วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ศึกครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน เราฝึกให้มีสตินะแล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน
ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง
อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทา
ปรินิพพาน ฯ
แสดงน้อยลง
Sompong Tungmepol
ศึกครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน เราฝึกให้มีสตินะแล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา เราก็รู้ไป

เวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลยเดี๋ยว­ครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลยสอนเรื่อง­เดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม
จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไปทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งส­ิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี
การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดาเรา­ฝึกให้มีสตินะ แล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา เราก็รู้ไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งมัน มันจะแสดงไตรลักษณ์
เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วครา­­­วหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความ­จริงว่าทุกอย่างเป็นของ­­ชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรน เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง
แสดงน้อยลง
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างนี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้นอยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก
พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์
ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ
ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์
แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
แสดงน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น