น มิได้มีเลยในพรรษานั้น พระเถระแสดงการสำรวมกายวาจา อย่าง อุกฤษฏ์ด้วยบทนั้น. บทว่า ตติเย อนฺตรวสฺสมฺหิ ความว่า ในระหว่างปีที่ ๓ ได้แก่ ยังไม่ทันครบปีที่ ๓ นั่นเอง. บทว่า ตโมขนฺโธ ปทาลิโต ความว่า กองแห่งความมืด อันเรา ทำลายแล้ว ด้วยมรรคอันเลิศ อธิบายว่า กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ใน สันดาน คือ อวิชชา อันเราตัดขาดแล้ว. ด้วยบทว่า ตโมขนฺโธ ปทาลิโต นั้น พระเถระกล่าวถึงการละกิเลสทั้งปวงได้ โดยไม่เหลือ เพราะตั้งอยู่เป็น อันเดียวกันกับอวิชชานั้น. จบอรรถกถาคังคาตีริยเถรคาถา ๕. อชินเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอชินเถระ [๒๖๒] ได้ยินว่า พระอชินเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชแล้ว เป็นผู้ หาอาสวะมิได้ คนพาลทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อมดู หมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ส่วนบุคคลใดใน โลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่า บุคคลนั้นจะ เป็นผู้ชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือ ของคน พาลทั้งหลาย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 23 อรรถกภาอชินเถรคาถา คาถาของท่านพระอชินเถระ เริ่มต้นว่า อปิ เจ โหติ เตวิชฺโช. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์- ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในโลกที่ว่างจาก พระพุทธเจ้า (สุญญกัป) บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ไปป่าด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สุจินติตะ ในป่านั้น ถูกอาพาธเบียดเบียน บีบคั้นนั่งอยู่แล้ว จึงเข้าไปหาไหว้แล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้นำเอาขี้ตะกอน เปรียงเข้าไปถวาย เพื่อประกอบยา. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว เวียนไปมาอยู่ในสุคติภพเท่านั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของพราหมณ์ผู้ยากจน คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในเวลาคลอด คนทั้งหลาย รับเขาไว้ด้วยหนังเสือ ด้วยเหตุนั้น จึงขนานนานเขาว่า อชินะ นั่นแล. เขาเกิดในตระกูลที่ยากจน เพราะไม่ได้กระทำกรรมอันเป็นเหตุยังโภคะ ให้เป็นไป แม้เจริญวัยแล้ว ก็ยังเป็นผู้มีน้ำและข้าวไม่บริบูรณ์ เที่ยวไป เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า พระผู้มีภาคะ ผู้มีเหตุอันดำริดีแล้ว เป็นเชษฐ- บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ถูกอาพาธอันเกิดแต่ลมเบียดเบียน เราเห็นแล้ว จึง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 24 ทำจิตให้เลื่อมใส นำเอาขี้ตะกอนเปรียงเข้าไปถวาย เพราะเราได้กระทำกุศลและได้บูชาพระพุทธเจ้าเนืองๆ แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้ มหาสมุทรทั้ง ๔ และพื้นปฐพี ที่น่ากลัว ผ ซึ่งจะประมาณมิได้ นับไม่ถ้วนนี้ ย่อม สำเร็จเป็นเปรียงขึ้นได้ สำหรับ เรา น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด ดังจะรู้ความดำริของเรา เกิดขึ้น ตอไม้ที่งอกขึ้น แต่ แผ่นดินในทิศทั้ง ๔ ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิด เป็นต้นกัลปพฤกษ์ขึ้น เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช- สมบัติในเทวโลก ๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย คณานับไม่ถ้วน ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ให้ ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งขี้ตะกอนเปรียง. เราเผากิเลสทั้งหลาย แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ แล้ว ดังนี้. ก็พระเถระ แม้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เป็นผู้มีลาภน้อย ไม่ปรากฏ ชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมที่มีในก่อน แม้อุทเทสภัตรและสลากภัตรที่ถึงท่าน ก็ต่ำช้าทั้งนั้น ก็ภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ย่อมดูหมิ่นท่านว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมนั่นแล พระเถระเมื่อจะยังภิกษุเหล่านั้น ให้สลดใจ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชแล้ว เป็นผู้ หาอาสวะมิได้ คนพาลทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อม ดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ส่วนบุคคลใด พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 25 ในโลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะ เป็นคนชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือของคน- พาลทั้งหลาย ดังนี้. ศัพท์ว่า อปิ ในคาถานั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ยกย่องสรรเสริญ ศัพท์ว่า เจ ใช้ในการคาดคะเน. บทว่า โหติ แปลว่า ย่อมเป็น. บุคคลชื่อว่า เตวิชฺโช เพราะ เป็นผู้มีวิชชา ๓. ชื่อว่า มจฺจุหายี เพราะละมัจจุได้. ชื่อว่า ไม่มีอาสวะ เพราะไม่มี อาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ถึงแม้ว่า บุคคล จะเป็นผู้ชื่อว่า มีวิชชา ๓ เพราะบรรลุวิชชา ๓ เหล่านี้ คือ ทิพยจักขุญาณ บุพเพนิวาสญาณ (และ) อาสวักขยญาณ ต่อแต่นั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไปรอบแล้วโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า ละมัจจุแล้ว เพราะไม่มีความตาย โดยที่ไม่ต้องถือเอาภพใหม่อีกต่อไป แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทั้งหลาย คือบุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อมดูหมิ่น บุรุษผู้สูงสุดนั้น แม้ถึงได้บรรลุประโยชน์ของตน ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มุ่งหมายโดยชอบที่เดียว ว่าเป็นผู้ไม่มี ชื่อเสียง ไม่มีนามปรากฏ เพราะไม่มีลาภที่เกิดขึ้นว่า เป็นผู้กล่าวสอนเรื่อง ธุดงค์ เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่รู้ คือ เพราะเหตุแห่งการไม่รู้ ท่านแสดงการไม่รู้คุณทั้งหลายนั่นแลว่าเป็นเหตุใน ข้อนั้น. