วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเจริญจิตให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ หลุดพ้น จากอาสวกิเลส

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อั­นนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสม­าธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

บทเรียนที่หนึ่งชื่อว่า ศีลสิกขา
บทเรียนที่สอง จิตสิกขา อาภัพไม่มีคนเรียน ถ้าเรียนจิตสิกขา
สำเร็จหลักสูตรจิตสิกขา เราจะได้จิต ซึ่งเหมาะกับการทำวิปัสนา
แต่ถ้าไม่เรียนนะ เราจะมีจิตที่เหมาะกับการทำสมถะ
เช่นเราไปคิดเรื่องกายไปเพ่งกาย ไปคิดเรื่องเวทนา ไปเพ่งเวทนา ไปคิด
เรื่องจิตไปเพ่งจิต เพ่งจิตก็ไม่ใช่วิปัสนา เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ
เรียนนะ ค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราเริ่มตื่นขึ้นมาอย่างแท้จริง
แล้วเราจะทำวิปัสนาอย่างจริงๆ ได้ เอาเท่านี้ก่อนนะ
สรุป ถ้า มีสติก็มีศีล มีสติก็มีสมาธิ
มีสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา
พอจิตตั้งมั่นสติรับรู้อะไรปั๊ป จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ
เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจมากเข้าๆ จะเกิดปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ
เกิดมรรคผล นิพพานขึ้นนะ
สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน
จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา
เวลาบรรลุมรรคผลนิพพานมีจิต ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีจิตแล้วใครจะรู้นิพพาน นิพพานเป็นอารมณ์นะ มีอารมณ์ต้องมีจิต เป็นกฎนะ กฏของธรรมะ ชื่อภาษาแขกเพราะๆเรียกว่า “ธรรมนิยาม” กฎของธรรมะ
ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด
เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง
เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย
ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละ อยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ
ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา
เรารักตัวเองที่สุดนะแต่เราสนใจตัวเองน้อยที่สุด
เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารม­­ณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่­­ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็­­นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น­­ได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห­­็น เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธ­­ิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุร­­ู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแห­­วกอาสวะกิเลสทั้งหลาย
ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่­อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึก­ได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเ­ห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณ­าว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน­นะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น