วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ให้ความสำคัญ กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ก่อนที่เวลา จะพรากเราจากไปการที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม ... ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค .. เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์ เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น