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็คนพาลทั้งหลายย่อมดูหมิ่นแม้ผู้ที่ควร สรรเสริญ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ (เห็นแก่ได้) เพราะไม่รู้คุณทั้งหลาย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 26 ฉันใด ก็ย่อมสรรเสริญแม้ผู้ที่ควรดูหมิ่นอย่างนี้ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ เพราะไม่รู้คุณทั้งหลายฉันนั้น ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ไว้. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า โย เป็นการกล่าว แสดงถึงความไม่แน่นอน. จ ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในพยดิเรก. ด้วย จ ศัพท์นั้น ส่องให้รู้ ถึงความต่างกันที่กำลังกล่าวถึงบุคคลนี้อยู่นั่นแหละ ว่าแผกจากบุคคล ตามที่กล่าวแล้ว ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอวธารณะ (จำกัดความให้แน่ชัด). บทว่า อนฺนปานสฺส เป็นเพียงตัวอย่าง. บทว่า ลาภี แปลว่า มีลาภ. บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. ชื่อว่า บุคคล เพราะเต็มและ กลืนกินสัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์) นั้น ๆ ด้วยชราและมรณะ. บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ธรรมอันลามก. ก็ในคาถาที่ ๒ นี้ มีอรรถาธิบายว่า ส่วนบุคคลใด ย่อมเป็นผู้มีปกติได้เพียงปัจจัย มีจีวรเป็นต้น เท่านั้น ไม่ได้มรรคผลมีฌานเป็นต้น บุคคลนั้นแม้ถึงจะเป็นผู้มีธรรมอันเลว โดยความเป็นผู้ทุศีล เพราะมีความปรารถนาลามก แต่ก็ยังเป็นผู้อันคนพาล ทั้งหลายในโลกนี้ สักการะ เคารพ เพราะความเป็นผู้หนักในลาภ. จบอรรถกถาอชินเถรคาถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 27 ๖. เมฬชินเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเมฬชินเถระ [๒๖๓] ได้ยินว่า พระเมฬชินเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า เมื่อใดเราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดง อยู่ เมื่อนั้น เราไม้รู่สึกมีความสงสัย ในพระศาสดาผู้รู้ ธรรมทั้งปวง ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ ผู้นำหมู่ แกล้ว- กล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย หรือ ว่าความสงสัยในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา. อรรถกถาเมฬชินเถรคาถา คาถาของท่านพระเมฬชินเถระ เริ่มต้นว่า ยทาห ธมฺมมสฺโสสึ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผล อาโมทะ มีรสอร่อย. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ กรุงพาราณสี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า เมฬชินะ ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 28 เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง มีนามกระฉ่อนปรากฏไปทั่วทิศ. เมื่อพระผู้มีพระ- ภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี เขาไปสู่พระวิหาร เข้าเฝ้า พระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาจิต บวชแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระ อรหัตในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ผู้มีพระรัศมีนับ ด้วยพัน ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ ทรงออกจากวิเวกแล้ว เสด็จออกโคจรบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ โสมนัส ได้ถวายผลไม้ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ในเวลาต่อมา อันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านได้บรรลุอุตริมนุสธรรมแล้วหรือ เมื่อจะบันลือสีหนาท ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า เมื่อใด เราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรง แสดงอยู่ เมื่อนั้น เราไม่รู้สึกความสงสัยในพระศาสดา ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ ผู้นำหมู่ แกล้วกล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย หรือว่าความสงสัยในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ได้แก่ ในกาลใด. พระเถระเรียก ตัวเองว่า " เรา ". พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 29 บทว่า ธมฺม ได้แก่ธรรม คือ อริยสัจ ๔. บทว่า อสฺโสสึ แปลว่า ฟังแล้ว. บทว่า สตฺถุโน ความว่า ชื่อว่าศาสดา เพราะอรรถว่า ทรงสั่งสอน เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยประโยชน์ทั้งหลาย มีทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นต้น. บทว่า กงฺข แปลว่า ความสงสัย พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็น สัพพัญญู เพราะอรรถว่า ทรงรู้สังขตธรรมและอสังขคธรรม โดยไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า อปราชิเต เพราะไม่มีผู้ที่จะทำให้พ่ายแพ้ได้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ ชื่อว่า สตฺถวาเห เพราะอรรถว่า ขนสัตว์จากกันดาร คือสงสารไปสู่พระนิพพาน. