วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัพพโตปมคาถา ยาถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปริเยยฺยุง นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพาเมวาภิมทฺทติ น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุง ธเนน วา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺถโน พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธํ นิเวสเย โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ. แปลว่า ภูเขาทั้งหลาย ล้วนด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่ ความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็น กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม เป็นกุลีเทหยาก เยื่อก็ตาม ไม่ได้เว้นสิ่งไรๆ ไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้ง ปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท้า ย่อมไม่มี อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะ นั้นด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือ ด้วยทรัพย์ ด้วย เหตุนั้นแล ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเห็นประโยชน์ของตน ผู้ มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้เป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้ นั้นในโลกทีเดียว ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น