วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เพชรน้ำเอกในคำสอนของพระตถาคตเจ้า




จิตมนุษย์นั้นมีลักษณะเป็นประภัสสร (มีรัศมีซ่านออก) จิตเป็นอย่างใดย่อมซ่านออกทางสีหน้า ดวงตาและอาการกิริยาอื่นๆ เมื่อจิตโกรธ สีหน้าและแววตาเป็นอย่างหนึ่ง แววตาแข็งกร้าวหมองคล้ำหรือแดงจัด กิริยาอาการแข็งกระด้างตึงตัง 

เมื่อจิตเปี่ยมด้วยเมตตาปรานี สีหน้าก็ผ่องใส แววตาอ่อนโยน กิริยาอาการละเมียดละไม วาจาอ่อนหวานนุ่มนวล เมื่อจิตเศร้าโศกดวงหน้าก็เศร้าหมองซูบซีด
แววตาร่วงโรยไม่แจ่มใส กิริยาอาการ เงื่องหงอยไม่กระปรี้กระเปร่า 

ดูเถิดภราดา ! ดูอาการซ่านออกแห่งดวงจิต ดูรัศมีแห่งจิตหรือกระแสลำแสงแห่งจิต คนที่มีจิตเหลาะแหละโลเล คิดแต่จะเอาเปรียบผู้อื่น
พอพบเห็นกันครั้งแรก ผู้พบเห็นก็มักรู้สึกว่า ‘คนนี้ไม่น่าไว้วางใจ’ 

ส่วนผู้มีใจสูงได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมแสดงออกทางดวงหน้าและแววตาเหมือนกัน ใครได้พบเห็นจึงมักรู้สึกว่า ช่างน่าเคารพเลื่อมใสเสียนี่กระไร ! 

ดังนั้น ความรักใคร่หรือความเกลียดชัง แม้ไม่ต้องบอก ใครๆ ก็พอรู้ได้ 
เพราะมันแสดงออกอยู่เสมอทั้งทางดวงหน้าและแววตา 
วาจาพออำพรางได้ เสแสร้งแกล้งกล่าวได้ 
แต่แววตาจะฟ้องให้เห็นเสมอว่า ความรู้สึกภายในเป็นอย่างไร 

โกลิตะสังเกตกิริยาอาการสีหน้าและดวงตาของสหายรักแล้ว
จึงแน่ใจว่า อุปติสสะคงได้พบขุมทรัพย์อันประเสริฐ
ที่เขาทั้งสองพากันแสวงหามาเป็นเวลานานแล้ว

:b46: 

อุปติสสะเล่าความทั้งปวงให้สหายรักฟัง 
ตั้งต้นแต่ได้เห็นพระอัสสชิขณะบิณฑบาตอยู่ในนครราชคฤห์ 
และเดินตามท่านไปจนได้ฟังธรรมจากท่าน
เขาเล่าอย่างละเอียดลออ 
โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) เช่นเดียวกับเขา

ทั้งสองได้ปราโมชอันเกิดจากธรรม 
ได้ดื่มรสแห่งธรรมอันพระตถาคตทรงยกย่องว่า เลิศกว่ารสทั้งปวง 
เพราะไม่เจือด้วยทุกข์และโทษ ยิ่งดื่มยิ่งสงบประณีต 
ไร้ความกระวนกระวาย ยิ่งดื่มยิ่งหวานชื่น
เหมือนบริโภคอ้อยจากปลายไปหาโคน 

ส่วนรสแห่งโลกนั้น เจืออยู่ด้วยทุกข์และโทษนานาประการ
ต้องกังวลต้องหวาดระแวง ความสุขแห่งโลกมักจบลงด้วยทุกข์ 
โลกียรสยิ่งดื่มยิ่งจืด เหมือนกินอ้อยจากโคนไปหาปลาย

ผู้ที่ได้ดื่มรสแห่งธรรมแล้ว มีธรรมเอิบอาบอยู่ในใจแล้ว 
ความสุขอย่างโลกๆ ก็ไร้ความหมาย 
เมื่อจำเป็นต้องเสวยความสุขทางโลก 
ไม่ว่าประณีตปานใด ก็มีใจพิจารณาเห็นโทษอยู่เนืองๆ 
เหมือนผู้จำเป็นต้องดื่มน้ำ ที่แม้จะใสสะอาด 
แต่มองเห็นปลิงวนว่ายอยู่ก้นขัน 
ลองคิดดูเถิดว่า เขาจะดื่มน้ำด้วยความรู้สึกอย่างไร
ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้

เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ..

เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ

พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง

คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย

คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น