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้. นับจำเดิมแต่เวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม เราได้ฟังคือเข้าไป ทรงจำ ด้วยการแล่นไปตามแห่งโสตทวาร ได้แก่ ได้รับจตุสัจจธรรม เราไม่ มีความสงสัย ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่า ทรงหยั่งรู้พระสัพพัญญุตญาณ โดยไม่มีอะไรขัดขวาง เพราะทรงรู้สมมติธรรมทั้งที่เป็นสังขตะและอสังขตะ โดยไม่มีส่วนเหลือ ด้วยสยัมภูญาณ ชื่อว่า ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ เพราะ ความเป็นผู้อันมารเหล่านั้นชนะไม่ได้ โดยที่ทรงครอบงำมารแม้ทั้ง ๕ ไว้ได้ และเพราะความเป็นผู้มีจักรคือธรรม อันใคร ๆ กำจัดไม่ได้ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก ชื่อว่าเป็นผู้นำหมู่ เพราะทรงนำเวไนยสัตว์ให้ผ่านพ้นกันดาร มีโลภ- กันดารเป็นต้น ชื่อว่าแกล้วกล้าเป็นอันมาก เพราะทรงตัดกำกงแห่งสงสาร อันใหญ่หลวงได้เด็ดขาด ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย เพราะทรงเป็นที่พึ่ง คือทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอันคนอื่นฝึกได้ยาก ได้ด้วยการ ฝึกที่ดีที่สุด ว่าเป็นพระพุทธเจ้า (จริง) หรือหนอ หรือไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีความเคลือบแฝงอย่างอื่นเป็นปัจจัย. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 30 ก็ข้อกังขา คือความสงสัยในอริยมรรคอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงแล้วเห็นปานนั้น และในปฏิปทามีศีลเป็นต้น อันเป็นปฏิปทาที่สมควร แก่พระอริยมรรคนั้น ว่า จะเป็นธรรมนำสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่หนอ ดังนี้ ย่อมไม่มี คือไม่มีข้อสงสัย. ก็ในบาทคาถานี้ พึงทราบว่า ด้วยการกล่าว ถึงความสงสัยในอริยธรรม ก็เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงสัยแม้ในพระอริยสงฆ์ ไว้ด้วยแล้วทีเดียว เพราะความเป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรคนั้น โดยไม่มีความเป็น อย่างอื่น ฉะนี้แล. จบอรรถกถาเมฬชินเถรคาถา ๗. ราธเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระราธเถระ [๒๖๔] ได้ยินว่า พระราธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า เรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น. เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันใด จิตที่ อบรมดีแล้ว ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 31 อรรถกถาราธเถรคาถา คาถาของท่านพระราธเถระ เริ่มต้นว่า ยถา อคาร ทุจฺฉนฺน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? ได้ยินมาว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหงสาวดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้ แล้วไปสู่วิหาร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ ปรารถนาตำแหน่งนั้นด้วยตนเอง แล้วบำเพ็ญมหาทาน และได้ทำการบูชาแด่พระศาสดาอย่างโอฬาร เขาตั้งปณิธานไว้อย่างนี้ จุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลมะม่วง มี รสหวาน. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว เวียนไปมาอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน พระนครราชคฤห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้นามว่า ราธะ เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน ในเวลาแก่ตัวลง ถูกลูกเมียลบหลู่ ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า ประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา เราจักบวช เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ ขอบรรพชา อันภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ห้ามว่า พราหมณ์นี้แก่แล้ว ไม่สามารถจะบำเพ็ญวัตรปฏิบัติได้ จึงไปยังสำนักของ พระศาสดา กราบทูลอัธยาศัยของตนให้ทรงทราบ อันพระศาสดาทรงตรวจดู พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 32 ความสมบูรณ์แห่งอุปนิสัยแล้ว ตรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดี จัดแจงบวชให้ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง แด่พระสัม- พุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนทองคำ ผู้สมควรรับ เครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวาย ผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้ . ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในสำนัก ของพระบรมศาสดา เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ปฏิภาณ อันเป็นเหตุให้ มีความเข้าใจพระธรรมเทศนาของพระศาสดาอย่างแจ่มแจ้ง แท้จริง พระธรรม เทศนาใหม่ ๆ ของพระทศพล อาศัยความปรากฏขึ้นแห่งทิฏฐิ ย่อมแจ่มแจ้ง แก่พระเถระ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ ราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ. วันหนึ่ง พระเถระเมื่อจะ ชมเชยภาวนา ว่าสัตว์เหล่านี้อันราคะครอบงำได้ เพราะไม่เจริญภาวนา เมื่อ มีการเจริญภาวนา ราคะก็ครอบงำไม่ได้ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า เรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น. เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรม ดีแล้ว ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 33 บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคาร