“ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก
สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก
ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์
ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้
ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา
พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์
โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง
ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้
เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย
ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน
ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ
พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย
อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ
ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน
ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ
นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย
พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น