วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์อาสีวิสสูตร ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่ง มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชน ทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีฤทธิ์เดชแรง กล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้ เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลา นั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำ กิจนั้นเสีย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้ เป็นฆ่าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัว เพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตาม มาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่าน ควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่า หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาสู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัว เพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบ ห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้น เป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้าง นี้เป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือ แพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และ ใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้น ได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึง ฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความ โดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวก นั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า เพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ รถสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม มากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะ ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ๑ รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่ สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถม้าอันเทียมแล้ว ซึ่งมีประตักอันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา ขับไป ทางหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ ๔ แยก ซึ่งมีพื้นเรียบดี ตาม ความประสงค์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษาเพื่อจะรักษา ศึกษา เพื่อจะสำรวมศึกษาเพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรง อยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงฉาบทาผิวกาย ก็เพียงเพื่อต้องการเสพ หรือบุรุษพึง หยอดน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่ง ร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้ แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลากลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ สุขุมสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่ แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว (หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดอง ของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้ เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้ว ก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุ เหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน มนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่าน ทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่ อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๑ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ นายนันทโคบาล // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พระผู้มีพระภาค // ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ ทารุขันธสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ อวัสสุตสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย อยู่ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถาน ที่อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาล ไม่นาน เป็นสถานที่อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นก่อน สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบริโภคก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ จักทรงบริโภคในภายหลัง การทรงบริโภคของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาล นาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทรงทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จเข้าไปยัง สัณฐาคารใหม่ รับสั่งให้ลาดสัณฐาคารที่บุคคลลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว รับสั่งให้ตั้งแก้วน้ำไว้ประจำ แล้วรับสั่งให้ตามประทีปน้ำมันขึ้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัณฐาคารอันบุคคลปูลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะ แล้ว ตั้งแก้วน้ำประจำไว้แล้ว ตามประทีปน้ำมันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสำคัญกาลที่จะเสด็จเข้าไป ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรง ล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้าน หลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา ทำพระผู้มีพระภาคไว้ในเบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้ว ประทับนั่งพิงฝาด้านหน้า ทรงผินพระพักตร์ไปเบื้องหลัง ทรงทำพระผู้มีพระภาคไว้ ในเบื้องหน้าอย่างเดียวกัน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังเจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาหลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรท่านผู้โคตมโคตรทั้ง หลาย ราตรีล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลที่จะเสด็จไปเถิด เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จไป ฯ ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่ม แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นรับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกาม อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองใน ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลืออกุศลธรรมอัน ลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติ อยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศปัจจิม ใน ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่ว แล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้า นั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ภิกษุไม่ครอบงำรูป เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็น บาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อม รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะ พึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไป หาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้า แม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลาในทิศบูรพาด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟ ไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้า ไปใกล้กุฏาคารศาลานั้นในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศ เบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะ การขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่งด้วย คบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุ ครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาป เป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ดีแล้วๆ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ ทุกขธรรมสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรม เป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตาม เธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความ ดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความ เกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้... สัญญาดังนี้ สังขาร ทั้งหลายดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่ง วิญญาณดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่ง ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า เมื่อเธอ เห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิง นั้น บุรุษนั่นพึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าบุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือความ ทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฉันนั้นแล เมื่อเธอเห็นกาม ทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกาม ทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ โทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้าง ขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าเบียดเบียนเรา แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมคือปิยรูปและสาทรูปในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกาย คตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตาม ความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็น จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมี อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิด ขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อม ให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสาม หยาดตกลงในกะทะเหล็กอันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า ทีนั้นแล น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่าน ไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบาง คราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศล ธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ฉันนั้น เหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์ แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่ อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่ง ด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะ เหล่านี้ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือ กระเบื้องอยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ นั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึงเอาจอบและตะกร้ามาด้วยคิดว่า พวกเราจักช่วยกันทำแม่น้ำคงคา นี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นพึงกระทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลังได้บ้าง หรือหนอแล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาค // ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุ // ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปใน ทิศปราจีน แม่น้ำคงคานั้นอันบุคคลจะทำให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง ไม่ใช่ กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นเพียงไร แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้อง อยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอ น้อมไป เอนไป เงื้อมไปในวิเวกสิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ กึสุกสูตร ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไป หาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของ ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับ แห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ ไปเป็นธรรมดา ฯ ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้ว ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตาม ความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย เหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว ถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกร บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็น ดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้น เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาว ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้น พึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็ สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วย การพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึง ตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบ เหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการ ใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสนา คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ วีณาสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอัน บุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะ หน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียดและเป็นทางที่ไป ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านไม่ควรเสพหน ทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทาง ผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึง ห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของผู้รักษาข้าว กล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมา ความ ประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว ไม่ทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึงความเมา ความประมาทในกามคุณ ๕ ตามความต้องการ ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าสมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ ประมาท และโคกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับ โคนั้นสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วย ท่อนไม้แล้วพึงปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขา ทั้ง ๒ ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้นอยู่ ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่ข้าวกล้านั้น อีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด จิตอันภิกษุข่มแล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อม ดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ยัง ไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่า บรรเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ เสียงนั้น เป็นเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึง กราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่ เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือ ธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคัน และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบ หลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบ หลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณ นั้น ๑๐ เสี่ยงหรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วพึงเผาด้วยไฟ แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำมี กระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมา ประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อม แสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเท่าที่มีคติ อยู่ เมื่อเธอแสวงหารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ ความยึด ถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ ฯ ฉัปปาณสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง พึงเข้า ไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคาพึงบาดตัวที่ พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้นเป็นเหตุ โดย ยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน บ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้ มีสมาจารอย่างนี้ เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อ ว่า เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาดนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้ง อย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ เธอ ตามความเป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วย ลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้ เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมี วิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น คือ จับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึง ขมวดปมไว้ตรงกลางปล่อยไป ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจร ต่างกันเหล่านั้น พึงดึงมาหาโคจรและวิสัยของตนๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก เข้าไปสู่จอมปลวก จรเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของ ตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่ พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อม มีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่ โคจรและวิสัยของตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จรเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงแม่น้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่ อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วย คิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึง ลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกาย คตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูป อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อัน เป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือ เสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้ เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ยวกลาปิสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วย ไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คาน อันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล ถูกรูปอัน เป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและ ไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าว เหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ เทวาสุรสังคามสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายว่า ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวก อสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูร ประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำ มายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนัก ของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ อยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าว เวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่าเทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล อสูรทั้งหลายไม่ตั้ง อยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อมพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรอ อยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไป อสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคลผู้อัน มารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำของท้าว เวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อม พ้นจากมารผู้มีใจบาป ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มี รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจัก มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญินสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญีภ ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา ว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบท ว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญินาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัว ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา) ความ ถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสฺญนาสฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจ กำจัดมานะออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น