ได้แก่ เรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง. บทว่า ทุจฺฉนฺน ได้แก่ มุงไว้ห่าง ๆ คือเป็นช่องน้อยช่องใหญ่. บทว่า สมติวิชฺฌติ ความว่า ฝนที่ตกย่อมรั่วรดได้. บทว่า อภาวิต ความว่า จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว เพราะเว้นจากภาวนา เปรียบเหมือนฝนที่รั่วรดเรือนได้. บทว่า ราโค สมติวิชฺฌติ ความว่า มิใช่ราคะจะรั่วรดได้อย่าง เดียวเท่านั้น แม้สรรพกิเลสมี โทสะ โมหะ และมานะเป็นต้น ก็ย่อมรั่วรด จิตเห็นปานนั้นได้เหมือนกัน. บทว่า สุภาวิต ได้แก่ จิตที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่สามารถจะรั่วรดจิต เห็นปานนั้นได้ เหมือนเรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉะนั้น. จบอรรถกถาราธเถรคาถา ๘. สุราธเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสุราธเถระ [๒๖๕] ได้ยินว่า พระสุราธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสอนของพระชินเจ้า เรา อยู่จบแล้ว ข่าย คือ ทิฏฐิและอวิชชา เราละได้แล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เราถอนได้แล้ว เราออกบวช เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้ บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุ แล้ว. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 34 อรรถกถาสุราธเถรคาถา คาถาของท่านพระสุราธเถระ เริ่มต้นว่า ขีณา หิ มยฺห ชาติ. เรื่องราวของท่าน เป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลหมากงั่ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว วนไปเวียนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นน้องชายของพระราธเถระ ที่ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ติดต่อกันเป็นลำดับมา ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สุราธะ. เมื่อพระราธเถระผู้เป็นพี่ชายบวชแล้ว แม้ท่านเองก็ออกบวช เจริญ วิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน กล่าวไว้ในอปทานว่า เราได้เห็นสมเด็จพระโลกนาถ ผู้โชติช่วงเหมือน ต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ และ เหมือนต้นไม้ประจำทวีปที่โพลงอยู่ เราเลื่อมใส ได้ เอาผลหมากงั่วถวาย แด่พระศาสดาผู้เป็นทักขิไณย- บุคคล เป็นวีรบุรุษ ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย การถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายผลไม้ เราเผากิเลสแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 35 ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล เพื่อแสดงความที่คำสั่งสอนเป็นนิยยานิกธรรม (นำสัตว์ออกจากทุกข์) จึงได้ กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสอนของพระชินเจ้า เรา อยู่จบแล้ว ข่ายคือทิฏฐิและอวิชชา เราละได้แล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เราถอนได้แล้ว เราออกบวช เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นเรา ได้บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุ แล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณา ความว่า ถึงแล้ว ซึ่งความสิ้นไป คือความสิ้นสุด. บทว่า ชาติ ได้แก่ ภพ หรือการบังเกิดในภพ. บทว่า วุสิต ชินสาสน ความว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ นามว่า ชินะ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ อันเราอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว. บทว่า ปหีโน ชาลสงฺขาโต ความว่า ทิฏฐิและอวิชชา ที่มีนามอันได้ แล้วว่า ชาลสังขาตะ เพราะครอบงำสันดานของสัตว์ และไม่ให้ (โอกาส) เพื่อจะถอนขึ้น อันเราละแล้ว คือถอนขึ้นแล้วด้วยมรรค. บทว่า ภวเนตฺติ สมูหตา ความว่า ตัณหาที่หมายรู้กันว่า นำสัตว์ไปสู่ภพ เพราะนำสัตว์ไป สู่ภพมีกามภพเป็นต้น คือ ยังสัตว์ให้หมุนเป็นไป อันเราเพิกถอนแล้ว. บทว่า ยทตฺถาย ปพฺพชิโต ความว่า เราออกบวช คือออกจากเรือน บรรพชา คือบวช เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด คือเพื่อผลอันใด. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 36 อธิบายว่า ประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง กล่าวคือพระนิพพาน และประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัต อันเป็นธรรมเครื่องสิ้นไปแห่ง สังโยชน์ทั้งหลาย ต่างโดยโอรัมภาคิยสังโยชน์และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้งปวง อันเป็นเครื่องพันธนาการ อันเราบรรลุแล้วโดยลำดับ คือถึงทับแล้ว. จบอรรถกถาสุราธเถรคาถา ๙. โคตมเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ [๒๖๖] ได้ยินว่า พระโคตมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า มุนีเหล่าใด ย่อมไม่พัวพันในหญิงทั้งหลาย มุนี เหล่านั้นย่อมนอนหลับเป็นสุข สัจจะที่ได้ยากแสน ยากในหญิงเหล่าใด หญิงเหล่านั้นอันบุคคลต้องรักษา ทุกเมื่อแท้ ดูก่อนกาม เราประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ ฆ่าท่าน บัดนี้เราไม่เป็นหนี้ท่านอีก บัดนี้ เราไปถึง พระนิพพาน อันเป็นที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 37 อรรถกถาฌคตมเถรคาถา คาถาของท่านพระโคตมเถระ เริ่มต้นว่า สุข สุปนฺติ. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใส ได้ถวาย ผลอาโมทะ. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว ไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โคตมะ ในเวลาที่มีอายุได้ ๗ ขวบ ทำ เป็นคนตาพิการเที่ยวขอเงิน ได้ทรัพย์มาพันหนึ่ง เก็บทรัพย์นั้นไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย บำเพ็ญพรต ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖- ๑๗ ปี ถูกมิตรชั่วแนะนำไป ในกามารมย์ ให้ของมีราคาหนึ่งพันนั้น แก่หญิงขายตัว (อาศัยรูปเลี้ยงชีพ) คนหนึ่ง สูญเสียพรหมจรรย์ และเมื่อหญิงนั้นแสดงอาการคลายกำหนัด เพราะ เห็นรูปแห่งพรหมจารีของเขา เป็นผู้มีรูปอิดโรยเหนื่อยหน่าย ด้วยการร่วม หลับนอนเพียงคืนเดียวเท่านั้น นึกถึงความสูญเสียพรหมจรรย์ของตน และ การเสียทรัพย์ ได้มีวิปฏิสารว่า เรากระทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว. พระศาสดา ทรงทราบเหตุสมบัติ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตของเขา จึงแสดงพระองค์ในที่ ใกล้ ๆ เขา. เขาเห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใสเข้าไปเฝ้าแล้ว พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว เขาฟังธรรมแล้วได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวช บรรลุพระอรหัต ในขณะที่ปลงผมเสร็จทีเดียว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 38 เราได้ถวายผลอาโมทะ แด่พระสัมพุทธเจ้าผู้มี พระฉวีวรรณปานดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม่ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็สหายผู้เป็นคฤหัสถ์คนหนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้บรรลุพระอรหัต แล้วยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในฌาน ถามว่า อาวุโส ท่านเมื่อบวชได้ทำ อย่างไรกะทรัพย์ ที่ได้มาเพราะขอเงิน. พระเถระฟังดังนั้นแล้ว ไม่ยอมบอก ว่า เรากระทำกรรมชื่อนี้ ประกาศโทษในมาตุคาม เมื่อจะพยากรณ์พระ- อรหัตผล ด้วยการชี้ถึงความที่ตนเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า มุนีเหล่าใด ย่อมไม่พัวพันในหญิงทั้งหลาย มุนีเหล่านั้น ย่อมนอนหลับเป็นสุข สัจจะที่ได้ยาก แสนยากในหญิงเหล่าใด หญิงเหล่านั้น อันบุคคลต้อง รักษาทุกเมื่อแท้ ดูก่อนกาม เราประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อฆ่าท่าน บัดนี้ เราไม่เป็นหนี้ท่านอีก บัดนี้ เราไป ถึงนิพพาน อันเป็นที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข สุปนฺติ มุนโย เย อิตฺถีสุ น พชฺฌเร ความว่า มุนีเหล่าใด ไม่ผูกพันในหญิงทั้งหลาย ที่เกิดเป็นอารมณ์ หรือเกิดเป็นนิมิต ด้วยเครื่องผูกพันคือราคะ มุนีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ มี อินทรีย์อันสำรวมแล้ว ย่อมหลับเป็นสุข คืออยู่เป็นสุข. อธิบายว่า ทุกข์ย่อม ไม่มีแก่มุนีเหล่านั้น. ก็บทว่า สุปนฺติ นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 39 บทว่า สทา เว รกฺขิตพฺพาสุ ความว่า อันบุคคลพึงรักษา ตลอดกาลทั้งปวง โดยส่วนเดียว. อธิบายว่า หญิงทั้งหลายแม้จะให้อยู่ใน ปราสาทชั้นบนที่ปราศจากบุรุษถึง ๗ ชั้น แม้จะเก็บรักษาไว้ภายใน (ห้อง) ก็ไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ เพราะเหตุนั้น หญิงเหล่านั้นจึงเป็นผู้ที่จะต้องเฝ้า รักษาอยู่ตลอดเวลา ดุจแม่โคตัวกินข้าวกล้าเป็นอาหารฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง หญิงเหล่านั้น ต้องเฝ้ารักษาตลอดเวลา เพราะความเป็นหญิงนอกใจสามี ด้วย การเพิ่มให้ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น เพราะความเป็นหญิงหลายใจ. หรือ ชื่อว่า ต้องเฝ้ารักษา เพราะความเป็นหญิงที่ต้องคอยถนอมน้ำใจ โดยการ ปกปิดสภาพแห่งร่างกาย ด้วยระเบียบและของหอมเป็นต้น. บทว่า ยาสุ สจฺจ สุทุลฺลภ ความว่า คำสัตย์ไม่สามารถเพื่อจะ หาได้ในหญิงเหล่าใด อธิบายว่า ธรรมดาหญิงทั้งหลาย จะเข้าไปสู่กองไฟก็ได้ จะดื่มยาพิษก็ได้ จะนำศาสตรามาก็ได้ จะผูกคอตายก็ได้ แต่ไม่สามารถจะตั้ง อยู่ในสัจจะได้ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงแสดงความว่า มุนีทั้งหลาย เว้นหญิง เห็นปานนี้ แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสุขหนอ ดังนี้. มุนีทั้งหลาย ยังผูกพันอยู่แม้ในหญิงทั้งหลายเห็นปานนี้ เพราะยัง ละกามใดไม่ได้ บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความที่แห่งกามนั้น อันตน ละได้แล้วด้วยดี และความเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาโดยส่วนเดียว จงกล่าว คาถาที่ ๒ ไว้. บทว่า วธ จริมฺห เต กามา ความว่า ดูก่อนกามผู้เจริญ เรา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อฆ่าท่าน คือ ประพฤติถอนรากโดยส่วนเดียว ด้วย อริยมรรค. ปาฐะว่า เอว จริมฺหเส ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า เราได้ประพฤติ มรรคพรหมจรรย์เพื่อฆ่า คือเพื่อประหาร. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 40 บทว่า อณนา ทานิ เต มย ความว่า ดูก่อนกาม บัดนี้ คือ จำเดิมแต่เวลาที่เราได้บรรลุพระอรหัต เราไม่เป็นหนี้ท่าน คือเราไม่แบกหนี้ ของท่าน (ต่อไป). อธิบายว่า ผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ย่อมเป็นดุจแบกหนี้ ของกามไว้ เพราะยังเป็นไปในอำนาจของราคะ ส่วนผู้ที่ปราศจากราคะ ก้าว ล่วงกามนั้นได้แล้ว ประกอบไปด้วยความเป็นอิสระแห่งจิตใจอย่างสูง เพราะ เหตุที่ไม่ได้เป็นหนี้นั่นแล เราจึงชื่อว่า ไปถึงพระนิพพาน อันเป็นที่ ๆ บุคคล ไปแล้วไม่เศร้าโศก ได้แก่ไม่ต้องเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่งความโศกเศร้า โดยประการทั้งปวง อันมีการไปในพระนิพพานเป็นเหตุ. อธิบายว่า บัดนี้ เราถึง คือ ถึงโดยลำดับ ซึ่งอนุปาทิเสสนิพพานั้นนั่นแล. จบอรรถกถาโคตมเถรคาถา ๑๐. วสภเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวสภเถระ [๒๖๗] ได้ยินว่า พระวสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่า ผู้อื่น. บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้ได้ รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ไม่ใช่พราหมณ์ เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ ใน ภายนอกเท่านั้น เพราะพราหมณ์มีเพศอยู่ภายใน บาปกรรมทั้งหลายมีในบุคคลใด บุคคลนั้นเป็นคนดา ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอพระองค์จงทราบอย่างนี้. จบวรรคที่ ๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 41 อรรถกถาวสภเถรคาถา คาถาของท่านพระวสภเถระ เริ่มต้นว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตาน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในโลกที่ว่างจาก พระพุทธเจ้า (สุญญกัป) เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปะของ พราหมณ์ทั้งหลาย ละการอยู่ครองเรือนบวชเป็นดาบส เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัย โน้มไปในเนกขัมมะ สร้างอาศรมอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า สมัคคะ ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ให้โอวาทและอนุสาสน์แก่ดาบสทั้งหลายอยู่ วันหนึ่ง คิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราเองเป็นผู้อันดาบสเหล่านี้ สักการะ เคารพ บูชาแล้วอยู่ แต่ยังหาผู้ที่เราควรบูชาไม่ได้ การอยู่โดยไม่มีครูผู้ควรเคารพนี้ เป็นทุกข์ในโลก. ก็ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบูชาและสักการะ อันตนกระทำแล้ว ในเจดีย์ ของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้มีอธิการ อันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ว่า ไฉนหนอแล เราพึงก่อ- พระเจดีย์ทราย อุทิศพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ แล้วทำการบูชา ดังนี้ เป็นผู้ ร่าเริงยินดีแล้ว เนรมิตพระสถูปทราย สำเร็จด้วยทอง ด้วยฤทธิ์ กระทำการ บูชาทุก ๆ วัน ด้วยดอกไม้ประมาณ ๓,๐๐๐ อันสำเร็จด้วยทองเป็นต้น กระ ทำบุญจนตลอดอายุ แล้วบังเกิดในพรหมโลก. เขาดำรงอยู่แม้ในพรหมโลกนั้น จนตลอดอายุแล้ว จุติจากพรหมโลก นั้น บังเกิดในดาวดึงส์ ท่องเที่ยววนไปมาอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 42 เกิดในตระกูลเจ้าลิจฉวี ในกรุงเวสาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า วสภะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวเสด็จไปพระนครไพศาลี ของพระผู้มี พระภาคเจ้า ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุ พระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อ สมัคคะ เราได้ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขา นั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะใหญ่ มีนามว่า นารทะ ศิษย์ สี่หมื่นคนบำรุงเรา ครั้งนั้น เราเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ คิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา เราไม่บูชาอะไร ๆ เลย ผู้ที่จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใคร ๆ ที่จะตักเตือนเรา ก็ไม่มี เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในป่า ศิษย์ ผู้ภักดีพุงบำรุงใจครูทั้งคู่ได้ อาจารย์เช่นนั้นของเรา ไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์ สิ่งที่ควรบูชา เราควรแสวงหา สิ่งที่ควรเคารพ ก็ควรแสวงหาเหมือน กัน เราจักชื่อว่า เป็นผู้ที่มีที่พึ่งพำนักอยู่ ใครๆ จักไม่ เราได้ ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีแม่น้ำซึ่งมี ชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่น ไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยังแม่น้ำ ชื่อ อเมริกา กอบโกยเอาทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย พระสถูปของพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุดภพ เป็นมุนี ที่ได้มีแล้วเป็นเช่นนี้ เราได้ทำพระสถูปนั้นให้เป็น นิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง แล้วเอา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 43 ดอกกระดึงทอง ๓,๐๐๐ ดอกมาบูชา เราเป็นผู้มีความ อิ่มใจ ประนมกรอัญชลี นมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ในที่เฉพาะพระพักตร์ ฉะนั้น ในเวลาที่กิเลสและความ ตรึก เกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูสถูป ที่ได้ทำไว้ เราอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นำสัตว์ ออกจากที่กันดาร ผู้นำชั้นพิเศษตักเตือนตนว่า ท่าน ควรระวังกิเลสไว้ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ การยังกิเลส ให้เกิดขึ้นไม่สมควรแก่ท่าน ครั้งนั้น เมื่อเราคำนึงถึง พระสถูป ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน เราบรร- เทาวิตกที่น่าเกลียดเสียได้ เปรียบเหมือนช้างตัว ประเสริฐ ถูกเครื่องแทงหูเบียดเบียน ฉะนั้น เรา ประพฤติอยู่เช่นนี้ ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี เราทำ กาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ใน พรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ แล้วมาบังเกิดใน ไตรทิพย์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๘๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้ เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอก กระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอก แวดล้อมเราทุกภพ เพราะ เราเป็นผู้บำเรอพระสถูป ฝุ่นละอองย่อมไม่ติด ที่ตัวเรา เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่านออกจากตัว โอ พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำอเมริกา เราได้ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 44 เห็นดีแล้ว เราได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ก็เพราะ ได้ก่อพระสถูปทราย อันสัตว์ผู้ปรารถนาจะกระทำ กุศล ควรยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ไม่ใช่เป็นด้วยเขต หรือไม่ใช่เขต ความปฏิบัตินั่นเองให้สำเร็จ บุรุษผู้มี กำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลหลวง พึงถือเอา ท่อนไม้เล็ก วิ่งไปสู่ทะเลหลวงด้วยคิดว่า เราอาศัย ท่อนไม้นี้ จักข้ามทะเลหลวงไปได้ นรชนพึงข้ามทะเล หลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน อาศัยธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว จึงได้ข้ามพ้นสงสารไปได้ เมื่อถึงภพสุดท้าย เราอัน กุศลมูลตักเตือนแล้ว เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ที่มั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาของเราเป็น คนมีศรัทธา นับถือพระพุทธเจ้า ท่านทั้งสองนี้เป็นผู้ เห็นธรรม ฟังธรรม ประพฤติตามคำสอน ท่านทั้งสอง ถือเอาผ้าลาดสีขาว มีเนื้ออ่อนมากที่ต้นโพธิ มาทำ พระสถูปทอง นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ แห่ง พระศากยบุตร ทุกค่ำเช้าในวันอุโบสถ ท่านทั้งสอง นำเอาพระสถูปทองออก กล่าวสรรเสริญคุณพระ- พุทธเจ้า ยับยั้งอยู่ตลอด ๓ ยาม เราได้เห็นพระสถูป เสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้ นั่งบนอาสนะเดียว ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เราแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้ เป็นปราชญ์นั้นอยู่ ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี จึงออก จากเรือนบรรพชาในสำนักของท่าน เราได้บรรลุพระ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 45 อรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณวิเศษของเรา จึงให้เราอุปสมบท เรา มีการกระทำอันบริบูรณ์ดีแล้ว แต่ยังเป็นทารกอยู่ ทีเดียว ทุกวันนี้กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากย- บุตร เราทำเสร็จแล้ว ข้าแต่พระฤๅษีผู้มีความเพียร ใหญ่ สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งพระ- สถูปทอง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะทำการอนุเคราะห์ทายก จึงไม่ห้ามปัจจัยทั้งหลายที่ทายกเหล่านั้นนำมาถวาย บริโภคปัจจัยตามที่ได้มา แล้วเท่านั้น. ผู้ที่ยังเป็นปุถุชนสำคัญท่านว่า พระเถระนี้ เป็นผู้มักมากไปด้วย การบำรุงบำเรอร่างกาย ไม่รักษาสภาพจิต จึงพากันดูหมิ่น. พระเถระอยู่อย่างไม่คำนึงถึงการดูหมิ่นนั้นเลย ก็ในที่ไม่ไกล ที่ พระเถระอยู่ มีภิกษุผู้โกหกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีความปรารถนาลามก แสดงตน เหมือนเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เหมือนเป็นผู้สันโดษ เที่ยวลวงโลกอยู่. มหาชนพากันยกย่องภิกษุรูปนั้น เหมือนอย่างพระอรหันต์. ลำดับนั้น ท้าว สักกะผู้เป็นจอมเทพ ทรงทราบพฤติการณ์นั้นของเธอแล้ว จึงเข้าไปหา พระเถระ แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้โกหก กระทำกรรมชื่อไร ? พระเถระเมื่อจะตำหนิความปรารถนาลามก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึง ฆ่าผู้อื่น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย เหมือนนายพรานนก ที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 46 ได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น บุคคลผู้ลวงโลก นั้นไม่ใช่พราหมณ์ เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ใน ภายนอกเท่านั้น เพราะพราหมณ์มีเพศอยู่ภายใน บาป กรรมทั้งหลาย มีในบุคคลใด บุคคลนั้น เป็นคนดำ ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตาน ความว่า บุคคลผู้โกหก เพื่อลวงโลก ด้วยประพฤติเป็นคนโกหกของตน ชื่อว่า ย่อม ฆ่าตน ด้วยธรรมอันลามก มีความเป็นผู้ปรารถนาลามกเป็นต้น ก่อนทีเดียว คือยังส่วนแห่งความดีของตนให้พินาศไป. บทว่า ปจฺฉา หนติ โส ปเร ความว่า บุคคลผู้โกหกนั้น ฆ่า ตนเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว ก่อนเป็นปฐม ต่อมาภายหลังจึงฆ่าคนทั้งหลาย ผู้สรรเสริญตนว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นพระอริยะ ดังนี้ แล้วกระทำ สักการะ คือทำสักการะที่เขาถวายตน ให้ไม่มีผลมาก ให้พินาศไป โดยการ พินาศแห่งปัจจัย. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า แม้ในการฆ่าทั้งสองอย่าง ของคน โกหกจะมีอยู่ แต่ ข้อแปลกในการฆ่าตนมีดังนี้ จึงกล่าวว่า สหต หนติ อตฺตาน (บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย). คนโกหกนั้น เมื่อฆ่าตน ย่อมฆ่าคือทำให้พินาศได้ง่ายดาย. ถามว่า เหมือนอะไร ? ตอบว่า เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านกฉะนั้น. นกต่อ ชื่อว่า วีตโส. ด้วยนกต่อนั้น. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 47 บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ นายพรานนก. เปรียบเหมือนนายพรานนก ลวงนกเหล่าอื่นไปฆ่าด้วยนกต่อนั้น ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนแม้ในโลกนี้ เพราะเป็น กรรมที่ท่านผู้รู้ตำหนิ และเป็นกรรมที่มีโทษเป็นสภาพเป็นต้น ส่วนในสัมปราย ภพ ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนด้วยความมืดมน มัวหมองของทุคติทีเดียว แต่ในภาย หลัง ก็ไม่สามารถจะฆ่านกเหล่านั้นได้อีก ฉันใด คนโกหกก็ฉันนั้น ลวงโลก ด้วยความเป็นคนโกหก ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนเองแม้ในโลกนี้ เพราะวิปฏิสาร และถูกตำหนิจากวิญญูเป็นต้น. แม้ในปรโลก ก็ชื่อว่าฆ่าตน เพราะความมืด มน มัวหมองของทุคติ ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้น ให้ถึงทุกข์ในอบาย อีกด้วย. อีกประการหนึ่ง คนโกหก ท่านกล่าวว่า ย่อมฆ่าทายก เพราะกระทำ ทักษิณาไม่ให้มีผลมากเท่านั้น ไม่ใช่เพราะกระทำทักษิณาทานไม่ให้มีผล. สมจริงดังพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ทักษิณาทานที่ให้แก่ มนุษย์ทุศีล พึงหวังผลได้พันเท่า ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพ เพียงทำให้สะอาด ในภายนอกอย่างนี้ หาชื่อว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ แต่จะชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะ ความสะอาดในภายในเท่านั้น ดังนี้ จึงกล่าวคาถาที่สองว่า น พฺราหฺมโณ เป็นต้น. คาถาที่ ๒ นั้นมีอธิบายว่า บุคคลหาชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ เหตุ เพียงสมบัติภายนอก มีการวางท่า (วางมาด) เป็นต้นไม่. ก็วัณณะ ศัพท์ในคาถานี้ มีสมบัติเป็นอรรถ (หมายความถึงสมบัติ). ก็บุคคลย่อมชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะสมบัติมีศีลเป็นต้นในภายใน โดยกระทำอธิบายว่า บุคคล ผู้มีบาปอันลอยแล้ว ชื่อว่า พราหมณ์ ดังนี้. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 48 ดูก่อนท่านสุชัมบดี ผู้เป็นจอมเทวัญ เพราะฉะนั้น ท่านจงรู้เถิดว่า บาปคือกรรมอันลามกทั้งหลาย มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าคนดำ คือเป็นคน เลวทรามโดยส่วนเดียว ดังนี้. ท้าวสักกะฟังดังนั้นแล้ว ทรงคุกคามภิกษุผู้ โกหกแล้วโอวาทว่า ท่านจงประพฤติธรรม ดังนี้แล้ว เสด็จกลับพิภพของ พระองค์. จบอรรถกถาวสภเถรคาถา จบวรรควรรณนาที่ ๑ ในอรรถกถา เถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ ๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ๓. พระวัล- ลิยเถระ ๔. พระคังคาตีริยเถระ ๕. พระอชินเถระ ๖. พระเมฬชินเถระ ๗. พระราธเถระ ๘. พระสุราธเถระ ๙. พระโคตมเถระ ๑๐. พระวสภ- เถระ ล้วนมีมหิทธิฤทธิ์ และอรรถกถา. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 49 เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๒ ๑. มหาจุนทเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระมหาจุนเถระ [๒๖๘] ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า การฟังดี เป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็น เหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชนก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ภิกษุควรซ่อง เสพเสนาสนะ อันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุ ให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ประสบความ ยินดี ในเสนาสนะอันสงัดและธรรมนั้น ก็ควรเป็นผู้ มีสติรักษาตน อยู่ในหมู่สงฆ์. วรรควรรณนาที่ ๒ อรรถกถามหาจุนทเถรคาถา คาถาของท่านพระมหาจุนทเถระ เริ่มต้นว่า สุสฺสูสา. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลช่างหม้อ ในกาลของ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 50 พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว เลี้ยงชีพด้วยงาน ของนายช่างหม้อ วันหนึ่งเห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ทำบาตรดินลูก หนึ่ง ตกแต่งเป็นอย่างดี ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด เป็นบุตรของนางรูปสารีพราหมณี เป็นน้องชายคนเล็ก ของพระเถระชื่อว่า สารีบุตร ในนาลกคาม แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า จุนทะ. เขาเจริญวัยแล้ว บวชตามพระธรรมเสนาบดี อาศัยพระธรรมเสนาบดี เริ่มตั้งวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า ข้าพระองค์ เป็นช่างหม้ออยู่ในหงสาวดี ได้เห็น พระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีโอฆะอันข้ามได้ แล้ว ไม่มีอาสวะ ข้าพระองค์ได้ถวายบาตรดินที่ทำ ดีแล้ว แด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ครั้นถวายบาตร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรง คงที่แล้ว เมื่อข้าพระองค์ เกิดในภพ ย่อมได้ภาชนะทอง และจานที่ทำด้วยเงิน ทำด้วยทอง และทำด้วยแก้วมณี ข้าพระองค์บริโภค ในถาด นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศ กว่าชนทั้งหลายโดยยศ พืชแม้มีน้อย แต่หว่านลงใน นาดี เมื่อฝนยังท่อธารให้ตกลงทั่ว โดยชอบ ผลย่อม ยังชาวนาให้ยินดีได้ฉันใด การถวายบาตรนี้ก็ฉันนั้น ข้าพระองค์ได้หว่านลงในพุทธเขต เมื่อท่อธารคือปีติ ตกลงอยู่ ผลจักทำข้าพระองค์ให้ยินดี เขตคือหมู่และ คณะมีประมาณเท่าใด ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น